ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

โดยธาตุ

๓ ม.ค. ๒๕๕๓

 

โดยธาตุ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๓ มกราคม ๒๕๕๒
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี



เราจะพูดถึงแนวการปฏิบัตินะ แนวทางปฏิบัติเวลาเราปฏิบัติกันแล้วน่ะ เวลาครูบาอาจารย์เห็นไหม องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกชี้ทางให้ ชี้ทางให้เนี่ย พวกเราเองจะต้องเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติกันเอง นี้พอประพฤติปฏิบัติไปเองขึ้นมาเนี่ย พอปฏิบัติไปเนี่ยถ้าเป็นความจริงก็อย่างที่โยมเป็นน่ะ ถ้าโยมเป็นมีเป็นสักกี่คนน่ะ พอมันเข้าไปรู้ไปเห็นตามความเป็นจริงนี่ อันนั้นนั่นน่ะเป็นความจริง

แต่เพราะเราจิตใต้สำนึก จิตใต้สำนึกเรากลัวไง เรากลัวว่าจิตเราลงไปแล้วเนี่ยเราเป็นยังไง เราจะไปรู้เห็นสิ่งใด แต่พอรู้เห็นสิ่งใดแล้วล่ะ มันก็ไปตกใจด้วย ตกใจคือสิ่งที่ไม่เคยเห็น ไม่เคยคิด สิ่งที่เคยคิด เคยเห็นใช่ไหม ดูสิ เวลาเราไปเข้าห้างสรรพสินค้า เราก็รู้อยู่แล้วว่าในห้างสรรพสินค้าต้องขายอะไรบ้าง ก็ไปซื้อของที่เราอยากจะใช้ คือของที่เรารู้ เราเห็นอยู่แล้วเนี่ย เราไปเอาเราก็ไปเลือกเอา หยิบเอา แลกเอาตังค์ไปแลกมา

ในการประพฤติปฏิบัติไม่เป็นอย่างนั้นหรอก ในการประพฤติสูตรสำเร็จไม่มีนะ สูตรที่เป็นสำเร็จทำแล้วเป็นอย่างนั้นๆ ไม่มีหรอก เพราะที่เราค้านๆ อยู่ ก็ค้านตรงนี้ ค้านต้องเป็นอย่างนั้น เหมือนเลยเหมือนกับทำการบ้านเนี่ย เห็นไหมเราทำเลขเนี่ย เลขโจทย์มัน เลขตอบมาเห็นไหมเลข คนทำเลขต้องตอบเป็นอย่างนั้นหมดเลย โจทย์เหมือนกันหมดเลย

แต่ในการปฏิบัติโจทย์ไม่เป็นอย่างนั้น โจทย์ไม่เป็นอย่างนั้น โจทย์มันของใครของมันนะ พอโจทย์ของใครของมัน ในการปฏิบัติของเราเนี่ย การตอบโจทย์ การตอบความเห็น เช่น จิตมันสงบยังไง สงบมาก สงบน้อย หรือไม่สงบใช่ไหม เนี่ยทำเลขไม่ได้เลย ตอบโจทย์ตังเองไม่ได้เลย เวลาปฏิบัติไปมันฟุ้งซ่านมันอะไร เพราะอะไรมันไม่ทำการบ้าน มันเล่นกันก็สุขสบาย พอมาการบ้านต้องมานั่งทำการบ้านเนี่ย เด็กมันจะดิ้นรน มันจะต่อต้าน

จิต เวลาจะบังคับปฏิบัติน่ะ เนี่ยถ้าไม่ปฏิบัติอยู่ที่บ้านนะ เนี่ยพอตั้งใจปฏิบัติบ้าง ไม่ปฏิบัติบ้าง จิตมันก็..อึ้ม จิตมันก็ลงดีเนาะ แหมมันก็น่าจะลงเนาะ เออ ไปวัดเอาให้เต็มที่เลยเนาะ พอถึงวัดนะเอาไม่ลงเลย เนี่ยพอโจทย์มันมีแล้วนะ มันยังมีกิเลสเข้ามาในเบื้องหลังโจทย์นั้นอีกล่ะ เนี่ยเห็นไหมเวลาโจทย์ที่เราทำการบ้านสิ มันจะเหมือนกันหมดเลยล่ะ ทุกอย่างจะตอบมาเหมือนกันหมดเลย

แต้ถ้าในการปฏิบัติเนี่ยมันเรื่องของนามธรรม พอเรื่องของนามธรรมเนี่ยเวลาเรารู้เห็นสิ่งใด รู้เห็นสิ่งใดเห็นไหม ถ้ารู้เห็นสิ่งใดมันจะรู้อย่างนี้ไปก่อน ถ้ารู้เห็นสิ่งใดปั๊บเนี่ยเรามีสติของเราไว้ แต่ถ้ามันรู้เห็นเนี่ย มันเอาไม่อยู่เห็นไหม บางสิ่งที่เราไปรู้ไปเห็นเนี่ยมีกำลังมากกว่าเรา เราเอาไม่อยู่เนี่ย เราเอาไม่อยู่นะ ทั้งรู้ทั้งเห็นอยู่เนี่ย แต่มันกระชากความคิดเราไปตลอดเวลาเลย เราเอาไม่อยู่หรอก ถ้าเราเอาไม่อยู่ เราจะทำยังไง ถ้าเอาไม่อยู่นะ เราตั้งสติไว้นะ เนี่ยวันนี้ไม่อยู่ แต่นี้เวลาของโยมมีไม่กี่วันไง

แต่เวลาของเรา เราเนี่ยนะ ตอนที่เอาความคิดเราอยู่เนี่ย ๓ วันน่ะ มันเอาไม่อยู่ เนี่ยตั้งใจเพราะมันรู้อยู่แล้วว่าตัวเองตกภวังค์ พอตัวเองตกภวังค์ปั๊บเนี่ยจะแบบว่า พยายามจะ.. พอตัวเองตกภวังค์ปั๊บมันจะ..เนี่ยไงเป็นประสบการณ์เห็นไหม พอตัวเองรู้ว่าตัดสินใจเพราะตัวเองรู้ด้วยตัวเองว่าตัวเองตกภวังค์แล้ว ถ้าตัวเองตกภวังค์เนี่ย จะแก้ไขยังไง เนี่ยเห็นไหมความคิดมันเกิดแล้ว

ความคิดเองมันเกิดเวลาปฏิบัติ ความคิดเราเกิดขึ้นมาเอง เนี่ยเวลาที่มันเจอที่มันยื้อ มันยื้อเนี่ยมันเอาไม่อยู่เนี่ย มันถามเลยว่าถ้าตกภวังค์จะแก้ยังไง ทีนี้แก้ยังไง เราก็ยึดพระไตรปิฎกใช่ไหม เราอยู่ในป่า อยู่ในป่าเนี่ยมันไม่รู้จะถามใครหรอก มันอยู่กับเราเนี่ย เรากับป่าเนี่ย แล้วมันปฏิบัติอยู่เนี่ย

ถ้ารู้อย่างงี้ปั๊บก็นึกถึงพระไตรปิฎก พอนึกถึงพระไตรปิฎกปั๊บ ก็นึกถึงพระพุทธเจ้าไปแก้พระโมคคัลลานะ พระพุทธเจ้าไปแก้พระโมคคัลลานะตอนง่วงนอนน่ะ เห็นไหมตอนง่วงเหงาหาวนอน พระพุทธเจ้าบอกว่าเนี่ยให้ตรึกในธรรม ให้เอาน้ำลูบหน้า ให้แหงนดูดาวเนี่ยให้แหงนดูดาวนะแล้วให้ตั้งสติไว้ เนี่ยเราก็ตรึกในธรรม ตรึกใหญ่เลยนะ พอตรึกๆ ไปก็เกลี้ยงเลย

ตรึกคือใช้ความคิดไง ตรึก วิตก วิจาร ตรึกในธรรมเนี่ย เนี่ยในธรรมะตรึกขึ้นมา ตรึกขึ้นมา พอตรึกๆๆๆ ก็หายอีกแล้ว ตกภวังค์อีกแล้ว ตกภวังค์อีกแล้ว เอ้ทำไงเนี่ย ทำยังไง ตัดสินใจอีกแล้ว ถ้าอย่างนี้แล้วสู้ไม่ไหว เพราะมันแว้บหายเลย นั่งๆ ไป ภวังค์นะ เวลา พุทโธ พุทโธ พุทโธเนี่ยถึงเวลาปั๊บหายไปเลย พอหายไปเลยเนี่ย มันรู้สึกตัวขึ้นมาเนี่ยมันเหมือนคนตื่นจากนอน สะดุ้งตื่นเลย บางทีสะดุ้งแรงๆ เลย บางทีค่อยๆ ตื่นขึ้นมา นั่นคือภวังค์ ภวังค์คือไม่รู้ตัวเลย หายไปเลย

แต่ถ้าเป็นสมาธินะ ถ้าสมาธิ อัปปนาสมาธินะ มันสักแต่ว่ารู้เนี่ย มันรู้ละเอียดไง ถ้ารู้ปกติเนี่ยไม่สักแต่ว่ารู้ รู้ชัดเจน รู้โดยความสัมผัส แต่เวลาถ้าจิตมันปล่อยมาหมดแล้วเนี่ย มันรู้ด้วยตัวมันเอง แต่มันไม่มีอายตนะสืบต่อไง คือตัวมันเองเนี่ย สมาธิจะไม่มีเว้นวรรค จิตจะเกิดสมาธิเนี่ยจะไม่มีเว้นวรรคเลย ละเอียดเข้ามาโดยตัวของมันเอง พอโดยตัวของมันเองเนี่ยมันเหมือนอายตนะ คือว่าสิ่งผลกระทบกับตัวจิตเนี่ย

มันเหมือนไฟฟ้าที่มันมีคัทเอ้าท์ติด มีคัทเอ้าท์อยู่ แต่พอทั้งหมดหดเข้ามา ตัดคัทเอาท์ปั๊บเนี่ย ไฟฟ้าเนี่ย เนี่ยหลอดไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า จะไม่มีไฟไปสู่เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นเลย จิตเวลามันตัด มันหดเข้ามาเนี่ย เนี่ยสักแต่ว่ารู้นี้อันหนึ่ง สักแต่ว่ารู้นี้คือจิตสงบเข้ามามาก เหมือนขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิเนี่ย อุปจาระเนี่ยเห็นไหม วงรอบของจิตก็คืออายตนะ ความรับรู้ที่ความคิดเราเนี่ยกับตัวจิตเห็นไหม เนี่ยมันเป็นอันเดียวกันมันรับรู้ได้

แต่พอมันปล่อย มันปล่อยเห็นไหมอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ อัปปนาสมาธิเนี่ยมันลึกกว่าอุปจาระ อุปจาระเนี่ยจิตแล้ววงรอบของมัน คือส้มกับเปลือกส้มเนี่ย มันรับรู้กันได้ แต่พอเข้ามาถึงอัปปนาเนี่ยมันสักแต่ว่าเลย มันเป็นตัวมันล้วนๆ เลย เนี่ยมันจะมีสติ แล้วมันจะรับรู้ตลอดเวลา เราจะยกดูภวังค์นะ แต่ถ้าภวังค์ ภวังค์ ภวังค์นะรู้แต่ว่ามันมีหยาบ มีละเอียดเหมือนกัน ถ้าภวังค์หยาบๆ มันก็แค่แว้บๆ หายไป แต่ถ้าภวังค์ลึกๆ เนี่ยแว้บ เหมือนเข้าสมาธินะ ทุกคนจะพูดอย่างนี้

เรามีลูกศิษย์คนหนึ่ง นั่งตลอดรุ่งเลย นั่งตั้งแต่หัวค่ำยันสว่างทุกทีเลย แล้วเราก็แปลกใจทำไมจิตมันไม่มีกำลัง เราบอกอย่างนี้มันน่าจะตกภวังค์ ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ยอมรับแล้วเขานั่งได้จริงๆ เขานั่งได้จริงๆโดยเขานั่งปั๊บเนี่ย เช้าขึ้นมาถึงลุก เขาทำได้จริงๆ นะ แต่เขาหลับ เขาไม่รู้ตัว ภวังค์ไม่มีใครรู้หรอก เนี่ยเราจะบอกว่าถ้ามันตกภวังค์นะ เรารู้ว่าเป็นภวังค์นะ โอ๊ะ เราถึงแก้ของเรา ภวังค์แก้ยังไง ตอนนั้นเรายกพระไตรปิฎก

ทีนี้ย้อนกลับมาคนที่ตกภวังค์นี่ก่อน พอคนนี้บอกว่าไม่รู้เลย ไม่รู้เลยใช่ไหม แต่เขาก็นั่งได้ แล้วเขาก็อยากวิปัสสนา คือเขาอยากมีปัญญา เขาก็ปรึกษาตลอดเวลา เราก็แปลกใจพอแปลกใจเสร็จแล้ว เนี่ยถ้าจิตมันลงขนาดนี้นะ จิตมันเข้าอัปปนานะ จิตมันจะรู้ตัวเองนะ มันสดชื่น เหมือนเราน่ะ เราเนี่ยนะเรามีเงินอยู่เต็มตัวเนี่ย เขาบอกเราไม่มีตังค์ ไม่มีตังค์ เราก็มีใช่ไหม

เขาบอกไม่มีเรื่องของเขา แต่เรามี แต่นี่บอกเขามี เขาก็ไม่รู้ตัว ไอ้เรายืนดูข้างนอกก็ไม่รู้ว่าเขามีหรือไม่มี ไม่มีเขาก็เลยตกลงว่าเขาก็นั่งอีก แล้วมีเพื่อนนั่งอยู่ด้วย เขาบอกพอสี่ทุ่ม ห้าทุ่มแล้วนะ กรนครอก ครอกเลยนะ ตัวเองไม่รู้นะ ตัวเองไม่รู้ แต่เพื่อนที่ยืนยันบอกว่านั่งหลับ เขาถึงยอมรับว่าตกภวังค์ไง คือเขาไม่รู้ตัวจริงๆ ภวังค์ เพราะเราเคยเป็น

ทีนี้แล้วพอเพื่อนที่นั่งอยู่ด้วยทีแรกคนหนึ่ง สองคน เอาพยานไงว่า กรนจริงๆ นั่งกรนเลยคือหลับสนิทเลย ลงภวังค์หายเลย แต่เขาก็นั่งตลอดรุ่งเห็นไหม โดยที่ตัวเขาไม่รู้เลย แล้วพยายามบอกเขาว่าเขาไม่ใช่ ไม่ใช่ มันขัดแย้งกับข้อเท็จจริง ถ้าข้อเท็จจริง ถ้าจิตลงขนาดนี้จิตมันจะมีกำลัง มีกำลัง หมายถึงว่ามันมีกำลัง มันจะพิจารณาอะไร มันจะโอ้โฮ เหมือนมีดเราคมกล้า เหมือนเราทุนมาก เหมือนเรามีเงินมากเนี่ย เราจะจับจ่ายใช้สอยได้สะดวกมากเลย แต่พวกเราเนี่ยมีห้าบาท สิบบาทนะ แล้วจะซื้อของสักสองสามร้อยเนี่ย เก็บหอมรอมริบแล้วเก็บหอมรอมริบอีก ยากมากเลย

เนี่ยพองั้นแล้วเขาไปแก้ภวังค์ เนี่ยเราบอกว่า ถ้ามันตกภวังค์เห็นไหม แล้วเราตกภวังค์เราจะแก้เนี่ยเราใช้ปัญญานะ ใคร่ครวญอยู่อย่างนี้ จะไปอย่างไหนก็ไปไม่รอด ไปไม่รอด สุดท้ายแล้วเราก็มาตัดสินใจว่าต้องผ่อนอาหาร นี้ผ่อนอาหารเนี่ย มันผ่อนอาหารใช่ไหม อยู่ในป่า สามัญสำนึกก็ฉันมื้อหนึ่ง ฉันมื้อหนึ่งก็ตามสิทธิ ไม่ผิดอะไร ไม่ผิดอะไรเลย บอกว่าจะผ่อนมัน

เวลามันมาเนี่ย ขณะปัจจุบันพอของมันถึงหน้าเนี่ยมันทนไม่ไหวไง มันรับไม่ได้ มันเหมือนกับจิตใต้สำนึกน่ะ กิเลสน่ะ กิเลสมันอ้างสิทธิว่าไม่ผิด ก็ตักพอดีหนึ่งมื้อ หนึ่งอิ่มเนี่ยมันไม่ผิดหรอก ทีนี้มันหนึ่งอิ่ม ของมันมีอยู่ในบาตร มันก็ต้องกินหมด พอฉันหมดแล้ว พอฉันเสร็จสติมาแล้ว ไหนว่ามึงจะผ่อนอาหารไง ยังฉันไม่เสร็จมันยังไม่รู้ตัวนะ พอฉันจบ ไหนว่าจะผ่อนอาหารไง

เข้าทางจงกรมนะด่าตัวเองตลอด เนี่ยคำนี้เราไปถามหลวงปู่เจี๊ยะว่าเราทำอย่างนี้ถูกไหม หลวงปู่เจี๊ยะก็เออ กูก็ทำอย่างนี้ ด่าตัวเองตลอดเลย ทำไมครูบาอาจารย์ทำได้ คนอื่นดีหมด เราเลวคนเดียว ทำไมเราเลวขนาดนั้นๆ เนี่ยเดินจงกรมอยู่ ๓-๔ วัน มันแว้บขึ้นมาเลยนะ เพราะโดยความคิดของถ้าเราผ่อนอาหารก็คือว่าเราคุมได้ ทุกอย่างคุมได้ คืออาหารมันจะจืด ในความรู้สึกเราว่าเราจะทันรสน่ะ

ทีนี้มันขึ้นมาเลยนะ เวลาปัญญามันขึ้น ครูบาอาจารย์เราไม่ใช่ตะเข้ ตะเข้มันไม่มีลิ้นมันไม่มีรสชาติหรอก ครูบาอาจารย์เราท่านก็มีลิ้น แต่ท่านมีสติสัมปชัญญะตามทันหมดตามทันรสนั้น เข้าใจรสทั้งหมด แล้ววางรสไว้ตามเป็นจริงไง แต่เราจะบอกไม่มีรส หรือไม่มีอะไรเลยเห็นไหม ความคิดพวกเราเนี่ยบอกว่าให้ไม่มี ไม่ให้เป็นไป คือเราจะเหนือกว่าไง

แต่คือความจริงสติมันเท่าทัน เพราะพอสติมันทันปั๊บนะ มันรู้เลย รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมาร ตั้งแต่วันนั้นมานะ เนี่ยเริ่มต้นจากตรงนี้ เราได้จากตรงนี้ ตั้งแต่วันนั้นมานะ เวลาของผ่านมา เราฉันข้าววันละคำ ละคำอย่างนี้เป็นหลายเดือนเลย มาถึงปั๊บสติมันหมดเลย แล้วเยาะเย้ยมันด้วยนะ เวลาจะหยิบมันเนี่ย ข้าวเหนียวเนี่ย

อยู่อีสาน หยิบข้าวเหนียวนะหนึ่งคำ เพราะบิณฑบาตมาเราก็รวมหมดใช่ไหม หยิบข้าวเหนียวเนี่ยหนึ่งคำ ปั้นไว้แค่หนึ่งคำไว้ก้นบาตร แล้วเวลามีสิ่งใดมานะ ตักน้ำแกงโฮะน่ะ เพราะได้มานะมันบ้านนอกน่ะ ได้อะไรมาก็ใส่หม้อโฮะด้วยกันหมดน่ะ ก็ตักเฉพาะน้ำแกงหยอดบนข้าวนั้น แล้วก็ผ่านไป แล้วพออะไรมาก็ผ่านไป ผ่านไป พอถึงเวลาฉันนะ ก็หยิบข้าวคำนั้นใส่ปากก็จบ ทำได้หมดเลยเพราะสติมันทัน

แต่ก่อนนั้นไม่เคยคิดอย่างนั้น พวกเราเนี่ยนะไม่เคยอยู่ป่าอยู่เขา ไม่เคยอยู่ในที่อัตคัดขาดแคลนอย่างนั้น พออัตคัดขาดแคลนนี่กิเลสมันดิ้นรนมาก เพราะถ้าเราไม่ฉันตอนเช้าหนึ่งมื้อ ต่อจากนี้ไปเราจะไม่มีอะไร วันหนึ่งเราทำได้แค่นี้ วันหนึ่งมีโอกาสแค่หนเดียว ถ้าเรามีโอกาสแค่หนเดียวนี่ก็ต้องแบบว่าให้เราอยู่ได้ไง ด้วยความคิดของเราโดยที่มันความถูกต้อง

แต่เราจะผ่อนมันอีก เพื่อจะแก้ไอ้ตกภวังค์เนี่ย นี้พอจะผ่อนมันอีก มันต้องต่อสู้กันอยู่หลายวัน ใช้สติ เดินจงกรมเนี่ย เดินจงกรมนี่ใช้ปัญญาตลอดเต็มที่เลยนะ พอมันจบแล้วนะ ได้เลย พอได้เลยตั้งแต่นั้นมา พอได้เลยตอนเช้ามาอะไรผ่านมานะ เวลาปัญญามันหมุน เวลาหยิบของเนี่ยจะจัดใส่บาตรเนี่ย ข้าวหนึ่งเม็ดก็มีรสชาติเท่ากับข้าวหนึ่งกระติ๊บนี้ สิ่งใดหนึ่งหยดก็เท่ากับหม้อแกงทั้งหมดนี้

มันเยาะเย้ยรสชาติอาหารได้หมดเลย มันเยาะเย้ยหมด แล้วหยิบด้วยสติสัมปัญญะ หยิบด้วยความรับรู้หมดเลย แล้วก็นั่งดูหมู่พระนะ หมู่พระก็ตักบาตรกัน อะไรกันนะ พอเสร็จแล้ว เสร็จแล้วหัวหน้าเขาก็ให้พรใช่ไหม ปฏิสังขาโย เขาเริ่มฉันกัน เราเนี่ยนั่งมันสบายจริงๆ นะ เขาฉันไปกันครึ่งท้องแล้ว หรือเขาฉันจนหมดแล้ว เราคำเดียวหยิบใส่บาตรเราก็ลุกได้แล้ว คือเราจะเร็วกว่าเขา เราจะไปได้ก่อนเขา เราจะคล่องตัวกว่าเขา เราทุกอย่างดีกว่าทุกอย่างเลย

เนี่ยเราบอกว่าถ้าสิ่งใดปรากฏขึ้น ปรากฏขึ้นจากสิ่งที่เห็น สิ่งที่รู้ ทีนี้สิ่งที่เห็นสิ่งที่รู้นี่เรายังไม่เข้าใจมัน ถ้าเรายังไม่เข้าใจมัน หรือเรายังไม่สามารถจะควบคุมได้ เพราะเรายังพึ่งประสบการณ์ครั้งแรกเห็นไหม เนี่ยครูบาอาจารย์ท่านจะบอกแนวทางปฏิบัติกับเรา แต่พอเราปฏิบัติเข้าไปแล้วเนี่ย จิตเราเนี่ยมันจะสงบหรือไม่สงบเนี่ย มันจะยอมลงได้ ลงไม่ได้เนี่ย อย่างเช่นความฟุ้งซ่านเนี่ย อย่างเช่นมีความฟุ้งซ่านใช่ไหม เรารู้ว่าความฟุ้งซ่าน เรารู้ว่าเป็นปัญญา เรารู้นี่ดีขึ้นเยอะแล้วนะ

เมื่อก่อนเราไม่รู้ แต่เดิมเนี่ยปกติพวกเราเนี่ยไม่รู้หรอกความฟุ้งซ่าน รู้แต่ว่าเราคิด ความคิด ความฟุ้งซ่านเป็นเรา มันจะเป็นอันเดียวกัน เราถึงได้คิดตามมันไปตลอดไง เราถึงได้ โอ้โฮ ร้อนมากทุกข์มากไง ตำราพระไตรปิฎกก็ไว้ในตู้นั่นแหละ แต่เวลาเราคิดเราฟุ้งซ่านไป เราก็ฟุ้งซ่านไป แต่เพราะว่าจิตมันพัฒนา พัฒนาขึ้นมาเห็นไหม ว่าเรากับความฟุ้งซ่าน มันเห็นแล้ว มันรู้แล้ว มันทันแล้ว แต่ยังไม่มีกำลังที่จะหยุดมันได้ ไม่มีกำลังที่จะแยกมันได้เห็นไหม

เนี่ยมันก็ต้องสู้ต่อไป นี่เราจะบอกว่าเนี่ยมันเป็นประสบการณ์ของจิต ที่ว่าเนี่ยกิจจญาณ กิจจญาณ มันต้องมีกิจกรรม จิตนี้มันต้องมีการกระทำของมัน ถ้าพุทโธ พุทโธมันจะรู้พุทโธของมัน แต่นี่มันพุทโธ พุทโธ ถ้าพุทโธสักแต่ว่า นี่พุทโธไม่ดูดดื่ม ไม่มีรสชาติ แต่ถ้าพุทโธนะ เราอยู่กับพุทโธด้วยที่ว่าเห็นคุณค่า ด้วยความจริงใจนะ พุทโธกับเราน่ะ มันพุทโธเป็นอันเดียวกันนะ มันดูดดื่ม มันมีรสมีชาตินะ

ปฏิบัติเป็นเนี่ย ปฏิบัติเริ่มต้นเนี่ยมันจะมีรสมีชาตินะ พุทโธ พุทโธ พุทโธ มันชัดเจนมันอิ่มอกอิ่มใจไง แต่นี้พุทโธแห้งแล้ง พุทโธ พุทโธนะ หัวใจก็แหม.. มันแย่เหลือเกินก็พุทโธไปเรื่อย เนี่ยมันยังไม่ดูดดื่ม มันยังไม่เป็นรสชาตินะ แต่ถ้าพุทโธ พุทโธมันดีขึ้น มันดีขึ้นนะ มันพุทโธกับเราน่ะ มันมีทั้งความดูดดื่ม มันทั้งมีความสุขใจทั้งความพอใจ เนี่ยมันเริ่มกลมกลืนกันเห็นไหม

มันเริ่มกลมกลืนกัน จิตมันจะเป็นของมันเป็นอย่างนั้น มันจะพัฒนาของมันอย่างนั้นแล้วไม่ใช่ว่ากลมกลืนแล้วมันอยู่อย่างนี้ไปตลอดอย่างนี้นะ เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย เดี๋ยวก็ชอบ เดี๋ยวก็ไม่ชอบ มันเป็นธรรมชาติของมันอย่างนั้น เพราะมันมีกิเลสอยู่เห็นไหม เมื่อกี้เราถึงบอกเรื่องโจทย์ โจทย์เนี่ยมันเหมือนกรรม โจทย์นี่น่ะ คำว่าตอบโจทย์ ตอบโจทย์ ตอบความรับรู้ของเราเนี่ยเหมือนกรรม

กรรมใครกรรมมัน พอกรรมใครกรรมมันเนี่ย จริตนิสัย การประพฤติปฏิบัตินี่มันอยู่ที่เวรกรรมของแต่ละบุคคล นี่คือโจทย์นะ เวรกรรมแล้ว มันก็มีมารอยู่หลังเวรกรรมอีก เพราะเรามีกรรมอย่างนี้ เห็นไหมเราต้องทำอย่างนี้ มันถึงตอบโจทย์นี้ตอบโจทย์ได้ แต่มารมันไม่เอาน่ะ มารมันจะไปทำอย่างอื่นเห็นไหม อย่างนี้ไม่ดี อย่างนี้ไม่ถูกต้อง

เราจะบอกว่ามันสองชั้นไง ชั้นหนึ่งคือเรื่องตอบโจทย์ให้ตรงก่อน ถ้ามีโจทย์นั้นต้องตอบตามโจทย์นั้น สอง สองคือมารของเรา มารที่มันขับไส มันไม่พอใจของมัน เรื่องมาร เรื่องความพอใจ เรื่องกิเลสความเคยใจ มารคือความเคยใจ จิตมันเคยทำ มันเคยไหลไปตามกระแสทางช่องนี้ มันจะดื้อไปตามประสามันน่ะ เนี่ยยังงี้เราต้องเริ่มต่อสู้ ต่อสู้หมายถึงว่าเราต้องผ่อนไง

เนี่ยเวลาอดนอนผ่อนอาหารเนี่ยมันคืออดอาหารของกิเลส กิเลสยิ่งนอนมากยิ่งอยากนอนต่อไป ยิ่งกินมากยิ่งอยากกินต่อไป แล้วพอกินนอนมาก กิเลสมันเคยเสพของมัน แล้วมันก็จะให้อยู่ดี จะให้ดีขึ้นประณีตขึ้น ดีขึ้นประณีตขึ้นตลอดไป ถ้าเราฝืนมันเห็นไหม เราไม่ได้ฝืนเรานะ เพราะสิ่งที่เรานี่นะ อย่างเราเนี่ยแค่มีอาหารดำรงชีวิตมันก็พอแล้ว แต่กิเลสมันต้องการมากกว่านั้น

นี้เราเริ่มอดนอนผ่อนอาหารเนี่ย อดนอนผ่อนอาหารคือเครื่องขัดเกลากิเลส ให้กิเลสมันไม่มีกำลังมากขึ้น ไม่มีกำลังมากขึ้น แต่เราก็ไม่ยอมเพราะเราอดอาหารบ่อยมาก ตอนที่เราอดอาหารบ่อยๆ เนี่ย มันเป็นประสบการณ์ไง ถ้าอดอาหารยาวนานเนี่ย มันเบามาก จนที่หลวงตาท่านบอกว่า จิต ร่างกายนี้เบามาก มันเบามากเหมือนกับคนฟื้นจากไข้

คนเราเนี่ยเป็นไข้ ไข้หนักเลย แล้วหายจากไข้ ตรงนั้นน่ะ เพราะร่างกายมันไม่มีพลังงานเต็มที่เลย อดอาหาร อดอาหารบ่อยๆ จะเป็นอย่างนั้น จิตใจร่างกายนี่เบามาก ความคิดนี่เราจะตามมันทัน เนี่ยอดนอนผ่อนอาหารนี่มันเพื่อจะเข้าไปสู้กับมันไง สู้กับสิ่งที่ว่าเราไปเห็น เราไปรู้สิ่งต่างๆ นี่เราไม่ไหว เราไม่สู้มันไม่ได้เพราะอะไร เพราะว่าถ้าร่างกายเราเข้มแข็ง ถ้าจิตเราเข้มแข็งเนี่ย สิ่งนี้มันนอนใจ พอนอนใจกิเลสมันก็ควบคุมได้

แต่ถ้าเราอดนอนผ่อนอาหารขึ้นมาเนี่ยมันจะเบาลง พอเราเบาลง เราจะมีทางออกได้ นี้ทางออกอย่างนี้ ย้อนกลับมา ย้อนกลับมาที่ประสบการณ์ที่เราเห็นไง สิ่งที่เห็น เห็นไหม จิตมันรับรู้ จิตมันเป็นไป ถ้าจิตมันรับรู้ จิตมันเป็นไปเนี่ย เพราะเรายังไม่มีความชำนาญเนี่ย มันจะไปกับมันเลย ถ้าไปกับมันนะ พอไปกับมัน มันจะหมดไปกับมันปั๊บไปเต็มที่เลย พอมันออกไป หรือมันเสื่อมไป มันไม่มีกำลังของมันเนี่ยรู้เลยว่านี่ไม่ใช่ พอไม่ใช่เรากลับมาพุทโธใหม่ กลับมาสู้ใหม่ มันจะเกิดอาการอย่างนี้อีก

นี้ระหว่างการต่อสู้ ระหว่างการยื้อกัน ระหว่างกิเลสกับธรรม หลวงตาบอกว่าหัวใจเราเหมือนเก้าอี้ดนตรี ถ้ากิเลสนั่งก็ทุกข์มาก ถ้าธรรมนั่งก็มีความสุขมาก ระหว่างความยื้อกันระหว่างกิเลสกับธรรม กิเลสคือความพอใจของเรา ธรรมะเห็นไหมพุทธานุสสติ ธรรมานุสสติ ปัญญาอบรมสมาธินี่คือธรรม ธรรมนี่เราพยายามต่อสู้ เราพยายามสร้างสะสมขึ้นมาเห็นไหมเราสร้างธรรมขึ้นมา

แต่ว่ากิเลสมันมีของมันอยู่แล้วเห็นไหม แต่ถ้าธรรมมันขึ้นมาดีขึ้นมาเนี่ย มันจะมีกำลังของมันขึ้นมาเนี่ย มันเอานี้ให้จิตนี้ให้สงบได้ จิตสงบคือธรรมะนั่งอยู่บนหัวใจ โล่ง สุขมาก มีความพอใจมาก ฉะนั้นถ้ามันกำลังยื้อกัน มันกำลังสู้กัน มันสู้กันเนี่ยถ้าเป็นทางปฏิบัตินะนี้ถือว่ามีผลงานแล้ว มีผลงานคือเนี่ยเวลานั่งพุทโธสิ หรือเดินจงกรมสิ ถ้าไม่มีงานให้ทำเบื่อมากเลย ไม่มีงานไง มันไม่มีงานทำเนี่ย มันเคว้งคว้างแต่ถ้ามีงานทำ แต่ยังสู้ไม่ไหว เราสู้ไม่ไหวกำลังเรายังไม่พอ ถ้ากำลังเราไม่พอเนี่ย กำลังไม่พอแต่เราก็สู้เห็นไหม

หลวงตาพูดคำนี้ตอนที่บอกว่าเวลาสู้กับกิเลส ว่าจะสู้กับกิเลสพอขึ้นไปเนี่ย พอกิเลสยันเอาหงายหมาเนี่ย ท่านเลยบอกเห็นไหมบอกว่า เออ กูยังสู้มึงไม่ได้นะ ถ้าวันไหนกูมีกำลังนะกูจะเอามึงให้ได้ กูจะเอามึงให้ได้เห็นไหม อันนี้ถ้าบอกว่าเป็นทางโลกก็อาฆาตมาดร้าย แต่ถ้าเป็นทางธรรมนะ มันจะเป็นการมั่นคงที่เรามีหลัก เราจะสู้มัน

แล้วพอมาที่เราเป็นอย่างนี้ ย้อนกลับไปที่หลวงตาเป็นเหมือนกันไหม หลวงตาครูบาอาจารย์ท่านก็พัฒนาขึ้นมาจากจิตดิบๆ อย่างพวกเราเนี่ย แล้วตอนนี้เราก็จิตดิบๆ ที่อยากจะพัฒนากันขึ้นไปเนี่ย แต่เวลาฟังครูบาอาจารย์ท่านบอกว่าจิตสงบมันสุขมาก ทุกอย่างดีมาก เราก็ไปคาดหมายที่ผลอันนั้นเลย เราไม่ได้คาดไม่ได้บอกว่าสิ่งที่มันจะไปถึงตรงนั้นได้เนี่ย มันก็ต้องหกล้มหัวหกก้นขวิดขึ้นไปอย่างนี้ สู้กันไปอย่างนี้

แล้วถ้าสู้ขึ้นไปอย่างนี้ แล้วถ้าจิตเราพัฒนาขึ้นไปอย่างนี้ เราก็จะไปเป็นอย่างนั้นน่ะ ถ้าเราสู้ได้นะเราต้องสู้ตั้งแต่ตอนนี้เห็นไหม มันการสู้นี่จิตมันเข้าไปรู้เอง จิตมันเข้าไปเห็นเอง มันเป็นปัตจัตตัง มันเป็นสันทิฏฐิโก มันเป็นความจริง นี่ไงเวลาใครมาบอกว่าพุทโธมันยาก ทุกอย่างมันยาก เราเห็นใจจริงๆ เราก็บอก มันยากจริงๆ มันยากจริงๆ เพราะอะไรเพราะทำงานอย่างนี้ มันทำยาก

งานทางโลกเห็นไหมว่าทุกข์ยาก ทุกข์ยาก เรายังไหว้วานคนอื่นทำได้ เรายังจ้างคนอื่นทำได้ แต่งานของจิตจ้างใครทำไม่ได้ ไหว้วานใครกันทำไม่ได้ มันต้องทำของเราเอง ถ้ามันทำของเราเองขึ้นมาเนี่ย พอทำขึ้นมาเนี่ย งานที่ไม่เคยทำ งานบริหารจัดการทางโลกที่มันละเอียดขึ้นมา ที่มันบริหารผู้ที่เขาต้องมีประสบการณ์ของเขา เรายังทำ มันยังต้องหาผู้มีประสบการณ์เลย แล้วงานของจิตที่มันมีสติปัญญา สติปัญญาเห็นไหม พอปฏิบัติขึ้นไปเนี่ยจากสติปัญญา มันจะเป็นมหาสติมหาปัญญา มันจะเป็นปัญญาอัตโนมัติไปเรื่อยๆ ของมันเห็นไหม เนี่ยมันจะพัฒนาไปเรื่อยเลย

นั่น ถ้ามีผลงานอย่างนี้ ถ้ามันทำได้อย่างนี้เห็นไหม จิตของมันพัฒนาไปอย่างนี้ มันถึงจะได้ผลจริงๆ ขึ้นมา ถ้าได้ผลจริงๆ ขึ้นมานะ ใครที่มีหลักมีเกณฑ์ย้อนกลับไปดูได้เลย ย้อนกลับไปดูเหตุการณ์ที่เราทำแล้วที่มันไม่ได้ผลเนี่ย เราล้มลุกคลุกคลานเพราะเหตุใด แล้วเวลาเราปฏิบัติได้เนี่ย ที่เราได้ผลขึ้นมาเนี่ยเพราะเหตุใด ฉะนั้นทำไมเราถึงจะไม่มีความองอาจกล้าหาญ ไม่มีความจริงจังที่จะประพฤติปฏิบัติด้วยน้ำพักน้ำแรง ด้วยน้ำใจของเราล่ะ เพราะเราเห็นโทษ เห็นโทษของการที่มันฟุ้งซ่าน เห็นโทษที่ทำแล้วไม่ได้ผล เห็นคุณ เห็นคุณที่เรามีการอดนอนผ่อนอาหาร มีการประพฤติปฏิบัติมาแล้วมันเห็นผล

ถ้ามันเห็นโทษเห็นคุณเนี่ย ใครๆ ก็ทำได้ด้วยน้ำพักน้ำแรง ทำด้วยความจริงจังของเรานะ ไอ้นี่เราไม่เห็นคุณไม่เห็นโทษของมัน เทาๆ หมดล่ะ นั่นก็เป็นอะไร นี่ก็เป็นอะไร มันยังทำไม่ชัดเจน พอมันชัดเจนขึ้นไปแล้วนะ เห็นโทษเห็นคุณขึ้นมานะ มันเดินไปได้ละ พอมันเดินไปเพราะอะไร เพราะผิดมันก็รู้ว่าผิดแล้ว ถูกก็รู้ว่าถูกแล้ว

ถ้าผิดก็รู้ว่าผิดว่าถูกแล้ว มันก็จะเอาแต่ความทางที่ถูก ทีนี้ทางที่ถูกแล้ว กิเลสอย่างหยาบ กิเลสอย่างกลาง กิเลสอย่างละเอียด กิเลสอย่างละเอียดข้างหน้า ข้างหน้านะมันก็ละเอียดกว่านี้อีก มันก็ต้องสู้ไปกันมากกว่านี้อีก ต้องสู้ขึ้นไปเรื่อยๆ มันเป็นไปโดยธาตุนะ ดูสิ ดูอย่างพระโมคคัลลานะ พระสารีบุตรเห็นไหม พระโมคคัลลานะ นี่พระพุทธเจ้าบอกเลยเป็นไปโดยธาตุ ลูกศิษย์พระโมคคัลลานะนี่นะเนี่ยมีฤทธิ์หมดเลย ลูกศิษย์ของพระสารีบุตรปัญญาหมดเลย ลูกศิษย์เทวทัตลามกหมดเลย เข้ากันโดยธาตุ

นี้เข้ากันโดยธาตุ เราจะยกให้เห็นว่า ระหว่างพระโมคคัลลานะบิณฑบาตไป ในพระไตรปิฎก มันมีตระกูลหนึ่งเขาวิตกกังวลขึ้นมาว่าพระอรหันต์ยังมีอยู่หรือเปล่า เขาอยากจะพิสูจน์ใช่ไหม เขาเอาบาตรไม้จันทน์ไปกลึงเป็นบาตรขึ้นมา แล้วเอาไม้ไผ่สองลำผูกต่อขึ้นไป แล้วเอาบาตรไม้จันทน์ไปผูกไว้บนปลายไผ่นั้น แล้วบอกว่าถ้ามีพระอรหันต์จริงประกาศเลย ขอให้เหาะขึ้นไปเอาไม้จันทน์นั้น พระโมคคัลลานะกับลูกศิษย์มาด้วยกัน ได้ฟังเขาพูดกรอกหูทุกวันเลยว่าพระอรหันต์ไม่มี พระอรหันต์ไม่มี

ระหว่างพระโมคคัลลานะกับลูกศิษย์ของพระโมคคัลลานะสององค์คุยกัน ท่านเหาะขึ้นไปเอาสิ พระโมคคัลลานะบอกลูกศิษย์ว่าเหาะขึ้นไปเอาสิ ลูกศิษย์ก็บอกว่าอาจารย์เหาะขึ้นไปเอาสิ ต่างคนต่างว่า ต่างคนต่างให้ขึ้นไปเอาสิ เพราะเหาะขึ้นไปเอาเนี่ยไม่ใช่อะไรนะ เหาะขึ้นไปเอาเพื่อรักษาน้ำใจของเศรษฐีคนนี้ เพราะเขาไม่เชื่อ เขาไม่เชื่อว่ามรรคผลมี ถ้ามรรคผลมีจริง ถ้ามีพระอรหันต์จริง ขอให้พระอรหันต์เหาะขึ้นไปเอาบาตรใบนี้

ไอ้พวกอลัชชีเขาอยากได้กัน เขาก็บอกว่าอาจารย์เขาจะมาเหาะขึ้นไปเอา เขาก็คุยกับลูกศิษย์เขา คุยลูกศิษย์เขาบอกว่าเนี่ยเราจะแกล้งขึ้นว่าจะเหาะไปเอาไม้จันทน์นี้ เอาบาตรไม้จันทน์นี้ แล้วก็แนะนำกันไว้ เตี๊ยมกันไว้ว่าลูกศิษย์บอกว่าอาจารย์อย่าไปเอาเลย อาจารย์ไม่ต้องขึ้นไปเอาหรอก ให้เขาเอาลงมาให้เถอะ แค่บาตรไม้จันทน์ขนาดนี้มันจะมีอะไร เตี๊ยมกันไว้นะ มาถึงว่ายึกยักว่าจะเหาะ จะเหาะ ไม่เคยเหาะเลยเพราะมันเหาะไม่ได้ เขาก็ไม่ให้ ทีนี้พอเขาไม่ให้ เขาก็ยิ่งโพนทะนาไปเรื่อย

สุดท้ายแล้วนะลูกศิษย์พระโมคคัลลานะเนี่ยเหาะขึ้นไปเลย ฉวยบาตรไม้จันทน์นั้นเลย แล้วเหาะวนรอบเลยแล้วลงมา เศรษฐีนั้นมีความสุขมาก เศรษฐีนั้นก็มีความชื่นใจมากว่ามรรคผลนิพพานยังมีอยู่ พอมรรคผลนิพพานยังมีอยู่แล้วนะ ต่อไปนี้นะ พอต่อจากนั้นมาใครจะไปใส่บาตรนะก็ต้องให้ลูกศิษย์พระโมคคัลลานะเหาะให้ดูก่อน ให้เหาะให้ดูก่อน จนเรื่องนี้ไปเข้าถึงพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเลยบอกว่าบาตรไม้จันทน์น่ะเอามาบดซะ เอามาทุบทิ้ง ไม้จันทน์นั้นเอามาทำยา แล้วห้าม ห้ามไง ห้ามไม่ให้เหาะ

เนี่ยธาตุเห็นไหม เราจะบอกว่าพระโมคคัลลานะกับลูกศิษย์พระโมคคัลลานะ ทำไมเนี่ยคุยกันอยู่สององค์ ท่านเหาะสิ อาจารย์เหาะสิ ท่านเหาะสิ อาจารย์เหาะสิเพราะเขาทำได้ เพราะมันเป็นเรื่องปกติวิสัยของเขาโดยธาตุที่เขามีฤทธิ์ ลูกศิษย์ของพระโมคคัลลานะห้าร้อยเหมือนกันหมดเลยเป็นไปโดยธาตุ ลูกศิษย์ของพระสารีบุตรมีปัญญาหมดเลย เนี่ยมันเข้ากันโดยธาตุ โดยธาตุ โดยโจทย์ ธาตุอันนั้นก็คือความชำนาญมาเหมือนกัน ปฏิบัติเหมือนกัน ความรับรู้เหมือนกัน ทุกอย่างจะเหมือนกันไปตามประสาของเขา

แล้วของเราล่ะของเราเนี่ย เราปฏิบัติของเราเนี่ย เนี่ยถ้าเราปฏิบัติเราโดยธาตุ โดยธาตุก็คือความเป็นจริงที่มันเกิดขึ้น โดยโกหก โดยโกหกที่เราเห็นว่าโดยโกหกความเป็นเรื่องโลกๆ เห็นไหม อะไรสะดวกสบายเห็นไหม เขาก็คาดหมายกันไป แล้วเราก็สร้างภาพว่าอย่างงั้นดี อย่างนี้ดี อย่างนี้ดีแล้วเราได้อะไรกัน เราจะบอกว่า เวลาโยมปฏิบัติกันเนี่ยต้องทุกข์ แล้วเวลาทุกข์ขึ้นมาเนี่ย พอมันประสบความจริงเนี่ยโดยธาตุ โดยธาตุรู้ โดยธาตุของใจ โดยความเห็นจริงของหัวใจของเรา

มันจะเป็นโดยธาตุ โดยข้อเท็จจริง โดยความเป็นจริง ไม่มีใครจะมาแก้ไขธาตุความเป็นจริงในโจทย์ในหัวใจของเรา ให้เป็นไปอย่างที่คนอื่นปรารถนา ไม่มี ถ้ามันแก้ไขสิ่งนี้ไปตามความปรารถนาของเขา กรรมก็ไม่มีผลล่ะสิ สิ่งที่สร้างมา สิ่งที่เป็นมา ก็ไม่มีผลกับเราน่ะสิ สิ่งที่เราสร้างมา สิ่งที่เราทำมา มันมีผลกับเราเพราะมันเป็นโจทย์ มันเป็นโดยธาตุ

ถ้าสิ่งนี้เป็นโดยธาตุ แล้วเราทำตามธาตุ ทำตามข้อเท็จจริงที่มันเป็น แล้วเราเป็นคนซื่อสัตย์เห็นไหม เวลาซื่อสัตย์กับธรรมะขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า เราซื่อสัตย์กับธาตุรู้ของเรา เราซื่อสัตย์กับหัวใจของเราแต่เราไม่ซื่อสัตย์กับกิเลสนะ กูจะฆ่ามึง แต่เราซื่อสัตย์กับโจทย์ของเราเห็นไหม ตอบโจทย์ เราบอกแล้วโจทย์นี่เป็นเหมือนกัน

แต่โจทย์นี้มีกิเลสนี้คอยยุคอยแหย่อีกต่างหากเห็นไหม โจทย์ก็โดยธาตุ โดยความเห็น โดยกรรม โดยการกระทำ กรรมดี กรรมชั่ว มันเป็นอดีตมาแล้ว ในปัจจุบันนี้มันเป็นธาตุ เป็นเราอยู่แล้ว กิเลสมันมีมาตั้งแต่อดีตมันถึงได้สร้างกรรมอันนี้มา ถึงว่าเป็นโดยธาตุ พอโดยธาตุกิเลสมันยังตามมา มันยังมีแรงขับในปัจจุบันนี้จะขับเราต่อไปอีก ถ้าแรงขับต่อไปอีก แล้วปัจจุบันนี้เราเจอพุทธศาสนา แล้วเราพยายามประพฤติปฏิบัติ เราจะพยายามต่อสู้กับมัน นี้เราต่อสู้กับมันโดยธาตุ โดยข้อเท็จจริง จะเห็นสิ่งใด จะรับรู้สิ่งใด ตั้งผู้รู้ไว้ ตั้งสติไว้

หลวงตาเน้นหมด เน้นประจำ อยู่กับผู้รู้ อยู่กับพุทโธไม่เสีย แต่เวลาเขาสอนเขาบอกว่าห้ามรักษาผู้รู้ ไอ้ที่เรารับไม่ได้ตรงนี้ไง ถ้าห้ามรักษาผู้รู้ เราจะเริ่มต้นกันไม่ได้เลย เริ่มต้นก็ไม่มีสิ่งใด เริ่มต้นก็ปฏิเสธหมดเลย มันจะก้าวเดินไปไม่ได้ ต้องอยู่กับผู้รู้ก่อน ต้องอยู่กับผู้รู้ก่อน ต้องอยู่กับสติสัมปชัญญะ ต้องอยู่กับเราก่อน แล้วเอาเราเนี่ยแก้ไขเรา ถ้าไม่มีเราเลย เราก็ไม่มีอะไรก็ไม่มี ว่างๆ ว่างๆ เห็นไหม บอกว่างๆ ก็อากาศ ก็อวกาศ นี่ที่บอกสบายๆ ก็ทำง่ายๆ เพราะนี่ไง ง่ายเพราะการปฏิเสธไง

สัญชัยไง โน่นก็ไม่ใช่ แล้วไม่ใช่คืออะไรล่ะ ไม่ใช่ก็คือไม่ใช่ แล้วไม่ใช่คืออะไร ไอ้นั่นไม่ใช่ก็คือไม่ใช่ แล้วไม่ใช่ก็คือไม่ใช่ ปฏิเสธไปเรื่อย นี่ก็เหมือนกัน ว่างๆ ว่างๆ ปฏิเสธก็สบายนะสิ แล้วมันเป็นพุทธศาสนาไหม ถ้ามันไม่เป็นใช่ไหม มันไม่เป็น ถ้ามันไม่เป็นน่ะมันถึงจะต้องอยู่กับผู้รู้ อยู่กับพุทโธไม่เสียหรอก อยู่กับผู้รู้ อยู่กับพุทโธ ยิ่งอยู่กับผู้รู้ ยิ่งอยู่กับพุทโธมากขึ้น สิ่งที่รู้ที่เห็นที่จิตออกรู้นั่นน่ะ จิตออกรู้จะละเอียดขึ้น จะดีขึ้น

เพราะจิตออกรู้ จิตเห็นอาการของจิต เพราะจิตออกรู้ จิตออกรู้ จิตออกรู้มันจะทำลายวงรอบของมัน อุปจารสมาธิ อุปจาระวงรอบของจิต วงรอบของจิตอุปจารสมาธิ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ เห็นไหมไม่ใช่ฌาน ไม่ใช่ฌาน เขาบอกคำว่าฌาน ฌานน่ะ เพราะว่าถ้าฌานน่ะมันมีตำราไง ฌาน๑ ฌาน๒ ฌาน๓ ฌาน๔แล้วก็บอกไง ฌาน๑ ฌาน๒ ฌาน๓ ฌาน๔ มันเหมือนบันได มันก็อ้างอิงกันไป เราถึงบอกว่าฌานก็ไม่เชื่อว่าฌาน

ถ้าฌานว่าเชื่อเนี่ยรูปฌาน อรูปฌาน ทำยังไง เข้าถึงรูปฌาน อรูปฌาน แล้วถอยจากรูปฌานออกมาเนี่ยแล้วลงมารูปฌาน แล้วขึ้นจากรูปฌานขึ้นไปอรูปฌาน แล้วถอยลงมาจากอรูปฌานลงรูปฌาน ขึ้นๆ ถอยๆ เนี่ยแล้วเข้าออกอย่างนี้ แล้วทำแล้วมันจะมีกำลังอย่างไร มันจะรับรู้สิ่งใด มันจะเกิดอภิญญายังไง นั่นน่ะฌานๆๆๆ ฌานอะไรของมึง มันไม่ใช่ ถ้าฌานเห็นไหม หลวงตาเน้นเลย ไอ้เรื่องฌาน เรื่องแชน อย่ามาพูดกับเรานะ หลวงตาจะเน้นตลอด

แล้วหลวงตาก็ไม่เคยทำฌานเลย พุทโธ พุทโธ ไม่ใช่ฌาน ฌานคือการเพ่ง พุทโธๆ คือจิตสงบ พอจิตสงบเข้ามานะ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ เพราะเขาไม่รู้จักขั้นของความสงบว่า ขณิกระดับไหน อุปจาระขนาดไหน แล้วอย่างพวกเราเห็นไหม ขณิกเนี่ย พวกโยมทำกันสบายๆ กันน่ะนี่ขณิก อุปจาระวงรอบของจิตที่ออกรู้ มันออกรู้น่ะ ที่ออกรับรู้นั่นล่ะอุปจาระ ถ้าไม่ใช่อุปจาระ มันจะไม่รู้ตัวมันเอง ไม่รู้ตัวมันเองแล้วตัวมันเองจะไม่สามารถรู้วงรอบ

ถ้ามันสามารถรู้ตัวมันเอง แล้วรู้วงรอบได้ มันจะเห็นนิมิตไง นิมิตเกิดจากจิต วงรอบของจิตเห็นนิมิตเนี่ยโจทย์ โจทย์ใครโจทย์มัน โจทย์ของใครก็เห็นอย่างนั้น ใครมีบุญกรรมอย่างใด เนี่ยตอบตามโจทย์นั้น มันตามข้อเท็จจริง มะม่วงก็คือมะม่วงใช่ไหม ทุเรียนก็คือทุเรียนใช่ไหม จิตที่มันเป็นก็คือจิตที่มันเป็นใช่ไหม เนี่ยข้อเท็จจริงโดยโจทย์ โดยธาตุ โดยความเป็นจริง

ฉะนั้นพอปฏิบัติตามความเป็นจริงเห็นไหม หลวงตาพูดประจำ จิตจริง รู้ข้อเท็จจริง ใจเป็นจริง มันจะเห็นจริง ปัจจุบันนี้จิตปลอม ปลอมเพราะอะไรปลอมเพราะกิเลสมันครอบงำอยู่เห็นไหม มันเป็นสามัญสำนึกใช่ไหม มันถึงตัวมันเองไม่รู้สึกตัวมันเอง ตัวมันเองมันเป็นตัวมันเองไม่ได้ มันจะเห็นวงรอบที่เกิดมันได้อย่างไร ถ้าตัวมันเองมันหดสั้นเข้ามาจนเป็นตัวมันเองน่ะ วงรอบความคิดที่มันเกิดขึ้นน่ะ สิ่งที่เวรกรรมที่มันเกิดขึ้น นิมิตที่มันเห็นน่ะ นิมิตที่มันเห็นที่มันรับรู้น่ะ นั่นน่ะวงรอบของจิต

อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิเข้าไป ปุ๊บ พักสบาย.. สักแต่ว่าไม่เห็นอะไรเลย อัปปนาสมาธิ เขาบอกปัญญาไปเกิดตรงนั้น ตรงอุปจาระเนี่ยทุกอย่างจะเกิดที่ตรงอุปจาระ ทีนี้พอตรงอุปจาระเนี่ยนะ มันกำลังมากกำลังน้อย ถ้ากำลังน้อย สิ่งที่ทำมันเหมือนแบบว่า เหมือนกับว่าทำแล้วมันไม่สมดุล มันไม่จบ ต้องบริหารคือพยายามทำบ่อยครั้งเข้า ทำบ่อยครั้งจิตมันจะอ่อนลง ก็ต้องทำสงบขึ้นมาให้มากขึ้นแล้วรักษามัน ถ้าทำอย่างนี้นะเดี๋ยวจะควบคุมได้หมดเลย

เนี่ยนิมิตมาไม่เอาก็ได้ เห็นไหมดูสินี่ผู้ชำนาญนะ เจโตวิมุตติ พอจิตสงบแล้วเนี่ยกำหนดกาย กายขึ้นมาเลย พอกำหนดกายเนี่ย แยกแยะส่วนเลย แปรสภาพนี่ไง พอแปรสภาพ มันแปรสภาพให้ดูเลย แปรสภาพให้ดูเห็นไหม หลวงตาบอกเห็นไหม เวลาท่านดูของท่านน่ะ เวลาไปเห็นกายขึ้นมาแล้วเนี่ย บอกว่าเอาไฟเผา เอาไฟเผาพรึบมาเลย พอพิจารณาไป พิจารณาจิตสู่สภาพเดิมของเขาเนี่ย ทุกอย่างแปรสภาพหมดนะ หนัง เลือด เนื้อ เอ็น มันย่อยสลายหมดเลย มันเหลือแต่กระดูกไว้ บอกดิน ดินกลบพั้บ

ถ้าท่านพูดทำไมคนอื่นเข้าใจ ดินกลบพั้บเลย คือมันมาโดยธรรม มันมาโดยธรรมเนี่ยแผ่นดินกลบพั้บ ไม่มีอะไรเหลือเป็นแผ่นดินทั้งหมดเลย เนี่ยนี่ไง อุปจาระวงรอบของมัน แล้วจิตมันมีกำลังของมัน พอมันทำของมันบ่อยครั้งเข้า มันจะชำนาญของมัน ต้องชำนาญ ต้องทำบ่อย ชำนาญทำบ่อยแล้วมันจะเห็นกายนี้ โอ๊ย กายนี้เป็นไตรลักษณ์ กายนี้เป็นวิภาคะกายนี้มันไปสู่สภาพของเขา จิตมันแยกยังไง มันชัดเจนหมดนะ เนี่ยวิปัสสนา

ถ้ามันเนี่ยไม่มีงานอย่างนี้นะ แว้บ โสดาบันอย่างนี้ แว้บเนี่ย โอ้ ฟังไม่ได้เลยนะ เราฟังไม่ได้เลย แล้วพอบอกเป็นโสดาบันเนี่ยแว้บเป็น พอบอกเขาว่าพิจารณาจนสามัญลักษณะ แล้วจิตมันจะแว้บเห็นนิพพาน พอเห็นนิพพานก็เป็นโสดาบัน แล้วพอเราบอกว่าถ้าอธิบายไปที่อื่นนะ จุดอื่นเขาบอกว่านี่พิจารณาเป็นสามัญลักษณะ แล้วจิตจะรวมลงถึงอัปปนาสมาธิ คือสักแต่ว่าแล้วปัญญาจะเกิดเอง แล้วปัญญามันจะเป็นอัตโนมัติ

มีลูกศิษย์เขาหลายคนมาหาเราเนี่ย บอกเขาพิจารณาไปจนรู้เท่าหมด รู้ความเกิดดับหมด แล้วเขาก็พูดเองว่า ในขณะนั้นจิตของเขาเนี่ยเป็นอัตโนมัติแล้ว แล้วเขาก็นั่งรอนะ เขาจะพิจารณาอย่างงี้ตลอดเวลาให้ถึงจุดนี้ แล้วเขาก็นั่งรอว่าเมื่อไหร่ปัญญามันจะเกิดเอง เขานั่งรอกันอยู่ นั่งรอว่าเมื่อไหร่ปัญญามันจะเกิดเอง เพราะมันเป็นอัตโนมัติแล้วไง เพราะคำว่าเป็นไปโดยอัตโนมัติคือเขาไม่เห็นอย่างที่ว่าอุปจารสมาธิ เห็นการกระทำหรือปัญญาอบรมสมาธิที่เกิดการกระทำ

ถ้ามีการเกิดการกระทำเนี่ย มรรคญาณมันหมุน ธรรมจักรมันหมุน ปัญญามันหมุน พอปัญญามันหมุนเนี่ยเห็นไหม มรรค ๘ มันหมุน ทางอันเอก มรรค ๘ ทางอันเอก ทางพ้นทุกข์เนี่ย พอมันหมุนไปเรื่อยๆ นี่ ชำนาญไปเรื่อยๆ มันพัฒนาของมันไปเรื่อยๆ จนถ้ามันจะเป็นมรรคผลนะ มรรคสามัคคี มรรค ๘ เนี่ยมันสามัคคีกันเป็นเนื้อเดียวกัน มรรคญาณมันเกิด พอมรรคสามัคคีมันรวมตัวสมุจเฉทปหาน พั้บ ขาดหมดเลย พอขาดหมดเลยกายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ สังโยชน์ขาด

พอสังโยชน์ขาดเนี่ยดั่งแขนขาด เห็นชัดเจน พระโสดาบันผู้เป็นโสดาบันเห็นชัดเจน ทั้งรู้ ทั้งเห็นชัดๆ เจนๆ เลย สังโยชน์ขาดไปต่อหน้าเลย แล้วเห็นเลยว่าพลิกศพกิเลสเลย พลิกศพสังโยชน์ได้เลย เนี่ยถ้าจริงอย่างนั้นนะ มันเป็นความจริงอย่างนั้น ถ้าเป็นโสดาบันใครถามจะตอบได้หมดฉะฉานมาก ฉะฉานเพราะจิตมันจริง เพราะจิตมันจริง จิตมันพิจารณาของมันจนความเป็นจริง แล้วมันทำลายของมันตามความเป็นจริง

ทีนี้ของเราเริ่มเห็นเริ่มเป็นไปเนี่ย แล้วพอเห็นแล้วเนี่ย เห็นแล้วๆมันยังยื้อกันอยู่เนี่ย ยังเป็นสิ่งใดอยู่เนี่ย มันทำขึ้นมา กำลังเราทำขึ้นมา แล้วมันเสียอย่างเดียวเท่านั้นน่ะ เสียอย่างพวกโยมเนี่ยมันทำไม่ค่อยต่อเนื่อง เวลามันน้อย ไอ้ตรงนี้เราเห็นใจ จะบอกว่าต้องทำต่อเนื่อง ทำต่อเนื่อง เพราะทำต่อเนื่องเนี่ยนักกีฬาเนี่ยฝึกทุกวันเลย ฝึกทุกวันเลย อันนี้พอถึงก็ฝึกๆๆๆ เลย แล้วก็เลิกเลย ปีใหม่หน้ามันจะมาฝึกใหม่ พอปีใหม่หน้าจะมาเข้ามาฝึกอีกแล้วเอามาฝึกอีกทีแต่เนี่ยตรงนี้มันทำให้แบบว่ามันขาดช่วง ขาดตอน

ถ้าทำได้อย่างนี้พอโยมบอกว่าเห็นยังงั้น แล้วมันทุกข์อย่างนี้ มันยื้ออย่างนี้ มันเหนื่อยมาก มันเหนื่อยเพราะอะไรรู้ไหม มันเหนื่อยเพราะเราไม่เข้าใจ เหมือนคนทำงานไม่เป็น ทำงานยังไม่เป็น ยังไม่มีความชำนาญน่ะ มันจะหยิบผิดหยิบถูก คนที่ชำนาญมากจับพลัดจับผลู อะไรนะเป็นงานไปหมดเลย เพราะมันชำนาญ ถ้าจิตอย่างนี้ฝึกบ่อยๆ ฝึกจนชำนาญนะ ทำอย่างนี้มันติด พอมันทำไป พอมันหลุดไป อ้าว อ๋อ มันหลุดเพราะเราพิจารณาอย่างนี้นะ ถ้ามันหลุดไปแล้วเนี่ย ครั้งต่อไปเราทำยังไงต่อไป มันจะมีความชำนาญบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า

ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ เราพูดบ่อยมากเลย รักษาที่เหตุ ถ้ารักษาสมาธิ สมาธิเสื่อมหมด รักษาที่พุทโธ รักษาที่สติ สมาธิเอ็งจะไม่มีวันเสื่อมเลย ถ้าเอ็งไปรักษาสมาธินะ เสื่อมหมดเลย เพราะสมาธิเป็นผล สมาธิเป็นวิบากเกิดจากเหตุนั้น แล้วเราก็อยากได้สมาธิทุกคนน่ะ สุขๆ เนี่ยชอบ ไอ้ท่องพุทโธ พุทโธเนี่ยไม่ชอบเลย มันจะสุขๆ ก็มาจากพุทโธนั่นไง มันมาจากเหตุ มันไม่มาจากที่นี่หรอก มันมาจากเหตุ รักษาที่เหตุนะ สิ่งนี้จะคงที่กับเราตลอดไปเลย

แล้วเวลาวิปัสสนาไป นี่เวลามันเกิดสิ่งใดขึ้น จิตรู้ จิตเห็น แต่จิตรู้ จิตเห็นแล้วเนี่ย ตามโจทย์ ตามกรรม ตามจริต ตามนิสัย ตามการกระทำ แต่ถ้ามันเป็นทางโลกเห็นไหม ทางโลกจะเป็นสูตรสำเร็จต้องทำอย่างนี้หมด แล้วพอจิตของเราลงลึก ลงลึกไปรู้ ไปเห็นเข้าเนี่ย ผิดๆ ต้องกลับมาที่ไม่รู้ไม่เห็น กลับมาที่สามัญสำนึก ดึงให้จิตหยาบไง จิตปัจจุบันเราเนี่ย จิตเป็นสามัญสำนึก จิตของปุถุชน จิตของมนุษย์ แล้วพอเป็นสมาธิเนี่ยจิตมันลึกกว่า

เวลาจิตลงสมาธินี่นะ รู้ถึงบุพเพนิวาสานุสติญาณ จิตลงสมาธินะ ถ้าจิตมีกำลังนะ จิตที่มีอำนาจวาสนาเห็นเทวดา อินทร์ พรหม คือบอกจิตที่ลงสมาธิเนี่ย มันเทียบได้กับจิตเทวดา จิตอินทร์ จิตพรหมเลย แล้วจิตเนี่ยลงไปอย่างนี้ปั๊บเนี่ย แล้วปัญญามันเกิดจากตรงนั้น มันถึงชำระกิเลสได้ไง ปัญญาสามัญสำนึกเนี่ยมันเป็นปัญญาของปุถุชน ปัญญาของเราเนี่ย ปัญญาของเราปุถุชนมันแก้กิเลสไม่ได้ มันแก้กิเลสไม่ได้

แต่ถ้ามันลงสมาธิไปแล้วเนี่ย สมาธิคือฐีติจิต สมาธิคือรัง คือรวงคือรัง คือสถานที่คือที่อยู่กิเลส เข้าไประเบิดคูหาของจิต คูหาในรวงรังของมันเลย เนี่ยปัญญาไปเกิดตรงนั้น เราเวลาจิตมันสงบ เขาจะบอกว่าจิตลงสมถะ จิตมันลงสงบไปแล้ว จิตมันลงลึกไปเนี่ย ผิด ผิด ผิด ไอ้เราก็ไปห่วงเห็นไหมว่าจะผิดจะถูก เราก็ละล้าละลัง ละล้าละลัง ผิดถูกก็ขอเวลาเอาจริงๆ สักพักหนึ่งน่า ถ้ามันผิดจะรู้ว่าผิด

เราแปลกนะไปอยู่กับครูบาอาจารย์องค์ไหนก็แล้วแต่ ท่านจะสอนทฤษฏีอย่างไรก็แล้วแต่ เราจับไว้ได้หมดเลย แล้วเราจะมาลอง ลองหมด ที่สอนๆ กันในสังคมไทยเนี่ยเราลองมาหมด ลองเลย ลองหมายถึงว่าในหนึ่งเดือนนี้ ในหนึ่งปีนี้จะทำอย่างนี้ พิสูจน์กันให้เห็นดำเห็นแดงเลย แล้วก็เห็นจริงๆ ด้วย แล้วเห็นแล้วจะรู้ว่า อ๋อ อันนี้จะเป็นอย่างนี้ อันนี้จะเป็นอย่างนี้ อันนี้จะเป็นอย่างนี้

พอเห็นเป็นอย่างนี้แล้วเนี่ย มันเป็นเหมือนเครื่องมือแพทย์เนี่ย เอามารักษาเฉพาะโรคได้ไหม บางอย่างใช้ได้ บางอย่างใช้ไม่ได้ อ้อ..ใช้ไม่ได้นี่ไม่ใช่ ถ้าใช้ได้นี่ยังถูกอยู่ ยังไปได้อยู่ เพียงแต่คนใช้เป็น คนใช้ไม่เป็น ของที่เอามาใช้ได้ แต่ถ้าคนใช้เป็นก็เอามาใช้เป็นประโยชน์ได้ ของที่เอามาใช้ได้ คนใช้ไม่เป็นก็ใช้ไม่เป็นประโยชน์อยู่ดี แต่ของที่ใช้ไม่ได้เลยก็มี ของที่ใช้ได้บ้างก็มี

เนี่ยทดสอบมาเกือบทั้งนั้นเลย พอมีอะไรมาเพราะอะไร เพราะเราอยู่ครูบาอาจารย์มาหลวงปู่เจี๊ยะเล่าให้ฟังตั้งแต่หลวงปู่มั่นน่ะ ตอนที่เนี่ยเขาพิจารณาไอ้เนี่ย พวกอภิธรรมพวกต่างๆ เนี่ยไปใช่ไหม ดูจิตๆ ดูจิตเนี่ย แล้วเขาเอาหนังสือ หนังสือมันออกมาเยอะ หลวงปู่เจี๊ยะก็เล่า หลวงตาก็เล่าเนี่ยเวลานี้สังเกตได้ไหม สมัยที่อภิธรรมเข้ามาครั้งแรก สมเด็จพระสังฆราช คือวัดมงกุฎฯ แล้วก็มีปัญหากันในสังคมไทย ใครไปดูประวัติศาสตร์ แล้วประวัติศาสตร์ปั๊บเนี่ย ทีนี้วัดมงกุฎฯ เนี่ยจะต้องมีเครือข่ายเข้าไปถึงหลวงปู่มั่นได้

หนังสือคำสอนนี้มันก็เข้าไปถึงหลวงปู่มั่นที่บ้านผือ หลวงปู่มั่นเป็นคนโยนให้หลวงปู่เจี๊ยะดูเอง เจี๊ยะเอ้ย ดูนี่ หลวงปู่เจี๊ยะก็ไปนั่งดูหลายวันกลับมา ครูอาจารย์ นี่แค่สมถะ แค่นี้มันก็ลงสมาธิ เออ วงในเขารู้กัน…อย่างนั้นปั๊บ เขาก็เลยออกมาจนถึงสมเด็จสังฆราช ถึงบอกไม่ใช่ ไม่ใช่ มันแบบว่า มันทางวิชาการเนี่ยเราพูดออกมาให้มันเคลียร์เนี่ย มันอย่างที่ว่าโดยธาตุเนี่ยหลายเรื่องมาก หลายเรื่องมากที่ว่ามันเวลาที่ว่าหลวงตา หลวงปู่เจี๊ยะ ตอนอยู่กับหลวงปู่มั่นน่ะ มีอะไรน่ะ เอ้ย เจี๊ยะเอ้ยดูนี่ ท่านมหาดูตรงนั้น เนี่ยมันมีมาแล้วท่านเล่าๆ ต่อๆ กันมา

นี้พอมาถึงเรานี่ ไม่ต้องใครให้ใครมาบอก ไอ้หงบเอ้ยมึงดูทีไหมล่ะ มันมาเองน่ะ มันมาเองแล้วเราก็ดูของเราเอง ไอ้นี่เป็นยังไง ไอ้นี่เป็นยังไง แต่ถ้าพูดออกมานะ เราพูดออกมาเนี่ยมันจะมีประโยชน์อะไร หลวงตาบอกเลยนะ ผู้รู้นะ มี แต่ผู้รู้น่ะมีมากหรือมีน้อย แล้วผู้รู้พูดออกไปเนี่ยมันมีใครจะเชื่อผู้รู้นั้น อะไรก็ผิด อะไรก็ผิด ผิดมันทั้งนั้น แล้วพูดนี่มันรู้จริงหรือเปล่าวะเนี่ย สงสัยมันไม่รู้ อะไรมันก็ผิดไปหมดเลย ถูกมันมี แต่ความพูดออกมาถูกน่ะ โลกจะรับรู้ได้หรือเปล่าว่ามันถูก แต่บอกว่ามันผิด มันผิดน่ะเวลาพูดออกมา เอ็งจะรับรู้ได้ว่ามันผิดล่ะ

นี่ไงเพราะอย่างนี้ที่ว่าเราถึง… เพราะว่าครูบาอาจารย์ท่านจะบอก จะจริงหรือจะปลอมเนี่ย เราไม่ใช่พูดกันด้วยปากนะ เราได้พิสูจน์ตรวจสอบแล้ว แล้วพิสูจน์ตรวจสอบด้วยผู้รู้จริง มันก็อยู่ในวงของครูบาอาจารย์เราเนี่ย แล้ววงของครูบาอาจารย์คุยกันภายในมันจะมีตรงนี้ไง นี้เรามีอย่างนี้มาก่อน เราเคยรู้พื้นฐานอย่างนี้มา ฉะนั้นเรามาอยู่นี่ เวลามีแนวทางปฏิบัติอะไรเนี่ยมาใหม่ๆ จะไหลเข้ามา แล้วเห็นหมดล่ะ เพียงแต่บางอย่างมันจะค้านไป

มันที่ว่าอย่างหลวงตาเวลาท่านพลิกกลับน่ะ ท่านบอกว่าอะไรนะ นิพพานหนองเสม็ด ลูกศิษย์ของท่านไง บอกโอ๋ยหลวงตาได้นิพพานแล้วน่ะ นิพพานอยู่ที่หนองเสม็ดฉะนั้นเขาบอกว่าอย่างนี้นะให้กำหนดอย่างนี้นะ กำหนดอย่างนี้นะ ลูกศิษย์ก็กำหนดตาม พอกำหนดไปมันไม่ใช่แล้ว มันไปแล้ว พอไปเจอหลวงตาครั้งที่สอง โอ้ของหลวงตาสุดยอดเลย นิพพานหนองเสม็ดของหนูไม่ใช่แล้วแหละ ไม่ใช่เลย

เราจะบอกว่าคนพื้นฐานในการปฏิบัติ มันต้องมีที่ยึดที่เกาะ มีที่เป็นไป แล้วเราจะไปลบล้างหมดมันก็ไม่ได้ เพียงแต่บอกว่าถ้าผิดอย่างนี้ ควรทำอย่างนี้ แล้วมาเปรียบเทียบกัน แล้วทำอย่างนี้ พอเรานะ อย่างเด็กเนี่ย อะไรที่ประโยชน์มากกว่า เด็กมันต้องเอาสิ่งที่ประโยชน์สิ่งที่มากกว่าน้อยกว่าเป็นธรรมดา จิตเหมือนกันเราปฏิบัติไปแล้วนี่ เราเห็นอะไรที่มันถูกต้องกว่า ความเปลี่ยนแปลงมันคัดเลือกได้ จิตเปลี่ยนแปลงที่มันคัดเลือกได้ มันจะปล่อยอันนั้น

นี่ถ้าแก้โดยข้อเท็จจริงเลย ทีนี้ข้อเท็จจริง มันมีเวลาปฏิบัติไง มีเวลาทดสอบ แต่นี้ไม่เลย ปิดกั้นไม่ทดสอบอะไรเลย ทดสอบสิ อันนี้เขาว่าอย่างนี้ อันนี้เขาว่าอย่างนี้ ลองดูสิ แล้วอะไรจริงหรือไม่จริงเพราะความจริงมีหนึ่งเดียว อริยสัจมีหนึ่งเดียวเท่านั้น ไม่มีสองหรอก เราทดสอบมาหมดแล้ว เราก็ทดสอบนะ ทดสอบนิสัย ทดสอบเพราะอะไร เพราะหลวงตา หลวงปู่เจี๊ยะท่านเล่าให้ฟังว่า หลวงปู่มั่นให้ทดสอบอย่างนี้ ให้ทดสอบอย่างนี้ ให้ทดสอบอย่างนี้ แล้วท่านก็ทดสอบ

จริงๆ คือหลวงปู่มั่นรู้อยู่แล้ว หลวงปู่มั่นเนี่ยไม่ต้องทดสอบก็รู้อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าให้ลูกศิษย์ทดสอบจะได้ยืนกันว่าเห็นไหมมีพยานว่าผิด มีผู้รู้ว่าผิด แล้วมันก็เป็นเนื้อหาสาระขึ้นมาว่าผิด อย่างเรารู้ว่าผิด รู้อยู่คนเดียวนี่ กูก็ผิดในใจนี่ผิดๆๆ แล้วใครจะรู้ด้วยล่ะ เอ้าให้คนอื่นทดสอบ ทดสอบเสร็จแล้ว เขาชัดเจนว่าผิดใช่ไหม เขาก็เออ สองคนพูดมาก็เป็นหลักฐานขึ้นมาว่าผิด ทีนี้คนที่มันจะมีวุฒิภาวะอย่างนี้มันไม่มีไง

เห็นหลวงตาไหม บางทีท่าน อืม ไม่พูดสักคำ เขาพูดผิดต่อหน้าชัดเจนหมดเลยนะ ท่านก็อืม มันพูดออกไป ไปพูดกับใคร เหมือนคุยกับขอนไม้ เหมือนคุยกับขอนไม้จริงๆ เพราะไอ้ขอนไม้มันไม่รู้เรื่อง มันพูดจ้อยๆ มันพูดผิดๆ ต่อหน้านั่นน่ะ มีพระไปถามปัญหาเยอะ เรานั่งฟังอยู่ ท่านเฉย อย่างมากก็.. เราไม่ตอบ เราไม่ตอบ เพราะท่านขี้เกียจพูดกับขอนไม้ แต่ขอนไม้พูดได้นะ ขอนไม้มันพูดใหญ่เลย พูดด๊อดๆๆๆๆ เลยนะ แต่มันไม่รู้ตัว ท่านบอกเราไม่ตอบ ถ้ามันถูกก็คือถูก มันไม่รู้เลยไง แต่เวลามันทดสอบแล้ว มันเป็นแล้ว

ทีนี้เราย้อนกลับมาในการปฏิบัติของเรา เราถึงเห็นใจนะ มันตามธาตุ ตามข้อเท็จจริง มันเป็นยังไง เราต้องสู้ สู้อย่างนี้มันเป็นการยืนยันแล้วว่าเราได้จับ เหมือนกับเราได้รู้ได้เห็น ได้จับ ได้ต้อง จิตเราเป็นอย่างนี้ ความรู้สึกเราเป็นอย่างนี้ เราได้ขนาดนี้ แล้วพออย่างนี้ปั๊บ ย้อนกลับไปที่พระไตรปิฎกสิ พระไตรปิฎกบอกว่าขนาดนี้ เราได้ขนาดนี้แล้ว ถ้าสิ่งที่ไม่รู้ก็วางไว้ก่อน แล้วเราพยายามทำไป ถ้าเรารู้แล้วไปดูพระไตรปิฎกไม่มีผิดเลย

แต่ถ้ายังไม่รู้ไปดูพระไตรปิฎกก่อนเนี่ย เราจะไปเอามรรคผลในนั้น เราจะต้องเอาในนั้นเลย แต่เราไม่เอามรรคผลในใจ สุข ทุกข์ เพราะเราเกิด เราตาย มันจะเป็นมรรคเป็นผลต้องในหัวใจเรา ในจิตเราต่างหาก ในพระไตรปิฎกเป็นสมบัติขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเมตตาพวกเรามาก วางไว้เป็นหลักเป็นเกณฑ์ให้พวกเราได้เป็นหลักเป็นเกณฑ์ เป็นธงชัย เป็นที่นำ แต่ถ้ามันจะเกิดจริง มันจะเกิดบนหัวใจของเรา ในการประพฤติปฏิบัติของเรา ในความเป็นจริงของเรา เอวัง