เทศน์บนศาลา

ธรรมะล้มเหลว

๒o ก.ย. ๒๕๕๔

 

ธรรมะล้มเหลว
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๔
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจฟังธรรม ตั้งใจ ตั้งใจก็มีสติ ตั้งใจนะ สติพร้อม แล้ววางใจไว้เป็นกลาง เสียงมากระทบเอง ไม่ต้องสนใจ ถ้าสนใจมันซ้อนกัน เห็นไหม ถ้ามันซ้อนขึ้นมา สิ่งใดพอซ้อนขึ้นมาแล้วเราไม่ทัน เราไม่ทันเพราะจิตนี้ไวมาก

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ธรรมะถึงเป็นสิ่งที่มั่นคงและจริงจัง แต่เดิมธรรมะเลื่อนลอยไม่มีเหตุมีผล แล้วแต่มุมมอง แล้วแต่ผู้นำที่จะชี้นำกันไป เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา เห็นไหม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าออกบิณฑบาต ถ้ามันยังไม่ถึงเวลา จะไปสนทนากับเจ้าลัทธิต่างๆ เวลาเจ้าลัทธิต่างๆ นะ สนทนาธรรม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะแสดงธรรม สนทนาธรรม แล้วด้วยเหตุด้วยผล แต่ส่วนใหญ่แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า...อยู่ในพระไตรปิฎก บอกว่าไปสนทนาธรรมกับใคร สนทนาธรรมกับใคร เรื่องเหตุเรื่องผลไง ถ้าเรื่องเหตุเรื่องผล เห็นไหม แต่ถ้าไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่างคนต่างก็คิดว่าตัวเองเป็นธรรม ตัวเองเป็นธรรม แต่มันไม่ใช่ความเป็นจริง

ถ้าความเป็นจริงนะ เวลาด้วยเหตุด้วยผล ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “อริยสัจมีหนึ่งเดียว” เวลาสุภัททะมาถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตอนที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพพานว่า

“ศาสนาไหนก็ดี ศาสนาไหนก็ว่าถูกต้องดีงามไปหมด แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าอย่างไร”

“สุภัททะ เธออย่าถามให้มากไปเลย ไม่มีรอยเท้าบนอากาศ ศาสนาไหนไม่มีมรรค ศาสนานั้นจะไม่มีผล”

นี่มรรคไง เวลา “มรรค” มรรคคืออะไรล่ะ? ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

มรรค คือมรรคญาณ

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ถ้าไม่มีกิจจญาณ สัจจญาณ ไม่มีญาณ ๑๒ นี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะไม่ปฏิญาณตนว่าเป็นพระอรหันต์

เวลาปฏิญาณตนเป็นพระอรหันต์ เห็นไหม “เธอจงเงี่ยหูลงฟัง” เวลาไปเทศน์ปัญจวัคคีย์ “เธอจงเงี่ยหูลงฟัง ไม่รู้เราก็ว่าไม่รู้” แต่ถ้ารู้แล้วมันต้องมีเหตุมีผลสิ มันมีหลักมีเกณฑ์ของมันสิ ถ้ามันรู้แล้วไม่มีเหตุมีผล ไม่มีหลักมีเกณฑ์ มันจะรู้ได้อย่างไร สิ่งที่ความรู้นั้น เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ธรรมนั้นถึงเป็นความจริง แล้วมี เห็นไหม

เวลาพระอัญญาโกณฑัญญะ

“อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ”

มีผู้เป็นพยานต่อกัน

พอปัญจวัคคีย์ เวลาปัญจวัคคีย์สำเร็จเป็นพระอรหันต์หมด ทั้ง ๖ องค์ ไปเอายสะด้วย ยสะกับสหายของเขา ๖๑ องค์ นี่มันเป็นพยานต่อกันไง สิ่งที่เป็นพยานต่อกัน ความจริงคือความจริง แต่ถ้าไม่เป็นความจริง มันเลื่อนลอย ความเลื่อนลอย

เราตั้งใจนี่มันก็เป็นเรื่องตั้งสติ เรื่องเราเตรียมความพร้อม ถ้าเราพร้อมขึ้นมา เราฟังธรรม นี้คือฟังธรรมนะ ฟังธรรมในภาคปฏิบัตินี้ เวลาจิตใจของเรามีหลักมีเกณฑ์แค่ไหน สิ่งนี้เปรียบเทียบมาในหัวใจของเรา ถ้าหัวใจของเรามีหลักมีเกณฑ์ จิตเราสงบแล้ว ถ้าจิตเราสงบนะ รักษาจิตของเราได้ ถ้าจิตเราไม่สงบนะ เวลาครูบาอาจารย์ ท่านจะมีแง่มุมของท่าน “มีแง่มุมของท่าน” ให้จิตเราได้เกาะ ได้มีเหตุผลเปรียบเทียบมาในหัวใจของเรา นี่มันเป็นภาคปฏิบัติ

เวลาภาคปฏิบัติ การแสดงธรรม การฟังธรรม มันเป็นการตรวจสอบ เป็นการตรวจสอบใจของเรา แล้วถ้าใจของเรามีเหตุมีผลขึ้นมา ถ้ามีความสงบของใจขึ้นมา นี่มันสงบเพราะเหตุใด ถ้าเราสงบ เรารู้ของเราได้ถ้าเราสงบจริงนะ เรารู้ของเราได้ว่าเหตุที่ความสงบ เราลงทุนลงแรงมาขนาดไหน แล้วเวลาครูบาอาจารย์ท่านเทศนาว่าการขึ้นไป สิ่งที่ว่าเป็นปัญญาๆ เป็นขั้นเป็นตอน เป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป นี้เป็นสิ่งที่เป็นสัจจะความจริง นี่ในภาคปฏิบัติ

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาบนโคนต้นโพธิ์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง เห็นไหม แล้ววางธรรมและวินัยไว้ให้เราศึกษา เวลาศึกษาขึ้นมามันส่งต่อกันมาๆ ส่งต่อกันมาจนเราศึกษาแล้ว เราจะมีความรู้ความเข้าใจมากน้อยขนาดไหน สิ่งนี้เป็นเรื่องโลกทั้งหมด ศึกษาโดยโลกไง

ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ... เราศึกษาปริยัติมา ศึกษามาเพื่อประพฤติปฏิบัติ ถ้าเราปฏิบัติขึ้นมา นี่ที่เราแสวงหากันอยู่นี่ เราแสวงหาเพื่อหัวใจของเรา เอาหัวใจของเรามาเปรียบเทียบ เอาหัวใจของเรามาซักฟอก เอาหัวใจของเรามาประพฤติปฏิบัติให้มันเป็นความจริงขึ้นมา ถ้าเป็นความจริงขึ้นมา ถ้าเรามีหลักมีเกณฑ์ มันรู้ตามความเป็นจริง แต่ถ้าไม่มีหลักไม่มีเกณฑ์ การศึกษาปริยัติขึ้นมา แล้วเรามีทิฏฐิมานะของเรา เรามีทิฏฐิมานะนะ เรามีทิฏฐิมานะว่าเรารู้ เพราะเราเข้าใจของเราด้วยวุฒิภาวะ

การศึกษาทุกคนเขาก็ต้องว่ารู้นี่แน่นอน การศึกษาทุกคนก็ว่าตัวเองรู้ แต่รู้แล้วมันมีสิ่งใดตกค้างในใจไหม มันมีสิ่งใดเป็นประโยชน์กับหัวใจเราไหม ถ้ามันมีสิ่งใดเป็นประโยชน์กับหัวใจของเรา เรารู้จริงหรือเปล่า ถ้าเราตรวจสอบของเราบ่อยครั้งเข้า มันจะเกิดความลังเลสงสัย ถ้าเกิดความลังเลสงสัย “สิ่งนั้นเป็นความจริงไหม?” ถ้าเกิดมีความลังเลสงสัย “สิ่งนั้นเป็นความจริงไหม?” มันเริ่มเรรวนเห็นไหม

ดูสิ ถ้ามันเริ่มเรรวนน่ะ มันไม่มีพื้นฐาน มันไม่มีสิ่งใดเป็นข้อเท็จจริงมันถึงเรรวน ถ้ามันมีสิ่งใดเป็นข้อเท็จจริง มันเรรวนไม่ได้หรอก มันตรวจสอบได้ มันพิจารณาได้ว่ามันเป็นความจริงอย่างใด ถ้าเป็นความจริงอย่างใด เพราะเราศึกษาว่าเราเข้าใจ เรารู้ของเรา มันเกิดความลังเลสงสัย เกิดความเรรวนไปน่ะ ทำไมเราไม่ทดสอบล่ะ ถ้าเราทดสอบนะ เราไม่ยึดถือทิฏฐิมานะของเรา เราวางสิ่งนี้ได้ ถ้าวางสิ่งนี้ได้ เราเริ่มต้นของเรา

เริ่มต้นของเรา เห็นไหม ทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าใจมันสงบเข้ามาแล้ว มันสงบเพราะเหตุใด เหตุใดถึงทำความสงบได้ “ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ” มันต้องมีเหตุมีผลของมัน มันถึงสงบเข้ามา ถ้ามันไม่มีเหตุ มันสงบเข้ามาได้อย่างไร

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ ไปศึกษามาทั่วหมดน่ะ ที่ไหนเขาว่าดี ที่ไหนเขาว่าถูกต้องดีงาม ไปศึกษามาหมดแล้ว แล้วมันไม่มีความจริง

นี่สิ เวลาทำความสงบของใจเราเข้ามา มันมีเหตุมีผลสิ่งใด ถ้าเหตุผล มันเหตุผลมันเพียงพอไหม มันถึงมีความสงบ...เหตุผลเพียงพอ คำว่า “เหตุผลเพียงพอ” คำบริกรรม หรือปัญญาอบรมสมาธิ ถ้ามันเพียงพอของมัน มันมีเหตุของมันเข้ามานี่เพราะมันมีจริงน่ะ ใจ ความรู้สึกนี้มีจริง เวรกรรมมันมีจริง แล้วหัวใจเราก็มีจริงๆ แล้วเกิดมาเป็นมนุษย์จริงๆ แล้วเราบวชเป็นพระเป็นเจ้าขึ้นมา เราเป็นนักปฏิบัติจริงๆ ความเป็นจริงขึ้นมาถ้ามันมีความจริงขึ้นมา เห็นไหม

ดูสิ แม้แต่จริงตามสมมุติ มนุษย์นี่ก็จริงตามสมมุติ เพราะเกิดเป็นวาระ เพราะเวลาคนเราน่ะ ตามอายุขัยมันต้อง... “ชีวิตนี้มีการพลัดพรากเป็นที่สุด” จะอยู่ในเพศใด เพศพระ เพศคฤหัสถ์ เพศอะไร ต้องตายหมดน่ะ แต่เวลาสิ่งที่ตายไปนี่มันจริงตามสมมุติไง ที่มันเป็นจริงตามสมมุติ ขนาดมันเป็นจริงตามสมมุตินะ มันยังมีจริงเลย มันยังพิสูจน์ได้เลย แล้วเวลาสัจจะความจริงที่มันละเอียดไปกว่านั้น นี่ปริยัติ แล้วถ้าปฏิบัติขึ้นมา นี่ทดสอบๆ ทดสอบเป็นความจริงขึ้นมามันสงบของมัน เหตุผลของมัน มันสงบเพราะเหตุใดล่ะ มันสงบเข้ามาเพราะเหตุใด เห็นไหม

เวลาครูบาอาจารย์ท่านเทศน์ของท่านแล้วเราฟัง นี่ภาคปฏิบัติ มันถึงจะมีสิ่งใดตกค้าง สิ่งใดเป็นความรู้ความจริงในหัวใจของเรา แล้วถ้ามันเกิดปัญญาขึ้นมา ปัญญามันจะก้าวเดินไปอย่างใด ถ้ามันปัญญาก้าวเดินไปตามความเป็นจริงนะ มันต่อยอดของมันขึ้นไป มันเป็นการบริหารจัดการนะ

ดูสิ ดูการปกครองของโลกเขา รัฐใดเป็นรัฐที่ล้มเหลว รัฐล้มเหลวนะ ความล้มเหลวของเขา นี่อำนาจรัฐปกครองไม่ได้ ได้อำนาจรัฐนั้นมาแต่ปกครองไม่ได้เพราะมันล้มเหลว ล้มเหลวเพราะไม่มีใครเชื่อฟัง แล้วมีการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายจนแตกกันเป็นฝักเป็นฝ่าย มีสงครามกลางเมือง มีการรบราฆ่าฟันกันเพื่อแย่งชิง...มีอำนาจแต่ปกครองไม่ได้ นี่ถือว่าเป็นรัฐล้มเหลว

ในการประพฤติปฏิบัติของเรา ธรรมะที่ล้มเหลว ธรรมะที่ไม่มีแก่นสาร

“ธรรมะที่ล้มเหลว” สิ่งที่ล้มเหลวเพราะเหตุใดล่ะ

“ล้มเหลว” ดูสิ ดูทางฝ่ายทางโลกเขานะ ตั้งแต่สมัยโบราณ แว่นแคว้นประเทศต่างๆ อยู่ที่ใครมีกำลังมากกว่า ใครมีอำนาจวาสนาบารมีมากกว่า เขาก็ยึดครองกัน การยึดครองเพราะว่ามันสมัยโบราณใช่ไหม มันต่างคนต่างอยู่ไง แต่เวลาสมัยเวลาโลกเจริญขึ้นมา อุตสาหกรรม เวลาเขายึดครองกัน เขายึดครองด้วยเรือปืนนะ เขาเอาเรือปืนไปยึดครอง ยึดครองขึ้นมา ยึดครองแล้วมันเป็นอย่างไรล่ะ มันกดขี่ เห็นไหม ความกดขี่ ความเอารัดเอาเปรียบ นี่ความเอารัดเอาเปรียบ มีความทุกข์ยากไหม

แล้วในปัจจุบันนี่จิตใจของเราใครมายึดครองอยู่? ใครยึดครองหัวใจเราอยู่?

กิเลสตัณหาความทะยานอยากมันยึดครองใจ เห็นไหม เรามาเกิดเวียนตายเวียนเกิดในวัฏฏะ ใครยึดครองหัวใจนี้มา หัวใจนี้มีใครไปยึดครอง แล้วใครเป็นเจ้าของมัน แต่มันมีความรู้สึกอยู่ จิตมีอยู่ แต่มันโดนยึดครองด้วยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก แต่เพราะเรามันบางเบานะ ความบางเบาของเรา เพราะเราเกิดมาเป็นชาวพุทธ แล้วพบพระพุทธศาสนา เราประพฤติปฏิบัตินี่มันบางเบา บางเบาเพราะมันสนใจไง มันสนใจจะหาทางออกนะ

ดูสิ การยึดครองของเจ้าอาณานิคม เขากดขี่ ข่มเหง ขูดรีด ขูดรีดทุกๆ อย่างเลย เพื่อประโยชน์ของเขา ขูดรีดทางเศรษฐกิจ ขูดรีดทางทรัพยากร ขูดรีดทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์ของเขา นั่นมันเป็นทางโลก เห็นไหม นี้เพราะอะไร เพราะเขาไม่มีกำลังพอ ความมีปัญญาของเขา ถึงเขามีปัญญาของเขา วัฒนธรรมของเขาก็มี เห็นไหม แต่ด้วยกำลังต่อสู้ เทคโนโลยีสู้กันไม่ได้ สู้กันไม่ได้

แต่นี่เราเกิดมา เราเกิดมา เราเกิดเป็นชาวพุทธพบพระพุทธศาสนา เพราะเราบางเบาใช่ไหม นี่เรามีนะ ศีล สมาธิ ปัญญา สติปัญญา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อริยสัจ มันมีคุณค่า มีคุณค่าตั้งแต่สมัยพุทธกาล มีคุณค่าในสมัยปัจจุบันนี้ แล้วมีคุณค่าตลอดไป แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระศรีอริยเมตไตรย อนาคตวงศ์ก็จะมาตรัสรู้อันนี้

“สัจธรรม” ดูสิ เวลาเขายึดครองกันด้วยเรือปืนน่ะ เขาสู้กันไม่ได้เพราะเทคโนโลยีเขาสู้กันไม่ได้ นี่เขามีปืน เรามีดาบ มันจะไปสู้อะไรเขา...สู้กันไม่ได้ ถ้าสู้กันไม่ได้มันก็ล้มเหลว นี่ว่าล้มเหลวเพราะเราสู้เขาไม่ได้ แล้วเขายึดครอง เขาก็ข่มขี่ นี่เวลาเขายึดครองกัน

แต่ถ้าเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมาล่ะ ตามความเป็นจริงน่ะ ถ้าธรรมะมันไม่ล้มเหลวนะ มันจะมีหลักมีเกณฑ์ มันจะมีการต่อสู้ มันจะมีการกระทำ มันเป็นความจริงขึ้นมา

แต่ถ้าเป็นธรรมะล้มเหลว เห็นไหม ดูสิ ดูรัฐที่ล้มเหลว ดูแอฟริกาเขาปกครองกันไม่ได้ เขาแบ่งฝักแบ่งฝ่ายแล้วเขาปกครองกันไม่ได้ เห็นไหม คนต้องไปช่วยเหลือ ต้องส่งทหารเข้าไปเป็นรัฐกันชนเพื่อจะดูแลกัน นี้พูดถึงโลกๆ นะ

เวลาโลกเขา เรารู้ได้ เรามองเราเห็นได้ด้วยทิฏฐิมานะ ด้วยความเห็นของเขา แล้วเขาแบ่งฝักแบ่งฝ่าย แล้วประหัตประหารกัน แล้วเวลาเราประพฤติปฏิบัติ เวลาเรามองเรื่องธรรมะๆ “กิเลส” เป็นสิ่งที่คนทุกคนจะต้องกำจัดมัน ทุกคนจะปล่อยวาง ทุกคนจะฆ่ากิเลสให้ได้ในหัวใจ แต่เวลาประพฤติปฏิบัติ เราจะปฏิบัติธรรมตามความเป็นจริง

ดูนะ ดูทางลัทธิศาสนาต่างๆ เขาก็ว่าเขาปฏิบัติเหมือนกัน เขาก็ทำของเขาเหมือนกัน แต่เขาทำของเขาขึ้นมา เขามีแต่การสั่งสม เขามีแต่การไม่ได้ช่วยเหลือตัวเองเลย หวังพึ่งต่างๆ แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธศาสนาเรา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้พึ่งตนเอง “ให้พึ่งตนเอง” เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเทศนาว่าการ ให้ย้อนกลับมาในหัวใจ ให้ความสงบของใจ ให้ตั้งตนของเราขึ้นมาให้ได้

ดูสิ ในสมัยปัจจุบันนี้ เวลาสิ่งที่เขาโดนข่มขี่ ข่มเหง รังแกกันนะ เขารวมตัวกันด้วยความทุกข์ความยาก เขาลงประชามติแยกออกมาปกครองตนเอง เขาจะลงประชามติแยกปกครองตนเองเพราะอะไร เพราะเขาโดนกดขี่ข่มเหง เขาโดนทำลาย เขาโดนแย่งชิงทรัพยากร นี้ก็เหมือนกัน ถ้าหัวใจของเรามันพอใจ มันพอใจจะประพฤติปฏิบัติน่ะ มันประชาธิปไตย ลงประชามติ นี่ไง ถ้ามันลงประชามติ มันมีหลักมีเกณฑ์ไง มันมีเหตุมีผลไง ถ้าหัวใจเราจะประพฤติปฏิบัติใช่ไหม

ถ้าหัวใจเราจะประพฤติปฏิบัติ ประชาธิปไตย ธรรมาธิปไตย เห็นไหม

ถ้าเราทำความสงบของใจเราเข้ามา มันจะลงประชามติว่ามีพื้นที่ปกครองไหม มีพื้นที่ให้มันมีอำนาจรัฐไหม ถ้ามวลชนรวมชนขึ้นมาน่ะ มันมีพื้นที่ให้ปกครองได้ มันถึงจะเป็นรัฐขึ้นมา มันถึงจะเป็นสัจจะความจริงขึ้นมา มันมีเหตุมีผลของมัน ไม่ใช่เลื่อนลอย เรามันเลื่อนลอย เราไม่มีพื้นที่ปกครอง เราไม่มีสิ่งใดเลย แต่เราบอกว่าเรามีรัฐ เรามีนิติรัฐ เรามีอำนาจรัฐ เรามีทุกอย่างพร้อมเลย

นี่ไง เหมือนกับทางเขาล่าอาณานิคมนะ เขาเอาเรือปืนเที่ยวไปล่าเพื่อไปแสวงหาผลประโยชน์เพื่อประโยชน์ของเขา อันนี้เราจะปฏิบัติธรรมนะ เหมือนกับเราเอาทิฏฐิมานะ เอาความรู้ความเห็นของเรา สติปัญญาของเราเหมือนเรือปืน ไปปล้นชิงเอาจากธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง

ในพระไตรปิฎกน่ะ “พุทธพจน์ๆ” มันเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันเป็นสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้ววางธรรมและวินัยไว้ แล้วให้เราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ไม่ใช่เราเอาเรือปืนไปปล้นชิงมาว่าทรัพย์สมบัติเป็นของเรา...มีอำนาจ มีทิฏฐิ มีอำนาจรัฐ มีนิติรัฐ มีกฎเกณฑ์เพื่อจะปกครอง...ล้มเหลวหมดนะ

นี่ “ธรรมะล้มเหลว” ล้มเหลวเพราะไปช่วงชิง ด้วยคิดว่าตัวเองรู้ ตัวเองเก่ง ตัวเองมีปัญญา ด้วยทิฏฐิมานะไง

แต่ถ้าประชามตินะ เราลงประชามติ เราแยกพื้นที่ เพราะกิเลสตัณหาความทะยานอยากมันปล้นชิงมาตลอด มันข่มขี่มาตลอด ถ้าเราทำความสงบของใจ เห็นไหม เรามีพื้นที่นะ เรามีพื้นที่ปกครองของเรา ถ้ามีพื้นที่ปกครองของเรา นี่การต่อสู้ระหว่างกิเลสกับธรรม

ถ้าการต่อสู้กิเลสกับธรรมนะ นี่ในเมื่อสังคม มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มนุษย์อยู่ด้วยตัวเองไม่ได้ มนุษย์อยู่ด้วยตัวเอง เห็นไหม มนุษย์อยู่ด้วยตัวเองไม่ได้ ต้องเป็นสังคม ต้องพึ่งพาอาศัยกัน ต้องอยู่โดยสังคมเจือจานกัน นี่มันก็มีการเสียดสีกัน การแก่งแย่ง การกระทบกระเทือนกัน การกระทบกระเทือนกันเห็นไหม สิ่งนั้นมันเป็นอะไรล่ะ? มีการกระทบกระเทือนกัน มันก็มีการบาดหมางกัน มีการกดขี่ข่มเหงกัน นี่ต้องมีอำนาจรัฐปกครอง ต้องมีกฎหมาย ต้องมีกติกาเพื่อสัตว์สังคมให้มันอยู่ร่วมกันเป็นสุข นี่ความรู้สึกนึกคิดของเรา

จิตหนึ่ง นี่อารมณ์หนึ่งก็ชาติหนึ่ง ความคิดหนึ่ง...เวลาความคิดหนึ่ง ความคิดเกิดดับๆๆ วันหนึ่งความคิดเกิดกี่ร้อยกี่พันหน นี่ไง สิ่งที่เกิดขึ้นในหัวใจของเรา ถ้ามันเกิดขึ้น สิ่งที่เรานึกคิดอยู่นี่ คิดทีหนึ่งก็ภพชาติหนึ่ง ภพชาติหนึ่ง ก็ความรู้สึกหนึ่ง เหมือนบุคคลคนหนึ่ง นี่ไง แล้วเราจะปกครองกันอย่างไร แล้วถ้ามันล้มเหลว ปกครองไม่ได้เลยเหรอ เราปกครองใจเราไม่ได้เหรอ นี่รัฐที่ล้มเหลวเขาปกครองกันไม่ได้นะ

แล้วเราประพฤติปฏิบัติธรรม “ธรรมะล้มเหลว” ว่าจิตใจมีหลักมีเกณฑ์ มันมีจริงหรือเปล่า มันมีอธิปไตยในตัวมันไหม มันมีอิสรภาพในหัวใจจริงหรือเปล่า?...มันไม่มี

พอมันไม่มี ดูสิ โดยใครปกครองล่ะ ใครปกครอง? กิเลสตัณหาความทะยานอยากปกครอง เวลากิเลสตัณหาความทะยานอยากปกครองมันก็ว่ามันรู้มันเห็นของมัน ศึกษาธรรมขึ้นมา ปฏิบัติธรรมขึ้นมาก็ด้วยความล้มเหลว นี่ปล้นชิงมา ไปปล้นชิงมา ไปข่มขู่ ไปตู่มาว่าเป็นธรรมของเรา เป็นธรรมของเรา มันมีความจริงในหัวใจไหม ถ้ามันไม่มีความจริงในหัวใจ นี่มันล้มเหลว “ธรรมะล้มเหลว” ไม่เป็นความจริงขึ้นมา ถ้าไม่เป็นความจริงขึ้นมา มันเป็นประโยชน์กับใครล่ะ

นี่เราว่าเราจะประพฤติปฏิบัตินี่ไง เราว่าเราเป็นคนรักตนไง เราว่าเราจะเอาตัวเรารอดไง แต่เวลารัฐล้มเหลว มันโดยสังคมโลก ดูสิ สื่อสารมวลชนเขาสืบข่าวมาให้เราดูตลอดว่าความล้มเหลวที่รัฐล้มเหลว เขาฆ่ากันนะ ต่างเผ่าเขาฆ่ากันตายเป็นแสนๆ ลอยเป็นแพ นี่เพราะอะไรล่ะ เพราะทิฏฐิมานะไง เพราะความเห็นผิดไง

แต่ถ้ามันเป็นธรรมล่ะ มนุษย์ทำกันลงไหม เขาก็มนุษย์ เราก็มนุษย์ ต่างเผ่าต่างพันธุ์มันก็มนุษย์ด้วยกัน ถ้ามนุษย์ด้วยกัน ทำไมเราไม่พูดกันดีๆ ทำไมเราไม่ร่วมมือกัน นี่สิ่งนี้เราเกิดมาเป็นมนุษย์ด้วยกัน ในเมื่อขาดแคลนก็ขาดแคลนด้วยกัน แต่ถ้ามันมีทรัพยากร เราก็ใช้ร่วมกัน

นี่ก็เหมือนกัน ในหัวใจ ระหว่างกิเลสที่มันข่มขี่ กิเลสที่ว่ามันรู้ไปหมด เอารัดเอาเปรียบไปหมด มันข่มขี่ในหัวใจของเรา แล้วเวลาธรรม ธรรมเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราก็จะไปปล้นชิงมา อวดรู้อวดเห็นว่าเป็นสมบัติของเรา กิเลสมันเหยียบย่ำทำลายหมดน่ะ มันบังเงา มันเอาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาข่มขี่เราด้วย

แต่ถ้าเราจะเป็นอิสรภาพ เราจะทำความจริงของเราขึ้นมา ธรรมะเป็นตามความเป็นจริง ไม่ใช่ธรรมะล้มเหลว “ธรรมะล้มเหลว” ไม่มีสิ่งใดเป็นแก่นสารของใจ นี่ไม่มีแก่นสาร ทำบุญกุศลมาขนาดไหนมันก็เวียนตายเวียนเกิด ทำบุญกุศลมา บุญก็คือบุญ นี่บุญมันก็หมุนไปในวัฏฏะ สิ่งที่เรานั่งกันอยู่นี่ก็มาจากวัฏฏะ ผลของวัฏฏะทั้งนั้นน่ะ ก็มาจากบุญนี่แหละ

ถ้ามาจากบุญ ถ้าไม่มีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดกับพระอานนท์นะ เวลาจะปรินิพพาน มีคนเอาดอกไม้ธูปเทียนมาบูชามากเลย

“อานนท์ เธอบอกเขานะ ให้ปฏิบัติบูชา ให้ปฏิบัติบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเถิด อย่าบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยอามิสเลย”

สิ่งที่เป็นอามิสที่เราทำบุญกุศลมันเป็นอะไร?...อามิสทั้งนั้น

สิ่งที่เป็นอามิสเพราะอะไร เพราะเราอ่อนแอไง

“ล้มเหลว” หัวใจล้มเหลว แล้วล้มเหลวก็ยังทำลายตัวเองอีกนะ เวลาไปทำบุญกุศลน่ะ เราน้อยเนื้อต่ำใจ เราทำไม่ได้ดั่งใจของเรา เราจะปรารถนา เวลาทำขึ้นมาก็ต้องทำตามกิเลสตัณหาความทะยานอยากให้กิเลสมันเหยียบย่ำหัวใจ ต้องเป็นอย่างที่เราพอใจ ถ้ามันขัดใจเรานั่น เราทำบุญแล้วไม่ได้บุญแล้ว มันไม่พอใจแล้ว เห็นไหม ทั้งๆ ที่ว่าสิ่งที่เป็นอามิส

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกพระอานนท์ “อานนท์ เธอบอกเขานะ ให้ปฏิบัติบูชาเราเถิด อย่าบูชาเราด้วยอามิสเลย”

แต่ในสังคมโลกเขาต้องบูชาเป็นอามิสนั่นน่ะ แต่เวลาเราปฏิบัติ เราเป็นคนขึ้นมาแล้ว เรามีหลักมีเกณฑ์ขึ้นมาแล้ว ที่เราปฏิบัติอยู่นี่ เราปฏิบัติบูชาตามที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขอเลย “ปฏิบัติบูชาเถิด อย่าบูชาเราด้วยอามิสเลย” สิ่งที่เป็นอามิส ใครๆ ก็ทำได้ มันรัฐที่ล้มเหลวมันก็ยังทำลายตัวเอง ทั้งๆ ที่ทำบุญกุศลนะ มันก็ยังเป็นอกุศลทำลายตัวเองอีก เห็นไหม นี่เพราะมันล้มเหลว ล้มเหลวด้วยสติ ล้มเหลวด้วยปัญญา ล้มเหลวด้วยความรู้สึกนึกคิดของมัน

แต่ถ้ามีสติปัญญาขึ้นมานะ เราทำบุญทิ้งเหวใช่ไหม บุญก็คือบุญ ทำขึ้นมาเพราะอะไร เพราะเป็นเครื่องแสดงออกของน้ำใจ น้ำใจได้แสดงออกด้วยอามิสแล้ว เราจะปฏิบัติบูชา ถ้าปฏิบัติบูชาขึ้นมาแล้วก็อย่าให้มันล้มเหลวอีก ให้มันเข้มแข็งขึ้นมา ถ้ามันเข้มแข็งขึ้นมา เราตั้งสติของเรา มันจะเป็นอิสรภาพ มันมีอธิปไตยของมัน ถ้ามันมีอิสรภาพ มีอธิปไตยของมัน ดินแดนของเราใครจะมาแย่งชิง

เวลาทางโลกเขานะ ดูสิ เวลาเขาแย่งชิงกันด้วยเรือปืน เดี๋ยวนี้เขาจะปกครองกันด้วยเศรษฐกิจ เขาไม่เอาแล้วที่ดินน่ะ เขาไม่ไปยึดประเทศไหนแล้ว เขาจะให้ส่งให้เขาทุกๆ เดือน ทุกวัน ส่งดอกเบี้ย ส่งทุกอย่างน่ะ เขายึดครองกันด้วยเศรษฐกิจเลย

นี่เหมือนกัน เรามีอธิปไตยของเรา ถ้าเรามีอธิปไตยของเรา เราทำอย่างไร เราทำอย่างไรถึงเป็นอธิปไตยของเรา ถ้าเราใช้คำบริกรรม เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิใช่ไหม ถ้าจิตมันสงบเข้ามา นี่ไง เรามีอธิปไตย เรามีที่ดินของเรา เรามีอำนาจรัฐของเรา...แล้วใช้เป็นไหม? จะปล่อยให้มันล้มเหลวไป หรือเราจะพัฒนามันขึ้นมา

ถ้าเราจะพัฒนาขึ้นมา เรามีสติ ดูสิ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา พอตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ธรรมตามความเป็นจริง แล้วมันจริงเพราะเหตุใดล่ะ มันจริงเพราะมันมีมรรคญาณ มันมีศีล สมาธิ ปัญญา มันมีมรรคที่มันก้าวเดินไป ใจมันก้าวเดินไป นี่เวลาตรัสรู้ ตรัสรู้ที่หัวใจ ถ้าหัวใจมันก้าวเดิน ก้าวเดินอย่างไร กิจญาณ สัจญาณ...ถ้าไม่มีญาณทั้ง ๑๒ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ปฏิญาณตนว่าเป็นพระอรหันต์

แล้วนี่ แล้วของเรามันมีอะไร จะไปปล้นชิงมาใช่ไหม นี่ตัวเองล้มเหลวก็ยังไม่พอ ยังอ้างอิงไปอีก “ธรรมะเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนั้น” แตกหน่อ แตกเหล่ากออกไปให้กิเลสตัณหาความทะยานอยาก ความล้มเหลวนั่นให้เป็นผลไม้พิษ เป็นธรรมะที่ล้มเหลว เป็นธรรมะพิษ สอนให้มันออกนอกลู่นอกทาง ให้มันไปตามไหนล่ะ “ความล้มเหลว” มันก็ล้มเหลวเพราะเราก็ไม่ได้ผลอยู่แล้ว ยังชักนำให้คนอื่นล้มเหลวตามไปอีก

แต่ถ้าเป็นความจริง มันหนีจากอริยสัจไปไม่ได้ อริยสัจนี่เป็นความจริงนะ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอนาคตวงศ์ก็จะมาตรัสรู้อันนี้ แตกต่างกันเพียงแต่ว่า ๑๖ อสงไขย ๘ อสงไขย หรือ ๔ อสงไขย อำนาจวาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะมากน้อยแค่ไหนเท่านั้นเอง แต่โดยหลักเกณฑ์ก็อันนี้โดยหลักเกณฑ์ แตกต่างกันแต่อำนาจวาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละองค์ที่ว่าเกิดมาแล้วสร้างบุญกุศลมาขนาดไหน แล้วจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ได้มากน้อยแค่ไหน

ทีนี้ นั่นมันเป็นอนาคต แต่ในปัจจุบันนี้เราเป็นมนุษย์ หยิบฉวยเดี๋ยวนี้ก็ได้เดี๋ยวนี้ ทำมีสติ กำหนดลมหายใจ ถ้ามันสงบเดี๋ยวนี้มันก็สงบเดี๋ยวนี้ แล้วถ้าปัญญามันพิจารณาขึ้นมา มันก็ฆ่ากิเลสเดี๋ยวนี้เลย “เดี๋ยวนี้” กับ “รอไปอีกอนาคตกาล” นี่ความทุกข์ความยากในการเกิดและการตายมันแตกต่างกันอย่างใด แล้วเดี๋ยวนี้ทำไม่ได้เหรอ? เดี๋ยวนี้มันทำได้ ถ้าทำได้เราก็ตั้งสติเราขึ้นมา ทำของเราให้ได้

ดูทางโลกเขา เวลารัฐที่เขาล้มเหลวนี่นะ เวลาเขาทำลายกัน เขาแย่งชิงกัน ถึงเขาทำลายล้างคร่าชีวิตกัน มันสังเวชไหม มันสังเวชไหม ทำไมมันทำกันได้ขนาดนั้น ทำไมมันทำได้กันลงคออย่างนั้น แล้วเราย้อนกลับมาถึงความรู้สึกนึกคิดเราสิ เวลาอวิชชาตัณหาความทะยานอยากมันเหยียบย่ำทำลาย อารมณ์หนึ่งทำลายอารมณ์หนึ่งน่ะ มันเหมือนคนหนึ่งฆ่าคนหนึ่งน่ะ แล้วเราเห็นที่เวลารัฐล้มเหลวเขาทำกันน่ะ เราสลดสังเวช แต่เวลากิเลสมันเข่นฆ่า มันทำลายความดีของเรา มันทำลายความมั่นใจของเรา มันทำลายความจงใจ ความเพียรของเรา ทำไมเราไม่เสียใจบ้างล่ะ ถ้าเราเสียใจ เราเสียใจ เราสังเวชของเรา ธรรมสังเวชนะ

เวลาภาวนากันน่ะ ถ้ามันไม่ก้าวเดินไป หรือมันไปตันอยู่ เห็นไหม เราทำแล้วเราคอตกนะ เรานี่คอตกเลย มันเศร้าแล้วไม่มีทางออก ไม่มีทางออกเพราะเหตุใด ไม่มีทางออกเพราะเราอ่อนแอ นี่เวลาเรามีการกระทำไป ดูสิ ทุกๆ อย่างมันเป็นอนิจจัง ทุกอย่างมันมีการเปลี่ยนแปลงไปหมด เวลาทำสมาธิได้ ถ้าเราไม่มีสติปัญญา สมาธิมันก็เสื่อมไปเป็นธรรมดา เวลาเราใช้ปัญญามากขึ้นไป ถ้าปัญญาเราใช้กันจนเกินไป มันก็เป็นสัญญา มันก็เป็นสัญชาตญาณ

ดูสิ สัตว์มันก็ยังมีความรู้สึกนึกคิด สัตว์มันก็มีสัญชาตญาณของมัน สัญชาตญาณของมัน มันรับรู้นะ ตามสัญชาตญาณของมันเลยล่ะ แล้วเราเป็นมนุษย์ เรามีสมอง มีปัญญา แต่เวลาเราใช้ปัญญาเข้าไปจนเป็นสัญชาตญาณ จนมันเป็นสัญญาไป ทำไมเราไม่มีสติปัญญายับยั้งล่ะ

ถ้าเรามีสติปัญญายับยั้งใช่ไหม “เราวาง” เห็นไหม เราวางก่อน เราวางความรู้สึกนึกคิด ความคิดไง คือปัญญาที่เราวางไว้ก่อน แล้วพยายามทำความสงบของใจ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ

วางปัญญาไปแล้ว แล้วจะใช้ปัญญาอบรมสมาธิได้อย่างไร?

เวลาปัญญามันพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม พิจารณาของมันไป มันใช้กำลังของมันไป แต่ถ้าเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ มันมีสติขึ้นมาแล้วบอกว่า “ที่ทำอยู่นี่ถูกหรือผิด” พอมันผิดขึ้นมา “เราคิดไปทำไม” เห็นไหม ปัญญามันจะไล่ต้อนเข้ามา ไล่ต้อนความคิดเข้ามา

เพราะมันบอก “อ้าว! ภาวนามา ใช้ปัญญามาขนาดนี้ แล้วมันก็ไม่ได้ผล แล้วมันก็ทุกข์ยากขนาดนี้” นี่ไง สติมันก็กลับมาแล้ว พอสติมันกลับมา เห็นไหม สิ่งที่ไม่ได้ผลเพราะเหตุใดล่ะ เพราะเราใช้แต่ปัญญาออกพิจารณาไป ไม่ใช่ปัญญาที่มาดูใจตัวเอง...มันไม่มี พอปัญญามาดูใจตัวเอง มันก็ไม่คิดออกไป เพราะมันได้สติ มันก็มีความระลึกรู้ มันก็ย้อนกลับมาสู่ตน พอย้อนกลับมาสู่ตน

นี่ปัญญาอบรมสมาธิ กับวิปัสสนามันคนละเรื่องกัน

มันคนละเรื่องกัน มันคนละระดับกัน

แต่เวลาคนที่รัฐที่มันล้มเหลว ธรรมะที่ล้มเหลว มันจับต้นชนปลายไม่ถูก ไม่รู้จักว่าสุตมยปัญญาเป็นอย่างไร จินตมยปัญญาเป็นอย่างไร ภาวนามยปัญญาเป็นอย่างไร ตัวเองล้มเหลวแล้วยังจะชักจูงให้คนอื่นล้มเหลวตามตัวเองไปอีกเหรอ

ถ้าตัวเองล้มเหลว เห็นไหม เพราะถ้าล้มเหลวเพราะเหตุใด ล้มเหลวเพราะไม่รู้จุดไง ไม่รู้ถึงธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ ไม่รู้จักเหตุผล ไม่รู้จักวิธีการ ไม่รู้จักระดับของมันว่า ปุถุชน กัลยาณปุถุชน โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามรรค สกิทาคาผล อนาคามรรค อนาคาผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล มันแตกต่างอย่างใด

ถ้ามันแตกต่าง เห็นไหม ดูสิ เวลารถที่มันวิ่งไป ความเร็วของรถ ๑๐, ๒๐, ๓๐, ๔๐, ๕๐, ๖๐, ๗๐, ๘๐, ๙๐ ถึง ๑๐๐-๒๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง เห็นไหม ความเร็วมันแตกต่างกัน ถ้าความเร็วไม่แตกต่างกัน มันจะ ๑๐, ๒๐...ได้อย่างไร ๑๐ กับ ๒๐ มันก็แตกต่างกันแล้ว

นี่ไง เวลาจิตมันสงบ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ มันก็แตกต่างกันแล้ว แล้วเวลาออกใช้ปัญญา ปัญญาที่ปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาที่เป็นโลกียปัญญา กับปัญญาโลกุตตรปัญญามันแตกต่างกันอย่างไร

ถ้าเป็นรัฐไม่ล้มเหลว สิ่งนี้มันจะฝังแน่นอยู่ในหัวใจ เพราะมันมีหลักมีเกณฑ์ เพราะมันฝังแน่นในหัวใจ เห็นไหม เวลามันปกครองได้ เวลาปกครองไป นิติรัฐ ทั้งทางกฎหมาย ทั้งทางอธิปไตย ทางต่างๆ มันดูแลได้หมดล่ะ มันดูแลใคร? ก็มันดูแลหัวใจไง ดูแลภวาสวะ ดูแลภพ

เวลาคนเกิดนะ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย้อนอดีตชาติไป บุพเพนิวาสานุสติญาณ มันเกิดตายๆๆ มานี่มากี่ร้อยกี่พันชาติ

เวลาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “จิตหนึ่ง”

ถ้าการเกิดและการตาย เอาซากศพมา ซากศพแต่ละศพแต่ละชาติเอามากองกันน่ะ ใหญ่กว่าโลกนี้ ใหญ่กว่าจักรวาลนี้ นี่ไง แล้วจิตนี่มันเกิดตายๆ ถ้ามันอธิปไตยของมัน ครองใจของมัน แล้วถ้ามันพิจารณาของมัน มันทำของมันได้ มันรู้มันเห็นของมันนะ แล้วมันจะมีเกิดความลังเลสงสัยตรงไหน นี่พูดถึงถ้าอำนาจรัฐที่มันเป็นธรรม

“ธรรมาธิปไตย” ถ้าเป็นธรรมขึ้นมาน่ะ มันจะเข้าใจเรื่องความจริงทั้งหมด

ถ้าครูบาอาจารย์ของเรามันไม่ล้มเหลวในหัวใจ หัวใจไม่ล้มเหลว ไม่มีกิเลสตกค้างในหัวใจ เรื่องที่จะทำให้พวกเรานอกลู่นอกทางนี่มันเป็นไปไม่ได้เลย มันจะเป็นไปทางอย่างเดียว ทางว่า “เราทำไม่ได้ เราทำอย่างที่ครูบาอาจารย์เราบอกไม่ได้” เราทำของเราไม่ถึงเพราะอะไร เพราะภวาสวะ จิตใจของเรา กำลังใจของเรามันอ่อนแอ กำลังใจของเรา เห็นไหม กำลังใจเรามาจากไหน

ดูสิ พันธุกรรมของจิต จิตที่ได้สร้างบุญกุศลมา ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย นี่เห็นไหม ทำไมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละองค์ ทำไมมันแตกต่างกันล่ะ แตกต่างกันด้วยอำนาจวาสนาบารมี แล้วเวลาแตกต่างกันมันก็เกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติว่าง่ายหรือยากนี่ ดูสิ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔ อสงไขย ปฏิบัติอยู่ ๖ ปี กว่าจะตรัสรู้ธรรมขึ้นมา นี่ แต่ก็ตรัสรู้ เพียงแต่ว่า นี่ไง ดูสิ สิ่งที่ว่าพันธุกรรมของจิตมันแตกต่างกัน

ฉะนั้น เวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ถ้าเราทำไมได้แบบครูบาอาจารย์ที่บอกที่สอนเรา มันเป็นที่ไหนล่ะ นี่ไง แต่มันจะล้มเหลว ไม่ล้มเหลว ก็อยู่ที่เรานี่แหละ ถ้าเรามีสติมีปัญญาของเรา เราจะไม่ปล่อยให้จิตใจเราล้มเหลว เราจะเข้มแข็งของเรา เราจะตั้งสติปัญญาของเรา เราทำของเราไง

ดูสิ แก้วแหวนเงินทอง ทุกคนก็แสวงหาเพื่อมาเป็นสมบัติของบุคคลคนนั้น แล้วเราก็แสวงหาศีลธรรมเป็นหัวใจของเรา

“สมบัติของพระ” พระมีศีลและธรรมในหัวใจ พระมีศีลและธรรมเป็นสมบัติของใจ

เวลาจิตมันสงบขึ้นมามีสมาธิธรรม ถ้าจิตมันสงบมีสมาธิธรรม เห็นเงาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต” นี่เวลาร่างเงาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือว่าเรามีสมาธิธรรม เรามีอธิปไตย เรามีอิสรภาพที่เราจะเริ่มแสวงหาของเรา

เราไปทำความสงบของใจเข้ามา มันจะทุกข์ร้อน มันจะยากลำบากขนาดไหน สิ่งนี้เราพอใจจะทำ เพราะเรามีความพอใจ เรามีความเข้มแข็ง นี่ไง ถ้าจิตใจ...พันธุกรรมของจิต ถ้ามันเข้มแข็งขึ้นมา มันมีหลักมีเกณฑ์ขึ้นมา มันเป็นเรื่องธรรมดา ฝนตกแดดออกนี่เป็นเรื่องธรรมดา เจริญแล้วเสื่อมนี่มันเป็นเรื่องธรรมดา มันเป็นไปไม่ได้หรอกที่คนปฏิบัติแล้วไม่มีวันเสื่อม

มีดเราใช้ทำครัว มีดเราใช้เพื่อประโยชน์ของเรา มีดอันนั้นมันจะคมกล้าเป็นอย่างนั้นตลอดไปตั้งแต่ซื้อมีดมา มีมีดมาเล่มหนึ่ง แล้วมันจะคมกล้าอย่างนั้นไปตลอดจนมีดเล่มนั้นหมดอายุขัยเหรอ มันเป็นไปไม่ได้ เราใช้มีดหรือเราใช้สิ่งวัตถุสิ่งใดเพื่อประโยชน์ เราก็ต้องซ่อม ต้องบำรุง ต้องรักษา ต้องดูแลทั้งนั้นน่ะ

จิตใจก็เหมือนกัน เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมาจะให้มันดีตลอดไปโดยที่มันไม่ล้มลุกคลุกคลานน่ะ มันเอามาจากไหน มันไม่มีในโลกนี้หรอก ความจริงขึ้นมามันก็เจริญแล้วเสื่อม เสื่อมแล้วเจริญอย่างนี้แหละ เพียงแต่ว่าเราไม่ล้มเหลว เรามีสติปัญญาของเรา แล้วเราแก้ไขของเรา เรามีปัญญาของเรา เราต่อสู้ของเรา เรามีกำลังใจของเรา เห็นไหม แก้วแหวนเงินทองเขายังแสวงหา แล้วเราก็เข้าใจ ดูเพชรนิลจินดา ใจที่เป็นเพชรกัดเพชรขาด เพราะมันมีกำลังของมัน มันมีความกล้าแข็งของมัน

แต่นี่มันไม่อย่างนั้น มันล้มเหลวจากภายใน ข้างในไม่กัด ไปกัดข้างนอก เวลาข้างนอก เห็นไหม ส่งออกหมด นี่สิ่งเวลาส่งออกไป “ส่งออก” มันสร้างเวรสร้างกรรม เวลาเรื่องของเราเราไม่จัดการ เวลาเรื่องในหัวใจนี่เราไม่มีสติปัญญายับยั้งมันได้ แต่เวลาส่งออกไปข้างนอกนะ นี่มีกำลังหมดเลย จะไปบริหารจัดการเรื่องข้างนอกหมดเลย นี่ไง มันล้มเหลวแล้วนะ

ดูที่รัฐที่ล้มเหลวสิ เวลาเขาทำลายกัน เขาฆ่ากัน เขาทำลายกันเพื่ออะไร เพื่อด้วยทิฏฐิมานะ ด้วยชนเผ่าของเขา ไอ้นี่เวลามันล้มเหลวของหัวใจน่ะ หัวใจมันล้มเหลวแล้ว มันไม่มีสติปัญญา มันจะออกไปทำข้างนอก นี่มันจะไปข้างนอก มันจะไปข่มขี่ข่มเหงคนนู้นคนนี้ มันไม่มีประโยชน์อะไรหรอก ไม่มีประโยชน์อะไรเลย ไอ้นี่มันเรื่องโลกๆ เห็นไหม

“กรรม” เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร

เราจะไปจองเวรจองกรรมใคร แต่ด้วยปัญญาใช่ไหม ด้วยความสื่อใช่ไหม เราก็ต้องรู้

ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกพระเทวทัตไง เทวทัตจะมาขอปกครองสงฆ์นะ

“เทวทัต แม้แต่อัครสาวกเบื้องซ้ายเบื้องขวาเรายังไม่ให้เลย เราจะให้เธอได้อย่างใด เราไม่ให้ใครปกครองใครหรอก เราจะให้สงฆ์ปกครองสงฆ์”

“สงฆ์” คือสังคมในปัจจุบันนั้น

ดูสิ ที่วัดใดหมู่ใดมีพระตั้งแต่ ๔ องค์ขึ้นไป นั้นถึงเรียกว่าสงฆ์ ถ้าพระไม่ถึง ๔ องค์ขึ้นไปไม่เรียกว่าสงฆ์ นี่มันเป็นบุคคล มันเป็นบุคคลอุโบสถ คณะอุโบสถ สังฆะอุโบสถ เป็นคณะบุคคล เป็นบุคคล ถ้า ๒ หรือ ๓ ขึ้นไปเป็นคณะบุคคล ถ้า ๔ ขึ้นไปเป็นสงฆ์ เห็นไหม

“เราให้สงฆ์ปกครองสงฆ์”

แล้วถ้าสงฆ์มีถึงสงฆ์ คือปกครองสงฆ์ขึ้นมา สงฆ์มันจะปรึกษาหารือกัน ในเมื่อสงฆ์ตั้งแต่ ๔ องค์ขึ้นไป จะทำสิ่งใดเขาจะปรึกษาหารือกัน เห็นไหม ดูในวินัยสิ บางข้อบอกว่าต้องให้สงฆ์เป็นผู้ชี้ขาด ถ้าสงฆ์เป็นผู้ชี้ขาดแล้วมันสงฆ์ปกครองสงฆ์ นี่มันปลอดภัยไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเมื่อไรที่ไหนมีสงฆ์ และไม่มีสงฆ์ล่ะ ถ้าพระไม่ถึง ๔ องค์ขึ้นไป มันก็ไม่มีสงฆ์ ถ้าพระ ๔ องค์ขึ้นไปมันก็มีสงฆ์

“เราให้สงฆ์ปกครองสงฆ์”

เพราะกาลเวลามันเปลี่ยนแปลง มนุษย์ก็เปลี่ยนแปลง ความรู้สึกนึกคิดของคนเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาล่ะ ฉะนั้น ให้ใครปกครอง เวลาเขาหมดอายุขัยไปแล้วมันมีปัญหาไหมล่ะ ฉะนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ให้ใครปกครอง ให้สงฆ์ปกครองสงฆ์ เห็นไหม

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาเทศน์พูดกับเทวทัต เวลาในสังคมนั้น ฉะนั้น มันเรื่องของสงฆ์ เรื่องของการบริหารจัดการในองค์กรของสงฆ์ มันก็ต้องมีผู้มีปัญญา

ฉะนั้น เวลาบอกว่า “นี่เรื่องของข้างนอก เราไม่เกี่ยว เราต้องเอาตัวเราให้รอดได้” นี้เป็นระหว่างที่เราพยายามจะเอาตัวรอด นี้เราพยายามจะสร้างอำนาจรัฐ อำนาจของเรา อำนาจของสมาธิ อำนาจของปัญญาในหัวใจของเรา เพื่อชำระล้างให้หัวใจของเราสะอาดบริสุทธิ์

ฉะนั้น สิ่งที่ว่า เวลาสงฆ์ปกครองสงฆ์นั่นน่ะ มันเป็นเรื่องของสังคม เรื่องของสงฆ์เรา เรื่องของสังฆะ เรื่องของศากยบุตรพุทธชิโนรสที่สืบต่อๆๆ กันมาจนในถึงปัจจุบันนี้ ตั้งแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานไป สงฆ์ไม่เคยขาดจากโลก ถ้าสงฆ์ขาดจากโลก เราจะบวชพระกันมาไม่ได้ นี้เราบวชพระกันมา สืบต่อกันมา ล้มลุกคลุกคลานมาขนาดไหน สังคมสงฆ์ก็ช่วยกันดูแลเจือจานกันมาจนถึงปัจจุบันนี้

ฉะนั้น สิ่งที่ว่าเป็นปัญญาการปกครอง การดูแล มันเป็นเรื่องของปัญญาที่เราดูแลหมู่คณะ นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ฉะนั้น เวลาเราพูดถึงเรื่องของหมู่คณะ เรื่องของสังคม มันพูดมันปัญญาอย่างนี้ไม่ใช่ว่าไปทำลายกัน แต่มันต้องให้รู้เท่ารู้ทันไง “รู้เท่ารู้ทัน” เพราะว่าสงฆ์ เวลาประชุมสงฆ์ เวลาสังฆกรรม เขาก็ต้องดูแลกัน

แต่เวลาประพฤติปฏิบัติ ย้อนกลับทั้งนั้นน่ะ ย้อนกลับมาที่หัวใจของเรา เราถึงบอกว่าเราต้องเอาใจของเราให้ได้ก่อน สิ่งข้างนอกน่ะ เวลาถ้ายิ่งเราชำระล้างเข้าไปแล้วนะ ยิ่งถ้าจิตใจเรายิ่งสะอาดบริสุทธิ์มากขึ้นๆ มันจะกราบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกพระอานนท์

“อานนท์ เธออย่าเสียใจไปเลย”

พระอานนท์ร้องไห้นะ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน

“อานนท์ เธออย่าเสียใจไปเลย ผู้ที่อุปัฏฐากในอนาคตหรืออดีตมา จะไม่มีใครอุปัฏฐากดีไปกว่าเธอ”

“...ดีไปกว่าพระอานนท์ พระอานนท์ได้ทำคุณประโยชน์ ทำคุณงามความดีกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้มหาศาล ฉะนั้น เราล่วงไปแล้ว ๓ เดือน จะมีสังคายนา เธอจะเป็นพระอรหันต์วันนั้น”

นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพยากรณ์ไว้เลย นั่นพระอานนท์

พระอานนท์ เวลาประชุมสงฆ์ เวลาทำสรีระขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเรียบร้อยแล้ว แล้วพระกัสสปะก็จะทำสังคายนา พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ พระอานนท์ยังไม่สำเร็จ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าเราจะเป็นพระอรหันต์วันนี้ๆๆ ส่งออกๆๆ...รัฐล้มเหลว แม้แต่มันจะได้อยู่แล้วยังล้มเหลว อำนาจรัฐยังไม่กระชับ มันไม่กระชับอำนาจรัฐเข้ามาเพื่อมีอธิปไตย เพื่อมีกำลัง เพื่อมีสัจธรรมเข้ามา

เวลาปล่อยหมด นี่ไง ส่งออกไง ส่งออกว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ทีนี้ เวลาพระอานนท์ถึงวันจะสังคายนา พอมันวิตกกังวล นี่ความล้มเหลวของใจ นี่ถ้าอำนาจรัฐ ธรรมะล้มเหลวน่ะ ล้มเหลวในใจ มันจะส่งไปให้เดือดร้อนกันไปหมดเลย นี่พระอานนท์ ตรึกแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า จะเป็นพระอรหันต์นะ

เวลา “โอ้! ทั้งคืนเลย ไม่ไหวแล้ว” ผ่อน...พอผ่อน “เราจะพักเสียก่อนเถอะ” พอเอียงจะนอนลง นี่มันปล่อยหมด อธิปไตยสมบูรณ์ ทุกอย่างสมบูรณ์ สมบูรณ์หมด นี่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทันทีเลย นี่พอสำเร็จเป็นพระอรหันต์ เช้าขึ้นมาดำดินไปโผล่อยู่ท่ามกลางสงฆ์

เวลาถ้าเราชำระล้าง เราทำหัวใจของเราให้สะอาดบริสุทธิ์ ให้หัวใจเรามีเป็นธรรมขึ้นมา สิ่งที่เป็นธรรมขึ้นมา เวลาเราจะแก้ไข หรือเราจะพูดถึงเรื่องของสังคมของเรา สังคมของสงฆ์ ศากยบุตรพุทธชิโนรส ศาสนทายาท นี่เวลาทำประโยชน์กับสงฆ์ นี่มันยังมีประโยชน์มากกว่า มากกว่าที่ว่าเราจะต้องจัดการ ต้องบริหารจัดการ ต้องไปจะให้ได้ดั่งใจ มันไม่มีหรอก มันไม่มีหรอก

อำนาจวาสนาของคนไม่เหมือนกัน นี่มุมมอง ทัศนคติของคนแตกต่างหลากหลาย แตกต่างหลากหลายเพราะเหตุใด เพราะกรรมของเขาไง เพราะพันธุกรรมทางจิตมันแตกต่างกันมาไง ถ้ามันแตกต่างกันมา ถ้าไม่ถึงเวลาเขาไม่ “อ๋อ” หรอก ถ้าไม่ถึงเวลา หัวใจเขาไม่เปิด ถ้าหัวใจเขาไม่เปิด เราจะไปบริหารจัดการอย่างไรมันก็ไม่เป็นประโยชน์หรอก ถ้าเราต้องบริหารจัดการหัวใจของเราให้ได้ก่อน ถ้าบริหารหัวใจของเราให้ได้ก่อน

ดูสิ ดูเวลาพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์สิ พระอานนท์ดำไปโผล่ขึ้นมาเลย นี่สะอาดบริสุทธิ์ แล้วสังคายนามาจนมันเป็นประโยชน์ขนาดนี้ นี่เถรวาทมา มาจากสงฆ์ ๕๐๐ องค์ที่เป็นพระอรหันต์บัญญัติมาเป็นธรรมวินัยที่เราศึกษากันอยู่นี่

ทีนี้ ธรรมวินัยที่เราศึกษาอยู่นี่ เราก็เอาเรือปืนไปปล้นมาใช่ไหม ต้องเป็นความรู้ของเราเหรอ ความรู้เราศึกษามานี่ ธรรม พุทธพจน์ที่พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์สังคายนากันมา นี่สังคายนากันมาก็เป็นธรรมและวินัย นี่เป็นแผนที่เครื่องดำเนิน แต่อธิปไตยของเราอยู่ไหน นี่จะปล่อยให้มันล้มเหลวอย่างนี้แล้วไปซึมซับเอาสิ่งนั้น เหมือนกับยึดครองกันใช่ไหม ยึดครอง ล่าอาณานิคม แล้วจะแสวงหาผลประโยชน์จากสิ่งยึดครองเหรอ

“การยึดครอง” ผู้ที่โดนปกครองเขาก็ไม่พอใจ ผู้ที่โดนปกครองเขาอยากมีอิสรภาพ

“มนุษย์” สมบัติที่สงวนรักษาที่สุด คืออิสรภาพ คือความเป็นอิสรภาพของตัวเอง มนุษย์นี้ทุกคนต้องการมาก มนุษย์ต้องการมาก นี้พูดถึงมนุษย์นะ แล้วจิตใจต้องการอิสรภาพไหม จิตใจก็ต้องอยากพ้นจากกิเลสเหมือนกัน

ถ้าจิตใจมันพ้นจากกิเลส เราจะต้องทำมากกว่านั้น ไม่ใช่ทำตามแบบโลกๆ เห็นไหม โลกเขาเอาเรือปืนไปข่มขี่กัน แต่เขาปกครองแล้วเขาก็โดนต่อต้าน นี้เหมือนกัน เอาเรือปืนไปปล้นมาน่ะ ว่าธรรมะนี้เป็นธรรมวินัยที่พุทธพจน์ที่พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์จดจำจารึกมา เราศึกษามารอบรู้หมด หมดแล้ว นี่ไง แล้วจะไปยึดครองเอาอย่างนี้เหรอ

“ธรรมะล้มเหลว” ล้มเหลวเพราะไม่เป็นธรรมของตัว ล้มเหลวเพราะตัวเองไม่มีความจริง

สิ่งที่จำมานะ ขณะเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เวลาจิตใจมีปัญญาขึ้นมา เราเหมือนเราจะรู้ทุกๆ อย่างหมดเลย เวลามันเสื่อมนะ ไม่เหลืออะไรในหัวใจเลย เพราะเป็นความจำ แต่ถ้าเป็นความจริงนะ ถ้ามันมีเหตุมีผลของมัน เวลาเราบริกรรมพุทโธ หรือปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าจิตสงบเข้ามานี่ ความสงบอันนั้น เห็นไหม

ดูสิ ในปาราชิก ๔ อวดอุตตริมนุสสธรรม เริ่มต้นตั้งแต่ฌานสมาบัติ นี่ไง เริ่มต้นตั้งแต่อวดอุตตริมนุสสธรรม ถ้ามีฌานสมาบัติแล้วบอกว่ามี อวดเขาน่ะ นี่ถ้าไม่มี ไม่มีบอกอวด ถึงจะเป็นปาราชิก

ถ้ามีอวด อวดใคร?

อุปสัมบัน อนุปสัมบัน

แต่เวลาเทศนาว่าการมันไม่ใช่อวด เวลาเทศนาว่าการ เห็นไหม ดูสิ เวลาชักนำขึ้นมา รัฐที่เขาไม่ล้มเหลว เขามีความรู้จริงของเขา ถ้ารู้จริงของเขา ความรู้จริงอันนี้เขาจะบอกเป็นแนวทาง นี่พูดถึงว่าถ้าเป็นปาราชิก ๔ ถ้าไม่มีในตน เริ่มตั้งแต่ฌานสมาบัติไป

ฉะนั้น ความสงบของใจมันก็ต้องแตกต่างกว่าปุถุชนสิ มันต้องแตกต่างกับโลกอยู่แล้ว ทีนี้ ถ้ามันแตกต่าง แล้วเวลาเราทำขึ้นมา ถ้ามันล้มเหลวขึ้นมาน่ะ มันไม่มีอะไรสิ่งใดตกค้างในหัวใจเลย แล้วมันจะแตกต่างตรงไหน มันก็ล้มเหลวไง มันก็ไม่มีหลักเกณฑ์ในใจน่ะสิ

แต่ถ้ามีหลักเกณฑ์ในใจนะ จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่าเป็นสมาธิ พอจิตเป็นสมาธิมีความร่มเย็นนะ ร่มเย็นขนาดที่ว่า ถ้าภาวะของใจ ใจอ่อนแอ พอใจอ่อนแอ มันคิดว่าสมาธิเป็นนิพพาน

นี่ไง ถ้ามันเข้มแข็งมาโดยมีที่ดิน มีเขตอำนาจ แต่ปกครองไม่ได้ มีเขตอำนาจที่เขตอำนาจรัฐ นี่มันมีเขตอำนาจรัฐแต่ปกครองไม่ได้ นี่ไง พอจิตมันกำหนดเป็นสมาธิขึ้นมา มันเป็นสมาธิอย่างไร นี่เป็นสมาธิ มีหยาบมีละเอียดขึ้นไป พอมีสมาธิขึ้นมา เข้าใจว่าสมาธินี้เป็นนิพพาน ว่าจิตสงบแล้วเข้าใจว่าสมาธิเป็นนิพพาน

มีเขตปกครอง แต่ปกครองไม่ได้ เพราะอะไร เพราะมันไม่ใช่ความจริง แต่เราไม่บริหารจัดการ เราไม่มีกฎหมาย ไม่มีสิ่งใดจะไปปกครองอย่างใด แต่เวลาเรามีสมาธิแล้วใช่ไหม จิตมันสงบเข้ามา เรามีอาณาเขตจะปกครอง แล้วเราออกวิปัสสนา เราออกใช้ปัญญาของเรา ปัญญามันเกิดขึ้นมา นี่ปัญญา

แล้วเราจะปกครอง เราปกครองด้วยอะไร จะปกครองเราก็ปกครองด้วยกฎหมายไง เราปกครองด้วยอำนาจรัฐไง เรามีกฎหมาย เรามีผู้รักษา เรามีผู้บริหารจัดการการบังคับใช้กฎหมายนั้น นี่เวลาเกิดมีอำนาจ เกิดมีสถานที่ของเรา เราเกิดจิตมันสงบขึ้นมา นี่ฐีติจิต จิตมีความสงบเข้ามา ถ้าจิตมันอ่อนแอ มันก็บอกว่านี่คือนิพพาน

แต่ถ้าจิตของคนเข้มแข็ง มันจะไม่ใช่ เพราะเรายังบริหารจัดการไม่ได้ เราต้องสร้างอำนาจรัฐขึ้นมาให้มันเข้มแข็งขึ้นมา ถ้าอำนาจรัฐที่เข้มแข็งขึ้นมา มันบริหารจัดการของมัน มันจะเป็นประโยชน์ของมันเห็นไหม

ไปปล้น ไปชิงใครมา ไม่ใช่ในปัจจุบันนี้ไง ในปัจจุบันเห็นไหม ดูสิ ทิฏฐิมานะ ศึกษาแล้วก็เข้าใจๆ ว่ารู้ๆๆ น่ะ เวลามันสัญญามันจำมา เวลามันเสื่อม เสื่อมหมดเลย ความที่รู้ๆ น่ะ ไม่มีอะไรตกค้างในใจเลย แต่ในการประพฤติปฏิบัติของเราขึ้นมา เวลาเป็นความจริงขึ้นมา เรามีอาณาเขตของเรา เรามีอธิปไตยของเรา แล้วเรามีปัญญาของเรา เห็นไหม พอมีปัญญาของเรา นี่งานชอบ เพียรชอบ สมาธิชอบ สิ่งที่มันมีความชอบธรรมขึ้นมา มรรคญาณมันเกิดขึ้นมา

จิตสงบแล้วน้อมไปดูพิจารณากาย พิจารณาของเรา พิจารณาขึ้นมา พอพิจารณาขึ้นมามันแยกแยะของมันอย่างไร นี่แล้วเวทนา เวทนามันเจ็บปวดแค่ไหน เวทนาเห็นไหม ดูสิ ทางโลกเขา เขาดีใจเสียใจ เขาร้องไห้ เขาดีใจกันน่ะ นั่นก็เวทนาของเขา นั่นคือเวทนาของโลก แล้วเวทนาของเรา เวทนากาย เวทนาจิตล่ะ เวลาเวทนาของกาย เห็นไหม ดูสิ ร่างกายมันเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นมา มันก็มีเวทนาของมัน

เวลามันร่างกายสมบูรณ์มาก แข็งแรงมาก ทุกอย่างไม่มีสิ่งใดเลย ทำไมมันเสียใจเศร้าใจอยู่นี่ล่ะ นี่เวลาไม่มีสิ่งใด ร่างกายไม่กระทบกระเทือนสิ่งใดเลย กินอิ่มนอนอุ่น ทุกอย่างพร้อมหมดเลย ทำไมหัวใจมันดิ้นรนนัก ทำไมมันมีความเสียใจมากนัก นี่ไง นี่มันพลิกเข้ามา เข้ามาเห็น มันพิจารณาเข้ามา

นี่ไง ถ้าไม่ล้มเหลว มันต้องมีสิ มีกฎหมาย มีการบังคับใช้ มีต่างๆ ขึ้นมา มันปกครองได้ การปกครองได้กับการปกครองไม่ได้ นี่ถ้าการปกครองไม่ได้ มันล้มเหลวมาตั้งแต่ต้น ล้มเหลวมาตลอด นี่ไง แล้วบอกสิ่งนั้นเป็นธรรม สิ่งนั้นเป็นธรรม ธรรมของใคร ธรรมของใคร?

แต่ถ้าเป็นธรรมของเรา นี่ไง บอกว่าปฏิบัติๆ ภาคปฏิบัติ ภาคกรรมฐาน เขาปฏิบัติกัน เขามีหลักมีเกณฑ์ของเขา เขามีครูบาอาจารย์ของเขา ครูบาอาจารย์คอยชี้นำ ขอนิสัยๆ นิสัยคืออะไร ได้นิสัยมา ได้นิสัยเพราะประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ครูบาอาจารย์คอยชี้นำมาคอยชักนำมา คอยเคาะ คอยบอก... คอยเคาะ คอยบอกนะ

เวลาเราศึกษาของเราเอง เราก็มาพิจารณาถูก-พิจารณาผิด แล้วกิเลสมันก็เข้าข้างตัวเองตลอด “โอ้โฮ! เรานี่ปัญญามาก เรารู้ไปหมดทุกอย่างเลย” นี่เวลากิเลสมันหลอกนะ เวลากิเลสมันหลอก มันว่ามันรู้ไปหมดทุกอย่าง แล้วรู้อะไร? มันไม่รู้อะไรเลย มันไม่รู้อะไรเลย มันไม่ใช่ประโยชน์อะไรสิ่งใดเลย

เวลาคนเจ็บไข้ได้ป่วย เวลาเขาไปหาหมอ หมอเขาจะรักษาตามอาการนั้น แต่ถ้าหมอที่เขาดีนะ เขาให้ยา เขาให้ทุกอย่างเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บนั้น นี่ก็เหมือนกัน เจ็บไข้ได้ป่วย แล้วบอก “รู้หมดๆ”...รู้อะไร ตัวเองป่วยยังไม่รู้ว่าป่วยเลย

ฉะนั้น ถ้าจิตมันจะรู้ตัวของมันนะ เวลาจิตมันสงบแล้ว มันน้อมไป ถ้ามันเห็นกาย...กิเลสมันคืออะไร? กิเลสนี้เป็นนามธรรม คำว่า “กิเลสๆ” แล้วบอกกิเลสนี่เป็นตัวเป็นตน ดูสิ ทางวัดทางวาเขาวาดไว้ กิเลสเป็นยักษ์เป็นมาร โอ๋ย! มันตัวใหญ่มากเลย

แต่เวลากิเลสมากับเรา กิเลสในหัวใจเรามันอนุสัยมันนอนมา มันเป็นอะไร มันมาจากไหน มันแสดงตัวอย่างใด นี่ไง แต่ถ้าเรามีสติปัญญา เวลาจิตน้อมไป น้อมไปเห็นกาย เห็นกายนะ พิจารณากายของเราไป มันสะเทือนหัวใจนะ นี่กิเลส มันก็เป็นความรู้สึกเรานี่แหละ มันอยู่ในหัวใจนี่แหละ แต่มันเป็นสิ่งที่ซับซ้อนทับถมมากับใจ แล้วมันจะทำนะ ถ้าคนตามคิด ตามคิดซ้ำคิดซาก มันจะทำให้จิตนี้หยาบ เอาแต่ใจ เอาแต่ความพอใจของตัว

แต่ถ้าคนที่มีละเอียดลึกซึ้ง เขาพิจารณาของเขาแล้วว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ สิ่งนี้ทำให้เราจมปลักอยู่กับการเกิดและการตาย นี่สิ่งที่เราจมปลักอยู่กับมันมาตลอด ทั้งๆ ที่ว่าเรารักตัวเราเอง เรารักของเรามาก แต่เราเข้าใจผิด ด้วยทิฏฐิมานะ ด้วยความเห็นผิดว่าสิ่งที่เราทำมันจะเป็นความสะใจ แต่มันสร้างเวรสร้างกรรมให้จิตใจนี่หยาบไปเรื่อยๆ ยิ่งหยาบยิ่งต้องการ ต้องการยิ่งการกระทำให้สะใจของตัว

แต่ถ้ามีสติปัญญา มันพิจารณาของมัน มันเห็นว่าสิ่งนี้ไม่ควรทำ สิ่งนี้ให้โทษกับเรา สิ่งนี้ไม่เป็นประโยชน์อะไรเลย ทำไปแล้วไม่เกิดประโยชน์ แล้วเกิดโทษอีกต่างหาก เห็นไหม เราทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ดีกว่า นี่ปัญญามันใคร่ครวญของมัน ใคร่ครวญสภาวะแบบนี้เข้ามา นี่ไง มันไปลบล้างสิ่งที่เคยใจๆ มาน่ะ

แต่ว่าเวลาเคยใจขึ้นมา มันเป็นนามธรรมๆ “กิเลสๆ” ไหนว่ากิเลส กิเลสจะฆ่ามันๆ น่ะ...จะฆ่ามัน มันเอาธรรมะนี่หลอกเรา เอาธรรมะนี่ลวงเราว่าเรานี่รู้หมด ตีนลอยเลยนะ มันลอยลมไง กิเลสมันยกก้นหน่อยเดียวลอยเลย พอลอยเลยนะ ล้มเหลว พลิกคว่ำพลิกหงาย...เสร็จมัน เสร็จ นี่กิเลสเอาไปกินอีกแล้ว

กิเลสคือสังคมในหัวใจของเรา มันจะทำให้เราล้มเหลว ทำให้เราก้าวเดินไปไม่ได้ เราต้องมีสติปัญญานะ แล้วตั้งสติให้บังคับผู้ใช้กฎหมาย สติเป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย กฎหมายเห็นไหม ปัญญาเป็นผู้แยกแยะ เป็นพิพากษาว่าผิดหรือถูก สติเป็นผู้บังคับใช้ สมาธิเป็นเจ้าพนักงานจับไว้ นี่ปัญญาเป็นผู้แยกแยะ

ถ้าสังคมใดมีการปกครองด้วยกฎหมาย ด้วยอำนาจนิติธรรม ด้วยความเป็นธรรม เห็นไหม สังคมนั้นจะมีความร่มเย็นเป็นสุข ถ้ากิเลส กิเลสคือความเคยใจ เป็นผู้ที่เกียจคร้าน ไม่ทำหน้าที่การงาน แต่หวังผลประโยชน์ หวังแต่สิ่งความพอใจของตัว เห็นไหม สิ่งนี้เป็นฝ่ายโจรฝ่ายมาร

ฝ่ายที่เป็นเจ้าพนักงาน ฝ่ายที่เป็นธรรม ฝ่ายที่เป็นผู้พิพากษา ฝ่ายที่สังคมที่ต้องอยู่ในสังคม เขาต้องมีอาชีพของเขา นี่ก็เหมือนกัน มีสติ มีสมาธิ มีปัญญาของเรา มันก็แก้ไข เห็นไหม สิ่งใดที่เป็นโทษ มันเห็นว่าเห็นเป็นโทษ มันพิจารณาของมันแล้วมันวางของมัน นี่การบังคับใช้ ให้อำนาจรัฐนั้นเข้มแข็งขึ้นมา นี่การบังคับใช้ให้จิตใจมันเห็นโทษเห็นภัยของมันขึ้นมา มันเห็นโทษของมันมันก็ปล่อยของมันเป็นชั้นเป็นตอนเข้ามา ปล่อยเป็นชั้นเป็นตอนเข้ามา เห็นไหม

ในเมื่ออำนาจรัฐเข้มแข็ง อำนาจรัฐแข็งแรงขึ้นมา มันก็เป็นประโยชน์กับเรา ถ้าเป็นประโยชน์กับเรา มันมาจากไหน? มันมาจากการกระทำ มันมาจากการประพฤติปฏิบัติ มันมาจากอธิปไตย มาจากอิสรภาพ มาจากความเป็นจริงของใจเราขึ้นมา นี่มันถึงว่าเป็นธรรมะที่มันก่อตัวขึ้นมา เป็นหน่อของพุทธะ เป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติที่เราล้มเหลวน่ะ นี่เราล้มเหลวกันมา ล้มเหลวมาแต่อ้อนแต่ออก แล้วเราก็พยายามจะสร้างคุณธรรมของเราขึ้นมา

นี่ไง สิ่งที่เป็นสมบัติของพระคือศีลธรรมจริยธรรม “ศีลธรรม” ถ้าพระเราไม่ทรงธรรมทรงวินัย ใครจะทรง สิ่งที่เป็นธรรมวินัยมันเป็นอริยทรัพย์ เห็นไหม พูดเมื่อไร บอกเมื่อไรก็ได้ เพราะมันมีอยู่ในหัวใจ ไม่ได้ไปปล้นไปชิงใครมา ไม่ได้เอาเรือปืนไปปล้น แต่มันเป็นความจริงขึ้นมา ถ้าเป็นความจริงขึ้นมา พูดที่ไหน พูดเมื่อไรมันก็เป็นความจริง

แต่ถ้าไปปล้นมา พอใช้หมดแล้วมันจะไปปล้นอีกๆๆ เพราะมันใช้หมดแล้ว มันไม่มีเป็นสมบัติของตน เพราะมันล้มเหลวจากหัวใจ มันล้มเหลวจากภายใน แต่ถ้าเป็นความจริงนะ เห็นไหม ดูสิ น้ำอมตธรรมในหัวใจ ดูสิ บ่อน้ำที่เขาขุดใช้ขึ้นมามีน้ำน่ะ เขาตักตวงขนาดไหนมันก็ซึมขึ้นมา มันก็มีน้ำให้ใช้ตลอดไป หัวใจถ้ามันเป็นธรรมขึ้นมา สมาธิมันก็รู้ว่าเป็นสมาธิ สติมันก็รู้ว่าเป็นสติ แล้วปัญญาแค่ไหน มันรู้ของมันแค่นั้น

บ่อน้ำตื้น บ่อน้ำลึก บ่อน้ำกว้างขวางขนาดไหน มีน้ำใช้มากน้อยแค่ใด อยู่ที่การประพฤติปฏิบัติ อยู่ที่การกระทำอันนั้น นี่ถ้าเราทำของเราขึ้นมามันเป็นประโยชน์กับเรา เห็นไหม ประโยชน์กับเราเพราะเราตั้งใจ เรามีความจริงใจ เรามีความจงใจขึ้นมา เราทำเพื่อประโยชน์กับเรานะ

ทุกคน เวลาประพฤติปฏิบัติกับครูบาอาจารย์นะ จะมีความขวนขวาย มีแก่ใจ มีการขวนขวาย มีการกระทำ เพื่อประโยชน์กับเรา ครูบาอาจารย์นะ ท่านผ่านทุกข์ผ่านร้อนมามาก หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นตั้งแต่เริ่มต้นมาน่ะ ท่านผ่านทุกข์ผ่านร้อนมามาก

คำว่า “ผ่านทุกข์ผ่านร้อน” นะ ดูสิ เราฝึกงานคนน่ะ เราฝึกงานเด็ก ถ้าเด็กมันฝึกงาน มันทำงานไม่เป็น มันต้องมีเทคนิค มันต้องรู้ข้อเท็จจริง มันถึงจะทำของมันได้ แล้วประสบการณ์น่ะ ประสบการณ์มากน้อยมันฝึกซ้ำฝึกซากน่ะ

มันเหนื่อยไหม?...เหนื่อย

ทุกข์ยากไหม?...ทุกข์

แต่เราอยากให้เขารู้หรืออยากให้เขาไม่รู้ล่ะ ถ้าอยากให้เขารู้ เราก็ต้องให้เขาทำ เขาต้องทำ เขาถึงจะรู้ ถ้าเขาไม่ทำ ดูสิ เหมือนเอาเรือปืนไปปล้นไปชิงมาน่ะ ไม่จริงหรอก

ถ้าให้เขาทำน่ะ แล้วครูบาอาจารย์ที่ผ่านทุกข์ผ่านร้อนมาน่ะ ท่านเห็นสภาวะนั้นน่ะ ท่านสะเทือนใจไหม ครูบาอาจารย์องค์ใดก็แล้วแต่ ถ้าท่านได้ผ่านทุกข์ผ่านร้อนของท่านมา แล้วท่านจะต้องฝึกศาสนทายาทเพื่อความชำระล้างหัวใจขึ้นมา เพื่อให้สงฆ์ปกครองสงฆ์นี่แหละ ถ้าสงฆ์ที่มันเป็นจิตใจที่สะอาดบริสุทธิ์ สงฆ์ที่มีจิตใจที่เป็นธรรม ปกครองสงฆ์ มันจะมีความร่มเย็นเป็นสุข แล้วสงฆ์นั้นจะมีความร่มเย็นเป็นสุข แล้วถ้าสงฆ์เป็นผู้นำ สังคมก็มีความร่มเย็นเป็นสุขแน่นอน

ฉะนั้น สิ่งที่ว่าครูบาอาจารย์ท่านทุกข์ท่านยากของท่านมา แล้วการประพฤติปฏิบัติ...

หินกรวดทรายมีอยู่ทั่วไป เพชรนิลจินดาหาได้ยากมาก เพราะมันเป็นสิ่งที่มีค่า นี่ก็เหมือนกัน สิ่งที่เราจะการกระทำ เราต้องการสิ่งใด หินทรายกรวดต่างๆ มีอยู่ทั่วไป ที่ไหนก็มี แล้วเวลาการปฏิบัติ แล้วเพชรนิลจินดาล่ะ ฉะนั้น สิ่งที่หินทรายกรวดเราก็ไม่อยากได้ เพราะโลกเขาใช้เป็นวัตถุก่อสร้าง แต่ถ้าเป็นเพชรนิลจินดาเราเอามาเป็นเครื่องประดับนะ เพราว่ามันมีคุณค่ามาก เราจะเอาหินมาร้อยแล้วเป็นเครื่องประดับ นี่ไม่มีใครเห็นมีคุณค่าหรอก แต่ถ้าเป็นเพชรนิลจินดามีคุณค่า แต่การแสวงหามามันยาก

ฉะนั้น สิ่งที่เราจะทำประโยชน์กับเรา เราก็อยากได้เพชรนิลจินดา อยากได้ความจริง เราไม่อยากได้กรวด ได้ทราย ได้อย่างต่างๆ ที่โลกเขาไม่ปรารถนา โลกเขาไม่ปรารถนา เราก็ไม่ปรารถนา โลกเขาไว้ใช้ประโยชน์ของเขา ไว้ใช้ประโยชน์เพื่อการก่อสร้างการต่างๆ เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย นั้นเป็นที่อยู่อาศัยของโลกชั่วคราว

แต่สิ่งที่ว่าเพชรนิลจินดามันเปรียบถึงคุณภาพของจิต ถ้าจิตมันมีคุณภาพขึ้นมาขนาดนั้นน่ะ เรามีที่พึ่งพาอาศัย เรามีความสุขมากกว่านั้นเยอะมากเลย แต่มันจะได้มา มันต้องแลกมาด้วยความเพียรชอบ ความเพียร ความวิริยะ ความอุตสาหะของเรา ถ้ามีความเพียร แต่มันไม่ชอบ เห็นไหม ถ้าไม่ชอบ แล้วมีสิ่งกระตุ้น สิ่งเร้าน่ะ มันจะล้มลุกคลุกคลาน ก็คือล้มเหลว แต่ถ้ามันล้มลุกคลุกคลาน แต่เราก็ต้องมีสติปัญญาของเรา

ดูสิ สิ่งที่เราจะมีสถานที่ “กรรมฐาน” เห็นไหม “พระป่า” พระป่าผู้ที่ประพฤติปฏิบัติจะมีกรรมฐานชัยภูมิในการสู้รบ ถ้าไม่มีชัยภูมิในการสู้รบเลย ไปสู้รบกันที่ไหน ไปสู้รบกันที่อื่น มันก็ไม่ได้ชำระกิเลสของเรา อย่างเช่น เรื่องข้างนอก เรื่องส่งออก เรื่องของสังคม เราก็รู้อยู่ เราก็อยู่ในสังคม เราเกิดมาในสมมุติ เราก็ต้องตายกับเขานี่แหละ แต่ตายโดยที่เรายุ่งกับเรื่องสังคม จิตใจเรามันก็เหมือนกับตายไปกับก้อนกรวด กับพวกหินดินทราย มันก็อยู่อย่างนั้นน่ะ เพราะหินดินทรายขึ้นไปน่ะ ดูสิ ก้อนกรวด เวลามันย่อยสลาย มันก็เป็นทราย มันก็ย่อยให้มันเล็กไปตลอด

นี่ก็เหมือนกัน นี่ก็เวียนเกิดเวียนตายในสังคมโลกใช่ไหม แต่ถ้าเรามาค้นคว้าในหัวใจของเรา เราไม่ส่งออกไปอยู่กับสังคม สังคมที่เรื่องปัญหาสังคมไม่มีวันจบ แต่ปัญหาของเรามันจบ ปัญหาของเราไง ปัญหาของเราก็ย้อนกลับมาในหัวใจของเรา ถ้าย้อน...เราอยู่กับเขานะ เราอยู่กับสังคม อยู่กับโลก แต่เราก็ปฏิบัติของเราด้วย

แต่ในการประพฤติปฏิบัติ เห็นไหม ดูสิ เวลาเป็นพระเป็นเจ้าขึ้นมา เราบวชขึ้นมา เราปฏิบัติจริงๆ แล้วเราเป็นกรรมฐานด้วย เราเป็นลูกศิษย์กรรมฐาน เรามีครูบาอาจารย์เราผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านทุกข์ผ่านยาก เห็นไหม เวลาครูบาอาจารย์ท่านพูดมา ท่านวางเป็นหลักเกณฑ์มาเลย “ธรรมะอยู่ฟากตาย” แล้วเรา เวลาใครปฏิบัติแล้วจะเข้าใจคำว่า “ธรรมะอยู่ฟากตาย” เพราะเวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เดี๋ยวเจ็บไข้ได้ป่วย เดี๋ยวจะเป็น เดี๋ยวจะตาย โดยกิเลสนี่มันจะเอาคำว่า “ตาย” มาทำให้เราไม่มีความเข้มแข็ง

ถ้าไม่มีความเข้มแข็ง เราก็ล้มเหลวแล้ว แต่ถ้ามันจะให้เราไม่สู้เลยน่ะ ถ้าจะตายแล้วให้เลิกเลย ให้ลุกเลย นี่ไง นี่ไม่ใช่ล้มเหลวนะ นี่เขายึดครองเลย ไม่เหลืออะไรเลย แต่ถ้าล้มเหลว ล้มเหลวมันยังมีเหลืออยู่บ้าง

ฉะนั้น ถ้ามันล้มเหลว เราก็ต้องตั้งสติของเรา เราจะต่อสู้ของเรา เราจะทำเพื่อประโยชน์กับเรา ถ้าเราทำเพื่อประโยชน์ใช่ไหม นี่ถ้ามันบอกจะเป็นจะตาย...เราไม่ปฏิบัติมันก็ตายอยู่แล้ว ทุกคนต้องตายทั้งนั้นน่ะ แต่ในเมื่อจะทำความดี มันจะเป็นจะตายขนาดนั้นเชียวเหรอ ถ้ามันจะเป็นจะตายนะ ขอดูซิ อะไรตายก่อน พอบอก ดูอะไรตายก่อนปั๊บ มันไม่กล้าหลอกแล้ว เพราะถ้าเราตาย กิเลสมันก็ตายด้วยนะ ใช่ไหม

เวลาอดอาหาร เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นมา มันบอกตายแล้วๆๆ...แล้วอะไรตาย อะไรตาย ถ้ามันยังมีกำลังอยู่ มันยังไปได้ ถ้ามันยังไปได้ใช่ไหม เราก็ภาวนาของเรา ถ้ามันมีปัญหาขึ้นมา เราก็เจือจานของเรา เราก็ดูแลของเรา

เพราะว่าครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า “เราต้องหยั่งกำลังของเราว่าเรามีกำลังมากน้อยแค่ใด”

คนเรากำลังไม่เหมือนกันนะ ถ้ากำลังมีมาก เราก็จะได้ระยะมากกว่า แต่ถ้ากำลังเราน้อย ระยะเราก็ต้องน้อยกว่า การน้อยการมาก เหมือนการนั่งภาวนา เวลานั่งภาวนาต้องนั่งกี่ชั่วโมง...ไอ้นั่นมันเรื่องเวลา ถ้ามันนั่งแล้วสงบ ความสงบมาก เวลามากน้อย ถ้ามันสงบ เอาตรงนั้น

นี่เหมือนกัน ไอ้ที่ว่าใจเรามีกำลังแค่ไหน ร่างกายเรามีกำลังแค่ไหน ระยะเราก็พิสูจน์ของเรา นี่ฟากตายๆ อะไรตายก่อน มันอะไรตายก่อน พอพิสูจน์แล้วนะ มันไม่กล้าหลอกนะ มันไม่กล้าหลอก แต่ถ้าถึงวิกฤตนะ มันก็เอาจริงๆ เหมือนกัน “มันเอาจริงๆ” คือว่ามันให้กินข้าวไม่ได้เลย ให้อะไรไม่ได้เลย มันจะให้ตายจริงๆ อันนี้เราก็ต้องใช้ปัญญาอีกชั้นหนึ่ง

ดูสิ รัฐไม่ล้มเหลว รัฐที่มีนิติรัฐ กฎหมาย ดูสิ ผู้ที่ทำผิดเล็กน้อย ติดคุกเท่ากับกี่ปีๆ ผู้ที่ทำผิดมาก ทำผิดอุกฉกรรจ์ เห็นไหม ๒๐ ปี ผู้ที่ทำผิดเลยกว่านั้น...เดี๋ยวนี้โทษประหารเขาจะยกเลิกหมดแล้ว เขาประหารนะ นี่ไง เพราะต้องให้สังคมนั้นเข้มแข็ง

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเวลาสติปัญญา เวลามันหลอกว่า “ตายๆๆๆๆ” นี่ไม่จริงน่ะ

แต่ถ้ามันไม่ได้หลอก แต่มันเป็นจริงๆ มันเป็นจริงๆ นะ มันทำอะไรไม่ได้เลยน่ะ มันกินก็ไม่ได้ นึกว่าจะกินนะ อาเจียนเลย พุ่งออกมาเลย นั่นน่ะมันเอาจริง ถ้าเอาจริงแล้วทำอย่างไร แก้ไขอย่างไร นี่แก้ไข เห็นไหม เวลาแก้ไข ต้องใช้ปัญญา ต้องใช้ปัญญาพิจารณาแยกแยะ ไม่ให้กิเลสที่มันมีอำนาจ มันจะขับไส

ถ้าเราตายซะ กิเลสมันก็บอกว่า “ยังอยู่ในอำนาจของเรา” แต่ถ้าเราปฏิบัติต่อไป เห็นไหม “ธรรมะอยู่ฟากตาย” ถ้าเราปฏิบัติต่อ เราใช้ปัญญาลึกซึ้งที่เห็นโทษของการตายที่กิเลสตายไปกับเรา เราจะใช้ปัญญาพิจารณา เจือจานให้จิตเห็นถึงคุณค่า เห็นถึงชีวิต เห็นสิ่งที่เรา...ถ้าชีวิต เราเถรตรงไป มันก็จะจบสิ้น

แต่ถ้าเราใช้ปัญญาว่า “ในเมื่อชีวิตนี้มันยังมีกิเลสอยู่ เราจะต้องอาศัย เราจะต้องให้เกิดธรรมะ เกิดนิติรัฐ เกิดการพิพากษา ให้ชำระล้าง ให้กิเลสมันสิ้นไปก่อน”

เราต้องใช้ปัญญา ใช้ปัญญาว่า “เราควรจะเห็นว่าอาหารพอกินได้ไหม” มันก็จะทำให้ยอมรับ ถ้ามันไม่ยอมรับนะ มันต่อต้านเลย นี่ตายจริงๆ

ถ้ากิเลสอยู่ฟากตายนะ มันมีอีกหลายซับหลายซ้อนมาก

นี่ไง ถึงบอกว่าในการปกครอง ในนิติรัฐ มันปกครองโดยกฎหมาย มันลึกซึ้ง แล้วมันต้องผู้ที่ผู้พิพากษาก็จะต้องมีประสบการณ์ว่าโทษหนักเบาแค่ไหน เจตนามากน้อยแค่ไหน การกระทำนั้นกระทำไปด้วย...ดูสิ ดูเจ้าหน้าที่ การวิสามัญเขาก็ทำเหมือนกัน แต่เพื่อประโยชน์สังคม เห็นไหม เขาวิสามัญ วิสามัญไปแล้ว สิ่งนี้มีโทษไหม? มี แต่ยกฟ้อง มีโทษสิ เพราะมนุษย์ฆ่าไม่ได้ มนุษย์ให้ทำลายกัน เขาต้องได้รับโทษตามคำพิพากษาของเขา

“กิเลส” ถ้าเราจับเขาไม่ได้ เราจะวิสามัญหรืออย่างไรไม่ได้ ไม่ได้ นี่เพราะวิสามัญมันก็มีโทษ แต่ศาลยกฟ้อง ต้องยกฟ้อง ยกฟ้องเพราะอะไร เพราะเขาทำประโยชน์

“จิต” ถ้ามันวิปัสสนาของเรา เวลาเรากำหนดเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป ตั้งแต่วิปัสสนาไป โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามรรค สกิทาคาผล อนาคามรรค อนาคาผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล...มรรค ๔ ผล ๔ บุคคล ๘ จำพวก

“จิตหนึ่งนี้” ที่ว่าเกิดตายๆ เกิดตายมาไม่มีต้นไม่มีปลาย เกิดตายมาโดยซากศพที่กองๆ ไว้มากกว่าโลกนี้ “จิตหนึ่งนี้” เวลาจิตหนึ่งมันเป็นจิตหนึ่ง แต่เวลาปฏิบัติขึ้นไป เห็นไหม บุคคล ๘ จำพวก

ขณะที่เป็นโสดาปัตติมรรค พอพิจารณาขึ้นมา พิจารณาขึ้นมาจนจิตสงบแล้วเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม ได้การวิปัสสนา นี่โสดาปัตติมรรค นี่บุคคลที่ ๑ ถ้าพิจารณาไป พิจารณาซ้ำพิจารณาซากด้วยอำนาจรัฐ ด้วยนิติรัฐ ด้วยคุณธรรม นี่พิจารณาไป ถ้าถึงกระบวนการของมันสมบูรณ์ กระบวนการเป็นมรรคญาณ เป็นสิ่งที่เป็นความชอบธรรม มรรคสามัคคี สมุจเฉทปหาน ประหารไป นี่เป็นโสดาปัตติผล

โสดาปัตติผลแล้วจะจับต่อไปจับไม่ได้ ดูสิ ผู้พิพากษา กิเลสที่ว่าผู้ที่กระทำผิด ผู้จ้างวาน ผู้กระทำผิด มีผู้จ้างวาน ผู้ต่างๆ มันต่อเนื่องกันไป มันต่อเนื่องกันไป เวลาเราพูดถึงผู้กระทำผิด เราพิพากษาผู้กระทำผิด ผู้กระทำผิดต้องกระทำความผิด ผู้ทำความผิด ใครเป็นคนจ้างวานมา ใครเป็นคนไหว้วานมา ใครเป็นคนชักนำมา เห็นไหม พอชักนำมา สืบต่อไป นี่สกิทาคามรรค

สกิทาคามรรค ถ้าพิจารณาออกไป พิจารณากาย เวทนา จิตธรรม พิจารณาถึง...พอสกิทาคาผล

สกิทาคาผล ต่อไป ถ้าต่อไป ขึ้นต่อไป นี่ผู้จ้างวานมา ผู้ทำมา แล้วนี่เวรกรรมมันมาจากไหน นี่กามราคะต่างๆ เวรกรรม ผู้ที่กระทำมามันบาดหมางกันด้วยสิ่งใด เรื่องนี้เกิดขึ้นเพราะเหตุใด นี่มันสืบต่อขึ้นไป นี่อนาคามรรค-อนาคาผล...

สิ่งที่เป็น นี่บุคคล ๘ จำพวก อรหัตตมรรค-อรหัตตผลมันยิ่งละเอียดไปเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป ผู้พิพากษาจะสั่งด้วยอำนาจนิติรัฐ ด้วยอำนาจตามความเป็นจริง อำนาจตามเป็นธรรม

นี่เวลาปฏิบัติไปมันจะเห็น มันจะตอนนะ

เวลาว่าครูบาอาจารย์ของเราผ่านทุกข์ผ่านยากมา คำว่า “ผ่านทุกข์ผ่านยากมา” มันก็ต้องมีปัญญา ปัญญานี่ให้เป็นมัชฌิมา เป็นความสมควร ความสมดุล ความต่างๆ แต่ความสมดุลของคนมันไม่เหมือนกัน ฉะนั้น มีครูบาอาจารย์มาน่ะ เป็นที่ขอนิสัยๆ เพื่อจะชักนำ เพื่อดูแล

ดูสิ จะบอกว่า เวลาว่าที่ไหนเป็นสงฆ์ ถ้าเป็นสงฆ์ สงฆ์ปกครองสงฆ์ ถ้าสงฆ์ปกครอง สิ่งที่เป็นสงฆ์ขึ้นมา ถ้าสงฆ์ ถ้ามีมุมมอง มีทัศนคติต่างๆ สงฆ์นั้นจะร่มเย็น สงฆ์นั้นจะมีหลักมีเกณฑ์ แต่โดยตามความเป็นจริง แม้แต่ในครอบครัวเดียวกัน พ่อแม่ลูกต่างๆ ตามวัยก็มุมมองแตกต่างแล้ว ตามวัยนะ “ตามวัย” แล้วตามกรรม ตามนิสัย ตามความเห็น ก็ยังแตกต่าง นี้ในครอบครัวครอบครัวเดียวนะ

แต่ในสังฆะ ในสงฆ์นี่ ต่างที่ผู้ที่ออกสละครอบครัวมาเป็นภิกษุ นี่มันแตกต่างหลากหลาย พอความแตกต่างหลากหลาย นี่พันธุกรรมทางจิตมันแตกต่างหลากหลาย นี้มุมมองหรือสิ่งต่างๆ ในการปกครองมันก็มีหยาบมีละเอียด มีการควบคุมดูแลที่แตกต่างกัน เพื่อให้ประโยชน์กับบุคคลคนนั้น ถ้าบุคคลคนนั้นเขาได้พัฒนาของเขาได้มาก ได้น้อย

ดูสิ สังฆะ นี่สงฆ์ปกครองสงฆ์ สงฆ์ดูแลสงฆ์ แล้วช่วยกันยกระดับ “ยกระดับ”

จะบวชเป็นพระ จะอยู่ยาว อยู่สั้น อยู่อย่างไรก็แล้วแต่ บวชแล้วก็คือการบวช เห็นไหม บวชแล้วเป็นสังฆะ เพราะเวลาลงอุโบสถสังฆกรรมต้องเป็นภิกษุด้วยกันทั้งหมด ไม่อย่างนั้นอุโบสถสังฆกรรมมันเป็นโมฆะ มันเป็นโมฆียะ มันจะไม่มีผลไง

นี้ผลของมันมี ถ้าสงฆ์ปกครองสงฆ์ สงฆ์ดูแลสงฆ์ แล้ว “ยกระดับ” ยกระดับหัวใจของหมู่สงฆ์ ถ้าหมู่สงฆ์ขึ้นมาสูงขึ้น ดีขึ้น พัฒนาขึ้น แล้วถ้าเข้าสู่อริยสัจ เข้าสู่สัจจะความจริง เข้าสู่ความสงบของใจ แล้วใจออกวิปัสสนาไป นี่สิ่งนี้มันเป็นประโยชน์ทั้งนั้นน่ะ

ถ้ามันเป็นประโยชน์ขึ้นมา ประโยชน์กับใครล่ะ?...นี่ประโยชน์กับบุคคลคนนั้นไง

นี่ไง เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงฝากศาสนาไว้ “ศาสนทายาท”

เราเป็นชาวพุทธ ถ้าบวชเป็นพระแล้ว ศากยบุตรพุทธชิโนรส เป็นบุตรขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วถ้าเราประพฤติปฏิบัติเข้าไป เราจะไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ ถ้าจิตสงบนี่ได้เห็นเงา แต่ถ้าจิตมันวิปัสสนาไปเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป มันจะไปเฝ้า ไปเฝ้า จนเห็นเต็มองค์

พุทธ ธรรม สงฆ์ รวมลงเป็นหนึ่งเดียว แล้วมันรวมอย่างใด วิธีการรวมนี่ เวลามันรวมแล้ว แล้วเวลามันทำลายภวาสวะ ทำลายภพชาติ ทำลายทุกอย่างไป มันทำอย่างใด เห็นไหม ถ้าไม่ใช่ความล้มเหลวของใจ ใจนั้นจะมีประสบการณ์ เหมือนพ่อแม่สอนลูก อยากให้ลูกเป็นคนดี มันจะลำบากลำบนขนาดไหนก็ดูแลฟูมฟักขึ้นมาให้เป็นคนดีในสังคม

“สงฆ์ปกครองสงฆ์” สงฆ์ก็ต้องอยากให้สงฆ์มีศีล มีธรรม มีจริยธรรมในหัวใจ ถ้าหัวใจนั้นเป็นธรรม สังคมสงฆ์นั้นปกครองสงฆ์นั้น ยกระดับของผู้ที่เป็นศาสนทายาทเข้ามาให้สูงขึ้น สูงขึ้น เพื่อประโยชน์กับตัวเขา ประโยชน์กับตัวเขา ถ้าเขาได้ศึกษา มีพื้นฐาน แล้วเขาขวนขวาย ประพฤติปฏิบัติขึ้นไป เขาจะมีปัญญาของเขา เพื่อเป็นศาสนทายาทสืบต่อ สืบต่อไป

ฉะนั้น สิ่งที่เขาปฏิบัติเป็นสมบัติของเขา แล้วถ้าเขาปฏิบัติของเขา สิ่งที่เพิ่มศาสนทายาท เป็นสงฆ์มากขึ้น สงฆ์มากขึ้นก็ส่งต่อสงฆ์ ส่งต่อธรรมและวินัยนี้ไป เราประพฤติปฏิบัติขึ้นมาให้เป็นธรรมะ ให้เป็นสัจธรรม ให้เป็นธรรมความเป็นจริง ไม่ใช่ความล้มเหลว แล้วปล้นชิงมาด้วยทิฏฐิมานะอย่างนั้น สิ่งนั้นเป็นธรรมะล้มเหลว รัฐล้มเหลว เราไม่ต้องการเป็นรัฐล้มเหลว เราต้องการเป็นรัฐที่มีนิติรัฐ มีนิติธรรม เราต้องการรัฐที่มั่นคง

ฉะนั้น เราเป็นรัฐมั่นคง เราถึงเป็นสงฆ์ปกครองสงฆ์

สงฆ์จะดูแลสงฆ์เพื่อความมั่นคงของศาสนา เอวัง