ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ได้อาจารย์ดี

๒๘ มิ.ย. ๒๕๕๔

 

ได้อาจารย์ดี
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๔
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

พระ: นี้คือ เพิ่นตอบว่า.. หลวงปู่เพิ่นตอบว่า ทั้งหมดนี่เป็นสาวกของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือหมายถึงว่าเพิ่นกำราบให้แบบ.. เขาว่าองค์นั้นดี องค์นี้ดีครับ คือกลบไว้ก่อนครับผม

หลวงพ่อ: เออ

พระ: อันนี้พอผม ผมก็ตอบหลวงปู่ไปอย่างนี้ บอกพี่โยมกับเฮียผม เสร็จแล้วผมก็ไปศึกษาเอง อย่างที่ครูอาจารย์เทศน์เมื่อตอนเช้าครับผม ถ้าเกิดเราจะศึกษาอะไรจริง เราอย่าฟังข้างเดียว

หลวงพ่อ: ใช่

พระ: เราไปเจาะลึก อันนี้ผมฟังเทศน์ของครูอาจารย์ เรื่องเกี่ยวกับจิตส่งออกนอก ผมก็เลยว่าครูอาจารย์ หมายถึงว่าความรู้สึกผม อันนี้ขอโอกาสครับ มันเป็นความรู้สึกภายในครับ ผมรู้สึกว่าผมเหมือนฟังพี่ชายพูดครับ

หลวงพ่อ: เข้าใจ

พระ: อันนี้ผมก็เลยศึกษาจากธรรมะครูบาอาจารย์ จากเว็บไซต์ครับ ก็ฟังมา อันนี้กัณฑ์เมื่อคืนที่ผมฟังเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจที่ครูอาจารย์เทศน์เรื่อง “เสียงของหลวงตา” อีกทีหนึ่งครับผม

หลวงพ่อ: “เสียงของหลวงตา”

พระ: “เสียงธรรมหลวงตา”ครับ

หลวงพ่อ: ใช่ ถ้า “เสียงธรรมหลวงตา” วันที่ ๑๙ เนาะ

พระ: ครับผม

หลวงพ่อ: อันนั้น “กว่าจะเป็นหลวงตา”

พระ: อันนี้มีส่วนเรื่องการภาวนา ไอ้ตัวนี้ผมก็ปฏิบัติตามตามสภาวะของผมเอง

หลวงพ่อ: กำลัง..

พระ: ครับผม แต่นี่สิ่งที่ผมสนใจเป็นพิเศษคือเรื่องหมู่คณะสงฆ์ คือทุกครั้ง.. ผมไม่รู้ว่าทำไมจริตผมถึงศึกษาอย่างนี้ เพราะว่าผมอยากศึกษาว่าพ่อแม่ครูบาอาจารย์เพิ่นปกครองหมู่คณะนี่ เวลามีอธิกรณ์เกิดขึ้น คือว่าเวลามีเหตุว่าเกิดพระทะเลาะกันอย่างนี้ครับ คือว่าเพิ่นใช้หลักอย่างไรในการปกครองหมู่คณะมา แม้แต่สำนักของที่ว่ามีพระเยอะมาก ผมอยากรู้ว่าท่านปกครองอย่างไร

เพราะว่าโดยธรรมชาติของคน เวลามาอยู่ด้วยกัน ทิฐิมันเยอะมาก ยิ่งแตกออกมาเป็นแบบตามความคิดเห็นของแต่ละคน อันนี้ผมก็เลยดูว่า แม้แต่ในส่วนของการภาวนาของปฏิบัติแต่ละสายก็มีแตกต่างกันไป อันนี้พอในส่วนของการปฏิบัติภาวนา ผมเลยศึกษาแล้วว่าสายของหลวงปู่มั่นที่ครูบาอาจารย์ท่านเทศน์ ที่ว่าพอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ ผึง! มานี่ ท่านขวนขวายน้อยอยู่ เพราะว่าเป็นเรื่องธรรมะที่ละเอียดยากมากที่จะอธิบาย

หลวงพ่อ: ใช่.. ใช่.. ใช่

พระ: ทีนี้พอสายหลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ปฏิบัติมาปุ๊บ เพิ่นถ่ายทอดข้อวัตรปฏิบัติก่อน ข้อวัตรปฏิบัติ อันนี้ข้อวัตรปฏิบัติถ้ายังทรงกันอยู่ในยุคของสมัยนี้ ก็สามารถที่จะรวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียวได้ครับผม

หลวงพ่อ: มันเป็นอย่างนั้นเลยนะ เป็นอย่างนั้นเพราะว่าหลวงปู่มั่นท่านพูดกับหลวงตา (เราพูดบ่อยเนาะ) ว่า “พรรษามากแล้ว ไม่ต้องขึ้นมา ให้พรรษาน้อยมา เพราะมันจะได้มีข้อวัตรติดหัวมันไป”

เวลาหลวงตาท่านตรัสรู้เลย ท่านบรรลุธรรม ท่านสิ้นกิเลสที่วัดดอยธรรมเจดีย์น่ะ แล้วท่านก็.. โอ้โฮ.. ถ้าใครไปรู้ตรงนี้แล้ว ส่วนใหญ่เป็นอย่างนั้นนะ มันแบบว่ามันจะพูดให้ใครฟังไม่ได้เลย ฉะนั้น เวลาเพิ่นเขาบอกว่า เอ.. มันก็เหมือนกับขวนขวายน้อย คือว่าจะอยู่อย่างนั้นน่ะ แต่ความเห็นของท่านก็ออกมาอีกอันว่า “แล้วเรามาได้อย่างไร?”

“เรามาได้เพราะข้อวัตรปฏิบัติ” เรามาด้วยข้อวัตรปฏิบัติ แล้วย้อนกลับไปดูที่บ้านตาดสิ ทำไมท่านทรงข้อวัตรอย่างนั้นน่ะ

พระ: อืม.. อืม..

หลวงพ่อ: ข้อวัตรคือกรอบ อย่างพวกเราร้อยพ่อพันแม่มา

พระ: ครับผม

หลวงพ่อ: พอเข้ามาสู่กรอบอันเดียวกัน เห็นไหม มันก็ไปอันเดียวกันได้ แต่ถ้าไม่มีกรอบมา คนร้อยพ่อพันแม่มันก็ร้อยกรอบพันกรอบ

ฉะนั้นท่านบอกว่าท่านได้มาด้วยข้อวัตรปฏิบัติ ฉะนั้นข้อวัตร โดยธรรมชาติเราเห็นข้อวัตรว่าไม่มีอะไร แล้วเดี๋ยวนี้พระเราเริ่มแบบว่า.. เราไปเรียนทางโลกกัน แล้วเราไปติดทางโลกกัน เพราะทางโลกเขาบอกนะ ทุกอย่างนี่ดีหมดเลย ขาดแต่การบริหารจัดการ.. เขาคิดว่าข้อวัตรนี่เขาบริหารจัดการได้ไง

ทีนี้พอเขาบริหารจัดการได้ปั๊บ เห็นไหม ดูอย่างวัดทั่วๆ ไปเขาไปจ้างคนทำ มีคนมาอุปัฏฐาก เห็นไหม จ้างคนมาทำหมดเลย ข้อวัตร แล้วพระนั่งเฉยๆ แล้วพระได้อะไร พระไม่ได้อะไร ไอ้ข้อวัตรเสือกไปอยู่ที่โยมหมดเลย เพราะการทำข้อวัตร เราเห็นเป็นของเล็กน้อยนะ เวลาเราอยู่กับพระ เราบอกเลย กูได้ทำงานเทศบาล กูกวาดทุกวันเลย เทศบาล เห็นไหม พวกเก็บกวาด พวกเก็บขยะนะ เราทำงานเทศบาล..

พวกเราไปมองเป็นของต่ำต้อยไง ใจมันไม่ลง เราต้องไปล้างส้วมนะ เราต้องไปเก็บ ต้องไปกวาดใช่ไหม

ทิฐิมันไม่ลง...หนึ่ง

สอง...ทำแล้วกูได้อะไรวะ

ทำไปๆ แล้วมันชินชา พอมันชินนะ แต่ไม่รู้ว่านี่กิเลสทั้งนั้นเลย ไอ้ที่มันต้านมา กิเลสทั้งนั้นเลย

นี่ข้อวัตรมันได้ตรงนั้นนะ ได้ตรงขัดเกลา ไม่ได้แก้กิเลสอะไร แต่มันขัดเกลามึงน่ะ แต่ถ้าขัดเกลาปั๊บ เราอยู่ในกรอบ กิเลสมึงจะพากูแฉลบไม่ได้แล้ว กิเลสนี่มันพาแฉลบ ถ้าเราไปทางโลก เรากวาดวัดกับให้คนอื่นกวาด มันต่างกันตรงไหนวะ...นั่นแน่ กิเลสมันคิดนะ มันต่างที่มึงไม่ได้ทำไง (หัวเราะ) มึงไม่ได้ทำไง

หลวงตาพูดบ่อย “เราอยู่ด้วยกันนะ อย่าคิดว่าเขาทำแล้วเราไม่ต้อง เขาทำแล้วคือของเขา เราไม่ได้ทำ” หลวงตาพูดประจำเลย

ไอ้ตรงนี้ แต่คนมองข้ามไง เขาบอกว่าถ้าใจไม่เป็นธรรมมันมองแตกต่างกันอย่างนี้ มันเลยมองกันอย่างนี้ เพราะว่ามันมีนะ ธรรมดาใช่ไหม วัดใช่ไหม ไอ้พวกที่มีการศึกษามา มันจะมาบอกเลยนะ ทุกอย่างดีไปหมดเลย ขาดอย่างเดียว.. ขาดการบริหารจัดการ คือมันจะจัดการให้ไง คำว่าจัดการ บริษัทไหนมันก็มี ที่ไหนมันก็มี แต่การบริหารจัดการมันเป็นเรื่องการส่งออก แต่เวลาธรรมะนี่มันทวนกระแสกลับไง แต่มันเป็นดาบสองคมนะ

มันดาบสองคมนะ ถ้าเราไปเถรตรงกับมัน...

พระ: ครับผม

หลวงพ่อ: ถ้าเราไปเถรตรงกับมันนะ ต้องทำอย่างนั้น.. ทำอย่างนั้น.. ทำอย่างนั้น เราทำอย่างนั้นเพราะอะไร เพราะวินัยเปิดไว้เลยน่ะ

หลวงพ่อ: มหาสมโย สมณภตฺต สมโย.. คราวภิกษุมาก

พระ: ครับ

หลวงพ่อ: วินัยเปิดไว้นะ

พระ: ครับ

หลวงพ่อ: คราวเดินทางนะ นี่พูดถึงพระพุทธเจ้า ขนาดพระพุทธเจ้าฉลาด พระพุทธเจ้าเปิดไปให้เราเลยนะ แต่พวกเราไม่เอา (หัวเราะ) ตั๋วเด็กไม่ใช้ ครึ่งราคาไม่เอา เอาเต็มราคาตลอด

เราเดินทาง เราก็พยายามอยู่ในทรงของเรา แต่นี่เราจะบอกให้เห็นว่าพระพุทธเจ้ายังเห็นเลยว่าถ้าเราเถรตรง ฉะนั้นพระพุทธเจ้าเปิดไว้ให้เราเลยนะ คราวเดินทาง ภิกษุจะฉันปะรำปะระได้ คราวเดินทางกัน แต่พวกเราก็ไม่เอา

แต่เวลาจะพูดเราจะบอกว่าพระพุทธเจ้าเปิดไว้ให้ เราศึกษาปั๊บ เราจะย้อนกลับพระพุทธเจ้าเลย พระพุทธเจ้าฉลาดแค่ไหน ฉะนั้นถ้าดาบสองคม คำว่าถ้าเราถือเถรตรง อ้าว.. มึงต้องทำอย่างนี้ๆๆ พอไม่ทำ.. ทะเลาะกัน เห็นไหม ถ้าไม่ทำอย่างนี้ เราต้องทำอย่างนี้ๆๆ ถ้าไม่ทำ ไม่ทำเพราะเหตุผลอะไร เราคุยกันด้วยเหตุผล

พระ: ครับ

หลวงพ่อ: เราไม่เถรตรงเกินไป ถ้าเถรตรงเกินไป ไม้บรรทัดเกินไป สังคมมันก็.. แต่มันก็ต้องอยู่ที่กาลเทศะ เราเห็นอยู่นะ.. แต่เห็นด้วย ไอ้เรื่องวางข้อวัตรไว้

ฉะนั้น ไอ้เรื่องปฏิบัติมันหลายแนวทางไง จริง หลายแนวทางมาก แต่อริยสัจมีหนึ่งเดียว ความถูกต้องมีอันเดียว ทุกอย่างต้องกลับมาเหมือนกันหมด ทุกอย่างต้องมาลงรอยอันเดียวกันไง เวลาเข้ามาสู่อริยสัจนี้มีหนึ่งเดียว สุกขวิปัสโก เตวิชโช.. จะพระอรหันต์อะไรก็แล้วแต่ มึงต้องลงตรงนี้

พระ: ครับ

หลวงพ่อ: ถ้าลงตรงนี้ปั๊บ...จบเลย แต่ถ้าไม่ลงนะ มึงกับกู ผิดคนหนึ่ง

ฉะนั้น แนวทางหลากหลายจริงอยู่ แต่เวลาลงเป็นความจริงแล้วต้องอันเดียว ตรงนี้ไง ตรงนี้มันถึงธัมมสากัจฉาได้ไง มันถึงคุยกันได้ไง ไอ้เรื่องจริตนิสัยแน่นอนอยู่แล้ว จริตนิสัย เรื่องการประพฤติปฏิบัติเปิดกว้างอยู่แล้ว

แต่เวลาลงนะ เราเวลาลง ดูนะ อย่างที่หลวงตาท่านพูด หลวงตาท่านไปสนทนากับหลวงปู่บุดดามาแล้ว หลวงปู่บุดดาอยู่สิงห์บุรีนะ กับหลวงตา หลวงตาบอกเลยนะว่าท่านไปกราบหลวงปู่บุดดา หลวงปู่บุดดาท่านพูดนะ พูดในเทปว่าหลวงปู่บุดดาเมตตาท่านมาก เวลาหลวงตาท่านไปกราบ หลวงปู่บุดดาลูบแล้วลูบอีกน่ะ ลูบหัว.. แล้วเวลาหลวงปู่บุดดาเทศน์

“จิตหนึ่ง! จิตหนึ่ง! จิตหนึ่ง! จิตมีหนึ่งเดียว!” หลวงตา.. สัมมาสมาธิ

ถ้ามันมาลง มันจะลงรอยเดียวกันหมดน่ะ มึงจะมาช่องไหนก็แล้วแต่ ถ้าถูกนะ ถ้านักปราชญ์ด้วยกันนะ เพี๊ยะ.. เพี๊ยะ.. เพี๊ยะ.. เพี๊ยะ.. ตัดตรงนี้

ทีนี้ถ้าบอกว่ามันแตกต่างหลากหลายก็ไม่มีปัญหา แต่ปัญหาถ้ามันเหมือนกัน มันลงอันเดียวกัน ศีล สมาธิ ปัญญามันต้องลงมรรค ต้องลงอย่างนี้ ตรงนี้ถูก แต่ถ้ามันไม่ลงนะ มันไม่ลงมรรคนี่ แล้วเราจะไปไหนกัน

เราจะไปไหนกันก็เหมือนออกไง ส่งออกหมด เราส่งออกหมดน่ะ เพราะตอนนี้มีคนมาพูดเยอะ เพราะเวลาเราพูดออกไป ใครๆ ก็ถามปัญหามาๆ ร้อยแปดพันเก้าเลย บางคนไม่ต้องทำอะไรเลย อยู่เฉยๆ กำหนดไม่ได้ กำหนดเป็นทุกข์ อยู่เฉยๆ เป็นพระอรหันต์หมดเลย

โอ้โฮ.. ตอนนี้คนอย่างนี้เขาเรียกว่าสร้างของเขามา มันเป็นจริตไง พอเขาสร้างมา คนเราเขาเรียกว่าอะไรนะ เขาเรียกว่า “คน ๒ บุคลิก ๓ บุคลิก” อย่างนี้ อย่างเรานี่เรียกบุคลิกเดียวใช่ไหม เราพูดอะไรไปแล้ว ถ้าเราพูดผิด เราจะมีปฏิกิริยาไง แต่คน ๒ บุคลิกนี่นะ เวลาปกติ ชีวิตเขาประจำวัน แต่พอพูดธรรมะนี่เป็นอีกบุคลิกหนึ่งเลย คน ๒ อารมณ์

มันพูดได้ว่าเป็นอย่างนั้นน่ะ มันไม่มีอายเลยนะ เราเจอมา ไอ้พวก ๒ บุคลิกนี่ แล้วจับไม่ได้ด้วย แต่เราพูดธรรมะไปนี่หลุดไปเลย แล้วคนที่เขามาจับ มันจับไม่ได้ แต่ถ้าคนมีนะ ฟังทีเดียวจบ ทีนี้ไอ้พวก ๒ บุคลิก ๓ บุคลิก ตอนที่มันมีปัญหากันอยู่นี่ ตอนนี้มีปัญหากันเยอะ โอ๋ย.. ร้อยแปดเลย อันนี้อันหนึ่ง

กรณีของไอ้ดูจิตนี่ มันพูดไปแล้วมันสะเทือน มันสะเทือนเพราะว่าอะไร เพราะเราสังเกตนะว่าสังคมเรานี่มันกระทบกระเทือนขนาดนี้ ทำไมเริ่มต้นหลวงตาท่านถึงไม่พูดอะไรเลย เพราะหลวงตา เราดูในหนังสือของหลวงปู่ดูลย์ หลวงตาก็ไปงานศพหลวงปู่ดูลย์

ฉะนั้น หลวงปู่ดูลย์เป็นอาจารย์ของหลวงปู่ฝั้น เพราะหลวงปู่ฝั้นเป็นมหานิกาย หลวงปู่ดูลย์ธุดงค์ไปแล้วเอาหลวงปู่ฝั้นมาญัตติ แล้วหลวงปู่ดูลย์อยู่กับหลวงปู่มั่นมา ฉะนั้นหลวงปู่ดูลย์นี่ถูก ดูจิตของหลวงปู่ดูลย์ถูก แล้วการดูจิตของหลวงปู่ดูลย์นี่นะ แต่ว่าดูยากมาก เราพุทโธนะ เรายังเกือบตาย แล้วนี่คิดดูสิ เอาสติไล่กันเลย เอาสติไล่กับตัวจิตให้จิตสงบเลย มันเป็นของที่ยากมาก

มันมีพระหลายองค์นะที่ว่าบอกว่าไปศึกษากับหลวงปู่ดูลย์น่ะ เวลาไปรายงานหลวงปู่ดูลย์ เหมือนกับเราไปหาครูบาอาจารย์ ไปรายงาน ท่านบอก “ไม่ใช่...ไม่ใช่จิต นี่อาการหมด ไม่ใช่จิต นี่อาการจิต ไม่ใช่จิตๆ” คนจะดูจิตเข้าถึงจิตได้นะ แทบจะหานับหัวได้ไม่กี่คนเลย นี่เราอยู่กับวงปฏิบัติ นี่เราจะพูดถึงว่าวงปฏิบัติเราก่อน ถ้าเราจะบอกว่าเขาผิดๆๆๆ แล้วครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติมาล่ะ...ถูกมันมี แต่ถูกมันมี แต่เวลาจะเข้าถึงถูกได้มันต้องเข้มแข็ง เราต้องมีวาสนา

พระ: ครูอาจารย์ ขอโอกาสครับ.. เมื่อกลับไปประโยคแรก ระหว่างว่าข้อวัตรปฏิบัติที่เข้ามาผลของการปฏิบัติ รักษาของการดูจิตมันมีไหมครับ

หลวงพ่อ: ถ้าดูจิตอย่างนี้นะ พอดูจิตอย่างนี้ปั๊บ เราก็ย้อนกลับไปนี่ก่อน ย้อนกลับไปอภิธรรม อภิธรรมเขา “ย่าง” เขาดูจิตหรือเปล่า? อภิธรรมนี่เขา “ย่างหนอ รู้หนอ” รู้ตัวทั่วพร้อม เขาดูจิตหรือเปล่า? ไม่ได้ดูเลย.. ไม่ได้ดูเพราะอะไร เพราะจิตมันส่งออก ความรู้สึกอยู่ที่ปลายเท้า ความรู้สึกอยู่ที่กระทบ นี่มันออกไหม

พระ: ครับผม

หลวงพ่อ: อยู่ที่อารมณ์ เห็นไหม รู้ความคิด เพราะความคิดไม่ใช่จิต ความคิดคือสังขาร สังขารปรุงแต่ง จิตคือพลังงาน แล้วจิตมันไปรู้สังขาร มันส่งออกหรือยัง? มันส่งออกแล้ว ทีนี้พอส่งออกแล้ว สังเกตได้ว่าอภิธรรมมีสมาธิไหม อภิธรรมนี่ไม่มีสมาธิ แต่อภิธรรม ทำไมเขาสบายล่ะ คนปฏิบัติอภิธรรมเคลื่อนไหวๆ กลับไป โอ้โฮ.. สุดยอดๆ.. ทำไมเขาสุขสบายล่ะ สุขสบายเพราะว่าเขาตรึกในธรรม

เราตรึกในธรรม (มันเหมือนนะ แต่ไม่ใช่) มันเหมือนกับปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าเราอบรมสมาธิ เราตรึกในธรรม จิตเราพร้อมไว้ในธรรม พอมันพร้อมปั๊บมันปล่อย อย่างเช่นเราฟุ้งซ่าน สติเราตามความคิดไป นี่เขาเรียกปัญญาอบรมสมาธิ (หลวงตาสอนปัญญาอบรมสมาธิ) ถ้ามันตามทันนะมันหยุด.. มันหยุด..

ทีนี้การเคลื่อนไหว รู้สึกตัวทั่วพร้อมๆ มันเป็นอารมณ์สร้าง มันเป็นอารมณ์อีกอารมณ์หนึ่ง มันเป็นความรู้สึกอีกอันหนึ่ง จิตออกก็รู้สึกอารมณ์อันนั้น แล้วหายไปเลย หายไปเลยแล้วมันสบายๆ อ้าว.. สบาย แล้วใครสบายล่ะ?

พระ: เราเป็นคนรู้สบาย

หลวงพ่อ: อ้าว.. สบาย แล้วใครสบายล่ะ?

แต่ทุกคนนะ อภิธรรมจะบอกว่าสบายหมด โอ้โฮ.. ดี๊ดีๆ ปฏิบัติเป็นชีวิตประจำวัน...แล้วมึงได้อะไรล่ะ? มึงได้อะไร? ก็ได้สบาย โอ้โฮ.. โคตรเลย ดีมากเลย

สังคมเขาชื่นชมกันนะ แต่เราเศร้าใจ เราเศร้าใจว่าการประพฤติปฏิบัติ มรรค ผล นิพพาน มันมี การปฏิบัติเรานี่หวังมรรคหวังผล เพราะเราเกิดมา เราต้องการมรรคการผล เพราะการเกิดการตายมันแสนยาก แต่นี้พอมาปฏิบัติไป สักแต่ว่าทำ ให้หมดชีวิตไปชีวิตหนึ่งเฉยๆ โดยที่ไม่ได้มรรคได้ผลนี่มันน่าเศร้าใจ

นี่พูดถึงว่าอย่างนี้เป็นการดูจิตหรือเปล่า แต่ถ้าการดูจิต มันต้องมีสติ พอมีสติขึ้นมา จิตมันมีสติขึ้นมา มันจะดูความคิดไง ทีนี้ความคิดมันเกิดดับ พอความคิดมันเกิดดับ นี่ความคิดเกิดดับอันหนึ่งนะ ในอารมณ์ความรู้สึก ในความคิด พอคิดแล้วทำไมมันทุกข์มันสุขไง คิดดีคิดชั่ว คิดดีก็ฟุ้งไป คิดชั่ว ทุกข์ฉิบหายเลย นี่อารมณ์ในความคิดมันเป็นอารมณ์

ถ้าปัญญามันทัน มันจะทันแต่อารมณ์ พอทันในอารมณ์ปั๊บ อารมณ์จางลง แล้วอารมณ์มันเกิดจากอะไร? เกิดจากความคิด เกิดจากสังขาร พอสังขารมันทัน.. อารมณ์มันเบาลงก่อนๆ อันนี้มันก็เริ่มดับ พอเริ่มดับขึ้นมา พอดับขึ้นมา เหลืออะไร?

พระ: ตัวรู้

หลวงพ่อ: ถ้าตัวรู้อยู่ของมันนะ พอแป๊บเดียวคิดอีกแล้ว

ความจริงนะ เพราะหลวงปู่ดูลย์ท่านจะพูดอย่างนี้น่ะ หลวงตาน่ะ ที่เราพยายามศึกษาว่าทำไมหลวงตาท่านไม่จัดการเรื่องนี้ เราคิดว่าหลวงตารู้เหตุรู้ผลหมด แล้วถ้าอย่างนี้ไปแล้ว คนมันจะฮือฮากันไป เพราะว่ามันสวมรอยกันได้ง่าย

ทีนี้พออย่างนั้นปั๊บ เวลาหลวงปู่ดูลย์ท่านบอกว่า “ต้องดู” ดูจิตนี่ ตัว “ดู” ท่านจะเขียนตัวใหญ่ ตัว “รู้” เขียนตัวใหญ่ๆ ตัวรู้นี่ ทีนี้ตัวรู้กับตัวดูที่ว่าเขียนในโฉลกหนังสือหลวงปู่ดูลย์ เขียนตัว “รู้” จะ ร.เรือ ตัวใหญ่ๆ...มันไม่ใช่รู้ปกตินี่หว่า ถ้าเขียนตัวเสมอกันก็รู้แบบสามัญสำนึกใช่ไหม ถ้ามันแปลกประหลาด ตัวหนังสือมันใหญ่กว่าเขา มันต้องให้รู้มากกว่า ฉะนั้น คำตรงนี้เราถึงบอกว่า ความหมายนี่นะ เราจะบอกว่า หลวงปู่ดูลย์ท่านจะบอกเหมือนหลวงตาว่า เป็นปัญญาอบรมสมาธิไง คือต้องรู้-ต้องดู โดยพิเศษน่ะ ไม่ใช่ดู-รู้แบบธรรมชาติ

ทีนี้พอไปดูแบบธรรมชาติ เราบอก ถ้าเป็นความจริงน่ะ หลวงปู่ดูลย์น่ะ เราเชื่อหลวงปู่ดูลย์นะ เราเชื่อหลวงปู่ดูลย์ทำได้ เพราะหลวงปู่ดูลย์เวลาพูดถึงผล พูดถึงผลถูกน่ะ แต่ไอ้พวกนี้มันพูดถึงผลผิดหมดน่ะ คนที่พูดถึงผลถูก มันต้องมีเหตุมา ถ้ามันไม่มีเหตุมา มันจะเข้าถึงผลที่ถูกนั้นได้อย่างไร ฉะนั้นเวลาท่านทำของท่านน่ะ...ถูก

แต่ทำอย่างนี้ ทำไมครูบาอาจารย์ไม่สอน ทำไมหลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์ท่านสอนพุทโธอย่างนี้ มันเหมือนกับทำงานบนแผ่นดิน ทำงานโดยชอบธรรมกับทำงานบนอากาศ นามธรรมไง พุทโธๆ มันกำปั้นทุบดินเลย พุทโธนี่ กำปั้นทุบดินน่ะ พวกมึงยังทำกันไม่ได้เลย แล้วแหม.. ให้ไปทำอย่างอื่น อย่างนี้ก็ฉิบหายหมดน่ะสิ ท่านเน้นตรงนี้ไง ครูบาอาจารย์ท่านเน้นตรงนี้ไง

ทีนี้หลวงปู่ดูลย์ท่านชำนาญของท่านก็สาธุ จริต เห็นไหม เข้าจริตแล้ว ถ้าหลวงปู่ดูลย์ท่านชำนาญของท่านก็สาธุ แต่คนอื่นจะชำนาญอย่างนี้เหรอ วาสนาคนสร้างมาไม่เหมือนกัน นี่ไง มันถึงย้อนกลับมาตรงนี้ไง กลับมาที่ครูบาอาจารย์ ถ้าครูบาอาจารย์ท่านเป็น ท่านสอนโดยหลัก แล้วใครทำได้ ใครทำไม่ได้ อย่างทหารก็มีทหารตั้ง ๔ เหล่าทัพ มึงอยากเป็นทหารก็ต้องเป็นทหารใน ๔ เหล่าทัพ ทัพเดียวก็ยังมีแผนก มึงจะเป็นสรรพาวุธ มึงจะเป็นราบ มึงจะเป็นพลร่ม

ฉะนั้น กรณีนี้ หลวงปู่ดูลย์น่ะถูก แต่คำว่า “ดูจิต” ถ้าดูจิตนะ มันจะต้องเป็นปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ ใช้ปัญญาไล่ไปๆ ถ้ามันหยุดมา หยุดมาแล้ว จิตมันรู้ว่ามันหยุด แต่ก็คิดอีก ไล่ต่อไปๆ จิตนี่หยุดได้ แต่จิตหยุดได้ หยุดแล้วมันต้องเป็นสัมมาสมาธิ เพราะถ้าเป็นสัมมาสมาธินะ อย่างที่พูดเมื่อกี้นี้มันต้องมีกำลัง คำว่ากำลังนะ สังเกตตัวมัน สังเกตตัวจิต แล้วถ้าใครเห็นนะ.. ใครเห็นนะ.. “จิตเสวยอารมณ์” จิตเวลามันจะคิด มันทำอย่างไร ถ้าจิตมันคิด ระหว่างจิตกับขันธ์ ถ้าเห็นจิตเสวยอารมณ์ได้ จิตจับขันธ์ได้...วิปัสสนาเป็น

ถ้าไม่เห็นจิต จับอาการของจิต.. หลวงปู่ดูลย์บอกว่า “ดูจิตๆ ให้จิตสงบ.. จนจิตเห็นอาการของจิต แล้วพิจารณามัน”

ดูจิตนี่เป็นสมถะ ถ้าจิตเห็นอาการของจิต! ถ้าจิตเห็นอาการของจิต! แล้วท่านบอกว่า “ให้พิจารณามัน” นั้นคือวิปัสสนา

“คิดเท่าไรก็ไม่รู้ ต้องหยุดคิด”...สมถะ

“คิดเท่าไรก็ไม่รู้ ต้องหยุดคิด แต่การหยุดคิดก็ต้องใช้ความคิด”...นี่คนเป็น

คนเป็นพูดนี่ไม่ผิดเลยนะ แต่ถ้าคนไม่เป็นนะ ใหม่ๆ ก็ยืนหลักได้ แต่พอปลายๆ เพราะการเทศน์ทุกวันๆ การสอนทุกวันๆ มันต้องยกเหตุผลเรื่อยๆ แล้วพอมันเคลื่อนไปแล้วนะ ไหลไปเลย กลับไม่ได้ ไหลแล้ว อันนี้ก็เหมือนในสมัยพุทธกาล เวลาเทศน์ก็เทศน์ธรรมะพระพุทธเจ้า เทศน์ให้คนศรัทธากูเว้ย มีความคิดอะไรก็พูดไปเลยทีนี้ ไม่ใช่พระพุทธเจ้าแล้ว นี่ของกูแล้ว แล้วก็ตกนรกอเวจีไปเลย

ของจริงมีอยู่ เพราะว่ากรณีอย่างนี้ อย่างมหายาน พวกเซนเขาทำได้ แต่ทำได้ เขาต้องเข้มแข็ง แล้วทำได้ เราพูดตรงนี้บ่อย ใหม่ๆ เริ่มต้นเราพูดตรงนี้เลย ถ้าอย่างเซน เขานั่ง ๗ วัน ๗ คืน เซน ญี่ปุ่นน่ะ เขาเป็นหมอ แล้วอาจารย์เขาสอนว่า ตบมือข้างเดียวนี่เสียงอะไร?

ไอ้หมอนั่นมันก็รักษาคนไข้ พอเสียงน้ำตก จิตมันเริ่มได้ยินเสียงน้ำตกมันตก วิ่งไปหาอาจารย์เลย “เสียงเหมือนน้ำตก” อาจารย์บอกว่า “ไม่ใช่” มันก็ไปนั่งคิดของมันอยู่นั่น ๑๔ ปีนะ พอคิดจนจิตมันหยุดนะ คิดแล้ว คิดมันไปไม่ได้ คิดใช่ไหม พอไปถามอาจารย์ พอถึงเวลาไปถามอาจารย์ว่าจะให้คิดอย่างไรต่อไป อาจารย์บอก “มึงไม่ต้องคิดหรอก มึงไม่ต้องคิดหรอก.. กูหลอกมึง กูหลอกให้มึงตรึกไง” นี่ในเซนนะ ๑๔ ปีนะ ตบมือข้างเดียวเสียงอะไรนี่ ตบมือข้างเดียวมันมีเสียงอะไรนี่ ๑๔ ปี ไปดูเขาปฏิบัติกัน นั่งที ๗ วัน ๗ คืน

ไอ้ที่ว่าดูจิต ไอ้ปัญญาอบรมสมาธิ มันเรื่องหนึ่ง ทีนี้คนในโลกที่เขาติดน่ะ เขาติดว่ามันทำง่าย แล้วได้ผลง่าย พอมันทำง่ายได้ผลง่ายนะ.. จริงๆ น่ะ เราไม่อยากยุ่งเรื่องนี้เลยนะ ไม่อยากยุ่งเลย แต่ทีนี้เพราะพวกลูกศิษย์เขาพยายามมาถามปัญหา เขาถามปัญหาเพราะอะไร เพราะญาติพี่น้องเขาไป ไอ้คนที่เขาออกไป ที่คนเขาออกไปโต้แย้ง เพราะเขาทนไม่ได้กับญาติพี่น้องเขาอยู่ในนั้น แล้วเขาก็มาปรึกษาเราๆ ตอนเริ่มต้นเขาปรึกษาเราว่าเป็นอย่างไร เราบอกว่า “ผิดล้านเปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ผิด”

“หลวงพ่อมั่นใจเหรอ”

“กูมั่นใจ! กูมั่นใจ!”

“ฉะนั้นพอไม่ใช่ ไม่ใช่เพราะเหตุใดล่ะ”

เราก็อธิบายให้เขาฟังไง พออธิบายให้เขาฟังปั๊บ เขาก็ได้ปัญญาจากเรา เขาก็เริ่มไปโต้แย้งไง นี่พอโต้แย้งไป เขาก็มาถามเรา เรานี่มั่นใจมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว แต่พูดไปน่ะ มันเป็นปรัชญา มันปลิ้นไปได้ตลอด เพียงแต่ตอนหลังเขาพูดออกมามาก หลักฐานมันเยอะไง แล้วตอนหลังเขาเอามาให้ดู เราไม่มีนะ เพราะเราไม่ยุ่งกับเขาเลย แต่ตอนหลังลูกศิษย์เขาเอามาให้ พอเราดูหนังสือนี่แหม.. มันเศร้าใจมากๆ เลย เพราะว่ามันแว็บเป็นโสดาบันอย่างนี้ เห็นจิตแว็บเป็นโสดาบัน แล้วพอเป็นโสดาบันนะ

แล้วพอคนที่เขาไม่เป็นน่ะ ผู้หญิงมีอยู่คนหนึ่งเขาไม่เป็น เขาไปหา เขาบอกว่า แว็บ.. คนนี้เป็นโสดาบัน

ผู้หญิงเขาบอกว่า “หนูไม่รู้เรื่องอะไรเลยนะ”

“นั่นแหละเป็นโสดาบัน”

“ทำไม?”

“ก็ไม่รู้ มันถึงเป็นโสดาบัน ถ้ารู้ก็มีเจตนาไง มันเป็นตัณหา”

โอ้โฮ.. กูปวดหัวเลย เพราะคนที่ได้โสดาบันเขาบอก เขาไม่รู้เรื่องอะไรเลยนะ เรามีไฟล์เสียง มีทุกอย่างพร้อม เพราะลูกศิษย์เขาเอามาให้ฟัง

พระ: ไม่มีปัจจัตตังเลยนะครับ

หลวงพ่อ: นี่ไง.. เปล่า.. ตัวเองมันไม่มีอยู่แล้วใช่ไหม พอตัวเองไม่มีน่ะ พอไม่มีมันกล้าพูดอย่างนี้มา ไปรับรองเขาเป็นโสดาบันๆ กล้าไหม ถ้าตัวเองมี แล้วพอรับรองไปแล้ว เขาปฏิเสธชัดๆ อยู่อย่างนั้นน่ะ พอเขาปฏิเสธชัดๆ มันหลีกไม่ได้ ไม่ได้เพราะอะไร ไม่ได้เพราะมันมีคนนั่งคุยกันด้วยไง ถ้าเอ็งบอกว่านี่เป็นโสดาบัน แล้วเขาบอกเขาไม่ใช่โสดาบัน แล้วเอ็งย้อนไปว่าเป็นโสดาบันน่ะ เอ็งจะเอาหน้าไว้ที่ไหน

พระ: ใช่ครับ (หัวเราะ)

หลวงพ่อ: เพราะมันมีคนนั่งอยู่ด้วย นี่เราเห็นแบบนี้มันไม่ไหวเว้ย เพราะอะไรรู้ไหม เพราะเขาทำอย่างนี้ สังคมก็ไม่ว่าอะไร ทุกคนก็เชื่อถือศรัทธา เขาทำอะไร ใครๆ ก็เออออห่อหมกหมดเลย แล้วมันจะไปไหนกันล่ะ สังคมนี้

แล้วยิ่งดูในคำสอนของเขาน่ะ “ถิรสัญญา” ปัญญาเขาไม่มี พอเขาไม่มีปัญญา ปัญญาไม่มี มันพูดถึงปัญญาไม่เป็นไง พอพูดถึงปัญญาไม่เป็นก็บอกว่า จิตดวงหนึ่ง จิตดวงเก่ามันย่อยสลายไป จนกลายเป็นจิตดวงใหม่ จิตดวงใหม่ก็จำจิตดวงเก่า จิตดวงใหม่จำจิตดวงเก่าบ่อยๆ เข้า จนเป็นถิรสัญญา เป็นปัญญา...

สัญญาเป็นปัญญาได้ไหม? มึงจำจนเป็นปัญญานี่ได้ไหม?

พระ: เออ.. ผมต้องการปัญญานะครับ

หลวงพ่อ: เออ.. กูก็งงน่ะ เพราะเราอ่านปั๊บมันสะเทือนใจหมดน่ะ.. จำจนเป็นปัญญาน่ะ

พระ: ขอโอกาสนะครับครูจารย์ ผมก็ศึกษาว่าข้อวัตรปฏิบัติที่ว่าเพิ่นจะสอนเรื่องสติกับลูกศิษย์ กับปัญญากับลูกศิษย์ ครูบาอาจารย์ไม่สอนได้อย่างไร โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับว่าปฏิภาณโวหาร หรือการแก้ไขสาธารณะในปัจจุบันเพิ่นจะฝึกสติ แล้วก็จี้ไชให้เกิดความตื่นตัวขึ้นมา แล้วพลิกแพลงให้ได้

หลวงพ่อ: ใคร?

พระ: เออ.. ที่ผมอยู่ครับผม พูดอย่างนี้ ผมก็ดูว่าครูบาอาจารย์เพิ่นสอนอย่างไร เพราะว่าเรื่องปัญญา แต่ต้องมีปัญญาแบบหยาบๆ ก่อน

หลวงพ่อ: ใช่

พระ: เพิ่นบอกว่า ขนาดนี้หยาบๆ ยังทำไม่ได้เลย ทำแค่ข้อวัตรปฏิบัติ ข้างในยังขุ่นมัว มันจะเอาอะไรไปขัด คือเหมือนว่า อ๋อ.. แสดงว่าครูบาอาจารย์มีสอนลักษณะอย่างนี้ แล้วก็โอปนยิโกแทงเข้ามาข้างใน แต่ทีนี้มันจะต้องเป็นลักษณะของกระบวนการที่เร็วมาก

หลวงพ่อ: มันต้องฝึกเข้าไปไง

พระ: ครับผม

หลวงพ่อ: มันต้องฝึกเข้าไป เพราะข้างนอกยังไม่ได้ เพราะหลวงตาท่านพูดบ่อย เราอยู่กับท่านนะ ท่านบอกว่า “เวลาทำอะไรน่ะ ใครคิดขึ้นเองนี่เราพอใจมาก แต่ถ้าใครทำตามสั่ง เราไม่ค่อยเห็นด้วยเลย” คือต้องรอให้ท่านสั่ง ท่านบอกว่า “โง่เกินไป”

พระ: เหมือนคิดอะไรไม่เป็น

หลวงพ่อ: (หัวเราะ) ท่านพูดกับเรา เออ.. ถ้าใครคิดเองทำเองนะ มันจะผิดก็ผิด แต่ท่านก็ยังภูมิใจ เพราะมันหัดคิดหัดทำ แต่ถ้ามันไม่คิดเลย มันจะรอให้สั่งอย่างเดียว ท่านบอกว่า “อย่างนี้เราไม่พอใจ” แต่อย่างนี้มันก็เป็นเรื่องจากข้างนอกเข้ามาใช่ไหม

พระ: ครับผม

หลวงพ่อ: ไอ้อย่างนี้.. ฉะนั้น ถ้ากรณีอย่างนี้ เราถึงบอกว่านะ พระที่เสียๆ ส่วนใหญ่ ไม่ได้ขอนิสัยครูบาอาจารย์ อย่างเช่นที่เขาบวชน่ะ เขาบวชแล้วเขาเป็นอาจารย์เลย

สังเกตได้นะ พระองค์ไหนบวชแล้วเป็นอาจารย์เลย ส่วนใหญ่แล้ว (โทษนะ) เอาตัวแทบไม่รอดหรือไม่รอดเลย แต่อย่างเช่นหลวงตา ท่านอยู่กับหลวงปู่มั่นมา ท่านเป็นมหามา ท่านเป็นอาจารย์ได้เลย แต่ท่านบอกเวลาท่านนึกถึงนิพพาน เวลาอยากได้นิพพานน่ะ “มีใครช่วยบอกเราที ถ้ามีใครบอกเราได้ เราจะมอบชีวิตกับองค์นั้นเลย” จบมหามานะ

ไปหาหลวงปู่มั่นน่ะ พูดคำไหนคำนั้น.. คำไหนคำนั้น.. พอพูดเสร็จ หลวงตาท่านเปิดพระไตรปิฎก เพี๊ยะ.. เพี๊ยะหมดน่ะ มันก็ดึงกันมาๆ ดึงกันเข้ามาๆ นี่มันมีครูบาอาจารย์ เราได้นิสัยไง คือเราได้ความจริงไง เราได้..

ประสาเรา เราฝึกงาน มีคนเป็นงานปั้นเรามาเลย แต่เราฝึกงาน เราไม่มีคนเป็นบอก เราฝึกงานโดยที่เอาประสบการณ์อย่างเดียว ไม่มีใครคอยแนะนำเลย แต่เวลามีครูบาอาจารย์ เราฝึกงาน แล้วมีอาจารย์คอยบอก พอผิด “ผั๊วะ!” ผิดก็ “ผั๊วะ!” นี่เรียกว่าได้นิสัย แล้วมันส่งต่อกันมาไง

เราสังเกตได้ ครูบาอาจารย์องค์ไหน ถ้ามีครูบาอาจารย์ที่ดีส่งต่อกันมา แล้วเคารพครูบาอาจารย์ องค์นั้นไม่เสีย แต่ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์นะ เราคิดเองไง เถรส่องบาตรน่ะ เห็นเขาส่อง กูก็ส่อง แต่กูไม่รู้เขาส่องเรื่องอะไร แต่อาจารย์บอก เขาส่องเพื่อเขาดูว่ามันบุบ มันรั่วไหม มันทะลุไหม แสงเงามันเข้ามาไหม เห็นเขาส่องน่ะ เขาส่องมีความหมาย เขาส่องว่าเขาดูว่าบาตรนี่มันชำรุดทรุดโทรมไหม ไอ้เราเช็ดบาตรเสร็จแล้วก็ส่อง แล้วก็เก็บ อ้าว.. กูก็ส่องด้วย แต่กูไม่รู้ส่องทำไม นี่เพราะไม่มีครูบาอาจารย์ ถ้ามีครูบาอาจารย์ปั๊บ ถ้าสักแต่ว่า ไม่ศึกษา ก็อดอีกน่ะ.. มันก็ต้องศึกษา ต้องศึกษากับครูบาอาจารย์

ฉะนั้น กรณีอย่างนี้ เพราะพวกเขาบอกว่า พวกนี้เขาไม่มี เขาไม่มีอาจารย์...หนึ่ง แล้วเราคิดในใจของเรานะ เราคิดของเราเองนะ เราคิดว่าเขาทุจริต อาจารย์น่ะมี หลวงปู่ดูลย์น่ะมีชีวิตอยู่ เขาก็รอจนหลวงปู่ดูลย์ตายแล้วค่อยบวช พวกนี้ทุจริตมาตั้งแต่ต้น เราว่าพวกนี้นะ มันเหมือนกับวางพล็อตเรื่องไว้แล้วไง เขาวางแผนของเขาไว้แล้ว เหมือนกับเมื่อก่อน เห็นไหม หลวงปู่แหวน นิกรเขาบอกว่าเป็นหลาน หลวงปู่ฝั้นภาวนาพุทโธ ก็ว่าเป็นหลาน

พุทโธๆ น่ะ หลวงปู่ฝั้นบอกพุทโธๆ ภาวนาพุทโธ เขาบอกเขาเป็นเณรนะ ตั้งแต่เขาอยู่กับหลวงปู่ฝั้นนะ พวกนี้เวลาเขามาเขาจะอ้างเป็นลูกเป็นหลานครูบาอาจารย์ กรณีทางโลกมันมีกระบวนการของเขาอย่างนี้กันอยู่

แล้วกรณีอย่างนี้ จริงๆ หลวงปู่ดูลย์ท่านก็มีชีวิต ตอนเทศน์ท่านก็มีชีวิตอยู่ ทำไมไม่บวชตอนนั้น ทำไมไม่ทำตอนนั้น แล้วเราได้ข่าวมาว่าเขาเข้าไม่ค่อยติดหรอก เพราะครูบาอาจารย์ท่านรู้นิสัย ท่านกันไม่ให้เข้า ก็รอให้หลวงปู่ดูลย์ท่านล่วงไปแล้ว แล้วบวชเสร็จปั๊บ พวกนี้ก็สวมหมดเลย ทีนี้ทางลูกศิษย์ครูบาอาจารย์เขาก็ไม่มีใครมีปากมีเสียง

มันก็แปลกนะ อยู่ดีๆ เรื่องนี้มันมายุ่งกับเราได้อย่างไรก็ไม่รู้ ไม่รู้จริงๆ นะ มันบังเอิญ บังเอิญลูกศิษย์น่ะ ญาติพี่น้องเขาเข้าไปเข้า แล้วมันไม่ใช่คนๆ เดียว แล้วเราพูดกับเขาเอง “อย่า! อย่า! อย่ายุ่งนะ! อย่ายุ่งนะ!” มันไปจัดการกันหมดเลย ทีนี้พอไปจัดการ เรื่องมันเกิดขึ้นมาแล้ว พอเรื่องมันเป็นปัญหาขึ้นมาแล้ว เราจะดูดายได้อย่างไร เราก็ต้องเข้าไปรับผิดชอบ พอเข้าไปรับผิดชอบนะ มาสิ กูชี้ได้หมด

แล้วหนังสือที่เอามาให้ โอ้โฮ.. มันน่าเกลียด มันน่าเกลียดจนเราคิดอย่างนี้นะ เราคิดว่านะ ถ้าพวกเราไม่จัดการอะไรกันก็แล้วแต่ ต่อไปเขาจะสื่อสิ่งที่ผิดพลาดออกมามากกว่านี้ แล้วพอเกิดถ้ามีฝ่ายเจ้าหน้าที่หรือลัทธิอื่นเขาเข้ามาแฉโพยน่ะ ตอนนั้นยุ่งกว่านี้นะ เราห่วงตรงนี้มากกว่า เพราะขนาดเราดูนะ อู้ฮู.. ผิดไปหมดเลย แล้วเกิดถ้าเราไม่ได้พูดอะไรไป เขาจะเหลิงไหม พอเขาจะเหลิง เขาจะแสดงออกไปน่ะ เขาแสดงออกไปโดยที่ไม่มีใครไปตรวจสอบแล้วนะ มันจะออกไปมากกว่านี้

แล้วเกิดถ้ามีลัทธิไหน หรือเขาเข้ามาบ่อนทำลาย เขาเอาตรงนี้มาเป็นเหตุนะ เราคิดของเราอย่างนี้นะ ถ้าเอาตรงนี้มาเป็นเหตุ มันหมดทั้งยวง พวกเราจะไปกันหมดเลย เราก็เลย.. พอออกไปแล้วก็ยืนยันไว้นะ ฉะนั้น พอยืนยันไว้ปั๊บ มันก็เหมือนเรา เราทำอะไรมีคนตรวจสอบ มันก็ต้องระวังหน่อยนะ (หัวเราะ) ต่อไปนี่นะ เอ็งพูดผิด มีคนเช็คนะ มันก็ระวังหน่อยหนึ่ง ถ้าระวังหน่อยหนึ่ง มันก็ทำให้ศาสนาเรามันไม่ต้องเสียหายจนมากเกินไป

มันเป็นจริตของเขา มันเป็นคนคิดอย่างนั้น ถ้าคิดอย่างนั้น เราคิดว่าเขารู้ตัวหมด เพราะเราย้อนกลับมาที่การปฏิบัติของพวกเราไง อย่างพวกเรา เวลาใหม่ๆ ถ้าเราไม่เข้าใจว่าเราหลง เราก็ยังยึดมั่นนะ แต่ถ้าวันไหนเราหลงนะ เรารู้ตัว เราเสียใจไหม

พระ: ครับ เสียใจ เสียเวลา

หลวงพ่อ: แล้วเขาล่ะ? เขาต้องรู้! รู้เพราะอะไร รู้เพราะมีเรื่องขึ้นมานี่.. ใจมันเป็นอย่างไร

พระ: ใจขุ่น (หัวเราะ)

หลวงพ่อ: (หัวเราะ) เอ็งไปรู้ได้ไงเนี่ย

พระ: (หัวเราะ)

หลวงพ่อ: อ้าว ไม่รู้ เอ็งจะพลิกไปพลิกมาอย่างนี้ทำไม แล้วทำไมไม่ยอมรับความจริง นี่ไง มันก็อย่างว่ามันเริ่มต้นมาตั้งแต่แรก เราถึงบอกว่ามันอยู่ที่เจตนาไง เจตนาพวกเราบวชเพื่ออะไร? บวชเพื่อจะพ้นจากทุกข์ หรือจะบวชเข้ามาเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ เราบวชมาทำไม ถ้าบวชมาเพื่อพ้นจากทุกข์ ถ้ามันมีผิดพลาดเราก็ต้องรีบแก้ไข ถ้ามันแก้ไขได้

เรารอนะ เราไม่ได้พูดทิ้งนะ เราบอกมีอะไรคุยกันได้เลยล่ะ ผิดนี่ ชี้ให้ว่ามันผิดตรงไหน แล้วทำอย่างไร แล้วแก้ให้ถูก แก้อย่างไร

พระ: ครูจารย์ ขอโอกาสครับ ในส่วนที่ว่าเป็นข้อวัตรปฏิบัติ หรือว่าสร้างสติ สร้างปัญญาในสายของพระป่าครับ ที่ฝึกข้อวัตรมาเพื่อที่ให้จิตทรงตัวในส่วนของฐานตรงนี้ก่อน แล้วก็ให้ส่งไปวิเวก ไปภาวนาอย่างนี้ครับ ในส่วนของพระด้วยกันนี่ครับ ครูจารย์ก็.. ขอโอกาสครับ.. ก็มีรูปแบบนี้ครับ แล้วนี่ในส่วนของพระที่ถ่ายทอดให้กับโยมครับผม

หลวงพ่อ: ถ่ายทอดให้กับโยม ส่วนใหญ่แล้ว ส่วนใหญ่นะ ถ้าถ่ายทอดให้โยม ถ้าโยมโดยทั่วไปตอนนี้ โยมทั่วไป นี่พระเราไม่มีหลัก ย้อนกลับมาถึงพระ พระทำไมไม่มีหลัก พอพระไม่มีหลัก เราก็คิดว่าต้องถ่ายทอดให้โยม สังเกตได้ ในเว็บไซต์เราจะพูดอย่างนี้ เราจะพูดเลย “ทำไมต้องปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ชีวิตประจำวันมีค่ากว่าธรรมะอีกเหรอวะ ธรรมะต้องมีค่ากว่าชีวิตประจำวันมึงสิ”

นี่เราพูดอย่างนี้เพราะเราน้อยใจไง เราน้อยใจว่าใครๆ ก็บอกว่าปฏิบัติเพื่อชีวิตประจำวันๆ ไอ้ห่า.. แล้วธรรมะกูก็ไม่มีค่าอะไรเลยเหรอ มึงมาเอาชีวิตประจำวันเหยียบธรรมะกู แล้วธรรมะกูจะเกิดได้อย่างไรล่ะ เราจะบอกว่าพระเรานี่อ่อนแอ พออ่อนแอขึ้นมา

เพราะอย่างหลวงปู่มั่น แม่เอาเข้ามา หรือครูบาอาจารย์เข้ามา เอาผู้ปฏิบัติเข้ามา เขาต้องเข้มแข็ง เขาต้องเข้มงวดเข้ามา แต่ในปัจจุบันนะ เรา พวกเรานี่อ่อนแอ อ่อนแอ ไปให้ความสะดวกเขาหมดเลย ทุกอย่างเลย แล้วเดี๋ยวนี้นะ ในกรุงเทพฯ ห้องแอร์ทั้งนั้นเลย กูบอกเลยนะ ถ้าพูดถึงอยู่ห้องแอร์แล้วปฏิบัติได้นะ กูจะติดแอร์ให้พวกมึง

ถ้ากูติดแอร์ให้พวกมึงนะ แล้วกูเอาอาหารมาเลี้ยงหมูพวกมึงนะ แล้วเป็นพระอรหันต์ได้นะ กูทำให้ทันทีเลย เพราะเงินกูมี กูทำได้หมดเลย กูจะทำให้สะดวกสบายเลยนะ กูจะป้อนมึงเลยนะ กินนอนอย่างสุขสบายเลย อยู่ในห้องแอร์เลย แล้วเป็นพระอรหันต์กัน.. ไอ้นี่มันไปเข้าทางกิเลสน่ะ พอมันเข้าทางกิเลส ทำไมพระทำ

ตอนนี้นะ พระอำนวยความสะดวกให้ผู้ปฏิบัติทั้งนั้น แล้วมึงปฏิบัติเอาอะไรกัน ประสากูจะบอกว่า พระก็หลอก โยมก็ไม่รู้ว่าพระหลอก โยมเห็นว่าพระ แล้วพระเอาใจหน่อย โยมก็ว่านี่ปฏิบัติทางนี้ดี แล้วดีมึงได้อะไร

พระ: ครูจารย์ ผมขอโอกาสครับ พวกผม โดยความรู้สึกพวกผม ประสบการณ์มานี่ คนเราจะได้ธรรมะก็เมื่อจากว่าเราต้องเจอวิกฤตการต่อสู้อะไรบางอย่าง แล้วปัญญาจะผลิขึ้นมา

หลวงพ่อ: นั่นน่ะ หลวงตาบอกว่า “ปัญญามันจะเกิดต่อเมื่อเราจนตรอก”

พระ: ครับ

หลวงพ่อ: ถ้าเราจนตรอก.. ทีนี้ปัญญาอย่างนั้นมันเป็นปัญญา คำว่าวิกฤตน่ะ ปัญญามันเกิดจากการภาวนา ถ้าอย่างนั้นนะ ถ้าโดยหลักเราเห็นด้วย ฉะนั้น โดยจะให้เขามาทำแบบเรา มันเป็นไปไม่ได้ ทีนี้พอเป็นไปไม่ได้ปั๊บ เราถึงต้องยืนโดยหลักไว้ไง แล้วให้เขาภาวนากันเองไง ถ้าใครจะต้องเป็นอย่างนั้นก็ให้เป็นอย่างนั้น แต่ถ้าใครภาวนาแล้วแบบว่านุ่มๆ นวลๆ หรือพอเป็นไปได้ก็เรื่องของเขา เพียงแต่เราต้องยืนหลักไว้ ยืนหลักคือว่าประสาเรายืนอยู่กับความจริงไง แล้วเขาปฏิบัติตามนิสัยของเขา แต่ทีนี้เราไม่น่ะ

เพราะมีโยมเขามาที่นี่ เขามากันหลายๆ คนเลย แล้วเขาก็หายกันไป เหลือคนสองคนน่ะ แล้วเขามาพูดกับเราน่ะ “หลวงพ่อ เพื่อนๆ หนูเขาเป็นคุณหนูกันหมด เขาไม่มาหาหลวงพ่อหรอก เขาชอบไปทางนู้น เขาเป็นคุณหนู” เขาว่ากันน่ะ เราบอก “เออ”

ไอ้คนที่เขามาที่นี่ แล้วเพื่อนเขาก็ติเขาบอกว่าไอ้พวกนี้อัตตกิลมถานุโยค ทำไมต้องทำขนาดนี้ มึงทำมาแล้วเหนื่อยเปล่า ทำแล้วหนักเปล่า กูไปเป็นคุณหนูดีกว่า แล้วไปหาคุณหนูนะ เขาก็ โอ๋ย.. ให้นู่นให้นี่ ไอ้พวกคุณหนูนั้นมีความสุข.. ประสาเรานะ เราดูนะ เหมือนกับไปปฏิสันถารกันก็เท่านั้นเอง ก็ไปปฏิสันถารกัน ไปคุยกับพระ ไปอยู่ในวัด แล้วก็มีความรื่นเริง มีความสุข ก็เท่านั้นน่ะ แต่เขาชอบ

แล้วไอ้คนที่เขาปฏิบัติจริงน่ะ ที่เขาอยู่ที่นี่มีอยู่คนเดียว เขามาพูดกับเราเอง เขาบอก “หลวงพ่อ เพื่อนๆ หนูน่ะเขาไปที่อื่นหมดเลย เพราะที่อื่นเขาสะดวกสบาย เขาเป็นคุณหนูกัน แล้วเขาก็มาติโยม” ก็มาติเขาว่ามึงปฏิบัติหัวปักหัวปำ มึงปฏิบัติแล้ว..

แต่เขาบอกว่าถ้าเขาปฏิบัติแล้ว เขารักษาใจเขาได้ เขาทำงานไง เขาบอกเวลาเขาทำงานนะ เขาเข้าประชุมอย่างนี้ ถ้าเขาปฏิบัติดีๆ เขาก็ผ่านการประชุมได้สุขสบาย แต่ถ้าเขาปฏิบัติไม่ดีนะ เวลาเขาประชุมนะ เขาเครียด เวลาคนพูดอะไรมากระทบเขานี่เขาทุกข์มากเลย เขาได้ผลของเขา แต่เพื่อนเขาบอกว่าเขาปฏิบัติเกินกว่าเหตุ พยายามจะมาทิ่มมาแทงเขา นี่เราเห็นนะ โอ.. เดี๋ยวนี้พระมันเป็นอย่างนั้นไปหมด

ฉะนั้น ไอ้นี่เขาพูดให้ฟังเฉยๆ พอฟังเฉยๆ ปั๊บ ไอ้อย่างเราน่ะ เราก็ดูแลของเรานี่ล่ะ เพราะอะไร เพราะเขาเห็นผลของเขา ธรรมะเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก เป็นของที่เรารู้ขึ้นมา ใครจะว่าดีว่าชั่ว นั่นลมปากของคน นี่พูดถึงว่าเราจะปฏิบัติอย่างไร จะถ่ายทอดให้โยมอย่างไร

เพราะว่าในครูบาอาจารย์ท่านบอกแล้ว ต่อไป คนที่ถ่ายทอดธรรมะจะเป็นโยมหมดน่ะ พระจะไม่มีแล้วล่ะ คนถ่ายทอดธรรมะเป็นโยมทั้งนั้นน่ะ เพราะโยมมันเยอะไง นี่โยมฝ่ายปฏิบัติ แล้วโลกมันแคบ ขนาดเราสลดสังเวช

ก็มีลูกศิษย์คนหนึ่ง เขามาจากที่อื่นน่ะ เขาบอกว่าเขานี่นะเป็นคริสต์มาก่อน ตอนนี้เขาสนใจปฏิบัติมากเลย เขาติดของเขา เขาบอกว่าเขาไปปฏิบัติ เขาพูดนี่แหม.. พองเต็มที่เลยนะ เขาบอกทำไมล่ะ อ้าว.. คนไปปฏิบัติต้องเป็นปัญญาชน เพราะเขาพูดภาษาอังกฤษ เขาไปเรียนภาษาอังกฤษ เราบอก โอ.. แค่นี้

พระ: จะเอามาอวด

หลวงพ่อ: แค่นี้!

พระ: (หัวเราะ)

หลวงพ่อ: ดูคนสิ ก็แค่ปฏิบัติแล้วว่าภาษาอังกฤษ เพราะฉะนั้นเราบอกเลย มันมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ไหม ถ้าไม่มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่มีรัตนตรัย เอ็งจะเข้าถึงธรรมได้ไหม แล้วเดี๋ยวถ้าอย่างนี้คฤหัสถ์ที่เขาไม่ได้บวช เขาเข้าถึงธรรมไหม ได้สิ เพราะเขาเข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วนี่เอ็งปฏิบัติ เอ็งเห็นพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ไหม.. เงียบเลยนะ พอเริ่มต้นน่ะ เราจะเริ่มต้นนะ เราก็รัตนตรัยของเราใช่ไหม เราจะเป็นพุทธมามกะ เราก็ต้องไอ้นั่นก่อนใช่ไหม

แต่ทีนี้เวลาเขาพูดน่ะ (เพราะเราฟังแล้ว) สู้กับเวทนา อยู่กับเวทนา อารมณ์อยู่กับเวทนา ถ้าอย่างนั้นมันก็เป็นปัญญาอบรมสมาธิ ก็เท่านั้นเอง เพราะว่าพวกนี้เราไม่เชื่อว่าเขาจะทะลุเข้าไปข้างในได้ เราไม่เชื่อ พวกนี้เราไม่เชื่อว่าเขาจะทะลุเข้าข้างในได้

ถ้าทะลุข้างในได้ อย่างเช่น หลวงปู่จันทร์เรียนอย่างนี้ หลวงปู่ลีอย่างนี้ หลวงตาเรานี่ ครูบาอาจารย์เรา ถ้าทะลุเข้าไปสู่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์แล้วนะ ใจนี่เป็นอีกชั้นหนึ่งเลย แล้วมองโลกนี่นะเป็นอีกอย่างหนึ่งเลย ถ้าพระองค์ไหนยังมองโลกยังเอื้อกับโลก เอื้อกับสมมุติไง คือว่าจิตใจยังไม่พ้นจากโลกธรรม ถ้าจิตใจมันพุ่งเข้ารัตนตรัยแล้วนะ

คิดดูสิ อย่างเราขึ้นมาจากที่ต่ำขึ้นมาที่สูง เอ็งจะลงไปทำไมอีก มันลงไปไม่ได้ แต่ทำไมพวกพระยังทำอย่างนั้นกันอยู่ ไอ้พวกที่ทำอย่างนั้นนะ ในสายตาเรานะ จริงๆ นะ เรา.. ไอ้นี่.. เด็กๆ กูยังดีกว่ามึงอีก!

เราบวชมาเพื่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เราอยากจะพ้นจากทุกข์ มึงน้อมตัวลงไปกินขี้ทำไม ถ้ามึงยังกินขี้ มึงเลวกว่าหมา

พระ: เรื่องนี้ก็ผมกราบขอโอกาสนะครับครูจารย์ สมัยก่อนนี่เข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ที่ใจก่อน แล้วค่อยเป็นสรณะขึ้นมา แต่สมัยนี้พูดแต่ปาก

หลวงพ่อ: พฤติกรรมไง เห็นไว้ โลกมันเป็นแบบนั้น

พระ: ผมขอโอกาสครับ เวลาในภาคปฏิบัติทุกคนย่อมมีอุปสรรค มีปัญหาแน่นอน แต่น้อยคนนักที่เห็นพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะที่พึ่ง แล้วตรงนี้เป็นกำลังแก้ไขเข้ามาจริงๆ

หลวงพ่อ: ใช่

พระ: คือว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ กว่าท่านจะผ่านมา ท่านก็มีอุปสรรคตรงนี้เหมือนกัน

หลวงพ่อ: บางคนเขาพูดบ่อยว่าเขาไปนับถือศาสนาคริสต์ เพราะศาสนาคริสต์ เวลาเขาถึงพระเจ้า แล้วเขาสวด เขาร้องเพลงกันนั่นน่ะ เขาแก้วิกฤตของเขาได้นะ เขาเหมือนกับเขามีฤทธิ์น่ะ แล้วพอมาสู่ชาวพุทธเรา ชาวพุทธเราช่วยอะไรกันไม่ได้ แล้วชาวพุทธเชื่อเรื่องกรรมๆ ทีนี้พอคำว่าเชื่อเรื่องกรรม เพราะเรื่องกรรมมันเรื่องวิบาก เรื่องผล แต่เรื่องกรรมมันจะเกิดน่ะ ใครเป็นคนรับกรรม? ก็คือใจ เพราะถ้าใจเป็นคนรับกรรม

ถ้าเราศึกษาธรรมะแล้ว เราเข้าใจเรื่องสัจธรรมแล้ว พอเราเจอเรื่องวิกฤต มันทำให้เรายอมรับได้ไง ทีนี้พอเราเจออะไร เราจะคิดแบบวิทยาศาสตร์ไง คือว่าให้มันหายไปเลย แต่ถ้าพอเป็นธรรม พอเราเกิดอะไรขึ้น จิตใจเรามันสูงกว่า สิ่งนั้นมีอยู่ “น้ำอยู่บนใบบัว” เราปฏิเสธสิ่งนั้นไม่ได้หรอก สิ่งนั้นมีอยู่ แต่ใจเรามันไม่ทุกข์ไง

แต่นี่เป็นเรา เราปฏิเสธหมด เพราะเวลาออกไปข้างนอกมันจะไปเจอพวกคริสต์ พวกคริสต์เขาจะอย่างนั้น เขาว่าพวกเราพวกทุกข์นิยม ของเขามีแต่สุขนิยม แต่สุขนิยมมันก็ผลของวัฏฏะ คือความเกิดความตายของเขา ผลของมัน

หลวงพ่อ: ไปอยู่ที่โน่นไปอยู่กับคนไทยหรืออยู่กับพวกนั้น

พระ: ส่วนมากจะอยู่กับคนไทยครับครูจารย์

หลวงพ่อ: คนไทยก็ค่อยยังชั่วหน่อย

พระ: แต่นี้เป็นลักษณะของสายของพ่อแม่ครูอาจารย์บ้านตาดครับผม พวกเขาศรัทธากันครับผม ดูข้อวัตรปฏิบัติไว้ส่วนหนึ่งแล้วครับผม แล้วพอไปถึงแล้วมันเลยง่าย แต่ว่าในส่วนที่จุดเสียคือที่ผมวิเคราะห์ดูก็คือเวลาผมอยู่ที่ภาคอีสาน ผมจะรู้สึกอบอุ่นเพราะมีครูบาอาจารย์เป็นเถระ เป็นแบบผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ แล้วสถานที่ปฏิบัติเอื้ออำนวย เป็นสถานที่สัปปายะครับผม คือเวลาท่านพูดเทศน์เรื่องรุกขมูลปุ๊บ เราก็เข้าป่าเข้าเขาครับ แล้วปฏิบัติ คือไม่ได้เอาคำพูดของท่านหรือท่านเทศน์ แต่เอาจากการพูดการเทศน์ของท่านมาปฏิบัติ อันนี้ทางนั้นโอกาส.. ยาก

หลวงพ่อ: ไม่มี

พระ: แต่ว่าไม่ใช่ไม่มีครับ ยังมีอยู่ครับ แต่ว่ามันเป็นช่วงฤดูร้อนสั้นๆ น่ะครับ แต่พอพูดอย่างนี้พอไปผู้ที่ลักษณะอยู่สุขสบายของทางด้านวัตถุนิยมนี้นี่ ให้มาทุกข์อย่างนี้ มันจะเริ่มเหลือน้อยลงแล้วครับผม

หลวงพ่อ: เขาพูดอย่างนี้เลย เวลาไปอยู่ทางนู้นน่ะ เขาอยากมีความสุข ทีนี้รุกขมูลส่วนรุกขมูลเราวางไว้ เราต้องบอกว่าถ้าอยู่ทางนู้นนะ ต้องบอกว่าทำความสงบของใจ พระพุทธเจ้าบอกว่า “สุขใดเท่ากับจิตสงบไม่มี” ทีนี้จิตสงบมันทำที่ไหนก็ได้ ปูพื้นฐานของสมาธิก่อน ถ้าอยู่กับพวกนี้นะ เราไม่ต้องไปพูดถึงมรรคผลก่อนเลย เอาให้เขาทำความสงบได้ก่อน เพราะพวกนี้ พอเขาได้ความสงบแล้วนะ พอเขาจะเอามรรคผลน่ะ มรรคผลเกิดจากความสงบนั้น ถ้าไม่มีความสงบเป็นพื้นฐาน มันจะเกิดมรรคผลไม่ได้

ฉะนั้นส่วนใหญ่แล้วเราเห็นนะ เขาไปสอนกัน เขาบอกว่าทางยุโรปทุกคน เขาพูดถึงโยม เขาสมบูรณ์ของเขาแล้ว แต่เขายังขาดความรู้สึกอยู่ ทีนี้ขาดปั๊บ เราต้องเอาความสงบก่อน เพราะความสงบ เหมือนกับของที่ใกล้มือ เขาหยิบได้ก่อน หยิบได้ง่าย แล้วหยิบได้ก่อน ถ้าหยิบได้ง่าย หยิบได้ก่อน มันดีกว่าของที่หยิบยากไปไกลแล้วเราหยิบกัน ถ้าหยิบได้ง่ายก่อน เขาได้พิสูจน์ก่อน มันจะมั่นคงแล้ว เพราะเขาหยิบของที่ใกล้ได้ก่อน หยิบแล้วมันพิสูจน์ได้ก่อนปั๊บ ไอ้นี่พิสูจน์แล้วใช่ไหม แล้วมันมีดีกว่านี้อีก เพราะฉะนั้นศาสนาสอนดีกว่านี้อีก ไปอีกขั้นหนึ่งน่ะ

พระ: พูดถึง.. ครูจารย์ ขอโอกาส.. ครูจารย์ว่าขั้นนี้น่ะครับ ต้องเว้นจากบ่วงของมาร

หลวงพ่อ: ใช่

พระ: โอ้โฮ.. ผมดูเขาติดกัน แบบอึ้งน่ะครับ

หลวงพ่อ: อ้าว.. ต้องมีปัญญาไง ถ้ามีปัญญาปั๊บ เวลาเราพูดอย่างนี้บ่อยๆ เพราะเราผ่านอย่างนี้มา คือวิกฤตของเราเองเจออย่างนี้ เพราะว่ามันเป็นอย่างนี้ บวชใหม่ๆ แล้วก็โอ้โฮ.. บวชครั้งแรกเลย บวชพรรษาแรกมันยังไม่ได้ไปอีสาน ก็อ่านหนังสือนี่แหละ “ถ้าจิตพ้นจากอวิชชาคือพระอรหันต์” เราก็พุทโธทุกวัน มันบวชใหม่ๆ มันทุกข์มาก พุทโธๆๆๆๆ จนมันหยุดหมดน่ะ “เอ.. ไม่มีอวิชชา ทำไมกูไม่เป็นพระอรหันต์” ก็จิตกูอยู่กับพุทโธ ไม่มีอวิชชา อวิชชากูไม่มี.. รู้นะ อวิชชากูไม่มี เพราะมันหยุดหมด พุทโธจนนิ่งหมดเลย

“แล้วทำไมกูไม่เป็นพระอรหันต์น่ะ แล้วอวิชชากูก็ไม่มี”

มันต้องแย้งกันไง

๑. ไม่เป็นพระอรหันต์

๒. ก็อวิชชากูไม่มี

นี่กำปั้นทุบดิน นี่ไม่รู้เรื่องนะ นี่ซื่อบื้อ พอซื่อบื้อเสร็จแล้ว พอออกหาครูบาอาจารย์น่ะไปเรื่อยๆ ยังไม่กล้าเข้าบ้านตาด ก็ไปเจอหลวงปู่จวนนั่นน่ะ

พอขึ้นไปคืนนั้นท่านเทศน์ “กิเลสอย่างหยาบของท่านสงบตัวลง กิเลสอย่างกลางท่านยังไม่เห็น กิเลสอย่างละเอียดในใจท่านน่ะอีกเยอะแยะเลย”

“เออ.. จริงว่ะ”

พอทีแรกมันก้ำกึ่งน่ะ คือเราเองน่ะลงไม่ได้ มันติดกับทิฏฐิของตัวเอง ทิฏฐิว่าอ่านหนังสือมาตามทฤษฎีแล้วบอกว่าอวิชชาดับต้องเป็นพระอรหันต์ เพราะตามทฤษฎีเขาเขียนไว้อย่างนั้น แล้วกูเอาพุทโธจนอวิชชาดับหมดแล้ว แล้วกูก็รู้ว่ากูไม่เป็นพระอรหันต์หรอก แต่ตำรามันบอกว่ากูเป็นพระอรหันต์ กูก็อยากเรียกร้องสิทธิ์ตามตำรา เอาพระอรหันต์มาให้กู มันก็คาอยู่ครึ่งหนึ่ง มันคาว่าเราเองก็ไม่ใช่พระอรหันต์ กูรู้ว่ากูไม่ใช่พระอรหันต์หรอก แต่กูก็เรียกร้องตามสิทธิ์ กูจะเอาตามตำรานั้นน่ะ แล้วใครก็แก้กูไม่ได้ ไปถามคนนู้นคนนี้ก็ไปไหนมา สามวาสองศอก เราถึงบอกเราผ่านครูบาอาจารย์มานี่แปลกๆ

พอมาเจอหลวงปู่จวนท่านพูดอย่างนั้น...ผั๊วะ

“เออ.. ใช่”

ใจลงหมดเลยนะ.. เอาละ หมดความสงสัย หมดทุกอย่างหมดแล้ว เริ่มต้น พอเริ่มต้น พอทำไปๆ มันก็ไปตกภวังค์บ้างอะไรบ้าง มันไปไม่รอด พอไปไม่รอดมันน้อยใจนะ ทำไมอาจารย์กูไม่ติดในรส ทำไมอยู่ในป่า หลังภูทอกน่ะ มันมีอาหาร เมื่อก่อนมีอะไรแดก มันก็มีแต่ข้าวเหนียวเนี่ย มีอะไรแดก ทีนี้พอบิณฑบาตมาแล้ว มันตกภวังค์ก็ต้องผ่อนอาหาร แล้วพอมามันก็อิ่มหนึ่ง.. มันก็อิ่มหนึ่ง สติมันไม่ทันไง

พอเข้าทางจงกรมนะ “ทำไมอาจารย์เขาไม่ติดในรส” เมื่อก่อนเราคิดว่ารสนี่นะ ถ้าเราไม่ติดปั๊บ รสก็ต้องไม่มีเลย เราคิดของเราอย่างนั้นนะ คิดแบบภาษาวิทยาศาสตร์น่ะ เดินจงกรมอยู่ ๒ วัน ๒-๓ วันน่ะ ด่าตัวเองนะ พอมาฉันเสร็จกลับไปก็ด่าตัวเอง โทษนะ “ไอ้เหี้ย ไอ้สัตว์ ไอ้ชาติหมา ไอ้เลวทราม มึงนี่ชาติชั่ว มึงนี่โคตรเลว มึงนี่ไม่ใช่คน มึงนี่สัตว์” โอ้โฮ.. ด่าอย่างนั้น ๓ วันน่ะ ด่าตัวเองตลอด เพราะมันทำไม่ได้อย่างเรา ทำไม่ได้อย่างที่คิด ทำไม่ได้อย่างที่ปรารถนา

พอวันที่ ๓ ปิ๊งตรงนี้ขึ้นมาไง “อาจารย์มึงไม่ใช่ตะเข้นะมึง อาจารย์มึงก็มีลิ้นมีปาก อาจารย์มึงก็รู้ว่ารสเป็นรส กลิ่นเป็นกลิ่น” ตัณหามันตัด มันขาดพั้บ! วันรุ่งขึ้นนะ พอไปนะ เช้าขึ้นมา บิณฑบาตมาใช่ไหม เราก็มีอยู่แล้ว เราก็เอาออก มันก็มีอาหารแกงโฮะมา กูตักหยดเดียว กูใส่พอ เพราะสติมันทันหมดไง.. หยดหนึ่ง กับกะละมังหนึ่ง หรือหม้อหนึ่ง มันก็คือรสเดียวกัน กูกินหยดเดียวมันก็เท่ากับกูกินหม้อหนึ่ง.. รูป รส กลิ่น เสียงน่ะ ไม่มีอำนาจเหนือใจกูได้เลย พอตั้งแต่นั้นมานะ คุมได้หมดเลย ทำได้ง่าย สมาธิก็เข้าได้ง่าย รูป รส กลิ่น เสียง นี่รู้ทันหมดเลย แล้วจะเข้ามายุ่งกับใจกูไม่ได้เลย

พระ: ครูจารย์ กราบขอโอกาสครับผม.. ตรงตำแหน่งนี้ ครูจารย์ผ่านมา เรียกว่าความวิกฤตในการที่จะเข้าไปเผชิญกับมัน

หลวงพ่อ: เราผ่านมาเพราะกูอยากจะผ่อนอาหารแล้วกูผ่อนไม่ได้ แหม.. ตักทุกทีเลย มาทีไรก็ตัก มาก็ตัก แล้วกูจะตีมือ แหม.. ก็ตีไม่ทัน มันตักทุกทีเลยนี่ ก็ด่าแหม.. ทุกวันเลย ๓ วันน่ะ ด่าจนวันที่ ๓ พอมันผ่านแล้วนะ ตักสบายมาก ตอนนั้นตกภวังค์ไง พอตกภวังค์ ตอนนั้นนั่งที ๗-๘ ชั่วโมง ตอนนั้นหายเกลี้ยง แก้ไปแก้มา ตอนหลัง จริงๆ นะ เราอยู่นั่น เอาปั้นข้าวไว้แค่คำเดียวน่ะ จะอดอาหารมันก็ไม่ดี เพราะหมู่มันเยอะ เช้าบิณฑบาตกลับมาก็ปั้นอาหารคำเดียวจริงๆ วางไว้ที่ก้นบาตร แล้วรอแกงโฮะมาก็ตักน้ำ แกงโฮะหยอดแล้วก็ไป

แต่ก่อนทำได้อย่างนี้เกือบตายนะ ใหม่ๆ มันไม่ยอมหรอก ใหม่ๆ นะ อย่างไรก็บิณฑบาตมาเว้ย เขาตักก็ตัก กินแล้วอิ่ม.. อ้าว.. ไหนว่ามึงจะผ่อนอาหารน่ะ พอเช็ดบาตรเสร็จค่อยคิดได้ กินเสร็จ อะไรเสร็จ ยังคิดไม่ทันนะ พอเช็ดบาตรเสร็จจะกลับกุฏิ คอตกแล้ว เพราะจะต้องไปเดินจงกรม จะต้องไปโงกง่วงอยู่นั่น ขนาดกินก็ยังไม่มีสติ ยังไม่ทันเลย กินแล้ว ล้างบาตรแล้ว เช็ดบาตรแล้วยังไม่เท่าไร พอเดินออกจากศาลาไปนึกได้

พระ: (หัวเราะ) นาน

หลวงพ่อ: ก็ไล่มาเรื่อย พอเข้าทางจงกรมก็นั่งด่าแหม.. ทั้งวันเลยล่ะ ตรงนี้ เพราะเราตัดเอง รูป รส กลิ่น เสียง ไม่ใช่บ่วงของมาร ไม่ใช่พวงดอกไม้แห่งมาร ถ้ามันตัดทัน ถ้าตัดไม่ทันน่ะ มันเป็นบ่วงเลยล่ะ รัดคอมึงตาย พอมันผ่านวิกฤตมา มันก็ไปเรื่อยน่ะ ก็เริ่มจากที่ว่าอวิชชาของมึงนั่นแหละ

ทีแรกมันไม่ทำอะไรเลยล่ะ กระดิกตีนจะรอเป็นพระอรหันต์ เพราะกูทำอวิชชากูดับหมดแล้ว ก็เวลาเข้าสมาธิ อวิชชาก็ดับ แต่อย่างหยาบๆ นะ ฟุ้งซ่านมันดับหมด ก็ประสาเด็กน้อย ก็คิดได้แค่นั้นน่ะ แต่พอเจอหลวงปู่จวน หลวงปู่จวนตีหัวทีเดียวเท่านั้นน่ะ “อืม.. ใช่” พอใช่ปั๊บก็เอาเลย พอลงใจก็ใส่เลย พอใส่ๆ เท่านั้นมันได้ผล

พอได้ผล พอเครื่องบินท่านตก มันเข็ด มันไม่มีทางไป พุ่งเข้าบ้านตาดเลย พอเครื่องบินตกก็พุ่งเข้าบ้านตาดเลย เพราะมันเข็ดไง เข็ดที่ว่าแหม.. ไปไหนมามีแต่คนหลอกกู ไอ้ห่า ไปไหนก็มีแต่คนชักกูแหม.. เข้าป่าทั้งนั้นเลย ไม่มีใครบอกทางกูตรงสักคน

พอเข้าบ้านตาดไป ความรู้สึกนะ เราอยู่กับท่านน่ะ ความรู้สึกว่าท่านเอาตีนอย่างนี้ ถีบหลังกูไว้อย่างนี้ รู้สึกอย่างนั้นจริงๆ เลย ความรู้สึกเหมือนว่าท่านเอาตีนยันหลังไว้อย่างนี้ แอ่นตลอดเลย คือว่าให้เร่งความเพียรอย่างเดียว โอ๋ย.. ลุยอย่างเดียว ลุยเละเลย อันนี้สมัยนั้น รุ่นนั้นนะ หลวงปู่จวนเครื่องบินตกน่ะ

พระ: ๒๓ (พ.ศ. ๒๕๒๓)

หลวงพ่อ: (ปี พ.ศ.) ๒๓, ๒๔, ๒๕, ๒๖ น่ะ ช่วงนั้นน่ะ ถ้าใครอยู่ที่นั่นจะเห็นว่าเราอยู่บ้านตาดน่ะ กูโดนด่าวันหนึ่ง ๓ รอบ เช้า กลางวัน เย็น แจกอาหารก็โดนแล้วรอบหนึ่ง ด่าทั้งวัน เพราะมันเข้าไปศึกษาตลอด เรานี่โดนด่า โอ้โฮ.. เวลาคำว่าโดนด่านะ ข้างนอกเขาว่าโดนด่า แต่สำหรับเราน่ะ จิตมันกำลังดี ท่านสอนเราด้วยวิธีนี้ ด่าเช้า ด่าเย็น ด่าอย่างเดียว ด่ากูทั้งวัน

ถ้ารุ่นนั้นใครไปถาม จะจำได้ รุ่นนั้นนะ รุ่นที่เห็นอยู่ แจกอาหารนี่โดนตลอด เพราะฝึกปัญญา แล้วท่านนี่โอ้โฮ.. ร้ายกาจมาก เวลาจัดอาหาร พอจับปั๊บ เพราะอะไร เพราะจับปั๊บ พอหันไปหาพระนะ พระจะหลบแว็บหมดเลย มันเหลือแต่กูไอ้นี่ กูก็ต้องเข้าไป แล้วท่านก็.. บ่อยนะ พออาหารมานี่นะ อาหารมา อะไรที่มันเป็นอาหารเนื้อๆ หน่อยน่ะ ท่านจะหยิบไว้แล้ว แล้วก็มองหาคนรับไปแจก

แล้วพระมันก็จะหลบหมดน่ะ เราเข้าไปปั๊บ ท่านก็จะบอก ส่วนใหญ่ให้แจกพระ อาจารย์ปัญญานี่แหละ แจกพวกพระฝรั่ง แจกพวกนี้ คือท่านสั่งพิเศษน่ะ แล้วเราก็ไป ด้วยความคิดเราเราก็ไปไว้ที่ถาดน่ะ ตักให้คนละชิ้นๆ นะ แล้วก็เดินกลับมา

ท่านก็เรียกกลับมา “ผมสั่งว่าอย่างไร”

“ก็บอกให้อาจารย์ปัญญาครับ ให้พวกนั้นครับ”

“แล้วผมสั่งอย่างไร”

“ก็ไปให้พระฝรั่งน่ะครับ”

“แล้วผมสั่งอย่างไร”

โอ๋.. สั่งยังไงวะ ก็ให้กูแจก กูก็แจกแล้วไง

“ให้ใส่บาตรน่ะ”

กูต้องเข้าไปตักใส่บาตรอีก.. เดี๋ยวโดนเรื่องนั้น เดี๋ยวโดนเรื่องนี้ โดนทุกวัน แล้วพอทำอะไรปั๊บ เพราะอย่างนั้นปั๊บ เราก็คิดของเราใช่ไหม ท่านก็ว่าของท่าน จะมีอะไรจ๊อบๆ แจ๊บๆ คือว่าเราคิดปั๊บ ถูกไม่ถูก ถ้าวันไหนเราคิดดี เราคิดถูก เราทำอะไร “เอ้อ.. วันนี้ใช้ได้ ถูกต้อง” ถ้าวันไหนมึงไม่ได้ วันนั้นผิด ทำถูกก็ผิด คือท่านจะแก้ไง

บางทีให้บางวัน สั่งให้เราให้พร กูรู้แล้ว ถ้าให้กูให้พร วันนี้กูต้องโดนยำใหญ่แน่ๆ อยู่แล้ว กูนะเตรียมตัวเต็มที่เลย พอเริ่มให้พรน่ะ ท่านบอก “เฮ้ยๆๆ.. นั่งยังไงน่ะ” เราก็เปิดผ้าเลย เพราะกูเตรียมตัวอยู่แล้ว “นั่งพับเพียบครับ” แล้วก็เปลี่ยนท่า แล้วก็ให้พร “ยถา วาริ”

“ยัต หรือ ยะ.. ยะ หรือ ยา”

เล่นทีละตัวเลย ไล่กูทีละตัวเลย เสร็จอยู่ ๒ ตัว ชานตุหรือชะตุ กูจำไม่ได้แล้ว

โอ้โฮ.. แล้วท่านก็ยำเลย “ไอ้พระขี้เกียจ ไอ้พระไม่เอาไหน ไอ้พวกอย่างนี้ เดี๋ยวฉันเสร็จแล้วเอาเอกเทศให้ท่านไปท่องนะ ไม่เอาไหน ขี้เกียจ กินแล้วก็นอน”

กูก็นั่งคิด กูก็งงนะ อดอาหารนะ ไม่นอน ๒๔ ชั่วโมงน่ะ เนสัชชิกตลอด เอ.. กูขี้เกียจตรงไหนวะ เวลาท่านด่านะ เราก็จับ.. จับ.. เพราะเราก็เร่งเต็มที่ เอ.. กูไปขี้เกียจตรงไหนวะ แหม.. กูขยันขนาดนี้ กูจะขี้เกียจได้ยังไง มันเถียงนะ (หัวเราะ)

นี่ไปภาวนา พอไปภาวนาปั๊บมันก็อ๋อ เพราะว่าเรามันไปแบบ ไปจริงจังกับอารมณ์ไง เราไม่ทิ้งไง ท่านจะให้ปล่อย เราไม่ยอมปล่อย พอมันจับได้ เราก็อ๋อ พอปล่อย...อ๋อ ท่านใส่มาตลอด กับเรานี่บนศาลานี่ด่าทุกวัน

พอวันนั้นด่าน่ะ ไปบิณฑบาตกลับมา เสร็จแล้วมันมีพวกโยมในบ้านตาดเขาตำถั่วฝักยาวมาน่ะ ท่านก็เรียกเราเข้าไปเลย เอาอันนี้ให้ไปแจก พอไปแจก ผิดอีก “ไอ้พระ ๒ สลึง” ด่านะ “ไอ้พระ ๒ สลึง ตำนี่ตำ ๒ สลึง” ตำ ๒ สลึง ไม่เต็มบาท คือตำมาไม่ดี ทำมาไม่เรียบร้อย “ได้ตำ ๒ สลึงน่ะ ไอ้พระ ๒ สลึง” เราก็เดินหนีนะ เดินไปแจกตรงนั้นนะ “ไอ้องค์นั้นน่ะ ไอ้องค์นั้นน่ะ ไอ้พระ ๒ สลึง ไอ้เดินไปมุมนั้นน่ะ.. ไอ้พระ ๒ สลึง.. ไอ้พระ ๒ สลึงมันเดินไปทางโน้นน่ะ” โอ้โฮ.. ตามจี้กูทั้งสายพานเลย

ทีนี้ตกเย็นไปยกน้ำ พระมันเอาไปล้อเล่น “ไอ้พระ ๒ สลึง.. ไอ้พระ ๒ สลึง”

ไอ้เราก็คิดในใจนะ ไอ้ห่า ๒ สลึงตอนสมัยนั้นนะ ๒ สลึงตอนนั้นน้ำแข็งเปล่าแก้วหนึ่งนะมึงไอ้นี่ มึงยังดูถูกเหรอ เพราะท่านบอก ๒ สลึง เพราะตอนนั้นเราคิดว่าเรา ๓ สลึงไง ใจมันคิดไปโน่น ท่านจะดึงเรากลับ ใจเราคิดไปแล้วเราจะพ้นไป มันเหมือนกับให้คะแนนตัวเองมากเกินไป ท่านตีลงมาไง ท่านตีลงมาให้เหลือ ๒ สลึง ไอ้กูว่ากู ๓ สลึง ท่านใส่เต็มที่เลย

ฉะนั้นถึงบอกว่ามันเป็นความรู้ระหว่างเรากับท่านน่ะ พอดีเราขึ้นไปหากับท่าน ใส่กับท่าน ฉะนั้นถึงว่าไอ้เรื่อง.. ถ้าสมัยนั้นนะ ถ้าไอ้พระอยู่ด้วยน่ะ บางทีเราออกมาเที่ยว เราเคยมาเจอพระองค์หนึ่ง เขามาเล่าให้ฟังนะ “โอ้โฮ.. บ้านตาดเป็นอย่างนั้นๆๆ” เอาเรื่องเรานี่มาเล่าให้เราฟัง กูก็ฟัง เอ.. มันงง ก็ถาม “มึงรู้มาจากไหน?” เขาบอกเพื่อนเขาเข้าบ้านตาด เพื่อนเขาเล่าให้ฟัง.. ขนาดนั้นนะ

โดนเยอะมาก แต่นี้โดนเยอะมากขนาดไหน แต่เราโดนว่า ประสาเรานะ เราโดนแล้วเราคิดเป็นแง่บวกไง เราไม่เคยคิดเป็นแง่ลบ เพราะเหมือนกับเรา เหมือนกับนักมวย หรือนักกีฬาที่มันต้องการเทคนิค แล้วโค้ชสอนให้อย่างดี เอ็งจะระลึกถึงคุณของโค้ช หรือเอ็งจะติโค้ช แต่คนอื่นเขาไม่เข้าใจ เขาคิดว่าเราโดนสภาวะแบบนั้น เราต้องมีอะไรขุ่นมัวในใจ แต่ในความรู้สึกของเรานะ

“โอ้โฮ.. กูหาอย่างนี้ไม่ได้อีกแล้ว.. กูหาอย่างนี้ไม่ได้อีกแล้ว”

ฉะนั้นเวลาพูดถึงหลวงตากับหลวงปู่เจี๊ยะ ครูบาอาจารย์ เราไม่ได้ สะเทือนใจทุกที พูดถึงพวกนี้ ๔ องค์นี่พูดถึงไม่ได้เลย มันสะเทือนใจทุกทีเลยล่ะ เพราะว่ามันเหมือนกับว่าเราคลุกคลีกันมาไง เราได้คลุกคลีกันมา เราได้ผลประโยชน์มา เหมือนที่ท่านว่า เหมือนที่หลวงปู่มั่นท่านบอกเวลาเทศน์ก็เหมือนกับลูกน้อยได้กินนมเลยล่ะ ท่านโอ๋เราด้วยด่าน่ะ ใช้ด่าเป็นผ้าอ้อม โอ้โฮ.. ไอ้เราก็คิดว่า โอ้โฮ.. เราคิดอย่างนั้นจริงๆ นะ มีความรู้สึกอย่างนั้น

เวลาพูด เห็นไหม เวลาด่าพวกเราไปน่ะ ไอ้ห่า มึงก็ไปกินที่บ้านตาดมาด้วยกัน เอ็งก็ไปกินข้าวบ้านตาดมา กูก็ไปกินข้าวบ้านตาดมา แต่กูรู้จักคุณน่ะ.. กูรู้จักคุณ.. พวกมึงไปกินข้าวบ้านตาดมา แล้วไม่รู้จักคุณ ไม่รู้จักบุญคุณ ฉะนั้น เวลาพูดแล้วมันสะเทือนใจ.. สะเทือนใจ.. ถ้าพูดเรื่องนี้แล้วเราสะเทือนใจ

แล้วอย่างว่า ท่านก็ล่วงไปแล้ว ทีนี้ก็เหลือแต่พวกเราแล้ว ทีนี้พวกเรา เราคิดด้วยความรู้สึกเราเองนะ เราคิดว่ามันเป็นอนิจจัง คือแบบว่าเรายิงบั้งไฟ ถ้ายิงบั้งไฟขึ้นไปถึงที่สุดแล้ว ไฟมันก็ตก เราว่ามันสูงสุดแล้ว หลวงปู่มั่นนี่ แล้วต่อไปนี้ก็ช่วงบั้งไฟตกแล้ว เพราะพวกเรา ใครจะมีบารมีเหนือท่าน

พระ: ใช่ครับ

หลวงพ่อ: ช่วงนี้ช่วงที่บั้งไฟขึ้นสูงสุด มันก็ผ่านไปแล้ว ต่อไปนี้มันก็ช่วงบั้งไฟตกน่ะ อย่างนี้พวกเราก็ต้องเร่งเอาของเราให้ได้ก่อน ถ้าเอาเราให้ได้แล้วก็ชาตินี้ก็สบายใจ ถ้าชาตินี้เอาไม่ได้ มันต้องไปอีกน่ะ มันจะไปอีก ครูบาอาจารย์เราก็ไปแล้ว แต่เกิดมาได้พบนะ เวลาเราพูดกับโยมน่ะ โยมน้อยใจๆ น่ะ กูบอก กูภูมิใจนะ จริงๆ นะ

ถ้าเราไม่เจอหลวงตากับหลวงปู่เจี๊ยะนี่ เราว่าเราคิดในใจเราว่ามันไม่มีใครเอาเราอยู่ เราคิดว่าถ้าไม่มีหลวงตากับหลวงปู่เจี๊ยะนี่ ไม่มีใครเอากูอยู่นะมึง เพราะว่าเวลาเถียงนี่นะ โอ้โฮ.. กูนี่ชำนาญมาก

หลวงปู่เจี๊ยะนี่ หลวงปู่เจี๊ยะเวลาพูดน่ะ เพราะโยมจากโพธารามไปหาท่านน่ะ

ท่านบอก “ไอ้หงบมันยังอยู่ไหม.. ไอ้ขาวๆ นั่นน่ะ” เรามีเพื่อนอยู่ ไอ้ดำๆ ไปหาท่านไง

ท่านบอกว่า “ไอ้ขาวๆ กับไอ้ดำๆ นั่นน่ะ”

“ไอ้ขาวๆ นั่นน่ะ เถียงเก่ง”

เราเถียงจนหลวงปู่เจี๊ยะนี่จำแม่นเลย เพราะเวลาเราเถียงกับหลวงปู่เจี๊ยะนี่ชนะหลวงปู่เจี๊ยะ ชนะเถียงนะ เถียงจนชนะทุกที เถียงอยู่นั่นแหละ กูไปเอาจนได้ล่ะ กูไปกูได้ จนหลวงปู่เจี๊ยะบอกเลย “ไอ้หงบมันเถียงเก่ง เถียงเก่งมาก” ฉะนั้น ถ้าขนาดนี้ยังเถียงขนาดนี้ แต่เวลาเถียงแล้วนะ พอเราไปนั่งคิดของเราเองน่ะ เราสู้ท่านไม่ได้หรอก เพราะว่าเหตุผลน่ะ ท่านพูดออกมา ท่านพูดไม่เก่งน่ะ แต่เวลาท่านพูดมาคำเดียวสะอึกเลย “เอ๊ะ.. อย่างนี้กูไม่มี” เอ๊ะเลยนะ เวลาท่านเสียบมาแต่ละจึ๊ก อย่างนี้เลย “เอ.. อันนี้อะไรวะ”

แต่ถ้าเป็นอย่างนี้ของเราเคยเห็น มึงจะไปสนใจอะไร

พระ: อืม.. ครับ

หลวงพ่อ: ของเราเคยเห็น พูดมามันก็เฉยๆ ท่านพูดอะไรมันก็...อึ้ก “ของอย่างนี้กูไม่รู้”.. “เอ๊ะ.. ของอย่างนี้กูไม่เคยเห็น” แปลกแล้ว เราได้จากท่านตรงนี้ หลวงปู่เจี๊ยะนี่ ท่านจะพูดอะไร...ปึ้ก “เอ๊ะ.. อันนี้กูไม่รู้เว้ย อันนี้มันอยู่ตรงไหน” แต่ถ้ารู้แล้วนะ พูดมาก็เถียงน่ะ แต่ถ้าไม่รู้นี่สะอึกเลยนะ... เอ๊ะ

เราเคยเจอประสบการณ์อย่างนี้ ฉะนั้นพอเราไปเจอพวกนี้เทศน์ พวกนี้พูดอะไรออกมา โอ้โฮ.. เราเห็นช่องโหว่ไปหมดเลยล่ะ เห็นช่องโหว่ทั้งนั้นเลย แล้วเมื่อก่อนไม่ค่อยได้พูด เพราะคิดว่าพูดไปมันไม่มีประโยชน์ แล้วตอนนี้ก็ยังไม่อยากจะพูดนะ เพียงแต่อย่างที่ว่า.. เราถามลูกศิษย์เอง “เฮ้ย.. มึงไปยุ่งทำไมวะ” เขาบอก “อ้าว.. ก็ญาติผมไปอยู่น่ะ” บางคนแม่เขาไป จะเอาแม่ออกน่ะ “อ๋อ” ก็เลยยอมเขา ไม่อย่างนั้นไปยุ่งกับเขาทำไม เพราะมันจบไปแล้ว

แต่มาดูถึงสังคม เราก็ว่ามีประโยชน์อย่างหนึ่ง คือสังคมสงบร่มเย็นขึ้นเนาะ ไม่งั้นแหม.. ฮือฮากันหมดน่ะ สังคมนิ่งเลยน่ะ หยุดหมด ไม่อย่างนั้นฮือฮาแล้วไปกันหมด ประสาเรานะ มันก็เหมือนแชร์แม่ชม้อยน่ะ สมัยแชร์แม่ชม้อยก็ โอ้โฮ.. ฮือฮากันเนาะ แล้วพอรู้ตัวอีกทีนะ หมดไปหลายหมื่นล้าน ไอ้นี่ก็ฮือฮากันเหมือนแชร์แม่ชม้อยเลย พอไปแฉปั๊บจบกันไป ไม่ต้องให้มีใครไปเสียต่อ มันก็เป็นเรื่องเวรเรื่องกรรมนั่นน่ะ มันเป็นเรื่องเวรเรื่องกรรม

ถ้าอย่างนี้มันเป็นบทเรียน เราทำของเรากันใหม่ เราปฏิบัติของเรา

โธ่.. เทศน์หลวงตาเหลือเฟือเลยน่ะ นี่เราดูแล้วเราฟังเทศน์หลวงตา เราฟังตลอดนะ เปิดวิทยุตลอด ฟังหลวงตา

พระ: ครูจารย์ ผมขอโอกาสอีกเรื่องหนึ่งครับผม ผมพิจารณาอย่างนี้ว่า หลวงตา.. ที่ผมเข้าใจอย่างนี้ครับ คือเพิ่นเป็นพระอรหันต์แล้ว คือบริสุทธิ์แล้ว ไม่ติดสมมุติทั้งปวงแล้ว เวลาท่านแสดงธรรม ท่านใช้ขันธ์ออกมาแสดงเฉยๆ อันนี้ขันธ์.. ในยุคของเราที่ว่าจุดบั้งไฟขึ้นสู่สูงนี่ครับ แล้วก็กำลังที่แบบเต็มที่ มีการบันทึกเครื่องเสียงครับครูจารย์

หลวงพ่อ: ไหน.. อ๋อ..

พระ: คือพลังงานนี้มันถ่ายทอดไปที่เก็บครับผม

หลวงพ่อ: อือ

พระ: ทีนี้พลังงานของความบริสุทธิ์อันนั้นยังทรงอยู่ แต่ต้องอยู่ที่ว่าคนฟังแล้วน้อมจิตปฏิบัติน่ะครับ

หลวงพ่อ: ใช่

พระ: เพราะเสียงนี้มันจะไปขัดความรู้สึกที่มันหยาบๆ หรือว่าความรู้สึกกลางๆ หรือว่าความรู้สึกละเอียด แล้วแต่ปฏิบัติตามท่านเพิ่นจริงน่ะครับ

หลวงพ่อ: ได้ เพราะเราฟังตลอด ถ้ามีเวลาเราก็เปิด เพราะเราถ่ายทอดตลอด ให้พระฟัง เพราะมันเป็นเหมือนกับบุญของพวกเราไง เราเกิดมาเจอ อย่างที่ว่ากับลูกศิษย์ เวลาพูดกับโยม โยมเขาน้อยใจบอกว่าเราภูมิใจกับชีวิตนี้ เพราะเราเกิดมาเจอ เรามาคิดทบทวนนะ ถ้ากูไม่มีอาจารย์นี่ กูยังต้องตะแบงไปอีกไกลเลยล่ะ กูก็ว่ากูรู้น่ะ เพราะตอนที่ว่าเราเคยหลงมาเยอะ ตอนที่ว่าเราหลง เราก็ว่าเราใช่ เราก็ว่าเราใช่นะ แต่พอมาเจอหลวงปู่เจี๊ยะน่ะ ซักกันไปซักกันมา ซักกันมาซักกันไปน่ะ

“เอ๊ะ ตรงนี้กูก็ไม่มี”.. “เอ๊ะ.. ตรงนี้กูก็ไม่รู้” มันทำให้เอะใจ

ถ้ารู้ด้วย รู้ด้วยกัน ทำไมเราไม่รู้กับเขาล่ะ มันมาคิดอย่างนี้นะ เอ.. ถ้าเรารู้ ท่านก็รู้ ทำไมท่านบอกมา เอ.. ทำไมท่านพูด เราไม่เข้าใจล่ะ มันก็ทำให้เรา “เอ๊ะ.. หรือว่าวะ.. หรือว่านะ.. หรือว่าวะ.. น่าจะน่า” มันย้ำไปเรื่อยๆ น่ะ

พอสุดท้ายนะ “อืม.. ใช่ มึงมันเหี้ย” พอสุดท้ายนะ “เออ.. มึงมันเหี้ย” พอมึงเหี้ยเท่านั้นน่ะ มันก็เริ่มทำงานใหม่ ไม่อย่างนั้นมันไม่ทำงาน มันหยุดหมด มันคิดว่าจบแล้ว ถ้าไม่ได้นะ เราติดอยู่นั่นน่ะ แล้วเราก็คิดถึงอารมณ์ตอนนั้นน่ะ อารมณ์ตอนนั้นมันเหมือนกับเราพยายามต้องเขย่งขาไว้ไง กลัวมันจะไม่ว่างไง เอ.. แปลกอยู่ ก็คิดว่าตัวเองนี่แจ๋ว แต่ก็ต้องเขย่งขาไว้อย่างนี้ เหมือนคนใส่ส้นสูงไว้น่ะ ไอ้ห่า.. ไม่ยืนเต็มเท้าเว้ย ยืนบนแต่ปลายเท้าน่ะ พอไปทำอย่างที่ท่านพูดหมดจบแล้ว เอ้อ.. จบกันสักทีไอ้เหี้ย ไม่มีเขย่งเขยิ่งห่าอะไรเลย

นี่มันมาคิดย้อนกลับไง เอ.. ถ้าไม่มีท่านนะ ไม่มีทาง.. ไม่มีทาง เพราะกูเถียงชนะเขาหมดน่ะ ไม่มีทาง เพราะมันเจอของไม่จริงไง เจอของไม่จริง เถียงไป พอทางโน้นปริยัตินะ เวลาพอพูดๆ ไปน่ะ มันแบบว่ามันพร่ามัว มันจะไม่คงที่

แต่ถ้าปฏิบัติของจริงนะ มันอยู่กับที่ ฝนลมแดดแค่ไหนมันก็ไม่หวั่นไหว พูดอย่างไรน่ะ มันทำให้เราเชื่อถือได้ แต่ถ้าปริยัติมันพูดพลิกไปพลิกมานี่ เราเองเราก็ไม่เชื่อ เขาเองก็พูดมาด้วยความไม่แน่ใจ เราเองก็ไม่เชื่อ แต่พอครูบาอาจารย์น่ะ พูดไปยังไงท่านก็อยู่ของท่านอย่างนั้นน่ะ “เอ.. กูต่างหากไม่รู้” ทีนี้ เรามาแก้ตรงนี้ “เออ.. ใช่” พอถึงตรงนั้นจบก็คือจบ ตรงนี้แหละที่ว่าซึ้งบุญคุณมาก ถ้าไม่มีนะ.. เสร็จ เสร็จแน่นอน ไปไม่รอด.. เสร็จ

เพราะตอนนั้นมันก็ไม่ธรรมดา มันก็ว่ามันแจ๋วน่ะ มันยอมที่ไหน

พระ: ขอโอกาสครูจารย์ อยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะจั๊กปีครับ

หลวงพ่อ: ปี ๒๗ ปีเดียว ออกมาจากบ้านตาดนั่นน่ะ เพราะเขาอยู่บ้านตาดแล้วพอดีที่บ้านตาดท่านส่งข่าวไป เพราะตอนนั้นสร้างที่ภูริทัตตฯ(วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม) นี่แหละ แล้วบอกไม่มีพระปาฏิโมกข์ไง เรานี่สวดปาฏิโมกข์ได้ เราก็คิดว่าเราจะลงมาช่วยหลวงปู่เจี๊ยะ มันเป็นวัดที่ภาคกลางอยากจะเอาขึ้นด้วยไง มาอยู่กับท่านปีหนึ่ง ปีหนึ่งเถียงกันทั้งปี เพราะท่านก็ชอบ เพราะท่านก็ชอบของจริงน่ะ

ไอ้เราก็หาอยู่ไง กลางคืนต้อง.. ถ้าคืนไหนไม่ไปหาท่าน เช้าขึ้นมา “ไอ้หงบ ทำไมเมื่อคืนทำไมไม่มา” เช้าพอทำอะไรเสร็จแล้ว ทุ่ม ๒ ทุ่มไปแล้ว ๓-๔ ทุ่มจะได้กลับ ทุกคืน ต้องไปนั่งอยู่อย่างนั้น คุยกันอยู่อย่างนั้นทุกคืน เรื่องนั้นเรื่องนี้ เถียงกันทั้งคืน เถียงกันอยู่อย่างนั้นน่ะ ใหม่ๆ ท่านชอบ ช่วงท้ายๆ นั่นน่ะ มันไปได้ผลตรงนั้น

พออยู่กับหลวงตาก็อย่างหนึ่ง เราอยู่กับหลวงตา หลวงตาขึ้นมาล้มโต๊ะเลย เราขึ้นไปนะ พลิกเลย “มึงไปหาเอง” ไปถามอะไรก็ถีบตกมาทุกทีเลย หลวงตาเป็นอีกอย่างหนึ่ง ขึ้นไปนะท่านพูดไม่กี่คำเป็นแง่คิดเฉยๆ แล้วเสร็จแล้วรวมพระเทศน์ที่ศาลา ท่านเอาภาพใหญ่ กับส่วนตัวนี่ท่านจะพูดอยู่แต่ไม่มาก ไม่คลุกคลีไง พูด ๕ นาที ๑๐ นาที จบแล้วจบ แล้วจบเลย แล้วลงมาที่ศาลาก็ฉะมึงอีก แต่ฉะมึงทั้งพระทั้งหมดเลย เทศน์ทีเดียว เราต้องจับให้ได้ เวลาท่านเทศน์ท่านก็เทศน์ทั้งหมดน่ะ เราก็นั่งฟังว่าเราติดตรงไหน เราก็ต้องจับให้ได้ แต่เวลาเราไปคุยกับท่านก็ตัวต่อตัวก็ไม่มาก

แต่หลวงปู่เจี๊ยะนี่โอ้โฮ.. ซักแล้วซักอีก ซัก โอ๋ย.. แล้วท่านสรุปเลย ตอนที่ท่านว่าเราน่ะ

“ไอ้หงบ มึงน่ะไปจำของท่านอาจารย์ใหญ่มา” คือเอ็งน่ะจำของหลวงตามาหมดเลย เอ็งน่ะ

เราบอกว่า “ถ้าผมจำมานะ อาจารย์จี้ผมต้องจบสิ ทำไมอาจารย์จี้ผมไม่จบล่ะ”

ท่านก็ “เออ..”

ลูกไม้น่ะมีอยู่คำเดียวแหละ “ท่านน่ะจำของท่านอาจารย์ใหญ่มา ท่านก็จำของท่านอาจารย์ใหญ่มา” หลวงปู่เจี๊ยะจะลงลูกนี้

ชี้หน้าเลยนะ “ท่านน่ะจำของท่านอาจารย์ใหญ่มา”

เราก็ “ถ้าจำมา หลวงปู่ต้องไล่ผมให้จบสิ ต้องไล่ให้จนสิ”

ไล่กูให้จนน่ะ แต่ท่านเถียงไม่ได้นะ “ท่านน่ะ ท่านจำของท่านอาจารย์ใหญ่มา ท่านน่ะจำของท่านอาจารย์ใหญ่มา”

“แล้วจำมาทำไมไล่ไม่จนน่ะ”

เราไปให้ท่านไล่

แต่หลวงตานี่ไม่เลย อัดลงมาเลย แต่หลวงปู่เจี๊ยะนี่ไม่

ทีนี้สังคมเขาไม่ค่อยมั่นใจในตัวท่าน เพราะกิริยาท่านเป็นอย่างนั้น แต่เรามั่นใจ มั่นใจตรงนี้ มั่นใจตรงที่ท่านพูดแล้วเราไม่รู้ตามท่าน แล้วพอเรารู้ทันท่านปั๊บ โอ้โฮ.. มันเป็นอย่างนี้เว้ย เราก็มาไล่ดู ที่เราพูดในเว็บไซต์น่ะ เราก็มาไล่ดูของหลวงปู่คำดี อย่างของอาจารย์สิงห์ทอง หลวงปู่ตัน เราก็มาไล่ดูหมดน่ะ พอมาไล่ดูแล้วมันถึงโอ้โฮ.. มันถึงเข้ากันหมดเว้ย แต่ถ้าตอนนั้นมันก็ยังลุ่มๆ ดอนๆ

เวลาไล่ก็ไล่ด้วยสัญญาของหลวงตา เอาหลวงตามาเป็นดักไว้ แล้วก็ไล่อวดว่ากูรู้ตามหลวงตาบอก เวลาไล่ก็ไล่โดยแผนที่ของหลวงตา แต่เวลาถ้าเราจัดการของเราเอง ก็เออ พออย่างนั้นปั๊บเราถึงเชื่อมั่นท่าน ใครจะเชื่อไม่เชื่อมันเรื่องของเขา แต่ครูบาอาจารย์เราเชื่อ หลวงตาท่านได้คุยกันแล้วไง แต่คุยกันแล้วก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

มันจะมีอะไรอีกไหม

พระ: ไม่มีแล้วครับ

หลวงพ่อ: จบเนาะ