คนเก็บขยะ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๓
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
เราจะพูดถึงธรรมะ ถ้าใจเป็นธรรมนะ สรรพสิ่งนี้เป็นธรรม แต่ถ้าใจไม่เป็นธรรมนะ สิ่งต่างๆ นี้เป็นทุกข์หมดเลย ถ้าใจเป็นธรรม มองดูสิ สรรพสิ่งนี้มันเป็นธรรมชาติ สักแต่ว่ามันเป็นอยู่ของมันโดยธรรมชาติของมัน ถ้าใจเราเป็นธรรม แต่ถ้าใจเราไม่เป็นธรรมนะ อย่างเช่น วันไหนจิตใจเรามีความสุข มีความร่มเย็น โอ๊ย.. โลกนี้น่าอยู่มากเลย ถ้าจิตใจเราขุ่นมัวนะ เรานั่งอยู่บนกองเงินกองทองก็ทุกข์น่าดูเลย นี่พูดถึงว่าอารมณ์ความรู้สึกของเรา
แต่ถ้าใจมันเป็นธรรมนะ เป็นธรรมคือเป็นธรรม เป็นโสดาบันมันเป็นอกุปปธรรม ที่เราใช้คำว่า ธรรมะเหนือโลก ธรรมะเหนือธรรมชาติ สรรพสิ่งในธรรมชาติมันแปรปรวน แล้วสัจธรรม โลกนี้เป็นธรรมชาติ ส่วนใหญ่ธรรมะเป็นธรรมชาติ มันเป็นสัจจะอันหนึ่ง มันมี สมมุติสัจจะ วิมุตติสัจจะ
สัจจะนี้มันมีเยอะนะ มันมีหลากหลาย ถ้าเป็นสมมุติสัจจะ สมมุติสัจจะนี้มันแปรปรวน แล้วสมมุติสัจจะมันเป็นจริงไหม มันเป็นจริง ธรรมะเป็นธรรมชาติ สรรพสิ่งเป็นธรรมชาติ
แล้วนี่เหมือนกัน ถ้าพูดถึงสรรพสิ่งเป็นธรรมชาตินะ สิ่งที่น่ากลัวที่สุดนะ คือกิเลสตัณหาความทะยานอยากในใจของคนนี้ล่ะ นี่กิเลสตัณหาความทะยานอยาก ถ้าไม่ได้ดั่งใจ ไม่ได้สมความปรารถนา มันขุ่นมัวในใจตลอดไป
ถ้ามันขุ่นมัวในใจ คำว่าขุ่นมัว สิ่งใดที่กระทบทีเดียว มันกระเทือนหัวใจมาก แต่ถ้าเราวิปัสสนาญาณ เราใช้มรรคญาณ จนชำระหัวใจของเรา ชำระกิเลส สังโยชน์ขาดไป ๓ ตัว เป็นพระโสดาบัน
สิ่งนี้เป็นพระโสดาบัน สังโยชน์มันขาดไป พอสังโยชน์มันขาดไปฟังดูนะ เวลานางวิสาขานี่เป็นพระโสดาบันเห็นไหม หลานเป็นคนทำงานแทน ตายไป พระโสดาบันร้องไห้นะ เราจะบอกว่าถ้ามันเป็นเหนือธรรมชาติ ทำไมมันร้องไห้ ทำไมมันเสียใจ ความเสียใจนั้น เพราะความผูกพันที่มันลึกซึ้งกว่าสิ่งที่ละสังโยชน์นั้นมา สิ่งที่ละสังโยชน์นั้นมาเห็นไหม
อย่างเช่น ถ้าหลานตายเพราะความผูกพันของใจที่ส่วนลึก มันยึดมั่นในตัวหลานนั้น แต่ถ้าเราเจ็บไข้ได้ป่วย สมมุติถ้าเราเป็นบาดเป็นแผล เรามีบาดแผลกับกายของเรา สักกายทิฏฐิ ความเห็นจริงในร่างกายนี้
ถ้าความเห็นจริงในร่างกายนี้ ร่างกายนี้กระทบกระเทือนขึ้นมา สติมันทันกับร่างกาย นี่ไง สติมันทัน พระโสดาบันทันความรู้สึก ทันความกระทบของร่างกายนี้ที่มันไปกระทบกระเทือนสิ่งใด แล้วมันให้ทุกข์นั่นนะ พระโสดาบันทัน
เพราะสติของพระโสดาบันจะเข้าใจเรื่องสักกายทิฏฐิ เรื่องผลกระทบของกายนี้ แต่เวลาความเสียใจ มันเป็นความผูกพันเรื่องของหลานที่มันลึกซึ้งกว่า เพราะเป็นเรื่องของความรู้สึกในหัวใจ เพราะรู้สึกในหัวใจว่าหลานเราเป็นมือขวา เป็นคนทำบุญกุศล เป็นคนทำหน้าที่การงานแทน แล้วตายไป ความผูกพันของใจมันลึกซึ้งกว่าเห็นไหม
พระโสดาบันร้องไห้ ร้องไห้ไปหาพระพุทธเจ้า
วิสาขาเธอร้องไห้ทำไม
ร้องไห้เพราะว่าหลานเสียชีวิตไปในวันนี้
แล้วในมคธนคร ในมคธมีคนตายทุกวันไหม
มีคนตาย
แล้วเธอจะไม่ต้องร้องไห้ทุกวันเหรอ
เธอไม่ต้องร้องไห้ทุกวันเหรอ มันกระเทือน ธรรมะกระเทือนหัวใจ ทันหัวใจเห็นไหม มันก็มีคนตายอยู่ทุกวันเหมือนกัน ทำไมเราไม่เสียใจล่ะ ทำไมหลานเราเสียใจ พระโสดาบันจะรู้ตัวได้เร็วมาก
พอรู้ตัวได้เร็วมากขึ้นมา เราจะบอกว่าสิ่งนี้เป็นธรรมชาติ สิ่งนี้เป็นธรรมชาติ สรรพสิ่งนี้เป็นธรรม นี่สมมุติสัจจะ สมมุติสัจจะกับวิมุตติสัจจะ วิมุตติสัจจะ โสดาบัน สกิทาคา อนาคาเห็นไหม ธรรมะนี่เหนือธรรมชาติ
ถ้าเหนือธรรมชาติขึ้นมา หมายถึงว่าสรรพสิ่งนี้เป็นสักแต่ว่าได้ สักแต่ว่าได้เพราะอะไร เพราะเรารู้จริงเราวางได้จริง แต่ถ้ามันเป็นสักแต่ว่าไม่ได้ อย่างพวกเราเป็นสักแต่ว่าไม่ได้หรอก
อย่างถ้าเป็นสักแต่ว่านะ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาก็ปล่อยวางสิ ก็สอนเขาปล่อยวาง จับแล้วก็ปล่อยอะไรก็สมมุติทั้งนั้นน่ะ ชื่อเสียงก็สมมุติ สิ่งที่เสียไปต่างๆ หลักฐานก็สมมุติทั้งนั้นล่ะ ก็ปล่อยวางสิ สอนเขาทั่วบ้านทั่วเมือง ทุกอย่างนี้เป็นสมมุติ จับแล้วก็ปล่อยเห็นไหม มันวางในธรรมชาติ มันวางไม่มีอะไรของเราหรอก
แถลงการณ์แล้วก็แถลงการณ์แต่ไม่ใช่ของเรานะ มันห่วงไง มันห่วงสิ่งที่จะแสดงมาแล้ว ว่าสิ่งนี้เขาเชื่อถือไปแล้ว ใจคนนะมันพลิกแพลงตลอดเวลานะ ถ้าไม่มีหลักมีเกณฑ์ มันจะทำในสิ่งใดไม่ถูกต้องเลย
เราจะบอกคนนะ เวลาคนทุกคนนะ เราจะดำรงชีวิตของเราทุกวัน เราต้องมีขยะ เราต้องมีสิ่งของเสียที่เราทิ้งไป สิ่งของเสียทิ้งไป ทุกคนมีของเสีย ใช้แล้วต้องเก็บล้าง ข้าวปลาอาหารต้องเก็บล้างชำระทั้งหมด มีของเสียที่เราต้องทิ้ง มีขยะที่เราต้องทิ้งไป นี่เป็นธรรมดา ธรรมชาติเห็นไหม
แต่มันมีบุคคลเยอะแยะเลยนะ เขาดำรงชีวิตด้วยการเก็บขยะ เขาเอาขยะของเขา เอาขยะที่เราทิ้งแล้ว ไปเป็นประโยชน์กับการดำรงชีพของเขา
แล้วผู้ที่มีปัญญามากกว่านั้น พวกทำศิลปะ เขาเก็บขยะของเขาไปทำเป็นศิลปะ เขาเก็บขยะไปทำเป็นสินค้าออกมาขาย เราไปเห็นแล้วเราทึ่งมากเลย ดูสิ ดูหัวใจของคนมันแตกต่างกันหลากหลายอย่างนี้
ถ้าคนมันชั่วนะ ดูสิ เราเป็นพ่อแม่คน เรามีธุรกิจของเรา ร้านขายทอง ลูกเรารับร้านขายทองนี้ไป มันทำร้านขายทองนั้นเจ๊งหมด โดนยึดหมดเลย คนที่เขามีคุณงามความดี แม้แต่ขยะของทิ้ง เขายังเห็นเป็นประโยชน์ของเขาได้ แต่คนที่ไม่มีคุณธรรมความสามารถ พ่อแม่ให้มรดกตกทอดมา เป็นทองคำเป็นสิ่งต่างๆ มันก็รักษาไว้ไม่ได้ ดูใจคนสิ ดูใจคน
นี่ก็เหมือนกัน ถ้าจิตใจของคน จิตใจของคนที่เป็นคุณธรรม มันเห็นไปหมด สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ถ้าไม่อย่างนั้นนะ ไปอยู่กับหลวงตาสิ ตอนไปอยู่กับหลวงตา ทุกคนนะ ยิ่งหลวงปู่มั่นยิ่งเข้มข้นกว่านี้ เข้มข้นกว่านี้เพราะอะไร เพราะผิดเล็กผิดน้อย มันสะเทือนหัวใจ มันทำให้คนเสียได้
เด็กๆ นี่นะ ถ้าเราฝึกหัดมันขึ้นมา มันจะเป็นคนดีขึ้นมา ถ้าเราปล่อยเด็กนี่ให้ตามใจเด็กตลอดไป เด็กก็จะเป็นคนนิสัยเสีย เป็นคนที่เอาแต่ใจตัวเอง เป็นคนที่จะไม่เห็นคนอื่นอยู่ในสายตาเลย
นี่ก็เหมือนกัน ในการประพฤติปฏิบัติของครูบาอาจารย์ มันต้องเข้มข้น สิ่งใดๆ ที่เป็นประโยชน์ต้องคอยรักษา หลวงตาจะบอกประจำว่าหลวงปู่มั่นนะ เก็บเล็กผสมน้อย ทั้งๆ ที่หลวงปู่มั่นท่านเป็นพระอรหันต์แล้วนะ เก็บเล็กผสมน้อยเห็นไหม
สิ่งใดที่ผิดจะไม่ทำเลย เพราะเป็นคติ เป็นตัวอย่าง
เป็นคติเป็นตัวอย่างเพื่ออะไร เพื่อเป็นเอกลักษณ์ เพื่อให้คนอื่นเขาได้เอาเป็นตัวอย่าง ให้ประพฤติปฏิบัติตาม แม้แต่ท่านเป็นพระอรหันต์แล้วนะ
แล้วนี่ในการประพฤติปฏิบัติ ถ้าคนที่เขามีสติสัมปชัญญะของเขา เขารู้จักเก็บเล็กผสมน้อย เขารู้จักรักษาสมบัติของเขา เขาทำสิ่งนั้นขึ้นมาเป็นประโยชน์ของเขา ถ้าประโยชน์ของเขาเห็นไหม เป็นตัวอย่างที่ดี
คนที่ดี แม้แต่ขยะ แม้แต่สิ่งที่เขาทิ้ง เขายังเห็นคุณประโยชน์กับมัน แล้วเอามาใช้ทำประโยชน์ได้จริงๆ แต่คนที่ไม่มีหลักมีเกณฑ์แม้แต่ขายทอง ขายสิ่งที่เป็นประโยชน์มันก็ทำให้สิ่งนั้น การงานทุกสิ่งของตนเสียหายไป เพราะอะไร เพราะหัวใจมันไม่ดี
ถ้าหัวใจมันดี หัวใจมันดีไม่ดีตรงไหน ก็คุณธรรมในใจไง ถ้าใจมีคุณธรรม สิ่งต่างๆ มันทำ มันจะเป็นคุณงามความดีออกมา มันจะเป็นความดีด้วยข้อเท็จจริง แม้ทั้งๆ ที่เป็นขยะ เป็นสิ่งที่ไม่มีค่าเลย เป็นที่ของเหม็น
ดูสิ ขยะเปียกเขาเอาไปทำปุ๋ย ขยะแห้งเขาเอาไปทำเชื้อเพลิง ขยะที่มีคุณค่าเขาเอาไปรีไซเคิล ทำเพื่อประโยชน์ของเขาขึ้นมา ขยะมันก็ยังมีจำแนกแยกแยะออกไปเป็นของประโยชน์แตกต่างกันไป มันอยู่ที่ปัญญาของคน มันอยู่ที่คุณธรรมของใจ ถ้าใจมีคุณธรรมมันจะทำแต่คุณงามความดีของมัน มันจะเป็นประโยชน์ไปทั้งนั้นเลย
แต่ถ้าใจไม่เป็นคุณธรรมนะ ทำความดีมันก็เป็นความชั่วไปทั้งนั้นเลย มันมีสิ่งแอบแฝงไปทั้งนั้นเลย แล้วสิ่งแอบแฝงนี้มันจะเป็นประโยชน์ไหมล่ะ มันไม่เป็นประโยชน์ มันเป็นโทษกับทุกๆ คนเลย
นี่พูดถึงหัวใจที่มันเป็นธรรมขึ้นมาแล้วนะ ถ้าใจไม่เป็นธรรมมันก็เป็นอย่างหนึ่ง ใจเป็นธรรมก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง ถ้าใจเป็นธรรมขึ้นมา ใจเป็นธรรมนะ
โคนำฝูง โคที่ดีนำฝูงโคนั้นพ้นจากน้ำวน พ้นจากวัฏสงสาร
โคนำฝูงที่ไม่มีปัญญา เอาฝูงโคนั้นลงไปในวังน้ำวนตายหมด อยู่ในวัฏฏะมันไปไหนไม่รอดหรอก แล้วตายไปไหนไม่รอด แล้วใครรู้ล่ะ.. ชีวิตมันหลอกกันได้ก็ตรงนี้ไง แล้วใครรู้ผิดหรือถูกล่ะ ถ้ามันรู้ว่าผิด นี่ไงถึงบอกว่า แยกแยะไม่ถูกเลย
เหมือนกัน คำพูดธรรมะนี่เหมือนกัน นี่ไงถึงว่าเป็นภาคปริยัติ ทฤษฎีมันเหมือนกัน เห็นไหมที่พูดกับเมื่อวานซืนน่ะ นี่ก็เหมือนกัน เขาเป็นอาจารย์ เขาบอกว่าเขาเอาหนังสือมาถาม ถามว่า เขาไปดูรูปหลวงปู่มั่น ว่าหลวงปู่มั่น ในหนังสือหลวงปู่มั่นก็พูดว่าเรื่องปริยัติ
อ้าว.. ก็พูดปริยัติ หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์ก็พูดปริยัติทั้งนั้นล่ะ พูดปริยัติหมายถึงว่า ในพุทธพจน์ เวลาพูดมันก็พูดในพุทธพจน์ แต่! แต่ภาคปฏิบัติ พอปฏิบัติด้วยข้อเท็จจริงแล้ว ปริยัติอันนั้นคือพุทธพจน์
คือคำบาลีน่ะ ท่านขยายความของท่านออกไป ขยายความของท่านออกไปเห็นไหม มันก็พูดด้วยหลักนี่ล่ะ หลักคือตรงนั้นล่ะ ปริยัติ
ปริยัติคือทฤษฎีที่พูดทฤษฎีโดยทฤษฎี แต่เวลาปฏิบัติ ปฏิบัติแล้วรู้จริง ก็พูดทฤษฎีพระพุทธเจ้านี่ไง ที่ว่าธรรมะพระพุทธเจ้า ธรรมใน ๕,๐๐๐ ปีนี้ ใครแสดงธรรม ก็ธรรมะพระพุทธเจ้าทั้งนั้นน่ะ พระ สาวก สาวะกะได้ยินได้ฟัง ถ้าไม่ได้ยินได้ฟังจะเอาสิ่งใดมาพูด
นี่เวลาเราพูดเราก็พูดหลักเกณฑ์อันนั้น แต่! แต่มีความจริงอันนั้นรองรับ ความจริงตรงนี้ ตรงที่ว่า คนเก็บขยะ รู้จักว่าขยะนี้ ขยะเปียกทำอะไร ขยะแห้งทำอะไร ขยะที่มีคุณสมบัติทำอย่างใด แล้วทำแล้วเป็นประโยชน์อย่างไร นี่ คนเก็บขยะ
ขยะก็คือขยะ แต่คนเก็บคนใช้ขยะนั้นเป็น จะทำสิ่งนั้นเป็นประโยชน์ ไอ้เราคนทิ้งขยะ พุทธพจน์นะต้องตรงตัวอย่างนี้นะ คนทิ้งขยะ ทิ้งขยะตรงไหน ทิ้งขยะตรงที่จิตใจของเรา ความเป็นจริงของเรา ความมั่นคงของเรา ความรับรู้จริงของเรา เราไม่ได้สิ่งนี้ขึ้นมา ไปตลาดมาเห็นไหม ได้ซื้ออาหารมา ทิ้งหมด กล่องก็ทิ้ง ทุกอย่างก็ทิ้ง สิ่งบรรจุภัณฑ์มันทิ้งหมดเลย ไม่ได้เอามาเป็นประโยชน์เลย กินแต่อาหาร ก็วันๆ หนึ่ง วันๆ หนึ่งเกิดจากอะไร
เกิดจากบุญกุศล เกิดจากเราเกิดเป็นมนุษย์ เพราะเราเกิดเป็นมนุษย์ เราจึงมีชีวิตอยู่ แล้วบอกว่าสิ่งที่แตกต่าง แตกต่างอย่างไง เราไม่เห็นความแตกต่างไง ปริยัติ ปฏิบัติเหมือนกัน พูดเหมือนกัน ไม่เหมือนเลย ไม่เหมือนเลย สิ่งที่ไม่เหมือนเห็นไหม
อย่างเช่น กรณีที่ว่า พระสงบบอกว่า จิตดับๆ ไม่มี แหม.. คนภาวนา คนเก็บขยะรู้จักขยะมีคุณค่าไม่มีคุณค่านะโว๊ย จะรู้ได้ยังไง กูจะทิ้งขยะได้ยังไง ขยะนี้ แหม.. ถ้าเป็นทองแดงมันหลายตังค์นะ ถ้าเป็นกระดาษมันก็อีกราคาหนึ่งนะ แล้วก็ จิตดับๆ ปัดโธ่.. ถ้ามันเป็นทองแดง ยิ่งเป็นทองคำด้วย เศษทองคำติดมา เราต้องไปหลอมเอาเศษทองคำออกมาเลย
จิตไม่เคยดับ ไม่มี จิตไม่เคยดับ
ถ้าจิตดับนะ เวลาตายไป บุพเพนิวาสานุสติญาณน่ะ คนปฏิบัติมามันจะรู้ จุตูปปาตญาณน่ะมันจะไปเกิดที่ไหน จิตนี้ไม่เคยดับ ไม่มีเว้นวรรค
เราพูดบ่อยมากว่า ไม่มีเว้นวรรค อย่าว่าแต่ดับเลย เว้นวรรคยังไม่มีเลย แม้แต่หลับก็ฝัน แม้แต่หลับก็ฝัน
เวลาตายออกไปจิตนี้มันออกไปไหน จิตนี้ไม่เคยดับ แล้วจิตนี้มันทำงานตลอดเวลา อ้าว.. ตอนนี้เรานั่งด้วยสตินะ เรานั่งแบบว่าคนไม่คิดเลย เรารู้สึกตัวไหม บางคนนั่งอยู่เฉยๆ มันเหม่อ มันไม่ดับหรอก มันไม่ดับ แต่มันไม่มีเครื่องแสดงออก คือมันไม่ได้คิด
โดยธรรมชาตินี่นะ ปฏิสนธิจิต เวลามันไปเกิดในปฏิสนธิในไข่เห็นไหม ในไข่ ในน้ำคร่ำ ในโอปปาติกะ ไปเกิดเป็นเทวดา อินทร์ พรหม มันไม่มีเว้นวรรคเลย จิตตัวนี้ไม่เคยดับ ถ้าจิตดับนะ แม้แต่เข้าถึงที่สุดแห่งทุกข์ก็ไม่ดับ จิตนี้ไม่เคยดับ
ถ้าจิตนี้ดับนะ ใครจะรับรู้ถึงวิมุตติสุข แล้วใครถึงที่สุดแห่งทุกข์ ไม่มีดับหรอก แต่ขณะที่มันทุกข์ มันทุกข์แสนสาหัสสากรรจ์ พอทุกข์แสนสาหัสสากรรจ์เห็นไหม มันก็แบกรับ
โดยธรรมชาติเราบอกว่า จะดูจิตไม่ดูจิตก็แล้วแต่ ธรรมชาติของจิต มันปล่อยอาการของมัน ถ้ามันเสวยจนเต็มที่ ถ้าคนเป็นทางโลก เราดื่มสุรา เรากินเหล้าจนอาเจียนขนาดไหน เวลาถึงที่สุดแล้วมันก็พอของมัน เวลาหิวกระหายอยากกินเหล้าจนลงแดง มันก็เป็นอารมณ์เหมือนความรู้สึกเหมือนกันนะ เพราะจิตมันมีอารมณ์ความรู้สึก
แต่ว่าเวลามันปล่อยขึ้นมา มันเป็นหนึ่งเดียว พอมันเป็นหนึ่ง พอพุทโธ พุทโธอยู่ มันเป็นหนึ่ง อันนี้ จิตมันเป็นหนึ่ง มันถึงเป็นสัมมาสมาธิ ตรงนี้ไม่เคยดับ แต่มันดับความพอ อยากกินเหล้า หรือกินพอแล้วไม่พอ มันดับอันนั้นไง ถ้ามันดับอันนั้น
ความดับของจิต คำว่าดับนะ ถึงว่าหลวงตาท่านเคยฟังหลวงปู่มั่น ที่ฟังเทศน์หลวงปู่มั่นที่หนองผือ ท่านบอกว่า
อู้ฮู เทศน์นี่สุดยอดเลย ขนาดที่ว่าพอจิตมันลง เสียงเทศน์แว๊วๆๆๆ อยู่ข้างบนนะ ได้ยินอยู่ แต่จิตมันลง พออย่างนี้ ท่านบอกฟังเทศน์มา จิตดับไป ๓ วัน
จิตดับไป ๓ วันท่านยังเคลื่อนไหวอยู่ มันไม่ได้ดับหรอก คำว่าจิตดับนี่ มันดับจากสัญญาอารมณ์ ดับจากความรู้สึก ดับจากความคิด ดับจากความทุกข์ แต่มันเป็นเอกเทศของตัวมันเองไง จิตไม่เคยดับ แล้วจิตก็ไม่ใช่ขันธ์ด้วย
ขันธ์ ๕ ไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ขันธ์ ๕ เรายังยืนยันอยู่อย่างนี้แหละ จิตเป็นจิต ขันธ์เป็นขันธ์ คำว่าขันธ์ ๕ ขันธ์ก็รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จิตไม่ใช่ขันธ์ ถ้าจิตเป็นขันธ์นะ เพราะถ้าจิตเป็นขันธ์ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕
พระโสดาบันนะ ถ้าขันธ์มันขาดไปแล้วนะก็ตายสิ อ้าว.. พระโสดาบัน เวลาพระโสดาบันขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์กับจิต อ้าว.. แล้วขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา อ้าว.. แล้วมันเหลืออะไรล่ะ.. เหลืออะไร.. แล้วขันธ์ไม่ใช่จิต เพราะเขาไม่รู้ไง
นี่ไง เขาบอกว่าเป็นทัศนคติ เป็นมุมมอง ถ้ามุมมอง เขามีมุมมองอย่างนี้ปั๊บ มุมมองใช่ไหม เหมือนเรารับนโยบายใครมา เราต้องตอบสนองนโยบายนั้น กิเลสมันอยู่กับใจใช่ไหม มันก็ศึกษาธรรมะพระพุทธเจ้าใช่ไหม ศึกษาได้แค่นี้ไง ถ้าขันธ์มันไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ต้องสร้างขันธ์ มันเป็นอารมณ์สร้างนะ
เขาไปศึกษาธรรมะพระพุทธเจ้า แล้วเขาก็สร้างนิยาม สร้างนิยาย สร้างความรู้สึกของตัว ให้มันเป็นตามนั้น แล้วสร้างอารมณ์ใช่ไหม เหมือนเราเขียนพล็อตเรื่องโครงเรื่อง พอพล็อตเรื่องโครงเรื่องเราต้องทำอย่างนั้น นี่โครงเรื่องมันแตก มันแตกเพราะอะไร เพราะเทศน์ทุกวัน โครงเรื่องนี่มันซ้ำไปซ้ำมา มันก็พลิกไปพลิกมา ไอ้โครงเรื่องมันเลยพันคอตาย มันก็ไม่รู้ว่าจะแก้ยังไง
แต่ถ้าเป็นความจริงนะ มันมีของมันอยู่แล้ว จิตไม่เคยดับ จิตไม่เคยดับ แต่เราพูดถึงว่าจิตเวลาลงสงบ เวลาจิตมันสงบนะ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ
อัปปนาสมาธิ มันดับจากโลกหมด ดับจากสัญญารับรู้ทั้งหมด ขณิกสมาธิ จิตมันสงบเข้ามา สงบเข้ามาได้ส่วนหนึ่ง แล้วเรายังคิดได้ ยังรับรู้สิ่งต่างๆ ได้ แต่มันสงบเข้ามาพอสมควร
อุปจารสมาธิ จิตมันจะลึกเข้าไปอีกส่วนหนึ่ง แล้วมันยังอุปจาระ มันยังรอบรู้จิตคือมันเห็นนิมิตได้ ความสงบอย่างนี้เห็นนิมิต เรานั่งอยู่นี่เราเห็นนิมิตไหม ตาเห็นภาพอย่างนี้ อันนี้ถ้าพูดถึง ถ้าเป็น จะพูดกันโดยข้อเท็จจริงนะ ก็นิมิต
นิมิตคือเครื่องหมายรู้ จิต ตามันไปเห็นนิมิต รูปภาพที่เราเห็น รูปสิ่งต่างๆ ที่เราเห็น คือนิมิตหมาย นิมิตหมายว่านี่คือขวดน้ำ นิมิตหมายว่านี่คือกระโถน นี่คือนิมิต นิมิตคือเครื่องบอก นั้น นี่โลกๆ เห็นโดยตาเนื้อไง
แต่ถ้าเป็นข้อเท็จจริงเห็นไหม จิตเป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ ตอนอุปจาระมันจะเห็นนิมิตได้ เห็นนิมิตได้ รับรู้ได้ พอรับรู้ได้ ปัญญามันจะเกิดช่วงนี้ แล้วถ้าพุทโธเข้าไปอีก พุทโธเข้าไป มันเป็นอัปปนาสมาธิ ดับหมด! ดับ!
ถ้าดับแล้วใครเป็นสมาธิ ใครเป็นสมาธิ ก็จิตมันเป็นสมาธิเห็นไหม พุทโธๆ หรือกำหนดลมหายใจเข้าไปจนละเอียดเข้าไป จนจิตสักแต่ว่าจิต พอจิตมันเป็นหนึ่ง ดูสิที่ว่าอยากกิน อยากรู้ ขันธ์ ๕ คือความคิด รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คือรูป แล้วพอมันเข้ามาถึงมันเอง มันสลัดรูป รูป เวทนา สัญญามันสลัดออกหมด ขันธ์ถึงไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ขันธ์
ถ้าขันธ์เป็นจิต จิตนี้เข้าสมาธิยังเชื่อไม่ได้เลย อย่าว่าแต่ประพฤติปฏิบัติ จิตเข้าสมาธิมันปล่อยขันธ์หมด มันปล่อยหมดนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันปล่อยหมดจนเข้ามาเป็นสมาธิ เข้ามาเป็นหลักของมันเห็นไหม เข้ามาเป็นเอกเทศ เข้ามาเป็นจิต จิตล้วนๆ จิตที่ไม่มีอะไรเป็นเครื่องแสดงออก คืออัปปนาสมาธิ
สักแต่ว่า แต่คำว่าสักแต่ว่ามันเป็นความรู้อันหนึ่ง ทีนี้ถ้ามันบอกรู้ ถ้าคำว่ารู้ใช่ไหม เพราะกฎหมาย เพราะทฤษฎี คำพูดทุกคน ทุกคำพูดมันต้องสมบูรณ์ในคำมันเอง ถ้ารู้ก็ต้องรู้หมดสิ ถ้ารู้ก็ต้องรู้ทุกสิ่งใช่ไหม รู้ก็ได้ยินเสียงสิ
แต่ทีนี้ เรารู้ได้ว่าคนที่พูดอย่างนี้ คือ เขาแม้แต่อัปปนาสมาธิ พวกนี้ไม่เคยเข้า พวกนี้เข้าทำสมาธิไม่เป็น ถ้าทำสมาธิเป็นนะ คำพูดอย่างนี้เขาจะไม่พูดออกมา ปล่อยไก่เป็นเล้าๆ ออกไป ให้เที่ยวตะปบ ให้เที่ยวจับไก่ เพราะในตำรามันมี อัปปนาสมาธิ มันเป็นสิ่งที่แสดงออกไม่ได้ ในตำราก็บอกอยู่
ทีนี้ในตำราบอกอยู่ ไอ้ตำรามันคือกฎหมายใช่ไหม เรานี่ทำผิดกฎหมายเกือบทุกวัน ทำผิดเล็กๆ น้อยๆ ที่มันไม่ผิดกฎหมายมาก ทำโดยเราไม่ได้ตั้งใจ นี่ก็เหมือนกัน ถ้ามันพูดมันก็พูดไปตามประสานั่นน่ะ พูดไปตามกฎหมายใช่ไหม แต่ถ้าเป็นข้อเท็จจริงนะ คนมันรู้จริง มันจะออกผิดอย่างนั้นไม่ได้
ฉะนั้นเวลาเข้าอัปปนาสมาธิ สักแต่ว่าคือจิตมันรับรู้โดยตัวมันเอง แต่มันรับรู้ออกจากนอกตัวมันเองไม่ได้ ถ้ามันรับรู้ออกจากตัวมันเองไม่ได้ มันจะเกิดปัญญาขึ้นมาโดยเกิดปัญญาได้ยังไง แล้วมันรับรู้ด้วยตัวของมันเอง ในตัวของจิตเองเห็นไหม
ดูสิ หลวงตาท่านพูดบ่อย พระอรหันต์ สิ่งที่เป็นผลพระอรหันต์แสดงออกไม่ได้ ต้องอาศัยขันธ์ อาศัยสิ่งที่ว่าสอุปาทิเสสนิพพาน คือสิ่งที่ได้เกิดเป็นสถานะของมนุษย์ แต่ไอ้ตัวพลังงาน มันถึงที่สุดแห่งทุกข์ มันแสดงออกไม่ได้นะ การแสดงออกต้องใช้ขันธ์ ต้องผ่านขันธ์ ผ่านสัญญา ผ่านการจำ ผ่านความรับรู้ ผ่านออกมา
นี่พูดถึงเวลาสิ้นสุดแห่งทุกข์ในการปฏิบัติ เพราะมันละสังโยชน์หมดทั้ง ๑๐ ตัว แต่ถ้าปุถุชนสังโยชน์เต็มตัว ไม่มีอะไรละเลย แล้วขนาดที่ว่าจิตที่มันเข้าแค่ความสงบ ยังไม่รู้ว่าไอ้สงบ ไม่สงบ เพราะไม่รู้ ประสาเราว่าเบสิกไม่รู้ พื้นฐานไม่รู้ เราเป็นนักฟุตบอล แต่เราไม่รู้กติกาฟุตบอลว่าเขาห้ามใช้มือจับ มันเล่นฟุตบอลนะ มันเอามือจับบอลแล้วก็วิ่งเข้าไปทุ่มในประตูเขาเลย มันบอกมันได้ประตู
ฟังเทศน์เขา แล้วความรู้สึกมันเป็นอย่างนี้จริงๆ นะ
เขาไม่รู้ถึงกติกาของเกมฟุตบอล เขาไม่รู้ถึงกติกาของเกมบาสเก็ตบอล เขาไม่รู้ถึงกติกาของรักบี้ เขาไม่รู้กติกาของอะไรเลย เขาถึงไม่รู้ว่าขณิกสมาธิเป็นอย่างไร อุปจารสมาธิเป็นยังไง อัปปนาสมาธิเป็นยังไง
แล้วเขาก็ไม่รู้ด้วยว่าประชาชน เขาอยู่กันยังไง เขาก็ไม่รู้ว่าประชาชนความเป็นอยู่ของกฎหมายที่บังคับประชาชน ประชาชนต้องเสียภาษีอย่างไร
ประชาชน หน้าที่ของประชาชน ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย หน้าที่ประชาชนต้องเสียภาษี ต้องเสียภาษีถ้ามีรายได้ หน้าที่ของประชาชน ต้องมีสิทธิในการเลือกตั้ง เขายังไม่รู้เลย เพราะอะไร เพราะมันใช้ปัญญาไม่เป็น ปัญญาคือสิทธิหน้าที่ของประชาชน ปัญญาคือสิทธิหน้าที่ของจิต จิตที่มันมีสมาธิขึ้นมาแล้ว มันต้องทำหน้าที่ของมัน เพื่อประโยชน์ของมัน มันก็ไม่รู้
ถ้ารู้นะ สิ่งที่เราอ่านของเขา เขาไม่พูดออกมาอย่างนี้หรอก มันขัดแย้งกันไปทุกขั้นตอนเลย แล้วนี่ยังบอกว่า โอ้.. พระสงบพูดว่าจิตดับ ไม่ใช่ เพราะพระสงบเวลาพูดถึงการทำสมาธิ พูดถึงกฎกติกา ความดำรงของกีฬาที่เขาเล่นกัน กีฬาที่เขาเล่นกันฟุตบอล บาสเก็ตบอล รักบี้ ใครจะเล่นก็ได้ ใครจะไม่เล่นก็ได้ ใครเป็นนักกีฬาอาชีพก็เล่นกีฬาประเภทนั้น ประชาชนน่ะจะดำรงอาชีพอะไรก็ได้ ไม่ใช่ต้องดำรงอาชีพด้วยเป็นนักกีฬาอาชีพ
การทำสมาธิและไม่ทำสมาธิ ทุกคนก็มีสิทธิที่จะทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้ แล้วแต่คนเห็นประโยชน์กับมัน หรือไม่เห็นประโยชน์กับมัน มันไม่ใช่มีความจำเป็นที่ทุกคนต้องทำสมาธิ หรือไม่ทำสมาธิเพราะมันเป็นสิทธิหน้าที่ ไม่เป็นความผิดตามกฎหมาย มันเป็นสิทธิในความพอใจที่คนเห็นประโยชน์และไม่เห็นประโยชน์กับมัน
การทำสมาธิก็เหมือนกัน ที่ว่าขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ มันก็ต้องศึกษามันก็เข้าใจว่า ถ้าเรามีความพอใจว่าเราจะทำสมาธิ เรามีความพอใจว่าเราจะเล่นกีฬานั้น เราก็ต้องยอมรับกติกานั้น
จิตที่มันสงบเข้ามาตามความเป็นจริงของมันน่ะ มันก็จะเห็นสภาพของมันว่าขณิกสมาธิเป็นอย่างไง อุปจารสมาธิเป็นอย่างไง อัปปนาสมาธิเป็นอย่างไง ฌาน ๑ ฌาน ๒ ฌาน ๓ ฌาน ๔ รูปฌาน อรูปฌานเป็นอย่างใด แล้วสิ่งใดที่เป็นอัปปนาสมาธิ
อัปปนาสมาธิ กับกรรมฐานโดยคำบริกรรมมันแตกต่างกันอย่างไร ปัญญาอบรมสมาธิ ทำไมมันถึงเป็นสมาธิด้วยการใช้ปัญญา ปัญญาต่างๆ มันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ แล้วก็ปัญญาที่อยู่ในขั้นหน้าที่ของปัญญาที่ออกประพฤติปฏิบัติ มันยังมีอีกแตกต่างไปมหาศาลเลย
นี่พูดถึงเบสิกพื้นฐานของมนุษย์ สัญชาตญาณของมนุษย์ พื้นฐานของมนุษย์ ยังไม่ได้พูดถึงมรรคผลนิพพานเลยนะโว้ย.. มรรคผลนิพพานที่มันจะก้าวขึ้นมา ยังไม่พูดถึงเลย เรื่องพื้นๆอย่างนี้ เรื่องพื้นๆของความเป็นมนุษย์ ของจิตที่มันมีอยู่ เขายังไม่สามารถรู้ได้เลย
แล้วบอกว่า มรรคผลนิพพานคนนั้นบรรลุขั้นนู้น ขั้นนั้น
เราไม่เคยเชื่อเรื่องอย่างนี้เลยนะ เวลาเราพูดออกไป
สิทธิหน้าที่ของมนุษย์ สิทธิหน้าที่ในหน้าที่ของการเล่นกีฬา สิทธิหน้าที่ของการงาน ใครมีอาชีพอะไร เป็นตำรวจ เป็นทหาร เป็นข้าราชการ เป็นรัฐวิสาหกิจต่างๆ เขาก็มีสิทธิ และความเป็นอยู่ของเขาตามหน้าที่ของเขาทั้งนั้นนะ
อันนี้ก็เหมือนกัน ในเมื่อการประพฤติปฏิบัติ ถ้ามันจะปฏิบัติขึ้นมา ถ้ามันรู้จริงของมันเห็นไหม ดูสิความกว้างขวางของการดำรงชีวิต มันกว้างขวางขนาดไหน แล้วเวลาเราพูด คำสองคำจะรัดคอตายเห็นไหม ว่าพระสงบบอกว่า จิตต้องดับ จิตดับได้ ดับได้ เพราะว่ามันมีกรณี
เช่น คนทำหน้าที่ใดก็แล้วแต่ ถ้าเขาทำผิดพลาดขึ้นมา มันก็มีกฎระเบียบที่จะตัดสินอันนั้นใช่ไหม กฎระเบียบหน้าที่รัฐวิสาหกิจเขาก็มีระเบียบของเขา ตำรวจเขาก็มีระเบียบของเขา ทุกคนก็มีระเบียบของเขาใช่ไหม
อันนี้ก็เหมือนกัน ในเมื่อเริ่มต้นว่าเราจะบวชพระ เราก็ต้องมีศีลของเราใช่ไหม เวลาปฏิบัติขึ้นมา คำว่าจิตดับ คำพูดพื้นๆ ว่าจิตดับ มันดับจากความรู้สึก แต่ตัวจิตจริงๆมันไม่ดับหรอก อย่างเช่น เราทำอาหาร เอาถ่านมา เอาถ่านมาทำไม เอาถ่านมาติดเตา เพื่อจะติดไฟใช่ไหม แล้วเราก็มีกระทะมา แล้วเราก็ต้องมีไข่มา มีน้ำมันมาจะทอดไข่ เขาบอกว่า ถ่านกินไม่ได้ เอาถ่านมาทำไม อ้าว.. ก็ไม่มีถ่าน มึงไม่จุดไฟ มึงจะทอดไข่ยังไง
นี่ก็เหมือนกัน ว่าจิตดับ จิตดับ มันแค่เอาถ่านมา เอาถ่านมาแล้วว่าจะจุดไฟ พอจุดไฟแล้วก็เอากระทะมา เอากระทะมาก็เอาไข่มา เอาน้ำมันมาทอดไข่ จิตดับอย่างนี้มันดับแค่พื้นฐาน ดับเรื่องของเราทำความสงบของใจ ดับแต่สัญญาอารมณ์ ตัวจิตจริงๆ ไม่ดับหรอก ตัวจิตจริงๆ ไม่ดับ แล้วไม่ใช่ขันธ์ด้วย
ตัวจิตก็คือจิต ปฏิสนธิจิต อวิชฺชา ปจฺจยา สงฺขารา สงฺขารา ปจฺจยา วิญฺญาณํ นี่คือปัจจยาการ นี่คือจิตเดิมแท้ แต่เวลาขั้นของโสดาบัน สกิทา อนาคา ละขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ นะ ละขันธ์ ๕ ด้วยการพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม มันคนละเรื่องเลย
ไอ้ที่พูดนี่นะยังไม่เข้าอริยสัจ ยังไม่ได้เข้าเรื่องวิปัสสนาอะไรเลย เพียงแต่มันเป็นเรื่องของสมาธิ เรื่องของสมถะ เรื่องของการทำความสงบของใจ พอใจมันสงบ มันดับหมด คนภาวนานะ เดินจงกรม เดินจงกรมถ้าจิตมันลงนะ เหมือนกับเดินลอยไปลอยมา มันว่างหมด มันเบาหมดเลย มันละจากความรู้สึกเข้ามา
เราพยายามอธิบายนะ เพราะเขาพูดเองว่าจิตดับไม่ได้ จิตมีตลอดเวลา อ้าว.. ดับไม่ได้ ดับไม่ได้ แล้วมันลงได้ยังไง แล้วพอจิตดับได้ ดับได้แล้วจิตไม่มีเหรอ จิตอย่างหยาบ จิตอย่างกลาง จิตอย่างละเอียด จิตอย่างละเอียดสุด มันมีเยอะแยะไปหมด แล้วเราจะพูดยังไง เราจะพูดระดับไหน
เวลาเราพูดแก้พวกพุทโธ เขาบอกพุทโธๆ ไปจนพุทโธจะต้องขาด เราบอกไม่ขาด พุทโธไม่ขาด ห้ามขาดด้วย แต่จริงๆ พุทโธๆ ไปนะ ถ้าจิตมันลงถึงตัวมันเองนะ ตัวมันเองมันจะสงบมาก ตัวมันเองจะตื่นตัวมาก แต่นึกพุทโธออกไม่ได้เลย คือมันจะเป็นไปโดยข้อเท็จจริง มันจะเป็นไปโดยข้อเท็จจริง มันจะพุทโธไม่ได้เลย แต่ของเรา พุทโธๆๆๆๆๆ พุทโธหลับไปเลย ก็อยากให้พุทโธหลับไง เวลาเราแก้คนเราแก้อย่างนี้
จริงๆ คือพุทโธ มันพุทโธถึงที่สุดแล้ว พุทโธ ที่บอกพุทโธดับ พุทโธไม่ได้เพราะพุทโธมันจะหยาบ ไอ้เราก็เลยพุทโธๆๆๆๆๆ หลับ หลับนอนอยู่นั่นล่ะ มันไม่เข้าถึงความเป็นจริงเลย นี่ถ้าเราบอกว่าพุทโธดับไม่ได้ เขาก็ตั้งใจพุทโธตลอดเวลา พุทโธๆๆๆๆๆ แต่โดยข้อเท็จจริงของมันเห็นไหม
เพราะหลวงตาพูดบ่อย คนเราอยู่เป็นอารมณ์สองคือ มีความรู้สึก กับมีความคิด พุทโธคือความคิด พุทโธๆๆ ถ้าเราไม่คิดพุทโธมันคิดร้อยแปด คิดพันเก้า คิดแต่เรื่องมันไปตลอดเวลา เราก็บังคับให้คิดพุทโธ
พุทโธคือวิตก วิจาร มันก็เข้าองค์ประกอบของสมาธิ คือวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ พุทโธๆ คือวิตกขึ้นมา วิตกคือเอาวิตก ก็พยายามดึงจิต ดึงพลังงานมาอยู่ที่พุทโธ ถ้าเราไม่ดึงพลังงาน พลังงานมันมีอวิชชาครอบงำมันอยู่ มันจะไปตามฤทธิ์เดชของมัน มันจะคิดแต่ความพอใจของมัน
เราก็ตั้งสติให้มันนึกพุทโธเห็นไหม เราก็บังคับให้พลังงานทั้งหมด มันอยู่ที่พุทโธๆๆๆๆๆ พุทโธไปเรื่อยๆ พอพุทโธไปเรื่อยๆ พุทโธไปเรื่อยๆ พุทโธมันเป็นพุทธานุสติ จิตมันก็เกาะกับพุทโธไปเรื่อยๆ
พอพุทโธ พุทโธมันไม่ไปไหน พุทโธจนถึงที่สุดมันเข้าไปสู่แกนกลางของมัน เข้าไปสู่ถึงพลังงานนั้น พลังงานนั้นมันรวมเข้ามาเป็นหนึ่งเดียว พอเป็นหนึ่งเดียว มันจะนึกพุทโธอีกไม่ได้เลย เพราะว่ามันจับ เพราะว่ามันจะนึกได้ต่อเมื่อมันมีผลกระทบ มันต้องมีความรู้สึกกระทบกัน ระหว่างมือสองมือจับกัน แต่มือกับมือ มือต่อมือมันเป็นอันเดียวกันแล้ว มันจะนึกพุทโธไม่ได้โดยธรรมชาติของมันเอง
นี่ไง พอหลวงตาบอก ท่านเข้าไปถึงที่สุด เอ๊อะ.. ตอนนี้พุทโธไม่ได้ แล้วจะทำยังไง พุทโธทำไม่ได้เห็นไหม พุทโธทำไม่ได้ยังคิดได้ พุทโธไม่ได้ทำยังไง
ถ้าพุทโธไม่ได้ก็อยู่กับความรู้สึกอันนี้เสีย พอความคิดเกิดปั๊บ ท่านบอกพุทโธยัดใส่เลย มันก็กลับมาอยู่ที่สมาธินั้นเสีย
สมาธินั้นคือจิตหนึ่ง อ้าว.. แล้วพอจิตหนึ่งไม่ได้อีกเหรอ จิตหนึ่งก็มีแค่สมาธิ จิตหนึ่งก็สมาธิ เพราะว่าถึงที่สุด เอโกธัมโม ไม่ใช่จิตหนึ่ง เวลาธรรมเป็นธรรม ธรรมเป็นหนึ่งเดียว ธรรมไม่ใช่จิตหนึ่ง จิตหนึ่งนี้อวิชชา ธรรมหนึ่งเป็นธรรมแท้
แต่แล้วจิตหนึ่งกับธรรมหนึ่งต่างกันอย่างไร จิตหนึ่งก็คือภวาสวะ คือภพ ธรรมแท้เพราะมันชำระล้างแล้ว มันถึงเป็นธรรมของมัน เพราะที่สุดแห่งทุกข์มันมี พอมันมีของมัน นี่เป็นความจริงของมัน นี้มันเป็นพื้นฐาน
เพียงแต่ว่าเราจะพูดกับใคร จะตอบกับใคร เราถึงบอกไง บอกกับพวกโยมประจำว่า ในพระไตรปิฎก เราบอกพุทธพจน์ พุทธพจน์ ใช่พุทธพจน์ เวลาพระพุทธเจ้าท่านตรัสกับใคร ถ้าตรัสกับคฤหัสถ์ก็อย่างหนึ่ง ตรัสกับผู้ปฏิบัติก็อย่างหนึ่ง ตรัสกับผู้ที่ปฏิบัติจะสิ้นสุดแห่งทุกข์ก็อีกอย่างหนึ่ง
ธรรมะนี้มันหลากหลายมันแตกต่าง มันสูงส่งแตกต่างกันมาก แต่บอกพุทธพจน์ปั๊บ พระพุทธเจ้าพูดอย่างนั้น พูดอย่างนั้น นี่ก็เหมือนกันเวลาพูด จิตไม่เป็นอาตมัน ถ้าเป็นอาตมัน เป็นอัตตา เป็นอาตมัน มันชำระไม่ได้ จิตนี้มันเป็นไปตามกรรม
ดูอารมณ์ความรู้สึกสิ เวลาเราโกรธ โกรธอย่างสุดๆ เลย เวลาเรารัก เรารักอย่างเต็มที่เลย เวลาเราไม่เข้าใจตนเอง เราหลงตนเอง เราก็หลงเต็มที่เลย นี่ไง ถ้ามันเป็นอาตมันมันต้องตายตัว มันไม่เป็นอาตมัน มันเป็นแต่อารมณ์ความรู้สึกที่มันแปรปรวน อารมณ์แปรปรวนที่เราจับต้องมันไม่ได้
แต่พอจิตเราสงบแล้ว เราเห็นเหตุที่มันแปรปรวน เหตุที่มันเริ่มมีความโกรธ โกรธจากอะไร อะไรเป็นสมุฏฐาน อะไรเป็นต้นเหตุ มันจะไล่เข้าไปตลอด มันจะไปชำระความโลภ ความโกรธ ความหลงเห็นไหม ความโลภ ความโกรธ ความหลงมันถึงไม่เป็นอาตมัน จิตนี้ไม่เป็นอาตมัน จิตนี้มันมีของมัน
คำว่าอาตมัน ถ้าจิตที่คงที่ตายตัว ก็เป็นฮินดู เป็นอาตมัน ต้องไปอยู่กับพระเจ้า จิตนี้ก็อยู่กับพระเจ้า ไม่ใช่ จิตนี้เป็นสันตติ
สันตติคือ จิตไม่เคยเป็น ไม่เคยเกิดไม่เคยตาย ถ้าจิตมันเคยเกิด เคยตายนะ พระโพธิสัตว์ไง พระพุทธเจ้านี่ ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย สมมุติว่าชาตินี้เราทำบุญมหาศาล ชาตินี้ทำบุญมหาศาล แล้วได้เกิดไปชาติหน้าแล้วบุญนี้ไปไหน บุญอันนี้ไปไหน แล้วทำบาปทำบุญมันก็อยู่ นี่สันตติ
จิตนี้มันไม่เคยตาย มันจะสืบต่อ ไม่งั้นพระโพธิสัตว์ก็ไม่มี อย่างเช่นเราเกิดมาประชาธิปไตยนี่ไง ทุกคนมีค่าเท่ากันหมดเลย แล้วบุญกรรมเท่ากันไหม อารมณ์ความรู้สึกของคนเท่ากันไหม มันไม่เท่ากัน ไม่เท่ากันเพราะว่าเวียนตายเวียนเกิด พันธุกรรมทางจิต ที่มันตัดแต่งของมันในการกระทำ จิตมีการกระทำ มันตัดแต่งในตัวมันเอง พอตัดแต่ง มันก็แตกต่างกันไปด้วยเวรกรรมที่มันทำขึ้นมา
แล้วมันเป็นอาตมันตรงไหน มันไม่เป็นอาตมันหรอก นี่พุทธศาสตร์ ไม่ใช่ฮินดูศาสตร์ พุทธศาสตร์ไม่ใช่พราหมณ์ แล้วชัดเจนมาก เพียงแต่อธิบาย เวลาอธิบาย มันอยู่ที่ข้อเท็จจริงไง อย่างเช่น คนป่วยมา เอาคนที่เป็นไข้มา เราก็ให้ยาลดไข้ อ้าว.. คนที่มาลาเรียมาเราก็ให้มาลาเรีย อ้าว.. คนที่เป็นหวัดนกมาก็หวัดนก แล้วแต่มันคนจะเป็นไข้อะไรมา
นี่..ที่เราพูดออกไป มันต้องดูว่าพูดอะไร พูดกับใคร เหตุผลที่พูดอะไร ไม่ใช่คำพูดนี้ใช้ได้ทุกอย่างเลย โอ๊ย.. ถ้าอย่างนั้นนะ เราก็มียาตัวเดียว รักษาคนได้ทั้งโลก ไม่มีทาง
ฉะนั้นเวลาพูดนี่ เราถึงบอกไม่ได้พูด ไม่ได้พูดว่ามันคงที่ตายตัว หรือดับ ดับไม่มีเลย แล้วไม่ใช่ขันธ์ด้วย มันเป็นการปฏิบัติ คนเรามันจะเห็นนะ มันปฏิบัติเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป เป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมา แล้วเพราะไม่มีชั้นมีตอนขึ้นมา เราไปยึดทฤษฎีที่ตายตัว มันไม่มี ไม่เป็นไป นี่เห็นไหม นี่คนเก็บขยะ ถ้าคนเก็บขยะรู้จักขยะมีคุณค่า ไม่มีคุณค่า แต่คนที่ไม่รู้จักขยะ
คนที่จิตใจมันไม่เป็นธรรม แม้แต่ทองคำ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทำให้เสียหายได้
แต่คนเก็บขยะนะ เพราะอะไร เพราะธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช่ไหม จิตใจของเรา ถ้าเป็นคุณธรรม มีคุณธรรม สิ่งที่เป็นประโยชน์กับสังคม ก่อนที่จะเป็นประโยชน์กับสังคม ต้องเป็นประโยชน์กับตัวเราเองก่อน ตัวเราเองเห็นไหม ดูสิ กติกาของการเล่นกีฬา นั่นสิทธิหน้าที่ของประชาชน สิทธิหน้าที่ของจิต สิทธิและหน้าที่ของกรรม ของเศษกรรม กรรมที่มันเกิด สิ่งนี้มันเป็นสิทธิหน้าที่ของแต่ละบุคคล แล้วสิทธิหน้าที่ของบุคคล ความเห็น ความแตกต่าง
จิตใจที่เป็นธรรม มันเป็นธรรมขึ้นมา แม้แต่เป็นเศษขยะ สิ่งต่างๆ มันจะเป็นประโยชน์ เป็นคุณธรรมทั้งนั้นเลย สิ่งนี้มันถึงชี้บอกไง ว่าใจนี่มันเป็นจริงหรือไม่เป็นจริง ถ้าเป็นจริงจะมีคุณธรรมมาก คุณธรรม แล้วคุณธรรมนะ ดูสิ เราพูดบ่อย ครูบาอาจารย์ท่านเล่าประจำว่า หลวงปู่มั่นน่ะ ท่านเข้มงวดมาก การเข้มงวด มันก็เหมือนนักกีฬานี่ โค้ชหรือต่างๆ เขาต้องการความฟิต เขาต้องการให้นักกีฬาร่างกายแข็งแรง พื้นฐานการเล่นกีฬาต้องทดสอบ ต้องทบทวนตลอดเวลา เพื่อให้มีความชำนาญ
ครูบาอาจารย์ของเราท่านก็ต้องการตรงนี้ ท่านต้องการตรงนี้ปั๊บ ท่านถึงเข้มงวดกับลูกศิษย์มาก ความเข้มงวด มันเป็นความปรารถนาดี ความเข้มงวดนี่เป็นสิ่งที่ความปรารถนาดี ความอยากจะฟูมฟัก ท่านอยากจะฟูมฟัก แต่การที่เรามีกิเลส คนมีกิเลสไปบอกว่าฟูมฟักนะ มันจะนอน โอ๊ย.. โอ๊ย.. ฟักหน่อย ฟักหน่อย
การฟูมฟักแบบครูบาอาจารย์ ท่านฟูมฟักด้วยไม้เรียว ด้วยแส้ ด้วยหางกระเบน เราก็ อู้ฮู.. น่าดุ น่ากลัว มันแตกต่าง เราก็เลยไม่กล้า
หลวงตาท่านพูดคำนี้ มันสะเทือนใจเรา ท่านบอกว่า
มีคำร่ำลือมากว่าหลวงปู่มั่นดุ ท่านคิดขึ้นมาเลยนะ ถ้าหลวงปู่มั่น เขาร่ำลือกันว่าเป็นพระอรหันต์ พระอรหันต์จะไม่ทำร้ายใคร ท่านจะดุหรือจะไม่ดุ ขอให้ไปเผชิญเอง อย่าแต่ฟังข่าวเขาว่าหลวงปู่มั่นดุ หลวงปู่มั่นดุ ท่านถึงเข้าไปหาหลวงปู่มั่นด้วยตัวท่านเอง ว่าคนที่มีคุณธรรมจะทำร้ายเราหรือ จะดุเราโดยไม่มีเหตุมีผล ท่านจะมีคุณธรรมอย่างนั้นจริงหรือ ท่านถึงเข้าไปสัมผัส ท่านบอกกลัวไหม กลัว เพราะไม้ใครไม่กลัว หางกระเบนใครไม่กลัว กลัวมาก ทั้งกลัว ทั้งเคารพ ทั้งรัก ทั้งบูชา เพราะว่าท่านปรารถนาดีกับเรา ท่านเคี่ยวเข็ญก็เพื่อคุณงามความดีของเรา ท่านตรวจสอบดูแลก็เพื่อความดีของเรา นี้เป็นสังคมไทย รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี
แต่เรื่องของกิเลสเห็นไหม เขาให้ทองคำมา ก็รักษาทองคำนั้นไว้ไม่ได้ โอ๋.. กัน ดูแลกัน ทำอะไรสะดวกสบายกัน ทำให้เสียหายกันไปหมด แต่ถ้าพูดถึงคนที่เก็บขยะ ถ้ามันรู้จักเก็บขยะ รู้จักจิตใจมันดี มันจะสร้างฐานะขึ้นมาเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี จะเป็นคนที่มีคุณธรรมในหัวใจ เราเลือกเอา เราคิดเอา แล้วมาเปรียบเทียบในชีวิตเรา ว่าสิ่งใดเป็นความจริง แล้วสิ่งใดที่ไม่เป็นความจริง ถ้าสิ่งใดเป็นความจริง มันรับรู้ได้ มันตรวจสอบได้ มันพัฒนาการของมันได้ จิตมันพัฒนาการของมัน
ทีนี้เพียงแต่ว่า เพียงแต่ว่าสิ่งที่พูดนี่ เราพูดเป็นกฎตาย เป็นของสิ่งที่ตายตัวเห็นไหม ไม่มีหรอกอย่างที่ว่า ธรรมะนี่สอนอนัตตา มันเป็นอนิจจัง สิ่งที่เป็นอนิจจังเห็นไหม กาลเทศะ กาลเทศะควรพูดกับใคร ควรพูดอย่างใด ถ้ากาลเทศะมันดี พูดแล้วมันจะได้ประโยชน์ ถ้าไม่ใช่กาลเทศะพูดไปแล้วมันกลับเสียหาย
อย่างเช่น เช่นจิตใจเรายังไม่มีคุณธรรม จิตใจเราไม่มีพื้นฐาน เราบอกให้ใช้ปัญญา ใช้ปัญญา เราก็ว่าเราใช้ปัญญาแล้ว แล้วปัญญาของใคร เราจะแยกไม่ได้เลยว่าปัญญาอย่างไร อย่างเช่น เราไม่มีเงิน เราจะไม่รู้เลยว่าเงินชนชาติใด เงินฟรังก์ เงินเหรียญ เงินปอนด์ เงินน่ะ เงินอะไร แล้วใช้คุณธรรมอย่างไร ควรทำสิ่งใด คนเป็นมันใช้ได้นะ
คนไม่เป็นใช้อะไรไม่ได้เลย ทุกอย่างทำเสียหายหมด แล้วก็ใช้ความเห็นของตัว จะต้องให้เป็นความเห็นของตัว มันจะไม่เป็นอย่างนั้นหรอก นี้พูดถึงความมุมมอง เรามองอย่างนี้มานาน แล้วพยายามอธิบายอย่างนี้ แต่เวลาพูดออกไปแล้ว ผู้ฟังไม่เข้าใจคำพูดของเรา ไม่เข้าใจ นี่ไงเวลาบอกว่าธรรมะป่า
ธรรมะป่าต้องปีนบันไดฟัง แต่ถ้าเป็นตรรกะ เป็นปรัชญาธรรมะบ้าน ธรรมะบ้านคือปรัชญา คือสิ่งที่จิตนี้มันคำนวณได้ ใคร่ครวญได้ แหม.. มันเข้าใจ มันลึกซึ้ง
แต่สำหรับเรานะ โอ้.. ไอ้นี่มันกระดาษ แต่ถ้าเป็นปฏิบัติ มันออกมาจากความรู้สึก ถ้าเราไม่มีความรู้สึก หรือประสบการณ์เรารองรับ เรางงนะ เอ๊ะ.. เอ๊ะ.. พูดอะไรนั่นนะ พูดไม่เข้าใจ ทั้งๆ ที่ ถ้าใครมีประสบการณ์อันนี้ อื้อฮือ.. ถูก ถูก ใช่ ใช่ ใช่น่ะ มันจะใช่ ใช่ ตลอดเลย ต้องอย่างนี้ ต้องอย่างนี้
แต่ถ้าเราไม่มีอะไรรองรับนะ เอ๊ะ.. พูดอะไรกันน่ะ พวกนี้สงสัยสติไม่ดี ต้องกลับไปให้ยา เพราะสตินี้มันขาดยา ขาดยาเลยฟุ้งซ่าน แต่ไอ้พวกฟุ้งซ่านมันว่ามันเก่งนะ นี่พูดถึงธรรมะนะ พูดถึงธรรมะ พูดถึงคนเก็บขยะ คนเก็บขยะ ถ้าจิตมันดีมันเป็นประโยชน์ สิ่งที่เขาจะพูดกันไปมันเรื่องของเขา เรื่องของเขา เรื่องของคน เรื่องของกิเลส เอาเรื่องของเราเพื่อประโยชน์กับเราเนาะ เอวัง