เทศน์เช้า

เทศน์เช้า

๒๓ ม.ค. ๒๕๕๓

 

เทศน์เช้า วันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๓
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
ณ วัดป่าสันติพุทธราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

พวกเราภูมิใจกันมาก ภูมิใจกันมากว่าเราเป็นชาวพุทธ เป็นพุทธมามกะ เป็นผู้ที่เลื่อมใสในพุทธศาสนา พุทธศาสนาสอนให้มีความร่มเย็นเป็นสุข มีความร่มเย็นเป็นสุขจริง ๆ ..แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง.. ถ้าไม่ใช่แผ่นดินธรรมนะ มันจะมีการแย่งชิงกัน แล้วมันมีการเอารัดเอาเปรียบกัน

เราฟังมามาก ผู้ที่ไปอยู่เมืองนอกกลับมา จะบอกว่าสังคมยุโรปเขาเมตตา เจือจานกันมาก สังคมไทยน่ะติฉินนินทา มันติฉินนินทาเพราะอะไร เพราะสิ่งที่ว่ามันพูดออกมาด้วยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก

แต่ถ้ามันเป็นสิ่งที่ส่งเสริมกันล่ะ สิ่งที่มันส่งเสริมกันมันมีนะ ถ้ามันเป็นสิ่งที่ส่งเสริมกัน มันมีเพราะมันมีความเมตตา มีความเจือจานต่อกัน เพราะมีความเจือจานต่อกันใช่ไหม ดูสิ สังคมไทยน่ะขอทานมหาศาลเลย ทุกคนมหาศาลเลย เพราะคนมีเมตตาไง สังคมอื่นเขายอมรับได้ไหมล่ะ สังคมไทยเราเวลาเจือจานกันน่ะ แล้วสิ่งที่มานี่ ดูสิ เขาตรวจ เขาทดสอบ มันเกิดมาจากไหนล่ะ เกิดจากวัฒนธรรมประเพณี เกิดจากการกล่อมเกลาจิตใจ

เพราะกล่อมเกลาจิตใจ จิตใจมันมีความเมตตา เพราะคนมีเมตตา โลกมันอาศัยตรงนี้หาเหยื่อไง เราจะโทษศาสนาไม่ได้ เราจะโทษสังคมไม่ได้ โทษคนเลว.. คนเลวที่เห็นผลประโยชน์ ในเมื่อประชาชนเขาเป็นชาวพุทธ เขามีความเมตตา เขามีการเสียสละ เราก็ไปหาผลประโยชน์จากตรงนั้น พอหาตรงนั้นแล้วมันจะโทษสังคมได้ยังไง จะโทษวัฒนธรรมประเพณีได้ยังไง ต้องโทษบุคคลสิ ต้องโทษคนเลวสิ.. ต้องโทษไอ้พวกแก๊งที่ทำมาหากินนั้นสิ เพราะอะไร เพราะสังคมเป็นอย่างนี้ใช่ไหม สังคมเป็นอย่างนี้เพราะอะไร

เพราะวัฒนธรรมกล่อมเกลามาใช่ไหม วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ดีงามใช่ไหม ทำให้สิ่งนั้นเป็นที่ร่มเย็นเป็นสุข เพื่อที่เราจะอาศัยอยู่กันเพื่อเจือจานต่อกัน แล้วมันมีคนที่อาศัยอย่างนั้นมาเป็นการทุจริตของเขา อันนั้นมันต้องโทษตรงนั้น แต่เราไปโทษที่ศาสนาเลย ศาสนาเห็นไหมไปอยู่เมืองนอกกันน่ะ สังคมไทยเป็นอย่างนั้น.. สังคมไทยเป็นนั้น.. สังคมไทยมีพื้นฐานอันหนึ่ง แล้วบุคคลที่มาอาศัยใช้สังคมนั้นเพื่อแสวงหาผลประโยชน์อีกอันหนึ่ง

แล้วเวลาเราคิด.. เราก็โทษไปหมดเลย ติเรือทั้งโคนไง.. ติเรือทั้งโคน แล้วเราจะอยู่กันอย่างไร เราจะแก้ไขอย่างไร อย่างเมื่อก่อนเห็นไหม ดูสิ เวลาสังคมนิยม เราต้องทำสังคมให้สะอาดบริสุทธิ์เลย สังคมมันก็ต้องซับซ้อนขึ้นมา มันต้องแก้ไขสังคมขึ้นมา ไม่ทำลายให้หมดเลยแล้วมาสร้างใหม่ มันไม่มี มันต้องแก้ไข แล้วมันจะพัฒนาขึ้นไป

นี่ก็เหมือนกัน เราชาวพุทธน่ะ เราเกิดมาด้วยอวิชชา เกิดมาด้วยความไม่เข้าใจ เกิดด้วยไม่รู้ในพุทธศาสนา พุทธศาสนาสอนถึงปริยัติ ปฏิบัติ พอปริยัติขึ้นมาก็ตำรา วิชาการ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา

พระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมคือธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่บอกทางวิชาการไว้ บอกทางทฤษฎีไว้ แล้วเราก็เอาทฤษฎีมาหาเหยื่อกัน.. มาหาเหยื่อ ถ้าทฤษฎีนี้เพื่อเรานะ เพื่อประโยชน์กับเรานะ เพราะทฤษฎีขึ้นมาเป็นปริยัติ

แล้วปฏิบัติล่ะ ปริยัติมันก็มีใช่ไหม ทฤษฎีมันมีอยู่แล้ว ดูสิ ทางวิชาการน่ะ ทางวิศวกรรมต่างๆ เขามันก็มีวิชาการหมด แล้วทำได้อย่างนั้นหรือเปล่าล่ะ เพราะอะไร เพราะดินเหนียว ดินโคลน ดินเลว สภาพดิน สภาพต่างๆ มันแตกต่างหลากหลาย แล้วมันถ้าแตกต่างหลากหลาย ทางวิศวกรรมเขาต้องหาความมั่นคง เพื่อสิ่งปลูกสร้างนั้นขึ้นมาให้ได้

นี่ก็เหมือนกัน สิ่งที่เป็นปริยัติขึ้นมา พอปริยัติคือวิชาการ เห็นเขาทำก็จะทำอย่างเขา เห็นต่างๆ เราไม่ได้มองอยู่เลยว่าสิ่งที่เราจะทำน่ะ มีพื้นฐาน เราพอจะทำได้หรือเปล่า มันจะเป็นความจริงอย่างนั้นได้ไหม แล้วภาคปฏิบัติลงไปเห็นไหมน่ะ ภาคปฏิบัติ.. ภาคปฏิบัติมันถึงมีเหตุมีผลขึ้นมา

สิ่งปลูกสร้างขึ้นมา ถ้ามีแปลน มีทางวิชาการขึ้นมา สิ่งปลูกสร้างมันเกิดขึ้นมาไม่ได้เลย แล้วสิ่งปลูกสร้างจะเกิดขึ้นมา สิ่งปลูกสร้างมันเกิดขึ้นมาจากไหน สิ่งปลูกสร้างมันเกิดขึ้นมาจากหัวใจใช่ไหม เกิดขึ้นมาจากภวาสวะ เกิดขึ้นมาจากภพ ภพที่สถานะที่การเกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นมนุษย์แล้วชำระสะสางขึ้นมา เป็นประโยชน์ขึ้นมา มันเกิดขึ้นมาจากที่นี่ สัมผัสธรรม

ธรรมสัมผัส คือมันขึ้นมาจากใจ มันปฏิบัติขึ้นมา พอปฏิบัติขึ้นมาตามความเป็นจริง ถ้ามันไม่มีภาคปฏิบัติขึ้นมา นี่ไงภาคปริยัติไง เอาทางวิชาการ เอาคำมาพูดกันทางทฤษฎีไง แล้วก็อ้างทฤษฎี พุทธพจน์ ! พุทธพจน์ ! เราไม่ได้เถียงพุทธพจน์ เถียงไอ้คนพูดพุทธพจน์

ทฤษฎีทางวิชาการมันก็ถูกต้องทั้งนั้นน่ะ แต่ภาคปฏิบัติที่ลงไปทำในพื้นที่ ลงไปตามความจริงน่ะ มันจะเป็นอย่างนั้นได้จริงหรือเปล่าล่ะ มันจะเป็นจริงๆ ไหม ถ้าพระพุทธเจ้ายังมีชีวิตอยู่นะ พระพุทธเจ้าจะสอนขึ้นมานี่ มันยังมีหลากหลายไปอีกนะ ไม่ใช่หลักตายตัวในพุทธพจน์นี้หรอก เพราะอะไร เพราะสภาพแวดล้อมมันแตกต่างกันไป ความรับรู้มันต่างกันไป ทางวิชาการ ทางการศึกษามันแตกต่างกันไป

สมัยพุทธกาลน่ะ พระพุทธเจ้าบอกเลยอนาคตน่ะมันจะมีฝนเหล็ก.. ฝนเหล็ก.. ความว่าฝนเหล็กเดี๋ยวนี้ดูสิ สงครามเวียดนาม สงครามต่างๆ ดูมันทิ้งระเบิดกันสิ ฝนเหล็กไหมล่ะ แต่การคาดหมายในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าบอกต่อไปอนาคตจะมีฝนเหล็กน่ะ ใครจะจินตนาการได้ว่าฝนมันจะเป็นเหล็กได้ยังไง

ในเมื่อวิวัฒนาการ มันพัฒนาการของมันไป กิเลสมันอาศัยสิ่งนั้นน่ะมาอ้างอิงเห็นไหม ธรรมะ พุทธศาสนาสอนแห่งปัญญาๆ ก็เอาปัญญา.. เอาปัญญามาหาเหยื่อ หาผลประโยชน์กัน แต่ปัญญาที่เข้าไปชำระล้างเห็นไหม

ดูสิ หลวงตาเห็นไหม คนจนผู้ยิ่งใหญ่ มีบริขาร ๘ เป็นสมบัติส่วนตนเท่านั้น เวลาหาเงินเข้าสู่ประเทศชาติ หาเงินเข้าสู่สังคมเป็นหมื่นๆ ล้าน คนจนผู้ยิ่งใหญ่ ! มันไม่ได้มีศักยภาพได้มาจากแก้วแหวนเงินทองที่ไหน ได้ศักยภาพมาได้จากความสะอาดบริสุทธิ์ของใจ ! ถ้าสะอาดบริสุทธิ์ของใจอันนั้นหนึ่งความยิ่งใหญ่มันอยู่ที่หัวใจนี้ ความยิ่งใหญ่มันอยู่ในสัจธรรมนี้

ถ้าสัจธรรมนี้มันความยิ่งใหญ่แล้วน่ะ มันจะมีความมดเท็จ มันจะมีความหลอกลวง มีการฉ้อฉลอย่างนั้นได้อย่างไร สิ่งที่มดเท็จ ฉ้อฉล หลอกลวงน่ะมันพิสูจน์ได้.. มันพิสูจน์ได้.. พูดถึงว่าผู้รู้จริงมันยังมีอยู่เห็นไหม

นี่พูดถึงภาคปฏิบัติ นี่พูดถึงศาสนา เราภูมิใจกันมากว่าเราเป็นชาวพุทธ ชาวพุทธเราภูมิใจกันมาก แต่ภูมิใจกันมากเห็นไหม “กาลามสูตร” ใช่ ! ถ้าอย่างพวกเรากาลามสูตรใช้ไม่ได้หรอก กาลามสูตรใช้ไม่ได้ เพราะเรามันไม่มีวุฒิภาวะจะตัดสินได้ว่าอะไรผิด อะไรถูก อะไรควรหรือไม่ควร

เมื่อวานพูดกับเขาเป็นชั่วโมงนะ เขาบอกว่า “ฟังซีดีครั้งแรกแล้วฟังไม่ได้เลย” ฟังเราไม่ได้เลย แล้วสุดท้ายน่ะ เขาบอกว่า “มันไม่เห็นเหมือนกันเลย” เราถึงบอกว่า “มันแตกต่างราวฟ้ากับเหวนู่นน่ะ”

หลวงตา หรือครูบาอาจารย์ พระป่าเราน่ะจะบอก “ตั้งสติ.. ต้องตั้งสติ ต้องฝึกสติขึ้นมาให้ได้ ต้องทำสมาธิขึ้นมาให้ได้.. ถ้าจิตสงบขึ้นมามันถึงมีโอกาสได้ใช้ปัญญา”

นี่บอกว่า “เผลอปั๊บ ! สติเกิดเองน่ะ” นี่มันแตกต่างน่ะ

ทำไมไม่เห็นความแตกต่าง..? ... แตกต่างราวฟ้ากับดินเลย ! ฟ้ากับเหวด้วย !

แล้วใช้แล้วขั้นของปัญญาน่ะ มันเป็นไปไม่ได้ทั้งนั้นน่ะ ปัญญาเกิดจากสภาวะจำ เกิดจากสภาวะถิรสัญญาน่ะมันเกิดภาวะจำ ในพระป่าเรา ในการปฏิบัติ ครูบาอาจารย์ท่านห่วงมากเลยถึงเรื่องความจำ สัญญาเห็นไหม ปริยัติคือการจำ !

เช้าขึ้นมาก็เรียนนะ ท่องนวโกวาท.. พอกลางคืนก็ลบมันทิ้ง พุทโธๆๆ เห็นไหม สภาวะจำ ถ้าจำมาแล้วน่ะ มันก็เกิดการจินตนาการ เกิดต่างๆ ขึ้นมาเห็นไหม แต่ถ้ามันความสงบของใจ ปริยัติแล้วปฏิบัติ แล้วพอปฏิบัติขึ้นมา ปฏิบัติก็ต้องให้เป็นเอกเทศ ต้องธรรมะส่วนบุคคล ต้องความสัมผัสของใจ ใจสัมผัส

นี่ว่ากาลามสูตรน่ะ ถ้าไม่มีภาคปฏิบัติ ไม่มีความสัมผัสของใจ ใจไม่ได้สัมผัสสิ่งใดเลย แล้วเอาอะไรมาแยกแยะว่าถูกหรือผิดล่ะ ถ้าเวลาพูดก็พูดปริยัติไง ทฤษฎีไง วิศวกรรมเห็นไหม ตึกฉันสูงสุดในโลก ๕๐,๐๐๐ ชั้น มันก็พูดของมันไป กูจะไปสร้างตึกบนดาวอังคารน่ะ กูจะไปบนดวงจันทร์นู่นน่ะ สูงกว่ามึงอีก แล้วเอาอะไรมาเป็นเครื่องยืนยันน่ะ อ้าว.. ก็พูดกันไป อ้าว.. ก็เชื่อกันไป

แต่ถ้าคนมันมีความสัมผัส มีความเป็นจริงเห็นไหม “กาลามสูตร” กาลามสูตรไม่ให้เชื่อ ! ไม่ให้เชื่อ ! ไอ้นี่มันน่าเห็นใจ เพราะเมื่อวาน เขาพยายามจะให้ชี้ความแตกต่าง “ถูก” กับ “ผิด” ทั้งๆ ที่เขาก็เห็นถูกเห็นผิดแล้วล่ะ ถ้าไม่เห็นถูกเห็นผิดเขาจะมาขอขมาเราทำไม

แต่เราจะบอกว่า ปัญญาคนไง ปัญญาคนที่จะรู้ที่จะเห็นได้ ปัญญาคนมันวัดได้แค่ไหน สิ่งใดมันวัดได้แค่ไหน ว่าอะไรถูก อะไรผิด นี่ไง มันถึงมีความจำเป็นว่าผู้นำ มีความจำเป็นว่ามีครูบาอาจารย์ของเรา ครูบาอาจารย์ของเราชี้นำเรา ครูบาอาจารย์สำคัญมากนะ ว่าเวลาธรรมะบอกนะ ห้ามติดตัวบุคคลให้ติดธรรมะนะ อย่าไปติดตัวบุคคล

แต่ธรรมะมันไปอยู่ในหัวใจของครูบาอาจารย์เรา ธรรมะมันไปอยู่ในหัวใจอันนั้นน่ะ เพราะหัวใจนั้นเป็นธรรมจริงๆ ก็ติดในธรรมน่ะ แต่ธรรมอยู่ในบุคคล แต่เราจะเลือกได้อย่างไรว่าถูกหรือผิด

ถ้าถูกหรือผิด แล้วถ้าถูกผิดน่ะมันจะแยกไปไหน ความจริงมันสัมผัสได้ ความสัมผัสมันแบบว่าสะอาดบริสุทธิ์ไง ดูอย่างพ่อแม่รักลูก มันมีความสะอาดบริสุทธิ์ ความรักของพ่อแม่เห็นไหม ลูกนี่มันสัมผัสได้นะ ลูกมันไว้ใจพ่อแม่มาก ลูกเวลาคนอื่นนะ แอะเดียวน่ะ ! ร้องไห้เลย ลูกไปกับคนอื่น คนอื่นติเตียนน่ะ ไม่กล้าไปแสดงออกกับใครเลย แต่กับพ่อแม่นะมันคว้าหมด มันเอาล้วงกระเป๋าหมดเลย แล้วพ่อแม่ก็ให้หมดเลยเห็นไหม

มันสัมผัสได้ไหม มันสัมผัสถึงความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่กับลูกน่ะสัมผัสได้ไหม ระหว่างครูบาอาจารย์กับลูกศิษย์น่ะมันสัมผัสกันได้ พ่อแม่ครูอาจารย์มันสัมผัสได้ อะไรจริง อะไรปลอมสัมผัสได้ ถ้าเรามีสติสัมปชัญญะสักหน่อยหนึ่ง แล้วเรารักษาของเราเห็นไหม อันนี้จะเป็นประโยชน์กับเรานะ

นี่พูดถึงเราเป็นชาวพุทธ พุทธศาสนา เราเป็นชาวพุทธน่ะ ถ้าพูดถึงเริ่มต้นต้องมีศรัทธา มีความเชื่อก่อน ถ้ากาลามสูตรจะไม่เชื่อสิ่งใดเลย เราก็จะไม่มีสิ่งใดเป็นที่พึ่ง มีความเชื่อ มีความศรัทธา ความเชื่อนี้เราก็ใช้ปัญญาแก้ไขแยกแยะ กาลามสูตรอย่าพึ่งเชื่อ ให้มันเป็นความจริง ให้เชื่อสัจธรรม ให้เชื่อความสัมผัสของใจ ใจถ้ามันสัมผัสขึ้นมาเป็นจริงน่ะมันรับรู้ได้.. มันรู้ได้

แล้วรู้ได้รู้ลึกซึ้งกว่านี้ ว่าจิตนี้ไวมาก.. ไวมาก.. ไวมาก.. ถ้าไม่ทันน่ะ เดี๋ยวสติมันทันนะ ทันหมดเลย สิ่งที่ว่าไวน่ะทันหมดเลย ถ้าไม่ทันมันจะเกิดมหาสติได้อย่างไร มันจะเกิดมหาปัญญาได้อย่างไร มันจะเกิดปัญญาอัตโนมัติขึ้นมาได้อย่างไร แล้วคนเห็นคนรู้น่ะมันรู้ได้เลย ว่าคนไม่รู้เอาอะไรมาพูด มันจำขี้ปากเขามาพูด มันก็นี่ไงก็ปริยัตินั่นน่ะ

ในภาคปริยัติน่ะ จำขี้ปากจำแม่นๆ แล้วก็มาคำนวณ เอามาวิเคราะห์วิจัย แล้วก็เอามาพูดต่อ แล้วพอพูดถึงหลักการ ไม่มีเลย ! ไม่มีอะไรเป็นเหตุเป็นผล ไม่มีหลักการใดๆ ทั้งสิ้นเลย แต่เราพุทธพจน์ อย่าเชื่อบุคคลนะ ให้เชื่อพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า ! พระพุทธเจ้า ! สาธุ.. เชื่อ.. !

พุทธศาสนามาจากไหน ก็มาจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ให้เป็นเนื้อแท้ ให้เป็นสาระ ให้เป็นคุณประโยชน์ เราเกิดมาทั้งชีวิต เกิดมาแสนยาก เกิดมาเพราะบุญกุศลเกิดเป็นมนุษย์ แล้วจากนี้ไปน่ะ ไปตามเวรตามกรรม

นี่เกิดมาแสนยากแล้วน่ะ สิ่งที่สัมมาอาชีวะทางโลกเราก็ต้องมี เป็นการรักษาชีวิต แล้วเราก็ต้องมีประโยชน์กับเรา มีความจริงของเรา เพราะเราเกิดมาในพุทธศาสนาแล้ว แล้วพุทธศาสนาน่ะ เป็นศาสนาประเสริฐที่สุด แล้วเราจะมาเป็นสมบัติของเรา เพื่อประโยชน์กับเรา กับชีวิตของเรา

นี่ไง เกิดมาก็แสนยากนะ ถ้ายิ่งภาวนาไปยิ่งเห็นการเกิด ยิ่งเห็นกรรม โอ้โฮ.. มันยิ่งเกิดได้แสนยาก แต่เราเกิดมาก็ทุกข์ ทุกข์แล้วก็ปฏิเสธ อยู่กับชีวิต ต้องรับผิดชอบ ทุกข์มากเลย แต่ทุกข์มันเป็นสัจจะ ทุกข์มันเป็นความจริง แล้วสิ่งใดที่มันละทุกข์ได้ มันวางได้ตามเป็นจริง แล้วเราทำอย่างไรเพื่อประโยชน์กับเรา ตั้งสติแล้วเพื่อประโยชน์กับเรา เรื่องของเขาเป็นเรื่องของเขา เรื่องของเราคือชีวิตของเรา รับผิดชอบตัวเรา เอวัง