เทศน์เช้า

เทศน์เช้า

๓ ก.ย. ๒๕๔๗

 

เทศน์เช้า วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๔๗
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เวลามา ว่าจะมาปฏิบัติธรรมกัน เวลาว่ามาปฏิบัติธรรม ทุกคนก็ว่าจะปฏิบัติธรรมใช่ไหม ถ้าปฏิบัติมันต้องย้อนกลับ เวลาเทศน์เรื่องธรรมะ ว่าจิตแก้จิต ต้องเอาจิตแก้จิตนะ จิตเรามันมีความทุกข์ แต่เวลาจิตเรามีความทุกข์ มันก็ไปบังตัวมันเอง แล้วไปดูสิ่งแวดล้อม ไปดูสิ่งกระทบ ทุกคนจะพูดเลยว่าสิ่งแวดล้อม คือว่ารอบข้างเรามีปัญหาไปหมดเลย แล้วตัวเองไม่มีปัญหา ถ้าตัวเองไม่มีปัญหา ตัวเองมันก็จะเป็นปัญหา เห็นไหม ถึงบอกว่า เวลาจะโค่นไม้ไผ่ต้องใช้มีดจากด้ามไม้ไผ่โค่นไม้ไผ่นั้น ต้องเอาอาการของจิตนั้นสงบเข้ามาก่อน แล้วอาการของจิตนั้นค่อยพิจารณาเข้ามาทำลายตัวจิต

แต่ในปัจจุบันนี้ อาการแบบนี้ก็เหมือนกัน อย่างเช่นกรณีหนังสืออย่างนี้ เอาจากทีมทำงานของมูลนิธิหลวงปู่มั่นเลย แล้วผู้ที่เรี่ยไร ผู้ที่ออกเงิน ผู้ที่สละก็เป็นลูกศิษย์สายพระกรรมฐานทั้งหมดเลย แล้วก็ทำลาย ทำลายตัวต้นขั้ว ต้นเค้าเงาเลย สิ่งนี้ถ้ามันไม่มีปัญญานะ เราคิดถึงว่าคนที่ทำเขาก็คิดถึงบุญกุศลนะ ว่าสิ่งนี้เป็นบุญกุศล สิ่งนี้ได้สละทาน สิ่งที่สละทาน แต่ปัญญาของเขาไม่ถึง ถ้าปัญญาของเขาไม่ถึง เขาดูไปแล้วมันก็ไม่เป็นปัญหา แต่เวลาถ้าถึงที่สุดแล้วมันพลิกกลับมา มันเป็นปัญหา

อันนี้ก็เหมือนกัน เหมือนกับว่าเราจะแก้ใจของเรา อาการของใจ สิ่งรอบข้างเป็นอาการของใจทั้งหมดเลย แล้วเราไปติดอาการของใจๆ เราไม่สามารถทำลายกิเลสได้เลย ถ้าเราสามารถทำลายกิเลสได้ สิ่งแวดล้อมจะไม่มีปัญหานะ สิ่งแวดล้อม สิ่งที่กระทบ เวลามันกระทบไปมันจะเป็น

ทางทฤษฎีเขาบอกว่า ใครชี้จุดบกพร่องของเรา คนนั้นชี้ขุมทรัพย์ให้เรา แต่เวลามันชี้จุดบกพร่องให้เรา ใครชี้ขุมทรัพย์ให้เราล่ะ เราจะไม่ยอมรับสิ่งนี้เลย เราไม่เห็นว่ามันเป็นการชี้ขุมทรัพย์ เห็นไหม อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เพราะเวลาถ้าตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ตนมีความกระทบกระเทือนใจ มันจะยอมรับ แบบว่าเราเห็นสภาวะของเรา

แต่ถ้าคนชี้นำ คนชี้ให้ มันไม่ยอมรับคนชี้ให้ ถ้าไม่ยอมรับคนชี้ให้ มันก็เป็นการโต้แย้ง แล้วเก็บงำไว้ ความผูกอาฆาตไว้ในหัวใจ ความผูกอาฆาตเก็บไว้ในใจ แล้วก็ไปทำลายเขาๆ

สิ่งนี้ อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ในเมื่อหัวใจมันไม่สามารถชำระหัวใจของมันได้ ในเมื่อหัวใจมันมีสิ่งที่หมักหมมอยู่ แต่อาการแสดงออกว่าเป็นธรรมๆ ทั้งหมดเลย อาการแสดงออกว่าเป็นธรรม แต่ที่สุดแล้วมันก็เป็นการทำลาย เพราะมันไม่เป็นธรรม เพราะมันเป็นสิ่งที่อาฆาตมาดร้าย สิ่งที่ว่าทำลายกัน มันจะทำลายคนอื่น ทั้งๆ ที่มันไม่ทำลายกิเลสเลย

กิเลสมันเบียดเบียนตนก่อน เวลามันสละ มันเกิดขึ้นมา มันเบียดเบียนตัวมันเอง แล้วมันไม่รู้ว่ามันเบียดเบียนตัวมันเองนะ แล้วมันทำลายคนอื่นไปๆ แล้วว่าสิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งนี้เป็นธรรม...ไม่ใช่สิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งที่เป็นธรรมต้องชำระกิเลส สิ่งที่ชำระต้องฆ่า ฆ่ากิเลสเท่านั้น ไม่ใช่ให้ฆ่าคนอื่น ไม่ใช่กระทบสิ่งข้างนอก ไม่ใช่กระทบใครทั้งสิ้น

สิ่งที่กระทบเขา การกระทบกัน เห็นไหม เวลาอยู่กับหลวงตา ท่านบอกว่า ถ้ามีการทะเลาะเบาะแว้งนี่ออกทั้งคู่ ออกทั้งคู่ เพราว่าอะไร คนผิดก็ผิด คนถูกก็ผิด คนถูกก็ผิด เพราะคนถูก ถ้าคนถูกมันยอมรับรู้ คนถูกจะไม่มีการโต้แย้ง คนผิดพูด พูดไป ตบมือข้างเดียวดังไม่ได้ แต่ถ้าตบมือสองข้าง เห็นไหม เหมือนกับเวลาที่ว่าธรรมะบอกว่า เวลาคนเขาโกรธเรา เขาบริภาษเรา เขาเอ็ดเรา เขาว่าเรา นี่เขาโดนกิเลสครอบงำแล้ว แล้วเวลาเขาพูดเรา เขาว่าเรา กระทบกระเทือนเรา ถ้าเรามีสติ เราก็ยับยั้งของเรา เราดูธรรมมันจะเกิด สภาวะในหัวใจมันจะไหวหมดเลย เพราะอะไร เพราะโดนกระทบ โลกธรรม ๘ เกิดแล้ว แรงลมเกิดแล้ว พายุเกิดแล้ว ถ้ามันมีสภาวะแบบนั้น ใจเราไหว ถ้าเราจับได้ นี่เราเป็นนักปฏิบัติธรรม

แต่ถ้าเรากระทบเมื่อไหร่ เราย้อนกลับเมื่อไหร่ นั่นน่ะเราโง่กว่าเขา เพราะอะไร เพราะเขาโดนพายุอารมณ์ครอบคลุมใจของเขาแล้ว แล้วเขามีปัญหากับเรา แต่เรานี่เป็นผู้ปฏิบัติธรรม แต่เราก็ไม่เห็นว่าสิ่งนี้กระทบเรา ถ้าเห็นสภาวะแบบนั้น เราจะน่าสลดสังเวช เวลาคนไม่โกรธ ไม่มีการแสดงกิริยาออกสิ่งใดเลย เวลาคนโกรธมันแสดงออกกิริยาขนาดไหน ถ้าเรามีสติของเรา เรายับยั้งไป มันไม่มีการกระทบข้างหนึ่ง มันตบมือข้างเดียว มันจะเสียงดังไปไม่ได้

แต่ถ้าเกิดเราหลุด เรามีปัญหาไป ถึงบอกว่าถ้ามีปัญหาแล้วผิดทั้งคู่ ถูกก็ผิด ผิดก็ผิด แต่ถ้าไม่มีปัญหา คนที่ถูกคือว่าคนที่ยับยั้งได้ คนนั้นถูก ถูกก็ถูก คือไม่ผิด อันนี้ถูก แต่เรายับยั้งไม่ได้ เราแสดงออกไป

ถึงว่า ในธรรมะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดไว้ในพระไตรปิฎกแล้วว่า โง่กว่าเขา โง่กว่าเขาเพราะอะไร เพราะเรามีสติอยู่ทีแรก เวลากระทบมาทีแรกเรามีสติอยู่ แต่ทำไมเราหลุดออกไปล่ะ เราหลุดออกไปนี่เราโง่กว่าเขา แล้วไหนว่าเราปฏิบัติธรรมไง ถ้าเราปฏิบัติธรรม เราต้องมีสติสัมปชัญญะอย่างนี้ อย่างนี้ถึงเป็นการปฏิบัติธรรม อย่างนี้ถึงว่าเป็น อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนได้ ถ้าตนเป็นที่พึ่งแห่งตนไม่ได้ ตนหลุด หลุดออกไป ไปมีปัญหากับเขา สิ่งนี้มันไม่ใช่เป็นที่พึ่งแห่งตนแล้ว เพราะมันเบียดแล้ว เพราะเราหลุด พอหลุดมันต้องมีอาการขับเคลื่อนของใจ อาการขับเคลื่อนของใจมันเบียดเบียนตนแล้ว เห็นไหม ถ้ามันเบียดเบียนตนเมื่อไหร่ มันจะเบียดเบียนคนอื่นตลอด เบียดเบียนคนอื่นตลอด

แต่ถ้าเราทำลายตน ถึงว่าจะโค่นก่อไผ่ต้องใช้ไม้ไผ่นั้น

นี่ก็เหมือนกัน โลกียธรรม สิ่งที่เป็นโลกียธรรมมันเป็นโลกียะ มันเป็นปัญญาโลก มันเป็นโลกียะ เราก็ต้องสร้างสภาวะสิ่งนี้ขึ้นมา สิ่งที่เป็นโลกียะสร้างขึ้นมาเพื่อทำปัญญาอบรมสมาธิขึ้นมา มันก็ทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าความสงบของใจเข้ามา มันจะเข้าไปที่โคนต้นไผ่นั้น มันจะโค่นที่โคนต้นไผ่นั้น ถ้าโลกียะนี้ไม่สามารถทำปัญญาให้สงบเข้ามา ไม่สามารถกำหนดพุทโธเข้ามา สมาธิเกิดขึ้นมาไม่ได้ มันจะไปขุดที่เงาไม้ไผ่

เวลาไม้ไผ่มันโดนแดด มันทอดเงาไปที่ไหน เราคิดว่าเงาไม้ไผ่นั้นเป็นต้นไผ่นะ เราก็ไปขุดที่เงาไม้ไผ่นั้น เราจะไปฟันดินตรงนั้น เราจะไปทำลายตรงนั้น ทำลายอาการของใจ นี้เป็นโลกียธรรม ปัญญาอย่างนั้นมันจะเกิดปัญญาอย่างนั้น ปัญญาที่ว่าเป็นโลก ปรัชญาต่างๆ ตรรกะต่างๆ มันจะเห็นแต่เงาของไม้ไผ่ ไม่เคยเห็นต้นไผ่ ถึงต้องพยายามทำความสงบ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ นี้คือเป็นโลกียะ ด้ามไม้ไผ่มันจะเกิดตรงนี้ไง ถ้าด้ามไม้ไผ่ที่เป็นด้ามมีดนั้น ถ้าไม่มีความสงบเข้ามา มันจะไม่เห็นโคนต้นไผ่นั้น มันจะสับ มันจะขุดแต่ดินแต่เงาของต้นไผ่นั้น แล้วว่าอันนั้นเป็นการปฏิบัติธรรมๆ ปฏิบัติธรรมเดี๋ยวนี้เป็นอย่างนี้ทั้งหมดนะ ที่ว่าชำระอาการของใจ เงา เห็นไหม พอแดดมันเคลื่อน เงามันก็เคลื่อน พอเงามันเคลื่อน เราดูสภาวธรรม ดูเรื่องสภาวธรรมในหัวใจของเรา พอดูสภาวธรรม มันก็ดับได้ เพราะเงามันเคลื่อนได้

อาการเกิดดับ อาการของเงาไม่ใช่ต้นไผ่ อาการของเงาของต้นไผ่ นี่ก็เหมือนกัน อาการของใจมันเกิดดับ พอมันเรามีสติสัมปชัญญะทันมันก็ดับ พอดับมันก็ว่าง ว่างก็ว่าอันนี้เป็นการปฏิบัติธรรมๆ...องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปฏิเสธ! ปฏิเสธสภาวะแบบนี้ทั้งหมดเลย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกต้องมีภาวนามยปัญญา ต้องมีอริยสัจ ต้องมีความจริงของมัน

จิตนี้มันกำหนดได้ จิตนี้ ต้นไผ่มันจับได้ มันเดินเข้าไปชนต้นไผ่ หัวมันแตก เดินชนไผ่ มันถึงหงายหลังขึ้นมา นั่นมันเดินชนต้นไผ่ ก็มันเดินไปชนตอของจิตไง ถ้ามันเข้าไปที่จิต มันดูจิตเข้าไป มันจะเห็นตัวของจิต มันจะเห็นตัวอาการของกาย มันจะเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม มันเข้าไปเดินชน มันชนจนตรงๆ หน้า มันเห็นซึ่งๆ หน้า สิ่งที่เห็นซึ่งๆ หน้า วิปัสสนามันจะเกิดตรงนี้

แล้วบอกว่า “สิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้เกิดดับ ไม่มีแล้วๆ”...ไม่มีแล้วได้อย่างไร ก็เดินชนมันจนหงายหลังออกมาอย่างนี้ เดินชนมันอยู่ แต่ถ้าไม่เป็นสัมมาสมาธิ ไม่เป็นสัมมาทิฏฐิ ไม่มีความเห็นชอบ มันจะมองไม่เห็น สิ่งที่มองไม่เห็น ก็รื่นเริงกันว่าต้นไผ่ พระอาทิตย์มันเคลื่อนไป เงามันจะเปลี่ยนแปลงไป เงามันจะเคลื่อนที่ไป สภาวธรรมที่มันเกิดดับในหัวใจก็มีความสุข “อ้อ! นิพพาน ทุกข์เกิดขึ้น ทุกข์ตั้งอยู่ ทุกข์ดับไป ของง่ายๆ เท่านี้ ทำไมผู้ที่ประพฤติปฏิบัติทำไมต้องลงทุนลงแรง ทำไมต้องประพฤติปฏิบัติกันด้วยความอุตสาหะขนาดนั้น”

เพราะเขาไม่เคยชำระกิเลส เหมือนคนทำนานะ ถ้าคนทำนาปฏิเสธหรือรังเกียจดิน กลัวดินจะสกปรก กลัวดินจะเปรอะเปื้อนเรา มันเป็นไปไม่ได้หรอกที่เขาจะทำนาน่ะ คนจะทำนามันต้องลงไปในเนื้อนานั้น ต้องลุยในพื้นนานั้น ต้องไถคราด เขาต้องหว่านต้องไถของเขา เขาต้องลงไปลุยในนานั้น นี่ก็เหมือนกัน การประพฤติปฏิบัติจะชำระจิต จะแก้ไขกิเลส มันต้องลุยเข้าไปในกิเลสนั้น ลุยเข้าไปในจิตนั้น ลุยเข้าไปในจิตให้สงบ ให้เห็นกายนั้น เห็นกาย (เทปสิ้นสุดเพียงเท่านี้)