เทศน์บนศาลา

ธรรมะตั้งไข่

๓ ก.ค. ๒๕๕๕

 

ธรรมะตั้งไข่
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๕
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจฟังธรรม ฟังธรรมเพื่อความสว่างไสวจากภายใน ถ้าจิตใจมันฟังธรรมนะ มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ เราจะมีความสุข เราจะมีความแช่มชื่นแจ่มใสในหัวใจ แต่เพราะกิเลสตัณหาความทะยานอยากมันครอบคลุมหัวใจเรา เราถึงมืดมิด เราถึงได้อัดอั้นตันใจกัน ความอัดอั้นตันใจในหัวใจ เห็นไหม สิ่งนี้คืออวิชชามันครอบงำ

ฉะนั้น เราเกิดมาเป็นชาวพุทธพบพระพุทธศาสนา พุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน มันไม่ตื่น มันไม่รู้ มันไม่เบิกบาน แต่กิเลสตัณหาความทะยานอยากต่างหาก เห็นไหม เวลาศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ ทำไมเราต้องศึกษา เพราะว่าเราเอาตัวไม่รอดไง เราไม่สามารถจะเอาชีวิตของเรารอดได้ด้วยตัวเราเอง

ฉะนั้น เราเกิดมาเป็นชาวพุทธ การเกิดและการตาย เห็นไหม เกิดในวัฏฏะ การเกิด เกิดมาเป็นมนุษย์ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ไม่พบพระพุทธศาสนา ศาสนาไม่ขัดเกลา ไม่กล่อมเกลี้ยงเลี้ยงหัวใจของเรา หัวใจของเราจะมืดบอดไง

ในลัทธิศาสนาต่างๆ เห็นไหม คนเกิดมา คนเกิดมาเขาต้องมีที่พึ่งที่อาศัยของเขา ถ้าที่พึ่งที่อาศัยของเขา พึ่งทางไหนล่ะ ถ้าพึ่งทางโลก ทางโลกเขาก็อยู่กันทางวิทยาศาสตร์ สิ่งที่เขาคิดค้นขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกของชีวิต แต่เวลาเขาอำนวยความสะดวกของชีวิต ชีวิตต้องมีสิ่งนี้พึ่งพาอาศัย เขาถึงได้อยู่ของเขาได้ แต่พออยู่เข้าไปแล้ว ในเมื่อทรัพยากรที่เราใช้ไป สิ่งที่ใช้ไปมันก็ต้องแสวงหาสิ่งนั้นมาเพื่อดำรงชีวิต เพื่อความสะดวกสบายของตัวเอง สิ่งนั้นศึกษาไป ศึกษาขนาดไหน ค้นคว้าขนาดไหน เพื่อจะเอาความสะดวกสบายในชีวิต มันก็มีแต่ความทุกข์ความเร่าร้อนเผาหัวใจ การเผาหัวใจเพราะอะไร เพราะกิเลสตัณหาความทะยานอยากในหัวใจมันเผาลนเราอยู่ ถ้าเผาลนเราอยู่ แล้วเราเกิดเป็นมนุษย์ไง นี่คือการเกิด

ถ้าการเกิด พอเราเกิดเป็นมนุษย์ แต่เราเกิดมาในสังคม เกิดมาในพุทธศาสนา พุทธศาสนานะ ศาสนธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เราศึกษากันอยู่นี่ไง ศึกษามาเพื่อขัดเกลา ถ้าจะขัดเกลากิเลสของเรานะ เราจะขัดเกลากิเลสของเรา เราต้องเชื่อมั่น ถ้าเราเชื่อมั่นในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดา เห็นไหม เมตตาคุณ ปัญญาคุณ นี่เมตตาคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กรุณาธิคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำไมถึงมีความเมตตามีความกรุณาในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าล่ะ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาสร้างสมบุญญาธิการมาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันต้องสร้างสมบุญญาธิการมา การสร้างสมบุญญาธิการมา นี่ไง สิ่งที่ว่าเป็นเมตตา เมตตาคุณ ถ้ายังแสวงหาค้นคว้ามา สร้างสมเป็นพระโพธิสัตว์ คำว่า “สร้างสมเป็นพระโพธิสัตว์” นี่เสียสละเพื่อให้จิตใจมันสร้างสมบารมีมา มันต้องมีอำนาจวาสนาบารมีนะ จิตใจมันถึงย้อน ปัญญามันถึงย้อนกลับเข้ามาภายใน ถ้าปัญญามันย้อนกลับเข้ามาภายใน มาภายในเพื่อสิ่งใด? มาภายในเพื่อแก้ไขเราเอง แก้ไขจิตใจของเราเอง

เพราะปฏิสนธิจิต จิตนี้ ปฏิสนธิวิญญาณที่มันเวียนตายเวียนเกิด มันเวียนตายเวียนเกิดเพราะมันไม่รู้ของมัน มันถึงเวียนตายเวียนเกิด พอเวียนตายเวียนเกิดขึ้นมา เราใช้ปัญญาของเรานี่ ปัญญาที่ส่งออก ปัญญาที่โลกียปัญญา ปัญญาอย่างนี้มันเป็นปัญญาที่ไม่ได้ชำระกิเลส ปัญญาจากกิเลสแล้วมันถือตัวถือตนว่ามันมีปัญญาของมัน แต่มันไม่รู้ตัวรู้ตนว่าสิ่งที่มันว่าเป็นปัญญาของมัน มันไปเอาฟืนเอาไฟมาแผดเผาตัวมันโดยที่มันไม่รู้ตัว เห็นไหม เราศึกษาธรรมกันอยู่นี่ไง ที่เราศึกษาธรรมกัน เราประพฤติปฏิบัติ เราแสวงหาของเราขนาดไหน ทำไมมันมีแต่ฟืนแต่ไฟมาเผาลนใจของเราล่ะ

แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างสมบุญญาธิการมา เสียสละ เสียสละขึ้นมาเพื่อสร้างสมบุญญาธิการ เพื่ออำนาจวาสนาบารมีมาอย่างนี้ ถ้ามีอำนาจวาสนาบารมีมา เวลาเกิดมาเป็นชาติสุดท้ายแล้ว เวลาออกประพฤติปฏิบัติขึ้นมา โดยธรรมชาติของมนุษย์มันก็ต้องหาครูหาอาจารย์เป็นเรื่องธรรมดา พอหาครูหาอาจารย์เป็นเรื่องธรรมดา ไปศึกษากับเขาแล้วมันไม่มีทางออกหรอก มันเป็นไปไม่ได้เพราะอะไร เพราะเขาไม่ได้สร้างบุญญาธิการมาระดับนั้น เขากำลังสร้างบารมีของเขา ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเป็นศาสดาต่างๆ ที่เขาว่าเป็นศาสดา เขายังสร้างบารมีของเขา สร้างบารมีเพื่ออะไร? เพื่อความดีและความชั่วในหัวใจของเขาไง ถ้าเป็นความดีความชั่วในหัวใจของเขา ถ้าเขาเป็นมิจฉาทิฏฐิ เขาทำความผิดพลาดไป จิตใจของเขามันก็ไม่ได้เพิ่มบารมีสิ่งใด

ในสมัยพุทธกาลนะ มีพวกเจ้าลัทธิต่างๆ เขาดำรงชีวิตแบบสุนัข เขากินแบบสุนัข อยู่แบบสุนัข นอนแบบสุนัขนะ เขาคิดว่าเขาบำเพ็ญตบะธรรมของเขา แล้วเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้ว เขามาถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง ว่าที่เขาบำเพ็ญปฏิบัติธรรมอย่างนี้ เขาจะสร้างสมบุญญาธิการไปข้างหน้าได้ไหม

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก “อย่าให้เราพยากรณ์เลย” คืออย่าให้พูดเลย

เขาก็ขอร้องแล้วขอร้องเล่า ขอร้องแล้วขอร้องเล่า ถึง ๓ หน ๔ หนนะ ให้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพยากรณ์ว่า เขาปฏิบัติอย่างนี้ ทำแบบสุนัข กินแบบสุนัข อยู่แบบสุนัข แล้วเขาจะได้สร้างบารมีของเขาไหม

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “ถ้าเธอทำแบบนี้ ชาติหน้าเธอก็เกิดเป็นสุนัขไง” เพราะในปัจจุบันนี้เราเป็นมนุษย์ เราจะทำคุณงามความดีของเรา แต่ด้วยอำนาจวาสนา ด้วยบารมีมันคิดได้แค่นั้น คิดได้เท่านั้นจริงๆ คิดว่าทำแบบสุนัข อยู่แบบสุนัข มันเป็นการขัดเกลากิเลสไง นี่ในพระไตรปิฎกนะ เขาคิดของเขาอย่างนั้น เขาทำของเขาอย่างนั้น แล้วเขาก็เข้าใจว่านี่คือการสร้างสมบุญญาธิการ การสร้างบารมีของเขา เขาถามว่าเขาตายไปชาติหน้า เขาจะได้บุญญาธิการขนาดไหน

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสังเวชและสงสารมากนะ แต่ทิฏฐิมานะของคน คนมีทิฏฐิมานะขนาดนั้น เขาถือของเขามา เขาก็ทำของเขาด้วยความมั่นใจของเขา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “เธออย่าให้เราพยากรณ์เลย” คืออย่าให้ตอบเถอะ เขาก็ขอร้องครั้งที่ ๑ ขอร้องครั้งที่ ๒ ขอร้องครั้งที่ ๓

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก “ถ้าเธอตายไป เธอก็เป็นสุนัขไง” เพราะจิตใจมันฝักใฝ่ จิตใจมันเป็นไป ขณะที่อยู่นี่มันอยากจะเป็นอยู่แล้ว แล้วมันจะเป็นไปไหน ตัณหาความทะยานอยากมันต้องเป็นแบบนั้นน่ะ

นี่เวลาสร้างสมบุญญาธิการ ที่ว่าเขาสร้างสมบุญญาธิการเพื่ออำนาจวาสนาบารมีของเขา เขาว่าเขาทำถูกต้องของเขา แล้วมันถูกต้องจริงหรือเปล่าล่ะ? มันถูกต้องเพราะจินตนาการของคน ความคิดของคน อำนาจวาสนาของคนมีเท่านั้น

แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาเกิดเป็นพระโพธิสัตว์ เกิดมาชาติใดก็แล้วแต่ การว่าเกิดเป็นชาติ มันเกิดมา ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย เพื่อสร้างอำนาจวาสนา เป็นสัตว์ก็เป็นหัวหน้าฝูงสัตว์ เป็นมนุษย์ก็เป็นจักรพรรดิ ถ้าเป็นพราหมณ์ก็เป็นหัวหน้าพราหมณ์ หัวหน้าพราหมณ์ เห็นไหม มีปัญญา ถ้าไม่มีปัญญาจะเป็นหัวหน้าเขาได้ไหม ถ้าเป็นผู้นำแล้วไม่มีสติปัญญา จะเป็นหัวหน้าใคร ถ้าเป็นหัวหน้าเขา แล้วพาเขาไปทางไหน พาเขาไปทางดีก็ได้ ถ้าคนไม่มีสติปัญญาพาเขาไปทางชั่วก็ได้ แต่พาเขาไปทางดีทั้งนั้น พาเขาไปทางดีเพราะสร้างสมบุญญาธิการมา เห็นไหม

พระโพธิสัตว์ เวลาบารมีแก่กล้าขึ้นมา ยิ่งเข้าใกล้ชิด ถึงว่าหัวใจจะเต็ม พระโพธิสัตว์จะเต็ม เพื่อบำเพ็ญอำนาจวาสนา ชาติสุดท้ายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์จะต้องสละบุตร สละลูก สละเมียทั้งนั้นน่ะ สละมาเพื่อสิ่งใด? สละมาเพื่อโพธิญาณ นี่ไง เมตตาคุณ ปัญญาคุณ เมตตากรุณาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่สร้างสมขึ้นมา...ใช่ สร้างสมเพื่อตัวท่าน แต่ท่านปรารถนามารื้อสัตว์ขนสัตว์ไง แล้ววางธรรมวินัยนี้ไว้

ถ้าวางธรรมวินัยนี้ไว้ เราศึกษามา เราเป็นชาวพุทธ ด้วยอำนาจวาสนาเหมือนกัน ถ้าเราไม่มีอำนาจวาสนานะ ดูสิ คนเกิดมาเยอะแยะ เขาก็นับถือลัทธิศาสนาต่างๆ ของเขา เขาก็ว่าเขาก็เชื่อมั่นของเขา เชื่อมั่น เห็นไหม ด้วยการอ้อนวอน ด้วยการขอร้อง ด้วยความพอใจของเขา แต่ของเรา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไม่ใช่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ให้เชื่อสิ่งใดๆ เลย ไม่ให้เชื่อเทวดา อินทร์ พรหม ไม่ให้เชื่อใครทั้งสิ้น ให้เชื่อสัจธรรม ให้เชื่อสัจจะความจริง

ถ้าสัจจะความจริงมันคืออะไรล่ะ? สัจจะความจริงคืออริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค การทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ทำดีทางโลกก็ได้ดีทางโลกของเขา เขามีเมตตา เขามีความกรุณาของเขา เขาได้สร้างสมบุญญาธิการของเขา เขาก็ได้สิ่งที่เป็นอำนาจวาสนาบารมีของเขาไป เห็นไหม ถ้าเรามีสติปัญญาของเรา เราสร้างอำนาจวาสนามาพอแรงแล้ว ถ้าเราไม่สร้างอำนาจวาสนามานะ เราจะไม่สละเวลาของเรามาอย่างนี้ เราจะไม่สละเวลาของเรามา

ดูสิ ทางโลกเขานะ เขาไปแต่มหรสพสมโภช เขามีแต่ความรื่นเริงของเขา เขามีแต่ความสุขความพอใจของเขา ยิ่งงานใหญ่โตขนาดไหน ยิ่งเป็นความพอใจของเขา ยิ่งคึกคะนองขนาดไหน ยิ่งมีชุมชนมากขนาดไหน เขาคิดว่าสิ่งนั้นประสบความสำเร็จของเขา นั่นคือทางโลก เห็นไหม ทำไมเรามีความคิดแตกต่างกับเขาล่ะ ทำไมเราไปหาป่าหาเขา ทำไมเราไปหาสิ่งที่สงบระงับล่ะ

มันสงบระงับเพื่อมันจะระงับกิเลสในใจไง มันสงบระงับเข้ามาเพื่อหัวใจให้ร่มเย็นเป็นสุขไง ถ้าหัวใจเราร่มเย็นเป็นสุขขึ้นมา แล้วร่มเย็นเป็นสุขมาจากไหนล่ะ? ร่มเย็นเป็นสุขที่ศีลธรรม ถ้ามันมีศีลมีธรรมของมันขึ้นมา มันจะมีคุณค่าขึ้นมา เห็นไหม ถ้าจิตใจมันมีคุณค่าขึ้นมา เราจะประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ถ้าเราปฏิบัติตามความเป็นจริง เราปฏิบัติของเราได้ เรามีครูบาอาจารย์ที่ดีนะ

แต่ถ้ามันปฏิบัติทางโลกๆ เห็นไหม โลกเขาปฏิบัติกัน ถ้าโลกเขาปฏิบัติกัน เขาปฏิบัติกันอย่างไรล่ะ? เขาปฏิบัติกัน เขาบอกว่าเขาใช้ปัญญาของเขา เพราะศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา

นี่เวลาพูดน่ะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดอย่างนี้จริงๆ ว่า “ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา” เพราะเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าออกรื้อค้น ออกประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ในลัทธิต่างๆ เขาทำความสงบของใจเท่านั้นน่ะ คนเรามีปัญญาเท่านั้น มีปัญญาว่าทำความสงบของใจ เข้าฌานสมาบัติกัน ถ้าเข้าฌานสมาบัติกันน่ะ จิตใจมันมีฤทธิ์มีเดชนะ ถ้าเข้าฌานสมาบัติ จิตใจมีฤทธิ์มีเดช มันรู้วาระจิตต่างๆ มันเหาะเหินเดินฟ้า มันมีฤทธิ์มีเดช จะทำคนคนหนึ่งให้เป็นร้อยคนเป็นพันคน ทำได้ทั้งนั้นน่ะ ถ้าทำได้ขึ้นมาแล้ว เห็นไหม ถ้าคนไม่มีสติปัญญา เขาว่าสิ่งนั้นเป็นคุณธรรมของเขา เป็นผู้วิเศษ ผู้วิเศษที่ทำให้เราแปลงร่างแปลงกายได้หมด

อย่างเช่นในผลของวัฏฏะ ผลของวัฏฏะ เวลานาคอยากบวชนาค จากนาคเขายังทำเป็นมนุษย์ขึ้นมา มาบวชเป็นพระ พอบวชเป็นพระขึ้นมา เวลาหลับแล้วก็กลับเป็นนาคเหมือนเดิม นี่ของสิ่งนี้มันเป็นของประจำโลกไง ในวัฏฏะนี้ เทวดา อินทร์ พรหม ก็ทำของเขาได้ เขาเป็นเทพบุตรต่างๆ เขาทำของเขาได้ทั้งนั้นน่ะ นี่ทำของเขาได้เพราะอะไร เพราะเขามีคุณธรรมของเขาอย่างนั้น เขาอยู่ของเขาเป็นทิพย์อย่างนั้น

แต่เราเป็นมนุษย์ เราเป็นมนุษย์ขึ้นมา จิตใจของเราเวลาทำขึ้นมา เพราะมันมีฤทธิ์มีเดช มันก็ทำได้ ถ้าทำได้ขึ้นมามันก็เป็นผลของวัฏฏะ ที่วัฏฏะเขามีของเขาอยู่ แต่จิตใจที่ไม่มีอำนาจวาสนาของเขา เขาก็ว่าสิ่งนี้เป็นคุณธรรมของเขา

ฉะนั้น เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ถ้าสิ่งนี้เป็นพื้นฐาน ถ้าเป็นสัมมาสมาธิ เทวดาเขาทำฌานสมาบัติ จิตใจของเขาเป็นกิเลส จิตใจของเขามีอวิชชา จิตใจของเขามีความไม่รู้ พอมีความไม่รู้ขึ้นมา พอจิตใจเขาสงบขึ้นมา เขาทำฌานสมาบัติ เพราะจิตนี้มันได้เข้าได้ออก ได้เสริมสร้างกำลังขึ้นมา กำลังมันมีของมัน

จิตใจ เรื่องของจิตเรื่องของใจมันมหัศจรรย์ มันลึกลับซับซ้อนนัก ถ้ามันมีคุณธรรมของมันอย่างนั้น มันก็รู้เห็นต่างๆ ไป นี่ไง ถ้าไม่มีสติปัญญามันก็หลงตามไป หลงตามไปว่า พอใจในความเป็นไปของเรา ถ้าความพอใจของเรา แล้วไม่ใช่พอใจธรรมดานะ เกิดทิฏฐิมานะว่าเราเป็นผู้วิเศษ เรามีความรู้แตกต่างไปจากโลก เรามีคุณธรรมในหัวใจ

เพราะทำอย่างนั้นมันถึงไม่ได้ใช้ปัญญา ปัญญาอะไร? ปัญญาในพุทธศาสนา

เห็นไหม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะมาตรัสรู้ธรรม อาสวักขยญาณ ดำริชอบ งานชอบ เพียรชอบ มันมีดำริชอบ มันมีปัญญาชอบ ถ้าปัญญาชอบ ปัญญาชอบอย่างนี้ มันกระทำอย่างนี้ มันถึงชำระกิเลสในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา เสวยวิมุตติสุขๆ นี่ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา ถ้าศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา ปัญญาอย่างนี้มันเป็นโลกุตตรปัญญา ปัญญาอย่างนี้เป็นภาวนามยปัญญา

ปัญญาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้ ปัญญาที่เกิดจากอานาปานสติ กำหนดลมหายใจเข้าออก เห็นไหม มันมีความพร้อมของมัน มันมีความพร้อมของมรรคญาณที่ทำลายอวิชชา ทำลายความไม่รู้ในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “เราเป็นไก่ตัวแรกที่เจาะฟองอวิชชาออกมา เราเป็นไก่ตัวแรกที่เจาะฟองอวิชชาออกมา” เห็นไหม เวลาเจาะฟองอวิชชาออกมา วิธีการที่เจาะออกมา ถ้าไก่ตัวแรกเจาะฟองอวิชชาออกมา มันก็ใช้ปากเจาะ นี่คือบุคลาธิษฐาน

แต่เวลาในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ มรรคญาณที่มันทำลายอวิชชา ทำลายความไม่รู้ในหัวใจอันนั้น นี่ปัญญา ถ้าปัญญาอย่างนี้เกิดขึ้นตามความเป็นจริงขึ้นมา มันก็เป็นประโยชน์กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผลขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้ววางธรรมวินัยนี้ไว้

เราบอกว่าเราเป็นคนมีอำนาจวาสนา เพราะเราไม่ไปตื่นโลก เราไม่อยู่กับโลกที่มีมหรสพสมโภชที่โลกเขามีความรื่นเริงพอใจกัน เราหันหน้าเข้าป่าเข้าเขา หันหน้าเข้ามาเพื่อประพฤติปฏิบัติของเรา เห็นไหม ถ้าปฏิบัติตามความเป็นจริงขึ้นมา เราจะมีความร่มเย็นเป็นสุขของเรา แต่ถ้าปฏิบัติตามความไม่จริง เราจะล้มลุกคลุกคลาน ความล้มลุกคลุกคลานเพราะหัวใจมันมีอวิชชา มันมีกิเลสตัณหาความทะยานอยากครอบงำใจมัน

เวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา “ธรรมะตั้งไข่” เราตั้งไข่ล้ม ต้มไข่กิน เรากำหนดพุทโธๆ ทำสัมมาสมาธิ ทำปัญญาอบรมสมาธิกันเพื่อความสงบระงับ ถ้าความสงบระงับ ถ้าเราทำของเราไม่ได้ก็ล้มลุกคลุกคลาน การล้มลุกคลุกคลาน โดยธรรมชาติของเด็กฝึกหัดที่เขาหัดยืนหัดเดินของเขา นั่นไง เขาตั้งไข่ของเขา ถ้าตั้งไข่ของเขา นี่มันโดยธรรมชาติของมนุษย์ มันจะเติบโตไปได้

แต่ถ้าจิตใจล่ะ จิตใจไม่เป็นแบบนั้น ดูสิ สิ่งใดที่ฝังใจเรา สิ่งใดที่มันฝังใจเรา เจ็บช้ำน้ำใจ เราบอกว่า ปฏิเสธสิ่งนั้นไป มันเคยหลุดไปจากใจเราไหม สิ่งใดที่มันฝังใจเรา จนทางจิตแพทย์นะ ถ้าเด็ก เด็กคนนั้นมีสิ่งใดฝังใจ มันจะเกิดเป็นจริตเป็นนิสัย สิ่งที่ประชดสังคม ทำลายสังคม เพราะอะไร เพราะจิตใจของเขาคิดอย่างนั้น เขามีความรู้สึกนึกคิดของเขาอย่างนั้น ถ้ามีความรู้สึกนึกคิดของเขาอย่างนั้น เห็นไหม

นี่ไง เวลาตั้งไข่ เด็กเวลามันหัดเดินหัดยืนของเขา มันจะเดินได้ไปข้างหน้าโดยธรรมชาติของการเกิดเป็นมนุษย์ แต่จิตใจไม่เป็นแบบนั้น จิตใจจะไม่โตขึ้น จิตใจจะไม่พัฒนาขึ้น จิตใจ ถ้าประพฤติปฏิบัติไม่ตามความเป็นจริง มันจะไม่ยืนขึ้นมาได้ มันจะล้มลุกคลุกคลานของมันอยู่อย่างนั้น

ถ้ามันล้มลุกคลุกคลานอยู่อย่างนั้น เห็นไหม แล้วเวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา “ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา” พอศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา เราก็ประพฤติปฏิบัติกันโดยที่ว่าเราอยากจะชำระกิเลส ว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา เราก็ใช้ปัญญาของเราว่าสิ่งนั้นเป็นวิปัสสนา สิ่งนั้นเป็นวิปัสสนา

ถ้าเป็นวิปัสสนาๆ เห็นไหม นี่ไง ธรรมะตั้งไข่ พอมันตั้งไข่ขึ้นมา มันก็แตกต่าง คนที่ไม่สนใจสิ่งใดเลย มันก็ไม่มีไข่ ไม่มีการตั้ง ไม่มีสิ่งใดเลย การตั้งไข่ของเด็กน้อย การตั้งไข่ของทารกที่มันเติบโตขึ้นมาของมันโดยธรรมชาติ มันจะโตขึ้นมา พัฒนาขึ้นมาด้วยวัยวุฒิของมัน แต่เวลาเราประพฤติปฏิบัติของเรา เราจะประพฤติปฏิบัติธรรมให้ใจของเราเป็นธรรมขึ้นมา เราก็ตั้งไข่ของเรา พอตั้งไข่ของเรา มันล้มลุกคลุกคลานอยู่อย่างนั้นน่ะ

ถ้าล้มลุกคลุกคลานอยู่อย่างนั้น ด้วยวุฒิภาวะ เห็นไหม ถ้าคนไม่สนใจ เขาก็อยู่กับโลก คำว่า “อยู่กับโลก” เขาคิดแต่เรื่องโลก คิดแต่ด้วยโทสัคคินา โมหัคคินา ไฟเป็นโทสะ ไฟเป็นโมหะต่างๆ มันเผาลนใจตลอดเวลา พอมันเผาลนใจตลอดเวลา เวลาเราแค่ตั้งสติ แค่มีศีล มีสติ มีปัญญาขึ้นมา ก็ว่า “สิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งนี้เป็นธรรม ปฏิบัติแล้วมันสบาย ปฏิบัติแล้วสบาย” นี่ไง ธรรมะตั้งไข่ มันแตกต่างจากโลก

โลกหมายถึงว่า ถ้าจิตของเรา ถ้ามันไม่สนใจธรรมะ มันก็ไปสนใจทางโลกอยู่แล้ว ถ้าไม่สนใจธรรมะ มันก็เป็นเรื่องกิเลส ถ้ามันไม่สนใจธรรมะ มันก็เป็นเรื่องอวิชชา ถ้าไม่สนใจธรรมะ ไม่มีสติยับยั้งไป มันก็เป็นเรื่องโลกๆ ถ้าเรื่องโลกๆ มันมีแต่ความเผาลนอยู่แล้วเป็นธรรมดา ถ้ามีความเผาลนอยู่แล้ว มันก็มีแต่ความทุกข์ ความเศร้า ความเครียด ความหงอย ความเหงาในหัวใจเป็นธรรมดา พอมันสนใจธรรมะโดยใช้ปัญญาของเรา นี่ไง ธรรมะตั้งไข่เท่านั้นล่ะ พอธรรมะตั้งไข่ขึ้นมา เราก็ว่าสิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งนี้เป็นธรรมกัน

ถ้าสิ่งนี้เป็นธรรมขึ้นมา เห็นไหม ดูสิ เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ถ้าไม่สนใจปฏิบัติก็ไม่สนใจสิ่งใดเลย พอสนใจปฏิบัติขึ้นมา มันก็เป็นการตั้งไข่ พอตั้งไข่ขึ้นมาแล้วนะ ถ้ามันเป็นจริงขึ้นมา มันจะเป็นจริงไหม ถ้ามันไม่เป็นจริง มันก็อยู่อย่างนั้นน่ะ ล้มลุกคลุกคลานอยู่อย่างนั้น นี่ล้มลุกคลุกคลาน ถ้าเราประพฤติปฏิบัติโดยที่มีครูบาอาจารย์ที่เป็นธรรมนะ

แต่ถ้าครูบาอาจารย์ที่ไม่เป็นธรรมล่ะ เวลาครูบาอาจารย์ที่ไม่เป็นธรรม มันจะทำให้เสียหายไปหมดนะ ดูสิ เวลาครูบาอาจารย์ที่ไม่เป็นธรรม ดูกาเหว่านะ กาเหว่านี่โดยสัญชาตญาณของมัน เวลามันจะวางไข่ มันจะไปดูไปหานกที่มันฟักไข่ มันจะวางไข่ มันจะไปเขี่ยไข่ของนกที่เป็นเจ้าของรังทิ้งไป แล้วมันจะไข่ให้นกตัวอื่นฟัก

แล้วเวลาไข่ให้นกตัวอื่นฟัก เวลานกตัวอื่นที่เขาฟักออกมา ถ้าเป็นนกเอี้ยง เวลามันเลี้ยงนกเอี้ยงหรือนกเขานี่มันเล็กอยู่ เวลากาเหว่านี่ตัวมันใหญ่ มันต้องแสวงหาอาหารมาป้อนนะ ด้วยสัญชาตญาณของนก มันรักลูกของมัน แต่มันไม่รู้หรอกว่าไข่ของใคร มันไม่รู้ว่าไข่ของใคร เห็นไหม พอมันฟักไข่กาเหว่า มันได้ฟักไข่ของมัน แต่ความผูกพันของมัน มันผูกพัน มันนึกว่าลูกของมัน มันก็เลี้ยงดูจนโตขึ้นมา โตกว่าตัวมัน มันก็ยังไม่เข้าใจว่านี้เป็นนกอะไร เห็นไหม

ถ้าเราไปเจอครูบาอาจารย์ที่ไม่เป็นธรรม สิ่งที่เป็นสัจธรรมน่ะ ไข่ของเราๆ คือความเป็นจริงของเราไง ตั้งไข่ๆ ถ้ามันตั้งไข่ขึ้นมา ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าตั้งไข่ขึ้นมาได้ มันก็จะตั้งของมันขึ้นมา ถ้ามันตั้งไข่ขึ้นมาไม่ได้ ก็เขี่ยไข่เราทิ้ง ถ้าเขี่ยไข่เราทิ้ง สิ่งที่ “ใช้ปัญญาแล้วเป็นวิปัสสนาๆ ปฏิบัติแล้วมันสบายๆ” นี่มันไข่กิเลส

ไข่ของเรา เห็นไหม ศีล สมาธิ ปัญญา ไข่ที่เป็นธรรม ถ้ามันตั้งไข่ขึ้นมาได้ มันปฏิบัติขึ้นมาได้ มันก็จะเป็นจริงของเขาขึ้นมา แต่นี่มันตั้งไข่ขึ้นมาไม่ได้ ถ้ามันตั้งไข่ขึ้นมาไม่ได้แล้วยังเขี่ยไข่ทิ้งอีกนะ ครูบาอาจารย์ที่ไม่เป็นธรรมนี่เขี่ยไข่ทิ้ง คือเขี่ยคุณงามความดีของเราออกไปไง ถ้าเราประพฤติปฏิบัติไป ถ้าศีล สมาธิ ปัญญาขึ้นมาตามความเป็นจริง มันเป็นมรรคญาณ เป็นอริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ในเมื่อมันเป็นทุกข์ มันมีสมุทัย คือตัณหาความทะยานอยากของเรา ถ้ามรรคญาณมันไม่เป็นความจริงขึ้นมา มันจะไปไหน

พอบอก “ปฏิบัติแล้วสบาย ปฏิบัติแล้วสบาย” ล้มลุกคลุกคลานกันอยู่อย่างนั้นน่ะ ล้มลุกคลุกคลานนะ ล้มลุกคลุกคลานในทางธรรมนะ แต่ในการประพฤติปฏิบัติขึ้นมานี่ “สบายๆ พอใจ เมื่อก่อนเป็นคนโกรธมาก เมื่อก่อนเป็นคนโทสจริตทั้งนั้นน่ะ เดี๋ยวนี้เป็นคนดีๆ ทั้งนั้นน่ะ”...ดีแบบตั้งไข่ใช่ไหม ดีที่ไม่มีอะไรเป็นความจริงขึ้นมาในหัวใจเลย นี่เพราะมีครูบาอาจารย์แบบกาเหว่าไง เพราะเป็นกาเหว่า ไม่มีความเป็นจริงในหัวใจ ไม่มีการฟักไข่เอง ทำประโยชน์ของตัวเอง แต่ด้วยสัญชาตญาณของเขา เขาต้องหาของเขาอย่างนั้น โดยสัญชาตญาณของกิเลสมันเป็นแบบนั้น กิเลสมันทำลายคนคนนั้นทั้งหมด ทำลายในการประพฤติปฏิบัติของเราด้วยนะ

ถ้ามันทำลายขึ้นมา ถ้าเราไปเจอครูบาอาจารย์อย่างนั้น นี่ถ้าไปเจอครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์ทำให้เราเฉไฉออกไป แต่ถ้ากิเลสในหัวใจของเราล่ะ กิเลสในหัวใจของเรามันก็ทำลายเรา เห็นไหม ถ้ามันทำลายเราๆ สิ่งที่ทำลายเราเพราะอะไร สิ่งที่ทำลายเรา เพราะวุฒิภาวะ นี่ไง อำนาจวาสนาของจิต ถ้ามันไม่มีหลักมีเกณฑ์ของมัน มันก็จะเชื่อ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาไปปฏิบัติฌานสมาบัติได้จากอาฬารดาบส “มีความรู้เหมือนเรา มีความรู้เท่าเรา” นี่กาเหว่ามันจะชักนำไป องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่สนเลย ไม่ใช่ไข่ของเรา ไม่ใช่คุณงามความดีของเรา ไม่ใช่ความจริงของเรา ไม่สน! ไม่สน!

พอไม่สนขึ้นมา พอไปประพฤติปฏิบัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง ออกไข่เอง ฟักไข่เอง ดูแลไข่เอง ฟักธรรมขึ้นมาจนเป็นไก่ตัวแรกที่เจาะฟองอวิชชาออกมา “เราเป็นไก่ตัวแรกที่เจาะฟองอวิชชาออกมา” ตามความเป็นจริงแบบนี้ มันต้องมีเหตุมีผลของมัน ไม่ใช่เราจะทำตามกระแสสังคม พอสังคมบอก สิ่งนั้นเป็นธรรมๆ แล้วกระแสสังคม แล้วเขาเป็นนกประเภทใด เขาเป็นครูบาอาจารย์ประเภทใด

ถ้าเขาเป็นครูบาอาจารย์ของเขาจริง เขาจะฟักไข่ของเขา เขาดูแลของเขาด้วยความซื่อสัตย์ซื่อตรงตามความเป็นจริงนั้น แต่ถ้ามันไม่ใช่ ไม่ใช่นี่ก็เอาความเห็นของตัวใส่เข้าไปไง เอาความรู้ความเห็นของตัวใส่เข้าไป สิ่งที่ใส่เข้าไป ขณะประพฤติปฏิบัติตามครูบาอาจารย์ที่เป็นธรรมนะ ถ้าเป็นธรรมขึ้นมา เขาไม่เอาความรู้ความเห็นของตัวใส่เข้าไปหรอก ความจริงก็คือความจริง ถ้าความไม่จริงขึ้นมามันก็เป็นอวิชชาทั้งนั้นน่ะ

ฉะนั้น เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมและวินัยไว้ บอกเรื่องกาลามสูตรนะ กาลามสูตร ไม่ให้เชื่อแม้แต่อาจารย์ของเรา ไม่ให้เชื่อนะ ไม่ให้เชื่อตำรา ไม่ให้เชื่อสิ่งที่ว่าปฏิบัติแล้วมันจะอนุมานเข้ากันได้ ไม่ให้เชื่อ! ไม่ให้เชื่อ! ถ้าไม่ให้เชื่อแล้วทำแบบใด ถ้าไม่ให้เชื่อ ไม่ให้เชื่อแล้วเราต้องพิสูจน์ไง

ถ้าครูบาอาจารย์ที่เป็นจริงนะ กามันก็จะฟักไข่ของมัน จะเป็นอินทรีย์ จะเป็นนกสิ่งใดก็แล้วแต่ มันจะมีครอบครัวของมัน แล้วมันจะดูแลลูกของมัน มันจะหาอาหารมาเพื่อครอบครัวของมัน เพื่อชาติเพื่อตระกูลของเขา เราเป็นชาวพุทธ พุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ถ้าเราทำของเราขึ้นมาตามความเป็นจริงของเรา เราประพฤติปฏิบัติ ถ้าเรามีครูบาอาจารย์นะ ครูบาอาจารย์จะเดินก้าวหน้ามากกว่าเราไป ๑ ก้าวตลอดเวลา ครูบาอาจารย์ที่เป็นครูบาอาจารย์ของเราที่เป็นความจริง ครูบาอาจารย์ท่านถนอมรักษานะ

หลวงตาท่านเล่าให้ฟังประจำว่าเวลาอยู่กับหลวงปู่มั่น “พ่อแม่ครูจารย์ พ่อแม่ครูจารย์” เลี้ยงดูแม้แต่การดำรงชีวิต ถ้าดำรงชีวิต บิณฑบาตมา ได้สิ่งใดมา สิ่งใดที่เป็นอาหารที่เป็นไขมันต่างๆ ที่ฉันเข้าไปแล้ว แล้วมันจะทำให้สัปหงกโงกง่วงนะ ท่านจะบอก “ไม่ควร”

คำว่าไม่ควรของท่าน ท่านก็จะพูดของท่าน “อากาศที่นี่มันไม่ดีเนาะ ถ้าอาหารมันไม่พอใจ อากาศที่นี่มันไม่ดีเนาะ อาตมาจะเก็บบริขารไปแล้วล่ะ ถ้ามันพอใจมันนะ แหม! ที่นี่อากาศดีมากเนาะ ภาวนาดีเหลือเกินนะ อาหารกินแล้วท้องแตกนู่นน่ะ” นี่ท่านจะพูด จะเหน็บจะแนมอย่างนี้ นี่ครูบาอาจารย์ของเราถ้าเป็นความจริง ครูบาอาจารย์เราที่เป็นจริงนะ ท่านจะก้าวหน้ามากกว่าเราอยู่ ๑ ก้าว เพราะอะไร

เพราะวุฒิภาวะของใจใช่ไหม ถ้าใครผู้ใดทำความสงบของใจยังไม่ได้ ท่านก็จะดูแลรักษา ผู้ใดถ้าทำความสงบของใจเข้มแข็ง แล้วออกใช้ปัญญา ปัญญาระดับไหน นี่มรรคหยาบฆ่ามรรคละเอียด มรรคมันเป็นขั้นเป็นตอนของมันขึ้นไปนะ ถ้ามรรคเป็นขั้นเป็นตอนของมันขึ้นไป นี่ธรรมความเป็นจริง

ถ้าเป็นนกประเภทใด เขาก็จะไข่ของเขา ครอบครัวของเขา ฟักลูกออกมาแล้วเขาจะดูแลของเขา จิตใจที่มันจะประพฤติปฏิบัติขึ้นมา มันจะเป็นความจริงของมันขึ้นมา นี่เราฟักขึ้นมา เราไม่ใช่ตั้งไข่ล้ม ต้มไข่กิน ล้มลุกคลุกคลาน ธรรมะตั้งไข่ ตั้งไข่อยู่อย่างนั้นน่ะ แล้วก็ก้าวเดินไปไม่ได้ เวลาก้าวเดินของเราไปไม่ได้ แต่ในเมื่อจริตนิสัย ด้วยอำนาจวาสนา ถ้าไปเชื่อครูบาอาจารย์เป็นอาจารย์กาเหว่า มันยิ่งทำให้เฉไฉไป ทำให้สิ่งที่มันจะพัฒนาขึ้นมาในหัวใจของเรามันไม่พัฒนาขึ้นมา

แล้วไม่พัฒนาขึ้นมาแล้วยังมีทิฏฐิมานะขึ้นมาอีกนะ ถ้าเกิดทิฏฐิมานะ มีความเห็นไงว่า “เราใช้ปัญญาของเรา สิ่งนี้เป็นความถูกต้อง แล้วเวลาจิตมันสบายๆ”...ทำไมมันจะไม่สบาย ถ้าโดยกิเลสมันเผาลนหัวใจ ตรึกในธรรมๆ มันสบายอยู่แล้ว ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมโอสถ นี่ธรรมาวุธ

ถ้าธรรมโอสถรักษา ดูสิ เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ธรรมโอสถ ถ้าจิตสงบแล้ว ใครมีความเจ็บไข้ได้ป่วยนะ ครูบาอาจารย์ของเราเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย ท่านมีกำลังของท่าน ท่านมีปัญญาของท่าน ท่านทำความสงบของใจของท่าน ท่านใช้ใจของท่านแก้ไข นี่ธรรมโอสถ ว่าเป็นโรคเป็นภัย ถ้าชีวิตของเรา ถ้าเราเจ็บไข้ได้ป่วย เราจะไม่ไปหาหมอ เราจะพยายามทำของเรา ถ้าเป็นธรรมโอสถ สิ่งนี้หายหมดน่ะ นี่ธรรมโอสถ

ถ้าธรรมาวุธ ถ้าอาวุธของธรรมมันจะชำระกิเลส ถ้าเป็นอริยสัจ สัจจะความจริง มันเป็นเรื่องที่มีกำลัง ที่เราย้อนกลับเข้ามาทำลายอวิชชา ทำลายอวิชชาตรงไหน? ทำลายอวิชชา เห็นไหม กาลามสูตรนี่ไง ไม่เชื่ออะไรทั้งสิ้น

กิเลสมันลึกซึ้ง อวิชชามันเกิดมาตั้งแต่ปฏิสนธิจิต มันมากับจิตนะ เพราะจิตของเรามันมีอวิชชา มันถึงได้เวียนตายเวียนเกิด มันเกิดมากี่ภพกี่ชาติ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บุพเพนิวาสานุสติญาณ ไม่มีต้นไม่มีปลาย แล้วจิตขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับจิตของพวกเรามันก็อันเดียวกันนั่นน่ะ จิตเหมือนกัน จิตประเภทเดียวกัน เวลาจิตขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระเวสสันดรมาเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ เวลาวันวิสาขบูชา เห็นไหม เกิดในวันนั้น เพ็ญเดือน ๖ เวลาตรัสรู้ธรรมก็เป็นเพ็ญเดือน ๖ เวลาปรินิพพานก็เป็นเพ็ญเดือน ๖ เห็นไหม จิตดวงนั้นมีอวิชชา พอมาเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ นี่ไง เกิดเป็นเจ้าชายสัทธัตถะ เวลาตรัสรู้ธรรมขึ้นมานี่ได้ชำระกิเลส ได้ฆ่ากิเลส

แต่ของเรา เราจะประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เรามีกิเลส ถ้าเรามีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก มีอวิชชาในหัวใจ ถ้ามีกิเลสตัณหาอวิชชาในหัวใจ สิ่งใดที่มันคาดมันหมาย สิ่งใดที่มันมีความรู้สึกนึกคิดขึ้นมา มันมาจากกิเลสตัณหาความทะยานอยากทั้งนั้นน่ะ ถ้ามันมีตัณหาความทะยานอยากของกิเลส แล้วมันตรึกในธรรมๆ

คำว่าธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สิ่งนี้เป็นธรรมโอสถๆ ถ้าเราตรึกในธรรม มันสงบร่มเย็นอยู่แล้วล่ะ แต่ความสงบร่มเย็นแบบนี้ เห็นไหม นี่ธรรมะตั้งไข่ มันจะตั้งไข่นะ ดูสิ ตั้งไข่ขึ้นมา แล้วตั้งไข่แล้วเราจะทำอย่างไรต่อไป ถ้าครูบาอาจารย์ของเราดูแลขนาดนี้นะ ดูแลตั้งแต่ความเป็นอยู่ของเรา ถ้าความเป็นอยู่ของเรามันอำนวยกับการประพฤติปฏิบัติ ฉันอาหารก็พอแค่น้ำมันหยอดล้อเกวียน ไม่ให้มันเกิดเสียงดัง ถ้าเราดำรงชีวิตของเราเพื่อความเป็นอยู่ของเราแบบนี้ ในการภาวนามันก็ไม่สัปหงกโงกง่วง มันไม่ใช่ล้มไข่ ทุบไข่ให้กับสัตว์อื่นได้กินเลย

ความเพียรของเราไง ความเพียรของเรา ความวิริยอุตสาหะของเรามันจะทรงตัวของเราขึ้นมา ถ้ามันจะทรงตัวของเราขึ้นมา เราต้องมีสติมีปัญญา มีสติมีปัญญามาพิสูจน์ตรวจสอบว่า ในการกระทำของเรา เรากระทำเพื่อสิ่งใด ถ้าเรากระทำเพื่อเรา ฉะนั้น ในเมื่อเรากระทำเพื่อเราและเพื่อธรรม ถ้าเพื่อธรรม สิ่งใดที่มันขัดแย้งล่ะ สิ่งใดที่เป็นอุปสรรคล่ะ เห็นไหม ขาดสติ มันก็เป็นสิ่งนั้น ขาดสติ มักง่าย ทำสิ่งใดไม่รอบคอบ ไม่มีสติปัญญา สิ่งนี้มันทำให้เราไม่พัฒนา

ถ้าครูบาอาจารย์ที่ไม่เป็นกาเหว่า เห็นไหม ท่านดูแล ท่านบอกว่า เวลาหลวงปู่มั่นท่านเทศน์นะ ผู้ที่ยังไม่ได้สมาธิ หลวงปู่มั่นเวลาท่านเทศนาว่าการ ท่านเริ่มจากทำความสงบของใจขึ้นมา ทำสมาธิให้ได้ ถ้าใครทำสมาธิได้แล้ว พื้นฐานของมัน เห็นไหม โสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค มันจะพัฒนาเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป

ฉะนั้น เวลาผู้ที่ปฏิบัติ ในสังคมของพระเรา วุฒิภาวะของใจมันไม่เหมือนกัน ถ้าไม่เหมือนกัน เรากำหนดจิตของเราฟังครูบาอาจารย์ท่านเทศนาว่าการ เห็นไหม ท่านจะเดินหน้าเราอยู่ ๑ ก้าว คอยชักนำ คอยดึงจิตของเราให้ตามท่านไป เห็นไหม เวลาเราฟังเทศน์ มันมีการก้าวเดินของจิต นี่วิถีแห่งจิต

นี่จิตเป็นปุถุชนนะ สิ่งใดที่เป็นรูป รส กลิ่น เสียง มันมีอำนาจไปหมด อยากรู้อยากเห็น อยากใช้ อยากสอย อยากเป็น อยากไป อยากไปหมด เห็นไหม เหมือนทางโลก ผู้ที่เขามีมหรสพสมโภช ที่ไหนที่มีการคึกคะนอง ที่ไหนที่มีคนมากๆ มันชอบอย่างนั้น เห็นไหม นี่ปุถุชน

แล้วเวลาเราเริ่มควบคุมใจเราล่ะ ที่ไหนมีมหรสพสมโภช เราจะไม่ไปที่นั่น ที่ไหนมีความสงบระงับ เราอยากไปที่นั่น อยากไปที่นั่นเพื่อดูแลหัวใจของเราไง สงบระงับขึ้นมาเพื่อให้จิตมันสงบเข้ามา นี่สถานที่วิเวก กายวิเวก จิตวิเวก ถ้ามันวิเวกขึ้นมา วิเวกขึ้นมาเพื่อความสงบระงับในใจ ถ้าจิตใจมันสงบระงับได้ มันเริ่มเห็นโทษ เห็นไหม ปุถุชน กัลยาณปุถุชน

ถ้ากัลยาณปุถุชน นี่มันพัฒนาขึ้นมา ถ้ามันพัฒนาขึ้นมา มีสติมีปัญญาหาเหตุหาผล ถ้าพุทโธๆๆ ทำไมมันพุทโธไม่ได้ ทำไมพุทโธแล้วมันแฉลบออก มันแฉลบออกเพราะสิ่งใด? มันแฉลบออกเพราะเราไม่จริง มันแฉลบออกเพราะเราไม่มั่นคง นี่ไง อำนาจวาสนาบารมีของจิตมันมี ถ้าอำนาจวาสนาบารมีของจิตมันมี เห็นไหม เรามีคำบริกรรมของเรา เรามีเหตุผลสิ เราไม่ได้พุทโธด้วยความมืดบอด เราพุทโธไว้เป็นพุทธานุสติ เราระลึกพุทโธ เราระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราระลึกพุทโธเพื่อต้องการธาตุรู้

ปฏิสนธิจิต ธาตุรู้ ธาตุรู้มันส่งออก มันรับรู้เรื่องต่างๆ ไปหมด มันแบกรับภาระ เป็นภาระรุงรังไปหมดเลย ถ้ามันแบกรับภาระรุงรังขึ้นไป แล้วถ้าเราไม่ให้มันไปแบกรับสิ่งใด ให้มีเนื้อหาสาระ ธาตุรู้ พลังงานนี้ ให้กำหนดลงอยู่ที่พุทโธ พุทโธๆๆ พุทโธเพื่อพุทธานุสติ

ถ้าจิต กำลังที่มันออกไปรับรู้ต่างๆ มันออกไปที่สิ่งที่เป็นฟืนเป็นไฟมาเผาตัว บังคับให้มันพุทโธ สิ่งที่มันเคยเอามาเผาตัวมันเอง มันมีรสมีชาติ เรื่องของกิเลสตัณหาความทะยานอยากมันต้องการรสชาติอย่างนั้น มันคุ้นเคยกับความเผาลนมัน พอคุ้นเคยกับความเผาลนมัน แต่มันบ่นว่า “ทุกข์ๆๆ” แต่มันไม่รู้ว่าสิ่งที่มันคิดมันแสวงหาอยู่นั้นคือสิ่งที่เป็นสมุทัยที่มาเผาลนมัน

ฉะนั้น เรามีสติปัญญา เราบังคับพุทโธๆๆ เพื่อไม่ให้มันไปหาสิ่งที่มันเป็นสมุทัยมาเผาลนมัน ถ้าไม่เผาลน พุทโธๆ มันไม่ชอบหรอก มันไม่ชอบ มันไม่ต้องการ เพราะอวิชชา เพราะความไม่รู้ เพราะตัณหาความทะยานอยาก เพราะสมุทัยมันอยู่กับจิต พอมันอยู่กับจิต มันก็ดิ้นรนไปตามประสามันนั่นล่ะ แต่เพราะเรามีอำนาจวาสนา เรามีความเชื่อ เรามีความมั่นคงของเรา เราถึงมีสติบังคับ พุทโธๆๆๆ

ถ้าพุทโธ พุทโธเพราะมันไม่ไปเอาฟืนไฟไปเผามันไง ถ้ามันไม่เอาฟืนเอาไฟมาเผามันนะ มันสงบระงับเข้ามา มันสงบระงับได้ ถ้าพุทโธๆ พุทโธจนพุทโธไม่ได้ พุทโธไม่ได้คืออัปปนาสมาธิ พุทโธไม่ได้ พุทโธจนพุทโธไม่ได้

ขณะที่พุทโธนี่มันก็จะแฉลบ มันก็จะคิดตามประสามัน มันจะไปเอาฟืนเอาไฟมาเผามันโดยความเคยชินของมัน เราบังคับไว้ๆ ตอนที่บังคับไว้นี่แหละ มันถึงทำให้แบบว่า “สิ่งนี้ทำแล้วมันทุกข์มันยาก นี่ไง ทำไมเราต้องมาทุกข์มายากล่ะ เราปล่อยมันตามสบายๆ ดูสิ ใช้ปัญญา สิ่งนี้เป็นธรรมๆ” นี่ไง มันเป็นความตั้งไข่ เพราะมันคิดในธรรมๆ แต่มันพัฒนาขึ้นไปไหมล่ะ มันจะเป็นความจริงขึ้นมาไหมล่ะ นี่ไง เพราะอาจารย์เป็นอาจารย์กาเหว่า มันก็ย่ำอยู่อย่างนั้น มันไม่พัฒนาขึ้นมา

“แต่ถ้าพุทโธๆๆ สิ่งนี้มันเป็นความทุกข์ความยาก สิ่งนี้ทำแล้วมันมีความเดือดร้อน”...ความเดือดร้อนเพราะมันเป็นข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริง เห็นไหม เวลาจิตที่มันทุกข์มันยากขึ้นมาโดยสมุทัยตัณหาความทะยานอยาก มันหาแต่ฟืนแต่ไฟมาเผามันน่ะ มันทุกข์ไหม? ทุกข์ ทุกข์อย่างนี้ทุกข์เพราะยอมจำนน ทุกข์อย่างนี้เพราะเราไม่มีทางออก ทุกข์อย่างนี้เพราะเราไม่เคยฝึกหัดของเรา

เห็นไหม กาลามสูตรๆ ไม่ให้เชื่อๆ นี่ไง แต่เราไปเชื่อ เราเชื่อสิ่งนี้ แล้วพอมันพลิกมาคิดธรรมะ ถ้ามันคิดธรรมะ ถ้ามีสติปัญญา มันจะเป็นปัญญาอบรมสมาธินะ แต่เพราะความเชื่อ เพราะว่าธรรมะตั้งไข่ ธรรมะตั้งไข่มันจะไม่เจริญไปมากกว่านี้ ธรรมะตั้งไข่ไง มันจะพัฒนาขึ้นไปไม่ได้ มันพัฒนาขึ้นไปไม่ได้เพราะอะไร เพราะมันไม่มีครูบาอาจารย์คอยชี้นำไง แต่มันเชื่อกิเลส พอเชื่อกิเลส เพราะกิเลสก็อ้างอิงว่าสิ่งนี้เป็นธรรมๆ ด้วยความคาดหมาย ด้วยความไม่รู้เท่า มันก็มีวุฒิภาวะกันเท่านั้นล่ะ

แต่ถ้าเราพุทโธๆๆ จนจิตมันสงบขึ้นมานะ จิตมันสงบ สงบเพราะอะไร เพราะมันไม่แฉลบไปคิดนอกเรื่องนอกราว พอมันไม่แฉลบไปคิดนอกเรื่องนอกราว จิตมันมีที่อยู่ที่อาศัย พุทโธๆ พอจิตมันสงบระงับเข้ามา จิตมันปล่อยวางเข้ามา เรารู้รสของธรรม เห็นไหม “รสของธรรมชนะซึ่งรสทั้งปวง” ถ้าจิตมันสงบระงับเข้ามา นี่รสของธรรม

แต่ที่ว่า “สบายๆ” เขามีรสอะไร เขาไม่มีรสของธรรม แต่เขาใช้สัญชาตญาณที่รับรู้ จิตใจที่ไม่รับรู้น่ะ นี่ไง ธรรมะตั้งไข่ เด็กถ้ามันนอนคว่ำอยู่ เด็กที่มันแถของมันไป มันคลานไป มันก็เป็นธรรมชาติของมัน ถ้ามันยืนขึ้นมาล่ะ ยืนขึ้นมาแล้วมันเดินไม่ได้ มันก็ก้มลงไปคลานอย่างเดิมไง ถ้าเด็กมันยืนขึ้นมาแล้วมันก้าวเดินไม่ได้ มันก็ล้มลุกคลุกคลานอยู่อย่างนั้นไง

จิต เวลามันพิจารณาโดยปัญญาๆ ก็บอก “สิ่งนี้สบาย เมื่อก่อนเป็นคนโทสะ โมหะ เดี๋ยวนี้สบายมากๆ” แล้วมันทำอย่างไรต่อไป มันมีสิ่งใดต่อไป มันไม่ต่อไป เพราะมันเป็นธรรมะตั้งไข่ แต่ธรรมะที่มันจะไม่ตั้งไข่ ที่กาลามสูตร ไม่ให้เชื่อสิ่งใดเลย ต้องให้พิสูจน์ขึ้นมาให้ได้ ถ้าจิตมันพิสูจน์ขึ้นมาได้นะ พุทโธๆ จนจิตมันสงบ สงบมันก็เอกัคคตารมณ์ จิตตั้งมั่น

ดูสิ เด็กที่มันยืน เด็กที่มันฝึกหัดยืน ยืนแล้วมันจะล้มลุกคลุกคลานตลอดไป ถ้าจิตของเราตั้งมั่นล่ะ มันตั้งมั่นเพราะอะไรล่ะ ตั้งมั่นนี่มันต้องมีเหตุมีผลสิ ตั้งมั่นเพราะมันมีคำบริกรรม บริกรรมเข้ามาทำไม

แต่เดิมธาตุรู้มันซึมซับไปกับสมุทัย ซึมซับไปกับความรู้สึกนึกคิด พอมันซึมซับไปกับความรู้สึกนึกคิดโดยที่มันไม่มีสติปัญญา มันก็ไปกว้านเอาแต่สิ่งที่เป็นพิษเป็นภัยกับมันทั้งนั้นน่ะ แต่เราบังคับสิ่งที่เป็นธาตุรู้ สิ่งที่เป็นพลังงานที่มันซึมซับไปกับสิ่งที่เป็นสมุทัยนั้น บังคับให้มันนึกพุทโธๆ เห็นไหม บังคับๆ บังคับแล้วดูเหตุดูผล ถ้าจิตใจมันกระด้าง จิตใจมันต่างๆ เราก็ต้องมีศีลมีธรรมเพื่อสิ่งนี้ขึ้นมา พอมันพุทโธๆ จนจิตมันสงบเข้ามา จิตคนที่ไม่เคยสงบกับจิตคนที่สงบ มันก็แตกต่างกันแล้ว

จิตคนที่ไม่เคยสงบ แต่บอกว่าสิ่งที่สบายๆ น่ะ สบายเพราะว่ากิเลสมันหลอก สบายเพราะว่าสิ่งที่ว่าเราว่าสิ่งนี้เป็นธรรมๆ เพราะความเชื่อของเรา ความเชื่อของเรา มันเป็นมารยาทสังคม แต่มันไม่เป็นความจริง ปากเปียกปากแฉะ ท่องธรรมะได้ทุกข้อ แต่ไม่เคยเห็นตัวกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ไม่เคยเห็นจิตที่มันวางสมุทัยได้

จิตที่มันวางสมุทัย จิตที่มันกำหนดพุทโธๆ จนมันวางได้ขึ้นมา มันถึงเป็นสัมมาสมาธิ ถ้าเป็นสัมมาสมาธิ นี่ไง กาลามสูตร ต้องให้จิตมันรู้ ไม่ต้องบอกว่าสบายๆ ตามแต่กาเหว่าที่มันจะชักนำกันไป ถ้ากาเหว่า เห็นไหม ดูสิ มันเขี่ยไข่นกของเจ้าของรังทิ้ง แล้วมันไปเอาไข่ของมันไปให้นกตัวนั้นฟักแทน คุณงามความดีของเราที่มันจะเกิดขึ้นมาน่ะ สัมมาสมาธิจะเกิดกับจิตของเรา มันไปเขี่ยทิ้ง บอก “สิ่งนี้สมถะ สิ่งนี้ไม่ต้องทำ” มันเขี่ยทิ้งไปหมดเลย แล้วมันเอาไข่ของมันไปให้นกอื่นฟัก

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเราเชื่อครูบาอาจารย์แบบนั้น ที่ว่า “สิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งนี้เป็นธรรม” สิ่งนี้เป็นธรรม นี่ไง ปฏิบัติแล้วมันสบาย ปฏิบัติแล้วมันพอใจไง มันพอใจเพราะมันขี้เกียจ มันพอใจเพราะมันไม่มีงานทำ มันพอใจเพราะว่าสิ่งนี้เป็นความสุดวิสัยของจิต จิตนี้เราเกิดมาเป็นมนุษย์ มนุษย์มีธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ ในเมื่อมีธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ มันมีความรู้สึกนึกคิด แต่ความรู้สึกนึกคิดแบบโลกียปัญญา ก็คิดได้เท่านี้ไง ความรู้สึกของมนุษย์ ความเป็นปัญญาของคนมันรู้ได้เท่านี้

แต่ถ้าเราเชื่อมั่นในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อาสวักขยญาณแล้วทำอย่างใด ครูบาอาจารย์ที่ประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ดูพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ เป็นพระอรหันต์ด้วยกันขึ้นมา เขาทำอย่างใด ฉะนั้น เวลาครูบาอาจารย์ของเราบอกว่าต้องกาลามสูตร ไม่ให้เชื่อสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น แล้วพยายามบริกรรม พยายามใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าจิตมันเป็นสมาธิขึ้นมา จิตเป็นสมาธิ จิตตั้งมั่น จิตมันปล่อยวาง จิตมันไม่เหมือนกับโลกแล้ว

สิ่งที่เราล้มลุกคลุกคลานกันอยู่นี้ สิ่งที่เราสะสม จับต้นชนปลายอยู่นี้ เพราะเราไม่รู้จักจุดเริ่มต้น จุดเริ่มต้นของการประพฤติปฏิบัติ จุดเริ่มต้น เห็นไหม ต้องจิตสงบ ถ้าจิตสงบขึ้นมาแล้ว ถ้ามันออกฝึกหัดใช้ปัญญา นั่นไง จะรู้จะเห็นกิเลสไง เราไม่เคยรู้จักกิเลส ไม่เห็นกิเลส เราจะชำระกิเลสได้อย่างใด เราไม่รู้จักสิ่งใดเลย แต่เรารู้จักกิเลสโดยตำรา เห็นไหม สมุทัย ตัณหาความทะยานอยากต่างๆ เรารู้จักกิเลสโดยชื่อ โดยตำรา แต่เราไม่เคยเห็นกิเลสตัณหาความทะยานอยากตัวเป็นๆ ตัวจริงๆ ที่มันเกิดขึ้นบนหัวใจของเรา

แต่ถ้าเราประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริง ไม่ใช่ตั้งไข่อย่างนี้ตลอดไป คำว่า “ตั้งไข่” เพราะเราเกิดเป็นมนุษย์ แล้วเรานับถือพุทธศาสนา แล้วพุทธศาสนากำลังเห่อกันเรื่องการปฏิบัติไง แล้วก็ปฏิบัติกันแบบนี้ ปฏิบัติกันล้มลุกคลุกคลาน นี่เพราะเราไปเชื่อ เราไปเชื่ออาจารย์กาเหว่า เราไปเชื่อสิ่งที่มันเขี่ยผลประโยชน์คุณงามความดี เราทิ้งไปหมดเลย

แต่เวลาครูบาอาจารย์กรรมฐาน เหมือนหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นของเรา ท่านทำจริงของท่าน การว่าทำจริงของท่าน ท่านต้องพิสูจน์ของท่านมา ท่านทำของท่าน ท่านฟักของท่าน ท่านได้เห็นผลประโยชน์ของท่าน ท่านเจาะฟองอวิชชา อวิชชาเป็นอย่างไร เห็นเป็นชั้นเป็นตอนเข้ามา ฉะนั้น สิ่งที่ทำความสงบของใจเข้ามา เพราะใจมันสงบเข้ามาแล้ว แล้วครูบาอาจารย์ของเราท่านจะก้าวนำหน้าเรา ๑ ก้าว เริ่มตั้งแต่ผู้ที่ทำสมถะ

ผู้ที่ทำสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน ในเมื่อจิตของเราเป็นปุถุชน จิตของเราล้มลุกคลุกคลาน มันเป็นเรื่องพื้นฐานของทารก มันเป็นเรื่องพื้นฐานของจิตเริ่มต้น ถ้าจิตเริ่มต้น จิตคือโลก เพราะจิตนี้มันเป็นสามัญสำนึกที่ว่าโลกียปัญญา สิ่งที่เป็นโลกๆ นี้ ถ้าเป็นโลกๆ นี้ สิ่งนี้คิดมามันเป็นเรื่องโลก ตรึกธรรมขนาดไหน ทำธรรมขนาดไหน ล้มลุกคลุกคลาน ตั้งไข่อยู่อย่างนั้นล่ะ ถ้าจะดีก็ดีแค่นี้ ดีแค่คนที่มีศีลธรรมจริยธรรม ดีแค่คนที่ว่าอยู่ในศีลในธรรมเท่านั้น แต่ถ้ามันจะชำระกิเลส ชำระกิเลสนี่มันต้องทำให้ลึกซึ้งกว่านั้น

ที่เราทำกันอยู่นี้ ที่ครูบาอาจารย์แนะนำอยู่นี้ ให้มีคำบริกรรมขึ้นมา ถ้าคำบริกรรมขึ้นมา พอจิตมันสงบระงับขึ้นมา มันแตกต่างกับตั้งไข่เลยล่ะ พอตั้งไข่นี่มันทรงตัวของมันไม่ได้ มันล้มลุกคลุกคลานของมัน แต่ถ้าเอกัคคตารมณ์ จิตตั้งมั่น เห็นไหม มันแตกต่าง พอแตกต่างขึ้นมานี่เริ่มฝึกหัดใช้ปัญญา การฝึกหัดใช้ปัญญามาตั้งแต่เริ่มต้น ตั้งแต่คำว่า “ตั้งไข่” มันก็เป็นปัญญาเหมือนกัน แต่มันเป็นปัญญาโลกียปัญญา ถ้ามันตรึกโลกียปัญญา มันจะพัฒนาขึ้นไป พัฒนาขึ้นไป เพราะครูบาอาจารย์ของเราท่านจะก้าวหน้าเราอยู่ ๑ ก้าว ท่านจะดึงเราไปตลอด เราต้องพัฒนาของเราขึ้นไป มันถึงจะเป็นปัจจัตตัง มันถึงเป็นสันทิฏฐิโก มันถึงเป็นการรื้อค้นในการปฏิบัติในหัวใจของใจดวงนั้นไง

ถ้าใจดวงหนึ่งสู่ใจดวงหนึ่ง ใจของครูบาอาจารย์ท่านประพฤติปฏิบัติมา ท่านมีเหตุมีผลของท่าน ใจดวงหนึ่งถ้ามีความจริงขึ้นมา ท่านจะชักนำใจของเรา ใจที่ล้มลุกคลุกคลาน ใจที่มันตั้งไข่ แล้วมันประพฤติปฏิบัติก้าวหน้าไปไม่ได้ ถ้าประพฤติปฏิบัติก้าวหน้าไปไม่ได้ เราจะเดินก้าวหน้าไปอย่างใด เราจะพ้นจากทุกข์ไปอย่างใด

ถ้าเราจะพ้นจากทุกข์ไปอย่างใด เราต้องกาลามสูตร กาลามสูตร ไม่เชื่อสิ่งใด ในเมื่อครูบาอาจารย์ท่านชี้นำเรา ท่านชักนำเรา เราก็ทำตาม ทำตามนี่มันพิสูจน์ได้ไง เราไม่ได้เชื่อเพราะครูบาอาจารย์ เราไม่เชื่อสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น เราเชื่อสติปัญญาของเรา เราเชื่อในการประพฤติปฏิบัติของเรา แล้วถ้าจิตมันสงบเข้ามา นี่ความแตกต่าง

จิตคนไม่สงบมันก็ไม่รู้จักความสงบหรอก จิตใจของใครที่สงบแล้ว แล้วขุดคุ้ยเห็นกิเลส เห็นกิเลสนะ เห็นสักกายทิฏฐิที่มันนอนเนื่องมากับใจ ถ้าเห็นกิเลสแล้วพิจารณาแยกแยะนะ เราแยกแยะอย่างไร เรามีการกระทำอย่างใด ถ้าจิตใจมันไม่ได้แก้กิเลส มันไม่เคยเห็นกิเลส มันจะไปแก้ที่ไหน? มันก็แก้ที่ชื่อของกิเลสไง มันก็เป็นตำรับตำรา มันเป็นทางวิชาการ นี่ไง เพราะเราเชื่อ เราเชื่อเพราะอะไร เพราะเรามั่นใจของเราไง แต่ถ้ากาลามสูตร เราไม่เชื่อ นั่นเป็นชื่อ มันเป็นความจริงไหม

ถ้าร้อนก็ต้องรู้ว่าร้อน ถ้าเย็นก็ต้องรู้ว่าเย็น ถ้าทุกข์ก็ต้องรู้ว่าทุกข์ ถ้ามันปลดทุกข์ได้ มันพ้นจากทุกข์ มันก็ต้องรู้ว่ามันพ้นจากทุกข์ ถ้ามันพ้นจากทุกข์ มันพ้นอย่างใด ถ้ามันยังไม่พ้น มันไม่พ้นตามความเป็นจริง สิ่งนี้เป็นความจริงไหม นี่ไง มันถึงก้าวเดินไปไม่ได้

ถ้ามันจะก้าวเดินไป ถ้าจิตสงบแล้วฝึกหัดใช้ปัญญา ปัญญาเกิดอย่างไร ปัญญามันพิจารณาอย่างไร ปัญญาทางโลกเขา ปัญญาที่เขาเป็นปัญญาวิชาชีพของเขา เขามีประสบการณ์ของเขา คนที่มีอาชีพสิ่งใด ยิ่งถ้าเขามีประสบการณ์หลายๆ ปีขึ้นไป เขาจะเข้าใจ เขาจะวิเคราะห์วิจัยสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับเขาได้ด้วยความแม่นยำเลย นั่นเป็นปัญญาของเขานะ

แต่ถ้าปัญญาทางธรรม ปัญญาทางธรรมมันจะเกิดขึ้นจากอริยสัจ เกิดขึ้นจากสัจจะความจริง สัจจะความจริงมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร? สัจจะความจริงมันเกิดขึ้นมาจากจิตที่มันสงบระงับนี่ไง ถ้าจิตที่มันสงบระงับ เพราะอะไร เพราะจิตดวงนี้มันเวียนตายเวียนเกิดในวัฏฏะใช่ไหม

จิตดวงนี้เวียนตายเวียนเกิดในวัฏฏะ ในปัจจุบันนี้มาเป็นเราใช่ไหม มาเป็นเรานี่เป็นมนุษย์ มนุษย์โดยสัญชาตญาณที่เราใช้ปัญญาโดยทางโลกที่เรารู้เราเห็นกันอยู่อย่างนี้ใช่ไหม เพราะมันมีคำบริกรรม เพราะมันมีพุทธานุสติ เพราะมันมีปัญญาอบรมสมาธิ มันถึงสงบระงับเข้ามา พอมันสงบระงับเข้ามา มันเป็นตัวของจิตล้วนๆ จิตสงบนะ

เวลาอัปปนาสมาธิ เวลาจิตสงบนี่มันวางกายนี้ได้เลยล่ะ เวลาจิตสงบนี่ดับหมด ดับอายตนะ ดับความรับรู้หมด แต่สักแต่ว่ารู้ ตัวจิตล้วนๆ ตัวจิตที่มันสงบระงับเข้ามา เห็นไหม ถ้าตัวจิตสงบระงับเข้ามา นั่นน่ะสัมมาสมาธิ อัปปนาสมาธิ พอมันคลายตัวออกมาเป็นอุปจารสมาธิ อุปจารสมาธิมันจะออกฝึกหัดใช้ปัญญา เพราะมันมีตัวจิต ตัวที่มันเวียนตายเวียนเกิดนี่ไง เพราะมีจิตที่เวียนตายเวียนเกิด ถ้ามันออกใช้ปัญญา ออกใช้ในอริยสัจ ในภาวนามยปัญญา ในอริยสัจ ในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม

จิตที่มันหวั่นไหว จิตที่มันซึมเศร้า จิตที่มันซับซ้อน จิตที่มันตื่นเต้น จิตที่มันฟู จิตที่มันพอใจ นี่ไง ถ้าจิตมันสงบแล้วมันมีอาการของมัน แต่มันต้องมีสติปัญญาจับสิ่งนี้ได้ ถ้าจับสิ่งนี้ได้ นี่เวทนา เวทนาจิตไง เวทนาของจิตไม่ต้องอาศัยร่างกาย ไม่ต้องอาศัยสิ่งใดๆ เลย โดยธรรมชาติของเรา เวลาเราทุกข์เราร้อนขึ้นมาในหัวใจ ไม่มีสิ่งใดกระทบเราเลย ทำไมมันเอาแต่ความทุกข์มาเผาลนใจล่ะ นี่เวทนาของจิต

ถ้าเวทนาของจิต เวลาจิตมันสงบระงับเข้ามา มันมีอาการสิ่งใด ถ้ามันจับตัวของมัน เห็นไหม ปัญญาอย่างนี้ ปัญญาที่มันพิจารณาของมัน จิตสงบแล้วเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง ถ้าเห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง มันสะเทือนหัวใจ นี่ปัจจัตตัง สันทิฏฐิโก โอปนยิโก เรียกร้องสัตว์ทั้งหลายมาดูธรรม เรียกร้องสัตว์ทั้งหลายมาดูจิต จิตดวงนี้มันกำลังซักฟอกมัน จิตดวงนี้มันได้วิปัสสนา จิตดวงนี้ที่มันมีกำลังของมัน

ถ้าจิตมันเสื่อม เวลาจิตมันเสื่อมออกมาเป็นปุถุชน ความรู้สึกนึกคิด สัญญาอารมณ์ อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดอัดอั้นตันใจไปหมดเลย สิ่งใดนี่อั้นตู้ ไม่มีทางออกเลย เพราะสิ่งนี้มันเป็นสัญชาตญาณ มันเป็นสิ่งที่มีอยู่ไง นี่วิถีแห่งจิต วิถีแห่งจิต ถ้ามันโดนอวิชชาครอบงำอยู่ มันมืดบอด แล้วเวลาเราคิดก็คิดโดยสมอง นึกคิดโดยพันธุกรรม คิดโดยเวรโดยกรรม คือใครมีกรรมอย่างใด ใครมีความรู้สึกนึกคิดอย่างใด สิ่งที่มันฝังมากับจิตที่มันผ่านออกมาจากสมอง มันแสดงพฤติกรรมอย่างนั้นน่ะ นี่เป็นพฤติกรรม เห็นไหม พฤติกรรมของจิตที่มันเสื่อมออกมา

แต่เวลาเรามีสติปัญญา เรากาลามสูตร เราไม่เชื่อสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น เราพิสูจน์ใจของเราขึ้นมา เพราะด้วยบริกรรมพุทโธ ด้วยปัญญาอบรมสมาธิเข้ามา เพราะจิตมันปล่อยวางเข้ามา เห็นไหม พอจิตปล่อยวางเข้ามา มันเป็นสัมมาสมาธิ ถ้าสัมมาสมาธิ เวลามันออกรู้ ถ้าจิตมันออกรู้ ออกพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรมที่มันเห็นของมัน เห็นไหม ถ้าเห็นกาย ถ้ามันเห็นกายเป็นเจโตวิมุตติ เห็นกายพิจารณากาย เห็นกายเป็นนิมิต เห็นกายเป็นอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง เห็นกายโดยทั้งโครงสร้าง เห็นเป็นโครงกระดูก เห็นเป็นต่างๆ ถ้าจิตมันมีกำลังของมัน มันจับของมัน เห็นกายเพราะอะไร

เพราะคน สิ่งที่รักที่สุด ไม่มีใครรักคนอื่นมากกว่าเรา จิตใต้สำนึกบอกว่ารักคนโน้นรักคนนี้ จริงๆ ก็คือมันรักตัวมันเองนี่แหละ พอมันรักตัวมันเอง มันก็หวง พอมันหวงของมัน มันก็รักษาของมัน มันก็ยึดของมัน นี่โดยธรรมชาติ

โดยทางโลกของเขา เขาหาเงินหาทองขึ้นมา เขาหลงใหลไปในเงินในทองต่างๆ นี่ทรัพย์สมบัติของเขา แต่เวลาจริงๆ ขึ้นมา ทรัพย์สมบัติ เพราะมันหลงตัวเองไง หลงตัวเองว่ามีเรา เพราะมีเรา เราถึงมีชีวิต เพราะมีชีวิต เราก็ต้องร่ำต้องรวย ต้องมีตำแหน่งหน้าที่การงาน จริงๆ มันรักตัวมันเองทั้งนั้นน่ะ แต่นั่นคือปัญญาโลก ปัญญาโลกคือแสวงหาสิ่งปัจจัยเครื่องอาศัยมาเป็นสมบัติของเรา นี่โลกธรรม ๘ ถ้าโลกธรรม ๘ นะ มีลาภเสื่อมลาภ มียศเสื่อมยศ มันต้องการลาภยศสรรเสริญต่างๆ เพื่อปรนเปรอมัน มันก็ปรนเปรอแบบกิเลสหยาบๆ ไง

แต่เวลาจิตมันสงบระงับเข้ามา เห็นไหม จิตมันสงบระงับเข้ามาแล้วมันจับกาย เวทนา จิต ธรรม ด้วยจิตเห็นจิตตามความเป็นจริง ถ้าจิตมันเห็นจิตตามความเป็นจริงนะ จิตมันเห็นตามความเป็นจริง มันสะเทือนไง มันสะเทือนเพราะว่าสิ่งที่มันรัก สิ่งที่มันสงวน สิ่งที่รักษาจริงๆ มันก็อยู่ตรงนี้ไง มันอยู่ตรงนี้ แต่เวลามันกระจายออกไป เวลามันส่งออกไปแล้วมันก็เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ใช้ความรู้สึกนึกคิดที่บอกว่า “ปฏิบัติแล้วสบายๆ” มันเข้าไม่ถึงข้อเท็จจริง มันไม่เข้าถึงอวิชชา มันไม่เข้าถึงข้อมูลในหัวใจ มันไม่เข้าถึงสักกายทิฏฐิความเห็นผิดของจิต

แต่ถ้าเราปฏิบัติของเรา เราใช้การกำหนดพุทโธจนจิตมันสงบระงับเข้ามา เราฝึกหัดใช้ปัญญาของเรา ฝึกหัดใช้ปัญญาเพื่อ “น้ำใสแล้วจะเห็นตัวปลา” สิ่งที่จิตสงบระงับเข้ามานี่ น้ำใสจะเห็นตัวปลา ปลาคือกิเลสไง กิเลสมันอาศัยอยู่ในน้ำนั้น กิเลสมันอาศัยอยู่ในหัวใจของเรา กิเลสมันอาศัยใจนี่ สิ่งที่เป็นใจ ที่เป็นเราๆ อยู่นี่ มันมีกิเลสครอบครองมัน เพราะมันครอบครองมัน เราถึงเวียนตายเวียนเกิด

แล้วเรามาประพฤติปฏิบัติ ถ้าเราไม่มีสติปัญญาพอจนเข้ามาถึงการกระทำแบบข้อเท็จจริง ตามความเป็นจริง อย่างวิปัสสนากรรมฐานแบบนี้ มันไม่ได้ชำระกิเลสอะไรเลย สบายๆ ขนาดไหนก็ตายเปล่า เพียงแต่มาสร้างคุณงามความดีเพื่อเป็นบุญกุศลไปเท่านั้นเอง มันจะไม่มีข้อมูลตามความเป็นจริงในหัวใจเลย แล้วคิดดูสิ เวลาตายเปล่า ตายชาตินี้ขึ้นไป มันต้องเกิดต้องตายไปในชาตินี้

แต่ในการประพฤติปฏิบัติขึ้นมาตามความเป็นจริง ถ้ามันมีข้อเท็จจริงอย่างนี้ พอจิตมันออกพิจารณาของมัน มันพิจารณาของมัน แยกแยะของมัน พอแยกแยะของมันด้วยปัญญา ปัญญาถ้ามันสมดุลของมัน มรรคสามัคคี สามัคคีอย่างใด เวลาพิจารณาหนักไปทางอัตตกิลมถานุโยค คือจะเอาจริงเอาจังขึ้นมา สิ่งต่างๆ มันเอียงข้าง เวลาบอกว่า สิ่งนี้เป็นความสุข สิ่งนี้จิตสงบ พิจารณาแล้วมันพอใจ นี่กามสุขัลลิกานุโยค ถ้ามันเอียงข้างไป มันเอียงข้าง มันก็ปล่อยวางได้เหมือนกัน ความที่เอียงข้างกระเท่เร่ขนาดไหน แต่มันก็มีกำลังของมัน เพราะนี่คือวิปัสสนา นี่คือการฝึกฝนไง หมั่นซ้ำ หมั่นทำ หมั่นคราด หมั่นไถ

หลวงปู่มั่นท่านพูดบ่อย ถ้าทำนาที่ไหน มันก็ทำลงบนดินนั่นน่ะ ทำนาแล้วก็ทำนาเล่า ก็ทำบนดินนั้นล่ะ คนตั้งแต่โบราณมา ปัจจุบันนี้ อนาคต เวลาเขาทำไร่ไถนา เขาก็ทำบนดินนั่นน่ะ ถ้าจิตมันสงบขึ้นมาๆ นี่ไง วิปัสสนามันเกิดบนหัวใจนี้ บนหัวใจของสัตว์โลก บนหัวใจที่ปฏิสนธิจิตที่เวียนตายเวียนเกิดนี้ ถ้าจิตมันสงบระงับเข้ามา มันจะรู้มันจะเห็นของมัน ถ้ามันรู้มันเห็นของมัน เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมาแล้วหมั่นคราดหมั่นไถ ทำซ้ำทำซาก

เพราะวิปัสสนาไปแล้ว ปัญญาของเราเวลาใช้กำลังอะไรก็แล้วแต่ ความสมดุลของมัน ความพอดีของมัน มันจะควบคุมได้ยาก ความเที่ยงตรงของการกระทำนั้น นี่ก็เหมือนกัน จิต เวลามันพิจารณาของมันไป มันพิจารณาแล้วมันปล่อยวาง แต่ปล่อยวางโดยตทังคปหาน นี่สิ่งที่ทำขึ้นมามันจะพัฒนาขึ้นมาขนาดนี้นะ

ถ้ามันทำมาอย่างนี้ มันเห็นไง มันเห็นหมายความว่า คนเราทำงานเหงื่อไหลไคลย้อยขึ้นมา ผลงานมันเสร็จขึ้นมา มันเสร็จขึ้นมาจากอะไร? มันเสร็จขึ้นมาจากการกระทำของเราใช่ไหม จิตก็เหมือนกัน จิต เวลามันพิจารณาของมันไป มันมีงานของมันนะ เวลางานทางโลกก็อย่างหนึ่ง เวลางานของการทำความสงบ สิ่งที่ว่าพุทโธๆ ปัญญาอบรมสมาธิ มันก็รู้ของมันว่าสิ่งนี้ทำให้จิตสงบ ถ้าจิตสงบแล้วมีกำลัง จิตตั้งมั่นแล้ว เวลาออกวิปัสสนา มันมีงานที่แตกต่าง โลกียปัญญา โลกุตตรปัญญา

โลกียปัญญานี่โลกียปัญญาทั้งหมด ทำให้จิตสงบระงับเข้ามา โลกียปัญญาไง เพราะปัญญาสามัญสำนึก ปัญญาของคน มันก็คือปัญญาใช่ไหม ปัญญาที่แบบว่าอาจารย์กาเหว่าเขาสอน ปัญญาๆ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา นี่คือปัญญาของเขา นี่คือโลกียปัญญาไง ในเมื่อโลกียปัญญามันมีอยู่ประจำทุกดวงใจ มันมีของมันอยู่แล้ว

ฉะนั้น เวลามันมีอยู่แล้ว เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิก็ได้ เราใช้ปัญญาให้จิตใจของเรากำหนดพุทโธก็ได้ สิ่งที่กำหนดพุทโธหรือปัญญาอบรมสมาธิ ผลของมันก็คือสมถะ คือการตั้งไข่ ถ้าตั้งไข่โดยสัมมาทิฏฐิ ตั้งไข่ด้วยความถูกต้อง เอกัคคตารมณ์ จิตตั้งมั่น แต่ถ้ามันตั้งไข่ไม่ได้ มันเป็นโลกๆ เห็นไหม ปัญญาทางโลก โลกียปัญญา ปัญญาที่มันมีของมันอยู่แล้วโดยธรรมชาติของมัน

แต่ถ้าจิตสงบระงับเข้ามา จิตที่มันสงบระงับเข้ามาบ่อยๆ ฝึกหัดใช้มันอีก ปัญญาอย่างนี้มันคนละปัญญากัน ปัญญาที่ว่าหมั่นคราดหมั่นไถ ปัญญาที่มันพิจารณาของมัน พิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรม นี้มันพิจารณาเพราะมันเป็นมรรค เห็นไหม โสดาปัตติมรรค ถ้าจิตสงบระงับขึ้นมานี่ปุถุชน กัลยาณปุถุชน ปุถุชนคือคนหนาด้วยกิเลส ถ้ามีสติปัญญาขึ้นมา รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร ถ้าเป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร ทำไมเราโง่เง่านัก ทำไมโง่เง่าให้จิตนี้มันไปออกรับรู้สิ่งที่เป็นพิษเป็นภัยตลอด เพราะเป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร มันล่อมันลวงมาตลอด ก็เชื่อ เชื่อด้วยความโง่ๆ ของเรานี่ จิตนี้ทำไมมันโง่เง่าขนาดนี้

มีสติปัญญา มันพิจารณาของมัน มันปล่อยวางๆๆ ปล่อยวางจนมันขาด มันขาดหมายถึงว่า รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร ไม่เข้ามารบกวนจิต มันเป็นกัลยาณปุถุชน เวลากัลยาณปุถุชน นี่ฝึกหัดใช้ปัญญาๆ เพราะจิตมันสงบระงับเข้ามา มันตั้งมั่นแล้ว จิตมันมีกำลังของมัน เวลาจิตมันมีกำลังของมัน ถ้ามันเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริงโดยที่มีจิตรู้ จิตเห็น จิตที่มันเป็นฐาน จิตที่ตั้งมั่นนี้ มันจะเป็นโสดาปัตติมรรค เห็นไหม โสดาปัตติมรรค มรรคคือมรรค ๘

มรรค ๘ มันคืออะไรล่ะ? คืองานชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ สติชอบ นี่ความชอบธรรม ความชอบธรรมนี่ฝึกหัด หมั่นคราดหมั่นไถๆ ดูสิ เวลาเราไถนา เดี๋ยวมันก็เบี่ยงออกซ้าย เดี๋ยวมันก็เบี่ยงออกขวา ถ้าเราไม่ถนัดของเรา แต่คนที่ทำนาตลอดชีวิต เขาไถของเขาตรงเปี๊ยะ! เขาไถของเขาด้วยความชำนาญของเขา เขาไถ เขาพลิก เขาไถคราดไถหว่าน เขาไถของเขาเพื่อชำระสิ่งที่เป็นวัชพืชออกไปให้มันสมควรกับการหว่าน การปักดำ จิตใจเราพิจารณา กิเลสมันมีความหมักหมมอยู่ในหัวใจมันตลอดเวลา เราพิจารณาของเราซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ หมั่นคราดหมั่นไถ

ทำนามาแต่อดีตมาเขาก็ทำบนนา ในปัจจุบันนี้เขาทำนา เขาก็ทำบนดิน นี่ทำนาบนดิน ถ้าต่อไปอนาคตเขาก็ทำนาบนดินเหมือนเดิม ดินคือภพ ดินคือหัวใจ ดินคือปฏิสนธิจิต ถ้ามันพิจารณาของมัน เห็นไหม เวลามรรคมันมรรคญาณ นี่ธรรมจักร จักรที่มันเคลื่อนไง เวลาจักรมันเคลื่อน ธรรมจักร จักรมันเคลื่อน มันหมุนของมัน มันจะรู้มันจะเห็นว่าภาวนามยปัญญาเป็นอย่างไร ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการภาวนา ปัญญาที่เกิดจากธรรมจักร ปัญญาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่เชื่ออาฬารดาบส อุทกดาบส แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามารื้อค้นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง แล้ววางธรรมวินัยนี้ไว้ มันก็เป็นทฤษฎี มันเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่ธรรมของเรา

ถ้าเป็นธรรมของเรา เราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ขณะที่จิตมันหมุน จิตมันมีปัญญาขึ้นมา นี่ธรรมของเราๆ ธรรมของใจดวงนั้นไง ใจดวงที่มันทุกข์มันยาก ใจที่มันมีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก แต่มันมีคุณธรรมของมันขึ้นมา แล้วคุณธรรมมันคืออะไร? คุณธรรมมันก็คือการกระทำ คุณธรรมก็เพราะว่างานของใจ วิถีแห่งจิต ถ้าจิตมันสงบระงับเข้ามา จิตมันมีฐานของมันขึ้นมา แล้วจิตมันรื้อค้นของมัน นี่ไง วิปัสสนามันเกิดตรงนี้

วิปัสสนามันเกิดต่อเมื่อจิตที่มีอวิชชา จิตที่มีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก แต่มันได้ทำงานของมัน มันทำงานของมัน มันพลิกแพลงของมัน มันแก้ไขของมัน โดยจักรของมัน มันจะหมุนเข้ามา หมุนเข้ามาชำระกิเลส ทำลายล้าง จะเชือดคอมัน จะตัดหัวมัน ตัดหัวอวิชชาไง ตัดหัวความไม่รู้ไง พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ จนเข้ามารวมกับกลางหัวใจ นี่มรรคสามัคคี

พอมรรคสามัคคี เวลามันขาด พิจารณากาย เวลามันขาดนะ กายไม่ใช่เรา เราไม่ใช่กาย กายไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่กาย นี่แยกออกเลย กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ กายก็แยกออกไป จิตก็แยกออกมา นี่ความรับรู้จริงๆ นี่ไง เวลามันขาด สังโยชน์มันขาด ถ้าพิจารณาเวทนา เวทนาไม่ใช่เรา เวทนาก็ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ พิจารณาจิต เห็นไหม จิตที่มันผ่องใส จิตที่มันเศร้าหมอง ถ้ามันชำระล้างแล้ว จิตมันก็คือจิต จิตมันรวมหมดไง พิจารณาธรรม นี่เหมือนกันหมด

ถ้าเหมือนกันหมด พิจารณาแล้ว เวลาสังโยชน์มันขาดไง ถ้าสังโยชน์มันขาด แล้วมันขาดที่ไหนล่ะ ถ้ามันขาดขึ้นมา ถ้าจิตใจมันรวมลง มันรู้ได้อย่างไร นี่อกุปปธรรม ธรรมแท้ๆ มันเกิดแบบนี้นะ แล้วพิจารณาซ้ำๆ เข้าไป พิจารณาซ้ำหมายความว่า ถ้าเราพิจารณาของเราแล้ว เรารู้แล้ว เห็นไหม หญ้าปากคอก

หญ้าปากคอก ใช้ก็ไม่ได้ ทำก็ไม่เป็น แต่ถ้าหญ้าปากคอก เรารู้ว่าใช้ เราใช้ของเรา เราทำของเราด้วยความชำนาญของเรา นี่มันทำความสงบของใจมากขึ้นอีก พอจิตสงบแล้วมันจับ จับกาย จับเวทนา จับจิต จับธรรม เพราะเชือกเส้นหนึ่ง เชือกผูกโค เราจับที่เชือก เราสาวมา เราจะไปถึงตัวโคนั้นได้ นี่เชือกผูกวัว เห็นไหม เราจับเชือกนั้น เราสาวสู่ตัววัวได้

จิตมันมี เห็นไหม กายนอก กายใน กายในกาย พิจารณากายซ้ำๆๆ เข้ามา พิจารณากายซ้ำๆๆ ในขั้นของมรรคหนึ่ง มันพิจารณาซ้ำจนสังโยชน์มันขาด ถ้าพิจารณาเข้าไป กายนอก กายนอกก็พิจารณาจนมันชำระล้าง กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ พิจารณากายซ้ำ ถ้าจับกายได้ จิตสงบแล้วจับกายอีก จับกาย พิจารณากายซ้ำ มันจะไปสู่สถานะของมัน นี่เป็นธาตุไง ดินเป็นดิน น้ำเป็นน้ำ ลมเป็นลม ไฟเป็นไฟ มันละลายหมด ไม่มีสิ่งใดตกค้างไว้ให้หัวใจมันได้เห็น

ถ้ามันปล่อยวางหมด เห็นไหม นี่ไง สิ่งที่มันปล่อยวางซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ อย่างนี้ หมั่นคราดหมั่นไถ ต้องหมั่นคราดหมั่นไถตลอด ดูสิ เขาทำนาหนหนึ่ง เขาต้องดูแลต้นข้าวของเขา เขาต้องดูวัชพืชของเขา เขาต้องดูโรคข้าวว่ามันจะกัดกินต้นข้าวนั้นให้ตายไหม นี่หมั่นคราดหมั่นไถก็หมั่นดูแลรักษา พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ เวลาดินเป็นดิน น้ำเป็นน้ำ ลมเป็นลม ไฟเป็นไฟ มันปล่อยหมด เวลามันปล่อย เห็นไหม โลกนี้ราบ

โสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค ถ้าโสดาปัตติมรรคเป็นอย่างหนึ่ง โสดาปัตติมรรค เวลามันปล่อยขึ้นมา กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ เวลาพิจารณา เห็นไหม โลกนี้ราบหมด โลกนี้ราบหมดเลย ไม่มีสิ่งใด นี่กามราคะปฏิฆะอ่อนลง

ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์ สิ่งที่มันมีความสุขนะ เวลาเราทุกข์ เราทุกข์ยากแสนเข็ญ เวลาปฏิบัติขึ้นไป เวลาจิตสงบก็มีความร่มเย็นเป็นสุข เวลาวิปัสสนากายมันปล่อย มันปล่อยพร้อมกับสำรอกกิเลส มันยิ่งมีความสุขมหัศจรรย์มาก เวลาทุกข์นี่ทุกข์จนหน้าดำคร่ำเครียด เวลาจิตมันมีความสุขของมันนะ เวลาเดินไปไหน ตัวเบาเหมือนลอย เหมือนคนไม่ได้เดิน มันไปของมัน จิตมันเบาของมัน เดินโดยธรรมชาติของมัน นี่มันไปของมันเพราะอะไร เพราะคุณธรรมไง คุณธรรมที่เราเป็นชาวพุทธพบพระพุทธศาสนา นี่ไง พุทธศาสน์ ศาสน์ที่เป็นความจริง ศาสน์ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุขไปแล้ว

แล้วเรามีการกระทำของเรา ถ้าเวลาจิตนี้ราบหมด มันจะมีความสุขมาก สุขมากขนาดไหน ถ้าเรามีครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์จะอยู่มากกว่าเราก้าวหนึ่งตลอด ครูบาอาจารย์จะดึงขึ้นไป เพราะว่าจะชี้นำ หรือสูงกว่า จะชักนำให้เราขึ้นต้นมะพร้าวไปเลยน่ะเราขึ้นไม่ไหว แต่ถ้าครูบาอาจารย์เดินนำหน้าอยู่หน้าเรา ๑ ก้าว จะดึงเราขึ้นไปตลอดเวลา เราจะมีโอกาสทำของเราได้

ถ้าจิตมันโลกนี้ราบเป็นหน้ากลอง ถ้าทำความสงบของใจเข้าไป ถ้าใจสงบระงับเข้าไปมันจะเป็นมหาสติ มหาปัญญา ถ้ามันเป็นมหาสติ มหาปัญญา ถ้ามันจับกายได้ก็เป็นอสุภะ ถ้ามันจับจิตได้มันก็เป็นกามราคะ สิ่งที่เป็นกามราคะ ในการพิจารณาของเรามันก็มีกาย มีเวทนา มีจิต มีธรรม พันธุกรรมของใจ ใจมีความถนัดทางไหน ถ้าพิจารณาไปแล้ว พิจารณาซ้ำพิจารณาซาก อันนี้มันจะเป็นน้ำป่าที่ทำลายรุนแรงมาก

นี่ไง ถ้าเป็นธรรมะตั้งไข่มันก็ตั้งไข่อยู่นั่น ตั้งไข่ล้ม ต้มไข่กิน ล้มลุกคลุกคลาน มันไม่ไปไหนเลย แต่ถ้าเป็นการภาวนาขึ้นไป มรรคหยาบ มรรคละเอียดนะ โสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค ไม่เหมือนกัน แตกต่างหลากหลาย ลึกซึ้ง ละเอียดต่างกัน คนละมิติ จะไม่มีเหมือนเลย ฉะนั้น เวลาผู้ที่ปฏิบัติไปพูดออกมา ครูบาอาจารย์ฟังทีเดียวก็รู้ว่าอยู่ขั้นไหน จิตใจนี่ วุฒิภาวะมันอยู่ตรงไหน แล้วควรจะทำอย่างไรต่อไป

ฉะนั้น เวลากามราคะมันจะรุนแรง แล้วมันจะฉ้อฉล มันฉ้อฉลเพราะอะไร เพราะสิ่งที่โลกติดกันอยู่นี่มันเริ่มต้นจากตรงนี้ ชาติตระกูลต่างๆ ก็อยู่ตรงนี้ไง เราจะรื้อภพรื้อชาติ ถ้ารื้อภพรื้อชาติ ถ้ามันทำลายตรงนี้ไม่ได้ เห็นไหม ดูสิ เวลาเป็นสกิทาคามีตายแล้วก็ยังเกิดตั้งแต่เทวดาลงมา แต่ถ้าพิจารณาซ้ำๆ พิจารณาซ้ำ จับได้นะ ถ้าเป็นอสุภะ นี่ซ้ำ ซ้ำอย่างไร

มหาสติ มหาปัญญานี่ต้องลงทุนลงแรงมากนะ คำว่า “ลงทุนลงแรงมาก” เพราะว่ามันเป็นมหาสติ มหาปัญญา ฉะนั้น ผู้ที่ปฏิบัติอยู่กับหมู่คณะ เขาจะสงบระงับของเขา เขาจะแสวงหาเวลาอันสงบระงับของเขาเพื่อจะได้หมุนอันนี้ไง หมุนจักรภายใน ถ้าจักรภายในมันหมุนของมัน มันจะพิจารณาอุสภะเป็นอสุภะอย่างไร มันเป็นอสุภะ อสุภะเพราะมันมีมหาสติ มหาปัญญา มหาสติ มหาสมาธิ มันทำให้ความรู้ความเห็นมันเป็นอสุภะ อสุภะแล้วมันเยิ้ม มันต่างๆ มันพิจารณาอย่างไร

พิจารณาซ้ำพิจารณาซากต่างๆ พอมันปล่อยวาง มันก็ละเอียดลึกซึ้งเข้า ชำนาญเข้า เร็วเข้า สะดวกขึ้นขนาดไหน จิตใจ กิเลสมันก็พลิกแพลงนะ ถ้ากิเลสมันพลิกแพลง อ้างเหตุ อ้างผล อ้างให้เราล้มลุกคลุกคลาน นี่ต้องต่อสู้ตลอด หมั่นคราดหมั่นไถ ถึงที่สุดนะ มันครืน! ในหัวใจ มันทำลายนะ พอมันทำลายขึ้นมา ทำลายอะไร

ในเมื่อสัญญา ปฏิฆะ กามราคะ ปฏิฆะคือข้อมูล สิ่งที่ฝังใจ ความชอบ กามฉันท์ ความพอใจ ความพอใจที่ละเอียดลึกซึ้ง เห็นไหม ดูสิ กิเลสที่ความพอใจลึกซึ้ง มันทำของมันอย่างไร ถ้าทำแล้วทำลายซ้ำเข้าไป มันจะละเอียดเข้าไป ถึงที่สุดมันครืน! ในหัวใจ ครืน! ในหัวใจแล้วยังต้องตรวจสอบๆ เข้าไป อนาคามี ๕ ชั้นนะ มันละเอียดลึกซึ้งอีกชั้นๆ เข้าไปนะ จนว่างหมด จนไม่มีอะไรเลย จับต้องสิ่งใดไม่ได้เลย ไม่มีอะไรสิ่งใดเลย...แต่มี มีอะไร? ก็มีตอไง มีภวาสวะ นี่ตัวภพแท้

“จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส” อรหัตตมรรค ถ้าอรหัตตมรรคจับตรงนี้ได้ นี่มรรคญาณ สิ่งที่เป็นญาณ ไม่ใช่ขันธ์ ความรู้สึก ความนึกคิด จิตละเอียดขนาดไหน จะเป็นมหาสติ มหาปัญญา มันก็เป็นความรู้สึก เป็นปัญญา เป็นความคิดอันหนึ่ง ความคิดที่ละเอียดลึกซึ้ง แต่มันมีมหาสติ มหาสมาธินี่รองรับ มันก็ละเอียดลึกซึ้งเข้าไปถึงปฏิฆะ ปฏิฆะคือข้อมูล คือสิ่งที่ฝังใจ สิ่งที่ฝังใจที่ลึกซึ้ง สิ่งที่เป็นจิตใต้สำนึก แต่พอมันทำลายล้างหมดสิ้นไปแล้ว มันไม่มีสิ่งใดเลย มันเป็นพลังงานเพียวๆ พลังงานเปล่าๆ

“จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้หมองไปด้วยอุปกิเลส” แล้วพลังงาน พลังงานมันเป็นอะไร “จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้หมองไปด้วยอุปกิเลส” แล้วจิตเดิมแท้เป็นอย่างไร ภวาสวะมันไม่ทำร้ายใคร มันเป็นภพเฉยๆ มันไม่ทำร้ายใครเลย แล้วทำไมต้องไปทำลายมัน ถ้าไม่ทำลายมัน เพราะมันมีอยู่ใช่ไหม ถ้ามันอยู่ที่ไหน มารมันก็ครอบคลุมได้ใช่ไหม นั่นน่ะเรือนยอด

บ้าน ๓ หลัง โทสัคคินา โมหัคคินา นี่บ้าน ๓ หลัง โลภ โกรธ หลง เรือนยอดของมาร พ่อของมาร ความโลภ ความโกรธ ความหลงเป็นพ่อของมารเป็นแม่ของมาร แล้วปู่ของมันล่ะ แล้วเจ้าวัฏจักรล่ะ ถ้ามันจับได้ นี่ไง ถ้าเป็นอรหัตตมรรคนะ มันจะละเอียดลึกซึ้ง มันเป็นมรรคญาณเข้าไปจับต้อง ไม่ใช่ความที่ใช้ปัญญาที่จะใช้แบบมหาสติ มหาปัญญา จนถึงที่สุดถ้ามันพลิกคว่ำของมันได้ มันพลิกคว่ำได้ เพราะคนต้องมีความละเอียดรอบคอบ ความสติปัญญาลึกซึ้งมาก ถ้าทำสิ่งนี้ได้ เห็นไหม

ดูสิ จากที่ธรรมะตั้งไข่ แล้วอาจารย์ที่เป็นกาเหว่าเขาว่าสิ่งนั้นเป็นธรรมๆ มันเป็นธรรมะตั้งไข่นะ แต่ถ้าเป็นธรรมะความจริงแบบหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นที่ได้ทำขึ้นมาเป็นพยานในหัวใจของท่าน จากการศึกษามาจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมและวินัยนี้ไว้ กึ่งพุทธกาลศาสนาจะเจริญอีกหนหนึ่ง หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นมาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา มันเจริญมาจากไหนล่ะ? มันเจริญมาจากหัวใจ เจริญมาจากข้อเท็จจริงนั้น เพราะข้อเท็จจริงนั้นมีการกระทำนั้น มันถึงไม่เป็นกาเหว่า มันเป็นสัตว์ประเภทใด คือจริตนิสัยสิ่งใดก็เป็นสัตว์ประเภทนั้น สัตว์ สัตตะผู้ข้อง

แต่ครูบาอาจารย์ของเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา มันทำลายหมดไง ทำลายความข้องในหัวใจ ทำลายสัตตะผู้ข้องจนพ้นไปได้ทั้งหมด พ้นเพราะว่ามันต้องทำลายภวาสวะ “จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้เป็นผู้หมองไปด้วยอุปกิเลส จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้เป็นผู้ข้ามพ้นกิเลส” มันจะข้ามพ้นอย่างไรล่ะ มันจะข้ามพ้นอย่างไร ถ้ามันจะทำลายอย่างไร ถ้ามันทำลายของมัน เห็นไหม ถึงที่สุดแล้ว เพราะมันทำลายไปแล้ว มันจะละเอียดลึกซึ้ง มันไปของมัน

แล้วแต่ขณะจิต อำนาจวาสนา อำนาจวาสนาของคนที่นิ่มนวลมันก็ไปแบบนิ่มนวล อำนาจวาสนาที่คนสร้างมามาก ขณะที่มันรุนแรง มันก็รุนแรงเพื่อให้ถึงที่สิ้นสุดไง ครืน! ในหัวใจนะ เทวดา อินทร์ พรหมเขารับรู้ของเขาได้ เพราะจิตเหมือนกัน จิตเห็นจิต จิตแก้จิต จิตรู้ถึงที่สิ้นกระบวนการของมัน มันถึงมีเหตุมีผล มีการกระทำ ไม่ใช่อาจารย์กาเหว่า แล้วเที่ยวเขี่ยผลประโยชน์ของคนอื่นทิ้ง

มรรคผลมันจะเกิดขึ้นมาจากใจนะ เขาเขี่ยทิ้ง ทำลายทิ้ง แล้วเราก็เชื่อเขา เราจะแก้ได้ด้วยกาลามสูตร อย่าเชื่อใคร ให้ทำความเป็นจริง ปฏิบัติตามความเป็นจริงให้มันเป็นขึ้นมาในหัวใจของเรา เห็นไหม ถ้ามันเป็นขึ้นมาในหัวใจของเรา จิตดวงหนึ่งให้สู่จิตดวงหนึ่ง

ถ้ารู้จริงขึ้นมาแล้วนะ รู้จริงคือรู้จริง คือความจริงของเรา อันนี้เป็นสัจธรรม เป็นความจริงของเราที่หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านพยายามวางรากฐานไว้ให้พวกเราได้ก้าวเดิน เราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา แล้วมีครูมีอาจารย์ที่อยู่ข้างหน้าเรา ๑ ก้าว ๑ ก้าว คอยดึงเราไป เราควรภูมิใจกับการเกิดเป็นมนุษย์ของเรา เอวัง