โลกเป็นใหญ่
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๕
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
ตั้งใจ ถ้าตั้งใจนี้เป็นเจตนาไหม ถ้าตั้งใจเกินไป เวลาเราภาวนานี่เราอยากให้จิตใจเราได้สมความปรารถนา สมความปรารถนาในการประพฤติปฏิบัติ สมความปรารถนาในการบรรลุธรรม สมความปรารถนาจนสิ้นกิเลสนะ แต่เวลาเราประพฤติปฏิบัติไปแล้วมันมีสิ่งกีดขวาง สิ่งกีดขวางคือกิเลสตัณหาความทะยานอยาก
คำว่า กิเลสๆ ในพุทธศาสนาพูดแต่เรื่องกิเลสๆ กิเลสมันก็คือการกระทำของเรานั่นแหละ การกระทำนะ ถ้าเราทำสิ่งใดแล้วมันเป็นจริตเป็นนิสัย ถ้าเป็นนิสัยนะ สิ่งใดที่ไปขัดแย้งโต้แย้งกับสิ่งที่มันหวงแหนนะ มันเกิดอารมณ์ความรู้สึกที่กระทบกระเทือนมาก สิ่งใดที่ทำแล้วมันพอใจ สิ่งใดที่ทำแล้วไปสมความปรารถนา คือมันตั้งใจให้เป็นแบบนั้น แต่มันไม่เป็นความจริง ไม่เป็นความจริงเพราะมันไม่เป็นธรรม
ถ้าไม่เป็นธรรม เป็นธรรมเพราะเหตุใดถึงจะเป็นธรรมล่ะ
เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดมาจากพระเจ้าสุทโธทนะกับพระนางสิริมหามายา เกิดจากใครล่ะ? เกิดจากพ่อจากแม่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เกิดจากโลกนะ เกิดจากโลก อยู่บนโลกนี้ เวลาเกิดจากโลก เห็นไหม มีการศึกษา เพราะจะเตรียมตัวเป็นกษัตริย์ มีการศึกษามาขนาดนี้ ศึกษาทางโลกมาทั้งนั้นน่ะ
ถ้าศึกษาทางโลกแล้ว ทำไมเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะขึ้นเป็นกษัตริย์ ทำไมมันละล้าละลังล่ะ? เพราะมันเป็นภาระรับผิดชอบ มันมีความบีบคั้นในความรู้สึก พอความรู้สึก เรารับภาระสิ่งนั้นหรือ ฉะนั้น สิ่งที่รับภาระสิ่งนั้นแล้ว มันรับภาระนั้น ถ้าเป็นผู้ที่รับผิดชอบ เราต้องรับภาระหน้าที่ของเรา เพราะรับหน้าที่ของเรา สิ่งนั้นเป็นหน้าที่ใช่ไหม หน้าที่การงานของเรา เราต้องรับผิดชอบ
ทีนี้หน้าที่การงาน รับผิดชอบนี่รับผิดชอบทางโลก แล้วถ้าเป็นสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะต้องตรัสรู้ธรรมขึ้นมาเป็นศาสดา เป็นผู้สั่งสอน สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เห็นไหม สอนตั้งแต่เทวดาลงมา ตั้งแต่พรหมลงมา สิ่งนั้นเป็นภาระที่หนักหน่วงกว่ามาก ทีนี้ความที่จะเป็นภาระที่จะหนักหน่วง ที่จะเป็นภาระที่จะสั่งสอนเขา จะเอาอะไรไปสั่งสอนเขาล่ะ
ถึงจะสั่งสอนเขา เห็นไหม เพราะทุกคนปรารถนาจะเป็นพระอรหันต์ ปรารถนาจะสิ้นกิเลส แล้วสิ้นกิเลส ใครจะเป็นคนสิ้นกิเลสล่ะ? มันยังไม่มีใครสิ้นกิเลสใช่ไหม ฉะนั้น ถ้ายังไม่มีใครสิ้นกิเลส องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ต้องแสวงหาเอง แสวงหาสิ่งที่เราจะรับรู้ สิ่งที่จะเป็นความจริงในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อน
เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดมาก็เกิดมาจากโลกนี่แหละ แต่เวลาเกิดจากโลกแล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขวนขวาย ค้นคว้า มีการประพฤติปฏิบัติ จนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปทดสอบกับเจ้าลัทธิต่างๆ ทดสอบทุกอย่างว่าสิ่งนั้นเป็นธรรมๆ ใครก็ว่าเป็นศาสดา เป็นพระอรหันต์ทั้งนั้น เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษาแล้วมันไม่เป็นความจริง มันไม่เป็นความจริงเพราะมันแก้กิเลสในหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้
แต่ศาสดาของเขาปฏิญาณตนว่าเขาเป็นพระอรหันต์ เขาปฏิญาณตนว่าเขาเป็นศาสดา เขาคิดของเขา เขาคิดของเขาเอง เห็นไหม พอเขาคิดของเขาเอง เขาก็ว่าสิ่งนั้นเป็นความพอใจของเขา ถ้าความพอใจของเขา เพราะความอ่อนแอทางหัวใจ ความอ่อนแอทางความรู้สึกนึกคิด เขายอมรับสภาวะแบบนั้นว่าเป็นธรรมๆ แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างสมบุญญาธิการมา สร้างบุญญาธิการจนบารมีเต็ม สร้างบุญญาธิการจนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้เองโดยชอบ
ทีนี้ ตรัสรู้เองโดยชอบ ด้วยบุญญาธิการอันนั้น เวลาไปศึกษา ถึงบอก สิ่งนั้นไม่เป็นธรรมๆ ฉะนั้น ไม่เป็นธรรมแล้วทำอย่างไร แล้วที่เป็นธรรมมันอยู่ที่ไหน เป็นธรรมมันอยู่ที่ไหน ไปหาใคร ใครก็ไม่เป็นความจริงขึ้นมา มันถึงไม่มีสัจธรรม ไม่มีความจริงอยู่ในโลก
เห็นไหม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดบนโลกนะ เกิดมากับโลกนี่แหละ เกิดมาเป็นมนุษย์อย่างพวกเรานี่แหละ แต่ความเกิดเป็นมนุษย์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างสมบุญญาธิการมา ค้นคว้าในหัวใจ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำทุกรกิริยา ในบุคลาธิษฐาน เทวดามาดีดพิณ ๓ สายให้ฟัง
เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อสู้ ทำทุกรกิริยา เทวดามาดีดพิณ ถ้าพิณมันตึงเกินไป สิ่งที่มันทำตึงเกินไปมันก็ขาด สิ่งที่มันหย่อนเกินไป เสียงมันก็ใช้ไม่ได้ เวลาสิ่งที่มันเป็นกลาง เสียงที่มันไพเราะ เสียงที่มันไพเราะมันเกิดเพราะเหตุใด? เพราะความพอดี นั้นเป็นบุคลาธิษฐาน
แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาทำทุกรกิริยาต่อสู้ทุกๆ อย่าง ต่อสู้นี่ก็เป็นโลก คำว่า เป็นโลก คือต่อสู้ด้วยความรู้สึกนึกคิดของตัวไง ว่าสิ่งใดเป็นกิเลสล่ะ เราต้องการชำระกิเลสของเรา แล้วกิเลสมันอยู่ที่ไหนล่ะ ก็ต่อสู้ ต่อสู้เพื่อพิจารณาไป
ด้วยความเห็นของโลกๆ ไง ถ้ามันเป็นโลกก็เป็นแบบนั้นล่ะ
ถ้ามันเป็นธรรมล่ะ เป็นธรรม เห็นไหม เราทำมาถึงที่สุดแล้ว เราทำอย่างไรมันก็ไปไม่รอดแล้ว ฉะนั้น เราจะกลับมาฟื้นฟูร่างกายของเรา เราต่อสู้มาทุกอย่าง เราทำทุกรกิริยามาจนหมดแล้ว แต่ทำทุกรกิริยามันส่งออกไง มันทำด้วยความรู้สึกนึกคิดออกไป ฉะนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงกำหนดว่า เราจะฉันอาหารของนางสุชาดา แล้วพยายามระลึกถึงอานาปานสติตั้งแต่คราวเป็นราชกุมารอยู่ที่โคนต้นหว้านั้น
อานาปานสติ พยายามทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าใจมันสงบ ใจสงบเข้ามา ด้วยอำนาจวาสนา ด้วยบุญญาธิการนะ พอจิตสงบเข้ามามันออกรู้ของมัน ออกรู้ด้วยกำลังของมัน บุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ นี่เป็นความจริง ความจริงที่มันเกิดขึ้นที่ไหนล่ะ? มันเกิดขึ้นในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภาระหน้าที่ที่จะเป็นกษัตริย์ เป็นภาระหน้าที่ ทิ้งภาระหน้าที่นี้มา ถ้าทิ้งภาระหน้าที่นี้มา นี่ด้วยความเห็นของโลกบอกว่า นี่ไม่รับผิดชอบ ไม่รับผิดชอบ แม้แต่พระเวสสันดร เวลาชูชกมาขอกัณหา ชาลี ให้เขาไป บอกว่า ไม่รับผิดชอบ ถ้ารับผิดชอบ ต้องรักลูก ต้องรักษาลูกไว้ จะให้ใครเอาไปไม่ได้ นี่คิดแบบโลกๆ เห็นไหม
ถ้าคิดแบบธรรมล่ะ ถ้าคิดแบบธรรมนะ สิ่งที่เขาขอนี่ด้วยความพูดที่มันเป็นความซื่อสัตย์สุจริต เขาขอกัณหา ชาลี เขาไม่ได้ขอพระเวสสันดร เพราะเขาขอเพื่อให้มันสะเทือนหัวใจไง มันเป็นการสร้างอำนาจวาสนาบารมีมาด้วยกัน เห็นไหม การสร้างอำนาจวาสนาบารมีมา มันจะต้องแบ่งเบาภาระกันไปตามอำนาจแบบนั้น เวลาเขาขอกัณหา ชาลี ก็ต้องให้เขาไป แต่ความรู้สึกนึกคิดมันเจ็บปวดขนาดไหน มันเจ็บปวดขนาดไหนก็รักษาน้ำใจตัวสิ แล้วดูแลรักษาใจนี้ นี่มันเป็นภพเป็นชาติมา เห็นไหม
ฉะนั้น เวลาภาระหน้าที่ในการเป็นกษัตริย์นั้นก็เรื่องหนึ่ง มันเรื่องโลกไง เรื่องโลกๆ ที่การปกครอง มันเป็นการปกครองไปทางโลก แต่ถ้ามาตรัสรู้ธรรมขึ้นมาล่ะ นี่ทิ้งสิ่งนั้นมาแสวงหาในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจนเป็นธรรม จากโลกมันไปเป็นธรรมไง
พอมันเป็นธรรมขึ้นมา เวลาเป็นธรรมขึ้นมา เป็นธรรมในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาเทศนาว่าการรื้อสัตว์ขนสัตว์ จะรื้อสัตว์ขนสัตว์ รื้อสัตว์ขนสัตว์นะ ยังไม่มีวินัย ยังไม่มีสิ่งใดบัญญัติมา เห็นไหม เวลาไปเทศน์ปัญจวัคคีย์ ไม่มีสิ่งใดเป็นกฎกติกาอะไรทั้งสิ้น แต่ปัญจวัคคีย์ก็แสวงหา
อัญญาโกณฑัญญะ เวลาเป็นพราหมณ์มาพยากรณ์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องเป็นศาสดาอย่างเดียว ต้องเป็นพระอรหันต์อย่างเดียว นี่ตามอุปัฏฐากอยู่ เพราะต้องการ ทุกคนก็อยากออกจากทุกข์ทั้งนั้นน่ะ ทุกคนอยากจะออกจากกรงขังของใจ ทุกคนอยากจะให้ใจนี้เป็นอิสระ ทุกคนไม่ต้องการสิ่งที่บีบคั้นใจนี้ ต้องการให้หลุดพ้นไปให้ได้ แต่ใครเป็นคนบอก ใครเป็นคนสอนล่ะ แล้วทำเองมันก็ไม่มีปัญญาทำ ทำไปไม่ได้ มันเป็นเรื่องโลกๆ เพราะจิตใจมันเป็นโลก
จิตใจนี่เกิดเป็นโลกนะ แล้วเป็นโลก ในความรู้สึกนึกคิดของเรา เราก็ว่าเราทำถูกต้องดีงามไปทั้งนั้นน่ะ ถ้าความถูกต้องดีงาม ดีงามของใครล่ะ? ก็ดีงามของอวิชชา ดีงามของกิเลสตัณหาความทะยานอยากนี่ไง
อัญญาโกณฑัญญะ ปัญจวัคคีย์อุปัฏฐากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๖ ปี ก็หวังตรงนี้ๆ แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาฉันอาหารของนางสุชาดา...ทำทุกรกิริยา ในสมัยปัจจุบันเขาก็ยังทำกันอย่างนั้นอยู่ ดูสิ โยคีต่างๆ เขาพยายามทรมานตนอยู่ เขาพยายามดัดแปลงตนอยู่ ก็เพื่อจะทำคุณงามความดีของเขา ความเชื่อของโลกมันเป็นแบบนั้นไง
ถ้าความเชื่อเป็นโลกแบบนั้น ปัญจวัคคีย์ก็ดูแลเจ้าชายสิทธัตถะมา แต่เวลากลับมาฉันอาหาร กลับมาฟื้นฟูร่างกาย นี่ทิ้งไปหมดๆ ทางโลก เห็นไหม ความคิดของโลก โลกคิดกันอย่างนั้น ฉะนั้น เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเทศนาว่าการ มันก็ยังไม่มีกติกา ไม่มีสิ่งใดเป็นกฎเป็นระเบียบเลย เพราะมันยังไม่ได้วางธรรมและวินัย
เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม เสวยวิมุตติสุขอยู่ เวลาไปเทศน์ปัญจวัคคีย์ ไม่มีกติกาใดๆ ทั้งสิ้น เวลาเทศน์ธัมมจักฯไป พระอัญญาโกณฑัญญะมีดวงตาเห็นธรรม พระมหานาม พระอัสสชิ ต่างๆ ยังไม่มีดวงตาเห็นธรรม นี่มันไม่มีกติกาอย่างใด เพราะอะไร เพราะมันเป็นธรรม
มันเป็นธรรมที่ไหนล่ะ? มันเป็นธรรมเพราะในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง มันเป็นธรรมเพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ใจเป็นธรรม ใจได้เสวยวิมุตติสุข ใจได้สัจจะความจริงมา สัจจะความจริงในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ประพฤติปฏิบัติขึ้นมาตามความเป็นจริงนั้น
เวลาไปเทศน์ธัมมจักฯ ประกาศสัจธรรม เทฺวเม ภิกฺขเว ทางสองส่วนไม่ควรเสพ มัชฌิมาปฏิปทา เวลาเทวดามาเล่นพิณ ๓ สายให้ดู นั่นเป็นบุคลาธิษฐาน นั่นเป็นสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปรียบเทียบมา แต่ความเป็นจริงในหัวใจล่ะ มัชฌิมาปฏิปทามันเป็นแบบใด
ถ้ามัชฌิมามันเป็นตามความเป็นจริงขึ้นมา ดูสิ เวลาเทศน์ธัมมจักฯ ไปน่ะ ทางนี้ไม่ควรเสพ แล้วสิ่งที่ควรเสพล่ะ? ดำริชอบ งานชอบ เพียรชอบ ความชอบธรรมมันอยู่ที่ไหน ถ้าความชอบธรรมเกิดใช้ปัญญา มรรค ๘ มรรคมันเดินตัวไป มันเกิด ญาณํ อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ นี่มันเกิดญาณ เกิดวิชชา เกิดปัญญา เกิดความหยั่งรู้ เกิดต่างๆ ขึ้นมา มันเกิดมาอย่างไร? มันเกิดมาเพราะในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันเป็นอย่างนี้มาก่อน
ถ้าในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันเป็นแบบนี้ขึ้นมาโดยมรรคญาณมันทำลายอวิชชาในหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เอาอย่างนี้มาประกาศ ประกาศสัจจะ ประกาศความจริงไง พอประกาศความจริงไป ปัญจวัคคีย์ที่อุปัฏฐากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ ที่ว่าต้องการทางออกๆ
เวลาอุปัฏฐากเจ้าชายสิทธัตถะอยู่ ๖ ปี ต้องการสัจจะ ต้องการความจริงอันนี้ที่มันจะออกไป แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการ ดวงใจของพระอัญญาโกณฑัญญะหยั่งตามไป มีดวงตาเห็นธรรมอยู่องค์เดียว อีก ๔ องค์ พระพุทธเจ้าสอนต่อไปๆ
เห็นไหม เวลาสิ่งที่เป็นธรรม ใจที่เป็นธรรมคือใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เป็นธรรมแล้ว พอเป็นธรรมแล้วเทศนาว่าการมา พอเทศนาว่าการ ถ้าใจของพระอัญญาโกณฑัญญะมีดวงตาเห็นธรรม มันก็เป็นธรรม แต่ในใจของพระอัสสชิ ในใจของพระต่างๆ มันก็ยังเป็นโลกอยู่ เห็นไหม เป็นโลกอยู่เพราะไม่รู้
แสดงธรรม นี่แสดงธรรมออกมา ผู้รู้ก็คือรู้ รู้นั่นคือธรรม แต่ถ้ามันฟังธรรมแล้ว ฟังธรรมยังไม่รู้มันก็เป็นโลก พอเป็นโลกขึ้นมามันก็ชำระกิเลสอันนั้นไม่ได้ ถ้าชำระกิเลสไม่ได้ มันก็ต้องฝึกหัด ทดสอบตรวจสอบให้ใจดวงนั้น ทฤษฎี พอเทศน์ธัมมจักฯ ไป เทวดา อินทร์ พรหมส่งข่าวเป็นชั้นๆ ไป ก็รับฟังอยู่ด้วย แต่ผู้ที่มีดวงตาเห็นธรรมก็พระอัญญาโกณฑัญญะองค์เดียวเท่านั้น องค์เดียวมันก็เป็นธรรม มีดวงตาเห็นธรรมๆ นี่ใจมันเป็นธรรม ถ้าใจเป็นธรรมขึ้นมา มันเป็นข้อเท็จจริงขึ้นมา
แต่ถ้าใจเป็นโลกล่ะ ใจเป็นโลก ดูสิ อัสสชิยังไม่รู้ ต้องเทศน์ซ้ำๆ เทศนาว่าการบอกต่อไป พอบอกต่อไป ปัญจวัคคีย์เป็นพระโสดาบันทั้งหมด ถ้าเป็นพระโสดาบันทั้งหมด เทศน์อนัตตลักขณสูตรเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด นี่เป็นธรรม พอเป็นธรรม สิ่งที่เป็นธรรมขึ้นมามันถึงเป็นธรรมในหัวใจนะ
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดมาจากโลก ปัญจวัคคีย์เกิดมาจากโลก เห็นไหม เกิดมาจากโลก เกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาในโลกนี้ แต่เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นไปมันเป็นธรรมในหัวใจอันนั้น มันเป็นความจริงในใจที่ว่า ใจที่มันมีกิเลสบีบคั้น มีความบีบคั้นมา มีแต่ความเศร้าหมอง มีแต่ความลังเลสงสัย มีแต่ความเจ็บช้ำน้ำใจในหัวใจ คิดสิ่งใดขึ้นไปมันก็เจ็บช้ำน้ำใจตลอด สิ่งที่เจ็บช้ำน้ำใจสิ่งใดขึ้นมา มันก็ชอบคิดชอบย้ำ ย้ำขึ้นมาให้หัวใจเจ็บปวดตลอดเวลา แต่เวลาจะหักห้าม หักห้ามอย่างไรล่ะ
เวลาหักห้าม เห็นไหม เขาบำเพ็ญตบะธรรมกันอยู่ เขาพยายามทำความสงบของใจเข้ามาๆ ทำความสงบของใจอย่างไรมันก็เป็นโลกอยู่ มันเป็นโลกทั้งนั้นน่ะ เพราะจิตใจของเรามันเป็นภวาสวะ เป็นภพ เป็นภพที่เราเกิดมา เราเกิดมากับโลก เราอยู่กับโลกนะ เราเป็นมนุษย์ เราอยู่กับโลก ถ้าอยู่กับโลก เราศึกษากันมา เราก็ศึกษาโดยโลก ในการประพฤติปฏิบัติ เราก็ปฏิบัติโดยโลก เห็นไหม โลกเป็นใหญ่
ถ้าโลกเป็นใหญ่นะ ทำสิ่งใด มันไปยอมจำนนกับความใหญ่โตของอวิชชาทั้งนั้นน่ะ ถ้าไปยอมจำนนกับความไม่รู้ของเรา ทั้งๆ ที่ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเผยแผ่ธรรมมาๆ เราตอนนี้ ศาสนาพุทธกำลังเป็นที่สนใจของโลก ไปที่ไหนก็มีการศึกษา นี้มันคืออะไรล่ะ? นี้มันศึกษาโดยโลกนะ นี่มันศึกษาโดยศีลธรรมจริยธรรมนะ การเผยแผ่ธรรม เผยแผ่ทางวิชาการ ถ้าเผยแผ่ทางวิชาการไป ทางวิชาการใครๆ ก็ศึกษาได้
ดูสิ ถ้าเราสงสัยในโลก เมื่อก่อนสมัยโบราณนะ เวลาอหิวาต์มันระบาดไป นี่โรคห่า เขาย้ายเมืองย้ายบ้านหนีกันหมดน่ะ เพราะมันยังไม่มียาที่จะสามารถรักษาโรคได้ ถ้าไม่มียารักษาโรคได้นะ แล้วเวลามันระบาดไป เราต้องทิ้งบ้านทิ้งเมืองหนีกันเลยล่ะ นี่เพราะอะไร เพราะโลกยังไม่มีความเข้าใจ ถ้าโลกมันพัฒนาขึ้นมา เห็นไหม พอโลกมันพัฒนาเข้ามา เรารู้ได้ เราควบคุมได้ เรารักษาได้ พอรักษาได้ เราก็ไม่สงสัยเรื่องนั้น เราป้องกันได้ มันพิสูจน์ได้ทางวิทยาศาสตร์ว่า ถ้ามันเป็นอหิวาต์ ถ้ามันถ่ายท้องจนมันเสียน้ำมากมันก็ตาย พอมันตาย เขาเลยป้องกันอย่างไร
ถ้าเราป้องกันโรคได้ ต่างๆ ได้ เราศึกษาเรื่องโลกไง ถ้าศึกษาเรื่องโลก ทางวิทยาศาสตร์ ทางวิชาชีพต่างๆ มันเป็นเรื่องของทางโลก เพราะทางโลกเราศึกษาแล้วเราก็ไม่สงสัยเรื่องโลก ถ้าเราไม่ศึกษา เราไม่เข้าใจทางโลก เราก็สงสัย มีสิ่งใดเกิดขึ้น มีสิ่งใดที่เป็นสิ่งที่โลกเขาชื่นชมกัน เราก็หลงใหลไปกับเขา แต่ถ้าเราศึกษามา เรามีวิชาการขึ้นมา เราเข้าใจได้ว่านี่เป็นเรื่องของโลก เราเข้าใจแล้วก็เรื่องของโลก แต่เรื่องของโลกมันก็ยังแปรสภาพ เรื่องของโลกมันก็ยังเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา
แม้แต่เรื่องของโลก ดูสิ ทางเศรษฐศาสตร์เขาจะบอกว่า มีเสื่อมค่า มีการเสื่อมค่า เขาตัดความเสื่อมค่าของมัน มันจะสูญค่าของมัน มีภาวะเงินเฟ้อต่างๆ ว่ามันมีค่าในเวลาเท่าไร แล้วมันจะหมดค่าไปเท่าไร นี่เขายังพิจารณาของเขาได้ นี่ของโลกไง
นี่มันก็เหมือนกัน ถ้าเราศึกษาเรื่องโลก เราก็เข้าใจทางโลก ฉะนั้น พอเราศึกษาทางโลก เราเข้าใจทางโลก เราศึกษาธรรมะของพระพุทธเจ้า เราก็ศึกษาโดยโลก พอศึกษาโดยโลก เวลาปฏิบัติก็ปฏิบัติโดยโลกอีก เพราะสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมและวินัยไว้นั่นคืออะไร
ธรรมและวินัยจะเป็นศาสดาของเรา...มันเป็นทฤษฎี ถ้าเป็นทฤษฎี เราศึกษาโดยกิเลสตัณหาความทะยานอยากของเรา ศึกษาโดยการคาดหมายของเรา เราก็ศึกษาแล้ว เราก็เข้าใจของเรา ถ้าเข้าใจ มันเป็นโลกทั้งนั้นน่ะ แม้แต่เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมามันก็เป็นโลก เป็นโลกเพราะอะไร เป็นโลกเพราะว่าเราเป็นโลกอยู่แล้ว ฉะนั้น เวลาเป็นโลกอยู่แล้ว เวลาปฏิบัติขึ้นมา เราก็ปฏิบัติโดยโลก
เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดมาจากไหน? ก็เกิดมาจากโลก เกิดมาจากพ่อจากแม่เหมือนกัน แต่เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ถ้ามันเป็นธรรมขึ้นมา มันเป็นความจริง เป็นข้อเท็จจริงในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และวางธรรมวินัยมันก็เป็นทฤษฎี มันก็เป็นวิชาการ
พอวิชาการเราศึกษา เราศึกษาวิชาทางโลกก็เหมือนกัน เรามาศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เหมือนกัน เราศึกษาด้วยทางโลกทั้งนั้นน่ะ เรารื้อมานี่เป็นโลกทั้งหมดน่ะ ทั้งๆ ที่เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ เป็นธรรมคือว่า ถ้าเราปฏิบัติไป มันจะเป็นตามนั้นน่ะ มันจะได้ผลตามนั้น แต่เวลาเป็นโลกขึ้นมา เราเอาผลมันมาก่อนไง เราปฏิบัติ เราจะปฏิบัติให้เป็นแบบนั้น
ดูสิ เวลาคำนวณ ถ้าคำนวณออกมาแล้ว การคำนวณที่มันถูกต้อง มันก็ต้องให้ผลที่มันตอบโจทย์ มันก็ต้องเป็นอย่างนั้นน่ะ มันเป็นความจริงอันนั้นล่ะ แต่เวลาคำนวณ เราคำนวณด้วยตัวเลขถูกต้องหรือเปล่า
นี่เหมือนกัน เวลาประพฤติปฏิบัติ เวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เหมือนกัน ถ้าศึกษาธรรมมา ศีล สมาธิ ปัญญา เวลาเขาบอกนะ เวลาปฏิบัติ ปฏิบัติด้วยทางสติปัฏฐาน ๔ ปฏิบัติโดยสติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม พิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔...นี่การคำนวณไง การคำนวณโดยต้นทุนไง โดยเหตุโดยผล เราปฏิบัติทางสติปัฏฐาน ๔ ถ้าพิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรมด้วยปัญญา นี่วิปัสสนา พิจารณาโดยปัญญาทางสติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม
แล้วเวลาประพฤติปฏิบัติไปตามความเป็นจริงอันนั้น เขาว่าปฏิบัติตามความเป็นจริงอันนั้น อันนี้เป็นวิปัสสนา นี่ด้วยความเข้าใจของโลก เพราะอยากได้มรรคได้ผล เราปฏิบัติโดยสติปัฏฐาน ๔ แล้วปฏิบัติไป ในเมื่อใจมันเป็นโลก พอใจเป็นโลกขึ้นมา เวลาเราตรึก เวลาเราพิจารณาไป มันเป็นอนุมานเอาทั้งนั้นน่ะ ถ้ามันเป็นอุปาทาน มันเป็นอนุมาน มันเป็นสัญญา มันเป็นทางโลกๆ ทั้งนั้นน่ะ
พอเป็นทางโลกแล้วทำไมปฏิบัติแล้วมันดีล่ะ?
ดีสิ มันดีประสาโลกไง มันดีประสาโลก เห็นไหม ดูสิ เวลาเราเจ็บไข้ได้ป่วย เราเข้าโรงพยาบาล หมอรักษาเราหายไหมล่ะ? หาย หายแล้ว เราเวลาเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นมา เราทุกข์ไหม? ทุกข์ เวลาเราหายจากโรค เราสบายไหมล่ะ? ก็สบาย
นี่ก็เหมือนกัน จิตใจของเรา ถ้าเราอยู่กับโลก อยู่กับเตาไฟ อยู่กับตัณหาความทำยานอยาก อยู่แต่ความเร่าร้อน พอความเร่าร้อนมาศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันก็เหมือนจากที่เราเจอของร้อน เราก็มาเจอของเย็น จากเราเจอไฟ เราก็มาเจอน้ำ พอเจอน้ำขึ้นมา เราก็ว่าร่มเย็น ประพฤติปฏิบัติไปมันก็มีความสุขมีความสบาย มันเป็นโลกๆ ความสุขสบายมันก็สุขสบายของโลก สุขสบายของโลกเพราะเหตุใด เพราะใจมันเป็นโลก ปฏิบัติ เห็นไหม นี่โลกเป็นใหญ่
แม้แต่การศึกษา การเผยแผ่ธรรมไปก็เผยแผ่ไปทางโลก เวลาปฏิบัติขึ้นไปเราก็ปฏิบัติกันทางโลก ปฏิบัติโดยทางวิชาการ โดยการศึกษา เห็นไหม ต้องเป็นแบบนั้นๆ ปฏิบัติให้มันเป็นแบบนั้น ถ้าเป็นแบบนั้นนะ นี่บอกว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนว่าให้ปฏิบัติในแนวสติปัฏฐาน ๔ ในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม เราก็เดินตามรอยมา เดินตามรอยมา
ดูสิ เวลาพ่อแม่ พ่อแม่เติบโตมา เวลาสั่งสอนลูก เวลาลูกเราก็มีการศึกษา ลูกเราโตขึ้นมาเราก็ฝึกหัดให้ลูกเราเป็นคนฉลาด ให้ลูกต่างๆ เห็นไหม ก็เลยเดินตามรอยพ่อแม่ แล้วไปไหน? ก็ตายคาโลกนี้หมดไง มันก็อยู่กับโลกนี้แหละ
นี่ก็เหมือนกัน เวลาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปฏิบัติโดยสติปัฏฐาน ๔
สติปัฏฐาน ๔ ของใคร?
สติปัฏฐาน ๔ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านประพฤติปฏิบัติขึ้นมาด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ ทำลายอวิชชาในหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสร็จสิ้นกระบวนการ จบสิ้นไปแล้ว นั่นเป็นธรรม
แต่เราบอกว่า เราจะปฏิบัติในสติปัฏฐาน ๔ พิจารณากายก็พิจารณากายเลย พิจารณาจิตก็พิจารณาจิต พิจารณาเวทนา พิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรม เราก็พิจารณาของเรา มันเป็นวิปัสสนา สติปัฏฐาน ๔ ในการวิปัสสนา
วิปัสสนาแล้วมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไรล่ะ มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
ดูสิ เราคิดถึงเรื่องกายมันก็เห็นกายไหม เราตรึกในกายมันเป็นกายไหม? มันก็เป็น พิจารณากายก็พิจารณากายไป แล้วเป็นอย่างไรต่อไปล่ะ นี่มันพิจารณาต่อไป ปล่อยแล้วมันมีอะไรต่อไปล่ะ...นี่มันเห็นโดยโลกๆ ไง
ถ้าโลกเป็นใหญ่ เห็นไหม โลกเป็นใหญ่นะ คือตัณหาความทะยานอยาก คือกิเลสเป็นใหญ่ ถ้ากิเลสเป็นใหญ่ ภาวนาไปมันทำสักแต่ว่า คำว่า สักแต่ว่า แต่ผู้ที่ปฏิบัติโดยโลกเขาบอก ไม่ใช่สักแต่ว่า ทำด้วยความสามารถ ทำด้วยความเข้มข้น ทำด้วยความเป็นจริงของหัวใจ ใจทำมามหาศาลแล้วนี่มันเป็นความจริง แล้วมันก็สบายๆ ว่างๆ ปฏิบัติแล้วเป็นคนดี ปฏิบัติแล้วมีความร่มเย็นเป็นสุข
ร่มเย็นเป็นสุขเพราะจากไฟ จากตัณหาความทะยานอยากมันมาเจอน้ำ มาเจอความร่มเย็นเป็นสุข มาเจออยู่ในร่มธรรม ร่มโพธิ์ร่มธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่การประพฤติปฏิบัติโดยโลกมันก็ได้แค่นี้
สติปัฏฐาน ๔ ปฏิบัติโดยแนวสติปัฏฐาน ๔ รู้เท่าทันความรู้สึกนึกคิด รู้เท่าทันสิ่งต่างๆ แล้วทำอย่างไรต่อไป จิตใจมันเป็นโลก เห็นไหม แต่ถ้าเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ มาทั้งหมดแล้ว ของเขา ปฏิบัติไปแล้วมันไม่มีเหตุไม่มีผล เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามารื้อค้นเอง มันเกิดขึ้นมาจากใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นไหม
เวลาเราทำความสงบของใจกันมา ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ...สมาบัติ ๘ สมาบัติ ๖ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้มาแล้วจากอาฬารดาบส อุทกดาบส สิ่งนี้มันก็เป็นเรื่องโลก ฉะนั้น สิ่งที่เป็นเรื่องโลก เวลาจิตที่มันสงบระงับ สงบเข้ามาเป็นชั้นเป็นตอนเข้ามามันยังเป็นโลกๆ เลย แล้วมันก็ไม่เกิดปัญญา
เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางหมด อานาปานสติ สัมมาสมาธิ พอสัมมาสมาธิขึ้นมา ใช้ตามเท่าทันใจของตัว มันก็เป็นบุพเพนิวาสานุสติญาณ เวลาใช้ความสงบร่มเย็นเข้าไป อานาปานสติให้ลึกเข้าไป นี่สติปัญญามันพร้อม มันก็จุตูปปาตญาณ จุตูปปาตญาณมันก็เป็นอดีตอนาคต ถ้ามันหดสั้นเข้ามาเป็นปัจจุบันล่ะ คือมันไม่ส่งออกไปซ้ายและไปขวา ไม่เป็นอดีตอนาคต มันอยู่ระหว่างมัชฌิมาปฏิปทา นี่เวลามัชฌิมาปฏิปทามันเกิดปัญญาขึ้น
พอเกิดปัญญาขึ้นนี่อาสวักขยญาณ นี่ธรรมจักร จักรมันเกิด เวลามันทำลายหัวใจ ทำลายอวิชชาในหัวใจหมดแล้ว เห็นไหม มันทำลายโลก พอทำลายโลก ทำลายทั้งหมด มันเป็นธรรมขึ้นมา เป็นธรรมขึ้นมา วางธรรมและวินัยนี้ไว้ มันเป็นทฤษฎี เป็นการเผยแผ่ เป็นการศึกษา ศึกษา เราไปศึกษาเรื่องโลกไง เพราะใจเราเป็นโลกอยู่แล้ว ศึกษาแล้วเป็นโลก นี่พอศึกษามาแล้วเป็นสุตมยปัญญา เป็นปริยัติ ศึกษาแล้วต้องวางสิ ถ้าวางแล้วเราต้องปฏิบัติให้เป็นความจริงของเราขึ้นมาสิ ถ้าปฏิบัติตามความเป็นจริงขึ้นมา ปฏิบัติอย่างไร
ฉะนั้น พอปฏิบัติตามความเป็นจริง เพราะเรามีครูมีอาจารย์ไง ถ้าเรามีครูมีอาจารย์ เห็นไหม เราทำ เราก็เกิดมาจากโลกทั้งนั้นน่ะ ผู้ที่ปฏิบัติ ถ้าโลกเป็นใหญ่ เกิดมาจากโลก แล้วจะทำสิ่งใดนี่ละล้าละลัง กลัวผิด กลัวพลาด กลัวว่าถ้ามันพ้นจากขอบของโลกไป พ้นจากความจริงไปเราจะทำอย่างใด มันจินตนาการไม่ออกไง
แต่ถ้ามันปฏิบัติโดยโลก นี่มันจินตนาการออก จินตนาการจากจิตใจของเรา เพราะจิตใจเรามันมีอวิชชา มันมีความไม่รู้ของมัน ไปศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่เป็นความจริงไหม? ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นความจริง พอความจริง มันจินตนาการเป็นอย่างนั้นไป เห็นไหม สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา...จินตมยปัญญา ยังรู้ว่าเป็นจินตมยปัญญานะ แต่ถ้ามันเป็นโลก มันไม่รู้ว่ามันเป็นจินตมยปัญญา มันว่าสิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งนี้เป็นปัญญา ปัญญาในอะไร?
ปัญญาในสติปัฏฐาน ๔ ไง ปฏิบัติแนวทางสติปัฏฐาน ๔ ปัญญาในสติปัฏฐาน ๔ มันเป็นเรื่องโลกทั้งนั้น เรื่องโลกทั้งนั้นเพราะความรู้ความเห็นมันเป็นโลก เป็นโลกเพราะอะไร เป็นโลกเพราะผู้ที่เขารู้จริง ผู้ที่เขาเห็นเป็นธรรมนี่เขารู้ สิ่งที่เป็นธรรม เป็นธรรมเพราะเหตุใด
เวลาครูบาอาจารย์ของเราท่านประพฤติปฏิบัติมาก็โลกเหมือนกัน เวลาเรากำหนดพุทโธ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านสอน บอกว่า ให้ทำความสงบของใจเข้ามาก่อน เรากำหนดพุทโธๆ ของเราก่อน ถ้ากำหนดพุทโธไม่ได้ ถ้าเป็นปัญญาชน ให้ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ
นี่คำว่า ปัญญาอบรมสมาธิ เวลาเขาบอกว่าสติปัฏฐาน ๔ เวลาเขาพิจารณาสติปัฏฐาน ๔ ด้วยปัญญาๆ มันก็แค่นี้แหละ มันก็แค่ปัญญาอบรมสมาธิ แต่ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธินะ ถ้าเราพิจารณา เห็นไหม เวลาเราบวช พระบวชใหม่ อุปัชฌาย์จะให้ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ให้กรรมฐาน ถ้าให้กรรมฐาน ถ้าเรามาท่อง เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ มาท่องถึงมรณานุสติ สิ่งนี้เราใช้ปัญญา สิ่งนี้ให้ฝึกหัดให้ใช้ปัญญา
ถ้าใช้ปัญญานะ เราใช้ปัญญาสิ่งนี้ขึ้นมา ถ้าเราใช้ปัญญา เราพิจารณาของเรา เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ กับสติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม ถ้ากาย เวทนา จิต ธรรม ถ้าพิจารณาไป ถ้าใช้ปัญญาไป พอใช้ปัญญาแล้วมันก็สลดสังเวช มันเกิดธรรมสังเวชนะ ถ้าเกิดธรรมสังเวช มันธรรมสังเวชเพราะอะไรล่ะ ธรรมสังเวชเพราะเรามีสติปัญญาใช่ไหม เราพิจารณาเกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ
ถ้าเราพิจารณาเกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ โดยปัญญาของเรา ปัญญาโลกๆ นี่แหละ ปัญญาที่เป็นโลกนี่แหละ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาบนโลกเหมือนกับเรา เราก็เกิดมาบนโลก ถ้าเราปฏิเสธโลกไม่ได้ แต่เรามีครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์ที่ประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริงแล้ว ท่านบอกว่า ถ้าให้กำหนดพุทโธ ให้ทำความสงบของใจ ถ้าใจมันสงบขึ้นมาแล้ว ถ้ามันเกิดปัญญาขึ้นมา มันจะเป็นภาวนามยปัญญา มันจะเป็นปัญญาในพุทธศาสนา ปัญญาที่เข้าไปชำระล้างกิเลส แล้วถ้าไม่เกิดความสงบของใจเข้ามา มันเป็นโลกียปัญญา ปัญญาที่เกิดจากโลก ปัญญาที่เกิดจากเรา ปัญญาที่เกิดจากทิฏฐิมานะ ปัญญาที่เกิดจากภวาสวะ จากภพ
เวลาครูบาอาจารย์ของเรา เวลาทำความจริง เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากำหนดอานาปานสติ ทำจิตใจให้ผ่องแผ้ว ถ้าจิตใจผ่องแผ้ว แม้แต่ออกรู้ทีแรกยังออกรู้บุพเพนิวาสานุสติญาณ ออกรู้ต่อไปด้วยกำลังของอัปปนาสมาธิ มันยังไปรู้จุตูปปาตญาณ เห็นไหม ยังดึงกลับ ดึงกลับขึ้นมาแล้วเกิดมัชฌิมาปฏิปทา คือเวลาเกิดปัญญาขึ้นมา เกิดมรรคขึ้นมา มรรคความจริงขึ้นมา มันก็ไปชำระล้างกิเลส ทำลายโลกอันนั้น ทำลายโลกคือทำลายภวาสวะ ทำลายตัวจิต ทำลายตัวที่เวียนตายเวียนเกิดในวัฏฏะ ถ้ามันทำลายตัวโลกจบแล้วมันถึงเป็นธรรม
แต่ของเรามันเป็นโลกล้วนๆ เป็นโลกล้วนๆ แล้วเอาโลกนี้ไปตรึกในธรรม สติปัฏฐาน ๔ ปฏิบัติในแนวทางสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ นี่เป็นคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ตัวจิตของเราคือตัวอวิชชา คือตัวมาร แล้วเอามารไปตรึกในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม ว่านี้เป็นแนวทางในสติปัฏฐาน ๔ พอสติปัฏฐาน ๔ แล้วก็มีความรู้สึกนึกคิดในสติปัฏฐาน ๔ มีความรู้สึกนึกคิด จิตใจมันก็ไหลตามไปในสติปัฏฐาน ๔ มันก็อยู่อย่างนั้น พออยู่อย่างนั้นขึ้นมามันก็ก้าวเดินไปไม่ถูกต้อง มันก้าวเดินไปไม่ได้เพราะว่าอันนี้เป็นปัญญา อันนี้เป็นวิปัสสนา
ถ้าเกิดวิปัสสนาแล้ว มันไปทำสมถะทำไม ไปทำความสงบร่มเย็นทำไม เพราะเราใช้ปัญญามาแล้ว ถ้าสมถะแล้วมันเป็นเรื่องอนุบาล มันเป็นเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ แต่ถ้ามันปัญญามาแล้ว มันก้าวเดินปัญญามาแล้ว แล้วพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งปัญญา บอกว่า ใช้เป็นแนวทางสติปัฏฐาน ๔ มันเลยเป็นโลกไง มันเป็นมิจฉา
ถ้าเป็นมิจฉาเพราะอะไร เพราะไม่รู้ เพราะไม่เข้าใจ
แต่เวลาอุปัชฌาย์สอน เห็นไหม ให้เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ แล้วครูบาอาจารย์ของเราให้ทำความสงบของใจเข้ามา ถ้ากำหนดพุทโธก็ได้ กำหนดพุทโธ พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ เวลากำหนดกรรมฐาน ๔๐ ห้อง กรรมฐานคือทำความสงบของใจ ๔๐ วิธีการ ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ได้ แต่เวลาถ้าเป็นปัญญาชน ถ้าเป็นพุทธจริต คือมีปัญญามาก มันเห็นว่าการกำหนดพุทโธเป็นสัทธาจริต คือการกำหนด การกำหนดคือคำบริกรรม คือการย้ำคิดย้ำทำ แต่ถ้ามันเครียด มันทำไม่ได้ มันต้องใช้ปัญญา
ปัญญา เห็นไหม ที่ว่า เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ เวลาอุปัชฌาย์ให้กรรมฐาน เห็นไหม ถ้าเราใช้ปัญญาในเกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ พิจารณาไปๆ ที่ว่า สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ โดยโลกมันก็เป็นมิจฉา มิจฉาเพราะมันไม่รู้ เพราะไม่รู้มันก็เลยก้าวเดินไปไม่ถูก พอก้าวเดินไปไม่ถูกมันก็คลานอยู่กับโลกไง นี่โลกเป็นใหญ่ ถ้าโลกเป็นใหญ่ ปฏิบัติโดยโลก ปฏิบัติโลกเป็นใหญ่ ปฏิบัติไปก็กลัวจะผิดกลัวจะพลาด ปฏิบัติทางวิชาการ ต้องเอาทางวิชาการกอดเอาไว้แน่น เพราะกลัวมันจะเดินไปไม่ถูก
แต่ถ้าปฏิบัติโดยธรรม ถ้าปฏิบัติโดยธรรมเพราะอะไร ปฏิบัติโดยธรรมเพราะมีครูบาอาจารย์ท่านคอยชี้แนะ ถ้าคอยชี้แนะถึงบอก ต้องทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าทำความสงบของใจเข้ามา เราทำความสงบของใจแล้ว ถ้าใจสงบเข้ามา มันจะตื่นเต้นนะ เพราะแค่จิตสงบนี่ ถ้าจิตสงบขึ้นมามันมีหลักมีเกณฑ์แล้ว มีหลักมีเกณฑ์บอก อืม! อารมณ์ความรู้สึกโดยโลก ถ้าบอกว่าว่างๆ สบายๆ มันก็เป็นอารมณ์หนึ่ง ถ้าเรากำหนดพุทโธๆๆ กำหนดคำบริกรรม เวลาจิตมันสงบเข้ามา อืม! มันแตกต่าง พอมันแตกต่าง อืม! อันนี้มีรสมีชาติ อันนี้มีกำลัง ถ้ามีกำลัง เวลาพิจารณาไป ถ้าออกพิจารณาได้นี่มันจะลึกซึ้งกว่า
เห็นไหม ความรู้สึกจากโลก จากโลก จากโลกมันจะไปเป็นธรรม
แต่เวลาถ้าเราทำของเราไม่ได้ เห็นไหม เราใช้ปัญญาพิจารณาเกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ เวลาพิจารณาไปมันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ มันเป็นปัญญาอบรมสมาธิเพราะอะไร เป็นปัญญา เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ เห็นไหม เวลาเรื่องสติปัฏฐาน ๔ เรื่องกาย เรื่องสิ่งที่หัวใจ สิ่งที่มารที่มันสงวนรักษาไว้ ก็รักษาสิ่งนี้แหละ รักษากาย รักษาจิตของเราไว้เป็นที่อยู่ของมัน
ทีนี้เราใช้ปัญญาพิจารณาไป พอพิจารณาไปมันเกิดธรรมสังเวช เกิดธรรมสังเวช พิจารณากาย เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ พิจารณากายของเรา พิจารณาความเสื่อมสภาพของมัน มันเกิดธรรมสังเวช ทำไมมันถึงเกิดธรรมสังเวชล่ะ? เกิดธรรมสังเวชเพราะมีสติ เพราะมีปัญญา ปัญญาอบรมสมาธิ คำว่า ปัญญาอบรมสมาธิ พอเกิดธรรมสังเวชน่ะ ใครเป็นคนสังเวช ใครเป็นคนเกิดธรรม ธรรมสังเวชมันเกิดกับใคร?
มันเกิดกับจิตดวงนั้น ถ้าจิตดวงนั้นมันสังเวชเข้ามา มันก็หดสั้นเข้ามา มันก็ปล่อยวางเข้ามา คำว่า มันมีธรรมสังเวช มันมีสติปัญญาที่มันรับรู้ คือมันมีตัวตน ถ้ามีตัวตนขึ้นมา มันปล่อยเข้ามา เห็นไหม มันปล่อยเข้ามา พอปล่อยเข้ามานี่มีตัวมีตน มีสติมีปัญญาขึ้นมา มันเป็นอะไรล่ะ? มันก็เป็นสัมมาสมาธิไง ถ้าเป็นสัมมาสมาธิ นี่ไง ปัญญาอบรมสมาธิ มันถึงเป็นสัมมาสมาธิ
แต่ถ้าบอกว่า เราปฏิบัติโดยสติปัฏฐาน ๔ พิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรม พิจารณาไปแล้วพิจารณาอย่างไรต่อไปล่ะ พิจารณาไปแล้ว อืม! อืม! อืม! เห็นไหม มันจะไปก็ไปไม่รอด มันเป็นโลกไง
คำว่า โลก โลกกับธรรม เราเกิดมากับโลก เราปฏิเสธโลกไม่ได้หรอก เราบอกห้ามมีโลก ห้ามมีการกระทำ ห้ามมีการยึดติด...ไม่ใช่ แต่ในเมื่อเราปฏิบัตินี่โลกเป็นใหญ่ มันก็เป็นเรื่องโลกๆ หมดไง ถ้าเรื่องโลกเป็นใหญ่มันก็เป็นเรื่องของกิเลสไง ถ้าโลกเป็นใหญ่ก็ปฏิบัติโดยกิเลส แล้วอยู่กับกิเลส แต่อ้างธรรมะ นี่หมามันห่มหนังเสือไง
เวลาหมามันห่มหนังเสือ เวลามันเห่ามันหอน มันก็เห่าหอนเสียงหมาใช่ไหม เวลาเสือมันบันลือสีหนาท เวลาเสือ ราชสีห์บันลือสีหนาท มันเป็นเสียงเสือไง ถ้าเสียงเสือนะ เราเข้าป่าไป ถ้าเสือมันบันลือสีหนาท เรากลัวเสือไหม? ขนพองเลยนะ เพราะอะไร เพราะเสือมันมีเล็บ มีเขี้ยว มีเล็บ มันกัดเราได้ ถ้าหมาล่ะ หมาเราสู้มันได้
เห็นไหม ถ้าเป็นกิเลส เพราะเป็นกิเลส พิจารณาสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ แล้วทำอย่างไรต่อไปล่ะ นี่ไง ที่ว่าคำว่า เป็นโลก
หนังเสือ นั่นคือธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาเราตรึกในธรรมนะ ในแนวทางสติปัฏฐาน ๔ นั้นคือธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นคือเสือ มีฤทธิ์มีเดช ชำระกิเลสได้ ถ้าเป็นธรรมมันจะสามารถชำระกิเลสได้ แต่ด้วยอวิชชา ด้วยโลก ด้วยความไม่เข้าใจ ก็อ้างอิง เห็นไหม มันรักษาตัวมันไว้ รักษาหมาตัวนั้นไว้ ถ้าหมาตัวนั้นมันก็ห่มหนังเสือ พอห่มหนังเสือ เวลามันเห่ามาก็เห่าเสียงหมา มันจะเป็นเสือไปได้อย่างไร
แต่ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเป็นเสือนะ เป็นเสือ มีเขี้ยวมีเล็บ มันมีอำนาจ มันทำลายกิเลสได้ ทำลายกิเลสได้ถ้ามันเป็นความจริงไง แต่ถ้าไม่เป็นความจริง หนังเสือกับหมามันก็คนละส่วนกัน หมาก็คือหมา หนังเสือก็คือหนังเสือ สติปัฏฐาน ๔ ก็คือสติปัฏฐาน ๔ แต่จิตมันไม่รู้ จิตมันไม่รู้ ไม่เข้าใจ มันก็อยู่ตามสถานภาพของมัน ถ้าสถานภาพของมัน มันก็เป็น นี่คำว่า มิจฉาสมาธิ ไง
ถ้ามันเป็นสมาธิ มันก็เป็นมิจฉาสมาธิ ถ้ามันเป็นธรรม มันก็ไม่ใช่
ถ้ามันเป็นธรรม สติปัฏฐาน ๔ มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร สติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม ที่มันเป็นสติปัฏฐาน ๔ มันจะเกิดขึ้นต่อเมื่อถ้าเราทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าเป็นสัมมาสมาธิ สติปัฏฐาน ๔ มันก็เป็นชื่อใช่ไหม ในตำรับตำราก็เขียนไว้ก็เป็นทางวิชาการใช่ไหม แล้วมันมีผลกับใคร
ถ้าเราไปโรงพยาบาล เขาให้ยามา มันมีฉลากยามา ฉลากยานี่บอกถึงคุณภาพของยา ถ้าคุณภาพของยา เราไม่ได้กินยานั่นเข้าไป โรคเราจะหายได้ไหม เราอ่านฉลากยาแล้วบอกให้โรคนี้หายไปกับเรา เป็นไปได้ไหม? มันเป็นไปไม่ได้ เราได้ยามา เราต้องกินยานั้น ฉลากยานั้นเขาบอกคุณภาพของมัน เราไม่ได้กินฉลากยานั้น แต่เรากินยานั้นเพื่อการรักษาโรคภัยไข้เจ็บของเรา
นี่ก็เหมือนกัน สิ่งที่ว่า เป็นสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ มันอยู่ในตำรับตำรา มันเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าเป็นทางวิชาการ เพราะเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่เป็นของเรา เวลาถ้าเป็นของเราขึ้นมา เราก็อ้างอิงว่า สิ่งสิ่งนี้ สิ่งนี้มันก็เป็นฉลากยา ฉลากยาบอกถึงวิธีการ บอกทุกอย่าง สติปัฏฐาน ๔ ถ้าสติปัฏฐาน ๔ เราปฏิบัติแนวทางสติปัฏฐาน ๔ แล้วมันเป็นสติปัฏฐาน ๔ จริงไหมล่ะ มันมียาอยู่หรือเปล่าล่ะ มันมีคุณภาพของยาที่มันจะรักษาโรคได้จริงไหมล่ะ
ถ้ารักษาโรคได้ไม่จริง เราก็ภูมิใจเนาะ ไปถึงโรงพยาบาล ศึกษาธรรมวินัยได้มาก็ได้ฉลากมา ได้ขวดยานั้นมา แต่ตัวยาล่ะ ตัวยาล่ะ เห็นไหม ถ้าตัวยามันไม่มี รักษาโรคนั้นไม่ได้ นี่เหมือนกัน ถ้ามันแนวทางสติปัฏฐาน ๔ นั้นมันเป็นชื่อ นั้นมันเป็นธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วของเราล่ะ?
ของเราปฏิบัติโดยโลก พอโดยโลกขึ้นไป เราก็ใช้อนุมานเอา ใช้จิตนี้มันพิจารณาของมันไป ไปนี่มันเป็นปัญญาไหม? เป็น ปัญญาอะไรล่ะ? ปัญญาก็กิเลสบวกเข้าไปด้วยไง ปัญญาก็มีตัวตนของเรานี่ไง ปัญญาเพราะสัมมาสมาธิ จิตไม่สงบไง มันก็เรื่องโลกๆ ไง พอปฏิบัติไปนะ ปฏิบัติแล้วปฏิบัติเล่าก็อยู่ตรงนั้น ปฏิบัติแล้วปฏิบัติเล่า มันก็ซ้ำรอยอยู่ที่นั่น แล้วก็คิดวงรอบของธรรมมา นี่ฉลากยาไง นี่วิเคราะห์วิจัย ฉลากของยา ยานี่มีคุณภาพอย่างนั้น ยานี้จะรักษาโรคนั้น โรคนั้นจะมี...
สติปัฏฐาน ๔ ไง พิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรม ก็พิจารณาแล้วไง พิจารณาแล้วทำอย่างไรต่อไปล่ะ? งงๆ งงๆ ไปไม่จบหรอก
แต่ถ้าเป็นปฏิบัติธรรมเพื่อธรรมนะ เวลาครูบาอาจารย์ทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าใจมันสงบแล้ว ความรู้ความเห็น ถ้าจิตมันสงบแล้ว ถ้าเห็นกาย เห็นกายนะ มันสะเทือนเลื่อนลั่น มันสะเทือนหัวใจเรามาก
ถ้าเวทนาล่ะ เห็นไหม ดูสิ เวลาสติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม ก็พิจารณาเวทนา เวทนาเป็นอย่างไร เวทนาก็เจ็บปวดโอดโอยนี่ไง ถ้าจิตเราไม่สงบ เวทนานี่ เรานั่งไป เราพิจารณาของเราไป ถ้าเวทนามันมานะ ถ้ามันมีกำลังนะ เราทนไม่ไหวหรอก จิตใจเราทนไม่ไหวหรอก แต่ถ้าเราทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าใจมันสงบแล้วนะ เวลามันออกรู้เวทนานะ มันจับเวทนามาพิจารณาได้ จับเวทนามาพลิกซ้ายพลิกขวา อะไรเป็นเวทนา เวทนามันมาจากไหน นี่ถ้าใจคนมีกำลังนะ จิตมันสงบแล้ว ถ้าใจมีกำลัง จับเวทนามาพิจารณาได้
แต่ถ้าจิตใจคนไม่มีกำลังนะ เวทนาพอมันเกิดขึ้น แล้วถ้าอยากให้เวทนาหาย เข้าไปจับเวทนานะ เวทนาจะเจ็บปวดเข้า ๒ เท่า ๓ เท่า จนทำไม่ได้เลยล่ะ แล้วก็มานั่งน้อยเนื้อต่ำใจว่าทำไมมันเป็นแบบนั้น ถ้าเรามีสติปัญญา เรากำหนดพุทโธๆๆ จิตเราสงบก่อน พอจิตเราสงบก่อน เห็นไหม เวทนาไม่มี เพราะจิตลงสมาธิหมด ว่างหมดเลย
ฉะนั้น ถ้าจิตเวลามันออกรู้ล่ะ ถ้าเวทนามันยิบยับๆ เข้ามาน่ะ ถ้าเราจับได้ เราพิจารณาของเราได้ ถ้าพิจารณา นี่สติปัฏฐาน ๔ มันเกิดที่นี่ สติปัฏฐาน ๔ มันเกิดที่จิต มันจับต้อง
เห็นไหม เวลาจิตเราสงบนะ เวลาครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า ถ้าจิตสงบนี่มีความร่มเย็นมาก จิตสงบนี่มีความร่มเย็นมาก เห็นไหม พอจิตมันไม่สงบ มันเร่าร้อน เร่าร้อนเพราะเราอยู่กับสัญญาอารมณ์ อยู่กับไฟ อยู่กับโลก เราทำความสงบของใจเข้ามา พอใจสงบเข้ามานะ มันติดว่าความสงบ สมาธิเป็นนิพพาน ก็นิ่งอยู่อย่างนั้นน่ะ เห็นไหม ถ้าสมาธิเป็นนิพพาน สมาธิแก้กิเลสไม่ได้ ความสงบร่มเย็นแก้กิเลสไม่ได้
เพราะความสงบร่มเย็นมันก็เหมือนเราทุกข์เราร้อน เราก็หาอยู่หากินเพื่อความเข้มแข็ง ความเข้มแข็งของใจให้มันเจริญเติบโตขึ้นมา พอมันเติบโตขึ้นมาแล้วนะ เราต้องมีปัญญา พอปัญญาของเรา เราจะบริหารจัดการขึ้นมาเพื่อให้กิจการของเราต่างๆ มันเจริญก้าวหน้าของมันไป ถ้าไม่มีปัญญามันไปไม่ได้
ฉะนั้น แต่ถ้าเราไม่สงบล่ะ ไม่สงบมันก็เป็นเรื่องโลก เป็นเรื่องของมาร เป็นเรื่องของอวิชชาไง อวิชชาตรึกในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่หมามันห่มหนังเสือ ถ้าหมามันห่มหนังเสือ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่หนังเสือ ถ้าหมามันเอาหนังเสือมาห่ม มันไม่เห็นหนังเสือนั้น มันไม่กลัว แต่ความจริงหมามันกลัวเสือ ถ้ามันเห็นเสือตาย หมามันยังกลัวเลย
ฉะนั้น เวลาหมามันห่มหนังเสือ เพราะมันเป็นกิเลส มันเป็นอวิชชาใช่ไหม มันกลัวธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั้นมันอ้างอิงไง มันเอาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาอ้างอิงว่ามันรู้ๆๆ มันรู้ มันเข้าใจ ธรรมะปฏิบัติแนวทางสติปัฏฐาน ๔ แต่หมานี่ หนังเสือที่มันห่มอยู่ มันไม่รู้ว่าหนังเสือ มันไม่เห็นหนังเสือนั้น มันเลยไม่กลัวหนังเสือนั้น มันก็เลยไม่มีสิ่งใดเป็นธรรมขึ้นมาเลย
แต่พอถ้าเราทำของเรา ถ้าจิตมันสงบบ้าง แล้วถ้าจิตมันสงบบ้าง เพราะว่าเริ่มต้นจากเกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ มันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ คำว่า ปัญญาอบรมสมาธิ เราพิจารณาของเรา เราพิจารณาเกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ พิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรม นี่ถ้าพิจารณาของเราแล้ว มันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าเราไม่ใช้คำบริกรรม
พอเป็นสมาธิขึ้นมานี่มันหยุดของมัน เวลาจิตมันสงบของมัน พอมันสงบแล้ว อืม! เราก็เห็น เห็นความที่ว่า ถ้าไม่สงบมันก็คิด มันก็ตรึก พอมันคิด มันตรึกขึ้นไป มันก็หมุนไป ความหมุนไปมันก็เหนื่อย หมุนไปมันก็ทุกข์ พอหมุนไปมันก็เดือดร้อน แต่ถ้าเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เราก็ตามความหมุนไป ความเดือดร้อน ความทุกข์นั้น ตามสิ่งนั้นไป พอตามสิ่งนั้นด้วยสติปัญญาของมันนะ มันต้องหยุด เห็นไหม ความหยุดนั้นมันก็แตกต่างกับความหมุนไป ถ้าความหยุดแล้ว แล้วมีสติปัญญามากขึ้น มีความสงบมากขึ้น ความหยุดนั้นมีเหตุมีผลมากขึ้น ความหยุดนั้นมันก็มั่นคงขึ้น ความมั่นคงขึ้น นั่นน่ะคือสมาธิ มันคือความสงบของใจ
พอใจมันสงบ มันเห็นของมันนะ ถ้าเวลามันจับ มันจับของมัน ถ้ามันจับเวทนา จับกาย จับเวทนา จับจิต จับธรรม ถ้ามันเห็นนะ เพราะอะไร เพราะถ้าจิตสงบแล้วไม่เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม โดยความเป็นจริง มันก็ไม่เห็นกิเลส คนเราจะชำระกิเลส จะต่อสู้กับกิเลส มันต้องรู้สิว่ากิเลสมันคืออะไร กิเลสมันอยู่ที่ไหน การขุดคุ้ยหากิเลสนี้เป็นงานอันหนึ่งนะ การขุดคุ้ยหากิเลสว่ากิเลสมันคืออะไร แล้วกิเลสมันอยู่ที่ไหน
กิเลสนี้เป็นนามธรรม คำว่า นามธรรม เพราะใจเราก็เป็นนามธรรมใช่ไหม แล้วใจเป็นนามธรรม มันมีอวิชชา คือความไม่รู้บวกมากับมัน แล้วมันมีลูกมีหลานนะ มีพ่อมีปู่ นี่แม้แต่มารมันก็มีอวิชชา นี่พญามาร พญามารมันก็มีลูกมันก็เป็นความโลภ ความโกรธ ความหลง เวลาเป็นความโลภ ความโกรธ ความหลง มันก็มีหลาน พอมีหลานขึ้นมา มันก็เป็นความอุปาทาน แล้วมันมีสักกายทิฏฐิ มันมีลูก มีหลาน มีเหลน มันมีของมัน นี่กิเลสมันก็มีชั้นมีตอนของมัน
แล้วเวลาเราจะพิจารณาของเรา กาย เวทนา จิต ธรรม...กาย เวทนา จิต ธรรม มันเป็นอะไร
นี่กิเลสมันอาศัยสิ่งนี้ กิเลสนี้เป็นนามธรรม ในเมื่อกาย เวทนา จิต ธรรม นี่สติปัฏฐาน ๔ มันเป็นสถานะของมนุษย์ไง มนุษย์มีกายกับใจ ถ้ามนุษย์มีกายกับใจนะ จิต เห็นไหม กาย เวทนา จิต ธรรม ถ้าเป็นจิต แล้วเราจะพิจารณาอย่างไรล่ะ? ถ้าจิตเราสงบแล้ว พอจิตสงบแล้วเราใช้ปัญญาขุดคุ้ยหากิเลส ขุดคุ้ยหากาย หาเวทนา หาจิต หาธรรมตามความเป็นจริง นี่สติปัฏฐาน ๔ มันจะเป็นจริงต่อเมื่อจิตเราสงบ พอจิตสงบแล้วมันเห็นกาย พอเห็นกายขึ้นมามันสะเทือนน่ะ สะเทือนอะไร มันสะเทือนอะไร
นี่ไง ถ้าเราเริ่มต้น เราจะออกวิปัสสนา ถ้าจิตใจเราจับต้องได้ มันจับต้องได้ มันถึงวิปัสสนา ถ้าจิตใจเราไม่สงบนะ กาย เวทนา จิต ธรรม ก็จับอยู่นั่นแหละ พอจับแล้วมันก็เป็นเรื่องโลกไง เรื่องโลกก็คือว่าจิต ในเมื่อถ้าจิตสงบ คือว่าอวิชชาสงบตัวลง มันก็เกิดเป็นสัจจะข้อเท็จจริง เกิดมรรค เห็นไหม เวลามรรคมันเคลื่อนไปหมุนไป มันก็เป็นความจริง
แต่ถ้าจิตมันไม่สงบ มันเป็นโลก เป็นโลกมันก็เป็นอนุมานเอา เป็นสัญญา เป็นสิ่งที่เราคิดขึ้นมา เห็นไหม สิ่งที่เราสร้างภาพขึ้นมา พอสร้างภาพขึ้นมามันก็ทำได้ทั้งนั้นน่ะ เพราะมันสร้างขึ้นมา แล้วไม่มีวันหายนะ สร้างขึ้นมา แต่ถ้าเป็นความจริง ถ้าจิตมันสงบ มันจะเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม มันเป็นความจริงนะ ถ้าจิตไม่สงบมันก็ไม่เห็น
มันไม่ใช่ว่า...ถ้าอนุมานเอา เราคาดเอา เราหมายเอา เราคิดเมื่อไหร่มันก็ได้ คิดเมื่อไหร่ก็ได้ คิด แต่คิดแล้วมันไม่สะเทือนหัวใจไง เวลาคิดแล้วมันไม่สำรอก มันไม่คายออก มันไม่เป็นความจริงไง มันไม่เป็นความจริง ยิ่งย้ำคิดย้ำทำ พอทำไปแล้วล้มลุกคลุกคลาน พอล้มลุกคลุกคลานไปก็โทษแล้ว ปฏิบัติแล้วไม่ได้อะไร ปฏิบัติแล้วมีแต่ความทุกข์ยาก ปฏิบัติแล้วไม่เห็นมันเจริญขึ้นมา ปฏิบัติแล้วมันต้องดีขึ้น ทำไมยิ่งปฏิบัติมันยิ่งเสื่อมถอย ยิ่งปฏิบัติแล้วทำไมมันยิ่งช้ำใจ ยิ่งปฏิบัติแล้วทำไมมันยิ่งทุกข์ยาก
มันทุกข์ยากเพราะว่ากรรมมันคลุกเคล้า ความดี ความชั่ว ความผิด ความถูก มันปนเปกันไปจนจับต้นชนปลายไม่ถูกไง นี่เรื่องโลกๆ มันเป็น มันไม่รับผิดชอบอะไรเลย กิเลสมันไม่รับผิดชอบจิตใจของใครเลยล่ะ กิเลสมันอาศัยหัวใจของสัตว์โลกเป็นที่อยู่อาศัยของมัน
แล้วมันก็จับนะ นี่เราเกิดเป็นมนุษย์นะ เราเกิดมาพบพระพุทธศาสนานะ เกิดมาพบธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นไปจับต้นชนปลายไม่ถูกเลย จะว่าดีก็ไม่ดี จะว่าชั่วก็ไม่ชั่ว จะว่าเป็นนักปฏิบัติหรือก็นักปฏิบัติครึ่งๆ กลางๆ นี่มันผสมปนเป เขาเรียกว่า กรรมมันคลุกเคล้ากัน แยกแยะไม่ออกเลยว่ากรรม กรรมคือการกระทำ ไม่รู้ว่าควรทำส่วนใดก่อน ส่วนใดหลัง ไม่รู้ว่าควรทำอย่างใด ควรจะเริ่มต้นปฏิบัติอย่างไร จับต้นชนปลายไม่ถูกเลย แล้วมาปฏิบัติกันก็ปฏิบัติแบบโลกไง สติปัฏฐาน ๔ ปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน ๔ แล้วก็คาดหมาย แล้วก็นึกภาพ แล้วก็เป็นไป แล้วก็ว่างๆ สบายๆ เพราะว่าอะไร เพราะไปตรึกในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง นี่โลกเป็นใหญ่ มันเลยปฏิบัติไปมันถึงไม่มีผล ไม่มีต้น ไม่มีปลาย ไม่มีเริ่มต้น ท่ามกลาง และที่สุด
ถ้ามีเริ่มต้น ท่ามกลาง และที่สุด เห็นไหม ในการปฏิบัติธรรมตั้งแต่เริ่มต้น และท่ามกลาง และที่สุด คือผล
เวลาเริ่มต้น เราต้องมีเริ่มต้น แล้วเริ่มต้นเพื่อเข้าสู่ธรรม ถ้าเริ่มต้นเข้าสู่ธรรม มีคำบริกรรมนะ คำบริกรรมของเรา เราบริกรรมพุทโธๆ มาพุทโธแล้วเครียดไหม คนปฏิบัติใหม่เครียดทุกคน คนปฏิบัติใหม่ เพราะหัวใจที่มันเคยอยู่สุขสบายของมัน หัวใจที่สุขสบายมันมีอะไร? มันมีกิเลสตัณหาความทะยานอยากอยู่ในนั้น แล้วมันเคยอยู่สุขอยู่สบายตามธรรมชาติของมัน แล้วมีวันหนึ่งเราศรัทธาในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเริ่มบังคับมัน
บังคับว่า มึงต้องพุทโธ
ถ้าพุทโธนะ พุทธานุสติ เอาสติสัมปชัญญะอยู่กับหัวใจของเรา หัวใจของเรานี่ให้ระลึกถึงพุทธานุสติ ให้อยู่กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต พุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ความสงบระงับนั่นคือตัวพุทธะ แล้วถ้าหัวใจมันเคยสงบระงับไหม หัวใจมันมีความสงบร่มเย็นไหม มันก็อยู่ที่อำนาจวาสนาของคน ถ้าใครทำคุณงามความดีมา ใครสร้างบุญกุศลมา มันก็อยู่พออาศัย ใครสร้างเวรกรรมมามันก็มีแต่ความแผดเผาในหัวใจ หน้าชื่นอกตรม แต่ถ้ามันหน้าชื่นอกตรม นี่มันอยู่โดยธรรมชาติของมันไง
แต่เพราะเราเกิดมาเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา เราเป็นโลกไหม? เป็น เรานึกพุทโธนี่เป็นโลกไหม? เป็น แต่เพราะมันโลกนี่ไง เราเกิดมาด้วยอำนาจวาสนาไง เราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา แล้วพุทธศาสนา จากโลก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เกิดบนโลกนี่แหละ เกิดมาเป็นมนุษย์นี่แหละ แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็นิพพานไปแล้ว แล้ววางธรรมวินัยไว้กับเรา แล้วเราเกิดมาพบ เราจะปฏิบัติอย่างไร เราจะปฏิบัติโดยโลก เราก็จะลุ่มๆ ดอนๆ นี่หมาห่มหนังเสือตลอดไป
หมาคือตัวกิเลส คือตัวอวิชชาในหัวใจของเรา มันจะห่มธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เอาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาห่อหุ้มตัวมัน แล้วก็ล้มลุกคลุกคลานไป เพราะมันทำไม่ได้ผล แต่ถ้าเรากำหนด เราบังคับให้มันพุทโธๆ เป็นโลกไหม? เป็น
แต่ถ้าพอมันสงบเข้ามานะ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต ถ้าจิตสงบเข้ามามันก็คือตัวมันเป็นพุทโธเสียเอง พอมันเป็นพุทโธ มันจะเป็นโลกอีกไหมล่ะ มันต้องนึกพุทโธไหมล่ะ ชื่อพุทโธกับตัวพุทโธมันแตกต่างกัน ชื่อพุทโธ ชื่อพุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ชื่อขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราอาศัยพุทธานุสตินี้เป็นที่เกาะ เราอาศัยนี่ให้หัวใจที่มันดื้อ หัวใจที่มันไม่มีหลักมีเกณฑ์ หัวใจที่มันอยู่สุขอยู่สบายของมันโดยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก เปลี่ยนอารมณ์ความรู้สึกของมันให้อยู่กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยชื่อ โดยชื่อเพื่อไม่ให้มันคิดฟุ้งซ่าน เพื่อไม่ให้มันไปเอาฟืนเอาไฟมาแผดเผามัน
พุทโธๆ พุทธานุสตินี่เป็นโลกไหม? เป็น พุทโธๆ เพราะจิตมันยังเป็นโลกอยู่ แต่ถ้าเมื่อใดมันละเอียดลึกซึ้งเข้าไปจนมันวางพุทโธ วางพุทโธเพราะอะไร เพราะสัญญาอารมณ์ เห็นไหม ดูสิ เวลาเกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ เราก็คิดเอา เวลาเราสติปัฏฐาน ๔ เราก็คิดเอา พุทโธเราก็คิดเอา คิดมาจากไหน? คิดมาจากตัวจิต คิดมาจากภวาสวะ มันก็เป็นจิตกับสัญญาอารมณ์ เป็นสอง
คนเรามีความคิดกับมีความรู้สึก ความรู้สึก เห็นไหม ความรู้สึกของเรากับความคิด ทุกคนมีแต่ความคิด ทุกคนมีแต่แผดเผา ทุกคนต่างเอาความนั้นมาเผาตัว แล้วมันก็คิดสติปัฏฐาน ๔ แต่มันคิดของมันน่ะ แต่ตัวพลังงาน ตัวความรู้สึกมันไม่รับรู้ด้วยหรอก แต่มันคิด ความคิดน่ะ สติปัฏฐาน ๔ คิดด้วยปัญญาทั้งหมดน่ะ
แต่ถ้าเราพุทโธ มันก็เป็นความคิดเหมือนกัน ความคิดคือสัญญาอารมณ์ มันเป็นสอง เห็นไหม เป็นสอง เพราะอะไร เพราะความคิดไม่ใช่ความรู้สึก ความคิดก็คิดของมันไป ความคิดเราบังคับให้มันคิดพุทโธๆ มันคิดพุทโธจนมันเห็นคุณค่า เพราะมันพุทโธๆๆ จนมันไปไหนไม่รอด เห็นไหม มันเริ่มวางๆ พอเริ่มวาง มันวางความคิด ความคิดมันวางลง ละเอียดขึ้นๆ มันเข้าไปสู่ความรู้สึก ตัวความรู้สึกนั้นคือตัวสมาธิ ตัวความรู้สึกนี้เป็นหนึ่ง
พอเป็นหนึ่ง เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เราก็คิดของเราไปๆ พอมันรู้เท่ามันก็ปล่อย นี่ปล่อยความคิดมันทัน มันก็อาย เพราะคิดมามีแต่ความทุกข์ทั้งนั้นน่ะ คิดมามีแต่ความเร่าร้อนทั้งนั้นน่ะ มันก็วาง พอวางมันก็อยู่ในความรู้สึก ถ้ามีสติ ความรู้สึกมันพร้อม มันก็เป็นสัมมาสมาธิ นี่พอวางลงแล้ว ถ้ามันเสวยอารมณ์ มันออกรับรู้
ดูสิ เวลายิงปืนออกไป เราเห็นแต่ลูกปืนมันโดนเป้าหมาย ขณะที่เรายิงออกไป ลูกปืนที่มันทะยานออกไป มันไปอย่างไร จิตมันคิด มันเสวยอารมณ์ เหมือนลูกปืนที่ยิงออกไป แล้วมันเร็วกว่านั้นอีก เพราะความรู้สึกนึกคิดมันเร็วมาก พอเร็วมาก เห็นไหม มันไปแล้ว นี่ลูกปืนมันไปแล้ว ความรู้สึกนึกคิดมันไปแล้ว
ฉะนั้น พอใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เราให้ลูกปืนนั้นกลับมาอยู่ที่ลำกล้องปืน มาอยู่ที่ตัวปืน ปืนมันก็เป็นหนึ่ง เห็นไหม มันเป็นหนึ่ง นี่เราพุทโธๆ มันก็เป็นหนึ่ง พอเป็นหนึ่ง เราดูสิว่ามันออกรู้อย่างไร ออกรู้อย่างไร นี้ถ้าเห็นอย่างนี้มันก็เห็นจิตน่ะ นี่สติปัฏฐาน ๔ พิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรม นี่จิต ธรรม มันจะเป็นอย่างนี้
ถ้าพิจารณากายล่ะ พิจารณากาย พอจิตสงบเข้ามาแล้วมันจะเห็นกายที่ความรู้สึกนี้มันเห็น ไม่ใช่ว่าความคิดมันไปสัญญาเอา ไปอนุมานมา แต่ถ้ามันเป็นความจริง มันสะเทือน สะเทือนเพราะตัวจิตมันรู้ สะเทือนเพราะว่ามันพิจารณาโดยธรรม ธรรมเพราะอะไร ธรรมเพราะจิตมันสงบระงับ จิตมันเป็นสากล จิตมันสัมมาสมาธิ
ดูสิ ฤๅษีชีไพรเขาไปทำสมาธิเหมือนกัน แต่เขาไม่ใช้ไปที่ปัญญา เพราะเขาใช้ปัญญาไม่เป็น เพราะเขาคิดว่าสิ่งที่เป็นสมาธิ เวลามันเป็นฌานสมาบัติแล้วมีกำลังของจิต เขารู้สิ่งต่างๆ เขาส่งออก เขารู้ออก พอมีกำลังขึ้นมามันรู้ออกไป แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าเป็นสัมมาสมาธิ ถ้ามันรู้ออกอย่างนั้น เห็นไหม เวลาจิตสงบแล้วถ้ามันเกิดนิมิต เกิดความรู้ต่างๆ ไม่เอา ไม่เอา เราพยายามรำพึงไปที่กาย นี่มันบังคับได้ ถ้าจิตสงบแล้วบังคับนี้ให้จิตมันไปที่กายได้ ถ้าไปที่กาย มันเห็นกาย เห็นไหม เห็นกายตามความเป็นจริง มันสะเทือนเพราะอะไร นี่มันออกรู้ไปจากจิต ถ้าออกรู้ไปจากจิต
นี่ถ้าบอกว่า ปฏิบัติตามแนวทางสติปัฏฐาน ๔ มันเป็นความรู้สึกนึกคิดที่มันไปคิด แต่ถ้าเราปฏิบัติ ถ้าสัมมาสมาธิ ถ้าจิตมันออกไปรู้ นี่เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม นี่สติปัฏฐาน ๔ จริงๆ มันอยู่ที่นี่ ถ้าสติปัฏฐาน ๔ จริงๆ อยู่ที่นี่ เวลามันพิจารณาไปแล้วนะ เวลาเราใช้ปัญญาอบรมสมาธินะ เวลาจิตมันธรรมสังเวช มันสลดสังเวชขึ้นมา มันเป็นสัมมาสมาธิ แต่เวลาเราพิจารณาของเรานะ เวลาจิตมันสงบแล้วพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม ตามความเป็นจริง เวลามันสำรอก มันคายออก เวลาพิจารณาเกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ เวลาพิจารณาปัญญาอบรมสมาธิ มันเป็นสมาธิ มันมีความร่มเย็นเป็นสุข นี่จากที่มันเร่าร้อน จากสิ่งที่มันเอาไฟมาแผดเผามัน พอมันตรึกในธรรม ปัญญาอบรมสมาธิ มันก็ปล่อย ปล่อย มันก็ร่มเย็นของมัน นี่ความร่มเย็นนะ
แต่เวลาที่จิตสงบแล้วมันเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม ตามความเป็นจริง แล้วมันพิจารณานะ เพราะจิตมันพิจารณาของมัน มันสำรอก สักกายทิฏฐิ ทิฏฐิความเห็นผิด สิ่งที่รู้ผิด เห็นผิด ยึดมั่นผิด มันพิจารณาโดยปัญญา มันเทียบเข้ามา ถ้ามันต้นขั้ว ต้นเหตุที่มันผิด ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ แล้วถ้าเหตุนี้มันไม่ได้วินิจฉัย เหตุนี้มันไม่ใช้ปัญญาแยกแยะ มันจะสำรอก มันจะคายออกอย่างไร ถ้ามันพิจารณาของมัน มันแยกแยะของมัน มันพิจารณาของมัน เห็นไหม บอกให้บอกมันโง่ มันก็จะฉลาด บอกให้มันไม่รู้มันก็จะรู้
แต่ถ้ามันใช้ความคิด เห็นไหม ดูสิ มันใช้ความคิดต่างๆ ที่ว่า แนวทางสติปัฏฐาน ๔ มันอยู่ที่ความคิด ความคิดมันมาแก้กิเลสได้อย่างไร มันมีระยะห่าง เพราะมันไม่ใช่ตัวจิต นี่ความรู้สึกคือตัวจิต กับความคิด แต่เวลาจิตมันสงบแล้ว ตัวมัน ฐานมาจากตัวมัน แล้วฐานมันออกไปใช้พิจารณา เวลามันสำรอกด้วยความรู้สึกอันนี้ ถ้าความรู้สึกอันนี้ มันสำรอก มันคายของมันออก นี่มันปล่อย เวลาพิจารณาไปแล้วมันปล่อย มันสะเทือนใจมาก
เวลามันปล่อยนะ ว่างหมดเลย ถ้าคนขาดสติ คนขาดสติว่าสิ่งนี้เป็นธรรมๆ เห็นไหม พอปล่อยแล้วนะ นี่ปล่อยหนหนึ่ง โอ้! เป็นโสดาบัน พอพิจารณาซ้ำ ปล่อยหนที่ ๒ เป็นสกิทาคามี พอปล่อยครั้งที่ ๓ เป็นอนาคามี พอปล่อยอีกทีมันเป็นพระอรหันต์ไปเลยนะ...มันไม่ใช่
เห็นไหม มันไม่ใช่เพราะเหตุใด มันไม่ใช่เพราะว่ามันไม่จบสิ้นกระบวนการของมัน เวลามันสำรอก มันคาย เห็นไหม ย้ำคิดย้ำทำ
ไม่มีสิ่งใดจะเหนียวแน่นเหมือนกับแก่นกิเลส กิเลสนี้มันอยู่ในหัวใจของสัตว์โลกมาไม่มีต้นไม่มีปลาย สมบัติพัสถานของมัน แล้วมันจะปล่อยให้ธรรมะ ปล่อยให้สัจธรรมนี้เข้าไปทำลายมัน มันเป็นไปไม่ได้หรอก มันเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าเป็นขิปปาภิญญา ผู้ที่สร้างบุญญาธิการมา ผู้ที่สร้างสมบุญญาธิการมามาก พอพิจารณาไปมันจะรู้เลย เพราะบุญญาธิการการสร้างมานั้นพรึ่บ! ก็ขาด พอขาดไปมันก็จบ
แต่ถ้าพิจารณาของเรา มันพิจารณาไปแล้วมันไม่ขาดเพราะอะไร เพราะมันปล่อย คำว่า ปล่อย คำว่า ปล่อย นี่ถูกต้องแล้วนะ แต่คำว่า ถูกต้องแล้ว มันต้องขยันหมั่นเพียร พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า แล้วกิเลสนะ มันมีเล่ห์กลของมัน
พอมีเล่ห์กลของมัน ดูสิ เวลาเราปฏิบัติโดยแนวทางสติปัฏฐาน ๔ เราคิดได้ร้อยแปดเลย ฉะนั้น เวลาเราปฏิบัติโดยความเป็นจริงแล้วก็แล้วแต่ แต่เวลาเราพิจารณาไปแล้ว พอมันปล่อย นี่กิเลสมันมีเล่ห์กลของมัน พอกิเลสมีเล่ห์กลของมัน นี่ซาบซึ้ง แล้วสิ่งนี้มันเข้ากับธรรม สิ่งนี้มันเข้ากับทุกๆ อย่าง มันเข้ากับความเป็นจริงหมดเลย
ความเป็นจริงมันมีอยู่แล้ว ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้ธรรมขึ้นมา บอกของนี่ ธรรมะมีอยู่แล้ว สิ่งนี้มันเป็นสัจธรรมมันเป็นความจริงอยู่แล้ว แต่ไม่มีใครรู้ใครเห็นมัน ไม่มีใครเอาสิ่งนี้มาเป็นความจริงได้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ถึงเอาสิ่งนี้มาประกาศธรรม พอประกาศธรรม เพราะคำว่า มีอยู่แล้ว แล้วเราปฏิบัติไป มันมีอยู่จริงหรือเปล่าล่ะ มันมีอยู่แล้ว มีอยู่แล้วมันอยู่ที่ไหนล่ะ
เราคิด เราอ้าง เราคาดหมายของเราไปหมดเลย ปฏิบัติธรรมโดยการคาดหมาย เห็นไหม มันเป็นธรรมะคาดหมาย มันไม่เป็นความจริง มันคาดหมายได้ มันต้องมีที่มาที่ไป มันคาดหมายได้เพราะมันศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา มันเป็นฉลากยา มันคาดหมายไปได้หมดน่ะ ฉลากยา เพราะเรายังไม่เคยกิน ไม่เคยรักษา มันบอกว่ามีคุณภาพสุดยอดไปหมดน่ะ แต่ถ้ามันเป็นความจริงนะ ถ้าเรากินยาหรือใช้ยาไม่ตรงกับโรคเรา มันก็ไม่หายหรอก
แต่ทีนี้ถ้ามันตรง มันตรงกับจริตตรงนิสัย มันทำอย่างไรมันถึงเป็นความจริงล่ะ
ถ้าเป็นความจริง เห็นไหม สิ่งที่มันปล่อยขนาดไหน มันปล่อยใช่ไหม มันปล่อย ปล่อยขนาดไหนมันเป็นตทังคปหาน ถ้าตทังคปหานนะ เราจะไม่ให้ค่ากับตัวเราเอง ถ้าเราให้ค่ากับตัวเราเอง เท่ากับว่าเราหลงทางไปกับกิเลส เห็นไหม กิเลสที่มันแก่นกิเลสเหนียวแน่นกับกิเลส มันสร้างภาพ แล้วมันทำให้เป็นความจริงอย่างที่มันต้องการ ถ้าอย่างที่เราต้องการนะ ทั้งๆ ที่เราเดินมาถูกทางแล้วล่ะ
ทีนี้เราเดินถูกทางแล้วมันก็ต้องละเอียดรอบคอบ พิจารณาซ้ำพิจารณาซากขึ้นมานะ มันจะเป็นกี่ครั้งกี่หนนะ เพราะครูบาอาจารย์ของเราที่ปฏิบัติมานะ เวลามันดีนะ มันดีสุดยอด แล้วเวลามันเสื่อมล่ะ
เห็นไหม เริ่มต้น ท่ามกลาง ที่สุด เริ่มต้นมาก็ล้มลุกคลุกคลาน ท่ามกลาง ท่ามกลางที่เราจะพิจารณาต่อสู้กันนี่ท่ามกลาง ถ้าเราท่ามกลาง เราต่อสู้หรือเราพิจารณาไปแล้วมันปล่อยขนาดไหน ถ้ามันถึงที่สุด ท่ามกลางนี้มันรอเจริญแล้วเสื่อม เสื่อมแล้วเจริญ ถ้ามันเจริญมา เห็นไหม ในการทำสมาธิ ในการทำความสงบของใจ ถ้าใครมีความชำนาญ ถ้าท่ามกลางนี่ไม่กลัวสิ่งใด ไม่กลัวสิ่งใดเพราะเรารู้เราเห็นว่าเราขาดตกบกพร่องตรงไหนก็ทำของเรา แต่ถ้าทำแล้วมันเริ่มอ่อนเริ่มล้าขึ้นมา มันจะถอยมาที่เริ่มต้น พอเริ่มต้นแล้วสู้ไม่ไหว มันก็กลับไปสู่ไม่ปฏิบัติ เลิกดีกว่า
แต่ถ้าเวลาท่ามกลางที่มันต่อสู้กันอยู่ เราชำนาญในวสี เราทำของเราได้แล้ว ถ้าเราทำของเราได้ เราต้องพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถ้าซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะเหตุที่ว่าการปฏิบัติของทุกๆ คน มันมีเจริญแล้วเสื่อม การปฏิบัติมันไม่เหมือนการศึกษา ไม่เหมือนการอ่านหนังสือ เราอ่านหนังสือแล้วเราจำได้ก็คือจบใช่ไหม หนังสือเราอ่านครั้งนี้แล้ว ครั้งต่อไปก็อ่านที่เดิม แต่ถ้าปัญญามันได้ลึกซึ้งขึ้น มันได้วินิจฉัยต่างๆ ขึ้นมา อันนั้นมันเป็นปัญญาของเรา
นี้เหมือนกัน ในการปฏิบัติ เราก็บอกว่า เราปฏิบัติแล้ว เราทำครบวงจรแล้ว เราทำสมบูรณ์แล้ว แล้วสมบูรณ์ สมบูรณ์ตรงไหน สมบูรณ์ของใคร นี่กิเลส มันแก่นของกิเลส เห็นไหม มันอยู่ที่จริตนิสัย ถ้าจริตนิสัยของคน ถ้ามีความหมั่นเพียร มีความวิริยอุตสาหะ มีความรอบคอบ เขาจะเริ่มพยายามจะรักษาของเขา แล้วพยายามเจริญก้าวหน้า อันนี้อันหนึ่ง
แต่ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่ปฏิบัติทุกองค์ ถ้าปฏิบัติไปแล้วมันตั้งแต่เริ่มต้น สมาธิเริ่มต้นทำได้ ถ้ามันออกใช้ปัญญาไม่เป็น สมาธิมันก็เจริญแล้วเสื่อม เสื่อมแล้วเจริญ แต่เรารักษาได้ แต่ถ้าถึงปัญญา พอจับต้องสิ่งใดไปแล้วพิจารณาไป อย่างพิจารณากาย เริ่มมันพิจารณาดี พิจารณาซ้ำๆๆ ไปแล้วนี่มันจืด แล้วจะทำอย่างไรต่อไป เห็นไหม เราก็พิจารณาเวทนา ถ้ามันเป็นเวทนาได้ให้มันเป็นปัจจุบัน สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ถ้าพิจารณากาย พิจารณากายแล้วเริ่มต้นพิจารณากาย พอพิจารณากายไปแล้วมันก็ปล่อย มันก็ดีมากเลย พิจารณากายซ้ำสอง เริ่มจืด พิจารณากายแล้วมันไม่ก้าวเดิน แล้วทำอย่างไรต่อไป ทำอย่างไรต่อไป
นี่แก่นของกิเลสมันร้อยแปดพันเก้า พิจารณากายเดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย ถ้าเดี๋ยวก็ดีเดี๋ยวก็ร้าย มันอยู่ท่ามกลาง มันไม่ถึงที่สุด แล้วทำอย่างไรต่อไปล่ะ นี่มันเจริญแล้วเสื่อม เสื่อมแล้วเจริญ การว่าเจริญแล้วเสื่อม ผู้ที่ปฏิบัตินะ
หลวงปู่มั่นท่านสมบุกสมบันมามาก ท่านโดนเล่ห์กลของกิเลสหลอกมาพอสมควร ไม่พอสมควรล่ะ หลอกมามากเลยล่ะ แต่ท่านก็ใช้ความวิริยะ ใช้ความอุตสาหะของท่าน ใช้สิ่งที่อำนาจวาสนาบารมีที่ท่านสร้างมา ท่านไม่ท้อถอย ท่านสู้อย่างเดียว เห็นไหม สู้กับกิเลส สู้กับความเห็นของตัว สู้กับทิฏฐิมานะ สู้กับสิ่งที่ว่าเป็นคุณธรรม สู้กับว่ามันไม่เป็นจริงทั้งนั้นน่ะ
ถ้ามันเป็นจริงนะ ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ธรรมมันจะกังวานขึ้นมากลางหัวใจ ถ้าเวลาสังโยชน์มันขาด มันขาดขึ้นมา มันกังวานในหัวใจเลย ถ้ามันยังไม่กังวานในหัวใจ เราพิจารณาของเรา
ถ้าพิจารณากายแล้ว พิจารณากายทีแรกดี พอพิจารณาไปมันไม่ก้าวหน้าแล้ว ไม่ก้าวหน้า เห็นไหม เราพิจารณาจิต ถ้าพิจารณาจิต ถ้าพิจารณากายโดยสัจจะความจริง ถ้าเป็นเจโตวิมุตติ เห็นไหม พิจารณากาย เวลามันแยกนะ เวลามันปล่อย กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ มันปล่อยหมด กายส่วนหนึ่ง จิตส่วนหนึ่ง ทุกข์ส่วนหนึ่ง จิตรวมลง มันก็ไม่ขาด พอมันพิจารณาไปแล้วไปไม่ได้แล้ว พิจารณาไปแล้ว พิจารณากาย กายไม่ขยับเลย พิจารณากายเดี๋ยวกายหายไปเลย กายไม่อยู่ให้เราพิจารณาเลย พอพิจารณากาย กายมันแข็งทื่อไปหมดเลย เดี๋ยวกายมันหายวึ๊บ! ไปหมดเลย มันพิจารณา แล้วทำอย่างไรต่อ ทำอย่างไรต่อ
เห็นไหม ถ้าเป็นปัจจุบันล่ะ ปัจจุบันเวลาพิจารณาไม่ได้ เรามีเวทนาไหม เรามีความเสียใจไหม เรามีความไม่พอใจไหม ถ้าอย่างนั้นเราจับสิ อะไรก็ได้ที่มันจับ มันเป็นปัจจุบัน จับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ถ้ารู้อย่างใดก็รู้หมด กาย เวทนา จิต ธรรม รู้สิ่งใดก็รู้หมด ถ้ารู้ที่จิต เห็นไหม ถ้ารู้ที่จิต พิจารณาจิต พิจารณาขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ ถ้าพิจารณากายมันก็ปล่อย กายไม่ใช่เรา เราไม่ใช่กาย กายไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่กาย นี่เวลามันปล่อย
เวลาปล่อยนี่สังโยชน์อันเดียวกัน แต่การพิจารณา สังโยชน์มันต้องเป็นความจริงของมัน ถ้าไม่เป็นความจริงของมัน นี่ไม่ใช่ว่าพิจารณากายแล้วมันจะเป็นอย่างนั้นตลอดไป ถ้าพิจารณากายแล้ว ถ้าจิตใจมันดี จิตใจมีกำลังของมัน มันเล่ห์เหลี่ยมของมัน พิจารณากาย พอจิตมันสงบ เห็นเป็นโครงกระดูก พิจารณาไปแล้วเห็นเป็นตับ พิจารณาไปแล้วเห็นเป็นขน พิจารณาไปแล้วเห็นเป็นผิวหนัง มันลงแต่ละทีมันไม่เหมือนกันหรอก
มันลงแต่ละทีนะ ถ้ามันพิจารณาไปแล้วมันเป็นนามธรรมหมดเลย พิจารณากายเป็นนามธรรมนะ นี่พิจารณาเป็นกายหมดเลย กายโดยปัญญา มันเป็นนามธรรม แต่เกี่ยวกับเรื่องกาย เรื่องความเป็นอยู่ของมัน เรื่องความเจริญงอกงามของมัน เรื่องความเสื่อมสภาพของมัน พิจารณาไปแล้วถ้าปัญญามันหมุนได้ก็ใช่! ก็ใช่! เพราะสุดวงรอบของปัญญา วงรอบของมรรค เวลามรรคมันหมุน เวลาวงรอบของมรรค พิจารณาไปแล้วถ้ามันปล่อย มันปล่อยก็คือผลที่มันต้องการปล่อยไง แล้วซ้ำๆๆ จนมันละเอียดลึกซึ้งเข้าไป แต่ถ้ามันขาดล่ะ
เวลามันขาดน่ะ คำว่า ขาด นะ ไม่มีใครจะพยากรณ์ได้ว่าจะขาดเมื่อไหร่ ทำไมมันถึงขาด ถ้าว่าทำไมถึงขาด ไม่มีทางขาด เพราะตัณหาซ้อนตัณหา อยากให้ขาด อยากให้เป็นผลไง
เริ่มต้น ท่ามกลาง พอท่ามกลางทำอยู่นี่อยากให้มันถึงที่สุด แล้วมันจะถึงอย่างไรล่ะ
ถึงไม่ได้ ถึงเพราะอยากให้มันถึง ถ้าอยากให้ถึงนี่ไม่มีสิทธิ์
แต่ถ้าไม่อยาก เห็นไหม ดูสิ เราพายเรือ หน้าที่ของเรา เราจ้ำพายของเราไปล่ะ ถึงไม่ถึง เรือนี่เพราะมันมีตลิ่ง เป็นขอบ มันต้องถึง มันต้องชน ถ้าเราไม่มีปัญญา แต่ถ้าการที่เราปฏิบัตินะ เราพายเรืออยู่กลางทะเลเลย พายอย่างเดียว พายไปข้างหน้า เป็นไงก็เป็นกัน คำว่า ถึงฝั่ง ทำเต็มที่เลย แล้วฝั่งของเราอยู่ใกล้อยู่ไกล ถ้าฝั่งของเราอยู่ไกล เราก็ต้องหมั่นพายเรือของเรา หมั่นพิจารณาของเรา หมั่นทำของเรา ทำของเราเข้าไปให้มันถูกต้อง แล้วไม่ต้องคาดหมายว่ามันจะเป็นหรือมันไม่เป็น
ถ้ามันปล่อย ขณะมันปล่อยนะ การปฏิบัติ ทุกข์ควรกำหนด แล้วสุขล่ะ ถ้าปล่อยหนหนึ่งมันก็มีความสุขนะ การปฏิบัติมันจะแห้งแล้งอย่างนี้ตลอดไปหรือ เราจะทุกข์ยากตลอดไปไหม เวลาจิตมันสงบ สิ่งนั้นมันเป็นเครื่องยืนยันว่าธรรมะมีจริง ถ้าจิตสงบมันก็มีความร่มเย็นเป็นสุข ถ้าจิตมันไม่สงบ มันกระวนกระวาย เราก็ต้องหาทางดัดขาดัดหลังกิเลสไม่ให้มันเข้มแข็งจนเกินไป
แต่ถ้าเราพิจารณาด้วยปัญญา พอมันพิจารณาด้วยปัญญา มันเข้าใจ โอ๋ย! มันทะลุปรุโปร่งนะ ตัวเบา มีความสุข แล้วความสุขอย่างนี้กับความสุขทางโลกมันแตกต่างกัน ความสุขทางโลก ใครมีปัญญาก็หาได้ทั้งนั้น โลกเขาเจือจานกันได้ โลกเขาช่วยเหลือเจือจานกันได้นะ แต่ธรรมะในหัวใจนี่มันไม่มีทาง ใครจะช่วยเหลือใครไม่ได้ ครูบาอาจารย์คอยชี้แนะเท่านั้น ให้กำลังใจเท่านั้น ส่งเสริมเท่านั้น แล้วอยู่ที่จริตนิสัยของคน มันก็อยู่ที่จริตของคนว่ามันจะมีความมุมานะได้แค่ไหน แล้วถ้ามุมานะ เห็นไหม นี่อริยทรัพย์ ทรัพย์จากภายใน...ทรัพย์จากภายนอก อาศัยเพื่อดำรงชีวิตเท่านั้น ทรัพย์จากภายในสิ สมบัติอันนี้ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ แล้วไม่มีใครจะมาแย่งชิงของใครได้
มันถึงย้อนกลับมาที่อำนาจวาสนาบารมีของตนไง ใครสร้างมามากสร้างมาน้อย ถ้าสร้างมามาก เห็นไหม ทำสิ่งใดก็ประสบความสำเร็จ ถ้าสร้างมาน้อย เราก็ต้องมีความขยันหมั่นเพียรมากกว่าเขา ถ้าขยันหมั่นเพียรมากกว่าเขา มันก็เป็นความจริงของเรา นี่พิจารณาซ้ำ พิจารณาซาก คำว่า พิจารณา นะ
เพราะโดยสัจจะ ทุกคนก็ว่าทุกคนพิจารณากาย เพราะเราทำงานต้องบนแผ่นดิน แต่ถ้ามันพิจารณากายแล้ว เราเต็มที่ของเราแล้ว มันทดสอบได้ นี่เปลี่ยนแง่มุมของมัน นี่พิจารณาจิตก็ได้ พิจารณาสัจธรรม ธรรมารมณ์ อารมณ์ความรู้สึกนึกคิด สิ่งที่เป็นสัจธรรม ความทุกข์เรานี่แหละ ความทุกข์ของเรา ความเป็นจริงของเรา ความเป็นไปของจิต จิตมันเป็นไปอย่างไร พิจารณาได้ทั้งนั้นน่ะ
ถ้าพิจารณาไปแล้วนะ ถ้ามันทะลุปรุโปร่ง คำว่า ทะลุปรุโปร่ง พิจารณาไปแล้วมันปล่อย พอปล่อยมันก็ว่าง แล้วถ้ามันว่าง มันก็คือความสุข ใครรังเกียจความสุข ถ้ามีความสุขนะ เราปฏิบัติโดยความสุข ปฏิบัติแล้วมันมีผล มันมีเครื่องตอบสนอง มันมีทุกอย่างพร้อม ถ้าอย่างนี้เราขยันหมั่นเพียรเข้าไปเลย ทางนี้เป็นทางของเรา
แต่ถ้าเราพิจารณาไปแล้ว เริ่มต้นเป็นสุข แล้วมันอั้นตู้ แล้วมันไปไม่ได้ กาย เวทนา จิต ธรรม ทำไมเราไม่พลิกแพลงล่ะ ทำไมเราไม่มีอุบาย ถ้าเราไม่มีอุบายนะ หลวงตาท่านบอกว่า ภาวนาโง่อย่างกับหมาตาย ทำซ้ำทำซากอยู่กับที่เดิมๆ ไง อยู่กับที่เดิมๆ ด้วยความขยันหมั่นเพียร แต่ปัญญามันไปได้รอบ
เวลาสมาธินะ กำหนดพุทโธๆ ปัญญาอบรมสมาธิ หรือว่าใช้ต่างๆ มันมีขอบเขตของมัน ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ นี่มันมากสูงสุดก็แค่รวมใหญ่ อัปปนาสมาธิ นี่สักแต่ว่าหมดเลย เวิ้งว้างหมด สมาธิได้แค่นี้ แต่ถ้าปัญญานะ ไม่มีขอบเขต ไปได้ทั้งนั้น ถ้าปัญญามันไปได้ทั้งนั้น ทำไมเราไม่ใช้ปัญญาของเราให้มันเต็มที่ของมัน ทำไมไปขีดขอบเขตที่ปัญญาอยู่แค่ที่ว่าเราว่าอันนี้ถูกต้องล่ะ ถ้าเราคิดว่าอันนี้ถูกต้อง ปัญญามันไปได้มากกว่านั้น ทำไมไม่ปล่อยมันไปเต็มที่ล่ะ ถ้าปล่อยเต็มที่ มันก็พิจารณาของมันเต็มที่ของมัน
ถ้าพิจารณาเต็มที่ของมัน ถ้ามันเหนื่อยนัก มันอ่อนล้านักก็ทำความสงบของใจเข้ามา ให้ใจมันสงบเข้ามาเป็นฐานขึ้นมาให้ปัญญามันก้าวเดินออกไป แล้วเต็มที่ของมัน ถึงที่สุดนะ มันไม่มีเหลือบ ไม่มีมุม ไม่มีสิ่งใดที่ปัญญาเข้าไม่ถึง มันไปได้ตลอด เห็นไหม ไม่ใช่โง่อย่างกับหมาตาย คำว่า หมาตาย คือหมามันตาย มันขยับเขยื้อนไม่ได้ นี่ก็เหมือนกัน สร้างกฎระเบียบขึ้นมาว่าต้องอย่างนี้ แล้วไม่ให้จิตนี้มันพลิกแพลงเลย ไม่ให้ปัญญามันก้าวออกไปเลย ไม่ให้ปัญญามันพิจารณาของมันเลย บอก ต้องแค่นี้...ปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ไง สูตรสำเร็จอยู่แค่นี้ โง่เหมือนกับหมาตาย! แต่ถ้าเป็นความจริง...ปล่อยมัน
คนมีทิฏฐิมานะ คนที่มีโทสะ คนที่มีโมหะ คนที่มีสิ่งใด ปัญญาไล่เข้าไปเต็มที่ จริตนิสัยของคนไม่เหมือนกัน ถ้าเต็มที่ของมันนะ เวลามันถึงที่สุดของมัน มันต้องทำลาย ถ้ามันทำลายขึ้นมา เวลามันขาด เห็นไหม การขาด กำหนดไม่ได้ คาดหมายไม่ได้ แต่ถ้าผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ความสมดุลของมัน ความสมดุลของมรรค นี่ไง เกิดในธรรม
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมมาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เกิดในธรรม เกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาในโลก แล้วก็เกิดอีกทีหนึ่งเวลาชำระอวิชชา เกิดโดยธรรม แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ปรินิพพานไปแล้ว วางธรรมและวินัยนี้ไว้ให้พวกเรา แล้วถ้าพวกเราปฏิบัติเป็นโลก เราก็จะเป็นเรื่องโลกๆ ทุกข์ยากกันไป ถ้าปฏิบัติโดยธรรมมันทุกข์ยากไหม? ก็ทุกข์ยาก แต่เราจะได้ธรรมสมความปรารถนา เอวัง