เทศน์เช้า

เทศน์เช้า

๒ ต.ค. ๒๕๕๓

 

เทศน์เช้า วันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๓
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

คำว่าฟังธรรม.. ฟังธรรม เห็นไหม ฟังธรรมของเรานี่เราเข้าใจกันไป แล้วผู้ที่เข้าไม่ถึง คำว่าเข้าไม่ถึง เขาว่าธรรมะเป็นธรรมชาติ... ธรรมะเป็นธรรมชาติ หลวงตาท่านก็พูดอยู่นะว่าธรรมะเป็นธรรมชาติ แต่ท่านพูดเป็นครั้งเป็นคราว พูดเพื่อแบบว่าเวลาสอนเด็กๆ คือว่าคนเราให้มีจุดยืนนะ แต่ท่านไม่ได้พูดถึงผู้ใหญ่

ธรรมะเป็นธรรมชาติ... ธรรมะเป็นธรรมชาติ แล้วเป็นธรรมชาติขึ้นมานี่คนเข้าไปไม่ถึง ธรรมชาติมันเวียนไป ธรรมชาติตามความเป็นจริงของผู้ที่รู้เห็นตามความเป็นจริง มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ

แต่ของเรานี่ธรรมชาติๆ เราอ้างว่าธรรมชาติ เราไปคิดว่าธรรมชาติ แต่ตัวเราเราหลบหลีกตัวเราเองไว้ มันก็เลยว่าธรรมชาติกับเราเป็นคนละอันกัน แต่ถ้าเป็นความจริงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความจริงของครูบาอาจารย์นะ คำว่าธรรมะเป็นธรรมชาติ เพราะสัจธรรมมันเป็นอย่างนั้น แล้วตัวเราเองมันก็ชำระล้างไป นี้เราว่าธรรมะเป็นธรรมชาติ แล้วเราขวางอยู่.. เราขวางอยู่กับธรรมชาติ แล้วเราไม่ยอมให้เป็นไปตามนั้น

ถ้าเป็นธรรมชาติ เวลาธรรมชาติมันเปลี่ยนแปลง เราก็ต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลงสิ เวลามีอะไรเปลี่ยนแปลงขึ้นมา เวลามันหมุนไปตามวัฏฏะของมันทำไมเราทุกข์ร้อนล่ะ ทำไมเราไม่พอใจล่ะ ดูสิเวลาเราเกิดพายุฝนต่างๆ เวลาพายุฟ้าคะนองนี่มันเดือดร้อนกับใคร ฝนตกต้องตามฤดูกาล เวลาหน้าแล้งก็แล้งตามธรรมชาติของมัน มันไม่เห็นเสียใจดีใจไปกับใครเลย นี่ไง มันไม่มีความรับรู้สึกไปกับใคร

แต่เรานี่น้ำท่วมก็เสียใจ เวลาหน้าแล้งขึ้นมา ทำการเกษตรไม่ได้ก็เสียใจ นี่เสียใจ แล้วถ้าเป็นธรรมชาติ... ธรรมชาติเสียใจทำไมล่ะ ธรรมชาติทุกข์ร้อนทำไม แล้วถ้ามันเป็นธรรมชาตินี่ทุกข์ร้อนทำไม... นี่ไงมันพูดกันไปอย่างนี้ แล้วเขาบอกว่านี่ทำให้สังคมสะเทือน

ในประเพณีวัฒนธรรมของพุทธศาสนานะ... พุทธศาสนา เห็นไหม นี่ศีลธรรม ! มันจะซัดซากศพเข้าหาฝั่ง ความสกปรกอยู่ในน้ำทะเลนั้นไม่ได้ ถ้าความสกปรกอยู่ในน้ำทะเลนั้น น้ำทะเลมันจะพัดสิ่งต่างๆ เข้าฝั่ง

ฉะนั้นในสังคมของพระเรานะ สังคมของชาวพุทธบอกว่า “ใครทำดีทำชั่วนี่มันเป็นเรื่องของเขา ศีลธรรมกับเวรกรรมมันจะให้ผล เขาจะได้รับเวรรับกรรมของเขาเอง เราไม่ควรจะออกมามีปัญหากัน” แต่นี่เราไม่ได้ออกมามีปัญหา เพียงแต่ว่าความชี้ถูกชี้ผิดไง เวลาไปแสดงธรรม เห็นไหม เวลาไปแสดงธรรมมันก็ต้องแบบว่า... หลวงตาท่านพูดเองนะ “นี่เวลาแสดงธรรมไม่มีการลูบหน้าปะจมูก... จมูกใครยื่นมาขาดหมด”

ความจริงคือความจริง มันก็พูดความจริงสิ แสดงธรรมมันต้องพูดความจริง แต่นี้พอแสดงธรรมพูดความจริงขึ้นมานี่ บอกความจริงอันนี้มันไปขัดแย้งกัน... มันขัดแย้งกัน แต่ความจริงก็ต้องเป็นความจริง

ฉะนั้นถ้ามันขัดแย้งกัน มันต้องมีอันหนึ่งจริง อันหนึ่งปลอมสิ !

ถ้าอันหนึ่งปลอม.. แล้วเราจะเข้าสู่สัจจะความจริง มันก็ต้องหาความจริงใช่ไหม ถ้าหาความจริง ถ้าคนชี้นำยังชี้ความจริงไม่ได้ แล้วคนปฏิบัติมันจะปฏิบัติเข้าสู่ความจริงได้อย่างไร ในเมื่อผู้ชี้นำความจริงยังชี้นำความจริงไม่ถูกเลย แล้วมันจะเอาความจริงมาจากไหน ถ้าเอาความจริงกับความจริงแล้วมันจะขัดแย้งกันไปได้อย่างไร

แต่ถ้าความจริงมันไม่ขัดแย้ง เห็นไหม เหมือนกันเลย ทุกอย่างเหมือนกัน.. เหมือนกันแล้วขัดแย้งทำไม เหมือนกันมันต้องลงในรอยเดียวกันสิ เหมือนกันทำไมมันมีปัญหาล่ะ มีปัญหาขึ้นมาเพราะมันไม่เป็นความจริงไง ถ้ามันไม่เป็นความจริง ถ้าท่านเป็นสุภาพบุรุษต้องยอมรับสิ

ศีล ! ศีล เห็นไหม คือไม่มุสา...

ตัวเองนี่รู้ ! ในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตัวเองนี่รู้ ! ใครทำดีทำชั่วตัวเองนี่รู้ก่อนเพื่อน ตัวเองคือผู้ทำนั่นแหละรู้ก่อนเพื่อนเลย ถ้ารู้ก่อนเพื่อนแล้วทำไมไม่แก้ไข ถ้ามันแก้ไขแล้วมันจะเหมือนไปได้อย่างไร

ดูสิเวลาหลวงปู่มั่นท่านฝึกหัดลูกศิษย์ลูกหามา เห็นไหม หลวงปู่ขาว หลวงปู่แหวน ต่างๆ ครูบาอาจารย์นี่เป็นธรรมทั้งนั้นเลย แล้วมีอะไรขัดแย้งบ้าง ดูสิเวลาหลวงตาไปหาหลวงปู่แหวนมันมีอะไรขัดแย้งบ้าง เห็นไหม เวลาหลวงปู่แหวนท่านพูดเลย “มหามีอะไรให้ค้านมา... มหามีอะไรให้ค้านมาเลย”

หลวงตาว่า “ผมไม่ค้านหรอกครับ ผมหาความจริงอย่างนี้ !” หาความจริงอย่างนี้ เห็นไหม ถ้าเป็นความจริงมันไม่มีขัดแย้งกันเลย มันขัดแย้งตรงไหน...

เวลาฟังก็ฟังการแสดงออกนี่ไง เวลาแสดงธรรมนี่แหละ เวลาแสดงธรรมมันจะบอกออกมาจากใจ ถ้าไม่รู้ก็คือไม่รู้.. สิ่งที่มีปัญหาอยู่นี้ไม่ได้เกี่ยวกับพระไตรปิฎก ไม่ได้เกี่ยวกับพุทธพจน์.. ไม่เกี่ยว ! ไม่เกี่ยวกับพระไตรปิฎก ไม่เกี่ยวกับพุทธพจน์ ไม่เกี่ยวกับสิ่งใดๆ เลย

มันเกี่ยวกับ “เป็น” หรือ “ไม่เป็น” , “รู้” หรือ “ไม่รู้” เท่านั้นเอง !

ถ้าไม่รู้.. พุทธพจน์ก็คือพุทธพจน์ นี่ความจริงก็คือความจริง แต่คนพูดมันพูดผิด ! เวลาพูดผิด เห็นไหม ที่ว่า “จิตไม่ต้องแก้ไขมัน จิตดูไปแล้วมันจะเป็นไป” นี่มันขัดแย้ง แล้วทำไมหลวงปู่ดูลย์ไม่ขัดแย้งล่ะ หลวงปู่ดูลย์ไม่ขัดแย้งเพราะอะไร..

“คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต้องหยุดคิด ! แต่การหยุดคิดนั้นก็ต้องใช้ความคิด”

นี่ไง ! นี่ท่านบอกให้ดูจิต.. ดูจิต แต่ท่านบอกว่า “การหยุดคิดก็ต้องใช้ความคิด” แต่พวกลูกศิษย์บอกว่า “ให้หยุดเลย.. หยุดตายตัวเลย... ห้ามคิด ! ห้ามคิด ! ห้ามคิด !”

นี่ไงมันขัดแย้งกันตรงนี้ ! มันขัดแย้งกันที่ “ห้ามคิด !” ถ้าห้ามคิดแล้วมันเกิดปัญญาได้อย่างไร แต่หลวงปู่ดูลย์ท่านพูดเองว่า “คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้.. ต้องหยุดคิด ! แต่การหยุดคิดนั้นก็ต้องใช้ความคิด ! ก็ต้องใช้ความคิด !”

มันไม่ขัดแย้งหรอกคนเป็นน่ะ.. ถ้าเป็นไม่ผิด ! เป็นนี่ถูกหมดเลย ! “คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ต้องหยุดคิด การหยุดคิดก็ต้องใช้ความคิด !”

แต่คนที่ไม่เป็นนะเขาบอก “ต้องหยุดคิด ! ห้ามคิด ! คิดไม่ได้ ! คิดตกไปสู่กิเลส ! คิดไม่ได้ ! คิดไม่ได้” ก็ขอนไม้ไง ! ก็ขอนไม้... พูดอย่างนี้หมด ! พูดอย่างนี้หมด

มันอยู่ที่ “เป็น” หรือ “ไม่เป็น”

มันไม่ได้อยู่ที่พระไตรปิฎก ไม่ใช่อยู่ที่ครูบาอาจารย์ ไม่ใช่อยู่ที่ใครผิดหรอก ไอ้คนพูดนี่มันผิด ! ถ้าคนพูดมันผิด มันผิดมาตั้งแต่ที่มันผิด เห็นไหม

ทีนี้นี่เขาบอกว่าพระอย่าทะเลาะกัน.. มันไม่ใช่ทะเลาะกัน มันเหมือนกับในสังคมนี้เห็นไหม ดูสิอย่างเช่ย อย. เขาตรวจสอบอาหารอยู่ตลอดเวลา อาหารที่เป็นพิษนี่เขาตรวจสอบนะ เขาจับนะ มันทำให้ประชาชนเกิดโรคภัยไข้เจ็บ

นี่อาหาร.. ยาหมดอายุ.. ยาปลอม.. ยาต่างๆ เขาไม่ให้เข้าท้องตลาดนะ แต่ ! แต่เขาก็พยายามเข้าท้องตลาดกัน เพราะต้นทุนมันต่ำ ! ต้นทุนมันต่ำแล้วเวลาได้กำไรนี่มหาศาล แต่เวลาคนเอาไปใช้นี่จะเป็นพิษเป็นภัยหมดเลย

แต่ถ้าเป็นยาจริงนะ... เป็นยาจริงนะ เป็นยาที่เป็นประโยชน์กับสังคม นี่เขาทำวิจัยนะ ทำวิจัยแล้ว ทำวิจัยอีกนะ พอวิจัยได้ตัวยามาแล้วนะจะใช้กับมนุษย์ก็ไม่ได้ กลัวมันเป็นพิษเป็นภัย ต้องไปทดลองกับสัตว์ก่อน ว่าทดลองกับสัตว์แล้วนี่มีผลข้างเคียงไหม ทดลองกับสัตว์เสร็จแล้วก็ต้องมาทดลองกับมนุษย์ ทดลองกับมนุษย์ผู้ที่อาสาสมัครทดลองยานั้นก่อน พอทดลองยานั้นเสร็จแล้วนะเขาถึงเอาออกมาใช้ เห็นไหม นี่ อย. รับประกัน

นี่ก็เหมือนกัน เวลาแสดงธรรม... แสดงธรรม มันก็ต้องพิสูจน์กัน ! พิสูจน์กัน เห็นไหม นี่เข้ามาท้องตลาดแล้วมันทำให้สังคมเสียหายหมดนะ มันทำให้ประชากรนี่ได้แต่สารพิษ แล้วมันทำไปนี่ ดูสิเสียกระทั่งเศรษฐกิจ... เสียทั้งสุขภาพร่างกาย... เสียทั้งชีวิต... เสียหมดเลย !

แล้วว่า “พระอย่าทะเลาะกัน... พระอย่าทะเลาะกัน” ไม่ได้ทะเลาะกัน ! ไม่ได้ทะเลาะกัน ! แต่สิ่งที่แสดงออกมานี่มันใช่หรือไม่ใช่ ถ้ามันไม่ใช่ก็คือไม่ใช่ ถ้ามันบอกว่าใช่ มันเหมือนกัน แล้วมันเหมือนกันอย่างไรล่ะ...

เวลาเหมือนก็บอกสิว่ามันเหมือนกันอย่างไร มันเริ่มต้นขบวนการอย่างไร ยานี่เขาวิจัยกันอย่างไร ส่วนประกอบมันเป็นอย่างไร พอส่วนประกอบแล้วออกมาใช้ประโยชน์นี่ได้ทดสอบมากับอะไร มันมีผลข้างเคียงอย่างไร

นี่ก็เหมือนกัน เวลาทำสมาธิพุทโธ พุทโธนี่ ถ้าพุทโธไม่ได้... พุทโธไม่ได้คือ จริตนิสัยมันเป็นไปไม่ได้ เห็นไหม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงบอกว่า “กรรมฐาน ๔๐ ห้อง” มรณานุสติ คือคิดถึงความตาย ! คิดถึงความตาย... นี่พุทธานุสติ เทวตานุสติ เห็นไหม ทำได้หมดแหละ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงวางไว้หลากหลายเพราะอะไร เพราะว่ายามันต้องเฉพาะโรค แล้วโรคมันแตกต่างหลากหลาย ถ้าโรคมันแตกต่างหลากหลาย ธรรมะก็แตกต่างหลากหลาย แต่ผลของมันคือต้องการให้หายใช่ไหม

นี่ขบวนการของยา ถ้าเรากินยาเข้าไปแล้ว ขบวนการของยาที่มันรักษาโรคนี่มันต้องเข้าไปฆ่าเชื้อโรคต่างๆ นั้น.. ขบวนการของการกระทำ ขบวนการของมันต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา.. มันต้องมีความสงบของใจ มันต้องมีการกลั่นกรองของมัน มันมีเหตุมีผลของมัน ! มีเหตุมีผลของมัน มีการกระทำของมันขึ้นมา

นี่มันมีการกระทำของมันขึ้นมา... นี่ไงเวลายามันให้ผล เห็นไหม นี่เขาได้ตรวจสอบ เขาได้วิจัยของเขามา แต่นี่บอก “เหมือนกัน.. เหมือนกัน กินเข้าไปก็หาย.. กินเข้าไปก็หาย” แล้วถ้ากินเข้าไปแล้วมันตายนี่ใครรับผิดชอบล่ะ กินเข้าไปแล้วตายก็เป็นกรรม... ก็เป็นกรรมของคนกิน เพราะเขาก็สร้างกรรมของเขามา

นี้มันเป็นเรื่องนามธรรมใช่ไหม เป็นเรื่องของกรรม แล้วเราก็เชื่อกันว่าสิ่งนั้นเป็นกรรม... สิ่งนั้นเป็นกรรม

มันเป็นกรรม ! แต่การกระทำ นี่กำ-แบแล้วมันก็ออก เห็นไหม นี่กรรม ! กรรมเก่า กรรมใหม่มันก็พูดเรื่องกรรมนี่แหละ แต่ถ้าพูดเรื่องกรรมแล้ว ถ้ากรรมแล้วนี่กรรมดีล่ะ.. กรรมดีกรรมชั่วล่ะ.. นี่เห็นไหมเป็นหรือไม่เป็น ผู้ที่กระทำผู้ที่รู้นี่มันรู้ของมันได้ ถ้ารู้ของมันได้ เห็นไหม

เราแสวงหากันตรงนี้นะ เราแสวงหาความจริงขึ้นมา ดูสิเดี๋ยวนี้เวลาเขาพักผ่อนกัน อู้ฮู.. ไปเขาใหญ่ อากาศดีที่สุดในโลก... ทุกคนเวลาพักผ่อนนี่ต้องหาอากาศบริสุทธิ์นะ ต้องหาวิวทิวทัศน์ที่สวยงามนะ

นี่ขนาดไปพักผ่อนนะ แล้วนี่เรามาพักใจเราล่ะ เราจะหาอะไรที่ดีที่สุดเพื่อหัวใจของเรา สิ่งใดมันเป็นประโยชน์กับเราเห็นไหม ขนาดอากาศเรายังแสวงหา เรายังต้องการความบริสุทธิ์ของมัน แล้วเวลาสัจธรรมล่ะ...

พุทธพจน์นี่ถูกต้อง ! พุทธพจน์นี่เราไม่เคยเถียง ไม่เคยขัดแย้งพระไตรปิฎก ไม่เคยขัดแย้งเลย แต่ไอ้คนไม่เป็นนี่มันบิดเบือน.. มันบิดเบือน มันฉ้อฉล มันทำให้สิ่งนั้นไม่ตรงสู่ความจริง แต่ถ้าเป็นความจริงนะ สิ่งที่เป็นความจริงก็คือความจริง ความจริงมันเป็นความจริงอยู่แล้ว แล้วเราปฏิบัติขึ้นมานี่ตรงกับความจริง พอเราเข้าไปแล้วนะมันอันเดียวกันไง

คนที่เข้าไปสู่ความจริง แล้วเอาความจริงอันเดียวกันกับทฤษฏีนั้น อันเดียวกันกับสัจธรรมอันนั้น ใครจะไปค้านอันนั้นได้อย่างไร.. เพราะเราไม่ค้านอันนั้นอยู่แล้ว อันนั้นคือเป้าหมายใช่ไหม แต่เวลาคนชี้ถึงเป้าหมายนี่ เราเข้าสู่เป้าหมาย เรามีการกระทำขึ้นมาสู่เป้าหมายนั้น

เขาบอกว่าเป้าหมายคือเป้าหมาย แต่เขาอ้อมไปนะ ลงทะเลไปนะ แล้วบอกจะเข้าสู้เป้าหมายนั้น... มันเป็นไปไม่ได้หรอก ! มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ นี่ไง พอสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เราก็รู้ว่านี่คือไม่เป็น... ไม่เป็นคือวิธีการเข้าสู่เป้าหมายนั้นผิดหมด

แต่ถ้าเข้าสู่เป้าหมาย นั่นก็คือเป้าหมายใช่ไหม เขาเอาเป้าหมายมาพูด แต่วิธีการบอกว่าเข้าสู่เป้าหมายนั้นมันบิดเบือน มันไม่เป็นความจริง พอมันไม่เป็นความจริงขึ้นมาแล้วนี่เขาบอกว่า เออ ! สิ่งนี้มันเป็นเวรกรรมของเขา

คำว่าเป็นเวรกรรมของเขา... ใช่ ! มันเป็นเวรกรรมของเขา แต่มันก็สังเวชไง มันสังเวช เห็นไหม สิ่งใดเป็นการสังเวช สิ่งใดที่เราชี้ถึง ดูสิอย่างเช่นเด็กเวลาการศึกษาของชาติน่ะ การศึกษาของชาติเขาว่าล้าหลังมาก เพราะการศึกษาของชาติของเรานี่มันพูดกันแต่ปาก แล้วการศึกษาของชาติ... คำว่าชาติ นี่มันเป็นชนกลุ่มใหญ่ คนดีคน ๒ คนนี่มันขับเคลื่อนไปไม่ได้ มีคนดีอยู่คนหนึ่งมันเข้าไปในกระแส แล้วกระแสก็กลืนหมด เห็นไหม

นี่การศึกษาของชาติ มันต้องมีเป็นนโยบาย มันต้องมีผู้นำที่ดี แล้ววางการศึกษาของชาติให้เด็กมันมีความเข้มแข็งในการศึกษา พอมีความเข้มแข็งในการศึกษาแล้ว ประเทศชาติมันจะเจริญ.. เจริญด้วยปัญญา ! ปัญญามันจะเจริญขึ้นมา นี่เพราะการศึกษาที่เข้มแข็ง นี่มันต้องมีรัฐบุรุษ คือผู้ที่เสียสละ... ผู้ที่เสียสละทำให้ชาตินี้เข้มแข็งขึ้นมา ให้เด็กมันมีหลักการของมัน อย่าให้มันไปเชื่อสิ่งใดๆ โดยง่ายๆ แล้วให้มีหลักเกณฑ์ของเขา

ทีนี้คนที่มีปัญญา เห็นไหม คนที่มีปัญญาก็การปกครองได้ยาก การปกครองคนที่มีปัญญา มันอยู่ที่ความเจตนาบริสุทธิ์ใจ ถ้าเรามีความบริสุทธิ์ใจ เราใช้ความบริสุทธิ์ใจของเรา ผิดถูกมันต้องรับกันด้วยเหตุผล นี้สิ่งที่เป็นเหตุผลนะ แม้แต่เด็กนี่ดูสิเดี๋ยวนี้นะ

“นักเรียน.. นักเรียนอย่าดูดบุหรี่นะ” แต่ครูดูดปุ๋ยๆ เลย

เด็กก็ว่า “แล้วทำไมครูดูดได้ล่ะ”

“ก็ครูเป็นผู้ใหญ่แล้ว นักเรียนเป็นเด็กยังห้ามดูดอยู่”

แล้วก็บอกว่ามันเป็นพิษ ! เป็นพิษ ! เป็นพิษแล้วครูดูดทำไม

นี่ก็เหมือนกัน สิ่งที่เป็นการศึกษานี้ ถ้าผู้ใหญ่มีหลักมีเกณฑ์ขึ้นมา นี่มันเป็นประโยชน์กับชาติบ้านเมือง.. นี่ผู้นำที่ดีไง ! ที่ว่าการศึกษาๆ นี่วุฒิภาวะ..

นี่ถ้าถึงที่สุดแล้วล่ะ ถึงที่สุดนะ “ธรรมของผู้ปกครอง” เห็นไหม

ถ้าถึงที่สุดนะ เราช่วยเหลือเขาเต็มที่แล้ว ดูสิประเทศชาติไหนก็แล้วแต่ที่เจริญเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เขาก็มีคนจนของเขา เขาก็มีคนที่ตกสำรวจ คนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนของเขา เขาก็มีความทุกข์นะ มันไม่มีสิ่งใด ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ในโลกนี้ ! แต่ส่วนใหญ่ การกระทำที่มันเป็นประโยชน์แล้ว เราต้องทำความเป็นประโยชน์นั้น แต่ถ้าบอกว่าต้องเป็นอย่างนั้น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์

ประเทศอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น คนจนเขานะไม่มีจะกิน ไม่มีบ้านอยู่ คนตกสำรวจ ไม่มีที่อยู่อาศัยนี่มันทุกข์มากนะ จะเข้าขบวนการของสาธารณสุขก็ไม่ได้ จะทำอะไรก็ไม่ได้ นี่ทุกข์มากเลย ขนาดเขาอยู่ในประเทศที่เจริญแล้วนะ !

นี่ก็เหมือนกัน ศาสนาเรานี่เป็นศาสนาสอนให้ถึงที่สิ้นสุดแห่งทุกข์... แล้วจะขนไปให้พ้นทุกข์ให้หมดเลย ใครๆ ก็ไม่ให้เกิดอีกเลย จะไปนิพพานกันหมดเลย มันเป็นไปไม่ได้หรอก ! มันอยู่ที่อำนาจวาสนาของคน... อำนาจวาสนาของคนมันไม่เหมือนกัน จริตนิสัยของคนไม่เหมือนกัน

ถึงที่สุดแล้วตรงนี้ผู้นำต้องวางอุเบกขา เราทำดีที่สุด ขบวนการที่ดีที่สุด ต้องการขับเคลื่อนให้มันดีที่สุด แล้วถ้าสิ่งใดที่มันตกสำรวจ สิ่งใดที่มันยอมรับไม่ได้ สิ่งนั้นมันก็เป็นเวรกรรมของเขา ถ้าบอกว่าทุกอย่างต้องเหมือนกันหมด.. ทุกอย่างต้องทำให้ได้หมดเลย..

ทำไมเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้วยังทอดอาลัยเลย ว่า “มันจะสอนได้อย่างไร.. มันจะเป็นไปได้อย่างไร.. สิ่งนี้เขาจะต้องการได้อย่างไร” เพราะมันเป็นสิ่งที่ละเอียดเกินไปที่จะพูดออกมาเป็นรูปธรรม ! แล้วสิ่งที่เป็นรูปธรรม เห็นไหม สิ่งที่เป็นรูปธรรม คือสิ่งที่จับต้องได้ พิสูจน์ได้ ตรวจสอบได้ นี่สิ่งนี้เขาถึงจะเชื่อถือกัน

แล้วสิ่งที่ว่า นี่การเกิดและการตาย การที่มันมาอย่างเช่นจริตนิสัย นี่ดูสิจริตนิสัยนะ พ่อแม่ทุกคนจะปรึกษากันว่าลูกคนนั้นเป็นอย่างนั้น.. ลูกคนนี้เป็นอย่างนี้.. พ่อแม่เขาคลอดมา เขายังควบคุมลูกของเขาไม่ได้เลย แล้วสังคมนี่มันเป็นความเคารพศรัทธา

“นี่ไงมันถึงอยู่ที่คุณงามความดีของผู้นำไง !”

ถ้าผู้นำมีคุณงามความดี ไอ้ความดีอันนี้แหละเขาลงใจ ถ้าใจมันลงใจ เห็นไหม ใจมันลงใจ ใจมันยอมรับนับถือ นี่ล่ะบารมี ! ถ้าบารมีเกิดขึ้นมาแล้ว มันจะเป็นผู้นำสังคมได้ ถ้ามีผู้นำสังคมได้แล้ว แล้วผู้นำที่ดีๆ นี่วางรากฐานให้สังคม ผู้นำสังคมที่ดี มันไม่มีโลกธรรมไง โลกธรรม ๘ คือสิ่งที่เชิดหน้าชูตา สิ่งนั้นไม่มี ต้องแบกหามสังคมนี้ไป นี่ถึงที่สุดแล้ว ถ้าทำแล้วมันไม่ได้ขึ้นมานี่มันก็วางอุเบกขา ว่านี่มันกรรมของสัตว์.. กรรมของสัตว์ เห็นไหม

นี่คือธรรม ! มันไม่มีอะไรจะบริหารจัดการได้ด้วยความสมหวัง !

“โลกนี้พร่องอยู่เป็นนิจ ! โลกนี้ขาดเขินอยู่อย่างนี้ !” ความเต็มของโลกนี้ไม่มี แต่หัวใจเราเต็มได้ ธรรมนี้เต็มได้ สัจธรรมนี้เต็มได้ เราถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ ถ้าหัวใจมันเต็มขึ้นมาได้ นี่จะเป็นประโยชน์กับเรา เห็นไหม

“หัวใจของเราสำคัญที่สุด” เราถึงต้องรักษาหัวใจของเรา เพราะหัวใจของเรามันสำคัญที่สุด เห็นไหม อาหารคือสัจธรรม.. อาหารคืออริยสัจ สัจจะที่เข้าสู่ใจนั้น มันควรจะสะอาดบริสุทธิ์

ฉะนั้นสิ่งที่สะอาดบริสุทธิ์ ผู้ที่ชี้นำได้ ผู้ที่บอกได้ก็ควรบอก บอกเพื่อประโยชน์นี้ ไม่ได้ทะเลาะกับใคร ! เอวัง