ธรรมตอบ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
เทศน์พระ วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๔
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
เวลาเราสูดอากาศหายใจ ถ้าอากาศบริสุทธิ์มันจะมีความสุขมาก แต่ถ้าเวลาอากาศมันเป็นพิษ เราจะหายใจไม่ออก เราจะมีอาการคัดจมูก จิตใจของเราถ้ามันปลอดโปร่ง จิตใจของเราคนที่มีอำนาจวาสนาเห็นความดีอันละเอียด คนถ้ามีอำนาจวาสนาเขาเห็นความดีเห็นไหม ความดีคือการกระทำจากกิริยาภายนอก
กิริยาของเรา เราทำความดีของเรา กิริยาคือความรู้สึก ในใจเราจัดระเบียบของมัน ถ้าระเบียบมันจัดใจของมัน ระเบียบก็จัดได้ มันนิ่งไง มันนิ่งเห็นไหม ถ้ามันนิ่งมันไม่ดิ้นรน ไม่กวัดแกว่ง เวลาจิตคึกคะนองเห็นไหม เวลามันคิดมันมีความสุขความทุกข์ของมัน มันดิ้นรนอยู่ในหัวใจของเรานะ ถ้าเราจัดแต่งได้ เรามีสติปัญญาของเรา คนที่มีสติมีปัญญา เขาเห็นความสุขอันละเอียดได้
ว่าบุญๆๆ บุญมันคืออะไร เขาว่าทำบุญๆ บุญมันคืออะไร ทุกคนจะบ่นมากว่า ทำบุญกุศลนะ ตักบาตรทำบุญอยู่ตลอดเวลา ทำไมชีวิตมันทุกข์อยู่ขนาดนี้ ชีวิตมันทุกข์ขนาดนี้เพราะว่าเราทำบุญยังไม่รู้จักบุญแล้วมันจะสุขได้อย่างไร ทำบุญคือการเสียสละ การเสียสละนั้นเห็นไหม นี่บุญกุศล กุศลคือเกิดปัญญา ถ้าเกิดปัญญาขึ้นมา มันก็พัฒนาขึ้นมาอย่างเช่นว่า สิ่งที่ละเอียด ความว่าละเอียดถ้าเราไม่รู้จักความละเอียด เราอยู่แต่ความหยาบๆ
มีพระมาปรึกษานะ อยากเห็นทุกข์ แบกก้อนหินขึ้นเขาลงเขา อยากเห็นทุกข์ โอ้ เราฟังแล้วก็งงเหมือนกัน เขาแบกก้อนหินขึ้นเขาลงเขาอยากเห็นทุกข์ ทำไมคนคิดได้ขนาดนั้นนะ ถ้าความทุกข์อย่างนั้นมันเป็นเรื่องสัจจะนะ
กรรมกรท่าเรือเขาก็แบกหามของเขาทั้งวัน ดูสิ เวลาเขาส่งสินค้ากันนะ นั่นเขาแบกหามเพราะอะไร เพราะนั่นเป็นวิชาชีพของเขา นั่นคืออาชีพของเขา เขาเป็นกรรมกร เขาก็แบกหามของเขามันเป็นเรื่องธรรมดา ไอ้เรานะ เราคิดว่าสิ่งนั้นเป็นความยากลำบาก เราก็จะไปแบกหามให้มันเห็นทุกข์ แล้วเห็นทุกข์อยู่ที่ไหนล่ะ มันก็ไม่เห็น เวลาไม่เห็นพยายามทำขนาดไหมมันก็ไม่เห็น
เขามาปรึกษานะ เขาบอกว่า เขาแบกก้อนหินขึ้นเขาลงเขา
พระเราเห็นไหม พระเราเดินจงกรมนั่งสมาธิภาวนา พอจิตมันสงบเห็นการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย การเกิดการดับมันเป็นความทุกข์ ถ้าเป็นความทุกข์สติปัญญามันก็เกิด สติปัญญามันเกิดเพราะอะไร เพราะจิตสติมันละเอียด ละเอียดมันก็จับความรู้สึกอันละเอียดนี้ได้ ถ้าจับความรู้สึกอันละเอียดได้ภาวนามยปัญญามันก็เดินตัวได้ ภาวนามยปัญญามันดำเนินไปของมัน นั่นก็เป็นอริยสัจเป็นความจริงขึ้นมา ถ้าจิตใจมันละเอียดขึ้นมาเห็นไหม ถ้าจิตใจหยาบเราก็ว่าสิ่งนั้นนะ ทำบุญก็ไม่ได้บุญ ทำบุญแล้วก็มีความทุกข์
เวลาคนเกิดมานะ วิบากมันเกิดขึ้นมาเห็นไหม เวลาคนเกิดมา สูง ต่ำ ดำ ขาวอย่างไร มันก็สำเร็จผลแล้ว พอมันสำเร็จขึ้นมาเห็นไหม เวลาเกิดมันวิบากไง เวลาเกิดลุ่มๆ ดอนๆ เห็นไหม เกิดชาตินั้นเป็นกษัตริย์ เกิดชาตินั้นเป็นยาจก ทุคตะเข็ญใจ เวลาการเกิด เกิดตรงไหน นั่นคือผลมันให้แล้ว ชาติปิ ทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์อย่างยิ่ง พอมันเกิดขึ้นมา มันเป็นความจริงแล้ว พอเป็นความจริง เราจะมีคุณงามความดีขนาดไหน ความดีเวลาเกิดในสถานะนั้น ในภพชาตินั้น
ในภพชาตินั้นนะ จิตใจมันสถานะของมัน มันก็แก้ไขของมัน เพราะกษัตริย์ กฎุมพี ยาจก ทุคตะเข็ญใจมาบวชในพระพุทธศาสนาแล้วเป็นพระอรหันต์มหาศาลเลย เป็นพระอรหันต์มากมายเลย เพราะการเป็นพระอรหันต์มันเป็นที่การกระทำ มันไม่ได้เป็นที่ชาติการเกิด คำว่าชาติการเกิดมันเป็นเรื่องของโลกไง
โลกเขาเข้าใจกันที่ว่าทำบุญกุศล เกิดเป็นชาวพุทธต้อง... ทุกคนคิดเป็นเรื่องโลกๆ ไง บอกว่าเราก็ทำบุญกันมหาศาล เราต้องร่ำรวย เราต้องเป็นเศรษฐีโลก เราต้องควบคุมทรัพย์สมบัติในโลกนี้ทั้งหมดเลย เพราะเราเป็นชาวพุทธ นั่นเราก็คิดของเราไปอย่างนั้นไง เราคิดของเราไป เพราะเราคิดได้แค่นั้น
แต่เวลานับ ๑ ถึง ๙ พอ ๑๐ ขึ้นมามันก็ ๑ กับ ๐ พอ ๑๐๐ ก็ ๑ กับ ๐๐ พอพันก็ ๑๐๐๐ พอหมื่น พอแสน พอล้านล่ะ นี่ไงอย่างหยาบเห็นไหม กระบวนการของมัน ดูสิ เวลาคนทำบุญกุศลเริ่มต้นนะ โอ้โฮ มีความสุขมาก มีความสุขมาก พอทำไปๆ มันเคยชินเห็นไหม แล้วทำอย่างไรต่อไปล่ะ นี่ไงถ้าสุขอันละเอียดล่ะ สุขอันละเอียดมันเป็นอย่างไร
นี่ไงถึงบอกว่า จิตใจถ้ามันละเอียดขึ้นมา มันจะเห็นความสุขอันละเอียดขึ้นมา นี่พอความสุขอันละเอียด ความต่างๆ ที่เป็นละเอียดมันมาจากไหนล่ะ มันมาจากการกระทำนะ
ปลาในสุ่ม ถ้าเราสุ่มปลาแล้วเราค้นหาปลาแล้วเราจะได้ปลา ตอนนี้นะเวลาเราจะบวชเห็นไหม โอ้โฮ เรามีความสุข เรามีความชื่นใจ เพราะเราต้องการอยากได้มรรคได้ผล เราต้องการวิมุตติสุข มันครึกครื้นมาก จิตใจมันรื่นเริงอาจหาญมาก แต่เวลาบวชไปแล้วเห็นไหม ภาวนาไปๆ ทำไมมันซ้ำๆ ซากๆ อยู่อย่างนี้ล่ะ ทำไมจิตใจที่รื่นเริงอาจหาญมันหายไปไหน นี่ไง เพราะเราไปคุ้นกับมันแล้ว เราไปคุ้นชินกับมัน เราไม่ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา
ถ้าเราตื่นตัวตลอดเวลา การตื่นตัวมีการกระทำของเรานะ มรรค ผล เราก็ยังปรารถนาอยู่ ถ้ามรรค ผล เรายังปรารถนาอยู่เวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นไป เราต้องการ เราปรารถนา เราจินตนาการของเราไป เราตอบเป็นโจทย์ไปเรื่อย อย่างนี้นี่คือสติ นี่คือปัญญา เวลาภาวนาไปเห็นไหม จะมีคนพูดมากว่า ว่างๆ ว่างๆ นะ
ว่างๆ ทำสูญเปล่านะ ทำจนสูญเปล่าจนไม่ได้สิ่งใดขึ้นมาเลย แล้วเราจะตอบโจทย์ ตอบว่านี่คือธรรมๆ มันจะให้คะแนนตัวเองตลอด
..ไม่ได้ ต้องให้ธรรมะตอบ ถ้าธรรมะตอบเห็นไหม ถ้าเป็นสติมันต้องเป็นสติของมัน แล้วคำว่าสติมันก็คือสติ สติมันเป็นเครื่องระลึกรู้ให้จิตใจเริ่มมีการกระทำ สติเห็นไหม สติเป็นเครื่องยับยั้ง สติเป็นเครื่องเตือนตัวเองตลอด ถ้าคนใดมีสติจิตดวงนั้นมีค่ามาก ถ้าจิตดวงใดขาดสติ จิตดวงนั้นจะไม่มีคุณค่าเลย เพราะไม่มีใครควบคุมดูแลมัน มันปล่อยให้จิตนั้นอนาถา มันปล่อยให้จิตนั้นโดนกิเลสครอบงำ มันปล่อยให้ความคิดครอบงำจิตดวงนั้นไปตลอด
สติมันก็คือสติ สมาธิมันก็คือสมาธิ ปัญญามันก็คือปัญญา แล้วบอกว่าพอมีสติขึ้นมา พอมีสติแล้วมันสมบูรณ์ขนาดไหน มันก็มีการดำเนินต่อไปไง นี่ไง มันจะละเอียดไปเรื่อยๆ มันจะมีมรรคละเอียดขึ้นไป มันต้องมีการกระทำขึ้นไป มันถึงจะพัฒนาของมันขึ้นไป จิตใจของเราจะพัฒนาของเราขึ้นมา ถ้าเราทำของเราเป็น
เราทำของเราไม่เป็น แล้วจะให้กิเลสมันตอบ ตอบว่านั่นเป็นธรรม นี่เป็นธรรม ไม่ได้..ไม่ได้.. เราไม่มีสิทธิ จะบอกเลยว่ามันเป็นสิ่งใด มันจะเป็นความจริงขึ้นมาต่อเมื่อธรรมะมันจะตอบ ถ้าธรรมะมันตอบนะ สติมันก็คือสติ สมาธิมันก็คือสมาธิ แล้วถ้าเกิดปัญญาขึ้นมา ถ้าสติเป็นพื้นฐาน สมาธิเป็นส่วนกลาง แล้วปัญญาที่มันเกิดขึ้นมา นี่ไง มันเกิดขึ้นมา มันสมองค์ประกอบของมันด้วยความชอบธรรมของมัน
แล้วใครจะไปตอบมันล่ะ? นี่ไงธรรมะมันจะตอบ ธรรมะมันเป็นจริงขึ้นมา ธรรมะมันจะตอบ ตอบความจริงขึ้นมา มันตอบเลยว่าจิตใจของเราเป็นอย่างไร นี่มันเป็นปัจจัตตัง ถ้ามันเป็นปัจจัตตัง มันตอบมาแล้ว ถ้าเป็นสมาธิเห็นไหม เป็นสมาธิจิตมันมีความร่มเย็นของมัน แล้วมีสติปัญญารับรู้ได้หมด
ไม่ใช่ว่างๆ ว่างๆ จนว่าเราต้องการสิ่งใด ต้องการปรารถนาสิ่งใดว่าสิ่งนั้นจะเป็นความจริง อย่างนี้กิเลสมันตอบ กิเลสในหัวใจเรามันตอบ มันแซงหน้าแซงหลัง มันต้องการผลก่อนที่มันจะเป็นความจริง ถ้ามันต้องการผลก่อนที่มันเป็นจริง มันจะเอาอะไรมาให้เราล่ะ นี่ไงตัณหาซ้อนตัณหาไง กิเลสในใจของเรามีอยู่แล้ว เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราประพฤติปฏิบัติด้วยความเป็นธรรม พอด้วยความเป็นธรรม กิเลสมันก็ขัดแข้งขัดขา มันก็ทำลายมาด้วยเล่ห์กลของมัน ว่าสิ่งนี้เป็นธรรมไง นี่ไงกิเลสมันตอบ ตอบว่าสิ่งนี้เป็นธรรม แล้วทำไมมันล้มลุกคลุกคลาน
สิ่งนี้เป็นธรรมมันกึ่งนะ ถ้าไม่ใช่ใช่ธรรมทำไมมันว่างล่ะ ถ้าไม่ใช่ธรรมทำไมมีการปฏิบัติล่ะ ถ้าไม่ใช่ธรรมทำไมเรานั่งสมาธิมาแล้ว เราเกิดปัญญามาแล้ว พูดถึงทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค พูดได้ชัดเจนมาก แล้วมันไม่เป็นธรรมตรงไหนล่ะ มันไม่เป็นธรรมตรงไหน มันเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันเป็นธรรมโดยทฤษฎี มันเป็นธรรมตามสัญญา สัญญาเป็นการจำมา เป็นการฟังมา มันไม่เป็นความจริงขึ้นมาจากใจของเรา
ถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมา นี่ไง ถ้าธรรมะมันจะตอบมา ธรรมะตอบคือสัจธรรม สัจธรรมมันต้องเป็นความจริงขึ้นมาสิ มันเป็นความจริงขึ้นมาแล้วมันถึงเป็นความจริง แต่ที่มันไม่เป็นความจริงเห็นไหม เพราะความต้องการ แรงปรารถนาของเรามันแซงหน้าแซงหลัง พอแซงหน้าแซงหลังการกระทำของเราก็ล้มลุกคลุกคลาน เพราะมันมีความน้อยเนื้อต่ำใจไง ทำก็ทำขนาดนี้ ทุกข์ก็ทุกข์ขนาดนี้ ดูสิ แล้วเมื่อไหร่มันจะได้มรรคได้ผลล่ะ
เวลาเราฟังของครูบาอาจารย์ ทำไมท่านทำได้ ครูบาอาจารย์เวลาท่านพูด ท่านรวบรัดขึ้นมามันก็ฟังว่ามันลัดสั้น มันทำแล้วมันได้ผล เพราะมันเป็นผลแล้วใช่ไหม แต่ของเราเห็นไหม ดูสิ ต้นไม้ เวลาเขาปลูกมา ชาวสวนเขาดูแลถนอมมาทั้งฤดูกาลเลย เวลามันออกผลขึ้นมา เราไปเที่ยวสวนเนาะ จะไปเที่ยวสวนทุเรียน จะไปเที่ยวสวนเงาะก็ไปเด็ดผลของมัน โอ๊ย ผลของมันนี้ แหม หอมหวานนัก แต่เวลาเขาถนอมรักษามาทั้งฤดู เราได้เห็นไหม
นี่ก็เหมือนกัน ของครูบาอาจารย์ ท่านจะเป็นเงาะ เป็นทุเรียน เป็นผลไม้ที่มันสุกงอมมาขนาดไหน ท่านถนอมดูแลรักษามา ฉะนั้นเวลาเราทำขึ้นมา ผลมันก็คือผล ถ้าเราดูแลรักษาของเรา ดูแลรักษานะ ต้นไม้เขารดน้ำที่โคนต้น เขาดูแลเขาใส่ปุ๋ยที่โคนมัน แล้วผลมันจะออกที่ปลาย
นี่ก็เหมือนกัน เหตุของเรา ผลของเรา การปฏิบัติของเราอยู่ที่การมีสติปัญญาของเรา ในการภาวนาของเรา เราต้องกลับไปดูที่นั่นไง ทีนี้เรากลับไปดูที่นั่น เราฟัง ทุกคนพอใจนะ เราไปเที่ยวสวนใครก็แล้วแต่ ผลไม้เราเด็ด เราปอก เรากินของเราด้วยความสุขทั้งนั้น
นี่มันเป็นเรื่องโลกๆ ไง แล้วเวลาแสดงธรรมเขาก็แสดงโดยบุคลาธิษฐาน คือเอาโลกนี้เป็นตัวอย่าง เวลาผู้ปฏิบัติธรรมรู้ธรรมเห็นธรรมขึ้นมาโดยข้อเท็จจริง จิตมันมีวิวัฒนาการของมันขึ้นมา จากมีความศรัทธาความเชื่อ มีความตั้งใจ มีความจงใจ มีการกระทำ แล้วพอทำขึ้นมามันเป็นเหตุเป็นผลขึ้นมา นี่ไงการดูแลรักษาทั้งฤดูกาล ต้องดูแลรักษาหัวใจมาทั้งฤดูกาล แล้วผลมันจะออก
ถ้าผลมันจะออกมันจะออกมาจากไหนล่ะ? มันออกมาจากใจดวงนั้น ดูสิ สวนของใคร เจ้าของสวนเขาเก็บผลไม้ของเขา จิตใจของเรามันเกิดกับจิตใจของเรา เวลาเร่าร้อนเห็นไหม ดูสิ เวลาสวนผลไม้นะ ถึงเวลาฤดูกาลมันเปลี่ยนแปลง ลมมันแรง ดอกผลมันออกนะ ลมพัดมันหลุดหมดเลย สวนดูแลมาทั้งปีแล้วไม่ได้ผล โอ๊ย เจ้าของสวนนั้นเสียใจมากนะ
แต่ถ้าเราดูแลสวนของเราเห็นไหม ไม่มีสิ่งใดมาทำให้เกสรให้ดอกมันปลิดออกจากขั้วออกไป เราดูแลของเรา มันจะออกเป็นผลเป็นลูกอ่อนแล้วมันจะเติบโต เขาถนอม เขารักษา เขาดูแลรักษาของเขาตลอดไป ถ้าเขาได้ผลของเขา
นี่ก็เหมือนกัน เราปฏิบัติของเราแล้วนะ มันไม่ได้ผล มันไม่ได้ผลเราก็ทุกข์ยาก คำว่าทุกข์ยากนะ ดูสิ ฤดูกาลมันเปลี่ยนแปลง เวลาลมกรรโชกแรงมา มันทำให้สวนเราเสียหายหมดเลย
นี่ก็เหมือนกัน เวลาปฏิบัติขึ้นมาเห็นไหม เดี๋ยวมีเหตุการณ์นั้น เดี๋ยวมีเหตุการณ์นี้ ทำให้เราจะต้องละล้าละลังตลอดเวลา ความละล้าละลังของเรานี้มันเป็นสัปปายะ ๔ ที่เราแสวงหากัน
หนึ่ง สำคัญมากเลย ครูบาอาจารย์เป็นสัปปายะ ถ้าครูบาอาจารย์เป็นสัปปายะนะ ชี้ถูกชี้ผิดในการปฏิบัติของเรา อันนี้เรานอนใจได้แล้ว แต่ถ้าครูบาอาจารย์ไม่เป็นสัปปายะนะ สวนผลไม้เราจะดีหรือไม่ดีขนาดไหน เพราะอะไร เพราะเป็นเกสรเรายังไม่รู้ว่ามันจะออกหรือไม่ออก แล้วครูบาอาจารย์บอกสิ่งนี้มันจะทำให้เสียหาย ก็ทำลายทิ้งหมดเลย แล้วเมื่อไหร่เราจะได้ผลล่ะ
ถ้าครูบาอาจารย์ไม่เป็นสัปปายะ การกระทำของเรามันชี้ถูกชี้ผิด ชี้ในทางที่ผิดเพราะอะไร เพราะสิ่งที่มันเป็นไป เพราะเราจะตอบโจทย์ให้ความเป็นจริงให้ได้ เราจะเอามรรคเอาผลโดยวิทยาศาสตร์ โดยโลกที่เขาสรรเสริญเยินยอกัน โดยการสรรเสริญเยินยอ โดยโลกธรรม ไม่เป็นความจริง ถ้าเป็นความจริงเห็นไหม เราจะตอบโจทย์สิ่งใดก็ได้
สัปปายะ ๔ ครูบาอาจารย์เป็นสัปปายะ สถานที่เป็นสัปปายะ เราก็แสวงหากันว่าสถานที่เป็นสัปปายะ ถ้าสถานที่เป็นสัปปายะ ฤดูกาลมันเปลี่ยนแปลงนะ ฤดูฝน ฤดูร้อน ฤดูหนาว มันเปลี่ยนแปลงของมันตลอดไป มัน ๓ ฤดู ฤดูไหนมันมีอากาศเป็นเช่นไร เราก็ต้องหลบหลีกเอาเป็นเรื่องธรรมดา นี้เป็นฤดูกาล
นี่ไงสถานที่เป็นสัปปายะ อาหารเป็นสัปปายะ เราเลือกเอาได้เลย เราเลือกเอาของเราเพราะมันเป็นสิทธิของเราอยู่แล้ว มันผ่านมานะ เรามีสติปัญญาพร้อมไหม อาหารเป็นสัปปายะ หมู่คณะเป็นสัปปายะ
เราเป็นนักบวชด้วยกัน เราเห็นภัยในวัฏสงสาร เราถึงเสียสละมา เสียสละนะ เพราะเราเต็มใจ เราเสียสละมา เสียสละฆราวาสมาเป็นนักบวช มาเป็นนักพรต นักพรตเรามีโอกาสแล้ว เพราะสิ่งที่เป็นนักพรตเห็นไหม ในสัปปายะ ๔ เราแสวงหาของเรา ตั้งแต่ครูบาอาจารย์เป็นสัปปายะ หมู่คณะเป็นสัปปายะ ถ้าเป็นสัปปายะขึ้นมานะ เราเห็นใจกัน เราดูแลกัน
คนเหมือนคน ทุกคนมีความคิด ทุกคนเกลียดทุกข์ ต้องการปรารถนาความสุขทั้งหมด ยิ่งเกลียดทุกข์เท่าไหร่ ความสุขเห็นไหม เราชอบสิ่งใด เราเกลียดสิ่งใด ทุกคนก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกันทั้งนั้น ฉะนั้นสิ่งใดที่กระทบกระเทือน โดยขัดขวางในการประพฤติปฏิบัติเราพยายามหลบหลีกเอา เว้นไว้แต่ อย่างเช่นว่านกยังมีรวงมีรังใช่ไหม พระเราก็ต้องมีข้อวัตรไง กิจของสงฆ์ ๑๐ อย่าง กวาดลานเจดีย์ต่างๆ ที่เราทำมันเป็นกิจของเรา เพราะสถานที่ อาวาส อารามนี้มันเป็นที่สาธารณะ
ของที่เป็นสาธารณะไม่มีใครเป็นเจ้าของ ทุกคนก็ต้องดูแลมัน สิ่งที่เป็นสาธารณะเราใช้ประโยชน์ร่วมกัน เราเป็นอารามิก เราไม่มีเรือน เราต้องใช้ประโยชน์ร่วมกัน เราทำความสะอาดร่วมกัน สิ่งที่ทำความสะอาดร่วมกันมันเป็นประโยชน์ร่วมกัน เพราะเราใช้สอยร่วมกัน
สิ่งนี้ข้อวัตรต่างๆ วัจกุฎีวัตร วัตรในโรงทาน วัตรในโรงฉัน วัตรต่างๆ เราทำขึ้นมาเพื่อเปิดกว้างให้กับหัวใจ ถ้าหัวใจมันได้เปิดกว้าง มันได้ทำทุกอย่างพร้อมแล้วเห็นไหม มันไปนั่งภาวนามันจะมีความสบายใจมาก เราได้ทำทุกอย่างพร้อมแล้ว ทุกอย่างทำเสร็จแล้ว ต่อไปนี้ต้องทำความสงบของใจ ต่อไปนี้เป็นเรื่องงานภายในของเราแล้ว งานภายนอก รวงรังของเราเราได้ทำความสะอาดรอบคอบเสร็จหมดแล้ว
รวงรังภายใน หัวใจภายในเราจะดูแลรักษามัน ถ้าสิ่งต่างๆ ทุกอย่างเรียบร้อยสะอาดบริสุทธิ์หมดแล้วเวลาภาวนามันก็ไม่เกิดนิวรณธรรม สิ่งที่นิวรณธรรมเรากำหนดให้ได้ พุทโธก็ได้ มันอยู่ที่เราปฏิบัตินะ ทุกคนเริ่มต้นตั้งแต่บุกเบิกมาจนจิตใจพัฒนาเป็นขั้นเป็นตอนขึ้นมา
เวลาหลวงปู่มั่นท่านเทศนาว่าการ หลวงตาท่านบอก จิตใจของใครอยู่ในภพใดภูมิใดล่ะ ภพของทำความสงบของใจ ในภพภูมิที่เราต้องการทำความสงบของใจ เวลาท่านพูดถึงการทำความสงบของใจ มันเป็นระดับภพภูมิของเรา เราก็ตั้งใจฟัง สิ่งนั้นเป็นคติธรรมของเรา
เวลาผ่านจากภพภูมิของความสงบของใจขึ้นมา เริ่มออกรู้ไง ออกรู้ในสิ่งใด ถ้าใครอยู่ในภพภูมินี้ ภพภูมินี้เราจะออกรู้ ออกรู้อย่างไร ความออกรู้เราออกไปแล้วเราไม่เจอสิ่งใดเลย จะพิจารณา พิจารณาสิ่งใด วิปัสสนามันเกิดอย่างไร เราหาไม่ได้ เราทำไม่เป็น
แต่เวลาของครูบาอาจารย์ท่านเทศนาว่าการ เป็นภพเป็นภูมิเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมา อยู่ที่เรา ภพภูมิของเราอยู่ตรงไหน เราคอยฟังว่าท่านจะแนะนำเราอย่างไร ท่านจะทำอย่างไรเห็นไหม ท่านทำอย่างไร เพราะท่านเป็นครูบาอาจารย์ของเรา สัปปายะ ๔ ครูบาอาจารย์เป็นสัปปายะ ท่านเป็นสัปปายะ ท่านจะชี้ถูกชี้ผิด ท่านจะจูงมือเห็นไหม
ดูสิ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาพระนันทะแต่งงานนะ แต่งงานเสร็จแล้วพระพุทธเจ้าให้ไปส่งบาตร พอไปส่งบาตรเสร็จแล้วเห็นไหม
นันทะ เธอจะบวชเหรอ
ด้วยความเกรงใจ ครับ
พอบวชไปแล้วละล้าละลังเพราะเพิ่งแต่งงาน จนสุดท้ายองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถาม
เธอคิดสิ่งใด
คิดถึงนางชลปทกัลยาณี
เธอดูไว้นะ แล้วจะพาไป จับมือเหาะกันไปเห็นไหม การันตีขึ้นไป ไปดูนางฟ้าไง
สวยไหม
สวย
แล้วนางชนปทกัลยาณีล่ะ
โอ๊ย อย่างกับลิงเลย
อยากได้ไหม
อยาก
ให้พุทโธสิ
พุทโธ พุทโธ จิตมันสงบไปเห็นไหม มันเป็นไปของมัน นี่ไง เวลาครูบาอาจารย์เป็นสัปปายะทำได้ขนาดนั้นนะ ชี้นำได้ขนาดนั้น เอาพระนันทะถึงสิ้นกิเลสได้
นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเรามีหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์ท่านพยายามของท่าน แต่อยู่ที่ว่าอำนาจวาสนาของคน ยุคกาลสมัยมันแตกต่างกัน ถ้ายุคกาลสมัยมันแตกต่างกัน แต่เรื่องของใจมันอันเดียวกันไหม? เรื่องของใจมันก็เป็นอันเดียวกัน สิ่งที่มันสะสมในหัวใจมันเป็นอันเดียวกัน ยุคสมัยไหนมันก็เป็นอันเดียวกัน แล้วครูบาอาจารย์ที่ท่านทำได้ท่านก็ทำของท่านได้
ทำที่ไหนล่ะ? เวลากิริยาของใจ ความคิดนะ เวลาเราไม่คิดมันอยู่ที่ไหนความคิดมันไม่มี เวลามันคิดมันคิดมาจากไหนล่ะ เวลามันคิดมันคิดมาจากไหน เวลาครูบาอาจารย์ท่านทำได้ ท่านปิดก๊อกน้ำได้ ปิดก็ได้ เปิดก็ได้ จะให้น้ำพุ่งแรงพุ่งเบาอย่างไรก็ได้
นี่ก็เหมือนกัน เราตั้งสติของเราเห็นไหม เราจะควบคุมกระแสน้ำของเรา ควบคุมความรู้สึกนึกคิดในหัวใจของเรา ถ้ามันมีสติปัญญา มันทำได้แล้ว ถ้ามันควบคุมได้นะ เวลามันออกรู้ล่ะ ออกรู้ในอะไร
ก๊อกน้ำนั้น น้ำนั้นมันจะรู้ตัวมันเอง จิตนั้น ความคิดที่ว่าไม่ใช่เรา มันเกิดจากใจเรา มันเกิดมาจากใจ มันเกิดมาจากไหน ถ้าจิตมันสงบแล้วเห็นไหม จิตมันสงบ จิตเห็นอาการของจิต
เวลาจิตสงบแล้วจิตเห็นกาย จิตเห็นเวทนา จิตเห็นจิต จิตเห็นธรรม ถ้ามันเห็นของมันเห็นไหม นี่ไงวุฒิภาวะของจิต ถ้ามันอยู่ในขั้นความสงบมันก็สงบของมัน แต่เวลามันออกทำงานของมันล่ะ เวลาออกรู้ของมัน มันจะออกรู้อย่างไร ถ้าออกรู้จะเห็นอะไรก็ได้ ขอให้จิตมันสงบแล้วเห็นความเป็นจริงนะ จะเห็นอะไรก็ได้ เพราะมันเป็นสติปัฏฐาน ๔
เห็นกาย เฉพาะเห็นกายอย่างเดียวมันก็แตกแขนงออกไปอยู่แล้ว ถ้าเป็นเจโตวิมุตติ พอจิตสงบแล้วเห็นกายเป็นอุคคหนิมิต เป็นวิภาคะทำอย่างไร รับรู้เวทนา เวทนากาย เวทนาจิต เวทนากายเวลานั่งไปแล้วถ้าจิตสงบแล้วมันจับเวทนาได้ เวทนาไม่ใช่เรา เราไม่ใช่เวทนา มันมีเรากับเวทนานะ
แต่เวลาเรานั่งกันอยู่นี้ มันไม่มีเรากับเวทนานะสิ มันเป็นเราหมดไง เราเจ็บเราปวดไปหมด นี่ไงจิตมันไม่สงบ พอจิตไม่สงบมันไม่มีตัวจิตออกรู้อาการของจิต มันไม่มีจิตเห็นเวทนาไง มันมีเวทนากับเรานี้เป็นอันเดียวกัน เวทนาไม่มีความเจ็บความปวด เวทนากับเราเป็นอันเดียวกัน จิตเห็นเวทนา จิตเห็นจิต จิตเห็นธรรม ถ้าจิตเห็นจิตเห็นไหม จิตเศร้าหมองผ่องใสขนาดไหน จิตเห็นธรรม ธรรมอารมณ์มันยิ่งมหาศาลใหญ่เลย
ฉะนั้นคำว่าเห็นอะไรก็ได้ มันเห็นโดยจิตสงบ เห็นโดยจิตที่มีพื้นฐาน ถ้าจิตนั้นไม่สงบ จิตมันไม่มีพื้นฐาน เห็นเวทนาๆ เวทนาก็สักแต่ว่าเวทนา แต่จิตมันเป็นไม่เวทนาเพราะเวทนามันเจ็บปวด แล้วจิตมันไม่สงบ มันจับต้องสิ่งใดมันจะเป็นประโยชน์สิ่งใดล่ะ
ฉะนั้นการเห็นโดยที่จิตมันเป็นพื้นฐานของมัน ถ้าจิตมันเห็น มันรับรู้แล้วมัน ตื่นตัวตลอดเวลา ความตื่นตัวของจิต จิตเพราะอะไร เพราะมันมีพื้นฐานของมัน เพราะมันมีกำลัง มันมีจิตที่เป็นสัมมาสมาธิ มันมีจิตที่เป็นเรา เห็นไหม จิตสงบแล้วจิตเห็น จิตสงบแล้วจิตรู้ จิตมันทำงาน
ผู้ทำงานมันมีไง ถ้าผู้ทำงานมันมีมันทำสิ่งใดแล้วมันจะก้าวหน้า มันจะพัฒนาของมันเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมา เวลามันพิจารณาถึงที่สุดแห่งทุกข์ สิ้นสุดกระบวนการของมันเห็นไหม กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ เวลามันขาดไป ภพภูมิของผู้ที่ทำความสงบของใจก็ส่วนหนึ่ง ภพภูมิของผู้ที่ออกวิปัสสนาแล้วมันพิจารณาจนกระบวนการของมันสิ้นสุดกระบวนการไป มันก็เป็นอีกส่วนหนึ่งเห็นไหม แล้วมันทำงานต่อเนื่องของมันไป มันทำงานต่อเนื่องของมันไป ทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าใจสงบขึ้นมาเห็นไหม นี่เป็นอีกภพภูมิหนึ่งนะ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล เห็นไหม บุคคล ๘ จำพวก ภพภูมิ ๘ ชั้น ๘ ตอนขึ้นไป มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ มันผ่านพ้นของมันเป็นชั้นเป็นตอน
ถ้ามันออกจิตสงบเข้าไปอีก พอจิตสงบเข้าไปมันพัฒนาการของมันเห็นไหม นี่คืออะไร? นี้คือธรรมะ ธรรมมันตอบในหัวใจ มันเป็นปัจจัตตัง มันเป็นสันทิฏฐิโก มันเป็นอกุปปธรรม มันจะตอบเราทั้งหมดนะ
แต่ถ้ามันตอบเราไม่ได้ แล้วเราอยากได้มรรคอยากได้ผลไง แล้วเราว่าสิ่งนั้นเป็นผลโดยการคาดหมาย โดยการให้กิเลสเป็นใหญ่ ให้โลกเป็นใหญ่ โดยให้เราเป็นใหญ่ โดยอวิชชาเป็นใหญ่ มันเป็นใหญ่หมายถึงว่ามันเป็นเจ้าของ มันความกำหนดความนึกคิดทั้งหมด มันจะเป็นธรรมขึ้นมาได้อย่างไร
คนเรานะ อำนาจวาสนาของคนก็ไม่เหมือนกัน การกระทำของคนก็ไม่เหมือนกัน กาลเทศะคนก็ไม่เหมือนกัน มันแตกต่างหลากหลาย มันสรุปลงไม่ได้หรอก มันสรุปลงว่าให้เป็นอย่างใดอย่างหนึ่งโดยความชอบใจของใคร โดยลัทธิ โดยคำสอนของใคร เป็นไปไม่ได้!
ฉะนั้นเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดา เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา เสวยวิมุตติสุข เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนอัครสาวกต่างๆ มันแตกต่างหลากหลายทั้งนั้น ท่านดูความพร้อมนะ ว่าจิตนี้มันพร้อมหรือยัง
ถ้าจิตนี้มันพร้อม ดูสิ ดูอย่างอาหาร ถ้าเราทำอาหารดิบๆ สุกๆ เราเอาขึ้นมามันเสียหายหมดเลย ถ้ามันเป็นวัตถุดิบเรายังไม่ได้ทำสิ่งใดนะ มันก็ยังเป็นวัตถุดิบที่เราเก็บไว้ทำอาหารได้ แต่เราได้ทำแล้ว แล้วเราเอามาทำ แต่ทำแล้วมันเสียหายไป มันใช้ไม่ได้เลย มันไม่มีประโยชน์กับใครเลย
นี่ก็เหมือนกัน ในการประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราทำของเราขึ้นมาให้มันเป็นความจริงของใคร มันต้องเป็นความจริงของคนคนนั้น แล้วมันจะรู้ตามความเป็นจริงของใจดวงนั้น ถ้าใจดวงนั้นมันต้องทำของจิตดวงนั้นไป อย่าไปละล้าละลัง อย่าละล้าละลังว่าจะต้องเป็นอย่างไร จะทำอย่างไร ถ้าละล้าละลังมันเป็นเรานะ ถ้ามีเราก็มีกิเลส นี่ไงกิเลสเป็นเรา ทุกอย่างเป็นเรา เราไม่กล้าทำอะไรเลย เราไม่ทำอะไรด้วยความจริงจังซักอย่างหนึ่งเลย
ฉะนั้นเวลาทำสิ่งใดแล้ว มันจะเป็นใครก็แล้วแต่ ความเพียรชอบ มันจะผิดจะถูก ถ้ามันจะผิดจะถูกให้มันรู้จริงขึ้นมา เพราะครูบาอาจารย์มีนะ ให้มันทำเต็มที่เลย ถ้าผิด ผิดหมายถึงว่า ถ้ามันสงสัย มันไปรู้ไปเห็นสิ่งใดที่มันยอกใจ
คำว่ายอกใจ มันทำแล้วมันมีปมอะไรขึ้นมา ครูบาอาจารย์มีแล้ว ถ้าเราจะไปหาหมอ ให้หมอรักษาอาการไข้ของเรานะ ถ้ามันไม่มีอาการหมอเขาจะรักษาได้อย่างไร มันก็ต้องมีอาการใช่ไหม
นี่ก็เหมือนกัน เวลาเราไปหาครูบาอาจารย์ เราภาวนาว่าอย่างไร จิตเราเป็นอย่างไร สติเราเราตั้งแล้วสติเรามีมากน้อยแค่ไหน แล้วถ้ามันปล่อยวางเข้ามาแล้วมันเป็นอย่างไร นี่ไง เราจะเก็บไว้ทำไม ถ้าเราเก็บของเราไว้มันก็ละล้าละลังใช่ไหม จะผิดก็ไม่ใช่ จะผิดมันก็มีการกระทำนะ ไอ้จะถูก แต่ทำไมมันสงสัยล่ะ เอ๊ะ ถูกแล้วทำไมหัวใจมันไม่ไป ทำไมมันไม่มีกำลังล่ะ
ถ้าเราจะเก็บไว้เอง กรณีถ้ามันจะเป็นประเด็นขึ้นมาในใจ ๒ ปี ๓ ปี ถ้าจะแก้กันนะ แก้แล้วแก้เล่า ลองผิดลองถูก ลองจนกว่ามันจะผ่านขั้นตอนไปนะ เสียเวลามาก แต่ถ้ามีครูบาอาจารย์นะ อาการต่างที่มันเกิดขึ้น หลวงปู่มั่นท่านบอกว่า เรื่องการแก้จิตยากมาก
การแก้จิตนะ เพราะจิตเพียงแค่การเข้าหาตัวเอง ถ้าเป็นทางโลกเหมือนกับจะสุดวิสัยเลยล่ะ เพราะธรรมชาติของมันส่งออก ธรรมชาติของพลังงานมันคลายตัว แต่เราพยายามตั้งสติให้พลังงานหดตัวเข้ามา หดตัวเข้ามาให้สู่ความสงบของมัน แม้แต่ทำความสงบของใจที่เป็นสัมมาสมาธิ เป็นสัมมาทิฐิ ในโลกปัจจุบันนี้แทบทำกันไม่เป็นแล้วแหละ แม้แต่ในวงกรรมฐานนี่แหละ
ถ้าแค่ทำสมาธิยังทำกันไม่ได้เลย มีแต่ว่าเพราะโลกเจริญ การศึกษาเจริญ ทุกอย่างเจริญก็บอกว่ามันเป็นปัญญา มันเป็นการใช้ปัญญา พุทธศาสนาก็คือศาสนาแห่งปัญญา ก็เลยใช้ปัญญาโดยโลกียปัญญาเป็นปัญญาของกิเลสไป เป็นปัญญาของกิเลส กิเลสมันครอบงำ พอใช้ปัญญาสิ่งนี้ไป ปัญญาเราตรึกในธรรมมันก็เกิดปฏิกิริยา พอเกิดปฏิกิริยามันก็เกิดจินตนาการ จินตมยปัญญามันสร้าง จินตมยปัญญา สุตมยปัญญา ศึกษาก็ยังตื่นเต้นแล้วนะ
ดูสิ เวลาเขาศึกษาธรรมะกัน ศึกษาไปแล้ว โอ้โฮ พระพุทธเจ้านี้สุดยอดเลย ธรรมะนี่ดูดดื่มมาก นี่เป็นสุตะ ขนาดศึกษานะ เวลาศึกษาไปมันยังทำให้เกิดความสะดุ้งสะเทือนในหัวใจนะ เกิดน้ำหูน้ำตาไหล เกิดการซาบซึ้ง แค่การศึกษา! แล้วเราภาวนาไปมันเกิดจินตนาการ เกิดจินตมยปัญญา จินตนาการภาวนาตรึกในธรรมกันไป
นี่ไงพอมันเกิดสภาวะแบบนั้นเกิดขึ้นมา พอมันเกิดขึ้นมามันก็จะว่าปฏิบัติแล้วว่าไม่ใช่ ไม่ใช่แล้วนั่นคืออะไร? ไม่ใช่ทำไมมันมีความรับรู้ล่ะ? ไม่ใช่ทำไมมันมีว่าว่างๆ ว่างๆ
มันจะว่างๆ หรือไม่ว่างขนาดไหน สิ่งที่มันเห็นขึ้นมามันเป็น มันเป็นของมัน มันรับรู้ของมัน ถ้ามันเป็นมันรับรู้ของมัน เพราะความรับรู้แล้วเราติดข้อง การแก้ไข เห็นไหม การแก้ไขมันก็ว่าสิ่งนี้ว่าใช่
ดูนะ ทางโลกเขาพวกเศรษฐีเงินกู้เขาจะต้องสร้างเครดิต ไปไหนเครื่องประดับจะเต็มตัวเลย เศรษฐีจริงๆ เขาไปไหนเขาไปแต่ตัวนะ เขาไม่แสดงตัวว่าเขาเป็นเศรษฐี คนที่เขาเป็นเศรษฐีจริงๆ เขาไปไหน เขาไปโดยความสุภาพเรียบร้อยของเขา ไอ้พวกเศรษฐีเงินกู้นะ มันไปไหนมันจะใส่เฟอร์นิเจอร์เต็มตัวไปหมดเลย
อันนี้ก็เหมือนกัน พอจิตมันเริ่มสงสัยว่าไม่ใช่ มันก็ภาวนา ไอ้ว่าใช่หรือมันก็ละล้าละลัง ทีนี้พอละล้าละลังเห็นไหม ธัมมสากัจฉา เอตัมมังคลมุตต เวลาเขาสนทนาธรรมกันเพื่อความเป็นมงคลใช่ไหม แต่คนที่ละล้าละลังจะแสดงธรรม ฉะนั้นเวลาภาวนาไปแล้ว พอจิตมันสงบแล้ว มันมีความรู้ของมัน มันอยากจะพูด มันอยากจะอวด มันอยากจะบอก มันอยากจะสั่งสอน ความอยากอย่างนี้มันก็มี
แต่ถ้ามันมีครูบาอาจารย์เห็นไหม จะว่าไม่ภาวนา มันก็ภาวนา แต่ว่าถ้าภาวนาจะใช่มันก็ไม่ใช่ ทีนี้ถ้ามันไม่ใช่ ครูบาอาจารย์ท่านจะชี้นำตรงนี้อย่างไร นี่ไงเวลากิเลสมันตอบ ธรรมยังไม่ตอบไง มันยังไม่สรุปว่ามันสิ้นสุดกระบวนการในการสมุจเฉทปหาน มันเป็นอกุปปธรรม กระบวนการมันยังไม่จบ ธรรมะยังไม่ได้ตอบ แต่กิเลสเราตอบไปก่อน ความรับรู้เราตอบไปก่อน
พอความรับรู้เราตอบไปก่อนเห็นไหม เราให้คะแนนตัวเราไปก่อน แต่พอให้คะแนนตัวเราไปแล้วมันก็ไม่จริง มันไม่จริง ถ้ามันจริงมันสงสัยทำไม? ถ้ามันจริงมันต้องไม่สงสัยสิ แต่นี่มันสงสัย มันสงสัยเห็นไหม ละล้าละลัง ถ้ามันไม่มีครูบาอาจารย์นะ เวลาละล้าละลังการกระทำของเราก็ไม่มั่นคงแล้ว การกระทำด้วยความไม่มั่นใจ สติมันก็เริ่มเสื่อมลง ทุกอย่างก็เริ่มเสื่อมลงนะ แล้วมันท้อถอย พอมันท้อถอย จิตมันด้านนะ
เวลาจิตเสื่อมมันด้านมาก พอจิตเสื่อมมันด้านขึ้นมา เราพยายามจะทำขึ้นไปใหม่เห็นไหม เสื่อมแล้วต้องเจริญ จิตมันเสื่อมๆ ถ้าบางคนจิตมีวุฒิภาวะ หรือมีภาวนาขึ้นมา มีเหตุมีผลบ้าง อย่างนี้เรียกว่าจิตเสื่อม แต่จิตของคนภาวนาไม่เคยขึ้นมาเลย ภาวนาไม่มีเหตุมีผลสิ่งใดเลย มันจะเอาอะไรมาเสื่อม มันไม่มีเหตุมีผล คนไม่มีมันจะเสื่อมได้อย่างไร
คนจะเสื่อมมันต้องมีแล้วมันเสื่อมนะ แต่ถ้าคนไม่มีเลย มันไม่มีมาตั้งแต่ต้น เห็นไหม พอไม่มีมาตั้งแต่ต้น สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา มันไม่เข้าสู่การภาวนามยปัญญาเลย
ถ้ามันเข้าสู่การภาวนามยปัญญานะ จิตมันเจริญขึ้นมา จิตมันมีหลักมีเกณฑ์เห็นไหม ที่เราภาวนากันอยู่นี้ เพราะเราเห็น เราเห็นนะ เห็นความสุขของทางโลกมันเป็นสมมุติ มันเป็นสิ่งที่เป็นธุรกิจบริการ มันเป็นที่ว่าสิ่งใดอยู่ได้ชั่วคราว เห็นไหม ความสุขอย่างนี้ล่อด้วยการวิดน้ำทั้งทะเลเอาปลาเล็กๆ ตัวหนึ่ง ชีวิตในการครองเรือน มีความสุขแค่เล็กน้อย มีความทุกข์มหาศาล นี่ไง เวลาเราปฏิบัติขึ้นมาเห็นไหม เพราะเราเห็นโทษของมัน เราเห็นโทษใช่ไหม เวลาโทษของโลกเขานะ โลกสมมุติ ความสุขแค่เล็กน้อย แต่ความทุกข์มหาศาล
ฉะนั้นเราจะเอาความสุขที่เป็นความจริง เพราะเราเห็นโทษของมัน เราถึงเสียสละมาเป็นนักพรต เป็นนักบวช เป็นผู้ที่ค้นหาความจริงจากหัวใจ ถ้าเป็นผู้ที่ค้นหาความจริงจากหัวใจเห็นไหม เราถึงต้องตั้งสติของเรา
ความเป็นอยู่ของมนุษย์ มนุษย์มันต้องมีปัจจัยเครื่องอาศัย พระ! พระก็มาจากคน ฉะนั้นพระมาจากคน พระก็ต้องมีปัจจัย ๔ แต่ปัจจัย ๔ แบบพระ เห็นไหม ดูสิ ฉันหนเดียว ใช้น้ำดองมูตรเน่า อยู่เรือนว่าง เราใช้ปัจจัย ๔ เหมือนกัน แต่ปัจจัย ๔ แบบสมณะ ปัจจัย ๔ แบบผู้เห็นภัย
ถ้าผู้เห็นภัย มันไม่เป็นภาระต้องรับผิดชอบ ต้องบำรุงรักษา เวลาของเรามันจะเข้ามาสู่การภาวนา ถ้าเวลาของเราเข้ามาสู่การภาวนา เพราะงานอย่างนี้ โลกเขาอยู่กันด้วยสถานะ ด้วยเกียรติด้วยศักดิ์ บ้านเรือนเขา แหม วิจิตรพิสดาร เขาต้องจ้างคนใช้ จ้างทุกอย่างเป็นการบำรุงบำเรอ เป็นการดูแลรักษาเพื่อศักยภาพของเขา นั่นเป็นภาระนะ เป็นภาระที่เขาต้องหาปัจจัยมาเพื่อเป็นเครื่องดำเนินของเขา เราเสียสละมาหมดแล้ว
ฉะนั้นพอเสียสละมาหมดแล้ว เราก็เป็นพระ สิ่งนี้เราเสียสละ พอเราไม่ต้องการอยู่แล้ว พอเราไม่ต้องการ เราพยายามรักษาใจ ใจมันต้องการ กิเลสมันต้องการ กิเลส มันนุ่มนวล มันอ่อนหวาน มันอ้อยสร้อย มันอยากจะสะดวกสบายของมัน
สะดวกสบายมันมีต้นทุนนะ แต่เราเสียสละแล้วเรามีศีล ศีลเป็นผู้บังคับมันเห็นไหม เรามีธุดงควัตร เรามีสัจจะ เราถือสัจจะขึ้นมา มันบังคับเรานะ ศีลบังคับหัวใจของเรา ถ้าบังคับหัวใจของเรา แล้วเราเริ่มขบวนการ เรารักษาหัวใจของเรา แล้วเราภาวนาของเราเห็นไหม นั่งสมาธิภาวนา มันจะดิ้นรนไปไหน มันเจริญแล้วเสื่อม เสื่อมแล้วเจริญเห็นไหม ตรงนี้แหละที่มันจะทำให้เจริญขึ้นมา ถ้ามันเสื่อม มันเสื่อมไปแล้ว
สิ่งใดก็แล้วแต่ มันอยู่บนกาลเวลานะ อดีต อนาคต เมื่อวานนี้ ปัจจุบันนี้ พรุ่งนี้ ฉะนั้นกาลเวลาที่มันจะเสื่อม มันเสื่อมตรงนี้ไง ถ้าเราเคยดีมาเมื่อปีที่แล้ว ชาติที่แล้ว ชาตินู้นมันเป็นอดีต แต่ถ้าในปัจจุบันนี้ล่ะ ฉะนั้นสิ่งที่มันเสื่อมมา มันทำลายมา มันทำร้ายตัวมันเองมาเราก็วางไว้ไง มันเป็นประสบการณ์ของจิต จิตต้องมีประสบการณ์ของมัน พอจิตมีประสบการณ์ของมัน มันถึงจะรู้ดีรู้ชั่ว รู้ถูกรู้ผิด
ถ้ารู้ถูกรู้ผิดเห็นไหม เราปฏิบัติของเรา เราทำของเรา ในปัจจุบันนี้กาลเวลา วันนี้ พรุ่งนี้นะ เขาบอกว่า อดีตอนาคตไม่มี นรกสรรค์ไม่มี เพราะมันเป็นหนึ่งเดียว พระอาทิตย์ดวงเดียว อันนี้มันเป็นอันหนึ่งนะ แต่กาลเวลาสิ ใช่ กาลเวลามันเคลื่อนที่ตลอด ชีวิตเรามันก็เคลื่อนที่ตลอด ความเป็นไปของจิตมันก็เคลื่อนที่ตลอดนะ พลังงานมันส่งออกตลอดเห็นไหม เราต้องมีสติ
พอมีสติควบคุมของมันเห็นไหม ถ้าควบคุมแล้วจิตมันสงบ มันไม่เคลื่อนที่ ถ้าไม่เคลื่อนที่มันเป็นสัมมาสมาธิ พอไม่เคลื่อนที่พลังงานมันก็ไม่ได้ส่งออก พลังงานไม่ได้เสียไปเห็นไหม มันสะสม สติมันก็ดีขึ้น สมาธิมันก็ดีขึ้น นี่ไง ที่ว่าเสื่อมๆ ไปมันก็ฟื้นฟูได้ ถ้ามันฟื้นฟูได้นะ
ฉะนั้น เวลาจิตเสื่อมเราก็ละล้าละลัง เวลาจิตเสื่อมแล้วเราก็เสียดาย เราก็ทุกข์ยาก เราไปติดพันอยู่กับอดีตไง เราไปติดพันว่าเราเคยเป็นคนดี เราเป็นคนดี ตอนนี้เป็นคนไม่ดี เมื่อก่อนเป็นคนดีก็นั่งโคนไม้ เดี๋ยวเป็นคนไม่ดีก็นั่งโคนไม้ ในปัจจุบันนี้ก็นั่งโคนไม้ ใจมันจะดึงเราไปไหน เราไม่ไปนะ เราไม่ไป เราอยู่กับปัจจุบันเห็นไหม
เราตั้งสติ เราอยู่กับปัจจุบันของเรา เรารักษาใจของเรา เราทำตัวของเรา เพื่อประโยชน์กับเราเห็นไหม เพื่อประโยชน์นะ เพื่อประโยชน์กับจิต เหตุและผลไง ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ ถ้าเรารักษาเหตุอยู่นี้ มันจะเจริญงอกงามไหม มันจะดีขึ้นไหม มันจะเลวลงไปไม่ได้หรอก
นี่ไง ถ้ามันเป็นจริงธรรมมันตอบ ธรรมมันคืออะไร ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค สัจธรรมอันนั้น เพราะเหตุผลมันเพียงพอ มันจะตอบเรา ตอบโดยเป็นสติมันก็สติสมบูรณ์ สมาธิก็เป็นสมาธิสมบูรณ์ ถ้าสมาธิสมบูรณ์ปัญญามันยังไม่ออกก้าวเดิน ถ้าปัญญามันไม่ออกก้าวเดินเห็นไหม เพราะเป็นสมาธิเวลามันใช้ปัญญา ปัญญาอย่างนี้มันเป็นปัญญาแบบโลกๆ
แต่ถ้าเป็นปัญญาเห็นไหม จิตเห็นอาการของจิต จิตเห็นกาย จิตเห็นเวทนา จิตเห็นธรรม นี่กาย เวทนา จิต ธรรม จิตเห็น จิตรู้ จิตเป็นผู้กระทำ ถ้าจิตเห็น จิตเป็นผู้กระทำ ผู้กระทำทำแล้วเห็นไหม มันตทังคปหาน คือวิปัสสนาแล้วปล่อย ปล่อยแล้วมันมีสิ้นสุดของมัน ทำแล้วทำเล่าๆ นี้ทำแล้วมันยังเจริญแล้วเสื่อม เสื่อมแล้วเจริญเห็นไหม
สิ่งนี้มันยังเป็นตทังคปหาน มันปล่อยวางชั่วคราว ธรรมะยังไม่สรุปโครงการ ยังไม่จบสิ้นกระบวนการของมัน เราซ้ำของเรา เราพิจารณาของเรา ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนถึงที่สุดนะเวลาธรรมะมันตอบ ธรรมะคืออริยสัจ! ธรรมะคือสัจจะ! สัจจะเวลามันตอบขึ้นมา สัจจะกับสัจจะมันเข้ากัน
พอสัจจะกับสัจจะมันเข้ากันนะ เวลามันสมุจเฉท มันรวมตัวลง มันกระทำการของมันเห็นไหม หลวงตาท่านบอกว่า เวลากายกับจิต ทุกข์มันแยกออกจากกันเหมือนคนละทวีปเลย มันขาดออกจากกันออกไปจนที่จะเข้ามาหากันอีกไม่ได้เลย แล้วมันจะเป็นอย่างนั้นอยู่ตลอดไป มันจะเข้ามาสู่กันไม่ได้ มันจะเข้ามารวมกันเป็นอันเดียวอีกไม่ได้
แต่ที่เราปฏิบัติอยู่ เวทนาเป็นเรา เพราะเวทนาเป็นเราเราถึงได้เจ็บได้ปวด ถ้าเวทนาไม่ใช่เรา เวทนาสักแต่ว่าเวทนา เวทนาเป็นเวทนา เราเป็นเรา มันแยกกัน คนละคน มันจะทุกข์แทนกันได้ไหม แต่ถ้าคนเป็นคนเดียวกันนะ มันทุกข์ แต่ถ้าคนเป็นคนละคน มันจะทุกข์อย่างไรมันเป็นเรื่องของเขากับเรื่องของเรานะ แต่นี่กว่าที่มันจะเป็นเรื่องของเขาเรื่องของเราได้ มันมีเหตุผลอย่างไรจะไปบอกให้เป็นเขาให้เป็นเราได้ไหมล่ะ เวทนาเป็นเวทนา เราเป็นเรา กายเป็นกาย จิตเป็นจิต มันแยกกันอย่างไร มันไม่ใช่คนเดียวกันนะ มันแยกกันนะ มันแยกกัน แยกกันด้วยสัจธรรม แยกกันด้วยธรรมะตอบนะ
แต่ที่เราเป็นกันอยู่นี้เพราะกิเลสมันตอบไง เพราะเราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นมา แล้วเราก็ตอบให้คะแนนตัวเองกันมาตลอดไง มันถึงได้ล้มลุกคลุกคลาน มันไม่เป็นความจริงมาตลอดเลย
แต่ถ้าเวลาธรรมมันตอบนะ ตอบทีเดียวแล้วจบ! ถ้าตอบแล้วเป็นอกุปปธรรม ถ้าธรรมตอบนะ แล้วมันจะไม่มีการเคลื่อนไหว มันจะไม่มีการคลอนแคลน ถ้าธรรมตอบแล้วเป็นธรรม ฉะนั้นสิ่งที่ธรรมะไม่ตอบ เพราะเราอยากตอบ เราอยากได้ เราอยากรู้ เราอยากเห็น เราอยากให้เป็นไปไง กิเลสตอบ!
ถ้าเป็นธรรมะตอบต้องขยันหมั่นเพียร แล้วเราไม่มีสิทธิตอบ ถ้าเราตอบก็คือกิเลสของเรา แต่ถ้าเป็นธรรมะตอบนะ มันตอบขึ้นมาบนภวาสวะ มันตอบขึ้นมากลางดวงใจของผู้ปฏิบัตินั้น มันตอบขึ้นมาในดวงใจนั้น
การประพฤติปฏิบัติจะเป็นโสดาบัน เป็นสกิทาคามี เป็นอนาคามี เป็นพระอรหันต์ ไม่ได้เป็นที่อื่นเลย เป็นบนดวงใจที่มีกิเลสตัณหาความทะยานอยากที่มันทุกข์ๆ ยากๆ นั่นแหละ แต่เพราะมันมีการกระทำขึ้นมาเห็นไหม เพราะมรรค ผล นิพพาน ไม่อยู่บนดินฟ้าอากาศ ไม่อยู่กับที่ใดทั้งสิ้น อยู่บนหัวใจของสัตว์โลก
ใจนี้สัมผัส ใจนี้เป็น ใจนี้สัมผัสกับความเป็นจริง แล้วพอธรรมะมันตอบขึ้นมาจากใจดวงนั้นนะ ธรรมตอบแล้ว ดวงใจนั้นจะเป็นธรรม เอวัง