เทศน์บนศาลา

เทศน์อบรมในพรรษา1

๕ ก.ย. ๒๕๓๙

 

เทศน์อบรมในพรรษา ๑
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๕ กันยายน ๒๕๓๙
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

วัฏฏะนี้ไม่มีวันที่สิ้นสุด ไม่มีต้นไม่มีปลาย หมุนไปอย่างนี้ เกิดตาย เกิดตายอยู่อย่างนี้ แต่ลองเหยียบปั๊บรู้เลย ธรรมะพระพุทธเจ้าเด็ดขาดขนาดนั้นนะ รู้เลยอีกกี่ชาติ มันอยู่ที่วาสนาของบุคคลนั้น แล้วมีอยู่ตลอดเวลา ธรรมนี้มีอยู่ตลอดเวลา ธรรมนี้ไม่เคยเสื่อม แม้แต่ศาสนาหมดไปก็ยังมีพระปัจเจกพุทธเจ้าตลอดไป

“พระปัจเจกพุทธเจ้า” หมายถึงว่ามาตรัสรู้เอง ไม่ได้สอนใคร มีอยู่ในหัวใจผู้ที่สมควรแก่ธรรม “มี” ถ้าใจถึงจุดแล้วมี ใจมืดๆ นี่แหละ ใจบอดๆ นี่แหละ ที่ไหนมืดมันเปิดไฟเข้ามันก็สว่างนะ ที่ไหนมืดตรงนั้นเปิดไฟเข้าก็สว่าง ใจมืดอยู่ลองเปิดขึ้นมาสิ จ้าเลย ขนาดว่าภพชาติสั้นมันยังรู้ หดเข้าไปเรื่อย พิจารณาเข้าไปเรื่อย หดเข้าไปเรื่อย จนกว่าไม่มีเลย คนเป็นหนี้แล้วใช้หนี้หมด ทำไมจะไม่รู้ เป็นหนี้มากๆ ก็ใช้เขาไปเรื่อยจนกว่ามันหมด คนหมดจากหนี้ไง คนไม่เป็นหนี้คน คนไม่เป็นหนี้ภพ ไม่เป็นหนี้ชาติ

หัวใจมันเป็นหนี้ ชำระได้นะ ชำระได้ ถึงเป็นหนี้เราก็ต้องชำระ พอใจด้วย คนรู้ว่าเป็นหนี้มันพอใจชำระ ดีกว่าคนที่ไม่รู้ว่าเป็นหนี้นะ เป็นหนี้โดยธรรมชาติแต่มันปฏิเสธไม่ยอมรับความเป็นหนี้ เพราะไม่มีครูไม่มีอาจารย์ ไม่มีพระพุทธเจ้าบอกไง เกิดมาก็หลงระเริงไปชาติหนึ่ง มันไม่รู้ตัวเลย ไม่รู้ตัวจริงๆ นะ ก็คนปฏิเสธความเป็น แต่มันเป็นโดยธรรมชาติแต่มันปฏิเสธ อย่างเรานี่ก็เป็น ทุกคนก็เป็นแล้วยอมรับ คนยอมรับ เห็นไหมว่าคนตาสว่างแล้ว คนยอมรับมันก็ต้องมีการแก้ไข คนไม่ยอมรับมันก็ตายเปล่านะ เหมือนคนเป็นโรคแต่ไม่ยอมรับความเป็นโรค ไอ้นี่คนเป็นโรคด้วย ยาก็มี ยามี หมอมี ไข้มี นี่ไข้มี หมอก็ครูบาอาจารย์มี แล้วยากินไหม พอจะกินก็ขาอ่อน

เวลาฟังข่าวนะ พระพุทธเจ้า เวลาสมัยหลวงปู่มั่น แล้วครูบาอาจารย์ทำไมท่านทำชำระหัวใจของท่านได้ ท่านก็คน เราก็คนนะ เราก็ต้องชำระของเราได้สิ เราชำระได้ ถ้าคนพอใจก็ทำทันที คนไม่พอใจ รอไปเมื่อนั้น รอไปเมื่อนี้นะ มันผัดผ่อน บางทีก็ผัดผ่อน บางทีก็ไม่เต็มใจทำเลย บางทีผัดผ่อนไปเรื่อย ยิ่งผัดผ่อนไปมันก็หนาไปเรื่อย กิเลสน่ะ พอมันผัดผ่อนครั้งแรกนะ ผัดผ่อนครั้งที่ ๒ ต่อไป ถ้าเราไม่ให้ครั้งแรกมี ครั้งที่ ๒ ก็ไม่มี

ถ้าเราแข็งขึ้นมากิเลสก็อ่อนนะ ถ้าหัวใจเข้มแข็งขึ้นมา กิเลสมันอ่อน มันยอมอยู่พักเดียว แต่มันก็คอยจะสอยเราให้ร่วงไง แต่ถ้าเราอ่อนนี่กิเลสขี่หัวเลย ถ้าเราอ่อนนะ มันใช้สบายเลย ก็อยู่ที่ใจเรานั่นน่ะ ถ้าเราคิดชนะมัน เราก็ชนะ พอเราชนะ เราก็ทำงานของเราได้ ทำงานของเรานะ ทำงานของเรา ถ้าเราแพ้ มันทำงานของมัน มันก็ไสให้เราไปข้างนอกไง ถ้าเราชนะมัน ทำลายอย่างนี้ แล้วมีคนไหมที่จะชนะมันบ้าง ถึงผู้ที่จะปฏิบัติมันมีมากหรือมีน้อย

อย่าไปน้อยเนื้อต่ำใจว่าพวกเรามีน้อย เขามีเยอะ มันเป็นไปโดยธรรมชาติอย่างนี้อยู่แล้ว คนที่ชนะกิเลสมันมีน้อยนี่เองต่างหาก คนที่ใฝ่ใจจะทำมันมีน้อย แล้วมีน้อยเพราะของดีมันก็ต้องมีน้อย พออย่างนี้มันก็ไม่ถึงกับน้อยเนื้อต่ำใจใช่ไหม มีน้อยด้วยแล้วเราก็จะถอยไปอีกด้วย มีน้อยแล้วเราสู้ เราเป็นหนึ่ง เพิ่มเข้าไปเป็นหนึ่งไง เราเป็นหนึ่ง น้อยก็นับเราด้วยเป็นหนึ่งคน ถ้าน้อยใช้เราออกไปมันก็น้อยไปเรื่อย

เวลาลมพายุมา เรือในมหาสมุทรมีแต่คว่ำหมดเลย เราก็อยากจะพ้น แต่เวลาพายุในโลกมันปั่นอยู่อย่างนั้นน่ะ เราก็อยากจะลงไปเกลื้อกับเขาอีกใช่ไหม เวลาพายุมาใครๆ ก็อยากจะหนี ถ้ามองเห็นว่าเป็นพายุมันก็จะรู้ว่าเป็นพายุ มันเป็นพายุโดยเนื้อหาของมัน แต่เรามองไม่ออกเอง

หูตาของผู้ปฏิบัติ หูตาครูบาอาจารย์ ว่าโลกมันร้อน โลกมันร้อน แล้วเราทำอะไรกันอยู่ ยังหัวเราะรื่นเริงกันอยู่เหรอ เพราะโลกมันร้อนทำไมไม่หาที่พึ่ง พอเราหาที่พึ่งก็ต้องหาอย่างนี้ ของมันร้อนเอาความร้อนเข้าไปจะพึ่งกันได้อย่างไร ของมันร้อนก็ต้องเอาของเย็นมาพึ่ง ของมันไหลอยู่ก็ต้องให้ของมันหยุด หัวใจมันหมุนไป มันหยุดมันก็เย็นเอง

“ของคู่กัน” มืดคู่กับสว่าง มี มีมืดคู่สว่าง ทำไม่ได้คู่กับทำได้ เกิดมาก็ต้องตาย ตายแล้วก็ต้องเกิด สู้หมด มันแปลกใจที่ว่าทำไมเราทำแล้วทำไมมันถึงไม่ได้ เราทำไมถึงทำไม่ได้...ได้ เราทำต้องได้ อาศัยให้พื้นฐานมาให้ดี ศีลมาบ้าง นักปฏิบัติส่วนใหญ่จะเป็นอย่างนั้น คิดกันนะ ทำไมเราทำไม่ได้อย่างนั้น

ต้องทำได้สิ คนทำได้มี เราก็ทำได้ ปล่อยลงไปเลยนะ อย่าลังเล เวลาจิตมันจะลง ปล่อยมันลงไป ปล่อยมันลงไป อย่ากลัว นี่มันมีกลัวมีวิตกกังวลอยู่ภายในทั้งนั้นน่ะ ปล่อยลงไปเลย ถึงไม่ลงเราก็เอาของดิบไง ย่างให้มันสุกนะ กิริยามี กิริยาการปฏิบัติมี กิริยาไง การนั่งนี่เป็นกิริยา ให้ได้ลิ้มรสหน่อยน่า เวลาเขาอุทานกันขนาดไหน เวลาอุทานกันนะ

มันเป็นจังหวะนะ มันเป็นจังหวะ มันเป็นกาลเวลา สมัยพุทธกาล โอ้โฮ! เป็นพื้นๆ เลยนะ ที่หัวใจของเขาได้สมาธิกันอยู่แล้ว เป็นพื้นๆ เลยเพราะสมัยนั้นโลกมันกว้างไง การคมนาคมยังไม่มีเมื่อ ๒,๐๐๐ ปีก่อนโน้น การติดต่อสื่อสารกันยากมาก ฉะนั้น เวลาคนเลยมีไง ต่างคนต่างอยู่ในชีวิต ๘o ปี ก็ความเป็นอยู่ของเรามันก็ต้องดูแลจิตใจกัน มีแต่คนดีนะ แล้วมันบำรุงใจกันจนแบบว่า เพราะว่าเวลามีนี่ใช่ไหม ก็บำเพ็ญเพียรกันอยู่อย่างนี้ จิตเลยเป็นสมาธิอยู่ พระพุทธเจ้าเทศน์นี่ไปหมดเลย ไอ้ส่วนคนเกมันก็มี

ทีนี้ของเรามันไม่อย่างนั้น ของเราได้สะดวกสบายไปหมด การสื่อสารยิ่งคล่องแคล่วไปใหญ่เลย มันยิ่งลังเลใหญ่เลย ถ้าพูดแล้วมันก็เหมือนคนเป็นโรคมากขึ้น หัวใจมันยิ่งอ่อนแอมากขึ้น มันเลยจะตั้งขึ้นมาให้ยากนี่ไง เราเกิดมากาลนี้ ไอ้สิ่งที่มันยุมันแหย่เรื่องของเขานะ แต่ถ้าเราตั้งใจเราได้ เราทำใจของเราได้ มันเข้มแข็งขึ้นมาเอง วัตถุในโลกนี้แทบไม่มีค่าเลย

แต่นี่หัวใจมันอ่อนแอ มันอาศัยพึ่งเขาหมดเลย อาศัยพึ่งจากข้างนอกหมดเลย มันเลยกลายเป็นคนอ่อนแอ แล้วปฏิบัติก็เลยเป็นอย่างนี้ แต่ผู้เข้มแข็งมี ผู้เข้มแข็งมี ใจนิ่มๆ นี่มันเข้มแข็งได้อย่างไร ใจที่เป็นกระแส เป็นนามธรรม ว่าคนใจเพชรนี่ยอดมากนะ ข้างนอกจะแข็งหรือจะอ่อนก็แล้วแต่ แต่ถ้าข้างในมันเป็นเพชร คนข้างนอกนิ่มนวล ข้างในมันก็เข้มแข็ง คนข้างนอกมันดิ้นรน ข้างในก็เข้มแข็งถ้าใจมันดี ถ้าใจไม่ดีข้างนอกก็ไม่ดี ข้างในก็ไม่ดี

พระพุทธศาสนาเราสอนลงที่ใจ แก้กิเลสก็แก้ที่ใจ แต่มันกรรมเอง กรรมมันสร้างผลมาเป็นอย่างนี้ เกิดเป็นมนุษย์มีกายกับใจ พวกเทวดาเขามีแต่วิญญาณ เขามีแต่ใจไง เขามาฟังเทศน์พระพุทธเจ้า มาฟังเทศน์ครูบาอาจารย์อยู่เหมือนกัน หลวงปู่มั่นเทศน์สอนเทวดาเลย อาจารย์บอก

แต่เรานี่มันแบบว่ามีหูเลยล่ะ มีหูเป็นมนุษย์ มันเลยได้เปรียบเทียบไง นี้มันเลยกลายเป็นคนมี ๒ ความคิดไง จะเอากายหรือเอาใจ ห่วงไปหมดไง จับ ๒ มือ กายนี่มันเป็นผล มันเหมือนถุงพลาสติกใส่น้ำไว้ มีน้ำในถุงพลาสติก นี่มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบไง มันถุงน้ำเน่า กาย ถุงพลาสติกนี่ ผิวหนังก็เป็นถุงพลาสติก แล้วกลางถุงมีหัวใจความรับรู้อีก

แต่ถ้ากายนี่มันทิ้งออกไปแล้ว ถุงพลาสติกทิ้งอยู่เกลื่อนไปหมด มีค่าเท่านั้นนะร่างกาย แต่ชีวิตสืบต่ออยู่นี่มันก็ได้ประโยชน์ ชีวิตสืบต่ออยู่ หัวใจยังสืบต่ออยู่ มันเลยมีโอกาสได้ปฏิบัติไง หัวใจยังสืบต่ออยู่ ธาตุยังมีอยู่ มันเลยได้เปรียบเขา ได้เปรียบเทวดาตรงนี้ แต่เวลามันถ้าปกติแล้ว ถึงว่าจับปลา ๒ มือ มีกายกับใจ แต่ถ้าได้เปรียบเขา ได้เปรียบที่ว่ามันมีสิ่งที่ให้พิจารณาให้ใคร่ครวญได้ง่ายกว่า เหมือนเรามีสินค้ามากกว่าอย่างนั้นล่ะ ห้างร้านมีสินค้าที่มากกว่า สินค้าเขาน้อยกว่า เราจะจับจ่ายอันไหนล่ะ เพียงแต่เราไม่ฟั่นเฟือนเท่านั้น

ถ้าใจมันไม่ฟั่นเฟือนนะ ความรู้ความเห็นภายในมันกว้างขวางนะ มันพิลึกพิลั่นเลยล่ะ ดูอย่างเทวดา อย่างพรหมสิ อย่างพรหมขันธ์ ๑ ผัสสะ ขันธ์ ๑ นะ เทวดานี่ขันธ์ ๕ เขาว่าขันธ์ ๔ ก็ว่าได้ บอกขันธ์ ๕ ก็รูปจิตไง เขาว่ารูปจิต ขันธ์ ๕ มนุษย์นี่ก็ขันธ์ ๕ แล้วมีธาตุ ๔ อีกต่างหาก แล้วไปนรกกันล่ะ แล้ววิญญาณตกอยู่ในนรกนั่นล่ะ หมุนเวียนอยู่อย่างนั้น นี่จิตมันประหลาดอย่างนั้น

ความเห็นภายใน ความเห็นของผู้ปฏิบัติ ความเห็นของครูบาอาจารย์ พระพุทธเจ้าสอนไว้ในตำราหมดเลยล่ะ บุพเพนิวาสานุสติญาณ วิชชา ๓ ผู้ใดปฏิบัติ เห็นไหม เห็นไปหมด รู้ไปหมด แล้วมันถึงได้ โอ้! รู้แจ้งโลก โลกนอก-โลกใน รู้แจ้งโลก

โลกภายนอก โลก โลกคือหมู่สัตว์ แล้วก็โลกแท้ๆ

แล้วรู้แจ้งโลกภายใน โลกภายในคือโลกเรานี่แหละ รู้แจ้งโลก กิเลสเกิดดับไง รู้แจ้งหมด

พระพุทธเจ้ารู้แจ้งโลกนอก-โลกในนะ แต่ผู้ปฏิบัติแล้วแต่วาสนาของคน ก็มีบ้างรู้บ้าง บางทีก็รู้เฉพาะโลกของเราเอง โลกเกิดดับนี่มันชำระได้หมดมันก็หมดกัน วาสนาบารมีถึงไม่เหมือนกัน แต่บริสุทธิ์แล้วเหมือนกัน เราก็เป้าหมายต้องเป็นอย่างนั้นนะ ชาวพุทธเป้าหมายคือว่าดับสิ้น เป้าหมายของชาวพุทธ แต่มันยังไม่ถึงนี้เราก็ก้าวเดินไป ก้าวเดินไง ให้จิตมันก้าวเดินออกไป

พอก้าวเดินออกไป การก้าวเดินออกไปมันสูงขึ้นๆ การสูงขึ้นมันสูงที่ใจนะ ไม่ใช่สูงตัวใหญ่ตัวลอยขึ้นไปหรอก ไม่ต้อง ให้ใจมันสูงขึ้นไง ใจมันสูงขึ้นหมายถึงว่ามันรู้ชัดเข้าภายใน รู้ชัดเข้า รู้ถึงใจ คนรู้ชัดเข้ามันก็ปล่อยวางได้มากขึ้นๆๆ นี่การก้าวเดินของใจสูงขึ้นอย่างนั้น ตัวเท่าเก่า คนปฏิบัติเท่าเก่า คนเหมือนเดิมแต่หัวใจมันสูงขึ้นเอง ใจพัฒนาขึ้น แล้วมันจะปล่อยความไม่ดีไปเอง

คนที่รู้ผิดรู้ถูกมันจะปล่อยไปเรื่อยๆ มันจะขยะแขยงไปเอง เขาดูกันดูอย่างนั้น ดูความพลิกแพลงของใจไง ความคึกคะนอง ข้างในมันคึกคะนอง ข้างนอกแสดงออกอย่างนั้นเลย การแสดงออกของใจ ถ้าข้างในมันไม่คึกคะนอง ข้างนอกก็ไม่คึกคะนองออกมา ใจมันสูงขึ้นอย่างนั้นนะ ว่าสูงขึ้นๆ สูงไปไหน เท่าเก่า ร่างกายเท่าเก่า

ดูอย่างใจเป็นสมาธิ ยิ่งใจผู้สิ้น เขาว่า ๓ โลกธาตุนี้มันไปได้หมดนะ มันรู้แจ้งไปหมด การรู้แจ้งมันก็ไม่สงสัยใช่ไหม เราเห็นตามเป็นจริงด้วย เห็นข้างในด้วย ขนาดพูดข้างนอกเราก็ยังงงขนาดนี้แล้ว แล้วพูดข้างในว่าเป็นไปไม่ได้เลย แล้วพูดไปพูดมาเลยกลายเป็นศาสนาที่เป็นศาสนาหลอกเด็กไปเลย หลอกลวงไง เขาเอามาหลอกกันนะ เอาศาสนามาหลอกกัน เป็นของหลอกเด็กไป

ไอ้อย่างนั้นมันเป็นหูทิพย์ ตาทิพย์ นั่นเป็นประโยชน์ของเขา แต่ความจริงๆ ในเรื่องศาสนาคือการชำระกิเลส “อาสวักขยญาณ” ญาณที่ประเสริฐที่สุดคือชำระความอาสวะข้องใจ อาสวะความสกปรกภายในใจเป็นอาสวะ ญาณจะชำระล้างมัน พระพุทธเจ้าบอกเลยล่ะ “เป็นญาณที่ประเสริฐที่สุด” เพราะคนที่ชำระกิเลสแล้วมันก็หมดกันใช่ไหม อย่างอื่นมันก็ไม่มีประโยชน์แล้ว แต่ไอ้พวกอภิญญานั่นเอาไว้เป็นเครื่องมือไง เป็นเครื่องมือเสริมต่อ ได้ประโยชน์มากขึ้นไปอีก

ผู้ใดชำระตน แก้ไขตนได้มันก็เป็นที่พึ่งของคนอื่น พระพุทธเจ้าบอกว่า “ตนต้องให้เป็นที่พึ่งของตนแล้วจะได้เป็นที่พึ่งของคนอื่นด้วย” ตนยังพึ่งตัวเองไม่ได้แล้วจะไปช่วยเหลือใคร นั่นแหละ มันให้ผลตรงนั้น ถ้าตนชำระของตนได้แล้ว ทีนี้มันมีเครื่องมือด้วย มันก็ง่ายไปน่ะสิ นี่ประโยชน์ภายในของคู่นั้น

เรื่องของใจ มันกว้างขวางมากนะ แต่เวลาพูดมันพูดเป็นเรื่องของใจล้วนๆ ไม่ได้ มันเป็นนามธรรม ต้องอาศัยวัตถุที่อ้างขึ้นมาให้เปรียบเทียบมาให้เห็นไง ว่าเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนั้นน่ะ ก็เลยซ้ำๆ ซากๆ อยู่นั่นล่ะ ก็ประสาโลก คำพูดมีเท่านี้เอง แล้วต้องสื่อให้รู้กัน

ความซ้ำกันมันก็ละเอียดเข้าไป อย่างเช่น ผ้าหยาบ ผ้าอย่างหยาบ ผ้าเนื้อละเอียด ก็ผ้าเหมือนกัน แต่มันคนละชนิดใช่ไหม เวลาอ้างผ้าก็เหมือนกัน อ้างอะไรก็เหมือนกัน มันมีอ้างหยาบ อ้างละเอียดเข้าไปเรื่อยๆ นะ ก็เหมือนกับสูงขึ้นๆ นี่แหละ ไม่ใช่ว่าการซ้ำๆ นั่นเป็นอันเดียวกันนะ

การซ้ำๆ นั้นมันก็มีหยาบมีละเอียดเข้าไปเรื่อยๆ แต่คำพูดมีเท่านั้น เราจะสื่อกันเท่านี้เอง สื่อก็สื่อเพื่อเข้าไปตรงนั้นล่ะ ให้เห็น ให้พลิกๆๆๆๆ ขณะจิตพลิกขึ้นๆๆ เวลาทุกข์มันยังมีทุกข์อ่อน ทุกข์แก่เลย ทุกข์แก่คือทุกข์หนักๆ ทุกข์อ่อนๆ ก็ไฟสุมขอนไง ความกังวลใจ เวลาใจมันเดือดร้อน นั่นน่ะ ทุกข์อ่อนๆ เวลาแก่ขึ้นมามันหนักเป็นภูเขาเลย

ความละเอียดภายในก็เหมือนกัน ภูเขาข้างนอกมันก็ให้ผลข้างนอกนะ แต่ภูเขาในใจ “ภูเขาภูเรา” อาจารย์ว่า ฉะนั้น ทำลายไม่ได้ ภูเขาข้างนอกเขาระเบิดได้นะ แต่ภูเขาหัวใจระเบิดอย่างไร ธรรมะมันระเบิด

ศาสนามันเป็นประเพณี ศาสนาเราถือหัวเพราะอะไร เพราะมีที่สูงที่ต่ำ อย่างที่สูงที่ต่ำ เรามีอย่างภพชาติของเรามันมีเทวดา อย่างทิศ พวกเราพวกได้บวช เพราะถือทิศ ทิศทั้ง ๘ ครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์อยู่ข้างบน พ่อแม่อยู่ข้างหน้าใช่ไหม เพื่อน บ่าวไพร่ ครูบาอาจารย์อยู่ข้างบน “ทิศ” บริหารทิศ เราก็เลยถือหัวกัน ถืออาวุโสไง ถืออาวุโสถืออะไรมา ประเพณีมันเป็นแบบนั้น

แต่ศาสนาเขาไม่สอนอย่างนั้นเพราะถ้าพูดประสาเรานะ เพราะว่าเขาไม่สามารถเห็นตามความเป็นจริงไง ศาสนาแบบว่า อย่างพวกเราคิดกันเองขึ้นมา อย่างพวกเรานี่ว่าอะไรดีขึ้นมาก็คิดขึ้นมา วางแผนขึ้นมาเป็นความดี-ความไม่ดี แต่ไม่สามารถเห็นโลกซ้อนโลกไง เห็นโลกซ้อนโลก อย่างจิตวิญญาณกับโลกปกติมันซ้อนกันอยู่ เห็นไหม อย่างเช่น ในวินัยของเรานะ วินัยชาวพุทธเรา มีพระสมัยโบราณไง ไปตัดต้นไม้เอามาทำกุฏิ รุกขเทวดามาฟ้องพระพุทธเจ้าเลย มาฟ้องพระพุทธเจ้าว่า “ทำไมพระไปรุกรานเขา” ไอ้พระก็ไม่เห็นนี่ เอาโยมไปใช่ไหม ไปตัดต้นไม้เพื่อจะทำกุฏิ เขาบอกว่า “เวลาพระต้องการที่อยู่อาศัยรู้จักหา แต่ทำไมมาทำลายที่อยู่อาศัยของคนอื่นเขาล่ะ” พระพุทธเจ้าถึงได้ห้าม ห้ามภิกษุพรากของเขียวไง

เพราะเราไปพรากของเขียวเท่ากับ ถ้าเป็นต้นไม้ใหญ่พวกรุกขเทวดาอยู่ แล้วรุกขเทวดาอยู่นี่เราไปตัดก็เหมือนไปทำลายบ้านเขา จริงไหม มาฟ้องพระพุทธเจ้าเลยนะ แล้วพระพุทธเจ้าก็รับรู้ นี่ว่า “โลกซ้อนโลก” แต่คนตาบอดมองไม่เห็น คนตาดีมองเห็นก็เลยวางศาสนาไว้อย่างนี้ ให้ถือที่สูงที่ต่ำ ให้ไม่เบียดเบียนกัน แต่ศาสนาอื่นเขามองเห็นอย่างนี้ไหมล่ะ

ถึงว่า ศีลธรรมก็เป็นศีลธรรมไป เขาถึงว่า “อยากจะมาดูคนถือหัว” เขาว่า อยากจะมาดูเมืองไทยว่า ทำไมคนโบราณคนถือหัวกัน มันอยู่ที่เรา ศาสนาเรา ครูบาอาจารย์เราหูตาสว่าง คนหูตาสว่าง ไอ้พวกนั้นพวกตาบอดก็ช่างหัวมัน มันพวกตาบอด แต่เวลาเขามาวิเคราะห์วิจัยแล้วว่ามันเป็นวิทยาศาสตร์แล้วมันเป็นเรื่องตลก

กฎหมายข้อบังคับมันก็เป็นกฎหมายข้อบังคับ เวลาคนเรามันมีช่องไปได้ มันพลิกแพลงไปได้ตลอด จะขนาดไหนก็พลิกแพลงได้ ไม่มีกฎหมายในโลกนี้ที่กฎหมายประเทศใดที่บังคับได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ไม่มี ไม่มีหรอก อเมริกาก็ไม่มี ถ้ามีทำไมคนโกงได้ขนาดนั้น เดี๋ยวล่มๆ กัน ธนาคารก็ล้มไปอยู่อย่างนั้น เพียงแต่ว่า ใช่อยู่ คุณภาพดีขึ้นถ้าเขาศึกษามาก คุณภาพคนเขาเสมอกัน คุณภาพ ความเห็นไง ทีนี้ว่าความเห็นมันส่วนความเห็นสิ

เรามองมุมกลับนะ ศาสนามองไป ๒ แง่นะ คนยิ่งฉลาดมากนะ เป็นผู้ปกครองโกงมากเลย ถ้าฉลาดมากแล้วมีศีลธรรมด้วยยอดเลย ถ้าฉลาดมากก็ยิ่งแนบเนียนใหญ่ ไอ้โจรใส่สูทเดี๋ยวนี้ แนบเนียนมาก แนบเนียนจริงๆ ไปดูสิ ไอ้เตี้ยมันพูดให้ฟังเมื่อวานว่าที่โทรศัพท์ของใครโดนล่อไป ๒-๓ แสนอย่างนี้ เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีมันเจริญ โกงกันนะ โกงโทรศัพท์ แล้วเราต้องจ่ายด้วยเพราะอะไร เพราะเราเป็นเจ้าของหมายเลข เห็นไหม โกงกันง่ายๆ แล้วอีกคนไม่รู้เรื่องเลย เลยยิ่งฟังยิ่งเห็นแล้วมันยิ่งอื้อฮือนะ อื้อฮือเลยนะ เผลอไม่ได้เลย นี่คนยิ่งฉลาด

โกงกันในอากาศ ไอ้เจ้าตัวถือเบอร์อยู่ไม่รู้เรื่องเลยนะ จ่ายที ๒-๓ แสน ไม่จ่ายก็ไม่ได้ เพราะตามทะเบียนของตัว นี่ถือตามกฎหมายไง เวลาไอ้คนซื่อถือตามกฎหมายต้องไปจ่ายเงินเขา ไอ้คนโกงโกงไปแล้ว ใช้ฟรี โทรเดือนหนึ่ง ๒-๓ แสน โทรไปเมืองนอก นี่ความเจริญ ถึงว่าถ้าคนเจริญแล้วต้องมีศีลธรรมด้วย ถ้าคนฉลาดแล้วไม่มีศีลธรรม โกงทั้งนั้นแหละ ถ้าไม่อย่างนั้นจะโกงได้อย่างไรถ้ามันไม่ฉลาด มันไม่รู้จักเทคนิคมันโกงได้อย่างไร

ถึงว่าเวลาคนศึกษาแล้วมันจะแบบว่าคนสูงขึ้น แต่จริงๆ แล้วต้องแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง คนเรามันต้องมีศีลธรรมก่อน แล้วพอมันเจริญขึ้นมามันถึงเจริญ ถึงไม่น่าเสียใจ เราเป็นชาวพุทธเราไม่น่าเสียใจ แต่เขาเวลาเขาพูดเราแก้ไม่ได้ไง ถ้าเราแก้ไม่ได้ ว่าศาสนานี้เป็นลูกตุ้มของสังคมนี้ เราแก้ไม่ได้ ศาสนานี้เป็นตัวถ่วงไม่ให้สังคมเจริญ

“มักน้อยสันโดษ” อาจารย์มหาบัวก็พูด “ศีลธรรมของพระพุทธเจ้าไม่ได้หมายถึงว่าให้คนขี้เกียจ” มักน้อยสันโดษหมายถึงมีครอบครัวเดียว มีบ้านเดียวไม่มี ๒ บ้าน ๓ บ้าน มักน้อยสันโดษตรงนั้น มักน้อยสันโดษในการทำผิด แต่ให้วิริยอุตสาหะในการทำความดี ให้มีความเพียรมีความอุตสาหะ แต่เวลาว่ามักน้อยสันโดษก็อย่างนี้ เวลาเป็นการเป็นงานก็มักน้อยสันโดษ ก็เหมือนรถ รถมีแต่เบรกไม่มีคันเร่งได้อย่างไร คันเร่งรถก็มีไว้สำหรับเวลาเหยียบให้เร่งเครื่องมันไปข้างหน้า เวลาประสบอุบัติเหตุก็ให้เบรก

ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เวลาทำความดีกัน ให้วิริยอุตสาหะ ไอ้นั่นบอก “ฉันปล่อยวาง” เวลาจะทำความผิดกัน อุ้ย! เขาให้ปล่อยวางก็อยากมากๆ แอบทำ เราตีความหมายศาสนากันผิดหมดเลย แล้วข้างนอกก็ตีผิด แล้วก็พูดมาเราแก้เขาไม่ได้

“พระหรือว่านักบวชเป็นลูกตุ้มสังคม เอาเปรียบสังคม ไม่ทำอะไรเลย”

อย่างเวลาไอ้คนโง่ๆ มันแก้นะว่าประสาเรา พระในกรุงเทพโง่ เขาแก้ เขาบอกไม่อย่างนั้นหรอกเพราะพระใช้นี่ภาษีมันเกิดแล้วไง ใช้ไอ้พวกสินค้านี่ ว่ารัฐบาลไม่เก็บภาษีแล้ว เขาว่า “พระนี่เป็นตัวเพิ่มภาษีให้รัฐบาล” โง่ขนาดนั้นนะ นี่แก้แบบโง่ๆ ไง แก้แบบเขา

แต่อาจารย์เราไม่ว่าอย่างนั้นเลยล่ะ “หมอทุกคนนะ พวกนี้ต้องลงไปไถนาหมดเลยได้ไหม” ชาวนาให้ไถนา นี่เป็นครูให้เป็นครูไป หมอก็เป็นหมอไปใช่ไหม ช่างก่อสร้างเป็นช่างก่อสร้างไป หน้าที่ใครหน้าที่มัน แล้วอย่างหมอนี่เขาเป็นหมอใช่ไหม อย่างพระปฏิบัตินี่ก็เป็นหมอ เป็นจิตแพทย์ไง

พระนี่เป็นที่พึ่งของญาติโยมเขา ทุกข์ขนาดไหนขึ้นมาก็แล้วแต่นะ เวลามาคุยกับพระนะ ส่วนใหญ่แล้วจะกลับไปด้วยความสบายใจ มีมากเลยที่เข้ามาพูดกับเรานะ เราออกไปเขาไม่เคยคิดเลยว่าพระจะพูดอย่างนี้ ไม่มีหรอก ไปหาพระแล้วก็ต้องแบบนั่งพับเพียบเรียบร้อยให้มันทรมาน แล้วก็แบบว่าการจะทรมานไง ให้พระพูดอะไรก็แล้วแต่ เราพนมมือไหว้ไว้ กลับไปถือว่าอันนั้นได้ฟังเทศน์แล้ว อันนั้นเป็นบุญ เพราะมันเป็นถือตามกติกาไง

“บุญ” การฟังเทศน์มีบุญมีกุศลไง

๑. สิ่งที่ไม่เคยได้ยินได้ฟัง สิ่งที่ได้ยินได้ฟังแล้วเลอะเลือนไปได้ตอบให้มั่นใจ สิ่งได้ยินได้ฟังแล้วนะ มันไม่ได้ยินได้ฟังอยู่แล้วเพราะมันไม่รู้ภายใน ไม่มีทางได้ยินได้ฟังหรอก สุดท้ายแล้วนะ ๖ ข้อ ข้อสุดท้ายคือว่าหัวใจนี้ผ่องใส การฟังการคุยกัน อย่างเราแบกหินมาคนละก้อน ทุกข์มากๆ เลย มาคุยกับพระ พระปลดหินออกจากหัวใจเลย หน้าที่ของพระมันขนาดไหน แล้วว่า “พระเป็นลูกตุ้มสังคม” แล้วก็ดึงให้พระต่ำ

แล้วถ้าคนเรามันโง่นะ เราโง่นะ เราเชื่อสังคมนะ เราเชื่อคนโง่ เราตามคนโง่ไปสิ พระต้องลงมาทำมาหากินเอง พระต้องมาค้าขายแข่งกับญาติโยม แล้วมันก็เสมอกัน แล้วใครจะสอนใคร อย่างเช่นพ่อกับลูก พ่อเป็นหัวหน้าเป็นผู้ฝึกสอนลูก พ่อก็ต้องดีกว่าสิ แล้วมาสอนลูกได้ ไอ้นี่พ่อกับลูกไปเที่ยวด้วยกัน พ่อกับลูกก็ก๊งด้วยกัน แล้วพ่อจะไปสอนลูก “ลูกอย่าก๊งนะ” เอาแก้วมาชนกัน ก๊ง “อย่าก๊งนะ” แต่เอาแก้วชนกัน

นี่เหมือนกัน พระจะสอนเขามันก็ต้อง ออกมาจากสังคม อยู่เป็นผู้ที่ประกอบอาชีพภายในไม่เอาอาชีพภายนอก มันก็เป็นอย่างนั้นไป มันต้องแบ่งออกไปสิ มันถึงมีที่สูงที่ต่ำไง มีที่ฟัง แต่ถ้าเวลาเขาพูด เราแก้ไม่ได้ งงนะแก้ไม่ได้ เพราะวิทยาศาสตร์เป็นอย่างนั้น คนดีต้องประสบความสำเร็จทางโลก คนดีต้องแบบว่าประกอบธุรกิจแล้วมีเงิน ๕-๖ แสนล้าน ถึงเป็นคนดี

ถ้าคนๆ นั้นเป็นคนดีนะ ก็ยกว่าคนๆ นั้นเป็นคนดี ถ้าคนๆ นั้นโกงมามันจะดีได้อย่างไร มีเงินมากแล้วเราก็ยอมรับเขามีเงินมากเท่านั้นเอง แต่เงินนั้นเป็นประโยชน์ไหม แต่ถ้าคนๆ นั้นเป็นคนดีสิ แล้วคนดี ดีแบบโลกนะ มันพลิกได้ วันนี้ดีพรุ่งนี้ก็คิดไม่ดี คิดดี-คิดไม่ดี

แต่ถ้าพอศาสนาเราทำให้สำเร็จแล้ว มันจะพลิกไปไหน มันไม่พลิกไปหรอก พื้นฐานมันสำเร็จแล้ว ใจมันดีแล้วมันดีไปตลอด ของมันพอเสื้อผ้าสะอาด ไว้ไหนมันก็สะอาด เสื้อผ้าสกปรกไว้ไหนมันก็สกปรก นี่หัวใจภายในสิ หัวใจภายใน แล้วศาสนาเราสอน ถึงว่าถึงที่สุดแห่งทุกข์ มันต้องเทียบแล้วมันมี พระพุทธเจ้าพูดว่าสุภัททะไง

“ศาสนาไหนไม่มีมรรค...” ศาสนาไม่มีมรรคคือว่าศาสนานั้นไม่มีเครื่องมือ แล้วมันจะทำสำเร็จประโยชน์ขึ้นมาได้อย่างไร

“ศาสนาไหนมีมรรค ศาสนานั้นต้องมีผล สุภัททะอย่าถามให้เสียประโยชน์ไปเลย”

อันนี้มันชัดมากเลยนะ มันชัดมากเลย

(เทปสิ้นสุดเพียงเท่านี้)