เทศน์เช้า

ธรรมรส

๑๕ ธ.ค. ๒๕๔๒

 

ธรรมรส
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์เช้า วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๒
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ธรรมรสไง วันพระ วันธรรมสวนะ วันปฏิบัติธรรม วันฟังธรรม ธรรมไง ไปทางนู้น เวลาฟังธรรมเขาน่ะธรรมรส รสของธรรมชนะซึ่งรสทั้งปวง เห็นไหม ธรรมรส รสของธรรม แต่เวลาเขาประพฤติปฏิบัติกันไง ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะอย่างพวกเรานี่ใช้แค่สมาธิ แค่ทำหลับหูหลับตาจะได้อะไรไง

แต่ถ้าใช้ปัญญา ปัญญาของเขา เขาว่าใช้ปัญญา เราว่าการใช้ปัญญาอันนั้นมันเป็น..สัญญารส ไม่ใช่ธรรมรส แต่ธรรมรส เห็นไหม เวลาเราทำจิตเราสงบเข้าไป พอเริ่มทำจิตของเราสงบเข้าไป จิตเราสงบเข้าไป นี่มันได้รสของธรรมแล้ว นั่นธรรมรส

คนที่จะได้รสของธรรม ปฏิบัติธรรมแล้วสมควรแก่ธรรม ได้รสของธรรม มันต้องเข้าไปสัมผัสกับธรรมจริงๆ มันถึงได้สัมผัสกับรสอันนั้นนะ รสความตื่นเต้น ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ ปีติ สุข เห็นไหม แล้วยังเข้าไปเป็นขั้นเป็นตอนเข้าไป เพราะขั้นตอนสำคัญอย่างไร ขั้นตอนไม่สำคัญเลย เพราะขั้นตอนนี้เป็นการโกหกกัน เป็นการหลอกลวงกัน

ถ้าเป็นใช้ปัญญา ปัญญาเข้าไปสนุกมาก เพราะว่าเขาใช้ปฏิบัติทางปัญญากัน จะมีความสนุก ความเพลิดเพลิน แล้วไม่หลงใหล แต่ถ้ามาปฏิบัติ มานั่งหลับหูหลับตา มันจะว่าเป็นขั้นเป็นตอน มันจะหลงทาง เขาบอกว่า หลงทาง แล้วเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าเป็นปัญญามันสนุก มันสนุกนะ ว่าสนุก สนุกสิเพราะอะไร เพราะมันเพลิดเพลิน เห็นไหม มันเพลิดเพลินในสัญญา ในวิชาการนี่เพลิดเพลินมาก ถ้าอย่างนั้นแล้วมันถึงไม่หลงไม่ใหล?

เขาถึงว่าเขาได้ทำนะ เขาว่าดีขึ้นมากเลย เราบอกปกติเป็นอย่างนั้น ดีขึ้นมากหมายถึงว่าแต่เดิมติดหมกมุ่นอยู่ในรูป รส กลิ่น เสียง แล้วปล่อยได้หมด เดี๋ยวนี้ปล่อยได้หมด จนมาเตรียมตัวตายนะ ปล่อยได้หมด มีเสื้อผ้า ๓ ชุด แล้วก็เตรียมทำที่ฝังศพไว้เลย ปั้นรูปตัวเองเอาไว้เลย เพื่อจะให้เตรียมตัวตาย แล้วเขามาคุยกันว่านี่เขาปฏิบัติธรรม แล้วแบบเขาปล่อยได้หมด

นี่มันเข้าด้วยสัญญารส มันไม่ได้เข้าด้วยธรรมรส เตรียมตัวตายของพวกเรานี่มันเตรียมตัวตายด้วยหัวใจ หัวใจเตรียมตัวตายไง

อันนี้มันไม่เคยตาย มันเปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติไป เพียงแต่เข้าใจว่าเตรียมตัวตาย ก็เหมือนเราเปลี่ยนเสื้อผ้า เพียงแต่เราเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ไง มันเกิด-ตาย เกิด-ตายไปภพชาติหนึ่งๆ เปลี่ยนเสื้อผ้าไป เพียงแต่เอาเสื้อผ้าแขวนไว้เหมือนกับหุ่นไล่กา หุ่นไล่กาเอาเสื้อผ้าแขวนไว้เพื่อไล่ให้กามันกลัว

นี่ก็เตรียมตัวตาย เห็นไหม สร้างที่ฝังศพตัวเองเลย สร้างรูปปั้นตัวเองไว้ให้ลูกหลานกราบ กลัวลูกหลานจะไม่กราบนะ เขาสร้างรูปปั้นเขาไว้ เขาว่าทำฮวงซุ้ยเอาไว้พร้อมในบ้าน สร้างบ้านไว้หลังเล็กๆ แล้วนี่ทางปฏิบัติที่ถูก เขาบอกว่าทางปฏิบัติที่ถูก ทางปฏิบัติที่เป็นปัญญา เห็นไหม เราว่าสัญญารส ไม่เข้าถึงธรรมรสไง

ถ้าธรรมรส เตรียมตัวตายหมายถึงเตรียมหัวใจที่จะตาย เตรียมหัวใจ เห็นไหม ให้หัวใจมันดับจากกิเลส คือมันตายจริงๆ มันตายหมายถึงว่ามันพ้นไปจากการควบคุมของไอ้สัญชาติที่ว่าพาให้พาเกิด ไอ้กิเลสที่อวิชชาพาเกิด อนุสัยพาเกิด อย่างนี้มันต้องตายตรงนั้น ถ้าตรงนั้นดับขันธ์ ตรงนั้นตายขึ้นไป นี้ธรรมรส มันจะเข้าไปเรื่อยๆ รสของธรรมมันจะขนพองสยองเกล้าเริ่มแต่เริ่มต้นเข้าไป เห็นไหม ผู้ได้ดื่มรสของธรรมไง

แต่สัญญารส รสจากสัญญา มันก็ได้แต่เปลือก เห็นไหม ได้แต่ข้างนอก แล้วก็เอาเปลือกนั้นว่าเป็นเนื้อหาสาระ แล้วถ้าเราทำเป็นขั้นเป็นตอน มันจะไม่มีเนื้อหาสาระ เป็นขั้นเป็นตอนไปได้อย่างไร เป็นขั้นเป็นตอนมันจะทำให้หลงทางไป ความหลงทางมันจะหลงทางไปไหน?

กินข้าวนะ เราบอกเลยนะ กินข้าวมา ๕ คำ แล้วก็ดื่มน้ำเข้าไปอิ่ม ให้อิ่มเลยนะ อิ่มเห็นไหม นี่รส ข้าว ๕ คำนั้นเข้าไปตกถึงท้อง รู้สึกว่าท้องกระเพาะนี่หนักขึ้นมา มีอาหารอยู่ในกระเพาะ ๑๐ คำกินน้ำให้อิ่ม ๑๕ คำกินน้ำให้อิ่ม กับ ๒๐ คำไม่ต้องกินน้ำ มันอิ่มในตัวมันเอง เห็นไหม นี่ขั้นตอน ขั้นตอนหมายถึงว่าเราเข้าไปรู้สิ เราเข้าไปรู้

“ใจ” เวลาเกิดเวลาตาย เกิดมาอะไรบ้างที่มันฝังจิตฝังใจ การที่ฝังจิตฝังใจ มันฝังใจไป มันตายพร้อมกับเรา ตายไปกับเรา นี่การฝังใจไป เพราะเวลาตายนี่หัวใจมันไป หัวใจมันตายไป ความจำของใจนั้นมันจะสะสมไปๆ มันเป็นจิตธรรมดา มันสะสมไป นั่นน่ะคว้าติดมือไป การคว้าติดมือ ศาสนานี้เป็นศาสนสมบัติ เห็นไหม เป็นสมบัติกลาง ใครจะคว้าติดมือไป

แต่ถ้าสัญญารส มันเป็นสัญญาธรรมดาไป มันจะซึ้งใจขนาดไหนก็แล้วแต่ กับเราเข้าไปประสบเอง เห็นไหม เราเข้าประสบ เอ๊อะ เอ๊อะ นี่เข้าประสบเอง แล้วพอเวลามันเข้าไปขาด เป็นขั้นตอนน่ะ คำว่าขั้นตอนหมายถึงกินข้าว ๕ คำแล้วกินน้ำเข้าไป มันไม่อิ่มหรอก อิ่มหมายถึงเมืองพอ เมืองพอหมายถึงวิมุตติรส ธรรมรส เห็นไหม รสของธรรมชนะซึ่งรสทั้งปวง

แล้วในรสของธรรม วิมุตติรสนี้สำคัญที่สุด มันอิ่ม คิดดูสิ เห็นไหม ข้าว ๕ คำกับน้ำ น้ำเข้าไป น้ำโหรงเหรงอยู่ในกระเพาะ มันเต็มกระเพาะอยู่เพราะน้ำ กับ ๑๐ คำขึ้นมาเต็มกระเพาะขึ้นมาน้ำมีส่วนช่วย แล้วก็ ๑๕ คำก็มีน้ำอยู่ แต่ถ้า ๒๐ คำขึ้นไป เต็มไปด้วยอาหารทั้งหมด อิ่มพอ

ทีนี้อาหารมันกินเข้าไปแล้วมันย่อยสลาย มันอิ่มแล้วก็หิวอีก แต่เพียงเอามาเปรียบเทียบ ถ้าเปรียบเทียบว่า อ้อ ปฏิบัติธรรมเพื่อเหมือนจะเอากระเพาะอาหารเหรอ เราไม่ต้องปฏิบัติเราก็ได้กินได้ดื่มอยู่แล้ว ทำไมต้องไปปฏิบัติธรรม?

นี้อันนี้กระเพาะ นี้มันร่างกาย เห็นไหม นี่ก็สัญญารส แต่เทียบมาสัญญามาเพื่อให้เห็นเข้าถึงวิมุตติรสไง ว่ามันอิ่ม พอมันอิ่ม คนอิ่ม คิดสิ เห็นไหม เรานี่หามา เราหามาทุกอย่างเลย ที่เราหากันอยู่นี่ หามาเพื่ออะไร เพื่อจะอาศัย เราบอกว่าไก่กับไข่อันไหนเกิดก่อนกัน ไก่กับไข่ไง เห็นไก่ขันอยู่ข้างนอก เราวิ่งหาไก่ เราเลี้ยงไก่กัน เราเอาไก่มาเพื่อจะหาเงินหาทองมาเพื่อใช้ ไก่ เอาไก่มาเพื่ออะไร? แล้วไก่มาจากไหน มาจากไข่

ความคิดไง ความคิดว่าเราจะให้ตัวเรามีความสุข เห็นไหม เหมือนไก่ เห็นไก่ อยากจับไก่มา ถ้าได้ไก่มาอะไรมานี่มีความสุข แต่ไก่มันเกิดมาจากไหน มันเกิดมาจากไข่ แล้วไข่กับไก่อันไหนเกิดก่อนกัน?

ไข่ ไข่ก็คือหัวใจไง ความคิดมันเกิดจากไหน? ไก่มันเกิดจากความคิดใช่ไหม? ไก่นี่มันเกิดจากไข่ไหม เกิดจากไข่ ไข่คืออะไร?

นี่ก็เหมือนกัน ความคิด ไก่มันออกมาจากไข่ ไข่คือหัวใจ เราคิดหวังไง หวังว่าจะเอาสิ่งนั้นมาเพื่อจะให้มีความสุข แต่เป็นเครื่องอยู่อาศัย ตัวไก่ เห็นไหม เครื่องอยู่อาศัย มันก็บินของมันไปตามประสาของมัน แล้วเอามาอาศัยได้ไหม?

แต่จริงๆ แล้วสิ่งที่จะอาศัยได้คือตัวของใจเอง คือตัวของไข่ ในตัวของไข่มันมีไก่อยู่ในไข่ เห็นไหม ก็ไก่ภายในไง ไม่ใช่ไก่ภายนอก ไก่กับไข่ เราไปเอาสิ่งที่อยู่อาศัยมาเป็นที่พึ่ง เราอยากได้ทุกอย่างเลยเพื่อหวังจะพึ่งได้ แต่มันไม่มีอะไรพึ่งได้เลย

ความพึ่งได้มันอยู่ภายใน เพราะว่าเราหามาเพื่อให้เราพอใจ หามาเพื่อให้สุขใจ หามาเพื่อใจ ถึงว่าเครื่องอยู่อาศัย ปัจจัยเครื่องอยู่อาศัย เครื่องอยู่อาศัยไม่ใช่ของจริง ของจริงคือตัวมันเอง นี้วิมุตติรส รสของธรรมมันอยู่ภายใน ไม่ใช่อยู่ข้างนอก รสภายใน รสของธรรมไง

“ตัวของไข่” ตัวของไข่มันฟักตัวมันเอง แล้วมันสุกในตัวมันเอง มันไม่ต้องอาศัยไก่ภายนอกไง อาศัยสัญญาภายนอก อาศัยความจำภายนอก อาศัยรูป รส กลิ่น เสียงภายนอก อาศัยปัจจัยเครื่องอยู่อาศัยมาให้ใจมันมีความสุข

นี้เราก็วิ่งกัน วิ่งเต้นเผ่นกระโดดไป แล้วอะไรที่ว่าเราหามา สิ่งใดที่มันฝังใจมาก สมบัติจะดีขนาดไหน มันจะมีดีกว่านั้น มีดีเหนือนั้นๆ เหนือให้มันพอใจไป เพราะใจมันไม่เคยอิ่มไง นี่ถมเท่าไหร่ไม่รู้จักเต็ม กิเลสถมเท่าไหร่ไม่รู้จักเต็ม แต่ความอิ่มพอ ความอิ่มพอมันถมรู้จักเต็ม ถึงว่าธรรมรส วิมุตติรสประเสริฐที่สุด

แล้ววิมุตติรสเราเข้าไม่ถึง ไม่ได้ เราก็เข้าถึงสมาธิ เห็นไหม เข้าไปสัมผัส อ่านขนาดไหน ศึกษาขนาดไหน แต่ถ้าไม่หลับหูหลับตาเข้าถึงสมาธินี้ มันเป็นไปไม่ได้ ปัญญาอย่างนั้นมันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ เห็นไหม เราโรยตัวลงมาจากหอ เขาโดดหอกัน โรยตัวลงมา โรยตัวลงมา โรยตัวลงมาจนถึงพื้น เห็นไหม

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราอยู่บนหอ เราทำอะไรได้อยู่บนหอ บนหอนั้นพื้นที่มันแคบ เห็นไหม นี่ก็เหมือนกัน ความคิดข้างนอกคิดได้แค่นั้น แต่มันไม่สามารถทำลายความคิดดั้งเดิมได้ มันต้องโดดไปที่พื้นดิน ลงพื้นดินมันน่ะจะโลดเต้นเผ่นกระโดดขนาดไหนก็ได้ เราจะสร้างตึกกี่ชั้น จะสร้างอะไรบนพื้นดินนี้ได้หมด

เรากระโดดหอลงไป พุทโธ พุทโธ พุทโธ นี่โดดหอ โดดเข้าไปในหัวใจไง โรยตัวเอง โรยความคิดที่คิดพุ่งออกมา โรยตัวเองเข้าไปในหัวใจของเรา พุทโธ พุทโธ พุทโธน่ะโรยตัวเข้าไปถึงพื้นของใจ พอมันถึงพื้นของใจ เห็นไหม จิตตั้งมั่น จิตเป็นสมาธิ

ความคิดบนหอคอยคือความคิดบนอากาศ กับความคิดที่ตั้งมั่น ความคิดของเราที่ว่าความคิดเดิมๆ คือความคิดในกรงขัง หมายถึงสัญญาความจำได้หมายรู้นี่มันเหมือนหอคอย ความคิดเหมือนกับเป็นความคิดวิชาการไง ความคิดเราศึกษามา ความคิดมันมีแต่ในตำรับตำราไง เราจะคิดออกนอกกรอบไม่ได้ มันผิดทฤษฎี ผิดความหมาย ผิดรูปแบบ ต้องคิดในกรอบนั้น

ทีนี้เราถ้าคิดอย่างนั้นมันก็เป็นความคิดด้วยกันทั้งหมด นี่วิชาการ นี่สุตมยปัญญา โรยตัวลงไป โรยตัวลงไป ความคิดอันใหม่นี้ เพราะโรยตัวถึงพื้นดินแล้ว เห็นไหม พื้นดินนี่เราจะทำอย่างไรก็ได้ เราเป็นอิสระ เราไม่ต้องอาศัยกรอบอันนั้น นี่ไง ความคิดใหม่นี่คือเป็นปัญญา ปัญญาอันนี้คือปัญญาชำระกิเลส ปัญญาชำระกิเลสกับปัญญาในการโรยตัวลงมาต่างกัน มันต่างกันตรงนั้น

ถึงบอกว่าอันที่เป็นปัญญาๆ นั้นเป็นปัญญาโลก มันถึงเป็นสัญญาไง เป็นสัญญาถึงว่าเป็นสัญญารสไง เป็นความจำของรสชาติของความจำไง มันเข้าไม่ถึงธรรมรสไง การเข้าไม่ถึงธรรมรสนั้นถึงไม่เคยเห็นธรรมรส ไม่เคยสัมผัสธรรมรส ถึงไม่มีธรรมรสนี้ให้ใจนี้ดื่มกิน ให้ใจนี้มีความสุขต่อไปไง ให้ใจนี่เครื่องกล่อมใจ เห็นไหม

การปฏิบัติ เราปฏิบัตินี่แสนทุกข์แสนยาก ร่างกายนี้สมบุกสมบันเต็มที่นะ เพื่อจะทุ่มเข้าไปทั้งตัวเลย เพื่อให้ใจเห็นไหม ให้ไข่มันฟักตัวมันเอง ให้มันเกิดไข่ แล้วถ้าไก่ตัวในหัวใจนะ มันสามารถแข็งแรงขึ้นมานะ มันกะเทาะเปลือกไข่ออกมาคืออวิชชานะ เห็นไหม วิมุตติรส

นี่ไงพระพุทธเจ้าทำอย่างนี้ไง พระพุทธเจ้าเป็นองค์แรกที่ว่ากะเทาะเปลือกไข่ออกมา พราหมณ์ไปถามว่าพระพุทธเจ้าว่า “พระพุทธเจ้านี่เป็นเด็กๆ ทำไมไม่กราบพราหมณ์ที่มีอาวุโสกว่าในธรรมเนียมประเพณี?” สมัยก่อนธรรมเนียมวัฒนธรรมนี่สูงกว่ากฎหมายอีก ใครจะผิดธรรมเนียมประเพณี เขาจะไม่คบไม่หากันเลยนะ “แล้วพระพุทธเจ้าทำไมไม่กราบพวกพราหมณ์ผู้เฒ่า?”

พระพุทธเจ้าบอกว่า “ไม่เคยเห็นใครมีอาวุโสมากกว่าองค์ศาสดาเลย ในโลกนี้ ในสัตว์ ๒ เท้าไม่มีใครประเสริฐเท่าพระพุทธเจ้า ในสัตว์ ๒ เท้านะพระพุทธเจ้าประเสริฐที่สุด พระพุทธเจ้าเป็นศาสดาองค์แรกที่ออกมาจากอวิชชาตัวนี้ เป็นพี่ใหญ่ เป็นตัวแรก เป็นสัตว์นำ” ถึงว่าจะไปอาวุโสสูงสุด จะไปยกมือไหว้ใครนี้ไม่สมควรเลย แล้วอธิบายให้ฟัง

พราหมณ์ก็งงสิ “อาวุโสอย่างไรก็เห็นเด็กๆ อยู่?”

“ไอ้เด็กมันเด็กข้างนอก เด็กเฉพาะอายุเท่านั้นมันพึ่ง ๓๐ กว่าปี ยังไม่ครบ เห็นไหม ออกมา ผุดออกมาจากไข่” บอกว่า “อายุมากอายุน้อยนี่มันเป็นเปลือกใช่ไหม? แต่ไอ้ในหัวใจที่กะเทาะเปลือกไข่ออกไป นี่วิมุตติรส”

เราถึงว่าเราต้องเข้ามาไง โรยตัวเข้าไปในสมาธิ โรยตัวเข้าไป ทำปัญญาเข้าไปให้ใจตัวนี้มันฟักตัวขึ้นมาได้ไง แล้วมันกะเทาะเปลือกไข่ออกมา แต่ก่อนที่มันจะกะเทาะเปลือกไข่ มันต้องใช้ปัญญา ปัญญาที่ชำระกิเลส มันไม่ใช่ปัญญาอันนั้น ไม่ใช่ปัญญาในสัญญา ปัญญาในสัญญาคือสัญญารสนั้นมันเป็นกรอบของกรงขัง คือกรอบของสังขาร กรอบของระบบ กรอบของทุกอย่างที่คนเห็นว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องทฤษฎีอันนั้น

แต่เวลาปัญญามันเกิดนะ ปัญญาฆ่ากิเลสมันเกิด ไม่เกิดอย่างนั้นหรอก นี่เป็นธรรมรสตั้งแต่จิตสงบเข้าไป จิตขนพองสยองเกล้า จิตตั้งมั่น จากขณิกะเป็นอุปจาระ เป็นอัปปนาสมาธิ เห็นไหม สมาธินี่ดื่มรส นี่เงาของพระพุทธเจ้า เห็นเงาไง สมาธิธรรมนี่เริ่มเห็นเงา คือจิตมันเริ่มเป็นอิสระจากกรงขัง จากไอ้ระบบอันนั้น

พอพ้นจากระบบนั้น ความคิดมันก็เป็นความคิดอิสระขึ้นมาของมันเอง ความคิดอิสระนี้ ถ้าจิตมันสงบแล้วมันจะเป็นปัญญาเอง ไม่มีพระนักปฏิบัติองค์ไหนที่ติดในสมาธิหรอก พระเรานี่เวลาไปปฏิบัติกัน ทำไมไปถึงสมาธิแล้วมันเสื่อมไปๆ ทำไมมันไม่เป็นปัญญาไปโดยอัตโนมัติล่ะ?

เวลาจิตเราสงบเข้าไป พื้นฐานของจิตที่สงบนี้มันปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาทำใจให้เป็นอิสระ อิสระจากกิเลสชั่วคราว แต่ไม่สามารถฟักไข่ตัวนั้นให้ไก่ตัวนั้นแข็งแรงขึ้นมาจนเจาะเปลือกไข่ออกมาได้ ความสงบตัวเข้าไปก็ไปลูบคลำอยู่ที่เปลือกไข่นั้นไง โอ๊ นี่ไข่ของเรา นี่ไข่ทองคำ ว่าอย่างนั้นเลย กกไว้นะ ไข่ทองคำ ไข่ประเสริฐ แต่ไม่รู้หรอกว่าประเดี๋ยวพอมันเสื่อมมา ไอ้ไข่ทองคำมันแผ่รังสีออกมา เราจะมีความทุกข์มากเลย อวิชชาแผ่ออกมาไง

จะเป็นไข่อะไรแล้วแต่ปล่อยมัน แล้วเราต้องยกขึ้นวิปัสสนา นี่! ยกขึ้นวิปัสสนาในกาย เวทนา จิต ธรรมไง เพราะการเห็นอันภายในที่เห็นชำระกิเลส มันไม่เห็นเหมือนข้างนอกแล้ว มันเห็นจากภายใน ความเห็นจากภายในจะขนพองสยองเกล้า

นี่ฟักไข่ ฟักไอ้ที่ว่าเป็นเชื้อของไข่ ไม่ใช่เป็นตัวไก่ ให้มันเป็นตัวไก่ขึ้นมา เห็นไหม นั่นน่ะ ๕ คำกินน้ำเข้าไปยังพร่องอยู่ ๑๐ คำกินน้ำเข้าไปยังพร่องอยู่ ๑๕ คำกินน้ำเข้าไปยังพร่องอยู่ ๒๐ คำอิ่ม นี่ก็เหมือนกัน ขั้นตอนอยู่ตรงนั้นไง ขั้นตอนคือคนเข้าไปแล้วมันฟักไข่ขึ้นมาในตัวมันเอง มันรู้ ทำไมมันถึงว่าเป็นวิมุตติรสไง

รสอันนี้ถึงสำคัญไง เป็นวิมุตติรส ธรรมรส รสอันนี้ถึงว่ามันเข้าไปสัมผัสเอง แล้วใครเป็นคนให้? เขาถามว่าใครเป็นคนให้ขั้นให้ตอน แล้วไม่พากันหลงไปหมดเหรอ คนที่ให้ขั้นตอน?

ถ้าเราว่าเราไปได้ขั้นได้ตอน เราก็บ้า ถ้าเราว่าเราได้นะ เราบ้า เพราะเราคิดของเราเอง มันเป็นวิปัสสนึก แต่ถ้าวิปัสสนาไป วิปัสสนาไปจนมันหลุดออกไป มันขาดออกไป เราจะว่าไม่ได้มันก็เป็นธรรมชาติของมัน จะว่าได้มันก็เป็นธรรมชาติของมัน จะพูดหรือไม่พูด เห็นไหม เวลาข้าวตกถึงท้อง จะพูดว่าอิ่ม-ไม่อิ่มนี่อยู่ที่ปากพูด อยู่ที่ความรู้สึกพูด แต่ไอ้ข้าวที่อยู่ในท้องมันอีกคนละเรื่อง ข้าวในท้องเรากับเราไม่รู้เรื่องหรอก ไม่สามารถที่จะพูดออกมาได้ ข้าวพูดไม่ได้

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน วิปัสสนาเข้าไป ขั้นตอนไม่ใช่ว่าใครจะให้กันได้นะ ใครให้ใครไม่ได้ แม้ต้ององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังให้ใครไม่ได้เลย ยังเป็นผู้ชี้ทางให้พระสารีบุตรเดินไป เห็นไหม ให้ปัญจวัคคีย์เดินไปก่อน ปัญจวัคคีย์ก่อน ยสะเดินไปๆ ผู้ที่เดินถึง นั่นน่ะสัจจะ อริยสัจจะ ความจริงประสิทธิ์ประสาทให้ ธรรมประสิทธิ์ประสาทให้ ขั้นตอนคือว่าเป็นขั้นตอนขึ้นมาด้วยความรู้สึกของจริงๆ ขึ้นมา อันนั้นมันมีอยู่ไง

ถึงบอกว่าโอยขั้นตอนให้ไม่ได้ พูดไม่ได้ ขั้นตอนเป็นการหลงใหล ถ้าคนที่ว่า คนที่พูดอย่างนั้นคือคนหลงใหล หลงใหลตรงไหน หลงใหลที่ว่าข้าวตกปากยังไม่รู้ว่าข้าวตกปาก กลืนคำข้าวเข้าลำคอยังไม่รู้กลืนคำข้าวเข้าลำคอ คนๆ นั้นมีสติสัมปชัญญะจะปฏิบัติเหรอ?

ข้าวถึงตกปากเรา ข้าวผ่านจากลำคอเข้าไปตกถึงกระเพาะของเรา อันนี้เป็นของของเรา เรารู้สึกขึ้นมา นี่มันก็แบบ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ คำ ก็รู้ๆ อยู่ ๕ คำเติมน้ำเข้าไป นี่ขั้นตอนของมันๆ ก็โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล ขึ้นไปๆ มันเป็นขั้นตอนขึ้นไป เป็นพวกเวไนยสัตว์ แต่สมัยพุทธกาลพรวดถึงเลยก็ได้

นี่ถึงว่าขั้นตอนใครเป็นคนให้ ใครให้ขั้นตอน ขั้นตอนไม่สำคัญเลยเหรอ เพราะขึ้นตอนนี้มันถึงว่าทำให้เรารู้จักไง เพราะว่าถ้าไม่มีขั้นตอน ไม่ได้สัมผัสเลย มันถึงบอกว่าให้ขั้นตอนไม่ได้ ใช้ปัญญาหมุนไปๆๆ ทำไปๆ ด้วยสัญญารส อยู่กับสัญญา แต่เป็นคนดีอยู่

ในสังคมของโลกเขานะ ถ้าคนเราปล่อยวางจากอบายมุขต่างๆ คนเราปล่อยวางจากความเป็นอยู่อย่างนั้น ให้มันอยู่ในกรอบของระเบียบมันก็เป็นคนดี คนดีอย่างนั้นถูกต้อง เป็นคนดีไง เป็นผู้มีศีลธรรม จริยธรรม แต่นี้พอปฏิบัติธรรมเข้าไป จะเอาศีลธรรมจริยธรรมนี้เป็นธรรมแท้ๆ ได้อย่างไร?

เนื้อของธรรมกับศีลธรรมประเพณี ประเพณีทำให้เป็นระเบียบวินัยเท่านั้นเอง ประเพณี ติดในกรอบประเพณีก็เข้าไม่ถึงหลัก เห็นไหม ในกฎหมายนี่ติดในหลัก... (เทปสิ้นสุดเพียงเท่านี้)