เทศน์เช้า

ธรรมสมดุล

๒o ส.ค. ๒๕๔๓

 

ธรรมสมดุล
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์เช้า วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๓
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ธรรมดาเขาต้องขอศีลกันไง นี่จะขอศีลต้องไปขอกับพระ เราบอกว่า เมื่อก่อนนะ ฤๅษีชีไพรก่อนพระพุทธเจ้านี่ถือศีล ๘ ขอมาจากใคร

อย่างพวกเรากรรมฐานก็เหมือนกัน อยู่ในป่านี่ให้วิรัติเอา วิรัติหมายถึงตั้งใจ สมุจเฉทวิรัติ วิรัติคือเรากำหนดนะ เขาได้ฝึกจากครูบาอาจารย์มา วิรัติเอาหมายถึงว่าขอเอง อาราธนาศีลอาราธนาตัวเอง แต่ของเราไม่อาราธนา เราวิรัติขึ้นมาเลย เราวิรัติ คือตั้งใจให้เป็นศีล มันจะเป็นศีลขึ้นมาทันที คนเป็นแล้วทำอย่างนี้เป็น แล้วมันไม่ต้องไปขอศีลกับใคร ศีลมันมีพร้อมอยู่ในตัว ศีลคือความปกติของใจ ไปขอกับพระนี่เป็นพิธีกรรมเฉยๆ ขอแล้วไม่ได้รักษาก็ไม่ได้รักษา ถ้าขอแล้วรักษานั้นมันก็เป็นพิธีกรรม

มันก็เหมือนกันนะ เราพูดในนั้น เหมือนกับการกรวดน้ำ เห็นไหม ทำไมใหม่ๆ เราต้องกรวดน้ำ เอาน้ำมากรวดน้ำ เพื่อให้เราแน่ใจไง ให้เราเพ่งไปที่น้ำนั้น ใจมันวอกแวก ความวอกแวกไปที่อื่นมันไม่มี มันกำหนดที่น้ำนั้น มันสำคัญที่กำลังใจ ถ้าใจรวมพลังงานแล้วส่งไป เราคิดอุทิศส่วนกุศลให้ใคร เราคิดถึงคนนั้นปั๊บมันจะพุ่งไป แต่ธรรมดาเราอุทิศส่วนกุศล ใจเราไม่มั่นคงพอ ก็ต้องเอาน้ำมาเป็นตัวสื่อให้ใจเพ่งตรงนั้น พอเราเป็นขึ้นมา เรากำหนดใจเราคล่อง น้ำนั้นก็ไม่จำเป็น

พิธีกรรมของการขอศีลก็เหมือนกัน ในเมื่อเราไม่สามารถตั้งใจทำให้เป็นศีลขึ้นมาได้ ก็ต้องขอเอาจากพระ อันนี้เป็นพิธีกรรม ศาสนพิธี ศาสนธรรม ศาสนบุคคล ศาสนวัตถุ เห็นไหม ศาสนพิธีก็เป็นพิธีกรรมอันหนึ่งที่ว่าเราต้องทำให้เป็นขึ้นมา มันเป็นสิ่งที่ถูกต้องในระดับเริ่มต้น แต่ผู้ที่ปฏิบัติเข้ามาแล้ว ไอ้อย่างนั้นเป็นการทำให้เสียเวลา

สมมุติว่าวันนี้เราอยากปฏิบัติ เรายังไม่ได้ขอศีลใคร วันนี้เราเสียโอกาสไปวันหนึ่ง ต้องไปหาพระก่อน ต้องไปขอศีลเหรอ ถึงเวลาเราจะนั่งภาวนา อย่างที่เราว่าเมื่อกี้ อย่างตบยุงเดี๋ยวนี้ แล้วเดินไปแล้วจะไปนั่งภาวนา ลืมตัว ตบยุงไปตัวหนึ่ง แล้วไปนั่งภาวนา ถ้าไม่มีวิรัติเอา มันก็ได้แต่ห่วง “อันนี้เป็นปาจิตตีย์ๆ เราฆ่าสัตว์ไป เรามีการฆ่าสัตว์ เรามีการฆ่าไป เราจะมาประพฤติปฏิบัติธรรม เราเป็นคนใจไม่ดี” นี่นิวรณธรรมจะเกิดขึ้น

ถ้าวิรัติเอา เห็นไหม อันนั้นเป็นความผิดพลาด ความผิดพลาดนี่เราก็ต้องแบบว่า เราผิดไปแล้วเพราะสติเราไม่สมบูรณ์ ปล่อยไปเลย แล้วพอปัจจุบันนี้ เราจะตั้งใจทำใหม่ ตั้งใจให้ถือศีล ๕ ศีล ๕ ปัจจุบันนี้บริสุทธิ์เพราะเราจะเริ่มนั่งภาวนา พอนั่งภาวนาไปนี่ปกติเลย เห็นไหม นี่เป็นปัจจุบัน ถ้าว่าอย่างนี้เป็นการหลบเลี่ยง มันก็เป็นอย่างหนึ่ง เพราะคนเรามันต้องมีผิดพลาดตลอดไป มันถึงเป็นเรื่องการวิรัติศีล เห็นไหม

ธรรม ดูอย่างเช่นวันนี้เรามา ความสมดุลของธรรม ความสมดุล เห็นไหม ความสมดุลของธรรม ถ้าธรรมนี่ความพอดี ถ้าสิ่งใดพอดี นี่เป็นธรรม สิ่งใดพอดี นี่เป็นธรรม เห็นไหม เป็นธรรม เป็นความเจริญรุ่งเรือง ความสมดุล ความพอดี ทำให้เกิดสิ่งดีก็ได้ ความสมดุลทำให้เกิดสิ่งที่ว่าสร้างสรรค์ก็ได้ สิ่งที่ทำลายก็ได้ อย่างเช่นไฟไหม้ป่า เวลาฟ้าผ่ามาทางนู้นนะ ทางที่เขตร้อนแห้ง เห็นไหม เรานี่อยู่ในเขตร้อนชื้น ฟ้าผ่าลงมาส่วนใหญ่ไฟจะไม่ไหม้ ถ้าร้อนแห้ง ฟ้าผ่ามาไฟจะไหม้ ความสมดุล เพราะสมดุลพอดี มันเกิดไฟไหม้ ไฟไหม้ เห็นไหม ทำลายป่า

ความพอดีนี่มันเป็นความพอดี ธรรมนี่เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเราต้องพยายามประพฤติปฏิบัติ หมายถึงว่าเราต้องศึกษาของเราไป ศึกษาเข้าไปแล้วเรามีส่วนเข้าไปรับรู้ไง ความพอดี ความสมดุลนั้นมันอยู่ไกลตัว ความอยู่ไกลตัวนี่ เรารับรู้เฉยๆ ถ้าอยู่ใกล้ตัว มันสะเทือนตัวเราเข้ามาเรื่อย แล้วความพอดีหรือว่าความสมดุลของภายใน เราทำใจเราให้สงบขึ้นมา หรือว่ามันสะเทือนใจของเรา มันไม่พอดีในหัวใจของเรา เห็นไหม มันสะเทือนถึงใจ

ความสมดุลจากธรรมภายนอกหรือภายในก็แล้วแต่ มันสำคัญที่ว่าผู้ที่ไปรับรู้ ใจที่ไปรับรู้ความสมดุลอันนั้น ถ้าความสมดุล เราจับต้องได้ แล้วเราจับความสมดุลอันนั้น เราเห็นความสมดุลอันนั้น แต่ส่วนใหญ่แล้วเราไม่เห็นความสมดุลอันนั้น เราเห็นผลของการเป็นความสมดุล เห็นผลจากการเกิดขึ้นอันนั้นไง เราถึงได้ทุกข์ร้อนกัน เราทุกข์ร้อนเพราะว่าเราผ่านพ้นไปแล้วถึงไปเห็นผลอันนั้น นี่ความสมดุลข้างนอก เห็นไหม ความสมดุลข้างนอกมันเป็นความสมดุลข้างนอก แล้วมันจะเกิดสิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นมา เราว่าเราก็เอ็นดูเขา เราพอใจไปกับเขา มันพอใจไปกับเขา

แต่ถ้าเป็นการทำลายโดยธรรมชาตินะ มันทำลายกัน ดูสัตว์มันกินกัน เห็นไหม ห่วงโซ่ของอาหารมันเป็นอย่างนั้น เป็นความสมดุลของธรรมชาติ แต่มันก็ทำลายกัน แต่เป็นความสมดุลของมันโดยธรรมชาติ แต่เป็นการทำลายกัน ไม่เป็นการสร้างสรรค์

นี่เหมือนกัน ความสมดุลของเราถ้าเป็นธรรมขึ้นมา ความพอดีของเรา เราเกิดความพอดีขึ้นมา เราพอใจ แต่ถ้าเราเกิดความโกรธขึ้นมา นี่มันเป็นความสมดุลเพราะมันเกิดปฏิกิริยาเหมือนกัน แต่ใจไม่ทันมัน

ถึงว่า โอปนยิโก ร้องเรียกสัตว์ทั้งหลายมาดูธรรมไง มาดูธรรม มาดูความเคลื่อนไหวภายในของเรา ดูความกระเพื่อมของใจ นี่ความสมดุลภายนอก ความสมดุลภายใน ธรรมภายนอก ธรรมภายใน มันถึงสำคัญตรงที่ว่าใจเข้าไปรับรู้ สิ่งที่ตกผลึก เห็นไหม ประสบการณ์ตกผลึกเข้ามาเรื่อยในใจๆ ใจรับรู้สิ่งต่างๆ มันจะตกผลึกไปอยู่ในหัวใจ แล้วในหัวใจจะรับรู้สิ่งต่างๆ ไปเรื่อย นี่เป็นประสบการณ์

ประสบการณ์เข้าไปเรื่อยๆ ประสบการณ์เข้าไปเรื่อย จนกว่ามันจะเห็นตามสัจจะความเป็นจริงจากภายใน นี่ถึงว่า สิ่งที่สำคัญคือสิ่งที่รับรู้ความสมดุลนั้น สิ่งที่เป็นผลประโยชน์นี่เกิดผล มีส่วนได้ส่วนเสียกับความสมดุลอันนั้นไง แล้วรับรู้สิ่งนั้น แล้วให้โทษกับใจดวงนั้น อันนี้เรื่องของกรรมไง

กรรมมันจะให้โทษนะ ความสัมพันธ์ความสัมผัสกันมา แล้วพอต่อไปมันตกผลึกๆ นี่การกระทำ ความคิดก็เป็นมโนกรรม วาจาก็เป็นวจีกรรม กายนี่เป็นกายกรรม ออกไปข้างนอกไปเรื่อยๆ สร้างสรรค์ นี่ความสมดุลข้างใน ความสมดุลนั้นมันจะขับเคลื่อนออกมาเป็นอย่างนี้ไง ความสมดุล คือว่ามันทำปฏิกิริยากัน ความคิดออกมาๆ มันเป็นความสมดุลส่วนหนึ่ง ธรรมชาติส่วนหนึ่ง แต่มันสร้างสรรค์หรือมันทำลายภายใน

ถ้าสร้างสรรค์ก็เป็นธรรม ถ้าทำลายนี้ก็เป็นอธรรม เป็นอธรรมจากภายในใจของเรานะ แล้วเราพิจารณาของเราเข้ามา ย้อนกลับเข้ามา มันจะเห็นตรงนั้น อันนี้ถึงว่าเราถึงต้องทำความสงบเข้ามาก่อน ความสงบนี้ก็เป็นความสมดุลอันหนึ่ง เพราะว่าความสงบนี้ พอใจมันสงบขึ้นมาแล้ว ความสงบของใจ ใจนี้รับรู้ไง

แต่ถ้าเราไม่ทำความสงบของใจเข้ามาก่อน ความสมดุลมันเกิดขึ้น แต่ไม่มีผู้รับรู้ ไม่มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มันเป็นตัวสมดุล คือว่าใจที่มันขับเคลื่อนออกไปโดยธรรมชาตินี้ มันเป็นธรรมชาติเพราะเราเป็นมนุษย์ มนุษย์มีกายกับใจ พอมันสัมผัสกัน ความสมดุลกัน นี่ออกไป แล้วก็ตามออกไป มันก็เป็นความรู้หยาบๆ เป็นความรู้จากภายนอกนะ เป็นสุตมยปัญญา คือความเห็นจากข้างนอกเข้ามาๆ แต่เราจับต้องได้ พยายามทำ นี่จับต้องได้ จับต้องได้นี่มันก็เป็นความสงบอันหนึ่ง

ความสงบคือว่าจิตตัวนั้น จิตตัวที่รับรู้สิ่งต่างๆ จิตตัวที่รับรู้ จิตที่ตัวเป็นผล ผู้ได้ผู้เสียกับสิ่งนั้นไง ถ้าเรามีผู้ได้ผู้เสียกับสิ่งนั้น สิ่งนั้นก็จะทำให้ใจนี้รับรู้ รับรู้ ประสบการณ์ของใจก็เกิดขึ้น นี่คือการปฏิบัติธรรม มันฉลาดขึ้นมาก็ทำตัวเองขึ้นมาได้ ถ้าตัวเองฉลาดขึ้นนะ ปัญญามันจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ประพฤติปฏิบัติไปเรื่อย ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติจะทำเข้าใจ นี่การปฏิบัติธรรม

เหมือนกันเลย การวิรัติก็เหมือนกัน ถ้าเราไม่เคยทำ เราทำไม่ได้ ถ้าเราทำขึ้นมาแล้ว เราทำได้แล้ว เรารู้วิธีการ พอรู้วิธีการ ศีลจะเกิดขึ้นมาๆ เกิดขึ้นตลอด เราสร้างศีลขึ้นมาได้ ศีลนี่เรารักษา สิ่งที่พลาดไปแล้วให้ถือว่าเป็นการพลาดพลั้งไป ความพลาดพลั้งไปนั้นเป็นอดีต อดีตอนาคตแก้ไม่ได้

เราเกิดมาเกิดเป็นมนุษย์ บุญกุศลสร้างเรา เราถึงมาเกิดเป็นมนุษย์ บุญกุศลนะ มนุษย์สมบัติ นี่ถึงได้มาเกิดเป็นมนุษย์นั่งอยู่นี่ ถ้ามนุษย์สมบัติไม่สมบูรณ์ เราต้องเกิดเหมือนกัน จิตนี้เกิดเป็นอะไรแล้วแต่ เกิดเป็นอะไรนี่แล้วแต่กรรมที่สร้างสมมา ความสมบูรณ์อันนั้นมันถึงสร้างสมเป็นผลเป็นวิบากมา การประพฤติปฏิบัติมันก็เป็นวิบากต่อไป

แต่ในการประพฤติปฏิบัติมันก็เจริญรุ่งเรืองขึ้นได้ ความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาของใจ การยกใจขึ้นไปให้มันเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา ความสมดุลของมันมีอยู่ตลอดเวลา สมดุลแล้วมันไหลไปตามธรรมชาติ มันเคลื่อนไปตลอดเวลา อย่างวันเวลามันก็เคลื่อนไปตลอดเวลา สรรพสิ่งนี้เคลื่อนไปตลอดเวลา ธรรมชาติมีการหมุนเวียนตลอด แล้วมันปรับตัวของมันให้สมดุลของมันขึ้นมาได้

ทีนี้ใจของเราต่างหากไม่เห็นสิ่งนั้น ใจของเราต่างหากไม่เห็นความสมดุลนั้น ยึดอยู่กับสิ่งนั้น ยึดอยู่กับสิ่งที่ว่ามันเคยใจนะ อันนี้กิเลส เห็นไหม ถ้าเห็นโทษของมันแล้ว มันจะละสิ่งนี้ออกไปได้ อันนี้ถึงว่า ความพอดีที่เป็นธรรมนะ สิ่งใดก็ดี สิ่งใดก็ดี ใจที่มันดีแล้ว สิ่งใดก็ดีไปหมดเลย

เพราะใจเรามันขัดข้อง ความไม่สมดุลภายในไง ความไม่สมดุลภายในก็ขัดกับสิ่งข้างนอกไปหมด มันจะไหลไปธรรมชาติของมันด้วยความสมดุลของมันก็แล้วแต่ แต่เรื่องที่ว่ามันขัดอยู่ภายในหัวใจ มันเห็น มันจะเบี่ยงเบน มันพยายามพลิกแพลง ไม่พอใจสิ่งนั้น ถึงว่าเป็นตัณหาไง ตัณหาความทะยานอยากเป็นสมุทัย สมุทัยทำใจให้ขัดข้องไปตลอดเวลา ใจนี้มันขัดข้องเพราะสมุทัยที่เรามีอยู่ เห็นไหม

ความปรับสมดุลเข้าไป จากหยาบๆ มันจะปรับสมดุลของมันเข้าไปเรื่อยๆ ความสมดุลเข้าไปเรื่อยๆ ถึงภายใน ความเป็นภายในมันถึงจะชำระกิเลสตรงนั้นได้ มันถึงสำคัญตรงนี้ ศาสนาเราถึงสำคัญเรื่องของใจ ใจนี้รับความทุกข์ความสุขได้ ร่างกายนี้ส่วนหนึ่งนะ เราจะไม่เห็นประโยชน์ของร่างกายเลย ทำไมเรามาเกิดเป็นมนุษย์ มนุษย์สมบัติอันนี้ประเสริฐมาก ถึงได้มาทำบุญกุศล ถึงได้ฟังธรรมไง

อย่างที่ว่า ในพระไตรปิฎก ในธรรมบทด้วย เวลาเทวดาเขาให้พรกัน เวลาเขาจะดับขันธ์นะ เขาบอกว่าให้ไปเกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นมนุษย์แล้วพบพระพุทธศาสนา จะได้สร้างบุญกุศลนี้เพื่อขึ้นมาให้เป็นเทวดาอีก เห็นไหม พอสิ้นจากเทวดา เหมือนกับเงินสมบัติเราใช้หมดไปแล้ว เงินในกระเป๋าเราหมดไปแล้ว เราต้องหาเงินมาใหม่ บุญกุศลที่เราเป็นเทวดา เราเสวยบุญกุศล บุญที่ดีมันหมดไปแล้ว เราจะทำอะไรต่อไป

บุญนี่เป็นอามิส เป็นทานด้วยอามิส อามิสทาน เห็นไหม มันใช้แล้วมันหมดไปๆ มันถึงมาแล้วสิ้นสุดหมดไปเหมือนกับธรรมชาติหมุนเวียนไป มันจะปรับสมดุลของมันในวัฏวนนี้ ในไตรโลกธาตุนี้ จะปรับสมดุลของมัน ความจริงมันปรับของมันอยู่แล้ว เป็นอนิจจัง เป็นไตรลักษณะ แล้วเราพยายามดูของเรา

เขาพยายามอวยพรกันมาเพื่อให้เกิดเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา เราได้เกิดเป็นมนุษย์แล้ว เราพบพระพุทธศาสนาแล้ว แล้วอยู่ในท่ามกลางกาลเวลาที่เราพยายามจะไขว่คว้ามาให้เป็นสมบัติของเรา เราทำบุญกุศลเท่าไรนี่เป็นสมบัติของเรา บุญกุศลนะ

เหมือนกับว่าไฟไหม้บ้าน เราขนสมบัติออกไป พระพุทธเจ้าเปรียบอย่างนั้นเลยนะ เปรียบเหมือนไฟไหม้บ้าน แล้วเรารื้อเอาสมบัติออกจากบ้านได้มากเท่าไร นั่นเป็นสมบัติของเรา นี่ถ้าทำไป แต่ไอ้ตัณหา ไอ้สมุทัย มันไม่เห็นตรงนั้น มันเลยทำได้ยากไง

ถึงว่า ความสมดุลในเริ่มต้น ความสมดุลเรื่องแค่ทำทานก็เริ่มต้นแล้วนะ ความสมดุลว่าใจมันพอใจ แล้วมันทำได้ มันปรับความสมดุลของมันขึ้นมาเรื่อย ปรับความสมดุลขึ้นมาเรื่อย ความสมดุลจนถึงที่สุดเป็นความเห็นถูกต้อง เอวัง