เทศน์เช้า

ฟังธรรม

๗ เม.ย. ๒๕๔๔

 

ฟังธรรม
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์เช้า วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๔๔
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เคยได้ยินได้ฟังจะได้ฟัง สิ่งที่ได้ยินได้ฟังแล้วมันได้ตอกย้ำให้ชัดเจนขึ้นไป แล้วก็ทำความลังเลสงสัยของตน ทำความลังเลสงสัย หายสงสัยไง ความลังเลสงสัยตรงนี้สำคัญ ทำความลังเลสงสัยของตน เห็นไหม สงสัยอะไรอยู่ เราสงสัยอะไรอยู่จะได้ฟังครูบาอาจารย์สอนมา มันก็เข้ามาทำความลังเลสงสัยของเราได้ นี่กุศลของการฟังธรรม

เสร็จแล้วนี่สำคัญอันที่ ๔ ไง ทำให้ความเห็นนั้นตรง ถ้าความเห็นนั้นตรง เห็นไหม พอความเห็นนั้นตรง จิตนั้นก็ผ่องแผ้ว ถ้าจิตผ่องแผ้ว มันก็เป็นทำความสงบไง ถ้าความเห็นนั้นตรง

นี่ก็เหมือนกัน ฟังธรรมนะ ฟังสิ่งที่ไม่เคยได้ยินได้ฟัง โห... มันก็ตื่นเต้นนะ ธรรมอย่างนี้มีด้วยเหรอ? เขาสอนกันอย่างนี้เหรอ? เขาสอนกันแบบเป็นคำสอน แบบพระพุทธเจ้าบอก ลึกๆ ในหัวใจ...ความรู้สึกของตน สอนๆ เรื่องของคน เรื่องของความรู้สึก เรื่องของใจ ให้ใจเข้ามาตรงนั้นไง

ศาสนามันเป็นอาหารของใจ อาหารของกายก็อาหารกันทางโลกนี้ นี้เราไปเปรียบเทียบกัน ว่าคนเจริญรุ่งเรือง คนที่ว่ามีบุญวาสนานั้นต้องมีทรัพย์สมบัติมาก เห็นไหม มันไปบวกกับวัตถุไง นี้วัตถุกับไอ้เรื่องของนามธรรมมันบวกกันไม่ได้ บางคนเป็นขี้ทุกข์จนเข็ญใจนะ แต่หัวใจเขาเป็นธรรมสูงมาก เห็นไหม คนขี้ทุกข์เข็ญใจเหมือนกัน แต่หัวใจเขามีธรรม เขาก็เป็นเศรษฐีธรรม แต่เขาเป็นคนจนในทางโลกก็มี

แต่ถ้าเราไปบวกกับเรื่องของวัตถุเข้าไปด้วย อันนี้มันมีส่วน ส่วนถ้าวัตถุทางโลก ส่วนของว่าอำนาจวาสนาไง อย่างเช่นให้ทานมา เห็นไหม คนที่ทำบุญกุศลมา มันให้ก็ได้ คนถ้ามีแล้วไม่ปฏิเสธ แต่คนมันไม่มี มันไม่ได้ทำมา แต่มันปฏิบัติมา มันสะสมมาคนละทาง

ถ้าคนสะสมาทางนั้น เห็นไหม ความเห็น ถ้าความลังเลสงสัย มันก็ไม่ลังเลสงสัย ต่างคนต่างไม่ลังเลสงสัย แต่ถ้าไม่ลังเลสงสัยแล้ว มันใช้ความคิดของตัว ไม่ลังเลสงสัย แต่ก็เอากิเลสของตัวไปตัดสินใช่ไหม?

ไม่ลังเลสงสัยเพราะว่าอะไร? เพราะสิ่งที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังก็ได้ยินได้ฟังแล้ว แล้วเราคิดอยู่ แล้วอาจารย์พูดตรงมา มันก็เอ้อ... ยิ่งตอกย้ำ เห็นไหม สิ่งที่ได้เคยได้ยินได้ฟังแล้วฟังอีก แล้วก็ทำความลังเลสงสัยของตน

แต่นี่ความลังเลสงสัยของตน กิเลสมันก็ปัดป้องไป เห็นไหม ความลังเลสงสัยไม่สงสัย แต่ไม่สงสัยถูกหรือผิด ถ้าไม่สงสัยทางผิดมันก็ผิดไป ถ้าไม่สงสัยในทางถูก ผิดหมายถึงว่าเราคิดของเราเอง เห็นไหม แล้วคำพูดนั้นเราเอาเข้ามาเข้ากับความเห็นของเรา มันก็ไม่ได้ทำความลังเลสงสัย

แต่นี่อันที่ ๔ นะ ต้องทำความถูกต้องไง ต้องให้ทำความเห็นนั้นถูกต้องด้วย ถูกต้องคือถูกต้องตามธรรมไง ถ้ามันไม่ถูกต้องมันก็ไม่ได้ผลประโยชน์ ถ้าไม่ได้ผลประโยชน์มันก็ไม่ผ่องแผ้ว ถ้าไม่ผ่องแผ้วจิตก็ไม่สงบ ถ้ามันเป็นไปตามธรรม มันก็ต้องเป็นอย่างนั้น

ถึงว่ามีสัมมาทิฏฐิ มีมิจฉาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิทำให้วุ่นวายไปหมดเลย มิจฉาทิฏฐิความเห็นของตัวความเห็นผิด พอความเห็นผิดแล้วมันจะตรงได้อย่างไรเพราะความเห็นของตัวผิด นั้นปฏิบัติมันก็ผิดไป

การประพฤติปฏิบัติมันจะย้อนกลับมาที่หัวใจ ถ้าหัวใจมันผ่องแผ้ว มันใสสว่าง เห็นไหม สุดท้ายของฟังธรรมข้อที่ ๕ ไง จิตนั้นผ่องใส จิตนั้นเข้าใจ พอมันจิตนั้นผ่องใส จิตนั้นเข้าใจ ฟังสิ! มันก็ต้องรู้ผลของมันสิ พอรู้ผลของมัน มันจะย้อนกลับมาเห็นเหตุตรงนั้น

แต่นี้เราพูดกันมันไม่เข้าถึงตรงนี้ มันพูดกันแต่คำสอนเฉยๆ เป็นตรรกะ แล้วก็เอาตรรกะมาวิเคราะห์วิจารณ์กัน นี้พอตรรกะวิเคราะห์วิจารณ์กัน ทุกคนก็มีสิทธิ์วิเคราะห์วิจารณ์เพราะอะไร? เพราะว่าเบื้องหลังจะสกปรกอย่างไรไม่สำคัญ เบื้องหลังสกปรกก็สกปรกไป เบื้องหลังส่วนเบื้องหลัง แต่ขณะที่แสดงออกนี้ ตรรกะฉันนี่ลึกซึ้งมาก ตรรกะฉันดีมาก แต่เบื้องหลังของฉันไม่เกี่ยว

แต่ถ้าเป็นธรรมเป็นศาสนานี้ เบื้องหลังอันนั้นมันย้อนกลับมา เห็นไหม ศีลไม่มีในที่ปกปิด ไม่มีในที่ลับไม่มีในที่แจ้ง ธรรมะไม่มีในที่ลับในที่แจ้ง มันจะออกมาตรงนั้น ถ้าไม่มีในที่ลับในที่แจ้ง เห็นไหม มันผ่องใสมาจากข้างในไง ถ้ามันผ่องใสมาจากข้างใน เห็นไหม ถึงว่าครูบาอาจารย์ที่สำเร็จที่ว่าทำปฏิบัติไปถึงผ่องแผ้วแล้ว มันจะไม่กลับมามัวหมองอีก นี้เจตนาออกมา มันแสดงออกมาถึงว่ามันจะเป็นความถูกต้องออกมาตลอด เบื้องหลังมันไม่มีไง

แต่นี่มันมีเบื้องหลัง เพราะเราพูดถึงว่าร่างกายและจิตใจ ร่างกายถูกต้อง ร่างกายมันกระทบกระเทือนกัน ร่างกายนี้เป็นสัตว์สังคม มันเป็นไปได้ แต่นามธรรมถ้ามันมองไม่เห็นนะ สิ่งที่ว่าศาสนาเราเน้น เราเน้นนามธรรมมากกว่า เพราะนามธรรม ถ้าลองความคิดเอามาเป็นวัตถุนะ ไม่มีทางเลย ในบ้านหลังหนึ่งมีคน ๔-๕ คน บ้านนั้นจะแน่นเอียดไปด้วยวัตถุเลย เพราะความคิดเป็นวัตถุเป็นก้อนที่เอามาขวางไว้ในบ้าน ความคิดคนนั้นจะกระทบกระเทือนกันมากเลย

แต่มันเป็นนามธรรม เห็นไหม มันถึงว่าเราไม่เห็นตรงนั้นว่ามันสำคัญ เพราะเป็นนามธรรม แต่เวลาถ้ามันสะอาดเข้าไปแล้ว มันจะว่างหมด มันจะไม่มีการกระทบกระเทือนกันเลย สิ่งที่ไม่กระทบกระเทือนกัน ฟังธรรมมันถึงเป็นประโยชน์ตรงนั้น สอนกันอย่างไร สอนแล้วมันถึงออกมาเป็นรูปแบบอย่างนี้ ถ้าสอนแล้วมันถูกต้อง มันจะเข้าไปถูกต้อง

อันนี้ถ้าคำสอนถูกต้องอีกล่ะ แต่คนเห็นผิด เห็นไหม ถ้าคนเห็นผิด มันทำความผิดไป มันทำความผิดของตัวมันเองไป มันทำของมันเอง มันเข้าใจของมันเอง อันนี้ก็เรื่องของกรรม ถ้ากรรมมันมีส่วนที่ว่าจะผลักไสไปนะ กรรมมันบังตาไง

กรรมมันบังตาได้ แม้แต่พระพุทธเจ้าต้องการให้พระอานนท์นิมนต์ไว้ในวิสาขบูชาถึง ๑๖ หน เห็นไหม พระอานนท์นี้เป็นนักปราชญ์นะ พูดอะไรมาพระอานนท์จะเข้าใจได้ง่ายเลย แต่พระพุทธเจ้าพูดถึงเป็นเลศนัยให้พระอานนท์ให้อาราธนาพระพุทธเจ้าให้อยู่อีก ๑ กัป พูดถึง ๑๖ ครั้ง นี่มารมันดลใจ เห็นไหม กรรมมันบัง เวลากรรมมันบังขึ้นมา มันมองไม่เห็น สิ่งที่มองไม่เห็น ขนาดพระอานนท์นี้เป็นพหูสูตในทางปัญญานี้ พหูสูตมาก ต้องรู้เรื่องนี้มาก

นี่ถ้ากรรมมันปิดบัง ถ้าครูบาอาจารย์สอนถูกอยู่ แต่มันเป็นไปไม่ได้ นี้มันก็อยู่ที่การกระทำของเรา กรรมคือการกระทำของบุคคล การสะสมของใจที่มันไม่เห็นไปตามนั้น สิ่งที่ไม่เห็นไปตามนั้นมันจะค้านกับสิ่งนั้น เห็นไหม มันถึงว่าเราถึงย้อนกลับมาพระพุทธเจ้าบอก

“สิ่งใดที่ทำแล้ว ระลึกถึงอดีตแล้วเสียใจภายหลัง สิ่งนั้นไม่ดีเลย สิ่งที่ทำแล้วมันไม่เป็นประโยชน์กับเรานี่ไม่ดีเลย”

เพราะสิ่งนั้นมันจะให้ผลกับตรงนี้ ตรงที่ว่า...มันถึงว่าฟังธรรมที่พระพุทธเจ้า ความหมายพระพุทธเจ้าพูดถึงอย่างหนึ่ง เราก็ตีความหมายเป็นอย่างหนึ่ง ความเห็นเราถึงไม่ตรง พอความเห็นเราไม่ตรง มันก็เข้าถึงหลักความจริงก็เข้าได้แค่กระพี้ เห็นไหม แค่เปลือก แค่กระพี้ แค่แก่น เราจะเข้าถึงได้แค่ไหน ถ้าเราถึงได้แค่นั้น เวลาสื่อออกมาสื่อได้แค่นั้นนะ เวลาสื่อออกมาคือว่าเวลาระบายออกมา มันก็ได้เรื่องของกระพี้ เรื่องของกระพี้ก็เรื่องของวัตถุที่ว่าพระมีมาก พระสะสมไว้มาก พระทำความผิดมาก เวลาทำความผิดมาก

พระส่วนใหญ่พระที่ดีๆ ก็มีนะ เพราะพระ ๔๐๐,๐๐๐ องค์ก็เหมือนกับคนเรา ตอนนี้เราพูดในหน้าหนังสือพิมพ์ เห็นไหม มีแต่ฆาตกรรม มีแต่ทุกอย่างเลย ว่าโลกนี่มีแต่โจรกรรม ทุกอย่างเลยในหน้าหนังสือพิมพ์ แต่คนตั้ง ๖๐ ล้านคนที่คนดีมันมีมากกว่ามากขนาดไหน แต่เวลาข่าวมันลงมา ข่าวๆ เดียว คน ๖๐ ล้านเศษนะ

ไอ้นี่พระ ๔๐๐,๐๐๐ ก็เหมือนกัน เวลามีความผิด ไอ้ผิดนั่นไม่ที่ว่าเขาผิดแล้วจะไปว่าเขาเป็นคนถูก ผิดมันก็มีส่วน แต่พระที่ดีมันก็ไม่ออกมา ข่าวสิ่งที่ดีมันไม่ออกมา มันไปจับต้องตรงนั้น พอถึงกับตรงนั้น เอาตรงนั้นมาเป็นจุดที่ว่าจะมาชำระไง จุดที่จะมาบังคับพระไง แต่มองไม่เห็น เขาไม่มาเป็นพระนะ

ถ้าเขามาเป็นพระ เขาจะรู้เลยว่าเริ่มตั้งแต่การบวช จิตใจของคนจะบวช อย่างพ่อแม่ลูก ลูกออกไปบวช ถ้าบวชจะบวชไปเลย พ่อแม่ก็ต้องดึงไว้แล้ว มันมีอุปสรรคมากจะไปทางธรรมนี่ ทางโลกจะเหนี่ยวรั้งไว้เป็นอุปสรรคมาก แล้วพระพุทธเจ้าก็เปิดช่องไว้ แล้วนี้ไปทำไปปิดทาง ก่อนจะบวชนี้ต้องบวชในหมู่บ้านนั้น ต้องให้กรรมการหมู่บ้านนั้นต้องโหวตเสียงก่อน เห็นไหม นี่มันไปปิดทาง

แม้แต่เราจะสะสม เราจะเพิ่มนักบวชขึ้นมา มันก็เป็นเรื่องผู้ที่สืบทอด...พุทธบุตรมันก็มีน้อย มีน้อยลงๆ แล้วทำให้มันยากขึ้นๆ เพราะเขาไม่ใช่นักบวช เขาไม่รู้เหตุข้างในหรอกว่าข้างในนี่เขาปกครองกันอย่างไร

แล้วเวลาเขาจะถนอมพระไว้นะ อย่างเวลาเราออกลูก เห็นไหม ใครจะบังคับเราไม่ให้คลอดได้? คนเรื่องของการคลอดลูกมันเป็นเรื่องของธรรมดานะ คลอดลูกนี้ห้ามกันไม่ได้ พระจะสึกก็ห้ามกันไม่ได้ แล้วเวลาพระจะสึก พระเขาจะมีความร้อนในศาสนา แล้วคนที่เขาพยายามจะช่วยเหลือกัน หลวงปู่มั่น เห็นไหม สมัยหลวงปู่มั่นนะ พอมีพระมีปัญหา อย่างที่ว่าทางนครพนมมีปัญหาปั๊บ จะส่งหลวงปู่ฝั้นไปเลยนะ ไปเคลียร์พื้นที่ ไปสมานให้เข้าหากัน จะส่งพระไปนะ พอพระที่ไหนมีปัญหา ว่าพระองค์นี้คลอนแคลนปั๊บ จะส่งพระผู้ใหญ่ไปดึงออกมาจากตรงนั้น

นี่วงการสงฆ์เขาช่วยเหลือกันขนาดนั้น แล้วตัวเองอยู่ข้างนอกไม่รู้เลย สร้างกฎระเบียบขึ้นมาให้สิ่งนั้นมันทำความยากขึ้นไป ให้สิ่งนั้นมันปฏิบัติไปได้ยาก เป็นได้ยาก มันเป็นไปได้อย่างไร เพราะเขาไม่ใช่คนใน ถึงว่าพระพุทธเจ้าถึงบอกไง “ธรรมและวินัยเป็นศาสดา ให้พระปกครองกัน ให้พระเข้าใจกัน”

นี่ถึงว่าการฟังธรรม ฟังธรรมแล้วเข้าใจธรรมไหม? คนนอกอย่างไรก็ไม่รู้เข้าใจเรื่องของชีวิตของพระหรอก ชีวิตของพระนะ หัวใจนะ ดูอย่างเราสิ เวลาเราโมโหเรายังเอาใจของเราไว้ไม่ได้เลย แล้วเวลาอารมณ์มันคิดจะสึกขึ้นมา มันก็เหมือนอารมณ์เวลาที่เราโกรธขึ้นมา คนเรามันคิดจะสึก มันคิดขึ้นมา มันแว็บเดียวนะ แล้วมันก็จะสึกไป แล้วพระจะไปทำอย่างไรจะไปดึงไว้? สึกไปมันก็เหมือนกับตายไป ตายไปจากพระไปเกิดเป็นฆราวาส เห็นไหม เวลาบวชขึ้นมา ตายจากฆราวาสมาบวชเป็นพระ เพศหญิง เพศชาย เพศนักบวช นี่เพศขึ้นมา แล้วจะรักษากันอย่างไร? จะถนอมกันอย่างไรให้พระอยู่ต่อมา?

ถ้าสิ่งที่ทำมันเป็นประโยชน์นะ ถ้าสิ่งที่เป็นประโยชน์ของศาสนา ถ้าประโยชน์ของตัวเอง มันก็ไปแย่งกัน เห็นไหม เวลาแย่งกัน เวลาอย่างนั้นไป ส่วนนั้นก็มี เราจะไม่คิดว่าส่วนนั้นไม่มี ส่วนนั้นมี แต่ส่วนของเราก็ต้องเป็นส่วนของเรา

นี่ความเห็นไม่ถูกต้อง จิตถึงไม่ผ่องแผ้ว พอจิตไม่ผ่องแผ้ว แล้วความเห็นของตัวอย่างนั้นจะไปแก้หลักคำสอนพระพุทธเจ้านะ พระพุทธเจ้าผ่องแผ้วกว่า พระพุทธเจ้าวางไว้ดีแล้ว จะไปแก้แก้ไม่ได้หรอก ถ้าแก้ไม่ได้แล้วก็จะเป็นปัญหาไป นี้เรื่องของโลก โลกจะทำอย่างไรต้องทำกันไป ให้มันสำเร็จไป เอวัง