เทศน์เช้า

ขันธ์ห้าไม่ใช่จิต

๓o เม.ย. ๒๕๔๓

 

ขันธ์ห้าไม่ใช่จิต
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์เช้า วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๓
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

อาทิตตฯ... อาทิตตฯ นี้เราบอกว่า “เวลาเรื่องอาทิตตปริยายสูตร สอนชฎิลนะ มันเข้าถึงมโน มโนคือใจ แต่อนัตฯ เข้าไม่ถึง อนัตฯ เข้าถึงขันธ์ ๕ ไง ละขันธ์ ๕ แล้วนิพพานเลย”

เขาบอกว่า ความโต้แย้งว่า “แต่ทำไมพระยสะฟังเทศน์ ๒ หนเป็นพระอรหันต์”

เราบอกว่า “ถ้าอย่างนั้นนะปัญจวัคคีย์ พระพุทธเจ้าแสดงธัมมจักฯ ก่อน จนปัญจวัคคีย์มีดวงตาเห็นธรรม แล้วค่อยมาฟังอนัตฯ ต่อไป อันนั้นนี่เป็นพระอรหันต์เลย”

ไม่ใช่ว่าไปคิดว่าถ้าคนฟังตรงนี้แล้วจะไม่ถึงพระอรหันต์ไง อย่างเช่นยสะนี่ก็เป็นพระอรหันต์ใช่ไหม? ยสะนี่ฟังเทศน์กัณฑ์นี้แล้วเป็นพระอรหันต์ กับปัญจวัคคีย์นี่ฟังเทศน์กัณฑ์นี้เป็นพระอรหันต์

เราบอกว่า “ไอ้ตรงนั้นเป็นผล อันนั้นเป็นผลยอมรับ ทุกคนยอมรับหมด”

แต่ทีนี้ว่าการจดจารึก อาจารย์มหาบัวท่านว่าอย่างนี้ “การจดจารึกมานี่ มันตกหล่นก็ได้ หรือว่าถ้าเราเห็นว่ามันยาวเกินไป ฟั่นเฝือตัดออกท่อนหนึ่งก็ได้”

เราถึงบอก “มีอยู่ที่ตัดออกท่อนหนึ่งไง ตัดออกไปเลยท่อนหนึ่ง เพราะว่า มนสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ เห็นไหม ถึงมนสฺมึปิ นิพฺพินฺทตินี่มันถึงตัวนี้เลย ถึงตัวใจเลย” แต่ถ้าละขันธ์ ๕ เราบอก ให้ทำความเข้าใจตรงนี้ก่อน ตรงทำความเข้าใจว่าใจกับขันธ์นี้มันคนละอันไง ใจกับอารมณ์นี่คนละอัน อารมณ์เป็นอารมณ์ ใจเป็นใจ ใจนี่มันเป็นพลังงานเฉยๆ

แต่อารมณ์มันมีความรู้สึก ขันธ์ ๕ เห็นไหม ขันธ์ ๕ มีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ถ้ามีตรงนี้ปั๊บมันก็เป็นอารมณ์ขึ้นมา แต่ตัวใจมันความรู้สึกเฉยๆ ความรู้สึกที่เรายังไม่เป็นอารมณ์ มันยังไม่มีความโกรธ พอไม่มีความรู้สึก ไม่มีอารมณ์ออกไปเป็นอารมณ์ขึ้นมา เห็นไหม ความรู้สึกเฉยๆ ตัวนั้นคือตัวใจ แต่เวลาเราคิดออกมานั้นคือตัวขันธ์

ฉะนั้นความคิดกับใจถึงคนละอันไง ให้ทำความเข้าใจว่าความคิดกับใจคนละอัน ไม่ใช่อันเดียวกัน ฉะนั้นถึงว่าถ้าตรงนี้ เข้าใจตรงนี้ปั๊บ มันก็จะรู้ว่าถ้ารู้ว่าความคิดกับใจไม่ใช่อันเดียวกัน เวลาละขันธ์ ๕ เข้ามา ละขันธ์ ๕ เข้ามา เห็นไหม ก็ละความคิดเข้ามา ละความคิดเข้ามา ยังไม่ได้ละใจตัวนี้

แต่ถ้าเป็นอาทิตตฯ นี่ละเข้ามา เห็นไหม มนสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ เห็นไหม ละเข้ามา ละอารมณ์เข้ามาก่อนแล้ว ยังมาละไอ้ตัวใจตัวนี้ตัวสุดท้ายนี้อีก พอละตัวใจเข้าไปตัวนี้ ท่านถึงบอกว่า “ท่านยอมรับเรื่องอาทิตตฯ แต่ไม่ยอมรับเรื่องอนัตฯ เพราะอนัตฯ นั้นเป็นการละเข้ามาแต่ไม่ถึงที่สุด”

อย่างเช่นท่านบอกว่า “ละกิเลสอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด” ทีนี้มันมีอย่างละเอียดสุดอีกอันหนึ่ง เห็นไหม อย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด ก็ละอารมณ์อย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด นี่ละอารมณ์ออกไป แต่อย่างละเอียดสุดนี่มันเหนืออารมณ์ขึ้นไป พอเหนืออารมณ์ขึ้นไป อันนี้จะต้องไปละอันนี้ ในอาทิตตฯ มี ในอนัตฯ ไม่มี

ฉะนั้นเขาก็ถามขึ้นมาอีก ถามขึ้นว่า แล้วพระอรหันต์ไม่มีเวทนาในอะไรไง เวทนาในกายหรือเวทนาในจิต

เรายกกลับมาตรงนี้ ตรงที่แบบว่าถ้ามีเวทนาอย่างนี้ ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในเวทนามันแบ่งสุขแบ่งทุกข์ เห็นไหม มันก็เป็นอารมณ์ ถ้าเป็นอารมณ์อยู่ ยังมีความสุขความทุกข์อยู่ เพราะอารมณ์นั้นมันมีเวทนา

แต่ถ้าเป็นตัวจิต มันขาดออกมา อย่างเช่นในอนัตฯ นะ อนัตฯ บอกว่า “รูปสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ เวทนายปิ นิพฺพินฺทติ สญฺายปิ นิพฺพินฺทติ สงฺขาเรสุปิ นิพฺพินฺทติ วิญฺาณสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ” เห็นไหม ละขันธ์ ๕ ไง ละขันธ์ ๕ แล้วก็ไปเลย ละขันธ์ ๕ ตรงนี้ ตรงละขันธ์ ๕ นี่มันเป็นเวทนา

ถ้าขนาดอนัตฯ นะ ละขันธ์ ๕ แล้วมันถึงอยู่ที่ใจ พออยู่ที่ใจ ใจตัวนั้นพอมันละเอียดสุดแล้ว ละเอียดสุดแล้วยังแก้กิเลสตัวนั้น

มนสฺมึปิ นิพฺพินฺทติเข้าไป พอเข้าไปตรงนี้มันก็ตัดหมดเลย พอตัดหมดเลย มันก็เข้าไม่ถึงใช่ไหม? เพราะว่าสิ่งที่ให้ค่าไม่ได้ คือว่าเวทนาให้ค่าว่าสุขหรือทุกข์นี่ให้ค่าไม่ได้ ถ้าให้ค่าได้นะ ความสุขความทุกข์มันเกิดจากตรงนั้น นี่ถ้าทุกข์เกิดขึ้นไง เวทนาเข้าถึงกาย เข้าถึงอารมณ์ได้ แต่ไม่สามารถเข้าถึงใจดวงนั้นได้ เลยย้อนกลับมา

ย้อนกลับมาที่ว่าอนัตฯ เห็นไหม ละขันธ์ ๕ เข้ามา ละขันธ์ ๕ เข้ามา แต่ไม่ได้ละใจ แต่ถ้าในอาทิตตฯ นี้ละเลย ยกให้เขาดูตรงนี้ไง เขาถามตรงนี้ ตรงที่ว่านะ มันก็เหมือนย้อนกลับมาให้เขาจับประเด็นให้ได้ เหมือนกับว่าเรามีเสื้อผ้าอยู่ เราถอดเสื้อผ้า เราซักเสื้อผ้ามาตลอดเลย แต่เราไม่เคยชำระล้างร่างกายเลย เราซักเสื้อผ้าเรา เราซักเสื้อผ้า เราว่าเราสะอาดได้ไหม?

ในอนัตฯ ก็เป็นแบบนั้น เพราะมันเป็นรูป มันเป็นอารมณ์ เป็นสังขาร เป็นวิญญาณ มันไม่ใช่ใจ เป็นอาการของใจ เหมือนกับเงากับเรา เราทำลายเงาของเรา พยายามรักษาเงาเราให้สงบเรียบร้อย เงาไม่มี แต่มันก็ยังมีตัวเราอยู่

อารมณ์นี้ก็เหมือนกัน ความคิดนี่เหมือนกับเงาของใจ ถึงว่ามันเป็นเงาของใจนะ ยากมาก การจะเข้าไปหา มันเป็นเงาของใจ เราต้องทำความสงบเข้าไป มันถึงเข้าไปเห็นเงาของใจ จะจับเงาของใจได้ มันเป็นสิ่งที่ละเอียดจนแบบว่าเราแทบจะพูดกันไม่รู้เรื่องเลย แต่เวลาเขาถาม เขามาถามว่าเป็นปัญหาว่าระหว่าง ๒ สูตรนี้ไง ระหว่าง ๒ สูตรนี่

ถึงบอกว่า “มันเป็นเงา มันก็ต้องเห็นกันชัดๆ ว่าเป็นเงา แต่ทำไมเวลาจับเข้าไปมันจับเข้าไปไม่ได้ล่ะ”

มันถึงต้องใช้ความสงบเข้าไป แล้วพอละเข้าไป ละเงาๆ เข้าไป ไม่ได้ชำระตัวเอง มันก็ไม่ถึงที่สุดใช่ไหม

ถึงบอกว่ามันขาดไปจังหวะหนึ่ง มันขาดไปสเต็ปหนึ่ง เห็นไหม ในอนัตฯ ขาดไปสเต็ปหนึ่ง สเต็ปที่ว่าละขันธ์เข้ามาแล้วไม่ได้ละใจ แต่ในอาทิตตฯ นั้นละเข้ามาหมด จนถึงมนสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ เห็นไหม มโนคือตัวใจ ความสัมผัสของใจ เห็นไหม มนสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ ช่วงนี้ในอนัตฯ ไม่มี ในอนัตฯ ขาดช่วงนี้ไป

ถึงบอกว่าเขาจะค้านว่า “ในเมื่อถ้าขาดไป ทำไมพระยสะฟังเทศน์กัณฑ์นี้แล้วเป็นพระอรหันต์ล่ะ ทำไมพระปัญจวัคคีย์ฟังอนัตฯ แล้วเป็นพระอรหันต์ล่ะ?”

อันนั้นอาจารย์ก็บอกว่า “เป็นพระอรหันต์อยู่ อันนั้นไม่ได้ค้านว่าพระอรหันต์ เพราะพระพุทธเจ้าเป็นคนพยากรณ์เองว่าเป็นพระอรหันต์ แต่เวลาจดจารึกมา...” หนึ่ง จดจารึกมา สอง มีการแบบว่าตัด... โต๊ะมันยาวเกินไป ฟั่นเฝือไปตัดให้สั้นเข้า อันนี้เหตุอยู่ในพระไตรปิฎก คือประเด็นของเขาว่า “ทำไมผู้อื่นฟังแล้ว...”

นี่เขาเอาผลไง เอาผลตรงนั้น แต่เวลาของอาจารย์นี้เอาข้อเท็จจริงมาเทียบกันระหว่างอาทิตตฯ กับ อนัตฯ ระหว่างละขันธ์เข้ามาแล้วไม่ได้ละใจ กับอันหนึ่งมีเห็นๆ ว่าละใจเข้ามาเลย เอาใจเข้ามาเทียบเลย เอาใจเข้ามาเทียบ เห็นไหม ละเข้ามาแล้ว ละอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด แค่นี้เขาก็จบ

ละอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด มันมีละเอียดสุดอีกอันหนึ่ง เพราะอันที่ละเอียดสุดนี้เป็นผู้ที่ละเขาเข้ามา อย่างเช่นใจสกปรก เห็นไหม ใจเราต้องละใจเราเข้ามาเอง นี่ใจแก้ใจมันแก้อย่างนี้ นี่เหมือนกัน เหมือนเราทำความสะอาดในทุกอย่างพร้อมเลย เหมือนที่ว่าบ้านนี้ว่าง ไม่มีใครอยู่เลย แต่เราอยู่ในบ้านอันนั้น

นี่เหมือนกัน ในอนัตฯ เห็นไหม ละอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียดมา ละหมดเลย มันก็เหมือนว่าเราอยู่ในบ้านนั้น เราไม่ได้ละตัวเราเอง เรายังยืนขวางอยู่ ทุกอย่างในบ้านสะอาดหมดเลยแต่มีเรายืนอยู่ในนั้น แต่มองไม่เห็นตัวเรา

แต่ในอาทิตตฯ เห็นไหม ละเข้ามาหมดแล้ว ละเข้ามาหมดเลย อย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด อย่างละเอียดสุดตรงนี้ คำว่า “ละเอียดสุด” ท่านใช้คำว่าละเอียดสุด ก็อย่างละเอียดแล้วทำไมต้องมีละเอียดสุดอีกล่ะ อย่างละเอียดแล้วก็นี่อารมณ์มันละเอียดเข้ามาๆ มันละเอียดเข้ามามาก มันเป็นสิ่งที่ภายนอกทั้งหมด แต่ละเอียดสุดมันเป็นละเอียดสุดอยู่ข้างใน ละข้างในออกไปมันถึงจะสิ้นสุดของผลจริงไง

ถึงว่าศาสนานี่มันประเสริฐๆ ตรงนั้น ประเสริฐที่คนเข้าไม่ถึงตรงนี้ มองไม่เห็น เข้าไม่ถึงแล้วมองไม่เห็น แล้วฟังแต่ผลไง เอาตำรามา ถามด้วยตำราใช่ไหม? ตำราเป็นอย่างนั้น ตำราเป็นอย่างนั้น แล้วว่าตำรา ผู้ที่ไปฟังผลฟังเทศน์กัณฑ์นี้แล้วออกมาเป็นพระอรหันต์เหมือนกัน

แล้วอันตัวในล่ะ แล้วในอาทิตตฯ ก็เหมือนกัน นั้นเหมือนกัน ในตำราว่าเป็นอย่างนั้น แต่ในข้อเท็จจริงผู้ที่ปฏิบัติเข้าไป ปฏิบัติเข้าไป...

ถึงบอกว่านี่มันประสบได้ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ปริยัตินี่การศึกษามา พอศึกษาเข้ามามันก็งง มีแต่ความงง ศึกษาเข้ามาแล้วก็งงๆ เพราะอะไร? เพราะมีตัวในอยู่ของเรา ไอ้ตัวละเอียดสุดมันเป็นตัวที่ทำให้งงให้หมดเลย เพราะมันละเอียดสุด มันคุมตัวละเอียดสุด แล้วตัวละเอียดสุดนี้มันก็ออกมาๆ

อาจารย์ถึงว่า “เวลาเราชำระกิเลสเข้าไป มันจะย่นระยะเข้าไปเป็นชั้นๆ เข้าไป” ย่นระยะเข้าไปเป็นขั้นๆ เข้าไป ตัดทอนเข้ามา ทางหากินของกิเลสออกมาทางขันธ์ ท่านว่าออกมาทางขันธ์ ออกมาทางอารมณ์นี่แหละ แล้วเราก็ชำระอารมณ์เข้าไป ชำระอารมณ์เข้าไป

พอชำระอารมณ์เข้าไปแล้ว ชำระอารมณ์เข้าไปก็ขาดเข้าไปๆ ขาดเข้าไปคือกิเลสขาดนะ ขาดแล้วขาดมี ไอ้ตรงงงนี่ตรงที่ว่าขาดมี บอกว่า “ธรรมะนี้เวลาสิ้นสุดแล้วเป็นเอโก ธัมโม มันเกิดขึ้นมีอยู่”

บอกว่า “ไม่ใช่! ถ้าเวลามันมีอยู่นะ ถ้ามันมีอยู่มันมีที่หมาย ของที่มีอยู่มันมีที่หมาย หมายถึงว่ากรรมมันให้ผลได้ เหมือนกับมีผู้รับผลไง มีจำเลย มีผู้รับผล ผู้รับผลนั้นมันก็เป็นรับผลอยู่”

แต่คำว่า เอโก ธัมโม นี้เหมือนกับคนที่รู้จริงเห็นจริงบอกมาเพื่อเป็นเป้าหมาย คือสมมุติแล้วไม่ใช่สมมุติธรรมดา สมมุติแค่เทียบเคียง ไอ้โลกสมมุติเรานี่สมมุติจริงๆ สมมุติว่าเป็นพ่อเป็นแม่นี่สมมุติหมดนะ แต่เป็นจริงๆ จริงตามสมมุติ

แต่อันนี้มันสมมุติขึ้นมาคือว่ามันไม่มีตัวตนที่จะให้สิ่งเป้าหมายที่จะว่าเปรียบเทียบแล้ว แต่ก็พยายามจะเปรียบเทียบว่า เอโก ธัมโมไง พอ เอโก ธัมโม เราบอก แต่ถ้าเราเป็นปุถุชน เราเป็นผู้มีกิเลสเพราะว่ามี มันต้องมีเป็นที่จับต้องได้ พอบอกว่ามีมันเลยเทียบเคียงกันได้ยาก

เขาจะถามว่า “สิ้นสุดของการใช้ว่า เอโก ธัมโม คำของอาจารย์ที่ว่าพูดถึงนะ ธรรมๆ มีอยู่ มันจะเข้ากับสิ่งที่ว่าเป็นอนิจจัง”

“เป็นอนิจจัง” ท่านบอกว่าท่านก็พูดอยู่ เวลาพูดกับพวกเรานะ ในธรรมะเตรียมพร้อมมีเทศน์อยู่หลายกัณฑ์เลย บอกว่า “นิพพานจะว่าอนิจจังก็ได้” เห็นไหม เพื่ออะไร? เพื่อให้พวกเราจะว่าเหมือนอนิจจังก็ได้

ก็ได้ไง ก็ได้หมายถึงว่ามันมีอยู่ๆ แต่มันมีอยู่แบบนิพพาน นิพพานนี้จะจับต้องไม่ได้ไง มันจะจับต้องไม่ได้ มันถึงว่ามีเหมือนไม่มี ไม่มีเหมือนมี แต่! แต่คนที่มีแล้วเขาสมมุติมาเพื่อจะให้คนที่ก้าวตามเข้าไปมีความมั่นใจ มีความมั่นใจมันก็จะก้าวเดินตามเข้าไปได้ใช่ไหม? มีความมั่นใจว่ามีจริง แล้วมีอย่างนั้น

แต่พอเราสมมุติ เราสมมุติเราเป็นปุถุชนนะ ว่าสมมุติว่าเป็นวัตถุขึ้นมา หรือว่าสมมุติกันขึ้นมาเป็นนามธรรมก็แล้วแต่ มันต้องจับต้องได้ ความจับต้องได้อันนี้ ไอ้ตัวละเอียดสุดนี่มันบังคับให้คิดแล้วเพราะมันเป็นสมมุติอยู่ เห็นไหม เป็นสมมุติมันก็ต้องว่าเป้าหมายว่าเป็นอย่างนั้น เป็นสิ่งที่มีแบบอัตตาไง แบบนิจจังไง

ทีนี้ว่าถ้าแบบนิจจังก็ได้ แบบนิจจังหมายถึงว่ามันมีคงที่ของมันเป็นอยู่ที่อย่างนั้นๆ ไม่อย่างนั้นทำไมพระพุทธเจ้ามาอนุโมทนากับพระที่นักปฏิบัติอยู่ อนุโมทนาอยู่ในเวลาผู้ที่บรรลุธรรม มีครูบาอาจารย์หลายองค์เลยพระพุทธเจ้ามาอนุโมทนา แล้วพระพุทธเจ้านิพพานไปแล้ว แล้วอย่างที่ว่าครูบาอาจารย์เหมือนกัน เวลาประพฤติปฏิบัติเข้าไปนะ ทำไมหลวงปู่มั่นมาสอนในขณะในภาวนาอยู่ นั่นน่ะหลวงปู่มั่นก็ต้องนิพพานไปแล้ว

สิ่งที่นิพพานไปแล้ว มันยืนยันคำว่ามีอยู่ไง คำว่า “มีอยู่” แต่มีอยู่ในว่าขณะที่ว่าหลุดออกไปจากวัฏฏะแล้ว มันเป็นความว่างเป็นนิพพานทั้งหมด แต่เวลาจะเข้ามา มนสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ มโนสัญเจตนาหาร เห็นไหม มนสฺมึปิ นิพฺพินฺทติตัวนี้มันเป็นตัวอันละเอียดสุด ต้องทำลายมันหมด ทีนี้พอทำลายหมดก็ไม่มี พอไม่มีนี่จะสื่อออกมา พระอรหันต์จะสื่อออกมาก็มาเข้าตรงมโนเจตนา ขึ้นเป็นมโนแล้วขึ้นเป็นเจตนา นี่เข้ามาสมมุติไง

เวลาหลวงปู่มั่นสงสัย ในประวัติหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นก็ว่า “เอ้า... พระพุทธเจ้าก็นิพพานไปแล้ว พระอรหันต์นิพพานไปแล้ว แล้วมาได้อย่างไร” นี่หลวงปู่มั่นก็เคยสงสัยอยู่ ก็วิตกถามขึ้นมาข้างใน ถามขึ้นมาว่า “พระอรหันต์นิพพานไปแล้วก็ต้องดับหมด มาได้อย่างไร” เพราะอะไร เพราะตอนนั้นหลวงปู่มั่นมาสอน หลวงปู่มั่นยึงถึงมีอยู่ หลวงปู่มั่นยังไม่มีวงรอบ อันนี้ยังไม่เข้าใจ

ก็ในพระพุทธเจ้าบอกว่า “ก็มาในสมมุติ” ไง นี่ไงมาในมโนสัญเจตนาหาร เพราะมโนสัญเจตนาหารมันเป็นบัญญัติ สมมุติบัญญัตินี้พระพุทธเจ้าบัญญัติสมมุติบัญญัติขึ้นมาเพื่อจะสื่อกัน

เราไปสมมุติกัน เห็นไหม น้ำ ที่ว่าน้ำ พอน้ำไปภาษาจีนก็ว่าไปอย่างหนึ่ง ภาษาหนึ่งก็ว่าไปอย่างหนึ่ง แต่บัญญัติเข้ามา พอบัญญัติเข้ามามันทับศัพท์เลย ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ภาษาไหนก็เป็นดิน น้ำ ลม ไฟ ต้องแปลออกมาเป็นบัญญัติ บัญญัติทับสมมุติเข้ามาให้แคบเข้ามา แล้วสมมุติบัญญัติ บัญญัตินี้ก็เป็นสมมุติอันหนึ่ง บัญญัติว่ามโนสัญเจตนาหารเป็นช่องทางบัญญัติเข้ามา

อย่างขันธ์ ๕ นี่ อารมณ์ ความคิดนี่แบ่งแยกอันไหนเป็นอารมณ์ อันไหนเป็นความคิด เห็นไหม ความคิดเป็นสังขาร อารมณ์นี้เป็นรูปของมันแล้ว อารมณ์นี่ก็เป็นอาการของจิต เป็นรูปของจิตทั้งหมดเลย เป็นสิ่งที่จับต้องได้ อารมณ์ เห็นไหม ความคิดเป็นความปรุงแต่ง ความสุขความทุกข์อันนั้นคือเวทนาที่เข้าไปแบ่งแยกเพื่อมาสื่อกันเวลาว่าตรงไหนอารมณ์อยู่ตรงไหน อารมณ์ตรงนี้ช่วงนี้เป็นสังขาร มันปรุง

แต่มันก็ต้องมีส่วนอื่นเป็นตัวนำส่วนอื่นประกอบด้วย ขันธ์ ๕ ที่มันหมุนไปพร้อมกัน มันถึงเป็นอารมณ์หมุนไปได้ แต่ส่วนอื่นอะไรเด่น ขณะที่คิดนี้สังขารเด่น ขณะที่ว่ามีสุขมีทุกข์นี่เวทนาเด่น ขณะที่ความรับรู้นี่วิญญาณเด่น เด่นขึ้นมา แต่รูปนี้ต้องหมุนตามกันไปทั้งหมด นี่คือว่าเวลาสื่อขึ้นมาเพราะอารมณ์นี้มันละเอียดมาก กิเลสมันอาศัยพวกนี้เข้ามา

เวลาตัดเข้ามาถึงว่าหยาบ กลาง ละเอียด เข้าไปถึงละเอียดสุดเข้าไป หยาบ กลาง ละเอียดตัดเข้าไปเป็นชั้นๆ เข้ามา พอตัดเข้ามาก็ขาดมีๆ ขาดมีก็เข้ากับอันนี้ได้ไง เข้ากับว่านิพพานมี แต่มีแบบนิพพาน พ้นจากสมมุติและบัญญัติออกไป พ้นจากสมมุตินะ สมมุติและบัญญัติที่สมมุติไว้บัญญัตินี่ออกไป

แต่เวลาจะเข้ามา เพราะสิ่งที่ว่านี้พระพุทธเจ้ารู้โลกนอกโลกใน โลกนอกคือโลกของหมู่สัตว์ โลกมนุษย์เรื่องโลกนอก โลกในคือโลกนี่หมุนไป อารมณ์โลกเกิดขึ้น หมุนขึ้นไปเลย คิดได้หมด คิดสวรรค์ คิดนรก คิดเรื่องอะไรคิดได้หมดเลย อารมณ์ไปนะ นี่โลกใน แล้วตัดมาเป็นชั้นๆ เข้ามา หยาบ กลาง ละเอียด เห็นไหม ตัดเข้าไปถึงละเอียดสุด ตัดเข้าไป นี่หยาบ กลาง ละเอียด ละเอียดสุด

พอละเอียดสุดขึ้นแล้วมันก็ชนกันตรงนี้ไง มาชนกันตรงที่แบบว่าให้ค่า เวลาออกไปแล้วให้ค่าไม่ได้...จบ แต่เวลาท่านหมาย ท่านหมายเพราะท่านรู้ ท่านหมายว่าเป็น เอโก ธัมโม เป็นธรรมธาตุ ธาตุที่ว่าเป็นธรรมทั้งหมดที่ไม่มีอะไรเลย

แต่ถ้าพวกที่ไม่รู้ พวกที่ไม่รู้หมายถึงว่าพวกที่อย่างปุถุชนหรือพวกที่ต่ำกว่า ถ้าเป็นธรรมธาตุก็ต้องมีอยู่ เห็นไหม ถึงเกิดเป็นกิเลส ๓ ไง อวิชชาสวะ ภวาสวะ ภพ คือที่หมายที่ปองนี้ ภพ ภวาสวะอยู่ แล้วอวิชชาสวะคือความไม่รู้ แต่ตัวรู้มันเกิดขึ้นปั๊บ ตัวนี้หมด มันทำลายหมดแล้ว พอทำลายหมดเลย ทำลายอวิชชาทั้งหมด ทำลายหมดแล้วมันไม่มี มันหมดไปแต่มีอยู่

มันงงตรงนี้ไง เขาถามว่า “ไอ้เวทนา คือว่าสุขทุกข์นี่เข้าได้ระหว่างกายกับใจของพระอรหันต์ มันรับอะไรได้?” เพราะอาจารย์พูดอยู่คำหนึ่ง คำว่า เวทนาหรือว่ากรรม เวทนานี่เริ่มต้นความสุขความทุกข์มันเข้าได้กระทบแต่เฉพาะร่างกาย มันไม่สามารถกระทบจิตใจอันนั้นได้

ไม่สามารถกระทบจิตใจนั้นได้ไง จิตใจของที่ว่าเป็นพระอรหันต์แล้วไม่สามารถกระทบกับจิตใจนั้นได้ เพราะจิตใจมันตัดมาหมดแล้ว ตัดสิ่งที่ว่าจะเป็นไป สิ่งที่ขับเคลื่อน ตัดจนหมดๆ เข้าไป จนถึงที่สุดแล้ว แล้วละเอียดสุดอันที่ว่าเป็นที่สุดที่ว่าอยู่ในเรือนว่าง ไอ้คนๆ นั้นก็ต้องโดนทำลาย

นี่มันมหัศจรรย์ตรงนี้ไง ตรงที่ว่าคนๆ นั้นอยู่ในบ้าน แล้วจับคนๆ นั้นได้ มันเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์มาก เราจับคนอื่น เรามองหาคน สายตาส่งออกไปจะเห็นคนอื่นหมดเลย สายตาย้อนกลับมาเห็นตัวเอง มันเป็นสิ่งที่ยากมาก การที่จะเห็นตัวตน การจะเริ่มต้นวิปัสสนาถึงยากมาก การยกวิปัสสนามันสำคัญอยู่ตรงนี้ไง สำคัญเราจับสิ่งใดก็แล้วแต่ เรามองสิ่งใดก็แล้วแต่เรามองเห็นได้หมด แต่ตัวมันเองจับตัวมันเองเป็นไปได้ยาก

นี่จิตแก้จิต แต่ต้องอาศัยธรรมนะ จิตแก้จิตก็เหมือนกับคนที่โกรธ เวลามีโกรธมีโมโหมากๆ ก็วิ่งตามไปนะ จิตแก้จิต เพราะอาการมันส่งเสริมกัน เวลาโมโหโกรธามันก็มีความดิ้นรนไปของจิต แต่ถ้าวิปัสสนา เห็นไหม จิตแก้จิตแต่ต้องอาศัยธรรม อาศัยธรรมคือว่าทำความสงบเข้ามา แล้วอาศัยอาการของใจที่รำพึงได้ย้อนกลับเข้ามายกขึ้นวิปัสสนา

นี่จิตแก้จิต แต่ต้องใช้ธรรม ธรรมที่เกิดขึ้นมาจากเอาจิตนี้ เวลาให้มันเบาบางลง จิตนี้ธรรมดามันหมุนไปตามโลกียะ โลกียะคือโลก อารมณ์ของโลก อารมณ์ที่ความโกรธความคิดหมุนออกไป

แต่เวลาถ้าธรรมมันเกิด เห็นไหม อารมณ์นี้มันสงบตัวลง อารมณ์ของโลกสงบตัวลงเป็น โลกุตตระ โลกุตตระหมายถึงว่าใจมันปล่อยอันนั้น ปล่อยอารมณ์โลก ปล่อยสิ่งที่สืบต่อที่ว่าเขาให้ค่ากันโดยสมมุตินี่ไง โกรธคือความมักมาก ความอยากใหญ่อย่างนี้ มันเป็นไปโดยสมมุติ มันเป็นไปโดยธรรมชาติ

แต่ธรรมนี้มันฝืน พอการฝืนเข้ามา อันนี้มันถึงเป็นธรรม พอฝืนขึ้นมามันถึงมีโอกาสจับได้ มีโอกาสจับตัวของมันเองได้ พอจับตัวมันเองได้ หมุนเข้ามาๆ นี่จิตแก้จิต แต่ต้องอาศัยธรรม ไม่ใช่จิตแก้จิตโดยที่ว่าเป็นโลกียะ ถ้าจิตแก้จิตเป็นโลกียะ มันก็แก้กันอยู่อย่างนั้นไง

นี่ถึงว่าอิทธิบาท ๔ แก้กิเลส อิทธิบาท ๔ นี่ ความพอใจมันจะแก้กิเลสไปตรงไหน? อิทธิบาท ๔ แก้กิเลสไม่ได้ อิทธิบาท ๔ เป็นเครื่องอยู่อาศัยเฉยๆ แต่จิตแก้จิตต้องใช้ธรรมของพระพุทธเจ้าด้วย

แต่ธรรมของพระพุทธเจ้าก็แก้ลงที่จิตนั้น จิตดวงนี้มันสกปรก จิตดวงนี้ พอแก้ลงที่จิตนั้น จิตนั้นก็จะสว่างเข้าไป สว่างเข้าไป สว่าง สะอาด เห็นไหม สว่าง สะอาด สงบ ต้องสว่าง สะอาด สงบด้วยนะ ถ้าสว่างขึ้นมา มันไม่สงบขึ้นมา มันสว่างได้ มันเกิดเป็นมนต์ดำ

จิตที่สงบแล้วถ้าไม่มีสมาธิ ไม่มีศีลปกคลุมอยู่ เป็นมิจฉาสมาธิได้ การทำคุณไสยทุกอย่างต่างๆ การทำลายกัน มันก็อาศัยที่เป็นมิจฉาสมาธิ เป็นสมาธิเหมือนกัน ถึงต้องสงบด้วย สงบคือว่ามันสงบในตัวมันเองแล้วมันพอใจในตัวมันเอง เพราะมีศีลควบคุมอยู่

ถึงต้องมีทาน ศีล ภาวนา ศีล สมาธิ ปัญญา ศีลถึงสำคัญมาก สำคัญเพื่อว่าให้ใจนี่ปกติ ใจสงบ เห็นไหม ใจปกติ ใจสงบคือใจที่ปกติ ใจที่ปกติคือว่ามันจะต้องทำลายตัวเอง

เป็นสิ่งที่ยากมากนะ ที่ว่าจะทำลายตัวเองนะ ทำลายตัวเอง เห็นไหม เราไม่อยากจะทำลาย เพราะการทำลายตัวเองนึกว่าทำลายแล้วมันจะเสียหาย แต่ในทางศาสนา การทำลายกิเลสสำคัญที่สุด เห็นไหม ที่ว่าให้ฆ่า ฆ่าแล้วเป็นกุศลฆ่ากิเลสไง ฆ่ากิเลส สมุจเฉทปหาน ฆ่ากิเลส ถ้าฆ่ากิเลสขึ้นมา ทำลายตัวเอง นี้การทำลายตัวเอง การฆ่าตัวเองมันถึงเป็นไปไม่ได้ กิเลสมันจะส่งออก แต่ธรรม! ธรรมทำได้

ถึงว่าธรรมเกิดจากใจ ใจเกิดมีธรรมขึ้นมาแล้วมันหมุนเข้ามา เพราะมันเห็นโทษไง พอสงบเข้ามามันเห็นโทษ โทษของความสงบกับโทษของความฟุ้งซ่าน แล้วถ้าสงบกับความฟุ้งซ่านมันจะให้โทษขนาดนี้ แล้วถ้ามันขาดออกไปมันจะขนาดไหน พอแค่นี้ อันนี้มันทำให้ส่งเสริมให้ใจมุ่งมั่น แล้วใจทำได้ (เทปสิ้นสุดเพียงเท่านี้)