เทศน์บนศาลา

แก้กรรม

๖ ก.ย. ๒๕๔๓

 

แก้กรรม
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๖ กันยายน ๒๕๔๓
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

กรรมคือการกระทำ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ทำดีได้ความสุขมาให้ ทำดีได้ดีเป็นบุญกุศลเอาความสุขมาให้ ทำความชั่วเป็นบาปอกุศลได้แต่ความทุกข์มาให้ ความดีกับความชั่ว ใครเป็นคนผิดล่ะ ใครๆ ก็ว่าตัวเองทำดีหมด ความดีกับความชั่วเรายังแยกไม่ถูกเลยว่าอันไหนเป็นความดีกับความชั่ว เพราะเราชอบใจ พอเราชอบใจเราว่าสิ่งนั้นดี เราไม่ชอบใจเราว่าสิ่งนั้นเลว เพราะความชอบใจ-ไม่ชอบใจ นี่กิเลส มันเลยวนเวียนไปให้เราวนอยู่ในนี้ไง

ศาสนาพุทธสอนเรื่องการกระทำ “กรรม” กรรมสร้างให้เรามาเกิดเป็นมนุษย์ กรรมทำคุณงามความดีมาจิตนี้ถึงได้มาเกิด เกิดเป็นมนุษย์ “กรรมพาเกิด” กรรมพาเกิด กรรมอยู่ในอะไร กรรมในอวิชชา อวิชชาความไม่รู้ แต่กรรมดีมันทำให้รู้ กรรมดี การกระทำ กรรมนี้เป็นกลางๆ แต่ว่าดีหรือชั่ว แต่อวิชชาตัวมาปิดกั้นอันนั้น

นี่เราต้องแก้กรรม เราจะแก้กรรมกันอย่างไร “แก้กรรม” แก้ให้หมดออกไปจากกรรม ถ้าเราแก้กรรมไม่ได้ก็วนเวียนอยู่อย่างนี้ ถ้าวนเวียนไป วนเวียนไปในบาปอกุศล วนเวียนในความทุกข์ความยาก เราจะมีความทุกข์ความลำบาก เราเจอพุทธศาสนา เราเป็นคนที่มีบุญมากนะ มีบุญมากจริงๆ เกิดมาพบพุทธศาสนา

“ศาสนาพุทธ” พุทธศาสนานี้สอนเรื่องศาสนธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากว่าจะได้ตรัสรู้ธรรมมา ต้องสร้างบุญญาธิการมา สร้างบุญบารมีมาถึงจะตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ ไม่ใช่ว่าจะได้มาง่ายๆ หรอก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แต่ล่ะพระองค์นี่แสนยาก โลกนี้ว่างจากศาสนามากมาย นานมากกว่านั้น แต่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้ววางศาสนาไว้ เราเกิดมายังเกิดมาทัน เกิดมาทันแล้วพบพระพุทธศาสนา พุทธศาสนาสอน สอนให้เราทำตาม เราเชื่อเป็นสัญญา สัญญาความจำของเราจำขึ้นมาว่า

“มรรค” มรรคอริยสัจจัง

“มรรค” มรรคเป็นองค์ ๘

“มรรค” เป็นเครื่องดำเนิน

มรรคโคทางอันเอก ทางพ้นออกจากทุกข์

แต่อันนั้นหมายถึงว่า เราพยายามสรรหาเข้ามา ถ้าว่าให้ทำคุณงามความดีขึ้นมา ให้ศรัทธาเชื่อในหลักของศาสนา ให้เชื่อกรรม ให้เชื่อทานการกระทำ ให้เชื่อเรื่องบุญกุศล เชื่อเรื่องทำความดี เราทำความดีเข้าไปเรื่อยๆ ความดีของเราจะเพิ่มเป็นบุญกุศลของเราขึ้นมา นี่มันทำให้เรามีความศรัทธา มีความศรัทธามีความเชื่อเลื่อมใส ความเลื่อมใสของเราเข้ามา กรรมให้ผลดี ถ้ากรรมให้ผลดีของเรา เพราะว่าเราทำความดี ถ้ากรรมให้ผลเป็นไม่ดีไปล่ะ แต่คนเข้าใจว่าเป็นกรรมดีก็มี เพราะคนคิดฝ่ายชั่ว คิดอกุศล เขาคิดของเขา เขาก็ว่าของเขาถูก “เขาว่าของเขาถูก” เขาว่าของเขา นี่กิเลส กิเลสวัฏฏ์ กัมมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์

กิเลสทำให้ทำกรรม กิเลสคือความพอใจ ความเคยใจ ความสะสม ความมักมาก ความคิดว่าตัวเองถูกต้องทั้งหมดนี่คือกิเลสทั้งหมด กิเลสเป็นความปิดปกปิดหัวใจไว้ พอกิเลสเกิดขึ้นมา กิเลสวัฏฏ์ กรรมเกิดขึ้นมา กรรมคือการกระทำ ความคิดเกิดขึ้น พอทำแล้วออกมามันเป็นผล วิปากวัฏฏ์ ผลอันนั้น

เราก็เหมือนกัน เราที่เกิดมาเป็นคนอยู่นี่ มนุษย์สมบัติต้องมีพร้อม เรามีมนุษย์สมบัติ เราสร้างสมไว้มาเกิดเป็นมนุษย์สมบัติ “มนุษย์สมบัติ” เกิดในโลกของมนุษย์ โลกของมนุษย์เวลามันสั้นมากนะ สั้นจริงๆ ยิ่งพูดเรื่องเวลา มันเหมือนกันเลย เหมือนกับเขาเอาเนื้อย่าง เนื้อย่างไปย่างบนเตาไฟ ถ้าเนื้อย่าง ถ้าเราไม่กลับมันก็ไหม้ เนื้อย่างย่างบนเตาไฟ พอย่างไปต้องกลับไปเรื่อย กลับไปเรื่อย เดี๋ยวมันก็สุก สุกจนมันไหม้จนเกรียมไป พอไหม้เกรียมไป มันก็หมดอายุขัย

ร่างกายเราก็เหมือนกัน ธาตุไฟเผาไว้ มีธาตุไฟความอบอุ่นเผาร่างกายของเรา เราก็มีชีวิตอยู่ไปวันหนึ่งๆ เหมือนเนื้อปิ้งบนกระทะนั่นน่ะ เหมือนเนื้อปิ้งเหมือนกันเลย แต่นี่ธาตุไฟมีความอบอุ่นทำให้อาหาร ทำให้ธาตุไฟเผาผลาญอาหารให้ร่างกายเราเคลื่อนไหวได้ พอคนตายไป วิญญาณออกก่อน พอวิญญาณออกไป ไฟธาตุเริ่มดับลง ดับลง แข็งทื่อไปหมดเลย นั่นน่ะ ไฟไหม้ ไหม้จนหมด หมดอายุขัยไง

ชีวิตในโลกมนุษย์นี้เหมือนกับเนื้อปิ้งไฟ แค่อยู่ไปชั่วกลับไปกลับมาอยู่ อายุมันสั้น ความสั้นของเรา แต่ในเมื่อเราอยู่อย่างนี้ เราอยู่กับความเป็นอยู่ของเรา ผัดวันประกันพรุ่งของเราไป เราว่าเมื่อไรก็ได้ ความเป็นอยู่นี้ยังอีกนานไกลนัก นี่คือคนที่ประมาทในชีวิต คนประมาทในชีวิต นี่กิเลสมันปิดบังไว้แล้ว ความปิดบังมันไม่รู้หรอก มันก็หมุนเวียนไป

“กรรม” กรรมปิดบังไว้ กรรม กรรม กรรม เราเชื่อเรื่องของเรา อวิชชามันปิดบังไว้ กรรมดี-กรรมชั่วมันเป็นหนี้เราคิดของเราเท่านั้นนะ เราเป็นคนคิดของเรา เราว่าเรายังมีเวลาเหลือเฟือ เราทำเมื่อไรก็ได้

ถึงว่ามามีวาสนามาประพฤติปฏิบัติก็เหมือนกัน พอมาประพฤติปฏิบัติ ผัดวันประกันพรุ่ง ความผัดวันประกันพรุ่งนี้มันเป็นเรื่องของกิเลสทั้งหมด มันอ้างเล่ห์ไปเรื่อย อ้างว่าหนาวนัก อ้างว่าร้อนนัก แล้วยังไม่ทำงาน อ้างว่าชีวิตยังมีอยู่ ยังไม่ทำงาน นี่ถ้าเราไม่ขวนขวาย เราไม่รีบเร่งของเรา ใครจะทำให้เรา

การแก้กรรมมันต้องเราแก้ เราเท่านั้นที่จะเป็นคนแก้กรรมของเรา ใครจะแก้กรรมของเราได้ เราศรัทธาความเชื่อ ความเชื่อขึ้นมาเราก็เชื่อของเรา ความเสื่อมได้ ความเสื่อมลาภ ความเสื่อม นินทากาเล มีลาภเสื่อมลาภ มียศเสื่อมยศ อันนี้ก็เหมือนกัน ความศรัทธา ศรัทธาแล้วมันก็เสื่อมศรัทธาได้ มันไม่เป็นอจลสัทธาขึ้นมา ถ้าอจลสัทธาขึ้นมามันทุ่มทั้งชีวิต มันเป็นไปได้ ทุ่มทั้งชีวิตไง

เนื้อย่างบนเตาไฟมันต้องกลับ ไม่กลับมันไหม้ นี้เหมือนกัน วันเวลาของเราเมื่อไร วันนั้น พรุ่งนี้ มะรืนนี้ มันก็เป็นวันเป็นคืนไป แต่ถ้าเราไม่หวังกับของเรา ไม่ทำความดีของเรา เราจะเอาความดีของเรามาจากไหน “ความดีของเรา” มันจะแก้กรรม มันต้องแก้จากภายใน แก้จากภายในนะ

เวลาเกิดขึ้นมาอวิชชาพาเกิด อวิชชาอยู่ในอะไร? อยู่ในจิตปฏิสนธิ จิตปฏิสนธินี้พาเกิดนะ เราเกิดมานี่ตัวจิตนี้สำคัญที่สุด ไข่ของมารดา กาละของพ่อ ไข่ของแม่ แล้วจิตปฏิสนธิเข้าไปในนั้น ไปปฏิสนธิในไข่นั้น แล้วแตกตัวออกมาเป็นแขนเป็นขาออกมาเป็นตัวตนขึ้นมา ออกมาเป็นเรา จิตปฏิสนธิตัวนั้นมันคือตัวพาเกิด

แล้วเราแก้กรรม เราลูบๆ คลำๆ กันอยู่ภายนอก เห็นไหม ความเชื่อ ความศรัทธานี้ก็อาการของใจ ไม่ใช่ใจ จิตปฏิสนธิมันอยู่ลึกๆ เข้าไปอยู่ในกลางหัวใจของเรา นี่ไง “แก้กรรม” ถ้าจะแก้กรรมมันต้องแก้ถึงจุดพื้นฐานของการแก้กรรมอันนั้น พอแก้กรรมตรงนี้ปลดเปลื้อง กรรมตัวนี้มันก็หมด แต่ถ้าแก้กรรมกันแบบเราคาด เราหมาย แก้กันแบบโลกกัน แก้เคล็ด ทำเคล็ด ทำวิชากัน อันนั้นมันก็เป็นอารมณ์โลก เป็นพิธีกรรม แก้กรรมแบบนั้นมันก็แก้เพื่อให้เรามีความมั่นใจ มีความเชื่อมั่นขึ้นมาให้เรามีโชคชะตาราศีดีขึ้นมา

นั่นมันแค่เปลือกๆ มันเป็นอนิจจัง ความเป็นอนิจจังคือความไม่เที่ยง สิ่งที่มันไม่เที่ยง แก้ได้ก็ได้ แก้ไม่ได้ก็ได้ เห็นไหม สิ่งที่ไม่เที่ยงไง สิ่งที่ไม่เที่ยง ถ้าจังหวะมันเป็นไปได้บุญกุศลมันส่งขึ้นมามันก็เป็นผลขึ้นมา ถ้าบุญกุศลมันไม่ถึงเวลา มันทำแล้วมันยังไม่ถึงเวลามา หรือบาปอกุศลมันปิดกั้นไว้มันก็เป็นไปไม่ได้ เห็นไหม แก้กรรมกันแบบพิธีกรรม แก้กันแบบด้วยเคล็ด แก้กันภายนอก

นี่ก็เหมือนกัน เราจะแก้กรรมของเรา เราก็แก้กันที่ภายนอก เราทำเมื่อนั้น เมื่อนี้ แก้กันที่ภายนอก ภายนอกมันจะแก้กันที่ไหนกรรม กรรมไปแก้ที่ไหน? นี่มันต้องคิดว่าเรามีวาสนานะ ดูอย่างพระองคุลิมาล พระองคุลิมาล เพราะว่าความคิดของตัวเองว่าอยากได้วิชาความรู้ อยากเรียนกับอาจารย์ อาจารย์บอกว่าต้องเอานิ้วมือคนพันนิ้วมา มาแลกวิชา เอานิ้วมือพันนิ้วมา เที่ยวฆ่าเขา เที่ยวทำของเขาอย่างนี้ เที่ยวฆ่าเขาเพื่อจะเอานิ้วมือมาแลกกับวิชา วิชานั้นเป็นอะไร?

วิชานั้นเป็นการผูก ผูกเรื่องของกรรม ไม่ใช่แก้กรรม ผูกมัดเข้าไป วิชาทางโลก วิชาใดๆ ในโลกนี้ก็แล้วแต่ มันเป็นเรื่องการแสวงหา อย่างเราเรียนวิชาชีพมา วิชาชีพมาก็เพื่อวิชาดำรงชีวิตของเรา วิชาชีพของเรา ดำรงชีวิตของเราสืบต่อไป วิชาต่างๆ ในโลกนี้ก็เหมือนกัน นี่วิชาอาคมก็เหมือนกัน อยากได้วิชาจากอาจารย์ อยากได้วิชาแลกมา เพราะอาจารย์นั้นหลอก หลอกว่าถ้าอยากให้พระองคุลิมาลนี้โดนลูกศิษย์ด้วยกันใส่ความว่าพระองคุลิมาลนี้จะทรยศหักหลัง จะยืมมือคนอื่นฆ่าพระองคุลิมาล แต่พอไปทำเข้า พอทำเข้า ทำเข้าไปเรื่อยๆ พอทำเข้าไปเพราะความไม่รู้ของตัวเอง ความซื่อของตัวเองมันมีนิสัยอยู่เพราะอะไร เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเล็งญาณตอนเช้า เล็งญาณ เล็งญาณเพื่อจะแก้ไข เล็งญาณเพื่อจะไปโปรดสัตว์

เวลา ๔๕ พรรษาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้น้อยนัก แต่ถ้าว่าทำประโยชน์ต้องได้ประโยชน์ เล็งญาณตอนเช้าขึ้นมาพุทธกิจ ๕ เล็งญาณก่อน เล็งญาณว่าใครมีจริตนิสัย จะต้องไปโปรดคนนั้นก่อน นี่เข้าข่ายเข้าญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองคุลิมาลเข้าข่ายว่าถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ไปโปรดนะ ถ้าไม่ไปโปรดจะฆ่ามารดาเพราะพอดีว่าเขาจะเอากองทัพไปปราบ มารดาจะไปบอกว่าเขาจะมาปราบ แต่ด้วยความที่อยากได้นิ้วสุดท้าย ๙๙๙ นิ้วแล้ว อีกนิ้วเดียว อยากจะได้

วันนั้น พระองคุลิมาลจะต้องฆ่ามารดา เพราะฆ่ามารดาแล้วมันจะหมดโอกาส

คำว่า “มีนิสัย” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นว่ามีนิสัยเข้าข่าย มีนิสัยว่าประพฤติปฏิบัติได้ แต่ทำไมยังหลงผิดไป ความหลงผิดไป นี่กิเลสวัฏฏ์ กิเลสบังไว้ กิเลสความไม่รู้ของตัว ความไม่รู้ของตัว คิดว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ดี

เราถึงว่าเราเชื่อเราไม่ได้ ถ้าเราเชื่อเรา เราผิดเราถูกเรายังไม่รู้เลย ถึงว่ามีความคิดใดๆ ขึ้นมาแล้วต้องเทียบกับธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อน ดูอย่างการประพฤติปฏิบัติของเขาประพฤติปฏิบัติกัน ที่ว่าประพฤติปฏิบัติ การพิจารณาเป็นวิปัสสนาไปเลย วิปัสสนาไป วิปัสสนาไป ตามรู้นามรูปไป ลูบคลำกันไป ลูบคลำนามรูปไปเป็นวิปัสสนา วิปัสสนา นี่มันก็เป็นอาการของใจ ความลูบคลำไป นี่เป็นความเห็น เป็นความเห็นกับความจริงต่างกัน เป็นความเห็น

ในเมื่อเห็นจริง ความจริง มันเป็นไปได้ พอมันเป็นไปได้ ความเห็นอาการของใจ สภาวธรรมมันเกิดขึ้น สภาวธรรมเกิดขึ้นในหัวใจ สภาวธรรมนั้นดับลงที่กลางหัวใจ ว่าอันนั้นเป็นวิปัสสนา วิปัสสนาแล้ว พอทำไปนามรูปเกิดขึ้น วิปัสสนาสภาวธรรมเกิดขึ้นบ่อยๆ เข้า พอสงบเข้าผ่านรูปผ่านนามไป มันจะเริ่มเห็นแสงเห็นสี

ความเห็นแสงเห็นสี ว่าเป็นเห็นแสงเห็นสี ความเห็นสีเห็นแสงถือว่าเป็นอุปกิเลส พ้นไปแล้วอุปกิเลส ๑๖ นี้ต้องผ่าน ผ่านขั้นตอนการเห็นขึ้นไป เห็นสีเห็นแสงมันก็เหมือนกับสมถธรรม เวลาเราทำสมถะ ทำความสงบของใจ ตัวเบา ตัวโยก ตัวคลอน ความสงบของใจมันจะเป็นอย่างนั้น นี่เป็นปีติ เห็นแสงเห็นสีอีกเหมือนกัน แสงพุ่งเข้าหาตัวเป็นอันเดียวกัน แต่ถ้าตัวโยก ตัวคลอน ตัวลอยเป็นสมถธรรม ความเป็นสมถะ อันนั้นเป็นสมถะ

แต่วิปัสสนาแล้ว นามรูปเกิดขึ้น วิปัสสนา มันก็เป็นสมถะอันเดียวกันนั่นล่ะ เพราะจิตมันเห็นสีเห็นแสงมันเป็นความสงบของใจ สภาวธรรมคือความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นในหัวใจ แล้วสติสัมปชัญญะตามรูปนาม มันเป็นสติสัมปชัญญะ สติสัมปชัญญะตามความรู้ความเห็นสภาวธรรมดับลง สภาวธรรมดับลงกลายเป็นความสงบเกิดขึ้น ความสงบเกิดขึ้น จิตละเอียดขึ้นไปเพราะว่ามันใช้ปัญญาตามรู้เข้าไปเรื่อยๆ

สภาวธรรมเกิดขึ้นเป็นแสงเป็นสี มันก็อันเดียวกันกับอาการตัวลงตัวลอยเหมือนกันนั่นแหละ แต่ถ้าเป็นตัวลอย เป็นตัวลอยนี้เป็น...มันตัวใครรู้? ไม่รู้สภาวธรรม ตัวลอยก็ต้องรู้ว่าลอย รู้ว่าลอยก็ต้องกำหนดรู้ กำหนดรู้ว่าจะไม่ลอย...มันลอยจริงๆ จะทำอย่างไรล่ะ เวลามันลอยจริงๆ ลอยทั้งตัวก็มีนะ นี่ปีติของแต่ล่ะบุคคลมันไม่เหมือนกัน แต่ลอยก็เป็นว่าลอย

จิตกำหนดความสงบเป็นความสงบ นี่คือความเห็น ความเห็นมันไม่ใช่ปัญญา มันเป็นสัญญา สัญญาในการเราก็อปปี้ออกมาจากพระไตรปิฎก เรายืมมา ยืมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา มันไม่เป็นปัจจัตตัง ไม่เป็นสันทิฏฐิโกขึ้นมาในหัวใจ

การจะแก้กรรม เราจะแก้กรรมต้องแก้ให้ถูกด้วย ถ้าแก้ไม่ถูกมันก็เป็นการผูกปม ผูกเงื่อนเข้าไปเรื่อยๆ ผูกปมผูกเงื่อนเข้าไป เราเข้าใจว่าอันนี้เป็นการแก้กรรม แต่เป็นการผูกปมผูกเงื่อนของเราไปตลอดเวลา แต่ถ้าเราจะแก้กรรมของเรา เราต้องทำความสงบของเรา

ดูอย่างที่ว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปทรมาน เห็นว่าพระองคุลิมาลนี้มีนิสัย พระองคุลิมาลมีนิสัย พอมีนิสัย ไป พระพุทธเจ้าไปบิณฑบาต พระพุทธเจ้าบิณฑบาต พระองคุลิมาลเห็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อน ไม่เห็นมารดา ก็จะฆ่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อจะเอานิ้วที่ ๑,๐๐๐ วิ่งตาม เพราะมีวิชามาก วิ่งตามแล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าลอยไปตลอด พยายามไล่กวด วิ่งตาม มีวิชาที่วิ่งเร็วมาก ม้าก็สู้ไม่ได้ พระองคุลิมาลนี้เป็นคนที่มีวิชา วิชาเขาฝึกมา อาจารย์ให้ไว้หมดแล้ว เป็นคนที่วิ่งเร็วมาก วิ่งตามใครก็ทันหมด ทำไมวิ่งตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทัน วิ่งเท่าไรก็ไม่ทัน

จะไปทันได้อย่างไร ในเมื่อใจดวงนั้นบริสุทธิ์ ทุกอย่างนี้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีบุญญาธิการ มีทุกอย่างพร้อม จะทรมานไง เคลื่อนไป ลอยไป วิ่งเท่าไรก็ไม่ทัน จนบอกว่า

“หยุดสิ หยุด หยุด” ให้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหยุด

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบอกว่า “เราตถาคต หยุดแล้ว เธอต่างหากยังไม่หยุด”

นี่สะกิดใจ พอสะกิดใจ สลดใจ สลดใจเพราะอะไร เพราะว่าคนเรามีนิสัย มีความต้องการอยากจะได้บุญกุศลอยู่ แต่ความหลงผิดไป ไม่มีคนบ่งบอก กำลังวิ่งอยู่อย่างด้วยความเต็มที่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเคลื่อนไป เคลื่อนไป

“หยุดสิ หยุดสิ”

“เราหยุดแล้ว”

“หยุดอย่างไร ยังเคลื่อนอยู่”

“หยุดในการทำบาป”

หยุดในการทำปาณาติปาต หยุดในการฆ่าคน หยุดให้ได้ วางดาบลงเดี๋ยวนั้นนะ องคุลิมาลนี้วางดาบลงไว้เดี๋ยวนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์สอน แล้วเอามาบวช

“หยุด” หยุด หัวใจของตัวเองให้ได้ก่อน

นี่เหมือนกัน หยุดสภาวะความฟุ้งซ่านของใจให้ได้ก่อน หยุดสภาวธรรมของใจ สภาวธรรมที่เกิดขึ้นในหัวใจเรานี้มันเกิดดับ เกิดดับตลอดเวลา เราตามรู้ตามเห็นไปมันเป็นโลกียะทั้งหมด มันเป็นการวิ่งตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า วิ่งตามไปด้วยถือดาบจะฆ่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไป เห็นไหม ยังว่าอันนั้นเราจะทำให้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

“หยุดสิ หยุดสิ”

“เราหยุดแล้ว เราหยุดแล้ว”

ถ้าใจที่เป็นฝ่ายมรรคมันหยุด ต้องหยุด หยุดแล้วถึงจะเห็น หยุดแล้วถึงจะใคร่ครวญ จะแก้กรรมได้ไง ถ้าจิตนี้ไม่หยุดก่อน เราจะไปแก้กรรมตรงไหน เครื่องยนต์ที่หมุนอยู่ตลอดเวลา เราติดเครื่องยนต์อยู่ เราจะซ่อมเครื่องยนต์เรา เราจะแก้ไขเครื่องยนต์เราได้อย่างไร ในเมื่อเครื่องยนต์นี้หมุนอยู่ตลอดเวลา เราจะจับน็อตจับสกรูตัวไหน เราจะซ่อมได้

หัวใจที่ฟุ้งซ่านอยู่ตลอดเวลา เคลื่อนไปตลอด ความเคลื่อนไปของใจตลอดเวลา สภาวะความแรง พลังงานที่เกิด พลังงานปฐมที่เกิดขึ้นจากเครื่องยนต์นั้นมันผลิตขึ้นมา มันมีอยู่แล้ว สภาวะอันนั้นเราเห็นเราก็ตื่นเต้น ใจมันแปรสภาพสภาวะไปตลอดเวลา เห็นสภาวะอย่างนั้นมันก็ปล่อย มันเข้าใจไง มันเข้าใจ เป็นจินตมยปัญญา เข้าใจมันก็ปล่อยวางอารมณ์ พอปล่อยวางอารมณ์เราก็มีความสุขมีความพอใจขึ้นมา เห็นไหม มันไม่เป็นภาวนามยปัญญา มันเป็นการผูกเงื่อนผูกปมไปเรื่อยๆ นะ ผูกเงื่อนผูกปม

“กรรมดี-กรรมชั่ว” กรรมดีต้องให้เป็นผลดี ทำดีต้องให้เป็นผลดี ทำดีเป็นบุญกุศลต้องให้ผลเป็นบุญกุศล เราประพฤติปฏิบัติเป็นบุญกุศลไหม? เป็นบุญกุศล ประพฤติปฏิบัติ เราพยายามจงใจประพฤติปฏิบัติ ตั้งใจจริงประพฤติปฏิบัติ เป็นบุญกุศลไหม? เป็น เป็นบุญเป็นกุศลขึ้นมา

แต่ปฏิบัติผิดนั้นเป็นอะไรขึ้นมาล่ะ มันให้ผลตรงกับเป็นความจริงไหม “ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม” มันไม่สมควรแก่ธรรม การประพฤติปฏิบัติ การใฝ่ดี คนดีต้องได้ดี ทำดีเป็นดี ทีนี้ทำดีก็เป็นดี แต่ดีในองค์มรรคไหม ดีในอริยสัจไหม มันดีตรงนั้นไหม

“ความดี” เราสร้างบุญกุศล เราทำคุณงามความดี เราก็ไปเกิดดี มันก็หมุนไป หมุนไปเกิดบนสวรรค์ หมุนไปเกิดถ้าเราดับดวงนี้...มันแก้กรรมไม่ได้ มันปลดเปลื้องกิเลสออกจากใจไม่ได้ ความไม่ปลดเปลื้องกิเลสออกจากใจ ไม่แก้กรรมออกจากใจ ต้องแก้กรรมเป็นตามสัจจะ ตามความเป็นจริงเป็นขั้นเป็นตอนเข้าไป ถึงต้องทำความสงบ

“หยุด เราตถาคตหยุดแล้ว” แล้วหัวใจเราผู้ประพฤติปฏิบัติหยุดได้หรือยัง หยุดหัวใจเราให้เป็นสมถธรรมที่ว่าเป็นความเนิ่นช้า เป็นความคิดของกิเลสนะ เป็นความคิดของคนมักง่ายว่าความคิดว่าทำสมถธรรมนั้นมันเป็นประโยชน์อะไรกับการประพฤติปฏิบัติ การประพฤติปฏิบัติต้องทำวิปัสสนา

วิปัสสนานี้เป็นขั้นตอนของปัญญาที่จะพัฒนาขึ้นไป แต่เริ่มต้นต้องทำสมถธรรม สมถกรรมฐาน-วิปัสสนากรรมฐานจะก้าวเดินไปพร้อมกัน ถ้าจิตนี้ไม่หยุด ทำอย่างไรขึ้นไปมันก็เป็นโลกียะ เป็นโลกียะ เป็นความเห็นของตัว เป็นบุญกุศล? เป็น เป็นบุญกุศล เป็นความบุญกุศล แต่มันไม่เข้าหลัก สัมมาสมาธิต้องเกิดขึ้นก่อน ความสงบของใจต้องมี

กรรมให้ผลต่างๆ กัน เราว่าเราทำความดี เราทำความดีมันเป็นความเห็นของเรา ความเห็นของเราไม่ใช่เป็นสัจจะความจริง เพราะความเห็นของเรานี้มีกิเลส กิเลสวัฏฏ์ กัมมวัฏฏ์ กรรมคือการกระทำ เราทำคุณงามความดี เราว่าเป็นคุณงาม... “เราว่า เราว่า” ทั้งหมด

“เราว่า” ไม่ได้ ถ้า “เราว่า” แล้ว เพราะ “เราว่า” มันมีเราอยู่นี่ มันจะหมุนไปได้อย่างไร มรรคจะหมุนไปได้อย่างไรในเมื่อเรามีอยู่ เพราะมีเรา เราเข้าไป เราก็ต้องเห็นแก่ตัวสิ เราก็ต้องมีความอยาก มักอยากให้มันสะดวกสบาย อยากให้มันเป็นไป อยากจินตนาการ อยากหมด ถ้าเรา...มันเป็นตัณหาซ้อนตัณหา ผลจะเกิดขึ้นขนาดไหนก็เป็นผลในวงของสมมุติ “วงของสมมุติ”

“ปริยัติ” การศึกษาเล่าเรียนมา การศึกษาเล่าเรียนมา

“ปฏิบัติ” ขณะที่ปฏิบัติ ปริยัติต้องวางไว้ ขณะที่เราเล่าเรียน เราเรียนปริยัติ เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ถ้าท่องผิด อุปัชฌาย์ก็จะไม่ให้เราเป็นพระโดยไม่สมบูรณ์ขึ้นมาด้วย ต้องเกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ...ตโจ ทันตา นขา...ต้องย้อนอนุโลม-ปฏิโลม...ถูกต้อง ต้องถูกต้องตามอุปัชฌาย์พูด นั้นคือปริยัติ เรียนมาตามปริยัติแล้วเรียนมาถูกต้องตามปริยัติแล้ว ขนาดปริยัติต้องเป็นปริยัติ

ขณะที่เป็นปฏิบัตินั้น ปริยัติต้องวางไว้ ถ้าปฏิบัติพร้อมกับปริยัติมันก็เป็นจินตนาการ เป็นปริยัติไปด้วย ปฏิบัติเป็นปฏิบัติ ถ้าปฏิบัติแล้วปฏิเวธจะเกิดขึ้น ความรู้แจ้งจะเกิดขึ้น อันนั้นเป็นความจริง อันที่เป็นความจริงมันต้องเป็นความจริงโดยสันทิฏฐิโก สันทิฏฐิโกมันคือว่ามันเป็นรู้จริง เห็นจริง แต่อันนี้มันไม่ใช่สันทิฏฐิโก

เพราะว่ามีเรา สันทิฏฐิโกได้อย่างไร? ก็ในเมื่อเรา ถ้าเรามันก็ต้องมีสัญญา มีความจำได้หมายรู้ มีความเห็นของเราบวกเข้าไป เห็นไหม ความเห็นของเราบวกเข้าไป มันก็หมุนไป มันเป็นวงของสมมุติไง มันเป็นวงของสมมุติ ในวงของสมมุติ ในวงของสมมุติกับในวงของโลกุตตระ สมมุติมันเป็นสมมุติขึ้นไป มันละเอียดขึ้นไปเรื่อยๆ ละเอียดขึ้นไปเรื่อยๆ

ฉะนั้น ต้องหยุดใจของเราให้ได้ นี่แก้กรรมต้องค่อยๆ เลาะ ค่อยๆ แก้กรรมเข้าไป อาหาร เขากินไก่นะ เขาไม่กินกระดูกไก่หรอก ไก่เขาจะต้มจะแกงขนาดไหน มีกระดูกไปด้วย เวลาเขาจะกิน เขาต้องเลาะ เขาต้องปลิ้นเอากระดูกนั้นออก

เวลาจะทำคุณงามความดีก็เหมือนกัน ไอ้คุณงามความดีของโลกเขาที่ว่า กรรม กรรมดีกรรมชั่ว มันก็ไก่กับกระดูกไก่อยู่ในนั้นน่ะ มันติดคอตาย ติดคอตายหมายถึงว่า เวลาพอวิปัสสนาเข้าไป เราทำเข้าไปนี่มันติดตรงนั้น พอติดตรงนั้นมันก้าวเดินไปไม่ได้ ความที่จิตเราก้าวเดินไปไม่ได้ จิตเราไม่พัฒนาขึ้นไป ในเมื่อจิตเราไม่พัฒนาขึ้นไป เราก็ติดคอตรงนั้น

เวลาตายไป ชีวิตนี้เหมือนเนื้อปิ้งไฟ เวลามันไหม้มันหมดอายุขัยแล้ว มันก็ไปเกิดอีก นี่เราแก้กรรมไม่ได้ มันต้องเกิดอีก การแก้กรรมคือแก้ตรงที่ว่าจิตปฏิสนธิไม่ให้ไปเกิดอีกเลย “แก้กรรม” เกิดแล้วตายแล้วไม่เกิดอีก ถ้าไม่เกิดแล้วมันก็ไม่ตาย อันนี้เราเกิดขึ้นมาแล้ว ด้วยบุญกุศล บุญกุศลพาให้เราเกิดพุทธศาสนา แล้วเราต้องพยายามดั้นด้นเข้าไป ไปแก้ปมของกรรมนี้ให้ได้ แก้ปมของกรรมในหัวใจของเรา

ความสงบของใจเข้ามา ทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าเราทำความสงบของใจเข้ามา มันจะเข้ามาเป็นวามสงบ ทำความสงบ พอสงบเข้ามานี่มันเป็นงานโดยความถูกต้อง เพราะเรา ขณะสงบขึ้นไป สงบเข้าไป เรานี่จะน้อยลง น้อยลง ไอ้ความเห็นว่าเรา ถ้าความเห็นว่าเรานี่มันเข้าข้างตัวเอง ความเข้าข้างตัวเองเป็นจินตนาการ ความจินตนาการ “จินตนาการ”

“อัตตกิลมถานุโยค” ทำให้เนิ่นช้า

“กามสุขัลลิกานุโยค” เวลามันเป็นไป พอใจ เป็นไป ไปเรื่อยเลย

“ทเวเม ภิกฺขเว” ทาง ๒ ส่วนที่พระภิกษุไม่ควรเสพทั้ง ๒ ฝ่าย

“มัชฌิมาปฏิปทา” ทีนี้ มัชฌิมาปฏิปทาของใคร? มัชฌิมาปฏิปทาของกิเลส มัชฌิมาปฏิปทาของเรา มัชฌิมาปฏิปทาของธรรมมันเป็นอีกอย่างหนึ่ง มันเป็นกลางพอดี ขนาดที่ว่าเขาเป็นกลางแล้ว เขาเป็นไปโดยธรรมชาติของเขา โดยธรรม โดยสัจธรรม ไม่ใช่โดยความเห็นของเรา

เราว่า ควรจะเป็นกลางอย่างนั้น ควรจะเป็นกลางอย่างนี้

มันจะควรเป็นกลางอย่างไรในเมื่อใจยังไม่สงบ ใจยังไม่ได้เป็นความสงบเป็นพื้นฐานของใจเลย ถ้าใจมีความสงบเป็นพื้นฐานของใจ ใจเราทำความสงบเข้ามาเป็นพื้นฐานของใจ มันเป็นการยืนยันกัน ยืนยันกันระหว่างเรากับธรรม ระหว่างเรากับธรรมว่าความสุขคือการเกิดขึ้นจากการทำความสงบของใจ ใจที่เคยฟุ้งซ่านมา เห็นไหม เราเข้าใจของเราเองว่าทำอย่างนั้น มันจะสงบอย่างนั้น ทำอย่างนั้นมันสงบ นี่มันเป็นความเข้าใจของเรา

ขณะที่ว่าจิตสงบจริงๆ ขึ้นมา มันจะต่างกับความที่เราศึกษามาโดยปริยัติในหนังสือนะ หนังสือว่าความสงบของใจ เราเคยแต่ปล่อยวางธรรมดา ปล่อยวางข้างนอก มันไม่สงบเข้าถึงอัปปนาสมาธิ ถึงความสงบของอัปปนาสมาธิ ความสงบของใจอันนั้น มันยืนยันกันชัดเจน ยืนยันกันชัดเจนด้วยความสงบสุขของใจดวงนั้น ใจดวงนั้นได้สัมผัสกับธรรมตามสัจจะความจริง มันยืนยันว่า “ธรรมเป็นธรรม โลกเป็นโลก” ถ้าเอาโลกกับธรรมมารวมกัน มายืนยันปั๊บมันก็มั่นใจของเรา เรามั่นใจของเรา

พอมั่นใจของเรา เราต้องพยายาม พยายามหาเงื่อนปม หาเงื่อนปม เงื่อนปมที่ไหน? เงื่อนปมที่ว่าสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขาอยู่ที่ไหน สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา พอสัตว์ มีสัตว์ มีบุคคล มีตัว มีตน มีเรา มีเขา มีตัวมีตนขึ้นมา พอมีตัวมีตนขึ้นมา มันไปกว้านทั้งหมดมาเป็นเรา ไปกว้านทั้งหมด

ความกว้านทั้งหมดเข้ามาเป็นเรา มันเอาความทุกข์เข้ามาให้พร้อม แม้แต่กรรมดี กรรมชั่ว เราไม่รู้ มันก็เอาความทุกข์มาให้อยู่แล้ว แล้วอันนี้กิเลสความอยากใหญ่ ความมักง่าย ความทะเยอทะยานในหัวใจ มันมีอยู่ในนั้นหมด นี่มันไปกว้านเอาอันนั้นมา มันจะเห็นโทษเลย เพราะจิตสงบเข้ามามันจะเห็นโทษ นี่มันสงบเพราะมันปล่อยวางตรงนั้น มันปล่อยวางเฉยๆ มันไม่ได้แก้ มันไม่แกะปม

ถ้ามันแกะปม มันแก้กรรมได้ มันก็จะแก้เป็นเปราะเป็นชั้นเข้าไป

มันไม่ได้แก้ มันปล่อยวางเข้ามาโดยความสงบของใจ มันปล่อยวางเข้ามาด้วยสมาธิธรรม ด้วยสมาธิแก่กล้า กดใจให้สงบเข้ามา ใจสงบเข้ามา อันนั้นเป็นผลจากสมาธิ เป็นผลจากสมาธิ ถึงบอกว่าถ้าเป็นผลของธรรม ธรรมคือปัญญา สมาธิไม่สามารถชำระกิเลสได้หรอก เราทำความสงบขนาดไหนเข้ามา มีความสงบเข้ามา มีความสงบเข้ามา มีความสุขมาก มันปล่อยวาง รู้ว่าปล่อยวาง

รู้อยู่ ความว่าปล่อยวาง แต่มันไม่ขาดออกไป ถ้ามันขาดออกไป มันต้องขาดด้วยปัญญา ปัญญาทำอย่างไรจะให้มันเกิดขึ้นล่ะ? ปัญญาจะเกิดขึ้นเราต้องค้นคว้าไง ต้องค้นคว้า สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ที่ไหน ค้นคว้าในสัตว์ ในบุคคล ในตัว ในตน ในเรา ในเขา ในขันธ์ ๕ นอกๆ นี่แหละ ในขันธ์ ๕ ที่เขาไปติด ถ้าจิตมันสงบแล้วมันจะเห็น ความเห็นอันนี้ เราจับขึ้นมาวิปัสสนา

วิปัสสนาการใคร่ครวญอย่างนี้ถึงจะเป็นสภาวธรรม สภาวธรรมที่การใคร่ครวญในการเข้าไปเกาะเกี่ยว สภาวธรรมที่เข้าไปเกาะเกี่ยว มันเกาะเกี่ยวโดยธรรมชาติ โดยธรรมชาติเพราะมนุษย์มีขันธ์ ๕ กับธาตุ ๔ ในธรรมชาติ เทวดามีขันธ์ ๔ เทวดามีแต่นาม

เรามีนามรูป นามรูปในภพของมนุษย์ นี่เนื้อปิ้งไฟ “เนื้อปิ้งไฟ” เวลาทำในภพของมนุษย์ เพราะมีเนื้อปิ้งไฟ “ธาตุไฟ” ธาตุไฟกับรสของเนื้อนั้น รสของเนื้อนั้น รสของธรรม “รสของธรรมชนะซึ่งรสทั้งปวง” รสของเนื้อนั้นมันกลิ่นหอม เนื้อปิ้งไฟนี่กลิ่นหอมมากนะ แล้วมันจะหอมในอบอวลไปในอารมณ์ของโลกเขา มันติดข้องไปในโลกเขา

“รสของธรรมชนะซึ่งรสทั้งปวง”

“รสของธรรม” เราไม่เคยสัมผัสรสของธรรม ถ้าเราพิจารณาด้วยธรรม โลกเขาเป็นอาการของโลก โลกเขาเกาะเกี่ยวกันไป หมุนไปโดยธรรมชาติ กิเลสมันอาศัยขันธ์ ๕ ใช้ประโยชน์ออกมา ความคิดนี้เกิดขึ้น ความคิด ความผูกมัดในต่างๆ อารมณ์เกิดขึ้นจากขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ หมุนออกไป อารมณ์จะเกิดทันทีแล้วเป็นไป

แต่รสของธรรมล่ะ รสของธรรมคือความหยุดอันนี้ไง หยุดสิ่งที่มันแปรปรวนไป มันคิดแปรปรวนไป มันได้เชื้อ ได้เชื้อจากกิเลสคืออวิชชา พอเชื้อจากอวิชชาไสให้คิดออกไป ไสให้เป็นไปเพราะธรรมชาติมันเป็นทางที่ว่าเป็นทางเครื่องดำเนิน นามรูปเกิดอย่างนี้ เป็นการเกิดดับของสภาวธรรม สภาวธรรมเกิดดับอย่างนี้

แต่เกิดดับแล้วถ้าเป็นโลก เป็นโลกหมาย สื่อความหมาย ความสื่อความหมาย ความพูด รูป รส กลิ่น เสียง การสื่อสัมพันธ์กันใช้ขันธ์ ๕ ใช้ขันธ์ ๕ สื่อสัมพันธ์กัน ความสื่อสัมพันธ์ไปพร้อมกับกิเลส กิเลสนี้ก็อาศัยความสื่อสัมพันธ์ สิ่งที่เป็นสื่อออกมานี่เป็นทางเครื่องดำเนินหากินไปด้วย ความเครื่องดำเนินหากินไปด้วยก็พร้อมกับเกิดความหลงผิด ความไม่เข้าใจ

ถ้าปัญญาเกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้นมันจะเห็นผล เห็นผลการยับยั้ง นี่ปัญญาการฝึกฝึกอย่างนี้ ฝึกอย่างนี้เพราะมีอะไร? เพราะมีสมาธิ มีสมถกรรมฐานแล้ว งานถึงเป็นงานขึ้นมา ถ้าไม่มีสมถะเป็นกรรมฐานขึ้นมา งานเป็นงานของโลกเขา นาม สภาวธรรมเกิดขึ้น คิดไปเกิดขึ้น คิดไปอย่างนั้น ย้ำคิดย้ำทำเข้าไป ย้ำขนาดไหน แสงสว่างเกิดขึ้นจะมีความปีติอย่างไรเกิดขึ้น ความปล่อยวางเกิดขึ้นมันเป็นสมถะทั้งนั้น

แต่ถ้าปัญญาเกิดจากสมาธิ สมาธิที่มีผลมหาศาลที่ความสงบของใจธรรมเกิดขึ้นแล้ว หนุนให้ปัญญาอันนี้เกิดขึ้น ปัญญาที่เราพิจารณาธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ นี่แหละ ธาตุ ๔ คือกาย ขันธ์ ๕ คืออารมณ์ความคิด ย้อนกลับเข้ามา ย้อนกลับเข้ามา ย้อนกลับเข้ามาว่าขันธ์ ๕ ความคิดนี้เกิดดับได้อย่างไร สภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับอย่างไร มันมีอะไรส่งเสริมขึ้นมาถึงเกิดดับ มันเกิดดับเพราะอะไร แล้วเรายับยั้งไม่ได้ พอยับยั้งไม่ได้ ถ้ายับยั้งได้ เราต้องบังคับตัวเราได้ เราต้องบังคับความคิด ระบบความคิดของเรา บังคับให้เราทำคุณงามความดี บังคับให้เราประพฤติปฏิบัติ

มันบังคับไม่ได้ บังคับไม่ได้เพราะอะไร เพราะอวิชชามันต่อต้านไง อวิชชาคือตัวกิเลสที่ในหัวใจ กิเลสพาเกิดมา กิเลสตัวนั้นมันผูกมัดอยู่ กรรมพร้อมกันกับการเกิดขึ้น กรรมเป็นกรรมชั่ว ถ้ากิเลสมันใช้ แต่กรรมนี่กรรมเป็นกลางๆ กรรมที่การกระทำ ถ้าเราใช้ปัญญา เราใช้ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันก็เป็นกรรมเหมือนกัน แต่กรรมดี กรรมดีแล้วเข้าถูกส่วนด้วย ถูกส่วนของมรรค ความเข้าถูกส่วนของมรรค กรรมนี้หมุนไปเป็นธรรมจักร เป็นธรรมจักรคือเป็นภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการวิปัสสนา วิปัสสนาต้องเกิดขึ้นจากตรงนี้

ถ้าวิปัสสนาเกิดขึ้นจากตรงนี้ ตรงที่เราใช้ปัญญาที่เราฝึกฝนขึ้นมา แล้วเราจับเงื่อนปมของขันธ์ ๕ ได้ เราวิปัสสนาขันธ์ ๕ นามรูปเข้าไป นามรูปการเกิดอาการของใจแล้วเข้ามาสะสมในใจ การเกิดดีหรือเกิดชั่วก็แล้วแต่ แล้วเราวิปัสสนาเข้าไป ความเกิดดีเกิดชั่ว ถ้าสมาธิทันแล้ว หมุนเวียน หมุนเข้าไป หมุนเอาปัญญานี้ย้อนกลับในขันธ์นั้นเข้าไป แยกแยะออกให้ได้ แยกแยะว่าผลที่เกิดขึ้นจากดีหรือชั่วนี่ใครเป็นคนส่งเสริมขึ้นมา

สภาวธรรมเป็นสภาวธรรม แต่กิเลสที่ขับเคลื่อนออกมาพร้อมกับสภาวธรรมอันนั้นให้ผลโดยที่ว่าเป็นความไม่รู้ แต่ถ้าธรรมขับเคลื่อน “ธรรมขับเคลื่อน” สมาธิมีพลังงานแล้วเราใช้ปัญญาหมุนเข้าไป พลังธรรมแยกแยะเข้าไป จะเห็นว่าสิ่งที่เราหมุนเข้าไปนั้นกิเลสอาศัยสิ่งนี้ ความที่กิเลสอาศัยสิ่งนี้แล้วขับเคลื่อนออกมา ธรรมเข้าไปชำระกิเลส กิเลสจะสงบตัวลง กิเลสจะยุบยอบตัวลง ความที่กิเลสยุบยอบตัวลง เห็นไหม ธรรมเป็นฝ่ายชนะ วิปัสสนานั้นเป็นผล

ผลอันนี้เกิดขึ้นจากสภาวธรรมที่เป็นมรรคอริยสัจจัง...

(เทปขัดข้อง)

...หมุนเข้ามา หมุนเข้ามา เราจะเห็นว่า เราก็เป็นคนคนหนึ่ง พลังงานของใจนี้สำคัญมาก หัวใจนี้ประเสริฐที่สุด เราเกิดเป็นมนุษย์ มีกายกับใจ แล้วมีกายกับใจ ใจตัวนี้ ใจที่ว่าเป็นพลังงานของใจ ธรรมะนี้เป็นนามธรรม เข้ากับหัวใจ แล้วเราสร้างสมใจขึ้นมาจนปัญญาหมุนออกมา จนธรรมจักรนี้เคลื่อนออกไปจากใจ นี่ความมหัศจรรย์จะเกิดขึ้นจากผู้ที่ปฏิบัตินั้น

แต่เดิมว่า “ธรรม ธรรม ธรรมนี้เป็นอย่างไร” ธรรม สภาวธรรมนี้ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สวากขาตธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ชอบแล้ว ชอบแล้ว ชอบอย่างไร อันนั้นเป็นสมบัติ สมบัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ขณะนี้ปัตจัตตังเกิดขึ้นในกลางหัวใจของเรา นี่เวลาธรรมจักรเคลื่อนออกไปจากใจ เกิดขึ้นจากใจของเรา

ใจของเราเป็นขันธ์ ๕ เปลือกๆ ขันธ์ ๕ ข้างนอกนะ แล้วอวิชชาอยู่ที่จิตปฏิสนธิมันอยู่ข้างในของใจดวงนั้น แต่เราพยายามขับเคลื่อนเข้าไป ความมหัศจรรย์เกิดขึ้นแล้ว ความมหัศจรรย์เกิดขึ้น เรายิ่งเชื่อมั่นในเรา ความเชื่อมั่นในเรากำลังใจเกิดขึ้น

การเล่นกีฬา การทำธุรกิจค้าขาย ถ้าเราได้กำไรขึ้นมาทุกวันๆ เราอยากทำมาก ถ้าเราทำธุรกิจเข้ามาแล้วเรามีขาดทุนบ้าง กำไรบ้าง มันก็ยังพอถูไถ ถ้ามีแต่แพ้ มีแต่ขาดทุนตลอด ถ้าใจของเราเดินขึ้นมาถึงส่วนจุดส่วนที่มหัศจรรย์ตรงนี้มันมีแต่กำไรและกำไรนะ แต่มันจะขาดทุนต่อเมื่อเราพลั้งเผลอ ทำไมจิตใจของเราว่ามีกำไรแล้วจะพลั้งเผลอไปไหน พลั้งเผลอเพราะอะไร

เพราะว่าเราจะเชื่อกิเลสกล่อม กิเลสเข้ามากล่อม กิเลสวัฏฏ์ กัมมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ ผลจากการทำความดีของเราเป็นความสุข เป็นความสุขขึ้นมา มันจะไปแก้กรรมตรงนั้นได้ ความที่จะไปแก้กรรมนั้นได้ กิเลสมันก็ต้องต่อต้าน ความที่กิเลสมันจะต่อต้าน มันก็ต้องสร้างกลอุบายของมันออกมา ความที่สร้างกลอุบายออกมา ความทำให้เป็นไป การทำขึ้นมาถึงต้องคราดต้องไถไง ต้องซ้ำเข้าไป เราพยายามซ้ำเข้าไปด้วยความพยายามของเรา ด้วยปัญญาที่เกิดขึ้น ปัญญาที่เกิดขึ้นจากสมถกรรมฐาน

สมถกรรมฐาน นี่คือสัมมาสมาธิ แล้วเกิดความดำริชอบ ความเห็นชอบ ความเพียรชอบ ปัญญาคือความเห็นชอบ ความเห็นชอบ ถ้าความเห็นชอบพร้อมกับสมาธิธรรม มรรครวมตัว ถ้ามรรคสามัคคี มรรคสามัคคีสามัคคีครั้งหนึ่ง จะสมุจเฉทปหาน จะชำระกิเลสออกไปได้ ขันธ์ ๕ จะแยกออกไปได้ชั้นหนึ่ง

แต่มรรคไม่สามัคคี มรรคนี้เคลื่อนตัวออกไป แต่ไม่มัชฌิมาปฏิปทาที่เราต้องการไง

ความมัชฌิมาปฏิปทาของธรรมกับความมัชฌิมาของเรา เราใช้ปัญญาอยู่ ปัญญา ความเพียรที่เข้มแข็ง ความเพียรที่คมกล้า หรือสติเราชอบ สิ่งใดสิ่งหนึ่งจุดเด่นขึ้นมา ถ้าเด่นขึ้นมา มรรคนี้เคลื่อนตัว กิเลสก็ปล่อยวาง ถ้ามรรคนี้เคลื่อนตัว กิเลสปล่อยวาง ปล่อยวาง เพราะเคลื่อนตัวไป แต่มันไม่มัชฌิมาพอดี ไม่สามัคคี

มรรคสามัคคีคือมรรครวมตัว มรรครวมตัว มรรค สมุจเฉทปหาน สมุจเฉทปหานขาดออกไป ขันธ์ ๕ จากอาการเปลือกของใจกับใจจะแยกออกจากกัน ขาดโดยสัจจะ โดยอริยสัจ โดยความจริงของธรรม ไม่ใช่ด้วยกรรมดีกรรมชั่วที่ว่าเราสุ่มสี่สุ่มห้าของเราขึ้นมา ความทำสุ่มสี่สุ่มห้าของเรา “กรรมดี” ว่าเราทำกรรมดีแล้วเรายึดมั่นกรรมดีแล้วของเรา เรายึดมั่นกรรมดีของเรา เรายึดแล้วเราทำของเราไป นี่มันเป็นกิเลส เพราะความยึดนี้มันเป็นกิเลสอยู่แล้ว

แต่เราไม่รู้สึกตัวหรอก เพราะอะไร เพราะกิเลสเป็นเรา กิเลสทุกอย่างนั้นเป็นเรา สรรพสิ่งนี้เป็นเรา พอถึงว่าเป็นเรา เราทำอะไรไม่ได้เลย แต่เราวิปัสสนาของเราเข้าไปเรื่อยๆ วิปัสสนาเข้าไปเรื่อยๆ เราจะสงบตัวลง สงบตัวลง แล้วจะหมุนไปโดยธรรมชาติ ธรรมชาติคือสภาวธรรม สภาวธรรมโดยที่ไม่มีเรา เห็นไหม ถึงเป็นวิปัสสนา วิปัสสนานี้เพราะว่ามันเป็นสัจธรรมความเป็นจริง ธรรมนี้เป็นกลาง สิ่งที่เป็นกลางมีอยู่ประจำโลกอยู่แล้ว

“ธรรมนี้มีอยู่โดยดั้งเดิม” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้มาตรัสรู้ธรรม ตรัสรู้ธรรมแล้วธรรมนั้นถึงเป็นประโยชน์ขึ้นมา ธรรม สภาวธรรมมีอยู่แล้ว ทีนี้สภาวธรรมที่เกิดดับ เกิดดับในหัวใจของเรานี้มันเป็นสภาวธรรมที่ว่า เป็นสภาวธรรมว่าดีหรือชั่ว บาปหรือบุญ นี่บาปหรือบุญ ดีหรือชั่วของใคร? ของอวิชชา มันถึงไม่เป็นสัจจะความจริง

ถ้าเป็นสัจจะความจริงคือการประพฤติปฏิบัติของเรา อันนี้เป็นภาวนามยปัญญา การภาวนาเกิดขึ้นจากเรา เห็นไหม คุณสมบัติของการทำบุญกุศลในมนุษย์สมบัตินี้ การภาวนา การปฏิบัติบูชานี้เป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพยายามอยากได้อย่างนี้ บอกพระอานนท์ไว้

“อานนท์ให้บอกเขาเถิด คนที่จะมาเคารพสักการะด้วยอามิสบูชา บอกให้เขาประพฤติปฏิบัติบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเถิด”

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องการผู้ที่ประพฤติปฏิบัติให้สมควรแก่ธรรม แล้วเข้าไปสัมผัสธรรมตามสัจจะความจริง เป็นพุทธชิโนรส ศากยบุตรพุทธชิโนรส เป็นลูก เป็นผู้ที่ก้าวเดินตามทันเดินองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไป ทันตรงไหน? ทันตรงที่ใจนี้รู้เหมือนกัน ทันเหมือนกัน เข้าใจสภาวธรรม ถึงกับในหัวใจนั้นสัมผัสธรรมขึ้นไปเรื่อยๆ นี่ธรรมที่เกิดขึ้นจากใจ มันจะละเอียดเข้าไปเป็นขั้นเป็นตอนเข้าไป

ขันธ์นอก-ขันธ์ใน-ขันธ์ในขันธ์

“ขันธ์นอก” ก็เป็นส่วนหนึ่ง แก้กรรมได้เปราะหนึ่ง

“ขันธ์ใน” ขันธ์ในต้องแก้เข้าไปเป็นนามธรรม วิปัสสนาเข้าไป วิปัสสนาเข้าไป จับเงื่อนจับปมเข้าไปต้องได้เงื่อน ถ้าทำแล้วได้เงื่อน ถ้าทำไม่ได้เงื่อน ถ้าไม่ได้เงื่อน เราก็ทำความสงบ เราวิปัสสนาไป มันวิปัสสนาไปเฉยๆ มันไม่ได้เงื่อน มันไม่ถึงตรงจุดที่จะแก้ได้ เงื่อนคือสิ่งที่ว่าแก้ แก้คือการแก้กรรม ถ้าเราไม่มีเงื่อน เราไปแก้ตรงไหน เราไม่ได้เงื่อน เราก็ลูบคลำไป ความลูบคลำของเรา ลูบคลำมันจะเป็นธรรมมาจากไหน

มันต้องเห็นสัจจะความจริงต่อหน้าซึ่งๆ หน้า การสมุจเฉทปหานกิเลสนี้มันเป็นการเห็นซึ่งๆหน้า การเข้าใจตนไม่มีการมีความลังเลสงสัย ไม่มีความสะกิดใจ ไม่มีความลังเลใจ ใจนี้จะให้นึกว่าจะเป็นอย่างนั้น จะเป็นอย่างนี้ไม่ได้เลย ถ้าเป็นอย่างนั้นอยู่ ยังมีส่วนของกิเลสเจือปนอยู่

ถึงต้องจับเงื่อนจับปม ถ้ามีเงื่อนมีปมแล้ว ทำเงื่อนหาเงื่อนหาปมได้ด้วยความวิริยอุตสาหะ เราวิริยอุตสาหะของเรา มันมีความมหัศจรรย์ของใจขึ้นมาเป็นเครื่องยืนยันของเรา พอมีความเครื่องยืนยันของเรา เราแก้ไขของเราเข้าไปเรื่อย แก้ไขของเราเข้าไปเรื่อย เปรียบเทียบของเราเข้ามา ปัญญามันจะละเอียดเข้าไปเป็นชั้นๆ นะ

ปัญญานี่เราคิดว่าเราไม่มี ปัญญานี่ทำไมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีปัญญามาก พุทธวิสัยมากจริงๆ เราอย่าไปคาดไปหมาย ยิ่งไปคาดไปหมายอย่างนั้นปวดหัวนะ เพราะสิ่งที่ว่าเป็นอจินไตย ๔ ปัญญาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประเสริฐสุด เป็นสยัมภู ตรัสรู้ได้ด้วยตนเอง

ทีนี้ปัญญาอย่างเรา เราสร้างสมขึ้นมาได้แล้วละเอียดขึ้นไปเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมา ปัญญาอย่างเรา เราสร้างได้ ถ้าเราดูถูกเรา เราไม่พยายามขวนขวายของเราก็เท่านั้น มีแต่เงื่อน ผูกเงื่อน ผูกปม เราจะต้องแก้กรรม เรากลับว่า การทำให้กรรมนี้ซับซ้อนให้เราหนักเข้าไป หนักเข้าไป ความหนักเข้าไปกดถ่วงใจไง ใจถ้าวิตกกังวลแล้วกดถ่วงใจ

ทำใจให้ปลอดโปร่ง ทำใจให้สบาย วันนี้ปัจจุบันธรรม ถ้าเราแก้ที่ปัจจุบันธรรมได้ แก้ที่ปัจจุบันธรรมได้ก็แก้ได้ไปเรื่อย แก้ได้ไปเรื่อย ถ้าเราแก้ปัจจุบันไม่ได้ ข้างหน้าก็ทุกข์นะ ฉะนั้น เราไปวิตกกับอดีตอนาคตก่อน เราคิดแต่อดีตอนาคต ไม่กลับมาที่ปัจจุบัน ขณะที่ปฏิบัตินี้ต้องเป็นปัจจุบัน สรรพสิ่งใดในโลกนี้เหมือนไม่มีขณะที่ปฏิบัติ ถึงว่าต้องวางแม้แต่ปริยัติ วางแม้แต่ว่าเรามีความคิด มีปัญญาทั้งหมด เพราะอันนี้มันเป็นสัญญา

ความที่เป็นสัญญานี้เป็นเชื้อไฟอย่างดีเลยที่จะทำให้อารมณ์ของเราเตลิดเปิดเปิงไป เพราะสัญญา สัญญากับกิเลสมันเข้ากัน ความเป็นสัญญามา มันมีช่อง มันเป็นอดีตอนาคต มันไม่ลงปัจจุบัน นี่ถึงต้องทำสมถะของเราเข้ามาตลอด ทำสมถะเข้ามา ทำความสงบของใจเข้ามาบ่อยๆ เข้า มันจะแก้เงื่อนแก้ปมของเราได้ตลอด มันถึงแก้ของเราเข้ามา

พอแก้เข้าไปเป็นชั้นเข้าไป พอแยกออก ขันธ์ในขันธ์ออกไป ถึงขันธ์ข้างใน พอขันธ์ข้างใน ความหาเงื่อนปมยังยากเข้าไปตลอด ยากเข้าไปตลอด แต่ความยากขนาดไหนก็แล้วแต่ ความยากมันจะพ้นจากสิ่งที่ว่าเป็นปัญญาญาณอันนั้นได้อย่างไร ปัญญาญาณของเรานะ เราสร้างปัญญาของเราเข้ามาตลอด สติ-มหาสติ สิ่งที่เป็นสติ สิ่งที่เป็นมหาสติ มหาสติมันต้องกว้างขวางกว่า กว้างขวางเข้ามา เพราะว่าอะไร

เพราะจิตปฏิสนธิมันอยู่ในท่ามกลางในหัวใจของเรา เราถึงต้องไล่ต้อนอาการของใจเข้าไป ในเมื่อเราไล่ต้อนอาการของใจเข้าไป มันจะต้องไปถึงตอของใจจนได้ เข้าไปชนอาการของขันธ์ภายในนั้น นี่เงื่อนปมมันอยู่ตรงนั้น แต่ถ้าเราไม่ไล่เข้าไป มันส่งออกไป ถ้าเราส่งออกไป เราออกไป นี่มันเหมือนกรรมดีกรรมชั่วนั่นน่ะ กรรมดีกรรมชั่วของใคร

เราประพฤติปฏิบัติก็เหมือนกัน ในเมื่อเราประพฤติปฏิบัติอยู่ เราว่าเราทำแล้ว เราทำแล้ว เราเคลิบเคลิ้มไปกับอาการของใจของเรา “อาการของใจ” เราปฏิบัติขึ้นไปละเอียดขนาดไหน กิเลสมันละเอียดตามไปด้วย ความพลิกแพลง ความคิดใคร่ครวญเล่ห์มายาของใจ มันจะละเอียดเข้าไปเรื่อยๆ

กรรมหยาบ กรรมละเอียด กรรมข้างนอกเป็นอาการของโลกเขา ดูสิ เด็กๆ มันเล่นกัน มันรังแกกัน เราเห็นแล้ว เรายังสลดสังเวช นี่มันเป็นเรื่องของเล็กน้อยมาก มันทำอะไรกันเป็นเรื่องที่ว่าเป็นสมมุติซ้อนสมมุติ เล่นขายของเล่นอะไรก็สมมุติซ้อนสมมุติ อันนี้ก็เหมือนกัน อาการที่เราทำอยู่ข้างนอกมันเป็นความหยาบข้างนอก ถึงเป็นสติ อาการที่เป็นข้างในเข้าไป เป็นมหาสติ มหาปัญญา หมุนเวียนเข้าไป นี่มันทำได้ สิ่งที่ทำได้ เพราะอะไร

เพราะใจเจริญเติบโตขึ้นไปบ่อยๆ ใจเราเจริญเติบโตขึ้นไป วุฒิภาวะของใจมันขยับขึ้นไปแล้ว ฐานของใจไม่เหมือนเดิม ฐานของใจเริ่มต้นมันเป็นฐานของที่ว่าอวิชชาปกคลุมไว้ทั้งหมด แต่ฐานของใจที่ว่าเราพิจารณาเข้ามาเรื่อยๆ จนปล่อยวางตามสัจจะความจริง เห็นเงื่อนเห็นปมแล้วปล่อยวางเข้ามานะ ปล่อยวางเข้ามาด้วยสมุจเฉทปหานเข้ามาตามสัจจะความจริงเข้ามา ฐานของใจมันจะละเอียดลึกซึ้งเข้าไป ความละเอียดลึกซึ้งเข้าไป การไล่ต้อนกิเลสเข้าไปมันต้องได้เงื่อนได้ปม การไล่ต้อนกิเลสเข้าไป เราไล่ต้อนเข้าไป

เพราะด้วยปัญญาญาณของเราเกิดขึ้น ปัญญาญาณของเราเกิดขึ้น สติสัมปชัญญะเกิดขึ้น นี่กรรม กรรมที่ละเอียดเราก็ไล่ต้อนเข้าไป ละเอียดขนาดไหนเราพยายามเพ่งดูของเรา เพ่งดูนะ เห็นด้วยตาธรรม ตาธรรมจากภายใน จะเห็นชัดเจนมาก จับต้องได้ ความจับต้องได้ถึงวิปัสสนาได้ไง

ถ้าเราจับต้องไม่ได้ วิปัสสนากับอะไร สิ่งที่จะวิปัสสนา เห็นไหม เหมือนงาน ไม้ทั้งท่อน เราเอาไม้ทั้งท่อนมา เราก็ต้องถากต้องถางให้เป็นสิ่งที่สมควรกับประกอบเป็นบ้านเป็นเรือนขึ้นมา อาการของใจก็เหมือนกัน เราจับต้องสิ่งนั้นได้แล้วเราต้องวิปัสสนา วิปัสสนาเพื่อจะใคร่ครวญ ทำขันธ์ในให้มันเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ขึ้นมา ประกอบขึ้นมาเป็นเรือนของใจ เป็นที่อาศัยของใจ ใจมีที่อยู่ที่อาศัยขึ้นไป เป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป

นี่การทำเหมือนกันเลย งานข้างนอกเขาเป็นงานข้างนอกเขา งานข้างนอกหมายถึงเครื่องมือที่ข้างนอก เขามีเครื่องมือทำงาน งานข้างนอกเขาจะประกอบอาชีพอะไรต้องมีเครื่องมือถึงประกอบอาชีพสิ่งนั้นได้ งานภายในต้องใช้อาการของใจ อาการของใจคือความสงบของใจ อาการสงบของใจแล้วยกขึ้นวิปัสสนา วิปัสสนามันเป็นเครื่องมือเข้าไป เครื่องมือเข้าไปที่จะจับต้องเข้าไปแล้ววิปัสสนาเข้าไปได้ ทำได้จริงๆ

ทำได้เป็นอย่างที่ว่า เครื่องยืนยันจากสิ่งที่เราวิปัสสนาขึ้นมา มันละเอียดเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป แต่เริ่มต้นทุกคนเข้าใจว่าพอสมุจเฉทปหานแล้วขาด ขาดไปหมด ขาดแล้วไม่มี หายไปๆ สิ่งที่เครื่องมือนี่ใช้ไปแล้วไง แบบของที่เดี๋ยวนี้เขามีโฟม มีของที่เป็นพลาสติกที่ใช้แล้วโยนทิ้ง

นี่ก็เหมือนกัน คิดว่าอาการที่เราพิจารณาแล้ว หมดแล้ว เราก็ทิ้งไปแล้ว “ขันธ์นอก-ขันธ์ใน-ขันธ์ในขันธ์” อาการของขันธ์มันจับต้องได้ อาการขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ “รูป” ก็รูปของจิต อาการของจิตที่เป็นไป “เวทนา” เวทนาขึ้นมา ความเห็นผิดเห็นถูกก็เป็นเวทนาอยู่แล้ว เห็นผิดเห็นถูกแล้วเราให้คุณค่าไป “สัญญา” สัญญาเริ่มต้นจับได้ สัญญาสิ่งที่เริ่มต้นแย็บขึ้นมานั่นน่ะ “สังขาร” มันคิดไป ปรุงไป สัญญา หมุนไป อาการขันธ์ ๕ อยู่ข้างใน หมุนเข้าไปมันละเอียดเข้าไป เริ่มไล่ต้อน ไล่ต้อนเข้าไป ไล่ต้อนเข้าไปก็แยกแยะออก แยกแยะออก ความที่แยกแยะ แยกแยะออก ออกไป แยกแยะออกไป นี่ปัญญาแก้ไปเรื่อย แก้ไปเรื่อย นี่คือการแก้กรรม

กาลเวลามันน้อย กาลเวลาน้อยนะ อย่างกาลเวลา ชีวิตของเรามันน้อย

ชีวิตของเรานี่น้อย แล้วเวลาชีวิตเราน้อย เรามาทำคุณงามความดีในชีวิตนี้ถึงเป็นประโยชน์

ในวัฏวน วัฏฏะมีกามภพ รูปภพ อรูปภพ วัฏวนนี่วนไป ชีวิตนี้เกิดตาย เกิดตายในวัฏฏะ พอเกิดตายในวัฏฏะ อยู่ในภพชาติต่างๆ กาลเวลาก็ต่างไป มีมากมีน้อยแล้วแต่กาลเวลาต่างไป อยู่สุขเสวยผลของความสุขความทุกข์ที่เราสร้างสมขึ้นมาจากกรรมดีกรรมชั่ว แต่มนุษย์สมบัติ เวลามนุษย์สมบัติ ๑๐๐ ปี มนุษย์สมบัติแล้วเราทำความดีความชั่วอยู่ นี่กรรมดีกรรมชั่ว สร้างผลแล้วมันได้มาก อันนั้นเป็นการบุญกุศล

แต่วิปัสสนานี้ละเอียดเข้าไปอีก ละเอียดเข้าไปที่ว่า ขณะที่ใจที่วิปัสสนาอยู่มันต้องใช้พลังงานของใจคือความสงบ สมถะ ถ้ามีสมถะแล้ว กิเลสเบาตัวลง มันจะเป็นงานขึ้นมา มันเป็นงานหมายถึงว่าวิปัสสนาแล้วมันจะปล่อย ปล่อยออกไป นี่เป็นงาน

แต่ถ้าเราใช้บ่อยๆ เข้าไป เราใช้ปัญญาเข้าไปบ่อยๆ มาก สมาธิเสื่อมสภาพลง ธาตุไฟอ่อน อ่อนลง อ่อนลง งานอันนั้นไม่เป็นงาน พองานไม่เป็นงาน เราทำซ้ำเข้าไป ซ้ำเข้าไป ไม่เข้าใจ คนที่ไม่เข้าใจจะเอาให้ได้ เพราะมีเรา ความที่มีเราไม่มัชฌิมาฯ ไม่เป็นกลางโดยสัจธรรม เป็นแต่ความเห็นของเรา มุมานะ มุมานะก็มุมานะด้วยมือเปล่าๆ ด้วยมือเปล่าๆ ไม่ใช่ด้วยพลังงานของใจ ด้วยมือเปล่าๆ ก็ด้วยอาการความคิดของขันธ์ ด้วยสัญญา ด้วยความเปรียบเทียบของใจ นี่หมุนไป มันไม่เป็นมัชฌิมาขึ้นมา มันก็แก้กรรมไม่ได้

เพราะกรรมนี้มัน อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา นอนเนื่องอยู่ในหัวใจ พอนอนเนื่องอยู่ในใจก็ขับหัวใจนี้ให้เกิดขึ้น มันก็ต้องใช้สิ่งที่ว่าเป็นนามธรรมเข้าไปแก้กัน สิ่งที่จะแก้กัน เครื่องมือต้องตรงกัน ยาที่จะรักษาโรคได้ต้องเป็นที่ว่ารับชำระโรคได้ “ธรรมโอสถ” โอสถ ธรรมที่เป็นโอสถ เหนือ เหนือทุกอย่างแต่เราผสมโอสถนั้นไม่ถูกต้อง เราทำเราประกอบคุณงามความดี เราทำธรรมจักรของเราไม่มัชฌิมาปฏิปทา มันไม่เป็นธรรมขึ้นมาโดยเป็นปัจจัตตัง มันเป็นปัจจัตตังขึ้นมา มันเป็นปัจจัตตังเดี๋ยวนั้น เป็นปัจจุบัน

แต่อันนี้เราไปคาดไปหมาย อยากได้ อยากให้มันเป็นไป ถึงบอกว่าเวลาของโลกก็เป็นเวลาของโลก เวลาในการวิปัสสนาอยู่มันต้องเข้าใจเวลาอย่างนั้น ถอยออกมาทำความสงบ ถอยใจออกมา ถอยใจออกมาแล้วเข้าไปวิปัสสนา วิปัสสนาเข้าไปจนถึงมัชฌิมาปฏิปทา ขาดออกจากใจสะเทือนเรือนลั่น

ขันธ์ ๕ ขันธ์นอก-ขันธ์ใน-ขันธ์ในขันธ์ แก้เงื่อนปมเข้ามาบ่อยๆ จนปล่อยออกหมด พอปล่อยออกหมด ตรงนั้นจิตปฏิสนธิ จิตปฏิสนธิตัวนี้เกิดก็ไปเกิดบนพรหม สิ่งที่ไปเกิดบนพรหม มันละเอียดอ่อนจนต้องไปเกิดบนพรหม เกิดอีกไม่ได้แล้วในกามภพ

เพราะชำระขันธ์ออกหมด ขันธ์ข้างในนี่เป็นสัญญา ความจำได้ต่างๆ ในสื่อการที่สื่อกันอยู่ในโลกนี้เพราะเป็นสัญญาตัวนี้ทั้งหมดสัญญาขาดออกหมดแล้ว “ปฏิฆะ” ปฏิฆะความผูกโกรธต้องขาดออกไป ปฏิฆะ-กามราคะ ความผูกโกรธ ความผูกโกรธคือว่ามันมีความโกรธขึ้นมาเพราะว่าปฏิฆะ ความปฏิฆะนี้หมายถึงว่ามันจับยึดไว้ สัญญาตัวนี้มันรู้สึก ความรู้สึกถึงให้ค่า พอให้ค่า นี่ดีชั่วเกิดขึ้น

พอดีชั่วเกิดขึ้น ความโกรธ โทสะ โมหะ...กามราคะ โทสะ โมหะ ตัวนี้หมดออกไปจากตรงนี้ไง ตรงนี้ถือว่าจิตปฏิสนธิ ปฏิสนธิบนพรหม ปฏิสนธิถ้ามีกิเลสอยู่ทั้งหมด ปฏิสนธิในอะไรก็ได้ แต่ด้วยปัญญาของเราหมุนเข้าไป ปฏิสนธิบนพรหม นั่นน่ะ ตามต้อนเข้าไปจนชำระออกให้หมด จะปฏิสนธิบนพรหมก็ต้องใช้ปัญญาญาณของเราหมุนเข้าไป นี่ปัญญาอัตโนมัติ หมุนเข้าไปชำระตรงนั้นออก

พอชำระออกหมด พอชำระขาดออกหมด แม้แต่พระองคุลิมาล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรมานมาบวช ทรมานมาบวชเสร็จแล้วจนสำเร็จ ชำระกิเลสได้หมด พระองคุลิมาลเป็นพระอรหันต์นะ ถ้ากรรมไว้ กรรมของพระองคุลิมาล ชำระฆ่าคน ฆ่าคนเพื่อจะเอานิ้วเขา ๙๙๙ ศพ แต่ในเมื่ออันนั้นเป็นกรรมชั่ว กรรมชั่วเพราะอะไร

เพราะว่าไม่เข้าใจ เพราะโดนอวิชชาปกคลุม ความคิดอยากได้วิชา อยากได้วิชาเวทย์มนต์คาถา แต่ไม่ได้อยากได้การแก้กรรมอย่างในศาสนาพุทธเรา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาถึงมีมรรคอริยสัจจัง อันนี้ต่างหากที่เป็นวิชาอย่างประเสริฐ ที่เป็นวิชาที่จะแก้ไขกรรมได้ แก้กรรมปลดเปลื้องกรรมออกจากใจทั้งหมด ออกจากใจของพระองคุลิมาลทั้งหมด

ถ้าแก้ไขกรรมเปลื้องกรรมออกหมดแล้ว พระองคุลิมาลเป็นพระอรหันต์ขึ้นมา สิ่งที่เป็นพระอรหันต์ขึ้นมา แต่เวลาออกไปบิณฑบาต ออกไปบิณฑบาต เขาจะยิงนก เขาจะทำอะไรก็แล้วแต่ ก้อนหินนั้นจะตกใส่หัวพระองคุลิมาล พระองคุลิมาลนี้ จนเศร้าใจนะ ความเศร้าใจพระอรหันต์มีหรือ? ไม่เศร้าใจมันมาคิดอยู่เพราะ ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา ขันธ์ที่เราตัดเข้ามาเป็นชั้นเป็นตอนเข้ามามันก็ยังมีอยู่ ขาดเฉพาะกิเลสออกไป

เวลาเขายิงนกหรือทำอะไรก็แล้วแต่ จะมาโดนพระองคุลิมาล พระองคุลิมาลเอาเรื่องนี้ไปทูลถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า

“ทำไม เขาทำอะไร ทำไมถึงตกมาใส่เราตลอด”

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดไว้ในพระไตรปิฎก “องคุลิมาล เวลาเธอฆ่าเขานั้นตายทั้งชีวิต สิ่งนี้เขาทำมันเป็นกรรม สิ่งที่เป็นกรรมกระทบมาเลือดตกยางออก มันเป็นเศษของกรรม”

ถึงว่า ถ้าชำระหัวใจขาดออกไปจากแก้กรรมได้หมดแล้ว มันไม่สะเทือนหัวใจของพระองคุลิมาล พระองคุลิมาลเป็นพระอรหันต์โปรดสัตว์บิณฑบาต เขากลัวขนาดไหนก็บิณฑบาตนะ บิณฑบาตมา แต่ในเมื่อร่างกาย “กรรม” แก้กรรมแล้ว แต่ในเมื่อเรามีสังขารอยู่ สิ่งนี้กระทบกระเทือนอยู่ มันกระทบกระเทือนได้แค่ร่างกาย “กรรม” เรื่องของกรรม เรื่องของขันธ์ที่มันขาดออกไปจากใจแล้ว จะไม่สามารถเข้าถึงหัวใจของพระอรหันต์ได้ พระอรหันต์ไม่มีเวทนาในใจ

ถ้าแก้กรรมได้หมดแล้ว เวทนาคือว่าความสุข-ความทุกข์ในหัวใจนั้นไม่มี ถ้าไม่มีแล้วจะมีความสุขได้อย่างไร? ความสุขในใจของผู้ที่แก้กรรมได้หมดแล้วเป็นวิมุตติสุข ไม่ใช่สุขด้วยเวทนา เวทนา สุข ทุกข์ เฉยๆ ความเฉยๆ คือความปล่อยวาง นี้คือเวทนา เป็นขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ “เวทนาขันธ์” เวทนาขันธ์มีความสุขความทุกข์ในเวทนานั้นให้ค่าออกมาเป็นความคิด ให้ค่ามาเป็นพลังงาน เป็นผลของใจนั้น สุข-ทุกข์เกิดขึ้นกับใจดวงนั้น

แต่ในเมื่อใจของพระองคุลิมาลหมดไปจากกิเลส แม้แต่เขาขว้างก้อนหินมาอะไรมาก็แล้วแต่เขาไป มันเป็นเศษส่วนของกรรมที่ยังตามทันร่างกายนั้นอยู่ไง ร่างกายนี้ยังเป็นสิ่งที่รับรู้อยู่ มันเป็นเศษส่วนของมนุษย์ เราเกิดเป็นมนุษย์ พระองคุลิมาลเกิดเป็นมนุษย์ พระพุทธเจ้าเอาออกบวช นี้เราก็บวช พระพุทธเจ้าทรมานมา บวชแล้วประพฤติปฏิบัติจนสิ้นจากกิเลสไป เป็นอัครสาวก เป็นสาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เป็นเครื่องยืนยันกันว่า พระองคุลิมาลนี้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ใจดวงนั้นประเสริฐ พอใจดวงนั้นประเสริฐขึ้นมา สิ่งที่มีร่างกายนั้นกระทบก็เป็นเรื่องของร่างกาย พระอรหันต์หลายองค์ในพุทธกาล ที่ว่ามีกรรม กรรมเศษส่วนของกรรม ที่ว่า ลูกศิษย์ของพระสารีบุตร ไม่เคยฉันข้าวอิ่มเลย แต่มีคนมีกรรมดีก็มี กรรมดีอย่างพระสีวลี ไปไหนมีแต่บุญกุศล

กรรมการกระทำต่างๆ มา สะสมมาๆ แต่ในการแก้ไขกรรมนี้สำคัญกว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าออกทรมานองคุลิมาลมานี่สำคัญกว่า วิชาการอันนี้ มรรคอริยสัจจังที่ว่าเครื่องแก้กิเลส แก้กรรมทั้งหมดนี้สำคัญกว่า แต่กรรมที่เศษส่วนในโลก ในโลกของเศษส่วน ผู้ที่เกิดขึ้นมานี้มีกิเลสมาทั้งหมด แล้วชำระกิเลสออกไปจากหัวใจ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๖ ปี บวชมาตั้งแต่...นั่นน่ะ ยังอยู่อีก ๔๕ ปี ๔๕ ปีที่ออกโปรดสัตว์อยู่นี้ จิตใจนั้นบริสุทธิ์แต่ร่างกายนั้น ร่างกายนั้นเป็นเศษส่วนของกรรม สอุปาทิเสส นิพพาน กับอนุปาทิเสสนิพพาน คือว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ดับไปทั้งหมด หัวใจนั้นหลุดพ้นไปทั้งหมด นั้นถึงไม่มีกรรม กรรมโดยสมมุตินี่ไม่มี

นี้มนุษย์เราเกิดมาประพฤติปฏิบัติ บวชเป็นพระด้วย แล้วในเมื่อประพฤติปฏิบัติหัวใจจนแก้ไขกรรมไปได้ อาการของร่างกายนั้นเป็นเรื่องของร่างกาย รับรู้ไป รอวันเวลานะ รอวันเวลาจนกว่าจะดับขันธ์เท่านั้น ถ้าดับขันธ์ไปแล้วมันก็หมด แต่ถ้ายังมีขันธ์อยู่ โลกธรรม ๘ กระทบมาก

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า

“ถ้าเรื่องโลกธรรมนี้ไม่มีใครกระทบเรื่องโลกธรรมหนักเท่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า”

เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดา เป็นครูสอนทั้งเทวดา สอนทั้งหมดเลย แต่ในเมื่อร่างกายยังมีอยู่โดนโลกธรรมนี้กระทบ แต่ไม่สามารถกระทบใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เลย กระทบได้แต่ร่างกาย

ร่างกายแล้วก็มีแต่สาวก มีแต่พวกสาวก-สาวกะนี้เป็นผู้ที่เดือดร้อน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่เดือดร้อนนะ ไม่เดือดร้อน ให้กรรมมันแสดงผลของมันเอง กรรมจะแสดงผล เห็นไหม กรรมนี้เป็นเรื่องของโลกเขาจะแสดงผลมา ผู้ที่ทำกรรมชั่วต้องได้รับผลชั่วออกไป ใจที่ไม่สู้รบปรบมือแล้ว ใจที่ไม่มีสิ่งใดในหัวใจแล้ว ผู้ที่สร้างกรรมกับใจดวงนั้น มันจะให้ผลเท่าทวีคูณ

สิ่งที่เรา...พลังงานกระทบออกมา คือพลังงานสื่อความหมายกันรู้เรื่อง มันก็ยังสะท้อนไปอีกอย่างหนึ่ง แต่สะท้อนเข้าไปสิ่งที่ไม่รับรู้เลย นี่มันสะท้อนไปไหน ขว้างเข้าไปก็หาย เขวี้ยงเข้าไปก็หาย แต่มันสะท้อนกลับมาเรื่องของกรรมนี้รุนแรง แต่ถ้าเราสะท้อนกลับมานี่กลับไม่รุนแรง ถ้าเรื่องของโลกเขานะ แต่ถ้าเรื่องของธรรมนี้ ถ้าสะท้อนไปแล้วจะกลับมาสะเทือนถึงกรรมนี้สุดส่วนเลย

นี้กรรมมันมีอยู่แปลกๆ ไง ถึงว่า ถ้าเราแก้ไขกรรมจนแก้ไขกรรมถึงที่สุดของกรรม หมดเรื่องออกไป หมดเรื่องของกรรมแล้ว ชีวิตนั้นเป็นชีวิตที่ประเสริฐ แต่ในเมื่อเรายังแก้ไขกรรมของเราไม่ได้ เราจะนิ่งนอนใจอยู่ได้อย่างไร เหมือนเนื้อที่บนเตา เห็นไหม เท่านั้นแหละ เนื้อบนเตา เวลาเท่านั้น จะไหม้หรือว่าจะสุกเท่านั้นเอง ไปหมด ไหม้ไป ถ้าธาตุไฟยังมีอยู่

นี้ชีวิตก็เหมือนกัน ถ้าในเมื่อเรายังมีลมหายใจเข้าออกอยู่ จิตยังอยู่ในหัวใจ ไม่สลัดกายออกไป มันยังมีธาตุไฟเผาร่างกายนี้อยู่ ยังอ่อนนิ่ม ยังเคลื่อนไหวได้ ถ้าธาตุไฟนี้ไม่มีแล้ว เมื่อนั้นเราจะหมดโอกาส มันเลยต่างกันไง ต่างกับพระองคุลิมาลที่สำเร็จแล้วมีชีวิตอยู่ยังโปรดสัตว์ต่อไปกับชีวิตเรานี่มีกิเลสตลอด ทุกข์ไปตลอด ทุกข์เป็นผู้ที่ทุกข์ไปตลอด อวิชชาขับไสไปตลอด แล้วเรายังทะนงตัว เรายังคิด เรายังดื้อด้าน ไม่ฟังไง

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดเตือนพระองคุลิมาล “เราหยุดแล้ว” เท่านั้น พระองคุลิมาลยังถึงกับว่าได้สติสตังขึ้นมา เราอ่านธรรมและวินัย พระไตรปิฎก ธรรมและวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราไม่เจอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือ ธรรมและวินัยเป็นศาสดาของเรา ธรรมและวินัยเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย แล้วเราเป็นใคร?

เราเป็นพุทธบริษัท ๔ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา แล้วเราอ่านธรรมอยู่ เราอ่านธรรม เราศึกษาธรรมอยู่ตลอดเวลา แต่เราไม่สามารถสะเทือนใจของเรา ไม่สามารถหยุดยั้งใจของเรา ถ้าใจของเราหยุดยั้งได้ ทำให้เหมือนพระองคุลิมาลขึ้นมา เห็นไหม จะมีบาปอกุศลขนาดไหน จะมีบุญขนาดไหนก็ทำได้ ถ้าเราคิดว่าเราทำบาปอกุศลไว้ในหัวใจมาก พระองคุลิมาลทำไว้ขนาดไหนแล้วเสด็จออกหน้าไปก่อนเราแล้ว ยังเป็นไปได้ ทำไมเราจะทำไปไม่ได้

นี่ถ้าลองอวิชชาปกคลุมใจอยู่ มันจะคิดอย่างนั้นน่ะ คิดแต่เรื่องให้เราไม่มีโอกาส คิดแต่เรื่องของเราให้ก้าวเดินออกไปไม่ได้จากเงื้อมมือของเขา เงื้อมมือของอวิชชา กิเลสวัฏฏ์ กัมมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ ผลที่จะเกิดขึ้นจากทำคุณงามความดี ผลที่จะเกิดขึ้นจากเกิดมาชาตินี้พบพระพุทธศาสนา แล้วเราได้ประพฤติปฏิบัติ แล้วต้องประพฤติปฏิบัติจนถึงกับเข้าถึงแก้ไขปลดเปลื้องกรรมออกทั้งหมด นี่ผลอันนี้ถึงเป็นผลประเสริฐของบริษัท ๔ บริษัท ๔ ที่เป็นลูกศิษย์ เป็นสาวกะ เป็นสาวกะ เป็นพุทธชิโนรสศากยบุตร

ถ้าเป็นจริง มันต้องเป็นจริงจากหัวใจ หัวใจเป็นจริงแล้วแก้กรรม แก้กรรมที่ใจ จิตปฏิสนธิ วิญญาณปฏิสนธิจิตอยู่ที่นี่ ถ้าดับแก้ปมอวิชชาทั้งหมดออกจากจิตที่ปฏิสนธิแล้ว จิตนี้มันก็บริสุทธิ์ จิตที่บริสุทธิ์ อาสเวหิ อวาสวะสิ้นไป จิตฺตานิ วิมุจฺจิง สูติ จิตนี้เป็นผู้ที่วิมุตติ จิตนี้ก็มีแต่ความสุข

“วิมุตติ” กับ “สมมุติ”

“สมมุติ” มีแต่ความเคล้า มีแต่คลุกเคล้า ทำความทุกข์มาให้ ความคลุกเคล้า สมมุติมันเป็นอนิจจัง มันไม่แน่นอน ไม่เที่ยงธรรม กดถ่วงหัวใจทั้งหมด

“วิมุตติ” มันเป็นสิ่งที่ว่าสุขไม่ใช่ในเวทนา สุขเฉยๆ อยู่ในวิมุตติ ในวิมุตตินี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุขมาก่อน นี่ใจมีอยู่ ถ้าถึงวิมุตติ มันต้องวิมุตติได้ ถ้าเป็นวิมุตติความสุขอันนั้นถือว่า มันไม่ต้องมาพูดกันว่าความสุขอย่างใดเป็นความสุข สุขในหัวใจที่วิมุตติจะมีเฉพาะใจดวงนั้นอย่างนั้น สุขอันนี้ไม่มีทั่วไป

สุข-ทุกข์ในเวทนามีทั่วไป คนมีชีวิตอยู่ยังเสวยสุขเสวยทุกข์ เอาความพอใจขนาดไหนเข้าไปซื้อหาความสุขมาได้ แต่สุขในวิมุตตินี้ไม่มี ซื้อหาไม่ได้ แลกเปลี่ยนไม่ได้ แล้วก็รู้ไม่ได้ ถ้ากิเลสมีอยู่ในหัวใจอยู่เข้าไปสัมผัสไม่ได้

ถ้ากิเลสในหัวใจหมดสิ้นไป ไม่ต้องสัมผัสมันก็เป็น มันเป็นอยู่ในใจดวงนั้น ใจดวงนั้นถึงที่วิมุตติแล้ว มันจะต้องไปถามหาใคร มันจะต้องเอาเครื่องใดๆ มายืนยัน ในใจของพระองคุลิมาล แล้วเอาอะไรเป็นเครื่องยืนยัน

แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพยากรณ์ พยากรณ์คือว่ารับรู้ รับรู้ รับรู้เท่านั้น รับรู้อันนี้ ใช่ คือว่าพระองคุลิมาลนี้เป็นผู้ที่สิ้นแล้ว พระสาวกต่างๆ ที่สำเร็จเสร็จแล้ว

ที่ยังมีกิเลสอยู่ยังไม่เข้าใจหลงไปทำดี-ทำชั่ว เข้าใจว่าตัวเองทำดี เป็นว่าเข้าใจว่าตัวเองสิ้นก็มี แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็บอกว่าต้องแก้ไข ไม่ใช่ ไม่ใช่ คำว่าปฏิญาณว่าใช่ก็มี ปฏิญาณว่าไม่ใช่ก็มากไป ถ้าไม่ใช่ก็ต้องแก้ไขไป ไม่ใช่ว่าถ้าไม่ใช่อวดอุตรินั้นอีกเรื่องหนึ่ง มันเป็นคนล่ะเรื่องกัน

ในเมื่อการประพฤติปฏิบัติธรรม ธรรมในการก้าวดำเนิน เราจะดำเนินก้าวเดินไปตามธรรม เราจะก้าวเดินไปตามธรรม เราต้องย้อนกลับมาดูเรา ให้หัวใจนี้มีกำลังใจ ถ้าหัวใจนี้มีกำลังใจ ใจดวงนี้สำคัญ กิเลสนี้เป็นนามธรรมอยู่ที่กลางหัวใจของสัตว์โลก ธรรมนี้เป็นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อน แล้วประทานวางไว้เป็นศาสนธรรม

แล้วเราศึกษา เราเรียนปริยัติมา เรียนมาการศึกษาอ่านมานี่เป็นปริยัติทั้งหมด แล้วเรามาปฏิบัติ การประพฤติปฏิบัติ นี่การปฏิบัติธรรม “ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทานไว้ ประทานว่า “ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม” เราปฏิบัติต้องสมควรเป็นมัชฌิมาปฏิปทา สมควรกับธรรมไม่ใช่มัชฌิมาสมควรกับเรา ถ้าสมควรกับเรา เราจะติดข้องไปตลอด ถ้าสมควรกับธรรมจะเป็นไปตามหลักปฏิบัติ ตามหลักปฏิบัติตามสัจจะความจริงในอริยสัจแล้วจะเกิดปฏิเวธในหัวใจดวงนั้น หัวใจดวงนั้นก็เป็นวิมุตติไปแบบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง

ไม่มีหรอกที่ว่ามีหัวใจแล้วทำไม่ได้ เพราะหัวใจมีจิตปฏิสนธิกับต้องจิตนี้ดับจากปฏิสนธิทั้งหมด ตายแล้วไม่เกิดเพราะอวิชชาไม่มี สิ่งที่เป็นเชื้อไม่มี ภวาสวะไม่มี อนุสัยไม่มีในจิตนั้น ในจิตนั้นจะไปเกิดที่ไหนอีก เพราะจิตนั้นไม่มีเครื่องนอนเนื่องไปด้วยกับจิตดวงนั้น จิตดวงนั้นไม่มียางเหนียว จิตดวงที่อยู่ในร่างกายที่ปฏิบัติ อย่างพระองคุลิมาลไม่มีเชื้อ ไม่มียางเหนียว (เทปสิ้นสุดแต่เพียงเท่านี้)