เทศน์บนศาลา

ไม่เห็นหรือไม่มอง

๕ พ.ค. ๒๕๕๕

 

ไม่เห็นหรือไม่มอง
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจนะ เราพยายามหาความสงบร่มเย็น เราแสวงหา เราลงทุนลงแรง ลงทุนลงแรงต้องได้รับผลตอบแทนไง ถ้าเราตั้งใจเกินไป มันจะแบบว่าเจาะจง การว่าเจาะจงนะ ในการปฏิบัติ การว่าเจาะจงนั้นเป็นสิ่งที่ดีงาม แต่ถ้าเราตั้งใจเกินไป สิ่งนั้นมันจะทำไม่ได้สมความปรารถนา เราตั้งสติของเรา เราพยายามตั้งสติแล้วเรานึกพุทโธของเรา มันจะเป็นไปได้หรือไม่ได้นั้นอีกเรื่องหนึ่ง แต่เราทำความดีของเรา ถ้ามันสมดุล มีบุญกุศลนะ สิ่งนั้นจะเกิดกับเรา สิ่งนั้นคือหัวใจได้สัมผัส

“เรียกร้องสัตว์ทั้งหลายมาดูธรรม” นี่โอปนยิโก เรียกร้องสัตว์ทั้งหลายมาดูธรรม มาดูความสงบร่มเย็นนี่ มาดูความสุขของเรานี่ เห็นไหม เราเรียกร้องสัตว์ทั้งหลายมาดูธรรม แต่ขณะที่เราประพฤติปฏิบัติ เราทุกข์ยากแค่ไหน ถ้าเราสุขขึ้นมา เราเรียกร้องสัตว์ทั้งหลายมาดูธรรม

ธรรมคืออะไร? ธรรมคือสัจจะ สัจจะนะ สัจจะ อริยสัจจะ สิ่งที่สัจธรรม ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค สิ่งที่มันจะเกิดขึ้น มันจะเกิดในอริยสัจนี่แหละ ถ้ามันมีการเกิดนี่มีความทุกข์ ทำไมมันถึงทุกข์ล่ะ? มันมีสมุทัย เกิดนิโรธ นิโรธคือการดับ มันจะดับเพราะอะไรล่ะ ถ้ามันไม่ใช่มรรค นี่มรรค ๘ มันถึงจะดับได้

ถ้าไม่มรรค ๘ ล่ะ สิ่งนั้นเวลาปฏิบัติแล้วมันถึงถูลู่ถูกัง คำว่า “ถูลู่ถูกัง” มรรคนั้นมันไม่สมดุลของมัน ถ้ามรรคไม่สมดุลของมัน เราตั้งใจของเรา เราตั้งสติของเรา เราปรารถนานะ เราปรารถนาให้จิตใจมันสงบระงับ จิตใจของเรานี่ จิตใจที่ลากเรามาเกิดอยู่นี่ ถ้ามันมีสติปัญญาขึ้นมา ให้จิตใจสงบระงับ ให้จิตใจร่มเย็นเป็นสุข ทีนี้จิตใจมันขับดันของมัน ขับดันด้วยแรงปรารถนาของเราไง

เราเป็นชาวพุทธ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาสอนถึงที่สุดแห่งทุกข์ ถ้าสอนถึงที่สุดแห่งทุกข์ใช่ไหม โลก เห็นไหม เราทำบุญกุศลกันก็บอกว่าจะได้เป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม จะได้มีความสมความปรารถนา ทำสิ่งใดแล้วจะสมความปรารถนา...จะทำสิ่งใดก็แล้วแต่ นี่ผลของวัฏฏะ เวียนตายเวียนเกิด วัฏวนไม่มีที่สิ้นสุดหรอก นี่เกิดซ้ำเกิดซาก

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔ อสงไขย องค์ก่อนๆ นั้น ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย คำว่า “อสงไขย” นี่คือการนับไม่ได้ ๑ ครั้ง นี่ ๑ อสงไขย เวียนตายเวียนเกิดอยู่อย่างนั้น แต่เวียนตายเวียนเกิดโดยการสร้างคุณงามความดี เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอาชีวิตของท่านมาเป็นคติเป็นตัวอย่าง มันเป็นความจริงไง

เราจะบอกว่าการเกิดการตายนี่ไม่มี ตายแล้วสูญ...ถ้าตายแล้วสูญ ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย มันต่อเนื่องกันมาได้อย่างใด เพราะความต่อเนื่องอย่างนั้น การบ่มเพาะอย่างนั้น ทำให้จิตใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีบารมีเต็ม พอบารมีเต็ม มาตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ตรัสรู้ด้วยสิ่งใด? ตรัสรู้ด้วยอริยสัจนี่ไง ที่วาง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มรรคอันนั้น มรรคญาณอันนั้น

ถ้ามรรคญาณอันนั้น มันบอกใคร ใครก็ว่ามรรคของเรา ใครก็เข้าใจว่ามรรคมีอยู่ ใครๆ ก็จับต้องได้...จับต้องได้ด้วยความรู้สึกนึกคิดของตัว นี่เราศึกษามาใช่ไหม เราศึกษามาเราก็ว่าความเข้าใจของเราถูกต้อง ถ้าความเข้าใจเราถูกต้อง มรรคก็คือมรรคของเราไง ถ้ามรรค ความเข้าใจของเราถูกต้อง มรรค เราก็ทำตามความพอใจของเราไง ทำความว่าเราคิดว่าสิ่งใดเป็นความจริง แล้วทำแบบนั้น แล้วมันเป็นจริงไหมล่ะ

ถ้ามันเป็นจริง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะโกหกเราเหรอ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะหลอกลวงเราเหรอ? มันเป็นไปไม่ได้หรอก เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอาชีวิตของท่านแลกมา เอาชีวิตนะ เวลาไปทำทุกรกิริยาต่างๆ เอาชีวิตสิ่งนั้นแลกมา แลกสิ่งที่เป็นความเป็นจริงมา ถ้ามีความเป็นจริงมา แล้ววางธรรมและวินัยไว้ ถ้าวางธรรมและวินัยไว้นี้เป็นปริยัติ เป็นทฤษฎี แล้วผู้ที่ว่าเป็นทฤษฎี เราจะเชื่อมั่นได้ขนาดไหน

ถ้าเราเชื่อมั่นได้ขนาดไหน เราก็มีครูบาอาจารย์ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ท่านประพฤติปฏิบัติของท่านมา ถ้าท่านไม่รู้จริง ท่านเอาอะไรมาสอน ท่านไม่รู้จริง ท่านสามารถเอาลูกศิษย์ของท่านพ้นจากกิเลสไปได้อย่างใด สิ่งที่พ้นกิเลสไปนี่เอาอะไรไปพ้น มันจะพ้นไปที่ไหนล่ะ มันจะไปพ้นภูเขาเลากาที่ไหน มันจะไปพ้นที่บัญชีเงินของใคร มันจะไปพ้นที่สมบัติของใคร? ไม่! มันพ้นในหัวใจของผู้ที่ปฏิบัตินั้น ถ้าพ้นในหัวใจของผู้ที่ปฏิบัตินั้น นี่เราถึงได้

มันน่าสังเวชนะ มันน่าสังเวชเวลาพระเราออกธุดงค์ เวลาพระออกธุดงค์ ธุดงค์ไปข้ามภูเขาเลากา ลงป่าลงเขาเพื่ออะไร? ก็เพื่อหาดวงใจดวงนี้ เวลาออกธุดงค์ก็เพื่อหาความสงบระงับของใจนี่ ที่ใจมันฟุ้งซ่านนัก ใจมันดีดดิ้นนัก ใจมันดื้อนัก ใจนี้เอามันไม่อยู่ เห็นไหม นี่ออกธุดงค์ไป เดินป่าเดินเขาไปเพื่อประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เพราะเดินไปก็เดินจงกรมไป เวลาไปพักที่ไหน ถ้าที่ใดมันเป็นที่สงบระงับ ก็ภาวนามันต่อเนื่องกันไป นี่เดินป่าเดินเขา เดินก็เพื่อจะมาหาความสงบระงับของใจนี้ เพราะมันต้องเปลี่ยนที่ เปลี่ยน นี่ประพฤติปฏิบัติไป นี่พอเราเป็นนักรบ

นี่ก็เหมือนกัน เราออกจากบ้านมา เราออกมาประพฤติปฏิบัติ ออกมา เห็นไหม อยู่บ้านเราคุ้นชินกับมัน ทำสิ่งใดมันก็เป็นวงจรชีวิตอยู่อย่างนั้น เราสละมาอยู่วัด มาถือศีล มาประพฤติปฏิบัติ ถ้ามาประพฤติปฏิบัติ ใจมันยอมประพฤติปฏิบัติด้วยหรือเปล่าล่ะ เวลาตั้งใจ ตั้งใจมานะ ไปปฏิบัติจะให้ได้มรรคได้ผล เวลามาแล้วนะ ทำแล้วทำไมมันคอตกล่ะ ทำไมมันไม่ได้สมอย่างความปรารถนาเราเลยล่ะ นี่สมความปรารถนา ไม่สมความปรารถนานะ

เวลาหลวงปู่เจี๊ยะท่านสอนไว้ ให้ชำนาญในวสี ชำนาญในการเข้าและชำนาญในการออกจากสมาธิ เวลาหลวงตาท่านบอกนะ เวลาถ้าเราทำจิตสงบแล้ว เวลาพุทโธๆ ถ้าจิตเราสงบแล้ว ให้อยู่กับความสงบนั้น ดูแลมัน อย่าพรวดพราดออกมา ถ้ามันพรวดพราดออกสมาธิแล้ว คราวต่อไปมันจะเข้าสมาธิได้ยาก

เห็นไหม เวลาหลวงปู่เจี๊ยะท่านบอกว่าให้ชำนาญในวสี ให้ชำนาญในการเข้าและชำนาญในการออก แล้วมันเข้ามันออกอย่างไร สมาธิเข้าออกอย่างไร สมาธิเข้าออกที่ไหน เราก็ไปหากันว่าสมาธิเข้าออกที่ไหน นี่เราตั้งใจของเราไว้ เราตั้งสติของเราไว้ จิตใจนี้เป็นนามธรรม ถ้าจิตใจนี้เป็นนามธรรม มันจะแสดงตัวออกมาได้อย่างไร

เวลาน้ำ น้ำใสอยู่ในแก้วมันเหมือนกับไม่มีน้ำเลยนะ แต่น้ำ ถ้าเราเติมสีสิ่งใดไป เราจะเห็นว่าในแก้วนั้นมีน้ำ นี่ก็เหมือนกัน จิตของเรามันเป็นธรรมชาติที่รู้ เห็นไหม พุทโธ พุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน นี่มันเป็นธรรมชาติรู้ แล้วมันต้องรู้ของมันอยู่อย่างนั้นน่ะ มันต้องรู้ของมัน ธรรมชาติเป็นแบบนั้น ถ้าธรรมชาติที่รู้ ธรรมชาติที่มีชีวิตนะ ธาตุรู้ ธาตุที่มีชีวิต มันเป็นสันตติ มันเกิดของมันอยู่อย่างนั้นน่ะ มันไม่เคยบุบสลายสิ่งใด แต่มันเป็นนามธรรม ฉะนั้น เวลามันเสวยอารมณ์ขึ้นมา มันก็เป็นสิ่งที่เป็นสามัญสำนึกเรานี่

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ท่านได้รื้อค้นขึ้นมา ท่านถึงบอก หัวใจของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติต้องทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าทำความสงบของใจ เรากำหนดพุทโธๆ ให้สิ่งที่ธรรมชาติที่รู้นี่มันรู้พุทโธซะ อย่าไปรู้อย่างอื่นเลย ถ้ารู้อย่างอื่นแล้ว มันก็รู้ไปตามกระแสโลกนั้นไป สิ่งนั้นมันจะเป็นประโยชน์ต่อเมื่อเราทำหน้าที่การงาน

แล้วถ้าทำหน้าที่การงานนะ ถ้าเราทำจิตใจของเราสงบระงับ ทำหน้าที่การงานนั้นก็จะชัดเจน จะทำสิ่งใด จะวิเคราะห์สิ่งใด มันก็ตามข้อเท็จจริงนั้น แต่ถ้าเรามีอารมณ์ของเรา เรามีสิ่งต่างๆ บวกเข้าไป สิ่งนั้นก็ไม่ชัดเจน เห็นไหม เราถึงต้องทำความสงบของใจ นี่แม้แต่ทางโลกยังได้ประโยชน์ แต่ถ้าทางธรรมล่ะ ทางธรรมนี่เราทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าใจมันสงบระงับเข้ามา ถ้ามันจะทำงานนะ มันก็จะเป็นงานจริงๆ ของมัน เป็นงานจริงๆ งานภาวนา งานสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน บำเพ็ญเพียร บำเพ็ญเพียรภาวนาเพื่อหัวใจของเรานี้

เวลาเขาทำงานทางโลก เขาก็ต้องขยันหมั่นเพียรของเขา เพื่อเป็นสมบัติของเขา เพื่อหาปัจจัย ๔ เป็นเครื่องอาศัยในชีวิตนี้ เวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เรามีสติปัญญาของเรา เราทำงานของเรา เดินจงกรมนั่งสมาธิภาวนา เพื่ออะไร? เพื่อเอาใจของเรา ไอ้ใจที่มันดื้อนักนี่ไว้ในอำนาจของเรา ถ้าอำนาจของเรานะ เรามีกำลังของเรา เรามีสติมีสมาธิของเรา ถ้าเราพยายามจะรื้อค้น พยายามจะหา จะหากิเลส จะหาสิ่งที่ว่ามันพาเรามาเกิด สิ่งที่ทำให้เราทุกข์เรายาก ถ้าเราค้นเราหานะ

ถ้าคนเรา เวลาเราเจอกันแล้วเขามองไม่เห็นเรา นี่คนมองไม่เห็น ถ้าคนมองไม่เห็น ทำสิ่งใดผิดพลาดไปมันก็ไม่น่าจะไปถือโกรธเขาใช่ไหม เพราะเขามองไม่เห็น พอมองไม่เห็น เพราะอะไรล่ะ? เขาไม่เห็นของเขา ถ้าไม่เห็น เห็นไหม ความไม่เห็นเพราะว่าสติปัญญามันไม่พอ ถ้าสติปัญญามันพอ มันรู้มันเห็นของมันนะ

อย่างเช่นสติ เราก็มีสติ พอมีสติขึ้นมา บางวันสติเราดี สิ่งที่มันเคยคิด เคยฟุ้ง เคยซ่าน มันหายหน้าไปไหน นี่เราบังคับได้ เราดูใจของเราได้ จิตใจเราไม่ค่อยดื้อเท่าไร แต่ถ้าวันไหนสติเราไม่ดี สติเราอ่อน หรือว่าเราคิดแต่เรื่องอื่น มันล้า มันล้าไปหมดเลย นี่สิ่งที่เป็นความคิด ความรู้สึกนึกคิดมันไปหมด มันไปหมดเพราะสติเราอ่อน นี้เพราะอะไร เพราะเรา พอมันอ่อน มันก็แสดงตัวของมันเป็นธรรมดา เพราะเราไม่รู้ไม่เห็นมัน

แต่ถ้าเราเห็นนะ เราเห็น เราควบคุม เราดูแล เห็นไหม ถ้าเราเห็นของเราได้ มันก็จะเป็นประโยชน์กับเรา ถ้ามันไม่เห็นล่ะ มันไม่เห็นเพราะกำลังของเราไง สิ่งที่ไม่เห็นนี้เพราะจิตใจของเรา เพราะกำลังของเรามันไม่มีกำลังพอ ถ้ามีกำลังพอนะ เรารู้ เราเห็น เราพิจารณาของเรา นี้เป็นการเริ่มต้นในการประพฤติปฏิบัตินะ ถ้าจิตใจเริ่มต้นประพฤติปฏิบัติขึ้นมานี่จะล้มลุกคลุกคลาน

เวลาเราปฏิบัติ ทุกคนก็อยากจะได้ธรรม ทุกคนปฏิบัติก็อยากได้ผล เพราะเราฟังธรรมไง ธรรมนี้มาจากไหน? ธรรมนี้มาจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้เป็นองค์แรกของโลก แล้วสั่งสอนกันมา ถ้าใครประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ถ้าจิตใจมันเป็นธรรม ถ้าจิตใจเป็นธรรมนะ จะบอกถึงวิธีการ แล้วดูสิ จะบอกถึงวิธีการ

แล้วการประพฤติปฏิบัตินะ จิตใจของคน เวลาคนเกิดมามันมีอวิชชาทั้งนั้นน่ะ คำว่า “มีอวิชชา” พอคำว่า “อวิชชา” อวิชชาคือความไม่รู้ ไม่รู้ในสิ่งใดล่ะ? ไม่รู้สิ่งที่มันเป็นจริงในหัวใจของเรา แต่เวลาเราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ว่าเรารู้ สิ่งที่เรารู้ พอมันรู้สิ่งนั้น มันเลยไม่เห็นความเป็นไปของตัว สังเกตได้ไหมว่า ความผิดพลาดของเรา เรามองไม่ออก มีแต่คนคอยเตือนคอยบอกเราว่าเราผิดพลาดอย่างใด เราไม่รู้จักความผิดพลาดของเรานะ แต่ถ้าเรามีสติมีปัญญา เราทบทวนของเรา เราจะเห็นความผิดพลาดของเราได้

ถ้าเราเห็นความผิดพลาดของเรา เห็นไหม ถ้าจิตมันสงบระงับ ถ้ามันรู้มันเห็นของมัน มันจะเป็นปัญญา มันจะเป็นประโยชน์ในการวิปัสสนา ถ้ามันไม่รู้ไม่เห็นของมันนะ มันจะเริ่มต้นวิปัสสนาที่ไหน

ในทางตรงกันข้าม เวลาคนที่ประพฤติปฏิบัติ เวลาจิตมันสงบขึ้นมาแล้วไม่เข้าใจว่าสิ่งนี้มันเป็นสัมมาสมาธิหรือมิจฉาสมาธิ ถ้าไม่เข้าใจว่าเป็นสัมมาสมาธินะ มันมองข้าม ถ้าไม่เห็น มันก็ไม่รู้ ถ้ามันไม่มอง มันก็ไม่เห็น เวลามันไม่มองนะ มันไม่มอง มันมองข้ามไป มองข้ามว่า “สิ่งนี้เรารู้แล้ว สิ่งนี้เราเป็นไปได้แล้ว สิ่งนี้เราเข้าใจได้หมดแล้ว นี่จิตใจเราเป็นธรรม จิตใจเราเป็นธรรม”...มันมองข้าม

ถ้ามันไม่เห็น เพราะจิตใจมันไม่เข้มแข็ง จิตใจมันไม่มีวุฒิภาวะที่สามารถจะเห็นได้ ที่ไม่สามารถเห็นได้นะ เราก็พยายามของเรา ขวนขวายของเราด้วยความทุกข์ความยากของเรา เราพยายามขวนขวายของเรา ถ้าจิตสงบแล้วให้ออกใช้ปัญญา ออกใช้ปัญญาในสิ่งใดล่ะ

จิตถ้ามันสงบแล้วนะ ถ้ามีอำนาจวาสนา เวลามันเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม นี่มันเห็นของมัน มันเห็นของมัน มันรู้ของมัน มันจับต้องของมัน มันเกิดงานของใจขึ้นมาได้ งานของจิตตภาวนา จิตมันจะออกทำงาน จิตมันจะพัฒนาของมัน นี่คือจิตตภาวนา เวลาแก้กิเลส เขาแก้กันที่จิต ถ้าแก้กันที่จิต

เพราะจิตพาเราเกิดไง จิตมันพาเรามาเกิด เกิดมาเป็นมนุษย์ เราว่าเป็นมนุษย์ชื่อนาย ก. นาย ข. นาย ง. นี่เป็นมนุษย์ขึ้นมา นี้เป็นมนุษย์ มนุษย์ตามความจริงนี่แหละ แต่สิ่งที่เป็นมนุษย์นี่เป็นโลก มันเป็นโลก เราใช้สมอง เราใช้การบริหารจัดการของเราเพื่อเป็นอาชีพของเรา เราใช้มือของเรา เราใช้ร่างกายของเราทำหน้าที่การงานของเราเพื่อประโยชน์ของเรา นี่เรื่องโลกๆ ทั้งนั้น

สิ่งที่โลกๆ เห็นไหม คนดีก็ดีของโลก ถ้าคนชั่วมันก็เรื่องของโลก เพราะเรื่องของโลกนี้คือการกระทำ สิ่งนี้กระทำแล้ว สิ่งนี้เป็นบุญเป็นบาป ถ้าเป็นบุญเป็นบาป ผลมันตกที่ไหนล่ะ? ผลมันตกแก่จิต เพราะจิตเกิดความคิด ความคิดถึงมีการกระทำ การกระทำอันนั้น ผลก็ตกลงสู่จิต นี่มันเป็น เวลาเป็นกรรมนี่มีการกระทำ ผลเกิดลงที่ไหน? ผลเกิดเป็นวิบาก วิบากตกที่ไหน? ตกที่จิต แต่ตัณหาความทะยานอยากที่มันยุมันแหย่ มันเร้าให้เราทำ นี่กิเลสมันเร้าให้เราทำ พอเราทำเสร็จแล้วผลตกที่ไหน นี่มันเรื่องของโลกไง

ทีนี้ถ้าเรื่องของธรรมล่ะ เรามาประพฤติปฏิบัติ พอเรามาประพฤติปฏิบัติ เราพยายามทำความสงบของใจ ทำความสงบของใจ เห็นไหม เราไม่ได้ทำงานด้วยสมอง เราไม่ได้ทำงานด้วยมือ เราไม่ได้ทำงานด้วยร่างกายของเราเพื่อหางานของเรา เห็นไหม งานด้วยสมอง ด้วยมือของเรา ด้วยร่างกายของเรานี้ มันเป็นงานของโลก งานของโลก เราอยู่กับโลก โลกเขาทำงานกันอย่างนี้ บริหารจัดการมาก็เพื่อผลประโยชน์กับเรา เพื่อธุรกิจของเรา เพื่อการทำงานของเราให้ประสบความสำเร็จ เห็นไหม นี่ผลของวัฏฏะ หน้าที่การงานของมนุษย์ หน้าที่การงานของเทวดา หน้าที่การงานของพรหม

ทีนี้ เวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราจะรักษาใจของเรา เราจะประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ถ้าเราทำความสงบของใจเข้ามาได้ นี่สมถกรรมฐาน ทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าจิตมันสงบระงับเข้ามานะ สุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี ความสงบร่มเย็นนี้มันจะหล่อเลี้ยงจิตใจนี้ หล่อเลี้ยงจิตใจนี้ให้เข้มแข็ง หล่อเลี้ยงจิตใจนี้ให้มีความมุมานะ มีความพยายาม

เวลาเราเดินจงกรมนั่งสมาธิภาวนา เห็นไหม เราดูครูบาอาจารย์ของเราสิ เวลาเดินจงกรมนั่งสมาธิภาวนานี่ จนเราไม่กล้า เราแหยงนะ “จะทำสิ่งนั้นได้หรือ จะทำสิ่งนั้นได้หรือ” แต่เราประพฤติปฏิบัติไปเถอะ เวลาเราปฏิบัติใหม่ๆ นี่หญ้าปากคอก จับพลัดจับผลู จับผิดจับถูก นี่พยายามของเรา

แต่ถ้าพอปฏิบัติขึ้นไปเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไปนะ ถ้าจิตใจเรา พอภาวนาเป็น พอมันเป็นมหาสติ มหาปัญญา พอปัญญามันก้าวเดินไปแล้วนะ นี่มันก้าวเดินของมันไป จนมันไม่ยอมหยุด มันทำงานของมันโดยอัตโนมัติเลย เราทำงานจนเราแปลกใจ ทำไมทำอย่างนั้นได้ ถ้าเวลาครูบาอาจารย์ท่านประพฤติปฏิบัติมา เพราะใจของท่านเป็น พอใจของท่านมันเป็น มันทำอย่างนั้น ทำอย่างนั้นโดยขั้นตอนของมัน โดยความเป็นไปของมัน เพราะมันทำแล้วมันมีธรรมะไง มีสมาธิ มีปัญญา มีการพิจารณาของมัน มันมีความสุข มันมีความรื่นเริง มันมีความขวนขวาย มันมีการกระทำของมัน มันทำได้

แต่ถ้าเราเห็นว่าครูบาอาจารย์ เวลาท่านประพฤติปฏิบัติขึ้นมา “เราทำอย่างนั้นได้หรือ มันไม่รุนแรงเกินไปเหรอ”...เวลาปฏิบัติไปมันจะเป็นอย่างนั้น เวลาปฏิบัติไป เพราะมันเป็นสติ มหาสติ เป็นปัญญา มหาปัญญา ขณะที่เป็นสติ เป็นปัญญา เรายังล้มลุกคลุกคลาน แล้วเวลาปฏิบัติไปมันมีสติ มีปัญญา มันมีมหาสติ มหาปัญญา ถ้ามันมองเห็นใช่ไหม มันไม่มองข้าม

แต่ถ้ามันติดในสมาธิ คือการมองข้าม เพราะติดในสมาธิ เห็นไหม ที่ว่าจิตนี้เป็นธรรม จิตนี้เป็นธรรม นี่มันมองข้ามไปหมดเลย ทั้งๆ ที่มีกิเลส ทั้งๆ ที่มีงานทำ ถ้ามีสติมีปัญญา เราจะจับอันนั้นมาเป็นงานได้ แต่มันมองข้ามไป พอมองข้ามไป ไม่มีสิ่งใด มองไม่เห็นสิ่งใด เห็นแต่ความว่าง เห็นแต่จิตที่มันสงบระงับ มันมีแต่ความสุขของเรา มันเป็นความสุขจริงๆ นะ แต่ความสุขอย่างนี้มันมองข้าม

ถ้ามันไม่เห็นซะ มันก็ทำสิ่งใดไม่ได้ เพราะมันไม่เห็น ไม่เห็นเพราะอะไร เพราะจิตใจมันไม่มั่นคง จิตใจมันไม่มีสมาธิ จิตใจเรายังไม่มีวุฒิภาวะ แต่ถ้าพอจิตใจเรามีวุฒิภาวะ มันก็ไปติดอีก มันไม่ยอมรื้อค้น มันไม่ยอมประพฤติปฏิบัติ เราถึงต้องบังคับไง บังคับ ถ้าจิตสงบแล้วให้ออกฝึกหัดใช้ปัญญา ให้ออกฝึกหัดใช้ปัญญา ถ้ามันฝึกหัดใช้ปัญญาในสิ่งใดล่ะ? มันจะฝึกหัดปัญญาในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม

แต่ถ้ามันเป็นทางโลกล่ะ มันไปเห็น มันไปรู้นิมิต มันไปเห็นสิ่งที่ต่างๆ นี่คนชอบ ชอบรู้วาระจิต ชอบรู้ต่างๆ สิ่งนั้นไม่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่อริยสัจ มันเป็นฌานโลกีย์ นี่อภิญญา ๖ ว่าเกิดอภิญญา รู้วาระจิต รู้ต่างๆ สิ่งที่รู้ รู้อย่างนั้น ถ้าจิตของคน ถ้าอำนาจวาสนาของจิตดวงใดได้สร้างอำนาจวาสนามา มันมี มันมีแล้วพอประพฤติปฏิบัติเข้าไป พอจิตสงบเข้าไปแล้วนะ ไปเจอสิ่งนี้ พอเจอสิ่งนี้ก็ไม่รู้ ก็ใช้สิ่งนี้ไป คิดว่าสิ่งนี้เป็นธรรม ถ้าวันไหนจิตมันสงบแล้วไม่รู้ไม่เห็นสิ่งใด ว่าวันนั้นไม่ได้ภาวนา ภาวนาไม่ได้ผล ถ้าจิตมันสงบลงไปแล้วไปรู้ไปเห็นสิ่งใด เอ้อ! วันนี้ภาวนาดี นี่มันติด ติดจนมันหลง จนมันเข้าใจว่าสิ่งนี้เป็นธรรม เห็นไหม

แล้วถ้ามีครูบาอาจารย์มารู้สิ่งนี้เข้า แล้วเห็นเข้านะ สังเวช สังเวชว่าเวลาเราฝึกหัดใหม่ เห็นไหม หญ้าปากคอก นี่เหมือนกัน จิตมันฝึกหัดใหม่ พอฝึกหัดใหม่นี่มันก็รู้ตามอำนาจวาสนาที่ไปรู้ อำนาจวาสนาที่สร้างมา ถ้าใครมีอำนาจสร้างสิ่งใดมา มันก็จะรู้เห็นตามนั้นน่ะ ถ้าเห็นตามนั้น มันคืออะไรล่ะ? มันก็คือสัญชาตญาณ สัญชาตญาณที่มันมีอยู่กับจิต พอจิตสงบมันก็รู้ไปตามนั้นน่ะ

แต่ถ้าครูบาอาจารย์นะ ท่านบอกว่า รั้งไว้ก่อนได้ไหม มีสติยับยั้งไว้ก่อน ถ้ามีสติยับยั้งไว้ก่อน รักษาจิตนี้ให้มั่นคง ถ้าจิตนี้มั่นคงมีกำลังของมันแล้ว ดูสิ เราจะซื้อสินค้าสิ่งใด ถ้าเงินของเราไม่พอ เราจะซื้อสินค้าสิ่งนั้นไม่ได้ จิต ถ้าไม่มั่นคงพอ มันทำงานของจิต เราไม่ได้ทำงานทางโลก ทางโลกเขาใช้สมองทำงาน เขาใช้วัตถุทำงาน นี่อารมณ์ก็เป็นวัตถุอันหนึ่ง แต่ถ้าจิตสงบเข้ามา มันทำงานที่จิต เพราะจิตมันเป็นนามธรรม จิตนี้เป็นนามธรรม เห็นไหม ธาตุรู้ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน...ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน สิ่งนี้มันมีกิเลส กิเลสสวะ อวิชชาสวะ ภวาสวะอยู่ในผู้รู้นี้ ถ้าอยู่ในผู้รู้นี้ เพราะผู้รู้นี้มีกิเลสตัณหาความทะยานอยากมันครอบคลุมอยู่

ทีนี้เราทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าใจมันสงบเข้ามา สิ่งที่กิเลสตัณหาความทะยานอยากมันสงบตัวลง พอสงบตัวลง ใจนี้ก็เป็นอิสระ พอใจนี้เป็นอิสระ สิ่งใดที่เป็นอำนาจวาสนาที่เราสร้างมา มันก็จะแสดงออก พอมันแสดงออก ผู้ที่สงบโดยที่ไม่มี ไม่ออกรู้สิ่งใด ไม่มีนิมิตสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นประโยชน์กับเรา

แต่ที่ผู้ปฏิบัติ เวลาฟังน่ะ คนนู้นรู้อย่างนั้น คนนี้รู้อย่างนี้ เราก็อยากรู้กับเขา เราอยากรู้กับเขา เพราะเราไม่เข้าใจ เราว่าสิ่งนั้นเรายังไม่รู้ ถ้าจิตสงบแล้วนะ เวลามันออกใช้ปัญญา สิ่งที่เป็นปัญญามันเป็นปัญญาอย่างใด ถ้ามันเป็นปัญญาอย่างใด เห็นไหม เราจะกล้าอาจเอื้อมหรือว่าเราจะเกิดปัญญาที่มันจะชำระกิเลสใช่ไหม เราก็พยายามจะรื้อค้นปัญญา เราจะสร้างปัญญาของเราขึ้นมา มันก็เลยเป็นสัญญา ถ้ามันเป็นสัญญา มันเป็นความจำมา จำจากตำรับตำรามา จำจากครูบาอาจารย์มา สิ่งที่เป็นจากตำรับตำรามา สิ่งนี้มันเป็นความจำ เราก็ฝึกหัดของเรา ถ้าฝึกหัด ย่ำอยู่กับที่มันก็เป็นสัญญา

แต่ถ้าสิ่งที่พอจิตมันสงบแล้ว เราพยายาม สงบแล้วมันก็มีความสุขไง สงบแล้วมันก็ปล่อยวางความทุกข์ทั้งหมด ถ้ามันปล่อยวางความทุกข์ทั้งหมด เราจะทำสิ่งใดต่อไป พอเราทำจิตสงบแล้ว เราก็ว่าสิ่งนั้นเป็นผลเหรอ? มันไม่ใช่ ทำจิตสงบมานี้เป็นทุน เราทำจิตสงบของเรามา สงบเข้ามาเพื่อจะเอาความสงบนี้เป็นสมถกรรมฐาน ฐานที่ตั้งแห่งการงาน เป็นทุน เป็นสถานที่ตั้งเพื่อจะออกวิปัสสนา ออกทำงานของจิตนี้ ถ้าทำงานของจิตนี้ พอจิตมันออก มันออกฝึกหัดใช้ปัญญา ถ้ามันไม่ไป เราก็พยายาม สิ่งที่เป็นสัญญา สิ่งที่มันเป็นความจำ เราก็ฝึกหัด ก็ต้องเอาสิ่งนี้เป็นการเริ่มต้น ถ้ามันฝึกหัด พอฝึกหัดไปแล้ว ปัญญาถ้ามันใช้ไปแล้วนะ มันจะเป็นประโยชน์ พอฝึกหัดใช้นี่มันมีผล ผลว่าถ้าใช้ปัญญาไปแล้ว เราใช้ปัญญาไตร่ตรองในสิ่งที่มันเกิดขึ้นมา มันเห็นผลไง

ถ้าเป็นปัญญา แล้วมีสัมมาสมาธิรองรับ พอปัญญามันพิจารณาแล้วมันปล่อย มันปล่อยวางนะ พอมันปล่อยวางขึ้นมา เราจะเห็นต่าง เห็นความต่างว่าถ้ามันเป็นสมถะ เป็นสมาธิ มันปล่อยของมัน มันปล่อยของมันแล้วนะ มันมีความสงบระงับ แต่ถ้าเราใช้ปัญญาของเราแล้ว มันสงบแล้วเราใช้ปัญญา ใช้ปัญญาพร้อมกับสมาธิ เวลามันปล่อยนะ มันเข้าไปถากถางอนุสัย ถากถางสิ่งที่มันนอนเนื่องมากับใจ นอนเนื่องมานะ เพราะพลังงาน “จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส” คำว่า “ผ่องใส” ผ่องใสคืออวิชชา แต่ถ้าเราไม่มีสติปัญญา ความผ่องใส ความเวิ้งว้าง ความว่าง มีความสุข นี่มันเตลิดเปิดเปิงไปได้นะ

แต่ถ้าเรามีสติปัญญา ความผ่องใสนี้ ถ้าไม่มีสติปัญญา ไม่ได้ฝึกฝนขึ้นมา มันก็แค่เป็นสมถกรรมฐาน แต่ถ้ามันใช้ปัญญาไปแล้ว มันเที่ยว มันถาก มันถาง ถากถางเพราะอะไร เพราะปัญญา ปัญญาอันนี้เพราะอวิชชา อวิชชาคือความไม่รู้ ปัญญาคือวิชชา วิชชา ความรู้ คือแยกแยะ พอมันพิจารณาเข้าไป มันปล่อยวาง พอปล่อยวาง นี่ความสุขอันนี้มันมีความเพิ่มขึ้น ถ้ามีความเพิ่มขึ้น มันเป็นประโยชน์กับเรา นี่ถ้าเราฝึกหัดใช้ปัญญา ปัญญามันจะเกิดขึ้นมา ถ้าปัญญาเกิดขึ้นมา เราใช้ เราก็รู้ของเราเอง นี่เป็นปัจจัตตัง

สิ่งที่เราปฏิบัติมาแล้วมันไม่ได้ผล มันล้มลุกคลุกคลาน ล้มลุกคลุกคลานเพราะมันไม่เป็นความจริง แต่ถ้าเราปฏิบัติไปล้มลุกคลุกคลาน เราหาความถูกความผิด หาความเป็นไปได้และความเป็นไปไม่ได้ ความเป็นไปไม่ได้มันเพราะสิ่งใด ถ้าความเป็นไปได้ ดูสิ ดูพระปฏิบัติ ดูครูบาอาจารย์ของเรา ท่านเก็บหอมรอมริบ ท่านพยายามรักษาของท่าน ท่านรักษาของท่านก็เพื่อเข้ามาสู่ใจนี้ ถ้ารักษา เห็นไหม

แต่เวลาเราปฏิบัติกันไป เราบอก ศีล สมาธิ ปัญญา ศีลคือความปกติของใจ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ถ้ามีศีลมาก มีศีลพอ ศีลเป็นฐาน ถ้าศีลเป็นฐาน การทำความสงบของใจมันก็จะง่ายขึ้น มันจะทำให้สะดวกสบายขึ้น ถ้าทำสะดวกสบายขึ้น เห็นไหม “ศีล สมาธิ” ถ้าเกิดสมาธิขึ้นมา สมาธิมันเกิดขึ้นมาเพื่อสิ่งใด สมาธินี่

จิต เวลามันฟุ้งซ่าน จิตที่มันทำสิ่งใดไม่ได้เลย เพราะมันขาดสมาธิไง เวลาเราใช้ปัญญา เวลาเราตรึกในปัญญา เราใช้ปัญญา ธรรมะนี่เราเข้าใจได้นะ เราเข้าใจ เราแยกแยะได้ เราใช้ปัญญาของเราได้ แต่ทำไมมันแก้กิเลสไม่ได้ล่ะ? เพราะมันเป็นอาการของใจไง มันเป็นเปลือก มันเป็นขันธ์ ขันธ์คือความรู้สึกนึกคิด รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันก็เป็นความรู้สึกนึกคิดของเรา เราก็ใช้ความรู้สึกนึกคิดตรึกในธรรม เราเข้าใจได้ไหม? เข้าใจได้ เข้าใจแล้วทำไมกิเลสมันไม่ยุบยอบลงล่ะ เข้าใจแล้วทำไมกิเลสมันไม่ขาดล่ะ นี่ผู้ที่ปฏิบัติสงสัยตรงนี้มาก สงสัยว่า ปัญญาก็ใช้ปัญญาแล้ว ภาวนาก็ได้ภาวนาแล้ว ปัญญาใช้จนสุดแล้ว ปัญญานี่ใช้จนหมดไส้หมดพุงแล้ว ทำไมมันไม่ได้ผลอะไรขึ้นมาเลย นี่เพราะเราใช้ปัญญา

แต่ถ้าเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิเข้ามานะ ใช้ปัญญาไล่ต้อนเข้ามา มันปล่อยวางเข้ามา ปล่อยวางเข้ามา เราจะรู้เลยว่าสิ่งนี้มันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ นี่พูดถึงปัญญาอบรมสมาธินะ แต่ถ้าขาดสมาธิ สิ่งที่ว่าถ้าเราประพฤติปฏิบัติโดยสามัญสำนึก เราปฏิบัติกัน เราก็ว่าเราใช้ปัญญาด้วยความไม่รู้ ด้วยความไม่เข้าใจว่านี่คือปัญญา เพราะศาสนาพุทธสอน ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา เราก็ใช้ปัญญาของเรา เราก็ใช้ แต่เราไม่รู้ว่านั่นน่ะคือสัญญา

แต่พอเรามีสติปัญญาของเรา เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิเข้ามา นี่ปัญญาอบรมสมาธิ ตรึกในธรรม หาเหตุหาผลของมัน ถ้าหาเหตุหาผลนะ สิ่งใดเป็นความจริง สิ่งใดไม่เป็นความจริง หาเหตุหาผลนะ ถ้าหาเหตุหาผล พอมันปล่อยวาง นั้นน่ะคือสมถะ มันจะปล่อยวางเข้ามาสู่จิต แล้วมีสติปัญญารักษาไว้ มีสติปัญญารักษา ถ้ามันออกรู้ ออกเสวย เราจะใช้ปัญญาพิจารณา มันก็ปล่อยเข้ามา ปล่อยเข้ามา ปล่อยเข้ามาจนเราควบคุมได้

ถ้าเราควบคุมสิ่งนี้ได้นะ รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร เป็นบ่วงของมาร รูป รส กลิ่น เสียง ธรรมะที่เรามาใช้พิจารณาอยู่นี้มันอาศัยอะไรไปพิจารณา? มันก็รูป รส กลิ่น เสียงนี่แหละ รูป รส กลิ่น เสียง เพราะเราตรึกในธรรม ธรรมะก็คือธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่มันตรึกผ่านอะไรล่ะ? มันก็ตรึกผ่านสิ่งนี้ ถ้าเราพิจารณาของเราแล้วเราปล่อยเข้ามา มันก็ปล่อยสิ่งนี้เข้ามาสู่ตัวมัน

ถ้าปล่อยสิ่งนี้เข้ามาสู่ตัวใจ แล้วมีสติปัญญา เรารับรู้ แล้วธรรมชาติของมัน ธรรมชาติของธาตุรู้ มันคือธาตุรู้ มันมีหน้าที่รู้ มันก็รู้ออกมาอีก เพราะมันยังมีแรงขับดันจากอวิชชาอยู่ เราก็พิจารณาซ้ำ พิจารณาซ้ำจนมีความชำนาญ พอมีความชำนาญ พอมันจะคิดนะ แอ๊ะ! แอ๊ะ! แอ๊ะ! นี่มันอายเลยนะ เพราะถ้าสติและสมาธิมีกำลังพอ มันจะคิดนี่เรารู้ก่อน รู้ก่อนที่มันจะคิดอีก พอมันจะคิดนะ “แน่ะๆๆๆ จะคิดอีกแล้ว”

แต่ถ้ามันคิดออกไปแล้ว เราก็ใช้ความคิดนี้มาพิจารณาแยกแยะ สิ่งนั้นมันมีเหตุมีผล มันมีดีมีชั่วอย่างใด มันก็ปล่อยเข้ามา นี่พิจารณาอย่างนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนจิตตั้งมั่น คำว่า “จิตตั้งมั่น” จิตนี่ มันจะรักษาจิตได้ง่าย แล้วมีสติปัญญา สังเกตตรงนี้ให้ดี สังเกตว่าเวลามันจะออกรู้ ถ้าจิตมันออกรู้แล้วเราเห็น นี่วิปัสสนาจะเกิดตรงนี้ เพราะถ้าจิตมันออกรู้นะ ธรรมชาติที่มันรู้ โดยธรรมชาติมันรู้อยู่แล้ว มันทำงานของมันอยู่อย่างนี้ แล้วหน้าที่ของเราที่เรามาประพฤติปฏิบัติกันอยู่นี่ เรามาตั้งสติ เรามาตั้งกันอยู่นี่ก็ตรงนี้ไง นี่ถ้าไม่เห็น มันก็ไม่รู้ ไม่เห็นไง ไม่เห็น

เห็นไหม ถ้าเป็นเจโตวิมุตตินะ เรากำหนดพุทโธๆๆ จนจิตมันสงบ ถ้าจิตมันสงบตั้งมั่น จิตสงบเป็นสมาธิบ่อยครั้งเข้าๆ ถ้ามันเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม...เห็นกาย นี่เห็นกายขึ้นมาเลย เห็นกายเป็นภาพ เห็นภาพขึ้นมานี่เป็นอุคคหนิมิต แล้วมันแยกส่วนขยายส่วน มันวิภาคะ ถ้าวิภาคะจนมันเป็นไตรลักษณ์ ฉะนั้น นี่เป็นเจโตวิมุตติ

ถ้าปัญญาวิมุตติ เราใช้ปัญญาของเรา เราใช้ปัญญาแยกแยะความรู้สึกนึกคิดเรานี่ แยกแยะมัน แยกแยะมัน แล้วมีสติพร้อม แยกแยะมัน มันก็ปล่อย ปล่อย ปล่อยจนขนาดที่ว่าถ้าเราควบคุมได้ เรามีสติ กำลังสมาธิพอ จิตนี่ ก่อนคิดนี่เรารู้เลยล่ะ ถ้าเรารู้ สติมันพร้อม ก่อนคิดนี่เรารู้เลย รักษาสิ่งนี้ไว้ แล้วรักษาจนเห็นนะ จนเห็นว่าจิตมันเสวยอารมณ์ ถ้าจิตมันเสวยอารมณ์นะ จิตเห็นอาการของจิต ถ้าจับตรงนี้ได้

“ไม่เห็น” ก็ทำสิ่งใดไม่ได้

“ไม่มอง” จิตมีกำลังแล้วไม่มอง มองข้ามไป มองข้ามว่าเราเคยทำแล้ว เราทำมาแล้ว สิ่งนี้ก็รู้หมดแล้ว ไม่เห็นมันมีค่าสิ่งใด

เห็นไหม ดูครูบาอาจารย์ของเราสิ ท่านสอนให้พิจารณากายๆ ร่างกายนี้หรือจะพิจารณาทำไม เราอยากจะได้ธรรม เราอยากจะเป็นพระอรหันต์ เราอยากจะพ้นจากทุกข์ แล้วเราจะพิจารณากายทำไม

ถ้าไม่พิจารณากาย ไม่พิจารณาเวทนา ไม่พิจารณาจิต ไม่พิจารณาธรรม มันจะเป็นวิปัสสนามาจากไหน แล้วจิตดวงนี้มันไม่เห็น ไม่เห็นกิเลสของมันเลย เวลามันเป็นสมาธิก็มองข้ามมันไปซะ แล้วมันจะไปรู้เห็นสิ่งใด สิ่งใดจะเป็นประโยชน์กับจิตดวงนี้ เพราะจิตดวงนี้มันมีอวิชชา เพราะมันโง่อย่างนี้ไง มันถึงได้มาเกิดอยู่นี่ไง แล้วเกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาก็ทุกข์มาก เกิดมาก็เศร้ามาก เกิดมาก็อยากจะพ้นจากทุกข์ แล้วพ้นจากทุกข์ ก็จะไปเก็บเกี่ยวธรรมะเอาจากฟากฟ้า ธรรมะก็หยิบเอาบนอากาศ นิพพานก็หยิบเอาได้ทุกที่ มันมีจากไหน ที่ไหนมันมี

เวลาเกิด ใครพามาเกิด พ่อแม่ให้เกิดเหรอ? พ่อแม่เป็นธรรมชาติของท่าน จิตเรา ปฏิสนธิจิตมันลงไปในไข่ ลงในครรภ์ ลงในน้ำครำ ลงในโอปปาติกะ จิตตัวนี้มันมีเวรมีกรรมของมัน มันถึงได้มาเกิด พอมาเกิดเป็นมนุษย์ เราเกิดมาเราก็มีทุกข์มียากของเรา พอเกิดขึ้นมาแล้วเรามีอำนาจวาสนา เราเกิดมาพบพุทธศาสนา พุทธศาสนานี่ เราจะประพฤติปฏิบัติก็ประพฤติปฏิบัติจากตรงนี้ไง

ถ้าไม่เห็น เราก็พยายามของเราเพื่อให้เห็น แล้วเราก็ไม่มองข้ามด้วย ไม่มองข้ามหมายความว่า เห็นให้มีสติมีปัญญา ให้เป็นผู้ที่ละเอียดรอบคอบ ไม่สุกเอาเผากิน ไม่มองข้าม ไม่มองว่าสิ่งนี้เราทำแล้ว สิ่งนี้เรารู้แล้ว ธรรมะเราจะเอานิพพาน เราไม่ใช่ว่าพิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรม พิจารณาทำไม

เวลาเขาพูดนะ “กายก็เป็นอริยสัจ ทุกอย่างเป็นอริยสัจ” นั่นก็พูดไปอีกอย่างหนึ่ง เพราะอะไร เพราะมันไม่มีจิตไง มันไม่มีจิต ไม่มีผู้ทุกข์ผู้ยากนั้นออกมาแก้ไข ผู้ที่ทุกข์ผู้ที่ยากมานั่งเป็นหัวตอกันอยู่นี่ เพราะมันทุกข์มันยาก มันถึงพยายามอยากจะพ้นทุกข์ พ้นจากความทุกข์ความยากอันนี้ออกไป แล้วจะพ้นจากความทุกข์ความยาก เราก็จะพ้นจากทุกข์ๆ แล้วพ้นจากทุกข์ที่ไหน ถ้าไม่มาพิจารณาที่นี่

ถ้ามันกลับมาพิจารณาที่นี่ ถ้าจิตมันสงบแล้วเราสังเกตให้ดี ถ้าสังเกตนะ คอยตั้งสติ ถ้ามันจับ มันเสวยอารมณ์ “จิตเห็นอาการของจิต” อาการก็คือความรู้สึกนึกคิดเรานี่แหละ ความรู้สึกนึกคิด ถ้าผู้ที่ไม่ได้ประพฤติปฏิบัติ มันก็เป็นสามัญสำนึก เป็นสัญชาตญาณ มันเป็นปกตินี่ คือมันเป็นมนุษย์ปกตินี่แหละ ก็เป็นความรู้สึกนึกคิด ก็นี่ไง ก็มีความคิดที่ดี มีสติที่ดี ก็เป็นคนสมบูรณ์ มีสติสัมปชัญญะ ทำมาหากินจนมีเงินทอง มีทุกอย่างพร้อม ก็เพราะนี่ไง นี่ก็ทำแล้ว นี่ก็เป็นชาวพุทธ ก็เป็นคนดี ก็ดีไง ดีของโลกไง ถ้าดีของโลก นี่งานหน้าที่ของโลก

แต่ถ้าเรามีอำนาจวาสนานะ พอมีอำนาจวาสนานี้มันจะมีธรรมขึ้นมาในใจ ถ้ามีธรรมขึ้นมาในใจนะ เวลาคนที่เขาทุกข์เขายากนะ ข้าวของเงินทองเขาเต็มบ้าน แล้วเขาก็คิดว่าข้าวของเงินทองของเขาช่วยเหลือเขาไม่ได้เลย ช่วยเหลือให้เขามีความสุขไม่ได้เลย แล้วจะหาความสุขที่ไหน เขาถึงมาประพฤติปฏิบัติกันนะ

เวลาดูองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทิ้งราชวังมา ยสะทิ้งเรือน ๓ หลังมาเหมือนกัน ทิ้งมาหมดนะ เพราะสิ่งนั้น เวลาเราแสวงหามาก็เพื่อความมั่นคงของชีวิต แต่กิเลสมันถ่ายรดในหัวใจ มันมีแต่ความทุกข์ความร้อน ฉะนั้น สิ่งที่มั่นคงของชีวิต เราก็รักษาไว้ เพื่อชาติเพื่อตระกูล แต่จิตใจของเรา เราต้องดูแลรักษาของเราเอง

ฉะนั้น ถ้าเราดูแลรักษาของเราเอง จิต พยายามใช้ปัญญาอบรมสมาธิ หรือสมาธิอบรมปัญญาก็แล้วแต่ ถ้าเราใช้พุทโธๆ นี่สมาธิอบรมปัญญา เกิดสมาธิแล้วให้รู้ ให้เห็น ให้มอง ให้มีความละเอียดรอบคอบ สิ่งนี้เกิดขึ้น แล้วเราใช้วิปัสสนาของเรา แยกแยะของเรา เพื่อฝึกหัดจิตนี้ให้มันฉลาดขึ้นมา

ในกายของเรานี้ ถ้าเราพิจารณาของเรา จิตใจกับร่างกายนี้มันจะได้คายสังโยชน์ออกไป สิ่งที่มันร้อยรัดไว้อยู่ในจิตใต้สำนึก เราก็ว่ากายนี้ไม่ใช่ของเรา สรรพสิ่งนี้ก็ไม่ใช่ของเรา เราอาศัยอยู่เท่านั้น โดยปริยัติ โดยทฤษฎีเป็นอย่างนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนไว้ ธรรมและวินัยเป็นศาสดาของเรา เราก็ได้ร่ำเรียนกันมา ร่ำเรียนกันมาแล้วมันฆ่ากิเลสได้ไหม ร่ำเรียนกันมาแล้วก็ร่ำเรียนกันมาเพื่อเป็นแนวทาง

แต่เวลาเราปฏิบัติ เราฝึกหัดจิตของเรา ให้จิตของเรารู้ ให้จิตของเราเห็น ถ้ามันรู้มันเห็นของมัน ถ้าจิตมันเสวยอารมณ์ จับได้นะ พอจับได้ จับได้แล้วแยกแยะ แยกแยะด้วยปัญญา อารมณ์ประกอบไปด้วยสิ่งใด นี่จิตเห็นอาการของจิตนะ ถ้าเห็นอาการของจิต รูป รูปคืออารมณ์อารมณ์หนึ่ง อารมณ์โกรธก็ได้ อารมณ์ต่างๆ จับได้นะ แยกแยะมัน ทำไมมันถึงโกรธ ทำไมมันถึงคิด ทำไมมันถึงตระหนี่ ทำไมมันถึงทำให้ตัวเองเจ็บช้ำน้ำใจนัก นี่แยกมันออก

ถ้าแยกมันออก เห็นไหม ในความรู้สึกนึกคิดนี้มันจะต้องมีข้อมูล สัญญา สัญญาเป็นข้อมูลเดิมของมัน พอมีสัญญาขึ้นมาแล้ว สัญญามันก็มีดีมีชั่วคือเวทนา พอเวทนาขึ้นมา นี่สังขารมันปรุง ถ้าสังขารมันปรุง มันจะปรุงต่อเนื่องอย่างไรถ้าไม่มีวิญญาณรับรู้ประกอบขึ้นมาให้เป็นอารมณ์ความรู้สึกนี้ ถ้าความรู้สึกนี้ ถ้าเราพิจารณา มันแยกออกได้ เห็นไหม นี่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่จิต จิตไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ แยกแยะมันก็ปล่อย แยกแยะมันก็ปล่อย ถ้าสติปัญญาทันนะ ถ้าสติปัญญาไม่ทัน มันมองข้าม

เวลาเราปฏิบัติกัน เราบอกเราจะเอามรรคเอาผล เอามรรคเอาผล เราก็จะเอาธรรมเลย ธรรมทั้งแท่ง เห็นไหม จิตทั้งแท่งก็เป็นธรรมทั้งแท่ง เวลาเป็นสมาธิ สมาธินี่มันปล่อยวางหมดเลย มันเป็นธรรมทั้งแท่ง ธรรมทั้งแท่งคือกิเลสทั้งแท่ง กิเลสทั้งแท่งเพราะจิตมันปล่อยวางเข้ามา เห็นไหม เวลาจิตมั่นคง จิตตั้งมั่น นี่กิเลสทั้งนั้น แต่ถ้าไม่มีความสงบเข้ามา มันก็เป็นโลกไปเลย เวลามันเสวยอารมณ์ขึ้นมา มันคิดออกไป มันเป็นเรื่องโลกๆ ไปแล้ว มันไม่ใช่การปฏิบัติธรรม

การปฏิบัติธรรมมันจะย้อนกลับเข้ามา ให้จิตย้อนกลับมาสู่สัมมาสมาธิเพื่อจะเข้าสู่การใช้วิปัสสนา มันก็เป็นธรรม มันก็เป็นอริยสัจ

เวลาเราปฏิบัติขึ้นมา เห็นไหม มนุษย์คนหนึ่งนั่งอยู่ เรารู้ว่ามนุษย์คนนั้นเขามีคุณธรรมในหัวใจหรือไม่ นี่เราเห็นแต่มนุษย์คนหนึ่ง แต่เราไม่รู้ว่าใจของเขาสูงส่งหรือต่ำทรามขนาดไหน แต่ถ้าเวลาสนทนาธรรม ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ เวลาพูดออกมา ถ้าจิตใจของเขามีคุณธรรม เวลาเขาพูดสิ่งใดมา มันแทงหัวใจเรานะ มันทำให้เราสะอึกเลยล่ะ นี่มันแทงหัวใจเพราะอะไร เพราะสิ่งที่มีคุณค่า มันคือธรรมดวงนี้ สิ่งที่มีคุณค่าคือหัวใจที่มันรู้ธรรม ถ้ามันรู้ธรรม เราก็มาฝึกอยู่ที่หัวใจโง่ๆ ของเราให้มันรู้ธรรม ถ้าให้มันรู้ธรรม มันจะรู้ธรรมโดยความสกปรกโสมมของมันไม่ได้ มันต้องรู้ธรรมด้วยความสะอาดของมัน

ฉะนั้น จิตที่มันไม่เป็นสมาธิ มันโดนสัญญาอารมณ์ โดนความสกปรกครอบงำมันอยู่ ฉะนั้น เราถึงต้องทำความสงบไง ถ้าทำความสงบ คือกลั่นกรอง กลั่นกรองให้ใจมันสงบระงับ ให้มันสะอาดบริสุทธิ์ขึ้นมาโดยสัมมาสมาธิ

“จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้หมองไปด้วยอุปกิเลส” เห็นไหม มันผ่องใส ถ้ามันเป็นสมาธิขึ้นมา ถ้าใครเป็นสมาธินะ เห็นเป็นแสงสว่าง เห็นใจตัวเองใส สิ่งนั้นมันใสในตัวของมัน สิ่งนี้เป็นพื้นฐาน ถ้ามีสิ่งนี้เป็นพื้นฐาน ถ้าจิตมันสงบ สงบแล้ว มันผ่องใส มันสว่าง ก็ไปชื่นชม ไปชื่นชม ไปพอใจ ไปถนอมรักษาไว้ เดี๋ยวมันก็เสื่อม เพราะว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องดับเป็นธรรมดา มันไม่มีอะไรคงที่หรอก มันแปรสภาพตลอด ถ้ามันแปรสภาพ แต่ที่มันเป็นอยู่เพราะเรามีความเพียร มีความวิริยะ มีความอุตสาหะ มันตั้งสติกำหนดพุทโธ มันถึงกลับมาสู่ความสงบระงับนี้ ถ้าเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ มันก็กลับมาสู่ใจนี้

เห็นไหม ออกไปจากใจ สัญญาอารมณ์นี้ออกไปจากใจ แต่เรามีสติ เราเชื่อมั่นในธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สอนให้มีสติ จับแล้วใช้ปัญญาแยกแยะ พอปัญญาแยกแยะขึ้นมา เวลาทำเข้ามามันก็กลับมาสู่ความสงบระงับ สู่สัมมาสมาธิ แล้วฝึกหัดใช้ปัญญาอย่างนี้ เห็นไหม ทั้งรู้ ทั้งเห็น มองค้นคว้าหาขึ้นมา ถ้าจับได้ เราพิจารณาของเราอย่างนี้ นี่คือการทำงานของใจ

ใจนะ ใจทำงาน พอใจทำงานนี่มันแยกแยะของมัน พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำแล้วซ้ำเล่า การพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อให้มันอิ่มเต็ม เพื่อให้มันถึงที่สุดของมัน แต่ขณะที่เราจับ เราพิจารณาของเรา เราเห็นของเราแล้วเราพิจารณาของเรา

การฝึกหัด จากสิ่งที่ไม่รู้ มันก็ได้รู้ขึ้นมา รู้ขึ้นมาแล้วก็ล้มลุกคลุกคลาน เพราะว่าคนเกิดมา เราเกิดมาเวียนตายเวียนเกิด การเวียนตายเวียนเกิด ในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บุพเพนิวาสานุสติญาณ เห็นไหม ไม่มีต้นไม่มีปลาย การเวียนตายเวียนเกิดมานี่สะสมมาไม่รู้กี่ภพกี่ชาติ ฉะนั้น การเวียนตายเวียนเกิดมาไม่รู้กี่ชาติ มันถึงได้เหนียวแน่นแก่นกิเลส พอมันเหนียวแน่นของมัน สิ่งที่ทำลายยากที่สุดคือกิเลส

สิ่งที่เขาทำลายกัน อย่างเช่นภูเขา อย่างเช่นวัตถุสิ่งใดเขาจะรื้อถอน เขาใช้ระเบิดนะ เขาไปทำลายได้หมด แต่เราจะทำลายกิเลส เราระเบิดร่างกายเราก็ไม่ได้ ระเบิดร่างกายก็ตายเปล่า แต่ถ้ามรรคญาณนี่มันทำลายได้ มันเข้าไประเบิด มันเข้าไปทำลาย จะเข้าไปทำลายอย่างใดล่ะ ถ้าเข้าไปทำลาย เห็นไหม นี่ไง ถ้ารู้ถ้าเห็นแล้วเราพิจารณาของเรา ใช้ปัญญาของเรา ถ้าปัญญา เวลาพิจารณาของเรา ถ้าเป็นเจโตวิมุตติ ถ้าจะทำลายนะ พิจารณากายนี่มันละลายลง มันแปรสภาพของมันไป ถ้าแปรสภาพ ถ้ามีสติมีปัญญา ถ้ามีสมาธินะ เวลาพิจารณาแล้วรำพึงให้มันเป็นแบบนั้น มันจะเป็นแบบนั้น เป็นแบบนั้น...เป็นแบบนั้นหมายความว่า มันเป็นตามกำลังของจิตนะ

แต่ถ้ากำลังของจิตเราไม่พอ คือสัมมาสมาธิ ฐานที่รองรับมันไม่พอ หรือทุนเราไม่มี ทุนเราน้อย เราจะให้มันเป็นไป มันไม่เป็น มันไม่เป็น พอมันไม่เป็นขึ้นมา นี่วาง วางเลย แล้วกลับมาพุทโธ สร้างทุน สร้างกำลังให้พอ พอกำลังมันพอ รำพึงเลย ให้เป็นแบบนั้น ให้เป็นแบบนั้น มันละลายลง มันอืดขึ้นนะ มันทำแล้วมันเห็นชัดเจนมาก เห็นชัดเจน นั่งดูแล้วนะ เศร้าใจ เศร้าอยู่ข้างใน ธรรมมันสังเวช มันเกิดความสังเวช มันสะเทือนใจข้างใน พอมันสะเทือนใจขึ้นมานะ มันก็ปล่อย มันก็ปล่อย พอมันปล่อยขึ้นมานะ ปล่อยมาแล้วเราก็อยู่กับความสุขนั้น

เวลาทำความสงบของใจ พุทโธๆ จิตสงบ เราก็อยู่กับจิตสงบ อัปปนาสมาธินี่สักแต่ว่ารู้ มีความสุขมาก เวลามันคลายตัวออกมา มันเป็นอุปจาระ รับรู้แล้ว รับรู้สิ่งต่างๆ พิจารณาของเราไป ถ้าออกไปขณิกะ เราก็พยายามเข้ามาใหม่ จนกว่าเราจะพักการภาวนาออกมา นี่ก็เหมือนกัน เวลาจิตมันพิจารณาของมัน เวลาพิจารณาแล้วมันปล่อย ปล่อย เราก็อยู่กับความสุขนั้น พอปล่อย มีความสุขนะ คนทำงาน ทำงานด้วยความมุมานะ แล้วทำงานสำเร็จ เราพอใจไหม

จิต ถ้ามันพิจารณาของมัน พิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรม พอพิจารณาไปแล้วมันปล่อย มีความสุขมาก ทำงานประสบความสำเร็จ แต่พอความประสบความสำเร็จนี้ ประสบความสำเร็จเพื่อฝึกหัดจิต ฝึกหัดจิตให้รู้ว่ากายไม่ใช่เรา เราเกิดมาด้วยเวรด้วยกรรม เราถึงเกิดมาเป็นมนุษย์ พอเราเป็นมนุษย์ มนุษย์มันก็มีธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ มันมีกายกับใจ ถ้าเราเกิดมามีกายกับใจ มันเป็นสมบัติของบุญกุศล เพราะมีบุญมีกรรม มันถึงมาเกิดเป็นมนุษย์ พอเกิดเป็นมนุษย์แล้วเป็นของเราไหม? เป็นของเราชั่วอายุขัย เวลาเราตายไปแล้ว ซากศพเขาก็เอาไปทิ้ง เอาไปเผา เอาไปฝัง เอาไปต่างๆ แล้วจิตไปไหน? จิตมันก็ไปต่อ นี่ไง โดยวัฏฏะมันหมุนกันอยู่อย่างนั้น

แต่ขณะที่เราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เวลาพิจารณาไป มันทำลายให้เราเห็นนะ เวลาเราเผาศพ เผาซากศพ เขาต้องไปเผาที่เชิงตะกอน แต่เวลาเราเผาด้วยมรรคญาณ เราเผาด้วยตบะธรรม เวลาเราพิจารณาไป ร่างกายก็นั่งอยู่นี่ จิตใจก็พิจารณาอยู่นี่ เวลามันทำลายลง มันเป็นไตรลักษณ์ ลักษณะ เห็นไหม ดูสิ พิจารณาไป วิภาคะ จิตใจมันทำลายลง ร่างกายนี้มันย่อยสลายไปนะ ดินเป็นดิน น้ำเป็นน้ำ ลมเป็นลม ไฟเป็นไฟ มันย่อยสลายต่อหน้า! ต่อหน้าจิต จิตพิจารณา มันเห็นชัดเจนของมัน

พอเห็นชัดเจน พอไม่มีสิ่งใดเลย มันหมดไป มันทำลายหมด จนว่างหมด จิตก็สุข อยู่เสวยอารมณ์ ทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถ้าสังโยชน์มันไม่ขาด ถ้ามันไม่สมุจเฉทปหาน มันเป็นโสดาปัตติมรรค ในเมื่อทำโสดาปัตติมรรค การฝึกหัดจิต จิตมันเคยทำงานของมันอยู่ มันเป็นโสดาปัตติมรรค

มรรค เห็นไหม มรรคคือทางเอก มรรคคือทางเดิน ถ้ามรรค เป็นทางเดินของใคร? เป็นทางเดินของใจ ถ้ามรรคเป็นทางเดิน นี่มรรคญาณมันเดินอยู่ จักรมันหมุนอยู่นี่ พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า เราต้องหมั่นเดิน หมั่นเพียร หมั่นกระทำเพื่ออะไร? เพื่อให้มันมีผลสำเร็จเข้ามา นี่พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า

คนที่ประพฤติปฏิบัติ เห็นไหม นี่ไม่เห็น มันก็ไม่รู้...ไม่มอง มันก็มองข้ามมันไป แต่เวลาเราประพฤติปฏิบัติ เราปฏิบัติขึ้นมา พิจารณาของเราขึ้นมา ถ้าคนนะ คนที่อำนาจวาสนาหรือความเพียรไม่ต่อเนื่อง เวลาพิจารณาไป มันปล่อยนะ พอมันปล่อยแล้ว ถ้ามีความเข้าใจว่าสิ่งนี้เป็นธรรม บอกว่า “มันก็มีหนเดียว ขณะจิตก็มีหนเดียว เราพิจารณาไปแล้ว มันก็ปล่อยแล้ว” ถ้ามันปล่อยแล้ว เพราะคิดกันอย่างนี้ เพราะภาวนาอย่างนี้ ว่า “มันต้องมีขณะ ทำของเราไป พิจารณาแล้ว ปล่อยวางแล้วมันก็เป็นธรรม” นี่ไง มันจะไปคว้าเอามรรคผลจากบนอากาศ คว้าเอามรรคผลจากสัญญาอารมณ์ที่เราเข้าใจ มันไม่เป็นจริงหรอก

ถ้ามันไม่เป็นจริง เวลามันเสื่อม เวลามันเสื่อมออกมานะ นี่เพราะอะไร เพราะกิเลส โสดาปัตติมรรค มันไม่ใช่โสดาปัตติผล ถ้าไม่ใช่โสดาปัตติผล มันเป็นกุปปธรรม สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา กุปปธรรมนี่ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา เราบอก “ธรรมนี้เป็นอนัตตา สรรพสิ่งนี้เป็นอนัตตา” นี่ก็เป็นอนัตตา คำว่า “เป็นอนัตตา” มันก็แปรสภาพไง พอเป็นอนัตตา พอพิจารณาแล้วมันก็ปล่อย มันก็วางไง แต่มันยังไม่สมุจเฉท มันไม่เป็นอกุปปธรรม

อกุปปธรรมหมายถึงว่า อฐานะที่จะแปรสภาพ อฐานะคือว่าความเป็นไปไม่ได้ที่มันจะเปลี่ยนแปลงจากนี้ ถ้ามันเป็นไปไม่ได้ที่มันจะเปลี่ยนแปลงไปจากนี้ แล้วมันจะเสื่อมไปไหนล่ะ ถ้ามันจะเสื่อม มันต้องมีเหตุมีผลรองรับขึ้นไป มันถึงจะเป็นตามข้อเท็จจริง แต่ถ้ามันพิจารณาไปแล้วมันไม่สมุจเฉทปหาน มันปล่อยวาง พอมันปล่อยวาง การสมุจเฉทปหานกับไม่สมุจเฉทปหานนี่มันแตกต่างกัน

มันแตกต่างว่า เวลาเราพิจารณาไป เวลามันปล่อย มันปล่อย ปล่อยก็คือปล่อย ปล่อยก็มีความสุข ความสุขแล้วเดี๋ยวมันก็คิดอีก เดี๋ยวมันก็เห็นอีก เดี๋ยวมันก็รู้อีก ซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่อย่างนั้น ถ้าเราสติปัญญาไม่พอ หรือเป็นคนมักง่าย เป็นคนที่ไม่รอบคอบ เราก็ว่าสิ่งนี้เราทำแล้ว สิ่งนี้เรารู้แล้ว สิ่งที่รู้แล้ว รู้แล้วก็คือรู้แล้ว เหมือนกับเราเรียนหนังสือ เราเรียนนี่เราก็เรียนแล้ว แต่เราสอบไม่ผ่าน สอบแล้วคะแนนมันไม่ผ่าน แล้วทำอย่างไร? ก็ต้องเรียนซ้ำ ก็ต้องเรียน ต้องซ่อมอยู่อย่างนั้นล่ะ ซ่อมจนกว่ามันจะผ่าน

นี่ก็เหมือนกัน พิจารณาซ้ำๆ ถ้าพิจารณาซ้ำแล้ว เห็นไหม ซ้ำ ซ้ำ มันก็ต้องมีงานทำ ซ้ำ มันก็ต้องมีสมาธิ มีสมาธิ ถ้ามีฐานตั้งมั่น มันจะรู้จะเห็นชัดเจน แต่ถ้าไม่มีสมาธิหรือสมาธิมันอ่อน นี่มันง่อนแง่น แล้วมันไม่ชัดเจน ฉะนั้น สมถะสำคัญมาก จิตสงบนี้สำคัญ ถ้าไม่มีจิตสงบ ปัญญาไม่เกิด ปัญญาในการภาวนามยปัญญานะ ไม่ใช่สัญญานะ สัญญานี่ไม่มีสิ่งใดมันก็เกิด นี่สัญญาทางโลก ปัญญาทางโลกมันเกิดทั้งนั้นน่ะ มีสมาธิไม่มีสมาธิมันก็เกิดของมัน ธรรมชาติของจิตที่มันรู้ มันรู้อยู่โดยธรรมชาติของมันอยู่แล้ว นี่ธาตุรู้มันรู้ของมันโดยธรรมชาติของมัน หน้าที่ของมันด้วย

แต่ถ้าเราจะเอามรรคญาณ ทางอันเอก ทางเอกที่จิตมันจะเดินไป จิตนี้จะมีการพัฒนาไป ถ้าจิตมันไม่สงบ มันง่อนแง่น มันเป็นสัญญา สัญญาเพราะอะไร เพราะข้อมูลเดิมนี่เรารู้อยู่แล้ว ธรรมะทุกคนก็ศึกษามาแล้ว ทุกคนก็รู้ข้อมูล มันก็ว่าเหมือน! เหมือน! เป็นจริงตามนั้น แต่เป็นจริงตามที่กิเลสมันแทรกเข้ามา กิเลสมันแทรกเข้ามา สมุทัยมันแทรกเข้ามาตลอดในการประพฤติปฏิบัติ ถ้าเรามีสติปัญญาของเรา เห็นไหม เหมือน! เหมือนแล้วได้ประโยชน์อะไร

แต่ถ้าจิตมันสงบเข้ามา พิจารณาแล้ว เห็นไหม ความต่าง เพราะผลของมัน ผลของที่จิตมันสงบเข้ามาแล้วเราใช้ปัญญาของเรา มันจะมีความต่าง ความต่างเพราะมันลึกซึ้งกว่า มันรับรู้ได้ ถ้ามันลึกซึ้งกว่า ลึกซึ้งนี่ เวลาพิจารณาแล้วมันปล่อยวางแล้ว มันก็ลึกซึ้งจริงๆ มันปล่อยวางแล้ว ถ้าปล่อยวางแล้ว สิ่งที่ผลตอบรับคือขณะจิต ถ้าไม่มีขณะจิต พิจารณาแล้วมันก็ปล่อย ปล่อยแล้วก็พิจารณาซ้ำ ปล่อย ปล่อยก็คิด มันก็ให้ค่ากับตัวมันเองไง

ให้ค่าว่าปล่อยหนหนึ่งก็เป็นโสดาบัน ปล่อยครั้งที่ ๒ ก็เป็นสกิทาคามี ปล่อยครั้งที่ ๓ ก็เป็นอนาคามี ทั้งๆ ที่มันไม่ใช่เลย มันไม่ใช่เพราะอะไร เพราะมันไม่มีขณะจิต ไม่มีผลสรุป ขณะคือผลสรุปของมัน โครงการใดก็แล้วแต่ ถ้าเราทำเสร็จสิ้นแล้ว โครงการสรุปแล้ว โครงการนั้นต้องสรุปลงได้ แล้วตรวจสอบบัญชีจนจบสิ้นไป จบสิ้นไปนี่เป็นอกุปปธรรม คือจบแล้ว เหมือนกับวินัยพระ วินัยพระนะ สงฆ์ตัดสินแล้ว ห้ามรื้อกลับ ห้ามรื้อฟื้น ใครรื้อฟื้นนี่ปรับอาบัติ จบ ไม่มีการรื้อฟื้น

นี่ก็เหมือนกัน ถ้ามันจบ มันพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถ้าถึงที่สุด เวลามันขาด พิจารณากาย พอพิจารณากายจนปล่อยวางแล้ว พิจารณาซ้ำมันก็ปล่อยวางอีก ปล่อยวาง แต่ลึกซึ้งกว่านะ ปล่อยวางลึกซึ้งกว่า หนักแน่นกว่า เข้าถึงจิตได้เต็มหัวใจกว่า แต่พิจารณาแล้วมันปล่อยวาง แต่มันก็เป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของใจ ใจส่วนหนึ่งปล่อย แต่ส่วนที่ยังไม่ปล่อย มันสงสัย ส่วนที่ไม่ปล่อย มันลังเล ส่วนที่ไม่ปล่อย มันก็ยังเป็นสมุทัยอยู่ เห็นไหม นี่มันก็ซ้ำแล้วก็ปล่อย ปล่อย ปล่อย ให้จิตใจมันเต็มหัวใจ ปล่อยจนถึงที่สุดของมัน

ถ้าเวลาปล่อยถึงที่สุด มันพิจารณากายถึงที่สุดของมัน ถ้ามันปล่อยหมดในหัวใจเลย กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ จิตนี้รวมลง กายนี้แยกกับจิต แยกออกเป็น ๓ ทวีป ทวีปนี้แยกออกจากกัน จะไม่เข้ามาเชื่อมต่อกันได้อีกเลย จะเข้ามาเชื่อมต่อกันอีกไม่ได้ จิตจริงๆ จิตที่มันจริง มีสัมมาสมาธิที่มีสติปัญญารู้จริง เวลามันใช้ปัญญา สมุจเฉทปหาน เห็นไหม จิตจริง ผลของมันถึงเป็นตามความเป็นจริง

ถ้าผลของมันเป็นตามความเป็นจริงแล้วนะ สิ่งที่ว่าขณะจิตที่เป็นสมุจเฉทปหาน ที่ว่าขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราก็ไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ ถึงที่สุดแล้วสังโยชน์ขาดออกไป สิ่งที่ขาดออกไป ขาดอย่างใด ถ้าผู้เป็นจริง เวลาขาด มันเห็น เห็นนี่รู้ว่าขาด นี่ตามความเป็นจริง ถ้าความเป็นจริง มันก็เป็นอกุปปธรรม ถ้าสังโยชน์ขาดแล้ว มันจะกลับมาต่ออีกไม่ได้ มันจะกลับไปเป็นปุถุชนอีกไม่ได้

โสดาปัตติมรรคมันจะเป็นโสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรคจะเป็นสกิทาคามิผล อนาคามิมรรคมันจะเป็นอนาคามิผล อรหัตตมรรคจะเป็นอรหัตตผล เป็นขั้นเป็นตอนในการประพฤติปฏิบัติไป ทำกันมาแบบนี้ ครูบาอาจารย์ท่านประพฤติปฏิบัติมา ท่านถึงตรวจสอบกันได้ ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ก็คือเวลาพูดธรรมะนี่ ถ้าพูด ไม่รู้ไม่เห็น พูดไม่ได้ พอพูดไม่ได้ พูดไม่ได้หมายความว่า เวลาพูดนี่พูดธรรมะได้ พูดธรรมะ แต่ธรรมะของพระพุทธเจ้า เวลาซักเข้าไป “อ้าว! ก็พระไตรปิฎกเขียนไว้อย่างนั้น ธรรมะพระพุทธเจ้าเป็นอย่างนั้น” เพราะเราไม่รู้ รู้ไม่ได้ คนไม่รู้ไม่เห็น รู้ไม่ได้ เวลาจำคนอื่นมาพูดก็พูดครั้งคราว

แต่พูด เห็นไหม ถ้าเป็นธรรม มันรอบด้าน จะอธิบายอย่างใด อธิบายเพื่อความเข้าใจของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ เวลาคนที่ปฏิบัติได้แล้วจะเป็นร่มโพธิ์ร่มไทร จะเป็นที่พึ่งอาศัยของหมู่คณะ ถ้าหมู่คณะสอบถาม จะอธิบายได้ ฉะนั้น เวลาหมู่คณะนี่ร้อยพ่อพันแม่นะ เวลาบวชพระ เห็นไหม ร้อยพ่อพันแม่ แล้วแต่จริตนิสัยของเขา ไม่เหมือนกัน ฉะนั้น เวลาถามธรรมะจะถามไม่เหมือนกัน ถามไม่เหมือนกัน แล้วแต่วุฒิภาวะสูงต่ำ วุฒิภาวะหนักแน่นอ่อนแอ เวลาเขาถามขึ้นมาว่าควรทำอย่างใด ผู้ที่รู้จริงจะอธิบาย จะพยายามแนะวิธีการให้ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติได้มีหลักมีชัย นี่ร่มโพธิ์ร่มไทร นี่พูดถึงถ้าตามความเป็นจริง

ถ้าไม่ตามความเป็นจริงนะ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า มันให้ค่าตัวเองจนเลยเถิดกันไป นี่เพราะไม่รู้ไม่เห็น แต่ถ้ารู้เห็นนะ ถ้าพิจารณา เราปฏิบัติของเรา เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิของเราขึ้นมา พิจารณาเข้ามาซ้ำแล้วซ้ำเล่า พิจารณา ปล่อยวางเข้ามา ปล่อยวางเข้ามา ถ้าจิตมันสงบ จิตสงบนี่เวลามันจับจิต จิตจับอาการของจิต คือจับอารมณ์ สัญญาอารมณ์ สัญญาอารมณ์นี้เป็นสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรมารมณ์

จิตที่มีสมาธิจับอารมณ์ก็เป็นธรรม จิตที่ไม่มีสมาธิมันจับอารมณ์ไม่ได้ จิตที่ไม่มีสมาธิมันจะเป็นอารมณ์ในตัวมันเอง จิตที่ไม่มีสมาธิ เพราะอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดกับจิตมันเป็นอันเดียวกัน อารมณ์ความรู้สึกกับจิตมันเป็นอันเดียวกันเพราะไม่ได้ฝึกหัด เราเป็นปุถุชนคนหนา คิดก็คือเราคิด ทำก็คือเราทำ ดีก็คือเราดี ชั่วก็คือเราชั่ว

แต่ถ้าเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิขึ้นมานี่มันปล่อยเข้ามา มันปล่อยอารมณ์ต่างๆ เข้ามาจนเป็นสัมมาสมาธิ คือจิตมันปล่อยวางสิ่งต่างๆ เข้ามา จิตมันปล่อยวางสิ่งต่างๆ เข้ามาจนเป็นตัวของจิตเอง พอเป็นตัวของจิตเอง จิตมันก็สามารถจับอารมณ์ความรู้สึกได้ ถ้าจิตจับอารมณ์ความรู้สึกได้ เห็นไหม จิตเห็นอาการของจิต ถ้าจิตเห็นอาการของจิตแล้วแยกแยะอาการ อาการกับจิตมันไม่ใช่อันเดียวกัน ถ้าอาการกับจิตไม่ใช่อันเดียวกัน มันใช้ปัญญาพิจารณาของจิตนั้นไป จิตพิจารณาแล้วพิจารณาเล่า พิจารณา เห็นไหม อารมณ์ที่ผูกพัน อารมณ์ที่หนักหน่วง อารมณ์ที่มีอำนาจเหนือหัวใจ มันจับได้ ถ้ามันมีกำลังของมัน จับแล้วพิจารณาแยกแยะไป แยกแยะได้

รูป ความรู้สึกนึกคิด เวทนา ความพอใจ สัญญา คือข้อมูลของมัน สังขาร คือความคิด ความปรุง ความแต่ง สังขารมันขยายความๆ แต่เวลาวิญญาณรับรู้ ถ้าไม่มีวิญญาณรับรู้ สิ่งนี้มันเกิดไม่ได้ แล้วถ้าจิตจับอาการของมันแล้วแยกแยะอาการไม่ได้ ถ้าแยกแยะอาการไม่ได้ ปัญญามันไม่เกิด ปัญญามันจะเกิดเพราะมันแยกแยะอาการของจิต แยกแยะอารมณ์ความรู้สึกนี่ แยกแยะธรรมารมณ์ กาย เวทนา จิต ธรรมารมณ์ ถ้าจิตมีสัมมาสมาธิ มันจะเป็นธรรมารมณ์ จะเป็นสติปัฏฐาน ๔ แต่ถ้าจิตมันไม่มีสมาธิ มันเป็นโลกๆ อารมณ์กับจิตมันเป็นอันเดียวกัน

ฉะนั้น พอจิตมันสงบแล้วนี่จับธรรมารมณ์ ธรรมะ เห็นไหม อารมณ์ที่เป็นธรรมะ อารมณ์ที่จิตมันสงบระงับ จิตมันตั้งมั่น จิตตั้งมั่น จิตที่มีสัมมาสมาธิ คือปุถุชน กัลยาณปุถุชน พอกัลยาณปุถุชน กัลยาณปุถุชนคือจิตสงบง่าย จิตที่รักษาจิตนี้ได้ง่าย เป็นศรัทธา อจลศรัทธา ถ้าอจลศรัทธานี่รักษาง่าย

จิตที่มันเป็นสัมมาสมาธิ สิ่งที่ออกจับอาการของใจ ถ้ามันจับของมันนะ มันจับของมันได้ มันรู้มันเห็นของมันได้ ถ้าปุถุชน กัลยาณปุถุชน ถ้าปุถุชน มันเป็นอันเดียวกัน ปุถุชน สิ่งที่เป็นคนหนา คนหนานี่อารมณ์ความรู้สึกก็เป็นเราทั้งนั้นน่ะ แต่ถ้าเราพิจารณาของเราขึ้นมา จิตมันปล่อยวางขึ้นมาจนเป็นกัลยาณปุถุชน ถ้ากัลยาณปุถุชน ถ้าไม่เห็นอาการ ถ้าจับไม่ได้ นี่ไง ไม่เห็น ไม่เห็นก็พิจารณาไม่ได้ ถ้าจิตไม่เห็น แล้วถ้าไม่มองล่ะ

เขาบอกว่า “จิต พอพิจารณาไปแล้วมันปล่อยวาง จิตมันพิจารณาของมัน มันจะเป็นขั้นเป็นตอนของมัน” นี่เพราะไม่มอง มองข้าม มองข้ามเพราะอะไร มองข้ามเพราะกิเลสหนา พอกิเลสหนานี่ ต้องการสิ่งที่เป็นมรรคเป็นผลด้วยความเข้าใจของตัว ด้วยความเข้าใจของกิเลส เห็นไหม เวลาปฏิบัตินี่เราจะฆ่ากิเลส ทีนี้พอปฏิบัติแล้วจะฆ่ากิเลส กิเลสมันก็สวมรอย สวมรอยว่ามันรู้ มันเห็น มันเป็น

ฉะนั้น รู้ เห็น พอพิจารณาใช้ปัญญาอบรมสมาธิเข้ามา ก็ว่าสิ่งนี้เป็นธรรมๆ สิ่งนี้เป็นธรรม แต่เพราะไม่เห็นอาการของมัน แยกจิตกับอาการของจิตไม่เป็น ถ้าจิตมันสงบระงับเข้ามา ถ้ามันจับได้ มันถึงเป็นโสดาปัตติมรรค ถ้าเป็นโสดาปัตติมรรค เห็นไหม พิจารณาแยกแยะ แยกแยะ แยกแยะ แยกแยะเป็นปัญญา ปัญญาเวลามันเกิดนะ ปัญญามันจะฟาดฟัน ชำแรกเข้าไปทุกๆ อณูความรู้สึก มันแยกออกไปได้ เพราะว่าขันธ์ ๕ มันเป็นกองนะ คำว่า “กอง” กองรูป กองเวทนา กองสัญญา กองสังขาร กองวิญญาณ ขันธ์ ๕ คือ ๕ กอง มันใหญ่โตขนาดไหน

ดูสิ เวลากอง ภูเขา ภูเรา ร่างกายของเรา ความรู้สึกนึกคิดของเรา ภูเขามันทับเรานะ ดูสิ ภูเขาทั้งลูกมันทับเราไหม แต่ภูเรานี่มันทับ แล้วดูสิ กองของขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ถ้าจิตมันจับได้นะ มันเป็นความมหัศจรรย์มาก ความมหัศจรรย์เพราะ “อารมณ์ความรู้สึกของเรานี้เราจับได้ด้วยเหรอ แล้วเราสามารถจับอารมณ์ความรู้สึกของเรามาแยก มาตีแผ่ได้เหรอ” นี่ถ้ามันเกิดปัญญานะ

แต่ถ้ามันเป็นสัญญา อย่างที่ว่าปัญญาทางโลก ปัญญาทางสมอง เวลาท่องธรรมะนี่ปากเปียกปากแฉะ รู้หมด อธิบายได้ ตู้พระไตรปิฎกนี่จำได้ทั้งตู้ จะบอกได้หมดเลย แต่หัวใจว้าเหว่ หัวใจทุกข์ยาก แต่ถ้าจิตมันสงบนะ เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ จิตใจ พอสงบระงับเข้ามา จากปุถุชน เป็นกัลยาณปุถุชน เป็นอจลศรัทธา มันก็มั่นคงแล้ว มันมีความร่มเย็นของมัน มันมีความสุขของมัน นี่ความสุขของมัน แล้วเราพัฒนาต่อเนื่อง ต่อเนื่องว่าจิตเห็นอาการของจิต ถ้าจิตเห็นอาการของจิต นี่จับสิ่งนี้ สังเกต ถ้ามันจับได้ มันจับได้ มันทำได้ พอจับได้ ทำได้ แยก เห็นไหม จับแล้วพิจารณา พอจับอารมณ์แล้วนี่ธรรมารมณ์ อารมณ์ที่เป็นธรรม อารมณ์ที่เป็นธรรมก็เป็นธรรมแล้ว จะพิจารณาทำไม

มันเป็นธรรมในอริยสัจ มันเป็นธรรม ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค นี่เป็นอริยสัจ แล้วอริยสัจนี้มันเข้าไปพิจารณาอะไร? ในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรมารมณ์ ถ้ามันเป็นสติปัฏฐาน ๔ ฐานที่ตั้งแห่งการงาน งานที่ให้จิตนี้ได้ฝึกฝน ฝึกฝนให้มันฉลาด ฝึกฝนให้มันแยกแยะ ฝึกฝนให้มันรู้จริง เวลาทุกข์ สมุทัย นิโรธ นิโรธคือการดับทุกข์ มันจะดับที่ไหนล่ะ

เห็นไหม “เราอยากจะพ้นทุกข์ เราอยากจะดับทุกข์ เราอยากได้มรรคผลนิพพาน เราไม่อยากพิจารณากาย ไม่อยากพิจารณาเวทนา ไม่อยากพิจารณาจิต พิจารณาธรรม กายกับจิตเป็นของต่ำๆ ใครๆ ก็รู้ ก็เหยียบย่ำกันอยู่นี่ ร่างกายก็เหยียบย่ำกันอยู่นี่ ก็ดูแลกันอยู่นี่ แล้วจะต้องพิจารณาทำไม ร่างกายเป็นของเรา เราก็รู้มาตั้งแต่เกิด อาบน้ำชำระล้างร่างกายมาทุกวัน ความรู้สึกนึกคิดนี่ก็คิดจนเบื่อ คิดจนทุกข์ มันจะมีประโยชน์อะไร” ใกล้เกลือกินด่าง! ของที่มีค่ากับเรานี่ไม่รู้ไม่เห็น แต่อยากได้มรรคได้ผล

มรรคผลมันจะเกิดจากตรงนี้! มรรคผลมันเกิดตรงนี้! ตรงที่หัวใจมันพิจารณาของมันนี่ ถ้าพิจารณาของมัน แยกแยะของมัน มันรู้เห็นตามความเป็นจริงขึ้นมา มันเกิดมรรคญาณ เกิดธรรมจักร

จักรคืออะไร? ดำริชอบคือปัญญา ดำริชอบ งานชอบ เพียรชอบ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์สอนปัญจวัคคีย์ นี่ธัมมจักฯ ญาณํ อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ นี่เกิดญาณ เกิดปัญญา เกิดความสว่าง เกิดความรู้ เกิดต่างๆ เกิดที่ไหน มันเกิดที่ไหนล่ะ เวลาเราฝึกฝน นี่เกิดที่ไหน? มันก็เกิดจากหัวใจนี่ เกิดจากหัวใจที่มันออกพิจารณาของมัน ถ้าหัวใจมันออกพิจารณาของมัน มันจะรู้ของมันนะ

ถ้ารู้ขึ้นมา เห็นไหม มันปล่อย ถ้าพิจารณา เวลาพิจารณาแล้วมันปล่อย พอมันปล่อยแล้ว ถ้าจิตไม่เห็นอาการของจิต มันก็เป็นสัมมาสมาธิ แต่ถ้ามันจับได้ จับได้กับจับไม่ได้ นี่มันเพิ่งขึ้นต้น จับได้ก็คือการวิปัสสนา พอจับได้แล้ว จับได้ไล่ทัน เหมือนกับเราจับผู้ร้าย จับนักโทษ นักโทษนี่เรารู้ชื่อรู้ทุกอย่างพร้อม แต่เราไม่ได้ตัวเขามา ถ้าไม่ได้ตัวเขามา เราเอามาสอบสวนไม่ได้

อันนี้ก็เหมือนกัน ถ้าเราอยากชำระกิเลส เราอยากจะพ้นจากทุกข์ แต่ถ้าเราไม่มีเหตุมีผล ไม่มีสัจจะ ไม่มีความจริง เห็นไหม ทางโลกเขายังมีสัจจะลูกผู้ชาย แล้วเวลาปฏิบัติ “อริยสัจ” มันจะมีสัจจะระหว่างจิต จิตเราจะมีสัจจะ หัวใจจะมีสัจจะกับธรรม หัวใจเรามันเร่ามันร้อน มันดื้อ มันทุกข์มันยาก มันเกิดมันตายกี่ภพกี่ชาติ ไม่มีต้นไม่มีปลาย แล้วก็ไม่ได้ฝึกไม่ได้ฝน ฝึกฝนมามันก็ไม่ได้พ้นจากกิเลสไป เราถึงได้มาเกิดมาตายอยู่นี่ ในปัจจุบันนี้เราจะมาประพฤติปฏิบัติ เราจะมาฝึกฝนมัน มันจะมีสัตย์ มีอริยสัจขึ้นมาในหัวใจ ถ้ามีอริยสัจขึ้นมาในหัวใจ ความเพียรนี่เคี้ยวกินง่ายๆ เลย ความเพียร ความหมั่นเพียรวิริยอุตสาหะนี่เคี้ยวกินได้หมดล่ะ ทำที่ไหนก็ได้

เวลาครูบาอาจารย์ ดูสิ หลวงตาท่านพูดบ่อยถึงพระโสณะเดินจงกรมจนฝ่าเท้าแตก ฝ่าเท้าแตกคือเลือดในฝ่าเท้า เดินจงกรมนี่แดงไปหมดเลย ทำไมเขาเดินได้ล่ะ? เดินได้เพราะหัวใจมันจะเอา เดินได้เพราะมรรคผลมันตะครุบเอา มันจะได้อยู่ ถ้ามันจะได้อยู่ กลิ้งไปก็เอา ทำไปก็ทำ นี่เวลาทำความเพียรมันเป็นแบบนั้น

ถ้ามันมีอริยสัจขึ้นมาในหัวใจ หัวใจนี้มันจะผูกพันกันไว้ ถ้าเกิดสัจจะ เกิดอริยสัจ มันเกิดหัวใจนี้ ถ้าหัวใจนี้ เห็นไหม ดูสิ เวลานางวิสาขาเป็นพระโสดาบัน เวลาตายไปเกิดที่ไหนล่ะ? เกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม เขาก็มีของเขานะ เทวดาที่เป็นอริยภูมิกับเทวดาปุถุชน ไปเกิดบนพรหมก็พรหมปุถุชนกับพรหมขั้นอนาคามี นี่มันจะไปเกิดที่ไหน

นี่ไง อริยสัจมันฝังลงที่นี่ มันรู้ที่นี่ ถ้ารู้ที่นี่ รู้ที่นี่เพราะเหตุใด เพราะการฝึกฝนแบบนี้ เพราะมีสติปัญญา เพราะมีความหมั่นเพียร เวลามันเกิดมรรคญาณขึ้นมา เห็นไหม นี่งานชอบ เพียรชอบ งานชอบ ถ้างานไม่ชอบก็ล้มลุกคลุกคลาน งานในสมถะ เราก็ทำความสงบของใจ ความสงบ สัมมาสมาธิแก้กิเลสไม่ได้ ต้องใช้ปัญญา แต่ถ้าไม่มีสัมมาสมาธิ มันก็เป็นเรื่องโลกๆ ไม่มีสัมมาสมาธิก็เรื่องสมองนะ คิดโดยสมอง คิดโดยความรู้สึกนึกคิดคือสัญญาทั้งหมด แต่ถ้ามันสงบระงับเข้ามา มันเป็นจิต เพราะจิตถ้ามันสงบ มันเป็นสัมมาสมาธิ นี่เกิดจากจิต เวลาปัญญาเกิดจากจิต มันถึงไม่มีอดีตอนาคต

ถ้าเป็นปัญญาสมอง เห็นไหม ดูสิ ระหว่างที่กว่าพลังงานจะสั่งให้สมองทำงาน สมองทำงานแล้วถึงได้มีความรู้สึกนึกคิด นี่มันเป็นอดีตอนาคตวิ่งไปวิ่งมาอยู่นะ แต่ถ้ามันเป็นสัมมาสมาธิ มันเป็นจิต มันเป็นจิตเดิมแท้ “จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้เป็นผู้ข้ามพ้นกิเลส” เห็นไหม “จิตเดิมแท้” พอจิตเดิมแท้นี้ผ่องใส เพราะเวลาภาวนาไป จิตมันสว่างไสว มันผ่องมันใส มันผ่องใสมันก็อวิชชาทั้งนั้นล่ะ

แต่พอมันผ่องใส เราไม่เพลิดเพลินกับความผ่องใสนั้น เราใช้กำลังอันนี้ออกมาใคร่ครวญ นี่สังเกตว่ามันเสวยอารมณ์อย่างใด เพราะมันผ่องใส เพราะมันคายออกมา คายอารมณ์ คายสัญชาตญาณ คายมาหมด มันถึงผ่องใส

โดยธรรมชาติของมัน มันก็ต้องกลับไปกินธรรมดา มันเสวยธรรมดา จิต อาการของจิต มันเป็นอันเดียวกัน สัญญาอารมณ์มันต้องเกิดมาพร้อมกัน เกิดมาด้วยกัน แต่เพราะเราทำความสงบของใจ เพราะเรามีสติปัญญาของเรา มันถึงเห็นแยกออกจากกัน แยกออกจากกันเพื่อจะให้เราจับ แยกออกจากกันเพื่อจะให้จับอาการของมันแล้วพิจารณา ถ้าพิจารณาแล้วเราจับได้ ความรู้สึกนี้จับได้ เรารู้ของเรา ตื่นเต้นมาก

คนหลงทางแล้วไม่รู้จักทางออก ไม่มีอาหารนะ มันทุกข์ยากอยู่ในป่า มันจะตาย แล้วมันเห็นช่องทาง เห็นคนเดินออกจากป่าแล้วมันเดินตามเขาไปนะ อู้หูย! รอดตาย ออกจากป่าไป กลับบ้านมีอาหารอยู่พร้อม มันดีใจมาก นี่คนจะตายมันคิด ดูสิ อารมณ์คนจะตาย มันห่วงหาอาทรขนาดไหน แล้วมันจะออกจากป่า ออกจากสิ่งที่มันพ้นจากป่าไป มันจะมีอารมณ์ความรู้สึกอย่างไหน

“จิตเห็นอาการของจิต” มันก็เหมือนกัน จิตไม่เห็นอาการของจิต มันก็เหมือนคนจะตาย คนจะตายเปล่า คนจะตายโดยที่ไม่มีมรรคมีผล คนจะตายไปโดยที่ไม่มีสิ่งใดติดหัวใจนี้ไป ประพฤติปฏิบัติขึ้นมาก็ไม่มีสิ่งใดอยู่กับหัวใจนี้เลย แล้วพอจิตเห็นอาการของจิต จิตสงบแล้วเห็นอาการของมัน จับได้ นี่มีงาน

เราจะออกจากป่า เราจะพ้นจากทุกข์ เราจะใช้ปัญญาของเรา ปัญญาที่เกิดจากสัมมาสมาธิ มันลึกซึ้ง มันเกิดจากหัวใจ มันไม่ใช่ปัญญาแบบโลกๆ โลกนี้เขาว่าเป็นโลกียปัญญา ปัญญาของโลกนี่เรียกว่าโลกียปัญญาคือปัญญาของโลก เขาเรียก “วิสัยทัศน์ โลกทัศน์” เห็นไหม นี่มันเป็นปัญญาของโลก โลกคืออะไร? โลกคือหมู่สัตว์ โลกคือมนุษย์ โลกคือจิตใจที่เป็นโลก

แต่ถ้ามันทิ้งโลกมา มันก็เป็นสัมมาสมาธิ พอเป็นสัมมาสมาธิ เวลามันเห็นกาย มันเห็นจิต เห็นอาการของจิต เพราะอะไร มันถึงว่าถ้าจิตสงบแล้วมันถึงเห็นอาการ เห็นความรู้สึกนึกคิดของเรา จับต้องความรู้สึกนึกคิดของเราแล้วแยกแยะใช้ปัญญาซ้ำแล้วซ้ำเล่านะ มันก็ปล่อย ปล่อยก็มีความสุข มันมีความสุขเพราะเราทำได้

เรากำลังจะออกจากป่า เราพิจารณาซ้ำๆ พอปล่อยแล้วเดี๋ยวมันคิดอีกก็พิจารณาซ้ำ ถ้ามันพิจารณาซ้ำแล้วมันไม่ปล่อย พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า มันยื้อกัน มันดึงกัน ทำแล้วมันจับพลัดจับผลู พัวพันกันยุ่งไปหมดเลย...วาง กลับมาใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เอากำลัง เอาความรู้สึก เอาให้มันมีกำลังขึ้นมา เราต้องการความสงบระงับ เราไม่ใช่ใช้ปัญญาเพื่อพิจารณา

ถ้าปัญญาพิจารณา เราเข้าไปต่อสู้ เข้าไปเผชิญกับมัน แต่ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิเพื่อปล่อยวางของเรา พอปล่อยวางแล้ว พอจิตมีกำลังก็พิจารณาซ้ำ พิจารณาต่อเนื่อง พิจารณาก็ปล่อยอีก ปล่อยซ้ำปล่อยซากจนมันขาดนะ เวลามันขาดนะ

เวลามันปล่อยมันก็ปล่อย ปล่อย เวลามันขาด เห็นไหม ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕

ถ้าขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ สักกายทิฏฐิ ทิฏฐิในกาย พิจารณาจิตนี่แหละมันจะปล่อยสักกายทิฏฐิ ปล่อยกาย ถ้ามันปล่อยกาย มันก็เป็นโสดาบันเหมือนกัน ถ้ามันปล่อย เวลามันขาดนะ มันสมุจเฉท อารมณ์ความขาดกับอารมณ์ความไม่ขาดมันแตกต่างกัน อารมณ์ความไม่ขาด การปล่อยวาง ตทังคปหานนี้ พอเผลอ พอเราไม่มีสติปัญญา กิเลสมันก็ฟูขึ้นมาเหมือนเดิม ฉะนั้น คนที่ปฏิบัติขึ้นมาระดับที่ว่าโสดาปัตติมรรค โดยที่เขาเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็แล้วแต่ เวลาเขาเสื่อมไป เขาเสื่อม เขาท้อถอยไป มันกลับไปสู่ปุถุชน กลับไปสู่คนหนาด้วยกิเลส

แต่ถ้าเราพิจารณาของเราซ้ำแล้วซ้ำเล่า เวลามันขาด มันขาดนะ เวลามันขาด มันสมุจเฉทปหาน ขณะจิตมันรู้เลย พอรู้แล้ว มันก็เป็นโสดาบัน เป็นอกุปปธรรม ถึงอกุปปธรรมแล้วมันจะเจริญจะเสื่อมต่อไปข้างหน้า เพราะเราจะปฏิบัติต่อไปเพื่อเป็นสกิทาคามี อนาคามี มันก็จะเจริญจะเสื่อม เสื่อมในขั้นของสกิทาคามี อนาคามี แต่ไม่เสื่อมในขั้นของโสดาบันเด็ดขาด

ธรรมที่เป็นโสดาบัน ธรรมที่เป็นพื้นฐาน มันจะรองรับหัวใจดวงนี้ไว้ หัวใจดวงนี้จะทุกข์จะยากขนาดไหนมันก็มีคุณธรรม มีอกุปปธรรม อฐานะที่มันจะเสื่อม อฐานะที่มันจะถอยกลับมาเป็นปุถุชน มันเป็นอฐานะ มันเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ มันจะต้องเป็นโสดาบันอย่างนี้เพื่อรองรับจิตใจดวงนี้ให้พัฒนาขึ้นไป แล้วถ้าจิตใจมีกำลัง มีการพัฒนาขึ้นไป จิตใจดวงนี้จะพัฒนาขึ้นไปเป็นสกิทาคามี เป็นอนาคามี เป็นอรหันต์ จนถึงที่สุดแห่งทุกข์ เราทุกข์ๆ ยากๆ อย่างนี้ เราจะประพฤติปฏิบัติขึ้นมานี่ เราทำของเราได้

วันนี้อากาศดี กลับไปแล้ว นี่ฟังธรรม จับสิ่งใดเป็นประเด็นไว้ กลับไปเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนาให้เกิดเป็นสมบัติของเรา ฟังธรรมนี้ฟังธรรมจากครูบาอาจารย์ ท่านยื่นให้ จากใจดวงหนึ่ง ยื่นให้กับใจดวงหนึ่ง ใจดวงใดรับไว้ได้ ใจดวงใดพิจารณาได้ มันจะเป็นสมบัติของใจดวงนั้น เอวัง