ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ตะกอนก้นแก้ว

๒๔ มี.ค. ๒๕๕๕

 

ตะกอนก้นแก้ว
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๕
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เอาอันนี้ก่อนเนาะ

ถาม : เรื่อง “ฆราวาสบรรลุธรรม ไม่บวชเป็นภิกษุได้หรือไม่?”

ตอบ : ทีนี้คำว่าบรรลุธรรม บรรลุธรรมขั้นไหนล่ะ? ฉะนั้น ถ้าบรรลุธรรมขั้นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี ได้ พระอรหันต์ก็ได้

ฉะนั้น คำว่า

ถาม : ฆราวาสบรรลุธรรมได้ไหม?

ตอบ : ได้ พระเจ้าสุทโธทนะเป็นฆราวาส เป็นพระอรหันต์ ในสมัยพุทธกาลนะ ฆราวาสบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ได้

ฉะนั้น ที่ถามว่า

ถาม : ไม่บวชเป็นภิกษุได้หรือไม่?

ตอบ : ในบุพพสิกขา ในอะไรหลายบท บอกว่าถ้าเป็นพระอรหันต์ต้องบวชภิกษุอย่างเดียว ถ้าไม่บวชต้องตายภายใน ๗ วัน อะไรต่ออะไรนี่มันก็เป็นความเชื่ออันหนึ่ง ฉะนั้น หลวงตาท่านบอกว่า “อรหัตตผลจะฆ่าคนหรือ?”

มันก็เหมือนกับสังคมไทย สังคมไทยบอกว่าใครคนใดคนหนึ่งสร้างโบสถ์คนเดียวไม่ได้ บุญใหญ่มากคนนั้นจะตาย ฉะนั้น พอคนไปสร้างโบสถ์แล้วมีอุบัติเหตุ มีอะไรไป นี่อย่างเช่นกรณีอย่างนี้ กรณีที่ว่าใครบรรลุ ๒๐ ปีแล้วจะบวชระวังให้ดี มันจะตายๆ ใช่ถ้าคนอุบัติเหตุมันก็ตาย นี่บุญมันไม่ฆ่าคนหรอกน่า ทีนี้ความเชื่อของสังคมไทยไงว่าบุญใหญ่มาก ใหญ่จนมนุษย์นี่รับไม่ได้

ฉะนั้น การบรรลุธรรม ในปัจจุบันนี่นะบรรลุธรรมเป็นฆราวาสเยอะมาก เยอะ ทีนี้คำว่าเยอะมากต้องบรรลุธรรมจริงๆ นะ บรรลุธรรมไม่จริงก็เยอะ ฆราวาสบรรลุธรรมไม่จริง แล้วอ้างว่าบรรลุธรรมนี่เยอะแยะไปหมดเลย บรรลุธรรมจริงหมายความว่าอย่างไร? บรรลุธรรมจริงนี่นะ คำพูดของเขามันจะสื่อความหมายเป็นธรรมะออกมาเลย คำพูดของเขาจะมีธรรมะออกมาเลย แล้วฟังรู้เรื่องด้วย แต่ถ้าบรรลุธรรมนะ พูดธรรมะก็ไม่มีธรรมะ เพราะอะไร? เพราะถ้าบรรลุธรรมเป็นโสดาบันนี่นะ เป็นโสดาบันนี่สักกายทิฏฐิ เห็นไหม สังโยชน์ ๓

สักกายทิฏฐิ ความเห็นผิดเรื่องกาย เรื่องกายของเรา จิตของเรามันมีความเห็นผิด พอความเห็นผิด จะพูดสิ่งใดไปมันละล้าละลังไง มันบอกว่าชีวิตคือเรา สรรพสิ่งคือเรา มันยังว่ามีเราๆ อยู่ แต่ถ้าเป็นพระโสดาบันปั๊บตรงนี้ไม่มี พระโสดาบันไม่มีสักกายทิฏฐินะ เพราะมันเห็นตามความเป็นจริง กายกับจิตนี้แยกกันจริงๆ กายเป็นกาย จิตเป็นจิต

นี่สิ่งที่แยกกัน เวลาอยู่ด้วยกัน อาศัยด้วยกัน พออาศัยด้วยกัน คนที่รู้จริงนี่เวลาพูดสื่อสารธรรมมันพูดออกมาจากความรู้จริง มันจะมีแง่มุมของมัน

ฉะนั้น

ถาม : ฆราวาสบรรลุธรรมได้ไหม?

ตอบ : ได้

ถาม : ไม่บวชเป็นภิกษุได้ไหม?

ตอบ : ได้ ทีนี้เพียงแต่ว่าถ้าบรรลุธรรมขึ้นมาแล้วมันมีไง แบบว่า คนที่บรรลุธรรมนี่เหมือนพ่อแม่ดูเด็ก พ่อแม่ดูลูกนี่นะพ่อแม่สงสารลูกไหม? พ่อแม่สงสารลูกมากนะ กลัวลูกจะเจอภัย จะเจอคนหลอกลวง จะเจอทุกอย่าง

ผู้ที่บรรลุธรรมนะ เวลาบรรลุธรรมแล้วนี่สงสารประชาชน สงสารประชาชนนะ สงสารพวกฆราวาส เพราะอะไร? เพราะว่าถ้ามันเป็นอริยเจ้า ใจนี่เป็นอริยบุคคล ถ้าเขาจาบจ้วง เขาทำสิ่งใดที่เป็นบาปอกุศล ตรงนั้นมันจะเป็นกรรมของเขา แต่พอเป็นพระขึ้นมา สังคมไทย เห็นไหม พระนี่บอกว่ายกให้ผ้าเหลือง เราเคารพผ้าเหลือง เราจะไม่ว่าบุคคลห่มผ้าเหลือง ยกให้ผ้าเหลือง

ฉะนั้น ถ้าคนที่บรรลุธรรมนะ ถ้าอยากจะไม่ให้เป็นที่ติเตียน คือว่าไม่ให้เป็นบาป เป็นกรรมเขา เหมือนกับพ่อแม่สงสารลูก ถ้าคนที่เขาไม่อยากให้ใครเป็นบาป เป็นกรรมกับเรา เราอยู่ในเพศพระซะดีกว่า เพราะเพศของพระ นี่สังคมไทยจะยกย่อง เวลาภิกษุเป็นที่ว่าอย่างไรเราก็ยกให้ สังคมของเรา สังคมชาวพุทธนี่นะ ถ้าเป็นพระปั๊บ ดูสิเวลาคนที่เขาทำความผิดอะไรมา พอเขาไปบวชพระ ทุกคนอโหสิกรรมให้หมดเลย

นี่ไงความคิดอย่างนี้นะ ถ้าคนที่บรรลุธรรม ถ้าเป็นไปได้ ถ้าอยู่ในเพศพระซะ ถ้าอยู่ในเพศพระ การติฉินนินทาของเขา ถ้าการติฉินนินทาแบบว่าถ้าเขาไม่เชื่อนั่นก็เรื่องหนึ่ง แต่ถ้าเขาไม่เชื่อเขาจะยกด้วยเหตุผลเลย โอ้โฮ พระองค์นี้ขี้โม้น่าดูเลย ขี้โม้เพราะอยากดัง ขี้โม้เพราะอยากมีลาภ นี่คือติเตียนพระอริยเจ้า กรรมเกิดตรงนี้ แต่ถ้าเราไม่เชื่อไม่เป็นบาปเป็นกรรมหรอก เราเชื่อหรือไม่เชื่อ อย่างกาลามสูตรห้ามเชื่ออยู่แล้ว กาลามสูตรไม่ให้เชื่อนะ ให้พิสูจน์ๆ ของเรา

แต่ถ้าพระอริยเจ้าที่บรรลุธรรม ผู้บรรลุธรรม ถ้าผู้บรรลุธรรมขึ้นมา เราหาเหตุหาผล อันนั้นมันก็มีกรรมเหมือนกัน แต่ถ้าเขาบวชซะ เขาอยู่ในเพศของภิกษุ เพศของผู้ที่ว่าอภัยทาน อยู่ในเขตวัด เขตอภัยทาน ให้อภัยกันแล้วไม่มีการมาเพ่งโทษกัน เออ อย่างนี้เราเห็นด้วย แต่บอกว่าถ้าไม่บวชแล้วมันจะเป็นจะตาย เราก็ไม่เห็นด้วยนะ

ฉะนั้น มันมีไง มีภัททิยะหรืออะไร? ที่ว่าโดนควายขวิดตาย พาหิยะ นี่พาหิยะฟังพระพุทธเจ้าเทศน์ทีเดียวเป็นพระอรหันต์เลย พอเป็นพระอรหันต์ขึ้นมานี่ขอบวช พระพุทธเจ้าบอกว่า “อ้าว เธอไม่มีบริขาร เธอต้องหาบริขารสิ”

นี่พระอรหันต์นะ พระอรหันต์ไปหาบริขาร บริขารก็คือบาตร จีวร บาตร ผ้าไตร เห็นไหม บริขาร ๘ ไปหาบริขารไม่ได้ หาบริขารอยู่นี่ควายขวิดตาย ทีนี้ควายขวิดตาย ควายแม่ลูกอ่อนตัวที่มาขวิดพาหิยะเขาก็มีเวร มีกรรมต่อกันมา เขาเคยสร้างบุญ สร้างกรรมกันมา พอคนมันมีเวร มีกรรม เวรกรรมอันนั้นมันตอบสนอง แต่บอกว่านี่มันไม่บวชภายใน ๗ วันมันจะตายอย่างนั้นๆ เพราะรับไม่ได้ อืม มันก็คิดกันอีกอย่างเนาะ ฉะนั้น ในพุทธศาสนามันก็มีตรงนี้ให้เราได้ใคร่ครวญไง

ฉะนั้น

ถาม : ฆราวาสบรรลุธรรมได้ไหม?

ตอบ : ได้ แน่นอนเลย ได้

ถาม : แล้วถ้าไม่บวชเป็นภิกษุได้หรือไม่?

ตอบ : ได้ เพียงแต่ว่าพอเราบรรลุธรรมขึ้นมาแล้วนี่ เราอยากบวชหรือไม่อยากบวชนั่นอีกเรื่องหนึ่ง ถ้าเราอยากบวชก็ตรงนี้ บวชมาแล้วเราอยู่ในเพศของภิกษุ นี่มันเป็นเพศที่ว่า เขาเรียกอะไรนะ “อุดมเพศ” เพศที่ว่ามีบุญมาก ธงชัยพระอรหันต์นะ ถ้าเราห่มธงชัยพระอรหันต์ อันนี้มันเป็นประโยชน์ไง

ถาม : ฉะนั้น ไม่เป็นภิกษุได้หรือไม่?

ตอบ : ได้ ได้หมด เพียงแต่ว่าอย่างที่ว่า นี่ถ้าเป็นเพศของนักบวช ทางกว้างขวาง ทางอันอุดม ๒๔ ชั่วโมง พระที่บวชที่นี่ เห็นไหม เสร็จแล้ว ถ้าพอทำข้อวัตรเสร็จแล้วไปปฏิบัติ ตั้งแต่นี้ไปจนถึงพรุ่งนี้เช้า บ่ายโมงก็มาฉันน้ำร้อน ทำข้อวัตร แล้วก็ปฏิบัติไป ๒๔ ชั่วโมงไง

แต่พวกโยมนะ ถ้าอยู่บ้านต้องรีบไปทำงาน กระหืดกระหอบแล้วไปทำงานไม่ทัน ทำงานเสร็จแล้วกลับมานะ โอ๋ย ยังเหนื่อย ยังไม่ทำอะไรเลย สวดมนต์แล้วจะนั่งภาวนา พอภาวนาขึ้นไป พรุ่งนี้จะทำงานอีกแล้ว นี่มันคับแคบตรงนี้ แต่ถ้าเป็นพระนะ ถ้าเป็นพระไปที่วัดที่ปฏิบัติจริง ๒๔ ชั่วโมง เราบวชแล้วเราธุดงค์ ได้ ๒๔ ชั่วโมง นี่ทางกว้างขวาง กว้าวขวางแบบนี้ ทางกว้างขวางและทางคับแคบ

ฉะนั้น กรณีอย่างนี้นะมันเป็นประเด็น เขาเรียกว่าอะไรนะ มันเป็นเฉพาะว่าบุคคลคนนั้นมีเวร มีกรรมอย่างใด? บุคคลคนนั้นมีกรรมอย่างใด? แต่มันไม่เป็นสาธารณะทั่วไปไงว่าทุกคนต้องเป็นแบบนี้ ฉะนั้น คนที่มีธรรมๆ จะเป็นแบบนี้ จะเป็นแบบว่าเวลาปฏิบัติ หลวงปู่มั่นเวลาท่านแก้ลูกศิษย์ เห็นไหม แต่ละองค์แก้ไม่เหมือนกัน เพราะกิเลสของคนไม่เหมือนกัน ชอบก็ไม่เหมือนกัน แล้วมุมานะจริงจังก็ไม่เหมือนกัน ทุกคนไม่เหมือนกัน

ฉะนั้น การแก้การภาวนานี่การแก้เฉพาะคน ฉะนั้น เวลาเราบรรลุธรรมก็บรรลุธรรมเฉพาะคน คนไหนบรรลุธรรมเฉพาะว่าเราบรรลุอย่างนั้น แล้วถ้ามันได้คุณธรรมมาจริงเราเองมันก็อยู่ที่ ในสมัยพุทธกาลก็มี พระรัฐปาล เห็นไหม พ่อแม่เอาแก้ว แหวน เงิน ทองมากองเต็มหมดเลย แล้วถามว่า

“ลูก สมบัตินี้ทำอย่างไร?” มีลูกคนเดียวไง

พระรัฐปาลบอก “แม่ เอาใส่รถเข็นนะ แล้วเอาไปที่แม่น้ำนะ แล้วดั้มพ์ทิ้งไปเลย”

โอ้โฮ แม่นี่ช็อกเลย เอาแก้ว แหวน เงิน ทองมาต่อรองลูกไง มีลูกคนเดียว แล้วก็นิมนต์ลูกมาบ้าน พอลูกมาบ้านเสร็จก็เอาทรัพย์สมบัติมากอง ให้คนเอามากองไว้ อู้ฮู เพชร นิล จินดาเป็นกองเลย แล้วก็ถามพระลูกชาย ว่าแก้ว แหวน เงิน ทองนี้จะทำอย่างไร? ลูกชายบอกว่าให้เอาใส่ล้อนะ แล้วก็ไปดั้มพ์ใส่แม่น้ำ

นี่ความไม่ยึดติดกับความยึดคิดมันแตกต่างกัน เฉพาะบุคคล แล้วพระในสมัยพุทธกาลบรรลุธรรมแต่ละองค์ก็ไม่เหมือนกันๆ เอตทัคคะก็ไม่เหมือนกัน ฉะนั้น มันเป็นเฉพาะประเด็น มันเป็นเฉพาะ แล้วถ้าของเรา เราปฏิบัติของเรา เราก็เป็นเฉพาะของเรา ฉะนั้น ถ้าเป็นสาธารณะโดยทั่วไปมันก็เหมือนกฎหมาย ถ้ากฎหมายโดยทั่วไปต้องบังคับอย่างนั้น แต่คนผิดก็ยังอีกแหละ ประเด็นกฎหมาย ประเด็นข้อเท็จจริง ก็ว่ากันไปเนาะ

ฉะนั้น ได้ แล้วมันเป็นกรณีๆ ไป ทีนี้อันนี้นะ

ถาม : ข้อ ๘๒๓. เรื่อง “กราบขอคำชี้แนะเจ้าค่ะ”

กราบนมัสการหลวงพ่อด้วยความเคารพยิ่ง คำถามนี้ต้องการคำตอบ ครั้งหนึ่งโยมพิจารณาความหลงรัก หลงใคร่ แยกแยะลงไปจนถึงจุดที่เป็นความเกาะเกี่ยว ทั้งที่รอบๆ จุดนั้นมันไม่มีสิ่งใดแล้ว มันเหมือนมีในความไม่มี หรือไม่มีแต่มี แต่โยมจนปัญญาที่จะแยกแยะความเกาะเกี่ยวนั้น โยมจะใช้อุบายอย่างไรดีเจ้าคะ

หลังจากนั้นแล้วโยมก็ไม่ยกเรื่องนี้มาพิจารณาอีก เพราะลึกๆ แล้วมันมีความรู้สึกเสียดายอารมณ์นั้นอย่างไรไม่รู้ ทุกวันนี้โยมรักษาจิตได้ดีพอสมควร จับสภาวะของจิตได้เร็วกว่าเดิม บางครั้งเห็นตั้งแต่เริ่มเกิดอาการ จะเห็นตั้งแต่มันคุกรุ่นขึ้นมา มันเหมือนไอร้อนของน้ำ ถ้าเห็นอย่างนี้ ง่ายที่จะแก้ไขเพราะมันชัดเจน บางครั้งก็เห็นแค่ความกระเพื่อม ไม่ทันได้ทำอะไรก็ดับแล้ว แต่อย่างน้อยก็ยังไม่รู้ว่ามีสิ่งที่ถูกกระเพื่อม แต่สภาวะที่เริ่มเกิดบ่อยครั้งขึ้น มันรู้สึกไม่กระเพื่อม โยมเริ่มจับไม่ได้ มันแค่รู้แล้วผ่าน

โยมทำอะไรผิดพลาดหรือเปล่าเจ้าคะ อย่างนี้โยมจะพิจารณาอะไรดี ในเมื่อใจมันไม่รู้สึก หรือเป็นเพราะสติมันจับไม่ทันตอนที่กระทบ ที่โยมคิดว่าน่าจะมีอะไรไม่ถูกต้อง เพราะโยมไม่เห็นว่าจะมีความสุข โล่ง ผ่องใสเพิ่มขึ้น แค่ไม่รู้สึกอะไร ไม่มีอะไรเป็นเหตุให้ต้องไปปรุงต่อไป แต่อย่างที่กราบเรียน สภาวะนี้ไม่ใช่สภาวะหลัก โยมยังมีความรู้สึกอะไรต่อมิอะไรให้พิจารณาอีกมากในชาตินี้ ขอความเมตตาด้วยเจ้าค่ะ

ตอบ : นี่เวลาพิจารณา เวลาเราไม่สนใจในศาสนามันก็เป็นเรื่องหนึ่ง พอเรามาสนใจในเรื่องศาสนาก็เป็นเรื่องหนึ่ง เวลาคนปฏิบัติขึ้นไป พอปฏิบัติไป เห็นไหม จากทุกข์ยาก พอปฏิบัติแล้วมันมีความสุข มันมีความร่มเย็น เราก็ว่าสิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งนี้เป็นธรรม แต่เวลาจะปฏิบัติไปให้มันต่อเนื่องไป มันจะต่อเนื่องไปไหนล่ะ? มันคากันอยู่อย่างนี้

นี่เขาว่า “โยมเคยพิจารณาความหลงรัก หลงใคร่ แยกแยะจนไม่มีอะไรเกาะเกี่ยว”

อ้าว อย่างนั้นก็ทำต่อไปสิ ทำต่อไปมันเป็นสิ่งใดล่ะ? นี่มันเหมือนตะกอนก้นแก้ว ถ้าเวลาน้ำใส เห็นไหม น้ำใสจะเห็นตัวปลา เขาว่าน้ำใสจะเห็นตัวปลา แต่น้ำมันจะใสตลอดไปได้ไหมล่ะ? ถ้าน้ำพอเดี๋ยวมันมีแรงกระเพื่อมต่างๆ มันก็ขุ่นขึ้นมาทั้งนั้นแหละ พอน้ำมันขุ่นขึ้นมานี่มันก็อยู่อย่างนั้นแหละ มันไม่มีสิ่งใดที่มันเป็นการเอาตะกอนนั้น คือการชำระกิเลสนั้น ถ้ามันไม่มีการชำระกิเลสนั้น

ในการปฏิบัติ สังคมไทยในปัจจุบันนี้ทำอย่างนี้แค่นี้แหละ รู้ตัวทั่วพร้อม รู้เท่าทุกอย่างหมดแล้ว แล้วก็จบไง จริงๆ นะ อย่างเช่นเรานี่พอขาดสติ เรามีอารมณ์กระทบเข้าไปเราก็มีความฟุ้งซ่านเป็นธรรมดา พอสติเรายับยั้งเสร็จก็จบ ก็แค่นี้แหละ โลกปฏิบัติกันอยู่แค่นี้ ทำกันอยู่แค่นี้ แล้วได้สิ่งใดต่อไปล่ะ? ถ้ามันมีสิ่งใดต่อไป เห็นไหม ถ้าสิ่งใดต่อไปมันต้องมีครู มีอาจารย์ไง ถ้ามีครูบาอาจารย์ อย่างเช่นคนไข้ ถ้าฉีดยาเราฉีดลงที่ไหน? เข็มมันต้องปักลงไปในกล้ามเนื้อ แล้วกดไซริงค์ให้ยามันเข้าไปในกล้ามเนื้อนั้นสิ

นี่เขาบอกว่ารู้ตัวทั่วพร้อม รู้ตัวทั่วพร้อมแล้วก็จบ แล้วมีอะไรต่อไปล่ะ? มันไม่มีอะไรต่อไป ทีนี้ไม่มีอะไรต่อไป เห็นไหม นี่ตะกอนก้นแก้วมันไม่ได้แก้ไข ถ้ามันจะแก้ไขนะ เขาบอกว่า

ถาม : ในเมื่อพิจารณาความหลง ความรัก ความใคร่ต่างๆ จนแยกแยะหมดแล้ว ทำอย่างไรต่อไป?

ตอบ : ทำอย่างไรต่อไป พอพิจารณาไปแล้ว ถ้ามีสติต่อไป เห็นไหม มีสติต่อไป นี่ตั้งสติไว้ แล้วมันจะรู้ จะเห็นต่อไป สิ่งที่เราเห็นมันเหมือนกันใช่ไหม? อย่างเช่นกาย นี่เราเห็นกาย ทุกคนว่าเห็นกาย เห็นนิมิตนี่เห็นกายหมดแล้ว เราเห็นกาย กายนี่มันมีกายหยาบ กายละเอียดนะ กายนอก กายใน

การเห็นกาย อย่างเช่นเราปฏิบัติใหม่ เห็นไหม คนที่ปฏิบัติใหม่ แล้วจิตใจฟุ้งซ่านมาก แล้วมันไม่มีทางลงได้ให้ไปเที่ยวป่าช้า การไปเที่ยวป่าช้า ไปดูสิ่งใด? ก็ไปดูซากศพ ซากศพเป็นกายไหม? เป็นกาย กายนอก แล้วยิ่งไปดูซากศพ กลัวผี กลัวทุกอย่างไปเลย จิตมันจะสงบระงับได้ นี่เอาความกลัว เอาสิ่งต่างๆ มาตะล่อมจิต ให้จิตมันไม่คิดไปนอกเรื่อง นอกราว ถ้าให้จิตมันไม่คิดไปนอกเรื่อง นอกราว จิตมันสงบเข้ามาได้นี่กายนอก

ไปเห็นกายนอก เห็นไหม ดูสิเราเห็นอุบัติเหตุขึ้นมา เห็นต่างๆ ขึ้นมา เห็นแล้วมันสะอิดสะเอียนเลย กินอะไรไม่ได้เลย นี่มันเป็นกายนอก จะขย้อนเลยนะ เห็นแล้วได้อะไรขึ้นมา? นี่โลกๆ ถ้าเห็นโลกนะมันมีพระปฏิบัติองค์หนึ่ง พอพิจารณาอสุภะๆ แล้วมันมีความกระอักกระอ่วน ก็คิดว่าสิ่งนั้นเป็นธรรมๆ ไม่ใช่ๆ

นี่ก็เหมือนกัน มันเป็นโลกไง แต่ถ้าพอจิตมันสงบแล้วเห็นกายเป็นอีกเรื่องหนึ่งเลย ถ้าจิตสงบเห็นกายนะ พอจิตสงบไปแล้ว พอจิตสงบแล้วเห็นกาย เห็นกายนะ การเห็นกายโดยที่เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐานอะไรนี่ พอเห็นกายขึ้นมานี่ พอเห็นกายแล้วมันสะเทือนหัวใจ ใครเป็นคนเห็น? จิตเป็นคนเห็น พอจิตมันเห็นมันมี เห็นไหม มันมีสังโยชน์ มันมีอุปาทาน มันมีต่างๆ ที่มันส่งกระเทือนถึงจิต ถ้ากระเทือนถึงจิต เวลาพิจารณาไปแล้วมันจะสำรอก ถ้ามันสำรอกออกจากจิต นี่วิปัสสนามันเกิดที่นั่น ถ้าอย่างนั้นแล้วมันจะเป็นวิปัสสนา กายนี่เห็นกายๆ เห็นกายโดยทั่วไป ฟังแล้วเป็นเห็นกายโดยกายนอกหมด

กายนอก เห็นไหม นี่เวลาคนภาวนานะ เขาบอก “กรรมฐาน ๔๐ ห้อง” เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ นี่เราท่องเกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ กับเราท่องพุทโธมันท่องอันเดียวกัน เขาเรียกคำบริกรรมเหมือนกัน เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ เวลามันสงบเข้ามามันก็เป็นสมถะทั้งนั้นแหละ ฉะนั้นพิจารณากาย พิจารณากายนอก ไปเที่ยวป่าช้า ไปต่างๆ กายนอกทั้งนั้น กายนอกคือสมถะ กายนอกคือจิตมันสงบ กายนอกไม่ใช่วิปัสสนา

ฉะนั้น ยกเข้ามากรณีที่ว่าเห็นหลง เห็นรัก เห็นใคร่ มันก็เป็นความรู้สึกนึกคิด นี่มันเป็นสัญญาอารมณ์ มันเป็นสัญชาตญาณที่มันมีของมันอยู่แล้ว แล้วสติเราไปพร้อมกับความใคร่ ความหลง พอมันปล่อยขึ้นมาแล้วมันเหลืออะไรล่ะ? นี่พอเหลือขึ้นมา ถ้ามีสติมันจะเป็นสัมมาสมาธินะ แต่ถ้ามันขาดสติ มันขาดสติมันก็รู้ว่าพิจารณาจนหมดแล้ว พอพิจารณาจนหมดแล้ว เราจะไม่พิจารณาต่อไป เราแยกแยะสิ่งที่ว่ามันไม่มี

อุบายของเรานะ จะใช้อุบาย ถ้าจิตสงบแล้วย้อนกลับไป ย้อนกลับไปพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรมนั่นแหละ นี่ความรัก ความหลง ความใคร่เขาเรียกธรรมารมณ์ ถ้าจิตมันสงบมันเห็นนะ ธรรมารมณ์ อารมณ์ที่เกิดจากธรรม แต่อารมณ์ที่เกิดจากกิเลสล่ะ? อารมณ์ที่เกิดจากกิเลสมันก็ไหลไปตามโลกไง แต่ถ้าอารมณ์จากธรรมนะยับยั้งหมดเลย เอาสิ่งที่เป็นอารมณ์เป็นตัวตั้ง แล้ววิปัสสนามัน ใคร่ครวญมัน พอใคร่ครวญมันนี่มันจะเห็นโทษ เห็นโทษที่ไหน? เห็นโทษที่สมุทัย

สมุทัยนี่ตัวยุ ตัวแหย่ ถ้าตัวยุ ตัวแหย่มันถึงเกิดความหลง ความรัก ความใคร่ แต่ถ้าไม่มีสมุทัย มันเป็นความเมตตานะ ที่ไหนมีรักที่นั่นมีทุกข์ แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีเมตตา กรุณา ถ้ามีเมตตา กรุณานะเพราะเราไม่รัก ไม่รักเราก็ไม่ยึด ไม่ใช่ของกู (หัวเราะ) แต่รักนะ รักนี่เสร็จเลย รักก็ต้องหวง หวงก็จะหึง หวงแหน รักนี่ของกู แต่ถ้าไม่รัก เราเห็นแล้วมันเมตตานะ

นี่ไงถ้าเราเห็นสังคมโลก ดูสิอย่างพ่อแม่รักลูกนี่มีเมตตา ความเมตตาของเรา ความเมตตา ความกรุณา ถ้าอย่างนั้นมันเป็นธรรม แต่ถ้ามันเป็นความหลง ความรัก ความใคร่ ถ้าความหลง ความรัก ความใคร่มันก็เกิดจากสมุทัย แต่ถ้าเรามีสติปัญญาของเรา เห็นไหม นี่เราใคร่ครวญของเรา ถ้าจิตมันสงบมันจะมีความรู้ ความเห็น ถ้าจิตไม่สงบมันเป็นแบบนั้น

ถาม : หลังจากโยมใคร่ครวญแล้ว โยมไม่ยกเรื่องนี้มาพิจารณาอีกเลย เพราะลึกๆ มันมีความรู้สึกเสียดายอารมณ์นั้นอย่างไรไม่รู้

ตอบ : นี่เสียดายอารมณ์ เห็นไหม หลวงตาสอนว่า “อย่าเสียดายอารมณ์” ความที่เสียดายอารมณ์ก็เอาไว้อุ่นกินไปเรื่อยๆ เพราะเสียดายถึงได้เก็บซ่อนไว้ในใจ ถ้าไม่เสียดายจะไม่เก็บอารมณ์ความรู้สึกที่ประทับใจนี้ซ่อนเอาไว้ใต้จิตสำนึก นี่เพราะเราเสียดายอารมณ์เราถึงเอาสิ่งนี้ซ่อนไว้ในใต้หัวใจนะ เพราะมันมีความเสียดาย เห็นไหม สมุทัย นี่ถ้าเราไม่เสียดายอารมณ์เลย อารมณ์อย่างใดก็ต้องฟาด ต้องฟัน

“จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส”

ความผ่องใส ความสว่างไสวนั้นก็ต้องทำลาย ถ้าไม่ทำลายสิ่งนั้น ไอ้ตัวผ่องใสเดี๋ยวมันจะเศร้าหมอง ความผ่องใส ความสว่างไสว เดี๋ยวมันจะกลับมาเผาเรา ถ้าไม่ใช่วิปัสสนาแยกแยะมัน ความผ่องใสนั่นแหละมันจะกลับมาแผด มาเผา ฉะนั้น ถ้าความเสียดายอารมณ์ เสียดายก็ซุกไว้ไง เสียดายก็เอาไว้อุ่นกินอีกไง เดี๋ยวพออุ่นกินมันก็จะเผาลนเราไปอย่างนั้นแหละ มันต้องทำลาย ใจนี้ยิ่งทำลาย ยิ่งสะอาด ยิ่งบริสุทธิ์

ยิ่งทำลาย ทำลายอะไร? นี่ดูวัตถุนะ พอทำลายแล้วมันจะเสียหายไปหมดเลย ไม่มีสิ่งใดเป็นวัตถุที่ไว้ใช้ประโยชน์ได้ แต่ใจเรานี่เป็นนามธรรม ยิ่งทำลาย ยิ่งซักฟอก เห็นไหม ยิ่งซักฟอกยิ่งสะอาด ยิ่งทำลายยิ่งผ่องแผ้ว ยิ่งทำลายยิ่งดี ทีนี้ทางโลกไม่กล้าทำ ไม่กล้าทำลาย นี่ไงก็เลยไปเสียดาย เพราะความเสียดายอารมณ์ เสียดายไม่ได้ นี่อารมณ์อย่างใดก็เอามาขึงพรืดเลย คำว่าขึงพรืดคือจับยึดเลย แล้วพิจารณาแยกแยะให้ได้ ถ้าแยกแยะได้นะมันเป็นนามธรรมไง พอแยกแยะได้ก็ปล่อยวางหมด จบ

เดี๋ยวก็เกิดอีก นี่เดี๋ยวก็เกิดอีก พอมันเกิดซ้ำเกิดซาก เกิดดับๆ อยู่อย่างนั้นแหละ นี่ถ้าเกิดดับไม่มีสติปัญญามันก็ไหลไป มีสติปัญญาก็แยกแยะทำลาย ทำลายแล้วนะ ทำลายอะไร? ทำลายสมุทัย แต่นามธรรมทำลายแล้วมันก็ยังอยู่ของมัน พออยู่ของมันนะทำลายซ้ำ ทำลายซาก นี่เสียดายอารมณ์ไม่ทำลายอะไรเลย ไม่ทำลายมันก็ดินพอกหางหมูไง ยิ่งสะสมเข้าไปๆ

ถาม : บางครั้งมันเกิดอาการคุกรุ่นต่างๆ นี่มันเหมือนไอร้อน

ตอบ : ถ้ามันเป็นไอร้อน เป็นไอน้ำ นี่อย่างนี้เห็นได้ง่าย แก้ไขได้ง่าย เพราะอย่างนี้ไอน้ำ ความร้อนต่างๆ มันเป็นเหมือนสสาร เป็นธาตุ แต่ความรัก ความหลงมันมีกิเลส ความรักใคร่ ความหลง เห็นไหม กับไอน้ำมันแตกต่างกัน นี่กิเลสหยาบ กิเลสละเอียดมันจะเผยตัวออกมา ถ้าเรามีสติ มีปัญญานะมันจะเผยตัวออกมาจากจิตใต้สำนึก มันจะเผยตัวออกมา แต่ถ้าเราไม่มีสติปัญญาเลย นี่เราว่าสิ่งนี้เป็นธรรมๆ เหมือนกำปั้นทุบดินไง วิทยาศาสตร์ คิดแบบวิทยาศาสตร์ สิ่งนี้มี เราได้กระทำแล้วก็ต้องจบ

นี่มันมีอย่างนี้ตลอด เดี๋ยวจะมีข้อต่อไปเขาถามปัญหานี้เหมือนกัน นี่คิดแบบวิทยาศาสตร์ไง ได้ทำแล้ว รู้สึกแล้ว จบแล้ว แล้วทำอย่างไรต่อไป? นี่มันถึงว่าปริยัติ ปริยัตินี่วิทยาศาสตร์ แต่ถ้าปฏิบัติแล้วนะ กิเลสมันมีเล่ห์กลเยอะนัก เล่ห์กลของกิเลสมันเยอะนัก เราจะต้องตามเข้าไปอีก ฉะนั้น สิ่งที่เขาว่าเขาเกิดขึ้น สภาวะที่เป็นอยู่นี้มันเป็นเพราะว่า

นี่คำถามต่อไปนะเขาถามไว้ว่า

ถาม : สิ่งที่เป็นมันเป็นสภาวะที่เกิดปกติ ในชีวิตปกติ ไม่มีสิ่งใดมากระทบ ไม่ได้เกิดขึ้นจากการนั่งสมาธิ ข้อที่ว่ามันรู้สึกกระเพื่อม มันรู้สึกต่างๆ มันรู้สึกกระเพื่อมมาจากใจ

ตอบ : อย่างนี้ เวลาเราภาวนากันนะ เวลาเดินจงกรมนั่งสมาธิ เวลามันเห็นมันก็เคลื่อนไหวอยู่ การเดินจงกรมหรือนั่งสมาธิ ถ้าจิตมันสงบแล้ว ลืมตาหรือหลับตามันรู้ มันเห็นของมันได้ การใช้ปัญญา แม้แต่ลืมตามันก็ใช้ปัญญาของมันได้ ปัญญานะ ถ้าจิตมันมีสมาธิแล้วจับกาย เวทนา จิต ธรรมได้โดยความเป็นจริง จับได้คือการขุดคุ้ยหากิเลส เหมือนทางการแพทย์ ถ้าเราไม่วินิจฉัยว่าเป็นโรคอะไรเราจะรักษาไม่ได้ ถ้าเราวินิจฉัยว่านี่เป็นโรคอะไร คนนี้เป็นโรคอะไร โรคนี้เกิดจากสิ่งใด นี่เราจะรักษาตามอาการนั้นได้

จิต จิตถ้ามันเห็นกิเลสใช่ไหม? นี่เราขุดคุ้ยจนเห็นกิเลส เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม เราเป็นคนเห็น เห็นกายก็แตกต่างกัน เห็นเส้นขน เห็นเส้นผม เห็นกระดูก เห็นอวัยวะต่างๆ เห็นทั้งร่างกาย ความเห็นของคนไม่เหมือนกัน แล้วเห็นแต่ละครั้งก็ไม่เหมือนกัน พอไม่เหมือนกันนี่เป็นปัจจุบัน ถ้าเป็นปัจจุบัน เห็นไหม นี่พอเห็นสิ่งใดเราก็พิจารณาให้เป็นไตรลักษณ์ ถ้าเป็นไตรลักษณ์มันจะแปรสภาพของมันไป ถ้ามีกำลังนะมันจะแปรสภาพ นี่วิภาคะ มันจะวิภาคะ ขยายส่วน แยกส่วน

นี่ไตรลักษณ์มันคือการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงโดยจิตมันจะเร็วมาก เราระลึกให้มันเป็นตามนั้นแล้วมันจะพั่บๆ พั่บๆ เลย พอพั่บๆ เพราะอะไร? เพราะใจมีกำลัง แต่ถ้าสมาธิเริ่มไม่เข้มแข็งนะ นี่จะให้เป็นไป มันจะเป็น หรือเป็น ๕๐ เปอร์เซ็นต์ เป็นเล็กๆ น้อยๆ นี่สมาธิไม่พอ ถ้าสมาธิไม่พอมันจะไม่เป็นไปตามนั้นหรอก แต่ถ้ากำลังมันดีนะ กำลังมันดีมันสั่งนะแล้วมันจะเป็นพั่บๆ พั่บๆ นี่สมอง

คำว่าสั่ง คำว่าเห็นนั่นคืออะไร? นี่ปัญญา ปัญญาที่รู้ ที่เห็นนี่แหละมันจะสำรอก มันจะคายของมัน ถ้ามันสำรอก มันคายของมัน นี่ถ้าขุดคุ้ย ขุดคุ้ยคือจับต้อง แม้แต่ลืมตาหรือหลับตาอยู่ ถ้ามันจับของมันได้แล้วนะ คนเรานี่จับจำเลยไว้ได้แล้ว ถึงเวลาก็เบิกตัวมาสอบสวน ถึงเวลาก็เบิกตัวมาสอบสวน คนเราถ้าขุดคุ้ยหากิเลสได้ จับกาย เวทนา จิต ธรรมได้ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง นี่มันจะพิจารณาซ้ำได้เลย พิจารณาไปบ่อยครั้งๆๆ จนกว่า จนกว่าจะสารภาพ จนกว่าศาลนั้นจะตัดสินว่ามีความผิดอย่างไร

ถ้ามีความผิดอย่างไร นี่ถ้าศาลตัดสินคือสมุจเฉทปหาน คือมันขาด สังโยชน์ขาดเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป นี้พูดถึงถ้ามันทำนะ เขาบอกว่ามันเป็นสภาวะปกติ ไม่ได้นั่งสมาธิ ถ้ามันไม่ได้นั่งสมาธิ ถ้าสมาธินะ หลับตา ลืมตา แต่ขณะที่ว่าจิตเราไม่ได้เราก็ต้องหลับตา หรือเดินจงกรมให้เข้มแข็ง แต่ถ้ามันเข้มแข็งแล้วนี่ เดินจงกรม เห็นไหม เดินอยู่ พิจารณาอยู่มันพิจารณาตลอด ทำอย่างไรอยู่ปัญญามันก็หมุนอยู่ภายใน แต่ถ้าปัญญามันหมุนจนมันอ่อนเพลีย ปัญญามันหมุนจนสมาธิมันเบาตัวลงเราจะต้องวาง

นี่พอปฏิบัติไปมันจะรู้จังหวะ คนภาวนาเป็นหรือภาวนาไม่เป็นมันจะรู้จังหวะตรงนี้ ถ้ารู้จังหวะตรงนี้มันจะเป็นประโยชน์ นี้เริ่มต้นภาวนาแบบนี้

ถาม : ข้อ ๘๒๕. เรื่อง “ทำอย่างไรผู้รู้จึงจะเป็นอิสระจากสิ่งที่ถูกรู้ทั้งหมดโดยไม่ต้องรักษา”

กราบเท้าท่านอาจารย์ด้วยความเคารพอย่างสูง ปราศจากข้อสงสัย (นี่เขาเขียนมานะ) เกล้ากระผมภาวนามาจนถึงปัจจุบัน พิจารณากายทั้งหมด ทั้งร่างกาย ความถือเอาขันธ์ ๕ เช่นเวทนา สัญญา สังขาร และกาย พยายามอยู่กับผู้รู้ล้วนๆ ให้ได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ตลอดวันโดยไม่ต้องรักษา แต่ยังทำไม่ได้ ส่วนใหญ่ผู้รู้อยู่คู่กับสิ่งที่ถูกรู้ เป็นสอง เป็นสามตลอด ขอพระอาจารย์เมตตาชี้ทางปฏิบัติด้วยครับ

ถาม : ทำอย่างไรผู้รู้จึงจะเป็นอิสระจากสิ่งที่ถูกรู้

ตอบ : นี่เวลาปฏิบัติ เห็นไหม ถ้าผู้รู้ รู้ตัวทั่วพร้อม รู้ต่างๆ นี่ที่ว่าเป็นวิทยาศาสตร์ๆ ทำทุกอย่างกระบวนการจบแล้ว ถ้าทำกระบวนการจบแล้วต้องมีสติอยู่นะ ดูสิเราอ่านหนังสือ เรามีสติ อ่านหนังสือนี่เราเข้าใจ เราเข้าใจตามหนังสือที่เราอ่านหนังสือนั้น เพราะ เพราะมีตา มีสมอง มีความรู้สึก กับมีตัวอักษร แล้วอ่านแล้วเราก็เข้าใจ เข้าใจแล้วเราประสบความสำเร็จอะไร? คือเรามีปัญญาในสุตมยปัญญา คือการศึกษา

ในการปฏิบัติก็เหมือนกัน เราปฏิบัติให้ครบสมบูรณ์ ทำทุกอย่างพร้อมเลย รู้ตัวทั่วพร้อม รู้หมดการเคลื่อนไหว รู้เท่าทันจิตหมดเลย ควบคุมจิตได้หมดเลย แล้วได้อะไรต่อไป? ได้อะไรต่อไป? นี่ถ้าเป็นในการปฏิบัติแบบกรรมฐาน ถ้าการปฏิบัติแบบกรรมฐานนะ นี่หลวงปู่มั่นท่านสอน

“การดื่ม การเหยียด การคู้ การเคลื่อนไหว ต้องมีสติตลอดเวลา”

นี่มีสติตลอดเวลา แล้วกำหนดพุทโธ พุทโธ พุทโธ เห็นไหม ถ้ามีกำหนดพุทโธ นี่การดื่ม การเหยียด การคู้เรามีสติตลอดเวลา สติตลอดเวลาก็รู้ตัวทั่วพร้อม แล้วรู้ตัวทั่วพร้อมแล้วทำอะไรต่อไป? เราจะบอกว่าระดับน้ำ น้ำนี่ระดับของมัน มันอยู่แค่นั้น แล้วระดับน้ำที่เราต้องการ ระดับน้ำที่จะเป็นประโยชน์กับเรา เราไม่ต้องการระดับน้ำแบบนี้ เราต้องการระดับน้ำที่ความเสมอของมัน ที่เราจะระดับน้ำเพื่อการก่อสร้าง เพื่อเป็นความสมดุลของมัน ฉะนั้น ถ้าระดับของมัน เห็นไหม ระดับที่เรารู้ตัวทั่วพร้อมมันระดับ

เราจะบอกว่ามนุษย์นี่มีสมาธิไหม? ทางการแพทย์มนุษย์มีสมาธิหมดนะ ถ้ามนุษย์ขนาดสมาธิคือคนบ้า เด็ก เห็นไหม สมาธิสั้น สมาธิยาว แม้แต่สมาธิสั้นมันยังควบคุมตัวมันไม่ได้เลย ถ้าสมาธิมันปกติ สมาธิมันยาวมันก็ควบคุมตัวมันได้ นี่พูดถึงเด็กนะ ฉะนั้น ว่าโดยปุถุชนมีสมาธิไหม? มี มี แต่สมาธิแบบระดับอย่างนี้มันไม่พอ ระดับนี่ดูสิผู้ที่บริหารสมาธิเขาจะดีมากเลย เขาบริหารจัดการของเขา เขามีสมาธิ เขามีปฏิภาณของเขา เขาถึงสามารถบริหารจัดการคนได้ นี่การบริหารจัดการคน บริหารจัดการคนด้วยอะไร? ก็ด้วยปัญญาไง ด้วยปฏิภาณไหวพริบ ด้วยผู้นำไง

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าพูดถึงระดับนี้แล้วนี่อะไร? นี่ก็คือหน้าที่การงานไง ทีนี้ในการปฏิบัติก็เหมือนกัน

ถาม : ทำอย่างไรผู้รู้ถึงจะเป็นอิสระจากสิ่งที่ถูกรู้

ตอบ : แล้วทำอย่างไรล่ะ? ก็เอาผู้รู้กับสิ่งที่รู้แยกออกจากกันใช่ไหม? แล้วแยกด้วยวิธีการอย่างไรล่ะ? ฉะนั้น ถ้าคำสอนมันจะฟ้องถึงผู้สอนว่ามีวุฒิภาวะจริงหรือเปล่า แล้วผู้สอนนี่ได้ผ่านวิกฤติ ได้ผ่านการพิจารณาระหว่างกายกับจิตที่แยกออกจากกันจริงหรือเปล่า ถ้ามันแยกออกจากกันจริงแบบหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์ของเรา ท่านจะรู้เลย

เหมือนเราเลย เหมือนพ่อแม่ เหมือนเด็ก เด็กของเรามันจะโตขึ้นมา ถ้าเราส่งให้มันเรียนตั้งแต่อนุบาลมา ถ้าพื้นฐานเขาดี เดี๋ยวเรียนหนังสือขึ้นไปนี่พ่อแม่จะสบายใจ ส่งเสียไปเป็นชั้นเป็นตอน แต่ถ้าพื้นฐานมันไม่ดีขึ้นมามันจะไปเรียนอะไร? พ่อแม่เดือดร้อนไปหมด จะต้องไปนั่งเฝ้าที่หน้าห้องเลยว่า อู๋ย ลูกเรามันเรียนไม่ทันเขา ลูกเรา

อันนี้ก็เหมือนกัน เพราะกรรมฐานเรา หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านถึงบอกว่าให้ทำความสงบของใจเข้ามาก่อน ถ้าใจมันสงบเข้ามาก็เหมือนพื้นฐาน นี่มันมีพื้นฐานของมัน ถ้าพื้นฐานของมัน เห็นไหม นี่ถ้ามีพื้นฐานของมันเราจะสื่อภาษาอะไรมันก็เข้าใจเราได้ มันไม่มีพื้นฐานเลย คุยกันภาษาโลก อย่างนี้เป็นอริยสัจ อย่างนี้เป็นสะอาดบริสุทธิ์ นี่คุยกันแต่ธรรมสาธารณะ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ความรู้สึกในใจของตัวเองไม่มีเลย นี่เวลาพูดกันก็พูดว่ามันเป็นเจตสิก มันเป็นเจตสิกนะ มันเป็นเจตนานะ จิตมันเป็น โอ้โฮ ว่ากันไปนะ

แต่ถ้าพื้นฐานนะ พื้นฐานทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าใจมันสงบนะมันไม่ใช่ว่าผู้รู้แยกกับสิ่งที่ถูกรู้ คำว่าผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ แล้วแยกออกจากกัน เคยได้ยินจากพระกรรมฐานชัดๆ ไหม หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์เราท่านเคยพูดอย่างนี้บ้างไหม? ท่านพูดอย่างนี้ไหม? ท่านบอกทำให้จิตมันสงบเข้ามา พอจิตสงบเข้ามาแล้วให้ออกใช้ปัญญา พอออกใช้ปัญญา ปัญญานี่มันจะเห็นโทษของมัน

พอเห็นโทษสิ่งใดนะ มันเห็นโทษ ถ้าคนไม่เห็นโทษมันไม่เห็นคุณ ถ้าเราไม่รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นโทษ นี่เวลาคนปฏิบัติขึ้นมา เขาไม่รู้ว่าสิ่งใดเป็นโทษและสิ่งใดไม่เป็นโทษ เห็นงูเห่า เห็นงูจงอางไปกอดมันเลย โอ๋ย น่าสงสาร น่ารัก นี่กอดงูเห่า งูจงอาง ไม่รู้เลยว่านั่นน่ะมันอสรพิษ มันกัดตายนะ แต่ไม่เข้าใจไง แต่ถ้ามันเข้าใจ ถ้าเรามีปัญญาของเรา นี่ครูบาอาจารย์สอนให้ทำความสงบของใจ พอใจมันสงบ มันจะเห็นเลยว่าความสงบกับความฟุ้งซ่านแตกต่างกันอย่างใด ทำไมมันถึงฟุ้งซ่าน ทำไมมันถึงสงบ

มันสงบเพราะอะไรล่ะ? มันสงบเพราะว่าเรามั่นคง เรามีสติ เรามีปัญญา เรามีสติปัญญาแล้วเราควบคุมได้ พอควบคุมใจของเราได้ มันจะแฉลบ พุทโธมันจะแฉลบไปเรื่องนู้น เรื่องนี้ มันโดยแรงขับดันของตัณหา มันแรงขับดันของสมุทัย ถ้าแรงขับดันของสมุทัยเราก็จะเห็นโทษ เห็นไหม นี่ไม่มีใครทำร้ายเราเลย สมุทัยมันทำร้ายเรา นี่กิเลสตัณหาความทะยานอยากในหัวใจเรามันทำร้ายเรา ถ้าเรามีสติ มีปัญญานี่เราหักห้าม เราหักห้าม เรามีกำลัง ถ้ามันมีกำลังมากกว่า เราพยายามหาอุบาย

ต้องหาอุบายนะ หลวงตาบอกว่า “ทำแบบเถรส่องบาตร ทำพอเป็นพิธี เดินจงกรมก็เดิน หมามันมี ๔ ขามันยังเดินดีกว่า เดินจงกรมก็ตาเถ่อ”

เดินจงกรม นั่งสมาธิ ภาวนานั่นเป็นกิริยา แต่ท่านต้องการให้มีสติ มีปัญญา กิริยาที่เราทำนั้นเป็นแค่กิริยาเปลือกข้างนอก แต่ถ้ามีสติ มีปัญญา เห็นไหม เรามีสติ มีปัญญา เดินจงกรมก็มีสติ เดินจงกรมก็มีปัญญา ถ้าเดินจงกรมมีสติ มีปัญญามันจะเห็นโทษของมัน ถ้าเห็นโทษ เห็นโทษอะไร? เห็นโทษในสมุทัยของเรา ถ้าเห็นโทษในสมุทัยของเรา นี่เราตั้งสติ เรามีคำบริกรรมชัดเจน พอชัดเจนมันก็สงบเข้ามา

มันเป็นไปไม่ได้ ถ้าพูดถึงเหตุมันมี แล้วผลมันไม่เกิดมันเป็นไปไม่ได้หรอก ถ้าเราควบคุมได้ เรามีสติปัญญาพอมันต้องลงแน่นอน แต่ตอนนี้มันลงไม่ได้เพราะอะไร? เพราะว่ากิเลสตัณหามันแก่กล้า มันเข้มแข็ง แล้วมันก็กระทุ้งเอาจนเราล้มลุกคลุกคลานมาตลอดเวลา แล้วก็บอกว่านี่ผู้รู้ เวลารู้ก็ว่าผู้รู้ เวลามันไม่รู้ก็นี่สิ่งที่ถูกรู้ แล้วแยกอะไรต่อไป? ทำใจให้สงบเข้ามานะ ถ้าจิตมันสงบแล้วนี่มันสักแต่ว่ารู้ อัปปนาสมาธิ เวลาอุปจาระ รู้แล้วออกรู้ นี่รู้ รู้ในตัวมันเอง แล้วมีกำลังแล้ว มันไม่เหมือนสมาธิของปุถุชน

สมาธิของมนุษย์มันมีสมาธิสั้น สมาธิยาวนั้นอย่างหนึ่ง แต่จิตมันสงบเข้ามา นี่สมาธิของโสดาปัตติมรรค สมาธิของโสดาปัตติมรรคนะ ปุถุชนนี่แหละ คนนี่แหละจะเดินโสดาปัตติมรรค พอสมาธิมันละเอียดเข้ามาปั๊บ พอละเอียดเข้ามา ละเอียดเข้ามาหมายความว่าอะไร? ละเอียดเข้ามาคือมันปล่อยสัญญาอารมณ์ทั้งหมด ถ้ามันไม่ปล่อยสัญญาอารมณ์เข้ามา มันไม่เป็นเอกเทศในตัวมันเอง ถ้ามันปล่อยสัญญาอารมณ์เข้ามา เห็นไหม นี่สัมมาสมาธิ ฐีติจิต นี่คือตัวจิตล้วนๆ มันไม่มีความรู้สึกนึกคิด ความรู้สึกนึกคิดมันอยู่ข้างนอก

ในสมาธินี่คิดได้ไหม? ได้ เป็นสมาธิมันคิดได้ในละเอียด นี่รำพึง ถ้าสมาธิคิดไม่ได้ ปัญญาเกิดไม่ได้ แต่เวลาเป็นสมาธิเข้ามานี่นะ นี่สมาธิอุปจารสมาธิ สมาธิคิดได้ แต่สมาธิคิดไม่ได้นี่อัปปนาสมาธิ สมาธิคิดไม่ได้เลย ถ้าสมาธิเริ่มละเอียดนี่สมาธิคิดไม่ได้เลย ถ้าออกมาอุปจารสมาธิ สมาธิคิดได้ แต่สมาธิคิดได้นี่ มันคิด มันเสวยอารมณ์ มันคิดอย่างไร? มันคิดเรื่องอะไร? ถ้ามันคิดมันต้องมีเหตุสิ ถ้าไม่มีกระทบมันจะมีความรู้สึกขึ้นมาได้อย่างไร?

ถ้ามีกระทบปั๊บ สิ่งที่กระทบนั่นแหละ จิตเห็นอาการของจิต จิตเห็นขันธ์ จิตเห็นความคิด จิตเห็น จิตรู้ นี่ผู้รู้ สิ่งที่ถูกรู้ ไอ้นั่นผู้รู้นะ นี่สิ่งที่ถูกรู้ ไอ้นี่มันหนังสารคดี ผู้รู้ สิ่งที่ถูกรู้ นี่มันเป็นวิทยาศาสตร์ มันสตาวอร์ แล้วมันจะไปดูกันในโรงหนัง แต่ถ้ามันเป็นวิปัสสนานะ มันเป็นวิปัสสนา เวลาจิตมันเห็นอาการของจิต มันเห็นอย่างไร? ถ้าจิตเห็นอาการของจิต แล้วมันจับความคิดได้

ความคิดมันประกอบไปด้วยอะไร? ถ้าความคิดมันประกอบไปด้วยรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณมันเป็นความคิดไปไม่ได้ เพราะรูป ถ้ารูปเฉยๆ มันก็เป็นสสาร ถ้าเป็นเวทนามันก็มีถูก มีผิด เพราะมีสุข มีทุกข์ ถ้าสัญญา สัญญาก็มีข้อมูล สังขารปรุงแต่ง เห็นไหม มันมีชีวิตแล้ว วิญญาณ วิญญาณความรู้สึกในความคิดนั้น นี้ความคิดมันเร็วมาก สันตติ ความคิด พลังงานเร็วกว่าแสง ทีนี้ความคิดมันเกิด ความคิดมันจะเร็วมาก แต่สติเราไม่ทัน จะเร็วแค่ไหน ให้เร็วกว่าแสงอีก ๒๐ เท่า ถ้ามีสติทันหมด สิ่งที่เร็วๆ ที่ว่าเร็วกว่าแสง สติมันจับมาพิจารณาได้ มันจับมาดูได้ พอมันจับมาดูนะเราจะวิปัสสนามัน เราวิปัสสนามัน แยกมัน

นี่ไงสิ่งที่ถูกรู้ จะเอาขันธ์ ๕ มาพิจารณา ถ้าขันธ์ ๕ พิจารณา เห็นไหม นี่เขาถามว่าเขารู้ สิ่งที่ถูกรู้ เขาอยู่กับมันได้ตลอดเวลา นี่เขาอยู่กับมันได้ตลอดเวลา เห็นไหม เป็นทั้งวันๆ เลย นี่ผู้ถามเขาถามมา เราอ่านคำถามเขาแล้วเราเข้าใจว่า เขาปฏิบัติมาเนิ่นนาน แล้วปฏิบัติมาเนิ่นนานแล้วนี่ล้มลุกคลุกคลาน เห็นไหม ถึงได้เข้ามาดูในเว็บไซต์แน่นอน ถึงบอกว่า

ถาม : กราบเท้าด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่ง ผมภาวนามาตั้งนานมาถึงปัจจุบัน พิจารณากายทั้งหมดทั้งร่างกาย ความถือเอาขันธ์ ๕ เช่นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ พยายามรู้อยู่แต่ผู้รู้ล้วนๆ ให้ได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ตลอดวันโดยไม่ต้องรักษา แต่ยังไม่ได้

ตอบ : นี่ตรงนี้มันเป็นประเด็น ประเด็นที่ว่า

“พยายามจะให้ผู้รู้ล้วนๆ ได้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์อยู่ตลอดทั้งวัน” เห็นไหม

ผู้รู้ล้วนๆ ผู้รู้ล้วนๆ นี่อย่างนี้มันพิจารณาความรู้เท่า ความรู้เท่าในร่างกาย ความรู้เท่าต่างๆ นี้มันเป็นการสั่งสอนในแนวทางปฏิบัติอันหนึ่ง แต่ในแนวทางปฏิบัติของกรรมฐานเรา ถ้าเราไปรู้ๆ อยู่อย่างนี้ มันก็ทำให้จิตของเราอยู่ในระดับน้ำที่เราไม่ต้องการ คือระดับความรู้ของมนุษย์ การปฏิบัติเราต้องการให้ลึกกว่านี้ ความรับรู้ระดับของมนุษย์เรานี่นะมันเป็นโลก ทีนี้ความรับรู้ในระดับความเป็นมนุษย์ของเรา นี่มนุษย์ไง มิติของมนุษย์ไง พอเข้ามาความสงบของจิต พอจิตมันสงบเป็นสัมมาสมาธิ อันนี้เป็นสากลนะ

สากลหมายถึงว่าทุกชนชั้น ทุกชาติพันธุ์ ทั้งโลกธาตุ ทั้งเทวดา อินทร์ พรหม ถ้าเวลาทำจิตสงบมันจะเข้ามาอยู่ตรงนี้ นี่คือปฏิสนธิจิต จิตที่เป็นสากล พอจิตเป็นสากลปั๊บ พอเป็นตัวจิตมันเป็นสากลนะ พอจิตมันสงบ เห็นไหม ดูสิบุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณเกิดจากตรงนี้ จิตที่เข้ามาสู่ฐีติจิต เข้ามาสู่ตัวของจิตเองมันเป็นสากล นี่มันไปของมัน สัมมาสมาธิมันอยู่ตรงนี้ ถ้าสัมมาสมาธิ ถ้ามันเข้ามาสู่สัมมาสมาธิ นี่ในระดับที่เราต้องการ พอเราต้องการสิ่งนี้มันออกรู้ไง ออกรู้ ออกพิจารณา ถ้าออกพิจารณาขึ้นมามันก็เป็นวิปัสสนา ถ้าวิปัสสนามันก็จะเห็นผลกันแล้ว เห็นผลว่าปฏิบัติแล้วมันจะมีผลไง

จิตสงบมันก็รู้ว่าสงบ อย่างเช่นที่ว่าไม่เห็นโทษก็ไม่เห็นคุณ ถ้าเห็นโทษของความฟุ้งซ่าน พอมันควบคุมได้ มันมีความสงบเข้ามาเราก็เห็นคุณของสมถะแล้ว ถ้าเห็นคุณของสมถะนะ ถ้าไม่มีวาสนาก็ว่าสมถะนี้เป็นนิพพาน ความสงบนี่เป็นนิพพาน แหม ทุกข์ยากมาตั้งนาน เดี๋ยวนี้สุขสบายมาก เดี๋ยวก็เสื่อม

นี่ถ้ามีสติปัญญา มีครูบาอาจารย์คอยชี้นำ ดึงไปๆ นะ เคาะให้ออก เคาะให้ออกใช้ปัญญา พอเคาะให้ออกแล้วพิจารณาเห็นโทษของการฟุ้งซ่าน นี่เห็นคุณของความสงบ พอสงบแล้ว พิจารณาไปแล้วนี่เห็นคุณของการใช้ปัญญา เห็นคุณของวิปัสสนาญาณ แล้วก็เห็นโทษของกิเลส เห็นผลของการวิปัสสนา

นี่มันคนละชั้นกัน แม้แต่สมถะ ความสุขในขั้นของสมาธิ กับความสุขของการใช้ปัญญามันก็คนละชั้นแล้ว แล้วเวลาพิจารณาไปนะ เวลาครูบาอาจารย์ของเราที่ปฏิบัติไปแล้วท่านถึงเป็นครูบาอาจารย์ของเรา ท่านถึงเป็นหลักเกณฑ์ของเรา เพราะ เพราะในการปฏิบัติมันมีโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล

มรรค ๔ ผล ๔ มันมีความแตกต่างหลากหลาย มันถึงมี สติ มหาสติ มีปัญญา มหาปัญญา มีสติอัตโนมัติ มีปัญญาอัตโนมัติ มันยังมีทางก้าวเดินไป ถ้ามีครูบาอาจารย์นะ ท่านรู้ช่องทางของท่าน ท่านจะพาเราเดินไปเป็นช่องๆๆ ไปเลย แต่ไอ้เราพอปฏิบัติแล้วอ่านทางวิทยาศาสตร์นะ นิพพาน ปัญญาก็ใช้แล้ว ผู้รู้ก็รู้แล้ว สิ่งที่ถูกรู้ก็ได้แยกออกแล้ว ทุกอย่างทำเหมือนกับพระไตรปิฎกทั้งหมดเลย แต่ไม่ได้ผล แต่ไม่ได้ผล เพราะทำตามแบบ ทำเป็นพิธี แต่ถ้าเราปฏิบัติของเรานะ

นี่เวลาคิดนอกกรอบ คิดนอกกรอบในปัจจุบันของกิเลสที่มันเจอ พิจารณาไป ทำไป พิจารณาไป ค้นคว้าไป รู้จริง เห็นจริง เป็นสมบัติของส่วนตน นี่สมบัติส่วนตน มันจะมีสมุจเฉทปหานอย่างไร แล้วเวลาต่างคนต่างปฏิบัติไป เวลาธัมมสากัจฉา เวลาลูกศิษย์หลวงปู่มั่นไปหาหลวงปู่มั่น ไปรายงานผลหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นท่านเป็นประธาน นี่หลวงปู่พรหม หลวงปู่บัว หลวงปู่แหวน หลวงปู่ตื้อ หลวงปู่ชอบ เวลาไปสนทนาธรรมกับหลวงปู่มั่นมีอะไรผิดแตกต่างกัน? แต่เวลาแยกส่วนออกไปแล้วนะพิจารณาแต่ละคนไม่เหมือนกันเลย ไม่เหมือนกันเลย แต่ผลอันเดียวกัน แต่ผลอันเดียวกัน เห็นไหม

ฉะนั้น เวลาอรหัตตมรรค อรหัตตผลอันเดียวกัน นี่มรรค ๔ ผล ๔ เหมือนกันหมด แต่ แต่วิธีการ จริตนิสัยของคน การกระทำของคน เห็นไหม ดูสิเที่ยวป่า เที่ยวเขาแต่ละสถานที่แตกต่างกัน แต่ผลอันเดียวกัน นี่ผลอันเดียวกัน นี่ไงครูบาอาจารย์ท่านรู้จริง เห็นจริง ประสบการณ์ของจิตแต่ละดวงมันถึงเป็นความจริง ทีนี้เวลาเราปฏิบัติแล้วก็บอกว่า นี่ไม่เชื่อในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ปฏิบัติตามพระไตรปิฎก ไปปฏิบัติตามเอา

นั่นเวลาเขาพูด เขาพูดให้คนปฏิบัติโลเล ทิ้งข้อเท็จจริงไปเกาะวิชาการไว้ เกาะโลกไว้แน่นเลย ขยับไม่ได้เลยนะ เกาะเอาไว้แน่นเลย แต่ข้อเท็จจริงที่มันเกิดขึ้นไม่รับรู้ แต่คนเรามันจะมีประสบการณ์ มันก็ต้องเกิดจากประสบการณ์ข้อเท็จจริงที่ตัวเองสะสมขึ้นมา จนถึงที่สุดแล้วไปคุยกันทางวิชาการนะ ไอ้นักวิชาการทั้งหมดมันต้องฟัง ไอ้นักวิชาการทั้งหมดต้องหันมาฟัง เพราะนักวิชาการมันมีแต่ท่องบ่น อันนี้เอาประสบการณ์จริงมามันไม่รู้ ไม่มีจริงในพระไตรปิฎก พระไตรปิฎกเป็นวิธีการ ผลที่เกิดขึ้นในพระไตรปิฎกไม่ได้บอก

นี่ไง ฉะนั้น บอกว่า

ถาม : ทำอย่างไร? นี่ทำอย่างไร? ขอให้ชี้ทางปฏิบัติให้ด้วย

ตอบ : ชี้ทางปฏิบัตินะ นี่เวลามันปล่อยวางมาทั้งหมด มันก็เป็นสามัญสำนึก แต่ถ้ามันมีสตินะมันพุทโธต่อไป หรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิต่อไป สมาธิมันจะละเอียดขึ้น ถ้าสมาธิละเอียดขึ้นนะ แล้วค้นคว้าเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมด้วยความเป็นจริง นั่นล่ะมันจะเริ่มต้นหนทาง

นี่ต้นทางไง ปากซอย ถ้าเข้าปากซอยได้ เราจะเข้าไปถึงบ้านเรา ถ้าเราเข้าปากซอยไม่ได้เราจะหาบ้านเราไม่เจอ ถ้าเราเข้าปากซอยได้ เราเปิดทางวิปัสสนาได้ มันจะเข้าไปสู่ผลนั้น ถ้าเข้าไปสู่ผลนั้นมันก็จะเป็นความจริงขึ้นมา ถ้าเป็นความจริงขึ้นมา ปฏิบัติกันอยู่อย่างนี้ ปฏิบัติอย่างนี้เพราะอะไร? เพราะไม่มีคนชี้นำ ถ้ามีคนชี้นำเอาอะไรเป็นหลักเป็นเกณฑ์ ก็ตำราไง พอตำราขึ้นมาก็เป็นอย่างนี้แหละ จับพลัดจับผลูอยู่อย่างนี้

แต่ถ้ามีคนชี้นำนะ ตำราศึกษามาแล้ว ตำราศึกษามา นี่ทหารฝึกมาแล้ว ออกรบไม่ต้องเปิดตำราดูหรอก ออกรบก็รบเลย เวลาฝึกก็ฝึก เวลาฝึกเสร็จแล้วก็ออกรบ คนเราไม่เคยออกรบเลย เปิดแต่ตำรามาเถียงกัน เวลาทหารจะออกรบนี่เปิดตำราเลยนะ ต้องรบอย่างนี้ ต้องรบอย่างนี้ แต่แบกปืนยังแบกไม่เป็นเลย ใส่กระสุนยังใส่ไม่ถูก มันจะออกรบ แต่ถ้าคนผ่านสงครามมาแล้วนะมันรบมาแล้ว ครูบาอาจารย์ของเรารบจบมาแล้วถึงกลับมาสอนพวกเรา รบมาแล้ว ฆ่าข้าศึกมาแล้ว ฆ่ากิเลสมาแล้ว แล้วมาสอนเรา

ฉะนั้น มาสอนเรานี่ชุบมือเปิบนะ ประสบการณ์ชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แล้วประสบการณ์ของครูบาอาจารย์ท่านประสบมาแล้ว ฉะนั้น สิ่งที่ทำ นี่สิ่งที่รู้ สิ่งที่ถูกรู้นั่นเป็นทางวิชาการ แล้วถ้าทำจริงนะ ถ้าจิตมันสงบแล้ว มีความร่มเย็นเป็นสุขแล้ววิปัสสนาของเรา ถ้าผลเกิดขึ้นมาเดี๋ยวจะพูดภาษาเดียวกัน พูดภาษาการปฏิบัติ

แล้วพูดภาษาปฏิบัติ ถ้าใครรู้จริง นี่ใครรู้จริง พิจารณาไปแล้วมันจะเห็นตามความเป็นจริง ถ้าไม่รู้จริง ไม่รู้จริง เห็นไหม สัญญาอารมณ์เป็นเรื่องโลก ถ้าเรื่องโลกนะ มันพูดครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ มันจะไม่เหมือนกัน แต่ครูบาอาจารย์ของเราพูดร้อยครั้ง พันครั้งก็อันนั้นแหละ อันเดียวนั่นแหละ ความจริงคือความจริง เอวัง