เทศน์บนศาลา

ธรรมะของจริงมีอยู่

๒๕ ส.ค. ๒๕๕๓

 

ธรรมะของจริงมีอยู่
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๓
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งสตินะ เราตั้งใจปฏิบัติ... ตั้งใจปฏิบัติตามธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านรื้อค้นมานะ “สัจธรรม... เป็นตามความเป็นจริง” สิ่งที่เป็นจริงมันจะเข้าสู่ความเป็นจริงในหัวใจของเรา

เราเกิดมาด้วยความเป็นจริงนะ เราเกิดเป็นมนุษย์จริงๆ เราบวชพระเราก็บวชจริงๆ จริงตามสมมุติ เป็นความจริง แล้วเป็นความทุกข์ ก็ทุกข์จริงๆ แต่เวลาเราจะประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราประพฤติปฏิบัติด้วยความมักง่าย ความเห็นแก่ตัว ความเห็นตามความรู้สึกของเรา เห็นไหม มันถึงไม่เป็นตามความเป็นจริง

ถ้าตามความเป็นจริงนะ “ความจริง ของจริง ธรรมะจริงมีอยู่” ธรรมะที่เป็นจริงมีอยู่ เพราะถ้าไม่มีอยู่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ไม่ได้

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา แล้ววางธรรมและวินัยไว้ให้เราเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ เราเกิดมาแล้วพบพระพุทธศาสนานี้ มันเป็นอำนาจวาสนามาก เป็นอำนาจวาสนาของเรานะ เพราะก่อนหน้าที่เราจะเกิดมา ศาสนาพุทธนี้ ๒,๐๐๐ กว่าปี ในเมืองไทยนี่ ๗๐๐ กว่าปีนะกว่าจะมาถึงเมืองไทยเรา สมัยที่มีศาสนานี้ เมืองไทยยังไม่มี

สิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมและวินัยไว้ แล้วเราเกิดตายเกิดตายมานี่ ๒,๐๐๐ กว่าปี นี่พูดถึงในเวลาของพุทธศาสนา แต่ถ้าเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา เห็นไหม

“บุพเพนิวาสานุสติญาณ... ไม่มีต้นไม่มีปลาย” กาลเวลานี้มันหมุนไป ทางวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ได้ ตามฟอสซิลต่างๆ ที่พิสูจน์ได้ด้วยทางวิทยาศาสตร์ แต่ไม่มีใครสามารถพิสูจน์ทางหัวใจได้ ทางความรู้สึก ทางจิตวิญญาณนี้

แต่วิทยาศาสตร์พิสูจน์ไม่ได้ พิสูจน์ว่า เวลาคนเกิดมาแล้ว ตายก็สูญ... เวลาคนตายมาพิสูจน์ได้ด้วย เกิดมาจากท้องพ่อท้องแม่ นี่เป็นกรรมพันธุ์ สิ่งนี้มันเป็นการเกิดเพราะธรรมชาติ มันเป็นความจริงตามธรรมชาติ แต่พิสูจน์ไม่ได้ทางหัวใจ เห็นไหม เพราะหัวใจของเขา เขาไม่ได้เข้าถึงความเป็นจริงในพุทธศาสนา

ถ้าเข้าถึงความจริงทางพุทธศาสนานะ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุข เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกข์นะ ทุกข์มา ๖ ปี

คำว่าทุกข์... เวลารื้อค้นขึ้นมานี่มีความทุกข์มาก มีความทุกข์เพราะอะไร เพราะต้องต่อสู้กับกิเลสของตัว เห็นไหม เวลาต่อสู้กับกิเลส ก็เข้าใจว่ากิเลสมันอยู่ในร่างกายนี้ เห็นไหม อดนอนผ่อนอาหารขนาดไหน ขณะที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอดนอนผ่อนอาหาร นั้นเป็นเพราะยังไม่มีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสรู้ธรรม

การอดอาหารนั้น คือการอดอาหารแบบในลัทธิต่างๆ นอกศาสนาที่เขาไม่มีอยู่ไม่มีกิน เห็นไหม เขาอดโดยที่เขาไม่มี อดโดยโลก อดโดยความเข้าใจผิด แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอดอาหารนั้น อดเพราะยังไม่มีศาสนา แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้ว เห็นไหม บอกเลยว่า “ไม่ให้อดอาหาร.. ไม่ให้อดอาหาร”

เพราะการอดอาหาร ถ้าเรามีความมุ่งมั่นใช่ไหม เวลาเราประพฤติปฏิบัตินี่เรามีความมุ่งมั่นมาก ถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า การอดอาหารนี้เป็นทางเข้าสู่ธรรม เราก็จะอดอาหารด้วยความรุนแรง เห็นไหม

แต่เวลาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอดอาหารมานั้น เพราะว่ายังไม่มีธรรม... พอไม่มีธรรม แล้วเวลาอดไปนี่ ไม่มีธรรมคือไม่มีปัญญา ไม่มีสิ่งใดที่จะรื้อค้นขึ้นมาว่าสิ่งใดเป็นธรรม และสิ่งใดไม่เป็นธรรม สิ่งใดเป็นความจริง และสิ่งใดไม่เป็นความจริง

ถึงบอกว่าห้ามอดอาหาร เพราะ ! เพราะถ้าคนยังไม่มีปัญญา เวลาทำสิ่งใด ทำด้วยความรู้ความเห็นของตัว เพราะมีกิเลสตัณหาความทะยานอยากในหัวใจใช่ไหม เวลาทำตามความรู้ความเห็นของตัวนี่ก็ทำด้วยความมุ่งมั่น

ความมุ่งมั่นของคนที่จริงจังมีอยู่ แต่ถ้ามุ่งมั่นด้วยความที่ไม่มีปัญญานี้ ความมุ่งมั่นอย่างนั้น จะเป็นความมุ่งมั่นที่เข้าไปสู่การทำลายตนเอง ทำลายตนเองนะ แต่ไม่ได้ทำลายกิเลส

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้ว วางธรรมและวินัยไว้ว่า “ห้าม ! ห้ามอดอาหาร เว้นไว้แต่... เว้นไว้แต่ผู้ที่อดอาหารเป็นวิธีการ” เห็นไหม

คำว่าอดอาหารเป็นวิธีการ เพราะว่าการอดอาหารนี้มันเป็นเรื่องของร่างกาย แต่วิธีการที่จะทำให้ร่างกายนี้ธาตุขันธ์ไม่ทับจิตใจ “ถ้าอดนอนผ่อนอาหารเพื่อเป็นวิธีการ เราตถาคตอนุญาต”

นี่เวลาบังคับก็บังคับอยู่ เพราะ ! เพราะว่าสิ่งที่เป็นการกระทำนี้ เวลาคนที่ทำขึ้นมาด้วยความมุ่งมั่น ทำด้วยความไม่มีปัญญา ทำด้วยปัญญาหยาบๆ มันเอาตัวเองรอดไม่ได้ไง แต่ถ้าคนที่มีครูบาอาจารย์คอยชี้นำ คนที่มีวุฒิภาวะ เห็นไหม เขาว่า “สิ่งนี้.. เราทำเพื่อทอนกำลังของกิเลส” ถ้าทอนกำลังของกิเลสแล้ว เราจะมีโอกาสมากขึ้น เราจะมีโอกาสที่ได้ต่อสู้กับกิเลสในหัวใจของเรามากขึ้น เห็นไหม

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอดนอนผ่อนอาหารนะ ก่อนที่ยังไม่ได้ตรัสรู้ธรรมขึ้นมา จนย้อนกลับมาฉันอาหารนะ ปัญจวัคคีย์ทิ้งไปเลย ทิ้งไปเพราะคิดว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากลับมามักมากไง

คำว่ากลับมามักมากนะ มักมากในอะไร เพราะการอดอาหาร การต่อสู้กับกิเลสนี้ มันเป็นอุกฤษฏ์ เป็นทุกขกิริยาที่การต่อสู้กับกิเลส

เวลากลับมานี่มันหมดหวังไง นี่ปัญจวัคคีย์ทิ้งไป แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ เวลาที่เขาทิ้งไปแล้ว เห็นไหม ท่านคิดถึงที่โคนต้นหว้า คำว่าคิดถึงโคนต้นหว้านะ คือคิดถึงอานาปานสติที่เคยกำหนดไว้ตอนเป็นเด็กเป็นราชกุมารนั้น

คิดถึงโคนต้นหว้าว่า “กำหนดลมหายใจ... กำหนดลมหายใจ” นี่ความฝังใจมันมีอยู่ เห็นไหม เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นไปนี้ ถ้ายังไม่มีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังรื้อค้นอยู่นี่ สิ่งใดก็ยังขาดตกบกพร่อง มันไม่เป็นสัจจะความจริง

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้ว สิ่งที่ตรัสรู้ธรรม เพราะมันมีความจริงไง มันมีความจริง มันมีมรรคญาณขึ้นมา ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ความจริงมี เห็นไหม

“ธรรมะของจริงมีอยู่” มีอยู่เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสวยวิมุตติสุข เวลาเสวยวิมุตติสุขขึ้นมา นี่ความละเอียดอ่อน เสวยวิมุตติสุขจนทอดอาลัยว่า “จะสอนได้อย่างไร.. จะสอนได้อย่างไร” จนพรหมต้องมานิมนต์ เห็นไหม แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ได้สร้างบุญญาธิการมา ที่จะรื้อสัตว์ขนสัตว์เหมือนกัน เพราะอำนาจวาสนาสร้างมาทุกคน

ดูสิพระสารีบุตรกับพระโมคคัลลานะ ปรารถนามาเป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวา สิ่งที่ปรารถนานี้กระบวนการมันมีมาตั้งแต่อดีตชาติ กระบวนการมันมีมาตั้งแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ กระบวนการนี่ ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย เห็นไหม

แล้วกระบวนการที่จะเป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวานี้ มันเตรียมความพร้อมมาตลอด ถ้ามีความพร้อมมาตลอด สิ่งนี้คือกรรมเก่ามันส่งเสริมมา พอเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้ธรรม สิ่งที่เป็นบารมีนั้นเต็มขึ้นมา มันเป็นสัจจะความจริง

นี่พูดถึงอำนาจวาสนาของการประพฤติปฏิบัตินะ อำนาจวาสนาของจิตที่ว่าบุพเพนิวาสานุสติญาณ ของจิตที่เวียนตายเวียนเกิดมา เวลาเกิดขึ้นมาแล้วนี่ปฏิบัติมา ๖ ปี พยายามค้นคว้า พยายามรื้อค้นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ พอตรัสรู้ธรรมขึ้นมานี่วางธรรมและวินัยไว้

สิ่งนี้มันเป็นความจริง ! เวลาเสวยวิมุตติสุขก็เป็นความจริง ! เวลาพระปัญจวัคคีย์ พระอัญญาโกณฑัญญะเป็นสงฆ์องค์แรกของโลก แล้วพระปัญจวัคคีย์นี้ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการ ก็เป็นพระอรหันต์ทั้งหมด เห็นไหม พระยสะ กับบริวารอีก ๕๔ คน ก็เป็นพระอรหันต์ทั้งหมด

สิ่งที่ว่าเป็นพระอรหันต์นี้เป็นความจริงไหม มันเป็นความจริงนะ เป็นความจริงในสมัยพุทธกาล ความจริงในสมัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม

แล้วกาลเวลา ๒,๐๐๐ กว่าปีมานี้ได้เผยแผ่ศาสนามา ผู้ที่ศึกษากันมานั้น มันก็เรียวแหลมไป มันเรียวแหลมไปเพราะโลกไง เป็นไปตามโลก... เป็นไปตามโลก จนความเชื่อถือศรัทธาว่า “มรรคผลมีหรือไม่มี” มันเป็นอีกเรื่องหนึ่งนะ จนคนที่ประพฤติปฏิบัตินี่ประพฤติปฏิบัติไม่ได้ เพราะคิดว่ามรรคผลมันหมดกาลหมดสมัยไปแล้ว

เวลาหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นมารื้อค้นอยู่นี้ รื้อค้นขึ้นมาจนเป็นสัจจะความจริง ถ้าเป็นความสัจจะความจริงนี่ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม... ท่านตรัสรู้ธรรมขึ้นมาด้วยเหตุใด

“ตรัสรู้ธรรมขึ้นมาด้วยอาสวักขยญาณ ตรัสรู้ธรรมขึ้นมาด้วยมรรค ๘ ด้วยสัจจะความจริง” ถ้าเป็นศีล สมาธิ ปัญญา ก็เป็นศีล สมาธิ ปัญญาจริงๆ เป็นความจริง เห็นไหม แล้วเวลาเราประพฤติปฏิบัติกัน เราปฏิบัติโดยกิเลสตัณหาความทะยานอยากของเรา แล้วมันจะเป็นศีล สมาธิ ปัญญาตามความเป็นจริงไหม

ถ้ามันเป็นศีล.. ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ นั่นมันเป็นข้อห้าม มันเป็นศีล ! แต่เวลาศีลจริงๆ มันเกิดมาจากไหนล่ะ

“ศีลจริงๆ มันเกิดขึ้นมาจากใจ ศีลคือความปกติของใจ !” ถ้าใจมันปกติศีลมันสมบูรณ์ ศีลมันสมบูรณ์ที่นี่ แต่ศีลนั่นมันเป็นข้อห้าม ! สิ่งที่เป็นข้อห้ามนี้ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ มันเป็นข้อห้ามของผู้ที่จะถือศีลได้มากได้น้อยแค่ไหน

แต่ถ้าความเป็นจริง ศีล... ในสมัยพุทธกาล เวลาพระบวชขึ้นมาแล้วศีลข้อบังคับมันมีมาก จนไปลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อจะสึกนะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นวาสนาว่าจะเป็นไปได้ไง แต่ศีลมันมากมายเหลือเกิน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า

“เธอถือศีลข้อเดียวได้ไหม”

“ถ้ามีศีลข้อเดียว... ถือได้”

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก “ให้ถือศีลที่หัวใจไง” ถ้าเจตนาตัวเดียว ถ้าไม่ทำผิด ศีลมันไม่ผิดหรอก !

ถือศีลข้อเดียว คือถือศีลที่ใจ ถ้าใจมันไม่คิดไปทางที่ชั่ว ไม่คิดไปทางที่กระทำผิด มันก็ไม่ทำผิดขึ้นมา นี่ศีลข้อเดียว... ถ้าศีลข้อเดียวนี้คือรักษาใจของเรา เห็นไหม

นี่เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่อนุญาต ไปเทศนาว่าการดึงไว้ไง เพื่อให้เขามีหลักมีเกณฑ์ของเขา ถ้ามีหลักมีเกณฑ์ของเขา แล้วความวิตกกังวลในศีล สมาธิ ปัญญานี้

ศีล... เป็นความจริงหรือเปล่า สติ.. เป็นความจริงหรือเปล่า สมาธิ... เป็นความจริงหรือเปล่า ถ้ามันไม่เป็นความจริง...

“ธรรมะเป็นของจริง” สิ่งที่จะเข้าไปรื้อค้นเอาความเป็นจริงในธรรมนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านลองผิดลองถูกมา ขณะที่ลองผิดลองถูกมา เวลามีผู้อุปัฏฐากมา เวลาปัญจวัคคีย์อุปัฏฐากอยู่ เห็นไหม ทำความเพียรชอบ ทำความเพียรในหัวใจนี่มีคนเป็นพยานนะ

ปัญจวัคคีย์อุปัฏฐากอยู่นี่เป็นพยานตลอด แต่เวลาประพฤติปฏิบัติไปนี่มันเป็นเรื่องโลกไง เรื่องโลก คือเป็นความเห็นของโลก เป็นกระแสของโลก แต่เวลาจะเข้าสู่ความจริงนี่ปัญจวัคคีย์ทิ้งไปแล้วนะ พอปัญจวัคคีย์ทิ้งไป องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านรื้อค้นด้วยตัวขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง

เวลาตรัสรู้ขึ้นมา มันตรัสรู้ขึ้นมาด้วยมรรคในหัวใจ มันย้อนกลับเข้ามาที่โคนต้นโพธิ์ “ถ้าคืนนี้เราไม่ตรัสรู้ เราจะยอมตายที่โคนต้นโพธิ์นี้” นั่งเสียสละเลย พอเสียสละมันตัดความวิตกกังวลทั้งหมดทุกๆ อย่าง แล้วตั้งใจให้เป็นความจริง

ถ้าตั้งใจเป็นความจริง “นี่อานาปานสติ คือมันสงบเข้ามา” พอจิตมันสงบเข้ามาตามความเป็นจริง เห็นไหม มันจะเข้าสู่จิต พอเข้าสู่จิตแล้ว ความพร้อมที่สร้างมาตั้งแต่เป็นพระโพธิสัตว์ จะมาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ บุญญาธิการมันมหาศาล

พอจิตสงบเข้าไป... สงบเข้าไปโดยสัจจะ โดยความเป็นจริง เข้าไปถึงฐานข้อมูลเดิม คือ “บุพเพนิวาสานุสติญาณ” เพราะมันจะรู้ มันจะเห็นของมันไป

นี่ถ้ามีสติปัญญาพอมันดึงกลับมา เห็นไหม พอดึงกลับมา เข้ามาสู่ความสงบอีก พอสู่ความสงบอีกแล้วปล่อยไป “จุตูปปาตญาณ คือมันเห็นของมัน”

นี่เห็นของมันตามข้อเท็จจริงนะ ตามข้อเท็จจริงที่เป็นกลาง ตามข้อเท็จจริงที่ยังไม่มีมรรค เพราะมรรคยังไม่เกิดไง พอเวลามันเกิดขึ้นมาแล้วดึงกลับ พอจุตูปปาตญาณ แล้วดึงกลับ ดึงกลับมาสู่ฐีติจิต สู่จิตสัมมาสมาธิ เวลาเกิดอาสวักขยญาณ...

“อาสวักขยญาณ” คืออะไร คืองานชอบ เพียรชอบ สมาธิชอบ ปัญญาชอบ ความชอบงานในการรื้อค้น งานในการชำระกิเลสไง นี่เวลางานออกไปดูข้อมูล เห็นไหม ข้อมูลคือ บุพเพนิวาสานุสติญาณ ข้อมูลโดยจิตที่มีการกระทำ นี่มันเป็นสัจจะ แต่สัจจะนี้มันเป็นสัจจะโดยข้อเท็จจริงทางโลก โดยข้อเท็จจริงของจิต เห็นไหม แต่มันไม่มีมรรคญาณ

นี่ไงสิ่งที่ว่า “ธรรมะของจริง” ธรรมะของจริง คือความเป็นจริงในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาชำระกิเลสตามความเป็นจริงนั้น พอชำระตามความเป็นจริงนั้นแล้ว นี่อาสวักขยญาณ ทำลายทั้งหมด

“จิตทำลายจิต... อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุจจิงสูติ” ทำลายจนหมดสิ้น หมดสิ้นกระบวนการของมัน มันไปอีกสถานะหนึ่งเลย “มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑” คือเข้าสู่มรรคผลนิพพาน เข้าสู่วิมุตติสุข มันพ้นกระบวนการของจิตนั้นไป

“นี่ธรรมะของจริง มันเป็นผลจริงๆ”

แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากว่าจะเป็นผลจริงๆ นี้ ท่านลองผิดลองถูกมา ๖ ปี เห็นไหม

สิ่งที่เป็นจริง.. เป็นจริงเพราะมันเป็นมรรคจริงๆ เป็นมรรคในอาสวักขยญาณจริงๆ ตามความเป็นจริง แต่ในปัจจุบันนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมและวินัยไว้ แล้วเวลาเราศึกษาธรรม เราศึกษาด้วยปัญญาของเรา ด้วยโลกียปัญญา มันเป็นของปลอม ของปลอมเพราะกิเลสของเรามันปลอม เห็นไหม

พอกิเลสมันพาให้ใจเราปลอม เวลาศึกษาไปนี่ ศึกษาด้วยการคาดการหมาย ศึกษาด้วยเป็นสัญญาอารมณ์นี้ศึกษาไป พอศึกษาไปแล้วเวลามาประพฤติปฏิบัติ ถ้ายิ่งประพฤติปฏิบัติตามธรรม แต่มันไม่เป็นความจริงเพราะเหตุใด

มันเป็นการฉ้อฉล สิ่งนี้เป็นความฉ้อฉลใช่ไหม มันไม่มีความจริงเข้าไปสู่สัจจะความจริง มันเป็นความจริงขึ้นมาไม่ได้ เวลาทำสมาธิขึ้นมา มันเป็นสมาธิไหม เวลาเราทำขึ้นมาแล้วมันเป็นความจริงของเราไหม เพราะมันไม่เป็นความจริงของเรา เห็นไหม เพราะความไม่เป็นความจริง แต่เราคาดหมายเอา เพราะอะไร เพราะสิ่งที่เป็นธรรมะมันมีอยู่ไง

เวลาหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านรื้อค้น ท่านพยายามทำของท่านมา จนสังคมเขาเชื่อถือศรัทธา ถ้าสังคมเชื่อถือศรัทธาใช่ไหม เราฟังธรรมอย่างนั้นมา แล้วเราเอาสิ่งนี้มาเป็นสมบัติของเรา ถ้ามันเป็นสมบัติของเรา คือมันไม่เป็นความจริง ถ้ามันไม่เป็นความจริง แล้วเราเอาสิ่งที่เป็นความจอมปลอมนี้ เข้าไปค้นหาตามความเป็นจริง มันเป็นความจริงขึ้นมาไม่ได้หรอก !

มันเป็นความจริงขึ้นมาไม่ได้ เพราะสิ่งที่เป็นความจอมปลอม มันเข้าไปรื้อค้นตามความเป็นจริง มันเป็นความจริงขึ้นมาไม่ได้ ยิ่งถ้าโกหกมดเท็จนะ มีการฉ้อฉลนะ แล้วความฉ้อฉลของเราเพราะเหตุใด

สิ่งที่เป็นความฉ้อฉลขึ้นมา เพราะในเมื่อไม่รู้จริง ถ้าไม่รู้จริง สิ่งนี้เราคาดหมายของเราไป ถ้าเราคาดหมายของเราไป ด้วยวุฒิภาวะของใจ ถ้าคนที่มีอำนาจวาสนานะ เวลาสิ่งใดผิดสิ่งใดถูกนี่เราเลือกได้ เราแยกแยะได้ แต่ถ้าไม่มีอำนาจวาสนา เห็นไหม คำว่าไม่มีอำนาจวาสนานี้ เราจะเข้าถึงสัจจะความจริงไม่ได้

เช่น... เช่นทำความสงบของใจ ถ้าใจมันสงบเข้ามา เราวัดค่าได้นะ จิตที่มันมีความสงบของใจนี้ เราพุทโธ พุทโธ หรือเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิเข้ามา ถ้าจิตมันจะสงบเข้ามา สงบเข้ามาตั้งแต่ “ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ”

ขณิกสมาธิ คือมันสงบได้บ้างเล็กน้อย แต่ความเล็กน้อยนี้ เราฝึกใช้ปัญญาของเราไป ถ้าเราฝึกใช้ปัญญาของเรา ดูสิเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ ๖ ปีนี้ลองผิดลองถูกตามคำสอน ตามแต่หัวหน้า ตามแต่เจ้าลัทธิต่างๆ ที่เขาสอน ก็ฝึกฝนกับเขาจนครบจบกระบวนการ พอจบกระบวนการแล้ว “อย่างนี้ไม่ใช่... อย่างนี้ไม่ใช่” นี่มันมีวุฒิภาวะที่จะเลือกได้ ที่จะพิสูจน์ได้ ถ้าเรามีหลักมีเกณฑ์ เราจะรู้ว่าสิ่งนี้ไม่ใช่ !

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราทำความสงบของใจเราเข้ามา เราจะรู้ได้ รู้ได้ว่าสิ่งนี้เป็นความสงบจริงหรือเปล่า ถ้าเป็นความสงบไม่จริง เพราะสิ่งที่เราพุทโธเข้าไป หรือเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิเข้าไป มันแค่ชั่วคราวไง มันว่างๆ มันปล่อยวาง พอมันปล่อยวางขึ้นมา แต่สติปัญญานี้มันไม่ครบกระบวนการของมัน

ถ้าครบกระบวนการของมัน เวลาพุทโธ พุทโธ พุทโธ คือมีสติปัญญาเข้าไปนะ นี่เราควบคุมได้ไง เราควบคุม เราดูแลของเราได้

“ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ” ถ้ามีสติปัญญานี่ควบคุมเข้ามา แล้วพุทโธ พุทโธ พุทโธเข้ามานี่ มันเห็นของมัน รับรู้ของมัน แล้วรับรู้ของมันนะ

ในการเริ่มต้นประพฤติปฏิบัตินี้ สิ่งที่เราทำไม่ได้ หรือเราทำสิ่งใดแล้วมันยังไม่เป็นข้อเท็จจริงที่มันจะเป็นความจริงนี้ เพราะวุฒิภาวะเราอ่อนใช่ไหม มันก็ลองผิดลองถูก คือทำแล้วมันว่างๆ ว่างๆ แต่เราไม่เข้าใจ เราไม่เข้าใจนะ แล้วพอเราพิจารณาของเราออกไป มันใช้ปัญญานี่มันจะไม่สะดวก ไม่คล่องตัว

แต่พอจิตมันมีกำลังของมัน มันมีความสงบของมัน มันว่าง แล้วเราใช้ปัญญาไป อย่างนั้นมันจะคล่องตัวของมัน เห็นไหม สิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ ! มันพิสูจน์กับใจของเรา ว่าใจของเราทำแล้วนี่ประโยชน์มันเกิดขึ้นมา มันเป็นจริงขึ้นมา แล้วถ้ามันเป็นจริงขึ้นมา ให้เราขวนขวายของเรา เราพยายามทำของเรา พุทโธ พุทโธให้จิตมันสงบเข้าไปมากขึ้นๆ มันจะลึกซึ้งของมันเป็นขั้นเป็นตอนเข้าไป จากที่เป็นความไม่จริง มันจะเป็นความจริงขึ้นมา

แต่ถ้าเราเป็นคนไม่มีจุดยืนของเรา มันจะไม่เป็นจริง สิ่งที่ไม่เป็นความจริงเพราะเหตุใด สิ่งที่ไม่เป็นความจริงเพราะมันไม่เป็นสัมมาสมาธิ เพราะในสมาธิ ในมรรค ๘ มันมีสัมมากับมิจฉา...

มิจฉาสมาธิ คือมันว่างๆ ว่างๆ นี่ไง เราใช้คำว่าว่าง เพราะเราสร้างภาพก็ได้ สัญญาอารมณ์นี้เราคิดให้ว่างก็ได้ ในเมื่อมันคิดให้ว่าง แล้วมันเป็นความว่างไหม มันเป็นความว่างเพราะกิเลสตัณหาของเรามันให้ค่า พอกิเลสตัณหาให้ค่า เห็นไหม มันเป็นมิจฉา ความเป็นมิจฉานี้ คือมันเป็นความผิดพลาด มิจฉาเป็นความผิด

ถ้าสัมมาเป็นความถูกต้อง มิจฉานี้เป็นฝ่ายกิเลส คือกิเลสกับธรรม

ถ้าสัมมาสมาธิมันเป็นฝ่ายธรรม ฝ่ายธรรมคือฝ่ายความเป็นจริงที่มันเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริง มิจฉาคือเกิดจากการคาดหมาย เกิดจากสัญญา เกิดจากการคาดเดา เห็นไหม สิ่งนี้เป็นมิจฉา ถ้าเป็นมิจฉาขึ้นมา

“มิจฉาสมาธิ สัมมาสมาธิ” ถ้าเราใช้มิจฉาสมาธิ โดยพื้นฐานที่เราไม่มีหลักมีเกณฑ์ เราใช้ความมิจฉาของเรา มิจฉาสมาธิ มิจฉาสติ มิจฉาปัญญาทั้งหมดเข้าไปใคร่ครวญในธรรม

นี่ไงถ้าเราเอาของปลอม เอาสิ่งที่เป็นสมมุติสัจจะ เราสร้างภาพโดยสมมุติสัจจะนี้รื้อค้นเข้าไป มันก็ได้ผลตอบแทนเป็นของปลอม ! ตอบแทนขึ้นมาด้วยความคิดที่เราคิดขึ้นมา คาดหมายขึ้นมา มันเป็นผลที่เราคาดหมายขึ้นมาโดยปรัชญา โดยตรรกะ มันจะตอบสนองมา ความตอบสนองมานี้มันเป็นอนิจจัง มันไม่มีสิ่งใดเป็นความจริง มันไม่มีสิ่งใดที่พิสูจน์ตรวจสอบได้

แต่ถ้าเป็นสัมมา... สัมมามันก็เป็นอนิจจัง ! แต่สิ่งที่เป็นอนิจจังนี้ เราทำความถูกต้องของเรา เห็นไหม ถ้าทำสิ่งที่มีความถูกต้องของเรา คือมันทำกระบวนการของมันสมบูรณ์ขึ้นมา

“นี่มันเป็นอำนาจวาสนาของจิตนะ” จิตแต่ละดวงนี้มันไม่เหมือนกัน พอมันไม่เหมือนกันนี่ เวลากำหนดพุทโธมากน้อยขนาดไหน แล้วจิตสงบเข้ามาบ้าง หรือจิตมันต้องได้ลงทุนลงแรงมากขึ้นขนาดไหน มันเป็นบุญกรรม อำนาจวาสนาบารมีที่มันสร้างมา ถ้ามันเป็นสิ่งที่สร้างมา คนที่มันทุกข์มันยากนี้ เราทุกข์ยากของเรา เราก็ทำของเรา

ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่าเหมือนกับเราขุดน้ำ เห็นไหม การขุดน้ำนี้ถ้าพูดถึงว่าที่ดินสมบูรณ์ พอเราขุดลงไปไม่ลึกมากมันก็เจอน้ำ แต่ถ้าเป็นที่ดินที่เราอยู่บนดอน เราก็ต้องขุดน้ำลึกกว่า

นี่ก็เหมือนกัน จิตใจของเรา ความสงบของเราจะได้มากน้อยแค่ไหน มันเป็นอำนาจวาสนาของเรา เราทำความเป็นจริง !

“ธรรมะของจริงมีอยู่” ถ้าเราเอาความจริงนี้เข้าไปพิสูจน์ตรวจสอบ เอาความจริงเข้าไปรื้อค้นนะ ให้มันเป็นความจริงขึ้นมา

ถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมาแล้ว เปรียบเทียบเหมือนกับเงิน ถ้าเรามีเงินจริง เห็นไหม ๑ บาทก็มีค่าเท่ากับ ๑ บาท มีเงิน ๑๐๐ บาท ก็จะมีค่าเท่ากับ ๑๐๐ บาท แต่ถ้าเป็นเงินปลอม ตัวเลขมันจะมีค่าขนาดไหน เราเอาไปใช้ในท้องตลาดที่เขาไม่เข้าใจ เขาอาจจะใช้ได้อยู่ แต่ถ้าเราเอาไปใช้นี่ เราก็รู้อยู่ว่ามันเป็นของปลอม ของปลอมนี้เราก็รู้ว่ามันหลอกลวงสังคม นี่ไงถ้าเราจะเอาความจริง เราต้องเอาความจริงเข้าไปเพื่อตรวจสอบความจริงของเรา

นี้พูดถึงอำนาจวาสนาของคนนะ แต่ถ้าเป็นการโกหกมดเท็จ คนที่โกหกมดเท็จ แล้วเอาความจริงขึ้นมา ถ้ามันทำความสงบของใจขึ้นมา มันก็ต้องเสี่ยงเซียมซีเอาว่าเป็นสมาธิหรือไม่เป็นสมาธินะ เพราะตัวเองไม่มีหลักเกณฑ์

เริ่มต้นจากโกหก เห็นไหม คำว่าโกหกมดเท็จ ถ้าคนโกหกโดยความฉ้อฉล ถ้าจิตมันมีความฉ้อฉลกับตัวเอง มันไม่ซื่อสัตย์กับตัวเอง ในการประพฤติปฏิบัติไปนี้ ก็อ้างธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ ถ้าเป็นหัวหน้าหมู่คณะ เป็นหัวหน้าผู้นำเขา ก็อ้างว่าสิ่งนั้นเป็นธรรม.. สิ่งนั้นเป็นธรรม แต่มันไม่เป็นจริง !

“มันไม่เป็นจริง เพราะตัวเองก็โกหกตัวเอง” ถ้าคนโกหกตัวเอง คำว่าโกหกนี้คือมันไม่มีจุดยืน ในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “ถ้าใครโกหก แล้วจะไม่ทำความชั่วต่างๆ นี้ไม่มีเลย”

ถ้าเริ่มต้นจากโกหกและฉ้อฉล คำว่าขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธินี้ตัวเองก็ไม่รู้ ไม่รู้เพราะเหตุใด ไม่รู้เพราะว่าการโกหกนะมันผิดศีล ถ้ามิจฉา คือความเป็นศีลมันมิจฉามาตั้งแต่ต้น เป็นตั้งแต่ต้นนะ

ถ้าพูดถึงศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าใครมีศีลด้วยความปกติ เวลาจิตมันสงบเข้ามา ศีล... คือไม่เบียดเบียนตน ไม่เบียดเบียนคนอื่น ศีลเป็นปกติของใจ ถ้าใจปกติ ถ้าเรากำหนดพุทโธ หรือใช้สัมมาสมาธิขึ้นมา เวลาสงบเข้าไป สงบโดยข้อเท็จจริงเข้าไป มันจะเป็นสัมมา เป็นสัมมาเพราะมันไม่ทำลายใคร แต่ถ้าเป็นการโกหก เห็นไหม การโกหกคือการฉ้อฉล นี่มันทำลายตัวเราแล้ว !

เวลากำหนดไป... สอนก็สอนเหมือนกันนี่แหละ สอนศีล สมาธิ ปัญญา แต่ศีลก็เป็นมิจฉา มิจฉาเพราะมันโกหกเริ่มมาตั้งแต่ต้น โกหกเพราะเหตุใด เพราะตัวเองไม่รู้จักสมาธิ ถ้าตัวเองไม่รู้จักสมาธิ ไม่รู้จักปัญญา แล้วอ้างว่าศีล สมาธิ ปัญญานี้ มันจะเป็นศีลของใครล่ะ

มันก็เป็นศีลของโจรใช่ไหม มันก็เป็นศีลของคนโกหกใช่ไหม แล้วเราเกิดความสงบเข้ามานี้ สงบแบบใด... สงบแบบนี้เป็นสมาธิเหรอ...

ในเมื่อศีลมันมิจฉา เวลาเป็นสมาธิ มันก็คือมิจฉาสมาธิ “มิจฉาสมาธิไม่เป็นข้อเท็จจริง” แล้วถ้าเกิดปัญญาล่ะ คือปัญญาอ้างอิงธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า อย่างนี้เป็นปัญญาๆ

ปัญญาเหมือนกัน มันก็เหมือนของจริงกับของปลอมนี่แหละ ถ้าเป็นของจริง สิ่งใดมันก็เป็นประโยชน์ทั้งหมดตามค่าของมัน แต่ถ้าเป็นของปลอมนะ คำว่าของจริง... ของจริงมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร

“ของจริงมันเกิดจาก ศีล สมาธิ แล้วเกิดปัญญา” ปัญญานี้มันจะเข้ามาชำระล้าง ถ้าปัญญามันเข้ามาชะล้างนะ จิตใจจะโล่งโถง แล้วมันรู้ของมัน

เพราะจิตใจมันโดนกิเลสเหยียบย่ำ โดนกิเลสทำลาย พอจิตใจโดนกิเลสเหยียบย่ำ โดนกิเลสทำลายนี้ แล้วพอมันมีความปกติของใจ เราถือศีลของเรา ด้วยความมุมานะ ด้วยความบากบั่น เราถือศีลของเรา แล้วเรามีสติของเรา เราทำสมาธิของเรา เห็นไหม

พอมันเกิดปัญญาขึ้นมานี่มันมากลั่นกรอง ถ้ามากลั่นกรองหัวใจนี่หัวใจรู้... หัวใจรู้ว่าสิ่งนี้ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นการกลั่นกรอง เป็นการชำระล้าง

แต่ถ้ามันเป็นมิจฉา เป็นความโกหกมดเท็จ สิ่งที่เป็นความโกหกมดเท็จนี้ สิ่งใดก็แล้วแต่ มันใช้ปฏิภาณไหวพริบเพราะมันโกหกตั้งแต่ต้น คือพอโกหกขึ้นมา จิตใจมันก็ไม่มีหลักเกณฑ์แล้ว จิตใจไม่มีหลักเกณฑ์แต่อ้างธรรมนะ เวลาแสดงธรรมนี่อ้างธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยความฉ้อฉล ด้วยความโกหกมดเท็จ ความโกหกมดเท็จนี้อ้างว่า สิ่งนี้เป็นธรรม... สิ่งนี้เป็นธรรม

สิ่งนี้เป็นธรรม มันเหมือนกับเราคำนวณด้วยตัวเลข ถ้าเราคำนวณด้วยตัวเลขนะ ๑๐๐ ก็คือ ๑๐๐ แต่ ๑๐๐ ของคนที่เขาสะสมตัวเลขขึ้นมานี้ ๑๐๐ ของเขามี ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ จนเขามีถึง ๑๐๐ ถ้าเป็นเงินก็ ๑๐๐ บาท แต่ถ้าเป็นตัวเลข ๑๐๐ มันคือตัวเลข ๑๐๐ แต่ไม่มีเงิน

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าบอกว่าเป็นสมาธิๆ แล้วคำว่าสมาธิคือว่างๆ นี้ “ว่างๆ คืออวกาศ ! ว่างๆ ก็คือการยอมจำนนกับตัวเอง” นี่มันไม่มีข้อเท็จจริงขึ้นมา เห็นไหม เพราะตัวเองโกหก ถ้าโกหกมดเท็จขึ้นมาแล้ว มันอ้างธรรมะกับอ้างตัวเลขนี้ก็เหมือนกัน แต่ไม่มีเนื้อหาสาระ ! คือมันไม่มีข้อเท็จจริง

ดูอย่างเช่นทางกฎหมายนะ ผิดกฎหมายกับข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงนี้มันผิดกฎหมายไหม กฎหมายเป็นกฎหมาย ถ้าเราไม่มีความผิดสิ่งใดเลย นี่ข้อเท็จจริงมันไม่มี เราไม่ได้ทำตามความเป็นจริง จะเอากฎหมายบังคับได้อย่างไร

อันนี้ก็เหมือนกัน นี่กฎหมายเห็นไหม ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้เป็นธรรมและวินัย แต่ข้อเท็จจริงมันไม่มี ! ถ้าข้อเท็จจริงมันไม่มี ก็คือมันโกหกมดเท็จขึ้นมา “นี่คือความจอมปลอม” ถ้าความจอมปลอมนี้เข้าไปพยายามจะรื้อค้น พยายามจะชำระกิเลส มันก็ด้วยกิเลสมา เพราะมันไม่มีพื้นฐาน ไม่มีสิ่งใดรองรับเลย

แต่ถ้าเป็นความจริงนะ “ธรรมะของจริงมีอยู่” ต้องใช้ข้อเท็จจริงนี้เข้าไปพิสูจน์ ข้อเท็จจริงที่พิสูจน์นี้ พิสูจน์กับใคร พิสูจน์กับหัวใจของเรานะ

หัวใจของเราปฏิสนธิจิต ปฏิสนธิวิญญาณ ถึงเกิดมาเป็นมนุษย์ เห็นไหม เกิดเป็นมนุษย์ เกิดในไข่ เกิดในครรภ์ เกิดในน้ำคร่ำ เกิดในโอปปาติกะ นี่แล้วสิ่งที่เกิดในโอปปาติกะนี้ แล้วสิ่งใดจะพิสูจน์มันล่ะ ถ้าเรามีสติเรามีสมาธิ เห็นไหม พอมีสติก็เริ่มทำความชำระล้าง ชำระล้างเพราะเหตุใด

ผลของวัฏฏะนะ เกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหมนี้ ทำไมมาฟังเทศน์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าล่ะ เกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม ทำไมมาฟังเทศน์หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นล่ะ

นี่เขาเป็นเทวดา อินทร์ พรหม เขาต้องมีค่าสูงกว่าสิ เขาเป็นเทวดา อินทร์ พรหม เขาต้องมีค่าสูงกว่ามนุษย์ ทำไมเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ทำไมเทวดา อินทร์ พรหมต้องมาฟังเทศน์ล่ะ มาขอฟังธรรม มาขออริยสัจ มาขอความอนุเคราะห์... อนุเคราะห์ให้ชำระล้างหัวใจ เห็นไหม

นี่ไงถ้าเราเกิดในวัฏฏะ “ผลของวัฏฏะ คือการเกิด” เราใช้ปัญญาของวัฏฏะ ใช้ปัญญาของโลกียปัญญา ใช้ปัญญาของการเกิด แล้วปัญญาอย่างนี้มันชำระกิเลสได้ไหม

ปัญญาอย่างนี้ ดูสิธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า “อริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค” นี่จำได้ทั้งนั้นล่ะ แต่เราจำได้นี่มันเป็นชื่อ มันเป็นตัวเลข แต่ไม่มีข้อเท็จจริง ไม่มีจำนวน สิ่งที่เป็นการกระทำมา

แล้วก็พูดได้เหมือนกัน พูดเหมือนกัน ทำเหมือนกัน แต่ผลไม่มี ! ถ้าผลไม่มี เห็นไหม เพราะคำว่าผลไม่มี มันถึงทำง่ายใช่ไหม ผลไม่มีนี่มันเป็นการคาดหมายได้ เป็นจินตนาการได้ เป็นการชี้นำของผู้โกหก !

หัวหน้าที่โกหกนี้จะชี้นำไปสภาวะที่ว่า “อย่างนี้เป็นธรรม.. อย่างนี้เป็นธรรม” แต่มันไม่เป็นปัจจัตตัง ไม่เป็นสันทิฏฐิโก ในหัวใจนั้นไม่มีข้อเท็จจริงขึ้นมาเป็นผลประโยชน์ เป็นสัจธรรม เป็นธรรมะของจริงที่มีอยู่

“ธรรมะของจริงที่มีอยู่ เพราะเรามีจิต” เรามีบุญกุศล มีการเกิด ได้สถานะของมนุษย์ แล้วสิ่งนี้เราจะแก้ไข ถ้าเราแก้ไขขึ้นมาเพราะอะไร เพราะเราสร้างอำนาจวาสนามา

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เกิดมาเป็นเจ้าชายสิทธัตถะขึ้นมา นี่ธรรมะมีหรือยัง สิ่งใดๆ มีหรือยัง... ไม่มี ! ไม่มีหรอก เพราะถ้ามีนะ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเที่ยวสวนแล้วเห็นคนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย มันสลดสังเวชนะ เราก็ต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายอย่างนี้เหมือนกันใช่ไหม

ถ้าเราต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตายแบบนี้เหมือนกัน มันจะต้องมีฝั่งตรงข้ามที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงได้ออกแสวงหา ออกค้นคว้า เห็นไหม

ออกค้นคว้ากับเจ้าลัทธิต่างๆ ถึง ๖ ปี ก็ไม่ได้ผล แต่เวลาจะได้ผลขึ้นมา ก็ได้ผลเพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างบุญญาธิการมา เป็นพระโพธิสัตว์ ชาติสุดท้ายจะตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องตรัสรู้เองโดยชอบ

คำว่าตรัสรู้เองโดยชอบ คือรื้อค้นมา ๖ ปี แล้วกลับมาชำระด้วยอาสวักขยญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง

“นี่ไงมันจะเป็นพระอรหันต์ จะสิ้นกิเลสนี้ด้วยอาสวักขยญาณ” ไม่ใช่ว่าสิ่งนั้นมันมีอยู่แล้ว... ใช่ ! เรามีจิต เรามีอำนาจวาสนา คำว่าอำนาจวาสนานี้อย่างหนึ่ง อำนาจวาสนาบารมีนี้จะเป็นฐาน.. ฐานให้เราได้ศรัทธา มีความเชื่อ

พอมีศรัทธาความเชื่อนี้ “เราประพฤติปฏิบัติขึ้นมาด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา” มีสติปัญญาขึ้นมาแก้ไขดัดแปลง... แก้ไขดัดแปลงนี้ด้วยความจริง ! มรรคผลของเราที่เป็นจริงขึ้นมา มันจะเข้าไปแก้ไข มันจะเข้าไปกระบวนการ มีการกระทำของมันขึ้นมา

ดูสิพุทโธ พุทโธ พุทโธนี้ มันก็เป็นสมาธิขึ้นมา มีสติปัญญา ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ มันก็เป็นสมาธิขึ้นมา พอเป็นสมาธิขึ้นมา ด้วยความขยันหมั่นเพียร ด้วยการกระทำของเรา ด้วยข้อเท็จจริง

๑ ก็คือ ๑... ๒ ก็คือ ๒ มีการกระทำจริงๆ ขึ้นมา ด้วยจำนวนของมัน ด้วยการกระทำของมัน นี่เป็นข้อเท็จจริง ถ้าเป็นข้อเท็จจริงของมันขึ้นมาแล้ว มันจะพัฒนาของมันขึ้นไป นี่จิตมันสงบมากขึ้น ถ้าจิตสงบมากขึ้นนะ มันจะเจริญแล้วเสื่อม เสื่อมแล้วเจริญ นี่เป็นเรื่องธรรมดา

ในการกระทำมันก็เป็นเรื่องธรรมดา เจริญแล้วเสื่อม เสื่อมแล้วเจริญ... พอมันเสื่อมเราก็แก้ไข เราก็มีการต่อสู้ เราก็มีการกระทำ เพราะมีการต่อสู้ มีการกระทำ มีการค้นคว้า มีอุบายวิธีการ เห็นไหม มันก็เริ่มมีการอดนอนผ่อนอาหารด้วยความพอใจ

ด้วยความพอใจที่เราจะเอาสิ่งที่มีคุณประโยชน์ กับความสุขในปัจจัยเครื่องอาศัย กับความสุขในสัมมาสมาธิ ความสุขของจิตสงบ มันมีผลตอบแทน มันมีผลตอบสนอง การกระทำนั้นมันก็ทำด้วยความมุมานะ ทำด้วยความเข้มแข็ง ทำด้วยความมีแก่ใจ ไม่ใช่ทำแบบซังกะตาย ว่าเราไปทำไปพอเป็นพิธี เห็นไหม มันไม่เป็นอย่างนั้นหรอก มันเป็นความจริงขึ้นมา

ถ้าเป็นความจริงขึ้นมา มีการกระทำอย่างนี้เกิดขึ้นมา นี่มันจะเจริญแล้วเสื่อม พอเสื่อมแล้วเราก็ปฏิบัติของเราไป นี่มันจะพัฒนาของมันขึ้นมา แล้วพอมีสติปัญญา เห็นไหม มันก็หัดฝึกฝนการใช้ปัญญา

ปัญญาต้องฝึกฝน ต้องมีการกระทำ ปัญญาที่มันเกิดขึ้นลอยมาจากฟ้า ปัญญาที่เกิดขึ้นมานี้เป็นปัญญาของกิเลสทั้งหมด เพราะอะไร เพราะใจเรานี้มันมีอวิชชา มันมีพญามารอยู่ นี้ปัญญาที่เกิดขึ้นจากอวิชชา มันจะเป็นปัญญาของกิเลสทั้งนั้น !

ฉะนั้นพอเวลาเราจิตสงบ นี่คือกิเลสมันสงบตัวลง พอเรามีปัญญา เราใช้ปัญญาแยกแยะ ปัญญาเรามีสิ่งใดสะดุดใจขึ้นมา นั่นแหละเป็นความจริง ! ความจริงเพราะอะไร เพราะมันสะดุดใจมาก ความจริงแล้วพอมันคิดมันย้อนกลับมาที่หัวใจนะ มันสลดสังเวช

ถ้ามันสลดสังเวชนี่คือค่าของมันไง ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ มันมีค่าตามความเป็นจริง... ไม่ใช่ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ปากบ่นไปแต่มันไม่มี พอเราใช้ปัญญาไปแล้วมันสลดสังเวชขึ้นมา มันมีผลลัพธ์ มันมีความรู้สึก มันสะเทือนใจ

สิ่งที่สะเทือนใจนี้ นี่คือ ๑ ๒ ๓... เห็นไหม ถ้าเราพิจารณาต่อไป ใช้ปัญญาของเราต่อๆ ไป นี่ผลลัพธ์มันจะให้ค่าที่เพิ่มขึ้น ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ขึ้นไปเรื่อยๆ ปัญญามันพิจารณาไปแล้วนี่ เราเคยมีค่าในการสลดสังเวชขึ้นมา เราพิจารณาซ้ำไปๆ การกระทำอย่างนี้ นี่ไงค่ามันจะมีมากขึ้น

มันเป็นความเป็นจริงที่เกิดกับเรา ความเป็นจริงที่ใจมันพัฒนาการ ที่มันมีสติปัญญา “มันรู้ตามความเป็นจริงโดยภาวนามยปัญญา คือรู้จริงโดยใจ รู้จริงโดยการภาวนา รู้จริงโดยการกระทำ”

ถ้ามีค่าตามความเป็นจริงนี้ที่เข้าไปรื้อค้น เข้าไปค้นคว้า เข้าไปพิสูจน์ตรวจสอบในหัวใจ งานมันจะเกิดขึ้นมาไง นี่สิ่งที่งานมันเกิดขึ้นมา มันก็เป็นผลของใจใช่ไหม ใจที่มันกระทำขึ้นมา

นี่มันเป็นความจริงทั้งนั้นนะ เพราะคำว่าความจริงนี้ เดินจงกรม นั่งสมาธิ ภาวนานี้มันเดินจริงๆ แล้วจิตมันก็สงบจริงๆ ! แล้วมันก็รู้ค่าของขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิจริงๆ แล้วถ้าไม่มีอำนาจวาสนา เราไม่ให้จิตออกใช้ปัญญา เราจะไม่รู้จักภาวนามยปัญญา แล้วสิ่งที่ปัญญาเกิดขึ้นมานี้ มันเป็นปัญญาของปลอมทั้งนั้นแหละ ! มันเป็นปัญญาของกิเลสทั้งนั้นแหละ !

แต่ถ้ามีสมาธิ จิตมันสงบขึ้นมา เพราะกิเลสมันจะเข้ามาใช่ไหม เวลาเราฝึกฝน เราหัดใช้ปัญญาขึ้นมา มันจะทำให้ไม่สะดวก มันจะทำให้ไม่คล่องตัว มันไม่คล่องตัวเพราะเราไม่เคยทำ แล้วสิ่งที่เราไม่เคยทำ พอเวลามันเกิดขึ้นมา มันก็เป็น “จินตมยปัญญา”

จินตมยปัญญาไปก่อน แล้วพอเรามีสมาธิมากขึ้น จากจินตมยปัญญา พอเราฝึกฝนจนมีความชำนาญมากขึ้น มันจะเป็นภาวนามยปัญญา

“ภาวนามยปัญญาคือ ศีล สมาธิ ปัญญาเพียวๆ ไม่มีกิเลสเจือปนมา” แต่เริ่มต้นนี้เราเกิดมา ดูสิเจ้าชายสิทธัตถะ กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแตกต่างกันอย่างไร นี่ก็เหมือนกัน หัวใจของเรานี้มันมีแต่กิเลสทั้งหัวใจนี้แหละ แต่เวลาพัฒนาขึ้นไปแล้ว มันจะเปลี่ยนแปลงของมันไป

เปลี่ยนแปลงเพราะจิตคิดโดยสามัญสำนึก มันเป็นโลกียะ มันเป็นเรื่องของตัณหาความทะยานอยาก มันเป็นเรื่องของโลก เป็นเรื่องของสมมุติสัจจะ แต่ถ้ามันเป็นคนโกหก มีความฉ้อฉล มันจะอ้างอิง การอ้างอิงนั้นเป็นโลกียะทั้งหมด เห็นไหม

พูดเหมือน... ทำเหมือน... เป็นคำๆ เดียวกับธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ไม่มีข้อเท็จจริง เพราะเอาความจอมปลอม เอาความโกหกมดเท็จเข้าไปค้นคว้ารื้อค้น พยายามประพฤติปฏิบัติขึ้นมา

ถ้ามันเป็นความฉ้อฉลของเรา เห็นไหม คือมันเป็นมิจฉาตั้งแต่ต้น มันเป็นมิจฉาเพราะว่ามันผิดศีล ! มันผิดศีลเพราะมันโกหกมดเท็จ มันหลอกตัวเอง ไม่ซื่อสัตย์กับตัวเอง ทำลายตัวเองในการประพฤติปฏิบัติ

นี่เราตั้งใจนะ เราตั้งใจเรามีศรัทธาความเชื่อ เราออกมาประพฤติปฏิบัติ แต่ถ้าไปเจอผู้นำอย่างนั้น เป็นผู้นำที่โกหกฉ้อฉลสนเท่ห์ อย่างนั้นมันพาเราออกนอกลู่นอกทาง แล้วเราไม่มีวุฒิภาวะ เราก็เชื่อของเราไปว่า “สิ่งนี้เป็นธรรม... สิ่งนี้เป็นธรรม”

แต่ถ้าเรามีครูบาอาจารย์ที่เป็นธรรมนะ ครูบาอาจารย์จะคอยชี้นำเรา ถ้ามีครูบาอาจารย์ที่เป็นธรรม แต่ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์ที่เป็นธรรม หรือเราไม่เชื่อฟัง เราจะต้องใช้การพิสูจน์ของเราเอง เพราะเราพิสูจน์ของเราเองนั้น มันก็รู้ขึ้นมาได้ ถ้าเรามีหลักมีเกณฑ์นี้ เราจะรู้ของเราขึ้นมาเลยว่า “อะไรเป็นธรรม... อะไรไม่เป็นธรรม”

สิ่งที่ไม่เป็นธรรมนั้นมันเป็นโลก ไม่เป็นธรรมก็เป็นโลก ทั้งๆ ที่พิจารณาธรรม ทั้งๆ ที่เป็นการกระทำในธรรมะนี่แหละ แต่มันเป็นโลก ! เป็นโลกนี่มันเป็นการทำคุณงามความดีไหม ถ้าคนซื่อสัตย์เขาก็จะพิสูจน์ตรวจสอบ

ถ้าเราซื่อสัตย์กับตัวเราเอง เราไม่มีความฉ้อฉล เราไม่มีสิ่งใดที่หมักหมมในใจเราเลย แต่เรามีความสงสัย มีความอยากรู้ของเรา ด้วยข้อเท็จจริงของเราเอง เราก็พิสูจน์ของเรา ถ้าพิสูจน์ของเรา เราปฏิบัติของเราไป มันจะรู้ได้ มันรู้ได้เพราะเราเห็นไงว่าสิ่งใดที่เป็นความถูกต้อง และสิ่งใดที่มันเป็นผลของกิเลส กิเลสมันสร้างภาพ เรารู้ของเราได้ถ้าเรามีจุดยืนนะ

แต่ถ้ามีครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์ท่านผ่านอย่างนี้มาก่อน ผ่านมาเพราะเหตุใด ผ่านมาเพราะในใจของผู้ที่เกิดมาทุกคนมันมีอวิชชา มันมีพญามารครอบงำมาทั้งนั้นแหละ

คำว่าพญามารครอบงำมานี้ เวลาปฏิบัติเห็นไหม ครูบาอาจารย์ท่านจะรู้เลยว่า ปฏิบัติใหม่ๆ นี้จะผิดทั้งนั้นแหละ คำว่าผิดเพราะว่า อยู่ดีๆ เราจะเอาขโมยเอาโจรนี้มาเป็นนักปราชญ์ แล้วมันจะยอมไหมล่ะ มันเป็นไปไม่ได้หรอก !

อยู่ดีๆ นี่จิตมันอยู่ในอำนาจของพญามาร มันอยู่ในอำนาจของกิเลส แล้วไปบอกให้มันเป็นธรรม ท่องจำขึ้นมา แล้วให้มันเป็นธรรมขึ้นมานี่มันเป็นไปไม่ได้หรอก ! มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

ธรรมะนี้เป็นธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่เป็นธรรมะของเราหรอก ถ้าจะให้เป็นธรรมะของเรานะ เราต้องฝึกฝน เราต้องกระทำ เราต้องดัดแปลงของเราขึ้นมา “เราต้องดัดแปลงต้องกระทำขึ้นมาด้วยข้อเท็จจริง ด้วยการปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ”

ปริยัติคือการศึกษามา... ศึกษามาเพื่อเป็นหลักเป็นเกณฑ์ เห็นไหม นี่ตัวเลข แต่ยังไม่มีข้อเท็จจริง ไม่มีสิ่งใดที่เป็นจริงขึ้นมา มันเป็นตัวเลขที่เราท่องได้

แต่ถ้าเราทำของเราขึ้นมาให้เป็นจำนวนที่เป็นอย่างนั้น จำนวนของสติ จำนวนของสมาธิ จำนวนของปัญญาที่มันเกิดขึ้นมา อันนี้เป็นข้อเท็จจริง ! ข้อเท็จจริงเห็นไหม “ธรรมะของจริงมีอยู่” ต้องอาศัยข้อเท็จจริงนี้เข้าไปรื้อค้น เข้าไปมีการกระทำด้วยมรรคญาณ

“ตบะธรรม” เห็นไหม คำว่าตบะธรรม คือเข้าไปแผดเผา แผดเผาให้หัวใจ แผดเผาให้จิตของเรานี้มันพัฒนาการ จากปุถุชน เป็นกัลยาณปุถุชน... เป็นโสดาปัตติมรรค.. โสดาปัตติผล.. สกิทาคามิมรรค.. สกิทาคามิผล.. อนาคามิมรรค.. อนาคามิผล.. อรหัตตมรรค.. อรหัตตผล เห็นไหม

มรรค ๔ ผล ๔ นี้ มันเป็นวุฒิภาวะของจิตที่มันพัฒนาการของมันขึ้นไป สติ สมาธิ ปัญญานี้แตกต่างหลากหลายทั้งนั้นแหละ ฉะนั้นคำว่าแตกต่างหลากหลาย นี่เป็นทางเดินที่เราจะก้าวเดินต่อไปข้างหน้านะ

แต่ในปัจจุบันนี้แค่หญ้าปากคอก แค่การกระทำ แค่ที่ว่าเราจะเข้าสู่สัจธรรม เข้าสู่สัจธรรมนะ เพราะเราเป็นชาวพุทธ เกิดมาในพุทธศาสนา แล้วออกบวชเป็นพระเป็นเจ้า เห็นไหม นี่เราออกมาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราก็ประพฤติปฏิบัติเพื่อจะพ้นจากทุกข์ ถ้าเราจะพ้นจากทุกข์นี้ เรามีศรัทธา มีความเชื่อ เรามีความตั้งใจขนาดนี้ เราจะต้องเลือกแยกแยะว่าสิ่งใด เห็นไหม

เรื่องของโลก... แล้วชีวิตเราก็เป็นโลกนะ เราเกิดมากับโลก เกิดมาจากพ่อจากแม่ เรามาบวชมันก็เป็นสมมุติสงฆ์ นี้มันเป็นโลกทั้งนั้นแหละ สิ่งที่เป็นโลก... ถ้าไม่มีโลกมันจะมีธรรมได้อย่างไร “ดอกบัวเกิดจากโคลนตม”

นี่ก็เหมือนกัน เราเกิดมาโดยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก แต่ ! แต่เพราะมีความเชื่อมีศรัทธา มีบุญกุศลขึ้นมา มันถึงได้มีทัศนคติ มีญาณทัศนะ มีความเห็นว่าเราจะออกมาประพฤติปฏิบัติ มีความเห็นว่าเราอยากจะพ้นจากทุกข์ เห็นไหม “นี้คืออำนาจวาสนาบารมี”

อำนาจวาสนาบารมี... พอเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา จากอำนาจวาสนาบารมี ทำให้มันมีจริงขึ้นมาไง ทำให้เป็นสติจริงๆ ทำให้เป็นสมาธิจริงๆ ทำให้มีปัญญาจริงๆ ทีนี้พอมีการกระทำขึ้นมา มันก็มีศีล มีข้อวัตรปฏิบัติใช่ไหม เวลาข้อวัตรปฏิบัติขึ้นมานี้ เพื่อให้มันเป็นกรอบไง มันเป็นกรอบเป็นกติกาเพื่อบังคับ เห็นไหม

ใจของเรานี้มันไปโดยนามธรรม มันไปโดยไม่มีขอบเขต เวลาเราคิดขึ้นมานี่ไม่มีขอบเขต แต่ถ้ามีข้อวัตรขึ้นมา มีมโนกรรม... มโนกรรม คือการกระทำสิ่งที่เป็นกุศล-อกุศล ถ้าเรามีสติปัญญา เราดูแลของเราเข้ามา

ถ้าดูแลเข้ามา การกระทำนี้เริ่มต้นทำเพื่อเรา มันจะลำบากลำบนยากแค้นขนาดไหน หรือมันจะสะดวกสบายอย่างไร เราก็ทำของเรา เราทำของเรา ตั้งใจทำของเรา ถ้าเราทำของเรานะ แล้วมันเป็นความจริงขึ้นมา เห็นไหม “นี่คือข้อเท็จจริง” เอาความจริงเข้าไปสู่สัจธรรม เอาความจริงเข้าไปค้นคว้า เพื่อจะได้ธรรมะของจริง

“ธรรมะของจริงมีอยู่”

แต่ธรรมะของปลอม คำว่า “ธรรมะของปลอม” นี้ เหมือนปริยัตินี่ของปลอม ทั้งๆ ที่เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่มันปลอมเพราะอะไร ปลอมเพราะมันเป็นชื่อ มันเป็นชื่อธรรมะ แต่ข้อเท็จจริงในการปฏิบัติ มันยังไม่เกิดขึ้น ! ถ้ามันเป็นของปลอม แล้วเราเรียนของปลอมทำไม

ปริยัติ.. นี่ปริยัติ ปฏิบัตินี้เป็นของคู่กัน ถ้ามีปริยัติ คำว่าปริยัติคือศึกษามาเพื่อเป็นแนวทาง แล้วการปฏิบัตินี้มันจะเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมา ถ้ามันเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นมา แต่สำคัญที่ว่ามันเป็นสังคม

คนเราเกิดมานี่นะ มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ครูบาอาจารย์กับลูกศิษย์ลูกหาก็เป็นสัตว์สังคม ถ้าเราเข้าไปสู่สำนักที่มีครูบาอาจารย์ที่ฉ้อฉล แล้วโกหกมดเท็จ...โกหกเลยนะ เพราะถ้าไม่โกหก...

“สัจธรรมมันมีหนึ่งเดียว” ถ้าสัจธรรมมีหนึ่งเดียวนะ ศีล สมาธิ ปัญญา มันต้องเหมือนกัน ถ้าศีล สมาธิ ปัญญาขึ้นมาต้องเหมือนกัน

เวลาหลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์ของเรา เห็นไหม ท่านจะเข้มงวดในการประพฤติปฏิบัติ แล้วให้เป็นตามความเป็นจริง ไม่ใช่ว่าให้คะแนน ไม่ใช่ว่าเราเป็นคนชี้ให้ว่า “จะเป็นอย่างนั้น.. จะเป็นอย่างนั้น” มันจะเป็นอย่างที่ครูบาอาจารย์พูดนั้น มันเป็นไปไม่ได้ “แต่มันจะเป็นตามข้อเท็จจริงที่คนๆ นั้นปฏิบัติขึ้นมา”

หลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์นี้ เวลาท่านอบรมลูกศิษย์ลูกหา แล้วท่านให้ลูกศิษย์ลูกหานั้นมีการกระทำ มีการฝึกฝน ให้เป็นขึ้นมาตามความเป็นจริงขึ้นมา ไม่ใช่หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นเป็นคนกำหนดว่าให้เป็นอย่างใด.. เป็นอย่างใด แต่ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ที่โกหกมดเท็จ เขาจะบอกว่า “เขาทำให้เป็นอย่างนั้นๆ ขึ้นมา ตามสิ่งที่เขาคาดหมาย”

นี่ไงครูบาอาจารย์ที่โกหกมดเท็จ ! ถ้าความโกหกมดเท็จอย่างนั้น ความฉ้อฉลอย่างนั้นมันปลอม ความจอมปลอมไง ความจอมปลอมจากครูบาอาจารย์ที่เสนอตามทฤษฎี หรือเสนอวิธีการนั้น มันก็ผิดมาตั้งแต่ครูบาอาจารย์สอน แล้วเราไปเชื่อมั่นตามครูบาอาจารย์ที่สอนผิดๆ แล้วพอเราทำไปนี่ เราก็เอาความจอมปลอมเข้าไปรื้อค้นหาความจริง แล้วมันจะได้ความจริงขึ้นมาไหม เอาความจอมปลอมเข้าไปรื้อค้นหาความจริงขึ้นมา มันก็ได้ความจอมปลอม

“แต่หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์ของเราท่านเป็นของจริง !”

ท่านเป็นของจริง เห็นไหม เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมานี้ ตามอำนาจวาสนา แล้วหลวงปู่มั่นท่านจะไม่ให้พระอยู่กับท่านมาก เพราะการกระทำตามความเป็นจริงนี้ มันต้องการความที่สงัดที่วิเวก ท่านจะให้พระอยู่ขอบนอกรอบๆ ท่าน แล้วพอมีปัญหาขึ้นมาให้เข้าไปหาท่าน เพื่อท่านจะได้แก้ไขให้เป็นตามข้อเท็จจริง ที่เกิดขึ้นมาตามความเป็นจริง

“ต้องการความจริง ต้องเข้าไปค้นหาสู่ความจริง” ไม่ใช่เอาความจอมปลอมไปค้นหาความจริง มันเป็นไปไม่ได้ ! เอาความจอมปลอมไปหาความเป็นจริง... มันไม่มี !

เวลาเป็นสมาธิขึ้นมา ก็ต้องเสี่ยงทายนะ เขย่าเซียมซีเสี่ยงทายว่า มันเป็นสมาธิหรือไม่เป็นสมาธิ เวลาเป็นปัญญาขึ้นมาก็ต้องเสี่ยงทายเอานะ ว่าเป็นปัญญาหรือไม่เป็นปัญญา แล้วอย่างนั้นจะไปฆ่ากิเลสได้อย่างไร ! มันห่างไกลกับความจริงมหาศาลเลย

แต่ถ้าเป็นความจริงที่มันจะเกิดขึ้นกับเรา เห็นไหม นี่ธรรมชาติของความรู้สึก ธรรมชาติของจิต ถ้าธรรมชาติของจิตมันอยู่กับเราอยู่แล้ว แล้วเวลาเกิดความคิด เกิดตัณหาความทะยานอยากนี้ มันก็เกิดมาจากจิต ! พอมันเกิดขึ้นมาจากจิต แล้วเราจะเอาอะไรไปต่อสู้มันล่ะ

แต่นี่เพราะเรามีศรัทธามีความเชื่อใช่ไหม เวลาความคิดมันก็เกิดจากจิต ตัณหาความทะยานอยากมันก็อยู่ที่จิต เวลามันมีตัณหาความทะยานอยากออกมา มันก็ออกไปโดยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ฉะนั้นเราก็ต้องมีสติปัญญาที่จะควบคุมจิต ควบคุมจิตที่มันเป็นตัณหาความทะยานอยาก เห็นไหม

หลวงตาท่านบอกว่า “ความอยากที่เป็นมรรค คือความอยากที่จะพลิกแพลงไอ้ใจที่จอมปลอมนี้ ให้มันเป็นใจที่เป็นความจริง”

ถ้าเราจะเปลี่ยนแปลงใจที่เป็นความจอมปลอม ที่เป็นความโกหกมดเท็จ แต่ถ้ามันเป็นความจอมปลอมอยู่แล้ว แล้วเราเชื่อมั่นครูบาอาจารย์ที่เป็นสิ่งที่จอมปลอม ที่โกหกมดเท็จ ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วมันเข้ากันได้ พอมันเข้ากันได้นี่มันก็ตะครุบเงา เอาแต่สิ่งที่เป็นความจอมปลอม เข้ามาสู่หัวใจของลูกศิษย์ลูกหา เข้ามาสู่หัวใจของผู้ที่กระทำนั้น

แต่ถ้าครูบาอาจารย์ของเรา อย่างเช่นหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น หรือหลวงตานี้ ท่านบอกว่า “ความอยากที่เป็นมรรค”

ความอยากที่เป็นมรรคนี้เห็นไหม คือเราอยากยับยั้งมัน อยากยับยั้งความคิด อยากยับยั้งตัณหาความทะยานอยาก ถ้าเราอยากยับยั้งนะ ความอยากอันนี้เป็นมรรค ความอยากอันนี้จะไปแก้ไขไอ้จิตที่เป็นจอมปลอม แก้ไขไอ้ตัณหาความทะยานอยากที่เกิดจากจิตนี้

ความคิดเกิดจากจิต ตัณหาความทะยานอยากเกิดจากจิต ทุกอย่างเกิดจากจิตหมด “เราก็ต้องแก้ไขจากจิตนั่นล่ะ” ถ้าเราจะแก้ไขจากจิต คือเราต้องมีสติ เราต้องมีสติปัญญาของเราที่จะต่อสู้ยับยั้ง

ถ้ามีสติปัญญา ครูบาอาจารย์บอกว่า “สตินี้ กั้นแม้แต่น้ำทะเลได้เลย” น้ำทะเลคลื่นทะเลจะสูงขนาดไหน สติกั้นได้หมด... คลื่นอารมณ์ ความรู้สึกที่มันเกิดขึ้นมาจากจิต เห็นไหม นี่กิเลสก็เกิดจากจิต เพราะตัณหาความทะยานอยากมันเป็นจิตอยู่แล้ว เพราะอวิชชานี้มันเป็นพญามาร มันครอบคลุมอยู่หมดแล้วแหละ นี่ตัณหาความทะยานอยาก ความคิดต่างๆ มันเกิดจากจิตหมดเลย เกิดจากกิเลสหมดเลย !

ฉะนั้นเราก็ต้องตั้งสติของเรา แล้วเราก็พุทโธ พุทโธ พุทโธ หรือใช้ปัญญาของเรา นี่เราก็ต่อสู้เพื่อจะให้สิ่งที่เป็นความจอมปลอม สิ่งที่เป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยากนี้ ให้มันสงบตัวลง

ถ้ามันมีสัมมาสมาธิ มันมีความสงบตัวลง พอมันสงบตัวลงเห็นไหม เราต้องเอาความจริงเข้าไปต่อสู้ เอาความจริง สติจริงๆ สมาธิจริงๆ ปัญญาจริงๆ แต่มันเกิดยากมาก... ความจริงทำยาก

ทำความชั่ว ทำไปตามสังคม เหมือนปลาตายนะลอยไปตามน้ำ คือมันจะสะดวกสบาย ไอ้ปลาเป็นนี่พอมันจะวางไข่ มันต้องว่ายทวนน้ำ มันเจออุปสรรคขนาดไหน มันพยายามจะไปสู่เป้าหมายของมัน

นี่ก็เหมือนกัน การจะเข้าไปสู่ความสงบของใจ เราต้องมีสติปัญญาของเรา เราจะต้องมีความเพียรของเรา เราจะต้องมีความตั้งมั่นของเรา ถ้าเรามีความตั้งมั่นของเรา มันจะลำบาก มันจะยากแค้นขนาดไหน... ก็ความจริงมันเป็นอย่างนี้ ! ก็ข้อเท็จจริงมันเป็นอย่างนี้ !

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปรื้อค้น ไปตรวจสอบ ไปประพฤติปฏิบัติมากับเจ้าลัทธิต่างๆ ในสมัยนั้น แล้วลัทธิศาสนาในชมพูทวีปนี้มีมหาศาลเลย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไปตรวจสอบกับเขามาหมดแล้ว

นี่ถ้ามันสะดวกสบาย ในสมัยพุทธกาลมีนะ มีลัทธิที่ให้เสวยแต่ความสุข อยู่กับความสุขตลอดไป แล้ว ๕๐๐ ชาติเป็นพระอรหันต์ ไม่ต้องประพฤติปฏิบัติ ให้เสวยสุขไปอย่างนี้ เสวยสุขตลอดไป

นี่ลัทธิต่างๆ มีมหาศาล แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้พิสูจน์ตรวจสอบมาหมดแล้ว แต่นี่มันเป็นไปไม่ได้ไง มันเป็นเรื่องความโกหก ความฉ้อฉล ความสนเท่ห์ อยู่ที่วุฒิภาวะของเจ้าลัทธินั้นว่าจะมีอำนาจวาสนา จะมีปัญญามากน้อยแค่ไหน ถ้ามีปัญญามาก ก็จินตนาการได้มาก ถ้ามีปัญญาน้อย ก็ทำได้น้อย

นี่ในลัทธิต่างๆ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่าเจ้าลัทธิต่างๆ นะ คนที่โง่ที่สุด คือสัญชัย นี่อยู่ในพระไตรปิฎก ว่าสัญชัยนี้โง่ที่สุด แต่ผู้ที่ฉลาดล่ะ พวกเดียรถีย์นิครนถ์ล่ะ นี่เขามีการกระทำของเขา เห็นไหม จะเอาความจอมปลอมนี้ไปต่อสู้กับความจริง มันเป็นไปไม่ได้หรอก

ฉะนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงปฏิเสธทุกๆ ลัทธิ แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มารื้อค้นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง เห็นไหม

“อานาปานสติ กำหนดลมหายใจนี้” เพื่อบังคับจิตที่มันจอมปลอม บังคับจิตที่มันอยากรู้อยากเห็น อยากจะพ้นจากกิเลสนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเที่ยวไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ มา ๖ ปีนะ ถึงที่สุดแล้วท่านมาบังคับไง บังคับด้วยอานาปานสติ คือทำสิ่งที่ว่ามันเป็นตัณหาความทะยานอยาก ที่มันอยากเป็นอยากได้อยากดีต่างๆ นี้ให้มันสงบตัวลง

“ข้อเท็จจริงมันเป็นอย่างนี้ !” พอข้อเท็จจริงเป็นอย่างนี้ เราถึงต้องตั้งสติกัน เราถึงต้องทำความสงบของใจ ถ้าไม่ทำความสงบของใจ พอจิตใจมันสงบเข้ามา พอมันออกใช้ปัญญา ปัญญานี้มันจะออกแยกแยะ เห็นไหม นี่ความอยากที่เป็นมรรค ความอยากที่จะให้จิตสงบ ความอยากที่จะออกใช้ปัญญา มันเป็นมรรค ! เป็นมรรคที่เกิดขึ้น เห็นไหม

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอาสวักขยญาณนี่มรรค ๘ คือโสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค “นี่คือมรรค ๔ ผล ๔... มันเป็นมรรค”

แต่ของเรานี้มันเป็นมรรคเริ่มต้นตั้งแต่ปุถุชน... เป็นกัลยาณปุถุชน

ปุถุชนคนหนา ควบคุมได้ยาก... กัลยาณปุถุชนนี้ เห็นโทษเห็นภัยของตัณหาความทะยานอยากของความคิด แต่ความคิดมันมีอยู่กับเรา !

ทีนี้เมื่อความคิดมันมีอยู่กับเรา แต่มันเป็นตัณหาความทะยานอยาก มันเป็นเรื่องโลก เห็นไหม ให้เราใช้สติปัญญา พอเราใช้สติปัญญานี่มันเริ่มควบคุม เริ่มทำให้มันสงบตัวลง เริ่มเห็นโทษ เห็นโทษว่า เพราะมีตัณหา เพราะมีความคิด เพราะมีต่างๆ มันสันดาปกัน มันเกิดเป็นพลังงานออกมา

ถ้าเรามีสติปัญญา เราก็แยกแยะของเราว่า “ความคิดอย่างนี้ถูกหรือผิด” สติปัญญานี่มันก็จะสันดาปออกมาเป็นมรรค เห็นไหม เป็นมรรคเพราะมีสติปัญญาดูแล พอดูแลแล้วมันก็แยกแยะขึ้นมา

เหมือนของที่สกปรก พอเราชำระล้าง เราทำความสะอาดบ่อยครั้งเข้า นี่ถึงมันบอกว่าสิ่งที่สกปรกจนชำระล้างไม่ได้เลย แต่ด้วยความหมั่นเพียรของเรา มันก็สะอาดได้ มันสะอาดขึ้นมาเล็กน้อย สะอาดขึ้นมาทีละครั้งทีละคราวขึ้นมา

นี่ก็เหมือนกัน เราหมั่นใช้ปัญญาของเรา “พอมันเกิดสติปัญญาขึ้นมานี่มันจะเกิดธรรมสังเวช” มันเกิดสลดหดหู่ในหัวใจ มันจะบอกว่า “โง่มาก... เรานี่โง่มาก เรานี่โง่มาก” มันจะเห็นความโง่ ความบกพร่อง ความไม่เอาไหนของเรา

แต่ถ้ามันเป็นกิเลสนะ มันจะบอกว่า “เราฉลาดมาก เรามีปัญญามาก เรามีความดีมาก” นี่มันเป็นเรื่องของโลกๆ เห็นไหม แต่ถ้าเป็นธรรมนะ เราโง่มาก โง่กับใคร... โง่กับกิเลสตัณหาความทะยานอยากในตัวของเราเอง เห็นไหม

ในเมื่อมันมีสติปัญญาขึ้นมา เราใคร่ครวญขึ้นมา แล้วจิตมันจะพัฒนาขึ้นมา นี่มันเป็นมรรค ! คือความอยากที่เป็นมรรค ความอยากที่ประพฤติปฏิบัติขึ้นมา พอมันใช้ปัญญาแยกแยะออกไปบ่อยครั้งเข้า จิตมันมีหลักมีเกณฑ์ของมันขึ้นมา นี่ข้อเท็จจริงมันมี ! เราต้องใช้ความจริง ต้องใช้สติ ใช้สมาธิ ใช้ปัญญาจริงๆ ! เข้าไปรื้อค้นด้วยมรรคขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

“เจ้าชายสิทธัตถะกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแตกต่างกันอย่างใด... นี่ไง แตกต่างกันด้วยมรรคญาณที่ทำลายอวิชชาในหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถึงเป็นพระอรหันต์ขึ้นมา”

เราก็ใช้สติปัญญาของเรา แยกแยะของเรา ทำของเราขึ้นมา ถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมา มันจะเห็นผล ! เห็นผลเป็นปัจจัตตัง เห็นผลเป็นสันทิฏฐิโก เห็นผลเป็นอตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

ถ้าตนเป็นที่พึ่งแห่งตน... ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่พระอรหันต์ในสมัยพุทธกาล หรือพระอรหันต์ที่เป็นครูบาอาจารย์ของเรา ท่านจะไม่เชื่อสิ่งใดๆ เลย เพราะผลของวัฏฏะ ! เทวดา อินทร์ พรหมต่างๆ เป็นผลของวัฏฏะ

ในวัฏฏะนี่เห็นไหม เกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม คือเกิดในวัฏฏะ แล้วธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้พ้นจากวัฏฏะ พอพ้นจากวัฏฏะ คือมันเหนือเทวดา อินทร์ พรหม เหนือทุกๆ อย่าง แล้วถ้าเหนือทุกๆ อย่างแล้ว มันจะไปเก้อเขินกับสิ่งๆ ใด จะมีสิ่งใดมีคุณค่ากับธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา

ฉะนั้นแล้วมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไรล่ะ มันเกิดมาจากไหนล่ะ... “มันก็เกิดขึ้นมาจากปัญญาโง่ๆ ของพวกเรานี่แหละ” มันเกิดขึ้นมาจากปัญญาโง่ๆ แต่มันมีอำนาจวาสนา มันมีการกระทำ มันมีความตั้งใจของมัน มีการแยกแยะ แยกถูกแยกผิด

ฉะนั้นผู้ประพฤติปฏิบัติใหม่ๆ นะ ขนาดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังใช้เวลาตั้ง ๖ ปีนะ แล้วคนที่ประพฤติปฏิบัติใหม่ๆ นี้ จะปฏิบัติให้ถูกต้องตามวิธีการทั้งหมด มันเป็นไปไม่ได้หรอก

มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพียงแต่มีการกระทำ มีการแยกแยะ มีการคำนวณดูแลว่า สิ่งใดผิดสิ่งใดถูก แล้วเราแก้ไขของเราไป มันจะพัฒนาได้นะ

“น้ำหยดลงหินทุกวันหินยังกร่อน”

ในการประพฤติปฏิบัติของเราก็เหมือนกัน มีสติปัญญาดูแลใจของเรา กำหนดให้มีคำบริกรรมให้มีที่เกาะที่ยึด อย่าปล่อยเร่ร่อน คำว่าปล่อยเร่ร่อน คือต้องการสะดวกสบาย เราสุกเอาเผากินตั้งแต่ต้น เราต้องการความสะดวก เราต้องการความสบาย ไม่ต้องการการบังคับ บอกว่าบังคับแล้วมันจะเครียด มันจะอึดอัด

มันจะอึดอัดก็ต้องให้มันอึดอัดไปก่อน แต่ถ้ามันคล่องตัวแล้วนะ ความอึดอัดมันจะหายไปเอง แล้วยิ่งถ้าความอึดอัดมันหายไปแล้ว แล้วยิ่งถ้าเกิดผลขึ้นมา เห็นไหม คือเกิดความสงบระงับขึ้นมา พอเกิดความสงบระงับขึ้นมา นี่คือเห็นผลจากการกระทำ

ถ้าคนเรานะเวลาทำอะไรขึ้นมา ดูสิอย่างเช่นเราทำการค้า แล้วเรามีแต่ขาดทุนๆ เราจะอยู่ได้อย่างไร แต่ถ้าเราทำการค้านะ เราขาดทุนก็มี เราทำผิดพลาดก็มี หรือเราทำแล้ว ผลตอบสนองมันมีกำไรก็มี ถ้าวันไหนมีกำไรแล้ว ทำไมถึงมีกำไร ทำไมถึงขาดทุน

นี่ก็เหมือนกัน เราตั้งสติอย่างไร ตั้งปัญญาอย่างไร ถ้ามันมีกำไรขึ้นมา เหตุที่มีกำไรนั้น คือ “ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ” เราก็จำเหตุอันนี้ เราก็จำว่าเหตุนี้มีสติอย่างนี้ แล้วเราทำของเราบ่อยครั้งขึ้น... บ่อยครั้งขึ้น มันจะต้องเพิ่มจำนวนมากขึ้น มันจะต้องมีความดีงามมากขึ้น ถ้าจิตมีความดีงามมากขึ้น เห็นไหม เราจะรู้จักสมาธินะ

ครูบาอาจารย์ที่ฉ้อฉลโกหกนี้ แม้แต่สมาธิยังไม่รู้จัก ถ้าสมาธิไม่รู้จักนะ คือพื้นฐานของจิต... ดูสิอาหารที่เป็นพิษกับอาหารที่ไม่เป็นพิษนี้ยังเลือกไม่ถูก พอเห็นอาหาร ก็บอกว่าอาหารนี้กินได้... อาหารนี้กินได้ อาหารที่เป็นพิษนะ พอกินเข้าไปนี่ตายหมดเลย อาหารที่เป็นคุณ กินเข้าไปแล้วนะร่างกายจะสมบูรณ์มากเลย

จิตที่ไม่เป็นสมาธินี้ก็เหมือนกับอาหารที่เป็นพิษ อาหารที่เป็นพิษ เพราะมันมีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก อยากได้ อยากดี อยากเป็น แต่ถ้าอาหารที่มันไม่เป็นพิษ เห็นไหม คือสัมมาสมาธิ มันเป็นอาหารที่สะอาดบริสุทธิ์ มันเป็นอาหารที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง ถ้าเป็นอาหารที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง เห็นไหม นี่เราทำของเราได้ เรารู้ของเราได้

อาหาร.. คำว่าอาหารนี้คือมันหล่อเลี้ยงหัวใจ “สุขสิ่งใดเท่ากับจิตสงบไม่มี” แล้วให้หัดออกใช้ปัญญา “ถ้าหัดออกใช้ปัญญาออกไป มันจะไปเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม นี่สติปัฏฐาน ๔ เกิดที่นี่”

คำว่า “วิปัสสนา... วิปัสสนา” มันวิปัสสนาที่ไหน

เขาว่า “นี่กำหนดดูกาย กำหนดดูใจนี่เป็นวิปัสสนา... พุทโธ พุทโธนี่นะ มันเป็นสมถะ มันไม่มีปัญญาเลย ถ้าใช้ปัญญาพิจารณา มันเป็นสติปัฏฐาน ๔ คือมันใช้ปัญญา !”

เขาไม่รู้นะว่านั่นเป็นความจอมปลอม เพราะอะไร เพราะใจมันปลอมอยู่ ใจมันปลอมอยู่ก็เหมือนกับอาหารที่เป็นพิษ นั่นคือใจมันปลอมอยู่ พอใจมันปลอมอยู่ แล้วไปพิจารณาสติปัฏฐาน ๔ มันก็กินอาหารจอมปลอมเข้าไป

เอาความจอมปลอมไปค้นหาความจริง แล้วมันจะเจอความจริงที่ไหน มันเป็นไปไม่ได้หรอก ดูสิเราดูแผนที่ผิด เราก็เดินทางบนเส้นทางที่ผิด แล้วมันจะไปสู่เป้าหมายที่ถูกต้องได้อย่างใด ทั้งๆ ที่แผนที่นี่แหละ แผนที่อันเดียวกันนี่แหละ แต่คนดูแผนที่ผิด เข้าใจผิด เห็นไหม พอเข้าใจผิด มันก็เดินตามแผนที่ไปเข้ารกเข้าโพรงไป

แต่ถ้าคนดูแผนที่ถูก แล้วเข้าใจตามความเป็นจริงตามแผนที่นั้น จะเดินเข้าสู่เป้าหมายนั้นไหม

นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อบอกว่าสติปัฏฐาน ๔ มันสติปัฏฐาน ๔ ของใคร สติปัฏฐาน ๔ ของความจอมปลอม สติปัฏฐาน ๔ ของกิเลสตัณหาความทะยานอยาก โดยใช้ปัญญาสามัญสำนึกนี้ พิจารณาสติปัฏฐาน ๔ คือพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม ผลของมันคือการปล่อยวางนะ

ถ้ามีสติปัญญาพิจารณาสติปัฏฐาน ๔ “ผลของมันคือสมถะ !” เพราะเรากำหนดพุทโธ พุทโธ หรือเราใช้ปัญญาอบรมสมาธินี้ มันก็เหมือนกับที่เขาว่า “ใช้สติปัฏฐาน ๔ พิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม”

ที่เขาพิจารณากายนี้คือการใคร่ครวญในกาย... การใคร่ครวญในกาย เวทนา จิต ธรรมนี้ แต่เป็นการใคร่ครวญโดยกิเลส ! เพราะใคร่ครวญโดยกิเลสตัณหาความทะยานอยากใช่ไหม ใคร่ครวญโดยความจอมปลอมใช่ไหม ผลของมันคือการปล่อยวาง แต่ ! แต่เพราะเขาไม่มีสติ เพราะเขามีความหลงใหล เพราะเขาอ่านแผนที่ผิด เขาไม่เข้าใจว่า สิ่งที่เขาปล่อยวางนั้นเป็น “สมถะ” เพราะการปล่อยวางคือสมถะ ปล่อยวางคือสมาธิไง

การปล่อยวางของเขานี้ แต่เพราะไม่มีสติ เห็นไหม มันเลยเป็นมิจฉา ! มิจฉาเพราะอะไร มิจฉาเพราะควบคุมจิตของเขาไม่ได้ มิจฉาเพราะเขาควบคุมกระบวนการของเขาไม่ได้ ! พอควบคุมของเขาไม่ได้นี่ มันก็ว่างๆ ว่างๆ อยู่อย่างนั้นแหละ

แต่ถ้ากระบวนการของเรา เห็นไหม กระบวนการข้อเท็จจริง ความเป็นจริงของเรา ถ้ามันเป็นจริงขึ้นมา เรากำหนดพุทโธ หรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิ จิตมันจะสงบเข้ามา พอจิตสงบเข้ามา แล้วมันพิจารณาโดยใช้ปัญญาเข้าไป

มันพิจารณากายนอก... กายนอกก็เกิดธรรมสังเวช ถ้าเกิดกายใน... กายในคือกายของจิต จิตมันเห็นกาย จิตมันไปเห็นอุคคหนิมิต ไปเห็นปฏิภาคนิมิต นี่จิตมันเห็น จิตมันรู้ ถ้าจิตมันเห็นจิตมันรู้ เห็นไหม

“กิเลสอยู่ที่ไหน !”

“กิเลสอยู่ที่ปฏิสนธิจิต”

ปฏิสนธิจิตนี่มันเกิดขึ้นมา ปฏิสนธิจิตมันมีอวิชชา อวิชชามันมีพญามาร มารมันครอบงำอยู่ เห็นไหม พอมารมันครอบงำอยู่ มันมีความเห็นผิดไปตลอด ความเห็นผิดโดยความจอมปลอมมาตลอด

แต่พอจิตมันสงบเข้ามาบ้าง พอพิจารณากายนอก มันก็เกิดธรรมสังเวช พอเกิดธรรมสังเวช จิตมันก็พัฒนาขึ้น สิ่งที่ว่าเป็นพิษมันก็อ่อนตัวลง ความเป็นพิษมันก็เบาลง เห็นไหม แล้วพอจิตมันมีความเป็นจริงมากขึ้น พอมันใช้ปัญญาขึ้นมานี้ด้วยฐานของความจริง แล้วด้วยฐานของความจริงนี้ มันจะตอบสนองปัญญาเข้ามาสู่จิต... เข้ามาสู่จิตเพราะมันมีฐานของความจริง

แล้วพอความจริงมันออกพิจารณาขึ้นมาบ่อยครั้งเข้า มันละเอียดมากขึ้น จนมันเป็นวิปัสสนา มันเป็นวิปัสสนาตรงไหน ! เป็นวิปัสสนาเพราะจิตมันเป็นสัมมาสมาธินะ “นี่งานชอบ เพียรชอบ”

“งานชอบ.. เพียรชอบ.. สมาธิชอบ.. ปัญญาชอบ.. สติชอบ.. ความระลึกชอบ... คือความชอบธรรมของมรรค นี่คือมรรคญาณที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมนี่ไง !”

เพราะจากความฉ้อฉล จากที่ว่าครูบาอาจารย์โกหก จากตัวเองโกหก จากความฉ้อฉลของจิต จากความฉ้อฉลของสังคม จากความฉ้อฉลของการประพฤติปฏิบัติ เราก็พยายามรื้อค้น ค้นคว้าขึ้นมา จนจิตมันเป็นความจริงขึ้นมา เห็นไหม พอจิตเป็นความจริงขึ้นมา มันมีรสมีชาติขึ้นมา คือมันมีการกระทำของมันขึ้นมา มันปล่อยวางของมันเข้ามา จิตมันพัฒนาขึ้นมา

พอพัฒนาขึ้นมา พอจิตมันมีข้อเท็จจริงมากขึ้น มันมีความเป็นจริงมากขึ้น พอมีความเป็นจริงมากขึ้น พอมันไปเห็นกายโดยข้อเท็จจริง “วิปัสสนาญาณนะ เห็นอุคคหนิมิตนี้มันสะเทือนหัวใจขนพองสยองเกล้าเลย” นี่จากจิตโง่ๆ จากจิตที่มันไม่รู้สิ่งใดเลย

แต่ถ้าเป็นความจอมปลอม เป็นกระแสสังคม กระแสของกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ว่าสิ่งนี้เป็นธรรม... สิ่งนี้เป็นธรรม โดยความจอมปลอม โดยการนึกคิด โดยการกระทำ โดยโลกียะ

โลกียะนี้เป็นเรื่องพื้นๆ นะ แต่ถ้าฉ้อฉลนี้มันเป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยากที่หนักไปเลย แล้วยิ่งจินตนาการไปเหมือนธรรมะของพระพุทธเจ้าเลย ชื่อเหมือนกัน พูดเหมือนกัน แต่ฝ่ายหนึ่งลงนรกอเวจี แต่ถ้าทำตามความเป็นจริงขึ้นมานะ นี่ฝ่ายหนึ่งจะเข้าสู่มรรคผลนิพพาน

ต้องเอาความจริงเข้าไปรื้อค้นความจริง “ธรรมะของจริงมีอยู่” ต้องใช้ความจริง ข้อเท็จจริง ที่เป็นความจริง เข้าไปพิสูจน์ตรวจสอบให้จิตใจนี้เป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโกขึ้นมา นี่ถ้ามันเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโกขึ้นมา นี่คือมันพัฒนาขึ้นมา เห็นไหม

พอมันพัฒนาบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า ความแจ่มชัดนี้ จากที่ว่าพิจารณาไปแล้ว มันเกิดธรรมสังเวช พอเกิดธรรมสังเวช จิตมันก็มีความสะอาด มีข้อเท็จจริงมากขึ้นๆ พอจิตมันเห็นข้อเท็จจริงนี่มันสะเทือนขั้วหัวใจ พอสะเทือนขั้วหัวใจ มันใช้จิต ใช้ปัญญาจากจิตออกแยกแยะในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม... “สติปัฏฐาน ๔ มันเกิดตรงนี้ !”

สติปัฏฐาน ๔ ที่ปฏิบัติมาตอนเริ่มต้นนั้น เป็นสติปัฏฐาน ๔ จอมปลอม ! เพราะจิตมันเป็นความจอมปลอมมาก่อน ต้องอาศัยความจอมปลอมพัฒนาการขึ้นมาให้มันเป็นความจริง ถ้ามันพัฒนาขึ้นไปเป็นความจริงขึ้นมา “นี่ข้อเท็จจริง เข้าไปรื้อค้นสู่ความเป็นจริง”

ถ้าเอามรรคผลเป็นข้อเท็จจริง เข้าไปรื้อค้นตามความเป็นจริง ไม่มีคนไหนมาชี้นำว่า คนนี้จะได้โสดาบัน สกิทาคา อนาคาเมื่อนั้น เมื่อนี้... ไม่มี !

ครูบาอาจารย์โกหกนี้ มีแต่คาดหมายไป ว่านี่จะได้โสดาบันปีนั้นปีนี้ คำนวณไป... มันไม่มี !

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่อนาคตังสญาณ ที่เข้าใจ แต่พระในปัจจุบันนี้มาบอกว่าจะเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ นั่นคือการโกหกมดเท็จ คือการฉ้อฉลของผู้ชี้นำ แต่ถ้าเป็นความจริง เห็นไหม นี่ถ้ามันเป็นข้อเท็จจริงเกิดขึ้นมาอย่างนี้ ใครจะชี้นำ

เวลาพระอรหันต์ในสมัยพุทธกาลไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “ใครทรมานมา” คนชี้นำทรมานมา เพราะถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมา มันจะทรมานขึ้นมา

ทรมานหมายถึงว่า เวลาเรารู้เห็นผิด เห็นไหม จะมีอุบายวิธีการ ใช้อุบายให้เราเปลี่ยนแปลง ให้เราแก้ไขความเห็นผิดของเรา ให้เข้าสู่ความเป็นจริง ให้เข้าสู่ข้อเท็จจริง แล้วมันจะพัฒนาขึ้นมาจนถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ !

นี้การถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้นี่ใครทรมานมา ใครทรมานนี้เป็นผู้ชี้นำใช่ไหม แต่ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ มันก็ปฏิบัติขึ้นมาจากใจของตัวเองใช่ไหม มันปฏิบัติขึ้นมาจากความเป็นจริง ไม่มีใครจะบอกว่าให้เราเป็นได้ หรือบอกให้เราเป็นอย่างนั้นได้ แต่ผู้ที่บอกขนาดไหน ถ้าเราไม่ทำหรือเราทำไม่ได้ มันก็ไม่ได้ !

มันอยู่ที่การกระทำของจิตดวงนั้น มันอยู่ที่การกระทำตามความเป็นจริง นี่ถ้าจิตเราจริง เราทำความเป็นจริง เราทำของเราเอง ในการประพฤติปฏิบัตินี้เราทำของเราเอง

ครูบาอาจารย์... สาธุนะ ถ้ามีครูบาอาจารย์อยู่ ทุกคนก็ต้องหวังพึ่ง เพราะจะทำให้ระยะทางมันสั้นเข้า ทำให้การปฏิบัติมันไม่ออกนอกลู่นอกทาง การหวังพึ่งนี้ เราหวังพึ่งด้วยใจเป็นธรรม เห็นไหม

ผู้ที่มีคุณกับเรา แค่บอกความบกพร่อง บอกความเห็นผิดของเรานี้ มีคุณกับเรามาก แค่บอกเท่านั้นแหละ แต่จะมาแก้ไขความบกพร่องของเรานี้ มันแก้ไขไม่ได้หรอก แต่บอกให้เราสะดุดใจ บอกให้เราได้พยายามรื้อค้นกลับมา แค่นี้ก็เป็นบุญคุณมหาศาลแล้ว

ถ้าบุญคุณมหาศาลนะ ครูบาอาจารย์ที่เป็นธรรมนี้เราแสวงหา เราต้องการครูบาอาจารย์ที่เป็นธรรม แล้วพยายามชี้นำ บอกความเป็นจริงกับเรา แล้วเราจะปฏิบัติตามความเป็นจริงนั้น ถ้าเราปฏิบัติตามความเป็นจริงนั้น มันจะเป็นความจริงของเราขึ้นมา เห็นไหม ถ้าเป็นความจริงขึ้นมา นั่นมันก็เป็นอำนาจวาสนาของเราแล้ว

เราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา แล้วเราตั้งใจจะประพฤติปฏิบัติกันเพื่อให้พ้นจากกิเลส ถ้าให้พ้นจากกิเลสนะ ให้สิ้นสุดแห่งทุกข์ ถ้าการสิ้นสุดแห่งทุกข์นี้ งานใดล่ะมันจะยากเท่ากับการรื้อภพถอนชาติ การรื้อภพรื้อชาตินี้ มันเป็นงานที่ละเอียดมาก

ดูนะในทางสังคม เห็นไหม ผู้บริหารจัดการเขาต้องรับผิดชอบ เขาจะมีความเครียดมาก นี้เป็นเรื่องของโลกนะ แล้วเวลาบริหารจัดการหัวใจ แล้วมีใครเข้าใจกับเราล่ะ ทุกคนก็ต้องบอกว่าทำงานทางโลก แล้วประสบความสำเร็จทางโลก เขาว่าคนนั้นเป็นคนทำงานประสบความสำเร็จ

แต่ครูบาอาจารย์ของเรา เห็นไหม ท่านอยู่ป่าอยู่เขา นั่งสมาธิ ภาวนานี้มันประสบความสำเร็จทางใจ ถ้าประสบความสำเร็จทางใจ แล้วใครเขาจะรู้ได้ด้วยล่ะ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นนี้มีใครรู้ได้ด้วย แต่ลูกศิษย์ลูกหาของครูบาอาจารย์ของเราท่านเคารพบูชาเพราะ ! เพราะเวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นไปนี้ พอไปถามท่าน ท่านตอบได้หมดไง

ท่านตอบท่านแก้ไขความข้องใจของเราได้ทั้งนั้น เพราะกว่าที่ท่านจะตอบเราได้ ท่านต้องแก้ไขความข้องใจในใจของท่านได้ก่อน ถ้าท่านแก้ไขความข้องใจ ความเห็นผิดของท่านได้ ท่านก็จะแก้ไขเราได้

ถ้าแก้ไขเราได้ เห็นไหม นี่มันเป็นข้อเท็จจริง “จากใจดวงหนึ่ง... สู่ใจอีกดวงหนึ่ง” ใจของครูบาอาจารย์เรา คือใจที่เป็นจริง จะมีข้อเท็จจริง แต่ถ้าครูบาอาจารย์ที่ฉ้อฉล จะไม่มีข้อเท็จจริง แต่พูดเหมือนกัน แต่ไม่มีข้อเท็จจริงในหัวใจนั้น

อันนี้อยู่ที่เราจะเชื่อนะ เราจะเชื่อ แล้วเราจะเลือก สิ่งนี้มันพิสูจน์ได้ การประพฤติปฏิบัตินี้มันพิสูจน์ได้นะ “มันพิสูจน์ได้ด้วย ความจริงมีหนึ่งเดียว… อริยสัจมีหนึ่งเดียว” ถ้าเราปฏิบัติได้มากน้อยแค่ไหน เราถามปัญหาท่าน แล้วท่านตอบเราผิด นี่ท่านผิดแล้ว แต่ถ้าเราปฏิบัติไม่ได้ คือเราไม่รู้จริง เวลาท่านพูดมานี่เราไม่มีสิ่งใดเปรียบเทียบไง

ฉะนั้นครูบาอาจารย์ ในหมู่ของกรรมฐานนี้เขารู้กัน ! ในหมู่กรรมฐานนี้เขารู้กัน รู้ว่าวุฒิภาวะของใจแต่ละดวงนี้มันมีมากน้อยแค่ไหน ถ้ามันมีมาก... สิ่งใดที่แสดงธรรมมาตั้งแต่ต้นจนจบ จะไม่มีคลาดเคลื่อนจากธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย แต่ถ้ามีน้อยหรือไม่มีเลย เวลาแสดงธรรมออกไป มันจะคลาดเคลื่อนหมด

มันคลาดเคลื่อนจากธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกขั้นตอนเลย เพราะความจำกับความจริงนี้มันแตกต่างกัน ความจำนี้ เห็นไหม จำธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา คือตัวเลข คือชื่อ แต่ไม่มีข้อเท็จจริง ไม่มีความจริง แต่ถ้าเป็นความจริง มันมีข้อเท็จจริง มันมีการกระทำ

คำว่าสติ... สติเป็นอย่างไร อะไรเป็นสติ อะไรเป็นมหาสติ และอะไรเป็นสติอัตโนมัติ อะไรเป็นปัญญา อะไรเป็นมหาปัญญา

อะไรเป็นโลกียปัญญา... โลกียะปัญญา คือปัญญาของกิเลส

อะไรเป็นโลกุตตรปัญญา.. โลกุตตรปัญญา มีสิ่งใดเป็นเครื่องรองรับว่ามันเป็นโลกุตตรปัญญา

แล้วเวลามรรคญาณ เห็นไหม มรรคมันเกิดขึ้นนี้ มันเป็นตทังคปหานคือมันปล่อยวาง... แล้วมันปล่อยวางด้วยปัญญา ปล่อยวางด้วยสัมมาสมาธิ ปล่อยวางด้วยมรรคญาณ ปล่อยวางด้วยตทังคปหานนี้ มันปล่อยวางอย่างไร

แล้วเวลามันถึงที่สุด มันสมุจเฉทปหาน คือมันชำระกิเลสขาดออกไป เป็นโสดาบัน เป็นสกิทาคา เป็นอนาคา เป็นพระอรหันต์ขึ้นมา มันเป็นอย่างใด

เป็นพระโสดาบัน แล้วประพฤติปฏิบัติขึ้นไป จะเป็นโสดาบัน เป็นสกิทาคา ขณะที่เป็นโสดาบัน แล้วรื้อค้นเหตุของสกิทาคา ถ้าไม่รื้อค้น เวลาเป็นโสดาบัน พอกระบวนการของโสดาบันจบสิ้นไปแล้ว เป็นบุคคล ๘ จำพวก

นี่สกิทาคามิมรรค... ถ้าไม่รื้อค้นกาย เวทนา จิต ธรรม เห็นกิเลส มันจะเป็นสกิทาคามิมรรคไม่ได้ ! ถ้ามันเป็นสกิทาคามิมรรค จนถึงสกิทาคามิผลแล้ว

นี่อนาคามิมรรค.. ทำไมถึงเป็นอนาคามิมรรค ถ้าไม่รื้อค้นกามราคะ “ปฏิฆะ กามราคะ” ขึ้นมา จนเห็นกามราคะ ปฏิฆะ มันจะเป็นอนาคามิมรรคไปได้อย่างไร

ถ้ามันชำระล้างจนเป็นอนาคามิผล... อรหัตตผลเป็นอย่างไร... อรหัตตผลนี้มันจะรื้อค้นอย่างไร มันจะเริ่มกระบวนการของอรหัตตมรรคได้อย่างไร

นี่มันเริ่มกระบวนการของโสดาปัตติมรรค... สกิทาคามิมรรค... อนาคามิมรรค...อรหัตตมรรค... มันเริ่มต้นกระบวนการนี้ จุดเริ่มต้นเป็นอย่างไร ! สิ้นสุดกระบวนการของโสดาปัตติผล.. สกิทาคามิผล.. อนาคามิผล.. อรหัตตผลนี้ มันสิ้นสุดกระบวนการอย่างไร มันวิปปยุตขึ้นมาอย่างไร มันสัมปยุตเข้าไป แล้ววิปปยุตคลายออก แล้วก็กระทำการสมุจเฉทปหานเป็นอย่างใด ! “นี่ไงมรรค ๔ ผล ๔”

นี่ไงพูดถึงถ้าครูบาอาจารย์ของเราเป็นธรรม เวลาพูดมันจะไม่คลาดเคลื่อนจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย แต่ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ที่ฉ้อฉล เอาความจอมปลอมเข้าไปรื้อค้นความจริง “มันเป็นธรรมะจอมปลอม ไม่ใช่ธรรมะจริง !”

ธรรมะจริงมีอยู่ ต้องใช้ความเป็นจริงเข้าไปพิสูจน์ตรวจสอบ แล้วให้เป็นความจริงกับหัวใจของเรา เราจะได้ธรรมะจริงๆ เกิดเป็นชาวพุทธในพุทธศาสนาแล้ว จะได้มรรคผลสมใจตามความปรารถนา เอวัง