ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

หลงทาง

๒๓ ส.ค. ๒๕๕๒

 

หลงทาง
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เมื่อวานเขาเอาปัญหามาถามเนาะ ว่าจะไม่ตอบ แต่จะตอบนิดหน่อยเท่านั้นเอง แล้วเดี๋ยวเราจะพูดนั่นไป แล้วไอ้นี่ ไอ้ที่ว่าเป็นโสดาบันเป็นอะไร เดี๋ยวเราอธิบายได้

เขาว่าเป็นโสดาบันๆ.. เฮ้อ.. เดี๋ยวจะออกตัวตรงนี้ก่อน.. นี่ในเว็บไซต์เขามาบอก เขาเอามาให้อ่าน ว่านี่ไปคุยเรื่องดูจิต “หลวงพ่อสงบด่าแหลกเลย” มันไปลงในเว็บไซต์ แล้วใครพอไปเจอก็ “สงบด่าแหลกๆ” เลยไม่มีอะไรเหลือเลย

ความจริงไม่ได้ด่านะ ความจริงบางทีเราพูด เราพูดด้วยเหตุผลทุกทีเลยนะ เราพูดอะไรกับใคร มันจะมีเหตุผล เพราะเราเป็นคนปฏิบัติมาก่อน เราต้องการเหตุผลมาก เราไปหาครูบาอาจารย์องค์ไหนก็แล้วแต่ ถ้าครูบาอาจารย์องค์ไหนพูดเหตุผลกับเรา เราจะรักมากเลย เพราะเราเป็น ผู้ที่ปฏิบัติเป็นนักเหตุผล นักหาเหตุหาผล มันต้องมีเหตุผล “ธรรมสากัจฉา เอตัมมังคะละมุตตะมัง”

เวลาหลวงตาท่านเล่า พระที่ปฏิบัติอยู่ในป่าในเขาน่ะ จะออกมาเคารพบูชา จะออกมากราบหลวงปู่มั่นประจำ ถ้าวันไหนมีพระที่ออกมาจากในป่า พระในวัดจะคึกคักมากเลย เพราะจะได้ฟังธรรม ได้ฟังธรรมคือว่าผู้ที่ได้ปฏิบัติมาจะมีประสบการณ์ของจิต ใครไปอยู่ที่มุมไหนมา ใครไปอยู่ส่วนไหนมา มันจะไปรู้ไปเห็น อย่างเช่น หลวงตาพูดบ่อยว่าอาจารย์สิงห์ทองเป็นคนที่ไม่เชื่ออะไรเลย แล้วท่านไปเที่ยวป่ามา แล้วพอไปเจอ ไปนอนที่นั่นน่ะ มันมีพวกงูใหญ่พญานาคออกมาประจำ นี่บอกเลย กลับมาวัดมาพูดมาคุย มาบอกเลย บอกว่า “ใครไม่เชื่อไปลองดู ใครไปลองดู..” เพราะเขาก็ไม่เชื่อ อาจารย์สิงห์ทองเชื่อคนยาก

คนที่มีหลักเกณฑ์ คนที่มีอุดมการณ์ จะไม่ค่อยฟังอะไรง่ายๆ ต้องมีเหตุมีผล เหตุผลมีน้ำหนักพอ เราถึงจะเชื่อ ไม่ใช่ว่าเราจะเชื่ออะไรง่ายๆ กันไปหรอก

อันนี้คำพูดของเรา เวลาคำพูดของเรา เราจะพูดด้วยเหตุด้วยผลตลอด เพราะเราเองเราปฏิบัติมา เราก็หาเรื่องอย่างนี้มาตลอด ปฏิบัติไปเราก็หลงผิด เราหลงผิดในอารมณ์ความรู้สึกในความเห็นของเรา ในความสัมผัสของเรา ในจิตอวิชชาของเรา ไปศึกษาธรรมะพระพุทธเจ้า ไปอ่านธรรมะพระพุทธเจ้า ปฏิบัติไปน่ะ แล้วมันหลงผิด หลงผิดทุกคน!

อวิชชา คือความไม่รู้ ในเมื่อเรามีอวิชชาอยู่ในความไม่รู้ เราศึกษาธรรม เหมือนกับเราตรวจสอบแบงก์จริงแบงก์ปลอมกัน เอาแบงก์มาพิสูจน์ พวกทำงานธนาคารเขาจับทีเดียวเขารู้เลย แม้แต่เขาเห็นแบงก์ เขารู้แล้วว่าแบงก์อันนี้ แบงก์จริง-แบงก์ปลอม ไอ้เรานี่ส่องนะ เอาแว่นขยาย ส่องแล้วส่องอีกนะ เอ.. มันจริงมันปลอม มันไม่รู้ เพราะเราไม่มีความถนัด นี้ใจของเราก็เหมือนกัน เวลาไปปฏิบัติธรรมขึ้นมา ศึกษาธรรมะพระพุทธเจ้าก็เหมือนแบงก์ เอาแบงก์มาคลำ จริงหรือปลอมก็ยังไม่รู้เลย นี่ไง เพราะความไม่รู้อย่างนี้

อวิชชา คือความไม่รู้ พอความไม่รู้ มันมีความสงสัย มันก็อยากหาคนชี้นำ อยากหาคนตัดสิน แล้วไปที่ตัดสิน พอไปตัดสิน.. มันจะพูดซ้ำเมื่อวานนี่เนาะ เมื่อวานก็เวลาปฏิบัติไป เราออกหาครูบาอาจารย์ เราเอง เราก็สงสัยอยู่แล้ว ไปหาครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์ก็ตอบยิ่งให้สงสัยเข้าไปอีก เราสงสัยนะ เพื่อไปหาครูบาอาจารย์จะเคลียร์ให้เราให้หายสงสัย ยิ่งไปคุยธรรมะกับครูบาอาจารย์หรือไปถามปัญหา กลับสงสัยเข้าไปอีก “เอ.. เราก็สงสัยของเราอยู่แล้วนะ อาจารย์ตอบมาเลยก็เป็นสงสัย ๒ ชั้นเลย แล้วสงสัยเราก็สงสัย อาจารย์ก็สงสัย.. อันไหนถูกวะ? ” นี่มันยิ่งสงสัยเข้าไปใหญ่

เราถึงว่าเวลาเราพูด เราบอก “สงบด่าแหลกเลยๆ”.. ไม่ มันเป็นความมั่นใจของเรา เรามั่นใจว่าอะไรถูกต้อง แล้วเวลาพูดเข้าไป เพราะเราเคยสงสัยมาก่อน เราเคยต้องการให้คนยืนยันว่าอะไรจริงหรือเท็จก่อน ฉะนั้นเวลาเราพูด สังเกตว่านี่ยังพูดเบานะ แต่ก่อนเมื่อก่อนนะ ใครมาถามปัญหาเราหรือพูดปัญหากับเรา เราจะบอกเลยนะ เราพูดปัญหาธรรมะอย่างนี้ แล้วถ้าปฏิบัติอย่างนี้ไป ถ้าผิดนะ ให้ยิงทิ้งเลย เพราะอะไร เพราะเวลาเราอยู่กับครูบาอาจารย์ ท่านจะพูดอะไร มันต้องมีความมั่นใจ แล้วความมั่นใจ ความเป็นความจริง บอกถ้าผิดนะ กูให้ยิงทิ้งเลย

แต่เวลาหลวงตาพูด ท่านไม่พูดอย่างนั้น ท่านบอกว่า “ให้ปฏิบัติไป ถ้าไม่ถูก จะพาไปท้วงพระพุทธเจ้า” จะพาไปประท้วงพระพุทธเจ้าว่าพระพุทธเจ้าสอนผิด หลวงตาท่านเทศน์ประจำนะ “เอ้า.. เราสอน แล้วถ้าปฏิบัติไป หรือทำไปผิด เราจะพาไปประท้วงพระพุทธเจ้า” นี่มันให้ความมั่นใจ แล้วความมั่นใจ พอเวลามั่นใจปั๊บ เราพยายามจะทำให้ถึงจุดประเด็นนั้น ถ้าถึงประเด็นนั้นนะ ถ้าความมั่นใจของเรา แล้วเราจะมีความผิดพลาด

เด็กฝึกหัด คนฝึกหัด คนทำงาน ผิดทุกคน ไม่มีใครถูก.. เรายืนยันตลอด เพราะการเกิดของเรา เรามีอวิชชา ตั้งแต่เจ้าชายสิทธัตถะ เจ้าชายสิทธัตถะเป็นศาสดานะ สร้างบุญญาบารมีมาพร้อมนะ ปฏิบัติอยู่ ๖ ปี ผิดทั้งนั้นเลย! ผิดทั้งนั้นเลย! แต่พอมาลง ลงถูก.. ผลัวะ! สำเร็จพระอรหันต์เลย แล้วตั้งแต่นั้นมาก็สอนความจริงอันนี้

แต่พวกเราสอน.. ความจริงของพระพุทธเจ้า ความจริง แต่เราปฏิบัติยังไม่จริง ทีนี้พอความไม่จริง มันต้องจับผิดจับถูก.. มันต้องจับผิดจับถูก.. ถูกก็เป็นครู ผิดมันก็เป็นครูสอนเรา มันต้องสอนเราเข้าไปเรื่อยๆ แล้วเราพยายามมีจุดยืนของเราเรื่อยๆ แต่ปัจจุบันนี้มันคลาดเคลื่อนตรงนี้ไง

เมื่อวานมาถามว่า “ปฏิบัติไปมันว่าง มันวูบวาบอย่างนี้ ถูกไหมครับ? ถูกไหมครับ? ” ทุกคนจะสงสัย แค่ถามว่าวูบวาบๆ เดี๋ยวมันจะเข้าโสดาบันอันนี้ นี่วูบวาบอย่างนี้ เมื่อวานเขาก็มาวูบวาบอย่างนี้ บอกว่า “พอภาวนาไปแล้วมันวูบ มันว่าง มันหาย ถูกไหมครับ? ” เรายืนยันเลยบอกว่า “ถูก! ถูก! ถูกทาง ต้องปฏิบัติไปไง”

พอเราวูบวาบขึ้นมา เหมือนกับเราบอกว่าเรายืนอยู่บนต้นไม้ อยู่บนตึกสูง แล้วเราหล่นจากตึกสูงมา เราอยู่กลางอากาศ เราจะทำอย่างไร? เราไปค้างอยู่กลางอากาศต่องแต่งทำอย่างไร? จิตเวลามันวูบ มันหายไป มันเหมือนกับเราตกจากตึกสูง ถ้าเราตกจากตึกสูง ตกไปถึงกระทบพื้นเราก็ตายนะ แขนขาหักหมดอ่ะ ถ้ามันตกจากตึกสูง

ทีนี้พออาการตกจากตึกสูง อาการของจิตที่มันเปลี่ยนไป เราจะมีความไม่มั่นใจไหม? มันธรรมดา พอจิตมันมีการวูบวาบ จิตมีอาการเป็นไป พวกเราจะหวั่นไหวหมดเลย เหมือนกับเราตกจากตึกสูงมา แต่ยังไม่ถึงพื้นนะ แล้วเราจะทำอย่างไรกัน? ก็เคว้งคว้างใช่ไหม ทีนี้ตกจากตึกสูงมันไวนะ ตกมาผลัวะ มันก็ตกถึงดินเลย

แต่ทีนี้พออาการมันวูบไป จิต อาการของจิตมันมีอยู่ตลอดเวลา แล้วมันไม่มีวันจบไง มันวูบวาบๆๆๆ แล้วเขาถึงมาถามว่า “อย่างนี้ถูกไหม? ” รับประกันเลยว่า “ถูก” ถูกตรงไหน? ถูกตรงถ้าเรายืนบนตึก เราไม่ได้ตกจากตึกเลย เราจะไม่มีอาการอะไรเลย เพราะเรายืนมั่นคงอยู่บนตึกใช่ไหม เราขึ้นสูงขนาดไหน เราก็ยืน “โอ้.. วิวสวยเนาะ นู่นก็ดี นี่ก็ดี” ถ้าพลัดพรวดลงไปตกไป มันถึงมีอาการใช่ไหม ถ้ามันไม่ถูก มันไม่ถูกมันก็ต้องยืนอยู่บนยอดตึกนั้น แล้วพอมันยืนอยู่บนยอดตึกนั้น มันจะไม่มีอะไรเลย แต่ถ้าคนพลัดตกหล่นจากตึกนั้นลงมา มันจะตกใจทันที มันจะวูบทันที มันจะมีอาการของมันทันที.. ถูกตรงนี้ไง ถูกเพราะมึงตกจากตึกสูงลงมา

จิตปกติ จิตสามัญสำนึก มันเป็นปกติอย่างนี้ เหมือนกับยืนอยู่บนตึก ไม่มีอะไรหรอก “โอ้.. คราวหน้าเป็นอย่างนั้นเนาะ โอ้.. ว่างนะ นิพพานเป็นอย่างนั้นนะ” ยืนอยู่บนตึกสูงไง แล้วก็บอกว่า “นิพพานเป็นอย่างนั้นนะ โอ้.. นิพพานว่างหมดเลยนะ โอ้.. ธรรมะพระพุทธเจ้าให้ปล่อยวางนะ โอ้.. ปล่อยวางกันหมดแล้วนะ โอ้.. กิเลสไม่มีเลย.. ว่างหมดเลย” มันซุกกิเลสไว้ในหัวใจมันไง.. อันนั้นเราบอก “ผิด”

เราพูดอยู่คำหนึ่งประจำว่า “มันเป็นสามัญสำนึก” สามัญสำนึกคือว่าจิตปกติ จิตความรู้สึกธรรมดาเป็นสามัญสำนึก แต่เวลาจิตมันผิดจากปกติ โทษนะ.. ผิดจากปกติโดยธรรมนะ ไม่ใช่ผิดจากปกติไปอยู่โรงพยาบาลนะ.. ความผิดปกติ คือว่าความต่าง ความต่างของมัน พอจิตมันจะเป็นสมาธิ ความต่างของมัน มันจะลึกลง มันจะละเอียดลง

ของเราสบายๆ ไง เวลาปฏิบัติกัน “โอ้.. สบายๆ ว่าง สบายๆ” มันยืนอยู่บนตึกสูงนั้นน่ะ ลมพัดเย็นไง อยู่บนตึกสูง วิวก็สวยใช่ไหม ทุกอย่างดีไปหมดเลย เออ.. ปฏิบัติแล้วว่าง.. ว่าง..

จิตปกติ เราใช้คำว่าจิตสามัญสำนึก เราไม่ยอมรับว่าเป็นสมาธิ เราไม่ยอมรับว่ามันค้นหาตัวตนมันเจอ เพราะคนพูดอย่างนี้ คนจะไม่ได้อะไรเลย แล้วคนจะไม่มีความรู้สึกแตกต่าง ไม่รู้สึกถึงจับตัวตนเราได้เลย แต่ถ้าตกจากตึกสูง มันวูบลงไปน่ะ มันต้องช่วยตัวมันเองแล้ว มันต้องพยายามหาที่ยืนให้ได้ เพื่อไม่ให้เราตกไปแขนขาหัก มันจะทำช่วยตัวเองให้ได้

จิตนี่นะ พอพุทโธๆๆ หรือเรากลับมาใช้ปัญญาอบรมสมาธิเข้าไปน่ะ มันจะวูบ เราการันตีว่าถูกตรงนี้ไง ถูกตรงที่ว่ามันมีความแตกต่างแล้ว ถูกตรงที่จิตสามัญสำนึก ว่างๆ ว่างๆ โดยที่ไม่มีเหตุมีผล ว่างๆ โดยที่เราไม่ได้อะไรกันเลย ว่างๆ อย่างนี้ ตรงนี้เป็นจุดหากินของผู้ที่ภาวนาไม่เป็นกัน บอกพระพุทธเจ้าสอนให้ปล่อยวางไง พอเราไม่ถึงก็ยืนยันเลย พอเราว่างๆ ก็เอาธรรมะพระพุทธเจ้ามาเลย นี่ไง พระพุทธเจ้าบอกว่าง เอ็งว่างรึเปล่า? ว่าง.. เออ.. นี่ถูก.. ถูกอะไรล่ะ? ก็ถูกกิเลสไง มันไม่ถูกความจริง

แต่ถ้ามันจะลงนะ ถ้าพูดถึงมันเป็น บอกพอมันถูกไหม? ถูก แต่ถูกแล้ว ถูก.. สิ่งที่ถูกมันเกิดมาจากอะไร? เกิดมาจากอะไร? เราจะขึ้นตึกสูง เราจะตกจากตึกสูง มันต้องมีจิต ต้องมีเราใช่ไหม เพราะเราเป็นคนตก ถ้าเราไม่ได้เป็นคนตก เราไม่ได้ขึ้นตึกสูงเลย เราไม่ทำอะไรเลย แล้วเราไม่มีการอะไรตกลงไปเลย สิ่งที่ว่าเราจะรู้อะไร เราก็รู้แต่ทฤษฎีใช่ไหม มีคนเล่าให้ฟังหรือเขาทำสารคดีให้เห็นว่าถ้าตกจากตึกสูงจะมีอาการอย่างนั้นนะ มีอาการอย่างนั้น.. เราก็ เออ.. เข้าใจ แต่เราไม่ได้เป็น

นี่ไง “ธรรมะส่วนบุคคลไง” เราจะย้ำประจำว่า “ธรรมะส่วนบุคคล”

ใครเป็นโสดาบันก็คือนั้นเป็นโสดาบัน ใครเป็นสกิทาคาก็เป็นสกิทาคา ใครไม่ได้ทำก็คือไม่ได้ทำ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมเป็นพระพุทธเจ้า เราไปอ่านตำราพระพุทธเจ้ามา ก็เป็นธรรมะของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์องค์เดียว ไอ้เราเป็นขี้กิเลสเต็มหัว นี่ไง ธรรมะส่วนบุคคลไง ใครจะได้ก็ต้องเป็นสมบัติของคนๆ นั้น แล้วไม่มีใครจะแลกเปลี่ยนให้ใครได้ จิตของใคร สมบัติของใคร อริยทรัพย์ของใคร จะเป็นของคนๆ นั้น

ฉะนั้น พอจิตมันเป็นอย่างนั้นปั๊บ เราจะบอกว่าอาการอย่างนั้นมันเกิดมาจากไหน ถ้ามันมีจิต มีเราขึ้นมาตกจากตึกสูง มีการกระทำของเรา มีสติของเรา มีความรู้สึกของเรา แล้วการกำหนดพุทโธของเรา การนั่งสมาธิของเรา การตั้งสติของเรา การกำหนดคำบริกรรมของเรา การใช้ปัญญาอบรมสมาธิของเรา ถ้าเราทำของเราขึ้นมา อาการอย่างนั้นมันจะเกิดขึ้นมา ถ้าอาการนั้นเกิดขึ้นมา มันมีการเปลี่ยนแปลง นี่ไง มันมีการเปลี่ยนแปลงจากจิตสามัญสำนึก

จิตสามัญสำนึกมันจะเปลี่ยนแปลงให้มันเป็นเอกเทศ

จิตสามัญสำนึกมันมีอารมณ์เข้ามากระทบ มันจะไปตลอดเวลาใช่ไหม ความรู้สึกเรา เราควบคุมอะไรไม่ได้ใช่ไหม นี่มันเป็นสามัญสำนึก คือธรรมชาติของมันไง นี่ไง ธรรมะเป็นธรรมชาติ พอจิตมันเป็นธรรมชาติใช่ไหม พอจิตมันปล่อยวางก็เป็นธรรมชาติ

เขาบอกธรรมะเป็นธรรมชาติ.. ไม่มีทาง!

ธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมชาติมันก็ไหลไป.. เป็นอนิจจังน่ะสิ ธรรมชาติมันก็อยู่ในกฎของไตรลักษณ์น่ะสิ อ้าว.. ธรรมชาติมันก็หมุนเวียนอย่างนี้ก็ธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลงคือธรรมชาติไง แล้วธรรมะเป็นธรรมชาติ ก็ความเปลี่ยนก็ธรรมชาติอยู่แล้ว พอมันเปลี่ยนแปลงขึ้นมาเป็นธรรมชาติ แล้วสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว มันก็เปลี่ยนแปลงต่อไป ธรรมชาติมันเปลี่ยนแปลงได้ใช่ไหม ธรรมะมึงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเลยเหรอ? นี่ไง สิ่งที่ปกติมันก็เป็นธรรมชาติอยู่แล้ว มันเป็นธรรมดาอยู่แล้ว แต่เพราะสิ่งธรรมดา เราไม่ได้ศึกษามัน ไม่ได้ดูแลมัน ไม่ได้ค้นคว้ามัน สิ่งที่ธรรมดาเลยไม่เป็นประโยชน์อะไรกับเราเลย

พอเราตั้งสติ เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิหรือว่ากำหนดพุทโธไป พุทโธๆๆ ธรรมดาธรรมชาติของมัน ธรรมชาติของจิตมันกระจายตัว ธรรมชาติของธาตุรู้ มันรับรู้อยู่ตลอดเวลา นี่เราพุทโธๆ นี่คำบริกรรม สิ่งที่รับรู้ มันแบบว่าเรารับรู้โดยที่เราไม่รับผิดชอบอะไรเลย เราทำอะไรก็ได้ ไม่มีอะไรผิดเลย แต่พอเราตั้งกติกาเราขึ้นมา เราจะไม่ทำสิ่งที่เบียดเบียนคนอื่น เราทำเพื่อประโยชน์กับเรา เราบังคับตัวเราขึ้นมาแล้ว เรามีกรอบกติกาขึ้นมาแล้ว เราตั้งสติของเราขึ้นมา สติเราตั้งขึ้นมา พุทโธๆ ไม่ให้ความคิดมันแวบไปเรื่องอื่น ไม่ให้ความคิด..

เหมือนกับเราไปทำร้ายคนอื่น เราไปเบียดเบียนคนอื่น มันก็มีผลกระทบกับคนอื่นใช่ไหม ถ้าเราไม่ไปเบียดเบียนใคร เราไม่มีผลกระทบกับใครใช่ไหม พุทโธๆ ความคิดไม่ให้มันกระทบกระเทือนใครเลย พุทโธก็อยู่กับพุทธะ อยู่กับคำบริกรรม พุทโธๆ พุทธานุสติ อยู่กับพุทธานุสติ พุทธานุสติ สติสัมปชัญญะ สติของเรามันออกไปทั่ว มีสติ ความรู้สึก ความคิดมันก็มีกำลังของมันไป พอพุทธานุสติ เรานึกว่าความรู้สึก ความคิดที่มันเป็นธรรมชาติ เราไม่ให้มันออกไปหาเหยื่อตามธรรมชาติของมัน ตัณหาความทะยานอยากมันอาศัยธาตุ ๔ และ ขันธ์ ๕ ออกหาเหยื่อ ตัณหาความทะยานอยาก..

ธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ ไม่ใช่กิเลส ร่างกายคนไม่ใช่กิเลส จิตจริงๆ ก็ไม่ใช่กิเลส แต่เพราะมันมีอวิชชาครอบงำอยู่ มันถึงมีกิเลส เพราะ “อวิชชามาครอบงำจิต” ทุกอย่างมาครอบงำจิตหมด พอมันครอบงำจิต ถ้ามันไม่มาครอบงำ ทำไมจิตมันสะอาดได้? ทำไมจิตชำระกิเลสได้? เพราะกิเลสมันไม่ใช่จิตไง เพราะกิเลส อวิชชา มาร มันไม่ใช่อันเดียวกับจิตไง แต่มันเกี่ยวเนื่องกันมา มันอาศัยกันมา มันสัมพันธ์กันมา ตั้งแต่ไม่มีภพไม่มีชาติ มันเลยกลายเป็นเนื้อเดียวกันโดยที่เราไม่รู้เรื่องไง เราถึงต้องการความสงบของใจ พุทโธๆ พุทโธๆ เพราะมันอาศัยนี่ออกหาเหยื่อ อวิชชามันใช้ความคิดเรา ใช้ธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ ออกหาเหยื่อ

จริงๆ แล้วธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ ไม่ใช่กิเลส

ถ้าธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ เป็นกิเลส พระพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์ขึ้นมาได้อย่างไร? เพราะพระพุทธเจ้าก็มีความคิด พระพุทธเจ้าก็มีร่างกายเหมือนกัน ครูบาอาจารย์ของเราก็มีความคิด มีร่างกายเหมือนกัน ความคิดคือขันธ์ ๕ ความคิด รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.. สังขาร ความคิด ความปรุง ความแต่ง พระอรหันต์ก็มีความคิดนะ แต่เพราะไม่มีกิเลส ความคิดสะอาดไง แต่พวกเรา เพราะความคิดเรามัน.. ความคิดเราเกิดจากจิต เพราะจิตมันมีอวิชชา พอจิตมีอวิชชา จิต พลังงานที่มันเป็นสกปรก พอพลังงานสกปรก มันออกมาใช้ขันธ์ ๕ ใช้ความคิด ความคิดก็เลยสกปรกตามไปเลย พอตามไปมันก็ออกไปหาเหยื่อไปคิดร้อยแปดใช่ไหม เราก็เปลี่ยนมัน

นี่พระพุทธเจ้าสอน สอนตั้งแต่ต้นขั้วเลย ตั้งแต่ที่มาเลย พอสอนก็สอนให้พุทธานุสติ พุทโธๆๆ ควบคุมความคิด เพราะความคิดเราควบคุมไม่ได้ ความคิดมันมาจากพลังงาน พลังงานคือตัวจิต ตัวจิตนี่เป็นอวิชชา แล้วพลังงานนี้มันก็ผ่านมาที่ความคิด เพราะความคิดมันผ่านมาจากอวิชชา อวิชชาคือมารใช่ไหม พลังงานที่สกปรกใช่ไหม นี่ความคิด ถ้าเป็นความคิดพระอรหันต์ ไม่มีสิ่งอะไร ไม่มีตัณหาความทะยานอยากเลย ไม่มีสิ่งใดสกปรกในความคิดของพระอรหันต์เลย

แต่เราเป็นปุถุชน เราควบคุมพลังงานไม่ได้ พลังงานเป็นอวิชชาอยู่แล้ว พลังงานเป็นความคิดสกปรกอยู่แล้ว มันก็เลยออกมาที่ความคิด ความคิดก็เลยสกปรกตามไป พอความคิดสกปรกตามไป มันก็สกปรกตามไป มันก็เป็นตัณหาความทะยานอยาก เราก็เปลี่ยนมันไง เราเชื่อพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าบอกว่าให้ควบคุมมัน ควบคุมด้วยพุทโธๆๆ พุทโธก็ความคิดนะ เพราะพุทโธเกิดจากวิตกวิจาร ถ้าเราไม่วิตกพุทโธขึ้นมา พุทโธมาจากไหน? พุทโธคือพุทธะ พุทธะคือชื่อของพระพุทธเจ้า พุทธานุสติ! พุทธานุสติ! สติของเรา เรานึกพุทโธ เห็นไหม เราควบคุมความคิดแล้ว ความคิดต่างๆ ที่มันคิดตามธรรมชาติของมัน

ธรรมชาติไง ธรรมะเป็นธรรมชาติ ทุกอย่างเป็นธรรมชาติ แล้วธรรมชาติกูจะไหลไปตามกิเลสนี่แหละ ธรรมชาติ ธรรมชาติก็จะไหลตามมัน

แต่ธรรมะเหนือธรรมชาติไง.. เหนือตรงไหน? เหนือตรงฝืนไง เหนือตรงทวนกระแสไง ธรรมชาติน้ำต้องไหลลงต่ำใช่ไหม ธรรมชาติของมันต้องไหลไปตามแรงดึงดูดของโลกใช่ไหม แล้วธรรมชาติใช่ไหม แล้วถ้าไม่ธรรมชาติ จิตมันก็ไหลไปแล้วไง จิตมันไหลไป จิตมันคิดไป นั่นก็ธรรมชาติไง แต่เพราะเรามีสติ เรามีทวนกระแสขึ้นมา เราจะฝืนธรรมชาติไง เราฝืนความเป็นอยู่ของมนุษย์ไง เราฝืนธรรมชาติของการทำงานของจิตไง เราฝืนมันก่อน

พอเราฝืนมัน พอฝืนมันด้วยพุทธานุสติ พุทโธๆๆ ไป นี่ไง พอพุทโธๆๆ หรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาอบรมสมาธิเพราะเรามีสติใช่ไหม เพราะเราควบคุมความคิดไง

ความคิดมันเกิดมาจากไหน? ความคิดที่มันเกิดมา ความคิดนี่ โทษนะ.. ความคิดนี่ทุกข์ฉิบหายเลย แล้วความคิดมันเกิดมาจากไหน? คิดวิตกวิจาร คิดจนเครียดอยู่นี่ แล้วความคิดมันมาอย่างไร? ห้ามความคิดไม่ได้ หยุดความคิดไม่ได้ หยุดไม่ได้เพราะอะไร? เพราะอะไร เพราะเราไม่เคยฝึกไง เพราะเราไม่เคยฝึก เราไม่เชื่อมั่นในพระพุทธเจ้า เราไม่เชื่อมั่นในศาสนา เราไม่เชื่อมั่นในธรรมโอสถ เราไม่เชื่อในคุณธรรม เราไม่เชื่อมั่นไง

คุณธรรมเป็นความคิด คุณธรรมเป็นนามธรรม ไอ้กูนี่เป็นรูปธรรม กูทุกข์อยู่นี่ นี่ไง มันไม่เคยทำ ไม่เคยทดสอบ ไม่เคยลอง ไม่เคยกระทำไง ยามีอยู่เต็มโรงพยาบาลเลย แต่มันไม่เคยรักษาเลย เดินเฉียดไปเฉียดมา.. ไม่เป็นไร ป่วยเดี๋ยวก็หาย ไม่เป็นไร ป่วยเดี๋ยวก็หาย.. มันไม่ได้ทดสอบยาเลย แต่นี่ได้ทดสอบขึ้นมา อ้าว.. มันหายได้

นี่เหมือนกันพุทธานุสติ เรากำหนดของเรา ใช้ปัญญาอบรมสมาธิหรือสมาธิอบรมปัญญา เพราะทำอย่างนั้น เพราะทำอย่างนั้น มีเหตุอย่างนั้น จิตมันทำอย่างนั้นปั๊บ ธรรมชาติของจิต ธรรมชาติของมัน มันไหลไปตามตัณหาตามแรงขับ อารมณ์เหตุการณ์ เหตุการณ์หนึ่ง ถ้าความคิดมันรุนแรง โกรธสุดๆ เลย เหตุการณ์เหตุการณ์เดียวกัน ถ้ามีสติสัมปชัญญะยับยั้ง ความโกรธนั้นแค่ ๕๐ เปอร์เซ็นต์ ความโกรธนั้นแค่ ๗๕ เปอร์เซ็นต์ ความโกรธทำไมแตกต่างกัน? เพราะอะไร เพราะมีสติ เพราะมีสติ เพราะมีการควบคุม

นี่ไง เราพุทโธๆ เราเห็นความแตกต่าง แล้วเราควบคุม เราจัดการกับมันได้ นี่ไง ควบคุมได้แล้ว ดูได้แล้ว พอควบคุมได้ ความแตกต่างมันเกิด ถ้ามันความไม่แตกต่าง อารมณ์เดียวกัน มันก็เหมือนระดับเดียวกันๆ ตลอด ทีนี้เราพุทโธๆๆ มันก็เป็นความคิดเหมือนกัน แต่ความคิดนี้ความคิดที่สะอาด พุทโธๆๆ จิตมันหดตัวได้ ความพลังงานที่มันออกไป มันใช้พลังงาน ดูไฟสิ ไฟที่เราใช้ พอแรงไฟดี แล้วไฟตก เครื่องใช้ไฟฟ้ามีปัญหาหมดเลย พลังงาน-ตัวจิต ถ้าเราควบคุมมันได้ มันต่าง เห็นไหม มันต่างไหม? ถ้ามันต่างปั๊บ นี่ไง อาการวูบวาบไง

ทีนี้พอเกิดอาการวูบวาบ เกิดอาการเป็นไปน่ะ “โอ้โฮ.. นี่ผิดนะ.. นี่ผิด มันจะบ้าแล้วล่ะ นี่ดูสิ ไม่เหมือนคนอื่นเลย คนอื่นไม่เป็นอะไรเลย” ไอ้ที่เขาไม่บ้า ก็เขาเป็นปุถุชนไง เขาไม่บ้า เขาเป็นสามัญสำนึกไง ไอ้เรามันจะดีขึ้นมา ไอ้คำว่าเดี๋ยวเขาว่าจะบ้าๆ เขาไปพูดถึงไสยศาสตร์ ไสยศาสตร์คือการเพ่ง การดู มันผิดพลาดได้ เพราะเราไม่มีสติ

แต่ถ้าการทำความดีของเรา เราตั้งสติอยู่ อาการที่แตกต่าง จิตที่มันมีการแตกต่าง นี่พอแตกต่างนะ มันจะวูบขนาดไหนนะ กำหนดไปเรื่อยๆ วูบ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ.. ขณิกะ วูบวาบ มันมีอาการของมัน แล้วเราก็ตกใจ เขาเขียนเสือให้วัวกลัวไง พุทโธๆ มันจะบ้า พุทโธๆ มันติดสมาธิ พุทโธๆ นี่นะมันติดนิมิต พุทโธนี่เลวร้ายไปหมดเลยนะ พุทโธนี่เลวร้ายไปหมดเลย แล้วทำอย่างอื่นดีนะ เวลาทำอย่างอื่นดีหมดเลย แล้วพุทโธนี่ผิดพลาดไปหมดเลย

เพราะพุทโธมันสอนกันมาเก่าแก่ พุทโธมันสอนกันมาเนิ่นนาน เหมือนของ เราบอกว่าปู่ย่าตายายนี่ครึ ปู่ย่าตายายล้าสมัย ไอ้เราคนรุ่นใหม่ แหม.. มีปัญญาทั้งนั้นน่ะ แต่ไม่รู้เลยนะ ปู่ย่าตายายนี่นะ รวมประเทศชาติไว้ให้เราอยู่ ปู่ย่าตายายกู้ชาติไว้ให้เราได้อาศัย แต่เราไปมองแต่ว่าเรามีการศึกษาๆ พอพุทโธ เลวร้ายไปหมดเลย พุทโธ สิ่งที่เลวร้าย สิ่งที่เขาทำผิดพลาด เพราะเขาทำด้วยกิเลสของเขา เขาจินตนาการ เขาคาดหมาย เขาเพ้อเจ้อ เพ้อเจ้อ เห็นไหม หลอกตัวเอง จนตัวเองเชื่อตัวเองว่าเป็นอย่างนั้นไง

ถ้ามีสตินะ สิ่งที่เกิดขึ้นมา อะไรเกิดขึ้นมา ใครเป็นคนรู้? จิตเป็นคนรู้ ตั้งสติไว้ สิ่งนั้นเราไปรู้เขา เหมือนเราบริหารจัดการสักอย่าง เราเป็นคนบริหารมัน เราเป็นคนดูแลมันน่ะ มันจะผิดพลาดไปไหน ไอ้นี่บริหารไปบริหารมานะ กลายเป็นขี้ข้ามันไง มันสั่งให้ทำนะ ถึงเวลาต้องไปสวัสดีมันก่อนนะ นี่ก่อนนอนก็ต้องไปสวัสดีมันน่ะ สวิตซ์ไฟต้องไปสวัสดีมันก่อน สวัสดีครับ ปิดแล้วค่อยนอน ต้องไปสวัสดีมันก่อน เพราะเราเป็นขี้ข้ามันไง

แต่ถ้าเราเป็นเจ้านายมันนะ เราไม่ต้องไปสวัสดีมัน เราดูแลมัน

นี่เพราะทำไปๆ เพราะจิตเราวิตกกังวล จิตเราเป็นไป มันจะทำให้เราผิดพลาดได้ ถ้าจิตเราไม่วิตกกังวลนะ เราเป็นผู้รู้ เราเป็นผู้เห็น เราเป็นผู้จัดการ มันเป็นความมหัศจรรย์ จิตนี้มหัศจรรย์มาก ถ้าจิตคึก จิตคะนอง เวลาจิตมันรวมลง จิตมันสงบลง เห็นตัวเองไปเดินจงกรมอยู่บนอากาศ เห็นความแตกต่าง เห็นความ.. ไอ้อย่างนี้มันก็เรียกจิตคึกคะนอง

หลวงตาท่านจะบอกว่า “มันมีอยู่ใน ๕ เปอร์เซ็นต์ของมนุษย์ มนุษย์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ผู้ที่ปฏิบัติมันมีอยู่ ๕ เปอร์เซ็นต์”

จิตคึกคะนอง คือจิตที่มันมีพลังงาน จิตที่มีบุญญาธิการมาก มันมีส่วนน้อย ถ้าจิตอย่างนั้น มันจะแสดงออก อาการที่ครูบาอาจารย์ไม่มีวุฒิภาวะจะแก้ไขไม่ได้ แล้วพอแก้ไขไม่ได้ อย่างเรา สมมุติว่าเราเป็น พอจิตเราคึกคะนอง มันก็จะไปเห็น เห็นเทพ เห็นเทวดา อินทร์ พรหม ไอ้จิตมันคึกคะนองใช่ไหม มันไปเห็นตามกำลังของมัน แล้วสติเราอ่อน สติเราไม่รู้ พอเราไปเห็นก็ โอ้โฮๆ.. ก็สำคัญตนน่ะ สำคัญตนว่าเราเป็นผู้วิเศษ สำคัญตนว่าเรานี่เป็นยอดมนุษย์ พอยอดมนุษย์ขึ้นมา เราสำคัญตน คำว่าสำคัญตนกับสิ่งที่รู้ที่เห็น แล้วเราจะเชื่อไหม? แล้วเราจะกระโดดตาม เราจะตกไปในความคิดอย่างนั้นไหม? มันจะลากให้จิตเราออกไปอย่างนี้ แล้วเดี๋ยวก็เสื่อมหมด

พอมันรู้มันเห็นเข้า มันก็รู้เห็นจริงๆ นะ แต่รู้เห็นจริงๆ โดยที่ไม่มีสติสัมปชัญญะ คำว่าไม่มีสติสัมปชัญญะ มันรู้ได้อย่างไร? มันมีสติ มันคุมสมาธิได้ แต่ไปรู้เห็น สติมันควบคุมไม่พอ ถ้ามีครูบาอาจารย์คอยเตือนๆ คอยเตือนก็กลับมาที่ความสงบ สิ่งที่รู้ที่เห็นคือบารมีธรรม บารมีที่มันมีอยู่ ถ้าเราคุมพลังงานอันนี้ไว้เรื่อยๆ พลังงานอันนี้มันสงบเข้ามา หดเข้ามา มีกำลังขึ้นมา ไอ้บารมีธรรมนั้นยังอยู่ใช้ตลอดไป

บารมีเรา ใครมีบารมีก็แล้วแต่ พอเราใช้บารมี คือว่ามีบุญคุณกับใครไง แล้วไปทวงบุญคุณเขาหมดเลย ถ้าเรามีบุญคุณกับใคร เราสร้างบุญคุณไว้กับใคร เขาจะคิดถึงเรา เขาจะเคารพบูชาเราตลอดไปเลย แต่เราไปไหว้วานเขา ไปใช้เขานะ ทีเดียวนะ จบ จบกัน นี่เหมือนกัน บารมีมันมีอยู่กับใจ ถ้าเราเอาออกไปรู้ออกไปเห็น แล้วเราไปหมด มันก็หมดเลยเหมือนกัน

นี่ไง ถ้าเรากลับมาพุทโธๆ สิ่งนั้นมันก็มีอยู่ของมัน พุทโธไปเรื่อยๆ มันจากขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ พออุปจารสมาธิ มันจะออกรู้ อุปจาระคือว่าจิต อุปจาระคือวงรอบของมัน วงรอบของมัน ถ้าออกไปจะเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม วิปัสสนาเกิดได้ พุทโธๆๆ เข้าไปอัปปนาสมาธิ มันเข้าไปถึงฐีติจิต ถึงฐานเลย อัปปนาสมาธิ ถ้าเข้าไปถึงคือรวมใหญ่ มันรวมใหญ่ ปล่อยหมด สักแต่ว่ารู้ คำว่าสักแต่ว่ารู้ ตัวจิตมันรู้ตัวมันเอง แต่มันไม่เกี่ยวเนื่องกับอะไรเลย มันจะเป็นอิสระของมัน อันนี้วิปัสสนาไม่ได้ แต่มีกำลังมาก และมีความสุขมาก ถ้าเป็นอย่างนี้ปั๊บ นี่ไงทำความสงบของใจ

เขามาถามว่าที่มันวูบวาบ มันเป็นอย่างนั้นน่ะ บอกว่าถูกไหม? เรายืนยันว่าถูก! ถูก! คำว่าถูกคือถูกทาง แต่เวลาปฏิบัติเข้าไปนะ ข้อเท็จจริงมันยังมีต้องให้แก้ไขเรื่อยๆ ถ้าบอกไม่ถูกเลย มันจะปล่อย เราจะไม่ทำอะไรกันเลย จะไม่มีการเริ่มต้น จะไม่มีความขยันหมั่นเพียร ความขยันหมั่นเพียร.. ถูก เหมือนเราขึ้นถนน เราจะเข้ากรุงเทพ ขึ้นถนนถูก เส้นทางนี้เข้ากรุงเทพได้ไหม? ได้! ถูก! แต่พอไปแล้วไปเจอทางแยก ไปเจอทางลัด เราอยากจะเลี้ยวไปทางนั้นนะ เออ.. มันจะไม่ถูกตรงนั้นน่ะ ไม่ถูกตรงเอ็งเข้าซอยผิดน่ะ แล้วเอ็งก็จะไปประสาเอ็งนั่นน่ะ ไอ้นั่นยังไม่ถูกนะ

นี้พอดีปฏิบัติไปถูกไหม? ถูก แต่ปฏิบัติไปแล้ว มันจะมีอาการ มีความรู้สึก จิตไปรู้ไปเห็นอะไร ตรงนั้นน่ะ มันจะชวน มันจะชักชวนให้ใจไปกับมัน ถ้ามันจะผิดคือผิดข้างหน้าโน่น ผิดตอนไปรู้ไปเห็นอะไรแล้ว อยากตามมันไป อยากตามมันไป ฉะนั้นพอไปรู้อะไรแล้ว วางไว้ ไม่ต้องห่วงว่าจะไม่เข้าใจ ผู้ปฏิบัติสำคัญตรงนี้มากว่ารู้อะไรปั๊บ ต้องให้มันชัดเจน เพราะเดี๋ยวออกมาแล้วจำไม่ได้ ออกมาแล้วกลัวจะไม่รู้.. ไม่ต้อง จะชัดเจนก็ต่อเมื่ออยู่กับผู้รู้ อยู่กับพุทโธ ชัดเจนมากเลย แต่ถ้าตามไปนะ เหมือนกับเรา คนมาเยี่ยมเรา คนมาหาเรา เรารู้หมดเห็นหมด แต่ถ้าเราไปหาเขาล่ะ เราทิ้งฐานเราเลย นี่เหมือนกัน เราอยู่กับเรา เราอยู่กับสติของเราตลอดเวลา พุทโธๆๆ ไป ถูกไหม? ถูก นี่การปฏิบัตินะ

ฉะนั้นสิ่งที่เขาบอกว่าพุทโธจะติดในนิมิต พุทโธจะติดในสมถะ จะติดอะไรก็แล้วแต่ อันนี้เป็นคุณค่า คุณค่าของมันคือจิตมันสงบ จิตสงบ จิตตั้งมั่น พอจิตสงบ จิตตั้งมั่น จิตถึงออกทำงาน จิตไม่สงบ จิตอ่อนแอ จิตหวั่นไหว จิตหิวโหย สิ่งใดมันทำ มันไม่ได้ประโยชน์หรอก สิ่งที่ทำไม่เป็นประโยชน์นะ

นี่ปฏิบัติแล้ว มันจะมีอาการต่างๆ อาการอย่างนี้จะมีเกือบทุกคน แล้วมีแล้วนะ พุทโธไว้เฉยๆ คำว่ามีอาการ เราเอายกมาในแง่บวกก็ได้ ยกมาในแง่ลบก็ได้ แง่ลบหมายถึงว่าเวลาทำไปแล้ว ถ้าคนติดขัด มันจะต้องแก้ไข แง่บวก ถ้าเรานั่งปกติ เราไม่เห็นมีรสชาติอะไรเลย เราก็อยู่เฉยๆ แต่พอพุทโธๆ มันมีอาการวูบวาบ เราจะเปรียบเหมือนล้อรถ ล้อรถถ้ามันหมุนปั๊บนะ ไมล์จะกระดิก วิ่ง ๑๐ กิโลเมตร ๒๐ กิโลเมตร ๕๐ กิโลเมตร ๑๐๐ กิโลเมตร ๒๐๐ กิโลเมตร มันอยู่ที่ความเร็วที่ล้อมันหมุน จิต เวลาถ้ามันมีการเปลี่ยนแปลง เหมือนล้อมันหมุน พอล้อมันหมุน เข็มไมล์ก็กระดิก เข็มไมล์คือความรู้สึกของเราไง พอมันวูบวาบ นี่แหละล้อหมุน คืออาการของจิตมันเปลี่ยนแปลง ฉะนั้น ไม่ต้องตกใจ

แต่ถ้ามันออกไปรับรู้ หรือมันจะเสียหายนั่นน่ะ อยู่กับพุทโธไม่เสียหาย การทำงานเป็นอย่างนั้น ดูสิ มีดเขาเอาไว้ทำครัว เขาเอาไว้หั่นผัก ไม่ใช่ไว้หั่นนิ้วหั่นมือ มันยังพลาดไปโดนนิ้วได้ มีดเขาเอาไว้หั่นผักนะ ทำครัวนะ แต่เดี๋ยวก็เลือดสาดมาแล้ว ใส่ยาๆ มันพลาดได้ การปฏิบัติ มันก็มีการผิดพลาดเป็นธรรมดา การปฏิบัติจะไม่ให้ผิดพลาดเลย มันจะเอามาจากที่ไหน แม้แต่มีด เขาไว้ให้ทำครัว เขาไว้ให้เฉือน ให้ซอยผัก มันยังซอยนิ้วมันเลย ฉะนั้นบอกว่าจะไม่ผิดเลย จะบอกให้การันตีว่าทำอะไรแล้วไม่ผิดเลย จะดีไปหมดเลย.. ไม่มีหรอก คนที่ไม่ผิดเลยคือคนไม่ได้ภาวนา

แล้วคนภาวนาที่ไม่เป็นเลย ที่เขาบอกเขาภาวนาแล้วไม่มีเสียหายเลย เขาภาวนาแล้ว พุทโธแล้วมีแต่เสียหาย ต้องคอยแก้ตลอดเวลาเลย ของเขาไม่เสียหายเลย ไม่เสียหายเพราะเขาไม่ทำอะไรเลยน่ะสิ คนที่ไม่เคยผิดเลยคือคนไม่ทำอะไรเลย เขาไม่ยอมทำอะไรเลย กำหนดไว้เฉยๆ จิตจะลงก็ไม่ได้ ถ้าลงเดี๋ยวจะเป็นนิมิต จิตลงไปยิ่งกลัวมากนะ อภิธรรมนี่กลัวมากเลย พอจิตจะลง โอ๊ย.. เดี๋ยวเป็นสมถะ.. เดี๋ยวเป็นสมถะ.. มึงไม่เป็นสมถะ มึงก็ไม่มีสมาธิ ไม่มีสมาธิ มึงก็ไม่มีปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้นอยู่นี่มันเป็นโลกียปัญญา ปัญญาที่แตกต่าง ปัญญาที่ระดับ ดูเขาสร้างบ้านน่ะ ถ้าระดับไม่ดี บ้านมันสร้างมาเป็นบ้านไม่ได้หรอก บ้านอยู่ไม่ได้หรอก ถ้าเขาไม่ได้ระดับของเขา จิตไม่คงที่ จิตไม่ได้ระดับๆ มันจะสร้างอะไรไว้ไม่ได้หรอก.. ไม่ได้!

สมาธิคือปรับระดับของจิต จิตที่มันมีระดับของมัน มีคุณงามความดีของมัน นั่นน่ะ “ศีล สมาธิ ปัญญา” ศีลแล้วปัญญาเลย สมาธิไม่เอา สมาธิยกทิ้ง ปลูกบ้านต่อไปนี้ ออกทฤษฎีใหม่ ปลูกบ้านเอาหลังคาลงดิน เอาเสาชี้ฟ้า ออกทฤษฎีใหม่เลย ไม่มีใครเขาอยู่กันหรอก เขาก็อยู่บ้านธรรมดา “ศีล สมาธิ ปัญญา” ศีลแล้วปัญญาเลยไม่มี.. ไม่มี! ถ้าศีลแล้วปัญญามี มันก็เป็นโลกียปัญญา ปัญญาที่คิดกันเอง ปัญญาที่เราตรึกกันเอง ปัญญาที่เราสร้างกันขึ้นมาเอง มันเป็นโลกียปัญญา มันไม่เป็นโลกุตตรปัญญา มันแก้กิเลสไม่ได้

ถ้ามันจะแก้กิเลสได้ มันต้อง “ศีล สมาธิ ปัญญา” ศีล สมาธิ ต้องมีสมาธิ ตัวสมาธิ ตัวปรับใจก่อน พอปรับใจเสร็จแล้ว ดูสิ ไปที่ภูเก็ตสิ มีแต่ภูเขา แล้วเขาปลูกรีสอร์ท โอ้โฮ.. เป็นพันๆ ร้อยๆ ล้านนั่นน่ะ ภูเขาแท้ๆ นะ เขาปรับระดับนะ โอ้โฮ.. โรงแรมเขานี่นะ สวยงามไปหมดเลย แล้วทางธุรกิจเขา เขาได้เงินมหาศาลเลย ทำไมเขาปรับให้มันตรงได้ล่ะ ทำไมเขาปรับพื้นที่ได้ล่ะ นี่ไง สมาธิมันปรับอย่างนั้น ถ้ามันมีสมาธิขึ้นมา มันปรับของมันขึ้นมา ถ้ามันสร้างขึ้นมาเป็นประโยชน์ทั้งนั้นน่ะ “ศีล สมาธิ ปัญญา” มันจะเป็นโลกุตตรปัญญาไง มันจะเป็นโลกุตตรปัญญา

ถ้ามันจะเป็นโลกุตตรปัญญา คนจะมีโลกุตตรปัญญา คือคนที่มันจะปรับพื้นที่ได้ คนทำได้ คนต้องทำจริงๆ แล้วการปรับพื้นที่แถวในที่ลาดชัน มันจะใช้ต้นทุนสูงมาก ต้องลงทุนมาก ถ้าไม่ลงทุนมาก มันอยู่ไม่ได้ มันจะไหลไปตามทางลาดชันนั้น ยิ่งทางลาดชันขนาดไหน เราต้องการใช้พื้นที่ราบ เราจะต้องลงทุนมากนะ แล้วจิตของเรา มันไหลไปตามโลกียปัญญา เอาเข็นครกขึ้นภูเขา ปล่อยมันก็ไหลลงมา

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน ใช้ปัญญาของเราเรื่อยๆ ปัญญาน่ะ มันเป็นกระแสใช่ไหม มันเป็นธรรมชาติของจิตใช่ไหม มันพลังงานออกจากใจอยู่แล้วใช่ไหม “เออ.. ปัญญาน่ะ นี่ปัญญา” ไม่รู้ปัญญาอะไรของมันนะ.. ไม่มีทาง! ไม่มีทางหรอก!

ปัญญาของพระพุทธเจ้าบอกทวนกระแส คำว่าทวนกระแส ถ้าไม่มีสมาธิมาหยุดก่อน สมาธิมาหยุดปั๊บ แล้วมันหมุนกลับ มันถึงจะเป็นโลกุตตรปัญญา ไม่ใช่โลกียปัญญา โลกียปัญญา ปัญญาเพื่อชีวิตสามัญสำนึกเราแค่นี้เอง ถ้าโลกุตตรปัญญานะ มันถอดถอนอุปาทาน ถ้าคนเห็นอย่างนั้นจริง มันจะไม่พูดอย่างนี้ นี่พูดถึงการปฏิบัติผิดปฏิบัติถูกนะ

แล้วไอ้แก้ๆ ว่าสงบด่าแหลก อันนี้ขอแก้ตัวนิดนึงว่าไม่ได้ด่า.. พูดธรรมะ

ไม่ว่ากันหรอก.. พระพุทธเจ้ายังโดนโลกธรรมขนาดนั้น ไอ้พวกเรานี่ โธ่.. พระพุทธเจ้ายังโดนขนาดนั้นนะ อันนี้จริงๆ แล้วเราไม่อยากพูด เราไม่อยากพูดเลย แต่ในเมื่อถ้าพูดไปทางวิชาการ เพราะอันนี้ เราก็ว่าเราเคยพูดไปแล้ว ออกมาจากอินเตอร์เน็ต เขาไปเอามาให้นั่นน่ะ

ข้อที่ ๑๔ เลย เพราะเนื้อหาสาระมันอยู่ตรงนี้.. จิตเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่..

มันเป็นประสบการณ์การปฏิบัติของเขา.. “หลังจากเห็นว่าตัวเรากลายเป็นสิ่งที่ถูกรู้ได้ไม่นาน ในตอนเย็นของวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๔๓ หลังจากเลิกงานแล้ว ไปรอรับภรรยากลับบ้าน ขณะที่นั่งรออยู่นั้นรู้สึกเหนื่อย เพราะทำงานมาทั้งวัน จึงหลับตาพักด้วยความรู้ตัวอยู่ ในขณะนั้นได้นึกขึ้นว่าเพียงแต่..”

“ในขณะนั้นได้นึกขึ้นว่า..” คำว่า “นึกขึ้นว่า..” นี้เป็นปัญญาไหม?

“ในขณะนั้นได้นึกขึ้นว่า..”

“นึกขึ้น” คือสัญญา

“ในขณะนั้นได้นึกขึ้นว่าเพียงแต่ละความเห็นผิดไปได้เท่านั้นก็เป็นพระโสดาบัน.. เพียงนึกขึ้นว่าความเห็นถูกละความเห็นผิดไปแล้ว ก็เป็นพระโสดาบัน..” นี่ขณะจิตที่เป็นพระโสดาบันของเขานะ นี่การที่เป็นพระโสดาบัน

“เพียงแต่นึกขึ้นว่าการละความเห็นผิด ก็เป็นพระโสดาบัน..” เป็นแล้วนะ นี่เป็นโสดาบัน (หัวเราะ)

“แล้วจิตก็เกิดการรวมลงไปเองอย่างรวดเร็ว และรู้ถึงสภาวะที่จิตหลุดพ้นในแวบเดียว..”

“แล้วรู้ถึงสภาวะที่จิตหลุดพ้น..”

นี่มันขัดแย้งกันตลอด ถ้าคนไม่เข้าใจนะ อ่านแล้วนะ สาธุ โอ้โฮ.. พระโสดาบันเกิดขึ้นมาอีกแล้วองค์หนึ่ง

นี่ไง “ขณะละความเห็นผิดเท่านั้นก็เป็นโสดาบัน จิตเกิดรวมลงไปเองอย่างรวดเร็ว แล้วรู้ถึงสภาวะที่จะหลุดพ้นในแวบเดียว..”

“ขณะที่ละความผิดไปเท่านั้นก็รู้ว่าเป็นพระโสดาบัน.. แล้วก็มาลงรู้สภาวะจิตหลุดพ้นอีก”แวบเดียว..” เดี๋ยวไปอีกนะ..

“แล้วก็กลับถูกหุ้มห่ออีกเช่นเดิม..” โอ้.. เป็นอย่างนั้นเนาะ

“แล้วก็กลับมาถูกหุ้มห่ออีกเช่นเดิม จึงได้เข้าใจชัดเจนถึงสภาวะจิตที่หลุดพ้นว่าที่จริงก็คือจิตที่ไปรู้อยู่ตามอารมณ์นิพพาน ไปเที่ยว ที่ไม่เที่ยวรู้อารมณ์อื่นๆ ที่เป็นราคะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ความสงสัยในมรรคผลนิพพานเป็นอย่างไรกันแน่ เป็นอันสิ้นสุดลง ความเห็นว่ากายและจิตในตัวเราหมดไป..”

นี่ปริยัติล้วนๆ เลย นี่เป็นพระโสดาบันของเขา นี่ตัวอาจารย์เองเลย อย่างนี้นะ อยู่ในเว็บไซต์ แล้วออกไปทั่ว แล้วมันไม่มีใครรู้ แล้วก็ว่าสาธุว่าพระโสดาบันเกิดขึ้นมาองค์หนึ่ง

แต่ในทางปฏิบัติไม่เป็นอย่างนั้น ในพระไตรปิฎกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “ขณะสมุจเฉทปหาน กิเลสขาด ดั่งแขนขาด” ตัดชับ! หลวงตาบอกว่า “การพิจารณากาย การพิจารณาเวทนาของท่าน พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ” เพราะหลวงตาท่านพิจารณาเวทนา นั่งตลอดรุ่งน่ะ คำว่านั่งตลอดรุ่ง คนเรานั่งที ๑๒ ชั่วโมง ใครนั่งสมาธิ พอจิตลงแล้ว มันจะอยู่ ๑๒ ชั่วโมง มีไหม? ไม่มี.. การนั่งสมาธิ พอจิตมันจะลงก็แล้วแต่ ๑ ชั่วโมง ๒ ชั่วโมง มันจะคลายตัวออกมา แล้วก็ใช้ปัญญาพิจารณาเข้าไปอีก มันก็จะลงสมาธิอีก การลงสมาธิ เราพิจารณาลงสมาธินะ

แต่ถ้าจิตมันเป็นสมาธิอยู่แล้ว การพิจารณาของเรา พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า มันเป็นตทังคปหานไง คือเราพิจารณาเวทนา เรานั่งอยู่ เจ็บปวดมาก ทุกอย่างเจ็บปวดมาก หลวงตาท่านบอกว่าเวลาท่านพิจารณาของท่านแรงๆ พิจารณากลางคืน ที่พิจารณาแบบว่ากิเลสมันต่อต้านรุนแรง ท่านจะใช้ปัญญาพิจารณาร่างกาย พิจารณามากเลย บอกว่า “เวลามันปวด มันเจ็บปวดขึ้นมา มันทุกข์ร้อนขึ้นมา” ท่านพูดเลยนะ บอกว่า “เหมือนเขาเอาฟืนทั้งหมดมาสุมใส่ตัวท่าน แล้วจุดไฟเผา” เหมือนกับเรานั่งอยู่นี่ เรานั่งอยู่บนกองไฟ กองไฟที่มันเผาผลาญเรา แล้วเรานั่งต่อสู้กับมันน่ะ นี่เวลาต่อสู้กับมัน

เวลาต่อสู้กับมันด้วยความจริงจัง พอเข้าถึงที่สุด ถ้าปัญญามันไล่มา สิ่งที่เป็นกองไฟที่เผาลนอยู่ มันหายไปหมด พอพิจารณาเวทนาสักว่าเวทนา จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ มันปล่อยหมด พอมันปล่อย มันก็ว่าง พอว่างก็จากความรู้สึกที่ไฟมันเผาอยู่ในตัว มันกลายเป็นความสุข กลายเป็นความว่าง กลายเป็นความ.. มันตรงข้ามหมดเลย ตรงข้ามที่ว่านี่สุขมาก! สุขมาก! สุขมากเพราะอะไร สุขมากเพราะมันใช้ปัญญาต่อสู้ ต่อสู้กับทิฏฐิมานะของใจ เพราะใจมันไปยึดมั่นถือมั่นในการนั่ง ไปยึดมั่นถือมั่นในร่างกายนี้ จิตนี้ไปยึดมั่นถือมั่น ความเจ็บปวดของร่างกาย พอจิตมันหลงผิด มันก็ไปยึดมั่นเอาทุกอย่างมาเป็นเวทนา เวทนาเป็นเรา เราเป็นเวทนา สรรพสิ่งนี้เป็นเวทนา เราก็ทุกข์ยากไปหมดเลย เพราะความโง่ของจิตไง

แต่พอจิตมันพิจารณาเข้าไป พิจาณาร่างกาย พิจารณาธาตุขันธ์ พิจารณาต่างๆ.. ธาตุมันเจ็บปวดได้ไหม? เส้นเลือดมันเจ็บปวดได้ไหม? กระดูกมันเจ็บปวดได้ไหม? อะไรมันเจ็บปวดได้ไหม? แล้วหัวใจมันเจ็บปวดได้ไหม? หัวใจมันก็เจ็บปวดไม่ได้ หัวใจธรรมชาติของมันก็เป็นพลังงานเฉยๆ แล้วมันไปเจ็บปวดเพราะอะไรล่ะ? มันไปเจ็บเพราะว่าตัณหาความทะยานอยากไง มันอยากให้หายเจ็บ มันอยากให้เราลุก มันไม่อยากให้เราภาวนา มันอยากให้เราไปนอนสะดวกสบายใช่ไหม แล้วเราบังคับมันให้ต่อสู้กับมันใช่ไหม

พอปัญญามันเกิดขึ้นมา มันพิจารณาของมันไป มันก็ปล่อย พอปล่อยมันก็ลง มันก็ปล่อย มันก็ลง มันก็เป็นตทังคปหาน.. ปล่อยแล้วปล่อยเล่า.. ปล่อยแล้วปล่อยเล่า.. ปล่อยถึงที่สุด พอเวทนามันขาดนะ “เวทนาเป็นเวทนา จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์” เวทนาเป็นกองขันธ์ ๕ เป็นกองหนึ่ง เป็นความจริงอันหนึ่ง ทุกข์เป็นความจริงอีกอันหนึ่ง จิตเป็นความจริงอีกอันหนึ่ง แล้วจิตมันรวมลง รวมลงหมด ขณะจิตที่เป็นทีเดียว ขณะจิตที่เป็นทีเดียว ขณะที่กิเลสขาด ดั่งแขนขาด พระพุทธเจ้าบอก “ดั่งแขนขาด”

ไม่ใช่อารัมภบทนะ “พอนึกขึ้นได้.. พอนึกขึ้นได้ว่าละความเห็นผิดเท่านั้น ก็เป็นโสดาบันทันที พอจิตนั้นมีการรวมลงอย่างเร็ว แล้วรู้สภาวะที่จิตหลุดพ้นได้แวบหนึ่ง.. ได้แวบหนึ่ง.. แล้วก็ถูกหุ้มห่ออีกเช่นเดิม..” โอ้.. ไอ้นี่มันหนังคลีโอพัตราน่ะ มันออกรบกันนะ

นี่มันเป็นไปไม่ได้เลย สิ่งที่พูดอยู่นี้มันเป็นไปไม่ได้เลย มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

“เมื่อเข้าใจสภาวะที่หลุดพ้นแล้ว จิตก็รู้แต่อารมณ์นิพพาน ไม่เที่ยวไปในอารมณ์อื่น..”

ถ้าจิตมันรู้แต่อารมณ์นิพพานนะ เป็นพระโสดาบันแล้วจิตมันรู้แต่อารมณ์นิพพานนะ นางวิสาขาไม่ไปแต่งงานหรอก นางวิสาขานี่เป็นพระโสดาบันนะ ถ้าจิตมันรู้แต่อารมณ์นิพพาน ไม่ไปมีครอบครัวหรอก นางวิสาขา ทำไมไปแต่งงาน ลูก ๒๑ คนล่ะ?

“รู้แต่อารมณ์นิพพาน..” (หัวเราะ)

เป็นพระโสดาบันเป็นพระโสดาบันนะ พระโสดาบันเป็นพระโสดาบัน แต่นี่รู้แต่อารมณ์นิพพาน จะไม่มีอารมณ์อื่นอีกเลย.. เราไม่ได้ค้านถึงว่าพระโสดาบันมีจุดมุ่งหมาย อย่างพระอานนท์เป็นพระโสดาบันเหมือนกัน พระพุทธเจ้านิพพาน พระอานนท์เป็นพระโสดาบันนะ แล้วพระพุทธเจ้าบอกไว้เลย “อานนท์ อีก ๓ เดือนข้างหน้าจะมีสังคายนา เธอจะเป็นพระอรหันต์วันนั้น” นี่พระพุทธเจ้าพยากรณ์เอาไว้เลย พอถึงสุดท้ายแล้วพระอานนท์ก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ แต่นางวิสาขาปรารถนามาอย่างนั้นเอง นี่พูดถึงไงว่าถ้าจิตอยู่กับอารมณ์นิพพาน ไม่ไปยุ่งกับอารมณ์อื่นเลย

นี่มันโสดาบันพลาสติกน่ะ มันสำเร็จรูปไง ดอกไม้สำเร็จรูปมาตั้งไว้แล้วมันจะไม่เป็นอย่างอื่นเลย ถ้าดอกไม้ธรรมดามันจะเน่า มันจะเฉา นี่ดอกไม้ นี่พูดถึง นี่เราพูดให้เอามาดู พอดูมันเห็นหมดน่ะ ไอ้นี่เห็นมาตลอดนะ แล้วเมื่อก่อนไม่พูด แล้วเวลาที่เอ็งถาม แล้วรู้ได้ไงว่าเขาผิดๆ ไอ้นี่ของเขาของเดิมเลย ตั้งแต่ยังไม่บวชไง นี่เขาเอามาให้ดู เราไม่อยากจะไปยุ่งอีกแล้ว ไม่อยากยุ่งอีกแล้ว

เพียงแต่ว่าถ้ามีอะไร เราอยากจะบอก เราจะบอกพวกที่ปฏิบัติว่าสิ่งที่เขา.. เวลาพวกลูกศิษย์เขาจะเอาพวกตำรามาหาเราเยอะมาก ทีนี้พอตำรา มันก็มีคนเขียนใช่ไหม ถ้าเราจะบอกว่าตำรานี้ผิดหรืออะไรผิด มันก็เหมือนกับว่าเรากำปั้นทุบดินน่ะ ไม่จัดการอะไรเลย เพียงแต่จริงๆ น่ะ คือเราได้อ่านหนังสือแล้ว ได้ดูแล้ว ความจริงพระในวงการปฏิบัติ แค่รู้ว่าทัศนคติ ความเห็นเขามันผิดตั้งแต่ตรงนั้น เขียนหนังสือกี่ร้อยเล่มก็ผิดทุกเล่ม เพราะมันผิดจากความไม่รู้ของใจ ถ้าใจของคนนั้นไม่รู้ เขียนหนังสือ..

หนังสือทางโลกนะ ทางนิยายที่เขาแต่งกัน เขาแต่ง มันเป็นพล็อตเรื่องที่เขาแต่งอยู่แล้ว มันผิดตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว ไอ้อย่างนั้นเป็นหนังสือประโลมโลก หนังสือประโลมโลก เราไม่ได้พูดถึงเขา นี่เราพูดถึงหนังสือธรรมะ หนังสือธรรมะ ถ้าคนไม่รู้จริง มันก็เหมือนกับนิยายประโลมโลก เราถึงว่าธรรมะนิยายไง เราจะบอกว่าพวกนี้เป็นธรรมะนิยายหมด

แต่มันเสียใจอันหนึ่ง เสียใจอันหนึ่งว่าพวกเราชาวพุทธ หรือพวกเราปัญญาชน ถ้าเห็นเป็นทางวิชาการ เห็นการเป็นตำราแล้วจะเคารพบูชาว่าตำรานี้ถูก แล้วเวลาครูบาอาจารย์ที่พูดออกมาจากใจ เราบอกว่าผิด เพราะมันไม่มีที่อ้างอิง แต่ความจริงท่านอ้างอิงมาจากประสบการณ์จริงในใจของท่านอยู่แล้ว แต่พวกเราบอกว่ามันไม่มี เพราะมีคนเอาตำรามาถามเยอะมาก

แล้วเวลาเขาบางทีปฏิบัติมา มาถามเรา บอกปฏิบัติอย่างนี้ถูกต้องไหม?

เราบอกว่า “ผิด ไม่ถูกหรอก”

เขาว่า “ผิดอย่างไรล่ะ ในเมื่อทำตามตำราทุกอย่างเลย”

เราก็บอกว่า “ตำรานี่ใครเขียนมา? ใครเขียนมา? ”

เราจะบอกว่าพวกที่ปฏิบัติมันพลาด มันพลาดกันตรงนี้ไง มันพลาดกันว่ามันเป็นหนังสือไง มันเป็นตำรา แล้วใครปฏิบัติปั๊บ ก็จะเอาบอกว่าอ้างว่ามันถูกตามตำราไง แต่ไม่ได้ดูว่าตำรา ใครเป็นคนเขียนมา ใครเป็นคนแต่งขึ้นมา แต่ถ้าเราไปดูที่ตำราคนเขียนขึ้นมา คนเขียนก็ไม่รู้ขึ้นมา

มันมีนะ มันมีอยู่ชุดหนึ่งเมื่อก่อน เขาคบอยู่กับพวกมาเลเซีย พวกอินโด เขาก็มาหาครูบาอาจารย์เราเยอะ แล้วพวกนี้เขาเข้ามาศึกษาธรรมะกับครูบาอาจารย์เรานี่แหละ เสร็จแล้วเขาก็ไปเขียนตำรา เขียนตำราแล้วเขาก็เปิดสอนในมาเลเซีย เขาก็เก็บค่าหัว ก็สอนกันไปไง เขาก็บอกว่าให้ปฏิบัติเลย พอจิตเขาว่างๆ ปั๊บ เขาก็โยนหนังสือให้เลย เหมือนกันเปี๊ยบเลย เขาบอกว่าใช่ ถูกต้อง อ้าว.. ก็ตำราเขาเขียนไว้แล้ว เพราะว่าเขาทำได้แค่นี้ไง

นี่เรื่องจริง เขาพามาหาเรา เขาพยายามพามาหาเรา ให้เราแก้ไข เขาบอกว่า “หลวงพ่อ เสียดายเวลา” แล้วเสียดายเขาด้วยว่าเขาไปทำอย่างนี้ คนอื่นเขาเชื่อตามๆ กันไป เขาเขียนเลยนะ เขาเขียนเอง แล้วเขาก็อบรม เก็บค่าหัวอบรม อบรมเสร็จปั๊บ พอจิตเป็นอย่างนั้นปั๊บ เขาก็โยนหนังสือให้เลยผลัวะ อ่านผลัวะ เหมือนกัน คือจบกระบวนการ

อันนี้เราเห็นมาแต่ไหนแต่ไรแล้วนะ แล้วในปัจจุบันนี้ ดูสิ ตำราที่เขียนออกมาทั้งนั้นเลย อย่างที่เขียนออกมา เขียนออกมา คือว่ามันยืดยาว

ขณะจิตที่มันขาดพั๊บ! ดั่งแขนขาด! เป็นพระโสดาบันขึ้นมาเลย!

ไม่ใช่ว่า “ขณะนึกขึ้นมานะ ละความเห็นผิดได้นะ จิตมันก็รวมลงทีเดียวเลยนะ รวมลงเสร็จแล้วนะ มันก็รู้ขึ้นมาว่าเป็นพระโสดาบันนะ พอรู้ว่าเป็นพระโสดาบันเสร็จแล้วนะ จิตมันก็กลับหุ้มห่อเหมือนอย่างเดิมอีกนะ” โห.. นี่มันนิยายเรื่องอะไรวะนี่

คิดดูสิ แล้วขณะจิตที่มันเป็นไป แขนขาด กับที่เขาอารัมภบทมา ๕ ชั่วโมง เอ็งว่าโสดาบันใครวะมันเป็นอย่างนี้วะ ไอ้นี่มันหนังสารคดี พยายามทำสารคดีเรื่องโสดาบันไง แล้วก็จะเสนอทฤษฎีโสดาบัน.. มันเป็นไปไม่ได้หรอก มันเป็นไปไม่ได้ทั้งนั้นแหละ

ขณะที่เราปฏิบัติ อย่างเช่นเมื่อวานเขามาถามเรื่องวูบวาบ แล้วมันถูกต้องไหมๆ? ใครก็แล้วแต่นะ พอไปเจอสภาพแบบนั้นมันตื่นเต้น เพราะเราไม่เคยเห็น มันเป็นสามล้อถูกหวย สามล้อนี่ขี่สามล้อทุกข์ยากมากเลย พอได้เงินล้านมานี่โอ้โฮ.. ตื่นเต้นมากเลย จิตมันไม่เคยเป็นไปนะ พอเป็นอะไรปั๊บ มันจะตื่นเต้น พอตื่นเต้นปั๊บ มันจะหยิบอารมณ์นั้นว่าเป็นผลๆ นี่เพราะไม่มีครูบาอาจารย์ไง

ถ้ามีครูบาอาจารย์เพราะอะไร เพราะอารมณ์อย่างนี้ ความเป็นไปอย่างนี้ ครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติต้องผ่านมาแล้วทั้งนั้น อารมณ์อย่างนี้ มันเป็นอารมณ์ปกติของเรา แล้วอารมณ์ปกติของเรา อย่างที่ว่าเมื่อกี๊ที่พูดตั้งแต่เริ่มต้นว่าความรู้ต่างระดับ จิตต่างระดับ การปรับพื้นที่ มันจะเกิดอย่างนี้เยอะแยะมากเลย แล้วพอมันจะปรับพื้นที่ มันที่ลาดชันขนาดนั้น โอ้โฮ.. มันปรับ รถเข้าไปปรับ โอ้โฮ.. ต้องระเบิดหิน ต้องอะไร โอ้.. งานจะหนักหนาสาหัสสากรรจ์ขนาดไหน คำว่างานสาหัสสากรรจ์คือว่าเราต้องลงทุนลงแรงไง เราต้องเข้าไปรับรู้สภาวะเยอะแยะไปหมดเลย กว่ามันจะปรับพื้นที่ได้ กว่ามันจะเป็นแค่พื้นที่ราบนะ ให้เราก่อร่างสร้างเรือนขึ้นมาอีกต่างหากนะ

นี่ไง สมาธิถึงเป็นเรื่องของสมาธิ

สมาธิแก้กิเลสไม่ได้ แต่สมาธิปรับพื้นที่ให้เป็นที่เสมอ

ที่ราบ ให้เราสามารถสร้างสิ่งปลูกสร้างขึ้นมาได้

ถ้าที่เราเป็นที่ลาดชัน ที่เป็นที่ลาดเอียง จะปลูกอะไรนะ มันก็หลังคาทิ่มลงดินทั้งนั้นน่ะ เสาจะชี้ฟ้า มันเป็นไปไม่ได้หรอก แต่ด้วยการจินตนาการ จินตนาการว่านี่เป็นมรรค นี่เป็นผล ก็วาดภาพกันไป เหมือนนักเขียนแบบ คนเขียนแบบเขาเขียนแบบ มันต้องเป็นวิทยาศาสตร์ ต้องตอบสนอง ต้องเข้าใจได้นะ ไอ้นี่มันเขียนภาพเหมือน มันเขียนของมันไปเอง ความเข้าใจของเขา เขาเขียนของเขาไปเองไง

แต่คนมันดันเชื่อนี่น่ะสิ มันแปลกใจที่คนแหม.. เชื่อไปหมดเลย แปลกใจมาก มันแปลกใจ มันแปลกใจเพราะคนที่ไม่มีวุฒิภาวะ แล้วก็เห็นเวลาพูด อย่างที่ว่าพูดละเอียดมากๆ ละเอียดคือวิจัยธรรมะพระพุทธเจ้า แต่ความรู้ของตัวไม่มี อย่างนี้นะ จ้างให้เราพูด ยังไม่กล้าพูดเลย.. จ้างให้พูด กูยังไม่กล้าพูดเลย อย่าว่าพูดปกตินะ จ้างให้พูด กูยังไม่กล้าเลย

แล้วนี่พูดออกมาปั๊บมันก็เป็นเอกสารเป็นหลักฐาน เพราะอย่างนี้ไง เพราะเมื่อก่อนเราจะบอกเลยว่าต่อไปจะไปแก้ไขธรรมะของหลวงปู่ดูลย์ไง แล้วก็ไปแก้แล้วว่า จิตส่งออกไม่ได้ อะไรส่งออกไม่ได้.. ไม่ใช่หรอก.. มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ มันส่งออกได้.. ไม่ใช่ส่งออกได้หรอก..

“มันเป็นธรรมชาติของพลังงาน พลังงานมันต้องคายตัวโดยธรรมชาติของมัน”

“ธรรมชาติของความคิด ธรรมชาติของจิตเป็นอย่างนั้น”

มึงจะบอกว่าส่งออก-ไม่ส่งออก มันก็คือส่งออกวันยังค่ำ เพราะมันเป็นพลังงาน ตัวธาตุรู้ ธาตุ ๖ ธาตุรู้ สิ่งนี้ พลังงานนี้มันคายตัวตลอดเวลา เพราะมันมีพลังงาน มันมีที่อยู่นะ มารถึงหัวเราะไง นี่ไง ที่อยู่ของมารไง มารยิ้มเลย “ภวาสวะ ภพ สถานที่ ตัวจิต” ตรงนี้เป็นที่อยู่ของมาร แล้วพลังงานอันนี้มันจะคายตัวตลอดเวลา เป็นสันตติ ไม่มีพลังงานอันนี้คือไม่มีชีวิต

สิ่งที่มีชีวิตนะ ชีวิตนี้คือไออุ่น ชีวิตนี้คือพลังงาน

พระสารีบุตรไง เขาถามพระสารีบุตรเลยว่า “ชีวิตนี้คืออะไร? ชีวิตนี้คืออะไร? ”

ก็ชีวิตนี้ก็คือเราไง.. ไม่ใช่!

“ชีวิตคือตัวพลังงาน พลังงาน คือตัวไออุ่น คือธาตุรู้”

แล้วมันคายตัวไหม? ถ้าไม่คายตัว มันจะเป็นชีวิตไหม? ถ้าไม่คายตัว มันก็ตาย แต่เพราะมันเป็นพลังงาน มันมีชีวิต มันถึงคายตัว มันมาคายตัวออก มันคืออะไร? ก็คือส่งออกไง

“ธรรมชาติของมันส่งออกอยู่แล้ว ธรรมชาติของจิตมันส่งออกเป็นธรรมชาติของมัน”

“เป็นธรรมชาติของมัน” แต่เพราะเราเอาธรรมะมาควบคุม เอาธรรมะมาควบคุม เอาธรรมะมาดัดแปลง เอาธรรมะมาแก้ไข เอาธรรมะมาเปลี่ยนแปลงให้สิ่งนี้ถูกต้องดีงามขึ้นมา จากปุถุชนก็เป็นกัลยาณปุถุชน คือควบคุมจิตได้ กัลยาณปุถุชน คือคนที่ทำสมาธิได้ง่าย แล้วถ้ายกขึ้นโสดาปัตติมรรคก็มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงแล้ว แก้ไขเปลี่ยนแปลงคือทำความสะอาดไง

พระโสดาบันทำจิตให้สะอาดขึ้นมาได้ ๒๕ เปอร์เซ็นต์

พระสกิทาคามีทำจิตให้สะอาดขึ้นมาได้ ๕๐ เปอร์เซ็นต์

พระอนาคาทำจิตให้สะอาดขึ้นมาได้ ๗๕ เปอร์เซ็นต์

พระอรหันต์ทำลายจิตหมดเลย ตัวจิตก็ไม่มี

ถ้าตัวจิตมี ความสกปรกมันจะจับที่จิตอีก ทำลายหมด ทั้งจิต ทั้งต่างๆ พระอรหันต์ถึงไม่มีจิต “อาสเวหิ จิตฺตานิ วิมุจฺจิง สูติ” ตัวจิตโดนทำลายเข้าไป ไม่มีภพ ไม่มีต่างๆ

หลวงตาถึงบอกว่า “พระอรหันต์มีแต่ธรรมธาตุ” ธาตุของธรรม

ถ้ามีจิต มีภพ มีสถานที่ มีผู้รับรอง มีสถานที่ให้กิเลสมันขึ้นมาจับจองพื้นที่ ภพ.. ไม่มี ถ้ามีสถานที่ ฝุ่นลงเกาะได้ มีความสว่าง ก็คู่กับความเฉา มีสถานที่มีความว่าง

ความว่างๆ เอาของยัดเข้าไป มันก็ไม่ว่าง ความว่าง ที่ไหนว่าง เอาของเข้าไปวางไว้สิ ความว่างหายไปทันทีเลย ความว่างนี่เป็นบุคลาธิษฐาน เป็นการพูดสื่อความหมายเพื่อให้เข้าใจได้เท่านั้น แต่ความจริงมันเหนือความว่าง เหนือธรรมชาติ เหนือทุกอย่าง เหนือหมดเลย มันเป็นเหนือจริงๆ

โอ้โฮ.. เกือบลืมแล้ว

นี่พูดถึงไง พอเห็นแล้ว.. ทีแรกว่าจะไม่พูดนะ เพราะเราพูดเรื่องนี้บ่อย แล้วทีนี้เพียงแต่ว่ามาให้เห็น อย่างนี้คนเขาเชื่อกัน เราจะบอกว่ามันแบบว่ามันเยิ่นเย้อเกินไป คือว่ามันเป็นนิยายเกินไป มันไม่เป็นความจริงหรอก ถ้าความจริงนะ.. จิตมันเร็วมากนะ จิตเราเร็วมากอยู่แล้ว แล้วสิ่งที่จิตมันยึด มันละเอียดยิ่งกว่านั้น แล้วสิ่งที่จะไปตามทันมันได้ แล้วทำลายมันได้ มันก็ต้องเร็วกว่า

ทุกคนบอกเลย เวลาภาวนา พอจิต ปัญญามันเกิด “โอ้โฮ.. มันเร็วมาก จิตมันเร็วมาก โอ้โฮ.. ปัญญามันละเอียดมาก” เราบอกว่า “เออ.. นี่เพิ่งเริ่มต้นน่ะ เดี๋ยวมันจะละเอียดกว่านี้” ถ้ามันไม่มีละเอียดกว่านี้นะ มันไม่มีสติ มหาสติ มันมีปัญญา ปัญญาพอไล่ทัน มันก็ทันแล้วนะ พอมันเร็วกว่านี้อีก เวลามันถึงอนาคา ถึงอรหัตตผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล มันจะเร็วกว่านี้ ความคิดจะเร็วกว่านี้ ความคิดจะเร็วกว่านี้ มันจะปลิ้นปล้อนมากกว่านี้ แล้วถ้าไม่เป็นมหาสติ ไม่เป็นมหาปัญญา เอาไม่ทัน

สติปัญญาเอาได้แค่โสดาบัน สกิทาคา พอขึ้นขั้นของจิตละเอียดแล้วนะ ต้องเป็นมหาสติ เป็นมหาปัญญา แล้วพอขึ้นไปถึงอรหัตตมรรคนะ มันจะเป็นปัญญาญาณเลย ปัญญากับความเคลื่อนไหวเป็นอันเดียวกันเลย ถ้าปัญญากับการเคลื่อนไหวของจิตไม่ทันกัน มันไม่ทันกัน เอากันไม่ทัน เอากันไม่อยู่ มันจะเร็วกว่า

นี่มันยังเป็นนิยายอยู่เลย มันยังไม่ได้เป็นความจริงขึ้นมาเลย

ถ้าเป็นความจริงนะ ที่ว่าเร็วๆๆๆ..

หลวงตาพูดนะ คนเป็นจะรู้ พูดหมด

มันจะเร็วขนาดไหน ตัณหาจะล้นฝั่งขนาดไหน สตินี่กั้นได้หมดเลย สตินี่ยับยั้งได้หมดเลย พอสติยับยั้ง พอยับยั้งได้แล้ว เดี๋ยวมันจะเกิดขึ้นมา

ถาม: การซื้อหวยใต้ดิน ผิดศีล ๕ หรือไม่?

ตามความเข้าใจของกระผม การซื้อล็อตเตอรี่ น่าจะไม่ผิด ซื้อหวยใต้ดินน่าจะผิด เพราะ..

ตอบ: ผิดหมดล่ะ มันผิดตรงไหนรู้ไหม? มันผิดข้อการพนันไง การพนันขันต่อ

โธ่.. เวลาหลวงตา.. บอก “เราสู้ๆ” ก็บอก “นี่สู้ก็ไม่ดีแล้วนะ สู้ก็มีการต่อสู้แล้ว”

คนที่เป็นธรรมจะไม่มีการขบเหลี่ยมกันเลยนะ มันจะเป็นความเสมอภาคหมด

ทีนี้บอกการซื้อหวยมันเป็นพนันขันต่อไหม? พอเป็นพนันขันต่อ ทีนี้เรื่องหวยนะ บอกว่าผิดไหม? ไอ้ลาภที่ควรได้ ลาภที่ควรได้คือว่าเราทำความดีของเราขึ้นมา สิ่งที่เราเป็นขึ้นมา ไอ้การซื้อล็อตเตอรี่ การซื้ออะไร ว่าซื้อล็อตเตอรี่ไม่ผิด ถ้ามันเป็นหวยใต้ดินถึงจะผิด.. สิ่งนี้มันผิดหมด

แล้วถ้าพูดอย่างนี้ผิดนะ ย้อนกลับมาการเล่นหุ้น ทุกคนจะมาถามเรื่อยว่าการเล่นหุ้นนี่ผิดไหม? เราบอกว่าการเล่นหุ้นนี่นะ ถ้าการเล่นหุ้นแบบที่ว่าไอ้ที่เขาเข้าไปจัดการ คนเล่นคนปั่นหุ้นนั่นน่ะผิด เพราะมันก็เหมือนกับการพนันใช่ไหม แต่นี้เขาบอกว่าคนจนเล่นหวย คนรวยเล่นหุ้นน่ะ ก็คือเขาถือว่าเป็นการพนันไง

แต่เราต้องตีความก่อนว่าการเล่นหุ้นคือการลงทุน ความตั้งใจของตลาดทุนคือการลงทุน ลงทุนเพื่อเอาทุนนี้ไปทำกิจการขึ้นมา เพื่อให้เป็นการลงทุน ถ้าการลงทุนอย่างนี้ เราถือว่าไม่ผิดหรอก เพราะเป็นการลงทุนใช่ไหม ก็เป็นการซื้อขาย เป็นการทำธุรกิจใช่ไหม ถ้าโดยเนื้อหาสาระของมันไง แต่ถ้าโดยข้อเท็จจริงน่ะ ผิด เพราะเขาปั่นกันน่าดูเลย คือข้อเท็จจริงเขาก็คือปั่น ก็เหมือนกับแทงหวยกันนี่แหละ เพราะคนเล่นหุ้นเขาต้องรู้ถึงค่าของมันใช่ไหม ค่าการลงทุนใช่ไหมว่ามันผลตอบแทนเท่าไรเขาถึงคิด เดี๋ยวนี้เขาบอกไม่หรอก กูแบบกูเสี่ยงดวง ลงทุนกันน่ะ

ทีนี้พอของอย่างนี้มันก็ย้อนกลับมาที่คน ตลาดทุนน่ะ เขาทำเพื่อการลงทุน เพื่อประเทศชาติ ทีนี้คนก็เอาอันนี้มาเป็นการพนันขันต่อกัน คือว่าใครฉลาด ถ้าอย่างนี้แล้วมันก็ย้อนกลับมาที่ศีลธรรม-จริยธรรม ถ้าพูดอย่างนี้ปั๊บ คำว่า ศีลธรรม-จริยธรรม ก็คนที่มีศีลธรรม-จริยธรรมคือคนเสียเปรียบตลอดเวลา คนมีศีลธรรม-จริยธรรมคือคนด้อยค่า คือคนไม่ทันโลกตลอดไป.. ไม่ใช่นะ

คนมีศีลธรรม-จริยธรรมเป็นคนดี หรือเป็นผู้นำ เป็นคนปกครองประเทศเยอะแยะมากเลย คนมีศีลธรรม-จริยธรรม คือทำตามเนื้อผ้า เราทำคุณงามความดี ผลตอบแทนคือให้ค่าตามแต่สิ่งที่มาตอบแทนตามค่านั้น แล้วถ้าคนมีบุญกุศล มันตอบแทนมาโดยสมบูรณ์ตลอด แล้วให้ค่าได้มากขึ้น ศีลธรรม-จริยธรรมคือจังหวะและโอกาส บุญกุศล โอกาสของคนมา จับอะไรไป มันถูกต้องดีงามไปหมดเลย คนที่ไม่มีศีลธรรม-จริยธรรม จับสิ่งใดไปผิดพลาดตลอดเวลาเลย การผิดพลาด การตัดสินใจที่ผิดพลาด นี่ไง มันเป็นคราวเวรกรรมของแต่ละคนมันมาแต่ละคราว มันไม่เหมือนกัน อันนี้เป็นอันหนึ่ง

ไอ้อย่างนี้มันเป็นกรณีปลีกย่อย แล้วมันอยู่ที่การตีความ อยู่ที่การตีความว่าใครคิดว่าผิดหรือใครคิดว่าถูก นี่ความคิดนะ แต่เราจะคิดว่าผิดหรือถูกไม่ได้ คนเราทุกคนบอกว่าตัวเราเป็นคนดีหมด ทุกคน เราก็ว่าเราทำถูกหมด ที่พูดอยู่นี่เราว่าเราถูก แต่คนก็โต้แย้งเราบอกว่า “ถูกอย่างไร? หลวงพ่อพูดแล้วน่าเบื่อมากเลย” ขึ้นต้นน่ะ เพราะมีอยู่ที่โพธาราม เขามาเขาบ่นทุกคนน่ะ ไปหาหลวงพ่อ อะไรก็นิพพานๆ ไม่เอา จะเอาแค่บุญก็พอ.. พูดนิพพานๆ น่าเบื่อ ทำไม่ถึงน่ะ.. เขาว่าเราผิด เขาก็บอกว่าเราซื่อบื้อ คำก็นิพพาน สองคำก็นิพพาน อะไรก็เสียสละ ซื่อบื้อน่าดูเลย บอกว่าเอาอันที่เป็นประโยชน์ๆ ไม่มีบ้างเลยเหรอ? เขามาเขาก็จะมาเอาบุญทั้งนั้นน่ะ เขาจะเอาแต่ผลประโยชน์

ใครตีความว่าใครผิดใครถูกล่ะ? อันนี้ก็เหมือนกัน ความที่ว่าเขาว่าเราผิด หรือสิ่งใดผิดสิ่งใดถูก จะบอกว่าเวลาครูบาอาจารย์ที่ท่านมี เขาจะบอกว่าให้ปรารถนาสิ่งที่ไม่ผิดศีลผิดธรรม ขอให้ปรารถนาสิ่งที่ไม่ผิดศีลผิดธรรม ควรในสิ่งที่ควรได้ อันนั้นน่ะเป็นบุญกุศล

แต่ถ้ามันผิดศีลผิดธรรมมันคดมันโกง มันก็ไม่ถูกต้องใช่ไหม

อันนี้ก็เหมือนกัน สิ่งที่ว่ามันจะผิดศีล ๕ ไม่ศีล ๕ ศีล ๕ เราตีความว่าอย่างไร มันก็เอาศีลนี่มาเป็นบรรทัดฐาน ถ้าศีล ๕ เป็นบรรทัดฐาน แล้วถ้าศีลนะ มันก็มีศีล-อธิศีล ศีลของใคร? ถ้าศีลของเรา เราถือศีล ๕ แล้วเราก็นั่งไม่ขยับเลย เดี๋ยวผิดศีลไง แล้วเราไม่ได้ทำอะไร ศีล ๕ มันก็เกร็งน่ะ ถ้าอย่างนั้นถือศีล ๕ ดี โต๊ะกูถือศีล ๕ ดีกว่ามึงอีก เพราะโต๊ะกูไม่ขยับไปไหนเลย ศีล ๕ เพราะถือศีล ๕ ถ้าอย่างนี้กลัวผิดหมด ศีล ๕ ปั๊บก็ไม่ทำอะไรเลย กลัวผิดไปหมดเลย.. ไม่ใช่

ศีลด่าง ศีลพร้อย ศีลทะลุ ศีลขาด

คำว่าด่างว่าพร้อย เราไม่ได้ทำผิดศีลหรอก แต่บางอย่างมันมีเหตุการณ์วิกฤติ บางอย่างมันมีเหตุการณ์จำเป็น เราเดินไป เราไม่ได้ตั้งใจเลย เราปรารถนาความดีทั้งหมดเลย เราพลาดพลั้งไปทำอะไรผิดพลาดเข้าไป มันเป็นการเรื่องสุดวิสัย ผิดศีลไหม? ไม่มีเจตนา เรานี่อยากปรารถนาดี อยากทำดี ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์เลย แต่มันไปถึงแล้วมันเกิดอุบัติเหตุ มันเกิดการผิดพลาดโดยที่ไม่มีเจตนา ตั้งใจทำดีทั้งนั้นเลย แล้วมันผิดพลาดไปจะทำอย่างไร? ศีลด่าง ศีลพร้อย ศีลทะลุ ศีลขาด.. อย่างเราเป็นคนที่เอาเปรียบ เราตั้งใจจะโกงเลยนะ ตั้งใจว่ากูจะไปโกงมึงเลยล่ะ แล้วกูก็ตั้งใจไปทำเลย พอทำเสร็จแล้วนะ ผลตอบสนองขึ้นมา นั่นล่ะ ศีล ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ นั่นน่ะขาด

ขาดเพราะอะไร? ศีลจะขาด ศีลจะไม่ขาด มันมีผู้ได้ผู้เสีย เรากับเขา เราเป็นผู้เจตนาที่จะคดโกง จะกระทำ แล้วได้กระทำ แล้วสมบูรณ์แล้ว นั้นครบองค์ประกอบของศีล เราคิดอยู่น่ะ เราจะโกงคนโน้น เราจะโกงคนนี้ เราจะทำอย่างนั้นนะ แต่ยังไม่ได้ทำ.. อาบัติของความคิดไม่มี แต่มีมโนกรรม อาบัติของความคิดมันมีแล้วยังไม่ได้ทำ

แต่ถ้าทำลงไปแล้ว.. สิ้นของมันเลย ศีลธรรม ธรรมะมันถึงละเอียดกว่า ละเอียดกว่าศีลเยอะมาก

ฉะนั้น กรณีอย่างนี้ ถ้ากรณีว่าจะผิดไม่ผิด เราว่ามันผิดเรื่องการเป็นการพนันขันต่อ ฉะนั้น อย่างการลงทุนในตลาดหุ้น เป็นการพนันขันต่อไหม? ก็อยากได้กำไรน่ะเนาะ ก็มีความโลภอยู่วันยังค่ำน่ะ เพราะมีคนถามเรื่องนี้บ่อยมาก ไอ้เรื่องอย่างนี้นะ มันจะบอก ตอบให้เด็ดขาด ตอบเด็ดขาดได้เป็นบุคคลๆ ไป เพราะบางคนยังอ่อนแออยู่ มีเยอะมากนะ บางคนทำความผิดพลาดได้ระดับนี้ พอเขาสะอาดขึ้นมานะ

คนมาถามบ่อยเลยว่าจะเป็นพุทธมามกะ เวลาเข้าไปพิธีกรรมของเขา จะกราบไหว้อนุสาวรีย์ได้ไหม? เออ.. ถ้ากราบไหว้อนุสาวรีย์ถือว่าขาดจากพุทธมามกะไหม? เวลาจะถือศีลนี่เก๊กไปหมดเลยนะ เกร็งไปหมดเลยนะ เพราะมีนายตำรวจ เขาบอกเวลาเข้าแถว เข้าปฏิญาณตนน่ะ มันต้องปฏิญาณใช่ไหม อย่างนี้ขาดจากพุทธมามกะไหม? เขามาถามเรานะ เวลาจะถือศีลไง กลัวจะผิด กูบอก ไม่ผิดหรอก เพราะเราเองเราก็ตั้งใจแล้ว พุทธ ธรรม สงฆ์ ใช่ไหม แต่ในขณะที่ว่ามันเป็นราชพิธีต่างๆ เราก็ปฏิญาณตนของเราไป มันก็เป็นราชพิธี วิชาชีพของเรา แต่จิตใจเราล่ะ?

นี่ศีลใช่ไหม ศีล อธิศีล อธิศีลเป็นโสดาบันนี่สมุจเฉทเลย มันจะเป็นศีลในตัวมันเองแล้ว จิตเป็นศีล พอจิตเป็นศีล ไม่สีลพตปรามาส ไม่ลูบคลำในศีล มันจะรู้ของมันนะ มันจะรู้ของมันเลยนะ รู้ของมัน ทำไมรู้ไหม? อย่างพวกเรานี่นะ ปุถุชนยังเวียนตายเวียนเกิด ไม่มีต้นไม่มีปลาย พระโสดาบันอีก ๗ ชาติเพราะอะไร ก็ตรงจิตที่มันมีสตินี่ไง

หลวงตาบอกว่าจิตของพวกเรานี่เหมือนลิง โดดเข้าไปเกาะตามกิ่งไม้ พอไปเจอกิ่งไม้แห้งมันก็ตกใช่ไหม แต่ถ้าจิตของพระโสดาบัน พระสกิทาคา พระอนาคาขึ้นไป มันมีสติไง มันมีสติของมัน พอสติ พอมันขยับ มันจะตาย มันทันของมัน พอคนเวลาจะตาย มันจะหดมาที่จิตนะ พอมันมีอาการ มันจะหดมาที่จิต พอที่จิตมัน พอหดมาที่จิต มันก็คิดถึงสถานะของตัว คิดถึงบุญกุศลของตัวมันก็เกิดตามบุญ แต่พวกเราเวลาเรา บุญก็ทำ บาปก็ทำ เวลาตาย เขาบอกให้พุทโธๆ คิดถึงบุญไว้นะ แต่มันก็ดันคิดไปเรื่องบาปนะ ไปทางโน้น มันก็ไปทางโน้นก่อน เวลาออกจากร่าง

นี่ไง พระโสดาบันถึงมีสติไง ถึงว่าเป็นอธิศีลไง มันเผลอได้ เพราะพระโสดาบันไม่ใช่พระอรหันต์ พระโสดาบันมีสติ แต่ไม่สมบูรณ์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ มีความพลั้งเผลออยู่ แต่ขณะที่เหตุการณ์วิกฤติ ความพลั้งเผลอ พอมีเหตุการณ์วิกฤติมันสะเทือนหัวใจใช่ไหม พอสะเทือนหัวใจมันก็เขย่า พอเขย่า สติก็พร้อมมาเลย มันก็กลับมาที่นี่ปั๊บ ตายไม่มีลงอบาย เราถึงบอกว่าการปิดอบาย อย่างน้อยต้องพระโสดาบัน เขาบอกว่าศีล ๕ สมบูรณ์ปิดอบายได้ เราบอก ได้ ถ้าศีล ๕ สมบูรณ์นะ อย่าเผลอนะ มันจะผิดพลาดตรงนี้ไง ตรงเผลอหรือไม่เผลอนี่แหละ

ศีล ๕ บริบูรณ์ ถ้าไม่เผลอ อบายไม่ไปเด็ดขาด แต่บางทีเราเผลอนะ แล้วเวลาเผลอ เผลอโดยไม่รู้ตัวด้วย เขาบอกอย่าเผลอนะ.. ไม่เผลอหรอก.. ไม่เผลอ.. ปากว่าไม่เผลอนะ แต่จิตไปไหนแล้วไม่รู้.. ไม่เผลอ ไม่เผลอเลย สติสมบูรณ์ๆ.. พูดแต่ปาก แต่ใจไปไหนไม่รู้

แต่ถ้าเป็นจิตนะ มันออกมาจากใจ.. นี่พูดถึงพระโสดาบัน

อันนี้ได้ตอบแล้วเนาะ ใครมีอะไรบ้าง วันนี้ยาวนะ เพราะพูดเรื่อยๆ เกือบชั่วโมงไง

เนาะ.. อ้าว.. เกือบแล้วล่ะ.. อ้าว.. ว่ามาเลยมา

โยม: มาช้าไปหน่อยครับ ก็เลยอยากถามหลวงพ่อนิดหนึ่ง คือผมมีความเห็นว่าอย่างนี้ คือปกติมันจะมีระหว่างความนิ่งกับความหลง ๒ ตัว

หลวงพ่อ: อ้าว ว่าไป

โยม: ความสำคัญคือที่จริงเราต้องมารู้ตอนที่มันกำลังสื่อออกใช่ไหม

หลวงพ่อ: ว่าไป

โยม: ที่เกิดปัญญาขึ้นใช่ไหม

หลวงพ่อ: ว่าไป ว่าไปให้จบ ว่าไปเลย

โยม: ทีนี้คือผม เท่าที่ผมสัมผัสจากตัวเองนะครับหลวงพ่อ คือหมายความว่าเวลาปกติ ถ้าจิตเราสงบ โอเค มันก็สงบนิ่ง แต่เวลาที่เราหลงก็หลง แต่ไอ้ช่วงที่เรา.. ระหว่างตัวที่ตอนจะไม่หลงกับตอนที่มันหลง เราไม่เห็นช่วงที่มันไหลออก

หลวงพ่อ: ไม่มีหรอก..ความนิ่งคือจิตนิ่งอยู่ความหลงก็คือความหลงอยู่ ความหลงคือจิตมันหลงไปแล้ว แล้วมันจะมานิ่งที่ไหนล่ะ

โยม: แต่มัน.. คือที่ถามนี่คือหมายความว่าเราต้องมารู้ว่ามันหลงไปได้อย่างไรใช่ไหมหลวงพ่อ

หลวงพ่อ: พุทโธไว้ พุทโธไว้ พุทโธไว้ แล้วดูไว้ หลงน่ะ มันเพราะว่าเราไม่มีรากฐานถึงหลง หลงคือหลงไปแล้ว หลงไป เวลาหลง เหมือนคนแบบว่าเด็กใจแตก เราเอาฟื้นใจยากมากเลย เพราะมันมีข้อมูล มันติด เด็กติดในรูป รส กลิ่น เสียง ในเสียง พ่อแม่พยายามจะดึงกลับ ยากมาก ต้องพยายามหาเหตุหาผล ต้องสอนมันจนกว่ามันจะลืมตาขึ้นมา มันถึงจะเปลี่ยนความเห็นอันนั้น

จิตหลง เวลาคำว่าหลง คือมันไปเต็มตัวแล้ว ฉะนั้นว่าแก้หลงอย่างไร? ก็กลับ แก้หลงจะเอา จับหลงที่ไหน มันเป็นอดีตไปแล้ว ถ้าพูดถึงเรารู้ว่าหลงหรือนิ่ง มันเป็นอดีตไปหมด การจะแก้ การจะแก้ถ้าจิตตกภวังค์ จิตที่มันเป็นไปแล้ว ต้องพุทโธอย่างเดียว พุทโธๆๆๆ.. พุทโธอยู่กับมัน จนพอมันพุทโธๆ แล้ว พุทโธๆ แล้วนะ ถ้ามันเคยหลง พุทโธๆ พักหนึ่งมันก็จะไป ถ้าของมันเคยไป ร่องน้ำมันมีอยู่ มันไป พุทโธๆๆ พอมันจะไปก็ดึงไว้ พอไปก็ดึงไว้ พอมันเห็นร่องน้ำ มันปิดร่องน้ำ ตัดร่องน้ำ จนมันไม่ไป จนมันไม่หลง ถ้าจะไปแก้ที่หลง.. ไม่มีทาง

โยม: ไม่ใช่แก้ที่หลง หลวงพ่อ แต่หมายถึงว่าทำความเข้าใจเหตุแห่งความหลง หลวงพ่อ ต้นตอของมัน

หลวงพ่อ: ไม่.. นี่พูดนี่จบแล้ว เราพูดนี่คือการแก้ คือที่มาและที่ไป ถ้าไปบอกว่าจิตหลงกับจิตที่ไม่หลงอะไร พูดอย่างนี้ปั๊บ โทษนะ.. ไม่อยากจะไปพูดเปรียบเทียบเลย มันจะเข้าอภิธรรมไง อภิธรรม จิตมีร้อยแปดดวง อะไรดวง..

หลวงปู่บุดดา หลวงตาเรา ครูบาอาจารย์ หลวงปู่มั่นบอกจิตมีหนึ่งเดียว

ตัวจิต ถ้ามันไปอยู่ที่นิ่ง มันก็คือสมาธิ ถ้ามันไปอยู่ที่หลง ก็คือมันหลงไปทั้งตัวแล้ว มีหนึ่งเดียว ไม่มีสองไม่ต้องมีอะไรมาเทียบเคียง ขณะที่ไปไหนก็เป็นไอ้นั่น

โยม: แล้วทีนี้เหตุแห่งความหลงล่ะหลวงพ่อ

หลวงพ่อ: เหตุแห่งความหลง เหตุแห่งความหลงก็อวิชชา ก็มึงไม่รู้ ก็หลง

ตอนนี้นาย ก. ปล้นธนาคาร ใครๆ ก็รู้ แล้วนาย ก. ไม่อยู่ มึงจะเอานาย ก. จากไหนมาฆ่าล่ะ ไอ้ที่หลงก็จิตมันหลงไปแล้ว อันนี้พอหลงไปแล้ว คิดทางวิทยาศาสตร์ไง เพราะจิตหลงไปแล้วก็จะเอาไอ้ตัวหลงมาฆ่าไง ถ้าฆ่าก็เอาปืนยิงหัวตัวเองสิ เพราะจิตกูมันหลงเอง ถ้าฆ่าก็ต้องฆ่าจิตเรานี่แหละ เพราะจิตเรามันหลง

โยม: คือผมเห็นเป็นอย่างอื่นด้วย คือเห็นว่าจริงๆ ที่หลง เพราะว่าหลงความคิด

หลวงพ่อ: ไม่มีทาง

โยม: แล้วทีนี้จิตก็ไปอินตรงนี้ ถ้าเรารู้เท่าทันตัวนี้แล้วก็มันก็จะไม่หลง

หลวงพ่อ: ถ้ารู้เท่าทัน ก็ต้องรู้เท่าทันสิ

โยม: ครับ ใช่

หลวงพ่อ: ถ้ามันรู้เท่าทัน.. พุทโธนี่ไง คำว่ารู้เท่าทันนี่นะ..

โทษนะ ที่โยมพูดอยู่ มันเป็นอดีตอนาคตไปแล้ว เป็นวิชาการ ไม่ทันหรอก.. เราทำวิจัยได้ว่าต้องเป็นอย่างนี้ๆ แต่เวลาจริงๆ มันเป็นอย่างนี้ไหม? อย่างที่เราพูดเมื่อกี้ว่าพุทโธๆ ก็อย่างที่โยมพูดว่าเพราะจิตมันหลง เพราะมันหลงผิด มันมีข้อมูลของมัน ถ้าพุทโธๆ คือบังคับให้จิตไม่คิดเรื่องอื่น คือไม่คิดข้อมูลเรื่องหลง ก็พุทโธตลอด ขนาดพุทโธไม่หลงนะ พุทโธนี่พุทธานุสติต้องอยู่นะ มันยังไปเลย เพราะมันเคยไป เราพุทโธๆๆ รั้งไว้ๆ พุทโธๆๆ พุทโธแก้จนกว่าว่าเวลามันอยู่ของมันแล้ว มันไม่ไป.. อ๋อ! ไม่ไปเพราะอย่างนี้ พอไม่ไปเพราะอย่างนี้ ข้อมูลที่ไม่ไป มันเอามันอยู่ปั๊บ ถ้ามึงทำอย่างนี้แล้วมึงอยู่ กับที่มึงปล่อยไปตามเรื่องตามราวแล้วหลงไป.. มึงจะเอาอะไร

โยม: คือมันเป็นเหมือนว่าผมเข้าใจเรื่องความหลงหลวงพ่อ พอเราเข้าใจเรื่องความหลง ก็คือสภาวะมันก็คืออย่างที่หลวงพ่อบอก ก็คือเวลา..

หลวงพ่อ: หึ.. ไอ้เราพูด เราพูดถึงเหตุและผลเราจบแล้ว แต่โยมจะทำวิจัยนะ โยมไปทำวิจัยเอง เราไม่ทำ

โยม: ไม่ได้ทำวิจัย หลวงพ่อ.. คือพูดจากการปฏิบัติ

หลวงพ่อ: การปฏิบัตินั่นแหละมันหน่วงให้ยาวแล้วพอทำไปแล้วมันจะสรุปแล้วแก้ไขได้นั่นเลย ใช้ปัญญาอบรมสมาธิหรือสมาธิอบรมปัญญาแก้มันก็จบ

โยม: อย่างกรณีอย่างเช่น สมมุติว่าเวลาจิตจะเกิดนะ หลวงพ่อ มันจะกระเพื่อมที่ตรงนี้ก่อน แล้วสติมันจะมาจับทันตรงนี้

หลวงพ่อ: โยมใช้อะไร โยมภาวนาอย่างไร

โยม: คือผมใช้วิธีหยุดคิดครับหลวงพ่อ

หลวงพ่อ: หยุดคิด.. ใช้สติตาม

โยม: ไม่ใช่อย่างนั้นครับ คือหมายถึงว่าเมื่อก่อนเป็นคนคิดแล้วก็ไหลไป ผมก็ใช้วิธีหยุด.. หยุดๆๆๆ จนกระทั่งมันนิ่ง มันมีพลัง ทีนี้พอเวลาจะเคลิ้ม มันเห็นว่า อ้อ.. ที่หลุด มันหลุดอย่างนี้ ก็เลย อ๋อ.. เข้าใจ

หลวงพ่อ: แล้วจะตายตลอดไป

โยม: หมายความว่า..

หลวงพ่อ: เพราะหมายความว่าไม่มีคำบริกรรม ไม่มีที่เกาะของจิต

ถ้าดูจิต ดูความคิดจะเป็นอย่างนี้ มันดูของมันไปเรื่อยๆ แล้วมันไม่มีที่เกาะ

กรรมฐาน ๔๐ ห้อง เป็นที่เกาะของจิต เป็นที่เกาะ จิตนี้เปรียบเหมือนเด็กอ่อน เด็กอ่อนเกิดขึ้นมาแล้ว มันต้องหัดนั่งหัดเดินของมัน แต่โดยธรรมชาติของเด็ก มันจะเดินได้โดยธรรมชาติของมัน แต่การจะเดินนะ ต้องให้มันหัดนั่งหัดเดิน การหัดนั่งหัดเดิน คนเด็กหัดเดิน ไม่มีที่เกาะ มันต้องล้มลุกคลุกคลานเป็นธรรมดา จิตไม่มีอะไรเลย อยู่เฉยๆ

หลวงตาบอก อย่างนี้เรากำหนดรู้ กำหนดจิตอยู่ แล้วมาอยู่ที่จักราช ไปทำกลดอยู่หลังเดียว จิตเสื่อมหมดเลย! พอเสื่อมหมดเลย มันก็ดูจิตตลอดไง เพราะกำหนดจิต ท่านไม่ใช้ตรงๆ ท่านจะบอกท่านกำหนดที่จิต ท่านกำหนดจิตเฉยๆ กำหนดจิตเฉยๆ พยายามเต็มที่ขนาดไหนนะ มันก็ดีขึ้นพักหนึ่ง แล้วมันก็ไหลลงมา ทำอย่างไรก็เอาไม่ขึ้น ทำอย่างไรก็ไม่ขึ้น.. ทุกข์มาก!

ดูจิต.. หลวงตาดูจิตมาแล้ว แล้วก็เสื่อมหมดเลย แล้วก็เข็นไม่ขึ้น

สงบพักเดียวก็ไหลลงมา สงบพักเดียวก็ไหลลงมา

สุดท้ายแล้วตัดสินใจหาเหตุหาผลด้วยตัวเองว่าเรานี่ผิดเพราะอะไร สงสัยว่า “ขาดคำบริกรรม” คำบริกรรม พุทโธๆๆ สุดท้ายแล้วบังเอิญว่าหลวงปู่มั่นต้องไปเผาศพหลวงปู่เสาร์ แล้วทิ้งให้หลวงตาอยู่องค์เดียว ท่านบอกท่านกำหนดพุทโธๆๆ ๓ วันแรกอกแทบระเบิด เพราะมันเคยตัว กำหนดเฉยๆ มันสบาย กำหนดเฉยๆ ตั้งสติเฉยๆ โอ้.. มันสบาย เหมือนกับเราตามใจตัวเอง

แต่พอกำหนดพุทโธๆๆ บังคับให้จิตมาอยู่กับพุทโธ บังคับให้เด็กเอามือมาเกาะกับราวเดินไว้ เกาะกับราวเดินไว้ เด็กมันไม่ยอมหรอก เด็กมันจะเดินไปตามประสามัน มันไม่ยอมเกาะราวหรอก มันจะล้มลุกคลุกคลาน เลือดจะออกขนาดไหน จะตกเหวตกบ่อมันก็พอใจ มันไม่ยอมเกาะราวนี้ ฉะนั้นพอบังคับให้จิตมาเกาะราวนี้ ๓ วันแรกอกแทบระเบิด แล้วพุทโธๆๆ อกแทบระเบิดนะ พุทโธๆๆ จนมันยอมอยู่ แล้วมันเป็นไปได้นะ

“อ๋อ! จิตมันเสื่อมเพราะไม่มีคำบริกรรม”

แล้วนี่เหมือนกัน บอกว่าเดี๋ยวมันนิ่ง เดี๋ยวมันหลง เดี๋ยวมันนิ่ง.. มันจะเป็นอย่างนี้ตลอดไป เพราะมันไม่มีจุดยืนไง เราถึงบอกว่าพวกอภิธรรม พวกกำหนดนามรูป พวกกำหนดต่างๆ มันตัดราก ตัดรากของจิตเลย ตัดรากคือมันไปไม่ถึงรากของจิต ถ้ามันไม่ถึงราก เราพุทโธๆๆ คำว่าพุทโธ เกิดจากวิตกวิจาร ปัญญาอบรมสมาธิ ตั้งสติ สติเกิดจากจิต ถ้าสติเกิดจากจิต.. สิ่งที่เกิดจากจิตมันมีสายใย แล้วถ้ามีสายใย มันออกไปตามรู้ พอมันหดสั้นเข้ามา มันจะกลับมาอยู่ที่ฐาน กลับมาอยู่ที่สายใยนั้น แล้วสายใยนี้มันจะชักตัวมันเองเข้าไปสู่ฐีติจิต

แต่ถ้าเขาตัดตรงนี้ทิ้ง สติก็ไม่ต้องฝึก คำบริกรรมก็ไม่ต้อง ทุกอย่างไม่ต้อง

เพราะความคิด ไม่ใช่จิต ความคิดมันเกิดจากจิต แล้วไปดูกันที่ความคิด ไปหยุดความคิดเกิดดับ พอความคิดเกิดดับมันก็ว่างๆ ว่างๆ เพราะมันไปหยุดไปดับที่ความคิด มันไม่มีกระแสกลับมาที่ตัวจิต มันตัดราก

ฉะนั้นคำว่าพุทโธ คำบริกรรม คำต่างๆ คำว่าคำบริกรรม คำบริกรรมมันเกิดจากวิตกวิจาร ไม่วิตกพุทโธขึ้นมา มันจะไม่มีคำวิตก คำว่าพุทโธ ใครเป็นคนนึก? จิตเป็นคนนึก จิตนี้ มันเป็นตัวจิต นี่รากของจิต เรานึกพุทโธขึ้นมา นึกพุทธ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ องค์ของสมาธิ.. วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ คือมันเกิดมาจากจิต เกิดจากมีที่มาที่ไป พอมีที่มาที่ไป ผลตอบสนอง มันจะตอบสนองเข้าไปสู่ที่มาที่ไป คำว่าที่มาที่ไปนั้นมันตั้งมั่นของมัน นี่ไง องค์ของจิตตั้งมั่นไง

แต่มันไม่มีตรงนี้ไง ไปดูที่เงาไง ความเกิดดับเป็นความคิด ความเกิดดับเป็นความคิด จิตเป็นรูป ความคิดเป็นนาม.. จิตเป็นรูป ความคิดเป็นนาม.. จิตเป็นพลังงาน ความคิดเป็นสิ่งที่เกิดจากพลังงาน ความคิดเกิดขึ้นมีความบกพร่อง ความบกพร่องมีนาม มีนามมีช่องว่าง มีช่องว่างจิตก็หมุนไป.. ความคิดก็เกิด แล้วไปดับกันที่ความคิด

โยม: อันนี้ฝึกแนวดูจิต หลวงพ่อ.. ฝึกสวนทวนความเคยชิน

หลวงพ่อ: ใช่.. เพราะข้อมูลที่นี่มันมาเยอะไง ทีนี้เราถึงพยายามจะพูดให้เห็นโทษของมัน ให้เห็นความจริงของมัน ถึงขาดคำบริกรรม เอามาอยู่ที่คำบริกรรม “คำบริกรรม” ถ้าไม่บริกรรมก็ต้องเป็นปัญญาอบรมสมาธิ คำว่าปัญญาอบรมสมาธิ ไม่ใช่ปัญญาวิมุตติ ปัญญาอบรมสมาธิก่อน ปัญญาอบรมสมาธิจนเกิดฐีติจิต เกิดฐาน เกิดที่กิเลสอยู่ เกิดที่สิ่งที่กิเลสมันฟักตัว เราต้องไปชำระล้างกันที่นั่น เราจะแก้กิเลสกันที่ไหน? เราจะถอดถอนกิเลสกันที่ไหน? ถ้าเราไม่เห็นที่อยู่ ไม่เห็นตัวมัน เราจะแก้กิเลสได้ไหม?

นี่ไง เวลาเราทำกัน เราทำมีเหตุมีผลไง ตอนนี้เราไม่รู้อะไรกัน ไม่รู้ที่มาที่ไปนะ มานั่งอยู่นี่ เราเกิดจากไหน? เกิดจากแม่ ใครๆ ก็บอกเกิดจากแม่ทั้งนั้นน่ะ ธรรมะบอกเกิดจากกรรม กรรมเราทำมา เราถึงมีกรรม มีกระแสกรรมกับพ่อแม่ด้วย เราถึงมาเกิดกับพ่อแม่ เกิดจากการกระทำของเรา เกิดจากจิต ตัวจิตปฏิสนธินี่แหละ เกิดจากมัน แล้วมาเกิดในไข่ แล้วมาเป็นเรา พอเป็นเรา เราถึงเกิดจากพ่อแม่ แต่จริงๆ แล้วถ้าไม่มีมันนะ ไม่มีตัวจิต มันไม่มีใครมาเกิดนะ

เอาแค่นี้ก่อนเนาะ.. อ้าว.. ทางนี้

โยม ๒: หลวงพ่อ วันนั้นภาวนาแล้วมีความรู้สึกหลายอย่างนี่มันชัด แล้วก็เห็นตัวเองก็นั่งสมาธิอยู่ แล้วก็เห็นมันเป็นรู้สึกว่า (เสียงไม่ชัดเจน) มันนั่นกัน แต่เราก็ไม่รู้จะทำอย่างไร.. แต่เห็นตรงที่มันชัด.. ก็รู้สึกว่ามีแมลงมาไต่ตัว มันก็แวบไป แล้วก็..(เสียงไม่ชัดเจน) แล้วก็หลุดไปแล้วทีนี้พอมันหลุดไปแล้ว เราก็เลยมาจับมันออก ก็มันไม่มีแล้ว มันหลุดไปแล้ว

หลวงพ่อ: เป็นอย่างนั้นแหละ ไม่มี บางทีมันเป็นเวรกรรมมันมีนะ พูดบ่อย เวลาพระ ครูบาอาจารย์เราไปภาวนาอยู่ในป่า เวลาจิตสงบ เทวดา อินทร์ พรหม เขาจะมาส่งเสริม มีพระเพื่อนองค์หนึ่ง เขาเชื่อมั่นครูบาอาจารย์เขามาก เขาบอกเขาภาวนาผิดถูก จะมีครูบาอาจารย์คอยสะกิด คอยบอกอย่างนี้เลย เขาขนาดนั้น เราจะบอกเขาเลย ให้ระวังให้ดีนะ มันจะผิดพลาด แล้วเขาก็ไม่เชื่อ

อันนี้มันแบบว่ามันรู้สึกสะกิด แล้วมันไปจับก็ไม่มี.. ไม่มีหรอก มันมีความรู้สึกได้

โยม ๒ : ถ้าอย่างนี้วันหลังเราก็ไม่ต้องสนใจ

หลวงพ่อ : ไม่สนใจ ใช่ เราถึงบอกว่าการปฏิบัติ ไม่ต้องสนใจอะไรเลย ให้เชื่อมั่นตรงนี้ ให้เชื่อมั่นที่ความรู้สึก

โยม ๒: ไม่ต้องสนใจว่าเออมันเป็นสะกิดตรงนี้ อย่างนี้

หลวงพ่อ: ใช่.. เราจะบอกว่ามันมีคนมันมาสะกิดออก คำว่าสะกิด มันเกิดได้เอง ดูสิ ดูเวลาหลวงตาท่านพูด เราไปอยู่ในป่า เจอเสือธรรมดาก็ได้ เจอเสือเทพก็ได้ คำว่าเสือธรรมดา เสือธรรมดาทั่วไปมันก็หากินโดยธรรมชาติของมันใช่ไหม แต่เวลาครูบาอาจารย์เราเจอเสือ เสือมานั่งอยู่กลางทางจงกรมอย่างนี้ ถ้าเป็นเสือธรรมดา เวลาเราคิด มันรู้ได้อย่างไร?

หลวงตาบอก ครูบาอาจารย์บอกเลย “เอ.. เสือจะมาอยู่ที่นี่ทำไม ไม่ไปหาอยู่หากิน” คือว่าแบบว่า คิดในใจว่าอยากให้มันไป.. มันคำรามขึ้นมาเลย.. พอบอก “เออ.. ถ้าอย่างนั้น ถ้ามาอยู่เพื่อจะปกป้องดูแลกันก็ได้ อยู่ก็อยู่ตามสบายเถิด” มันนั่งเฉยเลย นี่ไง ถ้าเป็นเสือ มันรู้ความคิดเราไหม? ถ้าเป็นเสือ เราคิดอะไร มันจะคำรามใส่เราไหม? แล้วเราคิดดีกับมันน่ะ มันหมอบเฉยเลยน่ะ พอเราคิดไม่ดีกับมันน่ะ มันคำรามเลย

นี่ไง เราถึงบอกว่าพวกเรานี่นะ เราเกิดเราตายกัน เรามีญาติพี่น้อง เรามีเครือข่ายของเรา เครือญาติ ก็ไปเกิดเป็นเทวดา ผลัดกันเกิดผลัดกันตาย เกิดจะมีญาติที่ดีกับเรา ใกล้ชิดกับเราไปเกิดเป็นเทวดาอยู่ เราทำอะไร เขาจะคอยส่งเสริมเราอยู่ เกิดถ้าเรามีคู่อคติต่างๆ เวลาตายไป เขาก็ไปเกิดเป็นเทวดาอยู่ เรามาเกิด นี่ไง ถ้าเทวดา ภูติ ผี อะไรที่ดีมันจะส่งเสริม ถ้าเทวดาที่เป็นบาปเป็นกรรม เขาก็จะมาขัดแย้ง

นั่นแน่ๆ

โยม ๒: แล้วอีกข้อนะคะ คือพระพุทธเจ้าท่านเปรียบกามว่ามีน้ำผึ้งอยู่บนต้นไม้ และข้างล่างระหว่างน้ำผึ้งก็จะมีอสรพิษ และจากอสรพิษ ข้างหน้าก็มีจระเข้ ก็แปลไม่ออกว่าอย่างไร ท่านหมายถึงอะไร คือแบบ จระเข้

หลวงพ่อ: เยอะแยะไป เขาบอกเวลาพระพุทธเจ้าเทศน์สอนพระไง ที่สุดของความสุขของโลก ที่สุดก็คือน้ำ ในน้ำผึ้งหยดเดียว น้ำผึ้งหยดเดียวคือน้ำ ที่สุดของการมีเพศสัมพันธ์คืออะไร? คือน้ำ

งู.. พระพุทธเจ้าสอนเรื่องของกามนะ เวลาท่านเทศน์เรื่องกาม เหมือนกับเราป้อนอาหารงู ระหว่างสามีภรรยา.. งู.. คือฉกกัดเมื่อไรก็ไม่รู้

เออะ.. แล้วจระเข้ล่ะ..

นี่พระไตรปิฎก เราอ่านพระไตรปิฎกมาหมดแล้ว เรื่องอย่างนี้ โอ้โฮ.. พระพุทธเจ้าพูดนะ หลุมถ่านเพลิง เหมือนหลุมถ่านเพลิงนะ ความสุขของโลก เหมือนหลุมถ่านเพลิง มันมีแต่ความเร่าร้อนน่ะ แล้วครอบครัว ครอบครัวใหม่ๆ จะมีความสุขมาก ความกระทบกระทั่งในบ้านเราไง ความกระทบกระทั่งในบ้านของเรา ความรับผิดชอบในบ้านของเรา ความสุขทางโลกนะ เหมือนกับวิดทะเลทั้งทะเล เพื่อเอาปลาตัวเดียว นี่ไง กามคุณ ๕ เลยบอกกามคุณ ๕ เป็นคุณ กามเป็นคุณเพราะว่ามันเป็นชาติเป็นตระกูลใช่ไหม กามคุณ ๕ คือครอบครัววงตระกูลของเรา

แต่เวลาบวชเป็นพระแล้ว ไม่ใช่นะ พรหมจรรย์ ถือพรหม ปูพรหมจรรย์ กามคุณเป็นโทษแล้ว เพราะพรหมจรรย์ ความเศร้าหมองของพรหมจรรย์คืออะไร? คือเรื่องของกามไง แต่ถ้าเป็นทางโลก กามคุณ ๕ กามเป็นคุณ แต่เรารักษาให้ดีนะ รักษาไว้ ศีล ๕ นี่ไง กาเมสุมิฉาจารย์ ระหว่างครอบครัวไม่ผิดพลาดไง นี่กามคุณ ๕ เป็นคุณนะ มันจะเป็นโทษทันทีเลยนะ ถ้าผิดกัน ถ้ามีความผิดพลาดขึ้นมา มีการผิดพลาดขึ้นมา มันจะเป็นโทษ มันจะเผาผลาญทันทีเลย

หลวงตาถึงบอกว่าให้ซื่อสัตย์ต่อกัน หลวงตานี่เทศน์ย้ำตรงนี้มากเลย มันจะเป็นคุณต่อเมื่อเรารักกัน เราชอบกัน เราเข้าใจกัน โอ้โฮ.. เป็นคุณ มีความสุขมาก มันจะเป็นโทษทันทีเลยนะ จะทำร้ายครอบครัวเราทันทีเลยที่หวาดระแวงต่อกัน แล้วทำร้ายกัน อาฆาตมาดร้ายมันจะรุนแรงขนาดไหน

แล้ววันนี้พอมาเป็นอย่างที่เห็น มันก็เป็นบุคลาธิษฐานไง เป็นงูเป็นอะไร มันน่ากลัว จากน้ำผึ้งหยดเดียว เห็นไหม ไปตีความ ในพระไตรปิฎกเยอะ

พระพุทธเจ้า.. ใครไปอ่านพระไตรปิฎกนะ พระพุทธเจ้านี่ยก พวกเราปัญญาหางอึ่ง สู้ไม่ทันหรอก จะพูดอะไรมานะ อย่างที่ว่าเราคุยกัน คือเราไปเอาพระไตรปิฎกมาขยายความไง อย่างที่กระต่ายตื่นตูมอย่างนี้ ไอ้หงส์หามเต่าก็พระพุทธเจ้าสอน ไอ้หงส์หามเต่าน่ะ ปากไม่ดีน่ะ รักษาปากให้ดีนะ จะพาไปน่ะ.. หงส์หามเต่า.. หงส์หามเต่า.. แหม.. ทนไม่ไหว กูหามหงส์ต่างหาก.. ตุ๊บ! เลย ก็หงส์หามเต่าที่ไหน มีแต่เต่าหาบหงส์เว้ย.. ขนาดเขาช่วยอยู่แท้ๆ นะ นี่มันเป็นคำสอนไง

อย่างนั้นเอวังเนาะ.. จบก่อน