มดกินปลา
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
เทศน์บนศาลา วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๕
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
ตั้งใจฟังธรรม ฟังธรรมนะ ธรรมะสื่อสารได้ด้วยเสียง ธรรมะสื่อสารกันด้วยสัมผัส เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาเทศนาว่าการ ชูดอกไม้ขึ้นไปดอกหนึ่งให้พระทำความเข้าใจ พระกัสสปะมีความเข้าใจ ยิ้มออกมา นี่พระองค์อื่นไม่มีความเข้าใจ เห็นไหม ความสัมผัส นี่ความสัมผัสฟังธรรม
เธอจงมีธรรมเป็นที่พึ่งเถิด อย่ามีอย่างอื่นเป็นที่พึ่งเลย
แต่ธรรมอันนี้มันเกิดขึ้นมาได้อย่างใดล่ะ
ธรรมนะ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ ปรารถนามา ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย เวลาสร้างบุญญาธิการมาเป็นพระโพธิสัตว์นะ เวลามาเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ เราจะเกิดชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย เราจะเกิดชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายนะ แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยังดำรงพระชนม์ชีพมาด้วยเป็นคฤหัสถ์ พอมีการศึกษา ไปศึกษาตักกสิลา มาศึกษา มาเตรียมตัวเป็นกษัตริย์ นี่คือเรื่องโลกๆ ไง
ทีนี้เรื่องโลกนี้เป็นธรรมหรือยังล่ะ
เธอจงมีธรรมเป็นที่พึ่งเถิด แต่ธรรมยังไม่เกิดขึ้นมานี่เอาสิ่งใดเป็นที่พึ่งล่ะ
แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ เวลาออกบวชแล้วออกประพฤติปฏิบัติขึ้นมาจนใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นธรรมขึ้นมา เห็นไหม เธอจงมีธรรมเป็นที่พึ่งเถิด อย่ามีอย่างอื่นเป็นที่พึ่งเลย เพราะเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามองไปสิ่งใดมันเป็นสภาวธรรมไปทั้งหมด มันเป็นธรรมไปทั้งนั้น ธรรมเพราะอะไร เพราะจิตใจที่เป็นธรรมแล้วมองสิ่งใดมันก็เป็นธรรม
พอไม่เป็นธรรม เธอจงมีธรรมเป็นที่พึ่งเถิด เห็นไหม ชีวิตนี้มันของเล็กน้อยนัก ชีวิตนี้เกิดขึ้นมาชั่วอายุขัยหนึ่ง ถ้าอายุขัยหนึ่ง เวลาเราเกิดมานะ ถ้าจิตใจเราเป็นทุกข์เป็นยาก จิตใจเรามีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ชีวิตชีวิตหนึ่งนี้แสนยาวไกลนัก ชีวิตชีวิตหนึ่งนี้มีความทุกข์ยากมากนัก แต่คนที่เขาเกิดมา ถ้าเขาเกิดมามีความสุขของเขา เขาสร้างบุญกุศลของเขามา ชีวิตนี้มันสั้นนักๆ
เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า ชีวิตนี้เหมือนพยับแดด
ดูสิ พยับแดดเวลามันเกิดขึ้นมาโดยความร้อนของมัน พยับแดดมันเกิดเป็นไอขึ้นมา เราเห็นว่ามันเห็นเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา แต่เข้าไปใกล้แล้วมันไม่มีสิ่งใดเลย ฉะนั้น เธอจงมีธรรมเป็นที่พึ่งเถิด เพราะคำนี้เป็นคำขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะชีวิตนี้เหมือนพยับแดด ก็เท่านั้น ทีนี้ชีวิตของเรา เห็นไหม เธอจงมีธรรมเป็นที่พึ่งเถิด ถ้าเรามีธรรมขึ้นมามันจะเป็นธรรม
เป็นธรรมขึ้นมา เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นโลกมาก่อนนะ เป็นโลกเพราะอะไร เพราะเกิดมาด้วยบุญญาธิการ ขนาดเกิดมา เห็นไหม เราจะเกิดชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ทั้งๆ ที่ยังจะต้องดำรงชีวิตต่อไป แล้วเวลาออกบวชแล้วมันถึงจะเป็นความจริงขึ้นมา แล้วถ้าเป็นความจริงขึ้นมา เวลามองไปทางโลก มองไปทางที่ว่าเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สิ่งที่ว่ามีความรู้สึกว่าอยากจะออกๆ แล้วจะออกไปไหนล่ะ...นี่ด้วยความเป็นโลก นี่ความบีบคั้นของกิเลสตัณหาความทะยานอยาก
ถึงที่สุดแล้วเวลาไปเที่ยวสวนน่ะ เห็นคนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย นี่มันต้องเป็นอย่างนี้หรือ สิ่งนี้มีด้วยหรือ เราต้องเป็นอย่างนั้นใช่ไหม สิ่งที่ว่ามันตัดสินใจกันตรงที่ว่าเห็นคนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย การเกิดและการตายไง
การเกิดและการตายเป็นความสำคัญมาก เพราะเวลาเราเกิดขึ้นมา เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา เวลาพุทธศาสนานะ ศาสนาพุทธสอนถึงที่สุดแห่งทุกข์ เพราะเป้าหมายของชาวพุทธเราคือนิพพาน นิพพานคือการสิ้นกิเลส แต่เวลาเราเกิดขึ้นมา เรากิเลสเต็มตัวนะ ถ้าเราเกิดขึ้นมา เพราะเรามีอวิชชา จิตของเรานี่ปฏิสนธิจิตมันเกิดในไข่ ในน้ำครำ ในครรภ์ ในโอปปาติกะ นี่กำเนิด ๔
จิตมันต้องกำเนิดอยู่แล้วโดยธรรมชาติของมัน ที่เป็นธรรมๆ ธรรมชาติมันเป็นแบบนั้นน่ะเป็นธรรม ถ้าเป็นธรรมขึ้นมา เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เราเป็นธรรมไหมล่ะ เป็นธรรมทำไมมันทุกข์ยากขนาดนี้
มันทุกข์ยากนะ ทุกข์ยากเพราะมันมีกิเลสอยู่ กิเลสมันเหมือนไฟ ไฟมันแผดเผาอยู่
เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนพวกเรา เห็นไหม ทุกคนถือดุ้นไฟไปดุ้นหนึ่ง แล้วก็บ่นว่า ร้อน ร้อน ร้อน กาลครั้งหนึ่งมีบุรุษผู้ฉลาดได้ทิ้งดุ้นไฟนั้นแล้ว แล้วก็มาสั่งสอนพวกเราให้เราทิ้ง นี่ไง มาสั่งสอนให้พวกเราทิ้ง ทิ้งดุ้นไฟ ทิ้งอวิชชาตัณหาความทะยานอยากที่มันบีบคั้นในหัวใจนี่ไง ถ้ามันมีกิเลสตัณหาความทะยานอยากมันแผดเผาในหัวใจ พอมันแผดเผาในหัวใจ
เราเกิดมาเป็นชาวพุทธพบพระพุทธศาสนา ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนตั้งแต่บาทฐานเบื้องต้นขึ้นมา ตั้งแต่อนุปุพพิกถา เริ่มต้นตั้งแต่ทำทาน เรื่องของรักษาศีล รักษาศีลแล้วก็ไปเกิดเป็นเทวดา ให้ถือเนกขัมมะ เพื่ออะไร? เพื่อให้ถึงที่สุด พอประพฤติปฏิบัติขึ้นมามันถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้
ฉะนั้น เวลาเราเกิดมาเป็นโลก จงมีธรรมเป็นที่พึ่งเถิด ธรรมมันอยู่ที่ไหนล่ะ
เวลาเราเกิดมา เห็นไหม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดมาเป็นโลก แต่เกิดมาเป็นโลกแล้วด้วยบุญญาธิการ เวลาศึกษาค้นคว้านะ ไปค้นคว้าอยู่ ๖ ปี...๖ ปีนั้น ในการประพฤติปฏิบัติต่อสู้กับกิเลสตัณหาความทะยานอยากจนถึงที่สุดแห่งทุกข์ เห็นไหม เพราะมีธรรมขึ้นมา เราเกิดมาเป็นสาวกสาวกะ เราถึงมีบุญกุศล มีบุญกุศลเพราะมันมีธรรมอยู่แล้ว มีธรรมและวินัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้อยู่นี้
แต่เวลาเราศึกษานะ เราศึกษาโดยโลก เพราะว่าเราเอาความรู้สึกนึกคิดของเรานี่ศึกษา ความรู้สึกนึกคิดของเรา เห็นไหม ดูทางโลกสิ ทางโลกเขาศึกษาทางวิชาการกัน เขาศึกษาทางวิชาชีพของเขา เขาศึกษาสิ่งใดขึ้นมา เขาจบทางวิชาการใดมา นั่นเป็นโดยอาชีพของเขา เขามาประกอบอาชีพเพื่อดำรงชีวิตของเขา ฉะนั้น เราก็เอาสิ่งนั้นมาศึกษาธรรมวินัย เพราะว่ามันเป็นโลกไง เป็นโลกคือความรู้สึกนึกคิดเรานี่แหละ เป็นโลกคือขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่การสื่อสาร การศึกษา การค้นคว้าของเรา นี่มันเป็นเรื่องโลกๆ ทั้งนั้น ถ้าเป็นเรื่องโลกนะ เอาโลกมาศึกษาธรรม เห็นไหม
ดูสิ เขาต้องการทองคำเป็นเครื่องประดับกัน เขาต้องการทองคำที่มีคุณภาพ ทองคำแท้ เขาไม่ต้องการทองคำชุบ ถ้าทองคำชุบนะ เอาตะกั่วเอาแร่ธาตุสิ่งใดก็ได้ไปชุบทองมันก็เป็นทอง นี่ก็เหมือนกัน ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยกิเลสตัณหาความทะยานอยากของเรา เราก็ไปชุบมา แล้วก็ว่าสิ่งนี้เป็นธรรมๆ ด้วยความเข้าใจผิด เห็นไหม
ถ้าเข้าใจผิดเป็นโลก เป็นทางวิชาการ ถ้าเป็นวิชาการ ศึกษาอย่างใดมามีความเข้าใจไหม? มี มีความเข้าใจในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่ไง ธรรมและวินัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้ แต่เราศึกษาโดยโลกไง ศึกษาด้วยกิเลสตัณหาความทะยานอยากของเรา ศึกษาด้วยความไม่รู้ ความไม่รู้มันก็ตีความของมันตามความไม่รู้นั่นแหละ
ถ้าตีความตามไม่รู้ แต่เราเกิดมาเป็นชาวพุทธพบพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาสอนไว้ ถ้าไม่มีตัวอย่าง ไม่มีแบบอย่าง เราจะประพฤติปฏิบัติกันอย่างไร ถ้าเราไม่มีตัวอย่างแบบอย่าง เราก็ค้นคว้าเอา เราก็ศึกษาของเราเอา ก็เป็นแบบโลกๆ เรานี่แหละ เพราะวุฒิภาวะ ด้วยบุญกุศลของเรา มันก็ทำได้แค่นี้ไง
แต่ถ้ามีผู้ที่มีบุญมาเกิดเหมือนกัน เห็นไหม เราก็เกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา ธรรมและวินัยนี่วางไว้อยู่แล้ว เราประพฤติปฏิบัติยังลุ่มๆ ดอนๆ แต่ผู้ที่มีบุญนะ เวลาเขาเกิดมาในพุทธศาสนานี้เหมือนกัน เวลาเขาทำสิ่งใดมา เขาประพฤติปฏิบัติขึ้นมาเขาต้องค้นคว้าของเขา วุฒิภาวะของเขามีความยั้งคิด ถ้ามีความยั้งคิดว่า เราควรทำอย่างใด เรามีสติปัญญาอย่างใด
สติปัญญา เห็นไหม สติปัญญาที่ทางวิชาชีพของเขา เขาใช้วิชาชีพของเขาประกอบอาชีพของเขา เขาก็ได้สมบัติสิ่งนั้นมา เห็นไหม สมบัติเป็นปัจจัยเครื่องอาศัยในการดำรงชีวิตของเขามา เพราะเขาใช้ปัญญาของเขา
ถ้าปัญญาเราละเอียดขึ้นมาล่ะ ปัญญาละเอียดขึ้นมา เราจะมีสติปัญญาเข้ามาทำความสงบของใจ เข้ามาเพื่อทันความรู้สึกนึกคิดของเรา เห็นไหม มันละเอียดกว่าอีกชั้นหนึ่งไง ถ้ามันละเอียดกว่าชั้นหนึ่ง เราจะมีสติปัญญายับยั้งอย่างนี้ได้ไหม
ถึงว่า สิ่งที่เป็นเรื่องโลกมันก็เป็นเรื่องโลก สิ่งที่เป็นเรื่องธรรมล่ะ ถ้าเรื่องธรรมมันจะค้นคว้าเข้ามาข้างใน ถ้ามันค้นคว้าเข้ามาข้างใน มันจะเริ่มประพฤติปฏิบัติของมันขึ้นมา ถ้าประพฤติปฏิบัติของมันขึ้นมาก็เป็นสมบัติของเราไง
เห็นไหม ถ้าเราใช้ปัญญาแสวงหาทางโลกมันก็ได้ผลเรื่องโลกๆ มา ถ้าเราใช้ปัญญาของเราแสวงหาทางธรรมมา แสวงหาทางธรรมแล้วมันจะเป็นธรรมขึ้นมาไหมล่ะ ถ้ามันยังปฏิบัติโดยโลกอยู่มันก็ยังไม่เป็นธรรม มันไม่เป็นธรรมหรอก มันไม่เป็นธรรมเพราะอะไร เพราะมันไม่เป็นข้อเท็จจริงของเราขึ้นมา
ถ้าเป็นของเท็จจริงนะ ดูสิ เธอจงมีธรรมเป็นที่พึ่งเถิด อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเลย เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมและวินัยนี้ไว้ให้เราศึกษาค้นคว้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงบอกว่า การศึกษาค้นคว้าเป็นปริยัติ เป็นสุตมยปัญญา เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา กำลังล้มลุกคลุกคลานอยู่นี่มันเป็นจินตมยปัญญา ถ้าเป็นจินตมยปัญญามันไม่ใช่ปัญญาที่สามารถชำระกิเลสได้ มันปฏิบัติขึ้นไปจนมันเกิดภาวนามยปัญญา เราภาวนาขึ้นมาจนเกิดปัญญาความเป็นจริงขึ้นมา
ถ้าเป็นภาวนามยปัญญา นี่ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เวลาปริยัติคือการศึกษา คือสุตมยปัญญา เวลาภาวนาไปนี่เป็นจินตมยปัญญา เห็นไหม ระหว่างค้นคว้า กำลังฝึกฝนอยู่ มันเป็นจินตมยปัญญา แต่ถ้าเกิดภาวนามยปัญญาขึ้นมา ถ้ามันสมุจเฉทปหาน เวลากิเลสมันขาดออกไป นี่ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ การปฏิเวธมันเป็นความรู้จริง อันนี้มันคืออะไรล่ะ? อันนี้มันเป็นธรรมและวินัยนะ อันนี้เป็นหลักเกณฑ์ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้แล้วเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา
เราศึกษาโดยโลก เราเข้าใจโดยโลก ถ้าเราเข้าใจโดยโลกแล้วบอกว่าเราเข้าใจในธรรมะๆ ถ้าเข้าใจธรรมะจริงมันจะเป็นความจริงขึ้นมา เข้าใจธรรมะจริงนะ จิตใจมันเป็นธรรม ถ้าจิตใจเป็นธรรมนะ หนึ่ง มันจะมีความสุขความสงบในหัวใจ ความสุขความสงบเพราะเหตุใด ความสุขความสงบเพราะเริ่มต้นเราเกิดมาโดยกิเลส โดยอวิชชา กิเลสเกิดมาเป็นคนนะ เกิดมาเป็นคนนี่มีอำนาจวาสนา มันเป็นอริยทรัพย์ อริยทรัพย์คือสถานะความเป็นมนุษย์นี่มีค่ามาก สถานะความเป็นมนุษย์นี่เป็นอริยทรัพย์
เพราะสถานะของมนุษย์ เห็นไหม มนุษย์เป็นผู้ที่มีปัญญา มนุษย์ต่างกับสัตว์ สัตว์มันเดินไปด้วยร่างกายมันที่ราบแนบไปกับแผ่นดิน เห็นไหม มันไม่มีสิทธิ มันทำคุณงามความดีได้ สัตว์มีนิสัยดี นิสัยที่ไม่ดีได้ แต่สัตว์มันไม่มีโอกาส ไม่มีอำนาจวาสนาจะทำถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ เราเกิดเป็นมนุษย์นะ เราเป็นสัตว์ประเสริฐ ถ้าสัตว์ประเสริฐมันต้องประเสริฐ นี่ต้องเห็นคุณค่าของตัวเรา
ถ้ามันเห็นคุณค่าของตัวเรา เห็นไหม เรามีสมอง เรามีปัญญาของเราที่ปัญญาจากข้างนอก ปัญญาที่เราใช้ปัญญาเพื่อโลกมันก็ได้เรื่องโลกๆ มา ใช้ปัญญาเรื่องธรรมก็ได้ธรรมมา เห็นไหม ปัญญาเรื่องโลกคือการแสวงหาต่างๆ ขึ้นมา ปัญญาเรื่องธรรม มันเสียสละของมันออกไป มันเสียสละสมบัติพัสถานของเราที่จะเป็นประโยชน์กับคนอื่นได้ เราจะให้คนอื่นได้ความสุข ความสงบ ความร่มเย็นจากสมบัติของเรา นี่คือบุญกุศล
บุญกุศล เห็นไหม เขายิ้มแย้มแจ่มใส เขามีความร่มเย็นเป็นสุขจากสมบัติของเรา เราจะมีความพอใจไหม เราจะมีความปลื้มอกปลื้มใจไหม ถ้าเรามีความปลื้มอกปลื้มใจ นี่บารมีธรรม บารมีธรรมเพราะเหตุใดล่ะ? บารมีธรรมเพราะว่ามันจะย้อนเข้ามาข้างในไง
เพราะเวลาเรื่องเราขาดแคลนเรื่องปัจจัยอาศัย มันก็เป็นทุกข์อันหนึ่งนะ แต่ถ้าเราสมบูรณ์ในปัจจัยเครื่องอาศัยมันก็เป็นสุขอันหนึ่งนะ แต่ถ้าเรามีความวิตกกังวล เรามีกิเลสตัณหาความทะยานอยากมันเผาลนหัวใจ มันก็เป็นความทุกข์อันหนึ่งนะ แต่ถ้าเรามีสติปัญญาในการค้นคว้า ในการประพฤติปฏิบัติ ในการมาปฏิบัติธรรม มันจะทำให้จิตใจ สิ่งที่มันแผดเผาในหัวใจ ถ้ามันสำรอก มันคายออกไป นี่สมบัติอย่างนี้ สมบัติที่มนุษย์จะค้นคว้ามาเพื่อเป็นสมบัติของเรา
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นตัวอย่าง เป็นครูเอกของโลก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดในสถานะของกษัตริย์ ทำไมท่านสละทิ้งได้ล่ะ นี่สิ่งที่ท่านสละสถานะความเป็นกษัตริย์ของท่าน แล้วท่านออกมาประพฤติปฏิบัติของท่าน นี่คุณค่าทางโลก
ถ้าแสวงหาปัจจัยเครื่องอาศัยมา ถ้ามันได้ใช้สอยมันก็มีความสะดวกมีความสุขในทางโลกของเขา แต่ถ้าเสียสละมา เวลาเราค้นคว้าขึ้นมา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาประพฤติปฏิบัติอยู่ ๖ ปี ค้นคว้าขนาดไหน ไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ นี่ปัญญาของเขามันไม่ถึง ถ้าปัญญาของเขา เขาปฏิญาณตนกันนะว่าเขาเป็นศาสดา เขาเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษากับเขามาหมดน่ะ แต่เวลาวุฒิภาวะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษากับเขา ทำไมไม่ยอมรับเขาล่ะ นี่วุฒิภาวะที่มันมีปัญญา เห็นไหม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติขึ้นมาเป็นความจริงขึ้นมา อันนี้เป็นความจริงมันถึงมีธรรม มีธรรมนะ
เวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ดูสิ เวลาครูบาอาจารย์ของเราท่านมีบุญกุศลของท่าน ท่านสร้างมาด้วยมีอำนาจวาสนาของท่าน ท่านเกิดมาเป็นมนุษย์เหมือนกัน พบพระพุทธศาสนาเหมือนกัน เวลาท่านปฏิบัติของท่าน ท่านถึงไม่เชื่อสิ่งใดง่ายๆ ไง ท่านต้องให้เป็นความจริงในหัวใจของท่าน ถ้าเป็นความจริงในหัวใจของท่าน ความจริงนี้มันมีเหตุมีผลของมัน ถ้ามีเหตุมีผลของมัน นี่ไง สิ่งที่เวลาปฏิบัติขึ้นมามันถึงจะเป็นความจริง
แต่ถ้าปฏิบัติไม่เป็นความจริง เห็นไหม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปฏิบัติกับเจ้าลัทธิต่างๆ นี่มันไม่เป็นความจริง พอไม่เป็นความจริง ท่านมีสติปัญญา ท่านบอกสิ่งสิ่งนี้มันไม่เป็นความจริง ไม่เป็นความจริงในการปฏิบัติอยู่
เวลาครูบาอาจารย์ของเราก็เหมือนกัน เวลาท่านปฏิบัติของท่านขึ้นไป ธรรมวินัยมันมีอยู่แล้ว เราบอกว่าเราเกิดมานี่ธรรมและวินัยมันมีอยู่แล้ว เธอจงมีธรรมเป็นที่พึ่งเถิด เห็นไหม เราเป็นทองชุบกัน เราปฏิบัติโดยกิเลส โดยโลก ก็บอกว่า ธรรมะมันมีอยู่แล้วๆ จิตใจมันมีธรรมอยู่แล้ว ในพระไตรปิฎกนะ จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้เป็นผู้ข้ามพ้นกิเลส
พระเณรของเราบวชมา เกิดเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา ได้ออกบวชเรียนด้วย นี่โต้แย้งกันว่า ถ้าจิตมันผ่องใสมันก็เป็นนิพพาน อีกฝ่ายหนึ่งบอก ถ้าจิตมันเป็นนิพพาน มันจะมาเกิดทำไม
เห็นไหม นี่เราศึกษาธรรมๆ ศึกษาธรรมโดยโลกไง ศึกษาธรรมโดยโลกมันก็ไม่เข้าใจสิ่งใดๆ หรอก มันศึกษาธรรม มีวิชาการไหม? มันก็มีวิชาการแบบโลกเขา โลกเขาก็มีวิชาของเขาเป็นวิชาชีพของเขา เราศึกษาธรรมมาเราก็ศึกษาธรรมมันก็เป็นวิชาธรรม แต่ธรรมในหัวใจของเราล่ะ ธรรมในหัวใจของเรามันยังไม่เกิดเลย แต่ถ้าธรรมในหัวใจของเราจะเกิดล่ะ
ศึกษาแล้ว ศึกษานี้เป็นแผนผังเครื่องดำเนิน เป็นแผนที่ชี้เข้ามาสู่ใจ ไม่ใช่ศึกษาบอกไปเอาธรรมๆ ที่ไหนหรอก เวลาศึกษาขึ้นมานี่ ธรรมะมีอยู่โดยดั้งเดิมอยู่แล้ว อยู่เฉยๆ ไม่ต้องคิดสิ่งใดเลย มันจะเข้าไปสู่ธรรมๆ...นี่มันคิดของมันไปเอง มันไม่เป็นความจริงหรอก ไม่เป็นความจริง เห็นไหม ในการประพฤติปฏิบัติของเรา ถ้ามันประพฤติปฏิบัติไม่เป็นความจริง มันก็ไม่เป็นข้อเท็จจริงขึ้นมา
เวลาในทางโลกเขานะ เวลาฝนตก แหล่งน้ำใหม่มันพัดมานะ นี่น้ำใหม่ ปลามันได้กลิ่นน้ำของมัน มันจะไปวางไข่ มันจะไปน้ำใหม่ เวลาธรรมชาติของปลา เขาศึกษานะ เขาจะขุดทางข้างสระแล้วเอาน้ำต่างถิ่นมา กลิ่นของน้ำ มันจะโดดเข้าสู่ที่นั่นเลย เห็นไหม ด้วยความคิดทางโลกไง โลก เราประพฤติปฏิบัติของเรา เหมือนปลาที่มันได้น้ำใหม่ เหมือนปลาที่มันขวนขวายของมัน เวลาน้ำหลากไปที่ไหน ปลามันมีจำนวนมากของมัน มันท่วมท้นไปหมด
เวลามดมันเป็นรังมด มันโดนน้ำท่วม มดมันจะลอยแพไปในน้ำ เห็นไหม เวลาโดยปกติปลามันกินมด ปลามันกินมดน่ะ เพราะน้ำท่วม มันเป็นอาหารของปลาทั้งนั้นน่ะ เวลาปลามันอยู่ธรรมชาติของมัน มันหาอาหารของมัน มันล่าอาหารของมัน เวลาปลาใหญ่กินปลาเล็ก ปลาเล็กจะเป็นอาหารของมัน
ถ้าเราปฏิบัติโดยโลก เวลาปฏิบัติไปนี่ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา กิเลสมันเป็นปลา มันกินไปทุกอย่างเลย เวลาทำจิตว่า สิ่งที่ว่าธรรมะมันมีอยู่โดยดั้งเดิม ธรรมะมันมีอยู่ของมันแล้ว เข้าไปสู่ธรรมแล้วมันก็จะเป็นธรรมๆ
ปลามันคือกิเลส มันกิน มันทำให้ความประพฤติปฏิบัติของเราไม่ได้ผลตามความเป็นจริงสักอย่างหนึ่ง แต่ในเมื่อปลา กิเลสมันอยู่ในหัวใจของเราใช่ไหม มันตีความเอา มันคาดหมายเอา มันจินตนาการเอา พอมันจินตนาการเอา เราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าพูดถึงกิเลสตัณหาความทะยานอยากมันเผาลนหัวใจของเรา ถ้ามีธรรมขึ้นมาในหัวใจต้องมีความสงบ มีความร่มเย็น จิตใจต้องมีความสุขของเราขึ้นมา
เราศึกษาธรรมก็เหมือนกัน พอเราศึกษาขึ้นมาเราจะเป็นทองชุบ นี่ปลามันกินมด มดคือสัจธรรม มดคือความเป็นจริง เห็นไหม มันกิน มันทำลายความเป็นจริงของเราหมดเลย นี่ปลามันจะกินมด เพราะถึงเวลาน้ำหลากมา กิเลสมันทำลายความเพียรเราหมดเลย เวลาเราทำความเพียรของเราขึ้นมา เราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ธรรมะมีอยู่โดยดั้งเดิม ธรรมะมันมีของมันแล้ว ศึกษาธรรมขึ้นมาแล้วมันปล่อยวาง มันมีความสุข มีความสงบ มีความระงับ มันมีความสุขอย่างนี้ๆ อย่างนี้เป็นธรรมๆ...นี่ปลามันกินมดน่ะ พอมดมามันกินหมด กินเป็นอาหารของมัน กิเลสมันกินธรรมะ กิเลสมันทำลายความรู้สึก ความเป็นจริงของเราทั้งหมดเลย เพราะอะไร
เพราะในเมื่อตัณหาความทะยานอยาก ตัณหามันล้นฝั่ง ในเมื่อตัณหามันล้นฝั่ง สิ่งที่กิเลสตัณหาความทะยานอยากมันล้นฝั่ง มันมีแต่น้ำโอฆะ มันมีแต่น้ำกิเลสตัณหาความทะยานอยาก แล้วเวลาทำไป นี่ศึกษาธรรมๆ ด้วยความอ่อนด้อย ด้วยอำนาจวาสนา ด้วยความอ่อนด้อยของบารมี เจอสิ่งใดไปบอก สิ่งนี้เป็นธรรมๆ พอสิ่งนี้เป็นธรรม มันก็จินตนาการ มันก็คาดหมายของมันไป นี่คาดหมายของมันไป สิ่งนี้มันสงบระงับ ทั้งๆ ที่มันเผาลนนะ เพราะอะไร
เพราะมันนิวรณธรรม ความลังเลสงสัยอยู่ในหัวใจมันสงสัยของมันอยู่แล้วล่ะ แต่เพราะปลามันกินมด ปลามันกินความเพียร ปลามันทำลายหมด ปลาคือกิเลสตัณหาความทะยานอยาก มันทำลายหมด ทำลายคุณงามความดีของเรา ทำลายสติ ทำลายสมาธิ ทำลายปัญญาทั้งนั้นน่ะ แล้วมันก็บอกว่าว่างๆ มันก็มีความสุขมีความสบายของมัน แล้วก็พยายามเทียบเคียงของมัน
ถ้าขวนขวายกันอยู่อย่างนี้ กิเลสมันท่วมท้นในหัวใจนะ แล้วกิเลสมันท่วมท้นในหัวใจ แล้วทำไมบอกว่ามันสุข มันสงบ มันระงับล่ะ ในเมื่อถ้ากิเลสมันหลอก ถ้ากิเลสมันหลอกนะ ความหลง ถ้ามีความหลง ถ้าว่าความหลง เรามีกิเลสตัณหาความทะยานอยากอยู่แล้ว มันมีอวิชชา แล้วเราประพฤติปฏิบัติธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วกิเลส เห็นไหม นี่ปลากินมด กิเลสมันครอบงำ มันทำให้เราหลงใหลไป
ถ้าเวลาเราทำความสงบของใจ ถ้าใจมันสงบแล้วนะ ถ้าเราไม่รู้จักรักษามันก็เสื่อม เห็นไหม เพราะใจมันไม่มีหลักมีเกณฑ์มันก็เสื่อม เจริญแล้วเสื่อม เสื่อมแล้วเจริญของมันอยู่อย่างนั้น แต่ถ้าเราประพฤติปฏิบัติไป กิเลสมันจูงจมูก กิเลสมันจะทำให้ความเพียรของเราเสียหายไป มันก็หลบซ่อน หลบซ่อนแล้วมันอ้างอิง อ้างว่าสิ่งนี้เป็นธรรมๆ เราก็หลงใหลไปกับมันน่ะ เราหลงใหลไปกับมัน ให้มันจูงจมูกอยู่อย่างนั้นแหละ กิเลสมันจูงจมูกของใจไปอย่างนั้นนะ แล้วเราก็ยังปฏิบัติซ้ำแล้วซ้ำเล่าตามอย่างนั้นไป แล้วมันจะเป็นธรรมขึ้นมาไหม
ถ้ามันไม่เป็นธรรมขึ้นมา เราต้องตั้งสติแล้ว เราต้องตั้งสติแล้วพิจารณาว่าสิ่งที่เราทำมานี่มันถูกต้องหรือเปล่า ถ้าสิ่งนี้มันทำมาไม่ถูกต้องนะ เราทำความสงบของใจอย่างเดียวเลย ถ้าเราพุทโธๆ หรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าจิตมันสงบเข้ามานะ แล้วเราพิจารณาของเราดูว่า สิ่งที่บอกว่า กิเลสมันต้องเผาลนหัวใจของเรา หัวใจของเราก็มีความทุกข์ความยากแล้ว แล้วถ้าพอเราปฏิบัติไปแล้วหัวใจเราสงบระงับ หัวใจเรามันปล่อยวาง หัวใจมันว่าง ว่าสิ่งนี้เป็นธรรมๆ ไหม
ในการประพฤติปฏิบัตินะ ผลของมัน เราจะปฏิบัติแนวทางใดก็แล้วแต่ กรรมฐาน ๔๐ ห้อง ถ้ากรรมฐาน ๔๐ ห้อง แล้วถ้าใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ผลของมันคือสมถะ ผลของมันคือปล่อยวาง แต่ถ้าผลของมันปล่อยวาง มันมีสติปัญญาของมัน เพราะมีสติปัญญา มันถึงรู้ว่า นี้เป็นสมถะ นี้คือความสงบร่มเย็นของใจ ถ้าความสงบร่มเย็นของใจมันเป็นสมถะ มันเป็นสมถกรรมฐาน ถ้าเราฝึกหัดใช้ปัญญาขึ้นไป มันจะเป็นวิปัสสนากรรมฐาน เห็นไหม ถ้าเรามีสติปัญญามันจะรู้อย่างนี้
แต่ถ้ามันไม่มีสติปัญญา เวลามันสงบระงับเข้ามา มันบอกสิ่งนี้เป็นธรรมๆ สิ่งนี้เป็นธรรมแล้วมันก็บอกว่า เวลาปลามันกินมดไง สิ่งนี้เป็นธรรม พอมันเป็นธรรมขึ้นมา กิเลสมันพาให้เราหลงใหล พอกิเลสมันพาให้หลง
เพราะการภาวนานะ กิเลสมันทำให้เจริญแล้วเสื่อมอย่างหนึ่ง ถ้าวุฒิภาวะเราอ่อนด้อย มันจะบอกว่าสิ่งนี้เป็นธรรมๆ เลย ถ้าสิ่งนี้เป็นธรรม มันก็เป็นธรรมแบบทองชุบไง ทองชุบเพราะจิตนี้ไปชุบกับธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง เวลาเอาวัตถุต่างๆ ชุบทองมันก็เป็นทองชุบ พอมันลอกมันก็รู้เห็นเองว่าวัตถุธาตุที่เอามาชุบทองนั้นมันไม่ใช่ทอง
แต่จิตใจของเรา เราบอกว่าสิ่งนี้เป็นธรรมๆ มันจะชุบธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง เพราะธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เธอจงมีธรรมเป็นที่พึ่งเถิด เธออย่ามีอย่างอื่นเป็นที่พึ่งเลย มันก็สวมเอาเลยไงว่าสิ่งนี้เป็นธรรมๆ นะ นี่กิเลสมันร้ายกาจนัก กิเลสมันทำให้เราเสียหาย ทำให้การประพฤติปฏิบัติของเราเสียหาย
ฉะนั้น มันจะเป็นจริงหรือไม่เป็นจริง ทองไม่ต้องไปชุบมันหรอก เราหาแร่ทองของเรา ถ้าหาแร่ทองของเรา เราหลอมทองของเรา ถ้าทองของเรามันเป็นทองขึ้นมา มันเป็นทองคำทั้งแท่ง มันเป็นความจริงทั้งหมด ฉะนั้น ให้มีสติมีปัญญาไตร่ตรองของเรา ถ้ามีสติปัญญาไตร่ตรองของเรานะ ไม่ใช่ว่าเราปฏิบัติธรรมแล้วกิเลสมันจะเอออวยกับเรา มันจะบอกว่าเปิดโอกาสให้เราประพฤติปฏิบัติ
เพราะเราเกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาสอนถึงที่สุดแห่งทุกข์ ทุกคนก็มีเป้าหมายอยากจะพ้นจากทุกข์ ถ้าพ้นจากทุกข์ เห็นไหม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกถึงผู้ปฏิบัตินี่เป็นบัว ๔ เหล่า ถ้ามันอยู่ใต้น้ำลึก มันจะเป็นอาหารของเต่าของปลา ถ้ามันขึ้นมามันจะโผล่พ้นน้ำ ถ้าบัวปริ่มน้ำมันจะโผล่พ้นไปเลย ถ้าพ้นจากน้ำไป จบ จบเวลามันพ้นจากน้ำไป นี่บัว ๔ เหล่า
ฉะนั้น บัว ๔ เหล่า คำว่า บัว ๔ เหล่า ไม่ใช่ว่าจะต้องบังคับใครให้เป็นเหล่าใดเหล่าหนึ่ง คำว่า บัว ๔ เหล่า นี่เขาแจกแจงถึงอำนาจวาสนาของจิตแต่ละดวงใจที่เกิดมามันแตกต่างหลากหลาย ฉะนั้น พอแตกต่างหลากหลาย มันก็อยู่ที่อำนาจวาสนา อยู่ที่เวรกรรมที่ได้สร้างสมมา ฉะนั้น ถ้าจิตที่มันจะเป็นอย่างใดก็แล้วแต่ อยู่ในประเภทไหนก็แล้วแต่ มันก็เป็นสิ่งที่เราได้สร้างสมมา มันไม่มีใครจะมาบังคับหรือใครมาแจกแจงให้เราอยู่ในประเภทไหน มันอยู่ตามความเป็นจริง อยู่เหล่าใด มันเป็นตามข้อเท็จจริงที่สร้างมา
ฉะนั้น ตามข้อเท็จจริง ถ้าเราปฏิบัติตามข้อเท็จจริงนั้น มันจะอยู่เหล่าใดก็แล้วแต่ ถ้าเราเป็นตามข้อเท็จจริงนั้น มันจะพัฒนาของมันตามความเป็นจริง ไม่ต้องไปวัดค่าของใครว่าใครจะอยู่ขั้นไหน อยู่บัวเหล่าใด เราทำของเราโดยความเป็นจริงของเรา มันจะอยู่ใต้น้ำ มันจะเป็นอาหารของเต่าของปลา นั้นมันก็เป็นเหล่าที่เป็นวิชาการ ถ้าเรามีสติปัญญานี่มันพัฒนาได้
ดูบัวสิ ดูสายบัว เวลาน้ำลึก ถ้าเขาดึงสายบัว ถ้ามันยาว แสดงว่าน้ำลึก สายบัวนี่มันสามารถให้บัวพ้นขึ้นมาได้ มันพ้นขึ้นมาที่ไหน? มันพ้นที่การประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริงนี่ไง ถ้ามันประพฤติปฏิบัติที่ตามความเป็นจริง มันถึงจะไม่เป็นปลากินมดไง ถ้ามันเป็นปลากินมด มันทำให้การประพฤติปฏิบัติเราเสียหายไปหมดเลย แล้วโดยธรรมชาติของโลกเป็นแบบนั้น
ถ้าโดยธรรมชาติของโลกเป็นแบบนั้น เราประพฤติปฏิบัติของเราตามความเป็นจริง เราจะต้องมีสติมีปัญญา อย่าให้ปลากินมด ธรรมชาติมันเป็นเรื่องของปลากินมด ถ้าปลากินมดมันเป็นอาหารของมัน แล้วปลามันก็แสวงหาของมัน พยายามทำของมัน ฉะนั้น นี้เป็นเรื่องการปฏิบัติแบบโลกๆ นะ
ถ้าการปฏิบัติแบบธรรมล่ะ ถ้าการปฏิบัติแบบธรรม ครูบาอาจารย์บอกว่าต้องทำความสงบของใจเข้ามาก่อน ทำความสงบของใจ ถ้าใจมันสงบแล้วปัญญาที่เกิดขึ้นคือการฝึกหัด ถ้าปัญญาที่การฝึกหัดนะ มันพยายามจะตรวจสอบ พยายามจะใคร่ครวญดูการกระทำของเรา ถ้าการกระทำของเรามันสมเหตุสมผล มันเป็นไปตามความเป็นจริง มันต้องให้ผลตามความเป็นจริงแน่นอน มันเป็นวิทยาศาสตร์ ทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว ทำถูกก็ต้องเป็นความถูก ถ้าผิดก็ต้องผิด ทีนี้มันเป็นวิทยาศาสตร์นะ นี่เจริญแล้วเสื่อม เสื่อมแล้วเจริญ
แต่ถ้าเวลากิเลสมันหลอกล่ะ กิเลสมันไม่เป็นวิทยาศาสตร์ไง กิเลสไม่มีเหตุมีผล กิเลสมันอ้างอิงไปหมด กิเลสมันอ้างเล่ห์ กิเลสมันทำให้เราไขว้เขว ถ้าเราไขว้เขวแล้วมันเป็นวิทยาศาสตร์ไหม
นี่เป็นวิทยาศาสตร์ เห็นไหม ดูสิ มันก็เหมือนกลุ่มด้าย กลุ่มด้ายที่มันพันกันแล้วจะแกะอย่างไร นี่ไง เพราะมันสงสัยแล้วล่ะ นี่เวลากิเลสมันตั้งโจทย์มาเหมือนกลุ่มด้าย แล้วเราจะแก้อย่างไร ฉะนั้น สิ่งที่ตามข้อเท็จจริงเป็นวิทยาศาสตร์ แต่กิเลสที่มันไม่มีเหตุมีผล มันไม่ฟังวิทยาศาสตร์หรอก มันอ้างอิงวิทยาศาสตร์มาเพื่อเสริมอำนาจของมัน
ถ้าเสริมอำนาจของมัน เราถึงต้องทำเป็นวิทยาศาสตร์ตามความเป็นจริงของเรา แล้วมีสติปัญญาของเรา ใคร่ครวญของเรา หาเหตุหาผลนะ คำว่า หาเหตุหาผล การปฏิบัตินี่หลวงตาท่านพูดบ่อย เริ่มต้นนี่ยากนัก เริ่มต้น ขั้นที่ยากที่สุดคือขั้นเริ่มต้นและขั้นสุดท้าย
ขั้นเริ่มต้น เห็นไหม เพราะคนนี่จิตมันดื้อ จิตเวลามันดื้อนะ ไม่เคยปฏิบัติมันก็อยากปฏิบัติ เห็นเขาปฏิบัติกันบอกร่มเย็นเป็นสุข เราก็อยากปฏิบัติกัน เวลาปฏิบัติขึ้นมา พอปฏิบัติเริ่มต้นก็ดี เพราะกิเลสมันยังไม่รู้เท่า กิเลสมันคิดว่าโดยปกติกิเลสมันผ่อนคลายให้เราได้ดำรงชีวิตไปวันๆ เท่านั้นน่ะ ถ้าเราอยู่ในอำนาจของมัน มันก็นอนใจ
แต่พอเราจะมาประพฤติปฏิบัติขึ้นมานี่ อืม! จิตดวงนี้จะเข้าสู่สัจธรรมเพื่อจะเอาธรรมะ เอาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาทำร้ายเรา ถ้าทำความสงบใหม่ๆ นี่มันทำได้ พอมันเห็นว่าเราจะประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริงนะ มันอ้างเล่ห์แล้ว พออ้างเล่ห์นะ ล้มลุกคลุกคลานไปตลอดเลย
ถ้าล้มลุกคลุกคลาน เห็นไหม นี่ลำบากเริ่มต้น ลำบากในการประพฤติปฏิบัติ ลำบากตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นนี้ พอขั้นเริ่มต้น กิเลสมันดิบๆ กิเลสมันมีอำนาจมาก มันจะทำให้เราไขว้เขวไปตลอดเวลา เหมือนกับเด็กน้อยสู้กับผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่คือกิเลสมันครอบงำใจเรามาตลอด แล้วเราเพิ่งฝึกหัดแบบฝึกหัด พอแบบฝึกหัดมันก็เหมือนเด็กน้อย เด็กน้อยจะสู้กับผู้ใหญ่นี่ล้มลุกคลุกคลานมาตลอดน่ะ แต่เด็กน้อยมันก็มีโอกาสที่สามารถจะชนะได้ถ้ามันพัฒนาตัวของมันขึ้นมา แล้วถ้าผู้ใหญ่เผลอ มันก็มีโอกาสพัฒนาของมัน ผู้ใหญ่คือกิเลสไง
ถ้ากิเลสมันเผลอ เราก็ทำของเราได้ แต่พอกิเลสมันรู้ตัวขึ้นมา เด็กน้อยจะไปสู้อะไรกับมันล่ะ ถ้าเด็กน้อยไปสู้สิ่งใดกับมันไม่ได้ เราก็พยายามสร้างสมของเรา ทำความสงบของใจของเรา แล้วพิจารณาของเรา ฝึกหัดแล้วหาเทคนิค หาอุบายวิธีการที่เราจะเจริญก้าวหน้าไปให้ได้ ถ้ามันเจริญก้าวหน้าไปได้นะ มันเจริญก้าวหน้าเพราะเหตุใด มันเจริญก้าวหน้าเพราะมันเป็นคุณประโยชน์กับเราเอง มันเป็นผลประโยชน์กับจิตของเรา ถ้ามันเป็นผลประโยชน์กับจิตของเรา เราจะทำไหม
นี่มันไม่เป็นผลประโยชน์กับคนอื่น เราทำหน้าที่การงาน ทำอาชีพต่างๆ มันเป็นเรื่องของโลกนะ ผลประโยชน์ เห็นไหม ดูทางวิชาการสิ คิดค้นสิ่งใดขึ้นมานี่โลกใช้สอยกันไปหมดเลย นี่เขาใช้สอยจากที่เราทำวิจัยขึ้นมา เราทำเป็นสิ่งที่เครื่องอำนวยความสะดวกให้กับชีวิตเขา ทุกคนใช้กันได้หมดน่ะ
แต่เวลาเราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามานะ ธรรมและวินัยนี้เป็นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาของเรานะ เรารู้มาหมดเลย แต่ทำไมเราทำให้มันเป็นความเป็นจริงของเราขึ้นมาไม่ได้ล่ะ เห็นไหม สมบัติส่วนตน สมบัติภายในนี่ นี่มันทำได้ยาก
งานทางโลกมันพอทำกันได้ พอเจือจานกันได้ คอยช่วยเหลือกันได้ แต่งานทางธรรม เห็นไหม เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมานี่บัว ๔ เหล่า มันอยู่ที่อำนาจวาสนาของใจทั้งนั้นเลย แล้วถ้าใจมันจะประพฤติปฏิบัติขึ้นมาตามความเป็นจริงนะ มันจะล้มลุกคลุกคลานเราก็พิจารณาของเรา เราทำของเรา เพราะสิ่งนี้เป็นสมบัติ สิ่งนี้เป็นความจริงของเรา
เราจะเกิดมาเป็นมนุษย์ แล้วพบพระพุทธศาสนา แล้วอยากจะประพฤติปฏิบัติ แล้วเราก็ลังเลสงสัยอย่างนี้ แล้วก็จะไปตายเอาข้างหน้าโดยที่ไม่มีสิ่งใดเป็นสมบัติของเราไปเลยเหรอ แต่ถ้าเราลังเลนาดไหน มันไม่เข้าใจสิ่งใด เราก็ค้นคว้าหาอุบายวิธีการ เห็นไหม ขั้นเริ่มต้นนี่ขั้นยาก ถ้าเราพิจารณาของเรา เราใช้สติปัญญาของเรา แยกแยะของเรา ถ้าสติปัญญามันฟั่นเฝือ มันคิดสิ่งใดแล้วไม่ทะลุปรุโปร่ง ก็ใช้พุทโธๆ ไม่ต้องใช้สติปัญญาอะไรทั้งสิ้น ใช้คำบริกรรม พุทโธๆๆ ให้มันมีที่เกาะ ให้จิต ให้มดมันหนีจากปลามา อย่าให้ปลาเอามันไปกิน ถ้าปลาไม่เอาไปกินนะ เกาะใบไม้ไว้ ถ้าใบไม้พัดเข้าตลิ่ง เดี๋ยวเราขึ้นบกได้
นี่เหมือนกัน ถ้าเราพุทโธๆๆ ไม่ต้องใช้ปัญญา พุทโธๆ ถ้าเราจะเอาความสงบระงับนะ เอาให้จิตใจนี่ เด็กน้อยให้มันเติบโตขึ้นมา แต่ถ้ามันพุทโธๆ ไป เดี๋ยวมันก็เครียด เดี๋ยวมันพิจารณาไปแล้ว พุทโธแล้วมันก็น่าเบื่อหน่าย...ถ้าทำได้ เราพยายามบังคับให้จิตเราทำของเราไป แต่ถ้ามันทำไม่ได้ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ใช้ปัญญาแล้วไล่ไป
มด ในเมื่อมันเกาะใบไม้ไว้ แล้วปลาตามงับมัน ถ้าใบไม้นั้นโดนลมหรือโดนคลื่นพัดเข้าสู่ฝั่ง มดตัวนั้นก็รอดได้ ถ้าเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เราพิจารณาของเรา พิจารณาว่า สิ่งที่คิดสิ่งที่ทำนี่มันให้ผลอะไรกับจิตของเราล่ะ? ให้แต่ความทุกข์ทั้งนั้น ไม่มีสิ่งใดเป็นประโยชน์กับมันเลย ประโยชน์ก็ประโยชน์กับโลก
ความรู้สึกนึกคิดนี่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ การสื่อสารนี้ มนุษย์เกิดมามีธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ สิ่งนี้เกิดมาในสถานะของมนุษย์ มนุษย์ก็ใช้สิ่งนี้สื่อสารกัน แล้วก็เอาสิ่งนี้ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่จิตมันโง่ จิตมันมีอวิชชา จิตมันไม่เข้าใจสิ่งใดๆ เลย ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ที่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันอยู่ที่สัญญา มันอยู่ที่เปลือกนั้น มันเข้าใจไหม? เข้าใจ คือเข้าใจแบบวิชาชีพนี่ไง เข้าใจแล้วเดี๋ยวก็ลืม ลืมก็ทบทวน ทบทวนก็ศึกษาอีก ศึกษาอีกก็เข้าใจ
นี่ไง เขาบอก ศึกษาธรรมะ ธรรมะมีอยู่โดยดั้งเดิม ก็ศึกษาอย่างนี้ ศึกษาอย่างนี้ก็จินตนาการอย่างนี้ แล้วบอกธรรมะมีอยู่โดยดั้งเดิม แล้วมันแก้กิเลสได้สักตัวไหม? มันไม่แก้กิเลสสักตัวเลย แล้วถ้าสติไม่ดีนะ ปลามันกินมด มันกินความเพียร กินเวล่ำเวลา มันกินชีวิตของเราไปหมดเลย
แต่ถ้าเราทำให้มีความถูกต้อง เรามีครูบาอาจารย์ของเรา เรากำหนดพุทโธๆ ของเรา นี่เราพุทโธๆ ของเรา ถ้าเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิของเรา นี่เวลาน้ำนะ ความโลภ ความโกรธ ความหลง สิ่งที่ตัณหาทะยานอยากมันล้นฝั่ง ถ้าเราแผดเผามันด้วยตบะธรรม ความโลภ ความโกรธ ความหลงมันเบาบางลง มันระเหยลง นี่น้ำระเหยไป น้ำจะเริ่มแห้ง ถ้าเริ่มแห้ง เห็นไหม ทางที่ปลามันจะไปสะดวก มันชักไปไม่สะดวกแล้วล่ะ เพราะน้ำเริ่มน้อยเข้ามาๆ
แต่ถ้าน้ำแห้ง พุทโธๆ จนจิตมันสงบระงับ ถ้าใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้ามันเท่าทันความรู้สึกนึกคิด มันปล่อยนะ เพราะความรู้สึกนึกคิดนี่คิดทีไร คิดเท่าไรก็หลง คิดเท่าไรก็ทุกข์ คิดเท่าไรมันก็ออกข้างนอกหมดน่ะ แต้ถ้ามันใช้ปัญญา เพราะมันเห็นโทษไง เพราะคิดเท่าไรมันก็ทุกข์ นี่ความคิดเกิดขึ้น ความคิดตั้งอยู่ ความคิดดับไป แล้วคิดแล้วมันยังเอาความเร่าร้อน คิดแล้วมันยังเอาความกดถ่วงหัวใจเข้ามาบีบคั้นหัวใจตัวเอง คิดไปทำไม
ถ้ามันใช้ปัญญาอบรมสมาธิไปเรื่อยๆ ปัญญาไล่กับความคิดไป เห็นไหม ปัญญาอบรมสมาธิ นี่คิดก็ทุกข์ คิดแล้วก็ไม่มีเหตุมีผล นี่มันปล่อยได้ มันปล่อยเพราะอะไร เพราะสติปัญญามันเห็นไง เพราะมันเห็นว่าสิ่งที่คิดนี้ให้ผลเป็นโทษ ให้ผลกับหัวใจที่เป็นความทุกข์ ถ้ามันคิดมันก็ปล่อย ปล่อย ความปล่อยอันนั้นมันปล่อยอันนั้น ถ้าปล่อยแล้วมันก็เป็นสมาธิ
พอเป็นสมาธิขึ้นมา สิ่งที่เวลาเราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันก็เป็นสัญญา เห็นไหม มันอยู่ข้างนอก มันถึงปลดปล่อยกิเลสตัณหาความทะยานอยากในหัวใจของเราไม่ได้ไง แต่ถ้าบอกว่า ธรรมะมีอยู่โดยดั้งเดิมๆ ไอ้ทองชุบนั่นน่ะ มันบอกว่า สิ่งนี้เป็นธรรมๆ แล้วจินตนาการไป นี่มันหลง
เจริญแล้วเสื่อมนั่นอย่างหนึ่ง เวลาหลงขึ้นมามันอ้างเหตุอ้างผล แล้วความจริงจิตใต้สำนึกมันก็สงสัย ธรรมะเป็นอย่างนี้หรือ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นโสดาบัน เป็นสกิทาคามี เป็นอนาคามี ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอริยบุคคลเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไปมันเป็นอย่างนี้หรือ
เออ! มันก็เป็นอย่างนี้แหละ มันก็ว่างๆ อย่างนี้แหละ มันก็มีเหตุผลอย่างนี้
พยายามบังคับใจของตัวให้เป็นตามธรรมนั้น แล้วก็อ้างอิง
ถ้าพูดถึงว่า เวลาปลามันกินมด เวลามันจะพูดถึงโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี มันจะอ้างพระไตรปิฎกทั้งนั้นน่ะ มันจะอ้างในตำราไง มันจะอ้างถึงทฤษฎีนั่นน่ะ แต่ความเป็นจริงในหัวใจมันไม่มี ถ้าเป็นความจริงในหัวใจขึ้นมา มันมีนะ นี่มดมันจะกินปลา
ถ้ามดมันกินปลา เวลาเราพุทโธๆ หรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้ามันปล่อยวางขึ้นมา มันปล่อยรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เข้ามาสู่ใจของมัน ถ้าเข้าสู่ใจของมัน พลังงานมันไม่ออกไป นี่ตัณหาความทะยานอยากมันก็เบาลง
เวลาน้ำตัณหาความทะยานอยากมันเบาลงๆ มันก็แห้งลงๆๆ พอแห้งลง ปลามันจะไปไหน ปลาไม่มีน้ำก็ตาย พอปลามันตายขึ้นมา เห็นไหม มดกินปลา ถ้าวันไหนมดกินปลานะ มันได้กินจริงๆ แต่โดยธรรมชาติของมันน่ะ ปลากินมด เพราะโดยธรรมชาติ มีแหล่งน้ำอยู่ที่ไหน ดูสิ น้ำท่วมที่ไหน พวกแมลงมันก็ลอยไปตามน้ำนั่นน่ะ ปลามันมีความสุข มีความอุดมสมบูรณ์ กินเต็มที่เลย
โลกเป็นแบบนั้นนะ แต่ถ้าเราจะเอาจริงขึ้นมานะ มดมันจะกินปลา ถ้ามดจะกินปลา เห็นไหม มันทุกข์นะ มันต้องรอเวลาน้ำเหือดน้ำแห้ง ถึงคราวน้ำต้องแห้ง พอถึงคราวน้ำแห้ง นี่เรื่องของโลกนะ แต่ถ้าเป็นธรรม ถ้าไม่มีสติ ไม่มีปัญญา ไม่มีคำบริกรรม ไม่มีแห้ง มันจะแห้งต่อเมื่อเรามีสติ เรามีคำบริกรรมของเรา พุทโธๆๆ มันปล่อยวางเข้ามา พุทโธจนพุทโธไม่ได้
พุทโธๆ เห็นไหม พุทธานุสติ เรานึกพุทโธๆ มันถึงมี ถ้าเราไม่นึกพุทโธ จิตมันไม่ได้นึก น้ำก็ท่วมจิตนี้ตาย แล้วพุทโธมันอยู่ไหน? พุทโธมันก็อยู่ในตำราไง พุทโธก็อยู่ในพระไตรปิฎก นี่กรรมฐาน ๔๐ ห้อง แล้วตัณหาความทะยานอยากมันท่วมหัวใจอยู่นั่นน่ะ มันท่วมหัวใจ นี่ไง มันก็ทำลาย นี่ปลามันกินมดไง แต่ถ้าพุทโธๆๆ ของเราไป เรานึกพุทโธมันถึงจะเป็นพุทโธ มันถึงเป็นพุทธานุสติ
จิตดวงใดจะมีสุขมีทุกข์มันก็จิตของเขา จิตของเรา ความรู้สึกของเรา เราระลึกพุทโธของเรา มันก็เป็นพุทธานุสติของเรา ถ้าพุทธานุสติของเรา ถ้ามันไม่บีบคั้น กิเลสตัณหาความทะยานอยากมันไม่รุนแรงมันก็พุทโธได้ ถ้ากิเลสตัณหาความทะยานอยากมันรุนแรง มันก็ผลักไสให้ลืม ให้เบื่อหน่าย ให้เคร่งเครียด เห็นไหม เราก็พยายามของเรา เพราะเราเป็นสุภาพบุรุษ เราเป็นนักสู้ เราก็ต้องมีการต่อสู้กันบ้าง ไม่ใช่ว่าพอกิเลสมันบีบคั้นก็ยอมแพ้ ทำสิ่งใดก็ยอมแพ้ ขยับอะไรก็ยอมแพ้ไปทุกเรื่องเลยเหรอ
แต่ถ้ามันมีสติปัญญาขึ้นมา อ้าว! ถ้าไม่พุทโธก็ต้องพุทโธ งานการทางโลกนี้ทุกอย่างก็ทำมาแล้ว งานสิ่งใดก็ทำได้ แต่เวลาเป็นงานเพื่อประโยชน์ของตัวเองทำไมทำไม่ได้ เวลางานเป็นประโยชน์เพื่อหัวใจนี่บอกว่าทำไม่ได้ เวลางานอื่นทุกอย่าง ใครไหว้วานมา ใครใช้สอยสิ่งใดมาทำได้ทุกเรื่องเลย แต่เวลางานของตัวนี่ทำไม่ได้ มันจะเป็นอย่างนั้นเชียวหรือ
ถ้าเราว่าเราอยากพิสูจน์ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมวินัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้แล้วนี่ จิตใจของเราต้องพิสูจน์สิ ถ้าพิสูจน์ขึ้นมาก็ต้องทำได้สิ ทำไมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำได้ ทำไมครูบาอาจารย์ของเราท่านทำได้ ทำไมเราจะทำไม่ได้...นี่ถ้ามีปัญญาอย่างนี้ หาเหตุหาผลอย่างนี้ เห็นไหม น้ำตัณหาความทะยานอยากมันก็ลดลงๆ พอมันลดลง พุทโธก็ได้แล้ว แต่ถ้าตัณหาความทะยานอยากมันล้นฝั่งนะ ดูสิ มันพัดมดไปเลย มันพัดไปหมดนะ นู่นก็ทำไม่ได้ นี่ก็ทำไม่ได้ นู่นก็ลำบาก นี่ก็ทุกข์ นี่ไง ถ้าอย่างนี้มันก็หมดหวัง
แต่ถ้าจะเอาจริงเอาจังขึ้นมานะ ในเมื่อเรามันหมดหวัง หมดหวังก็เหลือชีวิตนี้ไว้ แล้วชีวิตนี้ก็มีการพลัดพรากเป็นที่สุด แล้วพอพลัดพรากไปแล้วอยากทำแล้วนะ แหม! เสียดายโอกาส เสียดายน่าดูเลย ตอนมีชีวิตอยู่ไม่ทำ นี่มันผัดวันประกันพรุ่ง มันผลัดไป
แต่ถ้าเรามีปัญญาของเรา เราพุทโธ เราหาเหตุหาผลของเรา นี่งานของเราทำไมไม่ทำ งานของเรา ทรัพย์สมบัติเงินทองทุกคนก็อยากได้ มีเงินมีทองเก็บซ่อนไว้ กลัวโจรกลัวขโมยมันปล้นมันชิงเอา เวลาอริยทรัพย์ ไม่ต้องไปกลัวใครปล้นใครชิง ทำไมไม่ทำ
ถ้าทำขึ้นมา พุทโธๆ จนน้ำตัณหาความทะยานอยากมันเริ่มแห้งลงๆ เวลามันพุทโธไม่ได้เลย เห็นไหม พุทโธๆๆ จนพุทโธไม่ได้เลย ถ้าพุทโธไม่ได้เลย อันนั้นเป็นความจริง ถ้าเป็นความจริงนะ แล้วถ้าเป็นความจริง เวลามันเสวย เวลาพุทโธแล้วจิตสงบ ให้พิจารณาเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม ปลามันจะกินมด มันจะเห็นปลา แล้วมดมันจะได้กินปลา
เวลามดได้กินปลานะ ผลัดกันบ้างสิ เวลากิเลสมันกินเรา ปลามันทำลายเรา มันทำลายความเพียร ทำความเพียร ความวิริยะ ความอุตสาหะ อำนาจวาสนาที่เกิดมาเป็นคนนี่ อำนาจวาสนาเกิดมาแล้วบวชพระ อำนาจวาสนาที่ประพฤติปฏิบัติ นี่มันทำลายหมดเลย มันกินหมดเลย
ถ้าจิตเราสงบบ้าง อ้า! คราวนี้มดมันจะกินปลาบ้างแล้ว มดจะได้กินปลา เห็นไหม ถ้ามดได้กินปลา ปลามันกินเรา เราเสียชีวิตนี้ทั้งชีวิตเขากลืนไปเลย จิตนี้ไปเกิดเอาข้างหน้า แต่เวลาเรากินเขา เรากินปลา เราทำลายกิเลสตัณหาความทะยานอยาก นี่ทำลาย ถ้าทำลายได้ นี่มันยากลำบากขนาดนี้
เวลาทำ เห็นไหม มดตัวเล็กๆ มันจะไปกินปลา อ้าว! ก็ปลาน้ำแห้ง พอน้ำแห้งปลามันก็ตาย พอปลามันตาย พอมันแห้ง มดก็มีดโอกาสได้กินปลา ถ้ามดกินปลามันก็เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติ มดกินปลาสร้างสมมัน ฝึกหัดเอา ฝึกหัดใจของเราขึ้นมาให้มันเป็นความจริงของเราขึ้นมา ถ้าจิตมันสงบแล้วฝึกหัดใช้ปัญญา
บอกพุทโธๆ พุทโธจนไม่ได้แล้วค่อยใช้ปัญญาเหรอ
อันนี้เวลาพุทโธๆ เวลาทำความสงบของใจ ทำสมถกรรมฐาน นี้เป็นวิธีการอันหนึ่ง เป็นการฝึกความพร้อมของเรา ถ้ามันพร้อมนะ ถ้าฝึกความพร้อม แล้วเวลาเราใช้ปัญญา เวลาเราออกมาเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม เราก็พิจารณาของเราไป ถ้าคราวหน้าเราทำความสงบของใจพอประมาณ มันก็พิจารณาได้แล้วแหละ มันไม่ใช่ว่าเราจะต้องทำจนจิตมันพุทโธไม่ได้...ไอ้คำว่า จิตพุทโธไม่ได้ มันกระบวนการของสมถะ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ นี่ขบวนของมันมีเท่านี้ ถ้าขบวนของมันมีเท่านี้ สมาธิก็คือสมาธิ
แต่เพราะถ้าจิตมันไม่มีสมาธิ ถ้าใช้แบบวิชาการทางโลก มันปฏิบัติโดยโลก มันเป็นสุตมยปัญญา มันไม่ละเอียดลึกซึ้งเข้ามาถึงจะถอดถอนกิเลสได้ แล้วเวลาตรึกในธรรมๆ มันก็ซาบซึ้ง ซาบซึ้งนะ มันเป็นทองชุบ มันซาบซึ้งระหว่างความเป็นโลก จิตที่มันเป็นโลก คิดสิ่งใดมันก็เป็นโลก
แต่ถ้าจิตมันสงบเข้ามา เราทำความสงบของใจเข้ามา จิตนี้ สัมมาสมาธิ สิ่งที่เป็นศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าศีล สมาธิ ปัญญา เห็นไหม ปริยัติ ปฏิบัติ ถ้ามันเป็นศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าเกิดสมาธิขึ้นมามันจะเกิดสมาธิถ้าเราน้อมไปสู่กาย สู่เวทนา สู่จิต สู่ธรรม ถ้ามันเกิดปัญญาขึ้นมา ปัญญาอย่างนี้ที่มันจะถอดถอน ถอดถอนเพราะอะไร ถอดถอนเพราะมันละเอียดลึกซึ้งเข้ามาอยู่ที่จิต
ใจของเขาจะสุขหรือทุกข์ก็เรื่องใจของเขา ใจของเราเวลาจะสุขจะทุกข์ก็ใจของเรา แล้วพอจิตมันสงบเข้ามา มันสู่ใจ ถ้าจิตหรือใจมันออกใช้ปัญญา มันรู้มันเห็นของมันน่ะ มันซาบซึ้ง มันแตกต่างกันมหาศาลเลย มันจะเป็นโลกุตตรปัญญา นี่โลกียปัญญามันจะเป็นโลกุตตรปัญญา โลกุตตรปัญญามันพิจารณาของมัน เห็นไหม
ถ้ามดมันได้กินปลานะ มดมันจะรักหมู่คณะของมัน ถ้ามดมันได้กินปลา มันมาเป็นรังๆ มันมาเป็นล้านๆ ตัว มันจะลากเอาเข้าไปรังของมัน นี่ก็เหมือนกัน เวลาจิตมันสงบแล้วมันฝึกหัดใช้ปัญญา ปัญญาที่มันมีรสชาติ มันมีความละเอียดอ่อนในใจ มันจะพัฒนาของมัน ถ้ามันใช้ปัญญาอย่างนี้ นี่ไง จากปริยัติมันเป็นปฏิบัติ
ถ้าปฏิบัติมันพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ แยกแยะของมัน ปัญญามันเกิดขึ้นมา นี่ถ้าปัญญามันเกิดขึ้นแล้วมันพิจารณาของมัน มันเป็นอริยทรัพย์ มันเป็นคุณธรรมของใจดวงนั้น ถ้าใจดวงนั้นพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า มันจะปล่อยของมันบ่อยครั้งเข้า
ฤดูกาลนะ เวลาฤดูกาล เวลาน้ำหลาก ปลามันจะรื่นเริงของมันเพราะมันไปได้ตามกระแสน้ำนั้น สิ่งที่กระแสนั้นมันไป นี่ฤดูกาล เวลาหน้าแล้งน้ำลดลง ถ้าปลาลงสู่น้ำลึกมันก็เอาตัวรอดของมัน แต่ถ้าปลามันไปติดกับที่ใดมันก็จะเป็นอาหารของสัตว์ อาหารของนักล่า มันเป็นธรรมชาติของมันอย่างนั้น นี่เป็นฤดูกาล คำว่า ฤดูกาล มันก็เปลี่ยนแปลงอยู่อย่างนี้
ทีนี้จิตใจของเราล่ะ จิตใจของเราเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย มันเจริญแล้วเสื่อม เสื่อมแล้วเจริญ ถ้ามันพิจารณาของมันไป เวลาทำงานของเราขึ้นไป เวลามันเหน็ดเหนื่อย แม้แต่การประพฤติปฏิบัติ เวลาเหน็ดเหนื่อยมันยังต้องการพักเลย ถ้าจิตมันไม่เคยสงบ เราก็ทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าใจมันสงบแล้วเราใช้ปัญญาของเรา ใช้ปัญญาออกไป
เวลาใช้ปัญญาไปแล้วมันใช้ปัญญาไปมากขึ้นไป สมาธิมันก็อ่อนลง เวลามันเหน็ดเหนื่อยขึ้นมามันก็ต้องวางงานนั้นกลับมาที่สัมมาสมาธิ กลับมาสัมมาสมาธิ รักษาไว้ รักษาเหยื่อนั้นไว้ รักษาปลานั้นไว้ แล้วให้มดมันมีอาหารของมันตลอด ถ้ามดมีอาหารของมัน มันจะดำรงเผ่าพันธุ์ของมัน มันจะเป็นประโยชน์กับมันขึ้นมา
เวลาจิตใจที่มันละเอียดลึกซึ้งขึ้นมา เวลามันพิจารณาของมัน มันจะเป็นประโยชน์กับมัน ถ้าเป็นประโยชน์กับมัน แต่พิจารณาไปแล้ว เวลาใช้ไปแล้ว เวลาสมาธิมันอ่อนลง ตัณหาความทะยานอยากนะ น้ำกลับมา ปลามันจะเป็นขึ้นมาโดยธรรมชาติเลยล่ะ มันจะกินเราต่างหากล่ะ ฉะนั้น มันต้องละเอียดรอบคอบ การประพฤติปฏิบัติของเรามันจะเป็นความจริงขึ้นมา
เขาว่าธรรมะมีอยู่แล้วๆ...มันอยู่ที่ไหนล่ะ? ธรรมะจะเกิดขึ้นต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา เกิดขึ้นต่อเมื่อมันมีมรรคของมัน เกิดขึ้นต่อเมื่อมันมีปัญญาของมัน ถ้าปัญญาของมันพิจารณาของมัน มันรู้ มันมีเหตุมีผลของมัน มันรู้จริงของมัน เห็นไหม ดูสิ ปัญญาที่เขาใช้ทางโลก เขาแสวงหาทางโลก เขาก็ได้ประโยชน์ทางโลก เขาได้ทรัพย์สมบัติ เขาได้เงินได้ทองตามหน้าที่การงานของเขา
เราใช้ปัญญาของเราที่เรามีคุณธรรมมากกว่า เราเห็นประโยชน์ของการเกิดเป็นมนุษย์มากกว่า เราเห็นการเกิดการตายนี้เป็นทุกข์อย่างยิ่ง เราประพฤติปฏิบัติของเราขึ้นมา พอจิตมันสงบเข้ามา นี่พอปัญญา ภาวนามยปัญญามันเกิดขึ้นมาจากใจดวงนี้ ถ้าใจดวงนี้มันเกิดภาวนามยปัญญาขึ้นมา ปัญญาที่เกิดขึ้นมามันจะเกิดผลขึ้นมาเป็นอริยทรัพย์ คือมันเป็นปัจจัตตัง มันเป็นสันทิฏฐิโก มันเกิดขึ้นกับจิตดวงนี้
พอเกิดขึ้นกับจิตดวงนี้ แล้วถ้าเรามีสิ่งใด เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นไป ถ้ามันติดขัด ขัดข้องขึ้นมา เราเปิดพระไตรปิฎกได้ ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์ เราเปิดพระไตรปิฎกเทียบเคียงได้ ถ้ามีครูบาอาจารย์ ขึ้นหาครูบาอาจารย์เลย ถ้าขึ้นหาครูบาอาจารย์นะ สิ่งที่เราปฏิบัติมานี่ ถ้าครูบาอาจารย์ของเราไม่รู้สิ่งนี้ แสดงว่าครูบาอาจารย์ของเราไม่รู้เรื่อง
มันวัดได้ ถ้าเราทำความสงบของใจเข้ามา ถามได้เลยว่าความสงบมันเป็นแบบใด ถ้าความสงบมันเป็นแบบใด ถ้าเวลาเราพิจารณาปัญญาขึ้นมา ปัญญาที่เกิดขึ้นนี่มันเป็นปัญญาระดับไหน มันเป็นสุตมยปัญญา มันเป็นจินตมยปัญญา มันเป็นภาวนามยปัญญา แล้วถ้ามันเกิดเป็นภาวนามยปัญญา ปัญญาที่มันเกิดขึ้นมาแล้วทำไมมันเกิดขึ้นมาแล้วทำไมกิเลสมันไม่ขาด ทำไมกิเลสมันไม่ทำลายไปจากหัวใจของเราล่ะ
การที่ปฏิบัติเกิดปัญญาขึ้นมาแล้ว มันเป็นการวัดผลกันนะ วัดผลว่า ถ้ามีการศึกษา เราศึกษาขึ้นมานี่มันเป็นสุตมยปัญญา มันมีความรู้สึกอย่างหนึ่ง เวลาเราปฏิบัติของเราขึ้นมาเป็นความจริงขึ้นมา ถ้ามันเกิดความสงบของใจเข้ามา แล้วมันใช้ปัญญาของเราขึ้นมา ปัญญามันละเอียดลึกซึ้งกว่ากัน เราเทียบเคียงได้เลย เราเห็นได้เลยว่า ถ้าใช้ปัญญาแบบโลกๆ อย่างนั้น เวลาบอกว่าจิตนี้เป็นนิพพาน เพราะว่ามันเป็นทองชุบ เพราะว่าธรรมะมีอยู่โดยดั้งเดิม
ถ้าคำว่า ธรรมะมีอยู่โดยดั้งเดิม นิพพานมีอยู่กับใจ ถ้าคำพูดอย่างนี้ออกมามันไม่เป็นจริงแล้วล่ะ ถ้าคนปฏิบัติจริงเขาจะรู้เลย ถ้าคนปฏิบัติจริง ไม่มีหน้าที่การงานขึ้นมา ไม่ได้ทำสิ่งใดขึ้นมา มันจะเอาทรัพย์สมบัติมาจากไหน คนเราไม่ต้องทำสิ่งใดเลย นอน หรือทำให้จิตใจนี้มันสงบระงับเข้ามาให้มันเข้าไปสู่ความว่าง อันนั้นจะเป็นธรรมๆ...มันจะเป็นไปได้อย่างใด มันเป็นไปไม่ได้เลย
ของดิบ ถ้าไม่ทำให้มันสุก ทำอย่างไรมันก็ดิบอยู่อย่างนั้นน่ะ ถ้าปล่อยไว้มันก็เน่าเสียไปเลย แต่ถ้าเป็นความจริงขึ้นมา มันจะมีการกระทำของมันขึ้นมา ของดิบจะให้เป็นของสุก ถ้าของสุกมันจะทำอย่างไรให้มันสุกล่ะ? มันก็ต้องมีตบะธรรม ถ้าตบะธรรม ถ้าไม่ได้ทำสิ่งใดเลย ปล่อยมันเข้ามา แล้วตบะธรรมมันจะเป็นอย่างไร นี่ตบะธรรม
ถ้ามีสตินะ ดูสิ คนทำครัว คนทำหน้าที่การงานอย่างใด ถ้าขาดสติ งานที่ทำนั้นเสียหายทั้งนั้นน่ะ ฉะนั้น เวลาจิตถ้าไม่มีสติขึ้นมา เพราะมันมีสติมันถึงบริกรรมพุทโธเข้ามาได้ เพราะมีสติมันถึงมีปัญญาอบรมสมาธิขึ้นมา จนจิตมันสงบ เพราะมันมีสติ จิตมันถึงมีสมาธิ
แล้วถ้ามีสติมีปัญญา มีสติมีสมาธิขึ้นมา ใช้ปัญญาขึ้นไป เพราะมีสติมันถึงน้อมนำให้ใจนี้เป็นปัญญาขึ้นมาได้ ถ้าใจเป็นปัญญาขึ้นมาได้ เพราะมันมีสติ มันมีสัมมาสมาธิ ถ้ามันขาดสติมันก็เป็นภวังค์ ถ้ามันขาดสติมันก็เป็นมิจฉาสมาธิ ถ้ามันมีสติขึ้นมา สติกับสมาธิ ถ้ามันฝึกหัดใช้ปัญญา มันทำขึ้นมา เห็นไหม ของดิบจะทำให้เป็นของสุกไง ถ้ามันเป็นของดิบอยู่จะทำให้มันสุก สุกเพราะอะไร สุกเพราะจิตมันมีการกระทำ แล้วมันทำอย่างไรมันถึงเป็นความจริงล่ะ ที่มันทำอยู่นี้เพราะมันทำตามข้อเท็จจริงของมัน
มดกินปลานี่มันแสนยาก เพราะปลามันตามกระแสน้ำ มันเป็นธรรมชาติของมัน มันเจอมด มันกินโดยสะดวกสบายของมัน แต่ปลานี่มันต้องรอ รอตั้งแต่ว่าน้ำลดเมื่อไหร่ ถ้าน้ำลดเมื่อไหร่แล้วถ้าปลาค้างอยู่ที่ไหน ถ้ามันตาย เราก็จะมีอาหารของเรา
นี่ก็เหมือนกัน โดยธรรมชาติของมนุษย์ โดยธรรมชาติของความรู้สึกนึกคิด กิเลสตัณหาความทะยานอยากมันครอบงำอยู่ มันก็บอก ธรรมะมีอยู่โดยดั้งเดิม ทุกอย่างมีอยู่แล้ว ถ้าเข้าไปถึงที่สุดมันก็ไปเจอมันเลย ถ้าไปเจอก็เดินไปชนมันเลย ของมันมีอยู่...ไม่มีหรอก ถ้าของมีอยู่อย่างนั้น อย่างนั้นมันก็ไม่ต้องมีการกระทำใดๆ เลยเหรอ แต่ถ้าการกระทำทำอย่างใด ถ้าทำตามความถูกต้องชอบธรรม มันถึงจะเป็นธรรม เห็นไหม
เพราะเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้เองโดยชอบ แต่เจ้าลัทธิต่างๆ ในสมัยพุทธกาลเขาบอกเขาเป็นศาสดาเหมือนกัน เขาตรัสรู้โดยไม่ชอบ โดยไม่ชอบธรรมมันก็ไม่มีผล ไม่มีเป็นความจริงขึ้นมา แต่เขาก็คิดเอง จินตนาการเองของเขาว่าเป็นของเขา เพราะวุฒิภาวะของเขาได้แค่นั้น แต่ถ้าเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา เป็นศาสดาของเรา ตรัสรู้เองโดยชอบ ถ้ามีความชอบธรรมมันก็เป็นสัมมาทิฏฐิ ถ้าสัมมาทิฏฐิมันก็มีการกระทำ มีปัญญา มีการต่อเนื่อง เห็นไหม กิจจญาณ สัจจญาณ มีกิจจญาณ มีการกระทำ
ถ้าเราไม่มีกิจจญาณ ไม่มีสัจจญาณ เราจะไม่ปฏิญาณตนว่าเป็นพระอรหันต์ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเทศน์ปัญจวัคคีย์ เห็นไหม มันต้องมีการกระทำ มีความจริงขึ้นมา แล้วความจริงนั้นเป็นแบบใดล่ะ
ความจริงมันก็เป็นความจริงในหัวใจนั้น เพราะความจริง เห็นไหม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นความจริงทั้งนั้น แล้ววางธรรมวินัยเป็นความจริงไหม? เป็น แต่เป็นความจริงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง แล้วชี้เข้าไปสู่ใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะความจริงในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกพระอานนท์นะ อานนท์ เราเอาแต่ธรรมของเราไปเท่านั้น เราไม่ได้เอาของใครไปเลย
อันนั้นน่ะสำคัญ อันที่เอาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเท่านั้น เพราะอันนั้นเป็นความจริง แล้ววางธรรมและวินัยนี้ไว้ นี่เป็นกิริยาของธรรม ถ้ากิริยาของธรรม ธรรมวินัย มันถึงชี้เข้าไปสู่ใจไง
ฉะนั้น เราเอาใจของเราที่มีกิเลสตัณหาความทะยานอยากไปชุบเอาไง ไปชุบธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมวินัยที่วางไว้ แล้วบอกอย่างนี้เป็นธรรมๆ...มันก็ไม่จริงไง เพราะมันชุบขึ้นมา กิเลสมันเต็ม เอากิเลสไปชุบมันก็ชุบแต่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันติดแต่เปลือกมา มันไม่เป็นความจริง
แต่ถ้าเราทำของเรานะ มดจะกินปลา มดจะกินปลานี่มันต้องมีความเพียร มีความวิริยะ มีความอุตสาหะ ถ้ามีความวิริยะ มีความอุตสาหะ เราต้องมีสติปัญญาด้วย ถ้ามีสติปัญญา มันจะควบคุมการกระทำของเราให้มันถูกต้องชอบธรรม เราลงทุนลงแรงนะ เราประพฤติปฏิบัติขึ้นมานี่เราเสียเวลาไหม
เขานะ ทางวิชาชีพเขาคิดค่าเวลาเลยล่ะ ถ้าพูดถึงผู้ชำนาญการ เขาบวกค่าเวลาของเขา ทำงานนี่เขาบวกเป็น ๒ เท่า ๓ เท่า นี่เวลาเป็นเงินเป็นทอง แล้วเวลาเรามาปฏิบัติ เราเสียเวลาเราไหม? มันก็เสียเวลาทั้งนั้นน่ะ แต่เราเสียเวลาขึ้นมาเพื่อมีการฝึกฝนใจให้ใจมันเป็นจริงขึ้นมา ถ้ามันเป็นจริงขึ้นมา เราทำของเราขึ้นมา ถ้าทำแล้วมันเป็นความจริง เราถึงภูมิใจของเรา ว่าจิตใจของเรา เห็นไหม เราเกิดเป็นชาวพุทธพบพระพุทธศาสนาแล้วไม่เสียชาติเกิด ไม่เสียชาติเกิดเพราะเราเกิดมาแล้วเราได้บวชพระ บวชมาเป็นสมมุติสงฆ์ แล้วเราได้บวชใจ การกระทำนี้คือการบวชหัวใจของเรา บวชปฏิสนธิวิญญาณ
ปฏิสนธิวิญญาณนี้มาเกิดในไข่ ในน้ำครำ ในครรภ์ ในโอปปาติกะ แล้วปฏิสนธิวิญญาณมันมาเกิดเป็นมนุษย์ เกิดมาเป็นเรา เราเกิดในครรภ์ มาเกิดเป็นเรา นี่เกิดในครรภ์เป็นเรา เราได้รับการเลี้ยงดูมาจากพ่อจากแม่ เราได้มีการศึกษามาจากครูบาอาจารย์ เราได้มีหมู่คณะทำหน้าที่การงานของเรามา ทางโลกๆ นี่เราได้สัมผัส เราได้ประสบมาทั้งนั้นเลย แล้วเราเชื่อในพุทธศาสนา เราถึงได้ออกมาบวชเป็นพระเป็นเจ้ากันเพื่อมาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา
เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ถ้ามีสติมีสมาธิขึ้นมา พอมีสติมีสมาธิ เพราะมีสติมีสมาธิมันถึงเกิดปัญญา ปัญญาที่มันเกิดเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมขึ้นมา มันพิจารณาของมัน แยกแยะของมัน นี่ปัญญาอย่างนี้เกิดขึ้นมามันถึงเป็นผลประโยชน์ของเราไง เราเกิดเป็นชาวพุทธ เราไม่เสียชาติเกิด เพราะจิตใจเราได้สัมผัสไง ถ้าจิตใจเราได้สัมผัส ได้สัมผัสอะไร
ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ ถ้าเราไม่มีมรรค ๘ โสดาปัตติมรรค เราจะเป็นโสดาปัตติผลได้อย่างไร ถ้าเราไม่มีสกิทาคามิมรรค เราจะเป็นสกิทาคามิผลได้อย่างไร แล้วถ้าเราไม่มีอนาคามิมรรค เราจะเป็นอนาคามิผลได้อย่างไร ถ้าเราไม่มีอรหัตตมรรค จะเป็นอรหัตตผลได้อย่างไร มรรค ๔ ผล ๔ ก็นิพพาน ๑ แล้วนิพพาน ๑ มันอยู่ที่ไหนล่ะ
มันเป็นอกาลิโกไง ไม่มีกาล ไม่มีเวลา เรียกร้องสัตว์ทั้งหลายมาดูธรรม มาดูธรรมในหัวใจดวงนี้ ถ้าหัวใจดวงนี้มันเป็นธรรมขึ้นมา มาดูธรรมในหัวใจของเรา เราไม่เสียชาติเกิดนะ เราไม่เสียชาติเกิด เพราะเรามีสติเรามีปัญญาของเรา อย่าน้อยเนื้อต่ำใจ อย่าโหยหาตามที่กิเลสมันหลอก กิเลสมันหลอกนะ สิ่งนั้นดีกว่าๆ สถานะอย่างอื่นดีกว่านักปฏิบัติทั้งหมด เวลามันทุกข์มันยากขึ้นมานะ สถานะอย่างอื่นดีหมดเลย มันต้องการให้เราพ้นจากสถานะนี้ไปก็จบแล้ว กิเลสมันหลอกเท่านี้ มันหลอก เห็นไหม
ดูสิ ครูบาอาจารย์ของเราเดินอยู่ในป่า เวลาเขามีการละเล่นกัน เขาผ่านไป เขาร้องรำทำเพลงไป มันยังนึกน้อยใจเลย ทำไมเราทุกข์ยากขนาดนี้ ทำไมเขาอยู่ทางโลกกันเขาถึงมีความสุข แล้วมีความสุขจริงหรือเปล่า นี่ถามทางโลกเขา มีความสุขจริงหรือเปล่า
มันอยู่กันไปโดยการยอมจำนนว่าเราเกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดเป็นมนุษย์มันรักชีวิตทั้งนั้นน่ะ มันก็คิดว่าสิ่งนี้เป็นสุขๆ แล้วมันสุข เห็นไหม มันเหยื่อทั้งนั้น ดูสิ เวลางับไปน่ะ เบ็ดมันเกี่ยวปากทั้งนั้น จะทำสิ่งใดก็แล้วแต่ มีเวรมีกรรมหมด กรรมมันมีทั้งนั้นน่ะ กรรมคือการกระทำ ถ้าทำสิ่งใดมันก็มีผลทั้งนั้น ถ้ามันยิ่งมีกิเลส กิเลสตัณหาความทะยานอยากมันยิ่งปิดหูปิดตา มันทำสิ่งใดไปนี่มันกินเหยื่อๆ เบ็ดมันเกี่ยวปากมันหมดน่ะ แล้วสิ่งนั้นจะเป็นความสุขได้อย่างใด
เราเห็นภัยในวัฏสงสาร เราวางสิ่งนั้นแล้วเราจะประพฤติปฏิบัติของเรา แต่เวลากิเลสมันหลอกไง สถานะอื่นๆ ดีกว่าสถานะเราทั้งนั้น มันต้องการให้เราเคลื่อนนี้ออกไป เห็นไหม เท่านี้เอง กิเลสมันหลอกเท่านี้เองนะ แต่เวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราจะเอาจริงกับมัน เราจะฆ่ามัน นี่ปลากินหมด นี่มันหลอกเท่านี้ ไปหมดเลย เพียงแต่เลื่อนจากสถานะนี้ไปก็จบแล้ว
แต่ถ้าเราจะให้มันมดกินปลา เรามีปัญญาของเรา เราใช้ปัญญาแยกแยะของเรา ถ้าเขามีความสุขกันจริง โลกนี้เขาจะไม่เดือดร้อนกันขนาดนั้น โลกนี้ที่เดือดร้อนแข่งขันกันอยู่นี้ แข่งขันกันเพื่อประโยชน์ของโลก เห็นไหม ยังต้องแข่งขันกันขนาดนั้น
ในปัจจุบันนี้ กิเลสกับธรรมในหัวใจของเราให้มันแข่งขันกัน สิ่งที่มันหลอกเรานี่มันเป็นกิเลส ถ้าเรามีสติปัญญารู้เท่านี้นะ มันอายแล้ว มันอาย แต่ถ้ามันไม่มีสติปัญญา พอมันคิดขึ้นมานะ ขอให้เราเปลี่ยนสถานนะนี้ มันจะคิดออกแล้วนะ มันจะไปของมัน มันจะไปตามเขา
ถ้ามีสติปัญญา เพราะมีสติ มีสมาธิ มันถึงมีเหตุมีผล แล้วถ้าจิตมันสงบแล้วพิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรม พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า อย่าประมาทเลินเล่อ กิเลสมันลึกซึ้งนัก มันใช้ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเป็นเครื่องมือหลอกเรานะ
เวลาเราศึกษาธรรมและวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราศึกษาใช่ไหม กิเลสมันนอนหลับให้เราศึกษาคนเดียวเหรอ เวลาเราศึกษาขึ้นมา อวิชชามันก็อยู่กับเรานี่แหละ ฉะนั้น เวลาเราปฏิบัติไป ปลามันจะกินมดน่ะ มันก็บอกว่าอย่างนี้เป็นธรรมๆ อย่างนี้ใช้ได้หมดเลยๆ
แต่ถ้ามันเป็นจริงนะ เรามีสติมีปัญญา มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา เราพิจารณาของเราซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ ถ้ามันยังไม่มีเหตุผล ขณะจิตที่มันยังไม่ตอบสนอง เห็นไหม อัตตกิลมถานุโยค กามสุขัลลิกานุโยค
อัตตกิลมถานุโยค ประพฤติปฏิบัติขึ้นไปแล้ว เราพิจารณาแล้วจิตมันไม่ลง เราทำสิ่งใดก็แล้วแต่ จิตมันดื้อ เราทำอย่างไรจิตมันไม่ลง นี่อัตตกิลมถานุโยค
เวลากามสุขัลลิกานุโยค เห็นไหม ทำสิ่งใดมันลงหมดเลย ทำสิ่งใดนะ จะนั่งก็รวม จะทำสมาธิมันก็ลงสมาธิ จะใช้ปัญญาขึ้นมามันก็ปล่อยวางหมดเลย นี่มันปล่อยวาง มันว่างหมด นี่กามสุขัลลิกานุโยค มันเป็นความสุข
มันเป็นแง่บวกแง่ลบ ถ้าลบนะ ทำสิ่งใด อัตตกิลมถานุโยค ลบไปหมดเลย ทำสิ่งใดก็ไม่ได้ผล ทำสิ่งใดก็อึดอัดขัดข้องไปหมดเลย นี่อัตตกิลมถานุโยค
กามสุขัลลิกานุโยค ทำสิ่งใดประสบความสำเร็จไปหมดเลย ประสบความสำเร็จทั้งนั้น ดีไปหมดเลย แล้วดีอะไรล่ะ มันดีตรงไหน ถ้ามันดีมันต้องบอกสิว่าดีอย่างไร อ้าว! ความดี บอกไม่ได้หรือว่าอะไรเป็นความดี อ้าว! ความดีมันดีตรงไหนล่ะ ถ้ามันไม่บอกความดี เดี๋ยวมันก็ถอยกรูดๆ ไง ถ้าไม่บอกความดี ปลามันจะกินมดไง นี่ถ้าไม่บอก ความดีเป็นอย่างไรล่ะ ความดีแล้วมันสิ้นสุดตรงไหน...นี่กามสุขัลลิกานุโยค
ถ้ามันพิจารณาแล้ว เราพิจารณาซ้ำ ถ้าพิจารณา มันพิจารณาไปไม่ได้ พิจารณาของเรา ใช้ปัญญา มีสติมีปัญญา เราจับต้องพิจารณา นี่มันไปไม่ได้ ถ้าไปไม่ได้ อัตตกิลมถานุโยค ถ้ามีสติปัญญา มันพิจารณาแล้วไปของมัน มีสติมีปัญญา มีการกระทำไง ถ้ามีการกระทำแล้ว แต่การกระทำนั้นมันไม่มัชฌิมาปฏิปทา ถ้าการกระทำนั้นมันไม่สมุจเฉทปหาน การกระทำนั้นมันไม่รวมลงสู่มัชฌิมาปฏิปทา นี่ถ้ามรรคไม่สามัคคี มันก็แยกของมันอย่างนี้ เพราะมันรวมลงไม่ได้ เพราะมันไม่สามัคคี มันรวมลงไม่ได้เพราะว่าไม่สมดุล เพราะมันไม่ชอบธรรม
ถ้ามันชอบธรรม ชอบธรรมอย่างไร
ไอ้นี่มันชอบกิเลสไง ขณะปฏิบัติขึ้นมา นี่มดจะกินปลาแล้วนะ พอมดจะกินปลา มันโดนสัตว์นักล่ามันลากนั้นไป อดเลย อ้าว! มันลากไปแล้ว มดไม่ทันแล้ว นี่นกมันมามันคาบไปแล้ว มันคาบปลาไปกินก่อน นกคาบไป แล้วมดล่ะ
เวลาเขากินเรานะ เวลากิเลสมันทำให้เราเจ็บช้ำน้ำใจ มันทำเราตลอดเวลาเลย แต่เวลาเราจะพิจารณามันบ้าง เวลาเราจะใช้ปัญญาของเราบ้าง เราจะพิจารณามันบ้าง ทำลายมันบ้าง นักล่ามันลากไปเลย นี่พิจารณาไปแล้วมันวาง มันดีไปหมดทุกอย่างเลย มันพิจารณาแล้วก็ดีทุกอย่าง มันปล่อยหมดเลย ปล่อยอะไรล่ะ ปล่อยอะไร
แต่ถ้าเราไม่ประมาทเลินเล่อ เราซ้ำแล้วซ้ำเล่า พิจารณาซ้ำ การพิจารณาซ้ำนะ ดูสิ ทำงาน คนที่ชำนาญการ ชำนาญสิ่งใดก็คล่องแคล่วหมดเลย แต่คล่องแคล่วแล้วมันจบไหม คล่องแคล่วแล้วมันเป็นผลไหม งานทำเสร็จแล้วใช่ไหม เดี๋ยวก็ทำอีกไง หน้าที่การงานทำจบแล้ว แต่งานมันมาจ่อรออยู่แล้ว งานใหม่ เพราะมันมีไง
เห็นไหม สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นต้องดับเป็นธรรมดา แล้วดับแล้วทำไมเกิดอีกล่ะ? ก็มันยังมีเชื้ออยู่ ในเมื่อมันมีเชื้ออยู่ มันมีกิเลสอยู่มันก็เกิด ทำอย่างไรมันก็เกิด ดูสิ เราถากหญ้าขึ้นไปแล้ว ฝนมามันก็เกิด เวลาถากหญ้าเสร็จ เวลาฝนมามันแฉะๆ หญ้ามันก็งอกแล้ว
นี่ก็เหมือนกัน พอมันปล่อยๆๆ ปล่อยอย่างไร ถ้ามันปล่อย มันปล่อยอย่างไร มันปล่อยแล้วมันได้ประโยชน์อะไรขึ้นมา สิ่งที่มันปล่อยไปแล้ว เห็นไหม กามสุขัลลิกานุโยค มันไม่สมดุล เวลาปฏิบัติไม่ลง พอพิจารณาไปแล้วมันไม่ได้นะ พิจารณานี่มันคัดค้าน มันโต้แย้งไปหมดเลย ทุกข์ยากไปหมดเลย เห็นไหม อัตตกิลมถานุโยค นี่เห็นชัดๆ เวลามันพิจารณาแล้วมันลง มันปล่อยหมดเลย อะไรมันก็ปล่อย ปล่อยแล้วทำอย่างไรล่ะ นี่ไง กามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค
แล้วมัชฌิมาปฏิปทาล่ะ แล้วมรรคสามัคคีล่ะ
ถ้าเราทำถึงที่สุดมันไม่ได้ ถ้าเราทำถึงเป้าหมายไม่ได้ เห็นไหม มดไม่ได้กินปลานะ เวลาปลากินมด มันเป็นเรื่องโลกๆ เป็นเรื่องที่ประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ใครๆ ก็รู้ได้ ถ้ารู้ได้ขึ้นมาแล้วมันเป็นเรื่องโลก แต่ถ้าเป็นคนที่ปฏิบัติโดยที่ไม่มีความมั่นคง ไม่มีความตั้งใจว่าเราปฏิบัติเพื่อเรา เราปฏิบัติเพื่อการชำระกิเลส ถ้ามันไม่มั่นคง มันก็เชื่อตามไปนั้น พอเชื่อตามไปอย่างนั้นก็เอาสิ่งนั้นมาเป็นสมบัติของตน ก็สมบัติโลก ไม่ใช่สมบัติธรรม ถ้าเอาสิ่งนั้นเป็นสมบัติของตน มันก็ได้แค่สัญญาไป มันก็ได้ทองชุบไป
ในเมื่อเกิดมาเป็นชาวพุทธพบพระพุทธศาสนา ศึกษาธรรมะขึ้นมาแล้วเอาจิตใจไปชุบไว้ เพราะมันเป็นความจริงขึ้นมา ถ้ามันพิจารณาอย่างนั้นมันก็ได้ประโยชน์แค่นั้น แต่ถ้าเราเอาความจริงของเราเข้ามา เราจะไม่ใช่ทองชุบ เราจะปฏิบัติของเราขึ้นมา มันต้องมีเหตุมีผลตามความเป็นจริงสิ เพราะมีสติมีสมาธิใช่ไหม เพราะมีสติ สมาธิมันก็เป็นสมาธิ ถ้าขาดสติ สมาธิก็เป็นภวังค์ สมาธิก็เป็นมิจฉา ถ้ามีสติ สมาธิมันถึงเป็นสมาธิ เพราะมีสติมีสมาธิ มันถึงพิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต มันถึงเกิดปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าศีล สมาธิ ปัญญา เกิดขึ้นมา มันใช้สติปัญญาด้วยความรอบคอบ
มันจะปล่อยวางขนาดไหน มันปล่อยวางโดยที่ไม่บอกอะไร แล้วไม่บอกอะไร เห็นไหม ดูสิ ดูครอบครัวของเรา ใครจะไปไหนมาไหนถ้าไม่บอกกันเราวิตกกังวลไหม เราปิดประตูบ้านไม่ได้นะ ออกจากบ้านไปกลับมาไม่ครบ แล้วจะปิดประตูอย่างไร นี่ก็ค่ำมืดดึกดื่นแล้วก็ยังไม่มีใครกลับมา นี่ก็เหมือนกัน บอกว่าปล่อย ปล่อยอะไร จิตใต้สำนึกมันบอก แล้วอะไร กิเลสมันหัวเราะเยาะนะ
นี่เวลาปฏิบัติเป็นโลก ปลากินมด ปฏิบัติเป็นธรรมขึ้นมาก็มดกินปลา ถ้ามดกินปลา แล้วมดมันกินปลาแล้วมันไม่เอาปลาไปเก็บ มันไม่รวมลงเหรอ ถ้ามันไม่รวมลง ไม่สรุปเหรอ ไม่จบเหรอ ถ้ามันจบล่ะ ดูสิ ชีวิตของปลาก็ชีวิตหนึ่ง ชีวิตของนกก็ชีวิตหนึ่ง แล้วมันจะจบกันอย่างไรล่ะ มันจบที่ไหน
แต่ถ้าเป็นธรรม ถ้าเวลาพิจารณาเข้ามา เวลามรรคสามัคคี พิจารณาซ้ำแล้วมันปล่อย มันปล่อยมันไม่มีเหตุมีผลหรอก มันปล่อย ปล่อย แต่ถ้าจิตใจอ่อนด้อย ปล่อยแล้วมันคิดว่าสิ่งนี้เป็นธรรม แล้วถ้ามันเป็นปลากินมดมันก็ให้ค่าไปเรื่อยๆ สิ่งนั้นเป็นสัญญาทั้งนั้น แต่ถ้ามันเป็นความจริงนะ สัญญาก็เป็นทางผ่าน สัญญาเพราะเราไม่ประพฤติปฏิบัติขึ้นมา มันจะเป็นความจริงขึ้นมาได้อย่างไร
ดูสิ เวลาศึกษาธรรมวินัยของพระพุทธเจ้ามันเป็นสัญญาไหม? ก็เป็นสัญญา เพราะศึกษามาเป็นสัญญา เป็นโลกขึ้นมา จะปฏิบัติขึ้นมาให้เป็นธรรม ถ้าเป็นธรรมขึ้นมา ถ้ามันจะเป็นธรรมความเป็นจริง เห็นไหม ถ้ามดมันกินปลาอยู่แล้ว แต่ถ้ามันยังไม่อิ่มหนำสำราญ ยังไม่เลิก ไม่จบกระบวนการของมัน เราจะต้องทำของเราเต็มที่ ทำซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ พิจารณามันก็ปล่อย มันปล่อยขนาดไหน ถ้าเวลามันสรุปขึ้นมา กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ พิจารณาขันธ์ ๕...ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ แล้วมันเป็นอย่างไรล่ะ
นี่คำว่า ความเป็นจริง มันเป็นความจริงในใจ คนปฏิบัติกับผู้ที่ปฏิบัติ จิตใจที่สูงกว่าจะดึงจิตใจที่ต่ำกว่าขึ้นไป ถ้าจิตใจที่ต่ำกว่า เวลาพูดแล้วมันเปิดกระบวนการทั้งหมดไม่ได้ มันจะขึ้นมาสู่สถานะความเป็นจริงอันนั้น เป็นอกุปปธรรม มันจบไม่ได้ นี่ภาคปฏิบัตินะ
ภาคปฏิบัติที่เรามีครูบาอาจารย์ที่มีอำนาจวาสนาบารมี ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใครก็ศึกษาได้ ในคอมพิวเตอร์มันจำได้หมดเลย แต่ถ้าปฏิบัติขึ้นมาเป็นความจริงขึ้นมาแล้ว ถ้าเป็นความจริงขึ้นมา เป็นความจริงอย่างใด ถ้าเป็นความจริงขึ้นมา นี่ปริยัติ ปฏิบัติ ถ้าปฏิบัติแล้วมันต้องมีข้อเท็จจริงสิ มันต้องมีศีล สมาธิ ปัญญา มันต้องมีการกระทำ
แล้วเวลากระทำขึ้นมา กระทำด้วยโลกๆ กระทำด้วยที่ว่าสติ สมาธิอ่อนแอ มันก็เป็นปลากินมดแล้วเคลิบเคลิ้มกันไป แต่ถ้ามีสติปัญญา อย่างครูบาอาจารย์ของเราพยายามจะเป็นหลักเป็นชัยขึ้นมา ถ้ามดกินปลา มันต้องทำให้ตัณหาความทะยานอยากมันเหือดแห้งไป แล้วมันพิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต สติสมาธินี่น้อมนำให้จิตนี้ฝึกหัดใช้ปัญญาไป นี่มดมันจะกินปลาไปเรื่อยๆ พิจารณาซ้ำๆๆ เข้าไป ซ้ำอยู่นั่นน่ะ ซ้ำ เพราะซ้ำ มันปล่อยแต่ละทีปล่อยแต่ละหนมันมีความสุข ความปลื้มปีติ มีความอิ่มเอม มีความสงบระงับ มีทุกอย่างน่ะ แต่ไม่จบ
แต่ถ้ามันจบนะ เวลามันขาด กระบวนการของมันถ้ามันขาด กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ เวลามันพิจารณาขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ถ้าจบแล้ว ถ้าจบ มันกังวานกลางหัวใจ ไม่ต้องให้มีใครมารับรอง สิ่งที่มีการรับรองเพราะว่าเราเคารพครูบาอาจารย์
พระในสมัยพุทธกาลจะปฏิบัติที่ไหนก็แล้วแต่ ออกพรรษาแล้วจะไปกราบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะพยากรณ์ตามความเป็นจริงอันนั้น ตามความเป็นจริงที่จิตนั้นได้ผลขึ้นมา นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพยากรณ์ตามความเป็นจริง แต่จิตดวงนั้นเป็นจริงขึ้นมาในจิตดวงนั้นก่อน จิตดวงนั้นมีความจริงขึ้นมา เห็นไหม รู้ในใจของตน จำเพาะตน รู้จำเพาะตน เป็นสันทิฏฐิโกกับใจดวงนั้น ถ้าใจดวงนั้นเป็นความจริงขึ้นมามันก็เป็นความจริง แต่ถ้าใจดวงนั้นยังไม่เป็นความจริง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ให้อุบาย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็พยายามส่งเสริม เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนามารื้อสัตว์ขนสัตว์
จะมารื้อสัตว์ขนสัตว์พวกเรานี่ สัตว์ที่ข้อง แต่รื้อในหัวใจ
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต
ถ้าจิตมันรู้มันเห็นธรรมตามเป็นจริง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้มาขนเอาไปแล้ว ขนเอาไปด้วยคุณธรรม ขนเอาไปด้วยมรรคญาณที่มันชำระกิเลสกับใจดวงนั้น มันได้ทำลายกิเลสในใจดวงนั้นเป็นชั้นเป็นตอน มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ เอวัง