เทศน์บนศาลา

กิเลสอยู่ที่ใจ

๓๑ ก.ค. ๒๕๔๓

 

กิเลสอยู่ที่ใจ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๓
ณ วัดป่าสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เราต้องอุตส่าห์ดั้นด้นมานี่เพื่ออะไร? เพื่อหาความสุขใส่หัวใจไง

หัวใจเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด หัวใจเป็นที่รับทุกอย่างเลย ร่างกายเป็นส่วนของร่างกายเฉยๆ กิเลสมันอยู่ที่ใจ ใจเป็นที่รับทั้งมาหมดแล้วใจก็หมุนเวียน หมุนตาย หมุนเกิดอยู่

“กิเลสอยู่ที่ใจ” เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้พิสูจน์มาแล้วไง

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จออกบวช ทำทุกวิถีทางนะ สิ่งที่ว่าอุกฤษฏ์ขนาดไหนทางทรมานร่างกายตามลัทธิต่างๆ มีอยู่ในสมัยพุทธกาล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติ จนในพระไตรปิฎกบอกว่า “สิ่งที่ว่าทำทรมานตน สิ่งที่ทำให้ตนทรมานร่างกาย ไม่มีใครทำเกินองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า”

พูดไว้ในพระไตรปิฎกเลย เห็นไหมว่าทำมาทุกอย่าง อดอาหารมา ๔๙ วัน พยายามทรมานตน พยายามทรมานร่างกายแล้วมันไม่ใช่ มันไม่ได้อยู่ที่ร่างกาย กิเลสมันอยู่ที่หัวใจ ย้อนกลับมาไง จนมาฉันอาหารใหม่ แล้วมาทำอานาปานสติ กำหนดเข้าไปอยู่ที่ใจ ทำอานาปานสติ ทำใจให้สงบขึ้นมา พอใจสงบเข้ามาเห็นไหม ใจมีพื้นฐานอยู่กับความสงบเพราะมีพลังงานอยู่แล้ว แล้วค้นคว้าออกไป ชำระกิเลสที่ใจออกไปหมดทั้งสิ้น

ถึงบอกว่า ธรรมนี้ “มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา” ทุกสิ่งทุกอย่างสำเร็จด้วยใจ ความสุข-ความทุกข์ใจถึงก่อน ใจจะรับก่อนหมดเลย ฉะนั้น กิเลสมันถึงอยู่ที่ใจ เราจะชำระกิเลสเราก็ต้องดูใจเรา ชำระกิเลสที่ใจของเรา ใจของเราเป็นตัวที่ว่าเวียนตายเวียนเกิดมาตลอด เพราะว่ากิเลสอยู่ที่ใจ ใจนั้นพาไป ๓ โลกธาตุ ไปทั้งหมด

อันนี้ว่า ถ้ามันบอกว่า เราเกิดเป็นมนุษย์มีร่างกาย ร่างกายนี้เป็นธรรมดาของร่างกาย เพราะเราเป็นมนุษย์ ถึงว่าเป็นมนุษย์มีร่างกายกับใจ เห็นไหม เหรียญถึงมี ๒ ด้าน มีสุขและทุกข์ ถ้าเป็นมนุษย์นี้มันเลือกได้ ทำไมถึงว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องมาเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน ศาสนานี้สอนที่เรื่องมนุษย์นี้ เพราะมนุษย์นี้เลือกสุข และเลือกทุกข์ได้

ความสุขและความทุกข์ที่มันเกิดขึ้นเห็นไหม เวลามันสุข มันสุขเรื่องของร่างกาย สุขเล็กๆ น้อยๆ แต่เวลามันทุกข์ที่หัวใจเห็นไหม สุขที่ร่างกาย สุข-ทุกข์ของกายก็อย่างหนึ่ง สุข-ทุกข์ของใจก็อย่างหนึ่ง สุข-ทุกข์ของกายเห็นไหม บำรุงบำเรอให้มันพออิ่มพอเป็นไป มันก็สุขอยู่ชั่วคราว แต่ความพอใจของหัวใจล่ะ เวลามันตกทุกข์ได้ยากขึ้นมานี่ เจ็บปวดอยู่ในหัวใจทั้งหมด สิ่งที่สำคัญมันถึงว่าเป็นเรื่องใจ

เขาจะบอกเลยว่า “ถ้าเรื่องของใจสำคัญ เรื่องของร่างกายเราไม่กินไม่ใช้ ให้ใจมันเป็นสุขสิ” นี่เวลาคนมันมืดไง ความคิดของใจเวลามันหยาบนะ มันคิดแต่ว่าความคิดให้กิเลสมันมีอำนาจเหนือกว่า เราจะแสวงหาธรรม เราจะออกหาความสุข มันก็ว่า ความสุขอยู่ในโลกนี้ที่เขาเสพสัมผัสกัน จะอยู่ในวนเวียนอยู่ตรงนั้น ไม่คิดว่าจะเนกขัมมะ ไม่คิดเนกขัมมะออกประพฤติปฏิบัติ ออกหาความสงบของใจ ไม่คิดตรงนั้น คิดแต่เรื่องของร่างกายเห็นไหม เรื่องของทางโลกเขา

นี่เวลาความคิด คิดไปทางดิบ

ถ้าคิดในทางดิบ “ทางดิบๆ” เอาแต่เรื่องของกิเลสสุมเข้าไปในหัวใจ แล้วมันไปไหนล่ะ?

เวลาตายไป ถ้าความคิดดิบๆ เวลาตายไปก็ต้องตกไปในนรก เพราะความคิดต่ำ ถ้ามีความคิดดีขึ้นมา ความคิดมีความสุขขึ้นมา เวลาตายไปไหน? ก็ขึ้นไปบนสวรรค์ ถ้าความคิดทำมาทางบุญกุศลนะ เราทำบุญกุศลน่ะ ความคิดดิบๆ นั้นเป็นความคิดของกิเลส กิเลสมันอยู่ที่ใจแล้วมันยังให้เราคิดออกไปในเรื่องที่ว่าจะทำลายตนเองไง

การจะทำคุณงามความดี หาว่าเป็นการเสียเวล่ำเวลาเปล่า แต่เวลาจะทำอารมณ์ดิบเข้ามาใส่ของตัว ทำเข้าไปเต็มที่เลย เห็นไหม

กายกับใจ มันก็เหมือนกับเราศึกษาศาสนา เวลาเราศึกษาศาสนาเราเอาร่างกายศึกษา คือตา ตานี้เราอ่านหนังสือ อ่านพระไตรปิฎก เราเอาตานี้อ่าน พอเอาตานี้อ่านขึ้นไปเราอ่านพระไตรปิฎก กิเลสมันอยู่ที่ใจมันก็ต่อต้าน มันพยายามคิดเพราะมันมีโอกาส

กิเลสมันอยู่ที่ใจ พอเราศึกษาอะไรไปขึ้นมา เราก็ต้องคิดเอาเรานี้เป็นตัวตั้ง พอเราเอาตัวตั้งขึ้นมานี่ความคิดที่มีโอกาส ที่กิเลสมันจะพลิกแพลง พอพลิกแพลง การศึกษาของเราถึงไม่สมควรแก่ธรรม ถ้าการฟังธรรม ขณะที่ปัจจุบันนี้เราฟังธรรม เราฟังธรรมนี้ “จากใจถึงใจ จากใจดวงหนึ่งถึงใจอีกดวงหนึ่ง ออกมาเห็นไหม” ใจดวงนั้น ความคิดออกมาเป็นคำพูด คำพูดสื่อออกมา โอกาสของกิเลส โอกาสที่ใจมันจะพลิกแพลง ความเห็นมันต่างกัน เพราะว่าอันนี้มันไม่มีโอกาสจะได้พลิกแพลง มันเป็นปัจจุบัน ความที่เป็นปัจจุบัน

การฟังธรรมนี้เป็นเรื่องที่ว่าทำได้ยาก ทำได้ยากเพราะว่าการมีโอกาสฟังธรรมมันไม่ค่อยมีโอกาสฟังธรรม โอกาสเห็นไหม สิ่งที่เราทำงานไป เราทำ เวลาร่างกายของเราจะใช้สุรุ่ยสุร่ายไปนี่มีโอกาส แต่เวลาฟังธรรม...เพราะอะไร เพราะมันหาโอกาส “จากใจดวงหนึ่งถึงใจดวงหนึ่ง”

เราศึกษาธรรมแบบสุตมยปัญญา การศึกษาเล่าเรียนมานี่เราศึกษาได้ การศึกษามาก็ว่าผ่านกาย เอาตาเข้าไปดูก่อน พอตาเข้าไปดูก็คิดเข้ามาก่อน พอคิดขึ้นมา เราเป็นคนคิด เรามีโอกาส เราเถลไถลไปได้ตลอดเวลา เราเถลไถลไปแล้วเราก็คิดคำนวนไป มันเป็นไปได้นะถ้าเราจินตนาการไป เราพิจารณาไปเวลาศึกษาธรรมขึ้นมา เราอ่านมา เราศึกษามา เรามีความพอใจ มีความเข้าใจ เพราะธรรมนี้อยู่ที่ไหนก็คือธรรม อยู่ในกระดาษก็เป็นธรรม เพราะธรรมคือการขัดเกลากับหลักของหัวใจที่มันเห็นแก่ตัว เห็นแก่ความสะดวกสบาย ยิ่งเห็นแก่ตัวเท่าไร สะสมเข้าไปมีแต่ความต่ำทราม คือว่าทำให้ตัวเองหมักหมมในหัวใจตลอดเวลา เวลาอ่านธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นล่ะ มันเข้าไปแล้วจินตนาการมันเกิดขึ้นไป มันจะสว่างมันจะพอใจขึ้นมา อันนั้นก็ว่าเป็นความเข้าใจว่าอันนั้นเป็นธรรม ศึกษาด้วยสุตมยปัญญา

“สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา”

แต่การฟังธรรม เห็นไหมว่าร่างกายกับจิตใจมันส่วนแยกออกจากกัน เราก็ไม่รู้ว่าส่วนแยกของกายกับใจแยกกันตรงไหน เราไม่เห็นหรอกว่ากายกับใจนี้แยกออกจากกัน เพราะเราเกิดเป็นมนุษย์ เราว่ากายกับใจนี้จับตรงไหนก็เป็นอันเดียวกัน

ร่างกายนี้มีกาย ออกแดดจะมีเงา อยู่ที่ไหนจะมีเงา เงาของกาย เราก็เหมาใจทั้งหมด เวลาเหมาว่าใจนี้คือใจ ไม่คิดว่าใจก็มีอาการของใจเหมือนกัน มีเงาของใจ เงาของใจทำให้เราคิดฟุ้งซ่าน “เงาของใจ” เพราะว่าความคิดเป็นเงาของใจ ไม่ใช่ใจ ใจนี้ เวลาจิตมันสงบเฉยๆ นั้นคือตัวของใจ แต่เงาของใจทำจิตนี้ให้ฟุ้งซ่าน เพราะว่าเงาของใจนี้เวลามันสัมพันธ์กัน มันทำปฏิกิริยาต่อกัน มันมีอารมณ์เกิดขึ้นมากับเรา เราก็หมุนเวียนออกไป

กายก็มีเงาของกาย เราก็ยังว่าเรายังมองเห็นด้วยตาเนื้อได้ แต่เงาของใจเราไม่เคยเห็น ไอ้เงาของใจนี้คืออารมณ์ดิบๆ คือความคิดไง คือตัวกิเลส จะว่าเป็นกิเลสมันก็เป็นกิเลสซ้อนอยู่ สมานเรื่องเงาของใจกับใจนี้เป็นเนื้อเดียวกัน เป็นเนื้อเดียวกัน เห็นไหม มันแบ่งแยกไม่ได้ มันเป็นเนื้อเดียวกัน มันถึงถูไถไปด้วยกัน พอถูไถไปด้วยกัน เราก็เลยไม่เคยเห็นใจ แล้วเราว่ากายนี้เราเห็นด้วยปัจจุบัน เห็นว่ามันเป็นของเรา

ความเห็นว่า “เป็นของเรา” เราเห็นกายว่าเป็นของเรา ความเห็นว่า “เป็นของเรา” มันก็ยึด มันยึดแล้วพอมันเจ็บไข้ได้ป่วย มันเป็นอะไรไปเราก็มีความทุกข์เห็นไหม มีความทุกข์เพราะความยึดของเรา แล้วเราก็เป็นความทุกข์ของเรา

สิ่งที่ว่าเป็นธรรม เป็นธรรม ธรรมเกิดที่ไหน ใจนี้เป็นใหญ่ กิเลสมันอยู่ที่ใจ ความทุกข์นี้เกิดที่ใจ ร่างกายนั้นพอเป็นแกร็นๆ ไป เพราะเราเกิดเป็นมนุษย์ มีอำนาจวาสนาถึงได้เกิดเป็นมนุษย์แล้วพบพุทธศาสนา พุทธศาสนาสอนลงตรงนี้ เราถึงได้มีวิธีประพฤติปฏิบัติเห็นไหม นี่เพราะเราเกิดเป็นมนุษย์แล้วเรามีสิทธิเลือก ถ้าเกิดเป็นอย่างอื่นความทุกข์มันบีบคั้นไง ความทุกข์บีบคั้นจนเราไม่มีโอกาสว่าเราจะแสวงหาสิ่งใดมาเป็นยาสมานใจ

นี่มันถึงว่า “มืดมาก็มืดไป ดิบมาก็ดิบไป มีแต่ความดิบๆ เวียนตายเวียนเกิดไป” นี่ใจมันเป็นอย่างนั้นมาตลอด แต่พอมาศึกษาธรรมขึ้นมา สุตมยปัญญา การศึกษามาก็ศึกษามาเพื่อเกิดความศรัทธา พอเกิดความศรัทธาก็เกิดความเชื่อความศรัทธาเกิดขึ้น เราก็อยากจะประพฤติปฏิบัติให้สูงขึ้นไป สูงขึ้นไป

“ทาน ศีล ภาวนา” ถึงว่ามีทาน “ทาน” เพื่อจะให้หัวใจเริ่มฝึกฝนมาจากการตระหนี่ถี่เหนียว ตระหนี่ในความของ ตระหนี่ในอารมณ์ อารมณ์ที่มันติดอยู่กับใจเราก็ตระหนี่ สิ่งที่เกิดมาเป็นความคิดที่ดี เราอยากให้อยู่กับเรานานๆ สิ่งที่ไม่ดีเราก็อยากปฏิเสธออกไป นี่เราไม่เคยสละออกไป เราจะสละออกไม่ได้ “ทาน” ถึงว่าสิ้นของทานมันสละออกข้างนอก อภัยทาน สละเข้ามาข้างใน ความคิดนี่เวียนเข้ามา เวียนเข้ามา

“ทาน ศีล ภาวนา”... “ศีล” ทำใจให้ปกติ ธรรมจะเริ่มเข้าไปหาใจ

“ใจ” กิเลสอยู่ที่ใจ กิเลสไม่ใช่อยู่ที่ร่างกาย แต่เราเกิดเป็นมนุษย์นี้มีกายกับใจขึ้นมา แล้วถึงได้มาคิดใคร่ครวญ คิดใคร่ครวญเพื่อจะเห็นธรรมตามความเป็นจริงไง “ธรรมตามความเป็นจริง” ถ้าเห็นธรรมตามความเป็นจริง ใจนี้สอนใจจนเป็นตามความเป็นจริง มันไม่เข้าใจ จะพิจารณาไปเลย การพิจารณาการที่ว่าเราพิจารณากายของเรา เราเห็นมาเป็นกายนอก เห็นสรรพสิ่งทั้งหลายกระทบเข้ามา สรรพสิ่งนี้มันสังคม ความเป็นไปในสังคม ความทุกข์ยากของสัตว์โลก ความทุกข์ยากของเรา เราพิจารณาเข้าไป มันจะสลดสังเวช เพราะมีความสลดสังเวชมันถึงเริ่มหดสั้นเข้ามา

สลดสังเวชจากภายนอก มันต้องแคนนอนจากข้างนอกเข้าไป พลังงานของใจมันส่งออกทั้งหมด พลังงานของใจนะ กระแสไฟฟ้านี้มันกระแสไฟฟ้าสถิต มันจะส่งออกไป นี่มันแผ่ซ่านไปทั้งหมด จิตนี้ถึงว่าใหญ่มาก เรื่องความมหัศจรรย์ของสิ่งใดใด ไม่มหัศจรรย์เท่าเรื่องของใจ

ใจนี้ถ้าชำระกิเลสจนหมดปลดเปลื้องออกไป จนกิเลสจากใจสิ้นออกไปแล้ว ๓ โลกธาตุนี้ ใจนี้ใหญ่กว่า เพราะใจนี้เคยสัมผัสมาหมด มันระลึกได้หมดใน ๓ โลกธาตุ จักรวาลนี้ใหญ่ขนาดไหน นี้ ๓ โลกธาตุมันใหญ่กว่าจักรวาล เพราะมันซ้อนกันระหว่าง “กามภพ รูปภพ อรูปภพ”

วัฏจักรหมุนเวียนไป แล้วใจนี้มันก็หมุนเวียนตามไป เวลามันปล่อยวางมันปล่อยวางได้หมด พอปล่อยวางได้หมด มันเห็นหมด ถึงว่ามันกว้างขวางขนาดนั้น มันบรรจุไตรโลกธาตุนี้ได้ทั้งหมด นี่มันพิเศษขนาดนั้น

ฉะนั้น เวลาเราฟุ้งซ่านอยู่ มันก็ครอบคลุมเหมือนกัน เวลาคิดฟุ้งซ่านไป ความคิดฟุ้งซ่านไป ถึงไม่ฟุ้งซ่านมันก็เป็นความคิดปกติ ความคิดปกตินี้เป็นโลกียะ เป็นความคิดที่ว่าเราคิดขึ้นมาโดยใช้เงา มันเป็นอาการของใจกับเงาของใจทำปฏิกิริยากัน ทีนี้มันทำปฏิกิริยากันมันก็เป็นความคิดออกมา เราต้องให้ใจนี้สงบเข้ามา ทำความสงบของใจเข้ามา ใจกับอาการของใจมันเป็น ๒ สิ่งที่เป็น ๒ มันส่งเกี่ยวเนื่องกัน ความที่เกี่ยวเนื่องกันมันก็หมุนเวียนออกไป หมุนเวียนออกไปมันก็เป็นความคิดเห็นไหม เป็นความคิดดิบๆ

ความคิดดิบๆ อย่างนี้มันไปประสบธรรมเข้าโดยสุตมยปัญญา สุตมยปัญญาคือการศึกษาธรรม พออ่านเข้าไป ความเข้าใจมันก็ตรงนี้เริ่มปล่อยวางเข้ามาๆ ความคิดดิบๆ มันจะออกไป อาการของใจ ความคิดที่เกิดขึ้นๆ น่ะปล่อย ถ้าเรากำหนดภาวนา เรากำหนดพุทโธ พุทโธ จน

พุทโธกับใจนี้เป็นเนื้อเดียวกัน มันเป็นหนึ่งไง

หนึ่งไม่มีสอง “เอกัคคตารมณ์” ใจนี้เป็นหนึ่ง

แต่ใจปัจจุบันนี้มันเป็นสองอยู่ตลอด สองเพราะอารมณ์ไง อารมณ์ความคิดกับใจนี้ เงากับใจนี้ถึงเป็นของอยู่ด้วยกัน แต่ไม่ใช่อันเดียวกัน แต่เกิดดับๆ อยู่ที่ใจ เราถึงไม่เห็นใจ เพราะเราไม่เห็นใจ ใจนี้ถึงทำงานด้วยความเป็นจริงตามธรรมไม่ได้ จะทำงานตามธรรมชาติของมัน ใจนี่เวลาคิดคือมันทำงานตามธรรมชาติของมัน เกิดๆ ดับๆ นี้ทำงานตามธรรมชาติของความคิด เพราะเราเป็นมนุษย์ ความคิดนี้เกิดดับตลอดเวลา นี่ธรรมชาติของมันเป็นอย่างนั้น

กิเลสอยู่ที่ใจ กิเลสถึงใส่ฝืนใส่ไฟเข้าไป ความคิดนี้ก็คิดออกไปโดยเต็มที่ไง ความคิดนี้คิดออกไปขนาดไหน มันก็ให้พลังงานความร้อนกับใจมากเท่านั้น ถ้าคิดเป็นบุญกุศลมันก็เป็นบุญกุศล คิดเป็นสิ่งที่ดี เราคิดออกมาประพฤติปฏิบัติ คิดเสียสละทาน คิดจะทำบุญกุศล คิดจะออกจากกิเลส นี่ความคิดที่ดี ก็ทำให้เราได้กระทำ มันก็เป็นฝ่ายบุญ

ถ้าความคิดฝ่ายอกุศลคิดไป มันดิบ มันคิดไปเรื่อยๆ มันก็เป็นเอาฝ่ายอกุศลเข้ามาให้ใจนั้นต่ำทรามไปเรื่อย ต่ำทรามไปเรื่อย เราต้องฝืนไง เห็นไหม เริ่มต้นเราก็ต้องฝืน ฝืนเข้ามาให้มันคิดแต่สิ่งที่ดี คิดสิ่งที่ดีคิดไม่ได้ เราต้องหยุดมันให้ได้ก่อน การหยุดให้ได้ กำหนดพุทโธๆ หรือการฟังธรรมนี้ตั้งใจไว้ ฟังไว้เฉยๆ เสียงมากระทบเอง นั่นน่ะ ให้ใจนี้เป็นหนึ่ง เงานี้ก็จะจางไป เงานี้จะเจือจางไปจนใจนี้เป็นหนึ่ง

“ใจนี้เป็นหนึ่ง” ใจนี้มีความสงบเข้ามา ความสงบเข้ามาอันนี้ ความสงบเข้ามาของใจ แล้วใจที่เป็นทุกข์เป็นร้อนอยู่นี้เพราะอะไร เพราะว่าใจนี้เกี่ยวเนื่องด้วยกาย

เรามีกาย เราคิดว่ากายกับใจนี้เป็นอันเดียวกัน อันนี้คืดความหลง กิเลสผูกมัดความหลงว่าให้กายกับใจนี้เป็นอันเดียวกัน แต่ตามสัจจะถึงว่า “ชีวิตนี้มีการพลัดพรากเป็นที่สุด” ถึงจะปฏิบัติธรรมหรือไม่ปฏิบัติธรรม คนเราก็ต้องตายไป เวลาตายไปมันไม่เอากายไปด้วย กายนี้จะสลัดทิ้งไว้ในโลกนี้ ให้ไปอยู่ในป่าช้าหรือเชิงตะกอนเท่านั้น หัวใจนี้ยังต้องเกิดต้องตายต่อไป ไม่มีป่าช้าของหัวใจอยู่ที่ไหนให้เราเห็น ใจนี้เป็นนามธรรม จะต้องหมุนเวียนออกไปตลอด

แต่ความยึดว่ากายนี้เป็นเรา ทำไมไม่แบกกายนี้ไปด้วย...มันเป็นไปไม่ได้ แต่มันก็ติด ความที่ติดว่ากายกับใจนี้เป็นอันเดียวกัน นี่เกิดตน ตัวตนเกิดขึ้น เกิดขึ้นตรงนี้ เกิดขึ้นตรงนี้เพราะอะไร เพราะหัวใจนี้มืดบอด หัวใจนี้ไม่เข้าใจ หัวใจมืดบอดหัวใจก็หลงใหลไป หลงใหลในตัวเอง

ธรรมถึงว่า “ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ธรรมจะเกิดกับใจดวงนั้น”

ดวงใจดวงนั้นเป็นดวงใจที่มืดบอด ดวงใจที่มืดบอดก็ต้องจับด้นเดาไปตามความมืดบอดดวงนั้น แล้วมืดบอดแล้วยังมืดบอดทำปฏิกิริยากับอาการของใจ นั่นนั่น มืดบอด เราทำความสงบเข้ามาๆ จนทำความสงบเข้ามา จิตนี้สงบเต็มที่ จิตนี้สงบ ถึงความสงบลึกๆ นี้ กายกับใจจะแยกออกจากกันให้เห็นเลยว่ามันมหัศจรรย์ถึงว่า จิตนี้ปล่อยกายได้จริงๆ แต่ปล่อยได้ด้วยสัมมาสมาธิ ปล่อยจากสมาธิมันจะปล่อยกายกับใจนี้ออกจากกัน

แต่ปล่อยอย่างนี้มันปล่อยแบบตทังคปหาน ปล่อยชั่วคราว ไม่ใช่ปล่อยตามความเป็นจริง ปล่อยตามความเป็นจริงต้องให้สอนใจไง ผู้ที่พิจารณากาย เพราะใจนี้มาเกี่ยวเนื่องกับกาย มันก็ไปยึดกายว่าเป็นกาย

แต่ถ้าพิจารณาใจ พิจารณาจิต พิจารณาใจ ใจนี้เพราะอะไร เพราะใจ ตัวของใจ กับ เงาของใจ เห็นไหม ตัวเงาของใจนั่นล่ะคือตัวไม่รู้ ตัวไม่รู้มันก็ตัวมาติดที่กาย พิจารณาจับดูที่ใจให้ได้ ถ้าเห็นใจ กิเลสอยู่ที่ใจ เราจะชำระใจเรา อารมณ์ที่เกิดขึ้นนั่นล่ะ เว่ยหลางที่ว่า มันเป็นเงาๆ เงาคืออาการของใจ ความไม่รู้ของเรานั้นคือเงา เงานั้นเกิดดับๆ อยู่กับใจ ใจนี้เป็นอิสระอยู่โดยธรรมชาติของมัน แต่เพราะโดนกิเลสควบคุมไว้ เห็นไหม เราต้องพิจารณา

ถ้ายกกายขึ้นพิจารณา นั่นคือพิจารณากาย

ถ้าพิจารณาใจ จับอาการของใจ คืออารมณ์ความรู้สึก อารมณ์ความรู้สึกจากภายใน ไม่ใช่อารมณ์ความรู้สึกจากภายนอก อารมณ์ความรู้สึกจากภายนอกนั้นเราพิจารณาเข้ามาแล้ว มันปล่อยรูป รส กลิ่น เสียงเข้ามาแล้ว อารมณ์ภายนอกนี้เข้ามาสัมผัสที่ใจแล้วมันให้เรากระโดดออกไปข้างนอก จิตนี้เกี่ยวเนื่องกับวัตถุสิ่งของภายนอก นั้นเป็นอารมณ์ธรรมชาติ อารมณ์ปุถุชนไง

เราพิจารณาสิ่งต่างๆ เข้ามา กำหนดพุทโธเข้ามา จนมันปล่อยวางสิ่งนั้นเข้ามาแล้ว ถ้าการจับอารมณ์ภายในได้มันจะละเอียดอ่อนกว่า มันเป็นอารมณ์อีกชั้นหนึ่ง เป็น “ธรรมารมณ์”

กาย เวทนา จิต ธรรม เห็นไหม สติปัฏฐาน ๔ การทำงานในสติปัฏฐาน ๔ จากภายใน ถ้าจับมันก็เป็นอารมณ์เหมือนกัน แต่ละเอียดอ่อนต่างกัน ละเอียดอ่อนต่างจากข้างนอกและข้างใน จากข้างนอกนี้เป็นอารมณ์ปุถุชนที่ว่ามันไม่รู้เรื่อง รู้ขาว รู้ดำ งานก็ไม่เป็นงาน เพียงแต่เข้าใจแล้วจะปล่อยเข้ามาเฉยๆ แบบสุตมยปัญญาที่ความเข้าใจ ถึงต้องมีสัมมาสมาธิ ต้องมีสมถกรรมฐาน เพื่อทำใจนี้ให้ควรแก่การงาน “ควรแก่การงาน” ใจนี้ควรแก่การงานแล้วยกขึ้น “ยกขึ้น” หมายถึงดูใจ ใจดูใจ ใจแก้ใจ แต่อาศัยธรรมที่เกิดขึ้น กิริยาของธรรม เห็นไหม ศีล สมาธิ ปัญญา นี้มันเป็นกิริยาของใจ ไม่ใช่ตัวใจ ก็จับอาการของใจนั้นวิปัสสนา

วิปัสสนาคือว่า อารมณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร อารมณ์ที่เกิดขึ้นนี้ เกิดดับๆ มันต้องมีเหตุที่มาและที่ไป เวลาเกิดขึ้นมาเป็นอาการของใจ ทำปฏิกิริยาต่อกัน มีอารมณ์ต่อกัน เราแยกออกๆ ต้องแยกตรงนี้ไง

แยกว่า สัญญา ความจำ ความให้ค่าอยู่ที่ตรงไหน

สังขาร ความคิด ความปรุง ความแต่ง อยู่ที่ไหน

สิ่งที่เป็นอารมณ์ได้ เพราะต้องเป็นขันธ์ ๕...ขันธ์ ๕ นี้เป็นอาการของใจ อาการของใจไม่ใช่ตัวใจเห็นไหม เป็นอาการของใจเฉยๆ เป็นเงาเฉยๆ เงากับใจ แต่เงานี้ ถ้าเป็นเงาเป็นบุญกุศลมันก็ยังพาไป มันก็เป็นการติด ถ้าเป็นอกุศลมันก็ลงต่ำ มันก็เป็นความที่ติด เราจะชำระไง เราจะชำระสิ่งนี้ให้สะอาด

ถ้าพิจารณากายก็พิจารณาเพ่งดูเพื่อให้ทำความเข้าใจ ให้ใจนี้เข้าใจ คือปัญญาแทงตลอดในการพิจารณากาย แต่การพิจารณาใจนี้ พิจารณาอารมณ์ ธรรมารมณ์ ความกระทบของอารมณ์ อารมณ์ที่เกิดขึ้น ถ้ามันกระทบไม่ได้ เราก็ย้อนขึ้นมาๆ ดูใจของเรา จับต้องได้แล้วนี่เหมือนกับวัตถุสิ่งหนึ่ง

ใจกับเงาของใจมันเป็นสิ่งคนละอันอยู่ ฉะนั้น เวลาวิปัสสนาไปหมุนเวียนไป อาการของมันจะเข้าใจออกไปว่า สิ่งนี้เกิดขึ้นๆ ถ้าจับได้แล้วนะ ถ้าจับได้ สิ่งนี้เกิดขึ้น แว็บขึ้นมานี่มันเร็วมาก การพิจารณาใจกับการพิจารณากาย ถึงว่าปัญญาต่างกัน ปัญญาการพิจารณากายนี่นะ มันเหมือนกับเราขับรถไปบนถนน ถนนนี้มันเป็นวัตถุ วัตถุที่ว่าใช้ปัญญาดูตามตรอก ตามซอก ตามซอย ว่าถนนเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาไปทางไหน เราขับรถไป เราดูบนถนนไป มันต้องมีสติสัมปชัญญะ ต้องมีสติพร้อม มรรคเดินตัวไป นี่ปัญญาอย่างนี้ ปัญญาการพิจารณาเพื่อความเข้าใจ เพื่อแทงทะลุ เพื่อไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง

แต่การพิจาณาใจนี้เหมือนขับเครื่องบิน การขับเครื่องบินขึ้นไปบนอากาศเห็นไหม บนอากาศไม่มีถนน พอไม่มีถนนมันไปในอากาศ การกำหนดทิศทางนี้มันต้องใช้ความละเอียดอ่อนมากกว่าการขับรถยนต์

การขับรถนี้มีถนนรองรับอยู่ การพิจารณากาย ถึงว่าการพิจารณากายนี้ก็เป็นงานสุดยอดของการประพฤติปฏิบัติแล้ว แต่การพิจารณใจนี้มันละเอียดอ่อนเข้าไปอีก เพราะปัญญามันต้องใคร่ครวญทันถึงการเกิดดับของใจ อารมณ์คิดของใจที่มันเกิดขึ้นมา ต้องคิดใคร่ครวญตาม ใคร่ครวญตาม ใคร่ครวญตามนี้คือวิปัสสนา ถ้าจับจ่อไว้เฉยๆ นั้นมันกำลังไม่พอ เราต้องกลับมาทำสงบ ทำความสงบคือว่าต้องให้เงากับใจนี้เป็นเนื้อเดียวกัน เป็นเอกัคคตารมณ์ เป็นหนึ่ง เป็นพัก พักแล้ว พอปล่อยแล้วมันจะเป็นงานโดยธรรมชาติ

“งานโดยธรรมชาติ” เพราะจับใจได้แล้ว จับอาการของใจได้ แยกอาการของใจออก ทำความเข้าใจแยกออกเป็นวิปัสสนา ขันธ์นี้แยกออกจากกันๆ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อาการของจิตนั้นคือรูปของจิต รูปของจิตคือเงา เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาเลย จับตรงนั้นขึ้นมาตั้งไว้แล้ว ใช้ปัญญาใคร่ครวญมัน ตั้งแล้วมันครบองค์ประกอบนี้มันประกอบด้วยอะไร

สิ่งที่ว่าเป็นวิญญาณประสานออกมา ความคิดที่หมุนออกไปนั้นต้องมีวิญญาณรับรู้ไปตลอด เวทนาความเข้าใจ พอใจในเรื่องอาการแบบนั้น นี่ถ้าแยกตรงนี้ออก อาการของใจสืบต่อกันไม่ได้ มันจะเห็นเป็นตามความเป็นจริงว่าความคิดนี้จะดับ ความคิดนี้เป็นความคิดขึ้นมาไม่ได้ ความคิดครึ่งๆ กลางๆ ไง มันจะขึ้นมาเป็นอารมณ์ของใจทั้งหมด มันเป็นไปไม่ได้เลย มันจะขาดช่วงออกจากกัน ความขาดช่วงออกจากกันนั้นคือตามรู้ตามเห็น รู้เท่ารู้ทัน รู้แจ้งแทงตลอด นี่เป็นอาการของใจ เป็นนามธรรม

แต่เราใช้ปัญญานามธรรม ใช้ธรรมจักรเข้าไปวิปัสสนา เพราะเป็นใจ ใจนี้เป็นนามธรรม สิ่งที่เป็นนามธรรมถึงว่าเป็นการวิปัสสนาบนอากาศเห็นไหม ถ้าทำความเข้าใจ ปล่อย ปล่อย มันปล่อยตรงนี้ ปล่อยก็ต้องซ้ำเข้าไป ความซ้ำเข้าไปก็ต้องทำต่อเนื่อง ทำตลอดไป ทำตลอดไป ทำต่อเนื่อง ความทำต่อเนื่องเพราะแก่นของกิเลส ความติดเหนียวแน่นของมัน มันมีมาโดยธรรมชาติของมันอยู่ตลอดเวลา นี้คือใจ ใจที่สกปรกไปด้วย อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา ผ่านแค่ออกมาเป็น

ปัจจยาให้ใจนี้ติดข้องกับกายโดยธรรมชาติเท่านั้นเอง

วิปัสสนาเข้าไป ถ้าทำเข้าไปจนมันเข้าใจแล้ว พอปล่อย ปล่อยจนขาดเห็นไหม ปล่อยขาดหมายถึงสมุจเฉทปหาน ขาด เงาอันนั้นจะขาดออกไป เงากับใจนี่ขาดออก การขาดออก การวิปัสสนากายก็เหมือนกัน เพราะเงาอันนี้มันมาสมานเป็นเนื้อเดียวกับกาย เพราะกายเป็นกายภายในอยู่แล้ว

ถ้าสมุจเฉทปหานขาดออกไปจากกาย เงานี้เป็นเงา ขันธ์ ๕ เป็นขันธ์ ๕ จิตนี้เป็นจิต อาการที่เกี่ยวเนื่องกันด้วย อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา หลอกมาเป็นตัวตน ตัวตนจะแตกออกไป จากแต่เดิมที่ว่า “ตัวตนเป็นเรา ใจนี้เป็นเรา ทุกอย่างเป็นเรา ของที่ว่าเป็นเรา เราเป็นเรา กายก็เป็นเรา เราก็เป็นกาย จิตก็เป็นเรา เราก็เป็นจิต อารมณ์ก็เป็นเรา เราก็เป็นอารมณ์” มันขาดโดยธรรมชาติ ความขาดโดยธรรมชาติ ขาดจริง พอขาดจริงแล้วมันปล่อยวางออกไป เห็นไหม นี่พิจารณาใจ แต่กิเลสมันอยู่ที่ใจ นี้คืออาการของใจ เราปล่อยตามความเป็นจริงแล้วมันก็ยังมีกิเลสอยู่ เราต้องต่อเนื่องเข้าไป

ความที่จะให้ใจนั้นสะอาด ทำใจให้สะอาดก็ต้องพยายามค้นคว้าหาตัวใจให้เจอ เจอในตรงไหน เจอในอุปาทานไง อุปาทานที่มันยังยึดมั่นอยู่ในกายนั้น

ถ้าพิจารณากาย ถ้าจับกายได้ต้องยกกายขึ้นมา ไม่ยกกายขึ้นมามันก็หาไม่ได้ การหาคือการขุดคุ้ย หางานไง หางานในการวิปัสสนา วิปัสสนานี้คือการทำงานเห็นไหม สมถกรรมฐานนี้ปล่อยเข้ามามันก็เป็นความว่างโดยธรรมชาติของมัน ธรรมชาตินี้เป็นหนึ่งในการเดินอริยมรรค

เดินมรรคอริยสัจจัง ต้องเดินไปด้วยมรรค ๘ งานชอบ เพียรชอบ การงานชอบ ความดำริปัญญาที่จะชอบ มันจะขาดช่วงออกไปจากปัญญาไม่ได้เลย สิ่งที่มีสติระลึกอยู่ก็ระลึกอยู่เป็นหลัก ระลึกอยู่เป็นหลักก็จับตั้งไว้ ตั้งไว้ เข้าไปจับได้เห็นไหม การจับได้นี้จะมีความสุข มีความตื่นเต้นมาก เหมือนกับเด็กทำงานสมประโยชน์แล้วมันจะดีใจมาก นั้นเด็ก

แต่หัวใจที่จับต้อง กาย เวทนา จิต ธรรม ได้นี้มันจะมีความรู้สึกว่าอันนี้เป็นผลงานที่ว่าประเสริฐมาก คุณของใจมันจะเกิดขึ้นมาด้วยความสุขโดยธรรมชาติของมัน ใจที่เคยผิดพลาดตลอดเวลา กลับเข้ามาถูกทางโดยธรรมชาติของมัน มันจะรู้โดยสัจจะเลยว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้อง พอเป็นสิ่งที่ถูกต้อง...ยกขึ้นมา มันให้ค่ามาในใจโดยธรรมชาติ เพราะมันเป็นปัจจัตตัง รู้ขึ้นไปเป็นชั้นๆ จะรู้ขึ้นไปตลอดเวลาว่าสิ่งนี้ถูก สิ่งนี้ถูก ถูกจนเข้าใจว่าตัวเองถูกแล้วปล่อยวาง ถูกแล้วมันจะให้ค่าเห็นไหม

“ใจ” กิเลสอยู่ที่ใจ เวลาวิปัสสนาไปมันจะถลำลึกเข้าไปไงว่า อันนี้เป็นผลสุดท้าย อันนี้เป็นผลแล้ว ถึงว่าวิปัสสนาแล้วจะหลงทางเข้าไป หลงทางส่วนใหญ่จะหลงให้เนิ่นช้า ว่าเรานี้สิ้นสุดของการประพฤติปฏิบัติแล้ว แต่นี่มันเพิ่งเริ่มต้นเอง แต่ความที่ว่ามันเป็นความสุข ความที่มันเป็นสิ่งแปลกประหลาดมหัศจรรย์ที่ว่าใจเราไม่เคยสัมผัส สิ่งที่ไม่เคยสัมผัสมันก็ต้องให้ค่าสูงไว้

พอให้ค่าสูงไว้ เทียบออกมาข้างนอกไง เทียบออกมาจากว่า การศึกษาธรรมมาก็ว่าอันนี้เป็นธรรม อันนี้เป็นธรรม เราคาดไป เราคาดไป แล้วเราจะให้อารมณ์ของเรา ตัดตอนให้มันครบกับองค์ประกอบของธรรมอันนั้น แต่ธรรมอันนั้นเป็นธรรมที่ว่าเราศึกษามา แต่ธรรมจริงๆ ของเรามันยังไม่เกิด ถ้าจะเกิดขึ้นมานี่ต้องจับตัวนี้ได้ ต้องวิปัสสนาซ้ำเข้าไปอีก การวิปัสสนาซ้ำเข้าไปคือการใช้ปัญญา

วิปัสสนา หมายถึงการใช้ปัญญาไตร่ตรองใคร่ครวญ จับสิ่งนั้นพลิกหงายดูให้ได้ จับใจนี้พลิกดูหงายดูว่าสิ่งที่มันหลงใหลได้ปลื้ม มันจับผิดอยู่ มันลืมตัว มันโดนสิ่งนั้นปกคลุมไว้ ถ้ามันจับมาพิจารณาอยู่ “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องดับไปเป็นธรรมดา”

มันเป็นอนิจจัง มันเป็นไตรลักษณะโดยธรรมชาติของมัน มันจะอยู่โดยคงตัวอยู่อย่างนั้น เป็นไปไม่ได้ สสารทุกอย่างทุกอย่างคงตัวไปไม่ได้ แต่ความยึดเรามันยึดโดยธรรมชาติอันนั้นเห็นไหม นี่วิปัสสนาไป เพราะวิปัสสนามันจะเห็นอาการแบบนี้ อาการที่แปรสภาพ เพราะเขาแปรสภาพโดยตัวของเขาเอง

ถ้าพิจารณากายอยู่มันจะแตกออกเป็น “ดินเป็นดิน น้ำเป็นน้ำ ลมเป็นลม ไฟเป็นไฟ” มันจะแยกออกจากกัน ถ้าวิปัสสนาด้วยใจนี้ก็เหมือนกัน วิปัสสนาอยู่หมายถึงพยายามพลิกแพลงดูตามดูให้เห็นว่า อุปาทานความยึดอยู่ตรงไหนไง เวลาปล่อย ปล่อยจริงๆ ปล่อยออกไปนี่กายกับใจนี้แยกออกจากกัน แยกขาด เพราะสภาพของกายเป็นสภาพธาตุ ๔ เป็นธาตุ ๔ ไปแล้ว ความอุปาทานไปยึด มันจะปล่อย

“ใจ” เพราะกิเลสอยู่ที่ใจ ใจไปยึดอยู่ตรงนี้ใจก็จะปล่อยเข้ามา พอใจปล่อยเข้ามา มันจะเวิ้งว้าง ความเวิ้งว้าง โลกนี้ราบเป็นหน้ากลอง ใจนี้เป็นใจ จิตนี้เป็นกระจกใสเห็นไหม “กายนี้เป็นโพธิ จิตนี้เป็นกระจกใจ” มันจะปล่อยวางออกจากกันโดยสัจจะความจริง เวิ้งว้างไปหมดเลย พิจารณากายก็เหมือนกัน พิจารณาใจก็เหมือนกัน

แต่กิเลสอยู่ที่ใจ การวิปัสสนากายนี้ก็เพื่อให้สะเทือนถึงใจ วิปัสสนากายนี้ต้องเห็นกายตามความเป็นจริง วิปัสสนากาย ไม่ใช่วิปัสสนาหรือใคร่ครวญแบบหมอเขา หมอเขาที่ทำอยู่ข้างนอกนี้มันเป็นวัตถุ เป็นการวิเคราะห์ เป็นทางวิทยาศาสตร์

แต่ธรรม! ธรรมมันเกิดขึ้นจากอาการของใจที่เห็นกาย เห็นใจ จากภายใน ธรรมต้องเห็นจากตาธรรม เพราะกิเลสอยู่ที่ใจ กิเลสไม่ได้อยู่ที่กาย

แต่กายกับใจนี้สมานเป็นเนื้อเดียวกัน ใจกับกายนี้ เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เป็นสิทธิของเราจริงๆ เป็นของเราจริงๆ แต่จริงโดยสมมุติ สมมุติคือชาติหนึ่ง ชาตินี้เป็นชาติหนึ่งที่เราเป็นมนุษย์อยู่ เราจะมีกายกับใจนี้จนกว่าเราจะสิ้นจากชาตินี้

“ชีวิตนี้มีการพลัดพรากเป็นที่สุด” เราจะวิปัสสนาหรือไม่วิปัสสนา กายกับใจนี้จะต้องแตกสลาย ทำลายออกจากกันโดยธรรมชาติของมัน เวลาเราสิ้นอายุขัยไป เราเสียเวลาไปภพชาติโดยเปล่าๆ เห็นไหม

แต่ถ้าวิปัสสนาหรือเราเห็นของเราตามความเป็นจริง...จิตดวงนั้นประเสริฐ จิตดวงที่เห็นดวงนั้นประเสริฐ ประเสริฐเพราะไม่มีอุปาทานในกายนั้น ความที่เป็นอุปาทานเห็นไหม จากเป็นตัวตนที่เราหลงยึดมั่น เราก็ปล่อยเข้ามาแล้ว ความปล่อยเข้ามามันยังมีอุปาทานอีกหรือ?

มี อุปาทานนี้เป็นจิตใต้สำนึก จิตใต้สำนึกที่ว่ายังเกาะเกี่ยวกันอยู่ ถึงว่าสังโยชน์ถึงไม่ได้ขาดเลย เพียงแต่ว่ากามราคะกับปฏิฆะนี้อ่อนตัวลงไปเฉยๆ เท่านั้น มันจะอ่อนตัวลงไป

สังโยชน์ ๓ ตัวเท่ากัน สังโยชน์คือความหลงผิด สังโยชน์คือเครื่องผูกมัด สังโยชน์เป็นเครื่องผูกมัดระหว่างกายกับใจนี้ให้เป็นเนื้อเดียวกัน เพราะผูกเงาเห็นไหม ตัวเงาตัวเงานั้นมันจะสืบต่อกันด้วยสังโยชน์ตัวนี้ สังโยชน์มันถึงผูกมัดมา เราวิปัสสนาไปแล้วสังโยชน์จะขาดเอง ถ้าไปหาที่สังโยชน์ สังโยชน์นี้เป็นนามธรรม แต่ถ้าวิปัสสนาทำไปตามความเป็นจริงแล้ว สังโยชน์จะปล่อยโดยธรรมชาติ

เพราะความเข้าใจ เหมือนกับสิ่งที่ความเข้าใจแล้วมันจะให้โง่อีก เป็นไปไม่ได้ ความเข้าใจเห็นไหม เราเห็นสว่าง เห็นมืด โดยธรรมชาติของเรา เราเข้าใจรู้มืดสว่างแล้ว จะมาหลอกเราอีกไม่ได้ ความมืดคือความไม่รู้ ความสว่างคือความรู้เข้ามา ปล่อยเอง ปล่อยแล้วปล่อยขาด ความปล่อยขาดอันนั้นเป็นสมบัติของใจดวงนั้น ใจดวงนั้นก็สะอาด¬ขึ้นมา จากความมืดบอดจากเงาอันนั้น สะอาดขึ้นมาเล็กน้อย เล็กน้อยตามประสาธรรมนะ แต่ตามประสาหลักความจริงที่เราผู้ปฏิบัตินี้ เป็นของใหญ่หลวงมาก เพราะการจะหลุดออกไปจากความยึด ความหลุดออกไปจากวัฏวน ความหลุดออกไปจากอำนาจในหัวใจของเราเอง

สิ่งที่ว่าเป็นคุณ เราว่าข้างนอกเป็นคุณ เป็นที่พึ่งอาศัย แต่เราไม่เคยเห็นภาวะของใจที่ว่าใจมันประเสริฐขึ้นมา พอใจมันประเสริฐขึ้นมานี้มันจะเข้าใจว่า ใจดวงนี้มันพัฒนาตัวเองของมันขึ้นมาได้ วุฒิภาวะของใจที่เราว่าเราฉลาดๆ อยู่นั้น มันไม่ฉลาดจริง ความฉลาดอันนั้นกิเลสพาใช้ เพราะกิเลสพาใช้ กิเลสมันอยู่ข้างหลัง เราว่าฉลาด ฉลาดในความเห็นของเรา แต่มันไปขัดกับหลักความจริง หลักความจริงคือว่าสิ่งนี้มันเป็นความจริงชั่วคราว เป็นความจริงโดยสมมุติไง นี่โลกสมมุติ

โลกสมมุติกับโลกวิมุตติ ความจริงภายในคือเรื่องของนามธรรม สิ่งที่เป็นนามธรรมที่ไม่เคยตาย หัวใจนี้ไม่เคยตาย เพียงแต่โดนกิเลสนี้ปกคลุมอยู่ กิเลสนี้พลักไสไปเห็นไหม นี่ถ้าวิปัสสนาไป ถ้าธรรมมันเกิดขึ้นมา ความเห็นเกิดขึ้นไป มันจะติดสุขอยู่ในตรงนี้ ตรงนี้จะติดสุขมาก แล้วว่าตรงนี้จะเป็นที่สิ้นสุดของการประพฤติปฏิบัติ ส่วนใหญ่จะคิดกันตรงนั้น

นี่เวลาจิตเวลากิเลสมันหลอก มันหลอกว่า “นี่ใช่แล้ว ตรงนี้เป็นผลของมัน”

แต่ตรงนี้เป็นกึ่งทางไง เป็นกึ่งทางที่ว่าจะยกขึ้นวิปัสสนา อสุภะ-อสุภังไง เป็นกึ่งทางว่าใจนี้มันจะเกิดอีกก็เกิดอีกในขอบเขตของอำนาจที่ว่ายังมีสิ่งที่ปกปิดอยู่ในใจ แต่ถ้าเราวิปัสสนาขึ้นไปจะต้องโดนครูบาอาจารย์เคาะ เคาะหมายถึงว่า จี้ไปที่สิ่งที่ว่างๆ อยู่นั้นน่ะมันมีสิ่งใดอยู่ในความว่างนั้น ใจมันจะว่างอยู่ ใจมันจะปล่อยวางจากปกติธรรมดามหาศาลเลย เพราะมันอิสระขึ้นมาแล้ว

“กายเป็นโพธิ จิตเป็นกระจกใส” มันเป็นคนละส่วนกันอยู่แล้ว พอคนละส่วนกัน แล้วส่วนที่มันมีธรรมอยู่ในหัวใจด้วย มันเลยเกาะติดเห็นไหม นี่กิเลสมันอยู่ที่ใจ ใจตัวนี้ถึงยังไม่เข้าใจในหลักความจริง...

...เราเหมา ทุกคนจะเหมาว่ากายกับใจนี้เป็นอันเดียวกัน ความเหมาโดยธรรมชาติคือความเคยใจ ความเคยใจถ้าใจเป็นใจแล้ว ใจจะจับต้องสิ่งใดใดไม่ได้ แต่ตามหลักความจริงถ้าเราทำความสงบแล้ว เวลาทำความสงบออกมาจากทำความสงบ อาการมันต่างกัน ทำไมมันเป็นอาการที่ต่างกันล่ะ?

เหตุที่มันต่างกัน เพราะว่าตัวใจมันมีเงาของมัน ขันธ์ ๕ นี้เป็นอาการของใจ ไม่ใช่ตัวใจ ขันธ์ ๕ เห็นไหม สัญญาความจำได้หมายรู้ ความรับรู้คือวิญญาณ วิญญาณอารมณ์ความรู้สึก แล้วก็สังขารความปรุงความแต่ง มันเกิดขึ้นได้ แต่มันโดยละเอียด โดยละเอียดที่แทบจะจับต้องไม่ได้เลย จะจับต้องไม่ได้ว่ามันละเอียดอ่อนอยู่ภายใน เพราะว่ามันสัมผัสที่กายแล้วแสดงตัวขึ้นมา

แต่เดิมมันสัมผัสลงที่กายด้วย ถึงแสดงตัวขึ้นมาได้ เราจับต้องได้ง่าย เราเห็นง่ายนะ เพราะมันแสดงตัวขึ้นมาให้เห็นเป็นเหมือนกับวัตถุสิ่งหนึ่ง แต่ขณะที่ว่ามันแสดงตัวอยู่ภายใน คิดดูว่าเวลาเราทำใจสงบเข้าไปมันว่าง ว่างขนาดไหนสิ่งนี้มันซุกอยู่ข้างล่าง เห็นไหม

การใคร่ครวญ การค้นขว้าอันนี้มันถึงเป็นเรื่องที่ว่าลำบาก ลำบากเพราะว่ากิเลสมันหลอก หลอกว่าไม่มี ความหลอกตัวเองว่าเงาไม่มี ทั้งๆ ที่ว่าเงากับเรามันมีอยู่ แต่เงามันค่อยๆ จางลง มันไม่สว่างเหมือนกับทีแรก ทีแรกเงานี้มันจะดำมืด จะเห็นชัดมาก แต่เงานี้มันเจือจางไปเพราะว่าเราชำระสะสางเข้ามาเรื่อยๆ

๑. เงามันเจือจาง

๒. เราคิดว่าเราทำลายเงานั้นแล้ว มันจางไปแล้ว เงานั้นอาจจะหมดไป

“อาจจะหมดไป” แต่ความจริงมันมีอยู่ นี่ความคิดแบบนี้อยู่ที่หัวใจ เพราะความคิดแบบนี้อยู่ที่หัวใจมันถึงจับต้องเงาภายในได้แสนยาก การจับต้องเงาได้แสนยากมันต้องพยายามค้นคว้า หันใจกลับมาจับอาการของใจ ถ้าจับอาการของใจได้ มันจะมีความรู้สึกว่าตื่นเต้นมหาศาล ตื่นเต้นยิ่งกว่าเก่า เราว่าคนที่ทำความผิดอยู่ เรารู้ชื่อเขา เราจะเอาตัวเขามาลงโทษ เป็นไปไม่ได้ เขาต้องต่อต้าน ต้องหนีเหมือนกัน อันนี้ก็เหมือนกัน ถ้าเราจับอาการของใจได้ นี่มันเป็นผลงานมหาศาลของใจดวงนั้น ใจดวงนั้นสามารถจับอาการของใจดวงนั้น อาการของใจดวงนั้นคือเงานั้น นี่มันทำปฏิกิริยาต่อกัน การทำปฏิกิริยาต่อกัน การวิปัสสนาระหว่างเงาของใจกับใจ มันไม่ใช่ว่าใจเป็นอันเดียวกัน มันถึงทำงานได้ไง การทำงานได้คือการค้นคว้าได้ ความต่อต้าน มันจะคิดเป็นภายในไป

ถ้าพิจารณาอสุภะนะ พิจารณาเรื่องของกาย กามภพ ทำลายตัวนี้มันเป็นเรื่องของอสุภะ-

อสุภัง อสุภะ คือร่างกายโดยธรรมชาติของมัน คือว่ามันต้องแปรสภาพ มันต้องเน่าเปื่อยไปธรรมดา มันต้องบูดต้องเน่าต้องเสีย แล้วถ้าจิตนี้ อสุภะตรงนี้ มันจะเป็นเลือดแดงๆ ความเป็นเลือดแดงๆ เพราะมันเป็นปัจจุบัน มันละเอียดอ่อน มันไม่ใช่พิจารณากายนอก

กายในอันนี้ หมายถึงว่ามันจะมีการหลอกหลวง...หลอกลวง ๑ มีการต่อต้าน ๑ มีการต่อสู้ มีการพลิกแพลงอยู่ภายใน การวิปัสสนามันถึงทำได้ยาก ถึงต้องกลับมาทำความความสงบให้พอมีแรงขึ้นไป วิปัสสนาเข้าไป...นั้นคือกาย

วิปัสสนาใจ เพราะกิเลสอยู่ที่ใจ เราจะชำระใจของเรา เราชำระใจของเราตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่วิปัสสนาขึ้นไป เห็นไหม ใจดวงนี้มันจะอาการอ้อยอิ่งเศร้าสร้อย มันละเอียดอ่อนไง มันทำให้หลงเคลิบเคลิ้มไง ความหลงเคลิบเคลิ้มจากภายใน หลงเคลิบเคลิ้มไปมาก แล้วก็ตามไป สิ่งนี้เป็นการที่วิปัสสนาถูกและผิด มันยังมีการวิปัสสนาผิด หมายถึงว่าโดนหลอกไป ใช้พลังงานโดยเปล่าประโยชน์ไป หมุนไปรอบๆ ไป แล้วก็ว่าสิ่งนั้นหมุนไปแล้วว่าเป็นผลไง จะไปนอนจมอยู่นั่นๆ อยู่นั่นๆ เป็นครั้งเป็นคราวไป

เราต้องย้อนกลับมา มันจะเห็นผลทีหลัง ถ้ามันเป็นสิ่งนั้น ทำไมมันไม่แสดงผลออกมา การแสดงผลออกมา มันแสดงบอกว่าเหมือนกับ กามราคะ-ปฏิฆะมันต้องขาดออกไป เห็นไหม แต่ในเมื่อเราทำใหม่ เราจะไม่เข้าใจว่า สิ่งนั้นมันไม่ใช่แสดงผล ผลของมันคือผลที่ว่าเรามาสิ้นสุดของการกระทำ ขณะจิตที่มันเป็นไป เห็นไหม แต่มันไม่มีขณะจิตที่มันเป็นไป แต่มันจะปล่อยวางไปเพราะอำนาจของสมาธิเรา อำนาจของปัญญาของเราหมุนเวียนไป คนเรามันจนตรอกขึ้นไป

ถ้ามันต่อต้านไม่ได้มันก็อาศัยไปกับเรา มันต่อต้านปัญญาของเราไม่ไหว ความต่อต้านที่ปัญญาของเรา กำลังใช้ปัญญาของเราวิปัสสนาเข้าไปเต็มที่ ก็อาศัยประคองไป หรือเดินตามเป็นกิเลสบังเงา บังเงาไปกับปัญญาของเรา พอบังเงาไปกับปัญญาของเรา มันจะหมุนไป

ถึงบอกว่า วิปัสสนาเรื่องของใจนี้เหมือนกับการขับเครื่องบิน เห็นไหม มันพลิกแพลงได้ จะหงายท้อง หงายอะไรมันก็ไปได้ เครื่องบินนี้ไปได้นะ จะบินท่าไหนก็ไปได้ จะตีลังกาไปก็ไปได้ แต่รถ เป็นไปไม่ได้ รถต้องไปตามตรงนั้น วิปัสสนากายนี้เป็นวิปัสสนาไปตามถนนหนทางนั้น จะต้องเดินตามแนวนั้นเข้าไป แล้วความผิดพลาดก็ยังน้อยกว่า แต่การวิปัสสนาใจนี้ กิเลสมันจะพลิกแพลงไปตลอด แต่เดิมมาจากข้างนอกมันก็พลิกแพลงขนาดนั้น แล้วนี่รู้แพ้รู้ชนะ รู้ทางกัน กิเลสมันก็รู้ทาง เพราะอะไร เพราะกิเลสมันเป็นสิ่งดั้งเดิมอยู่ในหัวใจ

ธรรมนี้เราสะสมขึ้นมา เราสะสมขึ้นมาแล้วเราพยายามวิปัสสนา พยายามทำให้ธรรมจักรของเราเกิดขึ้น ธรรมจักรของเราเกิดขึ้นคือปัญญาของเราเกิดขึ้น ปัญญานี้พร้อมกับสมาธิ พร้อมกับสติสัมปชัญญะพร้อม สติสัมปชัญญะต้องพยายาม นี่มันเป็นมหาสติมหาปัญญาจากภายใน จากสติปัญญาภายนอกนั้น มันถึงว่ามันละเอียดอ่อนเข้าไป ๒ ชั้น ๓ ชั้นเข้าไปถึงภายใน มันต้องหมุนเข้าไป พอหมุนเข้าไปกิเลสมันบังเงาไปตลอด บังเงาไปตลอด มันจะปล่อย มันจะเวิ้งว้าง เพราะธรรมดามันก็เวิ้งว้างโดยธรรมชาติของมัน พอจิตเข้าไปถึงจุดนี้มันจะเวิ้งว้าง มันจะปล่อยวางเห็นไหม “จิตนี้เป็นกระจกใส” มันใสโดยปกติของมันอยู่แล้ว มันใสโดยธรรมชาติของมัน แล้วความใสนั้นมันก็ขุ่นมัวได้ คืออาการของใจกับใจ เราวิปัสสนาตรงนั้นน่ะ

“ใจ” กิเลสมันอยู่ที่ใจ แต่มันก็ออกมากระทบ ออกมารับรู้เรื่องที่ว่าเวลามันเป็นกิเลสอยู่ เราเห็นแต่ว่าสิ่งที่ว่าข้างนอกมันเป็นประโยชน์ เวลากามราคะ กามราคะเวลาถึงที่สุดของโลกเขา เขาต้องสัมพันธ์กันระหว่างหญิงกับชาย ต้องออกไปข้างนอกถึงสัมพันธ์กันได้ แต่ไม่เคยเห็นโทษระหว่างอาการที่ว่าเกิดขึ้นจากเรา กามราคะนี้เกิดขึ้นจากใจนะ ใจนี้เป็นฝ่ายริเริ่ม เป็นฝ่ายจุดประกายขึ้นมาก่อน ถึงจะเกิดความคิด ถึงจะเกิดอารมณ์ออกมาจากภายนอก

แต่เดิมเราเห็นว่ากามราคะนี้เป็น รูป รส กลิ่น เสียงตรงข้าม มันเป็นโทษตรงข้ามระหว่าง รูป รส กลิ่น เสียงภายนอกที่กระทบกระเทือนกัน แล้วจะเป็นโทษเข้ามา

แต่ความจริงมันอยู่ที่ว่าจุดเริ่มต้นนี้ หญิงหรือชายธรรมชาติมันไม่มี จิตนี้ไม่มีหญิงไม่มีชาย แต่เกิดมาเป็นมนุษย์แล้วมันเป็นธรรมชาติที่ว่าเกิดเป็นภพมนุษย์ถึงมีหญิงมีชายอยู่ภายนอก แต่ความจริงแล้วมันมีหญิงมีชายอยู่ตรงไหนในเรื่องของหัวใจ จิตนี้สงบก็เป็นสงบเหมือนกัน หญิงหรือชายสงบก็สงบเหมือนกัน หัวใจที่หลุดพ้นไป หญิงหรือชายหลุดพ้นเหมือนกัน หลุดพ้นเหมือนกันเลย มันไม่มีตัวหญิงหรือชาย

แต่เพราะจุดเริ่มต้นตรงนี้มันหลงตัวเอง หลงตัวเองแล้วถึงได้หลงออกมาข้างนอก เป็นอาการข้างนอกที่สืบต่อกันไป สืบต่อกันไปเป็นกามภพไปนู่น แต่เวลาวิปัสสนาเข้ามาตรงนี้ นี่มันถึงได้บังไง จุดนี้เป็นจุดระหว่างข้ามมหาสมุทรใหญ่ ความข้ามมหาสมุทรใหญ่มันต้องสัตว์ในมหาสมุทรนั้นมันจะมีพวกสัตว์ร้ายทุกอย่างมันจะทำลายกันเต็มที่ นี่มันมีหลุมพราง มีอะไรหลอกเราตลอด

วิปัสสนาไปเห็นไหม การหมุนเวียนไปของใจมันถึงข้องไปตรงนั้น ข้องไปตรงนั้นตลอด ความข้องไปตรงนั้น นี่ย้อนกลับมาด้วยมหาสติ ด้วยมหาปัญญา มหาสติ-มหาปัญญาพยายามใคร่ครวญเข้ามา ใคร่ครวญเข้ามา มันจะปล่อยมาเรื่อยๆ ปล่อยมาเรื่อยๆ มันจะปล่อยเข้าไป อันนี้เป็นเงานะ เงาจากภายในที่ว่ามันเป็นขันธ์ ๕ นั่นล่ะ จนถึงที่สุดแล้วมันจะปล่อยเงาอันนี้

ถ้าปล่อยเงาอันนี้เห็นไหม “สมุจเฉทปหาน” ปล่อยเงาอันนี้ออกหมด

พอปล่อยเงาอันนี้ออกหมด ถึงจะว่า

“เงาของใจกับใจจะเห็นกันโดยธรรมชาติถ้าตรงนี้ขาดออกไป”

กามภพนี้เป็นที่อยู่ของอะไร? กามภพตั้งแต่เทวดาลงไปจะขาดออกไปจากหัวใจของจิตดวงนี้ไง จิตดวงนี้ เงาของใจนั้นต้องขาดออกไปโดยอำนาจของวิปัสสนาญาณ ถ้าอำนาจวิปัสสนาญาณชำระเงาของใจกับใจนี้เป็นอิสระเสรีต่อกัน จิตนี้เป็นจิตใสๆ เลย จิตนี้เป็นจิตเดิมแท้เลย จิตนี้คือตัวอวิชชา นี่มันจะปล่อยเข้ามา พอปล่อยขาดออกตรงนั้น ถึงจะเห็นว่านี่ปล่อยกามภพ พอปล่อยกามภพขาดออกไป จิตดวงนี้เกิดเป็นพรหมอย่างเดียว นี่เงาของใจกับใจขาดโดยสัจจะความจริงเลย

ต่อไปนี้ ตัวนี้คือตัวจริงๆ ของตัวกิเลสอยู่ที่ใจ กิเลสอยู่ที่ใจคืออยู่ที่ตรงหัวใจตัวนี้ นี่คือตัวหัวใจ อันนั้นเงาของใจ ไม่ใช่หัวใจ เงาของใจแต่ผูกมัดกันไปด้วยลูกหลานของกิเลส กิเลสจะปล่อยวางเข้ามาจนถึงตัวของใจเลย พอตัวของใจ สิ่งนี้จับต้องได้ยาก ยิ่งจับต้องได้ยากเข้าไปใหญ่ เพราะว่าตัวของใจ...เอาอะไรไปจับต้องตัวของใจ เพราะระหว่างเงากับระหว่างใจที่สัมผัสกันมันยังเข้าไปหาได้

ตรงนี้หลงเด็ดขาด ถึงตรงนี้แล้วต้องเคลิบเคลิ้มไป ต้องหยุดว่าตรงนี้เป็นผล แล้วก็จะเทียบเคียงเอาข้างล่างว่าข้างล่างนั้นจะเป็นขั้นตอนที่ว่าเราจะเป็นมรรค ๔ ผล ๔ บวกไป นี่อาการที่หลงใหล หลงออกไป จะทำให้เราติดข้องอยู่แค่นี้ ถ้าเราติดข้องอยู่แค่นี้ เราจะไม่สามารถ เห็นไหม ที่ว่ากิเลสอยู่ที่ใจ ไม่สามารถเห็นหน้าของกิเลสได้ เราจะไม่สามารถเห็นหน้าของกิเลสได้เลย เราจะไม่มีอะไรใดใดทั้งสิ้น เราจะสยบยอมอยู่ตรงนั้น

ความสยบยอมเพราะความเข้าใจผิด ความเข้าใจผิดว่าสิ่งนั้นเป็นผลแล้ว สิ่งนี้เป็นสิ่งถึงที่สุด เห็นไหม สิ่งนั้น อวิชชาถึงมีอำนาจเหนือมาก อนุสัยนอนเนื่องมากับใจ แล้วความคิดต่างๆ ที่ว่าเป็นความคิดที่ว่าเราฉลาด...ฉลาดขนาดไหนมันก็บังเงาอยู่ ไม่ให้เราเห็นหน้ามัน

ถ้ามีความสุขขนาดไหน มีความสุขหรือว่ามีความเวิ้งว้างขนาดไหน ถ้ามีความเฉาไง เราจะย้อนกลับมาดู ถ้าใจนี้ยังเฉาอยู่ ใจนี้เกิดขึ้นมา เห็นไหม มันเฉา เพราะแสงสว่างมันคู่กับความมืด มันเป็นโดยธรรมชาติโดยสัจจะ แต่มันไม่มีใครสามารถจะหันกลับเข้าไปดู ถ้าจะหันกลับเข้าไปดู เพราะมันไม่เคยเห็น ไม่เคยมี สิ่งที่ไม่เคยเห็นไม่เคยมีจะเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะใจนี้มันอยู่ในวัฏฏะ โดนอำนาจนี้ใช้มาตลอด สิ่งที่ไม่เคยเห็นไม่เคยมี แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผ่านไปแล้ว แล้ววางไว้ในพระไตรปิฎกเห็นไหม

“จิตเดิมแท้นี้ผ่อง จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส”

“จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้เป็นผู้ข้ามพ้นกิเลส”

นี่อยู่ในพระไตรปิฎกชัดๆ เลย เพียงแต่ว่าเราอ่านแล้วเข้าใจว่า “จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส” จิตเราก็เดิมแท้มันก็ผ่องใส จิตนี้เป็นประโยชน์ก็คิดว่าพ้นแล้ว นี่การศึกษาในสุตมยปัญญา การอ่านด้วยตา มันมีโอกาสให้เราพลิกแพลงต่อต้าน พลิกแพลงว่าเป็นผลประโยชน์ของเรา นี่อวิชชา ตัวอวิชชาแท้ๆ เลย พลิกแพลงว่าเป็นประโยชน์ที่ว่าอันนี้เป็นผล

แต่ถ้าเป็นหลักความจริง “ถ้า” หมายถึงว่า คนที่มีอำนาจวาสนาจะผ่านตรงนี้ได้ ถ้าคนไม่มีอำนาจวาสนา ตรงนี้มันก็เป็นจุดที่ว่าจะต้องไปเกิดเป็นพรหม ไปสิ้นเอาที่นั่น ถ้าหันกลับเข้ามา พิจารณาย้อนกลับเข้ามาดูอาการของใจ ดูอาการของใจนะ เฝ้าอยู่เหมือนกับจอมปลวกจริงๆ จอมปลวกที่ว่ามีเหี้ยอยู่ในจอมปลวกนั้น แล้วปิดรูทั้งหมด จะออกหากินรูเดียว

อันนี้เหมือนกัน เป็นตออันเดียว เป็นจิตอันเดียว แต่เราจะเห็นหรือไม่เห็น

จับจิตอันนี้ได้... หวั่นไหว หวั่นไหวมาก สิ่งที่หวั่นไหวเพราะอะไร เพราะว่าใจจับใจ กิเลสอยู่ที่ใจ แล้วธรรมเข้าไปจับถึงยอด รวบยอดของใจ ความจับรวบยอดของใจนั้น เหมือนกับเราจับสิ่งที่ว่าสัตว์ที่ว่าหนีเข้าไปถึงก้นถุงนั้นแล้ว ถึงก้นถุงนั้นแล้วถึงก้นถุงต้องจับถึงตัวสัตว์นั้นได้

อาการของใจ เราละเข้ามาเป็นชั้นๆๆ เข้ามา เห็นไหม เพราะกิเลสมันอยู่ที่ใจ เราก็ดูใจของเราเข้าไปตลอด ถึงที่สุดแล้วเราต้องรวบยอดตัวใจได้เลย อาการสลัดมาแล้ว รวบตัวใจได้ก็คือรวบอวิชชาได้ เห็นว่ากิเลสอยู่ที่ใจจริงๆ ผู้ที่จะเห็นกิเลสอยู่ที่ใจ ต้องรวบยอดตรงนี้ได้ เห็นกิเลสอยู่ที่ใจแล้วก็ต้องพยายามพิจารณาว่าจะชำระอย่างไรให้ใจนี้ผ่องแผ้วไง

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรมานมาตลอด ทรมานร่างกาย ทรมานมาตลอด ว่าอันนั้นเป็นธรรม อันนี้เป็นธรรม... ไม่ใช่ ไม่ใช่... แต่หันกลับมา บุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ... บุพเพนิวาสานุสติญาณก็เหมือนกับอาการของใจที่มันเป็นไป สืบทอดอดีตชาติไปตลอดเวลา จุตูปปาตญาณ สัตว์ตายแล้วก็ต้องไปเกิดอีก จุตูปปาตญาณ จิตดับแล้ว จิตไม่มีที่สิ้นสุด จิตนี้ต้องไปเกิดไปตายตลอดเวลา ถ้าจับถึงจุดตัวนี้ได้ อาสวักขยญาณ เข้ามาถึงจุดตรงนี้ จุดตรงนี้คือว่ากิเลสมันอยู่ที่ใจ ชำระใจพ้นออกไปจากใจ พ้นออกไปเห็นไหม

ถ้าพ้นออกไปแล้ว จิตดวงนี้ผ่องแผ้วตามสัจจะความเป็นจริง ไม่มีสมมุติใดใดจะเข้าไปกระทบกระเทือนกับจิตดวงนี้ได้อีกเลย นั้นน่ะ กิเลสมันอยู่ที่ใจ แล้วชำระกิเลสออกไปจากใจ เพราะจิตนั้นก็เป็นจิตที่พ้นออกไป เป็นวิมุตติพ้นออกไปจากสมมุติทั้งหมด จากอำนาจของกิเลสทั้งหมด

พอพ้นออกไปจากกิเลสนั้น...สมมุติกับวิมุตติ สมมุติของเรา นี่เราเป็นสมมุติของเรา เราศึกษามาตลอด เราศึกษามาเพื่ออะไร แต่คำว่าวิมุตติก็เป็นวิมุตติ... “ใจ” กิเลสมันอยู่ที่ใจ ชำระหมดแล้ว นี่การพิจารณามันก็ต้องพิจารณาย้อนกลับมาที่เราว่า ถ้าอาการของใจเป็นแบบนั้น อาการของใจหลอกเรามาตลอดอย่างนั้น แล้วเราจะทำอย่างไรให้พ้นออกไป

ถ้าเราจะพ้นออกไปจากกิเลส จากความเห็นของเรา จากความเห็นของเรานะ เพราะกิเลสเป็นเรา ทุกอย่างเป็นเรา เรานี้ผูกมัดเราไว้แน่นไปหมดเลย พอผูกมัดเราแล้วก็ออกมาอยู่ข้างนอก ออกมายุ่งกับเรื่องภายนอกทั้งหมด แล้วเห็นว่าเรื่องภายนอกนั้นเป็นสมบัติพัสถานที่เราจะอาศัยได้นะ แม้แต่ครูบาอาจารย์ก็ต้องตายไป องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านิพพานไปแล้ว ครูบาอาจารย์แต่ละองค์ๆ ก็ล่วงไปๆ

ความเป็นอยู่ การอยู่นี้เป็นของชั่วคราว ชีวิตนี้เป็นของชั่วคราว โลกนี้เป็นของชั่วคราว ความเป็นอยู่นี้เป็นอยู่ชั่วคราว ถ้าเป็นอยู่ชั่วคราว เราต้องพยายามเอาความเป็นชั่วคราวนี้ให้เป็นประโยชน์กับเราให้ได้ เพราะสิ่งนี้เป็นของชั่วคราว มันต้องแปรสภาพโดยธรรมชาติ ถ้าพ้นจากอันนี้ไป ทุกข์อันนั้นจะเกิดขึ้นมหาศาลเลย เพราะที่ว่าอยู่กันอยู่อย่างนี้ เราก็มีหมู่มีคณะ มีพรรคมีพวกว่าเราเป็นพวกเรา เป็นพวกเขา พึ่งพาอาศัยกัน ไปก็ต้องไปสร้างพวกใหม่ สร้างภพใหม่ สร้างชาติใหม่ เป็นพวกใหม่ไปตลอด แล้วพวกก็ยังเป็นพวกว่าพวกต่ำพวกสูงล่ะ

ถ้าจิตมันถึงว่าออกไปทางต่ำ เวลาจิตมันเป็นจิตดิบๆ ลงไป มันก็ลงไปต่ำ มีพวกก็พวกทางต่ำ ทุกข์ด้วยกัน ความทุกข์อันนั้นเห็นไหม ความทุกข์อันนั้นต้องไปตรอมใจ ตรอมทุกข์จนกว่าจะหมดอายุขัยของภพชาตินั้น อารมณ์ดิบๆ ถึงทำให้เป็นอารมณ์ดิบๆ อารมณ์สุขขึ้นมาก็ทำให้เกิดบนสวรรค์ เกิดในสิ่งนั้นไป มันก็เวียนไป เวียนไปหาภพชาติใหม่ เห็นไหม

ถึงว่าเป็นของชั่วคราว แต่คำนวนเวลาแล้วตกใจ เป็นหมื่นๆ ปี พรหมนี้ ๘๐,๐๐๐ ปี เทวดานี้เป็นกี่หมื่นปี เป็นหมื่นๆ ปี แล้วอย่างมนุษย์เรานี้ ๘๐ ปี ๑๐๐ ปี เวลาช่วง ๘๐ ปีถึง ๑๐๐ ปีของเรานี้เราพยายามทำของเราสิ เราพยายามศึกษาเข้ามา เราพยายามค้นคว้าเข้ามาตรงนี้ กาลเวลาอันนั้นสุขมากก็ให้ทุกข์มาก การเวลามากก็ให้ทุกข์มาก-ให้สุขมากอยู่อย่างนั้น มันจะให้ผลของมัน ถ้าหัวใจมันขัดข้องหมองใจ ยิ่งเวลามากยิ่งทุกข์มาก ถ้าใจมันขัดข้องอยู่อย่างนั้น เป็นอย่างนั้นเป็นไปไม่ได้ ต้องการสภาวะใหม่ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะการทำลายตัวเองมันยิ่งเป็นทุกข์เข้าไปซ้ำ ๒ ซ้ำ ๓ เข้าไปเห็นไหม เพราะพระพุทธเจ้าไม่ให้ทำลายตัวเอง พระพุทธเจ้าให้ทำลายกิเลส พระพุทธเจ้าให้ทำลายความเห็นผิด ความเข้าใจผิด

ถ้าดัดใจของตนเองให้เข้าใจถูกต้องตามธรรมวินัย วินัยนี้เป็นขอบเหมือนศีลไง ศีลขอบรั้วกับตัวบ้าน ตัวปัญญา ตัวบ้านคือตัวธรรม ธรรมและวินัยที่พระพุทธเจ้าวางไว้ แล้วเดินตามธรรมและวินัยเข้าไป ต้องเดินตามเข้าไปให้ได้ เดินตามเข้าใจในหัวใจของเรา ไม่ใช่เดินตามเข้าไปในตู้พระไตรปิฎก ตู้พระไตรปิฎกนั้นเป็นตู้พระไตรปิฎก

ในหัวใจของเรานี่ลึกมาก ธรรมะนี่ลึกมาก อยู่กลางหัวอก แต่เข้าไปไม่ถึง... กว้างมาก กว้างจนจับของเขตไม่ได้ กว้างมหาศาลเลย ใจนี้จับขอบเขตของใจไม่ได้ เพราะใจมันส่งออกหมด แล้วเรารวบยอดเข้ามา รวบยอดเข้ามา เราสะสมเข้ามา ดึงเข้ามา จนเข้าไปถึงจุด ถึงว่า กิเลสมันอยู่ที่ใจ อยู่ที่ใจแล้วตัวนี้เป็นตัวเหตุ ตัวนี้เป็นตัวหาเหตุ ตัวนี้เป็นตัวหาความทุกข์มาเผาลนเรา นี่มันไม่มีใครเลยนะ โลกนี้แค่อยู่อาศัย สุข-ทุกข์เพราะเรายึดมั่น ถ้าทำคุณงามความดีทำสิ่งใดกับเรา เราไม่ยึด เราปล่อย เราพยายามปล่อยให้ได้

“สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นต้องดับไปเป็นธรรมดา”

กรรมที่เราสะสมมามันก็ต้องกระทบกระทั่งเป็นธรรมดา เราต้องเคยทำกรรมดีกรรมชั่วมาถึงได้มีโอกาสให้เราต้องมาประสบกรรมอันนี้ เพราะกรรมอันนี้มันประสบเข้ามาอันนี้ แล้วถ้าเรามีกระทบกระทั่ง เราย้อนกลับมาดูที่ใจของเรา ย้อนกลับเข้ามา ควบคุมใจของเรา นี่ธรรมให้ผล ๒ ชั้น

๑. กรรมสิ้นสุดตรงนั้น ถ้ากระทบกระทั่งแล้วเราออกไป... กรรมต่อเนื่อง กรรมต่อเนื่อง ถ้ากรรมสิ้นสุดตรงนั้น เราใช้กรรมตรงนั้นออกไป นั้นคือกรรมภายนอก พอเห็นกรรมภายนอกแล้วมันสลดเข้ามาจากภายใน ก็ต้องมาดูกรรมของใจ ดูกรรมของใจ ดูอาการของใจ อาการของใจเพราะกรรมอันนั้นมันผูกให้ใจ...จริตนิสัยของใจไม่เหมือนกัน เพราะกรรมสร้างสมมาให้ใจดวงนั้นกับกิริยาอันนั้นแนบแน่นขนาดไหน

ถึงว่า แก่อ่อนอย่างไร ระหว่างเข้มข้นขนาดไหน เรื่องของกิเลสในหัวใจของเรา แล้วเราเข้ามา ถ้าเข้มข้นก็ต้องใช้รุนแรงมาก ใจของคนนี้มันถึงไม่เหมือนกันไง

ความเข้มข้น ความองอาจกล้าหาญของใจ...มี

ความอ่อนแอ ความอยากประพฤติปฏิบัติ แต่พยายามแล้วไปไม่ถึงจุดหมายปลายทาง...มี

แต่การทำบุญกุศล สร้างบุญกุศลขึ้นมาแล้วมันจะทำให้เราเจริญหน้าเดียว การสร้างคุณความดีจะทำให้ใจดวงนี้เจริญไปข้างหน้า ถึงจะไปไม่ถึงที่สุด มันก็ทำให้ภพชาติสั้นเข้ามา ความที่ภพชาติสั้นเข้ามานี้ ภพชาติสั้นเข้ามาเพราะว่ามันจะธรรมเข้าถึงได้ เพราะว่าอันนี้เป็นบุญกุศล เป็นพื้นฐานของใจ ถ้าใจเคยประพฤติปฏิบัติ พอประพฤติปฏิบัติมันจะเข้าร่อง เข้าทำนองคลองธรรมใจอันนั้น ถ้าเราไม่มีบุญวาสนา เราจะออกประพฤติปฏิบัติอย่างนี้หรือ

เราออกประพฤติปฏิบัตินี้เป็นงานอันเอก งานสิ่งใดๆ ในโลกนี้ ใครๆ ก็ทำแทนกันได้ เรื่องของงานนะ เรายังไหว้วานทำแทนกันได้ แต่เรื่องงานการชำระกิเลสนี้ไม่มีใครทำแทนได้เลย ถ้าทำแทนได้หรือมีวิธีการใด นี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องประทานทางไว้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้มีความเมตตาสัตว์โลกมาก เมตตาสงสารอยากจะให้ทางที่สะดวกและง่ายดายที่สุด แต่มันเป็นไปไม่ได้ เพราะใจนี้มันสกปรก ใจนี้ต้องชำระใจด้วยใจของตัวเอง

มันก็เหมือนกับว่าบ้านของเรา ในบ้านของเรา เราไม่เข้าไปชำระความสะอาดในบ้านของเรา คนข้างนอกเขาเข้ามาทำไม่ได้หรอก เพราะบ้านของเรา นี้ก็เหมือนกัน กายของเรา หัวใจอยู่ในกายของเรา กายของเราถ้าเราไม่ชำระ มันจะไปเอาเครื่องไม้เครื่องมือของใครเข้าไปชำระในกายของเรา มันเป็นไปไม่ได้

แต่ในหัวใจของเรา ในคูหาของกายนี้มีหัวใจดวงที่ประเสริฐอยู่ดวงหนึ่ง ใจดวงที่ประเสริฐนี้หมองไปด้วยอุปกิเลส ใจดวงนี้โดนกิเลสปกคลุมอยู่ กิเลสมันอยู่ที่ใจดวงนี้ นี่ถ้าเรามีอำนาจวาสนา เราชำระล้างเข้ามา ชำระล้างเข้ามาจนใจดวงนี้ประเสริฐขึ้นมา

แล้วใครเป็นคนบอกว่าประเสริฐ?...ตัวเองบอก

ปัจจัตตัง รู้จำเพาะตน ตนรู้ของตนขึ้นมาเอง หิวแล้วอิ่ม ก็รู้ว่าตัวเองหิว หิวก็เกือบเป็นเกือบตาย พอกินอิ่มขึ้นมาก็รู้ ใจทุกข์ยากแสนเข็ญขนาดไหน...รู้ เวลาก้าวเดินขึ้นไป เวลาประพฤติปฏิบัตินี้ พยายามขวนขวาย พยายามค้นคว้าของตัวเองขึ้นมา สะสมเล็กๆ น้อยๆ ขึ้นมาจนเป็นฐานตั้งมั่นขึ้นมา จนพยายามวิปัสสนาขึ้นไปเป็นชั้นๆ เข้าไป นี่มันต้องเป็นปัจจัตตัง รู้จำเพาะตน ไม่มีกาล ไม่มีเวลา

เราไม่ต้องไปหวัง ไม่ต้องไปว่า เราเวลาน้อย เราเหลือเวลาน้อย...สำคัญแต่ปัจจุบันนี้ สำคัญแต่ขณะที่ประพฤติปฏิบัตินี้จริงหรือไม่จริงเท่านั้น สำคัญปัจจุบันเห็นไหม อดีต-อนาคตแก้กิเลสไม่ได้ อดีตเหมือนกับเสลดที่คายทิ้งไปแล้ว แล้วไปดื่มกินขึ้นมานี่มันขยะแขยงขนาดไหน เวลาความคิดที่เป็นอดีตที่เราคิดถึงมันก็ต้องขยะแขยงอยู่แบบนั้น เหมือนกับเสลดที่เราคายทิ้งไป แต่นี้มันเป็นเสลด เราเห็น เราก็เลยขยะแขยง แต่อารมณ์นี้มันเป็นเรา

อารมณ์กับใจเห็นไหม อาการของใจกับใจ เงาของใจกับใจ มันทำปฏิกิริยาต่อกัน มันเป็นของสุกๆ มันเป็นของสดๆ ของสดๆ ของใหม่ๆ มันไม่เคยเก่า ไม่เคยคร่ำคร่า ความที่ไม่เคยเก่าไม่เคยคร่ำคร่าอันนั้น มันก็จะให้อารมณ์ต่อไป อารมณ์ต่อเนื่องต่อไป แล้วเราก็ไม่รู้วิธีการ เราก็ไม่ดับมัน เราไม่สามารถชำระมัน เราหยุดเนื่องมันไม่ได้ ถ้าเราหยุดเนื่องได้ เราก็ชำระเข้าไปเป็นชั้นๆ อย่างที่ว่าเข้าไปนั้น

นี่มันถึงว่า กายกับใจสิ่งใดสำคัญกว่า สิ่งที่เป็นวัตถุภายนอกกับเรา เราสละเข้ามาตลอด เราสละเข้ามาตลอด เราปล่อยวางเข้ามา ถ้าเราปล่อยวางเข้ามาเห็นไหม นี่มันถึงได้เห็นคุณประโยชน์ไง เพราะศาสนานี้สอนลงที่ใจ ศาสนานี้สอนลงที่ใจนะ ใจนี้อยู่ในกายนี้เท่านั้น ศาสนาสอนตรงนั้น

แล้วเราเชื่อศาสนา เราเชื่อด้วยการอ่าน เชื่อด้วยสุตมยปัญญา เชื่อด้วยการฟังมา เชื่อด้วยครูบาอาจารย์ นี่คือการอยู่ภายนอก เชื่อจากการสัมผัส เชื่อจากการประพฤติปฏิบัติ เชื่อจนสุดท้ายแล้วไม่ต้องเชื่อ เพราะเป็นปัจจัตตัง รู้ขึ้นมาจากภายในจากหัวใจของเรา ภายในสัมผัสภายใน

อาการนี้สร้างได้ อาการของใจนี่สร้างขึ้นมาได้ สร้างไปในแง่บวก อาการของใจที่มันเป็นลบอยู่นั้นมันเป็นธรรมชาติ กิเลสนี้ไหลเนื่องไปเป็นธรรมชาติเดิมของมัน ไหลอยู่ตลอดเวลา ไหลออกไป อาการของธรรมเห็นไหม อาการของธรรม ถ้าเราเกิดมาไม่พบพุทธศาสนา เราไม่มีธรรมอันนี้ เราไม่มีธรรมในพระไตรปิฎกนี้ ไม่มีธรรมที่ครูบาอาจารย์สอนอยู่นี้

เราศึกษาพระไตรปิฎกมา เราฟังครูบาอาจารย์มาแล้วเราสะสมของเราเข้ามา สิ่งนั้นประเสริฐขึ้นมาเรื่อยๆ ธรรมนี้เราสะสมขึ้นมา กับกิเลสที่มันมีอยู่โดยดั้งเดิม มันปฏิบัติขึ้นมา กิเลสมีอยู่โดยดั้งเดิมมันก็ไหลไปตามนั้น แต่ธรรมเราสะสมขึ้นมา เราสร้างขึ้นมา สร้างขึ้นมา สร้างขึ้นมา จนถึงที่สุด จนเป็นไปได้ไง

เป็นไปได้เพราะมีพยานหลักฐาน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว แล้วมีอัครสาวกต่างๆ ก็มาเป็นพยานกันว่าสิ่งนี้มีจริง...มีจริงอยู่ แล้วถ้าไม่มีจริงแล้วอะไรไปสัมผัสได้ ก็คือหัวใจ หัวใจที่มีกิเลสอยู่นี้ สัมผัสธรรมแล้วปล่อยเอง สัมผัสธรรม สลัดคืน ความสลัดคืนดวงนั้นจะปล่อยกิเลสออกไปๆ

แล้วหัวใจอยู่ที่ไหน? หัวใจอยู่ในกายของเราทั้งหมดเลย

ในกายของเรามีหัวใจอยู่ดวงหนึ่ง อันนี้ประเสริฐมาก

เรื่องอย่างอื่นวางไว้ก่อน เราต้องดูใจของเรา พยายามรักษาใจของเรา อย่าให้เศร้าหมอง อย่าให้อย่างอื่นกระทบกระทั่งจนเกินไป สงสารใครเท่าไรก็แล้วแต่นะ ต้องสงสารตัวเอง ไม่มีใครสงสารเราหรอก เรานี้สงสารตัวเราเอง ทุกข์ยากขนาดไหน ทุกข์ทุกคนยอมรับ เวลาประพฤติปฏิบัตินี้ทุกข์ต้องยอมรับว่าทุกข์ ปฏิบัตินี้ทุกข์มาก ทุกข์สิ เพราะอะไร เพราะเป็นงานของอาชาไนยไง งานของผู้ที่ชำระกิเลส

การชำระกิเลส กิเลสนี้เหนียวแน่นยิ่งกว่าอะไร... ของต่างๆ เห็นไหม ข้างนอกจะเหนียวแน่นขนาดไหน โดนไฟเป่าไปทีเดียวมันต้องชำระไปหมด แต่เวลาเราติดอาการของใจอยู่ ความคิดของใจที่มันผูกใจอยู่ บางอารมณ์ทำไมเราสละไม่ได้เลย ยิ่งเรามีอะไรผูกใจอยู่ตั้งเด็กๆ ขึ้นมา มันจะสะสมมาอยู่อันนั้นตลอดไป ถ้าสะสมมานะ การสะสมอันนี้มันไม่เป็นโทษถ้าการสะสมนี้เป็นความจำ แต่สะสมแล้วให้โทษ คือเวลาคิดแล้วมีอารมณ์ อันนั้นเป็นโทษ

การสะสมขึ้นมานี้ถึงบอกว่า เวลาขันธ์ขาด ขาดออกไปเรื่อยๆ พอขาดจนถึงที่สุดแล้วขันธ์นั้นก็มีอยู่กับใจเหมือนกัน ถึงว่า ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา ชำระกิเลสออกจากใจจนสิ้นหมดแล้ว ชำระกิเลสออกไปแล้วนะ จนใจนั้นสะอาดแล้ว นี่ ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา ขันธ์ที่ว่าเป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณนั้นมันก็ยังมีอยู่กับใจนั้น แต่มันเป็นภาระเห็นไหม

จากที่ว่าชีวิตนี้เราประพฤติปฏิบัติ ชีวิตนี้ทุกข์มาก กายกับใจนี้ผูกมัดเป็นอันเดียวกัน มันจะเป็นเนื้อเดียวกัน เป็นขันธมาร แต่ชีวิตที่พอมันสละออกแล้ว มันก็ใช้ชีวิตจนถึงอายุขัยเหมือนกัน แต่ ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา มันเป็นภาระ เป็นเครื่องสืบต่อ เป็นการดำเนินชีวิตเฉยๆ เท่านั้นเอง แล้วไม่เป็นทุกข์ให้กับใจดวงนั้น

กับขันธมาร มารดวงนี้มันทำให้เป็นมาร ควบคุมบีบบี้สีไฟ จนใจนี้ไม่มีโอกาสได้หายใจเลย นี่ที่ว่ามันทุกข์เห็นไหม มันทุกข์ มันทุกข์ตรงนี้ แก่นของกิเลสควบคุมใจไว้ แล้วเราจะชำระออกไป แล้วถ้าพ้นออกไปแล้ว นี่ธรรมเป็นแบบนี้

เวลาฟังธรรม เป็นปัจจุบันธรรม ออกมาจากใจดวงหนึ่ง แล้วใจของเรารับกระแสธรรมดวงนั้น นี่มันไม่มีโอกาสได้พลิกแพลง ความที่มีโอกาสพลิกแพลงอันนั้น เวลาพลิกแพลงอันนั้น ธรรมอันนั้นถึงไม่บริสุทธิ์ไง ธรรมอันนั้นให้กิเลสนั้นได้พลิกแพลง เวลาเทศน์ออกมานี้เป็นปัจจุบันธรรม ออกไปแล้วก็เป็นตำรับตำราออกไป นั่นมันก็เป็นประโยชน์ที่ด้อยลงไป

ประโยชน์ปัจจุบันที่เสียงกระทบนี้เป็นประโยชน์ที่สุด แต่เวลาออกมาเป็นตำรับตำราแล้วอันนั้นก็เป็นประโยชน์ที่ ๒ ที่ ๓ แต่ก็เป็นประโยชน์ เป็นประโยชน์สำรับผู้ที่ใช้ประโยชน์เป็น สำหรับมีชีวิตไง

ถ้าชีวิตเรามีอยู่ เราใช้ชีวิตเราเป็น จะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ ชีวิตนี้มีคุณค่า ถ้าเราใช้ชีวิตเราไม่เป็นชีวิตนี้ก็สิ้นสุดไป เราจะรู้หรือไม่รู้ มันต้องเกิดแล้วต้องตายไป จะยอมรับหรือไม่ยอมรับ ต้องเป็นธรรมชาติ

แต่ถ้าเราประพฤติปฏิบัติไป ถึงหรือไม่ถึงเราดั้นด้นของเราไป เราดั้นด้นของเราไปนะ โลกนี้เป็นเครื่องเปรียบเทียบ ทุกข์แบบนี้ในโลกนี้ แต่ถ้าทำแล้วสุขที่เราสัมผัสเอง เอวัง

(เพิ่มเติมท้ายกัณฑ์)

เห็นนี่...ถ้าสุกขวิปัสสโกนี้ไม่เห็น บางทีไม่เห็นก็ได้นะ แต่ต้องรู้ทุกองค์

ที่เราบอก “ทุกองค์ต้องรู้” หมายถึงว่ารู้ทุกองค์ เพราทุกองค์ต้องผ่านนี้เข้ามา เวลาขันธ์ขาด ขาดเข้ามา จะต้องรู้เลยว่าสิ่งนี้สืบต่อกับอะไร สิ่งนี้สืบต่อกับอะไร ใน ๓ โลกธาตุนี้สืบต่อกับจิตอย่างไร แล้วจิตขาดออกไปเป็นชั้นๆ เข้าไป นี่ความเข้าใจ ความรู้ รู้ว่านรกสวรรค์มีจริง

พระอรหันต์นี้ว่านรกสวรรค์ไม่มีนี้เป็นไปไม่ได้ จะต้องรู้ว่ามีจริง แล้วถ้าอย่างเป็นเตวิชโช เป็นอะไรนี่จะเห็นเลย จะเห็นด้วย ถ้าเห็นด้วยน่ะมี แต่ที่ไม่เห็นก็มี แต่ “รู้” ทุกองค์ แต่นี่ว่าถ้าไม่รู้ แล้วเห็นทุกองค์... บางทีตำราจะว่า...สุกขวิปัสสโกนี้ในตำราบอกว่า แห้งๆ ไป ไม่เห็นอะไร ไม่รู้อะไร... รู้ แต่กิเลสสิ้น ทีนี้ เราพูดแล้วจะต้องไม่ให้ขัดกับตำรา แต่ถ้ารู้นี่รู้แน่นอน เพราะรู้จากตรงนี้ รู้จากตรงที่เวลาใจมันผ่านชั้นๆ เข้าไป เพราะใจดวงนี้มันเคยเวียนไปเวียนมา พอมันขาดแล้วมันก็จะไม่มี เพียงแต่ถ้าบารมีก็ไม่ไปเห็นจากตาเนื้อ แต่ถ้าเป็นบางประเภทเห็นหมด ไปเที่ยวไปสวรรค์มาหมด

ฉะนั้น ถึงว่า “รู้” แต่ที่ว่าทั้งรู้ทั้งเห็น แต่นี้ถ้ารู้ รู้เหมือนกันหมด

แต่เห็นนี่เป็นบางองค์ แต่รู้ รู้เหมือนกัน

นรกสวรรค์เป็นที่อยู่ของสัตว์โลก สัตว์โลกได้สร้างคุณงามความดี แล้วไปนรกสวรรค์ นี่ผู้ที่สิ้นจากกิเลสเห็นสวรรค์ตามความเป็นจริง เห็นจากการสิ้นของใจดวงนั้น ใจดวงนั้นไม่ไปนรกสวรรค์อีก นั้นนรกสวรรค์...

...สวรรค์เป็นที่อยู่ของผู้มีกิเลส ใจดวงนั้นไม่มีกิเลสแล้ว ใจดวงนั้นถึงไม่ไป ใจดวงนั้นไม่มีสิ่งขับเคลื่อนไง สิ่งขับเคลื่อนหมายถึงกิเลสที่อยู่ในหัวใจนั้น สิ่งขับเคลื่อนนี้ไป ใจดวงนี้ไม่มีกิเลส ถึงไม่ขับเคลื่อนไปไหน ทรงตัวอยู่โดยอนันตกาล การทรงตัวอยู่ด้วยอนันตกาลอันนั้น ถึงจิตอันนั้นถึงผ่องแผ้ว ถึงจิตอันนั้นเป็นสิ่งที่ประเสริฐ ใจถึงมีคุณค่าเพราะการชำระล้าง ใจที่ชำระล้างแล้ว มีคุณค่าขนาดนั้น

กับใจที่มีกิเลสไง จากเดิม กิเลสอยู่ที่ใจ แล้วก็ชำระกิเลสออกไป เป็นขั้น เป็นตอน จนถึงที่สุดแห่งการชำระล้างนั้น สิ้นสุดแห่งการชำระล้างถึงเป็นที่อยู่ของผู้ที่ประเสริฐ ผู้ที่ประเสริฐถึงไม่ไป...รู้ เห็น เข้าใจ นรกสวรรค์ “รู้ เห็น เข้าใจ” แต่ไม่ไปข้องแวะ ปล่อยไว้ตามความเป็นจริง ไม่ใช่ไปรู้เห็นแล้วมาเพื่ออวดอ้างสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น รู้เห็นตามความเป็นจริง แล้วปล่อยไว้ตามความเป็นจริงอย่างนั้น ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งนั้นแล้ว เพราะใจดวงนั้นรู้ รู้โดยธรรมชาติไง รู้โดยสัจจะ ไม่ใช่รู้โดยที่ว่าศึกษามา รู้ด้วยเพื่อจะหลง ไม่มีสิ่งใดจะทำให้ใจดวงนั้นหลงได้อีกแล้ว ใจดวงนั้นประเสริฐเลอเลิศ

ประเสริฐเพราะการประพฤติปฏิบัติ

ประเสริฐเพราะการก้าวเดิน

ประเสริฐเพราะความเรามีแก่จิตแก่ใจ

ประเสริฐเพราะว่าเราทำของเราเอง

ประเสริฐเพราะเป็นสิ่งที่ว่าเป็นปัจจัตตัง เห็นไหม สิ่งที่ประเสริฐ

ใจที่ประเสริฐ ใจประเสริฐกับใจก้าวเดินมา ใจประเสริฐ ใจที่ว่าจะแพ้ภัยตัวเอง ถ้ามีธรรม ไม่ก้าวเดินมา ก็กลับไปอยู่ที่เก่า กลับไปอยู่ในวัฏวนนั้น