เทศน์บนศาลา

สุขภาพจิตดี

๒o เม.ย. ๒๕๕๕

 

สุขภาพจิตดี
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๕
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจฟังธรรม เรามาวัดนะ เรามาปฏิบัติเพื่อความร่มเย็นเป็นสุข ความร่มเย็นเป็นสุข ถ้ามันจะเกิดขึ้นมาได้ มันต้องตามความเป็นจริง แต่ถ้าเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เห็นไหม เราอยู่กับโลก โลกนี้อยู่กันด้วยความยกยอปอปั้น ให้กำลังใจกันเพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของโลกเขา มารยาทสังคมนะ เราอยู่กันด้วยมารยาท ด้วยความเกรงอกเกรงใจ แต่เวลาเราประพฤติปฏิบัติ มันต้องเป็นตามความเป็นจริง ตามความเป็นจริงของใครล่ะ? ตามความเป็นจริงของบุคคลคนนั้น ถ้าบุคคลคนนั้นปฏิบัติ ถ้ามันเกิดผลขึ้นตามความเป็นจริง คนคนนั้นจะได้ความร่มเย็นเป็นสุข เป็นสุขจริงๆ นะ “สุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี”

แต่พวกเราเป็นชาวพุทธ ในเมื่อมันเป็นหน้าที่การงาน ก็เห็นใจอยู่ ในเมื่อเราเกิดมา เราก็ต้องมีหน้าที่การงานเป็นธรรมดา แต่ถ้ามีหน้าที่การงาน เห็นไหม เราไปจริงจัง เราไปทุกข์อยู่กับหน้าที่การงานนั้น จนลืมสิ่งที่มีคุณค่า คือความรู้สึกของใจ ใจอยู่ในร่างกายนี้มันมีคุณค่ามาก เห็นไหม ดูสิ ถ้าประพฤติปฏิบัติขึ้นมาถึงที่สุดแห่งทุกข์ จิตใจอันนั้น นี่เทวดา อินทร์ พรหมยังมาฟังเทศน์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันเป็นเรื่องที่มหัศจรรย์ แต่ที่มันจะมหัศจรรย์อย่างนั้นได้มันต้องทำความเป็นจริงของใจนั้นขึ้นมา

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุข เวลาปฏิบัติมา ๖ ปี ทุกข์จนแสนเข็ญนะ ปฏิบัติอยู่ ๖ ปี ทำทุกรกิริยา ทำทุกอย่างเพื่อจะให้พ้นจากทุกข์ ขณะทำทุกรกิริยา ในการทำสิ่งที่มันเป็นเรื่องที่ว่ากิเลสมันอยู่ที่ร่างกาย นี่เข้าใจว่าอย่างนั้น พยายามประพฤติปฏิบัติมา เวลาประพฤติปฏิบัติมานี่สู้จนถึงที่สุด เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้ว เสวยวิมุตติ วิมุตติสุข วิมุตติสุขคือโลกเขาไม่มีไง

สุขนี้ นี่โลกียปัญญา สุขเวทนา ทุกขเวทนา เป็นเรื่องของโลกๆ เขา แต่เวลาเสวยวิมุตติสุข สุขที่พ้นออกไปจากโลก ถ้าพ้นออกไปจากโลก มันพ้นออกไปได้อย่างไร ถ้ามันพ้นออกไป เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำขึ้นมาเป็นความจริงอันนั้น

ถ้าเป็นความจริงอันนั้นนะ เวลาเผยแผ่ธรรมมา วางธรรมและวินัยนี้ไว้ เราก็ศึกษาธรรมวินัยนี้ด้วยสติปัญญาของเรา ถ้าเราศึกษาธรรมวินัยนี้ด้วยสติปัญญาของเรา มันก็เหมือนโลกๆ น่ะ ดูทางวิชาการสิ เวลาเขาวิพากษ์วิจารณ์ เขาวิพากษ์วิจารณ์สิ่งใดก็ได้ทางวิชาการ เพราะว่าเขาใช้ปัญญาของเขา นี่ก็เหมือนกัน เราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เหมือนวิพากษ์วิจารณ์นั่นน่ะ เราไปตรึกในธรรม เราศึกษาธรรมของเราขึ้นมา แล้วเวลาเราจะประพฤติปฏิบัติเอาความจริงขึ้นมา ถ้าเอาความจริงขึ้นมา นี่ด้วยมุมมองของใครล่ะ

ถ้าด้วยมุมมองของกิเลส มุมมองของโลก เห็นไหม เราอยู่กับทางโลก เราจะต้องมีมารยาทสังคม เราอยู่กันด้วยสังคม เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราก็ต้องมีมารยาทสังคม ทำสิ่งใดด้วยความรุนแรงเกินไปก็ไม่ได้ จะทำสิ่งใดนี่เสียมารยาท ต้องนุ่มนวลอ่อนหวาน การนุ่มนวลอ่อนหวานนี่มันเรื่องของกิเลสทั้งนั้นน่ะ ถ้ามันนุ่มนวลอ่อนหวานเพื่อสิ่งใดล่ะ? ก็เพื่อกิเลสมันจะได้ไม่มีใครเข้าไปดัดแปลงมันไง นี่ด้วยความนุ่มนวลอ่อนหวาน เห็นไหม นี่เรื่องของโลกนะ เวลาเราศึกษาขึ้นมา เราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราประพฤติปฏิบัติด้วยความเป็นจริงของเรา ถ้าเป็นจริงของเรา เราต้องลงทุนลงแรง

เราเกิดมานะ เกิดเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนานี่มีคุณค่ามาก มีประโยชน์มาก มีประโยชน์เพราะอะไร เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้จริง เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้จริง “เราเป็นพระอรหันต์ เราเป็นพระอรหันต์” เวลาจะเทศนาว่าการ ไปพูดกับปัญจวัคคีย์ก็เหมือนกัน “เธอจงเงี่ยหูลงฟัง สิ่งที่เราไม่รู้ เราก็บอกไม่รู้ อยู่ด้วยกันมา ๖ ปี อุปัฏฐากกันมาแล้วก็บอกว่าไม่รู้ทั้งนั้นน่ะ แต่ขณะนี้ บัดนี้รู้แล้ว เธอเคยได้ยินคำพูดแบบนี้ไหม อยู่กัน ๖ ปี ถ้าไม่รู้ก็ไม่เคยบอกเลย” แต่ขณะที่รู้แล้ว “เธอจงเงี่ยหูลงฟัง” เห็นไหม นี่เทศน์ธัมมจักฯ

เทศน์ธัมมจักฯ ไป พระอัญญาโกณฑัญญะมีดวงตาเห็นธรรม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า “อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ” บุคคลที่ ๒ รู้ไง พยานเกิดขึ้นแล้ว แต่ถ้าพยานไม่เกิดขึ้นนะ ถ้าคำว่า “ความจริง” ความจริงของใคร ในเมื่อไม่มีใครรู้ มันก็ไม่มีพยาน เวลาพระอัญญาโกณฑัญญะเป็นพยานขึ้นมา เป็นสงฆ์องค์แรกของโลก เทศน์อนัตตลักขณสูตรไป เป็นพระอรหันต์ทั้งหมดเลย ปัญจวัคคีย์เป็นพระอรหันต์ สิ่งที่ว่าเป็นพระอรหันต์ นี่ทำความเป็นจริง มันได้ตามจริงขึ้นมา จริงที่ไหน? จริงที่ในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จริงที่ในใจของพระปัญจวัคคีย์เป็นขึ้นมา ความจริงของพระอริยบุคคล พระสงฆ์ที่เป็นพระอรหันต์ ๖๑ องค์ รวมทั้งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า “เธออย่าไปซ้อนทางกัน โลกนี้เขาเดือดร้อนนัก” นี่เพราะมันมีความจริงในหัวใจขึ้นไป มันทำสิ่งใด มันทำได้จริง

ทีนี้วางธรรมวินัยนี้ไว้ แล้วเวลาเราศึกษาในปัจจุบันนี้ เราศึกษาด้วยสิ่งใด เราศึกษาแล้วเราปฏิบัติกันนะ เวลาปฏิบัติด้วยปัญญาชน เราปฏิบัติกันด้วยความรู้ตัวทั่วพร้อม ด้วยสติปัญญาของเรา สติปัญญาอย่างนี้นะ สติปัญญาอย่างนี้ เห็นไหม เวลาทำไปทางโลก โลกนี้ เราทุกคนนะ กิเลสเวลามันหลอก มันหลอกว่าเราทำสิ่งนี้แล้วเราเข้าใจ เราเป็นนักวิชาการ วิพากษ์วิจารณ์ธรรม วิพากษ์วิจารณ์ รู้ตัวทั่วพร้อม อารมณ์ความรู้สึกนี่รู้หมด...รู้แล้วเราได้อะไรขึ้นมา

ปฏิบัติขึ้นมานะ ดูสิ เวลาคนทุกข์คนยากนะ เวลาคนทุกข์คนยากมันทุกข์ที่ไหนล่ะ? มันทุกข์ที่หัวใจน่ะ มันแบกหามนะ มันแบกหามเรื่องโลก มันแบกหามเรื่องธรรม มันแบกหามเรื่องชีวิต มันแบกหามเรื่องครอบครัว มันแบกหามเรื่องสุขภาพ มันแบกหามหมดเลย มันแบกหามขึ้นมาแล้วมันก็ทุกข์ในหัวใจมันนั่นน่ะ

ทีนี้เวลาเราตรึกในธรรม ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราตรึกในธรรม “สภาวธรรมเป็นอย่างนั้น โลกนี้เป็นอนิจจัง สิ่งใดเป็นอนิจจัง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา มันเป็นเช่นนี้เอง มันก็เป็นเช่นนี้แหละ” พอเป็นเช่นนี้ พอหัวใจเราได้ศึกษา พอศึกษาอย่างนี้มันเข้ามา นี่ศึกษาเข้ามามันก็ปล่อยวาง ปล่อยวางสิ “มันเป็นเช่นนี้เอง” มันปล่อยวางได้อะไรล่ะ มันปล่อยวางเพราะสุขภาพจิตมันดี

ดูสิ เวลาตอนเช้า เขาออกกำลังกายเพื่ออะไร? เพื่อสุขภาพร่างกายเขาดี ถ้าสุขภาพร่างกายนะ เวลาในสมัยปัจจุบันนี้เขาไม่รอให้คนป่วยนะ เขาพยายามจะฟื้นฟูให้คนแข็งแรง รักษาตั้งแต่ก่อนที่มันจะเจ็บไข้ได้ป่วย ถ้าเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นมาก็ดูแลรักษากันไป เห็นไหม เวลาเขาออกกำลังกายกันต่างๆ ก็เพื่อให้สุขภาพเขาแข็งแรง

ทีนี้เราประพฤติปฏิบัติกัน เราประพฤติปฏิบัติด้วยกิเลส เราประพฤติปฏิบัติโดยที่เราไม่มีผู้นำ เราไม่มีผู้นำที่รู้จริง เราประพฤติปฏิบัติกัน เราก็ประพฤติปฏิบัติด้วยความรู้ตัวทั่วพร้อม อารมณ์กรรมฐาน ทุกอย่างรู้หมด พอรู้หมดมันก็ปล่อยวาง ปล่อยวางคืออะไร? มันก็สุขภาพจิตไง “ปล่อยวาง สบาย ปล่อยวางแล้วโล่งโถง ปล่อยวางแล้วมีคุณงามความดีหมดน่ะ”

เวลาในทางโลกในปัจจุบันนี้ ถึงเวลาเขาไปตรวจสุขภาพนะ ถ้าใครไปตรวจสุขภาพแล้วสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง คนนั้นออกจากโรงพยาบาลมาด้วยความภูมิใจ ด้วยความดีใจ แต่ถ้าใครไปตรวจสุขภาพนะ แล้วรู้ว่าตัวเองเป็นโรคเป็นภัยขึ้นมา เห็นไหม ถ้ารู้ตัวว่าเป็นโรคเป็นภัยขึ้นมามันก็ต้องสะเทือนใจ เดินคอตกเลยนะ ยิ่งถ้าเป็นโรคร้ายนะ บอกว่าอยู่ได้อีก ๖ เดือน อยู่ได้อีก ๓ เดือน หรืออยู่ได้อีกเดือนเดียว นี่คอตกเลยล่ะ ทีนี้มันจะรู้ตัวทั่วพร้อมไหมล่ะ มันจะรู้ตัวทั่วพร้อมอีกไหม

มันจะรู้ตัวทั่วพร้อมต่อเมื่อสุขภาพมันแข็งแรง สุขภาพนี้ไม่มีสิ่งใดกระทบกระเทือนใจ มันก็ดีไปหมดน่ะ แต่ถ้ามันไปตรวจสุขภาพแล้วก็บอก “นี่จะตาย อีกเดือนหนึ่งหมดอายุขัย” มันจะรู้ตัวทั่วพร้อมไหมล่ะ มันจะสั่นไหวไปในหัวใจเลย ถ้ามันสั่นไหวไป มันจะรู้ทันไหมล่ะ? มันรู้ทันไปไม่ได้หรอก

ถ้าสุขภาพกายมันก็เรื่องสุขภาพกาย สุขภาพจิตก็มีเท่านี้แหละ “รู้ตัวทั่วพร้อม ทุกอย่างเข้าใจไปทั้งหมด อารมณ์ต่างๆ เข้าใจได้หมด ปล่อยวางหมด มรรคผลนิพพานไม่มีแล้ว เพราะมันกึ่งพุทธกาลไม่มีหรอก” เห็นไหม นี่รู้ตัวทั่วพร้อม มันเป็นเรื่องของสุขภาพจิตนะ สุขภาพธรรมไม่มีเลย ถ้าสุขภาพธรรม มันจะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร

นี่ไง เราเกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนานะ ในปัจจุบันนี้เราเกิดมาพบครูบาอาจารย์ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านเป็นผู้บุกเบิกมา ถ้าท่านเป็นผู้บุกเบิกมานะ เวลาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาเทศนาว่าการไว้ ถ้าโคนำฝูงเป็นผู้ที่ฉลาด หัวหน้าโคนั้นจะพาฝูงโคนั้นพ้นจากวังน้ำวน ถ้าโคนั้นเป็นผู้ที่โง่เขลาเบาปัญญา มันจะพาฝูงโคนั้นไปสู่วังน้ำวน วังน้ำวนมันจะดูดโคทั้งฝูงนั้นลงไปในวังน้ำวน เสียชีวิตหมดเลย แต่ถ้าโคที่ฉลาดล่ะ โคที่ฉลาด ทำไมเขาถึงฉลาดล่ะ

เห็นไหม ถ้าเราศึกษาธรรม ศึกษาธรรม ศึกษามาแล้วประพฤติปฏิบัติ ปฏิบัติแบบโลกไง ถ้าปฏิบัติแบบโลก มันเป็นเรื่องของสุขภาพจิต ถ้าสุขภาพจิตมันสุขสบาย สุขสบายเพราะอะไรล่ะ เพราะมันเป็นเรื่องโลกๆ มันเป็นโลกียปัญญา ปัญญา เห็นไหม เข้าใจว่าเทียบอารมณ์ เทียบอารมณ์เป็นอารมณ์อย่างนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไว้ในอภิธรรมว่าเป็นอย่างนั้น อารมณ์อย่างนั้นมันรู้เท่ารู้ทัน มันก็จบ จบแล้วทำอย่างไรต่อ? ก็เท่านั้นน่ะ แล้วก็ทบทวน ทบทวนกันอยู่อย่างนั้น แล้วมันเป็นไปได้ไหมล่ะ

แต่ถ้าเวลาโคที่ฉลาดนะ โคที่ฉลาดเวลาลงไปพาฝูงโคนั้นข้ามแม่น้ำ วังน้ำวน ข้ามวัฏฏะ ถ้าข้ามจากฝั่งนี้ไปอยู่ฝั่งทางนู้น มันจะข้ามไปได้อย่างไร แต่ถ้าโคมันโง่นะ มันไม่เคยเห็นวังน้ำวนนั้น มันบอก วังน้ำวนไม่มี ไม่เคยเห็น ถ้าไม่เคยเห็นนะ ดูสิ เวลาไม่เคยเห็น เห็นไหม คลื่นสึนามินี่เราบอกไม่เคยมี ไม่เคยเห็น เวลามันมาทีนี่มันกวาดไปเป็นแสนๆ มันกวาดไปหมดนะ ตายเป็นแสน แล้วมันมาจากไหนล่ะ มันมาจากไหน

นี่ก็เหมือนกัน วังน้ำวนมันคืออะไรล่ะ ถ้าวังน้ำวน ครูบาอาจารย์ของเรา...ถ้าประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เวลาจิตที่มันกระทบ มันมี เป็นครั้งเป็นคราวที่มันกระเทือนใจนี่มันมี ถ้ากระเทือนใจมันก็คือกระเทือนกิเลส แล้วมันบอกว่ามันไม่มีไง เวลาเราประพฤติปฏิบัตินี่รู้ตัวทั่วพร้อม รู้ตัวทั่วพร้อม รู้ตัวทั่วพร้อมแล้วมันจะเป็นอย่างไรต่อไป

จริตของจิตนะ จิตนี่เวลามันสร้างบุญสร้างกรรมมา จริตนิสัยของจิตมันแตกต่างหลากหลายกันมา จะประพฤติปฏิบัติทางไหน จะมีคำบริกรรมนะ คำว่า “บริกรรมพุทโธๆ” นี่คำบริกรรม พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ อนุสติ ๑๐ ถ้าการประพฤติปฏิบัติขึ้นมา กรรมฐาน ๔๐ ห้อง ถ้ากรรมฐาน ๔๐ ห้อง นี่ทำเพื่ออะไร? ทำเพื่อให้หัวใจนี้เข้มแข็ง ให้จิตใจเข้ามาเป็นสัมมาสมาธิ ถ้าจิตใจเข้าเป็นสัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิเพื่อเหตุใด? ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าเกิดปัญญา ปัญญาที่มันจะชำระล้าง

นี่โคนำฝูง หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านประพฤติปฏิบัติของท่านมา ท่านฉลาดของท่าน ท่านเคยผ่านวังน้ำวน ท่านเคยประสบเหตุการณ์การที่หัวใจนี้มันกระทบกับกิเลสมา ท่านเอาหัวใจของท่านรอดพ้นแล้วท่านถึงมาสอนเรา ไม่ใช่โคโง่ๆ โคโง่ๆ โคที่ไม่มีปัญญา นี่วิพากษ์วิจารณ์ธรรม “ธรรมะต้องเป็นอย่างนั้น” นี่วังน้ำวนก็ไม่เคยเห็น สรรพสิ่งใดๆ ก็ไม่เคยเห็น ไม่เคยเห็น “นี่ธรรมก็เป็นอย่างนั้นไง มันรู้ตัวทั่วพร้อม”...แต่รู้ตัวทั่วพร้อมแล้วได้สิ่งใดขึ้นมา

จะกำหนดสิ่งใดก็แล้วแต่ ถ้าจริตของมัน จริตของจิตนี้ได้สร้างบุญญาธิการมาขนาดไหน มันจะมีเหตุมีผลในใจดวงนั้น ถ้าจิตมันสงบลง หรือจิตมันปล่อยวางสิ่งใดมา มันมีผลกระทบนะ คำว่า “ผลกระทบ” เวลาคนทำ ครูบาอาจารย์ของเราท่านประพฤติปฏิบัติมา นี่โคนำฝูงที่ฉลาด หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น เวลาท่านสอนลูกศิษย์ลูกหานะ ให้ทำความสงบของใจเข้ามา แล้วถ้าจิตที่มันจะทำความสงบเข้ามา มันก็แล้วแต่จริตนิสัยของใจดวงนั้น ใจดวงนั้นทำความสงบได้ง่าย ทำความสงบได้ยาก ถ้าทำความสงบได้ยาก นี่ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ สมาธิอบรมปัญญา จะมีวิธีการแก้ไขอย่างใดให้จิตนี้มีพื้นฐาน ถ้าจิตมีพื้นฐาน มันมีการกระทำ โคนั้นจะลงสู่แม่น้ำ จะข้ามฝั่ง จะข้ามวัฏฏะ จะพ้นออกไปจากกิเลส

แต่ถ้าจิตที่มันไม่เคยสงบ มันไม่เคยสงบของมัน มันเป็นมิจฉา มิจฉาเพราะอะไร เพราะรู้ตัวทั่วพร้อมแล้วมันก็ปล่อยวาง ปล่อยวางแล้วทำอย่างไรต่อไป? ปล่อยวางแล้วไม่รู้ ถ้าไม่รู้ นี่พูดถึงจิตที่มันไม่รู้นะ เพราะมันไม่สืบต่อ ไม่สืบต่อ นี่โคที่ไม่ฉลาด โคที่ไม่ฉลาด แม่น้ำก็ไม่กล้าลง เราจะข้ามฝั่ง ฝั่งของวัฏฏะกับวิวัฏฏะ ฝั่งของกิเลสกับฝั่งของธรรม เราจะข้ามไปสู่ความเป็นจริง พอไปสู่ความเป็นจริง มันไปไม่ได้ มันไม่กล้าลง เพราะมันไม่ต้องลง

การลงน้ำนะ เวลาเราทำความสงบของใจ “อันนั้นมันเป็นสมถะ สิ่งนั้นไม่เป็นประโยชน์”...แม่น้ำทั้งสายไม่มีประโยชน์เหรอ แม่น้ำทั้งสายมันไปกางกั้นระหว่างวัฏฏะ วิวัฏฏะนะ มันกั้นระหว่างโลกกับธรรมนะ ถ้าเราไม่ข้ามสู่วิวัฏฏะ มันจะพ้นจากกิเลสไปได้อย่างไร มันจะมีสิ่งใดกำจัดกิเลสในหัวใจนั้น

ฉะนั้น บอกว่า “ไม่ต้องทำ ไม่ต้องลงฝั่ง ไม่ต้องลงแม่น้ำ ไม่ต้องไปเจอวังน้ำวน ไม่ต้องเจอสิ่งใดเลย เพราะสิ่งนั้นมันเป็นสมถะ สิ่งนั้นจิตมันไปรู้ไปเห็นของมันโดยความไม่เข้าใจ โดยเป็นสมถะ โดยความเป็นโลก ไม่ได้ใช้ปัญญา”

เวลานักวิชาการเขาวิพากษ์ วิพากษ์เรื่องธรรมะ “ถ้าศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา เราได้ใช้ปัญญาของเราแล้ว เรารู้ตัวทั่วพร้อม เราเข้าใจความรู้สึก เราควบคุมได้หมด” ความเข้าใจของเรา เข้าใจอะไร? นี่เข้าใจเรื่องโลกๆ ไง ไปปฏิบัติอยู่ฝั่งหนึ่ง ฝั่งของวัฏฏะ พอฝั่งของวัฏฏะ รู้ตัวทั่วพร้อมแล้วก็จบ แล้วมันจบจริงไหม? จบไม่จริง จบไม่จริงเพราะอะไร เพราะจริตของคนไม่เหมือนกัน

จะกำหนดสิ่งใดก็แล้วแต่ จะปฏิบัติอย่างไรก็แล้วแต่ ถ้าจิตมันสงบนะ ถ้าจิตที่มันได้สร้างมา มันสร้างมาด้วยตัณหาความทะยานอยากในหัวใจ ถ้ามันจะรู้จะเห็นของมัน มันก็จะรู้จะเห็น ถ้ามันจะกำหนดสิ่งใด จะรู้ตัวทั่วพร้อม จะภาวนาสิ่งใด มันก็จะเห็นของมัน เห็นแล้วทำอย่างไรต่อ? เห็นแล้วละล้าละลังไง เพราะอะไร

เพราะหัวหน้าโคโง่ หัวหน้าโคไม่พาดำเนิน หัวหน้าโคบอก “ไม่ต้อง สิ่งนั้นเป็นนิมิต เห็นสิ่งนั้นแล้วไม่เกิดประโยชน์สิ่งใด” แต่เวลาคนที่จริตนิสัยเป็นแบบนั้น เขาจะรู้เขาจะเห็นของเขา แล้วเขารู้เขาเห็น เขาทำอย่างไรต่อไปล่ะ เพราะโคมันไม่นำฝูงไป โคไม่นำฝูงไปเพราะโคบอกว่า “ไม่ต้องทำ สิ่งนั้นมันเป็นสมถะ สิ่งนั้นไม่เป็นประโยชน์ สิ่งที่เป็นประโยชน์คือใช้ปัญญา”...แล้วเวลาปัญญานี่ปัญญาของใคร? ปัญญาของกิเลส เห็นไหม ปัญญาของกิเลสนะ

เพราะถ้าเราตรึกในธรรม เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ผลของมันคือสุขภาพจิต ผลของมันคือจิตมันปล่อยวางภาระรุงรังในใจ ถ้าเราไม่ได้ควบคุมดูแล จิตมันก็คิดไปโดยฟุ้งซ่านไปโดยธรรมชาติของมัน เราก็ตรึกในธรรม ตรึกให้จิตมันอยู่กับธรรม พออยู่กับธรรมขึ้นมา มันก็อยู่ด้วยสุขภาพของมัน แต่มันไม่ได้อยู่ด้วยสติปัญญา

ถ้ามันอยู่ด้วยสติปัญญานะ ถ้าจิตเราพิจารณาอย่างไรก็แล้วแต่ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิเข้ามา จิตมันจะเข้ามา ถ้าจิตมันสงบ มันจะปล่อยความฟุ้งซ่าน ปล่อยความเครียด ปล่อยต่างๆ เข้ามา ถ้าสติปัญญาเข้ามา มันจะเข้าสู่สมถะ ถ้าสมถะนี่คือสัมมาสมาธิ แต่ถ้าไม่เข้าสู่สัมมาสมาธิ ไม่เข้าสู่สมถะนะ มันเป็นมิจฉา มิจฉาเพราะอะไร มิจฉาเพราะสติปัญญามันไม่สามารถควบคุมจิตนี้ได้ ถ้าไม่สามารถควบคุมจิตนี้ได้ ก็ว่างๆ ว่างๆ ด้วยความสงสัย ว่างๆ นี่ปล่อยวางหมด ปฏิบัติมาแล้วปล่อยวางทุกอย่างมาหมดเลย ปล่อยวางมาแล้วทำสิ่งใดไม่ได้ ทำสิ่งใดต่อไปก็ไม่ได้ ละล้าละลัง

สำหรับผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ จริตนิสัยของจิตที่ไปรู้ไปเห็น พอไปรู้ไปเห็น นี่ไปถามผู้นำ ไปถามหัวหน้าฝูง หัวหน้าฝูงบอกว่า “ไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ต้องทำสิ่งใดเลย ไม่ทำสิ่งใด”...แล้วปฏิบัติเพื่ออะไร? ปฏิบัติเพื่อความเข้มแข็ง ปฏิบัติเพื่อสุขภาพจิต แล้วเป็นเรื่องโลกๆ เรื่องโลกๆ เพราะส่งเสริมเยินยอกันว่าสิ่งนี้เป็นธรรม แล้วผู้ที่ปฏิบัติตามความเป็นจริง สิ่งนั้นไม่เป็นธรรม ไม่เป็นธรรมเพราะอะไร ไม่เป็นธรรมเพราะมันเป็นความลำบาก มันเป็นความทุกข์ความยาก

แต่เราลูกศิษย์กรรมฐานนะ หลวงปู่มั่นท่านประพฤติปฏิบัติมา ท่านได้ผ่านมา โคที่ฉลาดนะ โคที่ฉลาดมันเคยผ่านวิกฤติมา ในเมื่อเราอยู่ฝั่งนี้ ฝั่งของวัฏฏะ ฝั่งของโลก เราเกิดมาอยู่ฝั่งของโลกนะ แล้วเราจะข้ามฝั่งไปสู่วิวัฏฏะ ถ้าสู่วิวัฏฏะ เวลาเราลงน้ำไป น้ำ เวลาน้ำหลาก น้ำมาก มันก็มีน้ำวนเป็นธรรมดา แต่เวลาน้ำแห้งน้ำแล้ง เราสามารถเดินข้ามน้ำไปได้ มันเป็นวิกฤติของจิตแต่ละดวง จิตแต่ละดวงที่สร้างสมมามันไม่เหมือนกัน ถ้าจิตมันสงบแล้ว บางคนทำจิตมีความสงบระงับขึ้นมาแล้วมันจะใช้ปัญญา มันก็ใช้ปัญญาไปได้

การใช้ปัญญานะ ปัญญาในพุทธศาสนามันมีสุตมยปัญญา จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา

สุตมยปัญญา การศึกษาเล่าเรียน นี่โดยธรรมชาติ โดยธรรมชาตินะ การศึกษานี้ไม่มีวันที่สิ้นสุด ถ้าใครยังมีการศึกษาค้นคว้า ใครมีการทำวิจัยค้นคว้า ใช้สมองตลอดไป คนคนนั้นจะไม่แก่ไม่เฒ่า จะทันสังคม ไม่ตกยุคตกสมัย ถ้าไม่ตกยุคตกสมัย นี่คือการใช้ปัญญาทางโลก คือสุตมยปัญญา คือศึกษาในความเจริญก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์ ในความเจริญก้าวหน้าของโลก ในสิ่งที่เขาใช้กันมาเพื่อประโยชน์ นี่คือสุตมยปัญญา เพราะมันเป็นเรื่องของโลก มันไม่ได้แก้ไขเรื่องของหัวใจ มันเป็นการดำรงชีวิตในการใช้ปัจจัยเครื่องอาศัยเพื่อความสะดวกเพื่อความสบาย เราก็อาศัยความสะดวกสบายเพื่อการดำรงชีวิตที่มันสะดวกขึ้น ทีนี้ความสะดวก ยิ่งสะดวกขนาดไหน เวลามันก็เหลือ เวลาเหลือแล้วสิ่งใดที่มันไปซับซ้อนอยู่ในใจ มันเป็นความเบื่อหน่าย เป็นความวิตกกังวล เป็นต่างๆ เห็นไหม นี่สุตมยปัญญา

แล้วถ้าจินตมยปัญญา เราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่จินตนาการกัน “ธรรมะจะมีความปล่อยวาง ธรรมะ นิพพานคือวิมุตติสุข คือความว่าง ธรรมะคือความว่าง ความว่าง”...ว่าความว่าง ว่างคืออะไรล่ะ เห็นไหม กิเลสมันก็สร้างขึ้นมา นี่จินตมยปัญญา แล้วจับต้นชนปลายไม่ถูก เพราะผู้นำฝูงไม่เคยมีประสบการณ์ ผู้นำฝูงไม่มีความจริงในหัวใจ ถ้าผู้นำฝูงไม่มีความจริงในหัวใจ เห็นไหม อาศัยทฤษฎี อาศัยสิ่งที่มีอยู่ในโลก

ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมและวินัยนี้เป็นสมบัติสาธารณะ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ ปรารถนาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รื้อค้นมาจนตรัสรู้เองโดยชอบ วางธรรมและวินัยไว้ เราเป็นสาวกสาวกะ มีการศึกษา สาวกสาวกะ ผู้ที่ได้ยินได้ฟัง เราได้ยินได้ฟังธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเราก็จะประพฤติปฏิบัติกัน แต่มันอยู่ที่อำนาจวาสนาว่าเราจะมีผู้นำที่ดีไหม ถ้าเรามีผู้นำที่ดี เรามีครูบาอาจารย์ไหม ถ้ามีครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์นี่หัวหน้าฝูง โคนั้นเป็นผู้ที่ฉลาด โคนั้นเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ ถ้ามีประสบการณ์

เวลาทำกำหนดพุทโธๆ ถ้าจิตมันสงบเข้ามา ปัญญาอบรมสมาธิเข้ามา แล้วเมื่อไหร่จะใช้ปัญญา เมื่อไหร่จะใช้ปัญญา

ปัญญามันก็อยู่ที่ความอ่อนด้อยของจิตหรือความเข้มแข็งของจิต จิตที่มันมีเชาวน์ปัญญา มันก็จะฝึกหัดใช้ปัญญาของมันได้ แต่จิตที่มันอ่อนด้อย หรือสัทธาจริต สัทธาจริตนี่มีแต่ความเชื่อ มีแต่ความเชื่อนำ ถ้าเป็นพุทธจริต มันมีปัญญานำ

คำว่า “มีปัญญานำ” เวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นไปนี่เราใช้ปัญญา ปัญญาของใคร ถ้าเริ่มต้นของการใช้ปัญญานี่มันเป็นปัญญาของโลก คำว่า “โลก” คือเราเกิดมาเป็นมนุษย์นี่เป็นโลก โลกเพราะอะไร เพราะเราเกิดมาเป็นคน เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาจากพ่อจากแม่ นี่เกิดมาในฝั่งของวัฏฏะ ในเมื่อฝั่งของวัฏฏะ เราเกิดมาเป็นโลก อะไรเป็นตัวเกิดล่ะ? ปฏิสนธิจิต กำเนิด ๔

ในเมื่อเกิดเป็นมนุษย์ มันมีภวาสวะ มีกิเลสสวะ อวิชชาสวะ ภวาสวะ มีกิเลส ๓ ในเมื่อมีกิเลส ๓ นี่กิเลส ๓ มันเป็นพื้นฐาน ความรู้สึกนึกคิดเกิดบนจิตทั้งหมด ถ้าไม่มีตัวจิต ไม่มีพลังงาน ความรู้สึกนึกคิดมาจากไหน ไม่มีความรู้สึกนึกคิดน่ะ ทีนี้ความรู้สึกนึกคิดที่เราใช้ปัญญาอยู่นี่ มันปัญญาจากไหน

ผู้ที่เป็นหัวหน้าฝูงไม่รู้จักใจของตัว ไม่เคยเห็นความปล่อยวางในใจของตัว ก็ว่าใจของตัวมันรู้ มันมีความคิดเกิดอย่างไร มันมีกระบวนการของมันดำเนินไปอย่างไร แต่หลวงปู่มั่นท่านเคยผ่านมาหมดแล้ว ท่านเคยผ่าน สิ่งใดควรเป็นประโยชน์ ความรู้สึกนึกคิดที่เราจะคิด มันก็คิดมาจากโลกนี่แหละ เพราะเราเกิดมาเป็นโลก เราเกิดมาเป็นคน เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เรามีความรู้สึกนึกคิดเป็นธรรมชาติ ทีนี้ความรู้สึกนึกคิดนี่ พลังงานมันมีของมันใช่ไหม แล้วมันมีอวิชชาคือความไม่รู้ ไม่รู้ในอะไร

นี่ท่องบ่นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจนปากเปียกปากแฉะ แต่ไม่รู้ ไม่รู้ ไม่รู้อย่างไร? ไม่รู้ตามความเป็นจริงไง นี่ท่องบ่นได้ทั้งหมดน่ะ ท่องบ่นได้ก็วิพากษ์วิจารณ์ทางวิชาการไง ถ้าวิพากษ์วิจารณ์ทางวิชาการ แต่เวลาถ้าจิตมันสงบล่ะ ถ้าจิตเวลาทำความสงบของใจนะ ก็บอกว่า “ความสงบนั้นมันไม่มีความจำเป็น เพราะความสงบนั้นไม่เกิดปัญญา เราจะใช้ปัญญาของเราไปเลย” เห็นไหม พอใช้ปัญญานี่มันเรื่องโลกไง

เราปฏิบัติโดยโลก มันก็จะได้ผลทางโลก เราปฏิบัติทางโลก เพราะเราเอาโลกปฏิบัติ เอาโลกปฏิบัติคือเอาความรู้สึกนึกคิดปฏิบัติ มันก็ได้ผลมาเป็นสุขภาพจิต แต่มันไม่มีสุขภาพธรรม สภาวธรรมตามความเป็นจริงมันไม่มี มันเป็นปริยัติในภาคปฏิบัติไง

ในเมื่อเราปฏิบัติ นี่เราปฏิบัติ เวลาเขาบอก มีการศึกษาแล้วต้องมีวิปัสสนาจารย์ ฝึกหัดเป็นวิปัสสนาจารย์เพื่อจะได้อบรมสั่งสอน เพื่อจะให้คนประพฤติปฏิบัติขึ้นมา แล้ววิปัสสนาจารย์ วิปัสสนาจารย์อย่างไร? ก็ศึกษามา ก็มีธรรมวินัย ก็วิปัสสนาจารย์ด้วยทฤษฎีไง ด้วยทฤษฎี ด้วยความจำ ด้วยความที่เราได้ทำของเรามา นี่ไง โคมันโง่ มันไม่เคยผ่านวิกฤติ มันไม่เคยลงน้ำ มันไม่รู้จักวังน้ำวน ถ้าวังน้ำวน วังน้ำวนมันจะพัดอะไรไป? มันจะพัดชีวิตนี้ไปนะ ถ้ามันพัด มันพัดโคนั้นตายไปเลย ตายไปไหน? ตายไปกลางลำน้ำ กลางแม่น้ำนั้น

แต่ถ้าผู้ที่ฉลาด ผู้ที่ฉลาดมันมีการกระทำ เราจะลงน้ำ เราจะลงน้ำไปนี่เราจะว่ายน้ำได้ไหม เราจะทวนกระแสน้ำอย่างใด ถ้าเราลงน้ำ เราว่ายน้ำไป เราจะทวนกระแสน้ำ มันมีวิกฤติอย่างไร แล้วถ้าเจอวังน้ำวน เวลากิเลสอย่างหยาบ กิเลสอย่างกลาง กิเลสอย่างละเอียด กิเลสมันมีหลายซับหลายซ้อนนัก มันจะดูดให้หัวใจนี้ลงไปในอำนาจของมัน มันไม่ปล่อยให้จิตนี้พ้นออกไปหรอก มันต้องการยึดไว้ในอำนาจของมันทั้งนั้นน่ะ ฉะนั้น เรามีอะไร มีกำลังสิ่งใดที่จะไปต่อสู้กับมัน ต่อสู้กับมันนะ มันคืออะไร? มันก็คืออวิชชา มันก็คือพญามารในหัวใจ แล้วพญามารในหัวใจมันอยู่ที่ไหนล่ะ

คนไม่เคยเห็นกิเลส คนไม่รู้จักกิเลส ไม่รู้จักสิ่งใดๆ เลย แต่บอกว่า “ปล่อยวาง รู้ตัวทั่วพร้อม เข้าใจหมดแล้ว ปล่อยวางทุกอย่าง ไม่มีสิ่งใดในหัวใจเลย ว่าง สบาย”...โลก เห็นไหม ปฏิบัติโดยโลก ได้ผลทางโลก สุขภาพจิต แต่ไม่มีสุขภาพธรรม ถ้ามีสุขภาพของธรรม ธรรมมันจะเกิดขึ้นมาเพราะเหตุใด ธรรมมันจะเกิดขึ้นมาเพราะว่าเราทำความสงบของใจ

เราเกิดมาจากโลกใช่ไหม ทุกคนเกิดมาจากโลก แล้วก็อยู่กับโลก มีพ่อมีแม่ มาบวชก็มีอุปัชฌาย์อาจารย์ทั้งนั้นน่ะ แล้วเวลาประพฤติปฏิบัติไปก็ประพฤติปฏิบัติโดยโลก “โดยโลก” โดยโลกที่จะเข้าสู่ธรรม เพราะมีโคนำฝูง หัวหน้าที่ดี ถ้าหัวหน้าที่ดีนะ เราทำความสงบของใจเข้ามา ใจมันจะสงบระงับเข้ามาอย่างไร ถ้าใจมันสงบระงับเข้ามา มันสงบเพื่อเหตุใด? สงบเพื่อจะไม่ให้กิเลสตัณหาความทะยานอยากพญามารมันชักจูงจิตนี้ออกไปก่อน เวลาความรู้สึกนึกคิดขึ้นมา เรามีความคิดอย่างไรก็แล้วแต่ กิเลสมันนอนเนื่องมากับใจ อารมณ์ความรู้สึกทั้งหมดมีกิเลสนอนเนื่องมาด้วย คิดดี กิเลสมันก็ติด ดีก็ติด ชั่วก็ติด เพราะธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก ข้ามทั้งดีและชั่ว

ดีก็ติด คนบอกทำดีๆ ที่ทะเลาะกันอยู่ทุกวันนี้ทะเลาะกันเรื่องอะไร ไม่ใช่ทะเลาะกันเรื่องความดีเหรอ เอาความดี เอาความดีเป็นตัวตั้ง แล้วก็ทะเลาะเบาะแว้งกันเพราะความดี แล้วความดีของใครล่ะ? ความดีอย่างนี้มันดีโลกๆ ไง ถ้าความดีของเรา เรารู้นะว่าพูดออกไปกระเทือนเขาไหม เขาจะดีมันก็เรื่องของเขา เขาดี เขาทำดีขนาดไหน ถ้าเขาทำดี ประเทศชาติก็ได้ประโยชน์ไง แต่ถ้าเราทำดีล่ะ? ทำดีก็ทำดีของโลก แล้วดีของเราล่ะ

ถ้าดีจริง เห็นไหม ดูสิ ครูบาอาจารย์ของเรานะ เวลาท่านทำคุณงามความดี ท่านทำปิดทองก้นพระ ไม่ให้ใครรู้เลย เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อยู่โคนต้นโพธิ์น่ะทำกับใคร มีใครเป็นพยาน มีใครไปรู้กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบ้างว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากำลังทำคุณงามความดีอยู่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากำลังใช้มรรคญาณที่จะทำลายอวิชชาในหัวใจ เพื่อจะเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อเป็นหลักชัย เพื่อพระพุทธ พระธรรม ให้เรามีที่พึ่ง นี่ใครทำอยู่ที่ไหน

นี่เหมือนกัน เราทะเลาะกันด้วยความดี ความดีก็ดีของเขา แล้วความดีของเราล่ะ ถ้าความดีของเรา เรามีสติปัญญาของเรา ถ้าเรามีสติปัญญาของเรา เรารักษาใจของเราได้ ถ้าเรารักษาใจของเรา เราใช้ปัญญาทางโลกนี่แหละ ใช้ปัญญาทางโลก แต่ถ้าผู้นำนะ ถ้าเราไม่ใช้ปัญญาจากทางโลก เราจะเริ่มต้นที่จุดใด ความดีของคนอื่นมันก็เป็นความดีของเขา ความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ความดีของหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ท่านก็นิพพานไปหมดแล้ว แต่ท่านมารื้อค้นเป็นข้อวัตรปฏิบัติ เป็นแบบอย่างให้เรากระทำตาม ถ้าเป็นแบบอย่างให้เรากระทำตาม ถ้าเราทำขึ้นมา มันก็จะเป็นประโยชน์ เป็นความดีของเราไง

ถ้าเราทำใช่ไหม มันก็เป็นความดีจากภายในของเรา ถ้าเราได้ความดีของเรา เราได้อะไร? เราได้ความสงบระงับ ความดีของเราหมายความว่าเราก็ทำจากโลกๆ นี่แหละ นี่เขาเอาโลกประพฤติปฏิบัติ แล้วเขาได้แค่สุขภาพจิตดี แต่เขาไม่มีสุขภาพธรรม ไม่มีสุขภาพธรรมเพราะผู้นำไม่ให้ทำลึกซึ้งไปกว่านี้ ถ้าความลึกซึ้งไปกว่านี้

เพราะเวลาร่างกายเราเห็นกันได้ ตัวสูง ต่ำ ดำ ขาว เราเห็นกันได้ แต่เราไม่รู้ว่าเขาคิดอะไร เราไม่รู้ความรู้สึกนึกคิดของเขาหรอกว่าเขาคิดสิ่งใดอยู่ ฉะนั้น เวลากิเลสมันอยู่ที่ความรู้สึกนึกคิด มันไม่ได้อยู่ที่รูปที่เราจับต้องได้ ทีนี้เราเกิดเป็นมนุษย์ มันเป็นรูปที่เราจับต้องได้ เรารู้เราเห็นได้ แต่กิเลสมันเป็นนามธรรม ถ้ากิเลสเป็นนามธรรม กิเลสมันอยู่ในความคิดของเรา

ถ้ากิเลสอยู่ในความคิดของเรา เราเชื่อมั่นในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราเชื่อมั่นในพุทธศาสนา เราเชื่อมั่นว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่าท่านเป็นพระอรหันต์ ท่านเป็นศาสดา ท่านเป็นคนวางธรรมวินัยให้เราก้าวเดิน ถ้าเราก้าวเดิน เพราะเรามีความเชื่อมั่น เราถึงอยากจะประพฤติปฏิบัติ เราถึงจะพ้นจากทุกข์ ถ้าเราจะพ้นจากทุกข์ เราจะทำปฏิบัติไปโดยโคที่ตาบอด โคที่ไม่มีประสบการณ์เลย ก็เอาตำรามากางกัน แล้วก็บอกว่าปฏิบัติตามโลกๆ ปฏิบัติตามวิพากษ์วิจารณ์ธรรม แต่ตัวเองไม่ได้ธรรม

ถ้าทำแล้วมันได้ผล ผลเพราะอะไร ผลเพราะธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่วางธรรมและวินัยนี้ไว้ เวลาประพฤติปฏิบัติตามไป นี่สุขภาพจิตดี สุขภาพจิตดีก็ตาย ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ถ้าทำ ทำด้วยการลูบๆ คลำๆ มันก็ได้ธรรมะลูบๆ คลำๆ แล้วก็สุขสบายดี สุขสบายดีโดยที่ว่าไม่ได้ลงทุนลงแรง นี่ทำโดยโลก แต่เวลาครูบาอาจารย์เราบอกว่าให้กำหนดพุทโธ ให้ทำความสงบของใจ ให้ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ นี่เป็นโลกไหม? ก็เป็นโลก แต่เป็นโลกโดยที่จะก้าวข้ามมันไป จะก้าวข้ามมันไปเพราะอะไร

ถ้าเราทำความสงบของใจเข้ามานะ ถ้าจิตใจมันสงบได้ จิตใจก่อนที่จะสงบ แล้วแต่จริตนิสัย ถ้าคนทำความสงบได้ แล้วมีหลักมีเกณฑ์ จะทำความสงบได้บ่อยๆ ครั้ง จนจิตเป็นสมาธิ แต่ถ้าคนทำความสงบของใจเข้ามาแล้วไม่มีหลักมีเกณฑ์ ทำด้วยความปัญญาอ่อนด้อย ทำด้วยความสะเพร่า ทำด้วยความสุกเอาเผากิน มันจะล้มลุกคลุกคลาน ถ้าล้มลุกคลุกคลานขึ้นมา ครูบาอาจารย์ของเราถึงวางข้อวัตรปฏิบัติไว้ให้สิ่งนี้เป็นที่เกาะเกี่ยว เวลาจิตมันล้มลุกคลุกคลานแล้วอย่าให้มันไหลไป อย่าให้มันไหลไปตามกิเลสว่า “เราหมดอำนาจวาสนา เราทำแล้วมันไม่ได้ผล ทำไมคนอื่นเขาเป็นคนดี ทำไมเราเป็นคนชั่ว” เห็นไหม เวลากิเลสมันคิดในใจนะ นี่นามธรรมมันคิดอยู่ในใจ

ฉะนั้น ครูบาอาจารย์ถึงวางข้อวัตรไว้ วางข้อวัตรไว้ตั้งแต่ตื่นนอนขึ้นมา เราจะทำข้อวัตร วัตรในโรงธรรม วัตรในศาลาโรงธรรม วัตรออกบิณฑบาตเป็นวัตร นี่มีข้อวัตรปฏิบัติให้จิตมันเกาะไว้ ถ้ามันทำแล้วมันไม่ได้ผลขึ้นมา ให้จิตมันเกาะไว้ ถ้าจิตมันเกาะไว้ มันมีสติปัญญาของมัน เห็นไหม เราเลี้ยงชีพด้วยปลีแข้ง นี่เลี้ยงชีพด้วยร่างกายนะ แล้วถ้าเราจะเลี้ยงหัวใจ เราจะมีสติปัญญาขนาดไหน

ถ้ามันทำของมันขึ้นมา ถ้าจิตมันสงบนะ ถ้าจิตมันสงบ จิตของคน เวลาสงบระงับไปแล้ว มันจะรู้มันจะเห็นของมัน ถ้าเวลาจิตสงบแล้ว ถ้าเห็นกายนะ ดูสิ เขาบอกรู้ตัวทั่วพร้อม เขาก็เห็นกาย เห็นกายแล้วทำอย่างไรต่อ

เห็นกาย เห็นโดยอุปาทานก็มี เห็นโดยตามความเป็นจริงก็มี เห็นโดยจินตนาการก็มี ถ้ามันจะจินตนาการนะ มันเป็นโลกๆ ทั้งนั้นเลย แต่เพราะเรามีโคนำฝูง เพราะเรามีหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น เรามีครูบาอาจารย์คอยประคอง คอยบอก คอยชี้ คอยแนะ ถ้าคอยบอก คอยชี้ มันจะเข้าสู่ทาง ดูสิ เด็กเวลามันลงสู่น้ำ มันกล้าลงไหม? จะลงน้ำ มันก็ไม่กล้าลง แต่เวลาสัตว์นะ สัตว์ที่มันย้ายถิ่น เวลามันย้ายถิ่นเพื่อหาอาหารของมัน มันไปของมันนะ มันต้องย้ายถิ่นเพื่อชีวิตของมัน

แต่นี่ในการประพฤติปฏิบัติ ละล้าละลัง ทำสิ่งใดก็ทำไม่ได้ จะทำสิ่งใดก็กลัวผิดพลาด ผิดพลาดไปหมด แต่ถ้าเรามีครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์ท่านผ่านวิกฤติอย่างนี้มาแล้วแหละ จิตนะ จิตของคนที่มันจะสงบ เวลามันลงแล้ว มันอยู่ที่จริตนิสัย มันจะลงนิ่มนวล มันจะลงด้วยความตกจากที่สูง หรือมันจะสงบระงับมาโดยที่ไม่มีสิ่งใดเลย หรือก่อนจะสงบระงับ มันออกรู้สิ่งใด ออกรู้นะ ออกรู้ออกเห็น เพราะมันเกิดผลกระทบไง นี่มันอยู่ที่จริต มันอยู่ที่เวรที่กรรม ถ้าเวรกรรม แล้วครูบาอาจารย์จะแก้อย่างไร จะรักษาอย่างไรให้มันมีมาตรฐาน

มันมีมาตรฐานเดียวนะ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ขณิกสมาธิมันเกิดได้ มันเกิดได้ พอเกิดขึ้นมาแล้วมันก็คลายตัวออกมา ถ้าอุปจารสมาธิ ถ้ามีครูบาอาจารย์คอยชี้คอยแนะ อุปจาระตรงนั้น อุปจาระโดยรอบของจิต ถ้าโดยรอบของจิต มันจะวิปัสสนาตรงนั้น ปัญญามันจะเกิดตรงนั้น ถ้าปัญญาเกิดตรงนั้น มันจะเกิดสุขภาพธรรม ถ้าธรรมมันมีสุขภาพแข็งแรงขึ้นมา มันมีสมาธิ เห็นไหม สมาธิธรรม

แล้วเวลาฝึกหัด อุปจาระนี่ให้มันเกิดปัญญาธรรม ถ้าปัญญาธรรม มันเป็นปัญญาของจิตดวงนั้น มันเป็นปัญญาของปฏิสนธิจิต ปฏิสนธิจิต เพราะจิตมันสงบเข้ามา แล้วมันมีวงรอบของมัน มันออกรู้ของมัน ถ้าเรากำหนดพุทโธๆ แล้วมีสติปัญญาเข้าไป จนเข้าสู่อัปปนาสมาธิ ก็เข้าไปพัก อัปปนาสมาธินะ สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่านะ มีความสงบร่มเย็น เข้าไปพัก

เวลาคนปฏิบัติขึ้นมาบอกว่า “อยากจะเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม จิตสงบแล้วไม่รู้ไม่เห็น” ถ้าไม่รู้ไม่เห็น ทำให้มันลึกเข้าไป เวลาพักเข้ามา เข้าสู่อัปปนาสมาธิ มันเข้าไปถึงข้อมูลเลย เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ บุพเพนิวาสานุสติญาณ กำหนดตั้งแต่ปฐมยาม จิตสงบเข้ามา มันเข้าไปสู่ข้อมูลเดิมของจิต ถ้าจิตเข้าไปสู่ข้อมูลเดิม ข้อมูลมันจะไปรื้อค้นขึ้นมา ถ้ารื้อค้นอย่างนี้ขึ้นมา บุพเพนิวาสานุสติญาณ มันจะไม่มีที่สิ้นสุด เพราะการเกิดการตายของจิตมันไม่มีต้นและไม่มีปลาย อันนี้มันเป็นอดีต เพราะไปรู้เรื่องอดีต นี่ดึงกลับมา

พอดึงกลับมา กำหนดจิตให้เป็นปัจจุบัน พอเป็นปัจจุบัน กำลังของจิตมันเกิดขึ้นมา เพราะกำลังของจิตมันมีมากขึ้น สัมมาสมาธิมันมีกำลัง จุตูปปาตญาณ มันก็ไปอีกแล้ว จิตไปเกิดที่ไหน ไปที่ไหน เห็นไหม ถ้าอย่างนี้มันก็ไม่จบ มันไปอนาคต เพราะจิตมันจะไปเกิดข้างหน้า จากอดีตที่มากับอนาคตข้างหน้า มันไม่ใช่ ก็ดึงกลับมา ดึงกลับมาด้วยสตินะ มีสติแล้วน้อมมา มันก็กลับมาสู่ใจ

พอกลับมาสู่ใจ เวลาปัจฉิมยาม อาสวักขยญาณที่เกิดปัญญา นี่ปัญญามันเกิดมาอย่างไร ปัญญาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าอาสวักขยญาณที่มันเกิดขึ้นมา มันทำลาย นี่ไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านประพฤติปฏิบัติขึ้นมา มันเป็นความจริงขึ้นมา มันไม่ใช่ทางวิชาการที่มาวิพากษ์กันอยู่อย่างนั้นน่ะ ถ้าวิพากษ์กันอยู่อย่างนั้น แล้วมันได้อะไรขึ้นมาล่ะ ถ้ามันได้ทางโลก มันก็สุขภาพจิต เพราะมันไม่ลงสู่สมาธิ แต่ถ้าของเรา เราจะทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าทำความสงบของใจนะ แล้วเมื่อไหร่มันจะใช้ปัญญา

การใช้ปัญญานี่ไม่มีขอบเขต เวลาทำสมาธินะ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ สมาธิมันมีขั้นตอนของมัน สมาธินี่น้ำล้นแก้ว น้ำเต็มแก้ว เห็นไหม ชาล้นถ้วย มากกว่านั้นมันก็ล้นไป ถ้ามันทำได้ระดับนั้น เราต้องออกฝึกหัดใช้ปัญญาแล้ว แล้วเวลาใช้ปัญญา ถ้ามีสัมมาสมาธิ ถ้ามีหลักมีเกณฑ์ เวลามันใช้ปัญญาไป นี่อุปจารสมาธิ อุปจาระเวลามันออกรู้ ออกรู้อย่างไร ถ้าออกรู้นะ มันออกรู้โดยที่มีสัมมาสมาธิ มีสติ มีปัญญา แล้วออกรู้ คนที่ออกรู้ด้วยสติปัญญา ด้วยความพร้อมน่ะ มันจะลงน้ำ จะข้ามวังน้ำวน มันจะมีสัตว์ร้าย มันจะมีสัตว์คอยทำร้ายเรา แต่เรามีสติปัญญา เรามีอาวุธพร้อมที่จะต่อสู้ ที่จะผ่านลำน้ำนี้ออกไป

แต่ถ้ามันรู้ตัวทั่วพร้อม รู้ตัวทั่วพร้อม มันรู้เห็นกาย เห็นกายรู้กาย แล้วทำอย่างไรต่อไป? ละล้าละลังทำไม่ได้ น้ำก็ไม่กล้าลง ถ้าลงไปแล้วมันเป็นสมถะ ลงไปแล้วมันจะติดนิมิต มันเกิดขึ้นมาแล้วมันจะไม่เป็นประโยชน์ นี่ไง มันจะลงก็ไม่กล้า ไอ้จะถอยหรือก็เห็น ไอ้จะบอกว่ามันไม่มีนิมิต มันไม่รู้เห็นสิ่งใด มันก็รู้ เพราะจริต ถ้าจริตมันเป็น มันก็เป็นของมันอย่างนั้น นี่ไง เพราะหัวหน้าฝูงมันโง่ เพราะหัวหน้าฝูงมันไม่รู้จักจริตของใจ เพราะหัวหน้าฝูงไม่รู้ที่มาของปฏิสนธิจิตว่ามันเวียนตายเวียนเกิดมาอย่างใด

ถ้ามันเวียนตายเวียนเกิดมา มันมีการกระทำของมันมา ถ้ามันเป็นสิ่งใด ต้องแก้ไขตามสิ่งนั้น ใครปลูกมะม่วง มันก็ได้มะม่วง ใครปลูกทุเรียน มันก็ได้ทุเรียน ใครปลูกเงาะ มันก็ได้เงาะ ใครทำเวรกรรมมาสิ่งใด มันจะออกมา ถ้าเราจะใช้ปัญญาของเรา มันใช้ปัญญาของเรา เราต้องเข้าไปเผชิญกับมัน

ปลูกเงาะ แล้วเวลาออกเงาะมา รู้จักรักษาไหม ปลูกทุเรียน เวลาออกทุเรียนมา ได้รดน้ำพรวนดินมันไหม ปลูกทุเรียนมา ปลูกแต่ทุเรียน ไม่มีผลเลย ทุเรียนไม่มีผล ปลูกเงาะมันก็มีแต่ใบเงาะ ไม่มีลูกเงาะเลย นี่ก็เหมือนกัน เราจะมีสติปัญญารักษาใจเราไหม ถ้าเรามีสติรักษา เราจะปลูกเงาะ เราก็ต้องดูแลรักษานะ ต้องหมั่นพรวนดิน หมั่นดูแลเพื่อจะได้ผลขึ้นมา ปลูกทุเรียน เราก็ต้องมีแหล่งรดน้ำพรวนดินมันขึ้นมา จะเป็นผลไม้ของใคร เป็นจริตนิสัยของใคร มันก็ต้องดูแลรักษานั้น ถ้าจิตมันสงบระงับเข้ามา มันมีสติปัญญาเข้ามา มันจะเป็นผลนั้น จริตไง

นี่ไง ถ้าครูบาอาจารย์ท่านมีประสบการณ์ของท่าน โคนำฝูงจะพาฝูงโคนั้นออกจากวังน้ำวน จะพาขึ้นฝั่ง ถ้าพาขึ้นฝั่ง เวลาจิตสงบแล้วมันรู้อะไร นี่ไง มันกระเทือนนะ เวลาเราไปเจอหน้ากิเลส เวลาเราไปเห็นมัน มันจะต่อรอง เห็นไหม ลูกกิเลส หลานกิเลส พ่อกิเลส ปู่กิเลส กิเลสมันมีหยาบมีละเอียดขึ้นไป กิเลสมันจะโง่ขนาดที่ว่าเดินเข้ามาชนหน้าเรา แล้วให้เราจัดการมัน เป็นไปได้ไหม? มันเป็นไปไม่ได้ มันเป็นไปไม่ได้ แล้วกิเลสเป็นอย่างไร กิเลสเป็นยักษ์ กิเลสเป็นมาร กิเลสเป็นอย่างไรล่ะ

กิเลสมันก็เป็นความพอใจเรานี่แหละ กิเลสมันก็ทำให้เราหลงนี่แหละ มันคิดก่อนเราหนึ่งก้าว “จะทำสิ่งใด สิ่งนั้นไม่เป็นผล สิ่งนั้นไม่เป็นประโยชน์กับเรา สิ่งนั้นไม่มีอะไรดีเลย” แต่เวลากิเลสมันจะพาให้เลิกนะ พาไม่ให้ปฏิบัติ “โอ้! สิ่งนั้นสุดยอด” เห็นไหม เราไม่ทันมันเลย แต่ถ้าเราจะทันมันล่ะ

ครูบาอาจารย์ท่านเคยผ่านอย่างนั้นมา เราถึงจะต้องเข้มแข็งไง จะต้องมีสัจจะ ถ้าเรามีสัจจะของเรา เราปฏิบัติของเราขึ้นมา เรามีสัจจะใช่ไหม เรามีสัจจะว่าเราจะนั่งเท่าไร เราจะทำเท่าไร เราจะทำอย่างใด เราทำของเรา แล้วผลที่มันเกิดขึ้น นั่นโคนำฝูง นำฝูงโคลงสู่แม่น้ำ จะข้ามวังน้ำวน จะขึ้นไปอยู่ฝั่งนู้น เวลาจิตมันประสบไง จิตมันรู้มันเห็น นี่ไง สัตว์ร้ายมาแล้ว มันทำให้เราไขว้เขวนะ มันทำให้เราละล้าละลังนะ จะเดินหน้าก็ไม่กล้า จะถอยหลังก็ไม่ทำ จะถอยหลังก็กลัวจะไม่ได้ ไอ้จะไปข้างหน้าหรือ เราก็ละล้าละลัง เราทำสิ่งใดไม่ได้

แต่ถ้ามีครูบาอาจารย์ เห็นไหม ให้มั่นคง ทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าใจมันสงบนะ เวลาฝึกหัดใช้ปัญญา ฝึกหัดใช้ปัญญานะ ปัญญานี่ออกฝึกหัดใช้ พอจิตมันสงบแล้วฝึกหัดใช้ปัญญา ปัญญาในชีวิต ปัญญาในการดำรงชีวิตเรา ปัญญาในความทุกข์ของเรา ใคร่ครวญอย่างนี้ไป พอใคร่ครวญบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า พอใคร่ครวญด้วยสัมมาสมาธิ ด้วยมีสมาธิรองรับนะ ปัญญานี้จะแหลมคม พอปัญญามันแหลมคม มันคิดสิ่งใด มันจะฉีกขาด ฉีกขาดออกไปด้วยกำลังของสมาธิ ด้วยกำลังของปัญญา คำว่า “ฉีกขาด” คือฉีกสิ่งที่มันติดข้องอยู่ในหัวใจ มันปล่อยได้ มันวางได้ พอวางได้ มันจะเกิดความมหัศจรรย์

ถ้าปัญญาที่มันมีสัมมาสมาธิรองรับ ถ้าเราใช้เป็นนะ เราจะเกิดความมหัศจรรย์ว่า ทำไมมันคิดได้อย่างนี้ ทำไมมันเวิ้งว้างขนาดนี้ ทำไมมันสลัดได้หมดเลย ทำไมทุกอย่างนี่เราปล่อยวางได้ แต่ถ้าสมาธิมันไม่ดีนะ เราก็คิดเหมือนกัน ทำไมมันละล้าละลัง ทำไมมันทำแล้วมันไม่ได้ผล ทำไมเราทำแล้วเราห่วงหน้าพะวงหลัง นี่ไง ละล้าละลังอย่างนั้นน่ะ

ถ้ามีครูบาอาจารย์นะ ท่านบอกว่าให้วางให้ได้ แล้วกลับมาทำความสงบของใจ คือมีดมันได้ใช้สอยมามาก มันทื่อ มันไม่คมกล้า เราต้องวาง แล้วมีดนั้นเราต้องกลับมาลับ ลับด้วยพุทโธ ลับด้วยปัญญาอบรมสมาธิ เราพยายามมาลับ มาดูแล มาดูมีดของเรา ดูอาวุธของเรา ถ้าอาวุธของเรา มันทำความสงบของใจ

ฉะนั้น เวลามีกิเลสนะ เวลามันทำความสงบของใจ มันก็ทำได้ยาก ละล้าละลังนัก เวลามันออกไปใช้ปัญญา มันได้ผลของมันใช่ไหม พอได้ผลของมัน มันก็กลับมาติสมาธิ “สมาธิไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย ทำให้แค่มีกำลัง ตอนนี้เกิดปัญญาแล้วก็จะใช้ปัญญา ปัญญามันคมกล้า อยากจะใช้ปัญญาให้มากขึ้นไป” เห็นไหม นี่ความไม่สมดุล ความที่เราไม่มีครูมีอาจารย์ เราจะทำละล้าละลัง ทำแล้วล้มลุกคลุกคลาน

แต่ถ้ามีครูบาอาจารย์นะ เอ็งทำไปเหอะ ถ้าสมาธิเอ็งไม่มั่นคงนะ เอ็งทำไปแล้วนะ เอ็งเสียเวลา แล้วยิ่งใช้มาก ยิ่งใช้ปัญญามาก ความทื่อของมีด ความทื่อของการกระทำนั้นมันยิ่งจะไม่ได้ผล กว่าจะรู้ตัวนะ มีดมันเหลือแต่ด้าม หามีดไม่เจอ แต่ถ้ามีครูบาอาจารย์เขาบอกนะ มีดเราเอากลับมาลับก่อน เดี๋ยวกลับไปจะใช้ประโยชน์ได้มาก นี่เวลาครูบาอาจารย์เตือนแนะ เราก็ไม่ค่อยเชื่อ เพราะเราเชื่อประสบการณ์ของเรา เวลามันไม่เกิดปัญญาก็ทุกข์มาก เวลามันเกิดปัญญา มันก็ได้ผลอยู่นี่ไง แล้วปัญญาเท่านั้นมันจะไปฆ่ากิเลส ก็รีบมุมานะขวนขวายใช้ปัญญา

พอใช้ปัญญาไป มรรคสามัคคี ดำริชอบ งานชอบ เพียรชอบ สมาธิชอบ สติชอบ แล้วความชอบธรรม เห็นไหม ดูสิ วัตถุที่เป็นความชอบธรรม ตาชั่ง เวลาเขาชั่งมันยังเอียงเลย แล้วนี่อารมณ์ของเรามันเป็นนามธรรม มันยิ่งแกว่ง มันยิ่งเอียง มันแกว่งเลย มันแกว่งหนักหน่วงไปข้างใดข้างหนึ่ง มันก็เป็นอัตตกิลมถานุโยค กามสุขัลลิกานุโยค ไปข้างใดข้างหนึ่ง มันไม่ลงมัชฌิมาปฏิปทาความพอดีของมัน ความพอดีมันอยู่ที่ไหนล่ะ? ความพอดีก็อยู่ที่การฝึกฝนนี่ไง อยากลองผิดลองถูก แล้วมีครูบาอาจารย์คอยชี้ คอยแนะ คอยดึง คอยดึงนะ

ถ้ามันไม่ดึง หนึ่ง เราเสียเวลา ทำผิดทำพลาดขึ้นมาแล้วมันจะพิสูจน์กันอย่างใด แล้วเวลามันล้มลุกคลุกคลานนะ มันก็จะน้อยใจ มันก็จะน้อยใจนะ ดูสิ ทำดีขนาดนี้ เวลาเกิดสมาธิ เกิดปัญญาขึ้นมา กว่าจะหามาก็แทบเป็นแทบตาย เวลาใช้ไปแล้วนี่มันหายไปไหนหมดเลย เสื่อมหมด

ในการประพฤติปฏิบัติ จิตมันมีเจริญแล้วเสื่อม เสื่อมแล้วเจริญ เจริญแล้วเสื่อมก็ยังดีนะ มันยังมีเจริญบ้าง แต่ถ้ามันไม่เจริญ มันเอาอะไรไปเสื่อม มันไม่เสื่อม ไม่มีจะให้เสื่อมตั้งแต่ต้นเลย เพราะอะไร เพราะปฏิบัติโดยโลก ปฏิบัติโดยสุขภาพจิต ไม่มีสุขภาพธรรม ถ้ามีสุขภาพธรรม ธรรมมันเหนือโลก ธรรมเหนือโลกเพราะอะไร เพราะธรรมนี้มันชำระล้างโลกนะ โลกทัศน์ มันชำระล้างหัวใจนี้ให้พ้นไปจากโลก

ดูสิ ธรรมโอสถๆ โอสถทางโลกเขา ยาสมุนไพร ยาต่างๆ เขาไว้ใช้รักษาโรคภัยไข้เจ็บ ธรรมโอสถมันจะชำระล้างภพชาติ ถ้ามันจะชำระล้างภพชาติ แล้วธรรมโอสถ มันจะไปหาในพระไตรปิฎก หาที่ไหนก็ไม่เจอ สมาธิมันต้องเกิดจากหัวใจ สติ สมาธิ ปัญญาเกิดจากการกระทำของเราทั้งนั้น สดๆ ร้อนๆ กิเลสนี่สดๆ ร้อนๆ มันทุกข์อยู่นี่ มันเผาหัวใจอยู่นี่สดๆ ร้อนๆ จะเด็กอ่อน จะวัยกลางคน จะแก่เฒ่าชราขนาดไหน มันก็เผาลนใจอยู่สดๆ ร้อนๆ มันไม่เคยล้าสมัยเลย แล้วถ้าเราจะทำให้มันทัน เราก็ต้องมีศีล สมาธิ ปัญญาของเราขึ้นมา ไปหาเอาจากตำราไม่มี ไปหาจากครูบาอาจารย์ก็ไม่มี ถ้าไม่เกิดจากการฝึกฝนของเราขึ้นมา แล้วถ้ามันฝึกฝนขึ้นมา ฝึกฝนอย่างไร

เวลาฝึกฝนนะ เวลามันจะล้มลุกคลุกคลาน เราใช้ปัญญา การใช้ปัญญานี่มันฝึกหัด นักกีฬาทุกชนิด ถ้าเขาไม่มีการฝึกฝนขึ้นมา ไม่ใช้เทคนิค ไม่ซ้อมเทคนิคของเขา เขาลงไปแข่งขัน มีแต่วันแพ้กับแพ้ นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อเราจะฝึกหัดของเราขึ้นมา เราฝึกหัดใช้ปัญญา ปัญญาที่มันฝึกหัดใช้นะ พอใช้แล้ว ถ้ามีสติมีปัญญา มีสติมีสมาธิ นี่ฝึกหัดใช้ แล้วพอใช้แล้ว มันใช้ไปแล้วมันฟั่นเฝือ เรากลับมาทำความสงบของใจ ฝึกหัดใช้อย่างนี้ พอฝึกหัดใช้นี่ปัญญามันจะเกิด นี่ภาวนามยปัญญาจะเกิดจากสัมมาสมาธิ ถ้าไม่มีสัมมาสมาธิรองรับ ปัญญานั้นเป็นโลกียปัญญา โลกียปัญญาคือปัญญาเกิดจากสัญชาตญาณ ปัญญาเกิดจากจิต ปัญญาเกิดจากอวิชชา เพราะความไม่รู้ แต่ถ้ามันมีสติมีปัญญาขึ้นมา มีสติมีสมาธิขึ้นมา ปัญญามันจะวิชชา

อวิชชาคือความไม่รู้เนื้อไม่รู้ตัว แล้วคิดไปโดยสัญชาตญาณ แต่ถ้าเป็นวิชชาล่ะ วิชชา เห็นไหม วิชชาเกิดจากศีล เกิดจากสติ สมาธิ แล้วเกิดปัญญาของเราเป็นวิชชา วิชชาเพราะอะไร วิชชาเพราะเรารื้อค้น เราใช้ของเรา แล้วพิจารณาไป ผลของมัน มันจะปล่อยวางเข้ามา นี่ธรรมโอสถ มันจะรู้พร้อมเข้ามา ถ้ารู้พร้อมเข้ามา นี่ไง สุขภาพธรรม สุขภาพธรรมเพราะเรารู้ เห็นไหม

เราจะลงสู่แม่น้ำ เราจะข้ามวังน้ำวน แรงดึงดูดของแรงน้ำ มันดูดเราลงไปแรงขนาดไหน พอดูดไปแล้วมันมีงูมีสัตว์ร้ายเข้ามาคอยฉกคอยกัด มันได้แผลนะ มันได้แผลมา ทำไมมันเจ็บปวดขนาดนี้ นี่ก็เหมือนกัน เวลากิเลสมันฉุดกระชากนะ ทำให้ความเพียรของเราพลิกฟ้าคว่ำดิน ทำให้ความเพียรของเราล้มลุกคลุกคลาน อารมณ์อย่างนี้ทำไมมันทุกข์ยากอย่างนี้

เวลาเราต่อสู้ เราพลิกแพลงของเรา เราพ้นจากวังน้ำวนนั้นออกไปรอบหนึ่งๆ เราใช้ปัญญาพิจารณาของเรา มันพ้นออกมา มันพ้นออกมาด้วยอะไร พอพ้นออกมา พ้นจากแรงดึงดูดของน้ำ ไม่มีอะไรดูดเราลงไปแล้ว เราตะเกียกตะกายออกมาจากแรงดึงดูดของมัน สัตว์ร้ายที่มันจะตามมาทำร้ายเรา เรามีไม้มีอาวุธต่างๆ ผลักไส กันมันออกไป นี่เรารักษาตัวเรา รักษาแผล รักษาต่างๆ ให้มันเป็นขึ้นมา นี้เป็นบุคลาธิษฐาน มันเป็นรูปธรรม แต่ถ้าเป็นปัญญาล่ะ? เป็นนามธรรม ถ้าเป็นกิเลสล่ะ? มันเป็นความรู้สึกนึกคิดหมด ฉะนั้น ถ้าสติปัญญาเราไวขึ้นมา มันจับต้องนะ มันเห็นของมัน มันแยกแยะของมัน แยกแยะนี่เป็นอย่างนี้เลย

เวลาหลานพระสารีบุตรจะไปต่อว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเอาตระกูลของพระสารีบุตรมาบวชทั้งหมดเลย จะไปต่อว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะว่า “ไม่พอใจสิ่งต่างๆ ไม่พอใจสิ่งต่างๆ”

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้หมดแล้วแหละ แต่ในเมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรมานไง “ถ้าเธอไม่พอใจสิ่งต่างๆ เธอต้องไม่พอใจอารมณ์ความรู้สึกของเธอด้วย เพราะอารมณ์ความรู้สึกของเธอก็เป็นวัตถุอันหนึ่ง” เป็นวัตถุนะ นี่ถ้าจิตเราสงบระงับ จิตเรามีสัมมาสมาธิ ความคิด อารมณ์ความรู้สึกเป็นวัตถุอันหนึ่ง เราจับได้นะ จับอย่างไร

จิตสงบแล้วจับอารมณ์ความรู้สึก รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อารมณ์เป็นรูป รูปมันมีเวทนา มีสัญญา มีสังขาร ความคิด ความปรุง ความแต่ง มีวิญญาณรับรู้ในอารมณ์นั้น เห็นไหม อารมณ์ความรู้สึก เพราะมีวิญญาณรับรู้ในอารมณ์

อารมณ์ เห็นไหม “รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร” เห็นไหม “รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมาร” เพราะรูป รส กลิ่น เสียงมันกระตุ้น มันเป็นบ่วง มันเป็นพวงดอกไม้แห่งมารที่มาคล้องหัวใจเรา แล้วหัวใจมันก็โง่ มันก็ไปตามเขาหมด พอไปตามเขาหมด หัวใจมันก็ร้อนรน หัวใจมันก็ว่างเปล่า สิ่งที่มันเป็นอารมณ์ความรู้สึก ถ้าเรามีสติมีปัญญา เราทำความสงบของใจเข้ามา มันจับได้นะ มันจับได้

ถ้าจิตสงบ จิตสงบแล้วพิจารณา “จิตเห็นอาการของจิต” จิตเห็นอาการ ความรู้สึกนึกคิดนี้เป็นอาการ อาการนี้เกิดจากอะไร? เกิดจากจิต อาการนี้เกิดจากจิต เกิดจากภวาสวะ เกิดจากภพ แล้วถ้าเราทำความสงบของใจ ใจมันสงบระงับเข้ามา มันสั่นไหวอย่างไร มันจับได้ ถ้ามันจับได้ จับอาการความรู้สึก ถ้าจับอาการความรู้สึก นี่ไง มันเป็นวัตถุอันหนึ่ง ถ้ามันจับได้ มันพิจารณาของมันได้นะ นี่ไง มันเกิดงาน มันเกิดวิปัสสนา

ที่ว่า “ใช้ปัญญาแล้วเป็นวิปัสสนา ใช้ปัญญาแล้วเป็นวิปัสสนา”...ปัญญาอะไร ไอ้นั่นมันสุขภาพจิต มันเรื่องโลกๆ มันเป็นเรื่องจินตนาการ มันไม่มีผลตอบรับ มันไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อเท็จจริงสิ่งใดเป็นผลงานเลย แต่เพราะเรามีครูบาอาจารย์ที่เป็นจริง หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์ของเราท่านเป็นจริง ท่านผ่านมาก่อน ท่านรู้ เราดูคนทำงานสิ คนทำงานไม่เป็นทำอะไร เรารู้แล้วว่าคนทำงานถูกหรือทำงานผิด

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราใช้ปัญญาของเรา ปัญญาที่เวลามันแยกแยะขึ้นมา ถ้าเป็นสัญญานะ เป็นสัญญาเทียบเคียง นี่เรื่องโลกๆ รู้ได้ แต่ถ้าใครไปจับได้ ความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิร้อนและเย็น เวลาความเย็น น้ำเย็นเราดื่มแล้วเราก็มีความร่มเย็นเป็นสุข น้ำร้อนล่ะ ดื่มน้ำร้อนต้องระวังมันลวกปากนะ ถ้าน้ำร้อน แต่น้ำร้อนมันเพื่อสุขภาพร่างกายนะ

นี่ก็เหมือนกัน พอเวลาจิตมันเห็นความจริงของมัน เห็นอาการของมัน ถ้ามันจับได้ ถ้าจับได้ นั่นน่ะมันจะเข้าสู่งานแล้ว เข้าสู่งานอะไร? เข้าสู่งานวิปัสสนา ถ้าวิปัสสนา นี่สติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม ถ้าจิตสงบระงับ มันจะเป็นความจริงขึ้นมา ถ้าจิตไม่สงบระงับ นี่เรื่องโลกๆ เรื่องโลกๆ เรื่องสุขภาพจิต เพราะเรื่องโลก เรื่องโลกนะ ไม่กล้าถลำไปนะ ถ้าถลำลงไปสู่สมาธิ ถลำไปสู่การวิปัสสนา ลงน้ำ จะข้ามสู่วังน้ำวน ไม่กล้า ทำไม่ได้ เพราะอะไร เพราะไม่มีใครเคยเดินไป

ในฝูงโคที่ไม่รู้ ในฝูงโคที่มืดบอด ไม่กล้าลงน้ำ จะอยู่บนพื้นดินคอยเล็มหญ้ากินไปเท่านั้น ถ้าเล็มหญ้ากินอยู่ฝั่งของวัฏฏะ มันก็เป็นผลของสุขภาพจิต ผลของวัฏฏะ ผลของโลก ไม่มีผลของธรรม ถ้าผลของธรรมนะ มันข้ามฝั่ง มันลงสู่น้ำ มันจะมีการกระทำ

แล้วลงสู่น้ำ ใครว่ายน้ำไม่เป็นลงไปก็ตายหมด ถ้าจิตไม่สงบระงับจะลงไปที่ไหน เอาที่ไหนมาลง นี่ไง เวลาจิตมันสงบแล้ว ถ้าไม่เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม เพราะกิเลสเป็นนามธรรม กิเลสนี้เป็นนามธรรม แต่กิเลสนี้ออกหากินด้วยอาการของใจ นี่ธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ ขันธ์นี่ ความรู้สึกนึกคิดนี่ กิเลสมันก็อาศัยความรู้สึกนึกคิดของเราออกไปทำกรรม ออกไปหาเหยื่อ

เวลาเราเป็นปุถุชน ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ “ขันธมาร” ขันธ์ ๕ เป็นมาร ธาตุขันธ์เป็นมารหมด เพราะอวิชชามันเป็นมาร มารมันอยู่ที่อวิชชา อยู่ที่ภวาสวะ มันทำให้ทุกอย่างเป็นมารหมดเลย แล้วเป็นมารนี่มันก็ออกหาเหยื่อ แต่ถ้าจิตมันสงบ จิตมันมีหลักมีเกณฑ์ของมัน มันเห็นของมันนะ ถ้ามันเห็นของมัน มันก็เห็นกิเลส มันก็เห็นมารไง ถ้าจิตสงบแล้วเห็นกายนะ มันจะสะเทือนหัวใจมาก ถ้าเวลาเราพิจารณากาย เวทนา เวทนานี่เวทนาโลกๆ เราจับต้องได้ เวทนานี่เราจับต้อง เวทนาเราก็ปวด เวทนาเราก็ลุกหนี เวทนาเราก็มีแต่ความทุกข์ทั้งนั้น แต่ถ้าจิตมันสงบแล้ว มันจับเวทนามาเล่นได้ เวทนามันเกิดอย่างไร

นี่ไง จิตเห็นอาการของจิต จิตสงบแล้วมันจับกาย จับเวทนา จับจิต จับธรรมมาเป็นการพิสูจน์ เพราะอะไร เพราะกิเลสมันก็อาศัยสิ่งนี้ออกไปสร้างเวรสร้างกรรม นี่เวลาเราประพฤติปฏิบัติ เราก็อาศัยสิ่งนี้ แต่มันเป็นวิชชาและอวิชชา ถ้าเป็นอวิชชาน่ะไม่รู้เรื่อง เป็นเรื่องโลกๆ แล้วลูบๆ คลำๆ นี่ถ้าเป็นอวิชชานะ

ถ้าเป็นวิชชาล่ะ วิชชาเพราะจิตมันสงบ พอจิตสงบนี่มันมีกำลังของมัน ดูสิ มือไม่มีบาดแผล จับต้องยาพิษ จับต้องสิ่งใด เอามาวิเคราะห์ได้หมด แต่ถ้ามือโชกเลือด ไม่กล้าจับแม้แต่เกลือนะ มันแสบ มันทุกข์ มันร้อน จิต ถ้ามันไม่มีสัมมาสมาธิ ไม่สงบระงับ มันมีอวิชชา มันมีความไม่รู้ของมัน ทำสิ่งใดไป สุขภาพจิตโลกๆ สุขภาพจิตคือเขาไม่ได้ทำจริงเลย แค่รู้ตัวทั่วพร้อม เรื่องของโลก เรื่องของโลกก็จัดระเบียบความคิด ความคิดนี่จัดให้มันเข้ารูปแบบเท่านั้นเอง แล้วก็อยู่มีความสุขกัน “เราเป็นชาวพุทธ เราก็ประพฤติปฏิบัติแล้ว เราก็ทำของเราแล้ว”

“แล้วมรรคผลล่ะ”

“มรรคผลไปเอาข้างหน้า ปฏิบัติเพื่อสร้างบารมี...มรรคผลเหรอ มรรคผลไม่กล้าพูดถึง”

แต่ครูบาอาจารย์ของเรานะ มรรคผลเดี๋ยวนี้ ที่ไหนมีทุกข์ ถ้ากำจัดทุกข์แล้วพ้นจากทุกข์ ที่ไหนมีทุกข์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนที่นั่น ถ้าหัวใจใครมีทุกข์ แล้วมีสติปัญญาต่อสู้กับมัน แล้วต่อสู้ด้วยวิธีการสิ่งใด ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์ นี่จะต่อสู้สิ่งใด ทุกข์ก็ไปค้นหามัน มีพระปฏิบัติมากนะ ไม่เคยเห็นทุกข์ แบกหินแบกทุกอย่างว่าจะให้เห็นทุกข์...ไม่มีทาง เขาไม่ได้เห็นอย่างนั้น

ถ้าเขาจะเห็น จิตมันสงบเข้ามาน่ะ ทุกข์อยู่ที่ไหนล่ะ? ที่เป็นทุกข์ เป็นทุกข์กันอยู่นี่ ทางโลกนี่มันอาการของทุกข์ “ทุกข์” ทุกข์มันเกิดในอะไร “ทุกข์ควรกำหนด สมุทัยควรละ” ทุกข์มันเกิด เกิดจากสมุทัย สมุทัย ความไม่รู้ พอความไม่รู้ เห็นไหม ดูสิ เราจะทำสิ่งใดก็แล้วแต่ ถ้ากิเลสมันยังไม่ตื่นนอนขึ้นมา ทำได้สะดวกทั้งนั้นน่ะ วันไหนพอกิเลสมันตื่นนอนขึ้นมา ล้มลุกคลุกคลานหมดน่ะ นั่นก็ไม่ใช่ นี่ก็ไม่ดี นั่นก็ไม่ถูกต้อง ล้มหมด แต่ถ้ากิเลสยังไม่เกิดนะ ทำอะไรก็ทำได้

นี่ไง สิ่งที่กิเลสมันเกิด นั่นล่ะคือตัณหาความทะยานอยาก คือมันถ่าย นั่นน่ะตัวทุกข์ แต่พอมันคิดแล้ว ดูสิ เวลาเราทุกข์เรายาก คิดทุกข์ยากเพราะอะไร เพราะไม่สมความปรารถนาทั้งนั้น ไม่สมความปรารถนามันเกิดจากไหนล่ะ? เกิดจากว่าเราคิด เราคิดขึ้นมาแล้ว นี่ผลของมัน มันเป็นวิบาก แล้วเราก็อยู่ที่อาการของทุกข์ เราก็ทุกข์กันอยู่นี่

แต่ถ้าจิตมันสงบ จิตมันสงบ “จิต อาการของจิต” มันจะเสวยนี่มันเห็นหมด คือมันจะไปจับต้องสิ่งใด ตีมือมันเลย ไม่ให้มันทำ ไม่ให้มันทำ ทีนี้พอจิตมันสงบแล้ว มันสงบแล้วใช่ไหม ให้มันไปจับ จับมาพิสูจน์ สิ่งที่เคยเป็นเคยมี สิ่งที่เคยทำมาน่ะถูกต้องดีจริงหรือเปล่า นี่ไง สิ่งที่เคยเป็นมา เคยคิดเคยทำมา มันก็เป็น นี่ไง มันเป็นอาการของใจ “จิต อาการของจิต” มันไปโดยสัญชาตญาณของมนุษย์ มันทำกันมาอยู่อย่างนี้ ล้มลุกคลุกคลานกันมาอยู่อย่างนี้ แล้วเวลาปฏิบัติโดยโลกๆ ก็ปล่อยวางหมดแล้ว จัดให้มันเข้าที่ก็จบ นี่สุขภาพจิต

แต่สุขภาพธรรมนะ ถ้าเรามีสติมีปัญญา จิตสงบแล้ว นี่จิตสงบ “จิตเห็นอาการของจิต” จิตเห็นกาย จิตเห็นจิต จิตเห็นธรรม ธรรมารมณ์ จิตเห็นเวทนา ถ้าจิตสงบแล้วจับเวทนาได้ ถ้าจิตเราไม่สงบ เวทนาเกิดขึ้นนี่เจ็บปวดมาก แล้วเวทนาเป็น ๒ เท่า ๓ เท่า จนเราล้มลุกคลุกคลาน ถ้าจิตสงบแล้วนะ จับเวทนา เวทนามันคืออะไร เวทนามันอยู่ที่ไหน อะไรเป็นเวทนา ธาตุเป็นเวทนาได้ไหม วัตถุมันมีความรู้สึกไหม? ไม่มี นี่ธาตุ ๔ มันมีความรู้สึกไหม

แล้วถ้าความคิดล่ะ เวทนา ความเสียใจ ความไม่พอใจ มันเป็นเวทนา เห็นไหม เวทนากาย เวทนาใจ ถ้าเวทนาทางความรู้สึก เวทนามันเกิดจากอะไร? เกิดจากความไม่รู้ ถ้าพิจารณาไล่เข้าไปนะ ไล่เข้าไปถึงที่สุดแล้วนะ มันไม่มีอะไรเลย เพราะความโง่ ความไม่เข้าใจ มันถึงมีผลตอบสนอง แต่ถ้าพอมันเข้าใจแล้วมันก็ปล่อยหมด ปล่อยแล้วปล่อยเล่า ปล่อยแล้วปล่อยเล่า พอถึงเวลามันขาดนะ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ขันธ์ ๕ เห็นไหม สักกายทิฏฐิมันขาดไป พิจารณากาย พิจารณากายจนมันปล่อย ถ้ามันปล่อย เวลามันขาดไปล่ะ มันปล่อยแล้วปล่อยเล่า พิจารณากายนี่พิจารณาอย่างไร เห็นกายอย่างไร เวลาเห็นกาย อะไรเห็น

สิ่งที่เป็นอุปาทาน เวลาพิจารณาไปโดยสุขภาพจิตนะ ถ้าจิตมันมีจริตนิสัย โดยสุขภาพ คือเขาไม่ได้คิดว่าเป็นวิปัสสนา เพราะว่าเขาบอกว่ามันรู้ตัวทั่วพร้อม มันจบแล้ว นี่กระบวนการความคิดจัดให้เรียบร้อยแล้วก็จบแล้วล่ะ แต่เพราะจริตนิสัยเขามี จะกำหนดสิ่งใด จะภาวนาอย่างใดก็แล้วแต่ ถ้ามันมีจริตนิสัยนะ มันจะมีร่องรอยของมัน ถ้ามีร่องรอยของมันนะ มันก็เห็นใช่ไหม

ถ้าเห็นของเรา ถ้ามีสติปัญญา ถ้ามีสัมมาสมาธิ ถ้าเห็นอย่างนั้นมันกระเทือนใจ มันจับต้อง มันจับให้มั่นคั้นให้ตาย มันจับได้ด้วยความชอบธรรม แต่ถ้าจิตมันไม่มีกำลังไง จิตมันไม่มีกำลังเพราะอะไร เพราะบอกว่ามันพิจารณาแล้วรู้ตัวทั่วพร้อม รู้ตัวทั่วพร้อม ว่างหมด ปล่อยวางหมด ปล่อยวางหมดแล้วเห็น เห็นแล้วทำอย่างไรต่อไป

เหมือนกับคนที่เป็นไข้ คนที่เป็นโรคภัยไข้เจ็บ แล้วรู้สิ่งที่ว่าเป็นโรคภัยไข้เจ็บ แต่แก้ไขไม่ได้ เพราะมันไม่มีกำลัง มันเป็นไปไม่ได้ ถ้าเป็นไปไม่ได้ แล้วทำอย่างไรต่อล่ะ? ก็ละล้าละลังไง ไปก็ไปไม่รอด ถอยก็ถอยไม่ได้ ไปข้างหน้าก็ไปไม่ได้ ถอยก็ถอยไม่ได้ แล้วทำอย่างไรต่อ นี่ไง เพราะอะไร

เพราะฝูงโค หัวหน้าฝูงโคนั้นไม่มีประสบการณ์ หัวหน้าฝูงโคนั้นเป็นนักวิชาการ พร่ำๆ วิพากษ์วิจารณ์แต่สิ่งนั้นมา แต่หัวหน้าโคของกรรมฐานเรา เพราะเราเป็นลูกศิษย์มีครู ครูของเราได้ประพฤติปฏิบัติมานะ ถ้าประพฤติปฏิบัติมา จากใจดวงหนึ่งสู่ใจดวงหนึ่ง ถ้าใจดวงนั้นไม่มีข้อมูลตามความเป็นจริง จะเอาข้อมูลสิ่งใด

เวลาเห็นกายก็เห็นกายเหมือนกัน เวลาเด็กมันเล่นขายของมันก็เล่นขายของ เด็กเล่นขายของคือเล่นสนุก ผู้ใหญ่ขายของทำธุรกิจ เขาทำจริงๆ เขาได้ผลตอบแทนจริงๆ จิต ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์บอก มันก็เด็กเล่นขายของน่ะ ทำอะไรลูบๆ คลำๆ ลูบๆ คลำๆ แล้วก็เอออวยกันทางสังคม สังคมก็เอออวยกัน แล้วเด็กเล่นขายของมันสนุก เด็กเล่นขายของมันพอใจของมัน สังคมปฏิบัติเราก็เล่นขายของกัน พอเล่นขายของขึ้นมา สังคมใหญ่ขึ้นมาก็บอกสิ่งนั้นถูกต้อง สิ่งนั้นถูกต้อง แต่ผู้ที่ทำความเป็นจริงขึ้นมา จะเอาความเป็นจริงขึ้นมา

แต่นี่บอก “สิ่งนั้นทำแล้วลำบากเปล่า สิ่งนั้นเป็นอัตตกิลมถานุโยค สิ่งนั้นมันเป็นสมถะที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นปัญญาขึ้นมา” แต่ถ้ามันมีความจริงขึ้นมา เด็กเล่นขายของก็เด็กเล่นขายของนะ ผู้ใหญ่ทำธุรกิจการค้า เขาต้องมีเชาวน์ปัญญา เขาต้องทำการตลาด เขาต้องตรวจสอบตลาด เขาทำทุกอย่างของเขาด้วยข้อมูลของเขา แล้วเขาต้องมีปฏิภาณของเขา เขาถึงทำให้ธุรกิจนั้นประสบความสำเร็จได้

หัวหน้าโคนำฝูงก็เหมือนกัน จะลงสู่น้ำ จะลงต่างๆ มันต้องมีปัญญาของมัน มีปัญญาพาฝูงโคนั้นขึ้นฝั่งนะ ถ้ามีปัญญานะ ดูสิ เวลาโคมันไปตามหัวหน้า หัวหน้าจะพาไปอย่างไร แล้วเวลาไป ในฝูงโคนั้น โคตัวไหนบ้างที่มันอ่อนแอ โคตัวไหนที่สุขภาพไม่แข็งแรง โคตัวไหนที่ดื้อ โคตัวไหนที่มันคอยกีดขวางไม่ให้โคตามๆ กันไป นี่หัวหน้าฝูงจะรู้ หัวหน้าฝูงจะแบ่ง หัวหน้าฝูงจะคอยกัน คอยทำให้โคแต่ละตัวมีโอกาสได้รอดขึ้นจากฝั่งไป นี้คือน้ำใจของครูบาอาจารย์ นี้คือน้ำใจของธรรม ถ้าน้ำใจของธรรม มันเป็นความจริงนะ น้ำใจของธรรม เพราะธรรม

เพราะในการประพฤติปฏิบัติ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาธัมมจักฯ เวลาพระอัญญาโกณฑัญญะมีดวงตาเห็นธรรม “โอ๋! อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ” นี่มันมีน้ำใจ คือว่าปรารถนามารื้อสัตว์ขนสัตว์ แล้วเวลาเทศนาว่าการไป สัตว์นั้นเป็นสัตว์ประเสริฐ สัตว์นั้นมีดวงตาเห็นธรรม

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการ เห็นไหม “เราเป็นไก่ตัวแรกที่เจาะฟองอวิชชาออกมา เราเป็นไก่ตัวแรกที่เจาะฟองอวิชชาออกมา” แล้วเวลามันมีไก่ที่มันเจาะฟองออกมา มันทำลายกิเลสออกมาเป็นตัวๆ นี่ผู้ที่กระทำมันจะมีความภูมิใจไหม

เวลาครูบาอาจารย์ของเราท่านประพฤติปฏิบัติมา ท่านเอาชีวิตนี้แลกมา เอาชีวิตแลกเพราะอะไร เพราะท่านสร้างบุญญาธิการ ท่านมีกำลังของท่าน ท่านมีความมุ่งมั่นของท่าน แล้วท่านใช้ปัญญา อย่างพวกเรานะ เราจะมุ่งมั่นขนาดไหนนะ มุ่งมั่นตายเปล่า เพราะเชาวน์ปัญญาของเรามันไม่ละเอียดลึกซึ้งเท่าพญามาร พญามารในใจของเรานี่แหละ มันจะสร้างสมว่าสิ่งนั้นเป็นธรรม สิ่งนั้นเป็นธรรม แล้วเราก็จะเชื่อมัน ล้มลุกคลุกคลาน นี่เพราะอะไร เพราะสติปัญญาของเรา เราสร้างมาไม่ได้ขนาดนั้น

เวลาครูบาอาจารย์ของเราท่านสร้างของท่านมา หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ท่านพูดเอง หลวงปู่มั่นท่านบอกท่านปรารถนาพุทธภูมิมาเหมือนกัน แล้วท่านเสียสละซะ หลวงปู่เสาร์ท่านปรารถนาพระปัจเจกพุทธเจ้ามา ดูสิ แล้วท่านก็สละของท่านเหมือนกัน หลวงปู่มั่นนะ เวลาท่านไปเอาหลวงปู่เสาร์ให้สละปัจเจกภูมิ ไปเอาเจ้าคุณอุบาลีฯ ให้สละพุทธภูมิ ท่านเอาหลายองค์มากที่เป็นพุทธภูมิ ให้เสียสละๆ มา

เพราะเวียนตายเวียนเกิดไปเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าข้างหน้าก็เป็นพระอรหันต์เหมือนกัน ถ้าปฏิบัติถึงที่สุดแห่งทุกข์ก็เป็นพระอรหันต์เหมือนกัน เพียงแต่ว่าเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าข้างหน้านั่นมันจะมีอำนาจวาสนาบารมีมากขึ้นมาเท่านั้นเอง นี่ไง เวลาครูบาอาจารย์ของเราท่านมีอำนาจวาสนาขนาดนั้น ท่านใช้ปัญญาของท่านอย่างนั้น ท่านถึงเป็นโคนำฝูงของเรา

เรามีหัวหน้า เรามีหัวหน้าโคที่มีเชาวน์มีปัญญา ไม่ใช่โคโง่ๆ ประสบการณ์ก็ไม่มี เอาแต่ทฤษฎี เอาแต่ทางวิชาการมาวิพากษ์ แล้วประพฤติปฏิบัติขึ้นมา วิพากษ์ขึ้นมาใช่ไหม โลกชอบอย่างนั้น โลกชอบความสะดวก เห็นไหม ดูสิ สินค้าลดราคา ใครๆ ก็อยากซื้อ แต่สินค้าลดราคา คุณภาพมันมีจริงหรือเปล่า เขาลดราคามา สินค้าลดราคา คุณภาพก็ไม่มี คุณภาพก็ต่ำไป ราคาก็ถูกขึ้นมา นี่เราชอบ แต่สินค้าที่มีคุณภาพ เราก็จะต้องแสวงหา ดูสิ เวลาพืชสมุนไพรที่เขาไว้ใช้รักษาโรค เขาต้องไปหากันที่ไหน เพราะมันขึ้นในอุณหภูมิอย่างใด มันถึงจะมีคุณสมบัติในการรักษาโรค เราจะรักษา เราจะหาศีล สมาธิ ปัญญาในหัวใจของเรา เราจะไปเอาง่ายๆ มาจากไหน เอามาจากไหนง่ายๆ

ฉะนั้น สิ่งที่ง่ายมันไม่มี เห็นไหม สิ่งที่ง่าย กิเลสมันก็อ้างอิงสิ่งนั้น เว้นไว้แต่ขิปปาภิญญา แต่ขิปปาภิญญามันก็ไม่ง่าย เพราะสิ่งที่ขิปปาภิญญาเขาก็ต้องสร้างบารมีของเขามา ขิปปาภิญญา ไปดูในพระไตรปิฎก ทุกองค์ย้อนอดีตชาติไป ถ้าใครเป็นขิปปาภิญญา ปฏิบัติง่ายรู้ง่าย พระสงฆ์จะถามพระพุทธเจ้าทันที “ทำไมมันเป็นแบบนั้น” พระพุทธเจ้าจะบอกว่า “เมื่อชาติที่แล้ว ชาตินั้นๆ เขาได้สร้างมาขนาดไหน”

แต่เราได้สร้างมาอย่างไร เราได้สร้างของเรามา ขณะนี้เรามีสติปัญญา เรามีความมุ่งมั่นของเราที่จะประพฤติปฏิบัติ อันนี้ก็มีคุณล้นพ้นแล้วล่ะ มีคุณมีประโยชน์มหาศาล ศรัทธานี่ ถ้าไม่มีศรัทธา ไม่มีความเชื่อ เราจะไม่ฟังธรรม

ฟังธรรมขึ้นมา ธรรมมันคืออะไร ธรรม เราฟังแล้วไม่เข้าใจ ถ้าเราไปฟังเรื่องโลกๆ เราฟังแล้วพอใจ ฉะนั้น ในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ “การฟังธรรมนี้แสนยาก” แสนยากเพราะกว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสรู้ธรรมขึ้นมา แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ กว่าจะได้ขึ้นมา

ดูสิ วันมาฆบูชา ผลงานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เอหิภิกขุ บวชให้เอง แล้วเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด ๑,๒๕๐ องค์ นี่เวลาสิ่งนั้น ถ้าได้ฟังครูบาอาจารย์อย่างนี้ เวลาพูดออกมา คุณธรรมในใจของจริงทั้งนั้น ถ้าของจริง เราจะฟังอย่างนี้ เห็นไหม ปากต่อปาก เพราะสมัยพุทธกาล สื่อสารมวลชนยังไม่มี แต่ในปัจจุบันนี้ เราบอก ฟังธรรมนี้แสนยาก เราได้ฟังทุกวันเลย เราได้ฟังทั้งนั้นน่ะ แล้วได้ฟังนี่ มันอยู่ที่คุณภาพของจิต คุณภาพของจิตเรานี่เรารับอย่างไร เครื่องรับ ถ้าเครื่องรับดีนะ ฟังธรรมของครูบาอาจารย์ที่เป็นธรรม เราฟังแล้วมันจะดูดดื่ม แต่ถ้าเครื่องรับของเรามันชำรุด มันชอบ ชอบอะไรที่มันครืดๆ ครืดๆ ชอบอย่างนั้นน่ะ เหตุผลมันไม่มี

ถ้าเหตุผลมีนะ ฟัง “กาลามสูตร” เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพยายามกระตุ้นให้พวกเรามีศรัทธาความเชื่อ แต่ในเวลาประพฤติปฏิบัติ ท่านบอกว่าห้ามเชื่อ เพราะความเชื่อแก้กิเลสไม่ได้ ความเชื่อความศรัทธานี้ชักลากให้เราเข้ามาฟังธรรม ชักลากให้หัวใจนี้ออกมาค้นคว้า ออกมาประพฤติปฏิบัติ การประพฤติปฏิบัตินั้นมันจะตรวจสอบในความเป็นจริงขึ้นมา

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนไว้ในกาลามสูตร อย่าเชื่อว่าเป็นอาจารย์ของเรา อย่าเชื่อว่ามันอนุมานแล้วเราพอใจ อย่าเชื่อว่าเราคิดแล้วจะเป็นอย่างนั้น อย่าเชื่อ ให้ปฏิบัติขึ้นมาตามความเป็นจริง ตามความเป็นจริงที่มันจะเกิดขึ้นจริงกับเรา ถ้าเกิดขึ้นจริงกับเรา มันจะเป็นความจริง นี่สุขภาพธรรม

สุขภาพจิตนี้เป็นเรื่องโลกๆ นะ แล้วมันปฏิบัติกันเป็นเรื่องโลก ศาสนานี้เราใช้เป็นเรื่องโลกไป เป็นโลกียะ แต่ในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันมีโลกุตตรธรรมด้วย โลกุตตรธรรมคือธรรมเหนือโลก ธรรมเหนือโลกคือธรรมเหนือกิเลส เหนือตัณหาความทะยานอยากในใจที่มันปิดตาเรา ถ้ามันปิดตาเรา แล้วเราทำตามนั้น เราจะได้สิ่งใดมา

เห็นไหม ถ้าเราจะเป็นโลกุตตรธรรม ถ้าตัวสมาธินี่แหละ ตัวสมถะนี่แหละ มันจะแบ่งระหว่างโลกกับธรรม ถ้าไม่มีสัมมาสมาธิ มันเป็นเรื่องโลกๆ โลกๆ เพราะอะไร เพราะความรู้สึกนึกคิดเราเกิดจากอวิชชา เกิดจากความไม่รู้ เกิดจากกิเลสตัณหาความทะยานอยากบวกกับธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็มาเรียงความคิดมาให้เป็นเรื่องสุขภาพจิต

แต่ถ้าเราทำความสงบของใจเข้ามา มันสงบอย่างไร สงบจากกิเลสตัณหาความทะยานอยาก กิเลสตัณหาความทะยานอยากนี้คือตัวกระตุ้นให้จิตนี้ฟุ้งซ่าน ให้จิตนี้แสวงหาสิ่งที่ไม่เป็นความจริง เรากำหนดพุทโธๆๆ จนจิตมันสงบเข้ามา พุทโธเป็นพุทธานุสติ สิ่งที่แสวงหาด้วยความฟุ้งซ่าน ให้มันอยู่กับพุทโธซะ ให้มันอยู่ที่เกาะไว้ เกาะไว้จนจิตมันสงบระงับจากความไม่รู้ ความไม่รู้เพราะจิตมันสงบระงับ มันมีสติ

เวลาเราสงบ เราก็รู้ว่าเราสงบ เวลาเราฟุ้งซ่าน เราก็รู้ว่าเราฟุ้งซ่าน จิตเราดี เราก็รู้ว่าจิตเราดี จิตเราร้าย เราก็รู้ว่าจิตเราร้าย จิตไม่เป็นสมาธิ เราก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ มันถึงมีสติ พอมีสติขึ้นมา ถ้ามีสติปัญญา มีสมาธิขึ้นมา เวลามันออกใคร่ครวญ ใคร่ครวญในธรรม ตรึกในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นแหละ แต่เวลาถ้ามันเห็นจริงขึ้นมา อันนี้จะเป็นโลกุตตรปัญญา

โลกียปัญญา โลกุตตรปัญญา โลกียธรรม โลกุตตรธรรม มันอยู่ที่เราเลือก

จิตดวงเดียว จิตดวงนี้มหัศจรรย์นัก เป็นได้หลายอย่าง เป็นทั้งดี เป็นทั้งร้าย เป็นทั้งกิเลส เป็นทั้งธรรม ถ้ายังไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์ แต่ถ้าประพฤติปฏิบัติจนถึงที่สุดแห่งทุกข์ เป็นธรรมธาตุ พ้นจากวัฏฏะ พ้นจากวังน้ำวน ขึ้นฝั่งไปฝั่งวิมุตติ ขึ้นฝั่งจากวัฏฏะ พ้นออกไปแล้ว ไม่ดี ไม่ร้าย ไม่กลับกรอก

สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา สภาวธรรมนี้เป็นอนัตตา แต่เวลาประพฤติปฏิบัติถึงที่สุดแห่งทุกข์ มรรคสามัคคี สมุจเฉทปหาน เป็นโสดาบัน เป็นสกิทาคามี เป็นอนาคามี เป็นพระอรหันต์ เป็นอกุปปธรรม ไม่ใช่อนัตตา

กุปปธรรม สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา นี้เป็นกุปปธรรม แต่เวลาประพฤติปฏิบัติถึงที่สุดแห่งทุกข์ เป็นโสดาบัน เป็นสกิทาคามี เป็นอนาคามี เป็นพระอรหันต์นั้น เป็นอกุปปธรรม พ้นจากความเป็นอนัตตา ไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่อนัตตา ไม่ใช่สิ่งใดๆ เลย มันเป็นนิพพาน เอวัง