ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ธรรมะเหนือธรรมชาติ

๒๖ ก.ค. ๒๕๕๒

 

ธรรมะเหนือธรรมชาติ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เอาเนาะ ไอ้ที่เหตุที่มันเกิดเนี่ย... มันเกิดเพราะว่าปริยัติกับปฏิบัติมาคลุกเคล้ากัน ปริยัติมันเป็นปริยัติ ปฏิบัติมันเป็นปฏิบัติ แต่นี้เขาไปยึดปริยัติ แล้วบอกว่าปฏิบัติต้องให้เป็นไปตามปริยัติ คือ ปฏิบัติเนี่ยเป็นข้อเท็จจริงแล้วนี่ต้องให้เป็นไปตามทางวิชาการ มันเลยขัดแย้งกันอยู่นี่ไง ฉะนั้นในวงปฏิบัติเห็นไหม เมื่อก่อนเราเน้นบ่อยมาก ว่าหลวงตาเป็นมหา แล้วท่านตั้งใจไว้แล้วว่า ศึกษาจนเป็นมหาแล้วจะออกไปปฏิบัติ เวลาไปหาหลวงปู่มั่นน่ะ หลวงปู่มั่นพูดเลย ธรรมะของพระพุทธเจ้าเทิดทูนไว้เหนือเกล้า ธรรมะพระพุทธเจ้าเทิดทูนไว้เหนือเกล้า แล้วใส่ในลิ้นชักไว้ แล้วใส่กุญแจรัดมันไว้อย่าให้มันออกมา ถ้ามันออกมาเวลาปฏิบัติ มันจะขัดแย้งกัน

แล้วในปัจจุบันนี้เขาเอาปริยัติเป็นแนวตั้ง แล้วปฏิบัติ มันก็เลยขัดแย้งกันนี่ไง ที่หลวงปู่มั่นบอกไว้ไง หลวงปู่มั่นท่านเตือนไว้แล้ว เพราะว่าหลวงปู่มั่น เวลาท่านค้นคว้าท่านปฏิบัติแล้ว ท่านก็ไปศึกษาปริยัติ พอไปศึกษาปริยัติแล้ว มันมีการขัดแย้งกันในมุมมอง มันขัดแย้งกัน ทีนี้พอมาปฏิบัติปั๊บ แต่นี้ท่านก็บอก ตัวท่านเองท่านมีประสบการณ์ของท่าน เพราะท่านเป็นอาจารย์ใช่ไหม พอหลวงตามา...ท่านบอกหลวงตาเลยบอกว่า ธรรมะพระพุทธเจ้าเนี่ย... มหา เรียนมาถึงเป็นมหา นี่ความรู้เยอะนะ นี่ความรู้อันนี้เทิดใส่เกล้าไว้ เทิดใส่เกล้า

คำว่าเทิดใส่เกล้า พวกเราเนี่ยไม่มีมุมมอง มุมมองเนี่ยผิดพลาดไปจากพระไตรปิฎกเลย พระไตรปิฎกเชิดชูไว้ใส่เกล้าเหนือเกล้า เคารพบูชามาก แต่บอกถ้าปฏิบัติเอาใส่ในลิ้นชักไว้ แล้วเอากุญแจลั่นมันไว้อย่าเอามันออกมา เดี๋ยวมันจะมาเตะมาถีบกัน เดี๋ยวมันจะมาขัดแย้งกัน แต่ในพวกปัจจุบันนี้ พวกนี้เขาไม่ได้เอาปริยัติที่เขาได้เรียนมาแล้วใส่ไว้ในลิ้นชัก คือเขามาคลุกเคล้ากันแล้วเขาปฏิบัติ มันก็เลยมาเถียงกันอยู่อย่างนี้ไง เราถึงย้อนกลับว่า เรายืนยันว่า ปฏิบัติ ผิด ผิด ผิด ผิด ผิดแน่ ๆ

ประเด็น: เนี่ยการเอากัน การเอากันคือเพศสัมพันธ์ เพศสัมพันธ์ไม่เป็นธรรมชาติครับ คำตอบนี้เป็นสิ่งที่หลวงพ่อ........ พูดในตัวแล้ว ธรรมชาติของจิตเดิมไม่มีกิเลสครับ

หลวงพ่อ: แหม... อันนี้ค้านล้านเปอร์เซ็นต์เลย ธรรมชาติเดิมของจิตไม่มีกิเลส เหตุผล ขอฟังเหตุผล ธรรมชาติของจิตเดิมไม่มีกิเลส แต่เกิดอวิชชา แล้วอวิชชามันเกิดเนี่ย มันลอยมาจากฟ้าหรือ มันถึงเข้าไปอยู่ในจิตมึง

ประเด็น: ธรรมชาติเดิมของจิต ไม่มีกิเลสแต่เกิดอวิชชาทำให้หลง

หลวงพ่อ: แต่เกิดอวิชชาเนี่ยมันเกิดอย่างไร นี่ไง นี่คำพูดของหลวงพ่อ........ใช่ไหม เนี่ยของเขาเอง ของเขาแท้ ๆเลยใช่ไหม

ประเด็น: ธรรมชาติเดิมจิตเนี่ยไม่มีกิเลส แต่เกิดอวิชชาทำให้หลง นึกว่ากิเลสเป็นของดีดังนั้นการเอากันไม่ใช่ธรรมชาติ แต่เกิดจากการหลง

หลวงพ่อ: ไอ้เพศสัมพันธ์เนี่ย ไอ้คำว่าเพศสัมพันธ์ การเอากันเนี่ย เราพูดเอง เพราะเราจะให้เห็นว่า คำว่าธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมะเป็นธรรมชาติ เพศสัมพันธ์ก็เป็นธรรมชาติ แล้วเขาก็ยอมรับว่า ถ้าเพศสัมพันธ์ไม่เป็นธรรมชาติ พวกเราเกิดมาเป็นธรรมชาติอันหนึ่งนะ นี่เป็นธรรมชาติอันหนึ่ง แล้วเขาบอกว่า เขาเอามาให้เราดูเหมือนกัน เขาบอกว่า ไอ้คนที่มันเถียงเนี่ยเขายอมรับว่าเพศสัมพันธ์เป็นธรรมชาติ แต่กิริยาไม่ใช่ธรรมชาติ ถ้ากิริยาไม่ใช่ธรรมชาติมันก็คนตายไง คนตายเนี่ยถ้าไม่มีหัวใจ เนี่ยความจริงเพศสัมพันธ์หรือการต่าง ๆ เนี่ย กามมันเกิดจากใจทั้งหมด ไม่ใช่เกิดจากร่างกายเลย ไม่ได้เกิดจากร่างกายเลย แต่ร่างกายนี่เป็นเครื่องแสดงออกเท่านั้น เป็นเครื่องแสดงออกเพราะจิตมันหลงในตัวมันเอง

เห็นไหม กามราคะ กามฉันทะ เราอธิบายบ่อยมาก กามราคะมันเป็นสิ่งที่เราต้องการ แล้วถ้าไม่มีกามฉันทะ คือไม่มีความพอใจในตัวเรานะ กามราคะเกิดไม่ได้ กามราคะนี่มันเกิดจากความพอใจก่อน ความพอใจของตัวเองก่อน พอความพอใจ มีกามฉันทะ เห็นไหม... กามฉันทะ คือ มีความพอใจในตัวเรา คือ หลงในตัวเองว่างั้นเลย มันถึงเกิดกามราคะ เกิดจากจิตทั้งนั้นน่ะ เกิดจากจิตนะ กามราคะนี่เกิดจากจิต พอนี้กามราคะเกิดมาจากจิต มันมาจากไหน นี้พอเราบอกเพศสัมพันธ์เป็นธรรมชาติ มันเป็นธรรมชาติของจิตใช่ไหม เพราะมันอยู่ในโอฆะ พออยู่ในโอฆะมันก็เกิดกามราคะ แล้วมาบอกว่าธรรมะเป็นธรรมชาติ ถ้าธรรมชาติเนี่ยในเมื่อมันมีกามราคะ มีปฏิฆะเห็นไหม มีโทสะ มีโมหะอยู่ในจิต มันก็เป็นธรรมเหมือนกันไง

ไอ้คำว่าธรรมะเป็นธรรมชาติ เราเอาเพศสัมพันธ์เนี่ยมาเตือนสตินะ เรารู้อยู่เป็นคำที่แบบว่า มันแบบว่า พอพูดถึงธรรมะเนี่ย กุศล อกุศลเราเข้าใจหมดน่ะ เราเข้าใจ แต่เราเอาเพศสัมพันธ์มาเตือนว่า ถ้าธรรมะเป็นธรรมชาติ เพศสัมพันธ์ก็เป็นธรรมชาติอันหนึ่ง คืออุบายของเรา คือจะเตือนสติไง คำพูดของเราเนี่ยเราพูดเพื่อเตือนสติว่า สิ่งที่เอ็งกำกันอยู่ว่าเป็นธรรม ๆ เนี่ย เอ็งต้องพิสูจน์นะ เอ็งต้องพิสูจน์ ถ้างั้นไปพิสูจน์เห็นไหม ถ้าพูดอย่างนี้นะ ธรรมชาติเดิมของจิตไม่มีกิเลส ถ้าธรรมชาติเดิมของจิตไม่มีกิเลสนะ จะไม่มีคนเกิด เพราะอะไรเพราะมันไม่มีกิเลสแล้วเอาอะไรมาเกิด นี่คนเกิดทั้งหมด เมื่อก่อนเขายังเถียงกันเห็นไหม ว่าจิตเดิมแท้ผ่องใส จิตเดิมแท้เนี่ยมาเกิด เกิดได้อย่างไร เขาเถียงกันมาแล้วหลายรอบนะ

ไอ้พวกที่ปฏิบัติใหม่ ไม่รู้ว่าในวงการสงฆ์ ในวงการธรรมะเขาเถียงมาขนาดไหน จิตเดิมแท้นั้นคือตัวกิเลสเลยล่ะ จิตเดิมแท้นั้น จิตธรรมชาติเดิมนั่นล่ะตัวกิเลส แล้วถึงบอกว่าเห็นไหมที่เขาบอกว่า นิพพานมีอยู่ในจิตทุก ๆ ดวงเห็นไหม จิตของทุกคนมีนิพพานอยู่ในจิต เป็นไปไม่ได้เลย เป็นไปไม่ได้ เป็นไปไม่ได้ ไม่มีนิพพานอยู่ในดวงจิตใดทั้งสิ้น ไม่มีนิพพานอยู่ในจิตดวงใดทั้งสิ้น ถ้ามีนิพพานในดวงจิตนะ เราก็ไม่กลับมาเกิดอีกเหมือนเดิม ถ้าเรามีนิพพานอยู่แล้วเหมือนกับเรามีความสุขอยู่แล้วเนี่ย เราจะยอมมีความทุกข์ไหม เช่น เรานี่ เราควบคุมใจได้ เรามีความสุขตลอดเวลาเลยล่ะ เรายอมเสพความทุกข์ไหม ถ้าเรามีนิพพานอยู่แล้วเนี่ย เรามีสิ่งที่ว่านิพพานคือพ้นจากทุกข์แล้ว เราจะกลับมาทุกข์อีกไหม มันเป็นไปม่ได้หรอก มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

จิตทุกดวงไม่มีนิพพาน ถ้าจิตทุกดวงมีนิพพาน พระพุทธเจ้าไม่ต้องขวนขวายหรอก พระพุทธเจ้าไม่ต้องไปสร้างพระโพธิสัตว์หรอก พระพุทธเจ้าไม่ต้องสร้างบารมีธรรม สร้างบารมีธรรมก็ยังไม่มีนิพพานนะ นิพพานจะเกิดก็ต่อเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา นิพพานเกิดในใจของพระพุทธเจ้าตอนนั้น แต่ก่อนหน้านั้นไม่มีนิพพานในหัวใจพระพุทธเจ้าเลย พวกเราเนี่ยไม่มี เพียงแต่ว่าพวกเรานี่มีบุญไง เนี่ยเรียกกุศล อกุศลไง เรามีบุญกุศลกัน ทำให้เราน้อมใจลงเชื่อในศาสนาพุทธ พอน้อมใจลงเชื่อศาสนาพุทธแล้ว เราก็ขวนขวายของเรา เพื่อปฏิบัติให้จิตเราเข้าสู่นิพพาน ถ้านิพพานมีอยู่แล้ว..(หัวเราะ) ถ้านิพพานมีอยู่แล้วนะ เหมือนเรามีหัวเชื้อแล้วนะ เราจะไม่หลงกันหรอก ไอ้นี่ไม่รู้มันหลงกันไปไหนกันหมดเนาะ อ้าว... นิพพาน คือหัวเชื้อที่มันมีอยู่ในใจแล้ว เราก็ต้องเข้าสู่ต้นขบวนการนั้น นี้ทำไมเราเข้ากันไม่ถูกสักคน ไม่มีหรอก ไม่มี จิตเดิมมีนิพพานอยู่แล้ว ไม่มี ไม่มีหรอก เพียงแต่จิตนี่มันเป็นเรื่องธรรมชาติของจิต ธรรมชาติของจิตเนี่ยมันมีสิทธิเข้าสู่นิพพาน นี้ต่อมานะ

ประเด็น: ธรรมะคือความธรรมดา ไม่ใช่เหนือธรรมชาติ ไม่เช่นนั้นคงไม่มีสาวกท่านอุทานว่า เป็นเช่นนี้เองหรือ เหมือนหงายของคว่ำ นั้นแปลว่าธรรมะเห็นอยู่ต่อหน้าต่อตา แต่เข้าใจผิดไป ยกตัวอย่าง เกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ข้างหน้าเราเอง แต่ใจเราไม่ยอมรับ อะไรที่เป็นธรรมชาติคือไตรลักษณ์นั่นเอง เป็นธรรมชาติแต่เกิดปัญหาคือใจเราไม่รับมันเอง ถ้าธรรมะเหนือธรรมชาติคนที่จะได้ธรรมะ ก็ต้องเป็นผู้ที่ถูกเลือก ซึ่งขัดกับพุทธศาสนาเพราะพระพุทธศาสนาไม่มีผู้ถูกเลือก ทุกคนทำด้วยตัวเอง การจะทำหรือไม่ทำ อยู่กับความตัดสินใจของตัวเอง ดังนั้น หลักพระพุทธศาสนาคือ ๑. ทุกคนมีสิทธิ์เลือกที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อ

หลวงพ่อ: เห็นไหม เนี่ย ศรัทธา เนี่ย ทุกคนมีสิทธิ์ ใช่

ประเด็น: ๒. ธรรมะเป็นธรรมดา เป็นธรรมชาติ ธรรมะบวกธรรมชาติ

หลวงพ่อ: ๒. นะ ค้านหัวชนฝา ค้านจนตาย เราก็ค้านจนตายเหมือนกันน่ะ

ประเด็น: การบรรลุธรรมในพุทธศาสนา ไม่ต้องทำอะไรผิดธรรมดา แต่มีปัญญาให้เห็นถึงความธรรมดา

หลวงพ่อ: อันนี้ก็ลูกศิษย์อีกใช่ไหม เวรกรรมเอ้ย.. กูไปเถียงกับลิ่วล้อมันไม่จบหรอก กูอยากเถียงกับเจ้าของความคิดนี้ฉิบหายเลย

ประเด็น: จริง ๆ มันก็เห็นอยู่แล้วนะครับ พระพุทธเจ้าก็บอกว่าอะไรคือความจริง แล้วอะไรปิดบังความจริงไว้เช่น สันตติ ขณะ อิริยาบถ ความเห็นจริงและยอมรับเพราะมีปัญญาเห็นความจริง เพราะมีปัญญาเห็นว่าสิ่งนั้นคือความจริงก็จบแล้ว ศาสนาพุทธ..

หลวงพ่อ: ไม่จริง ถ้าเห็นความจริงจบแล้ว คนดูหนังจบ มันต้องเข้าใจได้หมดสิ คนออกจากโรงหนัง มันก็ดูหนังจบเรื่องแล้วใช่ไหม แล้วมันรู้อะไร ไม่จริง (หัวเราะ) ไม่จริงสักอย่างหนึ่ง

เราพูดอยู่บ่อยนะธรรมะเนี่ยนะ ไอ้ที่ว่า ไอ้ที่พูดเมื่อกี้เห็นไหม เนี่ยบอกมันมีคนโพสต์เข้ามาเหมือนกัน บอกว่า สังฆราชบอกว่า กุศลกรรม อกุศลกรรม อัพยากฤต มันก็เป็นธรรมดา ธรรมะคือธรรมชาตินี่แหละ แล้วอลัชชีตัวไหนบอกธรรมะเหนือธรรมชาติ อลัชชีตัวไหนมาสอน...

ธรรมะเป็นธรรมชาติเนี่ย มันก็เหมือนสภาวธรรมเนี่ย คำว่าสภาวะเห็นไหมที่เขาพูด วันนั้นเขามาเขาพูดคำนี้ เขาบอกเขาอยู่กับสภาวธรรม สภาวะที่เป็นปัจจุบันเพราะมีความเชื่อโดยหลักอย่างนี้ มันเลยมีการปฏิบัติเห็นไหม เขาบอกเขาดูอารมณ์ตัวเองนะ ดูอารมณ์ตัวเองไป เนี่ย..ถ้าอารมณ์อันไหนมันเป็นสภาวธรรม มันจะจืด ๆ คือว่าเป็นสภาวะที่เราเห็นเป็นปกติ ถ้าอารมณ์อันไหนมันโกรธ นั้นคือกิเลส เราถามว่ามันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ หรือ.. มันเป็นอย่างนั้นจริง ๆ หรือ.. ถ้าสภาวะที่มันมีอารมณ์ความคิดอยู่นะ เวลามีอารมณ์ความคิดอยู่เนี่ย แล้วมันบอกมันเฉย ๆ อยู่เนี่ย มันเป็นสภาวธรรม สภาวธรรม นี่ไงถ้ามันเป็นสภาวธรรม มันคิดอยู่แต่มันเฉย ๆ อยู่ ถ้าเราไม่มีอารมณ์ความรู้สึกจะคิดได้ไหม ความคิดของเราเนี่ย ถ้าเราคิดเรารู้ว่าเราคิดไหม เพราะในความคิดนั้นมันมีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในความคิดมันมีเวทนา ความคิดน่ะ มันรู้มันคิดอะไรอยู่ แต่มันละเอียดไง มันแบบว่ามันละเอียด แต่ถ้าเวลามันโกรธ มันโมโห มันมีอารมณ์เราเข้าไปไง เวลาเราโมโหเรามีความรู้สึกเนี่ย มันบอกว่าอันนั้นเป็นกิเลส แล้วเวลามันคิดเฉย ๆ มันบอกว่านั้นเป็นสภาวธรรม

มันก็มีอารมณ์เหมือนกัน แต่ถ้าเป็น “ปัญญาอบรมสมาธิ”นะ ใครปฏิบัติ ปัญญาอบรมสมาธิจะรู้ นั่งอยู่เนี่ย เวลาสติเราตามความคิดมันหยุดหมดเลย มันคิดไม่ได้ มันหยุด เอ้าแล้วอันไหนเป็นสภาวธรรมล่ะทีนี้ เออ ถ้าความคิดมันทันนะมันหยุดเลย สติเราตามความคิดไป พอความคิดมันทันความคิดปั๊บความคิดมันหยุดเลย มันคิดไปไม่ได้เพราะอะไรรู้ไหม เพราะเราทันขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มันแยกตัวออก อารมณ์ไม่มี ความคิดไม่มี ความคิดไม่ได้เกิดจากจิต ความคิดไม่มีเลย แล้วมันบอกว่ามีความคิดอยู่เนี่ยบอกเป็นสภาวธรรม ใครทำปัญญาอบรมสมาธิเป็นนะ ใครเห็นความหยุดของจิตนะ มันจะเห็นเลยว่าสิ่งที่เขาพูดมาว่าธรรมดา ๆ เอ้า แล้วเวลามันหยุดไปเนี่ยอะไรเป็นธรรมดา

ประเด็น: ธรรมะคือความเป็นธรรมดา ไม่เหนือธรรมชาติ

หลวงพ่อ: ถ้าไม่เหนือธรรมชาติ นี่เราเองเราพูดบ่อยนะ ถ้าไม่เหนือธรรมชาติ จิตเรามันก็วนไป วนไปตามธรรมชาติ คือ ถ้าธรรมะเป็นธรรมดานะ มันก็เป็นธรรมะในวัฏฏะไง คือจิตเราก็จะหมุนไป เป็นธรรมดาเนี่ยแหละ คือจิตก็จะเกิดจะตายคือไม่หลุดพ้น เราค้านตรงนี้

ถ้าธรรมะเป็นธรรมดา การเกิดการตายมันก็เป็นเรื่องธรรมดา การที่เราจะต้องไปเกิดอีกก็เป็นเรื่องธรรมดา เพราะอะไรเพราะนี่ไง ธรรมะมันเหนือธรรมชาติเพราะอะไร มันเหนือธรรมชาติเพราะว่ามันไม่มีเหตุให้เกิด แล้วเหตุที่มันจะเกิดคืออะไร เห็นความเป็นธรรมดาต่อหน้า แล้วเห็นแล้วมันจะรู้เท่า มันคือหลักเดียวกันไง เนี่ยใช่ลูกศิษย์พูดแต่มันก็ฟังมาจากอาจารย์ ถ้าอาจารย์มีหลักอย่างนี้ลูกศิษย์ก็มีความเข้าใจเป็นอย่างนี้ จะดูเขาเป็นคนนิสัยอย่างไร ดูว่าเขาคบเพื่อนเขาเป็นนิสัยอย่างไร จะรู้ว่าเขาเป็นนิสัยอย่างไร นี้ก็ดูแนวคิดเนี่ยแนวคิดว่าลูกศิษย์คิดมาอย่างนี้ แล้วมันก็มาอย่างนี้มาตลอดเห็นไหม ว่าธรรมะเป็นธรรมดา เนี่ยเหมือนเป็นเช่นนี้เอง เหมือนหงายของคว่ำ อันคำว่าเหมือนหงายของคว่ำนี่ มันเป็นเรื่องของปุถุชน มันมีพวกเดียรถีย์ พวกมิจฉาทิฏฐิ มาฟังเทศน์พระพุทธเจ้าแล้ว พอมันซึ้งในธรรมของพระพุทธเจ้า มันจะซึ้งมาก มันจะอุทานอย่างนี้ทุกคน เหมือนหงายของคว่ำ เพราะของคว่ำหงายขึ้นมา มันก็ได้น้ำ ได้อากาศ เหมือนเราเนี่ย ถ้าเราฟังเทศน์เห็นไหม ถ้าเรามีความเข้าใจ มันก็เหมือนบรรจุเข้าไปในหัวใจของเรา ไอ้หงายของคว่ำเนี่ย เราก็มาพูดบ่อยมาก เราก็เน้นย้ำอยู่บ่อยเหมือนกัน เหมือนหงายของคว่ำ เรามาฟังเทศน์กันนะ เหมือนน้ำรดหัวตอ หลวงตาว่า เหมือนเอาน้ำสาดหนังหมา หมามันสลัดทีเดียวออกหมดเลย นี่ไงถ้าจิตใจมันคว่ำอยู่นะ เวลาฟังเทศน์นะ มันก็เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา มันไม่ได้เนื้อหาสาระไป แต่ถ้ามันได้หงายขึ้นมา มันได้เนื้อหาสาระไป นี่ไงมันก็เท่านั้น ไอ้หงายของคว่ำ เหมือนหงายของคว่ำเนี่ยนะ คำพูดอย่างนี้มันเป็นคำพูดของคฤหัสถ์ มันเป็นคำพูดของมิจฉาทิฏฐิ แล้วพอมาฟังธรรมพระพุทธเจ้า แล้วนี่มันเป็นสัมมาทิฏฐิ มันได้รับรส มันได้รับรู้ แล้วเอามาอ้างได้อย่างไร ว่าธรรมะเหมือนธรรมชาติ ก็เหมือนหงายของคว่ำ เวรกรรม... ไอ้หงายของคว่ำที่ให้มันหงายขึ้นมาเนี่ยนะ มันไม่มีอะไรเกี่ยวกับมรรคผลเลย เพราะอะไรรู้ไหม เพราะมันมีของให้หงายให้คว่ำไง ถ้ามีของให้หงายให้คว่ำมันคือภพ มันคือจิต มันไม่หลุดพ้นหรอก

เห็นไหมเวลาเราจะชำระกิเลสนี่ เราทำลายถึงของชิ้นนั้นด้วย ของชิ้นที่จะให้คว่ำให้หงายนั้นมันไม่มีนะ ของชิ้นที่จะให้หงายให้คว่ำเนี่ย ต้องโดนทำลายทิ้งหมดนะ มันถึงจะบรรลุธรรมน่ะ คนจะบรรลุธรรมจะออกไปสู่ธรรมะเนี่ย มันจะต้องทำลายของที่คว่ำที่หงายที่มึงว่ากันอยู่นั้น ต้องทำลายทิ้งนะ ถ้าไม่ทำลายทิ้ง ไอ้ของที่คว่ำที่หงาย มึงจะคว่ำจะหงายมันทั้งชาติเลย มันยังอยู่กับมึงที่มันคว่ำมันหงายอยู่ตลอดไป นี่ไง เพราะความคิดของเขาอย่างนี้ เขาถึงบอกว่าเป็นธรรมดาไง ก็เหมือนหงายของคว่ำให้มันหงาย หงายของคว่ำอยู่ เราพูดบ่อยมากเลยเพราะเราซึ้งใจ เพราะเวลาเราสะเทือนใจนี่เหมือนกับหงายความรู้สึกเข้ามา อันนี้มันจะกินใจมาก

ประเด็น: อะไรที่เป็นธรรมชาติคือ ไตรลักษณ์นั่นเองเป็นธรรมชาติ แต่เกิดปัญหาคือใจเราไม่ยอมรับ

หลวงพ่อ: เอ็งดูสิเขาแจกตังค์ เขาซื้อเสียงเนี่ย มันยอมรับไหม มันรับตังค์แล้วมันก็ขีดกาให้หมดล่ะ การยอมรับไม่ยอมรับอย่างนี้ การยอมรับนะ มันไม่ใช่การชำระกิเลสเลย กิเลสคือการฆ่ากิเลส ไม่ใช่การยอมรับ การยอมรับเนี่ยมันเป็นตทังคปหานเฉย ๆ ธรรมชาติเป็นไตรลักษณ์แน่นอน ธรรมชาติเป็นไตรลักษณ์ อารมณ์มึงก็เป็นไตรลักษณ์ อารมณ์เราเนี่ยแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา จริง ๆ แล้วของมันเป็นไตรลักษณ์อยู่ แต่มันไม่มีใครไปรู้ไปเห็นไตรลักษณ์ เราเห็นแต่เรื่องของคนอื่นนะ เห็นคนอื่นทุกข์ร้อนมานะ ไม่เป็นไร.. ปลอบประโลมเขานะ เวลาตัวเองทุกข์ร้อน ไม่รู้ใครจะปลอบประโลมเรานะ เวลาเราเห็นไตรลักษณ์เห็นธรรมชาติ เราก็รู้น้ำขึ้น น้ำลง ไฟไหม้ ไตรลักษณ์ทั้งนั้นน่ะ เราก็เสียใจดีใจกับมัน วูบวาบเท่านั้นเอง มันเป็นเรื่องข้างนอก เพราะจิตมันไม่สงบ ถ้าจิตมันสงบเข้ามา เราอ่านของเขาที่เขาเขียนมานะ เขาบอกอะไรนะ เขาบอกว่า สรรพสิ่งนี้เป็นไตรลักษณ์ทั้งหมด เนี่ยอาการต่าง ๆ เห็นไหม มีเพศสัมพันธ์กันนะเห็นไหม เพศสัมพันธ์เป็นธรรมชาติ กิริยาไม่ธรรมชาติเห็นไหม เราพิจารณาดูสิ ไม่เห็นมีอะไรเลย ไม่มีตัวตนนะ เขาบอกอะไรก็ไม่มีตัวตนนะ อะไรก็ไม่มีตัวตน เพราะอะไรรู้ไหม เพราะเขาไม่เห็นตัวตนเขาไง เพราะเขาไม่มีสมาธิไง

หลักของกรรมฐานนะ เห็นไหมต้องมีกรรมฐาน ฐานที่ตั้งแห่งการงาน ฐานที่ตั้งแห่งการงานนั้น เอาฐานที่ตั้งนั้นทำลายกัน แล้วมันจะมาลบล้างที่ฐานที่ตั้งนั้น นี่คือตัวตน เวลาขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ขันธ์ ๕ เห็นไหม แล้วแยกออกเป็น ๓ ทวีป จิตเนี่ยเห็นไหม จิตไม่ใช่เรา เราไม่ใช่จิต แล้วจิตมันลงไป จิตมันอยู่ที่ไหนเวลามันขาดน่ะ พวกนี้มันไม่เห็นตัวตน ไม่เห็นสมาธิ พอไม่เห็นสมาธิมันก็ไม่รู้ว่าตัวตนอยู่ที่ไหน พอไม่รู้ตัวตนอยู่ที่ไหน ก็มาดูธรรมะเป็นธรรมดา ธรรมะเป็นธรรมชาติไง โอ๋ ไปดูเขานับตังค์นะเป็นธรรมชาตินะ แล้วเราได้อะไร มันเป็นไตรลักษณ์ สรรพสิ่งนี้เป็นไตรลักษณ์หมด เนี่ยแล้วทุกคนรู้หมดนะ อู๋ย ไตรลักษณ์หมดเลยนะ แต่เวลาตัวเองเจ็บช้ำน้ำใจ โอ้โฮย ไม่เห็นเป็นไตรลักษณ์เลย เห็นไหมเขาบอกว่าธรรมะเป็นธรรมชาตินะ เราบอกมีเพศสัมพันธ์ก็เป็นธรรมชาตินะ อึ๊ก..เลยนะ เอ้า ก็ไม่มีตัวตนมึงก็ต้องไม่มีความรู้สึกสิ เราบอกว่าการเอากัน มึงก็เฉย ๆ สิ มึงก็ไม่มีอารมณ์สิ ทำไมมึงฉุนน่ะ ไหนว่าเป็นธรรมชาติไง ธรรมชาติทำไมมันฟูขึ้นมาล่ะ ธรรมชาติทำไมมันโกรธนักโกรธหนาน่ะ ก็เป็นธรรมชาติ..

ประเด็น: สิ่งที่เป็นธรรมชาติคือไตรลักษณ์ สิ่งที่เป็นธรรมชาติคือไตรลักษณ์ เป็นธรรมชาติ แต่เกิดเป็นปัญหาเพราะใจเราไม่ยอมรับ

หลวงพ่อ: ยังไม่เห็นใจเลย แล้วมันไม่เห็นไตรลักษณ์ เห็นไตรลักษณ์ แต่ว่าเราคิดว่าเป็นไตรลักษณ์ แต่ไม่ใช่เป็นไตรลักษณ์ ถ้าเป็นไตรลักษณ์นะ เห็นไตรลักษณญาณ มันจะเห็นเหมือนที่เขาคิดกันเห็นไหม ไปเที่ยวป่าช้าไปเห็นอสุภะ อสุภะเนี่ย มันไม่ใช่ มันต้องจิตสงบ พอจิตสงบ จิตสงบนี่มันเห็นไตรลักษณ์ มันเห็นอสุภะ มันเห็นอสุภะเพราะอะไรรู้ไหม เพราะจิตมันเห็นอสุภะใช่ไหม ถ้ามันสะเทือนสิ่งใด มันสะเทือนถึงใจด้วย สะเทือนถึงใจด้วย คำว่าสะเทือนถึงใจด้วย เพราะใจมันเข้าไปสัมพันธ์ แต่เริ่มต้นถ้าเป็นปุถุชนนะ เวลาเข้าไปคิด เราบอกมันไม่ได้ เพราะใจมันเข้าไปบวกเห็นไหม

แต่เวลาที่พอมันเป็นธรรมแล้ว ทำไมถึงใจด้วยล่ะ เพราะใจมันสะอาด เพราะใจเป็นสมาธิ พอใจมันเป็นสมาธิพลังเกิดจากใจ พลังอันนี้เกิดขึ้นจากใจ เกิดจากสมาธิไม่ใช่เกิดขึ้นจากตัวตน พอไม่ใช่เกิดจากตัวตน มันออกไปเห็นอสุภะ พอพิจารณาอสุภะ อสุภะมันจะแปรเป็นไตรลักษณ์ ไตรลักษณ์มันแปรสภาพ มันจะขยายตัวเป็นวิภาคะ พอวิภาคะเนี่ยมันสะเทือนถึงอะไร มันสะเทือนถึงฐีติจิตด้วย เพราะฐีติจิตเป็นสัมมาสมาธิ พอสัมมาสมาธิมันมีการกระทำของมัน มันสะเทือน ไตรลักษณ์ ไตรลักษณ์เนี่ยมันต้องบวกถึงกิเลส กิเลสที่ใจที่เป็นกิเลสบวกกับไตรลักษณ์ด้วย พอมันบวกไตรลักษณ์ มันกระเทือนใจด้วย กระเทือนกิเลสด้วย กระเทือนความรู้สึกด้วย แล้วมันถอนด้วย ถ้าเป็นธรรมดา ๆ มันก็จ้างคนทำงานไง มันก็จ้างชาวนาไถนานั่นน่ะ แล้วมันก็เอาข้าวมาส่ง ไอ้ชาวนาก็เหนื่อยเกือบตายเลยนะ ไอ้เรานั่งอยู่บ้านกระดิกเท้าเลยนะ ไตรลักษณ์ ๆ มึงก็ไตรลักษณ์มึงไปเถอะน่ะ แก่ตายอยู่นั่นน่ะ

เราพูดบ่อย ข้อนี้เราเน้นย้ำบ่อยเพราะเราเห็นมุมมองนี้เหมือนกัน เวลาเราปฏิบัติน่ะ คำว่าไตรลักษณ์ ๆ ใครเป็นไตรลักษณ์ ความรู้สึกเราก็เป็นไตรลักษณ์นะ ความเจ็บ ความเจ็บช้ำน้ำใจ ความคิดของเราเนี่ยไตรลักษณ์คือมันเกิดดับไง มันแปรสภาพตลอดเวลา แต่ไม่มีใครได้ประโยชน์จากมัน ไม่มีใครได้ประโยชน์จากสภาพ สภาพร่างกายเราที่ชราภาพ ไม่มีใครได้ประโยชน์จากมัน จากความคิดที่มันแปรปรวนตลอดเวลา แต่เราไปคิดเอา ไปศึกษาธรรมะพระพุทธเจ้าแล้วเทียบเคียงว่าเป็นไตรลักษณ์ คือมันเกิดดับ แต่ไม่มีสิ่งใดเป็นผลประโยชน์กับใจของเราเลย ไม่มีสิ่งใดตกผลึกในใจ ที่ใจมันออกมาแสวงหา ที่ใจมันออกมามีการกระทำ เพราะปฏิเสธเริ่มต้นไง เนี่ยต้นผิด ซึ้งมากนะหลวงปู่มั่นบอกว่า ต้นคดปลายตรงไม่มี ต้นคดปลายตรงไม่มี เริ่มต้นปฏิเสธสัมมาสมาธิ ปฏิเสธสมถะ ปลายตรงไม่มี ไม่มี ก็เลยบอกว่าธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมชาติสิ ก็ความแปรปรวนเป็นธรรมชาติ ทุกคนเห็นใช่ไหม ทุกคนเห็นสภาพความแปรปรวน ก็คิดว่าซึ้งคิดว่าเข้าใจไง แต่ไอ้ตัวเองแปรปรวนไม่ได้ดู

แต่ถ้าเกิดสัมมาสมาธิขึ้นมา ระหว่างความแปรปรวนกับความแปรปรวนของพลังงานนะ ไม่ใช่ความแปรปรวนของความคิด ความคิดที่แปรปรวนนี่มันหยาบเกินไป ความคิดที่แปรปรวนน่ะ ความคิดที่มันคิดอยู่เนี่ย มันเป็นความคิดมันไม่ใช่จิต ความคิดก็แปรปรวน ตัวจิตเองก็แปรปรวน มันเป็นไตรลักษณ์โดยธรรมชาติของมัน แต่ตัวจิตมันไม่มีใครเข้าไปรู้ไปเห็นมัน มันไม่มีใครเข้าไปรู้ไปเห็น เราเห็นแต่เรื่องของคนอื่นไง ตามันไม่เคยมองเห็นตา ตามันมองเห็นแต่ภาพข้างนอก ไม่มีดวงตาดวงไหนมองเห็นตาของตัวเอง เว้นไว้แต่เอากระจกส่อง (หัวเราะ) ธรรมชาติของแปรปรวนที่จิตน่ะมันออกรู้ตลอด มันออกไปตลอด มันไม่มีเข้ามาเลย มันเลยบอกเป็นไตรลักษณ์ ไตรลักษณ์เป็นธรรมชาติไง ถ้าเผื่อมันเป็นธรรมดาไง เพราะมันป้องกันตัวมันไว้ไง เพราะตัวจิตมันป้องกันตัวมันไว้ ไม่ให้ไปถึงตัวมัน ไม่ให้ทำลายมัน แล้วมันบอกว่าความคิดแปรปรวน ๆ แต่ตัวมันแปรปรวนมันไม่ได้ดูไง มันเลยบอกว่าธรรมะเป็นธรรมดาไง ธรรมะเป็นธรรมชาติไง เพราะความคิดมันเกิดดับไง เพราะอะไรเพราะมันขาดสมถะไง..

ยังยืนยันว่าธรรมะเหนือธรรมชาติ ยืนยัน ๆ ๆ เหนือธรรมชาติเพราะอะไร เหนือธรรมชาติเพราะมันมีการกระทำ มีการกระทำของมัน พอมีการกระทำของมัน คำว่าเหนือธรรมชาติ คือมันไม่อยู่ในกฎของการแปรปรวนไง ธรรมะที่มันเหนือธรรมชาติเพราะมันไม่อยู่ใต้กฎของไตรลักษณ์ โสดาบันนี่ไม่มีกิเลสดวงไหนที่จะไปบังคับให้มันเกิดตายตลอดไปได้ มันอย่างมาก ๗ ชาติเท่านั้น แต่พวกเรา พวกที่เรายังเกิดยังตายอยู่ มึงไม่มีสิทธิเลยว่ามึงจะมาเกิดกี่ชาติ ๆ ไม่มีสิทธิเลยว่าจะไม่เกิดหรือเกิด เราจะไม่มีสิทธิบังคับตัวเราเองว่าจะเกิดหรือไม่เกิดอย่างไร ไม่มีสิทธิ นี่ไงธรรมชาติ ธรรมชาติเพราะเราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ เราจะต้องแปรปรวนไปกับธรรมชาติ แต่พระโสดาบัน ใครบอกว่าพระโสดาบันจะเกิดอีก ๘ ชาติล่ะ บอกมา พระโสดาบันอย่างมากเกิดอีก ๗ ชาติเท่านั้น แล้วมึงบอกกูมาว่าพระโสดาบันจะเกิดอีก ๘ ชาติ ๑๐ ชาติ ๑๐๐ ชาติ มันจะได้เป็นธรรมชาติเหมือนพวกมึงไง พระโสดาบันไม่เกิดเกินอีก ๗ ชาติ มันเป็นธรรมดาหรือยัง มันพ้นธรรมดาหรือยัง มันเหนือธรรมดาหรือยัง ยังยืนยันตลอดธรรมะเหนือธรรมชาติ

แต่ที่พูดว่าธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมะเป็นธรรมดาเนี่ย ใช่ ใช่ตรงไหนรู้ไหม ใช่ในภาคปริยัติไง ใช่ เพราะมันต้องอธิบายได้ ทางวิชาการต้องอธิบายได้ ต้องมีที่มาที่ไป แล้วมันเป็นธรรมะของปุถุชนที่สื่อสารกันได้ สิ่งที่คุยกันได้ เหมือนเราคุยกันทางวิชาการ แต่พวกนี้มันไม่เข้าถึงธรรม มันถึงไม่เข้าใจว่าโสดาบันเป็นอย่างไร ถ้ามันเข้าใจว่าโสดาบัน ถ้าธรรมะเป็นธรรมชาติ ทำไมธรรมจักรต้องมีกุปปธรรม อกุปปธรรมล่ะ กุปปธรรมเนี่ยธรรมชาติ คือธรรมะที่แปรปรวน กุปปธรรม อกุปปธรรม กุปปธรรม คือ ธรรมะ กุปปธรรมเห็นไหม ธรรมะที่ยังแปรสภาพอยู่ อกุปปธรรม อกุปปธรรม ธรรมะที่ไม่แปรปรวน อฐานะ อฐานะที่มันจะเป็นธรรมชาติ อฐานะ เหนือธรรมชาติ เหนือ... (หัวเราะ) ไปเถียงกับลูกน้องเขาเนี่ยแม่งต้องเถียงกับหัวหน้ามัน เหนือธรรมชาติ

ประเด็น: การบรรลุธรรมในพุทธศาสนาไม่ต้องทำอะไรผิดธรรมดา

หลวงพ่อ: ต้อง! ต้อง ถ้ามันเป็นธรรมดาก็เป็นเรื่องของกิเลส

ประเด็น: การบรรลุธรรมในพุทธศาสนา คือไม่ต้องทำอะไรผิดธรรมดา แต่มีปัญญา แต่มีปัญญา

หลวงพ่อ: แต่.. เห็นไหม ไม่ต้องทำอะไรผิดธรรมดา แต่.. แต่มีปัญญา ก็ปัญญาของกิเลสไง ให้เห็นถึงความธรรมดา ให้เห็นถึงความธรรมดานะ มันโดนหลอก ๒ ชั้น ๓ ชั้นน่ะ กิเลสมันหลอก มันปิดตาไว้ก่อนชั้นหนึ่ง แล้วมันก็ดูแต่ความคิดข้างนอก มันบอกว่า ที่มันมีปัญหาอยู่ มันมีปัญหาเพราะว่าปริยัติกับปฏิบัติเอามาคลุกเคล้ากัน เราไม่ได้ปฏิเสธปริยัตินะ ถ้าเราปฏิเสธปริยัติ เราปฏิเสธพระไตรปิฎกนะ ในวัดเราไม่มีตู้พระไตรปิฎกหรอก แต่วัดเรามีตู้พระไตรปิฎกเยอะแยะเลย เราก็กราบพระพุทธเจ้าทุกวันเหมือนกัน กราบพระเรากราบทุกวันเลย เราไม่เคยค้านพระไตรปิฎกเลยนะ

แต่เราต้องเข้าใจว่า พระไตรปิฎกนี่เป็นศาสดา เป็นธรรมและวินัยที่เราจะเคารพบูชา แต่ในประพฤติปฏิบัติมันเกิดจากเรา เกิดจากเรา แต่ในการประพฤติปฏิบัติของเรา เราจะผูกมัด ผูกมัดกับพระไตรปิฎก ต้องให้เป็นอย่างนั้นเหมือนอย่างนั้นตลอดเวลา เป็นไปไม่ได้ เพราะพระไตรปิฎกเป็นธรรมขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่สั่งสอนไปหลากหลายทั่วไปหมด แล้วเราประพฤติปฏิบัติของเราเห็นไหม เอาอันใดอันหนึ่งเห็นไหม อย่างเช่น เราใช้คำบริกรรม พุทโธ พุทโธ ก็เอาอันใดอันหนึ่ง เราแค่ใช้ ใช้แค่หนึ่งเดียว เหมือนกับยาในโรงพยาบาล เราเป็นโรคอะไร เราก็ใช้ยาตรงกับโรคของเรา ก็แค่เม็ดเดียว กินยาก็กินเม็ดเดียว เอ็งจะกินยาทั้งโรงงานเลยเหรอ มันไม่ใช่ มันไม่ใช่หรอก เรากินยา เรากินยาแค่แก้โรคเราเท่านั้นน่ะ

ฉะนั้นจะบอกไอ้ที่เป็นธรรมดา ๆ เพราะเป็นธรรมดาใช่ไหม ถ้าสรรพสิ่งเป็นธรรมชาติ ธรรมะเป็นธรรมดาหมดเลย ทุกอย่างเป็นธรรมดาหมดเลย ทุกอย่างเหมือนกันหมดเลย กินยาก็กินทั้งโรงงานเลย แล้วพูดอย่างนี้เขาก็เถียงอีก มันจะเถียงกันไม่จบนะ เถียงไม่จบหรอก แต่เราก็ยืนยันธรรมะเหนือธรรมชาติ เหนือธรรมชาติเพราะ.. เพราะมันทำลาย ทำลายเสร็จแล้ว เราหลุดรอดออกไป วัฏฏะ วิวัฏฏะ แต่นี้ถ้าพูดอย่างนี้แล้วปั๊บเขาบอก เอ้าก็ถูกต้องไง วัฏฏะก็คือเวียนวนในวัฏฏะ วิวัฏฏะก็ออกจากวัฏฏะไป ก็เป็นธรรมชาติอยู่เหมือนกัน แล้วเขาก็บอกเขาปฏิบัติกันก็เป็นธรรมชาติ ต้องปฏิบัติเป็นธรรมดา ถ้าการปฏิบัติเป็นธรรมดานะ เราก็กินกันอิ่มนอนกันอุ่น เราก็ทำปกติของเรานะ มันก็เหมือนกรรมกรเขาก็ขุดดินหาบหญ้าเหมือนกัน ไอ้เราก็ถึงเวลาก็นั่งสมาธิเนาะ ปี๊ด นั่งสมาธิ ปี๊ด เลิก ธรรมดา

เพราะอย่างนี้ไงหลวงตาท่านถึงไม่เอา เราอยู่หลวงตามานะ มีคนมาเสนอ อย่างเรามีคนเสนอมาก บอกว่าเวลาฉันข้าวต้องมาพร้อมกันแล้วกราบ ฉันเสร็จแล้วก็ต้องรอพร้อมกัน เราก็กราบ มันสวยงามดีเนอะ หลวงตาท่านบอกว่ากระเพาะคนไม่เท่ากัน จริตคนไม่เท่ากัน เวลาของทุกคนมีค่า ถ้าใครฉันข้าวพอประทังชีวิตเสร็จแล้วลุกไปประพฤติปฏิบัติ ลุกไปแล้วไปนั่งพุทโธ ๆ มันมีค่ามหาศาลเลย มันไม่ธรรมดาหรอก แม้แต่การกิน การอยู่ แต่ละบุคคล พระด้วยกันมันก็ยังไม่เสมอกัน แล้วมึงไปเอาธรรมดามาจากไหน หนึ่งนะนี่ธรรมดาในสภาพแวดล้อมนะ แล้วกิเลสของเราเห็นไหม ดูสิ อารมณ์เรามันแปรปรวนขนาดไหน เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ชั่ว เดี๋ยวก็ร้าย เดี๋ยวก็ดี แล้วคิดดูสิ อยู่ในใจ เราจะให้ธรรมดาอยู่ได้ไหม ถ้าเราไม่มี.. หลวงตาพูดบ่อยมาก เราต้องจริงจังนะ! เราจะมาสักแต่ว่าไม่ได้นะ! เราต้องเข้มแข็งนะ! เตือนมาตลอด หลวงปู่มั่นนี่เตือนตลอด

พระพุทธเจ้าก็เตือนตลอดนะ ผู้ใดมีสติแค่วินาทีเดียว ดีกว่าคนที่พลั้งสติทั้งชาติ พระพุทธเจ้าเตือนตลอด ไอ้นี่บอกถ้าเป็นธรรมดา หายใจก็เป็นธรรมดา ทุกอย่างก็เป็นธรรมดา มันก็ธรรมดากันอยู่นั่นแหละ เขาก็ค้านอีกแหละ มันก็ไม่ใช่อย่างที่หลวงพ่อพูดหรอก มันไม่ใช่ แต่ถ้ามันมีอุดมคติ อุดมคติ อุดมคติในใจ คิดว่าอย่างใด พฤติกรรมการกระทำนั้นมันจะได้ผลไหม เรามองตรงนี้ เรามองตรงที่ใครเชื่อมั่น ใครคิดว่าทำได้ง่ายทำแล้วได้สะดวกสบาย แล้วคิดดูสิว่ากิเลสมันก็ขี่หัวเราตลอดเวลา มันจะสะดวกสบายไหม ถ้ามันปฏิบัติแล้วธรรมดา แล้วทุกคนได้ผล เราจะสาธุ.. แต่นี้ถ้ามันปล่อยไปอย่างนั้นไป เราปฏิบัติไป มันสักแต่ว่าทำ พอมันสักแต่ว่าทำเนี่ย ต่างคนต่างทำแล้วทุกคนทำไปบอกว่า ทุกคนดีขึ้นทุกคนเลย ถูกต้อง ถูกต้องจริง ๆ นะ คนเรานะ ถ้าไม่สนใจในธรรมะ ไม่สนใจในข้อเท็จจริง มันจะใช้ชีวิตไป เห็นไหม หลวงตาพูดประจำ ถ้าเราไม่ทำดีมันก็ทำชั่ว เราต้องพยายามฝืนทำดีไว้ ถ้าไม่ทำดี ใจมันจะไหลไปทางชั่ว ไหลไปทันที

ฉะนั้นคนเรามาอยู่กับธรรมะ อยู่กับสัจธรรมมันก็เป็นคนดี มันก็เป็นเรื่องจริง ก็ธรรมดา เอออย่างนี้จริง ธรรมดา เมื่อก่อนไม่ดีเลย เมื่อก่อนไม่เคยเห็นแก่น้ำใจใครเลย เดี๋ยวนี้เป็นคนผู้เสียสละ เดี๋ยวนี้เป็นคนดี ก็ถูกต้อง ก็ดีจริง ๆน่ะ แต่ดีแค่นี้มันดีในวัฏฏะ มันไม่พอกิน ดีของเราเนี่ย เราเกิดมาเรามีชีวิตแล้วเนี่ย เรามาพบพุทธศาสนาแล้ว พุทธศาสนาสอนนะ พระพุทธเจ้านะ ดูสิ อาฬารดาบส เห็นไหม บอกว่าพระพุทธเจ้ามีความรู้เหมือนเราเสมอเรา เนี่ยจิตเป็นธรรมดา เพราะมันทำสมาธิได้ พระพุทธเจ้าไม่เอานะ เพราะมันไม่ได้แก้กิเลส แล้วเราจะมาธรรมดา ๆ พระพุทธเจ้าขนาดมีคนบอกว่ามีความรู้เหมือนเรานะให้ปฏิบัติเหมือนเรา พระพุทธเจ้ายังปฏิเสธเลย แล้วเราปฏิบัติกันอยู่เนี่ย ธรรมะพระพุทธเจ้าก็สอนไว้แล้ว แล้วเราจะมาปฏิเสธสิทธิของเราเองไง มันเป็นธรรมดา มันธรรมดา มันต้องเข้มแข็ง มันต้องหมั่นเข้มแข็ง ต้องตั้งสติ ต้องต่อสู้ มันจะไม่ธรรมดา

ประเด็น: แล้วเนี่ย ให้มีปัญญาเห็นตามความเป็นจริง เมื่อเห็นตามเป็นจริงแล้วพระพุทธเจ้าบอกว่าไม่มีอะไรจริง อะไรคือความจริง และอะไรปิดบังความจริงไว้ เช่น สันตติ ขณะ อริยาบถ

หลวงพ่อ: คำว่าอิริยาบถมันหยาบมากนะ มันเป็นสัญชาตญาณเลย

ประเด็น: เห็นความจริงแล้วใจยอมรับ เพราะมีปัญญาเห็นจริง สิ่งนั้นคือความจริงก็จบแล้ว แล้วจะเอาอะไรอีก พระพุทธเจ้าจบ

หลวงพ่อ: พระพุทธเจ้าน่ะพูดถูก มันเหมือนกับ ไอ้เนี่ย บอร์ด ในบอร์ดองค์การ บอร์ดพวกรัฐวิสาหกิจ พอมันเซ็นต์ชื่อทีเดียวนะ ไอ้ข้างล่างนะวิ่งเกือบตาย ไอ้นี่ก็เหมือนกัน

ประเด็น: เนี่ยเห็นตามความจริงเห็นไหม ความจริงเห็นจริงเพราะมีปัญญาเห็นจริง ตามความเป็นจริงก็จบแล้วในพุทธศาสนา จะมาเอาความจริงอะไรไปมากกว่านี้ พระพุทธเจ้าสอนไว้แค่นี้

หลวงพ่อ: พระพุทธเจ้าสอนก็พระพุทธเจ้าสอน พระพุทธเจ้าสอน ท่านเป็นเจ้าของศาสนาเลยยิ่งกว่าบอร์ดอีก แต่ไอ้พวกเราไอ้พวกกรรมกรแบกหาม พอบอร์ดพูดอะไรก็พูดตามบอร์ด แล้วมึงไม่ทำอะไรเลย กระดิกเท้าอยู่ มันเป็นไปไม่ได้หรอก พระพุทธเจ้าพูดจริงพูดแบบผู้รู้จริง แต่เวลาพูดน่ะ เนี่ยเราเห็นอยู่ เขามาให้ดูเหมือนกันว่าตอนนี้เขาก็พูด เขาอะไรนะ เขาเริ่มเห็นคล้อยตามมาน่ะ

ประเด็น: ในพุทธศาสนา เมื่อเป็นปรมัตถธรรมคำสั่งสอนธรรมเหมือนสภาวธรรม คือธรรมที่เป็นจริง ไม่ใช่สัตว์บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีเราเขา เช่น ตามีสี เห็นสีเห็นเสียง จมูกมีกลิ่น เรื่องเป็นธรรมทั้งหมด ในพระไตรปิฎก อรรถกถาแสดงว่า ศัพท์ธรรมะ

หลวงพ่อ: เป็นธรรมทั้งหมด แต่ไร้สาระน่าดูเลยนะ เพราะอะไรรู้ไหม ตา หู จมูก ลิ้น กาย มันได้กลิ่นต่าง ๆเนี่ย ผลมันตกผลึกลงที่ใจ แล้วเรานั่งสมาธิอยู่นี่ หลับหูหลับตา ตา หู จมูก ลิ้น กาย ปิดหมดน่ะ ทำไมจิตมันคิดได้ล่ะ เอ้า.. จิตมันก็คิดได้นะ เนี่ยโปฐิละไง เวลาสามเณรสอน ให้เปรียบร่างกายนี้เหมือนกับจอมปลวก แล้วมันมีรูอยู่ ๖ รู ปิดรูทั้ง ๕ เหลือไว้รูเดียว คอยจับเหี้ยตัวนั้น คอยจับเหี้ยตัวนั้น เหี้ยมันจะโผล่ออกมาจากจอมปลวกนั้น แล้วก็หลับหูหลับตาหมดเลย กำหนดดูพุทโธ ๆ เนี่ยกำหนดที่ใจเพื่อจะลงสมาธิ ถ้าจับได้มันก็จะจับเหี้ยตัวนั้นได้ แล้วก็บอกว่าเห็นไหมมันเป็นธรรมดา หูได้ยินเสียงทุกอย่างเป็นธรรมดา มันก็เป็นธรรม พระไตรปิฎกก็แสดงไว้แล้ว ปวดหัวเลยนะ ปวดหัวเลย ไอ้เนี่ยมันทำอะไรของมึง เอ้า ธรรมะเกิดจากตา หู จมูก ลิ้น กาย เนี่ย ปวดหัวเลย คือ.. ประสาเรานะ เราไม่อยากเถียงกับเด็กแล้วโว้ย

ถ้าเด็ก ๆ มันพูดธรรมะอย่างนี้ จริง ๆ นะ เรามองว่ามันไร้สาระมาก มันเรื่องไร้สาระแล้วไม่เข้าในการปฏิบัติเลย นี่ยังไม่เข้าในการปฏิบัติเลย ไอ้นี่แค่ความรู้จาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย เนี่ยมันก็ว่าเป็นธรรม ๆ แล้ว แล้วใจมึงอยู่ไหนน่ะ เพราะมันไม่ทำให้จิตสงบก่อน มันถึงไม่รู้ว่าสภาวธรรมเป็นอย่างไร แล้วธรรมเกิดที่ไหนดับที่ไหน ธรรมเกิดที่ไหนดับที่ไหน ธรรมเกิดที่ไหน เอ้า ธรรมะของพระพุทธเจ้าก็ธรรมะของพระพุทธเจ้า ธรรมะของครูบาอาจารย์ก็ของครูบาอาจารย์ ธรรมของเราคือใจของเรา แล้วใจของตัวก็ไม่เห็นนะ ไปเห็น ตา จมูก ลิ้น กาย นู่นน่ะ ไปรับรู้อยู่นู่น มันหยาบเกินไป มันหยาบมาก

ประเด็น: การเห็นจิตของพระโสณะ ในพระไตรปิฎก การเห็นพระโสณะนะ เนี่ยพระพุทธเจ้าแม้เห็นว่า รูปอารมณ์ที่หยาบ นี่เวลาพระโสณะ พระโสณะบรรลุธรรมใช่ไหม

หลวงพ่อ: พาหิยะก็เหมือนกัน เวลาพาหิยะที่ว่า สักแต่ว่าไง เวลาพาหิยะไปฟังเทศน์พระพุทธเจ้านะ เห็นเธอสักแต่ว่าเห็นนะ ได้กลิ่นเธอสักแต่ว่าได้กลิ่น ทุกอย่างเป็นสักแต่ว่า คำว่าสักแต่ว่าเนี่ย พาหิยะนะ เขาสร้างบารมีมามาก พอสร้างบารมีมามาก เพราะว่าเวลาเขาไปปฏิบัติกัน ไปบนเขายอดตัดเห็นไหม แล้วขึ้นไป สัญญากันว่า ถ้าใครภาวนาไม่ได้พระอรหันต์ ให้ตายบนนี้ เป็นพระอรหันต์ไปสององค์ พระอนาคาองค์หนึ่ง แล้วสององค์ตายไป พระพาหิยะตายอยู่องค์หนึ่ง

เขาสละชีวิตจากชาตินั้นมา จิตเขาพัฒนาขึ้นมาเยอะมากเพราะเขาปฏิบัติมา นี้พอเขามาเป็นพ่อค้าต่าง เขาเรือแตกมา ก็มาฟังเทศน์พระพุทธเจ้าไง ทีนี้พระพุทธเจ้าน่ะ ฟังนะที่เขาจะมาฟังเทศน์พระพุทธเจ้าเนี่ยเขาเรือแตกมา แล้วเขาขึ้นมาชาวบ้านเห็นว่าเขามีชีวิตขึ้นมาจากทะเล คิดว่าเขาเป็นพระอรหันต์ ก็เลยบูชา เคารพบูชาเขามาก พอเคารพบูชาเขามาก เขาก็หลงตัวเองว่าเขาเป็นพระอรหันต์นะ พระอรหันต์จะไปนุ่งผ้าก็ไม่นุ่ง ไปนุ่งใบไม้ไง เพราะถ้านุ่งผ้าเดี๋ยวลาภสักการะเดี๋ยวมันจะหายไป เขาก็นุ่งใบไม้อย่างนั้นล่ะ ลาภสักการะเข้ามา จนเทวดาที่เป็นพระอนาคาที่เป็นเพื่อนกันใน ๕ องค์นั้นมาเตือนไง มาเตือนบอกว่า บัดนี้พระพุทธเจ้าเกิดแล้วนะ เธอไม่ใช่พระอรหันต์ ให้ไปฟังเทศน์พระพุทธเจ้า

เห็นไหมเราจะบอกว่าจิตใจของเขา เขาสละชีวิตมา แล้วเวลาเขาเรือแตกเข้ามา จิตใจของเขาคิดว่าเขาเป็นพระอรหันต์ คนจิตใจคิดว่าเป็นพระอรหันต์ จิตใจมันจะตรึกในธรรมขนาดไหน นี้พอมาฟังเทศน์พระพุทธเจ้าเห็นไหม พอฟังเทศน์พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าบิณฑบาตอยู่น่ะ เห็นเธอสักแต่ว่าเห็น รู้เธอสักแต่ว่ารู้ เพราะอะไร เพราะจิตใจของคน ระดับของคนมันจะถึงอยู่แล้ว พอจิ้มเข้าไปมันก็พั้วะเลย แล้วไอ้อย่างนี้เอาอย่างพระโสณะมาอ้าง ไอ้อย่างนี้มาอ้างเนี่ย คำพูด ๆ เดียวกันเห็นไหม เราก็บอก เราก็พูดกับเขาแล้ว คำพูดคำเดียวกัน ถ้าคนรู้จริงเห็นไหม คำพูดนั้นเป็นความจริง คนไม่รู้จริงน่ะพูดคำเดียวกัน แต่เขาไม่รู้ถึงความหมายไง แต่คำพูดเดียวกันเขาท่องมา คำพูดคำเดียวกัน คนที่จริงพูดจริง คำพูดเดียวกันคนที่ไม่รู้จริง พูดร้อยคำก็ผิดหมดเลย เพราะมันพูดได้แต่ภาษา แต่มันไม่รู้เนื้อหาสาระ มันได้ภาษา มันไม่ได้รู้ข้อมูลในภาษานั้น พอไม่รู้ข้อมูลในภาษานั้น เอ้า พูดคำเดียวกันนะ แต่เราตีความหมายไปคนละอย่างใช่ไหม เวลาเราลงไปทำงานก็ไปคนละเรื่องเลย ไอ้คนที่รู้จริงเขาก็ทำของเขาถูกต้อง ไอ้เราไม่รู้ใช่ไหม เราก็ทำของเราไป ทำของเรา... คำสั่งมาคำเดียวกันนะ คนทำมันคนละเรื่องเลย คำนี้เราพูดบ่อย

ประเด็น: ถ้าหากแม้นอยากทำอารมณ์ที่หยาบ ก็พึงทราบชัดโดยมโน (เนี่ย คำนี้ชัดเลย พึงทราบโดยมโน) ผ่านมาสู่คลองของใจ เนี่ยพึงทราบชัดด้วยมโน มโนคือจิต ผ่านมาสู่คลองของใจ ความคิด ของภิกษุ ผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย จิตของภิกษุนั้น จิตของภิกษุนั้น อันอารมณ์ไม่ทำให้จิตติดอยู่ได้เป็นธรรมชาติ (นั่นแน่) เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว แม้ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้น (หัวเราะ)

หลวงพ่อ: มันพยายามจะไปค้นพระไตรปิฎกตรงไหนที่มันรองรับความคิดเขา จิตของภิกษุนั้นเป็นอารมณ์ทำให้จิตไม่ติดอยู่ เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว เป็นธรรมชาติตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ถ้าเป็นบาลีใครเป็นคนแปล ธรรมชาติที่ไม่หวั่นไหว ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับของจิตนั้น เพราะเริ่มต้นมันต้องย้อนกลับมาตรงนี้ มันถึงจะเห็นภาพชัด จิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบธรรม จิตหลุดพ้นแล้วชอบอย่างนี้ก็ไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลยเพราะจิตนั้นเป็นธรรมารมณ์เห็นไหม

มันต้องย้อนมาดูว่าที่ว่า พึงทราบชัดด้วยมโน ความรู้ผ่านสู่คลองของใจ มโนกับใจ แล้วมาสู่การเกิดดับ อะไรเกิดดับ เนี่ยถ้ามันอ่านทั้งหมดนะ แล้วมันคนเป็น มันเห็นที่มาที่ไปไง แต่นี่ไม่เอาหรอก กูมาไฮไลท์ตรงจิตเกิดดับเนี่ย เป็นธรรมชาติแล้วเกิดดับ ใช่ ธรรมชาติที่เกิดดับที่คนรู้จริงนะ ถ้าธรรมชาติที่คนเกิดดับที่คนไม่รู้จริง มันก็ปิดไฟเปิดไฟ มันก็เกิดดับ(หัวเราะ) มันเกิดดับตรงไหนน่ะ มันเกิดดับตรงไหน ถ้าเกิดดับอย่างนี้มันเป็นผล ที่เราค้านว่าผิดเนี่ย มันผิดตั้งแต่การเริ่มต้นปฏิบัติ

ถ้าเริ่มต้นปฏิบัติเราตั้งเป้าไว้ผิด เราทำไว้ผิด การปฏิบัติของเราไปเนี่ย มันจะเป็นวิปัสสนึกไปหมดเลย พอวิปัสสนึกไปหมดเลยน่ะ พอถึงเวลาแล้วจิตมันเสื่อมนะ ทุกคนที่มันเวลาจิตมันท้อถอยนะ แล้วมึงจะรู้เอง แต่ตอนนี้มันเริ่มต้นใหม่เพราะอะไรรู้ไหม เพราะคนที่เขาพูดเขาบอกว่า ไอ้พระป่าเนี่ย ไอ้พวกทำสมถะ ไปหาหลวงพ่อ......เยอะมาก แล้วหลวงพ่อ........แก้แล้วดีไปหมดเลย เราก็เห็นด้วยเห็นด้วยตรงไหนรู้ไหม เห็นด้วยตรงไอ้พวกที่ทำสมถะ สิบปี ยี่สิบปีมันไม่ได้ผลไง พอไม่ได้ผลใช่ไหม พอเขาไปดูจิตหน่อยนะ มันสบายใจไง มันก็ว่ามันได้ผลไง

แล้วไอ้พวกดูจิต มันดูจิตมาสิบปี ยี่สิบปีมันก็อยู่คาอย่างนั้นแหละ มันก็วิ่งมาหาเราไง เราก็บอกพุทโธ พุทโธ พุทโธสิ พอพุทโธแล้วจิตมันลง พอจิตมันลงมันก็เห็นเลย เห็นว่าดูจิตมายี่สิบสามสิบปีเลยนะ มันก็ไม่เห็นได้อะไรเลย พอจิตมันลง เห็นไหม ความรู้สึกเพราะอารมณ์ของสมาธิเนี่ยมันลึกกว่า อู๊ย ไอ้ปฏิบัติมาสิบยี่สิบปีน่ะเสียเวลาเปล่า มาพุทโธ พุทโธดีกว่า

มันจะหมายความว่าคนปฏิบัติอย่างไรนั้นมันเนิ่นนาน พอเนิ่นนานมันไม่ได้ผล พอไปเปลี่ยนอารมณ์เข้าอารมณ์มันดี เหมือนเราเนี่ยทุกข์ เราไปหาเจ้าเข้าทรงนะ พอเจ้าเข้าทรงมันถุยน้ำลายใส่หัว พ่วงเดียวนี่นะ โอ้ฮูย โล่งหมดเลย สบายอยู่พักหนึ่ง เดี๋ยวก็ทุกข์อีก เวลาทุกข์ ๆ มาไปหาเจ้าให้มันบ้วนน้ำลายใส่หัวทีเดียวเท่านั่นน่ะ โฮ้ โล่งอกเลยไง ไอ้เนี่ยปฏิบัติอยู่สิบปียี่สิบปี มันอัดอั้นตันใจไง พอได้เปลี่ยนอารมณ์หน่อย โฮ้ สบาย ไอ้สบายอย่างนั้นมันไม่มีเหตุมีผลนะ ไอ้สบายอย่างเราเนี่ย เขาพูดเองนะ เราไม่ได้บอกว่าสบาย ๆ หรอก

เพราะเราค้านมาตลอด ไอ้สบาย ๆ ไอ้พวกทำจับจดเนี่ย เราค้านมาตลอด หนึ่ง นิสัยเราไม่เป็นอย่างนั้น สอง เราไม่เชื่อเพราะว่าคนเนี่ยความเพียรไม่มั่นคง เพราะในมรรค ๘ มีความเพียรชอบ ความเพียร ความวิริยะ ความอุตสาหะ มันเป็นมรรคตัวหนึ่ง แล้วไปบอกกันว่าไม่ต้องขยัน ไม่ต้องหมั่นเพียร การมุ่งทำความความเพียรนี้ มันเป็นอัตตกิลมถานุโยค เราไม่เชื่อ ฉะนั้นเวลาใครทำที่ว่าสะดวกสบายอย่างไร เราไม่เชื่อ แต่ถ้ามีความเพียร ความวิริยะ ความอุตสาหะ มันเป็นมรรคตัวหนึ่งในมรรค ๘ ถ้ามีความเพียร มีวิริยะ มีอุสาหะ แล้วมันลงตัวพอดีของมัน

เนี่ยมรรคต่อมรรค มรรคเสริมมรรค มันก็จะเป็นมรรคของเราขึ้นมา แล้วพอเป็นมรรคของเราขึ้นมา เราจะรู้ของเราเลยว่า อะไรผิดอะไรถูก มันจะทุกข์มันจะยากขนาดไหน เราขยันหมั่นเพียรของเราไป ถึงที่สุดถ้ามันถึงเป้าหมาย เห็นไหมเราบอกตั้งตอนเช้าเห็นไหม ว่าถ้าผลตอบแทนมัน มันเป็นข้อเท็จจริงอย่างไร มันต้องเป็นอย่างนั้น ผลตอบแทนที่ไม่เป็นความจริง มันเป็นอารมณ์ความรู้สึก มันเป็นกระแส มันเป็นความพอใจ แล้วเราก็ไปเชื่อตามมัน ความคิดเป็นกระแส มันไม่เป็นความจริง มันต้องเสื่อมไปเป็นธรรมดา

แต่ถ้ามันเป็นข้อเท็จจริงที่มันเกิดขึ้นมาจากการความเพียรของเรา มันจะทุกข์มันจะยาก ก็เราทุกข์เรายาก มันจะดีมันจะชั่ว มันก็เป็นความทุกข์ความยากที่เราทำของเราขึ้นมา มันอยู่ที่อำนาจวาสนา มันอยู่ที่เวรที่กรรมของเรา ถ้าเวรกรรมของเรามีอย่างไร เราต่อสู้ของเราด้วยธรรมชาติของเรา ด้วยมรรคญาณ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตกับธรรมขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า เราซื่อสัตย์เห็นไหม เราซื่อกับธรรม ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม นี่ไงผู้ใดถือศีล ศีลต้องคุ้มครอง ใครมีธรรม ธรรมะคุ้มครองคนนั้น ใครทำคุณงามความดี ความดีมาคุ้มครองคนนั้น ใครมีศีลมีธรรม ศีลธรรมมันจะคุ้มครองใจดวงนั้น

เราไม่ใช่ไปเชื่อ ให้ใครจะชักนำตัวเราไป เราไม่เชื่อ แต่นี่เขาบอก คำก็อ้างพระพุทธเจ้า สองคำก็อ้างพระพุทธเจ้า แล้วเขาบอกว่าเราได้อ่านของเขาหรือยัง เราได้อ่านของเขาหรือยัง เรามันไม่ต้องอ่าน ถ้าธรรมพระพุทธเจ้ามันลงพระพุทธเจ้าโดยข้อเท็จจริงอยู่แล้ว เนี่ยพอพูดอย่างนี้ไป เดี๋ยวเขาก็ค้านมาอีก เรายืนยันว่าธรรมะเหนือธรรมชาติ คำว่าเหนือธรรมชาติเพราะว่ามันไม่ตกอยู่ใต้กฎบังคับของใคร โสดาบัน สกิทา อนาคา พระอรหันต์ มันไม่ตกอยู่ใต้กฎบังคับของใคร ธรรมชาติคือทฤษฎี คือกฎข้อบังคับ ธรรมชาติคือทฤษฎี ธรรมชาติคือวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติคือความแปรปรวน สิ่งที่แปรปรวน ไตรลักษณ์เนี่ย มันครอบงำ กุปปธรรมคือไตรลักษณะ คือสิ่งมันเป็นอนิจจัง มันเกิดขึ้น.. ทำลายเห็นไหม

แต่เวลาพระอัญญาโกณฑัญญะ เวลาบรรลุธรรมเห็นไหม สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายก็ต้องดับเป็นธรรมดา มันก็เกิดดับ แต่เกิดดับแล้วมันเหลืออะไรไง มันเกิดดับแล้วมันมีตัวรู้เกิดดับ ตัวเห็นความเกิดดับ ตัวเห็นธรรมชาติน่ะ ตัวเห็นธรรมชาติ ตัวความปล่อยวางธรรมชาติ ตัวที่เป็นรับผลของสิ่งที่รับรู้มาจากธรรมชาตินั้นน่ะ ตัวนั้นมันคืออะไร นี่ไง ธรรมะเหนือธรรมชาติ ยืนยันว่าธรรมะเหนือธรรมชาติ

ถ้าเป็นธรรมะเป็นธรรมชาติ มันเป็นการเรายอมรับในกฎกติกาการเปลี่ยนแปลง ความรู้สึกของเรา สิทธิของเรา ตกอยู่ในกฎของการเปลี่ยนแปลง อยู่ในกฎของไตรลักษณ์ ฉะนั้น โสดาบัน สกิทาคา อนาคา ของเรามันก็ตกในอยู่ในการเปลี่ยนแปลง ตกอยู่ในการอนิจจัง โสดาบันเราแปรสภาพน่ะ โสดาบัน สกิทาคาของเราเนี่ยไม่จริง เพราะมันเปลี่ยนแปลง เพราะมันมีหลักอย่างนี้ เขามีอุดมคติอย่างนี้ เขาถึงบอกธรรมะเป็นธรรมชาติ นี่ยังดีนะ ต่อไปนะจะพูดอย่างนี้หรือเปล่าไม่รู้

แต่มันมีครูบาอาจารย์เยอะมาก เขาให้โสดาบัน ให้สกิทาคา อนาคากับทุก ๆ คน แต่ก็มีข้อแม้ข้อหนึ่ง คือห้ามหันกลับมาดูอาจารย์ ถ้าใครมาดูอาจารย์เสื่อมหมดเลย มี บอกเลยเป็นอริยบุคคลนะ แต่ห้ามมาจับผิดอาจารย์นะ ถ้าจับผิดอาจารย์นะเสื่อมทันทีเลย อย่างนี้ก็มี แล้วเวลาให้สกิทาคา อนาคา แต่ละบุคคลเนี่ย ถ้าถึงเวลาแล้วมันเสื่อมได้ อย่างนี้ก็มี แล้วอย่างเห็นไหมอย่างที่มาหาหลวงตา ที่มาจากมหายานบอกพระอรหันต์ก็เกิดได้ หลวงตาบอกเกิดไม่ได้เนี่ยเขาหัวแทบระเบิดเลย ก็บอกว่าพระอรหันต์จะเกิดก็ได้ ไม่เกิดก็ได้ ในมหายานเขาคิดอย่างนั้นนะ พระอรหันต์ พระอรหันต์ไม่ต้องนิพพาน พระอรหันต์แต่ยังมีหัวใจที่เป็นธรรมอยู่ ยังสงสารเมตตาสัตว์อยู่ จะมาเกิดเป็นมนุษย์ จะมารื้อสัตว์ขนสัตว์อยู่ อย่างนี้ก็มี คงเป็นเพราะอย่างนี้ไง ธรรมะจึงเป็นธรรมชาติไง คือพระอรหันต์เขายังคงเวียนตายเวียนเกิด พระอรหันต์ก็ยังมาเกิดอีก พระอรหันต์ก็ยังมารื้อสัตว์ขนสัตว์อีก เพราะพระอรหันต์มีใจเมตตา พระอรหันต์ยังไม่ยอมนิพพาน เออะ ก็ยังคงเป็นอย่างนี้มั้ง จิตมีอยู่นิพพานมีอยู่ในใจไง จิตมีนิพพานมีอยู่โดยดั้งเดิมไง เพราะเป็นพระอรหันต์แล้วมีจิตไง

เถรวาทไม่เห็นต่างจากพระไตรปิฎก ในพระไตรปิฎกถ้าเราเห็นต่างจากพระไตรปิฎก เรากล่าวตู่พุทธพจน์ ผู้ใดกล่าวตู่พุทธพจน์ ภิกษุสวดถึง ๓ หน ไม่ถอนความเห็นนั้นเป็นอาบัติ สังฆาทิเสส ใครมีมุมมองต่างจากพระไตรปิฎก แล้วเทศนาว่าการผิดเพี้ยนจากพระไตรปิฎก แล้วมีภิกษุตั้งญัตติให้สวดถึง ๓ ครั้ง ให้เปลี่ยนความเห็นอันนี้ ถ้าใครไม่เปลี่ยนความเห็นเป็นอันนี้ เป็นอาบัติสังฆาทิเสส คือสงฆ์ไม่คบ สงฆ์ไล่ออกจากหมู่ ฉะนั้นไอ้อย่างที่ว่าธรรมะเหนือธรรมชาติ ไม่เหนือธรรมชาติของเราเนี่ย เขาว่า อลัชชีตัวไหนมันสอนวะ เขาว่านะ ก็กูพูดในธรรมจักร กุปปธรรม อกุปปธรรม กุปปธรรมคือธรรมะที่มันยังแปรปรวนที่มันอยู่ในธรรมชาติเนี่ย อกุปปกรรม ธรรมะที่เหนือธรรมชาติ เหนือกฎไตรลักษณ์ เหนือการแปรปรวนทั้งหมด ไม่มีสิ่งใดครอบงำสิ่งนี้ได้ นี้คือตัวธรรมแท้ ๆ กุปปธรรม อกุปปธรรม เดี๋ยวตรงนี้จะเป็นประเด็นนะ เขาจะตั้งประเด็นอกุปปธรรม เขาจะอธิบายอกุปปธรรม อธิบายมาเถอะ อธิบายขนาดไหนนะ มันอธิบายโดยทางวิชาการ อธิบายโดยตรรกะ พวกนี้ไม่เข้าใจหรอก

มันไม่เข้าใจว่า หลวงตาพูดคำนี้แล้วทุกคน ๆคิด แล้วคิดไม่ทันนะว่า จิตนี่มันครอบงำ ๓ โลกธาตุ จิตของคนถ้ามันพ้นไปแล้วนะ มันเหมือนมังกร มันแหวกว่ายไปในอากาศได้สะดวกสบายไปทั้งหมดเลย เห็นไหมจิตเราครอบงำ ๓ โลกธาตุ หลวงตาพูดบ่อยในธรรมหลวงตา ว่าจิตเราครอบงำ ๓ โลกธาตุ เพราะจิตเราเกิดในกามภพ รูปภพ อรูปภพ พอจิตมันพ้นจากกิเลสไปเนี่ย มันใหญ่กว่า ๓ โลกธาตุนี้ มันครอบงำ ๓ โลกธาตุหมดเลย

ถ้าเราไปคิด คิดอีกจนหัวแตกก็ไม่เข้าใจ ใหม่ ๆ เราก็คิดของเรานะเอ้ เราแบบจินตนาการตามไง พอหลวงตาตั้งประเด็นเราก็ใช้ปัญญาเลยล่ะ หมุนเลยล่ะ ใหม่ ๆ ไม่เข้าใจ แต่เดี๋ยวนี้ก็ยังไม่เข้าใจ แต่เดี๋ยวนี้มันพิจารณาดูว่า อ๋อ ก็คิดอย่างนี้ คิดว่าจิตของเรามันมีอวิชชาอยู่มันเกิดใน ๓ โลกธาตุ พอมันพ้น มันก็พ้น ๓ โลกธาตุ มันเข้าใจมันรอบรู้ไปทั้ง ๓ โลกธาตุ กามภพ รูปภพ อรูปภพ มันยังพ้นไปจาก ๓ โลกธาตุเป็น วิวัฏฏะ แล้วในวัฎฎะกับนอกวัฏฏะมันต่างกันอย่างไร ในธรรมชาติ นอกธรรมชาติ เออว่าอย่างนั้นเลยนะ มันต่างกันอย่างไร เออ เออ

ครูบาอาจารย์ของเราท่านเป็นธรรมนะ ธรรมะในพระไตรปิฎกเนี่ย ธรรมะเหมือนกับใบไม้ในกำมือ ธรรมะ ๆ ธรรมะนอกพระไตรปิฎก ธรรมะนอกพระไตรปิฎก หมายถึงว่าถ้าใจมันสัมผัสธรรม มันเข้าใจธรรมตามความเป็นจริงมันเป็นสัจจะของมัน ความรู้ความเห็นของทั้งหมด มันเหมือนใบไม้ในป่าในดงกับใบไม้ในกำมือน่ะ ฉะนั้นพูดใช่ เราต้องพูดในพระไตรปิฎก เราต้องพูดหลักที่มาที่ไป แต่นี้ว่าเหนือธรรมชาติ นอกธรรมชาติเนี่ย เข้าใจได้หมดนะ เขาบอกเลย เขาบอกว่าธรรมะเนี่ยกุศล อกุศล อัพยากฤต มันก็เป็นธรรมชาติ ใช่ มันเป็นธรรมชาติเพื่อที่จะให้เราสื่อกันได้ อย่างเช่น สีขาว อย่างเช่นสื่อภาษากันเราต้องมีหลัก เราถึงจะสื่อภาษากันได้ แต่ภาษานั้นมันส่งไปถึงคุณธรรม คุณธรรมคือความรู้สึกอันนั้น ภาษานี้เราเพียงแค่สื่อความหมายกัน แต่เราต้องประพฤติปฏิบัติเข้าไปถึงความรู้สึก ไปถึงคุณธรรมของหัวใจ เรายึดว่าภาษาอย่างนี้ แล้วเราเอาภาษานั้นครอบงำความรู้สึกเราทั้งหมด จะตีความรู้สึกเราให้เหมือนภาษาอย่างนั้น เราก็ว่ามันไม่ถูก เพราะภาษานั้นมันเป็นการชี้เข้ามาถึงความรู้สึกอันนี้เท่านั้น

ฉะนั้น ยืนยันตลอดว่า ธรรมะเหนือธรรมชาติ เพศสัมพันธ์ก็เป็นธรรมชาติ เพศสัมพันธ์เราตีว่าเป็นธรรมชาติอันหนึ่ง ทีนี้มันเพียงแต่ว่า กุศลหรืออกุศลเท่านั้นเอง กุศลหรืออกุศล แต่เขาตีความว่าธรรมะเป็นธรรมชาติ เพศสัมพันธ์ก็เป็นธรรมชาติ การเกิดการตายก็เป็นธรรมชาติ ฉะนั้นธรรมะก็เลยนิพพานไม่มี เพราะมันไม่พ้นจากการเกิดและการตาย แต่ถ้ามันเป็นธรรมะเหนือธรรมชาติ มันพ้นจากเพศสัมพันธ์ พ้นจากการเกิดและการตาย พ้นหมดเลย พ้นไปได้ทั้งหมด เพราะรสของธรรมชนะรสทั้งปวง ธรรมะเหนือธรรมชาติ อลัชชีตัวนี้เป็นคนบอก มันจะวนอยู่ตรงนี้ล่ะ ยิ่งวนเดี๋ยวเสียงยิ่งดัง (หัวเราะ)

ถาม: เอามัคคาวรณ์ สัคคาวรณ์ คืออะไรก่อน

หลวงพ่อ: มัคคาวรณ์ มัคคาวรณ์เห็นไหม เราอย่าไปหมายความว่า มัค ก็คือ มรรค มัคคาวรณ์ อาวรณ์ อาลัยอาวรณ์ไง สัคคาวรณ์ มัคคาวรณ์ สัคคาวรณ์ มันกั้นมรรคผลของเรา นี้เราต้องปฏิบัติทำให้เป็นมรรค ศรัทธาเป็นศรัทธา อย่าเป็นสัคคาวรณ์ สัค อาลัยอาวรณ์ไง คือไม่จริงจังในมรรค ถ้าเป็นมรรคแท้ ๆเนี่ยเป็นมรรคเห็นไหม ศรัทธาต่าง ๆ วิริยะ อุตสาหะ มันเป็นเหมือนธรรมะที่เขาว่าเป็นธรรมชาติ แต่เพราะมันมีกิเลสเข้าไปมันเลยเป็น มัคคาวรณ์ สัคคาวรณ์ มัคคาวรณ์ สัคคาวรณ์ คือทำให้เราลังเลสงสัย ทำให้เราไม่มั่นคง ไม่จริงจัง ฉะนั้นเราต้องพยายามทำใจเราให้เป็นกลาง ธรรมะก็คือมรรค ผิดถูกช่างหัวมัน ผิดก็แก้ไข ถูกเราก็ดำเนินไป ถ้ามัคคาวรณ์นะ ลังเลไง กลัวพลาด กลัวผิด กลัวพลาด กลัว กลัวไปหมดไง ก็เลยเป็นมัคคาวรณ์ มันเป็นมัคคาวรณ์อยู่แล้ว พอเป็นมัคคาวรณ์เข้าไปแล้ว เรายิ่งไปลังเล ยิ่งไปสับสน มันก็เลยยิ่งทำให้ผิดพลาดมากเข้าไปใหญ่ มัคคาวรณ์ สัคคาวรณ์เนี่ย เราตัดใจของเรา ตัดความรู้สึกของเราว่าไม่ให้เป็นมัคคาวรณ์ สัคคาวรณ์ แล้วเราทำผิดไปก็คือผิด ก็คนไม่รู้

ดูวัวดูควายสิ โตขึ้นมาเขาต้องจับมันหัดไถนานะ พอมันไถนาเป็นนะ วัวเป็นงานราคามันสูงนะ วัวไม่เป็นงานราคามันต่ำนะ นี่ก็เหมือนกันเราทำผิดทำถูก เราก็วัวใหม่ เรากำลังฝึกงานอยู่มันก็ผิดเป็นธรรมดา นี่ผิดเป็นธรรมดา ทีนี้เราไปกลัวเข้า พอไปกลัวเข้าก็เลยเป็นมัคคาวรณ์ สัคคาวรณ์ไง มัคคาวรณ์ สัคคาวรณ์ คือเรากลัวผิด กลัวพลาด แล้วมันก็ผิดอยู่แล้ว มันธรรมดามันก็ผิด แล้วเรายิ่งกลัวผิดอีก ยิ่งทำไปก็ยิ่งผิดเข้าไปอีก ก็เลยมัคคาวรณ์ สัคคาวรณ์เลย สัคคาวรณ์ ไอ้ตัวเกร็งนั่นน่ะ ไอ้ตัวสงสัยนั่นน่ะ มัคคาวรณ์ สัคคาวรณ์ ถ้าสละตัวนี้ออกไปมันจะผิดไหม มันจะเป็นมรรคเลยเหรอ ก็ยังไม่ใช่ ไม่ใช่เพราะเราทำไป มันอาจผิดพลาดก็ได้ ถูกก็ได้ ถ้าผิดเราก็ดูมัน ถูกเราก็ดูมัน ผิดเราก็แก้ไข เนี่ยมัคคาวรณ์ สัคคาวรณ์ ก็เริ่มหายไป ๆ กลายเป็นมรรค มัคคาวรณ์ สัคคาวรณ์ เพราะมัคคาวรณ์ สัคคาวรณ์ เป็นเครื่องปิดกั้นมรรคผล คือทำให้เราลังเลสงสัย ให้เราไม่มั่นใจ ให้เราทำผิดพลาดตลอดไป

ถาม: คณะสงฆ์ในพุทธศาสนามีพิธีการสวดคว่ำบาตรและการสวดหงายบาตรจริงหรือไม่

หลวงพ่อ: มี แต่มันมีเนี่ยมันต้องมีเหตุมีผล มีที่มาที่ไป แล้วในมรรคผล ในธรรมวินัย มันต้องมีความซื่อสัตย์กัน เช่น เช่นคำว่า ทำสามีจิกรรมแล้ว ถ้าทำสามีจิกรรม ภิกษุไปเปิดไปคว่ำไปหงาย มันจะเป็นอาบัติปาจิตตีย์ คือธรรมวินัยเขาบัญญัติไว้แล้ว ถ้าสิ่งใดทำถูกต้องธรรมวินัยแล้ว ทุกคนจะไปแก้ไขมันต้องมีเหตุมีผลไง แต่นี้อย่างที่เขาทำกัน อย่างที่เราไปคว่ำบาตร ที่ครูบาอาจารย์เราคว่ำบาตร ๆ เพราะเหตุผลในการคว่ำบาตรวันนั้นประกาศว่า ประกาศว่ามันมีบุคคลฉกชิงตำแหน่งสังฆราชไปถวายพระองค์หนึ่ง ถือว่าสิ่งที่ฉกชิงมานั้นเป็นของทุจริต แล้วมีบุคคลมีพระระดับเถรสมาคมไปรับทรัพย์ไม่ควรได้ คือทรัพย์นั้นเป็นทุจริตแล้วไปรับ ก็เลยประกาศคว่ำบาตร มันมีเหตุมีผลไง

แล้วพอคว่ำบาตรไป ทางนั้นก็บอกว่า มันคว่ำบาตรไม่มีผลเพราะอะไร เพราะคว่ำบาตรหลัง ๆ ไม่ต่อหน้าต้องมีต่อหน้าต้องอะไร ผิด ไม่มีผล ๆ ไม่มีผลมึงหงายทำไม มึงจะมาหงายทำไม แล้วหงายก็หงายไม่ได้ ถ้าจะหงายใช่ไหม มันก็ต้องเอาตำแหน่งหน้าที่นั้นไปคืนเจ้าของเขาก่อน ชิงทรัพย์เขามาแล้วไม่เอาทรัพย์ไปคืน แล้วมันบอกว่ามันจะขออโหสิ มึงต้องเอาทรัพย์ไปคืนก่อน เราจะบอกว่าการคว่ำบาตรหงายบาตรมันมีเหตุมีผล แต่เมื่อเหตุผลมึงไม่มี มึงไปคว่ำไปหงาย มึงก็เหมือนช่างตีบาตร มันคว่ำมันหงายทั้งวัน เพราะมันขัด มันอ๊อกบาตรเห็นไหม มันตีบาตร มันก็คว่ำก็หงาย คือมันไม่มีผลไง ไปดูที่บ้านบาตรเห็นไหมมันตีบาตร มันตีทั้งวันเลย มันเดี๋ยวก็คว่ำเดี๋ยวก็หงายไง มันคว่ำมันหงายเพราะมันตีให้สวย คว่ำบาตร คำว่าคว่ำบาตรเป็นคำกิริยา แต่มันต้องมีเหตุมีผลรองรับด้วย

ในพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าเป็นพระพุทธเจ้านะ เป็นศาสดานะตรัสอะไรไม่มีเหตุไม่มีผล พระพุทธเจ้าไม่ตรัสนะ พระพุทธเจ้าทำอะไรถูกต้องหมดนะ แต่พวกเราเองอ่อนแอ พวกเราเองเห็นแต่ประโยชน์ จะไปทำกันอย่างนั้นไม่ถูกต้อง ไอ้ที่เขาทำกันไปมันสักแต่ว่าทำ มันประสาเรานะ พวกเรานะ พวกเราจะทำอะไรต้องมีเหตุมีผล บัณฑิตทำอะไรต้องมีเหตุมีผล ทำอะไรเพราะเราเคารพบูชาพระพุทธเจ้า มีเหตุมีผล ทำแล้วมันตอบสังคมได้ แล้วพอเขาบอกว่ามันไม่มีผลสุดท้ายเขาจะหงายขึ้นมา หงายขึ้นมาหงายเพราะเหตุใด ไม่มีอะไรเลย ไม่มีเหตุผลอะไรเลยแต่จะหงาย ไอ้นี่เป็นการเมืองไง เป็นการเมืองหมายถึงว่า เขาทำเพื่อความอุ่นใจของเขา คือเขาไม่เชื่อ เขาไม่เชื่อเรื่องเหตุเรื่องผลหรอก ถ้าคนเชื่อเรื่องเหตุเรื่องผลเขาไม่ทำชั่ว เขาไม่หน้าไหว้หลังหลอก เขาไม่ทำอะไรโดยพลการของเขา พระพุทธเจ้าบอกแล้วนะไม่มีที่ลับที่แจ้งนะ ทำที่ไหน หลวงตาพูดเห็นไหม เอาไฟจี้ที่นั่นมันก็ร้อน ไปจี้อยู่ในที่ลับมันก็ร้อน ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เอ็งทำอะไรเอ็งรู้หมดล่ะ ใครทำอะไรรู้หมด แต่จะมาคว่ำมาหงายก็คิดอยู่คนเดียวนี่ เหตุผลนึกว่าไม่มีใครรู้เหรอ...

ถาม: ๒. ถ้ามีจริงจะใช้ในกรณีใด

๓. วันที่ ๒๖ นี้จะมีคณะสงฆ์ทำพิธีหงายบาตร หรือตัดกรรม

หลวงพ่อ: นั่นของเขานะ ไอ้อย่างนี้นะ มันเป็นกรรม กรรมนี่มันเกิดแล้ว การแก้ไขมันก็เป็นสิ่งที่เขาเรียกว่าอริยวินัย ใครทำผิดแล้วแก้ไข สมัยพุทธเจ้าเราทำผิดนะ พระฉันนะ พระฉันนะถือตัวถือตนมาก พระฉันนะถือว่ามีพระพุทธเจ้าเพราะมีพระฉันนะ พระฉันนะเป็นคนออกบวชพร้อมพระพุทธเจ้า เป็นคนจูงม้าไง เป็นคนที่ออกมากับพระพุทธเจ้าน่ะ พอพระพุทธเจ้าออกบวช ออกมากับพระฉันนะ แล้วพระพุทธเจ้าให้พระฉันนะกลับ พระพุทธเจ้าออกบวชจนพระพุทธเจ้าเป็นพระพุทธเจ้า แล้วตอนหลังพระฉันนะออกมาบวชในพุทธศาสนา โอ้โฮ เก่ง ไม่เชื่อฟังใครเลย ถือทิฐิว่าพระพุทธเจ้าจะมีได้เพราะมีเรา ถือว่าตัวเองเป็นเจ้าของพระพุทธเจ้านะ ฮู๋ไม่ฟังใครเลยนะ มีปัญหาไปในสังคมสงฆ์มาก จนพระอานนท์ถามพระพุทธเจ้า ตอนพระพุทธเจ้าจะนิพพาน

พระอานนท์ถามหลายเรื่องนะ เรื่องผู้หญิง เรื่องอะไรต่าง ๆ ที่เข้ามาในศาสนา จะมีผู้หญิงเข้ามาในศาสนา พระพุทธเจ้าให้ทำอย่างไร พระพุทธเจ้าจะนิพพานไปแล้ว เมื่อก่อนมีพระพุทธเจ้าอยู่ มีอะไรก็ถามได้ พระพุทธเจ้านิพพานไปแล้วจะไม่มีใครถามไง ถามเรื่องผู้หญิงจะคบจะต้อนรับอย่างไร จะดูแลอย่างไร สุดท้ายแล้วถึงถามพระฉันนะ เพราะพระฉันนะมีปัญหามาก พระฉันนะมีปัญหามากเลย ขณะพระพุทธเจ้ายังอยู่เนี่ย ก็ยังถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นสมบัติของพระฉันนะเลย แล้วถ้าพระพุทธเจ้านิพพานไปแล้ว พระฉันนะจะทำอย่างไร พระพุทธเจ้าบอกว่าให้ลงพรหมทัณฑ์ ยกออกจากหมู่ คือไม่ให้พระพูดด้วย เพราะถือว่ามีอำนาจเหนือพระ ไม่ให้พระพูดด้วย

นี่พอพระพุทธเจ้านิพพานเสร็จแล้ว พอทำสังคายนาทุกอย่าง ทำอะไรเสร็จแล้ว พระอานนท์ก็รับปากพระพุทธเจ้าไปแล้ว ก็ต้องมาจัดการเรื่องพระฉันนะไง พอพระฉันนะมาถึงที่ สงฆ์ต้องสวดต่อหน้าสงฆ์ ทำอะไรก็ต้องทำต่อหน้า เพราะทำคนเดียวไม่ได้ มันไม่เป็นสังฆะ มันสวดญัตติจตุตถกรรมไม่ได้ พอมีสงฆ์ขึ้นมา สงฆ์ก็สวดเลยสวดบอกว่า ให้ลงพรหมทัณฑ์ว่าพระฉันนะไม่เชื่อฟัง เป็นภิกษุที่ว่ายาก สอนยาก ภิกษุกล่าวตักเตือนไม่ได้ ให้ยกจากหมู่

คือว่าห้ามพระทั้งหมดคุยกับพระฉันนะ พระฉันนะช็อกเลยนะ สลบเลย เพราะสมัยนั้นเขาถือมาก สมัยโบราณนี่เขาถือเรื่องความจริงมาก เขาไม่พูดปดกัน ใครประจานเนี่ย เขาช็อกเลยนะ สลบเลย พอสลบเลยนี่เสียใจมาก พอเสียใจมากก็เข้าป่าไปเลย เพราะบอกว่าให้พระฉันนะเนี่ย เพราะว่าเขาลงพรหมฑัณฑ์ ลงพรหมฑัณฑ์เสร็จแล้วยกออกจากหมู่ ไม่ให้พระฉันนะเข้าหมู่ ถ้าพระฉันนะจะเข้าหมู่ได้ พระฉันนะต้องลดทิฐิอันนี้ ต้องแก้ไขจิตใจของตัวเองก่อน ถ้าแก้ไขจิตใจของตัวเองได้ ขอขมากับสงฆ์แล้วสงฆ์ยกเข้าหมู่ ถึงจะยกได้ มันก็เท่ากับอาบัติสังฆาทิเสส

พระฉันนะอายไม่กล้าทำ หนีเข้าป่าไปเลย พอหนีเข้าป่าก็เลยไปภาวนา ไปภาวนาใหญ่เลย เพราะตัวเองก็มีวาสนา เพราะออกบวชเป็นคนรับใช้เป็นมหาดเล็กของพระพุทธเจ้า มีบุญมากเพราะอุปัฏฐากพระพุทธเจ้ามาเยอะ ก็เลยพุทโธ ๆ ๆ จนปิ๊งเป็นพระอรหันต์เลยนะ นี่ไง พอเป็นพระอรหันต์ปั๊บไม่มีทิฐิมานะนะ ใจมันอ่อนหมดนะ กลับมาหาพระอานนท์นะ มาขอพระอานนท์บอกว่าจะขอขมาสงฆ์ ขอขมาสงฆ์เพราะเห็นผิดเห็นถูก พอใจมันถูกแล้วนะ มันเห็นผิดเห็นถูกเองเลย แล้วกลับมาขอขมาคณะสงฆ์ พระอานนท์บอกขอขมาอะไร เพราะจิตใจพระอรหันต์มันพ้นจากเวรจากกรรมทั้งหมดไง ไม่ต้องขอขมา จบ เป็นพระอรหันต์ไปแล้ว พอเป็นพระอรหันต์ไปแล้วนะ พระฉันนะก็ไม่เป็นปัญหากับสงฆ์อีกเลย แต่ก่อนหน้านะ พระฉันนะเนี่ยขวางเขาไปหมดเลย เพราะศาสนามีพระพุทธเจ้าเพราะมีเรา ไม่มีเราพระพุทธเจ้าเกิดไม่ได้ พระพุทธเจ้าเป็นของเรา พระฉันนะเนี่ย

ถาม: นี่พอบอกว่าคณะสงฆ์มีกิจกรณีใดบ้างที่ทำอย่างนี้

หลวงพ่อ: แล้วทำอย่างนี้นะเรื่องของศาสนามันกว้างขวางมาก สังคมมันใหญ่มาก แล้วคนมันแบบ ดูสิ ดูอย่างพระโพธิสัตว์ต่าง ๆ ก็มาสร้างบุญกุศลในศาสนาเรานี่แหละ มันคนมีบุญก็มาเกิดเยอะ คนมีอคติมีกรรมก็มาเนี่ย ที่เราปวดหัวอยู่นี่ก็เพราะอย่างนี้ พวกนี้นะต้องมีอำนาจวาสนามาพอสมควรนะ ถ้าไม่มีอำนาจวาสนามา จะไม่มีคนไปเชื่อฟังเขามากมายขนาดนี้ คนที่ชักนำคนได้มากขนาดนี้ เขาต้องมีอะไรดีของเขาเหมือนกัน ถ้าเขาไม่มีอะไรดีของเขา ไอ้สอนดูจิตเนี่ยไม่ใช่เฉพาะนี่หรอก สอนดูจิตสอนเกือบทั่วประเทศไทยนะ พระสอนดูจิตนี่เยอะมาก แต่ไม่มีใครดังระเบิดเหมือนองค์นี้ แปลกอยู่ ไอ้สอนดูจิตไม่ใช่มีองค์เดียวนะ แล้วจะมีองค์ที่ ๓ ที่ ๔ มาเรื่อย ๆ ถึงคราวหนึ่งมันจะมีอย่างนี้ มันจะมีแชร์ แชร์ธรรมะ รอบหนึ่ง ๆ เรื่อย ๆ เลย แล้วแชร์ธรรมะอย่างนี้มันมีมาหลายรอบแล้ว แล้วก็แชร์แตกไปแล้วหลายรอบ แชร์แตกทีนึงชาวพุทธก็เสียใจกันรอบนึง แล้วก็จะไม่ให้มีอย่างนี้ เข็ดแล้ว ๆ พอมีรอบใหม่มาลงแชร์กันหมดเลย ไม่มีใครเข็ดสักคนเลย พอถึงเวลาแล้วนะ คอตกอีกแล้ว

ไอ้การคว่ำบาตรหงายบาตรเนี่ยมันมีกรณีของมัน มันต้องมีเหตุมีผล สัจธรรม สามีจิกรรม ทำกรรมที่ถูกต้อง มันต้องมีเหตุมา ผิดอะไร ทำอย่างไร สมควรลงโทษอย่างนี้ ๆ ไหม วินัยเหมือนกฎหมาย เด็ดขาดไม่มีช่องโหว่ ธรรมะเหมือนรัฐศาสตร์ ธรรมและวินัย วินัยนี้บังคับตายตัว เพียงแต่เราซื่อสัตย์ไม่ซื่อสัตย์ เราธุดงค์ไปเราเจอนะบางวัดน่ะ ภิกษุทำผิด พระที่เห็นถูกเขาก็ลงพรหมทัณฑ์ ไอ้ภิกษุที่ลงพรหมทัณฑ์ก็มีพรรคพวกใช่ไหม เขาก็เอา ๔-๕ องค์มาสวดหงายเหมือนกัน เราเห็นมาแล้ว มันเลยกลายเป็นการเล่นลิเก คือตัวเองไม่สำนึก ไม่สำนึกว่าอะไรถูกว่าผิด เขามีสิทธิ์ลงพรหมทัณฑ์ เขามีสิทธิ์ พระลงพรหมทัณฑ์กันแล้ว บางที่เห็นไหม

มันมีสมัยหนึ่งนะ เนี่ยหลวงปู่ฝั้น ท่านมาอยู่ที่วัดศรัทธารวม จอมพลผิน คณะราษฎร์เนี่ย ๒๔๗๕ พอเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ก็อยากจะให้ธรรมยุต มหานิกายรวมกัน ก็ไปปรึกษากับหลวงปู่ฝั้น เพราะตอนนั้นจอมพลผินนี้เป็นลูกศิษย์หลวงปู่ฝั้น เอาปืนใหญ่ไปตั้งไว้หน้าวัดศรัทธารวมเลย ถ้าธรรมยุตมหานิกายไม่รวมกันจะเอาปืนใหญ่ยิงวัดทิ้งเลย หลวงปู่ฝั้นเรียกเจ้าคุณ เมื่อก่อนเป็นเจ้าคุณ เจ้าคุณ ๆ เข้ามา นี่เราฟังมาจากลูกศิษย์หลวงปู่ฝั้น เขาเล่าให้ฟังสืบต่อมา เจ้าคุณ ๆ เข้ามา มาคุยกัน เจ้าคุณเป็นแม่ทัพภาค ๒ ตอนนั้นเป็นแม่ทัพภาค ๒ จอมพลโทผิน ชุณหวัน เจ้าคุณ เจ้าคุณเอาทหารมาเป็นทหารเกณฑ์ หรือเอาทหารมาใช้ในราชการเนี่ย เจ้าคุณต้องการทหารประเภทใดบ้าง ต้องการทหารที่แข็งแรง ต้องการทหารที่มีอุดมการณ์ ต้องการทหารที่ดีทั้งหมดเลย

หลวงปู่ฝั้นก็บอกในพระก็เหมือนกัน พระจะมาบวชให้ถูกต้องตามธรรมวินัยเหมือนกันทุก ๆอย่างนี่แหละ ฉะนั้นเวลาพระมาธรรมวินัยนี่ พระหลากหลายขึ้นมาอุดมการณ์มันแตกต่างกันจะให้มันรวมกัน มันรวมกันไปแล้วเนี่ยเห็นไหม เราจะบอกว่าถ้ารวมกันนะ ธรรมยุตมหานิกายมารวมกันน่ะ มันจะเกิดนิกายที่ ๓ หลวงปู่ฝั้นท่านพูดทำนองนั้น ทำนองว่าถ้าเรามารวมกันใช่ไหม มันก็มีธรรมยุต มหานิกายมารวมกัน ไอ้ที่เป็นธรรมยุตอยู่เขาก็มารวมเขาถือว่าเขาเป็นธรรมยุตอยู่ ไอ้มหานิกายเขาก็ถือว่าเขาเป็นมหานิกายอยู่ ไอ้ที่มันรวมกันแล้ว มันรวมกันอยู่แล้ว มันเป็นนิกายครึ่งลูกเนี่ย มันก็จะเป็นอีกนิกายหนึ่ง พอพูดอย่างนี้ปั๊บ คนที่เป็นธรรมนะท่านจะพูดมาเพื่อประโยชน์สังคมกับศาสนา จอมพลผินเห็นด้วย ทีแรกจะให้รวมกันเพราะคณะราษฎร์มีอำนาจมากตอนนั้นน่ะ พอจอมพลเห็นด้วย จอมพลผินก็เลยไปปรึกษากับคณะราษฎร์ คณะราษฎร์ก็เลยสร้างวัดพระศรีมหาธาตุขึ้นมา วัดศรีมหาธาตุที่บางเขนน่ะ แล้วบอกให้ธรรมยุตกับมหานิกายคัดพระมา ข้างละ ๕ องค์ เขามีชื่ออยู่ไปดูในประวัติได้ เขาให้คัดพระธรรมยุตกับมหานิกายมารวมกัน มันดูกันอยู่ที่ว่า ลองดูว่ามันจะสมานกันได้ไหม ก็เอาพระมหานิกายก็คัดพระมา เราไปดูรายชื่อหมดแล้ว มีมหาโน่น ๙ ประโยค ๗ ประโยค ๑๐ ประโยค สักประมาณ ๗-๘ องค์ ธรรมยุตก็คัดมา ๗ ๘ องค์ มาอยู่ร่วมกัน

พออยู่รวมกันอยู่ ๆไปนะ มหานิกายอยู่ไม่ไหว เพราะว่าพออยู่ด้วยกันแล้ว ธรรมยุต โอวัลตินก็กินไม่ได้ เงินก็หยิบไม่ได้ ทุกอย่างทำไม่ได้ มหานิกายเขาเคยของเขา พอมาเข้าไปก็หาว่าธรรมยุตแอ็คชั่น อะไรก็ไม่ได้ ๆ ไอ้คนที่ไม่ทำเขาก็อยู่ของเขาได้ใช่ไหม ไอ้คนที่เข้ามาแล้วมันทำไม่ได้ ออกไปทีละองค์ ๆ ไง สุดท้ายเลยกลายเป็นวัดธรรมยุตน่ะ วัดพระศรีมหาธาตุเนี่ย มันเป็นการคณะราษฎร์เขาทดสอบ เอาพระธรรมยุตกับพระมหานิกาย คัดแต่ตัวที่ว่าเข้มแข็ง ตัวที่มีความรู้มาอยู่ร่วมกัน มาเพื่อจะสมาน มาลองดูไง เป็นกรณีตัวอย่าง เคสศึกษา เสร็จแล้วก็เลยกลายว่าธรรมยุตเดี๋ยวนี้

นี่พูดถึงคณะสงฆ์ ในกรณีของคณะสงฆ์ มีคนคิดดี ๆ เยอะมากเลย แต่มันเพราะศาสนาของเรามันอุดมคติของคน อะไรของคนมันหลากหลายมาก แล้วเวลาเขาพูดไป มันไม่มีใครพูดอย่างเราหรอก เพราะอะไรเพราะพวกนี้ไม่รื้อค้น ไม่หาข้อเท็จจริง เวลาพูด พูดด้วยอารมณ์ พูดด้วยความรู้สึกว่า เอ็งไม่ดี ข้าไม่ดี เอ็งไม่ดีไม่ดีเพราะอะไร ข้าดีดีเพราะอะไร เอ็งผิดผิดอะไร เอ็งถูกถูกอะไร เราเอาข้อเท็จจริงมาพูดกันสิ เราไม่ได้พูดเพื่อดูถูกเหยียดหยามใครทั้งสิ้นนะ เราเข้าใจเรื่องศาสนา เข้าใจเรื่องอุดมคติ เข้าใจเรื่องความคิด เข้าใจเรื่องอำนาจวาสนาของคน ฉะนั้นย้อนกลับมาเรื่องการปฏิบัติ แล้วการปฏิบัติเนี่ยคนมันอย่างนี้ แล้วคนมาปฏิบัติเนี่ย เป็นธรรมชาติเป็นธรรมดานะ ไอ้คนที่พออยู่ได้มันก็อยู่ได้นะ ไอ้คนที่มันต่ำต้อยอยู่แล้ว จิตใจมันเรรวนอยู่แล้วนะ พอธรรมะธรรมดานะ มันเล่นกลายเป็นไส้เดือนเลย มันลงดินไปเลยนะ ไปกินดินเฉยเลย ธรรมะเป็นธรรมดา โอ๋ กินดิน ขี้อยู่ในดิน สบายไปเลย นี่ไง

ไอ้ที่เราพูด ๆ อยู่เนี่ย เรามองกว้างนะ แล้วก็บอกว่าอลัชชี กูก็ยอมเป็นอลัชชีของพวกมึงนะ แต่กูไม่ได้เป็นของกูก็แล้วกันนะมึง กูรู้ตัวกูดีนะ กูทำอะไรกูรู้ตัวดี แต่เราพูดของเราน่ะ นี่พูดถึงการคว่ำบาตร หงายบาตร เนี่ยฟังแล้วมันก็ ไหนเมื่อก่อนบอกแล้วไม่มีผลไง ธรรมยุตทำอะไรกันลับหลัง ธรรมยุติทำกันไปเองไง แล้วเดี๋ยวนี้ตำแหน่งยังไม่คืนเลยจะมาหงายบาตร มึงจะหงายบาตร มึงเอาตำแหน่งมาคืนสังฆราชกูก่อนสิ สมเด็จญาณฯยังบริหารงานได้นะโว้ย ถ้าจะหงายบาตรก็เอาตำแหน่งมาคืนสังฆราชก่อน (หัวเราะ)แล้วค่อยไปหงาย ไอ้นี่ตำแหน่งไม่คืนมันจะหงาย ปล้นเขาไปแล้วไม่คืนทรัพย์นะ มันบอกไม่ต้องลงโทษ มันเรื่องของเขานะ นี่มันอยู่ที่มุมมอง ถ้าพูดอย่างนี้ไปก็บอกว่าแหม อาฆาตมาดร้าย ไม่มีวันจบ ไม่ใช่ ถูกต้องชอบธรรม อะไรถูกอะไรผิด ผิดก็คือผิด ถูกก็คือถูก ผิดจะเป็นถูก ถูกจะเป็นผิด มันเป็นไปไม่ได้หรอก

นี่คณะสงฆ์ไง ธรรมวินัยมันเป็นอย่างนั้น นี่พูดถึงธรรมชาติด้วย พูดถึงธรรมะธรรมชาติ ยังค้านอยู่นะ แล้วเวลาเขาพูดเขาก็ยกพระไตรปิฎกมา แต่ละจุดมันอยู่ที่ตีความ แล้วเขาก็ตีความของเขาไปอย่างนั้น ธรรมะเป็นธรรมดา ธรรมะเป็นธรรมชาติ ใช่ ธรรมะเป็นธรรมดา ๆ เนี่ย ธรรมดาของพวกเราทั้งนั้น แต่เวลาปฏิบัติไปแล้ว ไอ้ธรรมะเหนือธรรมชาติเนี่ยเขาไม่มาพูดกันหรอก อย่างที่ว่าถ้าพูดกันแล้วก็ต้องเลือก เขาบอกว่าต้องเลือกคนมาใช่ไหม ไม่ต้องเลือก ทุกคนเป็นไปเองอยู่ที่อำนาจวาสนาของคน ภิกษุบวชเมื่อแก่ ภิกษุบวชเมื่อเฒ่า เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่ายหายาก แต่ภิกษุลูกศิษย์พระสารีบุตรแบบบวชเมื่อเฒ่า เป็นพระอรหันต์โดยว่าง่ายสอนง่ายก็มี พระพุทธเจ้าถามเอง นี่ก็เหมือนกันถ้าคนเข้าไปถึงตรงนั้นแล้วนี่ คือว่าคนจะบรรลุธรรม ถึงที่สุดแล้วที่ธรรมะเหนือธรรมชาติได้ มันมีส่วนน้อยมาก เพียงแต่ว่ามันมีจริง มันมีเป้าหมายจริง ที่เราจะเข้าสู่เป้าหมายนั้น

แต่ธรรมะถ้าเป็นธรรมชาติเนี่ย มันเป็นสิ่งที่เราสื่อสารกันกับคนที่ไม่รู้ สื่อสารกับเด็ก ๆ มันเข้าใจได้ ฉะนั้นคำว่าธรรมะธรรมชาติเราก็ไม่ค้าน ถ้าสื่อสารให้เราเข้าใจเรื่องธรรมะ เราไม่ค้านหรอก แต่ถ้าบอกธรรมะเป็นธรรมชาติเป็นผล เราค้านเพราะมันไม่จริง แต่ถ้าธรรมะเป็นธรรมชาติเพื่อสื่อสารกัน เพื่อให้เราศึกษาธรรมกัน เพื่อให้เราค้นคว้ากัน เพื่อจะให้เราเข้าสู่ธรรมะ เราเห็นด้วย เราเห็นด้วยกับธรรมะเป็นธรรมชาติ สำหรับพวกเราที่ยังค้นคว้าอยู่ เพื่อศึกษาอยู่ เพื่อทำความเข้าใจกับมันเนี่ยเราเห็นด้วย แต่ถ้าบอกเข้าไปถึงธรรมะแล้ว ธรรมะเป็นธรรมชาติเราไม่เห็นด้วย เราค้านหัวชนฝา เพราะธรรมะนี้มันเหนือธรรมชาติ มันพ้นไปจากธรรมชาติ เอวัง