กลับหัวกลับหาง
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
เทศน์เช้า วันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๔๐
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
ศาสนาตอนนี้มันกลับหัวกลับหาง แต่เดิมมาศาสนาไม่มี พระพุทธเจ้าจะไปตรัสรู้ได้ ต้องเกิดเป็นพระพุทธเจ้าก่อน แล้วกว่าจะตรัสรู้ พระพุทธเจ้าต้องไปศึกษากับลัทธิต่างๆ มามหาศาลเลย อุทกดาบส อาฬารดาบสเห็นไหม จนทำได้ จนเขาประกันนะ ตอนพระพุทธเจ้าจะไปศึกษา เข้าสมาบัติทีแรกได้สมาบัติ ๖ แล้วได้สมาบัติ ๘ ก็ครบ สมาบัติอยู่ทางนี้ สมาธิอยู่ตรงนี้
ในเรื่องของสมาธินี้พอเข้าสมาบัติมันจะมีพลังงานในจิต อย่างที่ว่ากาลเทวิลระลึกอดีตชาติได้ อนาคตได้เป็นสิบๆ ชาติ แต่เวลาพระพุทธเจ้าประสูติ มาดูจะร้องไห้เลย พระพุทธเจ้าก็เป็นแบบนั้น ไปศึกษาจนอาจารย์เขาบอกเลย สมณโคดมอย่าไปไหน อยู่กับเรา ช่วยกันสอนลูกศิษย์ เพราะว่าความรู้เสมอเรา นี้อาจารย์ประกันแล้วนะ อาฬารดาบสประกันแล้วว่าความรู้นี้เสมออาจารย์ ให้อยู่ช่วยกันสอนคน
พระพุทธเจ้าบอกว่า ไม่ได้ มันยังทุกข์ ความทุกข์ในหัวใจยังไม่รู้ คนมันซื่อตรงกับตัวเองไง นี่นักปฏิบัติมันต้องซื่อตรงกับตัวเอง ถ้าไม่หลอกตัวเอง คนอื่นหลอกไม่ได้หรอก เราซื่อตรงกับตัวเองนะ เทียบสิ ไอ้ที่ว่ามีผลที่ได้ประโยชน์กัน ลองเทียบมาที่ใจ ว่าทุกข์หรือไม่ทุกข์ เรายังว่า เชียงใหม่เหมือนกัน รอนี่ ทุกข์หรือไม่ทุกข์ มันต้องทุกข์ มันต้องเฉา
ถ้าคนนั้นมันไม่เป็นธรรมชาติ อันนั้นมันเป็นธรรมชาติของมันนะ ใช่ไหม เราบอกมันเป็นธรรมชาติคือว่ามันเป็นในตัวมันเอง แต่ตัวธรรมชาติเองก็ไม่ใช่ธรรม เพราะตัวธรรมชาติมันเห็นไหม เวลาเราว่า ธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมะเป็นธรรมชาติ สัพเพ ธัมมา อนัตตา ธรรมทั้งหลายนี้เป็นธรรมชาติ แต่ผู้รู้ธรรมชาติแล้วเหนือธรรมชาติไง ผู้รู้ธรรมชาติถึงจะใช้ธรรมชาติให้เป็นประโยชน์ได้ใช่ไหม เพราะเราก็เป็นธรรมชาติอันหนึ่ง
แต่พูดถึงวันนี้ เราเปรียบคำว่าธรรมชาติหมายถึงว่า จิตดวงนั้นมันเป็นธรรมโดยธรรมชาติ คือว่ามันเป็นตัวมันเองไง ไม่มีใครปั้นแต่ง มันเป็นไปโดยอัตโนมัติ แล้วมันถึงเป็นสุข แต่ถ้ามันยังไม่เป็นสุขอยู่ มันต้องมีความเฉา มันต้องมีความแปรปรวน ความแปรปรวนคือเป็นอนิจจัง สรรพสิ่งทั้งหลาย ธรรมะพระพุทธเจ้าสอนยังเป็นอนัตตา ในบทสวดมนต์ ทำวัตรเช้า-ทำวัตรเย็นมีทั้งนั้น สัพเพ ธัมมา อนัตตา บอกเลย สัพเพคือ ทั้งหมด ธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหมดเป็นอนัตตาทั้งหมดเลย ว่าธรรมนี้ไม่ให้ยึดไง
พระพุทธเจ้าสอนถึงหลักธรรมก็ไม่ให้ยึดนะ ถ้ายึดธรรมก็เหมือนกับเรามาวัดแล้วยังนั่งในรถ ยึดความรู้ไง ยึดความรู้นี้ เราต้องการชำระความรู้นี้ เราต้องชำระกิเลส กิเลสนี้มีอยู่ ถ้าเรายึดความรู้นี้อันนั้นจะทำให้เราก้าวเดินไม่ได้
เราอยากจะนอนพอถึงก็นั่งไว้เลย ขึ้นบนเตียงก็ไม่นอนได้ไหม ขึ้นเตียงก็นอนลงถึงจะถึงคำว่านอน นั่งอยู่คือตัวกิเลสไง ตัวความเป็นไปของความรู้สึกอันนั้น ตัวความคิดไง ตัวความคิดคือตัวของมัน ตัวความคิดนะ แล้วกิเลสมันอยู่หลังความคิดนั้น พอมีตัวความคิดอยู่มันก็นั่งอยู่ มันนอนไม่ได้ จิตนี้มันสงบไม่ได้ จิตนี้ต้องอยู่ในสภาพแบบนั้น นี่มันถึงว่าไม่ให้ติดธรรม ต้องให้ปล่อยก่อน เพื่อจะไปดูตัวกิเลสตัวนั้น
ฉะนั้นสัพเพ ธัมมา ถึงได้อนัตตาไง พระพุทธเจ้ากว่าจะมาตรัสรู้อันนี้ได้ เกิดพระพุทธเจ้าก่อน แล้วเกิดพระธรรม เห็นไหม ถึงได้มีสาวก ๒ คนที่ถึงพระพุทธเจ้ากับพระธรรมก่อน แล้วออกมาเทศน์ปัญจวัคคีย์ จนพระอัญญาโกณทัญญะรู้แล้ว ถึงเกิดพระสงฆ์ พระรัตนตรัยถึงได้เกิด พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มันถึงว่าสอนมาเพราะไม่มีรูปแบบ ไม่มีอะไรเลย มันถึงเข้าถึงธรรมะได้
ตอนนี้มันออกมาเป็นศาสนพิธี ไม่ใช่ว่าผิด ถูกต้องอยู่ ถูกต้องสำหรับในการปฏิบัติ ในการเป็นเครื่องดำเนินเข้ามา แต่มันจะทำให้เกิดการติดขัด ศาสนาพิธีไง เราติดพิธี เราติดรูปแบบสำเร็จรูป แต่กิเลสมันไม่สำเร็จรูป กิเลสมันเข้าทุกช่อง แต่ความสำเร็จรูปอันนี้ กิเลสอาศัยอันนี้ แล้วนี่เป็นสูตรสำเร็จมาเลยเห็นไหม อภิธรรมเป็นสูตรสำเร็จมาทั้งหมด
ท่านบอกเป็นสูตรไง เป็นเหมือนสูตรคณิต เลขคณิต อาการของใจ อยู่ในพระวินัยนะ แต่อ้างบุคคลว่าพระทำผิดอย่างนั้น คนทำผิดอย่างนี้ อยู่ในสุตตันตปิฎกก็เหมือนกัน จะอ้างบุคคล แต่ในพระอภิธรรมนี้ไม่อ้างบุคคลเลย อ้างแต่อาการของจิตไง อ้างไปเรื่องปรมัตถ์เลย นั่นอภิธรรม อันนั้นมันเป็นสูตรไง แต่เราไปยึดตัวสูตร มันไม่มีช่องการต่อสู้
แต่ถ้าเรามาศึกษาสุตตันตปิฎกสิ มันมีการกระทำ มันเป็นวิธีการ แต่นั่นเป็นตัวสูตร เราไปรู้ตัวสูตร แต่เราไม่สามารถจะชำระมันได้ เรารู้ตัวสูตร แต่วิธีการทำอย่างไร เราถึงไม่เชื่อ เราก็ยังไม่เชื่อนะ ก็ว่าเป็นไป นี่เราไปตรงนั้นมันถึงกลับหัวกลับหางไง
จากที่ว่าเราเริ่มเดินเข้าไปจะทำ เข้าไปหา เข้าไปต่อสู้กับมัน แต่นี้ไม่เป็นอย่างนั้น ไปเอาผลมันมาก่อน แล้วมันเป็นอย่างนั้น แล้วนึกให้จิตเป็นอย่างนั้น ถึงเป็นธรรมะด้นเดาไง เพราะจิตเป็นอย่างนั้น ว่างอย่างนั้นๆ ว่าง..
เราถึงได้พูดประสาเราเลยว่า เป็นมิจฉาทิฐิเลย มันคาดการณ์ไว้ก่อนไง คือว่าเป็นสมาธิก็เป็นมิจฉาสมาธิ มันวาดรูปแบบไว้ รูปสูตรสำเร็จมาสวมเอาๆ ก็เป็นหุ่นยนต์นะสิ เป็นธรรมะหุ่นยนต์ เป็นธรรมะสำเร็จรูปเลย ต้องเป็นอย่างนั้นเลย เป็นอย่างนั้นเลย แล้วก็อบปี้ออกมาเลยนะ นี่โคลนนิ่งเลยแหละ จะให้ออกมาเป็นอย่างนั้นๆ เลยล่ะ กูจะก็อบปี้อย่างนั้นๆ แล้วจิตของคน พระพุทธเจ้าถึงวางไว้ทั่วไปหมดไง
พระพุทธเจ้าบอกว่าจริต ๔๐ อย่าง แม้แต่การเข้าสมาธินะ แล้วเรื่องของปัญญานี่ อย่าว่าแต่ ๔๐ เลย ร้อยแปด ต้องเป็นของบุคคลนั้นแล้วต้องเกิดเดี๋ยวนั้นด้วย มันเกิดโดยธรรมชาติมันถึงจะเข้าไปชำระธรรมชาติได้ ใจต้องชำระใจ จิตต้องชำระจิต ไม่มีทางที่ว่า ทำอย่างนั้นๆ แล้วจะให้เป็นไป ถึงว่าจะต้องมีภาวนามยปัญญาไง
มันกลับหัวกลับหาง ชาวพุทธกลับหัวกลับหางหมด แล้วเลยกลายเป็นศาสนาอะไรก็ไม่รู้ ว่าอย่างนั้นเลยนะ เรื่องศาสนาพุทธเรานี้ ประเสริฐจริงๆ แต่ชาวพุทธเป็นตัวหนอนเจาะกันเอง ชาวพุทธนี่แหละทำลาย
พระพุทธเจ้าถึงบอก ไม่มีใครทำลายศาสนาหรอก ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาเท่านั้น นี่เคลื่อนออกมานะ ถ้าลองสอนกันอย่างนี้เคลื่อนออกมา เคลื่อนออกมา เป็นรูปแบบหมด จำมาเป็นรูปแบบหมด มันไม่เกิด ลองมันเกิดดูสิ ไม่มีหรอก เราถึงว่านะเวลาสมาธิมันเกิด เกิดสมาธิที่ว่าเขาทำกันอย่างนั้น มันเป็นสมาธิ มันเป็นอารมณ์กับสมาธิ สมาธิที่ว่าความรู้สึกเลยนะ แล้วพอมาสมาธิแบบสัมมาสมาธิ คอยดูสิมันว่างต่างกัน
ก็เหมือนกดไว้ กดไว้อย่างหนึ่ง แต่ไม่ได้กดไว้ มันว่างต่างกัน พอว่างต่างกัน มันจะเกิดเป็นนิมิตได้ สมมุติว่าเราไปกดไว้ หรือว่ามันเป็นอารมณ์ที่ว่า มันเจือด้วยความรู้สึกอันนั้นแล้ว เห็นไหม มันเต็ม
แบบว่าโอ่งน้ำเราใส่น้ำใสเต็มหมดเลย กับโอ่งที่ไม่มีน้ำเลย ในโอ่งนั้นสามารถจะใส่อะไรได้จริงไหม เพราะความใสของน้ำกับความใสของอากาศต่างกัน นี่สมาธิมันต่างกันอย่างนั้น ถ้ามีน้ำเต็มใส่เข้าไปไม่ได้ มันก็อยู่อย่างนั้น มีความสุข สมาธิ โอ้โฮ ดีอกดีใจกันที่เขาทำกันนั้น แต่ถ้าโอ่งน้ำว่างหมดเลยนะ มันมีความว่างในโอ่ง เราใส่อะไรเข้าไปได้ใช่ไหม
พอจิตมันว่างตรงนั้นปั๊บ มันจะเกิดสภาวะตามเป็นจริงไง จิตที่มันว่างอย่างนี้ มันจะเกิดอะไรขึ้นมา เราได้พิจารณาได้ จับตัวมันมาฆ่าไง ในโอ่งนั้นมันมีความว่าง มันมีเวทีต่อสู้ ใช่ไหม กับในโอ่งนั้นเต็มอะไรก็เข้าไปไม่ได้แล้ว แล้วก็ใช้กันอยู่อย่างนั้น นี่ที่เราพูดว่าสัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิ เราว่าอย่างนี้ เราเปรียบอย่างนี้
ถ้าเป็นสัมมาสมาธิ เห็นไหม โอ่ง ว่าง.. โล่ง.. แล้วพร้อมที่จะต่อสู้ต่อไป เพราะโอ่งมันว่าง สมบัติเขา ในโอ่งนี้เอาเพชรมาใส่เต็มโอ่งก็ยังใส่ได้ น้ำเต็มแล้วเอาอะไรไปใส่มัน หนึ่งไปใส่มันไม่ได้ สองมันไม่ให้ใส่ นี่พูดถ้าเป็นน้ำเอาอะไรใส่ไปก็ใส่ได้ เพราะมันนิ่มใช่ไหม
แต่ความเห็นทิฐินี้มันสำคัญมาก ลองไม่เปิดรับแล้วเข้าไม่ได้หรอก ไม่มีทางเลย แล้วจะพิจารณาอะไร พิจารณาข้างนอกอีกหรือ โอ่งน้ำเต็มแล้วใช่ไหม ไอของโอ่ง พอมันโดนน้ำมีกระแสไอเย็นก็ออกรู้ไง ออกรู้ข้างนอก รู้โน่น รู้นี่ โอ้โฮ รู้ไปหมด รู้บ้า ปัญญาส่งออก ไม่ใช่ปัญญาเข้า ปัญญาเข้า ปัญญาภาวนา ปัญญาในโอ่งนี่ ความบ้าในโอ่งนี่ เกิดสภาวะในโอ่งนี้ ต่อสู้กันในโอ่งนี้ ต่อสู้กันที่จิตไง ต่อสู้กันที่กิเลสนี้ กิเลสอยู่ที่หัวใจไง ต่อสู้ในหัวใจ นั่นนะ อันนี้สำเร็จ อันนี้เข้าใจอันนี้แล้วนะ โลกนี้ไม่มีอะไรปิดบังได้ มันต่างกัน กลับกันเลย
กลับหัวกลับหาง ตั้งแต่การเคารพนับถือ กลับหัวกลับหางตั้งแต่การปฏิบัติ กลับหัวกลับหางทั้งนั้นเลย แล้วก็เสกสรรปั้นยอกัน เพราะอะไร เพราะมันเข้ากับโลกได้ มันอธิบายได้ไง อย่างธรรมะนี่ นิพพานคืออะไร นิพพานคือหุบปากแล้วนิ่งเงียบเสีย นิพพานคือหุบปากแล้วเข้าไปในป่า อย่าไปยุ่งกับใคร เพราะโลกไม่มีใครรู้ แต่ถ้าอ้าปากคุยได้ อุ้ย! เก่ง.. เก่งมาก.. ถูกต้อง.. แล้วจ้างกันลงทะเล นี่มันต่างกันทั้งหมดเลย ต่างกันทั้งนั้นเลย
แต่นี่ก็ยังพูดออกมาเพื่ออย่างนี้ เพราะ โอ้โฮ ร้องโอ้โฮ เลยนะ ถึงว่าชีวิตนี้สั้นนัก ชีวิตนี้สั้นนักนะ ชาติหนึ่งนี้สั้นนิดเดียวเลย เราไปคิดว่าชีวิตนี้ ๘๐ ปี อย่างเมื่อก่อน ๘๐,๐๐ ปีว่ายาวมาก พระพุทธเจ้าแทบไม่ให้ดูวันคืน
วัฏวนนี้ ฟัง!! วัฏวนนี้ เปรียบเหมือนคนที่เดินกลางทะเลทรายมาจนจะตายอยู่แล้ว เหนื่อย ไม่มีอาหารกิน เหงื่อซก แล้วมองไปข้างหน้า ทางยังมีอีกหนึ่งโยชน์ ทางใกล้ๆ หนึ่งโยชน์ แต่คนไม่สามารถไปแล้ว คือว่าเอาความสุขเข้าเทียบไง ความทุกข์ของคนนี่แหละ กลางทะเลทราย อดข้าว อดน้ำมา แล้วนอนตากอยู่กลางทะเลทราย แล้วยังต้องเดินไปอีก มองไปข้างหน้าสิ นี่วัฏวนเป็นอย่างนั้น นี่ก็เหมือนกัน ชีวิตเป็นอย่างนั้น เกิดมาๆ
ที่ว่าวันคืนๆ นี้แป๊บเดียว แต่ความทุกข์สักอยู่ที่ใจ คือมันไม่มีที่สิ้นสุด เดินจนเดินไม่ไหวแล้วก็ได้แต่นั่งมองไปอย่างนั้นไปข้างหน้า แล้วอากาศร้อนขนาดนี้ยังมองไปอีกในวัฏฏะ คือว่ามันต้องไสไปไง ยังต้องไปอีกข้างหน้า ไม่มีที่สิ้นสุด แต่วันคืนนี่เป็นสมมุติ แค่เรามาดีอกดีใจกันเท่านั้นเอง
นี่ไงบวชมา ๒๐ ปีแล้ว กูเป็นหัวหน้าแล้วนะ สมมุติว่าสำคัญตนแล้วนะ อาวุโสไง ไปขี่เขาแล้ว กิเลสมันหนุนหลัง ฉันนี้เป็นผู้ใหญ่แล้วนะ ไอ้นั่นก็เป็นเด็กมานะ พอเราจะตายขึ้นมา โอ้โฮ อยากกลายไปเป็นเด็กใหม่ เพราะอะไร เพราะตายไปข้างหน้าไม่รู้เรื่องอะไรเลย เป็นเด็กใหม่ยังอยู่ด้วยกัน ยังมองเห็นอยู่
อะไรก็ได้ที่มันจับต้องหรือว่ามันหยิบต้องได้ มันต้องเอาของจริงไว้ก่อนไง นี่มันถึงไม่เชื่อใจ แต่ถ้าเรารักปฏิบัติสิ เราเชื่อพระพุทธเจ้าสิ ที่เขาว่าตาย มีหรือไม่มีไง ถ้าทำความดีไว้ก็รีบตายไปเสวยบนสวรรค์ นี่ก็เหมือนกัน ลองทำสิ ทำขึ้นมา ทำไมถึงไม่รีบไปเสวยสวรรค์ สวรรค์ยังไม่อยากได้มึงนะ อยากจะให้มันไม่มีเลย เพราะอะไร เพราะมันอย่างนี้ไง
สวรรค์ในอกนรกในใจ ต่อเมื่อปฏิบัติปัจจุบันนี้ แล้วมันจะไปสวรรค์ไหนอีก ถ้าสวรรค์ในอกมันมีแล้ว เงินเต็มกระเป๋า เงินเต็มพร้อมแล้วมันจะไปไหน มันรู้ๆ อยู่ทำไมมันจะไม่ไป แต่ทำไมไม่ตัดคอไปเสียล่ะ มันจะได้ไปเสวยสวรรค์ อันนั้นมันกลับตกนรกสิ สวรรค์อยู่เต็มหัวอก (เทปขัดข้อง)
เรื่องขณิกสมาธิไม่ได้เทียบกับตรงนั้น เราเทียบให้ดูเป็นแบบอย่าง ถ้าฟังธรรมมันต้องเป็นขั้นตอน เขาเรียกว่าภูมิใจไง ภูมิใจหมายถึงว่าขั้นนี้เป็นอย่างนี้ๆๆ แต่ไอ้นี้ไม่ได้พูดถึงขั้นตอน พูดถึงการเปรียบเทียบว่า สมาธิที่ว่าถูกต้อง หรือสมาธิที่ว่าไม่ถูกต้องไง นี่เทียบอย่างนั้น
สมาธิไม่ถูกต้องหมายถึงว่าสมาธิที่ว่าพวกมิจฉาเลย เราใช้คำว่ามิจฉาเลย เพราะมรรคมีองค์ ๘ มิจฉาสมาธิกับสัมมาสมาธิ สมาธิที่มันเป็นสมาธิในศาสนาพุทธเรา กับสมาธิที่เป็นพวกไสยศาสตร์ พวกที่มันเล่นของ นั่นเป็นสมาธินอกศาสนา สมาธิอย่างนั้นมันถึงไม่ใช้ประโยชน์ไง หมายถึงว่าเป็นเหมือนน้ำเต็มโอ่งไง หรือว่าเป็นสมาธิที่ว่าเพื่อเอาพลังงานมาใช้อย่างอื่น
แต่สมาธิของเรานี้ มันเป็นสมาธิมีความสุขอยู่แล้ว แล้วยังมีที่ว่างๆๆ สำหรับจะทำงานต่อไป ว่างนี้ได้วิปัสสนาไง ว่างมันถึงชำระกิเลสไง แต่สมาธินั้นไม่ชำระกิเลส มีแต่จะเพิ่มโทษ เพราะจะไปทำลายคนอื่น จริงไหม ถ้าสมาธิแบบนั้นมีแต่จะเสกมนต์ดำ จะทำคุณไสย เห็นไหม อันนั้นเราเปรียบเทียบอย่างนั้น สมาธินี้เขาไปทำอย่างนั้นล่ะ
แต่ขณิกสมาธิหมายถึงเราเริ่มหัดทำสมาธิ พุทโธๆๆ หรือกำหนดลมหายใจเข้า-ออก แล้วจิตมันเป็นปกติใช่ไหม จิตมันเริ่มสงบลง จิตมันเริ่มสงบลง พอจิตเริ่มสงบลงเล็กน้อย แล้วคลายออก หัดเข้าไง
แบบว่าเราเข้าบ้าน เราเปิดประตูบ้านเดินเข้าไปถึง แล้วก็เดินออก มันไม่เข้าไปลึก นี่ขณิกสมาธิ คือสมาธิแบบเล็กน้อย ต่างจากอบรมธรรมดานี้ นี่เขาเรียกขณิกสมาธิ ขณิกะคือว่าของเล็กน้อยไง ขณิกะ นิดๆ หน่อยๆ นี่ขณิกสมาธิ ลึกเข้าไปรู้สึก รู้รสของสมาธิบ้าง แต่ก็ยังดีกว่าไม่เป็นสมาธิเลย นี่ขณิกสมาธิ
คำว่าขณิกะ ของเล็กน้อยไง ถ้าแปลศัพท์นะ สมาธิเล็กน้อย เล็กน้อยขนาดไหนล่ะ คือว่าเล็กน้อยนี้ก็ไม่เด็ดขาด เพราะว่าคนนี้สมาธิอย่างนี้ คนนี้มีบารมีอย่างนี้ เล็กน้อย บางคนเล็กน้อย ทำไมขึ้นไปอยู่ข้างบนนู้นนะ บางคนเล็กน้อยๆ ใช่ไหม ความรู้สึกเห็นไหม นี่ขณิกสมาธิ
แล้วถ้ากำหนดเข้าไปอีก ขณิกสมาธิกำหนดเข้าไป มันจะเป็นอุปจารสมาธิ สมาธิลึกเข้าไปแล้วนะ สมาธิอันนี้จิตมันจะเป็นสมาธิ โดยจิตมันปล่อยวางลึกเข้าไป ปล่อยวางหนักเข้าไป อันนี้จะมีพลังงาน พลังงานนี้มันจะคลายตัวออก อุปจาระไง อุปจาระบริเวณรอบ
จิตนี้เข้าไปถึงจุดศูนย์กลางแล้วมันคลายตัวหมุนออกมา ขณะคลายตัวหมุนออกมา มันเป็นที่ว่าจิตนี้มีพลังงาน เพราะจิตนี้มันต่างจากปกติ มันจะเห็นไง เห็นผี เห็นเปรต จะไปเที่ยวไหน อันนี้ตรงนี้ สมาธิที่อยู่ตรงกลาง
สมาธิมี ๓ ขั้นตอน ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ
นี่พูดถึงฝ่ายปฏิบัตินะ ประเดี๋ยวจะพูดฝ่ายปริยัติให้ฟัง เดี๋ยวจะงงอีก ถ้าพูดอันนั้นเดี๋ยวหัวแตกเลย นี่ฝ่ายปฏิบัติเขาจะมาแบ่งไว้ ๓ ขั้นตอน ให้เห็นว่าช่วงไหนๆ เพื่อจะสื่อความหมายกัน
นี่อุปจารสมาธิไปเห็นเทวดา ไปเห็นผีเห็นเปรต นี่ตรงนี้ แล้วมันก็ต้องเป็นที่ว่า จิตที่มีคุณประโยชน์อันนี้ด้วย แบบว่าจิตที่ตรงกับนิสัย บางดวงไม่มีอะไรเลย เป็นอุปจาระก็เป็นอุปจาระเฉยๆ เข้า-ออกก็อยู่เฉยๆ อย่างนั้น แล้วถ้าคนฉลาด คนอยากจะพักผ่อน กำหนดให้เข้าไปอีก มันจะได้อัปปนาสมาธิไง อันนี้ลมหายใจเริ่มขาด ความรู้สึกจะไม่มีเลย ความรู้สึกรับรู้เสียงภายนอกจะไม่มีเลย จะสนิทหมด สนิทจนเงียบ สักแต่ว่ารู้ ไม่ใช่เงียบหลับ ไม่ใช่ว่าหลับ หรือว่าไม่รู้เรื่องนะ รู้! แต่รู้ภายใน เขาเรียกว่า สักว่ารู้
อย่างเรานี่รู้ธรรมดา เสียงกระทบหูนี่รู้ ความรู้สึกรับรู้ธรรมดาเขาเรียกว่ารู้ธรรมดา อันนั้นสักว่ารู้แต่พูดไม่ได้ รู้อยู่นะ แต่พูดไม่ได้นะ ความรู้อันนั้นพูดไม่ได้เลยว่ารู้ เพราะรู้ก็ต้องรู้ธรรมดานี่สิ นี่ถึงใช้คำว่าสักว่ารู้ อันนั้นไม่ใช่อุปจาระ เพราะอุปจาระ ออกมารับรู้ อันนั้นรับรู้ไม่ได้เลย แต่รู้อยู่ แต่รับรู้อะไรไม่ได้เลย อันนั้นลึกเข้าไปอีก อันนั้นถึงว่า ครูบาอาจารย์ถึงสอนไงว่าตรงนี้ไม่ใช่ ไม่ใช่ที่ว่าจะพิจารณาได้ เห็นไหม ให้ถอนตัวออกมาไง
ตรงนี้เป็นที่พัก ที่เพิ่มพลังงาน พลังงานนี้มากกว่าพลังงานข้างนอกนี้ นี่อุปจาระนี่พลังงานอันหนึ่ง แต่พลังงานอันนี้ยิ่งหนักกว่าอีก นี่พูดถึงว่าฝ่ายปฏิบัติสอนอย่างนี้ อุปจาระตามขั้นตอน
แต่ถ้าไปสอนทั่วไปในหลักศาสนาพุทธ ปฐมฌานก็สมาธิเห็นไหม ที่เขาถามกันนี่ วิตก วิจาร วิตกคือนึกขึ้นมา พุทโธๆ นี่วิตก พุทธๆๆ โธๆๆ นี่ วิจารคือแบ่ง พุทโธเห็นไหม วิตก วิจาร ต้องนึกวิตกขึ้นมา วิตกนี้ธรรมดาเรานั่งก็จะหลับแล้ว วิตกขึ้นมา วิตกกับความรู้สึกขึ้นมา นี่วิตก วิจาร ปีติ มันจะขนพอง มันจะรู้สึกน้ำตาไหล ปีติ สุข มีความสุขนั้น เอกัคคตารมณ์ เห็นไหม มีความรู้สึกอันนี้ครบ ปฐมฌาน จตุตถฌาน เริ่มกำหนดเข้าไปเรื่อยๆ วิตก วิจารนี่พุทโธจึงจะหาย พุทโธนี้จะหายไป พุทโธนี้จะเริ่มหายไป พูดเร็วไปไม่ได้ยินนะ ช้าๆ หน่อย
วิตก วิจาร มันจะต้องหาย แล้วไอ้พุทโธนี้มันจะหายไป มันจะเริ่มมีปีติ นั่งสุขอิ่ม ทุติยฌานนะ ปีติอันนี้เริ่มหาย ปีติความรู้ว่าตัวพองตัวใหญ่นี่ มีความสุขเริ่มจางลง มาปกติอยู่ ความสุขมันมี ความสุขละเอียด ความสุขพอใจภายใน
ตติยฌาน อันที่ ๓ ตติยฌานนะ กำหนด กำหนดเฉยๆ กำหนดเฉยๆ จนมันเป็นหนึ่งเดียวไง เป็นเอตทัคคะ คือว่าจิตนี้มันต้องรู้สึกอยู่ ใช่ไหม แต่ความสุขก็ไม่มี ปีติก็ไม่มี เป็นหนึ่งเดียว
จตุตถฌาน ฌานที่ ๔ อันนี้เราพูดฌานที่ ๔ แล้วนะ ฌานที่ ๔ นี้ทำแสนยาก รักษาก็ไม่ได้ ไอ้ที่พูดกันพูดกันแต่ปาก ลองทำตรงนี้สิ พอทำตรงนี้เสร็จปั๊บ ขึ้นอากาสานัญจายตนะเลย แม้แต่ที่มันเป็นว่างๆ แล้วนี่นะ นี่เป็นรูปฌานไง เป็นสมาธิที่มีรูป ถ้าตายตอนนี้เป็นพรหม เป็นรูปพรหม อรูปพรหมไง
อรูปพรหมมันก็เป็นแบบว่า ขึ้นอากาสานัญจายตนะ กำหนดเลยว่าทุกสิ่งนี้เป็นความว่าง แม้แต่ตัวเราก็เป็นความว่าง ตัวเรานี้เป็นอากาศหมดเลย นึกถึงว่าเป็นความว่างอากาศ ความรู้สึกในใจเป็นความว่างหมด มันก็กลายเป็นความว่าง ว่างหมดเลย อากาสานัญจายตนะ สมาธิที่ไม่มีรูป นี่ฌานแบบสมาธินะ อรูปไง ไม่มีรูป
นี่พอไม่มีรูปแล้วนะ ไม่มีรูปจะไปกำหนดอะไร ไม่มีอะไรแล้ว อากิญจัญญายตนะ ความรู้สึกนี้ไม่มีรูปแล้วอยู่ที่ไหน ความรู้สึกที่ไม่มีรูป ที่ว่าไม่มีอะไรเลย ใครเป็นคนบอก
ขึ้นเลย อากิญจัญญายตนะ มันก็รู้สึกเห็นไหม มันก็อากิญ นี่รู้แบบไม่มีรูป วิญญาณัญจายตนะไง วิญญาณอีก วิญญาณมันเป็นแบบว่าว่าง อากาศนี่ว่างหมดเลย ถือว่าไม่เป็นรูปก็ได้ มีความรู้สึกนะ พูดแล้วพวกนี้มันหัวแตก มันเป็นแท่งขึ้นมา เหมือนกับเป็นแท่งขึ้นมาอีก เป็นแท่งของความรู้สึกไง อากิญไง ความรู้สึกเป็นแท่งของมันขึ้นมา แต่มันไม่มีตัวตนที่จับต้องได้
พอเป็นแท่งขึ้นมาวิญญาณที่รับรู้ วิญญาณัญจายตนะไง เนวสัญญานาสัญญายตนะ จะมีก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่ นี่เป็นอีก ๔ ขั้นตอน นี่สมาธิไง ในการปฏิบัติ แล้วอันนี้ก็ทำได้ อันนี้จะเข้ากับอันนี้ พอขึ้นอันนี้เห็นไหม รูปฌาน มันจะมีความสุขมากกว่าปกติ พอขึ้นอรูปฌาน แล้วก็ถอยลงมาสิ ความละเอียดกับความหยาบมันจะเห็นมาก เห็นความต่างมากเลย ความรู้สึกนะ ถ้าเข้าใหม่ๆ ถอนออกมาๆ
แล้วเขาบอกว่าตรงนี้ พูดถึงพระธรรมดาหรือเราปุถุชนนี่ทำได้ เพราะไอ้นี่ทำยังทำได้เลย ไอ้ที่ว่าในสมัยก่อนพุทธกาล ก่อนมีพระพุทธเจ้า พระอริยบุคคลยังไม่มี ยังทำได้ แต่ก็ว่าถ้าจะเข้านิโรธสมาบัติ เห็นไหม มันต่อขึ้นไป นิโรธ สมาบัติเลย นิโรธคือดับ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ไง จะมีเวทนา มีความรู้สึกก็ไม่ใช่ จะไม่มีก็ไม่ใช่
ถ้าแปลภาษาไทยนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะไง ข้างบนคือว่า จะมีก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่ ไม่มีอะไรเลย ไม่มีก็ไม่ใช่ ไอ้ไม่ใช่ก็ไม่ใช่ ขึ้นไปอีก นิโรธ ดับ! ดับเลย มันดับไปเลย ดับอันนั้น ถ้าเข้านี้มันต้องมีเป็นอริยบุคคล ดับอันนี้ ร่างกายนี้จะตัดความรู้สึกทั้งหมด ร่างกายนี้ไม่ทำงาน ทุกอย่างจะดับหมด แต่ไม่ตาย เพราะกระแสจิตมันยังมีอยู่ จนถอนออกๆๆ นี่เรื่องของสมาธิ
อันนี้เราว่าล่ะ คิดว่าทางนี้เก่งกันหมดแล้ว มันเลยพูดให้ฟังนะ มีแต่คนเก่งๆ แต่เราพูดธรรมะเลยว่า ธรรมะเท่านั้นมันเป็นเครื่องดึงดูดแล้วจะทำให้เกิดสมาธิ ไปพูดสมาธิๆ แล้วจะทำสมาธิเป็นอย่างไร เร่งทำสมาธิ พอทำใจให้สงบ ทำใจให้สงบ มันต้องเกิดจากความเข้าใจที่ใจ มันทำถูกต้อง ไม่ใช่ว่าอยากจะได้สมาธิอะไรก็ทำได้ ไปถึงที่ว่านี่ น้ำเต็มตุ่ม อะไรก็ได้ แค่ได้อยู่ตรงนั้นแล้วมันก็ออกไปทางโน้นเลย ให้เรากำหนดศีลบริสุทธิ์ ทำตัวเราให้ดี กำหนดเข้ามา มันก็เป็นสมาธิ พอเป็นสมาธิขึ้นมานี่
เรื่องที่ว่าสมาธิๆ นี่เมื่อก่อนครั้งพุทธกาล ประชากรในสมัยนั้นมีตรงนี้เป็นพื้นฐาน เพราะว่าคนมีศีลธรรม จริยธรรมศีลธรรมสมัยนั้นมันมั่นคงไง คนจะมีตรงนี้เป็นพื้นฐานเลย พอฟังธรรมนี่ผลัวะเลย แต่นี่ตรงนี้เราก็ไม่มี พื้นฐานเราก็ไม่มี ยิ่งฟังธรรมยิ่งหัวแตก
หลวงพี่นี่พูดเรื่องอะไร ป่วยเดี๋ยวก็ตายๆ โน่นก็ไม่ให้เอา นี่ก็ไม่ให้เอา ออกไปนี่ก็ต้องใช้ตังค์ไม่ให้เอาได้อย่างไร เห็นไหม ไอ้ไม่ให้เอาๆ คือไม่ให้ยึดมั่น ไม่ให้เอาหมายถึงไม่ให้ยึดทุกข์เอาไว้ แต่หน้าที่ก็ต้องทำ ถ้าไม่ให้เอาแล้วไปบิณฑบาตมาทำไมเป็นถาดๆ นี่ ไม่ให้เอา บิณฑบาตสักแต่ว่าอาชีพไง ภิกขาจารย์ไง แต่ได้ก็ได้อื้อหัวมันไง มันไม่ให้เอาที่นี่ ไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น
นี่ธรรมะมันลิ้มรสกันที่หัวใจ แต่ไอ้เรื่องหน้าที่การงาน พระโมคคัลลานะเป็นพระอรหันต์ยังโดนเขาทุบจนแหลกละเอียด นี่เวลากรรมมันให้ผล เวลาให้ผลมาอย่างนั้น มันต้องให้ผล มันรอเวลาไง กรรมมันให้ผลมา
ถ้าเราทำกรรมดีสนองไป กรรมดียังสนองไป ทำหน้าที่ไง ทำไป นี่คือธรรม อาชีพก็ต้องทำไป แต่ทำแล้วทุกข์ไหม กับทำแล้วไม่ทุกข์ ฟังสิ!!! เวลาผลกระทบมานี่ อือ มาอีกแล้ว มันเข้าใจไง ลูกศรมันปักอยู่ที่อกไง ความสุขเกิดที่นี่แล้วดับที่นี่นะ ไอ้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
บางทีคนว่ามาบ่อยๆ มีคนมาเอ็ด มีคนนินทา เฉย.. เฉย.. เขาหยุดไปเอง ถ้านินทามันขึ้น นินทามันขึ้น แกล้งมา นี่ผลัวะ เขาก็แกล้งอยู่เรื่อยไป เฉย.. เฉย.. นี่ธรรมะชนะอธรรมตรงนี้ เขาทำอะไรมานี่ ยิ้ม.. เฉย.. เขาอายนะ
พระพุทธเจ้าว่าอย่างนี้ไง เอามานี่ เอามาให้เราฉัน เราฉันหมดเลย เพราะเป็นของเรา เรามาเรามอง ต่างคนมองแล้วโยมเอากลับเพราะไม่มีใครเอา เป็นของใคร นี่ก็เหมือนกัน เขาทำมาๆ ถ้าเราเฉยๆ ก็เหมือนกับเราไม่เสวย เราไม่กิน เขาต้องเอากลับไป ถึงเขาเอากลับไปเดี๋ยวเขาทุกข์เอง เดี๋ยวก็ร้อนเอง นี่มันเป็นอย่างนั้น แต่เราไม่ได้คิดกันตรงนั้นนะ
อย่างเช่น พวกเราเห็นไหม อย่างมาอยู่นี่ ถ้าเป็นที่อื่นล่อขนาดนี้ก็ยังเฉยอยู่ แต่เราพูดให้โยมเข้าใจ เราห่วงว่าถ้าแบบว่ากลัวเขามาหลอก กลัวเขาจะมาพูด เราไม่ทันเขา ที่เราพูดเราพูดให้ฟังอย่างนั้น แต่เราไม่เคยไปตอบโต้อะไรเขา ยกเว้นแต่ป้องกันตัวเท่านั้น มีอะไรผิดเราก็ต้องป้องกันตัว นี่เขาสอนอย่างนั้น
เราเวลาพูดมันไม่มีอะไรเลยฟังแล้วมันงงไง บอกว่าไม่ให้เอาๆ แล้วทำไมเวลาภาวนาต้องยึดมั่น มันเป็นถึงจุดหนึ่ง มรรคหยาบๆ ก็อย่างหนึ่ง กลางก็อย่างหนึ่ง ละเอียดก็ไปอย่างหนึ่ง มันต้องเดินขึ้นไปเป็นสเต็ป มันจะไปถึงว่าปล่อยไปเลย อย่างนี้ก็เป็นธรรมะด้นเดาซิ ถ้าเป็นอย่างนั้นเราเสียหาย เดากันไปข้างหน้า แล้วมันก็จะรู้ว่าอะไรเป็นของจริง กว่าจะรู้ก็ อือ ถ้ารู้ตอนนี้ยังดี ยังแก้ไขนะ
กว่าจะรู้ก็แบบว่าใช้เงินจนหมดแล้วไง แบบมีเงินมีทองจะใช้ผิดใช้ถูกก็ยังอือนะ เรามีต้นทุนอยู่ มีเงินมีทอง แต่จะใช้ให้เป็นประโยชน์หรือจะใช้ให้เป็นโทษ จนหมดเนื้อหมดตัว แล้วค่อยมารู้แล้วจะมาหาเงินหาทองอีก มันเลยไม่ทำ นักปฏิบัติเป็นอย่างนี้หลายคน พอเสียไปแล้วเลยเลิก เลยก็เลยตามเลย แต่เริ่มต้นมันยังมีไฟไง มันยังมีไฟ ก็วาสนาของคน (เทปสิ้นสุดเพียงเท่านี้)