เทศน์เช้า

เทศน์เช้า

๒๖ ส.ค. ๒๕๔๙

 

เทศน์เช้า วันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๙
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ให้มันทำ ทำออกมาจากใจ ทำออกมาจากความจริง เรื่องของโลกๆ ประชาสัมพันธ์ แล้วคิดเลยว่าอำนาจมันจะปกปิดได้ไง แต่เวลามุมกลับนะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผ่านประสบการณ์อย่างนี้มามากเพราะอะไร? เพราะเวลาบุพเพนิวาสานุสติญาณย้อนกลับไปไม่มีต้น ไม่มีปลาย แล้วสร้างสมเป็นพระโพธิสัตว์ เป็นจักรพรรดิกี่รอบ? เป็นกษัตริย์กี่รอบ? เป็นยาจก ทุคตะเข็ญใจกี่รอบ?

สิ่งนี้มันสะสม มันฝังใจมาจนใจมันรับรู้สภาวะแบบนี้ ถึงเวลาเทศน์นะย้อนกลับมา เวลาเทศนาว่าการวางธรรมไว้เลย วางธรรมไว้เป็นของจริง เพราะอะไร? เพราะมันเป็นประสบการณ์ตรงของชีวิตไง ประสบการณ์ตรงของชีวิตมันเห็นว่าอำนาจคือกองไฟ เข้าไปกอดอำนาจ แต่เราก็อยากมีอำนาจกัน อำนาจไง

แต่ถ้าประชาธิปไตย เห็นไหม ทางตะวันตกอำนาจเป็นสิ่งสงวนรักษามาก เขาจะตั้งกติกาไว้เลยห้ามเป็นกี่เทอมๆ เพราะว่าถ้าเป็นแล้ว ถ้าอยู่นานไปมันฝังรากลึกไง อำนาจเป็นของเรา อำนาจเป็นของเรา แล้วเอาอำนาจนี้ไป ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวมาปิด ช้างตายทั้งตัวเลย ใครๆ ก็เห็น เรารู้ อย่างเช่นเรานี่ทำความผิด เจอตำรวจเรายังแสดงอาการเลย เวลาคนร้ายทำความผิดจะแสดงอาการ เพราะอะไร? เพราะมันออกมาจากใจ อันนี้มันออกมาจนหมด แต่ถ้าเป็นธรรม ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนไว้เลยนะ นี่มันเป็นความซื่อสัตย์ซื่อตรงกับตัวเราเอง

“สิ่งใดทำแล้วย้อนกลับคิดถึงอดีต คิดถึงความผิดพลาดนั้น สิ่งนั้นไม่ดีเลย”

สิ่งที่ไม่ดีเลย เราทำต้องมีสติสิ ถ้ามีสติมันฝึกอย่างไร? มันฝึกอย่างไร? นี่ศาสนาชาวพุทธเรา ศีลธรรมจริยธรรมมันออกมาจากใจ ถ้ามันออกมาจากใจมันออกมาจากความรู้สึก มโนกรรมมันไม่ได้คิดไง ดูสิครูบาอาจารย์ท่านพูด เห็นไหม แม้แต่ความคิดผิดยังคิดไม่ได้เลย เพราะอะไร? เพราะความคิดผิดมันเหมือนเราเสียบปลั๊ก เวลาเสียบปลั๊กจิตมันเสวยอารมณ์ไง ถ้าความคิดผิด มันเหมือนนี่ดูสิบาปอกุศล บุญกุศล เวลามันคิดผิดออกมามันเสียบปลั๊กได้ บุญกุศลมันเป็นทางผ่าน มันเป็นทางเดิน เสวยอารมณ์ จิตเสวยอารมณ์ จิตเสวยขันธ์ จิตเสวยความรู้สึกออกมา

นี่พระอรหันต์ทำคุณงามความดีไง ดูพระอรหันต์สิ เห็นไหม ชีวิตอยู่นี่อยู่เพื่ออะไร? การมีชีวิตอยู่และการตายมันเท่ากัน เท่ากันตรงไหน? เท่ากัน พอกิเลสมันขาดออกไปจากใจ นี่จิตนี้มันบริสุทธิ์ จิตที่บริสุทธิ์มันวิมุตติสุข มันเป็นสุขโดยตัวมันเองอยู่แล้วไง สิ่งที่มีชีวิตอยู่นี้มันเป็นของแถม ของแถมหมายถึงว่าไอ้พวกนี้มันเป็นภารา หะเว ปัญจักขันธา มันเป็นภาระนะ เช่น เราปวดถ่าย เวลาเราปวดถ่ายเราทุกข์ไหม? ถ้าเราปวดถ่ายแล้วไม่ให้ถ่าย หรือเวลาส้วมอยู่ที่ไกล เราต้องอั้นไว้มันเป็นความทุกข์ไหม?

นี่ก็เหมือนกัน พระอรหันต์พาขับพาถ่าย สิ่งที่เราพาขับพาถ่ายก็เหมือนเราปวดถ่าย เห็นไหม พาขับ พากิน โลกนี้สิ่งที่เป็นอายตนะ สิ่งที่สัมผัส ความเป็นไปของโลก นี่ปัจจัยเครื่องอาศัย อาศัยไป อาศัยไปแต่เราไปหลงกันเองว่าสิ่งนี้มันเป็นศักยภาพ ดูสิมันน่าสังเวชนะ ทางโลกเขาเวลาทางราชการ สมัยโบราณเขาต้องมีเงินเพื่อรักษาศักดิ์ศรีไง รักษาศักดิ์ของขุนนาง ต้องมีเงินรักษาไว้นะ เพราะอะไร? เพราะออกไปมันจะไปทำอย่างเขาไม่ได้ มีเงินมีทองอยากจะไปใช้ชีวิตปกติอย่างเขาก็ไม่ได้

เวลากษัตริย์ออกมาบวชในศาสนาพุทธเรา นี่ถือบาตรเหมือนกัน จะชนชาติชั้นใดก็แล้วแต่ เวลาบวชมีศีล ๒๒๗ เท่ากัน ศีล ๒๒๗ เท่ากัน นี่ความเป็นไป อาวุโส ภันเต ต้องอยู่ในกรอบของธรรมวินัยแล้ว แล้วเวลาประพฤติปฏิบัติเข้าไป จิตมันสะอาดเข้าไป สะอาดเข้าไป ถึงที่สุดแล้วถ้าจิตมันสะอาดเข้าไป นี่แม้แต่คิดผิดก็คิดไม่ได้ แต่คิดถูกทำไมคิดได้ล่ะ? คิดถูกเพราะอะไร? เพราะเป็นประโยชน์โลกไง

นี่ชีวิตนี้ตายหรือมีมีคุณค่าเท่ากัน เพราะอะไร? เพราะการตายหรือการมีชีวิตอยู่มันเป็นสมมุติ มันจริงโดยสมมุติไง แต่จิตดวงนี้มันพ้นออกไปแล้ว แล้วเรายังมีชีวิตอยู่ ถ้าเราพาขับถ่าย เราพาอาศัย ภารา หะเว ปัญจักขันธา การกินก็เป็นทุกข์นะ เพราะอะไร? เพราะเวลาวินัยพระ นี่ภัต-กิจ การกินอาหารเป็นกิจกรรมอันหนึ่ง มันเหมือนกับงาน เราแบกหามก็เป็นงานอันหนึ่งใช่ไหม? การกินข้าวก็เป็นงานอันหนึ่ง การกินอาหารนี่เป็นงานอันหนึ่ง เท่ากับงานอันหนึ่ง แต่เราบอกว่าอันนี้เป็นความพอใจ

เวลากินชอบ เวลาทำงานขี้เกียจ ทำงานกับกินข้าวนี้มีค่าเท่ากัน นี่พระอรหันต์จะเห็นคุณค่าอย่างนี้ คุณค่าความเป็นไปของมันเท่ากัน เท่ากันเพราะอะไร? เพราะสิ่งนี้เป็นกิจกรรม เป็นปัจจัยเครื่องอาศัย อาศัยให้ชีวิตนี้ดำรงไป นี่ถึงว่าการเกิดและการตายถึงมีคุณค่าเท่ากัน แล้วการอยู่มันกลับเป็นภาระเป็นความทุกข์ ถ้าพูดถึงจิตบริสุทธิ์ จิตถึงที่สุดแล้วตายซะดีกว่าเลย เพราะอะไร? เพราะมันไม่มีร่างกายให้เป็นภาระไง มันไม่ต้องกินอาหาร จิตไม่ต้องกินอาหาร จิตไม่ต้องกินคำข้าว แต่จิตอาหารของมัน สิ่งที่อิ่มเต็มแล้วมันอิ่มโดยตัวของมันเอง มันไม่ต้องไปเติมไปแต่งมันอีกเลย

สภาวะแบบนั้นถึงบอกว่านี่ถ้ามันจะคิดผิดมันยังคิดไม่ได้เลย คิดผิดไม่ได้หรอก ความคิดผิดคิดออกไป ความคิดผิดมันปลั๊กคนจะขั้วคนละตากัน เสียบกันไม่ได้ นี่ไงเวลามันมีความรู้สึกออกมา สติมันทันตลอด มันเป็นอัตโนมัติ แล้วสติเป็นอัตโนมัติ สติกับเรา ถ้าสติเป็นอัตโนมัติ เวลาเราฝึกสติ สติกับเราต้องเป็นอัตโนมัติ สติกับเรา เวลานั่งภาวนาสติหายไปไหน? นี่ฝึกสติ สติไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่สติ จิตเป็นพลังงานเป็นธาตุรู้อันหนึ่ง สติเกิดจากการระลึกรู้ ธาตุรู้ระลึกรู้อะไร? ธาตุรู้คือพลังงานตัวนั้น

เวลามันเผลอ เวลาเราเหม่อ นั่งสบายใจๆ เย็นๆ สบายใจ หรือนั่งไปแล้วหลับไป นั่งแล้วตกภวังค์ไป สติไปไหน? แล้วจิตมันมีไหม? จิตมันก็มีอยู่ นี่สติไม่ใช่จิต แล้วเวลาจิต เวลาพระอรหันต์สิ้นกิเลสไป จิตอัตโนมัติได้อย่างไร? จิตเป็นอัตโนมัติเพราะอะไร? เพราะมันหดตัวเข้ามาเป็นอันเดียวกัน มันเป็นอัตโนมัติ ถ้าอัตโนมัติครูบาอาจารย์ต้องไม่เผลอสิ เห็นไหม พระอรหันต์เผลอในอะไร? เผลอในสมมุติบัญญัติ สมมุติบัญญัติคือการสื่อ การเสวยอารมณ์ นี่ไงเสวยอารมณ์ เผลอเพราะอะไร? เพราะเสวยไปแล้ว เราหยิบเข้าไปแล้ว

เรากำไป เห็นไหม ก้อนกรวด ทองคำ นี่เรากำไปนี้คืออะไร? น้ำหนักมันเหมือนกัน แล้วมันกลมๆ เหมือนกัน นี้คืออะไร? แต่กำ เวลากำ กำนี่สติอัตโนมัติ ถ้ากำ กำมันรู้สึกไง แต่มันแบ่งแยกเป็นสมมุติบัญญัติว่าอันนี้เป็นก้อนกรวดหรืออันนี้เป็นทองคำ มันเผลอ เผลอตรงนี้ไง ถึงว่าถ้ามันระลึกรู้สติมันก็ย้อนกลับมา เพราะอะไร? เพราะมันเป็นสมมุติ มันเป็นสมมุติของโลกเขา ก้อนกรวดกับทองคำโลกเขาสมมุติกันว่ามีคุณค่ากับไม่มีคุณค่า แต่เป็นธาตุอันเดียวกัน

พระอรหันต์เป็นธาตุอันเดียวกัน พระอรหันต์ไม่มีความรู้สึกกับสิ่งนั้น เวลามันเผลอมันเผลออย่างนี้ไง แต่อัตโนมัติคือรู้ตัวไง รู้ว่ากำ แต่ไม่รู้ว่าทองคำหรือกรวด นี่ไงถึงว่าเวลามันเผลอ เผลอโดยสมมุติบัญญัติ นี่ที่ว่าหลงในสมมุติบัญญัติ แต่ไม่หลงในอริยสัจ ไม่หลงในความรู้สึก ความรู้สึกนี้รู้สึกตัวตลอดไป รู้สึกตลอดไป รู้สึกในวิมุตติสุข วิมุตติอันนั้น นี่ธรรมมันเหนือโลกอย่างนี้ นี่สภาวธรรม แต่โลกคิดกันไปประสาโลก แล้วนี่ศาสนาพุทธถ้ามันจะอ่อนด้อยก็อ่อนด้อยนี่ไง

นี่เป็นชาวพุทธมีคุณค่านะ จะรู้สิ่งใดดีและสิ่งใดไม่ดี สิ่งใดควรและไม่ควร แม้แต่ปัญญา เห็นไหม ในโสดาบันก็มีหยาบ มีกลาง มีละเอียด ในสกิทาก็มีหยาบ มีกลาง มีละเอียด ในปัญญามันก็มีหยาบ มีกลาง มีละเอียด ในปัญญาละเอียดนั้นมันก็ละเอียดกว่านั้นอีก เพราะอะไร? เพราะชนชั้น เหนือฟ้ายังมีฟ้า แล้วการกระทำของสังคม การกระทำของเราไม่มีความลับมันเป็นไปได้อย่างไร? แล้วทำออกไปได้อย่างไร?

นี่ทำออกไปมันเหมือนกับดูถูกสังคม ว่าสังคมนี้ไม่มีคนมีปัญญาเลย สังคมนี้มีแต่คนมืดบอด นี่ที่ว่ามีอำนาจจะกดขี่ นี่คิดแบบคนหยาบ คิดแบบโลก คิดแบบอำนาจไง คิดแบบกฎหมาย เอากฎหมายบังคับมัน ถ้าเอากฎหมายบังคับมัน กฎหมายใครเป็นคนเขียนล่ะ? แต่ธรรมวินัยนี้ใครเป็นคนบัญญัติล่ะ? ธรรมวินัยต่างหากถึงมีคุณค่าไง เพราะธรรมวินัยมันย้อนกลับมาหาเรา ธรรมวินัย เห็นไหม เพราะเรามีศรัทธา เรามีความเชื่อ เหมือนกับเราพอใจ

นี่ในศาสนาพุทธ เห็นไหม ในศาสนาพุทธบอกว่าไม่บังคับให้ใครถือศาสนา แต่ถ้าไม่บังคับให้ใครถือศาสนาแล้วต้องยอมรับธรรมและวินัย เหมือนศีล ๕ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ถ้าเราเข้าไปสังคมนั้น เราต้องยอมรับกติกาอันนั้น แต่พอเข้าไปสังคมนั้นจะทำลายสังคมนั้นไง ทำลายกติกาอันนั้น อันนั้นก็ไม่ดี ปัญญาของข้าสุดยอด ปัญญาของข้า...ปัญญาขี้ข้า ปัญญากิเลสไง พอกิเลสเข้าไปมันจะไปทำลายเขาหมดเลย ทำลายเขาหมด มันจะเอากิเลสเป็นใหญ่

แต่ถ้าเป็นธรรมมันมีศรัทธา มีศรัทธา มีความเชื่อ มีความยอมรับอันนั้น เห็นไหม ธรรมและวินัย ปัญญาของใครจะเท่ากับพุทธจริต นี่อจินไตย ๔ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสุดยอดมาก แต่เราไม่เห็นคุณค่ามันไง เหมือนกับเราไม่เห็นคุณค่า เราไม่เคยเป็นโรค เราไม่เคยเป็นภัย เราจะไม่เห็นคุณค่าของยาเลย ถ้าเราเป็นโรคเป็นภัยขึ้นมาจะเห็นคุณค่าของยามาก ยิ่งถ้าเราเป็นโรคที่รุนแรงเราจะเห็นคุณค่าของหมอเลย หมอคนนี้รักษาได้คนเดียว เฉพาะโรคๆ ต้องหมอคนนี้เท่านั้น

นี่ก็เหมือนกัน พอเวลาภาวนาเข้าไป พอจิตมันเข้าไปเจออุปสรรคของมัน เห็นไหม เข้าไปเจออุปสรรคของเขาต่างๆ จิตนี้มันจะมีอุปสรรคของมัน แต่ถ้าจริตนิสัย จิตคึกคะนอง จิตนุ่มนวล จิตอ่อนแอ จิตเข้มแข็ง จิตมันมีปัญหาไปหมดเลย นี่มันถึงว่าเวลาธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบัญญัติไว้ จะขนาดไหนก็แล้วแต่ไม่พ้นจากธรรมวินัย เพราะพระพุทธเจ้าทดสอบทดลองมาทุกอย่าง ไม่อย่างนั้นมันจะเป็นพุทธะไม่ได้ ไม่อย่างนั้นจะเป็นศาสดาไม่ได้ ไม่อย่างนั้นจะเป็นผู้สอนไม่ได้ แล้วบัญญัติไว้เป็นใบไม้ในกำมือเท่านั้นเอง ธรรมวินัยที่บัญญัติไว้นี้เล็กน้อยมากนะ สิ่งที่เข้าไปจะมีมหาศาลเลย

ฉะนั้น เวลาผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ครูบาอาจารย์ของเราปฏิบัติเข้าไปแล้วมันจะเห็นอาการต่างๆ จะเห็นความแปลกประหลาด จะเห็นความมหัศจรรย์นะ แต่ในพระไตรปิฎกไม่มี แต่เวลาเราอ่านธรรมวินัยบังคับด้วยข้อกฎหมายต้องพระไตรปิฎก ต้องพระไตรปิฎก ต้องพระไตรปิฎกแน่นอน ถ้ามันเป็นหนทาง เช่น เราขับรถมา เราจะขับรถออกนอกถนนเราก็ลุยไปตามทุ่งนา แล้วจะมาถึงวัดนี้ได้ไหม? เป็นไปไม่ได้เลย เราขับรถไปบนถนนมันต้องมีถนน บนถนนนั้นมีกฎจราจร บนถนนนั้นมีเส้นทางม้าลาย บนถนนนั้น เห็นไหม

นี่ก็เหมือนกัน ธรรมและวินัยมันเป็นสภาวะแบบนั้น แต่ขณะที่เราผ่านไป เราเป็นไป ธรรมวินัยเราอาศัยอย่างนั้นไป แต่ถ้าเราไปถึงที่ เราไปถึงจุดหมายเราสามารถสร้างได้มากกว่านะ ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ผู้ที่ไม่มีกำลัง เราก็ต้องอาศัยสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ก้าวเดินไป สิ่งนี้อาศัยถนนหนทางพารถเราไปถึงเป้าหมาย แต่ผู้ที่ถึงเป้าหมายนั้นแล้ว เรามีกำลังทุกอย่างเราสร้างถนนได้นะ เราสร้างถนนได้ เราสร้างสนามบินได้ เราสร้างท่าเรือน้ำลึกได้ เราสร้างได้หมดเลย ถ้าใจเรามีกำลังพอ ใจเราเป็นไปได้

นี่เหนือพระไตรปิฎกเหนืออย่างนี้ไง สิ่งที่นอกพระไตรปิฎก ไม่เหนือพระไตรปิฎก ใครก็แล้วแต่เหนือพระพุทธเจ้าไปไม่ได้ แต่นอกพระไตรปิฎก สิ่งที่นอกพระไตรปิฎก การปฏิบัติเรามันมีคุณค่าอย่างนี้ คุณค่าอย่างนี้แล้วมันเกิดมาจากไหน? เกิดมาจากใจไง นี่มันกว้างขวางมาก เหนือฟ้ายังมีฟ้านะ เหนือฟ้ายังมีฟ้า ครูบาอาจารย์เรา สิ่งต่างๆ สิ่งนี้มันมองเห็นได้หมดเลย ความเป็นไปของจิต ความเป็นไปของต่างๆ มหัศจรรย์มาก แต่เราไปติดกันที่วัตถุ ติดกันที่ข้อกติกาของกฎหมาย ติดกันหมด แต่ถ้าเราทำคุณงามความดีเหนือกฎหมาย กฎหมายไม่มีความหมายอะไรกับเราเลย

นี่เราเป็นประชากรชาวไทยเราต้องยอมรับกฎหมายไทย ใช่ ยอมรับกฎหมายไทย แต่ไม่ทำผิดเลยแล้วกฎหมายจะมาคล้องคอได้อย่างไรล่ะ? กฎหมายก็เป็นกฎหมาย มันไม่ได้มาคล้องคอ ไม่ได้ลากคอเราไปนี่ แต่เราทำเหนือกฎหมาย ทำดีกว่ากฎหมายอีก กฎหมายคือกฎหมายไง ธรรมก็เหมือนกัน ธรรมเหนือสมมุติบัญญัติขึ้นไปแล้วมันเหนือหมดเลย มันเหนือหมดเลย

สิ่งที่มันเกิดมาเกิดมาจากหัวใจของเรา เกิดมาจากชาวพุทธนะ มันน่าสลดสังเวช น่าเสียใจมาก เสียใจว่าเวลาเราคุยกัน ศาสนาพุทธเราจะปลื้มใจมาก ศาสนาแห่งปัญญา ศาสนาแห่งการให้ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ การสนทนาธรรม การชี้ปัญหา การใคร่ครวญกัน เป็นมงคลชีวิต การโต้แย้งการแสวงหาเป็นมงคลชีวิต ไม่ใช่ยอมจำนน แล้วเป็นมงคล ๓๘ ประการ แล้วจะมาปิดกั้นกัน จะมาทำลายกัน ปิดกั้นโดยคนโง่ โดยคนที่ไม่มีปัญญา มาเอาสังคมเป็นอย่างนั้นได้อย่างไร?

นี่มันเป็นสภาวะของผู้นำที่ด้อยมาก เป็นพระผู้นำที่ว่ามืดบอดมาก ถ้าเป็นผู้นำที่ดีจะเปิดกว้าง มีอะไรคุยกัน มีอะไรว่ากัน เวลาหลวงตาท่านพูด เห็นไหม เราชาวพุทธด้วยกันทำไมคุยกันไม่ได้ เราชาวพุทธด้วยกันทำไมปรึกษากันไม่ได้ เราชาวพุทธด้วยกันทำไมจะมาชี้ถูกชี้ผิดกันไม่ได้ ถ้าอะไรผิดหรือถูกต้องยอมรับ เราต้องยอมรับ เป็นผู้ใหญ่หรือเป็นเด็กไม่สำคัญ สำคัญธรรมๆๆ ธรรมคือความถูกความผิด ถ้ามันเป็นความถูกต้องนั่นคือธรรม

จะใหญ่โตขนาดไหนก็ต้องยอมรับ ถ้าใหญ่โตทำผิด เด็กมันทำถูกเด็กต้องถูก เห็นไหม นี้เป็นธรรมๆ นี่มันถึงคุยกันได้ แต่คุยกันไม่ได้ นี่ย้อนกลับมามันย้อนถึงสังคม ย้อนถึงศีลธรรม ย้อนถึงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ชาติๆๆ ไง แล้วตัวศาสนา มันศาสนาพุทธๆ ศาสนาพุทธทำกันอย่างนี้ไงมันถึงเศร้าใจ เอวัง