ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

อย่าตัดราก

๒๔ ส.ค. ๒๕๕๒

 

อย่าตัดราก
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

โยม ๑ : ก็อยากให้พระอาจารย์สอบอารมณ์น่ะค่ะ

หลวงพ่อ : ว่าไป ว่าไปเลย

โยม ๑ : คือตอนนี้โยมปฏิบัติอยู่นะคะ ก็คือปฏิบัติก็คือแบบ มันก็ว่างน่ะค่ะ มันก็ว่าง แล้วก็ไม่มีอะไร แล้วก็พอมันว่างเสร็จ ตอนหลังความว่างมันก็หายไป มันก็มีแต่ความเฉยๆ แม้กระทั่งตอนนี้ก็มีแต่ความเฉยๆ ทีนี้ตอนนี้ ตอนที่มันมีความเฉยๆ มันไม่มีอะไรจะทำ ทุกอย่างมันมองเป็นธรรมชาติ มันจบแค่นี้หรือว่ามันมีอะไรต่ออีกไหม

หลวงพ่อ : โยมไม่ทำอะไรกันเลยนี่

โยม ๑ : ไม่ได้ทำอะไรเลย

หลวงพ่อ : ใช่ เพราะเวลาเราพูดถึงธรรมะกันอยู่ เวลาเราเอาหนังสือเขามาดูกันเห็นไหม ว่าธรรมะเป็นธรรมชาติ ทุกอย่างเป็นธรรมชาติ ทุกอย่างเป็นอัตโนมัติ เราบอกว่าอัตโนมัติคือสูญไง เราเทศน์อยู่กัณฑ์หนึ่งคืนสู่กิเลส “คืนสู่กิเลส” พวกเรานี่เกิดจากอวิชชา กิเลสพาเราเกิดขึ้นมา แล้วเราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา แล้วก็มาประพฤติปฏิบัติกัน ประพฤติปฏิบัติกันด้วยความเข้าใจผิดน่ะ ด้วยความที่ว่าเราเข้าใจผิด พระพุทธเจ้าสอนให้ปล่อยวางน่ะ นี่มันเรื่องธรรมดาพื้นฐานเลย

โดยธรรมะ โดยธรรมชาติของชาวพุทธ พระพุทธเจ้าสอนให้ปล่อยวาง พระพุทธเจ้าสอนให้ปล่อยไปสู่ความว่าง เราก็ปล่อยวางกันแล้ว เราเป็นคนดีไปแล้วเห็นไหม คืนสู่กิเลสไง คืนสู่จุดเริ่มต้นไง คืนสู่ที่มา คำว่าที่มานะ ที่มาที่ไป มันมีจุดเริ่มต้นมาจากสิ่งที่ดีนะ คืนสู่กิเลสน่ะ กลับยอมจำนนกับมารของเราเอง

เพราะคำพูดของโยมมันฟ้องแล้ว ว่าทีแรกทำ ให้ปฏิบัติให้ว่าง เขาบอกให้ปฏิบัติให้ว่างกัน ว่างไปว่างมาเห็นไหม ความว่างมันไม่มี ก็เลยเฉยๆ เห็นไหม ความว่างมันไม่มี มันเอาอะไรมาว่าง มึงเอาที่ไหนมาว่างน่ะ ว่างกูก็เอาของสอดเข้าไปก็จบ มันก็ไม่มีอะไรว่าง

โยม ๑ : แต่โยมก็เคยปฏิบัติกับหลวงปู่เทสก์ กับพระอาจารย์...อย่างนี้ ก็คือดูกาย อันนี้มันก็มาผสมผสานกันน่ะคะ ก็ทีนี้ไอ้ความว่างที่พูดคือมันว่างแล้วแบบ ความเย็นเรามีมากขึ้น ความละเอียดเรามีมากขึ้น เรามีอะไรมากขึ้นอย่างนี้ มันจะเป็นตัวอย่างที่พระอาจารย์พูด

หลวงพ่อ : ไม่ ใช่เป็นเหมือนกันหมด เพราะอะไร เพราะเราคาดการณ์ไม่ถึง พวกเราคาดธรรมะไม่ถึง คาดธรรมะไม่ได้ โดยสามัญสำนึกโดยธรรมชาติของมันน่ะ ทุกคนน่ะกลัวผี ธรรมชาติของคนน่ะกลัวผี กลัวสิ่งลึกลับ กลัวอะไรต่างๆ เราบอกเลยเพราะจิตวิญญาณมันเคยเกิดในวัฏฏะ จิตวิญญาณของเราเคยเกิดในวัฏฏะ ตอนนี้เราเกิดมาเป็นมนุษย์นี่ สิ่งที่เราเคยเกิดเคยเห็นมา มันมีข้อมูลในหัวใจ

แต่นี้นิพพานน่ะ ตั้งแต่พระโสดาบัน สกิทาคา อนาคาขึ้นไป มันไม่เคยมีอยู่ในหัวใจของใคร ใครถึงจินตนาการเรื่องอริยผลนี้ไม่ได้ ทีนี้พอเราจินตนาการไม่ได้ปั๊บ เราก็พูดถึงความว่างกัน เพราะว่านิพพานคือเมืองพอ เมืองว่าง นิพพานคือเมืองแก้ว เขาก็ว่ากันไป ทีนี้พอว่ากันไป พอครูบาอาจารย์มาสอนนี่

เราจะพูดเราจะปูพื้นฐานเลยว่า ที่ว่าคำสอนให้ทำกันอย่างนั้น อย่างนั้น จะเป็นการแบบว่าอะไรนะ เป็นการลัดสั้น เป็นการทำเพื่อความสะดวกในการประพฤติปฏิบัติ ในสมัยปัจจุบันนี้ชาวพุทธเราไปกำหนดพุทโธ ทำสมถะเป็นการเสียเวลามาก เป็นการแบบว่าเป็นมิจฉาสมาธิ จะเป็นการตัวแข็ง ตัวทื่อ ตัวอะไร อันนั้นมึงพูดของมึงเอง มึงรู้จากปัญญาของมึงเองนั่นนะ เพราะอะไร เพราะมันไม่เคยเจอความจริงเลย

ตั้งแต่สมัยหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์ตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้ามาเลย “ศีล สมาธิ ปัญญา” เขาบอกว่าปัญญาๆ ที่ว่าปัญญาวิมุตติ จะเป็นปัญญาๆ กันน่ะ มันอ้างอิงน่ะว่าปัญญา ปัญญาของใคร มหาโจรว่าปัญญา ดูสิ ไอ้พวกคดโกงน่ะ คดโกงมันใช้อะไร มันไม่ใช้ปัญญามันใช้อะไร แล้วมันปัญญาของใคร ปัญญาอย่างนี้ ปัญญาอย่างเราที่มันเกิดขึ้นมานี่ มันเป็นปัญญา ปัญญาจากสามัญสำนึก มันไว้ใจไม่ได้หรอก เพราะปัญญาสามัญสำนึก ทุกอย่างที่มันเกิดขึ้นมาน่ะ มันเกิดขึ้นมาจากจิต

กล่องกระดาษนี่มันมีปัญญาไหม ขวดน้ำนี่มันจะเกิดปัญญาขึ้นมาได้ไหม วัตถุมันเกิดปัญญาขึ้นมาไม่ได้เลย ปัญญาที่มันจะเกิดขึ้นมาต้องมีจิต จริงไหม จิตของเรามีอวิชชา จิตของเรานี่ถ้าไม่มีอวิชชา มันไม่มาเกิดเป็นมนุษย์หรอก แล้วถ้าปัญญามันเกิดขึ้นมาจากจิตที่มีอวิชชา ไว้ใจมันได้ไหม ที่ว่ามันมีปัญญาๆ ไง ต้องใช้ปัญญาพิจารณาสายตรงๆ มันเป็นโลกียปัญญา มันเป็นปัญญาของมาร

บังเอิญมันเอาปัญญาอย่างนี้ ควบคุมมารหน่อย แล้วก็ไปตรึกในธรรมะพระพุทธเจ้าไง พอไปตรึกในธรรมะพระพุทธเจ้าขึ้นมา เห็นไหม พระพุทธเจ้าสอนให้มีการเสียสละ พระพุทธเจ้าสอนให้มีการเสียสละทาน พระพุทธเจ้าสอนเรื่องการกตัญญูกตเวที พระพุทธเจ้าสอนเรื่องมรรค เรื่องญาณ เรื่องผลน่ะ ว่าพุทธพจน์ อู้ฮูย..นี่ดีมากเลย ฮูย..เมื่อก่อนเราเป็นคนเลว เลวมากเลย เดี๋ยวนี้เป็นคนดีไปหมดเลย อู๋..นี่ดี นี่แหละดี ธรรมะนี่ดี

ธรรมะสอนแค่นี้เหรอ ธรรมะสอนแค่นี้รึ ธรรมะของพระพุทธเจ้าสอนนี่ สอนอย่างนี้ พฤติกรรมอย่างนี้ แบบว่าสอนคฤหัสถ์ไง สอนคฤหัสถ์แบบคนแบบสังคม สัตว์มนุษย์ สัตว์มนุษย์เป็นสัตว์สังคม อยู่ด้วยกันก็เสียสละ อยู่ด้วยกันก็ให้อยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุขไง ความร่มเย็นเป็นสุข ทีนี้มันก็เป็นสามัญสำนึกของมนุษย์ใช่ไหม มนุสสเทโว เป็นมนุษย์เทวดา มนุษย์เดรัจฉาโนเป็นมนุษย์เดรัจฉานน่ะ ทีนี้มนุษย์น่ะพอมันมีจิตใจที่ดีขึ้นมา มันก็เป็นมนุษย์ที่ดีขึ้นมา ก็เท่านั้นน่ะ ก็ว่างๆ สบายๆ ก็เท่านั้นน่ะ

ศีล สมาธิ ปัญญา ไม่เกิดสมาธิ ปัญญาที่ฆ่ากิเลสเกิดไม่ได้ ไม่มีสมาธิ ปัญญาที่การฆ่ากิเลสเกิดไม่ได้

แล้วอย่างที่โยมว่าว่างๆ ว่างๆ ที่โยมเคยว่างๆ ว่างๆ มา ว่างมาจนตัวเบาเป็นสมาธิหรือเปล่า ก็ไม่เป็น ไม่เป็นสมาธิ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะความว่างมันว่างโดยธรรมชาติของมัน เราบอกเลยธรรมชาติของจิตเรา คนเรานี่นะ อย่างเช่นเรา อู้ฮู มีคนทำให้เราเจ็บช้ำน้ำใจจนเราคิดจะฆ่าตัวตาย

เราเสียใจจน อู้ฮู้ย จะเอาหัวฟาดแผ่นดินตายเลย มันมีคนมาปลอบใจ มีคนมาอะไรสักพักหนึ่งทำไมมันหายไป กาลเวลามันพิสูจน์มันหายไปแล้ว นี่ไง แล้วสิ่งที่พิสูจน์ไปแล้ว นี่ไงธรรมชาติของมัน ธรรมชาติเขามีความทุกข์ ธรรมชาติของจิตที่มันวิตกกังวล ธรรมชาติของจิตที่มันจะทำลายตัวมันเองไง กาลเวลาหล่อเลี้ยงมันได้นะ กาลเวลาสามารถทำให้มันเบาบางลงได้ โดยธรรมชาติของมัน

ธรรมชาติเป็นอย่างนี้อยู่แล้ว ธรรมชาติมันเป็นธรรมชาติของมันอยู่แล้ว แล้วธรรมชาติอย่างนี้พระพุทธเจ้าสอนธรรมะแค่นี้เองเหรอ คือที่บอกว่าเป็นความว่าง ที่ว่าเราปฏิบัติแล้วมันว่าง มันสบาย อย่างที่เราบอกว่ามันไม่เป็นสมาธิ เพราะธรรมชาติของจิตมันเป็นอย่างนั้น

แต่ครูบาอาจารย์น่ะ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์ พระพุทธเจ้าท่านไม่ ต้องการตรงนั้นไง ไม่ต้องการตรงนั้นเพราะอะไรรู้ไหม เพราะมันเป็นธรรมชาติของจิตอยู่แล้ว คือสอนไม่สอน ทำไม่ทำ มันเป็นอย่างนี้อยู่แล้ว มันเป็นอย่างนี้อยู่แล้ว แล้วมึงอย่ามาตู่สิ มึงอย่ามาตู่พระพุทธเจ้า มึงอย่าตู่พุทธศาสนาว่านี่คือการปฏิบัติธรรม

ถ้ามีการปฏิบัติธรรม มันมี ศีล สมาธิ ปัญญา ทำไมพระพุทธเจ้าเวลาเทศน์สอน คฤหัสถ์ อันนี้อนุปุพพิกถานะที่ว่า ต้องเทศน์เรื่องของทานก่อน เรื่องศีลก่อน เรื่องภาวนาก่อน เพราะอะไร นี่มันเป็นเรื่องของคฤหัสถ์ แล้วพระเราจะมาสอน สอนง่ายๆ อย่างนี้ได้อย่างไร ไอ้อย่างนี้นะเป็นฤๅษีชีไพร เราบอกเลย ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญานะ เราเป็นชาวพุทธกันนะ

พวกฤๅษีชีไพร เขาประพฤติปฏิบัติกัน เขาไปไม่รอดหรอก ต้องมีพระพุทธเจ้าแล้วใช้ปัญญาถึงจะเป็นพระพุทธเจ้าได้ แล้วเดี๋ยวนี้เขาสอน คำสอนมันสอนแบบฤๅษีชีไพรโดยที่เขาไม่รู้ตัวนะ คือปฏิเสธไม่ทำอะไรไง ว่างๆ ว่างๆ ไง ทำใจให้สบายๆ นะ อุ้ย มันก็จะว่างนะ แล้วว่างแล้วได้อะไรขึ้นมา เพราะมันเป็นมิจฉา เราถึงบอกไม่เป็นสมาธิไง สมาธิยังไม่ใช่เลย ถ้าเป็นสมาธินะ ศีล สมาธิ ปัญญา พอฝึกสมาธิเรา...

โยม ๑ : สมถะก็ยังไม่ได้เหรอคะ

หลวงพ่อ : ไม่ได้!!! ถ้าได้ต้องรู้ ถ้าได้ต้องรู้ โยมนั่งรถมาน่ะ ระยะทางตั้งแต่มานี่ โยมผ่านมา โยมมานั่งนี่ โยมมาจากไหน โยมที่มานั่งนี่ใครเป็นคนพามา ถ้าร่างกายเราไม่พามา จิตใจเราไม่พามา อะไรพามา จิตใจมันไปสัมผัส เราไม่รู้ได้อย่างไร ทีนี้พอใครมาก็บอกว่างๆ ว่างๆ ว่างๆ ไม่ใช่สมถะเพราะมันขาดสติ สมถะจะเป็นสมถะจะเป็นสมาธิได้ ต้องมีสติสัมปชัญญะจริงไหม แล้วถ้ามีสติสัมปชัญญะ ทำไมโยมไม่เข้าใจความว่างของโยมล่ะ ที่โยมว่างๆ อยู่โยมสงสัยไหม

โยม ๑ : สงสัยค่ะ

หลวงพ่อ : แล้วมีสติตรงไหน ถ้าเราจับต้องอย่างนี้ เราจะไปสงสัยมันได้อย่างไร ก็ของกูทำอยู่ ของกูจับอยู่นี่ มันจะสงสัยไปไหน ถ้ากูยังสงสัยอยู่ กูก็กำอากาศสิ เอ๊ะ..เขาว่ากล่องกระดาษมันเป็นอย่างนี้นะ เขาว่ากล่องกระดาษมันเป็นอย่างนี้นะ เขาว่ากล่อง เขาว่านะ นี่ไง แต่ถ้าเราจับกับมือนี่ ก็กูทำ กูทำกับเขาว่ามันคนละเรื่อง

แต่นี่เพราะเราเชื่อ เราเชื่อว่าพระเขาสอนกันอย่างนี้ ทำกันอย่างนี้ แล้วพระเดี๋ยวนี้ก็พยายามสอนกันอย่างนี้ เพราะอะไร เพราะสอนอย่างนี้แล้ว จะเป็นใครก็แล้วแต่ จะเป็นทุคตะเข็ญใจ เศรษฐีกุฎุมพี เขาทำได้ง่ายๆ ไง พอทำได้ง่าย เออ จริงนะ เมื่อก่อนเป็นคนที่ไม่ดีเลยนะ เมื่อก่อนทุกข์มากเลยนะ เดี๋ยวนี้ว่างๆ ว่างๆ ไปหาเจ้าก็ว่างๆ ไปหาเจ้า เจ้าเข้าทรงน่ะ ไปกราบมันดีๆ นะ แล้วไปอธิษฐานกับมันนะ มันเป่าหัวพ่วง! ว่างๆ เฮ้อ สบายเหมือนกัน ไปหาเจ้าเข้าทรงมันก็ทำให้ว่างๆ ได้ เพราะสบายใจ

โยม ๒ : อย่างนี้มันไม่ได้เกิดจากปัญญาใช่ไหมครับ

หลวงพ่อ : แล้วเกิดไม่เกิดเล่า ถ้าเกิดจะไม่งงอย่างนี้ แต่ถ้าเป็นความจริงของเรา เราทุกข์ยากนะ พุทโธ พุทโธ พุทโธ ตั้งสตินี่ ทุกข์ยากมาก พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ กว่าสติมันจะสงบเข้ามา สงบเข้ามา เรารู้เอง แต่มันยาก ตรงนี้ที่เขาปฏิเสธกันว่า โฮย พุทโธนี่กว่าจะทำสมาธิแล้วเมื่อไหร่จะได้สมาธินะ เราเกิดมาชาตินี้ไม่รู้ว่าจะได้ภาวนาหรือเปล่า จะได้วิปัสสนาหรือเปล่า มันได้อยู่แล้ว ได้ตอนที่เรากำหนดพุทโธนั่นแหละ ถ้ากำหนดพุทโธหลวงตาบอกเลย กำหนดพุทโธนี่สะเทือน ๓ โลกธาตุ เพราะอะไร เพราะจิตตัวนี้มันเกิดใน ๓ โลกธาตุ แล้วพุทโธมาจากจิตที่เราระลึกพุทโธขึ้นมา มันสะเทือนตัวจิตเราไง เราเคลื่อนไหว ร่างกายเราเคลื่อนไหวนี่ มันต้องเคลื่อนไหวความรู้สึกตัวเราเคลื่อนไหวหมดใช่ไหม พอจิตเรานึกพุทโธนี่ จิตเรานึกพุทโธ

เพราะจิตเราเหมือนกับร่างกายนี่ ร่างกายเราทำงานขยับไป พอจิตมันขยับไปที่พุทโธ มันอยู่กับพุทโธนี่ ๓ โลกธาตุ มันกระเทือนหมดล่ะ ทีนี้พอกระเทือนไปน่ะ มันเพียงแต่มันขัดแย้งไง มันไปขัดแย้งกับกิเลสเรา พุทโธก็น่าเบื่อ พุทโธไม่มีรสชาติเลย พุทโธ อู้ฮู ลำบากลำบนเลย

แต่โทษนะ ถ้าปล่อยเป็นขี้ลอยน้ำ สบายมากเลย ถ้าพุทโธนี่ยากมาก ลำบากไปหมดเลย ถ้าปล่อยเป็นขี้ลอยน้ำนะ โอ๋ย สบาย ว่างๆ ว่างๆ โฮย สบาย ศาสนาพุทธนี่ดีมากเลย ปล่อยเป็นขี้ลอยน้ำกันไป ว่างๆ ว่างๆ เพราะว่างๆ แล้ว พอว่างๆ ก็ว่างไป เพราะว่างๆ เรามีการสัมพันธ์กัน เรามีตรึกในธรรมะกัน เราคุยกันมันก็ว่างๆ กันมันก็อยู่ในหมู่นะ

มันมีพวกโยมมาหาเราเยอะมาก เขาปฏิบัติกันมานี่ทุกข์ยากมาก พอเขาไปว่างๆ กันมา แล้วเขาก็บอกเขาเป็นอนาคากัน เพราะเขาหมู่ใหญ่ กลุ่มเขาใหญ่มาก เป็นอนาคากันหมดล่ะ นี่ลูกของเขาบอกสงสาร นี่แม่เขา เขาก็ขอร้องให้แม่มาอยู่กับเราที่โพธาราม เมื่อก่อนอยู่พักหนึ่ง เราก็บอก พยายามคุยกับเขาบอกว่า

“โยมจะเป็นอนาคา จะเป็นอะไรเราไม่ว่าหรอก ตามสบายเลย ขออย่างเดียวขอให้กำหนดพุทโธ พุทโธไว้ได้ไหม”

“ได้ค่ะ” อ้าวทำไปเรื่อยๆ

พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ ทีนี้จิตมันลงนะ เขาพูดเองนะ เขามาหาเรา เขาพูดเองเลย “หลวงพ่อพุทโธหลวงพ่อนี่ดีกว่าอนาคาอีก” เพราะอะไรรู้ไหม เพราะพุทโธ พุทโธ จิตมันสงบไง จิตมันลง แค่แต่จิตมันลงสมาธิ เขาสัมผัสได้ เขารู้เลยว่าความสัมผัสอันนี้ดีกว่าอนาคาอีก

เสร็จแล้วเขาพออยู่สักพักหนึ่ง เขาก็กลับไปอยู่กับพวกเขา พวกเขาก็บอกว่า เขาเป็นคนเดียวนี่ หัวเดียวกระเทียมลีบ ก็ไปพูดในกลุ่มบอกว่า ความจริงพวกเรานี่ผิดหมดนะ แม้แต่สมาธิยังไม่มีเลย เขาบอกอย่าไปเชื่อ อย่าไปเชื่อ ก็คุณว่างๆ ใช่ไหม ใช่ นั่นว่างๆ อนาคา นี่เราก็ว่างๆ ไง นี่ก็ว่างๆ ไง อนาคากันหมดเลย พวกเรานี่อนาคา ว่างๆ กันหมดเลย จริงไหม จริง ตามเขาไปอีกแล้ว ไปอยู่กับอนาคาอย่างเก่า คือไปเป็นขี้ลอยน้ำอย่างเดิม กลายเป็นขี้ลอยน้ำอย่างเดิม

มันไม่มีเหตุมีผล เราจะบอกว่าวุฒิภาวะพวกเรานี่มันไม่ถึง ปัญญาพวกเรามันไม่ถึง พอกระแสมันชักนำมา เราก็เชื่อเขาไป แต่นี่ถ้าพูดถึงความจริง อย่างนี้ ถ้าโยมทำอย่างนี้นะ ว่างๆ อย่างนี้นะ มันก็อยู่แค่นี้แหละ มันไม่ไปไหนหรอก ไม่ไปไหน

โยม ๑ : ไม่ไปไหน ใช่ โยมถึง..แล้วอย่างนี้ต้องกลับมาสมถะใหม่ใช่ไหมคะ เริ่มต้นใหม่

หลวงพ่อ : อย่างนี้นะ เราไม่พูดว่าเป็นสมถะ หรือไม่เป็นสมถะ ถ้าพูดสมถะวิปัสสนาปั๊บ มันจะเหมือนกับมันจะขี่กัน วิปัสสนาดีกว่าสมถะ สมถะต่ำกว่าวิปัสสนา แล้วจะขี่ว่าสมถะ มันจะเลวแบบว่าไม่มีคุณค่า

แต่ความจริงมันมีคุณค่ามาก ตัวสมถะนี่ ตัวสัมมาสมาธิ เป็นตัวที่มีคุณค่ามาก ตัวสัมมาสมาธิคือหัวใจของเรา สัมมาสมาธิคือตัวจิต ถ้าเราไม่รู้จักตัวจิตของเรา เราเปรียบเทียบเหมือนกับพวกญาติโยมบ่อย ถ้าพูดถึงน่ะ เราไม่เปิดบัญชีธนาคาร คนจะโอนบัญชีเอาเงินเข้าบัญชีเรา เราจะโอนเงินออกจากบัญชีธนาคารนี้ได้ไหม ถ้าเราไม่ทำสมาธิเข้าไปถึงจิตเรา มรรค ผล นิพพาน มันจะเข้าสู่จิตใจเราได้ไหม

ไอ้นี่ตัวเองก็ไม่รู้จักตัวเอง อะไรก็ไม่รู้จักอะไรเลย แต่เวลาเขาเข้าไปในสังคมของเขา เขาจะบอกว่าดีไปหมด ทุกอย่างถูกต้องไปหมด ถูกต้องไปหมด แล้วพูดอย่างไรต่อล่ะ ถูกต้องไปหมด จะทำอย่างไรต่อไปว่ามาสิ เขาบอกนี่ก็คือนิพพานแล้วไง

โยม ๒ : ว่างๆ นี่หรือครับ

หลวงพ่อ : อื้อ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะเขาพูดต่อจากนี้ไปอีกไม่ได้แล้ว เพราะธรรมชาติของจิต เป็นอย่างนี้ใช่ไหม

โยม ๑ : เป็นอย่างนี้ค่ะ

หลวงพ่อ : ใช่

โยม ๑ : มันไปต่ออีกไม่ได้

หลวงพ่อ : ใช่

โยม ๑ : ก็คืออยู่แค่นี้

หลวงพ่อ : ใช่

โยม ๑ : ทีนี้โยมก็พยายามสงสัย เอ๊ะ.. ทำไมมันถึงไปต่อไปไม่ได้อะไรอย่างนี้

หลวงพ่อ : เพราะธรรมชาติของจิตมันเป็นอย่างนี้ ก็เขาถึงพูดกันไงว่า ธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมะเป็นธรรมชาติ เราถึงไม่ยอมรับเขาไง ธรรมะเป็นธรรมชาติไม่ได้ ถ้าธรรมะเป็นธรรมชาติ พวกเราเกิดขึ้นมา เราเป็นพระอรหันต์กันหมดแล้ว เพราะเราเกิดมาเป็นธรรมชาติ

การเกิดของมนุษย์เป็นธรรมชาติอันหนึ่ง การเกิดของมนุษย์ การตายของมนุษย์ มันก็เป็นธรรมชาติอันหนึ่ง จริงไหม ถ้าธรรมะเป็นธรรมชาติ พวกเราเกิดมาเป็นพระอรหันต์ทันทีเลย พอคลอดออกจากท้องแม่มา ฉันเป็นพระอรหันต์แล้ว เพราะฉันเกิดอยู่ในธรรมชาติ มันจะเป็นธรรมชาติไปได้อย่างไร

โยม ๑ : แต่มันสุดท้าย มันต้องมาเจอธรรมชาติไม่ใช่หรือคะอาจารย์

หลวงพ่อ : มันเหนือธรรมชาติ! ถ้าเป็นธรรมชาตินะโยมนั่งรถมานี่ โยมอยู่ในรถโยมขึ้นมานี่ได้ไหม มันจะเข้าใจธรรมชาติทั้งหมด แล้ววางธรรมชาติไว้ตามเป็นจริง แล้วความรู้สึกเหนือความจริงออกไปครอบคลุม เพราะมันจะไม่หมุนไปหาธรรมชาติอีกแล้ว

โยม ๑ : นี่ค่ะ โยมสงสัยตรงนี้ที่มันไม่หมุนไปตามธรรมชาติ

หลวงพ่อ : มันไม่หมุนไปตามธรรมชาติอีกแล้ว เพราะถ้ามันไม่เหนือธรรมชาติ มันจะไม่หมุนไปตามธรรมชาติอย่างไร ก็มันไม่เป็นไง ก็มันไม่เป็น มันพูดได้ ธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมะของพระพุทธเจ้าไง ธรรมะตามตำราไง ถ้าพูดตำรานะ เวลาพูดหลักการในการปฏิบัติ พูดไม่ถูก

แต่เวลาจะเทศน์ให้โยมฟังนะ เอาตำรามาท่องนะ โอ้โฮ ละเอียดลึกซึ้ง พูดธรรมะได้แตกฉาน อู๋ย ธรรมะนี่ลึกซึ้งมาก เข้าถึงนิพพานได้หมดเลย แต่เป็นธรรมะของพระพุทธเจ้านะ เพราะถ้าเป็นธรรมะพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าบอกธรรมะเป็นธรรมชาติใช่ไหม นี่ทฤษฎีเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว เราเอาทฤษฎีมาพูด มันก็ถูกต้องใช่ไหม แต่ตัวคนพูดไม่รู้อะไรเลย

ถ้าตัวคนพูดรู้อะไรแบบหลวงปู่มั่น แบบครูบาอาจารย์เรานี่ ธรรมะเหนือธรรมชาติ คำว่าธรรมะเหนือธรรมชาติคือจะไม่เวียนไปตามธรรมชาติอีกแล้ว แล้วพูดธรรมะได้ถูกต้องหมด คนที่รู้จริง รู้จริงทำจริงนี่ เหมือนเราขับรถมา ผ่านถนนหนทางมา ผ่านแยกอะไรต่างๆ มา เราขับมาได้ถูกต้องไปหมดเลย เพราะเราผ่านมาถึงที่จุดหมายได้ แต่นี่คนที่เขาจะมา เขายังไม่รู้ทางเลย เขาจะงงไหม แล้วเขาจะมาอย่างไร แล้วคนที่ขับมาแล้ว ไม่บอกเขา คนที่ขับมาแล้วไม่เคยเข้าเส้นทางนั้น จะบอกเขาถูกไหม

โยม ๒ : ถ้าไม่เคยมาบอกไม่ถูกครับ

หลวงพ่อ : ถ้าคนไม่รู้จริงก็คือคนที่ไม่เคยเห็น คนที่ไม่เคยเห็นมันจะบอกคนต่อไปได้ไหม ถ้าบอกต่อไปไม่ได้ ก็เอาแผนที่มากางกันไง ธรรมะเป็นธรรมชาติไง เพราะแผนที่บอกไว้อย่างนี้ไง ธรรมชาติมันมีอยู่แล้วในนี้ไง แต่ถ้านอกธรรมชาติกูไม่รู้นะ เพราะกูไม่รู้ว่ามันไปทางไหนน่ะ

แต่ถ้าเป็นธรรมชาตินะกางแผนที่นี่ไง นี่ไงเมืองจันท์ ระยองไง นี่เข้าสมุทรปราการไง นี่เข้ากรุงเทพฯ ไง ออกมาก็นครปฐม มาโพธารามไง มาราชบุรี ธรรมชาติๆ แต่กูไปไม่ถูก กูไปไม่ถูกหรอก ธรรมชาติกูก็ไปไม่ถูกเพราะกูไม่เคยไป แต่ถ้าพูดธรรมะนี่แจ้วๆๆๆ เลย เพราะอะไร เพราะแผนที่ไง ถ้าเมืองจันท์ไม่เข้าระยอง จะไปไหน จันท์ก็ต้องเข้าระยองนะ ธรรมะเป็นธรรมชาติ

ถ้าเป็นธรรมะเหนือธรรมชาติ เหนือธรรมชาติเพราะมันรู้จริง แล้วเวลาคนน่ะ ลูกศิษย์เราเยอะมากเลย บอกว่า อู๊ย หลวงพ่ออย่าไปว่าเขานะ เขาละเอียดลึกซึ้งมากนะ อู๊ย เขาพูดถูกไปหมดเลย บอกเวลาเขาพูดกันนะ เขาพูดอย่างนั้น เรามาฟังแล้วเราสะเทือนใจ โทษนะ เราไม่ดูว่าเขาละเอียดลึกซึ้งเลย เราดูเขาหยาบมาก เขาโง่เง่าเต่าตุ่นมาก โง่เง่าเต่าตุ่นมากเพราะอะไร

เพราะเขามีเลศมีนัย เวลาเขาพูดธรรมะพระพุทธเจ้านี่ เขาพูดได้ละเอียดลึกซึ้งมาก แต่เวลาเขาพูดเรื่องความรู้จริงของเขา ไม่มีเลย มันต่างกันตรงนี้ไง เหมือนเช่นเห็นไหม เราเป็นคนไทยใช่ไหม ธนาคารชาติเป็นเงินกองทุน เป็นของประเทศชาติใช่ไหม มันมีกี่แสนล้านน่ะ เป็นของเราหรือเปล่า ไม่ใช่ของเรา เป็นของชาติ แล้วเงินในกระเป๋าเราล่ะ มีเท่าไร..เงินในกระเป๋าเราน่ะของเรา

โยม ๑ : แต่ถึงแม้มันจะมีไอ้อย่างนั้นนะพระอาจารย์ คือไอ้อย่างนี้เราถกกันจริงๆ นะคะ

หลวงพ่อ : ใช่ ถกจริง ๆ

โยม ๑ : คือหมายความว่า ไอ้การที่เราปฏิบัติ ไอ้ที่เราทำมาที่ว่านั่น มันก็บางครั้งมันก็มีแบบคล้ายว่า มีส่วนดีทำให้เรามันละเอียดขึ้น อะไรขึ้น จากจุดนี้มันคือกิเลสที่ซ้อนอยู่

หลวงพ่อ : ใช่ ทุกคนพูดคิดอย่างนี้หมดไง แล้วทุกคนอ้างตรงนี้ไง ทุกคนอ้างตรงนี้เพราะอะไรรู้ไหม เพราะว่าธรรมดา ธรรมะนี่ ธรรมะพระพุทธเจ้ารื้อสัตว์ขนสัตว์ ก็เพื่อความดีของสังคมไง

โยม ๑ : ค่ะ

หลวงพ่อ : แล้วทีนี้ความดีของสังคม สังคมดีระดับไหนล่ะ

โยม ๑ : ค่ะ

หลวงพ่อ : ถ้าระดับที่ว่าเข้ามา เวลาเข้ามา เขาบอกว่าปฏิบัติธรรมกันมาหรือว่าเข้ามาปฏิบัติ เข้ามาอยู่ในศีลธรรมเป็นชาวพุทธมันก็ถูกต้อง แต่ต้องถามมุมกลับว่า เราจะเอาอะไรไง

โยม ๑ : ค่ะ

หลวงพ่อ : ถ้าพูดบอกว่า บอกว่าปฏิบัติธรรมน่ะ เข้ามาปฏิบัติธรรมเพื่อควบคุมตัวเองให้เป็นคนดีก็จบไง แต่เขาบอกว่ามีมรรคผลไง

โยม ๑ : อยากได้มรรคผลน่ะ

หลวงพ่อ : ถ้ามรรคผลมันไม่ใช่ตรงนี้ไง ที่เราคุยกันนี่ เพราะทุกคนอ้างตรงนี้ไง อ้างตรงนี้ว่า เดี๋ยวนี้นะเขาปฏิบัติกันแล้ว คนสนใจปฏิบัติมากเลย มันเป็นสิ่งที่ดีงาม ไม่ถูกต้องเหรอ ถ้ามันดีงามจริงๆ นะ มันดีงาม มันต้องแบบว่ามันดีงาม มันต้องมีระดับของมันไง อย่าคลุกเคล้ากันว่าปริยัติเป็นปริยัติ ปฏิบัติเป็นปฏิบัติ สุตมยปัญญาคือการศึกษา จินตมยปัญญาเป็นการจินตนาการ การวิจัย

ภาวนามยปัญญาพวกมึงยังไม่เกิด คำว่าภาวมยปัญญา สิ่งที่เป็นภาวนามยปัญญา มันเกิดจากจิตที่สงบ จิตที่เป็นสมาธิก่อน เพราะว่าพระพุทธเจ้าบอกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ปัญญาในการรื้อค้นกิเลส กระชากกิเลส มันต้องมาตามขั้นตอนของจิตที่มันพัฒนาขึ้นมา ถ้าจิตมันไม่พัฒนาขึ้นมา เราไปศึกษาธรรมะกันไป ก็เหมือนคนไม่รู้มาศึกษาธรรมะ มันก็คือไม่รู้ไง

โธ่เราพูดเจ็บนะ มีพวกเขาบอกว่าก็นิพพานพระพุทธเจ้าบอกว่านิพพานสงบเย็น สงบเย็นไง เราบอก อู้ฮู นิพพานกูนะ เอ็งดูสิ กูเลี้ยงควายกูขุดสระไว้นะ มันกินเสร็จ มันนอนแช่น้ำ ควายกูนิพพานทั้งคอกเลยน่ะ นอนแช่น้ำเย็นสบาย นิพพานสงบเย็นก็นิพพานควายๆ ไง

คือเขาเอาศัพท์ของพระพุทธเจ้ามาไง แล้วก็คิดกัน แต่เขาไม่เป็นความจริง นิพพานมันสงบเย็น สงบเย็นน่ะ อย่างพวกเราเร่าร้อน เราเร่าร้อน เราทุกข์นัก แล้วเราพยายามทำความสงบของใจ แล้วเราถอดถอนไอ้พิษไข้ในหัวใจ พิษไข้คือความอุปาทาน คือความไม่รู้จักเรา เราไม่รู้จักตัวเราเองนะ ไม่รู้จักหรอก รู้จักไปที่ไหน ไม่ใช่เราทั้งนั้นน่ะ ถ้าเป็นเรานะ มันเป็นเนื้อร้ายไปตัดทิ้งหมดเลย ไม่เอาไว้ล่ะ ไม่มีใครเอาหมด แต่ถ้าเรากำหนดพุทโธ หรือปัญญาสมาธิ ถ้าจิตสงบเข้ามานะ จิตสงบ โอ้โฮ ตรงนี้ไม่มีใครเคยเห็นเลย เขาไม่เคยคุยกันตรงนี้เลย

โยม ๑ : แต่โยมเคยฮ่ะ โยมเคยสงบจนถึงแบบไม่มี ไม่มีอะไรเลย

หลวงพ่อ : สงบอย่างนั้น มีสติพร้อมอย่างไรบ้าง

โยม ๑ : เออ ตอนที่อยู่กับหลวงปู่เทสก์ก็รู้สึกสงบค่ะ คือมัน มันรู้หมดน่ะฮ่ะ แต่ว่ามัน มันอย่างไร มันนานแล้ว

หลวงพ่อ : ใช่ เราจะบอกไง ถ้ามันเป็นอย่างนั้น มันจะมีสติตลอด สติจะตามไปตลอด สติอย่างนี้เพราะมันมีศีล ใช่ไหม ในพระพุทธเจ้าสอนนะ พระพุทธเจ้าสอนในหลักธรรมเลยน่ะว่า ศีลที่บริสุทธิ์ ศีลที่สะอาด ศีลที่ร่มเย็นเป็นสุข มันจะเกิดสมาธิที่เป็นสมาธิที่ชอบ สมาธิที่ดีงาม สมาธิชอบมันจะเกิดปัญญาที่ชอบ

ถ้าศีลมันเป็นอธิศีล มันเป็นศีลที่ไม่บริสุทธิ์เห็นไหม ศีลที่เศร้าหมอง มันเกิดสมาธิ สมาธิก็เศร้าหมอง เกิดปัญญายิ่งปัญญาโฉเกไปเลย แต่ถ้าเป็นศีลที่บริสุทธิ์เห็นไหม มันจะเกิดสมาธิเห็นไหม คำว่าสมาธิคือสติปัญญา

คำนี้นะหลวงตา ท่านติดสมาธิอยู่เห็นไหม แล้วท่านขึ้นไปหาหลวงปู่มั่นน่ะ หลวงปู่มั่นบอกว่าๆ มันติดสมาธิ มันจะนอนตายอยู่เหรอให้ออกใช้ปัญญา หลวงตาท่านเข้าใจผิดไง เข้าใจว่าสมาธินี้คือมรรคผลไง

ก็บอกว่า อ้าว..ก็นี่เป็นสัมมาสมาธิไง เพราะในตำราเห็นไหม ในตำรา เพราะท่านเป็นมหาใช่ไหม ในตำราบอกเป็นสัมมาสมาธิ พระพุทธเจ้าก็สอนสมาธิอยู่แล้ว นี่ก็เถียงด้วยตำราไง นี่เถียงด้วยธรรมะเป็นธรรมชาติไง

หลวงปู่มั่นสวนกลับเลย “สัมมาสมาธิของท่านอย่างหนึ่ง (ของท่านคือของผู้หลงผิดอย่างหนึ่ง) สัมมาสมาธิของพระพุทธเจ้าอีกอย่างหนึ่งเว้ย สัมมาสมาธิของพระพุทธเจ้าไม่มีอุปาทาน ไม่มีสมุทัยร่วมเว้ย”

นั่นสัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิมันสะอาดบริสุทธิ์ในตัวของมันเอง

แต่พวกเรา เราบอกแล้วเราติดใช่ไหม พอติดเราคิดว่าเป็นสัมมาสมาธิไง คำว่าติดน่ะ ติดคืออะไร มันเข้าไปบวกในสมาธิ มันจะเป็นสัมมาสมาธิได้อย่างไร แต่เราก็ไม่รู้ เราไม่รู้เพราะอะไร เพราะเราไม่เคยเดิน ทางเราไม่เคยเดิน ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์บอกเห็นไหม คนที่เคยผ่านแล้วถึงจะรู้ ถ้าคนที่ไม่เคยผ่านไม่มีทางรู้ อ่านอย่างไร อ่านให้ตาย เราบอกเลยนะบอกทางวิชาการน่ะ บอกว่าพระไตรปิฎก เขาเก็บไว้ ปลวกมันกินหมดทั้งตู้เลย กูไม่เห็นปลวกตัวไหนเป็นพระอรหันต์เลยว่ะ

โยม ๑ : อย่างนี้โยมก็ต้องเริ่มต้นใหม่

หลวงพ่อ : ถูกต้อง

โยม ๑ : อานาปานสติใหม่ หรือว่า

หลวงพ่อ : ถูกต้อง ถูกต้อง ต้องกลับมาตรงนี้ ถ้าไม่กลับมาตรงนี้เหมือนกับเรา เราไม่กลับมาตรงนี้ เราจะเริ่มต้นไม่ได้ ถ้าไม่ทำจิตสงบของเรามาก่อน เราจะเริ่มต้นอะไรไม่ได้เลย

โยม ๑ : ใจสงบก่อน

หลวงพ่อ : ใช่

โยม ๑ : แล้วสงบแบบไหน ไม่มี พุทโธหายหรือว่านิ่งๆ หรือว่าไม่มีอะไรเลย

หลวงพ่อ : ไม่ถึงขนาดนั้น ถ้าพุทโธถึงกับพุทโธหาย เขาเรียกว่าอัปปนาสมาธิแล้ว

โยม ๑ : ค่ะ

หลวงพ่อ : แล้วพอมันสงบ พอเราสงบเราพุทโธๆๆ จนสงบเข้ามา คืออุปจารสมาธิคือว่าสงบแล้ว แล้วออกรู้ได้ เวลาจิตมันสงบแล้วนะ เราใช้ปัญญาได้ตลอด เพราะเขาเน้นย้ำกันบอกว่า พวกพุทโธ แล้วอย่างเราทำจิตสงบ เมื่อไหร่จะสงบ แล้วสงบขึ้นมาแล้วเมื่อไหร่จะได้วิปัสสนา เราจะตายทิ้งเปล่าๆ ไม่ใช่หรือ

เราบอกไม่ใช่ พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกอย่างนั้น เรากำหนดพุทโธๆๆ พอจิตสงบ สงบแล้ว เราพอสงบนะ พอเราทำพุทโธพอจิตสงบปั๊บ สักพักหนึ่งมันก็จะออก พอกำหนดพุทโธอีกมันก็ไม่ได้ แล้วส่วนใหญ่คนมันจะเครียด เราบอกว่าเราพุทโธไปเรื่อยๆ พอมันพัก มันสบายแล้ว เราออกใช้ปัญญาได้เลย เพราะการใช้ปัญญานั้นก็เป็นสมถะวันยันค่ำ

โยม ๑ : อ๋อ แล้วทีนี้เราใช้ปัญญาในอะไร ในกายเหรอ

หลวงพ่อ : ใช่ ในกายเราก็ได้ ในธรรมะก็ได้ พอเราใช้ปัญญาไปปั๊บ พอมันใช้ปัญญาออกไป โยมใช้สิ พอจิตมันสงบแล้วมันใช้ปัญญาขึ้นมา เวลามันปล่อย มันจะว่างกว่า ลึกกว่า แล้วเราก็พุทโธต่อไป ใช้ปัญญาต่อไปเรื่อยๆ พอเรื่อยๆ จิตมันก็สงบไปเรื่อยๆ ฐานกำลังมันก็มีขึ้นเรื่อยๆ พอฐานกำลังมีขึ้นมาแล้ว พอมันออกมาใช้ปัญญา มันจะเป็นวิปัสสนาไปโดยข้อเท็จจริงเลย

โดยข้อเท็จจริงเพราะอะไร เพราะเรามีบัญชีไง เราโอนเข้าโอนออก โอนเข้าดอกเบี้ยมันก็เพิ่ม เราโอนเงินเข้านะ ไอ้นี่ ๕ เปอร์เซ็นต์ ๘ เปอร์เซ็นต์ ๑๐ เปอร์เซ็นต์มันก็เพิ่มขึ้นน่ะ มันใช้ได้ คนเป็นนะ ทำอะไรก็เป็นไปหมดเลย อันนี้เขาบอกว่า อุ้ย ไม่ได้ ต้องจิตสงบก่อนนะ ต้องอัปปนาสมาธิก่อน ไม่ใช่!

โยม ๑ : ไม่ต้องถึงขั้นนั้น

หลวงพ่อ : อัปปนาสมาธิวิปัสสนาไม่ได้ เพราะจิตมันสักแต่ว่า เพียงแต่ว่าเราเวลาอัปปนาสมาธิคือรวมใหญ่ ถ้าจิตมันรวมใหญ่น่ะ มันอยู่ที่วาสนาของคนไง อย่างเช่นของเรา เราจะพัก ไปรวมใหญ่เราก็ได้กำลังมาก ออกมาทำงานได้เป็นชิ้นเป็นอัน ถ้าเราบางทีเรารวมใหญ่ได้ หลวงตาท่านพูดอย่างนี้ ท่านบอกท่านเรียนหนังสืออยู่ถึง ๗ ปี แล้วพยายามพุทโธ พุทโธ มันรวมถึง ๓ หน ๗ ปี เข้าสมาธิได้ ๓ ครั้ง

แล้วพวกเราทำอะไรกัน เข้าไป ๓ ครั้งเข้าไปพักเฉยๆ เพราะตอนนั้นท่านยังไม่ได้ออกปฏิบัติไง นี้พอออกปฏิบัติแล้วท่านก็ลุยเต็มที่เลย สมาธิอยู่เต็มที่เลย ท่านบอกว่า ท่านบอกท่านเสื่อมไป ที่ออกมาที่จักราชเห็นไหม สมาธินี่แน่นปึ้กยังกับหินเลย อย่างกับแท่นหินแข็งแรงเต็มที่เลย ไปทำกลดหลังเดียวเสื่อมหมดเลย

เหมือนแท่นหินเพราะตอนทำท่านทำด้วยความระมัดระวัง ท่านบอกว่า ใหม่ๆ ท่านก็ดูจิตเฉยๆ นี่แหละ ท่านบอกกำหนดจิตเฉยๆ ดูจิตเฉยๆ แล้วพอดูจิตเฉยๆ พอมันเสื่อมไง พอมันเสื่อมท่านบอกพยายามดูจิตอย่างกับเข็นครกขึ้นภูเขา วันสองวันมันก็กลิ้งมา วันสองวันก็กลิ้งมาหมดเลยเห็นไหม ว่างๆ ว่างๆ พอสุดท้ายแล้วมันไม่มีอะไรยึด ไม่มีอะไรเกาะ ท่านก็มาคิดเอง เอ้..เราจะทำอย่างไรดี อ้อ..สงสัยเราขาดคำบริกรรม

บังเอิญว่าหลวงปู่มั่นจะต้องไปเผาศพหลวงปู่เสาร์ ก็ปล่อยให้ท่านรอที่บ้านโคกก่อน ท่านกำหนดอยู่ ๓ วันอกแทบระเบิดเลย เพราะมันเคยสบายไง มันเคยเป็นขี้ลอยน้ำ เคย พอบังคับให้มันทำงานคือกำหนดพุทโธ เราคิด ความเครียดคือจิตทำงาน เวลาเราคิดจน เครียด เราคิดจนเรานอนไม่หลับ คือจิตทำงาน ทีนี้เราบังคับให้จิตทำงานกับพุทโธ ไม่ให้คิดตามอำนาจกิเลสของมัน เราบังคับให้อยู่กับพุทโธ มันไม่ยอมเว้ย เพราะมันเคยสบายใช่ไหม พอบังคับพุทโธ ท่านบอก ๓ วันแรก ท่านอกแทบระเบิดเลย

แต่พออยู่ไป อยู่ไป อยู่ดีขึ้นๆ น่ะ พุทโธ พุทโธ เอาจนอยู่ พออยู่ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ จนพุทโธไม่ได้อัปปนาสมาธิไง พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธไปเรื่อยๆ พุทโธ พุทโธ จนมันมัน เอ๊อะ! พุทโธไม่ได้เลย พุทโธไม่ได้ก็อยู่กับผู้รู้เฉยๆ อยู่กับสักแต่ว่ารู้ พอมันคลายตัวออกมา ท่านก็อัดพุทโธเข้าไปอีก อัดพุทโธเข้าไปเรื่อยๆ น่ะ ทีนี้ตั้งแต่บัดนั้นไม่มีวันเสื่อมเลย ไม่มีวันเสื่อมเลย เห็นไหม พอไม่มีวันเสื่อมเลย ท่านก็ออกทำงานของท่าน นั่งสมาธิตลอดรุ่งอะไรขึ้นมา ท่านก็ได้ขั้นได้ตอนของท่านไปเรื่อย

ฉะนั้นที่ว่าเมื่อไหร่จะออกใช้ปัญญา คนมันพูดบ่อยว่าแล้วเมื่อไหร่จะได้ออกใช้ปัญญาล่ะ เราโทษนะ เราจะไม่โง่เป็นควายเหรอ พุทโธอยู่นี่ก็ควายตัวหนึ่ง ไม่เห็นรู้อะไรเลย ก็ไอ้ควายตู้ พุทโธ พุทโธอยู่ ไอ้ควายตู้อยู่นี่นะ ไอ้ควายตู้เป็นพระอรหันต์เยอะแยะเลย พุทโธ พุทโธ ครูบาอาจารย์เผามาเป็นพระธาตุหมดเลย ไอ้พวกที่มันสักแต่ว่าทำ สักแต่ว่าทำ กูไม่เคยเห็นมันมีมรรคมีผลสักตัวหนึ่ง

โยม ๑ : แล้วเมื่อก่อน ตอนมีอยู่พักหนึ่งฮ่ะพระอาจารย์ คือลูกชายป่วยหนักมาก แล้วโยมก็ พุทโธ พุทโธ จนมีตัวผู้รู้ แล้วก็เราก็รู้อยู่เฉยๆ จนไอ้ตัวรู้หายไป แล้วมันก็ว่างอีกพระอาจารย์ มันคืออะไร

หลวงพ่อ : เพราะมันรู้อยู่เฉยๆ ถ้าอยู่กับผู้รู้นะ แล้วรู้อยู่เฉยๆ ถ้ามันว่าง มันมีอยู่ ๒ อย่าง อย่างหนึ่งคือละเอียดเข้าสมาธิ เพราะผู้รู้เห็นไหม เราอยู่กับผู้รู้เฉยๆ แล้วมันว่าง อีกอย่างมันเข้าสมาธิมา ถ้าไม่เข้าสมาธิมา มันก็ตกภวังค์ไปเลย เพราะเราหายเลย

โยม ๑ : หายเลย

หลวงพ่อ : ไม่ใช่หายเลย นี่มีสติหรือเปล่า

โยม ๑ : มี

หลวงพ่อ : เออ ถ้ามีสตินะ เพราะอะไร เพราะเรากำหนดรู้ กำหนดต่างๆ ถ้าสติมันพร้อมเห็นไหม มันก็ลงสมาธิได้ ถ้าเราจิตเราต้องทันนะ สตินะ คำว่าสติ ถ้าสติมันไม่ทันเพราะอะไร เพราะตอนนั้น พอลูกป่วยน่ะ เราจับประเด็นตรงนี้ ตรงที่ลูกป่วยหรือสายเลือดเราเป็นอะไรไป ธรรมดาจิตใจเราต้องแบบว่า มีเป็นทุกข์เป็นธรรมดา

โยม ๑ : มีทุกข์แต่เราเกาะติดพุทโธ

หลวงพ่อ : ใช่ ตรงนี้ไง เพราะทุกข์ไง เพราะทุกข์เราเกาะพุทโธ สติมันเลยสมบูรณ์ไง แต่ถ้าทำโดยธรรมชาติของมัน มันไม่ทำไง เพราะอะไรรู้ไหม เพราะมันสะเทือนใช่ไหม คนเราอะไรที่มันรัก แล้วมันจะต้อง มันโอ๋.. มันสะเทือนใจมาก เพราะคนเรา

หลวงตาบอกว่า ทุกคนในการภาวนา เวลาจิตเราโดนกิเลสมันต้อนเข้าสู่มุมอับ คนเรามันไม่จนตรอกนะ นี่ไง พอเราสิ่งที่รัก สิ่งที่หวงแหนเห็นไหม พอมันกระเทือน มันรักษาของมันน่ะ เพราะสติมันดีไง แล้วโอกาสอย่างนี้ นานๆ เป็นหนหนึ่ง อย่างนี้ไง พระกรรมฐานถึงไปนั่งบนหน้าผาบนอะไร ก็ตรงนี้เพื่อให้ตื่นตัวไง ที่พระกรรมฐานเข้าไปหน้าผา เข้าไปอยู่กับเสือ ก็ตรงนี้ไง

โยม ๒ : แล้วอยู่กับป่าช้า อยู่กับอะไร

หลวงพ่อ : เหตุนี้ไง การที่พระพุทธเจ้า…

โยม ๒ : มันจะได้กลัว แล้วเราก็ได้กลับมาพุทโธได้

หลวงพ่อ : ใช่ ตอนที่พระพุทธเจ้าสอนมีเหตุมีผลหมด แต่พวกเรามันขี้เท่อ อ่านความคือเราอ่านศัพท์ออกไง อ่านอักษรออก แต่เราไม่เข้าใจความหมายว่า พระพุทธเจ้าทำเพื่ออะไรไง เราก็เลยสักแต่ว่าทำกันนะ ขนไปเลยนะ พวกเราไปเที่ยวป่าช้านะ ก็เอาติดไฟไปติดไว้ก่อนนะ จะให้ป่าช้ามันสว่างไสว มันจะได้ไม่กลัวไง ไป เราไปป่าช้ากัน แต่ไปแบบกองทัพน่ะ ไปเป็นกระพรวนเลย มันก็อยู่บ้านก็ได้ ไม่ต้องไปหรอกอย่างนั้นน่ะ

เขาให้ไปเพื่อจะค้นรื้อค้น ไอ้ความสยดสยอง ไอ้ความกลัวของเราไง ไอ้จิตใต้สำนึกที่มันอยู่ในใจน่ะ รื้อมันขึ้นมา เราถึงชำระกิเลส เราต้องชำระกิเลสของเรา เราต้องต่อสู้กับเรา ฉะนั้นอย่างที่โยมทำน่ะ อย่างที่เหตุการณ์อย่างนั้นมันเป็นเฉพาะ มันเป็นเหตุการณ์เฉพาะ มันไม่เกิดบ่อยๆ แต่เราปฏิบัติเราต้องเกิดให้มันคงที่ ชำนาญในวสี นั้นชำนาญในวสี นี่เราจะต้องหาหลักหาเกณฑ์ของเราให้ได้

ถ้าเราหาหลักหาเกณฑ์ของเรา เพราะอะไรรู้ไหม เพราะการทำความสงบ มันมีอยู่ตั้ง ๔๐ วิธีการ การทำสมถะ การภาวนา พุทโธก็ได้ ธัมโมก็ได้ สังโฆก็ได้ มรณานุสติก็ได้ ระลึกถึงความตาย อะไรก็ได้ แต่! แต่ถ้าเราจิตไม่มีอะไรทำ มันไม่มีหลัก จิตที่ไม่มีอะไรเกาะ เป็นไปไม่ได้

“จิตนี้จะต้องมีคำบริกรรม ไม่มีคำบริกรรมก็ต้องเป็นปัญญาอบรมสมาธิ เพราะปัญญาอบรมสมาธิ มันมีสติ”

เพราะปัญญาอบรมสมาธิอย่างเช่น ตรึกในธรรมะ แล้วมีสติตามไป ผลของมันก็คือสมถะ สมถะทั้งนั้น แล้วพอเขาปฏิเสธกันตรงนี้ไป เราถึงบอกว่าพวกนี้ตัดรากเหง้าไง ต้นไม้ไม่มีรากน่ะมันไปปลูก มันจะขึ้นได้อย่างไร นี่ไงต้นไม้ไม่มีราก ว่างๆ ว่างๆ เห็นเขาปลูกต้นไม้ กูก็ปลูกกับเขา เขารดน้ำต้นไม้กัน อู๋ย..เขารดน้ำต้นไม้ เขาพรวนดิน เขาใส่ปุ๋ย เขาลำบากมากเลย อู๋..สู้เราไม่ได้ว่ะ กูปักไว้กูไม่ต้องทำอะไรเลย

โยม ๑ : อย่างนี้พระอาจารย์คะ สมมุติถ้าโยมปฏิบัติใหม่ โยมก็ปฏิบัติแบบหลวงปู่เจี๊ยะได้ไหมคะ

หลวงพ่อ : ได้

โยม ๑ : ถึงแม้จะเดิน พุทโธ เดินอะไร โยมก็พุทโธโธโธโธโธโธโธ พุทโธโธโธโธโธโธโธโธโธโธ อย่างนี้ตลอด

หลวงพ่อ : ได้! ครูบาอาจารย์เราทำอย่างนี้น่ะถูกหมดแล้ว โยมน่ะมาถูกทางกันหมดเลย เพราะโยมมีครูบาอาจารย์มาทั้งนั้น แต่คราวนี้มันทำมาแล้วมันนาน เขาจะเอาตรงนี้มาเทียบไง พวกเรามีน่ะจุดบอดตรงนี้ ทำมานานแล้วไม่เห็นได้อะไรเลย พอคนอื่นเสนอทฤษฎีใหม่มานะ ขี้ลอยน้ำน่ะ โอ้โฮ สบาย ตอนนี้ไปหาทฤษฎีขี้ลอยน้ำกันหมด

โยม ๓ : เวลาทำต่อเนื่องมันเห็นผลจริงๆ นะ

หลวงพ่อ : ไหน

โยม ๓ : ที่โยมไปอยู่กับหลวงปู่ลีน่ะ

หลวงพ่อ : ทำอะไร ทำอะไร ทำอะไร

โยม ๓ : ไปอยู่กุฏิหนึ่ง เดินจงกรมภาวนาอย่างนี้ ต่อเนื่องอย่างนี้

หลวงพ่อ : แล้วต้องต่อเนื่องสิ

โยม ๓ : มันไม่เพลีย มันไม่เหนื่อย แล้วมันก็ไม่ง่วงด้วย นอนก็นอนน้อย

หลวงพ่อ : แล้วทำไมล่ะ ก็ถูกทางแล้วทำไม ก็ถูกแล้ว ถ้ามันถูกทาง มันทำไปถูกทาง พอถูกทางมันจะส่งกัน

โยม ๑ : แล้วอย่างเวลาเราเดินจงกรม ปัจจุบันนี้โยมเดินจงกรมโดยที่โยมรู้แค่ผัสสะที่ปลายเท้า เท่านั้นเอง

หลวงพ่อ : ว่าไป ว่าไป

โยม ๑ : ทีนี้พอรู้ จิตมันก็อยู่ในแนวนี้เหมือนกัน แต่สมมุติถ้าเรามาแบบนี้ เราจะทำแบบนี้ได้หรือเปล่า หรือว่าพุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ

หลวงพ่อ : พุทโธเลย

โยม ๑ : เอาพุทโธเลย ไม่ต้องไปเอาจับตรงผัสสะที่เบาๆ ตรงนั้น

หลวงพ่อ : พุทโธนะ พุทโธนะ พุทโธเราต้องระลึกขึ้นมาใช่ไหม ถ้าเราไม่นึกพุทโธ พุทโธจะเกิดขึ้นมากับเราได้ไหม นะ ถ้าเราไม่มีวิตกวิจาร พุทโธมันไม่มีหรอก พุทโธจะมีต่อเมื่อเราวิตกขึ้นมา คือเรานึกขึ้นมา นึกคือวิตก วิจารคือพุทและโธ เราต้องวิตกขึ้นมา วิตกมาจากไหน วิตกมาจากจิต เราสัมผัส สัมผัสที่ไหน สัมผัสที่ปลายเท้า นี่อภิธรรมไง ความรับรู้ รับรู้ว่าการเคลื่อนหนอ อะไรหนอ มันเป็นการสัญญาอารมณ์ที่สร้างขึ้นมาอีกอันหนึ่ง

โยม ๑ : อ๋อ โยมเข้าใจแล้ว

หลวงพ่อ : ถ้ามันสัญญาขึ้นสร้างอีกอันหนึ่ง เราก็สร้างอารมณ์ขึ้นมาให้มันว่างๆ อยู่ตลอดไป เราถึงบอก เรายันประจำว่าตัดรากไง คำว่าตัดราก คือตัดสิ่งที่สัมพันธ์เข้ามาถึงจิตไง มันเอาจิตไว้อันหนึ่ง แล้วเราก็ไปสร้างภาพอีกอันหนึ่ง ไอ้ว่างๆ มันอยู่ตรงนี้ตลอด

โยม ๑ : ถูก ถูก ถูกต้อง โยมเป็นอย่างที่พระอาจารย์พูดอย่างนี้ เวลาเดินจงกรมเป็นอย่างนี้เลย

หลวงพ่อ : อภิธรรมทั้งหมดเป็นอย่างนี้ทั้งหมด แล้วมาหาเราว่าหลวงพ่อ ว่างๆ แล้วทำอย่างไรต่อ ๒๐ ปี ๓๐ ปีแล้วน่ะ เราก็เลยถามว่า มึงทำเพื่ออะไรล่ะ ถ้าทำเพื่อปฏิบัติธรรมน่ะถูกแล้วล่ะ

โยม ๑ : อ๋อ พระอาจารย์คะ สมมุติโยมมีอีกคำถามหนึ่ง สมมุติว่า สมมุติเราปฏิบัติพุทโธๆ แล้วระหว่างที่เราดูทีวี ตาเราก็ดูแต่ว่าเราพุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธอยู่อย่างนี้ มันจะมีผลอะไรกับพุทโธเราไหม คือเรารู้ รู้ว่าตัวนี้ แต่บางทีจิตเราไม่ได้ไปส่งอยู่กับไอ้ตัวนั้น

หลวงพ่อ : ไม่ อันนี้มันเป็นอะไรนะ มันเป็นกับลูกศิษย์เราคนหนึ่ง เขามาพูดอย่างนี้ เขาบอกมีพระทางเมืองจันท์นี่แหละ ลูกศิษย์เราคนเมืองจันท์ พระเมืองจันท์ เขาบอกเลยนะ เขาบอกว่าเขานั่งดูทีวี แล้วเขาใช้พิจารณาให้มันเป็นอสุภะอะไรได้ นี่เขาพูดนะ ทีนี้พระเพื่อนเรามันภาวนาไม่เป็นใช่ไหม มันฟังแล้วมันก็ทึ่งน่ะ มันก็เก็บไว้ในใจ มันก็มาหาเรา มาถามว่าเอ็งเชื่อไหม เพื่อนกันน่ะ

“เอ็งเชื่อไหมว่าเขาดูทีวีอยู่แล้วเป็นอสุภะ”

กูบอกว่า “ส้นตีนน่ะ ส้นตีน”

“เฮ้ย..เขาทำได้นะ เขาเป็นอสุภะนะ”

“เอ็งคิดว่าได้เหรอ”

เขาบอก “เขาบอกกูว่าได้”

เราก็ถามมันน่ะ ภาพเคลื่อนไหว มันเคลื่อนไหวอยู่แล้ว แล้วที่ว่าอสุภะ อสุภะคือเราเพ่งซากศพใช่ไหม เราดูภาพขึ้นมา แล้วเราให้มันวิภาคะ คือมีขยายส่วนใช่ไหม มันเกิดจากจิตเราใช่ไหม แล้วที่ภาพที่ทีวีมันเคลื่อนไหวอยู่แล้วใช่ไหม แล้วเราไปดูสิ่งที่เคลื่อนไหว มันเคลื่อนไหวอยู่แล้ว แล้วเราจะมีเวลาเราจะจับได้ไหม ให้มันขยายส่วนโดยตามที่เราบังคับ คือเราบังคับมันไม่ได้

โยม ๑ : ไม่ค่ะ คือเราไม่ได้บังคับที่ในทีวีนะ พระอาจารย์

หลวงพ่อ : เดี๋ยว เราจะเปรียบเทียบให้ฟังก่อน เราเปรียบเทียบเพราะโยมพูดมา พอดีของโยมไง เราจะเปรียบเทียบ เขามีทฤษฎีอันนี้เหมือนกันที่นั่นน่ะ เรากลัวมันจะมีทฤษฎีอันนี้มาหนุนไง ทฤษฎีอันนี้ที่เขาคิดกันอยู่นี่ มันเป็นทฤษฎีของเขาใช่ไหม ว่าเขาดูกันน่ะ เราจะบอกว่าสิ่งที่เขาพูด เขาทำไม่ได้ แต่โดยความเห็นผิดของเขา เขาเสนอขึ้นมา

นี่ไงที่เราจะบอกว่าทฤษฎีขี้ลอยน้ำอีกอันหนึ่ง คือว่าเขาจะบอกว่าเขาทำได้ เพื่อจะไปอวดคนอื่นไง แต่ความจริงใครตามอันนี้ไปเสียหายหมด ทีนี้ของโยม กรณีของโยม เราจะป้องกันก่อนว่า เพราะมาจากเมืองจันท์เหมือนกัน นี่ก็มาจากเมืองจันท์ กลัวเดี๋ยวไฟฟ้ามันจะไปช็อตกัน (หัวเราะ) ต้องแยกก่อน

โยม ๑ : ทีนี้ของโยม โยมดูไปเฉยๆ แต่ในใจพุทโธ พุทโธ รู้เข้ารู้ออก ถอยเข้าถอยออก อย่างนี้ไม่ได้ใช่ไหมคะ

หลวงพ่อ : ฮึ เราจะคิดว่านะ ถ้าทำอย่างนั้นแล้ว ถ้าโยมดูทีวีนะ โยมก็ตั้งสติแล้วดูทีวีไปดีกว่า

โยม ๑ : อ๋อ

หลวงพ่อ : ถ้าโยมพุทโธ มาพุทโธดีกว่า

โยม ๑ : อ๋อ

หลวงพ่อ : เหมือนมีดของเรา เราจะเอามาใช้ประโยชน์ มันจะเป็นประโยชน์ใช่ไหม เราเอามาทำอย่างนั้นปั๊บ มีดมันจะทื่อไง

โยม ๑ : อ๋อ

หลวงพ่อ : พอเรามาพุทโธกับทีวี เราก็พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธไปเรื่อยเลย พอเรากลับเข้าไปในห้องนอนจะพุทโธน่ะ เออ พุทโธ

โยม ๑ : มันไม่ได้

หลวงพ่อ : ฮึ มันจะทำให้ ทำให้หัวใจของเราเอง มันสั่นคลอน มันไม่มั่นคง ถ้าเราดูทีวีเราก็ดูทีวี ตั้งสติไว้ ก็ดูเขา เพราะมันเป็นการดูข้อมูลข่าวสาร เราต้องรู้ทัน พอเราตัดแล้วเราก็กลับไปของเรา พุทโธนี่ก็ชัดเจน คือทำอะไรทำให้มั่นคง ชัดเจนของเรา ชัดเจนกว่า

โยม ๒ : ต้องอย่างเดียวเลยใช่ไหมครับ ต้องอย่างเดียว

หลวงพ่อ : ใช่ ทีนี้พอมาทำอย่างนั้นปั๊บนะ เราดูทีวีเราก็พุทโธไปด้วย เราก็คิดว่ามันก็ได้ เราก็ได้ ทีนี้เราก็ได้ปั๊บนะ ต่อไปนะเราก็จะไม่ทำจริงจังอันนู้นแล้ว ใช่ไหม เราก็จะมาดูว่า กูดูทีวีกูก็พุทโธของกูนี้ไง มันเสียโอกาสของเราไปอย่างนะ งานตามหน้าที่ตามความเป็นจริงอันนั้น เราก็ทำอันนั้นมันได้ประโยชน์ เราก็คิดว่า อันนี้เราก็ทำแล้วไง มันเสียหายตั้ง ๒ ชั้น ๓ ชั้นน่ะ

เสียหายคือหนึ่งจิตใจเรา มันก็แบบว่าเราคุมยาก ใช่ไหม เพราะเราพุทโธอยู่แล้วเราก็ดูอยู่นี่ใช่ไหม พอเราดูอยู่แล้วมันก็พุทโธง่ายนะ เพราะอะไรรู้ไหม เพราะนี่เราก็พุทโธอยู่ พอเราดูแลอยู่ จิตมันมีที่เกาะไง มันจะพุทโธได้นาน จะอยู่ได้ทั้งวันๆ ก็ได้ แต่พอดับทีวีแล้วจะพุทโธน่ะ มันชักไม่เอาแล้ว มันมีโทษไง มันมีโทษต่อการกระทำไปเบื้องหน้าไง นี่พูดถึงผลของเรา

แต่นี้โยมพูดถึงว่า พุทโธแล้วดูทีวีมันดีน่ะ ดีสิ เพราะเราจะพูด ทุกคนนะ ธรรมะพระพุทธเจ้าสอนทำดี ไม่ให้ทำชั่ว ละชั่ว ทำดี สิ่งใดที่เป็นความดี เราก็บอก อู้หูย สิ่งนั้นดี เพราะเราทำอยู่แล้วมันดีใช่ไหม แต่คนลืมไปนะว่ากิเลสมันบังเงา มันอ้างความดี กิเลสมันจะเอาความดีมาอ้างกับเรา แล้วเราก็ไม่รู้ทันมัน เพราะความดีของพระพุทธเจ้าพูดอย่างนี้นะ

เวลาเราสวดมนต์น่ะ ไอ้ความดีที่ดีกว่านี้ยังมีอยู่ ความดีที่ต้องพัฒนาทุกวัน ก็ดีขึ้นไปกว่านี้ยังมี ความดีเราไม่มีที่สิ้นสุดหรอก ความดีละเอียดขึ้นไป ละเอียดขึ้นไป ถ้าทำไมพอดีถึงที่สุดแล้ว ทำไมพระประพฤติปฏิบัติเห็นไหม ละหมดเลย แล้วใครมาก็สงสารนะ ใครมาก็ อู้ฮู พระลำบาก พระลำบาก เช้าๆ จะเทศน์ประจำนะ ไม่ต้องมาสงสารพระนะ ไม่ต้องมาสงสาร ไม่ต้องมาสงสาร เพราะความดีหยาบๆ ไง

ความดีของเขาน่ะ เขาอยากให้พระอยู่พอสมฐานะของพระ แต่เราบอกว่าพระเขาปรารถนาความดีคือจิตสงบ ถ้าจิตเขามั่นคงขึ้นมา พอเขาภาวนา มันทุกข์มันยาก ถ้าเขาฉันอิ่ม เขาฉันแต่สิ่งที่เป็นไขมันเข้าไป พอเสร็จแล้วเขาไปนั่ง อู้ยความดีของโยมเอามาปรนเปรอพระนะ แล้วพระ ฮืม ความดีของโยมมาทำลายพระนะ โอ๋ย..มาทำลาย นี่มันคนละดีเห็นไหม เราบอกว่าโยมใส่บาตรเป็นบุญของโยมจบแล้ว

แล้วขอเวลา ขอให้พระได้คัดได้เลือก ถ้าพระท่านคัดเลือกของท่าน อะไรฉันแล้วพอดำรงชีวิต บางอย่างอย่าให้มันมากระเทือนถึงหัวใจ ทำลายหัวใจมากเกินไปนัก อยู่ที่ท่านจะคัดเลือก ความดีที่ละเอียดกว่าเห็นไหม ถ้ามันเป็นความดี โยมปรารถนาดี โยมเห็นสงสาร รับรู้เข้าใจได้ แต่ถ้าพระไม่มีหลักมีเกณฑ์ พระเห็นโยมอย่างนั้นด้วยความเกรงใจ พระก็ตอบสนองโยม แล้วพระก็ไปนั่ง อื้อหืมๆ อยู่คนเดียว มันก็ไม่ไหว

โยม ๑ : แล้วพระอาจารย์คะ สมมุติตอนที่โยมก็แบบคล้ายกับว่า ร่างกายอะไร มันก็ไม่ดี ไม่อำนวยให้เลย สมมุติถ้าโยมนั่ง แล้วบางทีนั่งได้ไม่นานอะไรอย่างนี้ โยมจะนอน แบบ..

หลวงพ่อ : ได้ ได้หมด เดิน ยืน นั่ง นอน

โยม ๑ : ไอ้เดินโยมไม่มีปัญหา แต่ไอ้นั่งโยมมีปัญหามาก

หลวงพ่อ : นอนก็ได้ นั่ง โทษนะโยมนั่งอย่างนี้ภาวนาได้ ถ้า…

โยม ๑ : ทีนี้โยมก็ต้องเริ่มมาอานาปานสติใหม่ พุทโธโธโธโธโธโธใหม่เลย

หลวงพ่อ : ต้องอย่างนี้!

โยม ๑ : โอ้ย

หลวงพ่อ : ถ้าไม่ทำอย่างนี้ไม่มีทาง!

โยม ๑ : โอเคเจ้าค่ะ โยมเข้าใจแล้วเจ้าค่ะ

หลวงพ่อ : ถ้าไม่ทำอย่างนี้ไม่มีทาง! วัวพันหลัก ตัดรากตัดโคน ตัดรากตัดโคนมรรคผลเลย

โยม ๒ : เราต้องพุทโธทุกขณะจิตเลย

หลวงพ่อ : ใช่

โยม ๒ : ขยับร่างกายพุทโธได้ แต่ดูทีวีควรจะตั้งสติดูทีวีไปเลยอย่างนี้เหรอ แต่ไม่กลัวร่างกายพุทโธได้ อย่างนี้อะเหรอ

หลวงพ่อ : คนละเรื่อง คนละเรื่องกัน มันต้องเป็นครั้งเป็นคราว ที่เราพูดเสียงดัง ที่เราเอะอะโวยวายอยู่ ก็ตรงนี้ไง ตรงที่มันตัดรากถอนโคนพุทธศาสนา แล้วแอบอ้างอวดดีว่าเผยแผ่พุทธศาสนา แต่ความจริงคือตัดรากถอนโคนสัจจะความจริงในใจผู้ที่ปฏิบัติเลย ไม่งั้นเราจะไม่เอะอะโวยวายอย่างนี้หรอก ถ้ามันทำความดีได้ มันจะอ้อมหน่อย มันจะเป็นไปไกลหน่อย มันจะสั้นจะลัดอย่างไร ใครจะไปได้ ก็สาธุ ตามแต่ใครมีวาสนาเนอะ ถ้าใครมีวาสนาจะทำได้ ใครจะมีโอกาสได้นะ เราสาธุนะ

แต่กรณีอย่างนี้ เราค้ำประกัน เรายืนยันว่าเป็นไปไม่ได้ ตัดรากถอนโคนเลย มันตัดรากถอนโคนจากจิตของเราเลย ไปอยู่ที่สัญญาที่สร้างภาพขึ้นมาใหม่ แล้วบอกว่าธรรมะพระพุทธเจ้าละเอียดลึกซึ้ง ลึกซึ้ง ก็ลึกซึ้งก็ของพระพุทธเจ้า แต่ของมึงมึงรู้อะไร ถ้ารู้มันก็ต้องพาพวกเราไปถูกทางสิ เพราะถึงที่สุดแล้วนิพพานเป็นอย่างนี้ ว่างๆ ว่างๆ เราบอกว่างๆ ไม่มี ว่างๆ ไม่มีหรอก มันจะเอาอะไรมาว่าง

โยม ๑ : แล้วทำไมไอ้ความที่เขาเจตนาว่าง กับไม่เจตนาว่าง เขาก็ว่างก็คือสมถะ ที่ไม่เจตนาว่าง มันคือปล่อยเป็นธรรมชาติมันก็คือวิปัสสนา ทำไมเขาเปรียบกันแบบนี้

หลวงพ่อ : โทษนะ เราจะบอกว่าตอแหลไง

โยม : (หัวเราะ)

หลวงพ่อ : ไอ้พวกนี้มันตอแหล เพราะไม่ใช่พูดกับโยมนะ มาเยอะ ลูกศิษย์เขามาอย่างนี้ สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันมันเป็นธรรม สภาวะที่มีความรู้สึกนี่มันเป็นกิเลสเห็นไหม ผมอยู่สภาวธรรมตามความเป็นจริง เราถามกลับว่า เฮ้ย อย่างนี้มันมีจริงๆ หรือวะ ไม่มีหรอก

โยม ๑ : มันยาก มันยาก

หลวงพ่อ : เฮอะ มึงคิดกันขึ้นมาเอง มึงบัญญัติศัพท์กันเอง

โยม ๑ : เพราะโยมทำแล้วมันยากมาก มันไม่ได้

หลวงพ่อ : มันไม่มีหรอก ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าจิตมันทันนะ สมาธิคือจิตหยุดนิ่ง แล้วสภาวะที่มันเป็น จิตมันมีความรู้สึกไป สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันธรรม ถ้าสภาวะที่เป็นปัจจุบันคือธรรมชาติ โยมติดเครื่อง เครื่องยนต์มันติด ต้องมีน้ำมันไหม ทุกเครื่องยนต์ต้องสมบูรณ์ถึงจะติดเครื่องได้ ถ้าเราติดเครื่องไม่ได้ เครื่องดับแสดงว่ามันก็ไม่ติดเครื่องใช่ไหม นี่เขาบอกว่า รถ เขาแบบว่าเครื่องเขาติดอยู่ แต่เขาบอกเครื่องเขาดับ

โยม ๒ : เพราะน้ำมันไม่มีเหรอ

หลวงพ่อ : ไม่ใช่ มันไม่ได้ติด มันไม่มี เขาบอกว่าเครื่องเขาติดอยู่ไง

โยม ๒ : อ๋อ ติดอยู่แล้วเครื่องมันดับ

หลวงพ่อ : อ้าว..แต่ว่าเขานิ่งอยู่ไง สภาวะที่เป็นปัจจุบัน เราบอกเครื่องมันติดอยู่เพราะอะไร เพราะมันมีความรู้สึก มีความคิด จริงไหม ถ้ามีความรู้สึกมีความนึกคิดอยู่มันจะหยุดนิ่งได้อย่างไร แต่พอมันมีกิเลสเห็นไหม เครื่องมันติดจนร้อน มันจะพังอยู่แล้ว อันนั้นมันก็รู้ได้ไง คนมีกิเลสไง

เราบอกมันไม่ใช่ สภาวะที่มันเป็นปัจจุบัน ที่มันเป็นสภาวธรรมที่มันเป็นปัจจุบันคือเป็นโดยสมาธิไง เพราะสมาธิมันไม่คิดใช่ไหม ถ้าสมาธิมันเป็นสมาธิ สมาธิมันไม่คิด มันไม่คิดเพราะอะไร มันไม่คิดเพราะว่าเครื่องมันไม่ได้ติด มันดับเครื่อง ทีนี้การดับเครื่อง มันต้องมีสติ มีทุกอย่างพร้อม แล้วอารมณ์ความรู้สึกมันไม่มี ไม่มีความคิดไง ความคิดคือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ถ้าไม่มีสังขาร มันจะคิดได้ไง มันจะปรุงได้ไง ทีนี้พอมันปรุงไปอย่างนี้ มันก็บอก คำพูดของโยม เขามาพูดกับเราเยอะมาก อยู่กับสภาวะ...

โยม ๑ : ที่โยมทำอยู่แล้วมันไม่ใช่น่ะ มันฝืนน่ะ

หลวงพ่อ : มันไม่ใช่ มันไม่ใช่เพราะอะไร เพราะอันนี้มันเป็นอาการของจิต มันเป็นความรู้สึก มันเป็นสัญญาอารมณ์ แล้วตัวจิตเราเป็นอีกตัวหนึ่ง แล้วตัวจิตเรามันเป็นพลังงาน ถ้าพลังงานไม่ส่งออกมา พลังงานคือตัวจิตมันไม่มี ไอ้สิ่งนี้เกิดขึ้นไม่ได้ สิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ สัญญาอารมณ์สภาวธรรมที่เขาพูด มันเป็นสัญญา มันเป็นอารมณ์ความรู้สึก มันเป็นสัญชาตญาณ สัญชาตญาณมันมีแต่คนมีชีวิต คนตายไม่มีสัญชาตญาณเพราะจิตมันไม่มี ในเมื่อตัวจิตมันมีอยู่ สัญชาตญาณออกมา โดยสัญชาตญาณ พอสัญชาตญาณอยู่แล้ว สิ่งนี้แล้วมันไปดูตามนั้น แล้วจิตมันอยู่ไหนน่ะ

แล้วพวกนี้ไม่รู้จัก พวกนี้ไม่รู้จักสมาธิไม่รู้จักอะไรเลย แล้วสิ่งที่มันเกิดขึ้นมา มันเป็นสัญญาอารมณ์ความรู้สึกใช่ไหม สิ่งที่เป็นสัญญาความรู้สึกปั๊บ มันก็อ่านพระไตรปิฎกใช่ไหม พระไตรปิฎกพระพุทธเจ้าสอนไว้ พระพุทธเจ้าบอกไว้ อย่างเมืองจันท์มาถึงนี่ มันต้องผ่านอะไรมาบ้างไง เขาก็คิดภาพไง อ๋อ..กรุงเทพฯ มันเป็นอย่างนั้นน่ะ อ๋อ..กรุงเทพฯ เป็นสภาวธรรมนะ อ๋อ..ถ้าลงไปเพชรบุรีมันผิดเว้ย โอ๋ เพชรบุรีมันจะลงไปใต้ มันไม่ใช่ไปราชบุรีเว้ย เออ ลงไปเพชรบุรีมันก็เป็นกิเลสไง โอ๋ย ถ้าไปกรุงเทพฯ มันก็เป็นธรรมไง

โยม ๑ : แต่พระอาจารย์บางทีเวลาเราเถียง เราเถียงว่าจิตเรามันไม่ได้เป็นอย่างนี้ เขาบอกอันนี้เป็นสัญญา อันนี้เป็นความคิด อันนี้เป็นไอ้นี่ๆ เขาก็ตอบเราได้ทุกถ้อยคำ

หลวงพ่อ : แผนที่ไง

โยม : (หัวเราะ)

หลวงพ่อ : กูท่องได้ชัดเจนไง กูท่องได้ กูจำได้ พุทโธ่ โง่ตายห่า

โยม : (หัวเราะ)

หลวงพ่อ : ก็เขาเอาแผนที่มากางบอกอยู่นี่

โยม ๑ : แล้วสมมุติถ้าโยมทำ โยมทำแต่ว่าผู้รู้กับสติ

หลวงพ่อ : ใช่

โยม ๑ : อย่างเดียว

หลวงพ่อ : ใช่

โยม ๑ : พุทโธเข้า พุทโธออก

หลวงพ่อ : ใช่

โยม ๑ : จับตรงนี้อย่างเดียว

หลวงพ่อ : ใช่

โยม ๑ : แล้วจะมาทดสอบกับอาจารย์ตอนไหนคะ

หลวงพ่อ : เมื่อไหร่ก็ได้

โยม ๑ : เมื่อๆ เมื่อมันถึงตอนไหนเจ้าคะ

หลวงพ่อ : เมื่อไหร่ก็ได้ เออะ พอจิตมันสงบใช่ไหม พอจิตมันพอมีกำลังบ้าง โยมก็ออกใช้ปัญญาไง แล้วถ้ามันติดขัด แล้วค่อยมาว่ากัน ถ้ามันไม่ติดขัด โยมจะไปได้เป็นแบบอะไรนะ เป็นร่อง ร่อง ร่องไปเลย

ถ้าจิตมีวาสนานะ พอมันไป มันส่งกันไง โยมมีสองขา พอมันสงบขาหนึ่ง ขาซ้าย วิปัสสนาขาหนึ่ง สองขาจะเดินไปแล้วจะส่งกัน ทั้งสมถะทำความสงบของใจ ใช้ปัญญาไล่ไป ปัญญากลับมาทำความสงบ เดี๋ยวโยมเดินสองเท้านะ โยมจะเดินได้รอบ โยมจะเดินได้พ้นจากวัฏฏะไปจากจิตเลย แล้วโยมจะรู้เอง แล้วถ้ามันติดขัดถึงมาถามเรา ถ้าไม่ติดขัดนะ โยมก็ฉิวเลย เรือออกทะเลไปเลย

โยม ๑ : เดินออกไปเรื่อย ๆ

หลวงพ่อ : เอ้อ

โยม ๑ : ก็เดินตามธรรมะตามร่างกายไปเลย

หลวงพ่อ : ทำไป ใช่ ทำไปเรื่อยๆ

โยม ๓ : เดินยังไงก็ตาม ให้พ้นจากวัฏฏะนี้

หลวงพ่อ : เดินฉิวไปเลยไง

โยม ๑ : อ๋อ..พระอาจารย์เหลืออีกอย่างฮ่ะ สมมุติถ้าโยมป่วย โยมจะเข้าโรงพยาบาล เราจะต้องเอาจิตเราออกมา หรือพุทโธมันอย่างเดียว

หลวงพ่อ : พุทโธมันอย่างเดียว เอาจิตมันออกไป เอาจิตออกไป เอาจิตที่ไหนออกไป

โยม ๑ : เอามันไปวางไว้ข้างนอก ไม่เอาตรงนี้

หลวงพ่อ : ไม่มี การว่าความจิตมันออกไป มันเป็นการยกภาระไปกองไว้ หลอกตัวเอง

โยม ๑ : แต่เราไม่รู้สึกกับสังขารร่างกายเราที่เขาทำอยู่นะเจ้าคะ

หลวงพ่อ : นั่นแหละ เราปฏิเสธมันไง ก็เหมือนตัดรากนี่ไง คำว่าตัดราก

โยม ๑ : อ๋อ

หลวงพ่อ : คำว่าตัดราก คือมันไม่ถึงจิตใช่ไหม

โยม ๑ : แต่มันก็ทำได้ใช่ไหมพระอาจารย์ แต่ว่ามันไม่ใช่

หลวงพ่อ : ไม่ใช่ โทษนะ โทษนะ

โยม ๑ : ค่ะ

หลวงพ่อ : ถ้าตายตอนนั้นไปไหน

โยม ๑ : ตกนรก (หัวเราะ)

หลวงพ่อ : ถ้าตายตอนนั้นไปไหน เอาจิตออกไปแล้ว มึงไปไหน หายจ้อยเลย

โยม ๑ : หายจ้อยเลย

หลวงพ่อ : อยู่กับพุทโธ อยู่กับสัจจะความจริง อยู่กับจิตกูนี่ พุทโธอย่างเดียว! บอกเลย หลวงตาบอกว่าพุทโธสะเทือน ๓ โลกธาตุ แต่ไอ้พวกคนโง่ มันบอกว่าพุทโธนี่โง่ สมถะนี่โง่ พุทโธนี่ไร้สาระ พุทโธนี่ชาวพุทธหลงกันมาเยอะ ชาวพุทธทำผิดพลาดกันมาเยอะแล้ว

แต่หลวงตาบอกพุทโธสะเทือน ๓ โลกธาตุ ครอบคลุม ๓ โลกธาตุ แล้วเรายังไม่เห็นคุณค่าของมัน ใครมากูชนแหลกเลย แล้วคำว่าชนของเราเห็นไหม ดูสิ โยมซักเรามาสิ เรามีหลัก ที่ว่าชนแหลก กูไม่มีหลง ไม่มีคลาดจากหลักหรอก กูอยู่ที่หลักนี่ แล้วของกูไม่ใช่วัวพันหลักโว้ย หลักของกูมันหลักที่มันมีชีวิต มันสามารถตอบได้หมด

ฉะนั้นเราถึงพยายามจะเน้นตรงนี้ขึ้นมา พุทโธคำเดียวสะเทือน ๓ โลกธาตุ พุทโธเป็นพุทธานุสติ เราเคารพศาสดา เราเคารพเรา แล้วเคารพศาสดาเคารพไปเคารพมา หลวงตาบอกว่าปฏิบัติไปปฏิบัติมา ไม่เคยคาดคิดเลยว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จะรวมอยู่ที่เราหนึ่งเดียว เพราะพุทโธ พุทธะ ผู้ใดปฏิบัติธรรม ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นตถาคต

ผู้ใดเห็นพุทโธในตัวตนเอง ผู้นั้นจะได้อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า พุทโธไป พุทโธมา พระพุทธเจ้านั่งอยู่กลางหัวใจเรา เพราะธรรมชาติของจิตคือผู้รู้ คือพุทธะ นี่พระพุทธเจ้าสอน ศาสนาพุทธอยู่บนหัวใจทุกดวงใจ พระพุทธเจ้าปฏิเสธพระเจ้าทั้งหมดเลย แต่ถ้าใครเข้าถึงพุทธะ เข้าถึงพุทโธ คือเข้าถึงใจของเรา ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นตถาคต เพราะเห็นถึงพุทโธของเรา เรากราบพระพุทธเจ้าอยู่ในหัวใจของเราเลย

แล้วมึงจะไปไหนกัน มันยังโง่อยู่นะ มันโง่แล้วอวดฉลาด ไปศึกษาธรรมะพระพุทธเจ้าไง อย่างที่พวกโยมพูด อู๊ย..อธิบายได้ยอด ทุกคนจะพูดคำนี้หมด อู้ฮูอธิบาย

โยม ๑ : ก็แทงทะลุตลอดหมดเลย ถ้ามีคำถามอะไรก็แทงเข้ามาทะลุตลอดหมด แล้วอย่างนี้จะไม่... พระอาจารย์จะบอกว่าเขาไม่รู้ได้อย่างไรเจ้าคะ

หลวงพ่อ : อู๊ย พวกนี้นะ อย่าว่าแต่เขาเลยนะ พวกอภิธรรม พวกโยมคฤหัสถ์ พอเขาฝึกไปแล้วนะ โทษนะ อย่างเราเป็นอภิธรรมใช่ไหม พอเราสอนมากๆ เข้า เราแก่ชราภาพ เขาจะฝึกคนรุ่นใหม่ขึ้นมา

แล้วคนรุ่นใหม่เขาจะทดสอบ พวกนี้จะจำอักษรได้ทั้งหมดเลย บรรทัดที่เท่าไร อยู่ที่บรรทัดไหน วรรคไหน ถ้าจำไม่ได้ขึ้นมาจะสอนไม่ได้

โยม ๒ : เหมือนกับแผนที่

หลวงพ่อ : ใช่ พอขึ้นมาสอนปั๊บนะ เขาจะได้เงินเดือน เขาจะได้ตั๋วเครื่องบินไปทั่วประเทศ เขาจะมีการอบรม มีอะไรต่างๆ พวกนี้มันเป็นอาชีพๆ หนึ่ง อาชีพที่ว่าเขาคล่องมาก แล้วอย่างนี้พอพระเข้าไป ขนาดคฤหัสถ์เขายังทำได้ขนาดนั้น พระไม่ต้องพูดกัน เหมือนเราเลยแหละ เรามีโน้ตบุ๊คอยู่ตัวหนึ่ง โยมจะถามอะไร กูกดให้หมดเลย โยมถามอะไร โน๊ตบุ๊คกูก็มีนะ กูจะกดโน๊ตบุ๊คพระไตรปิฎก

โยม : หัวเราะ

หลวงพ่อ : ป๊อกๆๆๆ ถามมานี่ โอ้ย พระไตรปิฎก กูเลยต้องกราบพระไตรปิฎกเลย เพราะกูรอดตายเพราะโน๊ตบุ๊คนี้ แต่กูเองกูไม่รู้นะ ไม่มีคือไม่มี ไม่มีนี่ ที่เขาหากินกันอยู่ได้เพราะอะไร เพราะพวกเราไม่มี คนที่รู้จริงมันน้อย แล้วคนรู้จริงน่ะจะไปจับอย่างนี้ มันเหมือนเราบอกพวกนี้มันแก๊งค์ ๑๘ มงกุฎ แล้วตำรวจจะไปตามจับไอ้แก๊งค์ ๑๘ มงกุฎ เขายังไม่ทำผิดจะไปจับที่ไหน แล้วเวลาเขาไปตกทอง เขาไปหาเหยื่อ แล้วไปที่ไหนน่ะ นี่ก็เหมือนกัน ผู้รู้จริงก็เหมือนตำรวจ รู้จริง มันกลั่นกรองได้หมด แต่ไอ้คนที่มันตั้งจ้องทำอย่างนี้มันเยอะแยะไปหมด

โยม ๒ : แต่ถ้าภาวนาพุทโธนี่จะรู้ขึ้นมาเองใช่ไหมครับ

หลวงพ่อ : สันทิฏฐิโก ปัจจัตตัง ถ้าไม่รู้ขึ้นมา พระพุทธเจ้าพูดขนาดนี้นะ กาลามสูตรไม่ให้เชื่อใครเลย ให้เชื่อที่รู้ขึ้นมานั่นน่ะ รู้ผิดมันก็รู้ว่าผิด เราถึงบอกโยม ที่พูดกับโยม ไอ้โยมที่บอกว่าเขาพูดตอบได้ทุกคำ เรารู้ เรายืนยันว่าพวกนี้เขารู้ว่า เขาไม่รู้ เรามั่นใจว่าไอ้พวกที่ตอบโยมว่า รู้ทุกคำๆ เราว่ามันไม่รู้ ถ้ามันรู้ มันรู้ มันเอาตัวมันรอด มันจะไม่พูดอย่างนี้ เพราะอะไรรู้ไหม

เพราะถ้ามันรู้จริง มันทำของมันได้จริง มันจะต้องสร้างความจริงของมันขึ้นมาในใจของมัน ถ้ามันสร้างความจริงในใจของมันขึ้นมา มันเป็นความรู้จริงเหมือนที่เขาผ่านมาที่นี่แล้ว เขาจะบอกคนอื่นได้ถูกหมดเลย แล้วนี่พอบอกไปแล้วเห็นไหม บอกไปแล้ว โยมไปถามเขา โยมไปถามเขาใช่ไหม เขาตอบได้ทุกคำเลยใช่ไหม แล้วทำไมโยมว่างๆ ว่างๆ จนตื้อล่ะ

โยม : (หัวเราะ)

หลวงพ่อ : ก็ผลมันบอก ก็เขาบอกเรามาหมดแล้ว ไปหาหมอ หมอรักษาบอกรักษาหมดแล้ว หายแล้ว ก็กูยังปวดอยู่ มันหายตรงไหน เขารู้ไหม ยิ่งกว่ารู้อีก เพราะเขาก็เป็นเหมือนโยมนี่แหละ

เขาก็เป็นเหมือนโยมนี่แหละ แล้วโยมเองโยมก็ยังสงสัย แล้วเขาไม่สงสัยได้อย่างไร ถ้าเขาซื่อสัตย์นะ เขาต้องแก้ตัวเขาก่อน ถ้าโยมปฏิบัติตามคำสอนตามคำบอกเขาหมด แล้วโยมเป็นอย่างนี้ แล้วเขาสอนโยมมา เขาทำแล้วเขาเป็นอย่างไร ก็เป็นเหมือนกันน่ะ แต่เป็นเหมือนกันแล้วทำไมโยมสงสัย ทำไมเขาไม่สงสัย

เพราะอะไรรู้ไหม เพราะกู กูจะหาผลประโยชน์ไง กูขี่หลังเสือแล้วนะ กูเป็นอาจารย์ ฉะนั้นบอกไม่รู้ต้องบอกว่าไม่รู้ ควรบอกว่าไม่รู้ ถ้ามึงไม่รู้ บอกไม่รู้ซะ จบ! ทีนี้บอกว่ารู้ อยากเป็นอาจารย์ อยากมีสถานะให้คนเชื่อถือ แล้วบอกว่าตอบได้ทุกคำ ทำไมจะไม่ทุกคำ โธ่ กูถือแผนที่ไว้เลยล่ะมึง ทำไมกูจะตอบไม่ได้ โธ่ ท่องเช้าท่องเย็นนะเว้ย

เราเจอเรื่องนี้มาเยอะ อยู่กับครูบาอาจารย์นะ หลวงตานะ เวลาท่านตรวจสอบธรรมะกัน ท่านพูดปัจจุบัน เวลาโยมตอบมาอย่างนี้เห็นไหม โยมมาบอกว่าโยมว่างๆ แล้วจนมันตื้อไป แล้วถ้าพูดยังไม่เข้าใจใช่ไหม พูดเรื่องอื่นเขาก็วนไปก่อน ไปถามเขาย้อนกลับมาอีก สมมุติว่าเราพิจารณาไป แล้วเราคิดว่าเราเป็นอะไรไป แล้วเราไปรายงานอาจารย์ อาจารย์ก็จะถามว่าจริงหรือไม่จริง พูดครั้งที่ ๑ ไง แล้วก็วนไปคุยเรื่องอื่นกลับมา กลับถามครั้งที่ ๒ เพราะมันพูดเรื่องอื่นมันเผลอไปแล้วใช่ไหม พอมันตอบ ตอบผิด ตอบถูก

แต่ถ้าเป็นความจริงนะ ถามครั้งที่ ๑ ก็ถูก ถามครั้งที่ ๒ ก็ถูก ถามครั้งที่ ๓ ก็ถูก ถามอะไรก็ถูก ไม่รู้พูดไม่ได้ ไม่รู้ตอบไม่ได้ แต่บางทีมันไปลักจำเขามา มันอาจจะพูดครั้งแรกถูก พอเขาถูกแล้ว เขาตรวจสอบกันอย่างนี้นะพระปฏิบัติ ถ้าไม่รู้จริงพูดไม่ได้ แล้วสิ่งที่เขาทำกันอยู่ ถ้ามึงยังตอบในเรื่องของแผนที่นะ ในความรู้สึกของเรานะ เราไม่ให้ค่าเลย ไอ้ที่เขาบอกกันนะ อู้ฮูยละเอียดมาก ลึกซึ้งมาก โอ๋ย อธิบายได้มากนะ ถุย! ไร้สาระ

หลวงตาครูบาอาจารย์ของเรานะ เวลาพูดธรรมะกันนะ ตอบคำเดียว ใช่หรือไม่ใช่ ถามคำเดียวตอบคำเดียว เขาไม่พูดเยิ่นเย้อ พูดชักแม่น้ำทั้ง ๕ หรอก เขาพูดหนเดียว พูดคำเดียว คำเดียวเท่านั้นน่ะ

โยม ๑ : ใช่เลย

หลวงพ่อ : คำเดียวเท่านั้นแหละ!

โยม ๑ : คือพระอาจารย์เขาเวียนไป แล้วก็ถามคำถามว่าใช่หรือไม่อะไรอย่างนี้

หลวงพ่อ : เออ ไล่ออกเลย เขาไม่พูดกันมากหรอก พูดมากน่ะ แผนที่ๆ กูพกแผนที่มา กูพยายามจะอธิบายแผนที่ให้อาจารย์ฟัง อาจารย์รำคาญตายห่า พระเป็น ทีนี้พอแผนที่ปั๊บ พวกเราไปดูเขาก็ไม่มีศักยภาพเลย พูดกันเล็กๆ น้อยๆ ไง เอ้..พระป่านี่ไม่มีปัญญาเลย พระป่านี่ปฏิบัติไม่เป็นนะ สู้ฉันไม่ได้นะดูสิ ยิ่งกว่าคอมพิวเตอร์อีก แจ้วๆๆ แจ้วเลยนะ ไอ้ทางนี้ก็ แหม ว่าปัญญาเลอเลิศ สำหรับเรานะจริงๆ นะไร้สาระ

อย่างของเรามากับโยมน่ะ ทั่วไปน่ะ แล้วถามปัญหา เราตอบ ฉับๆๆ จบเลย เพียงแต่ว่าส่วนใหญ่เป็นเพราะพวกโยมนี่แหละ หลวงพ่อไม่เคลีย ถามแล้วถามอีกไง ทั้งๆ ที่มันโดนใจไปแล้วล่ะ มันกระแทกใจไปแล้วล่ะ แต่พอกระแทกใจ ส่วนใหญ่แล้วก็กลัวผิด กลัวผิด กลัวหลง กลัวผิดพลาด ก็พยายามจะหาอะไรมาการันตีว่าทำแล้วไม่ผิด เราพูดไว้ในสติปัฏฐาน ๔ เราจะแจก “สติปัฏฐาน ๔” นะเราบอกว่าผิดหมด ผิดหมด ใครปฏิบัติก็ผิดหมด ผิดหมด ผิดหมดเลย ผิดทุกคนเลย ผิดทุกคนเพราะอะไร

เพราะเรามีอวิชชา เรามีความไม่รู้อยู่ ในการปฏิบัติของเราก็มีความผิดเป็นธรรมดา พอมีความผิดแล้วเราก็แก้ไขไป มันจะเป็นอะไร แต่ทุกคนต้องการันตีว่า ต้องไม่ผิดนะ ต้องให้ถูกต้องหมดนะ ก็มึงไม่รู้ มึงจะถูกได้อย่างไร ก็มึงไม่รู้ว่าอวิชชามึงมีไหม แล้วปฏิบัติมันจะถูกได้อย่างไร ก็ทฤษฎีมันถูก แต่ความไม่รู้ของเรามันผิด เอาความไม่รู้ไปศึกษาทฤษฎีที่ถูก มันจะ..ขอถามหน่อย มันจะถูกได้ไหม

มันก็ต้องผิดไปก่อนเป็นธรรมดาใช่ไหม แล้วผิดมันจะเสียหายไปไหน ก็ความผิดนั้นน่ะ มันจะบอกเราเองว่า เออโทษนะ เออกูผิดว่ะ เออกูผิดว่ะ ผิดมันก็แก้ไขไง แก้ไขไปแก้ไขมา เห็นไหมมันจะถูก ทีนี้พวกเรานี่ส่วนใหญ่แล้วกลัวผิด เพราะกลัวผิดไง มันถึงผิดๆๆ ผิดตลอดไปไง ถ้าไม่กลัวผิด ทำไป

พระพุทธเจ้า ๖ ปีผิดมาหมดเลย วันคืนวิสาขะถึงได้ถูกมา หลวงปู่มั่นน่ะปฏิบัติแล้วถูไถมาขนาดไหน มีใครบ้างไม่ผิด ผิดมาทั้งนั้น ทีนี้ทางแผนที่เห็นไหม ต้องอย่างนี้ ผิดไม่ได้ ปฏิบัติธรรมผิดหมดเลย มีแต่ความอยากผิดหมดเลย เราสวนกลับเลย ถ้าอย่างนั้นสงสัยต้องไปสอนพระอรหันต์ว่ะ เพราะว่าคนเกิดมามันก็มีกิเลสทั้งนั้น ต้องพระอรหันต์ถึงไม่ผิด แล้วอย่างเราไม่ได้เป็นพระอรหันต์ กูก็ไม่ต้องปฏิบัติเลยน่ะสิ

หลวงตาไม่ได้พูดอย่างนั้น ความอยากที่เป็นมรรคก็มี ความอยากดี การใฝ่ดี การปฏิบัติดี การพยายามขวนขวายอยู่ อันนี้เป็นมรรค แต่เขาบอกความอยากเป็นกิเลสหมด พอความอยากเป็นกิเลสหมด เขาก็ตัดราก ทุกอย่างเขาสอนตัดราก สอนไม่ให้ถึงอวิชชา สอนไม่ให้ถึงไม่ให้เห็นกิเลสของเรา พยายามกลบกิเลสไว้ เอากิเลสไปซ่อนไว้ที่อื่น แล้วบอกฉันเป็นคนดี ฉันสบาย โอ้ย ฉันมีความว่างนะ เอากิเลสไปซ่อนไว้ แล้วก็มาสอนพระพุทธเจ้ากัน

โยม ๑ : แล้วทำไมทางเถรสมาคมปล่อยไว้อย่างนี้ได้

หลวงพ่อ : ถ้าพูดอย่างนี้เดี๋ยวพูดการเมืองไกลเลย

โยม : (หัวเราะ)

หลวงพ่อ : ถ้าพูดเรื่องนี้เดี๋ยวจะไปเข้าการเมืองเลย

โยม ๑ : อ้าว จริงๆ ฮ่ะ ถ้ามันเป็นอย่างที่พระอาจารย์พูดจริงๆ มันก็ควรที่จะแบบ

หลวงพ่อ : เขาไม่ยอมรับกันหรอก เขาไม่ยอมรับกันหรอก มีนะ มีเพื่อนเราเป็นเลขาของสมเด็จวัดนรนาถฯ สมเด็จวัดนรนาถฯ เวลาเข้าไปประชุมในมหาเถรสมาคมน่ะ พยายามเสนอวาระ บอกว่าให้พระในเมืองไทยสอน พยายามให้สอนเหมือนกันว่า นรกสวรรค์มีจริงหรือไม่มีจริง ขนาดเสนอวาระอย่างนี้เขายังไม่ยอมรับ เขายังไม่ยอมให้เข้าประชุมเลย เขาบอกไม่รับ ไม่ให้เข้า ใครสอนอย่างไรให้สอนของเขาไป

ขนาดนรกสวรรค์ เพราะนรกสวรรค์ ในพระไตรปิฎกเยอะแยะไปใช่ไหม พระพุทธเจ้าเทศน์ธรรมจักรเห็นไหม เทวดามาอนุโมทนาเยอะแยะไปหมดเลย แต่เขาบอก นรกก็ไม่มี สวรรค์ก็ไม่มี จุดขายเขาไง ไอ้พวกที่เชื่อนรกสวรรค์ ไอ้พวกนี้ไอ้พวกหลังเขา ไอ้พวกปัญญาชนรุ่นใหม่ ไอ้ถือแผนที่ชัดๆ นรกสวรรค์ไม่มี สวรรค์ในอก นรกในใจ โอ้ มันเป็นจุดขาย จุดขายหมายถึงว่าตลาดน่ะเรียกร้องให้ศรัทธาในกลุ่มของใคร เขาก็รักกันปกป้องกัน มันมีการปกป้องกัน มันมีอะไรกัน

ฉะนั้นอย่าว่าเลย ในวงปฏิบัติเรามันก็มีปฏิบัติถูก ปฏิบัติผิดเหมือนกัน ความผิดพลาดมันมีบ้างเป็นธรรมดา การปฏิบัติผิดถ้าผิดแบบว่าลูกผู้ชายผิด ผิดแบบเราไม่เข้าใจเราต้องแก้ไข อันนี้เราถึงน่าให้อภัย แต่คนที่ผิดแล้วน่ะ คือว่าความผิดนั้น เอาความผิดเอา ถือว่าผิดแล้ว ความผิดนี้มันเป็นจุดเด่น คือว่ามันเป็นสิ่งที่ว่าโลกเขาคาดการณ์ไม่ได้ เอามาเพื่อหาผลประโยชน์ อันนั้นเขาน่ารังเกียจ ในวงสังคมทุกวงสังคมมีคนดีและคนเลวปนกัน เราอย่าบอกว่าพุทโธแล้ว ฮูย ใครพุทโธคนนั้นเก่ง พุทโธไม่ได้หรอก พุทโธเปรตก็เยอะ

โยม ๑ : หัวเราะ

หลวงพ่อ : พอพุทโธแล้วมันไม่จริงก็เยอะไป แต่ความจริงโดยข้อเท็จจริง พุทโธคือพุทธานุสติ พุทโธคือศาสดาของเรา นี้คนปฏิบัติไม่ได้ คนปฏิบัติไม่เป็น มันก็มีของมันเป็นเรื่องธรรมดา นี่เราพูดกันเรื่องข้อเท็จจริง แต่ทฤษฎีคำสอนวิธีปฏิบัตินี่อีกเรื่องหนึ่งนะ เราคุยกันอยู่นี่ทฤษฏีปฏิบัติคำสอน แต่ปฏิบัติไปแล้วตามข้อเท็จจริงนั้น ต้องทำให้ได้จริงอีกอันหนึ่ง ไม่ใช่บอกพุทโธดีแล้ว ใครพุทโธขึ้นมาพวกกูเลยนะ ขี้ก็อุ้มขึ้นเลยนะ บอกพุทโธนี่ดีๆ โอ๋ เหม็นนะทิ้งมันไปเลย (หัวเราะ)

โยม ๑ : อาจารย์ทำอะไรหรือเปล่าคะนี่ สามโมง

หลวงพ่อ : เออ สามโมงเกือบชั่วโมงหนึ่ง ดีมาก ดี ดีมาก ประสาเรานะ เราคิดเลย ที่โยมเข้าใจมาก เพราะโยมมีพื้นฐานมาจากหลวงปู่เทสก์ เพราะโยมเป็นลูกศิษย์กรรมฐานมาก่อน พอพูดมันก็เลยแบบว่าไปจี้ถึงข้อมูลเดิม มันทำให้พูดกันง่าย ถ้าโยมนะ หรือผู้ปฏิบัติเขามาแบบอภิธรรม มาแบบที่เขาศึกษามานะ

เขาฟังเรานะ เขาเถียงตายเลย เขาเถียงตายเลยนะ โอ๋ หลวงพ่อพูด มันพูดแบบว่าไม่มีเหตุผลรองรับ คือพูดแบบเหมือนใช้อารมณ์ความรู้สึก แต่ทางวิชาการเขามีเหตุผล คือมีพระไตรปิฎกรองรับ คือมีแผนที่รองรับ เขายังยึดมั่นว่าอันนั้นถูก ต้องค่อยๆ แก้ ค่อยๆ เคาะ ค่อยๆ ดึงออกมา โอ้ย แก้ความเห็นคนนี่ยากมาก

โยม ๑ : โยมไปกราบหลวงพ่อ...เหมือนกันน่ะค่ะ พยายามกระแทกโยมหลายทีแล้ว โยมก็สงสัย โยมก็พยายามมาทำ มาทำ มาทำ มันก็อยู่ตรง

หลวงพ่อ : นั่นแหละ เขาไม่เสนอทฤษฎีที่ชัดเจน ถ้าอย่างเราเห็นไหม เราเสนอที่ชัดเจนเพราะอะไร เพราะรากเหง้าที่มาที่ไป เวลาเขาพูดน่ะ มันก็คล้าย คำว่าคล้ายๆๆแผนที่เหมือนกัน เพราะเขาไม่ได้บอกที่มาที่ไปไง คล้ายๆๆ แผนที่เหมือนกัน

แล้วนี่โยมดีอยู่อย่างหนึ่ง โยมมีครูบาอาจารย์เป็นกรรมฐาน คือมีที่เขาเรียกว่ามีพื้นฐาน พอมีพื้นฐานเราคุยกันมันจะเร็ว โอย ถ้าไม่มีพื้นฐานนะ ยังจะต้องยกเหตุยกผลอีกเยอะเลย กว่าจะเออตามกู ฮู้ ต้องยกเหตุยกผล ยกอะไรมาให้ดูเยอะเลย แต่นี่ดีเพราะมีพื้นฐาน มันก็เลยคุยกันง่าย เข้าใจได้ง่าย เราก็พอใจ คือเราพูดเพื่อประโยชน์ศาสนา เพื่อเห็นความถูกต้องดีงามของเราเนาะ เออ เอวัง