ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

นิสัย วาสนา

๑๕ เม.ย. ๒๕๕๔

 

นิสัย วาสนา
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๔
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เอาปัญหานี้ก่อนเลย

ถาม : ครั้งหนึ่งผมเคยนั่งภาวนาได้ประมาณ ๑ ชั่วโมง โดยการกำหนดลมหายใจเข้าพุท ออกโธ ผมรู้สึกเป็นสมาธิมาก แต่แล้วจู่ๆ ผมก็เกิดรู้สึกว่าทุกอย่างนิ่งเงียบไปเหมือนรถที่เคลื่อนที่เคลื่อนตัวมาช้าๆ แล้วจู่ๆ ก็มีคนเหยียบเบรกอย่างกะทันหัน หยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหว ในความมืดนั้นผมเหลียวซ้ายแลขวา ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรต่อ ลืมคำบริกรรมหมดสิ้น แต่พอได้สติก็กลับมาพุทโธใหม่ แต่ความตกใจและงุนงงก็ยังไม่หาย จึงออกจากสมาธิ กราบเรียนถามหลวงพ่อว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นคืออะไร และต้องทำอย่างไร เพราะมันเกิดขึ้นมา ๒ ครั้งแล้วครับ

หลวงพ่อ : เวลาคนปฏิบัติไปมันจะมีอุปสรรคของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน อุปสรรคนะ พูดถึงถ้าเราพุทโธ พุทโธแล้ว พุทโธ พุทโธแล้วจิตเป็นสมาธิได้ เราพุทโธไปเรื่อยๆ ฉะนั้นพอพุทโธจนเกิดอาการอย่างนี้ เราก็พุทโธไป อย่างเช่นเราพุทโธไปประมาณ ๑ ชั่วโมง จิตนิ่งมาก แล้วพอเกิดอาการหายไปใน ๑ ชั่วโมงนั้นแล้วเราก็งุนงงใช่ไหม แล้วพอเราภาวนาครั้งใหม่ต่อไป อาการแบบนี้มันจะเกิดขึ้นเหลือ ๔๐ นาที ๓๐ นาที ๒๐ นาทีก็ได้ เพราะอาการแบบนี้มันเป็นอาการที่เป็นอุปสรรคของการภาวนา

การภาวนาของคน ทุกคนมันมีเวรมีกรรมของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน บางทีนั่งไปถึงเกือบชั่วโมง ภายใน ๑ ชั่วโมงนั้นดีมากเลย แล้วพอเกิดอาการเหมือนรถมันเคลื่อนมาช้าๆ แล้วโดนเหยียบเบรก เหมือนเบรกกะทันหันแล้วหัวทิ่มเลย แล้วถ้าภาวนาไปมันอาจจะเป็น ๒ ชั่วโมงก็ได้ ๓ ชั่วโมง เบรกหัวทิ่มไป การเบรกหัวทิ่มไปหรือสิ่งต่างๆ นี่นะมันเป็นอุปสรรค มันเป็นเรื่องของกิเลส ทีนี้ในการปฏิบัติทุกคนคิดว่าพอเราปฏิบัติไปแล้วกิเลสมันจะนอนหลับ นอนหลับแล้วก็นอนสบายปล่อยให้เราปฏิบัติธรรมไป

ไม่ใช่ กิเลสมันจะหาหนทางทำอย่างใดให้การปฏิบัติของเราล้มเหลว กิเลสเป็นอย่างนี้ กิเลสมันพยายามจะหาทางต่อกร หาทางในการปฏิบัติ ของเรานี้ให้ประสบความสำเร็จไปไม่ได้ เพราะถ้าเราประสบความสำเร็จไปได้ เราฆ่ากิเลสหมดเลย กิเลสมันจะอยู่ที่ไหน กิเลสมันอาศัยหัวใจของมนุษย์เป็นที่อยู่อาศัยนะ กิเลสมันไม่มีบ้านไม่มีเรือนหรอก แต่มันอาศัยบนเรือนยอดในหัวใจของคนอยู่ เวลาพระพุทธเจ้าเย้ยมาร เห็นไหม

“มารเอย เธอเกิดจากความดำริของเรา เธอจะเกิดในใจเราไม่ได้อีกแล้ว”

มารเอย.. นี่ความโลภ ความโกรธ ความหลงเป็นเรือน ๓ หลัง แล้วเรือน ๓ หลังนี่รวมยอดขึ้นมาเป็นจั่วๆ เดียว เป็นเรือนหลังเดียวคืออวิชชา แล้วพระพุทธเจ้าได้หักเรือนยอดนั้นแล้ว นายช่างใหญ่ผู้สร้างเรือน เราได้ทำลายเธอแล้ว นี่เวลาพระพุทธเจ้าชนะมารไง

ฉะนั้นพอพระพุทธเจ้าชนะมาร มารอยู่ที่ไหน ก็อยู่ในหัวใจใช่ไหม ฉะนั้นเวลาเราปฏิบัติขึ้นมา นั่นล่ะมันพยายามต่อกร การต่อกรของมารนะมันไม่ทำรุ่มร่ามหรอก มันอาศัยมาในสมาธินั่นล่ะ มันอาศัยมา มันนอนเนื่องมาในหัวใจ

“มารเอย เธอเกิดจากความดำริของเรา” ในความคิด ความนึก ความรู้สึก มารมันแทรกมาตลอด แล้วมันรอจังหวะทำให้เราล้มลุกคลุกคลาน ประเด็นนี้ไง ครูบาอาจารย์ที่ประพฤติปฏิบัติมา ที่หลง หลงเพราะแบบนี้ไง เวลาปฏิบัติไปแล้วนะ โอ้โฮ.. ว่างหมดเลย ฆ่ากิเลสหมดเลย ให้คะแนนตัวเองเป็นอนาคา เป็นพระอรหันต์ เป็นไปหมดเลย พอ ๒ วันอนาคาก็เสื่อมเกลี้ยงเลย

นี่ไงเวลามันให้คะแนนมันบังเงาไง เขาเรียกกิเลสบังเงา เวลากิเลสมันต่อต้านเรา เราก็อู้ฮู.. กิเลสมันต่อต้านนะ จะมาปฏิบัตินี่อู้ฮู.. กว่าจะมีอุปสรรคนะ กว่าจะขอเพื่อนมา กว่าจะเคลียร์งานมาได้ อู้ฮู.. ยุ่งมากเลย อันนี้เราก็ว่าเป็นกิเลสนะ แต่เวลามาปฏิบัตินะอู้ฮู.. ข้างในมันก็จะสร้างปัญหาขึ้นมาอีกมหาศาลเลย.. นี่กิเลสมันเป็นแบบนี้

หลวงตาท่านพูดว่า “คนไม่เคยเห็นหน้ากิเลส คนไม่เคยต่อสู้กับกิเลส ไม่รู้จักกิเลส” จะเรียนมาขนาดไหนก็ไม่รู้ ปฏิบัติขนาดไหนก็ไม่รู้ถ้าไม่ได้เผชิญหน้ากับมัน ยังไม่มีการเผชิญหน้ากับกิเลส ไม่ได้ต่อสู้กับกิเลสจะไม่รู้จักกิเลสเด็ดขาด

ฉะนั้นพอไม่รู้จักกิเลสเด็ดขาด ดูสิเวลาหลวงตาท่านพูด เห็นไหม เวลาท่านพิจารณาไปถึงขั้นอนาคา พอขั้นอนาคาปั๊บมันก็มีความสุขมาก ไปเดินจงกรมที่ไหนนะ อู้ฮู.. ใส จิตนี้ใส มองไปที่ไหนนะมันทะลุไปหมดเลย มันทะลุภูเขา ภูเขานี่เป็นใสๆ แบบเป็นกระจกใสมองผ่านได้หมดเลย “ทำไมจิตมันมหัศจรรย์ขนาดนี้ ทำไมจิตมันมหัศจรรย์ขนาดนี้” มันมีความสุขมากไง คนมีความสุขมากท่านบอกว่านี่ความว่าง พอติดในความว่าง ว่างหมดเลย โอ้โฮ.. ว่างหมดเลย

เวลาหลวงตาท่านพูด เวลาคนมีติดอะไรนะแล้วผ่านตรงนั้นมามันจะฝังใจมาก เวลาพระพุทธเจ้าพูดถึงโมฆราช “โมฆราช เธอจงมองโลกนี้เป็นความว่าง” ถ้ามองโลกนี้เป็นความว่าง ใครก็มองเป็นความว่างหมด เรามองก็ว่าง “แล้วกลับมาถอนอัตตานุทิฏฐิของเรา” แต่หลวงตาเวลาท่านเป็นความว่างของท่าน ความว่างขั้นอนาคา มันมองไปว่างหมดแหละ พอว่างหมด นี่ธรรมะมาเตือนตลอด พอมาเตือน เห็นไหม พอท่านผ่านจุดและต่อมไปได้ท่านบอกเลย

“ไอ้ความว่างนี่กองขี้ควาย”

ไอ้ความว่างๆ นี่กิเลสอย่างละเอียดมันละเอียดลึกซึ้งกว่านั้น มันหลอกเป็นคนละชั้นละตอนเข้าไปไง ฉะนั้นอวิชชามันอยู่ที่ใจ ฉะนั้นจะบอกว่าเวลาปฏิบัติมันเป็นอย่างนี้ คำว่ามันเป็นอย่างนี้ปั๊บ แสดงว่าทุกคนจะต้องมีอุปสรรคไปหมดเลยหรือ ทุกคนจะต้องสมบุกสมบันไปหมดเลยหรือ มันก็ไม่ใช่ พาหิยะที่ว่าปฏิบัติฟังพระพุทธเจ้าหนเดียวนั่นน่ะ ก่อนที่จะเป็นชาติปัจจุบัน เป็นพาหิยะ ชาติที่แล้วเป็นภิกษุ ๗ องค์ เห็นไหม ที่ไปปฏิบัติบนยอดเขา บนเขาตัด ทำบันไดขึ้นไป เสร็จแล้วถีบทิ้งเลย

“ถ้าใครภาวนาไม่ได้ให้ตายคาที่นั่นไปเลย”

มีพระเป็นพระอรหันต์มา ๑ องค์ เป็นพระอนาคามาองค์หนึ่ง แล้วพาหิยะเป็น ๑ คนสุดท้ายที่ตายที่นั่น ภาวนาจนตายไง คือเสียสละชีวิตนี้ตายมาหลายรอบ เสียสละตายมาทั้งนั้น แล้วเสียสละตายมา การภาวนาอย่างนั้นมันก็เป็นบุญกุศลมา พอมีบุญกุศลมา ก็มาเกิดเป็นพาหิยะ เห็นไหม ที่เรือแตกเข้ามา พอฟังพระพุทธเจ้าหนเดียวเท่านั้นแหละ พอฟังเทศน์พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าบอกว่า “เธอจงมองโลกนี้เป็นความว่างเหมือนกัน ถือสักแต่ว่า อย่ายึดมั่นถือมั่น” ปล่อยผลัวะ! เป็นพระอรหันต์เลย

นั่นเป็นเพราะอะไรล่ะ เป็นเพราะว่าเขาสร้างบุญกุศลของเขามาเยอะไง เพราะเขาสร้างมาเยอะ การปฏิบัติของเขาก็เลยง่ายไง คำว่าง่ายนะ แต่ง่ายยากนี่มันต้องมีที่มาที่ไป ความง่ายของเขา เพราะเขายากมาก่อน เขายากสมบุกสมบันมา เขาสละชีวิตของเขา เขาสละตายมาเลย ภาวนาตายบนภูเขาตัดมาเลย แล้วพอมาชาติปัจจุบันนี้ อันนี้มันก็มาต่อเนื่องไง

ฉะนั้นอวิชชามันมีอยู่ในหัวใจผู้ที่เกิดทุกๆ คน ทีนี้อวิชชามันมีอยู่ในหัวใจทุกๆ คนที่เกิดแล้ว เราต้องต่อสู้กับอวิชชา ทีนี้อวิชชาของเรามันหยาบละเอียดแค่ไหน ฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นเวลาปฏิบัติมา อันนั้นแหละคือกิเลส ไอ้ที่เหยียบเบรกนั่นล่ะ พอกิเลสมันสอดขาเข้ามา เราจะแก้อย่างไร เราก็พุทโธต่อไปใช่ไหม พอมันจะเหยียบเบรกใช่ไหมเราตั้งสติไว้

เริ่มต้นไม่รู้ พอมันเหยียบเบรกไปแล้ว ผลที่มันเกิดขึ้นคือความเสียหายเรารู้แล้ว โอ้โฮ.. เครื่องยนต์นี่กว่าจะส่งมาได้ขนาดนี้นะ มันเหยียบทีเดียวนี่ ความเร็วของเครื่องยนต์ทุกอย่างมันชะลอไปหมดเลย เราก็พุทโธของเราใหม่ อันนี้มันเป็นเวรเป็นกรรมของเรา กิเลสในหัวใจของเราคือเวรกรรมของเรา เราต้องแก้ไขของเราไป

เราเคยคิดอย่างนี้มาตลอดนะเวลาจะปฏิบัติ เรานี่ล้มลุกคลุกคลานมามาก ถ้าเราไม่ล้มลุกคลุกคลานมามาก เรามีอะไรมาพูดกับโยมไม่มากหรอก เพราะเรานี่ล้มลุกคลุกคลานมาเยอะมาก แต่จะล้มลุกคลุกคลานขนาดไหนก็สู้! สู้อย่างเดียว มันจะเป็นจะตายก็สู้อย่างเดียว จะตายก็ตาย จะเป็นก็เป็น สู้กันมาอย่างเดียว สู้อย่างเดียว แต่ผิดเยอะมาก สู้ก็ผิด ไม่สู้ก็ผิด

สู้ก็ผิดเพราะอะไร เพราะเรามีอวิชชา ไม่สู้ก็ผิด เพราะมันผิดอยู่แล้วใช่ไหม เรามีข้อมูลที่ผิดในหัวใจเราใช่ไหม ถ้าเราไม่สู้นะเราก็ดักดานอยู่นั่นล่ะ มันกระทืบตายอยู่นั่นล่ะ แต่ถ้าสู้มันก็หลอกลวงเราอยู่นั่นล่ะ สู้ก็ผิด ไม่สู้ก็ผิด แต่สู้แล้วจะมีโอกาส

นี่ไงบอลที่เล่นเกมรุกจะมีโอกาสชนะ บอลเล่นเกมรับ จะมีเสมอกับแพ้ รุกอย่างเดียว! รุกไปแล้วนะเขาจะยิงประตูแล้วประตูอีกก็ช่างมัน รุกอย่างเดียว รุกไปแล้วข้างหลังมันจะยิง ๒๐-๓๐ ลูกก็ช่างมัน รุกอย่างเดียว สู้อย่างเดียว แล้วพอมันสู้ไป เราจะโดนเขายิงประตูมากขนาดไหน แต่เราก็รู้ถึงความบกพร่องของเราถ้าเรามาศึกษา แต่ถ้าเราไม่เคยโดนยิงประตูเลย แล้วเราไม่เคยศึกษาเลย เราจะไม่รู้ว่าความบกพร่องเรามีตรงไหนเลย

ฉะนั้นมีอย่างเดียว รุกอย่างเดียว รุกแล้วชนะก็มี รุกแล้วแพ้ก็มี แต่ถ้ารุกจะมีโอกาสได้ชนะ ทีนี้เรื่องนี้มันเกิดขึ้นคือกิเลสทั้งนั้น หลวงตาท่านบอกว่า เวลากิเลสมันยังไม่ตื่นนอนนะ โอ้โฮ.. ปฏิบัติสะดวกสบายมาก เวลากิเลสมันงัวเงียตื่นขึ้นมาแล้วนะ พวกเราจะล้มหมดเลย เลิกเถอะ เลิกเถอะ กลับหมดเลย เวลากิเลสมันนอนหลับนะ แหม.. ภาวนาสุดยอดเลย ต้องเอาอย่างนี้ให้ได้เลย จะเป็นพระอรหันต์ให้ได้เลยเพราะมันดีมาก มันดีมาก กิเลสมันยังไม่ตื่น พอกิเลสมันงัวเงียๆ มาแล้วนะ ล้มหมดเลย

งัวเงียๆ ก็คือว่ามันเริ่มมีปัญหาไง ปฏิบัติไปแล้วติดขัดแล้ว ทางนี้ก็ติดขัด ทางนี้ก็ติดขัด มันติดขัดเพราะอะไร มันติดขัดเพราะเราสร้างมาอย่างนี้เอง เราสร้างของเรามา เราไม่เคยเสียใจเลยนะ ของอย่างนี้เพราะเราเชื่อในธรรมะไง ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ถ้าทำดีมาความดีมันจะส่งต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ ถ้าทำความชั่วมา ความชั่วนั้นมันจะมาตัดตอน มันจะมาตัดทอนเรา

จะตัดทอนอย่างไรก็สู้ เพราะสู้ให้ถึงความที่เราทำบาปกรรมนั้นมา ให้มันเบาลง หรือให้มันมีช่องทางที่เราจะออกได้ ถ้าไม่อย่างนั้นนะ พอมันมาตัดตอนปั๊บจนเลย แล้วความดีที่เราสร้างไว้ล่ะ พอความชั่วมาตัดตอน แล้วความดีที่สร้างไว้ล่ะเอ็งปล่อยให้มันหายไปเลยหรือ ถ้าความชั่วมันมาตัดตอน ตัดตอนก็สู้มัน เดี๋ยวพอถึงวาระของความดีขึ้นมามันจะหนุนเราเอง ฉะนั้นสู้ไม่ถอย

กรณีอย่างนี้ ๑. สู้ไม่ถอย ๒. เขาบอกว่าอันนี้เป็นอัตตกิลมถานุโยค เป็นเรื่องของความทุกข์ ไอ้นี่มันเพราะเวรกรรมเราเป็นอย่างนี้เองไง คนที่เขาทำสะดวกก็มี ในวงกรรมฐานเรา เห็นครูบาอาจารย์พูดกันเป็นสืบต่อมา เราก็จำมา แล้วเราก็มาพูดให้กำลังใจทุกทีว่าหลวงปู่บัววัดหนองแซงโกนผมครั้งแรกพอผมตก เหมือนในสมัยพุทธกาลเลย เป็นปะขาวก่อนไง แล้ววันจะบวชเขาก็โกนหัว พอเส้นผมตก ท่านพิจารณาเส้นผมเป็นโสดาบันเลยนะ หลวงปู่บัวเนี่ย

ในปัจจุบันเรามีทั้งนั้น ในวงกรรมฐานก็มี หลวงปู่บัววัดหนองแซง บวชนี่เวลาโกนหัว เพราะท่านเป็นปะขาว เพราะท่านเอาลูกบวชก่อน ทุกอย่างบวชก่อน ท่านเป็นหมอยา ท่านปฏิบัติถือศีลมาตลอดไง แล้วลูกก็ไปเอาพ่อมาบวช บวชเสร็จแล้วก็มาอยู่กับหลวงปู่ชอบไง อยู่กับครูบาอาจารย์หลายองค์ หลวงปู่บัวนี่ สุดท้ายก็หลวงตาไปแก้

เวลาเริ่มต้น เห็นไหม พอโกนหัวเป็นโสดาบันเลย แต่โสดาบันภาวนามาก็ติด ไปอยู่กับหลวงปู่จวนก็ว่ามันจะเป็นนิโรธๆ หลวงปู่จวนบอกไม่ใช่ เพราะหลวงปู่มั่นไม่ได้สอนอย่างนี้ สุดท้ายแล้วมาเจอหลวงตา

นี่เริ่มต้นมา โกนผมเสร็จแล้วเป็นพระโสดาบันเลยนะ แต่เวลาเป็นสกิทาคา อนาคาก็ติดมาตลอด ติดมาตลอด สุดท้ายก็หลวงตาเรานี่แหละ หลวงตามหาบัวไปแก้หลวงปู่บัว! สำเร็จไปหมดแล้วเพราะเป็นพระธาตุหมด สำเร็จที่ไหน สำเร็จว่าหลวงตามหาบัวท่านเป็นคนไปแก้

คนที่แก้กับคนที่เขาให้แก้.. เพราะคนที่ติดมันก็ต้องมีความเห็นของตัวจริงไหม เราเป็นคนติด เราก็ว่าเราถูกน่ะทำไม ไอ้คนจะมาแก้มันก็ต้องมีธรรมะที่เหนือกว่า ทีนี้ธรรมะที่เหนือกว่ากับธรรมะที่ต่ำกว่าได้ปะทะกัน ได้ธัมมสากัจฉา ได้โต้แย้งกัน ได้พิจารณา ได้ใคร่ครวญต่อกัน ถึงที่สุดแล้วหลวงปู่บัวท่านจะไปกราบหลวงตามหาบัวเลย เพราะหลวงตาบอกว่าพอตี ๔ มาแล้วเสียงกอกแกกๆ

“ใครน่ะ”

“กระผมเองครับ”

“มาทำไมล่ะ”

“โอ้โฮ.. อยู่ที่กุฏินะกราบแล้วกราบเล่า กราบแล้วกราบเล่า ถ้าไม่ได้หลวงตา ผมก็จะติดอยู่แค่นี้”

เพราะพอแก้เสร็จ เห็นไหม พอแก้เสร็จปั๊บหลวงตาก็ไปสวดมนต์งานศพแม่อาจารย์สิงห์ทอง แล้วบอกว่าหลวงปู่บัวไม่ต้องไป ให้อยู่ที่กุฏิเพราะแก้ให้แล้ว พอแก้คืนนั้นก็เต็มที่เลย เพราะติดมานาน พอติดมานาน ถึงที่สุดแล้ว พอเข้าถึงจิตเดิมแท้ พอถึงจิตเดิมแท้ปั๊บขางคาน มันคาอยู่นั่นไง พอคานมันหักผลัวะ! พอหักผลัวะท่านบอกว่าท่านนั่งอยู่บนกุฏิ เหมือนกับจิตนี่มันตกลงในที่ต่ำ วูบ! ลงเลย

ท่านพูดอย่างนี้นะ นี่หลวงปู่บัวท่านพูดอย่างนี้ แต่หลวงตามหาบัวท่านรับฟังนะท่านบอก “ไม่ใช่! มันเป็นขางคานของกิเลสต่างหาก” ขนาดว่าผู้ที่เป็นนี่นะบอกเลย มันเหมือนบอกถึงประสบการณ์อย่างนั้น แต่ผู้ฟังรู้เห็นไหม ผู้ฟังรู้บอกว่ามันไม่ใช่ขางคานหรอก ท่านเปรียบเทียบเหมือนกับคานบ้าน คานเรือนนี่แหละว่ามันหักลง แต่หลวงตาท่านบอกว่า “นั่นคือคานของกิเลส อวิชชามันหักลงต่างหาก” นี่หลวงตาพูดอย่างนั้น

นี่คือเราจะบอกว่า ที่ว่าท่านเป็นพระธาตุทั้งคู่ เป็นพระธาตุทั้ง ๒ องค์ มันเป็นตั้งแต่ธรรมะที่ธัมมสากัจฉานี่แล้ว พระธาตุมันเป็นเรื่องของร่างกาย มันเป็นเรื่องของวัตถุ แต่ธรรมะในหัวใจ ธรรมะอันนี้มันสำคัญกว่า ธรรมจริงๆ ในใจนั่นล่ะมันถึงกัน มันรู้กัน มันตรวจสอบกันได้ ถ้าธรรมแท้ๆ เขาพิสูจน์กันที่นี่ พิสูจน์กันที่ในหัวใจ เขาไม่ได้พิสูจน์กันข้างนอกหรอก! แต่โลกเขาถือพระธาตุ เราก็คุยว่าพระธาตุไง ว่าเป็นพระธาตุทั้งคู่ แต่มันเป็นมาตั้งแต่หัวใจแล้ว

ฉะนั้นสิ่งที่พูดนี่นะ แบบว่ามันจะทำอย่างไร นี่มันเป็นอย่างนี้แหละ ที่ว่าเวลามันเกิดเบรกขึ้นมา เราทำไปแล้วมันมีอาการต่างๆ อาการคืออุปสรรคของเรา อุปสรรคที่เราสร้างขึ้นมา ถึงเวลาแล้วเราก็ต้องแก้เขา ด้วยตั้งสติพุทโธให้มันผ่านไป เหมือนกับการนั่งสัปหงก การนั่งง่วง การนั่งต่างๆ ต้องแก้ไป ต้องแก้ไป เห็นไหม ครูบาอาจารย์ของเรา เวลาใครสัปหงกโงกง่วงให้ผ่อนอาหาร ให้อยู่คนเดียว ถ้ายังหลับอยู่ นู่นไปอยู่ในป่าช้านู่น พอมันกลัวผีมันไม่กล้าหลับ ยิ่งกลัวๆ อ้าว.. กลัวก็ให้ไปอยู่กับเสือ ให้เสือมันตะปบซะ ถ้ามึงไม่เอาเสือมันจะตะครุบหัว

หลวงปู่มั่นท่านให้ไปอยู่อย่างนั้น เพราะหลวงปู่มั่นท่านฝึกของท่านมา ท่านไม่ได้รังเกียจลูกศิษย์ ท่านไม่ได้รังแกลูกศิษย์ ท่านอยากให้ลูกศิษย์ได้ดี! ท่านอยากให้ลูกศิษย์ได้ดี ท่านอยากให้ผู้ปฏิบัติได้ความจริง ท่านถึงบอกว่าถ้ามันมีอุปสรรคอย่างไรท่านจะแก้ของท่าน นี่ไงการแก้ของครูบาอาจารย์ นี่คือการแก้ของเรา เราก็แก้ของเรา เราก็พยายามดูนะ ถ้ามันเป็นอย่างนี้เราก็จัดการของเรา

พุทโธ ก็พุทโธไปนี่แหละ พุทโธไปด้วยมีสติ พอมีสตินะ พอมีสติมันจะลง มันจะเบรก เราก็พุทโธชัดๆ พุทโธชัดๆ ไป

คำว่าพุทโธชัดๆ นี้มันประกอบด้วย ๑. สติพร้อม! ๒. คำบริกรรมพร้อม!

พอทุกอย่างพร้อม มันดึงหัวใจของเราที่จะไปรับรู้สิ่งใดมาอยู่กับเราชัดๆ คำว่าชัดๆ คือมันมีสติโดยตัวมันเอง มีคำบริกรรมโดยตัวมันเอง มีจิตโดยตัวมันเอง เห็นไหม ทีนี้พออธิบายเป็นวิชาการก็อธิบายได้ชั่วโมงหนึ่งเลยนะพุทโธชัดๆ นี่ ทำไมมันถึงชัดล่ะ ถ้าไม่มีสติจะชัดไหม ถ้าไม่มีคำบริกรรมมันจะเป็นพุทโธได้อย่างไร?

แต่แบบนี้มันเป็นการพูดมาก ถ้าไม่ต้องพูดเยิ่นเย้อกันเลย พุทโธชัดๆ แค่นั้นแหละ พอทีนี้คำว่าชัดๆ มันก็เลยกลับมายุ่งกับเราว่าคำว่าชัดๆ นี่แหละ

อันนี้พูดถึงเวลามันเบรกนะ เวลาเบรก เวลาจิตมันโดนเบรก เวลาจิตมันมีอาการ เห็นไหม เวลามันไปแล้วเกิดตัวพอง เกิดต่างๆ มันเกิดการปีติ แต่เบรกนี้มันไม่ใช่ปีติ เวลาเกิดปีติก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งนะ เกิดปีติมันก็ทำให้เราติดข้อง เกิดความขัดแย้งมันก็ทำให้เราติดข้อง การปฏิบัติไปมันเจริญแล้วเสื่อม เสื่อมแล้วเจริญ

ทีนี้ความเจริญแล้วเสื่อม เวลาในภาคปฏิบัติเรานี่ ครูบาอาจารย์ เห็นไหม ข้อ ๑. พระไม่ให้คลุกคลีกัน ไม่ให้คุยกันมาก ถ้าคุยกันนี่ไอ้คำที่เราคุยกันมันจะเก็บไปคิด มันก็ทำให้จิตมันมีปัญหาได้

ข้อ ๑ ไม่ให้คลุกคลี ให้พูดกันเรื่องธรรมะ ให้อภัยต่อกัน เพื่ออะไรล่ะ เพื่อให้จิตมันสมดุลของมัน ให้มันมีโอกาสของมัน ในการปฏิบัติของมัน ครูบาอาจารย์ท่านจะเปิดทางในการปฏิบัติเอาไว้ ไม่ให้ข้องแวะกัน ไม่ให้เกาะเกี่ยวกัน ไม่ให้เกาะเกี่ยวกันคือไม่ให้ใจมันมีประเด็นขึ้นมาให้มันอ้างไง ปัจจุบันมันก็อ้างพอแรงอยู่แล้ว ยิ่งไปหาเรื่องให้มันอ้างด้วย ยิ่งปฏิบัติมันยิ่งตายเลย

ทีนี้ทางโลกก็บอกว่า โอ๋ย.. พระเห็นแก่ตัว พระเอาแต่ตัวรอด จะเอาตัวรอดมันยังไม่รอดเลย แล้วจะเอาทางโลกก็พอดีตายหมดพอดี เอาตัวรอดให้ได้ก่อน ร่มโพธิ์ร่มไทร แล้วชาวบ้านเขาได้อาศัย หมู่คณะได้อาศัย นี้ห่วงแต่เขาจะหาว่าเห็นแก่ตัว ก็เลยกลายเป็นอยู่ด้วยกันนั่นล่ะ

 

ถาม : ๓๘๓. เรื่อง “ไขข้อข้องใจให้ผมแบบชัดๆ หน่อยครับ”

หลวงพ่อ : ก็ไอ้คำว่าชัดๆ นี่มันย้อนกลับมาหาเราหลายชัดๆ มากเลย อันนี้มันแก้ไขข้อข้องใจ นี่เป็นประเด็นของเขานะ เราจะตอบเฉพาะสิ่งที่เป็นประโยชน์เท่านั้น เพราะตอนนี้งานเราเยอะมาก ถ้าพูดอันนี้ออกไปนี่งานใหญ่จะมาอีกงานหนึ่งเลยนะ (หัวเราะ) ใครๆ ก็มีแต่เอารถมาดั๊มพ์ใส่ทั้งนั้นเลยเว้ย ศาสนาเป็นของบริษัท ๔ นะ ไม่ใช่ของเราคนเดียว ศาสนาเป็นของบริษัท ๔ ทั้งหมด

ถาม : ผมเคยไปฝึกธรรมะอยู่วัดหนึ่ง มีข้อสงสัยหลายเรื่องมาก อยากชี้แจงบางประเด็นที่เป็นประโยชน์ ประสบการณ์ของผมในคำสอนในส่วนที่ดีมาใช้ คำถามคือดังนี้

๑. ทำบุญกับพระทุศีลไม่ได้บุญ แล้วคำว่าพระทุศีลมันทุศีลขนาดไหนครับ

หลวงพ่อ : ในสังคมทุกสังคมมีคนดีและคนเลวปนกัน เหรียญมี ๒ ด้าน ให้เราใช้ปัญญาของเราพิจารณาของเรา ใช้ปัญญาพิจารณาของเรานะ อย่าว่าแต่โยมเลย ไปทำบุญกับพระทุศีลแล้วไม่อยากทำ แม้พระด้วยกันเอง เห็นไหม แม้พระด้วยกันเห็นพระด้วยกันเอง ถ้าพระที่ดีเขาพยายามจะหลบของเขา

ฉะนั้นผู้ที่มีหน้าที่เขาก็ดูแลของเขา ทีนี้คำว่ามีหน้าที่ นี่ล่ะทิฐิพระ มานะกษัตริย์นะ ทิฐิของพระนี่มีแรงมาก มานะทิฐิ ทิฐิของพระ ฉะนั้นเวลาเราบอกว่าสิ่งนั้นเป็นความทุศีล แต่ผู้ที่ปกครองนะ ผู้ที่ปกครอง ผู้ที่เขาดูแลนี่มันมีปัญหา อย่างเช่นที่เขาปกครองดูแล เขาต้องการคนที่มาอยู่อาศัยใช่ไหม เขากลัวว่าที่จะไม่มีคนอยู่ ไม่มีอาศัย บางทีพระเราธุดงค์ไป แล้วไปทางเหนือ พระที่ทำไม่ค่อยดี แล้วพระเราก็ไปถามชาวบ้านว่า

“พระที่เขาทำอย่างนี้ ทำไมยังเอาไว้ล่ะ”

เขาบอก “อู้ฮู.. ขอให้มีพระอยู่วัดก็พอแล้ว”

ขอให้มีพระอยู่วัดก็พอ แล้วบางทีไม่ได้มีพระอยู่วัดธรรมดานะ จ้างให้อยู่ด้วย เขาต้องจ้างเลยนะ ถ้าอย่างนั้นแล้วมันก็เป็นภาระของเขา ไอ้เราเป็นคนทำบุญใช่ไหม เราก็อยากได้พระที่สะอาดบริสุทธิ์ แต่คนที่เขาต้องการพระ เขาก็ทำอย่างนั้น

เราจะบอกว่าสังคมนี้กว้างมาก แล้วพระนี่ตั้ง ๔๐๐,๐๐๐ กว่าองค์ แล้วยิ่งพระในสุวรรณภูมิ ในพม่า ในอะไรนี่พระตั้งเป็นล้าน คนในล้านคนนี้จะให้เป็นคนดีหมดเลยหรือ ดูสิเรามีการศึกษา นักเรียนนี่เราอยากให้ดีหมดแหละ แล้วมันสมกับที่ครูอยากให้นักเรียนดีไหม

แล้วทีนี้ว่าพระทุศีลมันขนาดไหน? อย่างไรถึงเรียกคำว่าทุศีล?

เพราะว่าผมทำบุญกับพระทุศีลไม่ได้บุญ เวลาทานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ เทวดามาถามว่า “ทำบุญที่ไหนแล้วคนได้บุญ” อะไรคือบุญไง

ท่านบอกว่า “เราล้างถ้วยล้างจาน เศษน้ำที่มีไขมันลงไปในน้ำ ไอ้พวกสัตว์น้ำมันได้อาหาร นั่นก็เป็นบุญแล้ว”

แต่ถ้าจะเอาบุญตามความจริงกันล่ะ? ถ้าเอาบุญตามความจริงขึ้นมาก็ต้องมาวัดค่ากันแล้ว เราวัดค่าตั้งแต่พระพุทธเจ้าลงมาถึงจะเป็นเนื้อนาบุญใช่ไหม ทีนี้พอเนื้อนาบุญปั๊บเราก็จะมาที่ว่า “แล้วแค่ไหนถือว่าทุศีล?”

แล้วที่มันไม่มีพระเลย เขาจะเอาพระอย่างไร ทุศีลก็คือทุศีล นี้เราจะบอกว่าวินัยคือวินัยนะ แต่เจตนาของคน ความรับรู้ของคน ความต้องการของคน คนเขามีความต้องการระดับนี้ แค่นี้เขาว่าของเขาดี แต่คนที่สะอาดบริสุทธิ์ขึ้นมาเขาต้องการให้มากกว่านี้ เขาก็ต้องการที่มีคุณภาพมากกว่านี้จริงไหม แล้วคุณภาพนี้จะวัดกันที่ตรงไหน

ฉะนั้นพระกับพระกันเองนี่รู้ดี พระกับพระกันเองมองทีเดียวก็รู้ ฉะนั้นพระกับพระกันเองเขาถึงย้อนกลับมาที่เราก่อนไง เพราะศีลนี้เอาไว้บังคับเราก่อน ก่อนที่เราจะพูดเราจะว่าใคร เราต้องรักษาเราให้ได้ก่อน ถ้าเรารักษาเราได้ก่อน เราจะไปพูดอะไรใครก็ฟังใช่ไหม อย่างเช่นหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นท่านทำตัวท่านเองมาตลอดนะ ท่านทำตัวท่านเป็นตัวอย่าง แล้วท่านพูดออกไปทุกคนถึงได้เชื่อถือ

อย่างพวกเรานี่นักปฏิบัติทุกคนจะมีทิฐิในหัวใจว่าฉันเป็นคนแน่ ฉันเป็นคนยอด ทุกคนมีทิฐิในหัวใจหมดเลย แล้วเวลาไปอยู่กับคนที่แบบว่าเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีกับเรานี่เรายอมรับไหม นี่ทุกคนก็มีทิฐิ อย่างเช่นหลวงปู่พรหมพูดบ่อย เพราะนี่ในประวัติไง หลวงตาเล่าบ่อย หลวงปู่พรหมเป็นนายร้อยคือว่ามีเงินมาก แล้วแจกหมดเลย แล้วออกบวชทั้งสามีภรรยา พอออกบวชทั้งสามีภรรยา คนผ่านโลกมาเยอะไง อยากปฏิบัติมากก็จะไปหาหลวงปู่มั่น ขึ้นไปถึงเชียงใหม่ไปเจอหลวงปู่มั่นครั้งแรกนะ

นี่สุภาพบุรุษนะท่านมาพูดให้หมู่คณะฟังทีหลังไง ไปเจอหลวงปู่มั่นครั้งแรกเลย

“โอ้โฮ.. ชื่อเสียงคับประเทศไทย ตัวเล็กๆ”

หลวงปู่มั่นรูปร่างท่านไม่ใหญ่ รูปร่างท่านปานกลางไง เราก็คาดหมายเอาไว้เยอะใช่ไหม ว่าหลวงปู่มั่นชื่อเสียงทั่วประเทศไทยเลย ไปถึงนี่เราก็นึกว่าต้องมีศักยภาพ ต้องมีแสงฉัพพรรณรังสีออกมาตลอด ความคิดของคนเป็นอย่างนั้น พอไปเจอครั้งแรกมันก็คนธรรมดานี่แหละ พอไปเจอครั้งแรก นี่หลวงปู่พรหมท่านคิดขึ้นมานะ แล้วท่านเอามาเล่า ทีนี้หลวงตาเล่าต่อ แล้วเราจำขี้ปากหลวงตามา ท่านบอกว่าพอหลวงปู่พรหมไปเจอหลวงปู่มั่นครั้งแรกเลย

“โอ้โฮ.. ดังทั่วประเทศไทย ศักยภาพขนาดนี้ ตัวเล็กๆ ตัวไม่ใหญ่”

หลวงปู่มั่นท่านรู้แล้ว ท่านเฉย พอเข้าไปกราบไง

“ดูคนอย่าดูที่เปลือก”

โอ้โฮ.. ช็อกเลยนะ

“ดูคนอย่าดูที่เปลือกนอก ดูคนให้ดูจากภายใน”

ตั้งแต่นั้นมา เห็นไหม พอไปอยู่กับหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นท่านใส่ เพราะหลวงปู่มั่นต้องการฝึกไง หลวงปู่มั่นต้องเคี่ยวขึ้นมาไง หลวงปู่มั่นเคี่ยวเลยนะ เพราะหลวงปู่มั่นท่านรู้ หลวงปู่มั่นนี่นะถ้าจะพูดประสาเราว่า “พระพุทธเจ้าเมืองไทย”

หลวงปู่ฝั้นกับหลวงปู่อ่อน ท่านขึ้นไปหาที่เชียงใหม่ ไปพักอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง พอไปพักที่วัดเจดีย์หลวงนี่หลวงปู่มั่นมาเลย พอหลวงปู่มั่นมาเลย เพราะหลวงปู่มั่นอยู่ในป่าใช่ไหม หลวงปู่มั่นก็ออกมารับเลย พอหลวงปู่มั่นออกมารับ หลวงปู่ฝั้นท่านถามเอง เพราะหลวงปู่ฝั้นกับหลวงปู่มั่นท่านรู้จักกันที่อีสานแล้ว พอไปเจอครั้งแรก

“อาจารย์ๆ มาทำไม”

“ก็มารับท่านไง”

ช็อกเลยนะ!

“อาจารย์ๆ มาทำไม”

เพราะท่านมาอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง

“ก็มารับท่านไง”

มารับหลวงปู่ฝั้นกับหลวงปู่อ่อนเข้าไปในป่าแล้วเคี่ยว

เพราะอะไร เพราะตอนนั้นนะเริ่มต้นจากหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น เรายังไม่มีบุคลากรของเรา จำนวนของพระของเราที่เป็นหลักเป็นชัยยังไม่มี ฉะนั้นท่านต้องฝึกของจริงให้ได้ก่อน ฉะนั้นท่านก็ฝึกหลวงปู่ฝั้น เอาหลวงปู่ฝั้นกับหลวงปู่อ่อนไป พอรับเสร็จแล้วนะเข้าไปในป่า เพราะหลวงปู่ฝั้นกับหลวงปู่มั่นท่านเหินห่างกันไปพักหนึ่ง พอหลวงปู่ฝั้นกับหลวงปู่อ่อนเข้าไปในป่านะ พอไปอยู่ด้วยกันแล้ว โอ้โฮ.. เคี่ยวนะ “พระเจ้าชู้ พระเจ้าชู้”

มารับไปนะ พอรับเข้าไปในป่านี่ “พระเจ้าชู้ พระเจ้าชู้”

เจ้าชู้ที่ไหน เจ้าชู้ที่สีผ้า สีผ้าไม่ได้ย้อมด้วยสีกรัก พระเจ้าชู้ แล้วฝาบาตรมันประดับมุก ให้ทุบทิ้งเลยนะ ให้หลวงปู่ฝั้นทุบทิ้งเลย แล้วพอว่าพระเจ้าชู้.. นี่หลวงปู่ฝั้นท่านเล่า กรณีครอบครัวกรรมฐาน ครอบครัวกรรมฐานมีสิ่งใดที่เป็นคติ ท่านจะเล่าต่อๆ กันมา

หลวงปู่ฝั้นกับหลวงปู่อ่อน พอพระเจ้าชู้นี่เหงื่อตกเลย เหงื่อแตกพลั่กเลย พอหลุดออกมาจากเทศน์เสร็จ ออกมาถากแกนขนุนใหญ่เลย ถากแกนขนุน ต้มน้ำ ซักผ้าสีนั้นให้ออกให้กลายเป็นสีเศร้าหมอง พระเราอยู่ด้วยการเศร้าหมอง ไม่ได้อยู่ด้วยความเจ้าชู้ ไม่ใช่พระเจ้าชู้ พระขุนนาง นี่ไงพระขุนนาง เวลาฉันนี่ให้ฉันอย่างเห็นภัยในวัฏสงสาร

พูดถึงเวลาเราไปเห็นหลวงปู่พรหมท่านไปอยู่กับหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นเคี่ยวๆ หลวงปู่ฝั้นก็เคี่ยว ท่านใส่เต็มที่เลยแล้วไม่ให้อยู่ด้วย ไล่ออกไป ไล่ให้อยู่รอบนอกเพราะต้องเต็มที่ แล้วมันเป็นป่าสมัยโบราณ สมัยโบราณป่าคือป่า มีป่าชัฏๆ แล้วป่าอย่างนั้นถ้าศีลมันไม่บริสุทธิ์ขึ้นมา เรื่องจิตวิญญาณมันมาก สัตว์ป่าก็มาก ทุกอย่างก็มาก แล้วเราจะต้องเข้มแข้งของเรา

นี่ครูบาอาจารย์ท่านจะสร้างบุคลากร เพราะตอนนั้นยังไม่มีบุคลากรที่เข้มแข็ง คำว่าเข้มแข็งคือรู้จริง ถ้าไม่รู้จริงจะไปแก้อะไรใคร รู้จริงเท่านั้นถึงจะแก้ใครได้ นี่พูดถึงครอบครัวกรรมฐาน นี่ไงเวลาเราพูดถึงหลวงปู่มั่น พูดถึงครูบาอาจารย์ โยมนะ ในครอบครัวของโยมเป็นสามีภรรยากัน มีลูกมีเต้าก็อยากให้ลูกเต้าดี อยากให้ทุกคนเป็นคนดี แต่ก็ดีในครอบครัวของโยมนะ แต่หลวงปู่มั่นท่านเอาคนดี เอาพระดี เพื่อศาสนา เพื่อประเทศชาติ เพื่อสังคม เพื่อโลกนะ ไม่ใช่เพื่อเรื่องส่วนตัว

อย่างพวกเรานี่เรามีลูกมีหลานเราก็อยากให้เป็นคนดีใช่ไหม เรื่องของใคร เรื่องของตระกูลเราใช่ไหม เรื่องของครอบครัวเราใช่ไหม แล้วหลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ท่านทำเพื่อใคร ท่านสร้างบุคลากรก็เหมือนสร้างลูกสร้างหลาน แล้วสร้างมาเพื่อใคร มันไม่ใช่สร้างมาเพื่อตัวใครทั้งนั้นเลย สร้างมาเพื่อสาธารณะประโยชน์ แล้วเวลาท่านทำของท่านจริงๆ

เวลาพูดถึงหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์ เราถึงบอกว่ามันไม่มีเรื่องผลประโยชน์ส่วนตน ไม่มีอะไรเป็นของใครเลย ท่านทำเพื่อสาธารณะทั้งหมดเลย แล้วไม่ได้ทำธรรมดาด้วย ทั้งเคี่ยว ทั้งเข็ญ การเคี่ยวเข็ญกิเลสนะ ทุกคนก็ว่าตัวเองเก่งทั้งนั้นแหละ แล้วยิ่งภาวนาไป พอไปรู้ไปเห็นอะไรหน่อย.. นี่รู้จริงไหม..จริง แต่ความรู้นั้นไม่จริง แล้วคนที่ไม่ได้รู้ด้วยจะบอกให้คนที่รู้ บอกว่าให้มันปล่อยวางอย่างนั้น แล้วมันจะปล่อยได้อย่างไร มันต้องปล่อยวางเป็นชั้นๆ นะ

นี่พูดถึงว่าครูบาอาจารย์ของเรา เห็นไหม เวลามีเป้าหมายอย่างนี้มันก็พยายามสร้างขึ้นมา นี่ขนาดในครอบครัวกรรมฐานนะ แล้วในปัจจุบันนี้เราไม่อยากจะพูดอะไรเลย เวลาครอบครัวกรรมฐานเราก็อยากจะอยู่คนเดียวเหมือนกัน กูไม่อยากรับรู้เรื่องใครเลย เพราะทิฐิมันคนละทิฐิ ทิฐิมันร้อยแปดพันเก้า ทิฐิไม่ใช่ความจริงนะเว้ย

แต่ถ้าเป็นสัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ! ความดำริชอบ มันจะเข้าไปสู่ธรรมนะ สัมมาทิฏฐินี้เป็นมรรคนะ มรรคแล้วถึงมีผล สัมมาทิฏฐินี้เป็นมรรค ต้องมีมรรคก่อน มรรคเป็นเหตุแล้วให้เกิดผล ผลคือธรรม เห็นไหม ถ้าสัมมาทิฏฐิมันถึงเป็นมรรค แล้วมิจฉาทิฏฐิมันไปไหนล่ะ? ทิฐินี้เป็นแค่มรรคนะ ถ้าทิฐิถูก จริงไหม?

สัมมาทิฏฐิ ปัญญาชอบ งานชอบ เพียรชอบ เป็นมรรค เป็นเครื่องมือ ยังไม่ใช่เป็นผลนะ ถ้าเรามีความชอบธรรมแล้ว เราพยายามค้นคว้าของเรา มันจะเข้าไปสู่ผล อันนี้ทิฐิของตัวอย่างไร แล้วก็ไหลไปตามทิฐิเลย มันก็ไปไง

เวลาพูดไปว่าพระทุศีล ทุศีลแค่ไหนล่ะ? ถ้าสังคมที่เขาทุศีลก็เรื่องของเขา แต่ถ้าสังคมกรรมฐานเรา สังคมกรรมฐานแบบว่ามันคุยกันได้ไง ถ้าวันนี้มีเวลานะ ข้างหลังพูดเรื่องนี้เยอะมาก คำว่าสังคมพระเขาถามอันนี้เยอะมากเลย นี่พูดถึงว่า “ทุศีลไง” ถ้าทุศีล ถ้าเขาบวชมาเขาไม่มีเป้าหมาย เขาก็ทำของเขาอย่างนั้น แล้วเราล่ะ? แล้วเราล่ะ?

ฉะนั้นถ้าเราขึ้นมา เราเอาตัวเราให้ได้ก่อน นี่พูดถึงว่าข้อที่ ๑ นะ ทีนี้ข้อที่ ๒

ถาม : ๒. บุคคลที่ถวายเงินทองโดยผ่านหลวงตา ได้บุญหรือเปล่าครับ

หลวงพ่อ : ได้ ได้.. ให้กลับไปย้อนถามประชาชนชาวไทย ย้อนกลับไปถามสังคมไทยทั้งสังคมไทย ว่าผ่านวิกฤติต้มยำกุ้งมานี่ได้บุญหรือเปล่า.. ได้! ได้แน่นอน

บุคคลที่ถวายเงินทองให้หลวงตาได้บุญหรือเปล่า.. ได้! ได้บุญ

เขาว่าได้บุญหรือบาป.. บาปมันคืออะไรล่ะ? บาปมันคืออกุศล

ไอ้นี่ได้บุญหรือเปล่า..ได้

ได้บุญหรือบาป เขาว่าได้บาป

ได้บุญ! บาปน่ะเดี๋ยวไปพิสูจน์กัน พิสูจน์กันได้ ของอย่างนี้มันพิสูจน์กันได้

อันนี้พูดถึงว่า “ทำบุญกับหลวงตาได้บุญหรือเปล่า” ได้ การให้ทาน การต่างๆ เวลาเรื่องของทานนี่นะ ลัทธิ ศาสนาอื่นเขายังได้เลย แต่ในลัทธิศาสนา ในพุทธศาสนานั้นมันพูดเพื่อบุญกุศลไง เพราะเขาจะให้พูดชัดๆ เดี๋ยวมันจะเป็นประเด็นขึ้นมาเนาะ.. ผ่านแล้ว

ถาม : ๓. การที่เราเอาเรื่องพระองค์หนึ่งไปบอกพระอีกองค์หนึ่ง โดยถามว่า “พระท่านเป็นพระดีหรือไม่” แล้วทำให้เกิดการโต้เถียง อันนี้เข้าข่ายทำให้สงฆ์แตกแยกหรือเปล่าครับ

หลวงพ่อ : เอาแต่ขี้มาป้ายทุกทีเลย ไอ้นี่มันก็พูดถึงพระพุทธเจ้า เพราะพระพุทธเจ้าท่านพูดอยู่แล้วใช่ไหม พระพุทธเจ้าท่านว่า เวลาวงการพระถ้าเป็นประโยชน์นะ.. เราเตือนพระเราประจำ เราเคยผ่านสังคมอย่างนี้มา เวลาธุดงค์ไปไปเจอพระที่ท่านปฏิบัติไม่ชอบ เวลาถ้าลงอุโบสถกัน แล้วเราดูพระไตรปิฎกมาแล้ว

พระสารีบุตร เวลาชาววัชชีบุตรเป็นลูกศิษย์ของพระสารีบุตรทั้งหมดเลย แล้วรับเงินรับทอง เขาไปฟ้องพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าบอกให้พระสารีบุตรไปจัดการ พระสารีบุตรบอก อู้ฮู.. มันนักเลงมาก มันทำลายมาก พระพุทธเจ้าบอกว่าให้เอาพระให้ไปมากขึ้น แล้วไปลงพรหมทัณฑ์ไล่ออกไปให้หมด คือไล่ให้พระองค์นั้นจากชาววัชชี ไม่ให้อยู่ที่นั่นไง ถ้าอยู่ที่นั่นจะทำให้ประชาชนที่นั่นไขว่เขว เข้าใจผิดไปหมดไง ก็ไล่ออกไป

ไปไล่พระออกจากที่นั่นให้แยกกัน ให้พระกับโยมแยกออกจากกัน แล้วพระพุทธเจ้าก็เลยเทศน์สอน บอกในสังคมใด ถ้าสังคมนั้นมีแต่นักเลง ถ้าเราไปพูดอะไรแล้วเดี๋ยวปากแตก พูดอะไรแล้วเดี๋ยวเลือดออก ท่านบอกว่าไม่ต้องพูด ให้เฉยไว้แล้วค้านไว้ในใจ ให้ค้านไว้ในใจ ให้ค้านไว้ในใจเพื่ออะไรรู้ไหม ให้ค้านไว้ในใจเพื่อไม่ให้เป็นเวรเป็นกรรมต่อกันไง

เวลาเราลงสังฆกรรม เราเป็นวินัยกรรม มันเป็นเวรเป็นกรรมหมดนะ เวรกรรมหมายถึงว่า เวลาเราลงสังฆกรรมใช่ไหม ถ้ามันเป็นนานาสังวาส เขาบอกว่าจะเป็นโมฆะหมดเลย ในนานาสังวาสเป็นโมฆะ เป็นโมฆียะ คือการลงสังฆกรรมนั้นจะไม่เป็นสังฆกรรม แต่ถ้าสังฆกรรมนั้นแยกกัน นานาสังวาสต่างคนต่างลง มันจะเป็นสามัคคีหมดเลย คือเป็นความดีหมดเลย

ฉะนั้นเวลาเราไปลงนี่มันมีเวรมีกรรม เพราะมันจะเป็นโมฆะ พอเป็นโมฆะนี่มันไม่มีประโยชน์ มันทำให้สะเทือนศาสนาใช่ไหม เราให้ค้านไว้ในใจ คือเขาทำกัน สงฆ์ส่วนใหญ่เขาทำกัน เราไม่ได้ทำกับเขาให้ค้านไว้ในใจ เราจะไม่มีเวรกรรมอันนั้นร่วมมากับเราไง คือเราไม่รับกรรมอันนั้น คือประสาเราว่าถ้ามันมีความผิด เราก็ไม่มีผลกับอันนั้น นี่พระพุทธเจ้าสอน เพื่อความไม่ให้กระเทือนกันไง

ความไม่ให้กระเทือนนะ ถ้าจัดการได้ให้จัดการ ถ้าจัดการแล้วมันจะขยายไปใหญ่โต เรายังจัดการไม่ได้ใช่ไหม เพราะว่าถ้าเราจัดการไม่ได้มันมีผู้ใหญ่จัดการได้ อย่างเช่นพระองค์นี้พอพ้นอย่างนั้นไปแล้วไปฟ้องพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็จะจัดการ ถ้าเราเองเราไม่มีอำนาจจัดการได้ เราทำไม่ได้แต่เราไม่ไปร่วมความผิดกับเขา เราค้านไว้ในใจ คือในใจเราไม่เห็นด้วย แล้วทำสิ่งใดเราอยู่กับเขาเราก็ไหลไปตามนั้น แต่เราไม่เห็นด้วย แล้วถึงเวลาเราชิ่งออกเลย นี่พูดถึงในธรรมของพระพุทธเจ้า

ทีนี้พูดถึงเวลาที่ว่า เอาเรื่องของพระองค์หนึ่ง ไปถามพระองค์หนึ่ง ถ้าเราถามแล้วมันเกิดการโต้เถียงกัน ถ้าการโต้เถียงนั้นมันเป็นการโต้เถียงด้วยธรรมหรือด้วยกิเลส ถ้าด้วยธรรม ด้วยเหตุด้วยผลมันจะฟังกัน เพราะเรานี่เวลาเราคุยกันเรื่องเหตุผล ถ้าเหตุผลมันเหนือกว่าเราต้องยอมรับ เพราะเวลาเราปฏิบัติใช่ไหม เวลากิเลสเกิด เห็นไหม เวลาเราภาวนาไปแล้วไปเจอ

“เห็นจริงไหม.. จริง.. แต่ความเห็นนั้นไม่จริง”

เห็นจริงไหม.. จริง นี่เวลาเถียงกัน แล้วจริงหรือไม่จริงล่ะ จริงหรือไม่จริง แต่เราว่าเราจริง พอเราจริงเราก็เสียหาย

แต่ถ้าเราไม่จริง “เห็นจริงไหม.. เห็นจริง แต่ความเห็นนั้นไม่จริง” ถ้าเราพิจารณาแล้วไม่จริง ถ้าไม่จริงเราก็ปล่อย ถ้าเราพิจารณาของเราได้

ฉะนั้นเวลาด้วยเหตุด้วยผล เวลาพิจารณาด้วยปัญญามันจะเป็นอย่างนี้ เวลาเกิดขึ้นมามันมีอวิชชา มันมีความเห็นผิดในใจเราแน่นอน เพราะเรามีอวิชชาอยู่แล้ว แต่เราพิจารณาของเราไป อย่างที่ว่ากายไม่ใช่เรา เราไม่ใช่กาย มันปล่อยมาตั้งแต่บ้าน มันยังไม่ภาวนาเลย มันบอกกายไม่ใช่เราอยู่แล้ว เวลาไปภาวนาเสร็จแล้ว เออ.. ไม่ใช่เราๆ ซักพักหนึ่ง เอ๊อะ.. ไม่มีอะไรขึ้นมาเลย

คือเราไปสมอ้างกันเองไง เวลาภาวนานี่ให้คะแนนตัวเองไปก่อนแล้ว ๙๙ เปอร์เซ็นต์ เวลาไปนั่งผลัวะ! โอ้โฮ.. กายก็ไม่ใช่เรา เราก็ไม่ใช่กาย

ไม่ใช่ที่ไหนวะ ก็ไม่ใช่ที่ความคิดไง แต่ในหัวใจบอกกูไม่รู้เรื่อง

กิเลสมันยังไม่ได้กระเทือนเลย

นี่ไงเวลาโต้เถียงกัน ถ้าโต้เถียงด้วยเหตุผลนะ ทีนี้การโต้เถียงด้วยเหตุผล อย่างเช่นหลวงตาท่านทำเป็นตัวอย่างบ่อย ถ้ามีอะไรในวงการสงฆ์ท่านจะไม่ค่อยพูด ท่านจะเข้าไปหาคนนั้นตัวต่อตัวแล้วท่านคุยกัน ถ้าคุยแล้วเขาไม่ฟังท่านก็เฉยเลย ว่าไม่ใช่เรื่องของเรา ไม่ใช่เรื่องของเรา คือบางอย่างมันแก้ไขไม่ได้หรอก

ดูสิองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เทวทัตบวชมา แล้วเทวทัตมาทำลายศาสนาขนาดไหน แต่นั้นมันก็เพราะว่าเรื่องเวรเรื่องกรรม เพราะเทวทัต เห็นไหม ชูชกกับพระเวสสันดรก็มาด้วยกันใช่ไหม มันเป็นคู่เวรคู่กรรม สร้างกันมาตั้งแต่ต้นตั้งแต่ปลายมา คู่กันมาตลอดเลย เป็นพระเวสสันดรใช่ไหม กับเป็นชูชก แล้วพอมาถึงเป็นพระพุทธเจ้า ก็เป็นพระพุทธเจ้ากับเทวทัต อ้าว.. ก็มันมีเวรมีกรรมกันมาจะให้ทำอย่างไร มันมีเวรมีกรรม แต่เวรกรรมดี พระพุทธเจ้าก็เป็นพระพุทธเจ้าไป ชูชกก็มาเป็นเทวทัตซะ ก็มันมีกรรมมา แล้วจะให้ทำอย่างไรล่ะ

นี่ก็เหมือนกัน แต่บางที คำว่าบางทีหมายถึงว่า ถ้าเราไม่มีสายตาที่จะยาวไกลใช่ไหม เราเห็นว่าเป็นพระดีหรือพระไม่ดี เราก็คุยกันก่อน แต่ถ้าเขาดื้อเขาไม่ฟัง อันนั้นก็เหมือนเวรกรรม ธาตุ มันมีที่มาที่ไปไง

ฉะนั้นถ้าแบบว่าเอาพระองค์หนึ่งไปบอกพระอีกองค์หนึ่ง แล้วเขาโต้เถียงกัน.. เวลาเราพูดนี่นะ เอาพระองค์หนึ่งมาบอกพระสงบ พระสงบก็พูดบ่อยเลย ไอ้เราพูดนี่เราพูดเป็นทางวิชาการ คือพูดให้รู้ถูกรู้ผิด พอรู้ถูกรู้ผิด ให้พวกโยมไม่เป็นเหยื่อ เท่านั้นเองนะ แต่สังเกตได้ไหมว่าเราเคยทำอะไรมากไปกว่านี้ไหม เราเคยทำอะไรเกินเลยไปกว่าสิ่งที่เป็นทางวิชาการ พูดเพื่อเหตุผล เราพูดเท่านี้แหละด้วยเหตุผล แต่โยมก็จะบอกว่าเหตุผลของหลวงพ่อนี่อู้ฮู.. แรงมากเลย

ถ้าบอกว่า “ไปไหนมา สามวาสองศอก” มันก็ไม่ได้เรื่อง เหตุผลก็ต้องชัดเจน เหตุผลก็ต้องพูดด้วยเหตุผลที่ชัดเจน ทีนี้พอชัดเจนขึ้นมา มันอินไปมันก็ออกมาอย่างนี้แหละ เป็นอย่างไรล่ะ มันเป็นสันดาน อันนี้พูดถึง “พระองค์หนึ่งไปบอกพระอีกองค์หนึ่ง” จบ

มันอยู่ที่เราจะใช้สอย พระองค์หนึ่งกับพระอีกองค์หนึ่งนี่เราจะใช้เป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์ ถ้าเราใช้เป็นประโยชน์ พระองค์หนึ่งไปบอกพระอีกองค์หนึ่งก็เป็นประโยชน์ ถ้าเราใช้สอยในทางที่ผิด ยุแยงตะแคงรั่ว จากพระองค์หนึ่งมาบอกพระอีกองค์หนึ่งมันก็พัง มันอยู่ที่เราจะใช้ เราจะใช้เป็นประโยชน์หรือใช้เป็นโทษ ถ้าใช้เป็นประโยชน์มันก็เป็นประโยชน์ ถ้าใช้เป็นโทษมันก็เละ

ถาม : ๔. ศึกษาไปนานๆ ผมไม่กล้ากราบพระเลยครับ จะทำบุญกับพระมั่วซั่วเลย ก็กลัวจะเป็นพระศีลไม่สมบูรณ์ เลยจ้องจับผิดพระมาตลอด ผมเลยอึดอัดหัวใจมากครับ

หลวงพ่อ : นี่ผลมันก็บอกอยู่แล้ว อันนี้เราเลือกของเราเอง นี่พูดถึงข้อ ๔ นะ ข้อ ๕ กับ ๖ นี่พูดไม่ได้เลย (หัวเราะ)

ข้อ ๕ กับข้อ ๖ นี่นะเราจะบอกว่า ต้นไม้เขาขึ้นจากโคนต้นไปปลายต้น ไม่เคยเห็นต้นไม้ที่ไหน มีใครจะเก็บผลไม้แล้วกระโดดขึ้นไปปลายแล้วก็ลงมาโคนต้น เราไม่เคยเห็นนะ ไม่เคยมีคนที่แบบว่าเวลาขึ้นต้นไม้ขึ้นจากยอดไม้ลงมาโคนไม้ ไม่เคยมี คนที่จะขึ้นต้นไม้เห็นมีแต่ขึ้นจากโคนต้นขึ้นไปบนต้นไม้ คนที่ขึ้นต้นไม้บอกจากปลายต้นมาถึงโคนต้นเราไม่เคยเห็น พูดถึงข้อ ๕ กับข้อ ๖ นะ ไม่พูดถึงเขา

ข้อ ๗ แล้ว ข้อ ๕ กับข้อ ๖ ไม่ตอบ

ถาม : ๗. ผมดีใจที่หลวงพ่อยังมีความเห็นต่างออกไป เพราะผมรู้สึกอึดอัดหัวใจเหลือเกิน ไม่รู้จะไปปรึกษาใคร เพราะปัญญาผมยังไม่ถึง ยังอยู่ในขั้นทาน กิเลสหนาอยู่ครับ

หลวงพ่อ : นี่เขาบอกว่าเขาปฏิบัติมา แต่ไม่รู้ว่าเป็นแผนลวงหรือเปล่าเนาะ นี่ไม่รู้หน้าม้าเขียนให้พูดหรือเปล่า (หัวเราะ)

จบนะ! ข้อต่อไป ต่อไปอีกหน่อยเนาะ ขออีกหน่อยหนึ่ง เพราะปัญหามันทิ้งไว้เยอะมากเลยล่ะ ไม่อึดอัดเนาะ ขออีกนิดหนึ่ง

 

ถาม : ๓๘๔. เรื่อง “การสมาทานศีลสำคัญหรือไม่?”

กราบนมัสการท่านอาจารย์ที่เคารพอย่างสูง (กราบขอคำตอบชัดๆ อีกแล้ว) กราบขอคำตอบชัดๆ เกี่ยวกับการรักษาศีล ปฏิบัติธรรม เห็นคนไปวัดปฏิบัติธรรมแต่ไม่เคยสมาทานศีลเลย ไม่ว่าศีล ๘ หรือศีล ๕ อย่างนี้จะถือว่ามีศีลหรือยังครับ

และในกรณีแม่ชีอยู่วัดไปนานๆ ศีลอาจหลุด อาจขาด อาจบกพร่องบ้าง อย่างนี้ควรปฏิบัติอย่างไร ต้องสมาทานศีลวัตรเอาเองหรือเพียงแต่แค่ตั้งจิตเอาเอง ว่าต่อไปจะเพียรพยายามรักษาศีล ๘ ข้อไม่ให้บกพร่อง ไม่ให้ทำลาย แค่นี้ก็ได้หรือไม่ โดยไม่จำเป็นต้อง อะหัง ภันเต

หลวงพ่อ : เวลาเราประพฤติปฏิบัติ เริ่มต้นจากว่าอนุบาลนะ พื้นฐานนี่เรามาจากใคร โดยปัจจุบันนี้นะ เราดูข่าวอยู่ประจำเหมือนกัน ตอนนี้การศึกษาวันอาทิตย์นี่นักเรียน เด็กๆ มันสอบเป็นล้านนะ ถ้ามันสอบเป็นล้านเขาก็ต้องสอนอย่างนี้ เวลาเขาสอนเด็กๆ นะ เรื่องทางศาสนานี่เขาสอนศาสนพิธี สอนศาสนธรรม

คำสอนอย่างนี้ถูก คำสอนอย่างนี้เพราะเราต้องมีหลัก ศาสนพิธี ศาสนต่างๆ มันก็ต้อง อะหัง ภันเต ขอศีลอะไรต่างๆ อันนี้คือพิธีการ ทีนี้วิธีการมันเป็นวิธีการไง แต่ในหลักความจริงของกรรมฐานเราไม่เคยให้ศีล หลวงตาไม่ให้ศีล ที่ไหนก็ไม่ให้ศีล ถ้าให้ศีลแล้วคนมันติดศีล หลวงตาบอกว่า “เวลาให้ศีลไปแล้วมันได้ศูนย์” มันไม่ได้ศีล มันได้ศูนย์

นี่เพราะเราไปขอศีลกันเราเลยได้ศูนย์ไง แต่ถ้าเราไม่ขอศีลนะเราได้ศีล เพราะศีลเป็นความปกติของใจ ศีลมันมีอยู่แล้ว ธรรมดามันมีอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าศาสนพิธี ศาสนธรรมนี่เขาสอนมาเป็นวิธีการไง เป็นวิธีการเราขอศีลอะหัง ภันเตใช่ไหม ขอศีลๆ ความจริงขอศีลนี่คือเขาให้พระเป็นพยานเท่านั้น

เราจะเปรียบเทียบอย่างนี้นะ เปรียบเทียบว่าในชามข้าว เห็นไหม เรามีชามข้าว เราก็ต้องมีอาหารใช่ไหม เราบอกว่าเราขอศีลก็คือเราขอชามข้าว แล้วก็ถือชามข้าวไปถือชามข้าวมา ไม่มีอะไรในชามข้าวเลยนะ แต่ถ้าเราไม่ต้องมีชามข้าว อาหารนี่เราสามารถกินได้ตลอดเลย

นี่ก็เหมือนกัน โดยหลักปฏิบัตินี่จะพูดก่อน ถ้าเป็นศาสนา เป็นพิธีกรรมต่างๆ ต้องขอศีลไหม.. ต้อง มันจริงตามสมมุติ มันต้องมี อย่างเช่นมีพ่อแม่ เราเกิดมามีพ่อแม่ไหม.. มี เป็นพระก็มีพ่อแม่นะ เราเกิดมานี่เรามีพ่อมีแม่ของเราโดยความเป็นคน เราบวชเป็นพระ เรามีพ่อแม่เป็นอุปัชฌาย์ เรามีพ่อแม่หมดนะ พ่อแม่เราก็มี นี่มันไม่ลืมไง

ฉะนั้นถ้าเป็นสมมุติ ศีลต้องขอไหม.. ขอ มันเป็นสมมุติ แต่เวลาปฏิบัติขึ้นมาแล้ว เวลาปฏิบัติแล้ว ถ้าขอศีลอยู่มันจะขออย่างไร เวลาพระเราผิดศีลนะให้ปลงอาบัติ ปลงอาบัติ ฉะนั้นเวลาแม่ชีไปอยู่ที่วัดอาจศีลหลุด แม่ชีก็ต้องไปต่อศีล ไปขอศีลกับพระ ถ้าไม่ขอศีล เพราะแม่ชีปลงอาบัติไม่ได้ ฉะนั้นถ้าแม่ชีหลุด แม่ชีต่างๆ อันนี้มันต้องอยู่ที่หัวหน้าจริงไง ถ้าหัวหน้าไม่จริงตรงนี้มันจะสับสน บอกไม่ต้องขอศีล ไม่ต้องอะไร

เราเจอมามากนะเวลาเที่ยวไป พระหลายๆ องค์บอกว่าเอาแบบหลวงปู่ตื้อ หลวงปู่ตื้อทำอะไรก็ได้ หลวงปู่ตื้อท่านทำประสาท่านนะ เราเห็นพวกนี้แล้วรับไม่ได้ เขาบอกว่าเวลาจะเอาก็เอาแบบหลวงปู่ตื้อ เอาสะดวกไง เอาศีลอัตโนมัติ ถ้าเอ็งจะเอาแบบหลวงปู่ตื้อได้ เอ็งก็ต้องนั่งแบบหลวงปู่ตื้อได้ก่อน หลวงปู่ตื้อท่านนั่งสมาธิทีหนึ่ง ๗ วัน ๗ คืน

อ้าว.. เวลาหลวงปู่ตื้อทำดีไม่พูดถึงนะ แต่เวลาหลวงปู่ตื้อท่านอัตโนมัติมันก็จะอัตโนมัติด้วย อะไรก็หลวงปู่ตื้อ หลวงปู่ตื้อ.. หลวงปู่ตื้อท่านเป็นพระอรหันต์นะ ท่านได้อภิญญา ๖ นะ ท่านเป็นมือขวาของหลวงปู่มั่นนะ หลวงปู่มั่นมีอะไรท่านให้หลวงปู่ตื้อไปพิสูจน์ทั้งนั้นนะ คนอย่างนั้นเขาเรียกว่าสติวินัย มันพ้นไปจากธรรมวินัยแล้ว พวกเราจะไม่จาบจ้วง ไม่ไปดูหมิ่นโดยเป็นบาปอกุศลเลย

นี่ล่ะพระอริยเจ้า ใครดูหมิ่นพระอริยเจ้า ใครเพ่งโทษพระอริยเจ้าตกนรกอเวจี แต่ไอ้พวกเรามันไม่ได้หมิ่นพระอริยเจ้า จะเกาะหลังพระอริยเจ้า เห็นหลวงปู่ตื้อทำ กูก็อ้างกูจะทำบ้าง กูจะทำบ้าง แล้วเวลาหลวงปู่ตื้อปฏิบัติ มึงไม่ปฏิบัติบ้าง

นี่พูดถึงข้อนี้ก่อน เพราะถ้าไม่อย่างนั้นแล้วคนโฉเกมันเยอะ ไอ้พระโฉเก พระมันจะเอาตาม ฉะนั้นเวลาบอกว่าไม่ต้องทำเลย โอ้โฮ.. พระมันยิ้มเลยนะ หลวงพ่อสงบก็บอกว่าไม่ต้องทำ ไม่ต้องขอศีล..

ต้องขอ! ต้องขอ! ต้องขอในพิธีกรรมนะ แต่มาที่วัดนี้ โทษนะพวกโยมมาปฏิบัติ บางคนมาจะขอศีล ๘ เราบอกว่า “ขอเอาจากพระพุทธรูป”

แบบว่าให้มันจริงจังไง ถ้าโยมจริงจังขึ้นมานะ โยมมีศีลโดยปกติอยู่แล้ว ถ้ามีโดยปกติอยู่แล้วเราปฏิบัติเลย นี่พูดถึงว่าต้องขอศีลไหม ให้ตอบชัดๆ ในเรื่องการปฏิบัติธรรม.. มันตอบชัดๆ ไม่ได้ มันตอบชัดๆ ไม่ได้เพราะอะไร เพราะคุณภาพของคนมันไม่เหมือนกัน ถ้าให้ตอบชัดๆ นะ ถ้าคนคุณภาพนะ อย่างเช่นเหล็ก เห็นไหม ธาตุเหล็ก ธาตุเหล็กยังมีที่คุณภาพดีและคุณภาพไม่ดี แล้วคน.. คนมันไม่เหมือนกัน คนไม่เหมือนกัน เจตนาคนไม่เหมือนกัน

เวลาครูบาอาจารย์ท่านอุตส่าห์สมบุกสมบันมา ท่านพยายามต่อสู้มาเพื่อให้พวกเราได้ปฏิบัติอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย อะไรท่านก็พยายามเปิดทางให้ เปิดทางให้ หลวงปู่มั่นท่านเปิดทางไว้ให้หมดเลย แล้วเราก็อาศัยช่องทางที่หลวงปู่มั่นเปิดทางไว้ให้ เอามาเป็นสินค้าหากินกัน เราไม่ใช้เอาที่หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์ ท่านเปิดช่องทางไว้ให้มาเพื่อประพฤติปฏิบัติ เปิดช่องทางนั้นให้เรามาจริงจังกับเรา

พอหลวงปู่มั่นท่านเปิดช่องทางไว้ให้ มันก็เลยกิเลสสวมรอยเลย ไม่ต้องขอศีล ไม่ต้องทำอะไร จะนอนตีแปลง โยม..ตอนเช้าๆ นี่จะต้องเอาหูฉลามนะ หูฉลาม ไม่ใช่หูฉลามกินไม่ได้ มันไม่ตรงกับธาตุขันธ์ โอ้โฮ.. มันเกินไป เช้าขึ้นมาก็ต้องหูฉลามน้ำแดงนะ มันดีกับธาตุขันธ์ มันภาวนาดี นี่เวลาสิ่งที่เป็นประโยชน์กับตัว ไม่เห็น

ทีนี้คำว่าชัดๆ นี่ชัดๆ ตรงไหน คุณภาพของคน คุณภาพของจิต คุณภาพต่างๆ มันไม่ตรงกัน แล้วเราจะมาว่าเอาให้มันชัดๆ ชัดๆ ตรงไหนล่ะ ฉะนั้นเราต้องดูประโยชน์กับเรานะ

อันนี้เอาแค่นี้ก่อนนะ เดี๋ยวจะไปข้างหน้า ข้างหน้าจะมีปัญหา อันนี้ก่อน

 

ถาม : ๓๘๕. เรื่อง “ขอให้เปิดบัญชีของวัดบ้าง โยมอยากทำบุญ”

โยมไปที่วัดครั้งหนึ่งเมื่อตอนปีใหม่ ตอนเด็กๆ พ่อแม่เคยพาไปฟังเทศน์หลวงปู่หล้า หลวงตามหาบัวบ่อยๆ แต่ไม่ค่อยรู้สึกอะไรเลย รู้แต่ว่าไปทำบุญ พออายุ ๔๐ ทุกข์เกิดขึ้นกับตัว พอฟังธรรม นั่นใช่ ไม่มีคำถามที่พ่อแม่ครูอาจารย์สอนผิด เพราะมันถูกหมดคือต้องรับกรรมที่เคยทำไว้ ไม่ว่าตั้งแต่ชาตินี้หรือชาติหน้าใช่ไหมคะ

หลวงพ่อ : ใช่! ไอ้เรื่องอยากทำบุญ เปิดบัญชีวัดอะไรนี่เราไม่ทำ เราไม่ค่อยอยากทำ เพราะว่าหลวงตาท่านไปทำที่ไหนก็แล้วแต่นะ ท่านบอกว่า “เห็นหัวใจของคนมากกว่า” ไปไหนท่านทนทุกข์ไปเพื่อน้ำใจของคน น้ำใจของคนมันสำคัญกว่าปัจจัยเครื่องอาศัยทั้งหมด ไอ้ที่ทำบุญๆ นั้นเป็นปัจจัยเครื่องอาศัย

ฉะนั้นสิ่งที่ว่าครูบาอาจารย์ท่านทำเพราะท่านเห็นค่าของน้ำใจ ฉะนั้นบางอย่าง ค่าของน้ำใจมันก็ส่วนค่าของน้ำใจ ฉะนั้นคนมันมีหลายประเภทใช่ไหม มันก็อ้างว่าค่าของน้ำใจ ค่าของน้ำใจ หลิ่วตาข้างหนึ่งนะไม่อยากได้ ไม่อยากได้ นี่ก็เหมือนกัน ถ้าไม่อยากได้เราก็เป็นอย่างนี้

มันมี พวกลูกศิษย์นี่เขาเห็นโทษของการที่ว่าเงินทองมันเป็นของอันตราย เขาพยายามจะสร้างตู้บริจาคมาให้เยอะแยะเลย เราเอาทิ้งหมดเลย เราบอกว่าถ้าเอาตู้บริจาคมาตั้ง เราอายน่าดูเลย มันเหมือนกับโรงหนังเลย มึงจะเข้าโรงหนังต้องซื้อตั๋วก่อน ไอ้นี่จะมาวัดก็ต้องหยอดตู้ก่อน กูรับไม่ได้ กูรับไม่ได้

ใครจะมีน้ำใจทำ นั่นมันสิทธิของเขา ประโยชน์ของเขา เขาจะทำก็เรื่องของเขา แต่ไอ้เราจะมาเปิดช่องเพื่อจะทำเรื่องอย่างนี้เราทำไม่ได้ มีคนเห็นโทษนะ ทำตู้บริจาคมาให้เลยบอกว่าเรื่องเงินทองมันเป็นสิ่งล่อใจ มันกลัวจะเสียหายไง เอามาตั้งไว้เราบอกเรารับไม่ได้ ถ้าตั้งไว้อย่างนี้นะกูไปเลย กูรับไม่ได้ มึงเห็นกูเป็นสัตว์ประหลาด ละครสัตว์ เวลามาต้องหยอดตังค์ก่อนไง ใครจะดูละครสัตว์ต้องเอาตังค์โยนหยอดตู้ จะได้เห็นละครสัตว์นั่งอยู่นี่ กูรับไม่ได้

นี่ก็เหมือนกัน เปิดบัญชีๆ นี่พูดประสาเราเขาคุยกัน เขาทำเพื่ออำนวยความสะดวกไง แต่ส่วนใหญ่เราไม่ค่อยทำ ไม่ทำหรอก เพียงแต่ใครจะถามมาก็เรื่องของเขา ไอ้นี่คือเขาตั้งใจไง มีหรือไม่มีเราก็อยู่ได้ มีหรือไม่มีเราก็กระเสือกกระสนของเราไปได้ ชีวิตนี้มีค่ากว่าทุกๆ อย่าง อย่างอื่นไม่มีความหมาย ไม่มีความหมายจริงๆ

อ้าว.. เดี๋ยวจะคุยโม้ไปหน่อย อันนี้มันจะยาวนะ แล้วเราค่อยๆ คุยกันนะ อันนี้เราค่อยๆ คุยกัน จะเคลียร์ปัญหานี้ เขาดีมาก แต่เขามีความกังวลกับศาสนา

 

ถาม : ๓๘๖. เรื่อง “ขอธรรมะคำแนะนำที่ให้สติการทำหน้าที่ลูกหลานชาวพุทธ รักษาสืบทอดพระศาสนา ตามคำสอนของพ่อแม่ครูอาจารย์”

(ค่อยๆ ฟังนะ) กราบขอเมตตาจากพระอาจารย์อีกครั้งหนึ่ง ขอธรรมะคำแนะนำที่ให้สติในการทำหน้าที่ลูกหลานชาวพุทธ รักษาสืบทอดพระศาสนา ตามคำสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์

ก่อนอื่นโยมก็ต้องกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์อีกครั้ง ที่เมตตาได้ให้ธรรมะข้อคิด หลังจากโยมได้เขียนจดหมายมา กราบขอบพระคุณพระอาจารย์ที่ตอบคำแนะนำในอุบายการภาวนา

หลวงพ่อ : นี่เขาเคยถามปัญหามาเนาะ เราจำไม่ได้หรอก เราตอบตามนี้แหละ

ถาม : จากเรื่อง “ธรรมะขอเอา” เทศน์วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๔ ตอนหนึ่งพระอาจารย์ได้เทศน์ไว้สะดุดใจมาก โดยโยมขออนุญาตอ้างอิงดังนี้

หลวงพ่อ : คือเขาอาศัยคำเทศน์เรานี่แหละ แล้วกลับมาย้อนถามเรา เขาบอกว่าเพราะเราเทศน์นี่เขาเห็นด้วยไง

ถาม : ....เราเป็นชาวพุทธด้วยกัน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฝากพระศาสนาไว้กับบริษัท ๔ ฝากไว้นะ (แล้วก็วงเล็บของเขา) มารเอย เมื่อใดภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาของเราไม่เข้มแข็ง ไม่สามารถกล่าวแก้คำติฉินนินทาจากลัทธิอื่นๆ เราจะไม่ยอมนิพพาน

ฉะนั้น เราเป็นชาวพุทธด้วยกัน เราจะคุยกันด้วยเหตุด้วยผล กาลามสูตร พระพุทธเจ้าบอกไม่ให้เชื่อ ไม่ให้เชื่อแม้แต่ใครพูดทั้งสิ้น เราจับสิ่งนั้น ประเด็นนั้นคำว่าไม่ให้เชื่อนะ ไม่ให้เชื่อที่ว่า เราเชื่อแล้วเรางมงาย เวลาเราฟังเสร็จแล้วเรากลับไปคิดนะ ฟังแล้วกลับไปคิดไปใคร่ครวญว่าจริงไหม เราปฏิบัติจริงไหม แล้วเราเอามาเทียบเคียง

เห็นไหม พระพุทธเจ้าให้เชื่อตรงนี้ ให้เชื่อประสบการณ์จริง ให้เชื่อจากการปฏิบัติ ไม่ให้เชื่อเพราะครูบาอาจารย์พูด แม้แต่ครูบาอาจารย์พูด มันเป็นจริตนิสัยไม่เหมือนกัน แต่สุดท้ายพอถึงปลายทางก็เหมือนกัน กรณีอย่างนี้มันสำคัญ….

เนื่องจากในระยะนี้มีประเด็นเรื่องความถูกต้องของประวัติหลวงตา ที่เกี่ยวโยงกับการปฏิบัติธรรมที่ถ้ำสาริกา และการปฏิบัติธรรมของหลวงปู่เจี๊ยะก่อนที่ท่านจะเดินทางมากราบหลวงปู่มั่น ซึ่งโยมเห็นด้วยว่าต้องกระทำด้วยความรอบคอบ รักษาความถูกต้อง ไม่ให้ธรรมของครูบาอาจารย์คลาดเคลื่อน แต่เท่าที่สังเกตเห็นถึงการกล่าวอ้างบทความที่เขียนโดยฆราวาส

หลวงพ่อ : ระบุชื่อด้วย แล้วระบุเว็บไซด์ด้วย แอนตี้วิมุตติ (หัวเราะ)

ถาม : ซึ่งภายในมีการอ้างชื่อครูบาอาจารย์มาวิจารณ์ด้วยข้อความที่ไม่สำรวมนัก ซึ่งนำไปสู่การวิจารณ์ในลักษณะที่ไม่เหมาะสมเท่าไรนัก ในความคิดเห็นส่วนตัว หากผิดประการใดโยมขอน้อมรับผิดนั้น และขอขมาไว้ที่นี้

(อันนี้น่าคิดมากเลย) โยมเอง การได้เข้ามาในพระพุทธศาสนานี้ ก็ไม่ได้เข้ามาพร้อมกับทะเบียนเกิด ผ่านขบวนการทดลองปฏิบัติ และตัดสินใจเลือกที่จะเป็นชาวพุทธด้วยตัวเอง ถึงแม้จะไม่ได้รับการยอมรับจากครอบครัวก็ตาม

หลวงพ่อ : แหม.. คำนี้มันกินใจ นี่เขาไม่ใช่ชาวพุทธก่อนนะ แต่เขามาเป็นชาวพุทธ

ถาม : ทุกวันนี้โยมกราบเคารพสำรวม ระวังความประพฤติต่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็เพราะเห็นค่าความสำคัญของธรรมแท้ และเสียดายที่สภาพสังคมทั่วไปมีแต่เปลือก และความบิดเบือนของพระศาสนา ดีใจที่มีกลุ่มคนพยายามช่วยกันปกป้อง รักษาความถูกต้องของพระศาสนา แต่บางครั้งก็รู้สึกว่า ภายใต้การทำหน้าที่ช่วยเผยแผ่ ปกป้องความถูกต้อง เราลืมความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ลืมสำรวมกาย วาจา ใจ ลืมศีล ลืมรักษาความปกติหรือเปล่า ถึงแม้จะมีทิฐิที่ต่าง แต่ทุกคนก็เป็นคนที่เดินทางในวัฏสงสาร มีโอกาสหลงผิด และมีโอกาสรู้ได้เช่นกัน

ข้อเขียนที่เขียนโดยฆราวาสที่ยังเต็มไปด้วยกิเลส ย่อมต่างจากคำแนะนำ คำตักเตือนของครูบาอาจารย์ที่ผ่านการต่อสู้ชำระกิเลส สละเป็นสละตาย แม้บางท่านบางองค์จะโผงผาง รุนแรง แต่ก็เป็นข้อความที่เต็มไปด้วยธรรมและความหวังดีอย่างแท้จริง

โยมใคร่ขอธรรมข้อคิดขยายความจากพระอาจารย์ เพื่อเป็นหลักใจในการทำหน้าที่ลูกหลานชาวพุทธ รักษาสืบทอดพระศาสนาว่าด้วยเรื่อง

ข้อที่ ๑. เราเป็นชาวพุทธด้วยกัน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฝากศาสนาไว้กับบริษัท ๔ ไว้นะ “มารเอย เมื่อใดภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาของเราไม่เข้มแข็ง ไม่สามารถกล่าวแก้คำติฉินนินทาจากลัทธิต่างๆ เราจะไม่นิพพาน”

ข้อที่ ๒. เราเป็นชาวพุทธด้วยกัน เห็นไหม เราคุยกัน ปรึกษากัน อย่าเอาทิฐิมานะมาสิ เราเป็นผู้เดินทางด้วยกัน เรามีสิ่งใด เราปรึกษากัน เราช่วยเหลือเจือจานกัน นี่เราเป็นชาวพุทธด้วยกัน ฉะนั้นเราเป็นชาวพุทธด้วยกัน เราคุยกันด้วยเหตุด้วยผลสิ

ข้อที่ ๓. กาลามสูตร พระพุทธเจ้าบอกไม่ให้เชื่อ ไม่ให้เชื่อแม้แต่ใครพูดทั้งสิ้น เราจับสิ่งนั้นเป็นประเด็น คำว่าไม่ให้เชื่อ ไม่ให้เชื่อที่ว่าเราเชื่อแล้วงมงาย เวลาเราฟัง เราฟังเสร็จแล้วเรากลับไปคิดนะ ฟังแล้วกลับไปคิดใคร่ครวญว่าจริงไหม เราปฏิบัติจริงไหม

แล้วเราเทียบเคียง เห็นไหม พระพุทธเจ้าให้เชื่อตรงนี้ ให้เชื่อประสบการณ์จริง ให้เชื่อการปฏิบัติ ไม่ให้เชื่อครูบาอาจารย์พูด แต่ครูบาอาจารย์พูดนะ มันจริตนิสัยไม่เหมือนกัน (นี่คำพูดเราไง)

ข้อที่ ๔. การทำเพื่อประโยชน์สังคม เพื่อประโยชน์สำหรับนักปฏิบัติ ประโยชน์เพื่อศาสนาให้มั่นคง ขอบพระคุณพระอาจารย์อย่างสูง

หลวงพ่อ : อันนี้คงเขียนมาก่อนเราพูดไปเรื่อง “หมาของหลวงตา” เนาะ พอเรื่องหมาของหลวงตาออกไปคงช็อกเลย ผิดหวังหลวงพ่อมากเลย หลวงพ่อพูดซะดี๊ดี แต่เวลาหลวงพ่อออกทีหนึ่งอย่างกับฟ้าผ่าเลย

ดี๊ดีเพราะว่าเราอยู่กับครูบาอาจารย์มา เราเห็นความทุกข์ความยากของครูบาอาจารย์มา แล้วเราสะเทือนใจ เวลาเราปฏิบัติ เวลาเราทุกข์เรายาก เราจะคิดถึงหลวงปู่มั่นตลอด เพราะว่าหลวงปู่มั่นทุกข์กว่าเราหลายร้อยเท่า พระพุทธเจ้าทุกข์กว่าเราหลายร้อยเท่า ฉะนั้นการทุกข์ของเรานี่ถือเป็นของเล็กน้อย

แล้วความทุกข์ของเรา เห็นไหม ดูสิหลวงปู่มั่นท่านเอาพ่อแม่มาอยู่ด้วยพักหนึ่ง เอาแม่มาอยู่ด้วย แล้วเวลาไปอยู่ที่ไหน ไปอยู่ในป่ามันลำบากก็ไปกั้นร้านไว้ข้างบนเป็นคอกไว้ให้แม่อยู่ แล้วเสือมันจะมากินไง สุดท้ายท่านเป็นกังวลมากท่านก็เอาแม่กลับไปส่งบ้าน บอกว่า “ไม่ได้ มันเป็นกังวล ไม่ได้ มันเป็นกังวล”

คิดดูสิ พ่อแม่ของท่าน ท่านก็รักของท่านนะ แต่ท่านก็พยายามช่วยเต็มที่ แต่ช่วยในนามของพระ เราถึงบอกว่าเราเห็นถึงเจตนา ถึงการเสียสละ ถึงการที่ไม่เห็นตัวของหลวงปู่มั่น ของครูบาอาจารย์เรา เราซึ้งมาก

ฉะนั้นเวลาที่บอกว่า “เราเป็นชาวพุทธด้วยกัน เราต้องคุยกัน เราปรึกษากันได้” ไอ้นี่ อย่างนี้โดยทฤษฏีมันเป็นอย่างนี้จริงๆ มันควรจะคุยกันได้ แต่การคุยกันของคน พระนี่มันทิฐิไม่เหมือนกัน ทิฐิมันแตกต่างนะ ทิฐิของมันมันว่ามันถูก ทิฐิพระ แล้วเวลาเราพูดด้วยเหตุผล เหตุผลเราก็ดีเวลาพูดกันต่อหน้า

เราเคยประชุมสงฆ์ประจำ เวลาพูดด้วยเหตุผลนะ จนเหตุผลหมดเลย แต่ให้ลงมติไม่ลง มันยังไม่ได้ดั่งใจ บอกเอาไว้คราวหน้า แล้วก็ไปแอบประชุมกัน เลือกประชุมเฉพาะคนที่เห็นด้วยกัน แล้วก็ลงมติสงฆ์

มติสงฆ์ มติสงฆ์นี่เรารู้จักมันดี! เรารู้จักมติสงฆ์ดี! เราเคยอยู่กับพวกนี้มาตลอด! แล้วทีนี้บอกว่าคุยกันๆ นี่มันคุยจริงหรือเปล่าล่ะ เวลามันคุย คนเราคุยกันนะ ถ้ามีเหตุมีผล มันคุยด้วยเหตุผล มันจนด้วยเหตุผลหมดแหละ เหตุและผลมันเป็นธรรม แต่เขาไม่ฟัง เขาไม่ฟังหรอก

คนเรานี่นะ ถ้าไม่มีลับลมคมใน ทำอะไรมันก็สะอาดบริสุทธิ์ไปหมดแหละ แต่ถ้ามันมีลับลมคมในนะบอก “อันนี้เอาไว้ก่อน” คือยิ่งกว่านักการเมืองนะ นักการเมืองยังไม่เท่านี้

เดี๋ยวก่อน จะบอกว่าคนถามอย่าเสียใจนะ! คนถามนี่อย่าเสียใจนะ เราพูดไปเดี๋ยวคนถามจะเสียใจ หลวงพ่อ ให้หลวงพ่อช่วยสงบศึก ทำไมหลวงพ่อเปิดศึกอีกรอบหนึ่งแล้ว (หัวเราะ)

ฮึ! เพราะเจตนาเราดี เจตนาพวกเรานี้ดีจริงๆ นะ คนที่เจตนาดีนี่เรายอมรับว่าเจตนาดีจริงๆ แต่เจตนาอย่างเดียวไม่พอ หลวงตาท่านพูดอย่างนี้ ท่านอยู่กับหลวงปู่มั่น แล้วหลวงปู่มั่นดังคับฟ้าอีกแล้ว หลวงตาเป็นคนพับผ้า แล้วผ้าอาบหลวงปู่มั่นมันปะ มันชุนเยอะมาก หลวงตาท่านก็ไปตัดผ้า ตัดผ้าอาบนำ ย้อมอย่างดีเลย เสร็จแล้วก็พับ พับเสร็จก็เอาไปวางไว้ที่เปลี่ยนให้หลวงปู่มั่น

เพราะหลวงปู่มั่นต้องอธิษฐาน ต้องใช้ไง ต้องเป็นผู้อธิษฐานไง หลวงปู่มั่นก็เอาผ้ามา แล้วก็เรียกหลวงตามา บอกว่า “ถ้าจะให้เราเป็นลิงนะเราก็จะใช้ ถ้าจะให้เราเป็นหลวงปู่มั่นอย่างเก่านะ เราจะใช้ผ้าผืนเก่า”

โอ้โฮ.. หลวงตาท่านก้มลงกราบนะ ท่านบอกเสียใจมาก ท่านบอกว่า

“มันเป็นเจตนาดีของผม ผมนี่เจตนาดีมาก”

เพราะผ้าในวัดหลวงปู่มั่น ผ้าดิบทำผ้าอาบมันไม่ขาดแคลนหรอก แต่หลวงปู่มั่นท่านดังคับฟ้า เราเป็นลูกศิษย์เราก็อยากให้อาจารย์เราได้นุ่งผ้า ได้ใช้ของที่สมกับฐานะที่เป็นอาจารย์ของเรา เราไม่เคยคิดละลาบละล้วงเลย เรามีแต่เจตนาที่สะอาดบริสุทธิ์เพราะเรารักของเรามาก หลวงตาท่านรักหลวงปู่มั่นมาก แล้วท่านก็อยากให้ใช้ผ้าพอสมกับฐานะ

ไม่ใช่ผ้าดีเด่อะไรหรอก ก็ผ้าฝ้ายหมู่บ้านนี่แหละ ผ้าฝ้ายชาวบ้านไม่มีผ้าอะไรหรอก เพียงแต่มันไม่ขาด แล้วไปย้อมมาให้ท่านใช้ ท่านบอกว่า “ถ้าให้เราเป็นลิง คือว่าจับจด ใช้ของยังไม่ถึงที่สุด เราไม่ยอม แต่ถ้าจะให้เป็นหลวงปู่มั่นต้องเอาผืนเก่า” ท่านกราบนะ แล้วไปเอาผ้าผืนเก่ากลับมาให้หลวงปู่มั่น

เราจะบอกว่า นี่คือเจตนาที่สะอาดบริสุทธิ์ เราจะใช้คำว่าเจตนาอย่างเดียวนี่มันไม่พอ เจตนาแล้วมันต้องมีเหตุมีผลรองรับด้วย ว่าเจตนาอย่างนี้เหตุผลมันใช้ได้กับกาลเทศะ บุคคล หรือเปล่า บุคคลคนนั้น เห็นไหม หลวงปู่มั่นท่านทำของท่านเพื่อประโยชน์กับสังคม เพื่อประโยชน์กับพระ พระทั้งหมดเป็นลูกศิษย์ของท่านก็ดูท่านอยู่ แต่หลวงตาท่านก็เป็นลูกศิษย์เหมือนกัน ท่านก็รักของท่าน ท่านก็อยากจะเปลี่ยนผ้าให้ ท่านบอกเลย..

เพราะหลวงตาท่านโดนอย่างนี้มาท่านถึงบอก “เจตนาอย่างเดียวไม่พอ” เวลาท่านสอนลูกศิษย์ไง เวลาใครมานี่ โอ๋ย.. เจตนาดีหมดเลย ถ้าเจตนาดีหมดเลยนะ วัดนี้จะไม่มีข้อวัตรเลย เพราะคนจะเอาแต่ใจของตัว คนนู้นก็จะเอาอย่างนั้น คนนี้ก็จะเอาอย่างนี้ คนนี้ก็จะเอาอย่างนั้น ยิ่งร้ายใหญ่เลยจะเอาแต่ตามใจตัว เจตนาดีหมดเลย วันนี้ก็กลายเป็นสปา กลายเป็นโรงแรม พร้อมที่จะเข้ามานอนอาศัยสบาย ติดแอร์หมดเลย เจตนาดีหมดเลย เจตนาดีของใคร?

นี่พูดถึงว่าเจตนา โยมเจตนาดีเราเห็นด้วย เรื่องคำว่าเจตนาเราเข้าใจดี เพราะหลวงตาเจตนาของท่านเคยทำกับหลวงปู่มั่นมา แล้วสะเทือนใจขนาดไหนท่านโดนมาเยอะ ทีนี้กรณีอย่างนี้ คำว่าเจตนาของเรา ความคิดของเรา ความเห็นของเรา เราก็คิดว่าพระต้องคุยกัน สังคมสงฆ์ เราคุยด้วยเหตุด้วยผลสิ เวลาเราพูดเราก็พูดด้วยธรรม มันสะเทือนใจทั้งนั้นแหละ

ถ้าใครพูดด้วยธรรม ธรรมมันเหนือโลก ธรรมเหนือทุกอย่าง ธรรมมันครอบคลุมหมดเลย แต่คนที่อยู่ใต้ธรรม คนที่อยู่ใต้ธรรมหรือว่าอยู่ในธรรมนี่มันยอมรับความจริงไหม ถ้ามันยอมรับความจริง คุยกันมันจบทุกเรื่อง เราคุยกันด้วยเหตุด้วยผลแล้วจบทุกเรื่อง แล้วมันต้องยอมรับ ถ้าจบแล้วต้องยอมรับว่าจบด้วย ไม่ใช่จบแล้วไม่ยอมรับนะ พอคุยกันนี่เหตุผลเราสู้ไม่ได้จบ ยอม แล้วก็ไปยุคนนู้น ไปแหย่คนนี้ แล้วมันจบที่ไหนล่ะ?

ถ้าจบมึงต้องจบสิ เวลามึงจบเสร็จแล้วมึงก็ไปยุคนนู้น ยุคนนี้ ยุไปเรื่อยเลย แล้วมันจบตรงไหน? ถ้าเป็นพระนะ “อธิกรที่ได้ชำระแล้ว ยอมรับแล้ว ตกลงกันแล้ว ใครรื้อฟื้นเป็นอาบัติปาจิตตีย์” สิ่งใดที่ขัดแย้ง แล้วได้มีการชำระแล้ว ประชุมแล้ว จบแล้ว ต้องจบ ถ้าใครไปรื้อฟื้นเป็นอาบัติปาจิตตีย์

เราทำงานกับพวกนี้มาเยอะ เราเคยประชุมสงฆ์มาตลอด ประชุมสงฆ์จนไม่ไปประชุมกับเขา เพราะกูไม่รู้ว่าจะไปประชุมทำไม เอากูมานั่งเฉยๆ แล้วก็ประชุมสงฆ์แล้วก็ให้กลับ ทุกทีเลย เวลากูจะพูดอะไรไป เอาละ พอกูจะอ้าปากเท่านั้นแหละ โอ้โฮ.. กลัวจนตัวสั่น มันไม่เห็นประชุมซักที

โทษนะ นี่ไม่ใช่อวดนะ เวลาเราพูด เห็นไหม เราบอกว่า “ที่ไหน เมื่อไหร่ให้บอก อยากให้ไปที่กลางสนามหลวงแล้วสื่อทั้งหมดมา มันจะได้จบแล้วมันได้จบไง” มันไม่ได้จบหรอก ประชุมแล้วประชุมเล่าไม่เคยจบ มันไม่จบเพราะอย่างนี้แหละ เราอยากประชุมแล้วก็สื่อกล้องจับหมดเลย แล้วลงมติกัน เราอยากประชุมอย่างนั้น

ทีนี้มันไม่จริง ไอ้จริงหรือไม่จริงมันก็อยู่ที่หลวงปู่มั่น เราดูหลวงปู่มั่นนะ หลวงปู่มั่นท่านไม่ต้องประชุมกับใครเลย หลวงปู่มั่นท่านเป็นหัวหน้า ท่านจัดการของท่าน หลวงตาท่านทำโครงการช่วยชาติ เวลาท่านบอกท่านไม่ปรึกษาใครเลย เวลาท่านมีความสงสัยท่านเข้าทางจงกรม ท่านปรึกษาธรรมะ เวลาเราเข้าทางจงกรม เราเดินจงกรมนะ เดินจงกรม นั่งสมาธินะ มันตัดสินหมดเลย แล้วสะอาดบริสุทธิ์ เพียงแต่ว่าเวลาท่านทำงานขึ้นมาท่านต้องใช้บุคลากร นั่นอีกเรื่องหนึ่ง

นี่พูดถึงว่า “ทำไมชาวพุทธเราไม่คุยกัน” นี่มันเป็นธรรม โยมพูดเป็นธรรม เราก็พูดเป็นธรรม แต่คนที่มันไม่เป็นธรรมนี่มันทำให้เป็นปัญหา ถ้ามันเป็นธรรมมันจบหมด สิ่งที่เราพูดออกไป เราก็พูดเตือนสติ เราพูดประจำ

เราห่วงนะ ตั้งแต่หลวงปู่มั่นเสียไป หลวงตาบอกว่า “แตกกระสานซ่านเซ็นไป ๓-๔ ปี” ตอนหลวงปู่มั่นท่านเสียนะ หมู่คณะแตกกันเป็น ๓-๔ ปีกว่าจะรวมกันติด ไปฟังเทศน์เก่าๆ หลวงตาสิ คำนี้ท่านพูดบ่อย แล้วคราวนี้หลวงตาท่านล่วงไป เราเองนี่นะพยายามนิ่งที่สุด เราพยายามนิ่งที่สุด เราจะไม่สร้างปัญหา เราต้องการให้หมู่คณะเคลื่อนไปด้วยความสะดวกสบาย

เรานิ่งที่สุด เราไม่พูดอะไรเลยนะ ใครจะไปว่าธรรมอย่างไรเราก็เออกับเขา เออกับเขา เพียงแต่ว่าสิ่งที่เราอยู่นี้ สิ่งที่มันกระสานซ่านเซ็นจะมาถึงเรานี่เราไม่รับ อย่างที่ว่าเขาเอามานี่เราไม่ยอมรับ พยายามไม่ยอมรับ เพื่อไม่ให้เข้ามาถึง.. แบบว่าสิ่งที่ให้ทำไม่ให้เข้ามาถึงตัวเราด้วยไง อย่างที่ว่าค้านไว้ในใจ ว่าอย่างนั้นล่ะ

เราค้านไว้ในใจนะ เพียงแต่ที่เราพูดออกไปที่ว่าแรงๆ นั้น เพราะคำถามมันมาอย่างนี้ เวลาคำถามมาแล้วเราไม่พูดบ้างซะเลย มันเหมือนกับคนทำมันเหิมเกริม คิดว่าประเทศไทยนี่เป็นของคนที่ทำอยู่ เราคิดของเราอย่างนี้ ที่เราพูดออกไปเพราะเหตุนี้นะ ที่เวลาเราพูดอะไรออกไป เราคิดว่ามันจะเป็นประโยชน์กับการเตือนสติ ในการกระทำของพวกที่ทำกันอยู่เราถึงพูดออกไป เหตุผลของเรามีแค่นี้จริงๆ เหตุผลของเราคือเตือน เตือนคนทำ! เตือนคนที่กำลังจะทำอะไรไปข้างหน้าให้มีสติว่าควรหรือไม่ควรในเรื่องของศาสนา

ในเรื่องของศาสนา ธรรมะมันจะตีความอย่างไรก็ตีความกันไป แต่! หลวงตาท่านเคยพูดประจำ “ผู้รู้มีอยู่นะ ผู้รู้นี่เขารู้” ถ้าผู้รู้เขามี เห็นไหม นี่ขั้นตอนของมันมี ตั้งแต่ความสงบของใจที่ว่าพยายามแหวกเข้าไป แหวกเข้าไปจนสงบ แล้วสงบแล้วมันจะเป็นเอง เป็นโสดาบัน เป็นสกิทาคา เป็นอนาคาเองนี่ มันเป็นไปไม่ได้หรอก มันไม่มี!

จะสงบขนาดไหน ถ้าไม่เห็นกาย เวทนา จิต ธรรมโดยความเป็นจริง แล้วถ้าเห็นกาย เวทนา จิต ธรรมโดยความเป็นจริง มันทำอย่างไรถึงจะเป็นตทังคปหาน คือการเริ่มกระบวนการในการกระทำ แล้วกระบวนการกระทำของมัน มันจะสิ้นสุดขบวนการของมันมี การสิ้นสุดกระบวนการของมันคือขณะจิตที่เป็นโสดาบัน เป็นสกิทา เป็นอนาคา เป็นพระอรหันต์นั่นน่ะมันมี

มันมีขั้นตอนของมัน มันมีขั้นตอนของมันที่ผู้รู้เขาจะสื่อได้ แล้วผู้รู้เขาเช็กได้แม้แต่คำพูด พูดออกมานี่เขาเห็นไส้เห็นพุงหมดแล้ว! ไส้พุงที่ขดเขาเห็นหมด เราอาย อายฉิบหายเลย!

วงกรรมฐานเรา พ่อ แม่ ครูบาอาจารย์ท่านสละชีวิตมา ท่านทำเพื่อพวกเรามา ไอ้ที่พูดออกไปนี่แค่เตือนๆ นะ เตือนเพราะหลวงตาท่านพูดบ่อย ตอนที่ปฏิบัติถ้ามีปัญหาหรือมีการโต้แย้งกัน ท่านจะบอกว่า “ผู้รู้มีนะ” ผู้รู้มีคือผู้รู้เขารู้เขาเห็นหมด ผู้รู้นี่เขารู้เขาเห็นหมด เพียงแต่ว่าเขาเป็นผู้ใหญ่ เขาก็ไม่พูดให้มันกระเทือนไง

ตอนงานหลวงตานี่เราสาธุ สาธุ เราจะอะไรก็ได้ขอให้งานเสร็จ ขอให้งานเสร็จ พอเสร็จแล้วเราก็ยังสาธุอยู่นะ อะไรก็ได้ อะไรก็ได้ เราไม่เคยไปยุ่งเลย เราไม่เคยยุ่งนะ ขนาดอะไรเราไม่เคยยุ่ง แต่นี้เพียงแต่ว่าปัญหามันเข้ามาหาเราเอง อย่างที่เราว่าเราพยายามกันไว้นะ เราพยายามจะกันไว้นะ ไม่เอาๆๆ เราพยายามกันจริงๆ สังเกตได้นะ แต่มันเข้ามาเอง ทีนี้พอเข้ามาเองมันเกี่ยวกับสังคม มันเหมือนจะดูดายไง

มันเหมือนดูดายเกินไปมันก็ไม่ได้นะ เราก็เป็นคนๆ หนึ่งที่หลวงตาท่านฝึกเรามา เราก็เป็นคนๆ หนึ่งที่เราเคยไปอยู่ไปกินอยู่วัดป่าบ้านตาด เราก็เป็นคนๆ หนึ่ง ฉะนั้นบางอย่างถ้ามันเห็นเหมือนกับว่าถ้าเราดูดายเกินไป เราก็รู้สึกอายตัวเองเหมือนกัน เราถึงได้พูด ที่พูดนี่แค่เคาะๆ ที่เราพูดออกไปแค่เคาะๆ นะ แค่เคาะๆ เคาะๆ ให้สำนึกตัวกันเท่านั้นแหละ แล้วถ้ายังมีอีก ทีนี้เราทำไปก็อย่างที่ว่า อย่างข้อแรก “พระทุศีลเป็นอย่างไร”

คือว่ามันมีปัญหามาอยู่แล้วไง ถ้าเราไปพูดมันก็เพิ่มปัญหาขึ้นมาอีก เราไม่อยากให้มีปัญหา ปัญหานี่มันมีกันอยู่แล้ว เราไม่อยากลงไปให้เกิดปัญหาเพิ่มมากขึ้น เราถึงพยายามพูดดีๆ แต่ถ้ามันเป็นปัญหาแล้วจะต้องดับไฟกัน เราทำนะ! ถ้ามันมีปัญหาขึ้นมาจะต้องดับไฟกันเราทำ เอวัง