ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ปฏิเวธ

๑ เม.ย. ๒๕๕๕

 

ปฏิเวธ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๕
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ถาม : ข้อ ๘๓๕. เรื่อง “พระอรหันต์”

(คำถามนะ เรื่อง “พระอรหันต์” เท่านั้นแหละ)

หลวงตามหาบัวบอกว่า “จะไม่กลับมาเกิดแล้ว” แล้ววิญญาณหลวงตาไปไหน? (นิพพานอยู่ที่ไหน? หลวงพ่อกรุณาอธิบายด้วย)

ตอบ : นิพพานอยู่ที่ไหน? แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรล่ะ? อ้าว เราจะรู้นิพพานอยู่ที่ไหนได้อย่างไรล่ะ? แล้วเราจะบอก แล้วเราจะพาคนไปทัวร์ได้อย่างไรล่ะ? เราบอกแล้วจะพาไปทัวร์อย่างไร? ฉะนั้น พูดถึงปัญหานี่มันไม่ใช่ปัญหาเลย ปัญหานี้มันไม่ใช่ปัญหา ปัญหาในการภาวนา เราปฏิบัติไป เราไม่มีความขัดข้องหมองใจ หรือมีอุปสรรคสิ่งใดเราถามปัญหานั้นมา

อันนี้ว่า

ถาม : หลวงตาบอกว่า “ไม่มาเกิดแล้ว” แล้ววิญญาณของหลวงตาไปไหน? (นิพพานอยู่ที่ไหน? หลวงพ่ออธิบายด้วย)

ตอบ : โอ้โฮ ไอ้นี่มันเป็นตกกระไดพลอยโจน หมายถึงว่า มันเหมือนกับตลก เขาโยนลูกกันไง พอโยนมุขมาใช่ไหม? อีกฝ่ายก็ต้องรับมุขตอบใช่ไหม? ฉะนั้น มันถึงไม่เป็นปัญหาไง ไม่เป็นปัญหาหมายถึงว่าคนถามไม่ได้เจ็บไข้ได้ป่วย คนถามไม่เจ็บแสบปวดร้อน คนถามไม่มีอะไรเลย แล้วถามมาทำไม?

ถาม : หลวงตามหาบัวบอกว่า “ไม่กลับมาเกิดอีก” แล้ววิญญาณหลวงตาไปไหน?

ตอบ : พูดถึงปัญหานี่ไม่ใช่ปัญหา ธรรมดาไม่ต้องตอบเพราะมันไม่ใช่ปัญหา แต่ในเมื่อมันมีประเด็นขึ้นมาเราจะตอบ ตอบตรงไหน? ตอบตรงที่ว่าคนถามไม่เข้าใจอะไรเลย คนถามไม่รู้สิ่งใดเลย มันเหมือนกับคนถามเป็นเรื่องโลก แล้วเอาเรื่องของธรรมะมาพูด มันเป็นไปไม่ได้หรอก หลวงตามหาบัวท่านว่าท่านไม่มาเกิด นั้นก็เป็นเอกสิทธิ์ของท่าน ในเมื่อท่านบอกท่านไม่กลับมาเกิดมันก็เป็นเอกสิทธิ์ของท่าน แล้วใครจะรู้ตาม ใครจะรู้ได้ หรือใครจะรู้ไม่ได้ แล้วสิทธิอะไรที่ว่าหลวงตาไม่มาเกิด แล้วมันไปไหนล่ะ?

ฉะนั้น พอหลวงตาไม่กลับมาเกิดแล้ว วิญญาณหลวงตาไปที่ไหน? พอคำว่าวิญญาณหลวงตาไปที่ไหน เห็นไหม นี่วุฒิภาวะคนมันไม่เหมือนกัน พระอรหันต์มีวิญญาณไหม? พระอรหันต์ไม่มีวิญญาณ นี่ถ้าเป็นวิญญาณนะ วิญญาณมันคืออะไร? วิญญาณคือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้วิญญาณอย่างหยาบๆ นะ ถ้าวิญญาณอย่างหยาบๆ พระโสดาบันก็ละขันธ์ ๕ แล้ว ถ้าละขันธ์ ๕ ก็ละวิญญาณอย่างหยาบแล้ว ถ้าวิญญาณอย่างหยาบ ละแล้วๆๆ วิญญาณมันจะมีมาจากไหน?

ฉะนั้น ถ้าบอกว่าหลวงตามหาบัวท่านบอกว่าไม่กลับมาเกิดอีก แสดงว่าท่านเป็นพระอรหันต์ ถ้าท่านเป็นพระอรหันต์นะ นี่เป็นพระอรหันต์มันก็ต้องทำลายทุกๆ อย่างหมดแล้ว ถ้าทำลายทุกอย่างหมดแล้วนะ นี่พระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่กับพระอรหันต์ที่ตายไปแล้ว ถ้าพระอรหันต์มีชีวิตอยู่ สอุปาทิเสสนิพพาน กับอนุปาทิเสสนิพพาน ถ้าพระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่ มีชีวิตอยู่เห็นไหม นี่เราจะบอกว่าพระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่ กับพระอรหันต์ที่ตายแล้วมีค่าเท่ากัน

ฉะนั้น บอกว่าหลวงตามหาบัวท่านไม่กลับมาเกิดอีก ท่านไม่กลับมาเกิดแล้วท่านไปที่ไหน? แล้วเวลาหลวงตาท่านตั้งแต่ที่วัดดอยธรรมเจดีย์ ท่านสิ้นกิเลสแล้ว ท่านอยู่กับเราอีกตั้งแต่ปี ๙๓ ใช่ไหม? ๙๓ ถึง ๕๔-๕๕ นี่อีกเกือบ ๔๐-๕๐ ปี อะไรที่เราสัมผัสกับหลวงตาอยู่ อะไรที่เราสัมผัสสิ่งนั้นอยู่? นั่นคืออะไรใช่ไหม? แต่เราเข้าใจไม่ได้ เราก็บอกว่ามันเหมือนไง

นี่เวลาปุถุชน เราปุถุชนมีธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ เหมือนกัน เวลาขันธ์นี่เป็นขันธมาร คือความคิดเราก็มีมารครอบงำ ทุกอย่างมีมารครอบงำ พอมีมารครอบงำ สิ่งที่มารครอบงำนี่มันเป็นทุกข์ทั้งนั้นแหละ แล้วถ้าพระอรหันต์ท่านไม่มีมารครอบงำ เพราะท่านทำลายหมดแล้ว ถ้าทำลายหมดแล้ว สอุปาทิเสสนิพพานคือเป็นพระอรหันต์ นี่ไงคือพระอรหันต์ทุกข์ในใจไม่มี ทุกข์ของจิตไม่มี ทุกข์ในธรรมธาตุนั้นไม่มี แต่เวลาท่านเหนื่อย เวลาท่านบอกว่าท่านเหนื่อย ท่านทุกข์ ท่านเหนื่อยของท่าน ท่านเจ็บไข้ได้ป่วย นี่พระอรหันต์รู้สึกได้ไหม? รู้สึกได้

ฉะนั้น ถ้าบอกว่าวิญญาณหลวงตาไปไหน? มันถามอย่างนี้ไม่ได้ เพราะวิญญาณมันไม่มี นี่วิญญาณอย่างละเอียดนะ วิญญาณคือตัวภพ ถ้าวิญญาณนะ ดูสิเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์อนัตตลักขณสูตร รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

“รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?” ถามปัญจวัคคีย์

“รูปนี้ไม่เที่ยง”

“ไม่เที่ยงเป็นสุขหรือเป็นทุกข์”

“เป็นทุกข์พระเจ้าค่ะ”

“เป็นทุกข์แล้วเธอติดทำไม? เธอเหนี่ยวรั้งไว้ทำไม?”

นี่มันก็ทิ้ง ทิ้งรูป ทิ้งเวทนา ทิ้งสัญญา ทิ้งสังขาร ทิ้งวิญญาณ วิญญาณนี่ ฉะนั้น พอทิ้งวิญญาณ ฉะนั้น พอไปอาทิตต์ฯ มโนวิญฺาเณปิ นิพฺพินฺทติ มโน ทิ้งวิญญาณไปแล้วก็เกิดมโน มโนสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ มโนสัมผัส นี่มโนก็น่าเบื่อหน่าย ความสัมผัสก็น่าเบื่อหน่าย ผลจากความสัมผัสก็น่าเบื่อหน่าย ถ้ามันทิ้งหมดแล้วมันเหลืออะไร?

ฉะนั้น วิญญาณหลวงตาไปไหนนี่ไม่มี ไม่มี เราจะบอกว่าพระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่ กับพระอรหันต์ที่ตายไปแล้วมีค่าเท่ากัน พอมีค่าเท่ากัน ฉะนั้น เวลาตายนี่นะเวลาตาย ปุถุชนตาย ตายไปด้วยความวิตกกังวล นี่ขันธ์ ๕ ไง สมบัติก็ยังไม่ได้แบ่ง ลูกหลานเราจะอยู่ได้ไหม? ทรัพย์สมบัติเราจะเป็นอย่างไร? ตายแล้วเราจะไปไหน? ตายไปวิตกกังวลกับมัน นี่ขันธมาร ตายไปพร้อมกับมาร แต่ถ้ากิเลสมันขาดแล้ว ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา ขันธ์เป็นภาระ

นี่มันก็เหมือน พระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่นี่จบแล้ว รู้เท่าทันหมด พอรู้เท่าทันหมดนะ รู้เท่าทันหมดมันปล่อยวางหมดแล้ว ฉะนั้น เวลาตาย กิเลสมันตายแล้ว มันมีอะไรมาผูกพันกันอีก? เหมือนจัดของเข้าที่เท่านั้นเอง นี่ลาแล้วนะ ธาตุ ๔ ธาตุลาแล้ว พอที ลากันที จบ แต่เวลาพระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่ล่ะ? กิเลสทิ้งหมดแล้ว ทิ้งโดยความยึดมั่นถือมั่น จิตใจนี่ทิ้งหมดแล้ว จิตใจมันรู้ทัน มันปล่อยวางหมดแล้ว แต่ในเมื่อยังมีอายุขัยอยู่ ในเมื่อมีอายุขัยอยู่ก็เอาสิ่งที่รู้ในใจมาเผยแผ่ มาสื่อความหมาย สื่อด้วยอะไร?

นี่สอุปาทิเสสนิพพานคือพระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่ พอมันทำลายกิเลสหมดแล้ว พอทำลายกิเลสหมดแล้วคนมันพูดด้วยภาษา ขันธ์ ๕ มันยังมีอยู่ นี่เศษส่วนไง เศษเหลือทิ้งของพระอรหันต์ไง ทีนี้เศษเหลือทิ้งของพระอรหันต์ อย่างเช่นหลวงปู่มั่น อย่างครูบาอาจารย์ท่านเป็นพระอรหันต์ สิ่งที่ท่านสื่อกับเรา เห็นไหม มันสื่อจากใจที่สะอาดบริสุทธิ์ ไม่มีมารยาสาไถย พระอรหันต์ไม่มีมารยาสาไถยนะ ถ้าพระอรหันต์ยังมีมารยาอยู่นี่น่าสงสัย

เอ๊ะ มีมารยา ยังมีเล่ห์กลอยู่ อืม พระอรหันต์มีเล่ห์กลด้วยหรือ? แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์ สังเกตได้พระอรหันต์จะซื่อตรง จะพูดอะไรโดยไม่มีมารยาสาไถยเลย ฉะนั้น ไม่มีมารยาสาไถย ทีนี้ในทางโลกไง ทำไมหลวงตาเวลาท่านพาหมู่คณะทำเพื่อโลก มันมีอุปสรรค เวลาท่านฟันฝ่าอุปสรรค ท่านใช้ความเป็นภาวะผู้นำที่รุนแรง ท่านบอกอย่างนั้นเป็นกิเลสไหม?

นี่ไงมันไม่ใช่ มันไม่ใช่กิเลส ในเมื่อท่านจะทำคุณงามความดีไปสู่เป้าหมาย ในเมื่อมีอุปสรรค ท่านก็ฟันฝ่าอุปสรรคนั้นไป แต่ฟันฝ่าอุปสรรคนั้นไปด้วยจิตใจที่เป็นธรรม เพราะมันมีเป้าหมาย มันมีสิ่งที่สรุปสิ่งนั้นอยู่ แต่ถ้าไม่มี อย่างถ้าเป็นผู้มีกิเลส มันมีมารยา มันมีแพ้ มีชนะ มีหนัก มีเบา มีเรา มีเขา แต่ถ้าพระอรหันต์ไม่มี ไม่มี แล้วสิ่งที่ไม่มี

ฉะนั้น บอกว่า

ถาม : หลวงตามหาบัวท่านบอกว่าท่านจะไม่กลับมาเกิดอีกแล้ว

ตอบ : แล้วเชื่อไหมล่ะ? เออ เชื่อไหมล่ะ? เชื่อ เราเชื่อของเรา เราเชื่อที่ไหน? เราเชื่อคำที่ท่านเทศนาว่าการมา ตั้งแต่ธรรมทายาท นี่อวกาศของจิต สิ่งที่ท่านเทศนาว่าการมา สิ่งนั้นมันเป็นเครื่องยืนยัน เป็นเครื่องยืนยันว่าจิตของท่านได้ผ่านประสบการณ์อย่างนั้นมา แล้วท่านเอาประสบการณ์จริงของท่าน แล้วมาเทศนาว่าการให้เราฟัง คนจะถึงหรือไม่ถึงนั้นอีกเรื่องหนึ่ง แต่สิ่งนั้นมันเป็นเครื่องยืนยัน

ฉะนั้น ท่านบอกว่าท่านไม่กลับมาเกิดอีก แล้วเราเชื่อไหม? เราเชื่อ เราไม่ใช่เชื่อเพราะว่าเรากับหลวงตาเป็นลูกศิษย์เป็นอาจารย์กันเราถึงเชื่อ เราเชื่อเพราะว่ามีเหตุมีผล ท่านมีข้อเท็จจริงของท่าน ท่านมีการกระทำของท่าน แล้วท่านทำแล้วท่านเอาสิ่งที่เป็นการกระทำของท่านมาสอนลูกศิษย์ด้วย มาสอนหลวงปู่ลี มาสอนอาจารย์สิงห์ทอง นี่คนไม่เป็น สอนให้คนอื่นเป็นพระอรหันต์ได้อย่างไร? คนไม่รู้ช่องทาง สอนให้คนเดินถูกช่องทางได้อย่างไร? นี่ไงอย่างนี้เราเชื่อ

ถาม : หลวงตามหาบัวไม่มาเกิดแล้วใช่ไหม?

ตอบ : เราเชื่อ

ถาม : แล้ววิญญาณหลวงตาไปไหนล่ะ?

ตอบ : นิพพานไม่มีที่มาและที่ไป ไม่มีที่อยู่ ที่อาศัย ไม่มีที่ตั้งอยู่ และไม่มีสิ่งที่ไม่มี สิ่งที่เป็นนิพพานไม่มีการเคลื่อนไป และไม่มีการเคลื่อนมา ไม่มีสิ่งใดยุบยอบลง และไม่มีสิ่งใดเพิ่มขึ้น ไม่มีสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น ฉะนั้น ไม่มีสิ่งใดแต่มี มีเพราะอะไร? เพราะคำถามว่า “วิญญาณของหลวงตาไปไหน?”

นี่ไงถ้าคำว่าวิญญาณไปไหน? จิต เห็นไหม หลวงตาเทศน์ประจำ จิตนี้ไม่มีวันตาย จิตนี้ไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าไม่ประพฤติปฏิบัติธรรมจนถึงที่สุดแห่งทุกข์ จิตนี้จะเวียนตายเวียนเกิดในวัฏฏะ จะตกนรกอเวจีทุกข์ยากแสนเข็ญขนาดไหน เวลามันพ้นจากกรรม พ้นจากวาระที่ทุกข์ยาก มันก็จะขยับตัวมันขึ้นมา เกิดบนภพ บนชาติ ไปเกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม มีศักยภาพสูงส่งขนาดไหน หมดวาระก็ต้องเวียนลงมาโดยข้อเท็จจริง จิตนี้ไม่มีวันตาย พอจิตไม่มีวันตาย นี่ผลของมัน ผลของวัฏฏะเป็นแบบนี้ แล้วผลของวัฏฏะเป็นแบบนี้ แล้วเวลาเป็นพระอรหันต์แล้วมันไปไหนล่ะ? มันไปไหนล่ะ?

มันวิมุตติ วิมุตติมันอกุปปธรรม อฐานะที่จะไปและจะมา มันถึงมีไง จิตนี้ไม่เคยตาย จิตนี้ไม่เคยบุบสลาย จิตนี้ไม่เคยทำลายได้ ไม่เคยทำลายได้ แต่เพราะมีเวรมีกรรมมันถึงหมุนเวียนไปตามเวรตามกรรม แต่เพราะมีการกระทำ กระทำในสิ่งที่ดี ทำจนจิตนี้สะอาดบริสุทธิ์ ถ้าจิตนี้สะอาดบริสุทธิ์ก็ต้องไม่มีจิต มีจิตไม่ได้ มีจิตคือมีภพ มีจิตคือมีสถานที่

ฉะนั้น บอกว่า

ถาม : เวลาหลวงตาท่านไม่กลับมาเกิดแล้วท่านไปไหน?

ตอบ : บอกจะพากันไปที่นิพพาน จะพากันไปที่ไหน? ถ้าพาไปมันก็วัดได้ใช่ไหมว่ามันมีสูง มีต่ำขนาดไหน? มันมีสถานที่ ถ้าที่ไหนมีสถานที่ ที่นั่นมีภพ แล้วถ้าที่นั่นมีภพ ทำไมในประวัติหลวงปู่มั่น เวลาหลวงปู่มั่น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาอนุโมทนา แล้วไปเห็นสิ่งที่ว่าเป็นนิพพาน พอนิพพานขึ้นมา พอไปนี่ทำไมพระกับเณรนั่งคละเคล้ากันไปหมดเลย เอ๊ะ มันก็สงสัยขึ้นมา เพราะเราเคยอยู่ในโลกนี้ เณรก็ต้องต่ำกว่าพระ เอ๊ะ แล้วพระกับเณรทำไมไปนั่งอยู่ด้วยกันได้อย่างไร?

พอมีความรู้สึกนึกคิดอย่างนั้นปั๊บ นี่ในสถานที่นั้นก็จับพั่บเลย พระนั่งกับพระ โยมนั่งกับโยม เรียงเป็นแถวเลย อ๋อ นี้เพราะเราติดสมมุติ เราติดในกฎกติกา นี่ๆ ถ้ากฎกติกาเป็นแบบนี้ แต่ถ้าพอขึ้นไปดูปั๊บมันจะคละเคล้ากันไปเสมอภาค จะเณร จะสิ่งใด ถ้าสิ้นกิเลสแล้วมันอยู่ของมัน นี่เพราะหลวงปู่มั่นท่านปรารถนาพระโพธิสัตว์ ท่านปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้ามา ฉะนั้น ความละเอียดของจิต วุฒิภาวะของจิตที่จะไปรู้ ไปเห็น แล้วนี่คำพูดอย่างนี้มันเป็นคำพูดที่หลวงปู่มั่น เวลาหลวงตาท่านเป็นผู้อุปัฏฐาก ผู้ที่อุปัฏฐากนี่นวดเส้น อยู่ด้วยกัน อุปัฏฐากกัน ด้วยคลุกคลีกันระหว่างพ่อกับลูก

เวลาหลวงตาท่านก็ได้ซัก ได้ถาม ได้ซักถามเพราะว่าวุฒิภาวะของลูกศิษย์ บารมีของเรามันอ่อนด้อยกว่า เราก็พยายามซักถามผู้ที่วุฒิภาวะกว้างขวาง แล้วท่านบอกเป็นแนวทาง ก็ท่านได้รับฟังมามันก็เป็นสมบัติที่ไม่ตายไปพร้อมกับหลวงปู่มั่น นี่หลวงตาท่านก็สืบทอดมา แล้วท่านก็มาเล่าให้พวกเราฟัง ทีนี้พวกเราฟัง เราฟังแล้วเราจะสร้างให้มันเป็นสถานที่ เป็นภพๆ หนึ่งขึ้นมาหรือ? ถ้าเป็นสถานที่ เป็นภพๆ หนึ่งขึ้นมามันก็เป็นเรื่องโลก

นี่ไงปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ถ้าปฏิเวธ นี่ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ถ้ามีปฏิเวธ มีความรู้จริงขึ้นมา เรื่องอย่างนี้มันจะมีอะไรคาหัวใจ ถ้ามันไม่มีสิ่งใดคาหัวใจมันก็จบ เห็นไหม นี่หลวงตาท่านบอกว่าท่านไม่กลับมาเกิดอีก แล้ววิญญาณหลวงตาไปไหน? ความจริงเห็นอย่างนี้แล้วเราจะไม่ตอบนะ เราจะไม่ตอบหรอก เพราะอย่างนี้ถ้าตอบแล้วนะมันไม่มีวันจบหรอก เดี๋ยวจะพระอรหันต์แล้ว พระอรหันต์เล่า จะต้องตอบแล้วตอบเล่า เพราะคนมันจะสงสัยไปตลอดชีวิต ทุกคนจะมีความสงสัยหมดแหละ

ฉะนั้น สิ่งที่เราพูดเพราะคำถามมันขัดแย้งกัน เพราะคำถามมันขัดแย้งกันว่าหลวงตามหาบัวบอกว่าไม่กลับมาเกิดอีก นี่คำถามเป็นอันว่าเราเชื่อ เราเชื่อว่าหลวงตาเป็นพระอรหันต์ แต่คำถามว่าวิญญาณของหลวงตาไปไหน? ไอ้นี่มันเป็นความอ่อนด้อย ความอ่อนด้อยของวุฒิภาวะว่าวิญญาณของหลวงตาไปไหน? ถ้ามีวิญญาณอยู่นี่มันหยาบมาก เห็นไหม เราจะอธิบายนะ เวลาปฏิบัติขึ้นมา จิตนี่เปรียบ อันนี้เปรียบนะ นี่บุคลาธิษฐาน ถ้าบอกอย่างนั้นปั๊บเดี๋ยวจะเป็นประเด็นขึ้นมาทันทีเลย

เปรียบ ยกตัวอย่างว่าจิตนี่เปรียบเหมือนลูกมะพร้าว ลูกมะพร้าว เวลาเราปอกเปลือกมะพร้าวนะ ใครสามารถปอกเปลือกมะพร้าวได้ ถ้าคนยังปอกเปลือกมะพร้าวได้เราก็เหมือนเป็นปุถุชน ถ้าปุถุชนจิตนี้มันเหมือนกับลูกมะพร้าว ไปเวียนตายเวียนเกิด นี่เกิดอยู่อย่างนี้ เกิดนี่เวียนตายเวียนเกิดทั้งลูกไปอย่างนี้แหละ แต่ลูกมะพร้าวมันเป็นวัตถุที่มันหยาบ แต่ถ้าเป็นจิตมันละเอียด แต่มันเปรียบ มันมีสิ่งที่ครอบคลุมเหมือนลูกมะพร้าว

ฉะนั้น จิตดี จิตชั่วก็เหมือนลูกมะพร้าวลูกหนึ่ง เวียนตายเวียนเกิดอยู่นั่นแหละ เสร็จแล้วเวลาประพฤติปฏิบัติไป ถ้าใครพิจารณา เห็นไหม ปอกเปลือกมะพร้าวได้ นี่พระโสดาบันรู้เห็นจริง ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มันก็มีวิญญาณอยู่แล้ว รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ วิญญาณไม่ใช่เรา เราไม่ใช่วิญญาณ วิญญาณไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่วิญญาณ แล้วจิตมันคืออะไรล่ะ?

นี่มันปอกเปลือกมะพร้าวไปมันก็เป็นพระโสดาบัน ทีนี้ถ้าปฏิบัติขึ้นไป นี่ปฏิบัติจับต้องได้ๆ พอจับต้องได้ ถ้าเราปอกกะลามะพร้าว เราพิจารณากะลามะพร้าว เรากะเทาะกะลามะพร้าวออก เราทำลายมะพร้าวมันก็เหลือแต่เนื้อมะพร้าว กะเทาะกะลามะพร้าวออกมันก็เหมือนเราพิจารณาอุปาทานในขันธ์ พอมันขาด เห็นไหม มันขาดออกหมดมันก็จะเหลือแต่เนื้อมะพร้าวกับน้ำมะพร้าว

ถ้าเนื้อมะพร้าว เนื้อมะพร้าวนี่กามราคะ ถ้าเราพิจารณากามราคะ พิจารณาสิ่งที่เวียนตายเวียนเกิดนะ ถ้าเราทำลายเนื้อมะพร้าวหมดเลย เพราะเนื้อมะพร้าวมีคุณค่ามาก เนื้อมะพร้าวมันใช้ประโยชน์ได้มาก พอทำลายเนื้อมะพร้าวแล้วมันเหลือแต่น้ำมะพร้าว ถ้าน้ำมะพร้าว เห็นไหม จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส

พอเราทำให้น้ำมะพร้าวระเหยไปหมดเลย นี่หมดแล้ว พอทำลายเสร็จแล้ว มะพร้าวลูกหนึ่ง ดวงจิตนี่เวียนตายเวียนเกิด เราทำลายทั้งหมด เราทำลายทุกอย่างหมด ทำลายไม่ใช่ทำลายนึกว่าทำลายนะ ทำลายด้วยข้อเท็จจริงที่เราปอกเปลือกมะพร้าวออกเป็นพระโสดาบัน ปอกกะลามะพร้าวออกเป็นพระสกิทาคามี ถ้าเราทำลายเนื้อมะพร้าวได้เป็นพระอนาคามี พอเราทำลายน้ำทั้งหมด ใจทั้งหมด หมด

วิญญาณอยู่ไหน? จิตอยู่ไหน? นิพพานอยู่ไหน? นี่ไงนิพพานวิมุตติมันอยู่ไหน? นี่ปฏิเวธ ถ้าเป็นปฏิเวธแล้วจบไง ฉะนั้น พอจบแล้ว ฉะนั้น สิ่งที่ว่าวิญญาณ จิตต่างๆ มันเป็นบุคลาธิษฐาน เวลาเราสื่อความหมายกัน เราสื่อความหมายกัน เราจะบอกถึงสิ่งใด เราจะบอกว่าสิ่งนี้คือไอ้นี่ สิ่งนี้คือไอ้นี่ แล้วสมมุติมันแตกต่างกัน อย่างเช่นว่าน้ำนี่ภาษาแตกต่างกัน เขาก็สื่อว่าน้ำเขาก็พูดแตกต่างกัน แต่มันก็คือน้ำ นี่ก็เหมือนกัน แต่ถ้าพอมันเป็นวิมุตติแล้วมันก็จบ มันจบไปแล้ว นี่ปฏิเวธรู้แจ้ง ถ้ารู้แจ้งแล้วจบ

ฉะนั้น เฮ้อ ว่าจะไม่ตอบนะ แต่นี่ตอบเพราะว่าเราพูดยืนยันไว้ ว่าพระอรหันต์ไม่มีจิต ที่ไหนมีจิต ที่นั่นมีภพ เพราะจิตมันคือ มโนวิญฺาเณปิ นิพฺพินฺทติ มโนสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ ไม่มีมโนก็ไม่มีการสัมผัส ไม่มีมโน ไม่มีหัวใจ ไม่มีความรู้สึกเอาอะไรไปสัมผัส นี่มโนก็น่าเบื่อหน่าย แล้วจิตนี้มันลอกแลกๆ นี่น่าเบื่อหน่ายมาก มโนวิญฺาเณปิ นิพฺพินฺทติ มโนสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ เห็นไหม มโนในอาทิตต์ฯ ถ้าในอนัตฯ นะ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕

“นี่ขันธ์ ๕ เป็นสุขหรือเป็นทุกข์?”

“เป็นทุกข์พระเจ้าค่ะ”

“เป็นทุกข์แล้วเธอแบกรับไว้ทำไม?”

ฉะนั้น วิญญาณก็ไม่มี ทุกอย่างก็ไม่มี แต่เวลาปฏิบัติต้องจับต้องให้ได้ ต้องมี ต้องมีนะ ต้องมี เห็นไหม ถ้าเราไม่สิ่งใดเลยเราจะทำได้อย่างไร? มันต้องมีก่อน สิ่งที่ไม่มีเพราะตอนนี้เราไม่มี ไม่มีเพราะอะไร? เพราะเราจับใจเราไม่ได้ เราจับกิเลสเราไม่ได้ เราหากิเลสเราไม่เจอ เราไม่รู้ว่าอะไรเป็นกิเลส เราก็ไม่รู้จะทำอะไรกัน แต่ถ้าใครพิจารณาจนจิตสงบแล้วมันไปเห็นกิเลสเข้า เห็นไหม

เวลาเห็นกิเลสเข้ามาแล้วนี่ พญามาร อวิชชาเหมือนกับยักษ์กับมาร แต่เวลาหลวงตาท่านไปเจออวิชชาท่านบอกว่าอวิชชาเหมือนนางสาวจักรวาล นี่คนไปรู้ไปเห็นมันเป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่คนไม่รู้ไม่เห็นก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง นี่ข้อ ๘๓๕. เนาะ จบ

ถาม : ข้อ ๘๓๖. เรื่อง “ผิดกฎธรรมชาติหรือไม่?”

กราบนมัสการหลวงพ่ออย่างสูง ขออนุญาตถามปัญหาข้อสงสัย เกี่ยวกับการปฏิบัติภาวนาภาคหน้าค่ะ

ตอบ : นี่เรื่องราวของจิตนะ นี่ไม่อ่านมากเพราะมันเป็นเรื่องสังคมของชาวพุทธ ในเมื่อชาวพุทธมีบริษัท ๔ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทีนี้พอมีอุบาสก อุบาสิกา นี่คำถามมันเป็นเรื่องที่เขาถามมา “ผิดกฎธรรมชาติหรือไม่? กฎของวัฏฏะ”

ฉะนั้น

ถาม : ๑. ผู้หญิงที่มีความรักผู้ชายที่บวชเป็นพระ กับผู้หญิงที่มีความรู้สึกรักผู้ชายที่เป็นคนธรรมดา หนูว่ามีค่าเท่ากัน คือถ้าภาวนาก็มีโอกาสบรรลุธรรมได้เหมือนกันถูกหรือไม่? หนูมีความเห็นเป็น ๓ ทาง

ตอบ : นี่ความเห็นของเขานะ แต่ทีนี้เราจะพูดกลับมาตรงนี้ไง กลับมาตรงที่ว่า นี่เพราะคำถามเขาเยอะมาก แต่เราไม่อยากอ่าน เพราะอ่านไปแล้วมันเป็นวัฒนธรรมของพุทธ วัฒนธรรมของพุทธเพราะมันมีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ฉะนั้น ในเมื่อมีอุบาสก อุบาสิกาเข้าไปอุปัฏฐาก เข้าไปประพฤติปฏิบัติ เข้าไปเพื่ออยากจะปฏิบัติธรรม

ฉะนั้น เวลาจิตใจตกต่ำขึ้นมา จิตใจมันมีความรู้สึกอย่างนี้ขึ้นมา เห็นไหม เขาก็บอกว่ามันมีความรู้สึกอย่างนี้ขึ้นมา แต่ความเห็นของเขาก็บอกว่ามันมี ๒ ประเด็น ประเด็นหนึ่งเขาต้องพยายามแก้ไข พยายามแยกออกไป แต่อีกประเด็นหนึ่งเขาบอกว่าอยู่ใกล้ๆ ไม่เป็นไร แต่รักษาใจเอา แล้วถ้าปฏิบัติขึ้นมาแล้วมันจะดีไป

นี่พูดถึงความเห็นของเขานะ ฉะนั้น พอพูดถึงความเห็นของเขาอย่างนี้ มันก็เหมือนกับในสังคมพุทธเรา นี่เวลาเขาเขียนหนังสือ เห็นไหม เรื่องในดงขมิ้นอย่างนี้ เขาเขียนกันทุกคนก็อยากอ่าน ทุกคนไม่มาเป็นพระ ไม่รู้ว่าในดงขมิ้นมันมีอะไรบ้าง ฉะนั้น กรณีอย่างนี้มันก็เป็นวัฒนธรรมมันมา

ฉะนั้น ทีนี้เหตุการณ์มันเกิดกับตัวเราเอง พอเกิดกับตัวเราเอง มันก็มีระหว่างผู้หญิง ๒ คน เขาบอกเพื่อนเขา ๒ คน เขาก็เลยมีปัญหาเถียงกันเรื่องนี้ บอกว่า

ถาม : ๑. ผู้หญิงที่มีความรู้สึกรักผู้ชายที่บวชเป็นพระ กับผู้หญิงที่มีความรู้สึกรักผู้ชายที่เป็นคนธรรมดา หนูว่ามีค่าเท่ากัน อีกคนหนึ่งเขาว่าควรจะแก้ไข

ตอบ : ทีนี้ถ้าพูดประสาเรานะ พูดประสาเรา เรื่องอย่างนี้มันเกิดมามาก ถ้าพูดถึงเป็นพระนะ เวลาบวชเป็นพระขึ้นมา ถ้าเราบวชมาเพื่อบุญกุศล เราก็มีความตั้งใจว่าในสังคมสงฆ์ ในสังคมพระต้องสะอาดบริสุทธิ์ เพราะเราบวชเข้าไปแล้วต้องเป็นคุณงามความดีทั้งนั้นแหละ

ฉะนั้น ในสังคมของสงฆ์ พระก็มาจากมนุษย์ พระก็มาจากคน คนก็มีเวรมีกรรมแตกต่างกัน มีเวรมีกรรมแตกต่างกันนะ นี่พระไปอยู่ในป่า ในเขา หรือพระต่างๆ มีคนที่เขามาศรัทธามันหลากหลาย ทีนี้คำว่าหลากหลาย คนมาด้วยหัวใจที่มีความรู้สึกอย่างไร? ฉะนั้น เวลาพระนี่ พระที่มีเวรมีกรรม พระที่ผิดพลาดไป พระที่มีความเสียหายไปก็มี พระที่เห็นเรื่องผลกระทบแล้ว พยายามรักษาตัวเอง แล้วเอาตัวเองพ้นออกมาจากวิกฤติ จากสิ่งที่จะทำให้เสียหายไปก็มี

ฉะนั้น สิ่งนี้มันเป็นวัฒนธรรมของพระเรา ทีนี้เราเข้าไปสัมผัส นี่จะเข้าปัญหา

ถาม : ๑. ผู้หญิงที่มีความรู้สึกรักผู้ชายที่บวชเป็นพระ กับผู้หญิงที่มีความรู้สึกรักผู้ชายที่เป็นคนธรรมดา หนูว่ามีค่าเท่ากัน

ตอบ : ถ้ามีค่าเท่ากัน ความรักก็คือความรักที่เขาคิดของเขาอย่างนั้น แต่เวลามันให้ผลมันให้ผลไม่เท่ากันหรอก ให้ผลไม่เท่ากัน ถ้าผู้ชายธรรมดา ผู้ชายที่เรารักกันมันก็เป็นเรื่องของสังคมโลกใช่ไหม? นี่มันเป็นเรื่องของสิทธิเสรีภาพ สิทธิของเรานะ หัวใจของเรา สิทธิของเรา ถ้าสิทธิของเรานี่แล้วแต่เราจะเลือก แต่ว่าเวลาเราบวชเป็นพระ นี่เรามีศีล ๒๒๗

เราบวชเป็นพระแล้ว เราบวชเป็นพระ เขาแบบว่าเวลาคนเราที่บวชเป็นพระนะ คนเรานะเมื่อสมัยโบราณของเรา เวลาพวกเสือ พวกสาง พวกคนทำผิดพลาดไป เวลาเขาสำนึกผิดเขามาบวชเป็นพระ ทางราชการเขาอภัยให้หมดเลย พอบวชเป็นพระขึ้นมา มีศีลเขาให้อภัยได้ นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อเขาบวชเป็นพระ พอบวชเป็นพระแล้ว ถ้ามันดำรงศาสนา ถ้าเขาทำบุญกุศลของเขาเพื่อศาสนา เพื่อพุทธศาสนา เขาจะเป็นประโยชน์กับศาสนา เป็นประโยชน์กับสังคม

ฉะนั้น ถ้าเราไปรัก ไปใคร่ ถ้าจิตใจมันหักห้ามไม่ได้นั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้าจิตใจหักห้ามไม่ได้นี่มันเป็นเรื่องธรรมดานะ แต่ถ้าจิตใจไปทำให้เสียหายล่ะ? นี่ไงมันไม่เท่ากันตรงนี้ไง ถ้ามันไม่เท่ากันตรงนี้เราจะแก้ไขอย่างไร? ถ้าเราจะแก้ไขอย่างไรเราก็ต้องมาดูแลที่เรา เพราะคำถามเขาว่า “หนูว่ามันมีค่าเท่ากัน” ไง แต่เราว่ามันไม่เท่า มันไม่เท่า ถ้ามันไม่เท่าปั๊บเราจะแก้ไขอย่างไร?

มันไม่เท่าหรอก ถ้ามันไม่เท่า เพราะเขาเห็นว่ามันเท่ากัน เพราะถ้าภาวนาไป เขาบอกว่า

ถาม : หนูว่ามันเท่ากัน คือถ้าภาวนาไปมันก็บรรลุธรรมได้เหมือนกัน

ตอบ : ถ้าบรรลุธรรมได้เหมือนกัน ใช่บรรลุธรรมได้เหมือนกัน มันบรรลุธรรมมันก็หมดเวรหมดกรรม ถ้าบรรลุธรรมได้นะ เพราะอย่างนี้มันเหมือนกับพระฉันนะ พระฉันนะเป็นผู้ที่เอาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าออกบวช แล้วเวลาสุดท้ายก็ว่าพระพุทธเจ้าเป็นของเรา พระพุทธเจ้าเป็นของเรา ใครจะเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระฉันนะไปนั่งขวางไว้หมดเลย พอสุดท้ายแล้วนี่ เพราะว่าพระฉันนะถือตัวว่าพระพุทธเจ้าเป็นของเรา

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะมันสร้างบุญสร้างกรรมกันมา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เฉย แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพพาน สั่งพระอานนท์ไว้

“อานนท์ ถ้าเราปรินิพพานไปแล้วให้ลงพรหมทัณฑ์พระฉันนะ”

ให้ลงพรหมทัณฑ์ คือไม่ให้ใครพูดด้วย พอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วไปลงพรหมทัณฑ์พระฉันนะ ลงพรหมทัณฑ์คือปรับอาบัติสังฆาทิเสส นี่ไม่ให้ใครพูดด้วย พอไม่ให้ใครพูดด้วย นี่พระฉันนะก็เสียใจมากเข้าป่าเข้าเขาไปเลย แต่ไปประพฤติปฏิบัติขึ้นมา จนถึงที่สุดนะเป็นพระอรหันต์

พอเป็นพระอรหันต์กลับมา ตอนที่ไม่เป็นพระอรหันต์นะ ใครจะลงพรหมทัณฑ์ ใครจะพูดอย่างไรมันมีทิฐิ ไม่ยอม แต่เวลาไปประพฤติปฏิบัติขึ้นมา พอเป็นพระอรหันต์กลับมา นี่มาหาพระอานนท์ บอกว่าจะมาแบบว่าแก้พรหมทัณฑ์ พระอานนท์บอกว่ามันไม่มีแล้ว ตั้งแต่ว่าเวลาปฏิบัติจนสิ้นกิเลสแล้วมันก็คือจบ

นี่ถ้าพูดถึงว่า

ถาม : หนูว่ามีค่าเท่ากัน ถ้าประพฤติปฏิบัติแล้วบรรลุธรรมได้เหมือนกัน

ตอบ : บรรลุธรรมได้เหมือนกันถ้าทำได้จริง นี่บรรลุธรรมนะ แต่ถ้าไม่บรรลุธรรม มันทำอะไรไป เราจะบอกว่ามันจะหนักหน้าไปเรื่อยไง ถ้ามันหนักหน้าไปเรื่อยมันจะไม่เป็นประโยชน์ เพราะเวรกรรมมันมีนะ ถ้าเวรกรรมมันมีมันเป็นไป

นี่เพราะเขาฟังในเว็บไซต์เรามากแน่นอนเขาถึงได้พูดอย่างนี้นะ เขาบอกว่า

ถาม : ขอเมตตาหลวงพ่อแนะนำวิธีที่ถูกด้วยค่ะ เพราะหนูถามมาเพราะกลัวว่าเราคิดผิด ทำผิด โดยเฉพาะกฎของวัฏฏะ เหมือน “เรื่องพริกในป่า”

ตอบ : ต้นพริกที่เกิดในป่า ต้นพริกที่เกิดในป่านะ นี่เรื่องกรณีของพริกที่เกิดในป่ามันมีปัญหา ปัญหาที่เขาไปเที่ยวป่า แล้วไปเจอต้นพริก เพราะไปกิน ตอนนั้นมันเป็นของๆ สงฆ์ไง คือนกมันกินพริกในวัด แล้วมันไปขี้อยู่ในป่า พอขี้ในป่า พริกมันเกิดทั่วไป พริกนี่ พอไปเก็บกินเข้า มันกินของสงฆ์เข้า พอกินของสงฆ์มันแบบว่าของๆ สงฆ์ไง มันก็มีเวรมีกรรม

นี่เรื่องพริกในป่า เพราะมันอยู่ในป่าใครจะไปรู้ แล้วเราคิดแบบว่าโดยทางวิทยาศาสตร์ใช่ไหม? สิ่งที่เราไม่รู้ ไม่เห็น แล้วไปทำมันเหมือนกับไม่มีเหตุมีผล มันเหมือนกับไม่มีเหตุมีผลเลย ฉะนั้น เขาบอกว่าเขากลัวมันจะเหมือนกับเรื่องพริกในป่า ถ้าพริกในป่าเพราะเราไม่สามารถทำได้ อันนี้มันก็เป็นเรื่องสุดวิสัยนะ นี่เวรกรรมในศาสนามันมีเรื่องสุดวิสัยอย่างนี้ ฉะนั้น ถ้ามันเป็นประเด็นขึ้นมา เป็นประเด็นขึ้นมาเพราะเขาถามว่า

ถาม : ผิดกฎวัฏฏะหรือเปล่า?

ตอบ : กฎของธรรมชาติไง เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมชาติ ฉะนั้น เรื่องธรรมชาติ เพราะวัฏฏะมันเป็นแบบนี้ใช่ไหม? เราจะเป็นวิวัฏฏะ ในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาสอนนี่สอนออกจากวัฏฏะ ถ้าเป็นวัฏฏะ เราหมุนไปในวัฏฏะ วัฏฏะมันเหมือนสวะ ชีวิตเราเหมือนเศษสวะ เห็นไหม เหมือนกับขยะในแม่น้ำ มันไหลไปเรื่อย ไหลไปเรื่อย นี่มันหมุนเวียนของมันไป

นี่ก็เหมือนกัน ชีวิตเราเป็นเหมือนเศษสวะอันนั้น มันหมุนในวัฏฏะ ถ้าเราปล่อยชีวิตเราไปตามวัฏฏะมันก็เป็นธรรมชาตินี่ไง แต่ถ้าเป็นวิวัฏฏะเราจะแก้ไข ขยะอันนี้มันมหัศจรรย์นะ มันจะขึ้นไปสู่ต้นน้ำ แล้วขึ้นไปกำจัดกันที่นั่น ถ้ากำจัดที่นั่นมันก็ออกจากวิวัฏฏะ ถ้าทำจบสิ้นแล้วมันเป็นปฏิเวธอย่างที่ว่านี่ มันจะพ้นจากกิเลส ถ้ามันไม่พ้นจากกิเลสนะมันจะพาเราทุกข์ เรายาก ถ้าพาเราทุกข์ เรายาก เวลาเราทุกข์ เรายาก ใครทุกข์ ใครยากแล้วมันฝังใจ แต่ถ้ามันไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่ยาก เรายังไม่เจอประสบการณ์สิ่งนั้น เวลามันมานี่มันมาอย่างไร? งงนะ มันมาอย่างไร? มันมาอย่างไร?

นี่กรรม กรรมดี กรรมชั่ว ถ้ากรรมดีขึ้นมา ทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่วแน่นอน ในพุทธศาสนาสอนอย่างนั้น คำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นทฤษฎี แต่จริงๆ คือเราทำกันเอง เราทำของเราเอง ถ้าเราทำของเราเอง สิ่งใดที่เผชิญในปัจจุบันนี้ เราเอาคติธรรมเรื่องนี้มาใช้ดำเนินชีวิตมาตลอด เวลาเราไปไหน เราเจอสิ่งใด เราบอกเราทำมาทั้งนั้นแหละ เราแก้ไขของเรา เวลาด้วยนิสัยนะเรานี่รุนแรง จะบอกว่าไม่ตีโพยตีพาย ไม่ใช่ตีโพยตีพาย แต่พยายามจะหาทางแก้ไข จะหาทางออกให้ได้ แล้วถ้าหาทางออกได้มันก็จบ เรื่องนี้ก็จบ

ฉะนั้น เรื่องในหัวใจของเรา เพียงแต่ว่ามันเป็นคน ๒ คนไง เขาบอกว่ามันเป็นระหว่างเขากับเพื่อนเขา แล้วเอากรณีเรื่องนี้ขึ้นมาเถียงกัน ขึ้นมาว่าสิ่งใดผิดกับสิ่งใดไม่ผิด ถ้า ๒ คนนี้เขาเถียงกันใช่ไหม? มันอยู่ที่มุมมอง มุมมองว่าในเมื่อธรรมชาติ เห็นไหม ในเมื่อธรรมชาติมีความรัก ความผูกพันในหัวใจมันมีทุกคน นี้ความรัก ความผูกพันระหว่างลูกศิษย์กับอาจารย์ล่ะ?

กรณีอย่างนี้มันมีเป็นกรณีของหลวงปู่เทสก์ เราอ่านประวัติหลวงปู่เทสก์ หลวงปู่เทสก์ท่านบอกท่านไปธุดงค์กับเณร มันคลุกคลีกันมาหลายปีไง แล้วมีวันหนึ่งต้องแยกจากกัน ท่านถึงบอกว่าท่านเข้าใจกิเลสตัวนี้เลย กิเลสตัวที่อาลัย อาวรณ์ คนเรานี่มันอยู่ด้วยกันมา มันช่วยเหลือเจือจานกันมาตลอดนะ แล้ววันหนึ่งเราต้องแยกจากกันไป ท่านบอก อู้ฮู ในหัวใจนะมันเต็มที่ นี่ความอาลัย อาวรณ์ไง

นี่เห็นไหม ระหว่างอาจารย์กับลูกศิษย์ที่อุปัฏฐากกันมา แล้วถึงวันหนึ่งต้องแยกออกจากกันไป แยกออกจากกันไปก็ตามเส้นทางชีวิต อันนั้นเป็นความอาลัย อาวรณ์ นี่มันมีได้

ฉะนั้น

ถาม : ผู้หญิงที่มีความรู้สึกรักผู้ชายที่บวชพระ กับผู้หญิงที่มีความรักผู้ชายที่ไม่บวชพระ ผู้ชายธรรมดา

ตอบ : ถ้าเราเข้าไปในวัดนะมันเป็นความเคารพบูชา มันเป็นความเมตตา ความเคารพบูชา ว่าเป็นความรักอันหนึ่งไหม? อย่างเรากับอาจารย์ เรารักครูบาอาจารย์ของเรานี่ผิดไหม? ความรักเราใช้ภาษา ภาษาว่ารัก ภาษาว่าเคารพ ภาษาว่าเชิดชู อ้าว เราจะใช้คำไหนล่ะ? เราใช้คำไหน? ถ้าเรารัก เห็นไหม เรารักด้วยความเคารพบูชา แต่เราใช้คำว่าความรัก แต่ถ้าในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “ที่ไหนมีรัก ที่นั่นมีทุกข์” แต่ถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า

“ที่ไหนที่มีเมตตา กรุณา ที่นั่นจะมีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข”

ทีนี้เราเป็นลูกศิษย์ เห็นไหม กับพระนี่เราจะเมตตาอะไรกับพระล่ะ? ฉะนั้น ถ้าเราเคารพบูชานั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่งนะ ไอ้นี่มันเป็นภาษาที่เราจะใช้ จะใช้กับความรู้สึก ความรู้สึกอย่างนี้ เราใช้ภาษาสื่อออกมาอย่างไร? ถ้าภาษาสื่อออกมา ภาษาสื่อออกมาไม่ตรงกัน มันก็มีประเด็นขึ้นมาแล้วแหละ ถ้าเรามีภาษาสื่อออกมาที่ตรงกัน เราบอกถ้าไม่มีความรัก ห้ามมีความรัก ถ้าไม่มีความรักนะ แล้วดูหลวงตาสิ ดูครูบาอาจารย์สิ โอ๋ย คนล้อมหน้าล้อมหลัง อันนั้นเป็นรักหรือเป็นเคารพ? เออ มีปัญหาแล้ว

ถ้าเป็นความเคารพบูชาก็เรื่องหนึ่งนะ แต่ถ้าบอกว่าอย่างนี้เป็นความรัก “ที่ไหนมีรัก ที่นั่นมีทุกข์” แต่ถ้าเป็นความเคารพบูชานั่นเรื่องหนึ่ง ฉะนั้น ถ้าเคารพบูชาแล้วอย่างที่ว่า ถ้ามันไม่นอกลู่นอกทางมันก็ไม่เสียหาย แต่ถ้ามันนอกลู่นอกทางมันเป็นไปนะ เพราะมันเป็นเรื่อง เป็นเรื่อง

ฉะนั้น ไอ้อย่างนี้เรารักษาใจเรา เพื่อบุญกุศลของเรา เพื่อประโยชน์กับเรา จบแค่นี้ดีกว่าเนาะ เอวัง