ค่าของคน
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๖
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
ตั้งใจฟังธรรม ฟังธรรมนะ มีธรรมะเราถึงรู้จักคุณค่าของตัวเอง
ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน โลกเขาว่ากันอย่างนั้น
ค่าของคน คนเราเกิดมามันมีร่างกายและมีจิตใจ
ค่าของธรรม ถ้าธรรมมี ธรรมะอยู่ในหัวใจ จะเข้าใจถึงว่า ชีวิตของเราคืออะไร ชีวิตของเรา เราเกิดมาเพื่อประโยชน์อะไร
การเกิดมานี้เป็นบุญมหาศาล การเกิดมา เกิดมาต่างๆ จิตนี้ต้องเกิดโดยธรรมชาติของจิต สิ่งที่พิสูจน์สิ่งนี้ได้คือธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงพิสูจน์สิ่งนี้ แล้วใจพิสูจน์สิ่งนี้ จนถึงที่สุดแล้ว ถ้าผู้ที่ปฏิบัติธรรมแบบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม แล้วผู้ที่ปฏิบัติธรรมโดยสาวกผู้ปฏิบัติถึงที่สุดแล้ว นี่หัวใจจะเป็นใหญ่มาก หัวใจ หัวใจสิ่งที่รับรู้ สิ่งที่รับรู้ สิ่งที่ปลดเปลื้องออกจากใจ ปลดเปลื้องกิเลสออกจากใจ แล้วใจนี้จะมีความสุขโดยสมบูรณ์ โดยเป็นเอกเทศ ไม่เกาะเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ของโลกนี้ แต่ในการเกิดของเรา เราต้องเกาะเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ไปโดยธรรมชาติของกรรม ธรรมชาติของกรรม กรรมอยู่ในหัวใจของสัตว์โลก แล้วทำให้สัตว์โลกเกิดมาเป็นมนุษย์
ค่าของคน เพราะเราเห็นว่าเราเกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว เรามีคุณค่ามหาศาลในการเกิดมาเป็นมนุษย์นี้ แล้วเหยียบย่ำนะ ใจมันเหยียบย่ำ มันดูถูกสิ่งต่างๆ ดูถูกสัตว์โลก ดูถูกอย่างสิ่งที่ว่ามันต่ำค่ากว่าเรา เรามีค่าสูงกว่า เรามีอิสรเสรีภาพจะทำตามสิ่งใดก็ได้ แล้วเราก็หลงไปในโลก
สิ่งที่ทำคุณประโยชน์กับโลกเขา ทำงานเพื่อโลก ผู้ที่มีชื่อเสียง ผู้ที่เป็นผู้นำ สร้างประโยชน์ไว้กับโลกนี้มหาศาลเลย แต่เขาก็ต้องตายไป ประโยชน์นี้เป็นประโยชน์ของโลก โลกเป็นอยู่อย่างนี้โดยดั้งเดิม สิ่งนี้มีอยู่โดยธรรมชาติของเขา ต้องเป็นสิ่งนี้ ธรรมชาติสิ่งนี้มีอยู่ แต่เพราะกรรม การขับเคลื่อนไปของกิเลส การขับเคลื่อนไปของกรรม กิเลสในหัวใจทำให้กรรมนี้ขับเคลื่อนไป ทำให้จิตนี้ต้องปฏิสนธิตลอดไป ต้องเกิดเวียนตายเวียนเกิดในวัฏวนนั้น นี่ค่าของคนมีเท่านั้นในความเห็นของโลกเขา
แต่เพราะมีธรรมมาเป็นเครื่องพิสูจน์ ค่าของคน ถึงเกิดมาเรื่องของหัวใจ หัวใจผู้ที่ศรัทธาในศาสนา ศรัทธาในความเป็นไปของชีวิตไง เข้าใจเรื่องของชีวิต สิ่งที่มีชีวิตนี้มีคุณค่ามหาศาลคือความรู้สึกของมนุษย์นั้น สิ่งที่เป็นความรู้สึกของมนุษย์ สุข-ทุกข์ขนาดไหน ความรู้สึกนี้เป็นผู้รับไว้ สิ่งที่รับไว้ รับไว้เพราะจริตนิสัยของตัวเอง ชอบหรือไม่ชอบนั้นอีกส่วนหนึ่ง รับไว้เพราะกรรมที่มันไปทำให้ขับไส ให้เป็นตามธรรมชาติ ตามธรรมชาติของกรรม
กรรมขับไสให้คนเราเกิดไป ทุกข์ๆ ยากๆ มีความสุข ความเจริญ แล้วแต่ชีวิตจะเป็นไปตามประสาของกรรมขับไสไป นั้นคือกรรมขับไสให้มนุษย์เป็นไปตามสภาวะแบบนั้น แล้วถ้าไม่มีธรรม ทุกคนมืดบอด โลกนี้มืดบอดโดยธรรมชาติ ถ้าพระพุทธเจ้าไม่มาตรัสรู้ธรรม ธรรมก็มีอยู่โดยดั้งเดิม ไม่มีใครสามารถจะรู้ได้ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ลึกลับมหัศจรรย์มาก
แร่ธาตุต่างๆ ในโลกเขา เขายังมีเครื่องพิสูจน์นะ แล้วเขาขุดค้นขึ้นมาเพื่อเป็นประโยชน์กับโลกเขา แต่เรื่องของใจเอาอะไรไปขุดค้น ไม่มีเครื่องมือ สิ่งที่จะขุดค้นเรื่องของใจได้ต้องมีเครื่องมือ คือสิ่งที่ว่าเป็นสมาธิ เป็นสมาธิคือความสงบของใจ ต้องมีปัญญา ปัญญาในความใคร่ครวญในสิ่งต่างๆ เข้ามา แต่เราก็ไม่เข้าใจ เราเข้าใจว่าปัญญาของเรานี้ประเสริฐ ปัญญาวิชาชีพนี้ประเสริฐ สิ่งที่เป็นวิชาชีพ สิ่งที่สะสมมานี้เป็นความสะสมของเรื่องของโลกเขา นี่สะสมมาต่างๆ กัน แล้วก็ส่งต่อกันมาตลอด ส่งต่อมาให้ผู้ที่เกิดมาภายหลังเป็นศีลธรรมจริยธรรมส่งต่อกันมา
ศีลธรรมจริยธรรมของโลกเขามันเจริญรุ่งเรืองขนาดไหน มันก็ต้องถึงเวลาแล้วมันก็ต้องอยู่ในกฎของอนิจจัง สิ่งที่เป็นอนิจจังมันก็หมุนไปนะ สิ่งที่ความเป็นไป วัฒนธรรมมีอยู่ในหัวใจ สิ่งต่างๆ มีอยู่ในหัวใจ แต่เรื่องประโยชน์จะเป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์กับโลกเขา มันไม่มีสิ่งที่จะให้เป็นประโยชน์กับเราอยู่แล้ว สิ่งนี้โลกเขา เรื่องของโลกคือสิ่งที่เป็นวัตถุ เป็นสิ่งของที่จะมาทำให้สิ่งนี้เจริญงอกงาม ให้เห็นสภาวะว่า สิ่งที่แสดงออก ใจแสดงออกมา ศีลธรรมวัฒนธรรมถึงแสดงออกมาได้ด้วยสิ่งที่ว่าเป็นประโยชน์กับโลก วัตถุต่างๆ ให้เราเป็นผู้กระทำ สิ่งนั้นถึงแสดงออกมา
แล้วเรื่องของกรรมล่ะ ความสุข ความทุกข์ ความพอใจนั้นน่ะมันก็ขับไสให้เราเป็นไปตามกระแสของโลก ตามกระแสของโลก โลกเป็นไปอย่างนั้น เราก็เพลินไปกับกระแสของโลก คนก็เพลินไป สัตว์เกิดมา สัตว์มันเป็นสัตว์ มันเป็นสัตว์เดรัจฉาน มันไม่มีปัญญาจะใคร่ครวญแบบมนุษย์ มันก็ใช้ชีวิตไปของมัน เราจะเป็นอย่างนั้นไหม เราใช้ชีวิตอย่างนั้นไปมันก็เหมือนกับสัตว์ตัวหนึ่ง เกิดมาแล้วก็ตายไปตามกระแสของโลกเขา แล้วกระแสของโลกเป็นแบบนั้น แล้วเราก็เป็นไปแบบนั้นตลอดไป เป็นอนันตกาล
แต่ปัจจุบันนี้ไม่ใช่ เพราะเรามีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราเกิดมาทัน ธรรมและวินัยเป็นศาสดาของเรา
พระอานนท์ถามไว้แล้วตั้งแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปรินิพพาน ว่า
เมื่อไรจะสุดเขตสุดแดนในการประพฤติปฏิบัติ
อานนท์ เธออย่าถามให้มากไปเลย ถ้าเมื่อไรยังมีคนประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม
เราปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว ธรรมและวินัยนี้จะเป็นศาสดา เป็นเครื่องมือสอน เครื่องมือการขุดคุ้ย เครื่องมือแร่ธาตุต่างๆ เขามีเครื่องมือแสวงหา เขาแสวงหาของเขา เราก็แสวงหาของเรา มันเจ็บปวดนะ เวลาเรานั่งนานๆ ขึ้นมา มันเจ็บปวด มันเมื่อยขบในร่างกายของเรา เพราะว่าอะไร เพราะว่าเราทำ เราทรมาน เราพยายามขุดคุ้ย พยายามค้นคว้าหาตัวเราเอง เราจะค้นคว้าหาตัวเราเอง สิ่งที่ว่าเวลาเครื่องมือทางโลกเขา เวลาขุดไป พวกแร่ธาตุต่างๆ มันกลบเกลื่อนไปด้วยสิ่งที่เป็นดิน เป็นหินต่างๆ กลบเกลื่อนไว้
อันนี้ก็เหมือนกัน เราจะขุดคุ้ยเข้ามาในร่างกายของเรา สิ่งที่ว่าเป็นเวทนา สิ่งที่เป็นความต่อต้านความรู้สึก ต่อต้าน เราจะเข้าถึงความรู้สึกของเรา เราจะเข้าถึงหัวใจของเรา สิ่งที่เป็นหัวใจ เราจะขุดคุ้ยขึ้นไปหาหัวใจของเรา นี้เป็นเครื่องมือ เครื่องนี้เอามาจากไหน เครื่องมือนี้เอามาจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบัญญัติไว้
สมมุติบัญญัติ โลกนี้สมมุติกัน เราอยู่ในโลกสมมุติ สมมุติสิ่งต่างๆ ว่าสิ่งใดสื่อภาษาตามแต่ท้องถิ่นเขาจะสื่อว่าสิ่งใด แต่บัญญัติขึ้นมาแล้วชาวพุทธทั่วโลกจะใช้บัญญัติเหมือนกัน สวดมนต์คำบาลีเหมือนกัน ออกสิ่งต่างๆ เสียงเหมือนกัน แล้วแต่มันไปเข้าสถานที่ใดมันก็แปรเข้าภาษาท้องถิ่น สิ่งที่เป็นท้องถิ่นมันก็เพี้ยนไปตามภาษาท้องถิ่น
นี้ก็เหมือนกัน มันเป็นภาษาสากลในบัญญัติ แต่เป็นภาษาสากลของใจ ใจนี้เป็นสากล สิ่งต่างๆ ภาษาใจนี้เป็นภาษาสากล ถ้าเราค้นคว้าเข้าไปในหัวใจ เราจะเข้าไปหาหัวใจของเรา เราใช้เครื่องมือค้นคว้า ใช้เครื่องมือ ใช้ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่มันก็ไม่สมประโยชน์ของเรา ถ้ามันสมประโยชน์ของเรา มันจะเป็นธรรมส่วนบุคคล
สิ่งที่เป็นธรรมส่วนบุคคล ธรรมเป็นสาธารณะ สิ่งที่เป็นสาธารณะคือธรรมที่มีอยู่โดยดั้งเดิมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา นี่มันมีอยู่โดยดั้งเดิม คือมันเป็นสัจจะความจริง อริยสัจ สิ่งที่เป็นอริยสัจมันมีอยู่โดยดั้งเดิม
แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีความสุขมากกว่าเรานะ แม้แต่เกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะก็เป็นถึงกษัตริย์ เป็นกษัตริย์นี่เครื่องบำรุงความสุขในโลกมันต้องมีประโยชน์ มีความเพียบพร้อมมากกว่าพวกเราทั้งนั้นเลย แล้วไม่มีศาสนาเป็นเครื่องเปรียบเทียบให้ออกด้วย แต่เพราะบารมี เพราะบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างสมมา ต้องหาโพธิญาณ สิ่งที่เป็นโพธิ ความรู้ ปัญญาความรู้ ญาณความรู้ในหัวใจ พ้นออกไปจากกิเลสได้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าค้นคว้าออกไปเพราะมีบารมี
แต่ของเราไม่มี ไม่ได้เป็นอย่างนั้น เราเป็นสาวกะ-สาวกผู้ได้ยินได้ฟัง ได้ยินได้ฟังแล้วมันก็น่าสลดสังเวช ศาสนานี้เจริญรุ่งเรืองมาก ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสามารถรื้อสัตว์ขนสัตว์พ้นออกจากกิเลสได้ทั้งหมด แล้วมีใครสนใจปฏิบัติแค่ไหนล่ะ ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ชาวพุทธมาเป็นพันๆ ล้าน ในโลกรวมทั้งหมดมันมีเท่าไร แล้วมีความสนใจในการประพฤติปฏิบัติ แล้วประพฤติปฏิบัติแล้วจะค้นคว้าได้ผล สมกับสิ่งที่ว่าเครื่องมือมีอยู่ แล้วเราค้นคว้าในร่างกายของเราเจอผลประโยชน์ของเราขึ้นมาเป็นธรรมะส่วนบุคคล
ส่วนบุคคลตรงนี้ไง ตรงที่หัวใจสัมผัสไง ตรงที่เรารู้ไง ถ้าเรารู้ขึ้นมาก็เป็นความเห็นของเรา เป็นความสัมผัสของเรา เป็นปัจจัตตัง ความรู้ของใจ เป็นความสัมผัส สิ่งที่มันเป็นสัมมาสมาธิ สัมผัสความเป็นปัญญา
ปัญญาของโลกียะ นี้เป็นปัญญาให้เราผูกมัด สิ่งที่ว่าเราเป็นปัญญา ปัญญาประพฤติปฏิบัติกันไม่ได้เรื่องนี่เพราะว่าอะไร เพราะว่าค้นหาแร่ธาตุ เข้าใจว่าธาตุดินนั้นไม่ใช่ธาตุทองคำ ธาตุทองคำเป็นธาตุทองคำ แต่ไอ้ดินมันปกคลุมทองคำอยู่ ทองคำมันก็อยู่ในพวกดินส่วนผสมนั้นล่ะ นี่ก็เหมือนกัน ในหัวใจของเรา เราค้นคว้าเข้าไปเป็นโลกียะคือความเห็นของเรา ความเห็นของเรามันก็ไม่เจอโลกุตตระ
สิ่งที่เป็นโลกุตตระ คือความเห็นถูกต้อง ความเห็นถูกต้องคือเราจะต้องสร้างมรรค มันก็เป็นสมมุติสัจจะอันหนึ่ง สมมุติสัจจะ อริยสัจจะเกิดขึ้นมา เรามีความสมมุติสัจจะ สมมุติ สมมุติคือความเห็นของโลก ความเห็นของเรามันเป็นสมมุติ มันเกิดดับ สิ่งที่เป็นเกิดดับ ถ้าเป็น โลกุตตระ มันก็เกิดดับ แต่มันเกิดดับด้วยสภาวธรรม เกิดดับโดยความเป็นจริงของสภาวธรรมสิ่งนั้นที่มันหมุนเวียนเข้าไป หมุนเวียนเข้า ทวนกระแสเข้า ไม่ใช่หมุนออก
สิ่งที่หมุนออกคือ ใจ นี้ ธรรมชาติของใจนี้มันส่งออก สิ่งที่ส่งออกนี้หมุนออกมาข้างนอก สิ่งที่หมุนออกไปข้างนอกมันไปข้างนอกออกไป สิ่งที่ออกไป จนร่างกายนี้ จนความรู้สึกของเรานี้หมดพลังงาน พลังงานนี้ใช้ไปแล้วก็มีความเหนื่อย มีความทุกข์ใจ แบกรับเอาไว้ สิ่งนี้คืออะไร? เดินไปเดินมา เดินวนเวียนในหัวใจ เดินค้นคว้าแล้วจับหลักการไม่ได้ มันก็จะเป็นเรื่องของเรา มันเป็นส่วนบุคคล แต่เป็นความสุขแบบความฟุ้งซ่าน ไม่ใช่เป็นธรรมะส่วนบุคคลโดยตามความเป็นจริง
ถ้าธรรมะส่วนบุคคลโดยตามความเป็นจริง มันจะมีหลักยึดของมัน มีหลักยึด มีทางเดิน มีทางก้าวเดิน นี่ทางอันเอก มรรคอริยสัจจัง ทางอันเอก ทางอันแก้กิเลส มันเกิดจากในหัวใจของเรา เราต้องสร้างสมของเราขึ้นมาเพื่อจะเข้าไปค้นคว้าหาหัวใจของเรา ให้เป็นธรรมส่วนบุคคล เป็นธรรมของเรา ค่าของใจสำคัญตรงนี้
ค่าของคน อยู่ที่ความรู้สึก ค่าของคน ไม่ได้อยู่ที่ร่างกาย
ค่าของคน ร่างกายเกิดขึ้นมาแล้วต้องทิ้งไปแน่นอน คนเราเกิดมานี้ต้องมีความพลัดพรากจากร่างกายกับหัวใจ ต้องพลัดพรากจากกันเรียกว่า ตาย ถึงที่สุดแล้วต้องเป็นสภาวะแบบนั้นแน่นอนเลย ต้องมาถึงเราสักวันหนึ่งข้างหน้า แล้วร่างกายของเราใช้ประโยชน์อะไรได้ ถ้าตายแล้วต้องเผาเพราะมันเหม็น มันเป็นสิ่งที่ว่าเขาเกลียด เขากลัวด้วย ร่างกายของสัตว์เขายังเป็นประโยชน์ของเขา เขาเป็นประโยชน์ร่างกายของเขา เขาออกมาแล้วเป็นอาหารของมนุษย์ได้ แต่ร่างกายของเราจะไม่เป็นประโยชน์กับใครเลย ต้องใช้ไฟเผา ต้องเก็บสะสม ต้องฝังดินไปให้แปรสภาพกลายเป็นดิน ตามแต่ประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่นใดเขาทำกันอย่างนั้น เพราะมันเป็นประเพณี เพื่อจะไม่ให้อุจาดเท่านั้น
แต่ความจริงตั้งแต่หัวใจหลุดออกไปจากร่างกาย ร่างกายนั้นมันก็ค่าเท่านั้น แล้วเป็นสิ่งที่ว่ามีแต่ความพลัดพราก มีแต่ความทุกข์ สิ่งที่เป็นความทุกข์ เราต้องพลัดพรากจากเขา เราก็อาลัยอาวรณ์ เราก็ต้องว้าเหว่ เราต้องไปแล้ว มันเป็นความมืดมนไง เราจะต้องไปไหน เราออกจากบ้านแล้วเราจะต้องไปไหน เราต้องผจญภัยไปอีกแล้วภพชาติหนึ่ง ต้องหมุนเวียนไป แล้วไปเสวยชาติไหนแล้วแต่กรรมจะให้ผล จุติที่ไหนมันก็เป็นที่นั่น นี่วิญญาณปฏิสนธิ ไปจุติที่ไหนก็ลืมชาติเก่าไป เพราะการค้นคว้าของใจไม่ถึงที่สุด
ถ้าการค้นคว้าของใจ ใจค้นคว้าขึ้นมาด้วยเครื่องมือด้วยธรรมและวินัย
ธรรมและวินัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้ ศีล สมาธิ ปัญญา
ศีล เราพยายามทำใจของเราให้ปกติ เรามีความปกติของใจเพื่อจะให้ใจนี้ค้นเข้ามาหาสมาธิได้ ถ้าเกิดสมาธิได้เราก็จะเกิดหลักของใจ หลักของใจตัวนี้เป็นตัวแบ่งระหว่างความที่ว่าเป็นโลกกับเป็นธรรม ถ้าเป็นโลกมันก็เป็นโลกไป เราจะไม่เป็นธรรมขึ้นมา แต่มันก็ต้องเป็นโลกไปก่อน
ตัวแบ่งหมายถึงเราเดินย้อนกลับเข้าไปในกระแสของใจ ย้อนกลับเข้าไปจนกว่ามันจะเป็นสัมมาสมาธิ สิ่งที่เป็นสัมมาสมาธิยกขึ้นวิปัสสนาให้ได้ ยกขึ้นวิปัสสนาได้ จับต้องสิ่งนี้ จับต้องสติปัฏฐาน ๔ ถ้าสติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม จับต้องสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ต้องจับต้องได้
แม้แต่นั่งธรรมดาอยู่นี้มันก็เจ็บปวดอยู่แล้ว นั่นน่ะ เวทนาเกิดอยู่ เราจะสู้กับเวทนา บางฝ่าย บางปฏิบัติ ที่ผู้ปฏิบัติบางคนเข้าใจผิดว่าต้องผ่านเวทนาก่อน เวทนา นี้เป็นสิ่งที่ต้องเผชิญหน้าอยู่แล้ว สิ่งที่เผชิญหน้านี่เวลามันเจ็บขึ้นมา เรามีสติ ถ้าเราตั้งใจมีสติอยู่ พิจารณาสิ่งนั้นว่ามันเกิดขึ้นมาจากอะไร เรานั่งอยู่ นั่งอยู่เป็นชั่วโมงๆ ถ้าเราเพลินกับสิ่งอื่นไป สิ่งนี้จะไม่เกิด เพราะใจมันไม่ไปยุ่งเลย แต่ถ้าเรานั่งอยู่ บางวันมันจะเกิดสิ่งนี้ขึ้นมา สิ่งที่เป็นเวทนานี้มันจะเกิดขึ้นมาเพราะอะไร เพราะใจไปจับสิ่งนั้น ใจไปจับสิ่งนั้น ถ้าเรากำหนดพุทโธ มันก็จะปล่อยวางสิ่งนั้นเข้ามา สิ่งนั้นเป็นก็เป็นสักแต่ว่าเวทนา มันมีอยู่โดยธรรมชาติของมัน ในเมื่อเลือดลมมันต้องเดินตามกระแสของเขา แล้วเราไปปิดกั้นไม่ให้มีความสะดวก มันต้องมีความขัดข้องเรื่องของธาตุขันธ์ โดยธรรมชาติของเขา
แต่ถ้าใจมันเพลินขึ้นไป ผู้ที่ว่าเขาเพลินในการละเล่นของเขา เขาจะอยู่อย่างนั้นได้เป็นวันเป็นคืน เขาก็เพลินของเขา นั่นน่ะ ใจมันไม่มายุ่ง ใจเท่านั้นเลย ค่าของใจ แต่มันเข้าใจผิด ค่าของใจเข้าใจผิด มันก็ทำลายให้ตัวเองฟุ้งซ่าน ให้ตัวเองเดือดร้อน แล้วเดือดร้อนกับความเวทนานั้นไง แล้วพยายามหาทางออกก็หาทางออกไม่ได้ เพราะทำไม่เป็น สิ่งที่ทำไม่เป็นมันก็ไม่สมควรแก่ธรรม
ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ธรรมจะเกิดกับใจดวงนั้น
ใจดวงนั้นจะเข้าใจสภาวะนี่เป็นปัจจัตตังเข้ามา ปล่อยวางเวทนาเข้ามา ถ้ามันพิจารณาเวทนาเข้าใจเป็นตามความเป็นจริง เวทนาสักแต่ว่าเวทนา มันเกิดโดยสภาวะของมันอยู่แล้ว ขันธ์นี้มันเป็นขันธ์โดยธรรมชาติ จิตมันเป็นจิต มันเกี่ยวพันกันเพราะความหลงเท่านั้น เพราะความหลง ความไม่เข้าใจ ถึงเกี่ยวพันสิ่งนั้นเข้าไป แล้วยึดว่าเป็นเรา
สิ่งที่ยึดว่าเป็นเรานี้เป็นความทุกข์เกิดขึ้นทันที เป็นเราหรือมันไม่เป็นเรา ความจริงสิ่งที่เป็นวัตถุข้างนอกนี้มันยังไม่เป็นเราเลย มันยังแปรสภาพของมันโดยธรรมชาติของมัน นี้อารมณ์ที่เกิดขึ้น เกิด-ดับ เกิด-ดับ อารมณ์ที่เกิดขึ้นกับเราเดี๋ยวนี้นี่มันจะเป็นเราไปได้อย่างไร แต่มันก็ยึดโดยธรรมชาติ สมมุติสัจจะเกิดดับในหัวใจนี้มันก็ยึดของมัน ยึดไปสิ่งที่ว่ามันสมมุติเกิดขึ้นมาเป็นเรา เป็นเรา เป็นเรา เราก็เจ็บปวด
ถ้าไม่เป็นเรา มันก็ไม่เจ็บปวด ถ้าไม่เป็นเรามันก็สักแต่ว่า ต่างคนต่างอยู่ ไม่ใช่เป็นเรา แต่ไม่ใช่เป็นเรามันต้องมีปัญญาเข้าไปใคร่ครวญ นี่ปัญญาฝึกฝนจะเกิดขึ้นจากตรงนี้ ปัญญาที่จะเป็นประโยชน์กับเรา ปัญญาในการใคร่ครวญ ปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วว่า ปัญญาคือการรอบรู้ในกองสังขาร สิ่งที่เป็นจากสังขารปรุง สังขารแต่ง สิ่งนี้เป็นการปรุงแต่งของใจ ใจปรุงแต่งโดยธรรมชาติของมัน
เพราะเราหลงใช่ไหม พอเราหลง เราว่าสิ่งใดถ้าพอใจเรา สิ่งใดที่เป็นสมประโยชน์เรา สิ่งนั้นจะเป็นของของเรา แล้วเราจะพึ่งพาสิ่งนั้นได้ ถ้าสิ่งใดไม่เป็นประโยชน์กับเรา ไม่สมควรแก่เรา เราไม่พอใจ เราจะผลักไส นี่ตัณหา ตัณหาความทะยานอยาก อยากให้เป็นสมความปรารถนา กับปฏิเสธสิ่งที่ว่าเราไม่พอใจ ปฏิเสธสิ่งใดก็แล้วแต่ มันจะไม่สมความเป็นจริงที่เราปฏิเสธ มันก็เกิดดับโดยธรรมชาติของมัน สิ่งนี้เป็นสมมุติแล้วเรายึดสิ่งนี้ไม่ได้เลย
สิ่งนี้ทำให้ใจฟุ้งซ่าน มันจะฟุ้งซ่านไปตามความเห็นของความหลงของใจ ใจหลงสิ่งนี้อยู่ แล้วก็ตะครุบ ตะครุบ ตะครุบมันอยู่โดยธรรมชาติ ตะครุบแล้วก็ไม่สมประโยชน์ ไม่สมประโยชน์ ไม่สมประโยชน์ ตั้งแต่ตัวมันเองก็ไม่เป็นตามความเป็นจริง
ในการประพฤติปฏิบัติจะให้ได้ผล ให้ได้ผลงานของเรา มันก็ไม่เป็นตามความเป็นจริง สิ่งที่ไม่เป็นตามความเป็นจริง ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม อันนี้มันไม่สมควรแก่ธรรม
สมควรแก่ความต้องการ ความทะยานอยากของใจ ใจมันทะยานอยากไป เพราะความหลงนี้คือการประพฤติปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นธรรม แล้วมันจะให้ผลเป็นธรรม มันจะเป็นธรรมไปไม่ได้เลย มันขัดข้องไปกับใจ แล้วเราก็ต้องลองผิดลองถูกไง
ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติจะมีความถูก ประพฤติปฏิบัติถูกขึ้นมา มันก็จะเป็นผลสมความตั้งใจ เช่น เวลาจิตมันลงโดยธรรมชาติ โดยสภาวธรรม สิ่งที่เป็นสภาวธรรมมันต้องเป็นไปตามความสมควรแก่เขา เหตุกับผลลงตัวกันแล้วมันจะปล่อยวาง แล้วจะพบสภาวะใจกระทบต่างๆ กระทบกับอารมณ์ เวลามันว่าง มันปล่อยวาง มันเวิ้งว้างเข้าไป มันจะมีความแปลกประหลาดมหัศจรรย์ แล้วมันเกิดได้ชั่วคราวๆ เพราะเราเป็นคนใหม่ ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติใหม่มันจะทรงสิ่งนี้ไว้ไม่ได้ เพราะภาวะของเด็ก สิ่งที่เด็ก เด็กเราไปปล่อยไว้ที่ไหนก็แล้วแต่ จะกลับบ้านไม่ถูกหรอก แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่ เขาศึกษาแผนที่ เขาเคยเดินสิ่งนั้นมา เขาจะทำถูก
นี้ก็เหมือนกัน เราต้องพยายามให้ใจสงบบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้าด้วยความตั้งสติสัมปชัญญะ สติ สติคือความระลึกรู้อยู่ สติไม่ใช่จิต สติเกิดจากจิต เวลาระลึกรู้ขึ้นมา เราระลึกรู้ ระลึกสิ่งใดขึ้นมามันจะมีสติสมบูรณ์ แล้วเดี๋ยวมันก็จะจางไป จางไป สติเกิดขึ้นมาจากใจ ระลึกตลอด นี่สติระลึกรู้อยู่ แล้วใคร่ครวญดูเหตุ ดูสร้างเหตุว่า เราวางอารมณ์อย่างใด วางอารมณ์อย่างใดแล้วจิตมันสงบเข้ามา นี่พยายามฝึกฝนตรงนี้
หน้าที่ของเราคือสร้างเหตุ เหตุแล้วมันจะเป็นผลขึ้นมา
มันจะสงบเข้ามา มันจะปล่อยวางเข้ามา แล้วเรารักษา เราต้องตั้งสิ่งนี้ให้ได้ ถ้าเราตั้งสิ่งนี้ได้ เราทรงใจของเราขึ้นมาได้ ใจของเราขึ้นมาจะตั้งมั่น ตั้งมั่น เพราะเราสร้างเหตุแล้วมันเข้าสงบบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า จนกว่าใจตั้งมั่น นี่ใจจะมั่นคงอย่างนี้ สังขารจะหลอกเราไม่ได้ อายตนะทั้ง ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นเครื่องต่ออารมณ์เข้ามา เราเข้าใจ สติมันทันแล้ว เวลาสิ่งใดจะเกิดขึ้น ถ้ามันกระทบเราจะรู้ทันก่อน อารมณ์จะเกิดขึ้นมา สิ่งที่จะคิดขึ้นมาเรายับยั้งได้หมดเลย นี้คือสัมมาสมาธิ
ผู้ที่มีสัมมาสมาธิคือใจตั้งมั่นนี้ เข้าใจ รักษาอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ด้วยอยู่ในอำนาจของเรา เราพยายามทำ พยายามฝึกฝนของเราเข้ามา จะทำให้ได้ง่ายเข้า ง่ายเข้า แต่เริ่มต้นมันจะลำบากไปก่อน สิ่งที่ลำบากเพราะเราล้มลุกคลุกคลานไง เด็ก คำว่าเด็ก เด็กฝึกเดิน เด็กเกิดมาแล้วต้องหัดให้เดิน กว่าเขาจะเดินได้ของเขา เขาก็ต้องล้มลุกคลุกคลาน เขาต้องหกล้มโดยธรรมชาติ ธรรมชาติของการฝึกฝนมันต้องมีความผิดพลาด
ธรรมชาติของใจ เราจะฝึกใจของเราให้เป็นผู้ใหญ่ขึ้นมา จากเดิมเป็นเด็ก ไปอยู่ที่ไหนก็หลง ติดสิ่งใด เวลาสมาธิขึ้นมา เห็นสิ่งต่างๆ มันจะติดสิ่งนั้น สภาวะสิ่งนั้นจะทำให้ติด ขณะจิตเวลาลงสงบ จะลงสงบขึ้นมา มันจะลงจากตกจากที่สูงลงไป วูบลงไป เรายังตกใจเลย นี่ใจของเราเป็นเด็ก เพราะไม่เคยเจอสภาวะแบบนั้น แต่เราฝึกฝนจนชำนาญขึ้นมาแล้ว สภาวะแบบนั้นเหมือนใจเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมา มันจะเข้าใจว่านี้คือจิตจะเข้าสมาธิ จิตจะเข้าไปพักในฐีติจิตจิต ในจิตของเรา เราต้องประคองสติเข้าไปเฉยๆ หน้าที่ของเราคือประคองสติ แล้วให้เข้าไปโดยธรรมชาติของเขา นี้คือผู้ใหญ่ แล้วสิ่งนี้จะต้องมีตลอดไป
สัมมาสมาธิ มรรคหยาบ มรรคละเอียดเข้าไปเรื่อยๆ จะต้องมีสัมมาสมาธิ จะปฏิบัติสูงส่งขนาดไหน ค่าของใจจะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ จากสภาวะสามัญชน ปุถุชนนี้เป็นสามัญ สิ่งที่เป็นสามัญ คือพื้นๆ สิ่งที่เป็นพื้นๆ เราก็ต้องมีสติควบคุมใจของเราตลอดไปแล้ว แล้วเวลาจิตของเราทรงผลขึ้นมา ปฏิบัติขึ้นไป ค่าของใจจะทรงผลขึ้นมา สูงขึ้นโดยธรรมชาติของใจนั้น ใจนั้นจะสูงส่งขึ้นบ่อย ขึ้นสูงขึ้น สูงขึ้น
เพราะการประพฤติปฏิบัติ ในการประพฤติปฏิบัตินี้คือการเลาะใจ เลาะกิเลสที่มันขับไสใจ ใจมีกิเลสในหัวใจ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา ไม่รู้สภาวะความเป็นจริงเลย จนไม่รู้จักตัวเอง หาตัวเองไม่เจอ ไม่รู้จักตัวเอง ก็ไม่ให้ค่าตัวเอง ให้ค่ากับสมบัติ ให้ค่ากับสิ่งต่างๆ ที่มันมีประโยชน์กับโลกเขา ให้ค่าสิ่งนั้นแล้วก็เหยียบย่ำตัวเองไง ตัวเองเอาสมบัติ เอาสิ่งที่ว่าเป็นสมบัติ เป็นเพชร นิลจินดามาให้มีค่าเหนือกว่า แล้วก็เหยียบย่ำตัวเอง ให้ตัวเองมีคุณค่าน้อยกว่า
ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติธรรมจะปล่อยวางสิ่งนี้ เริ่มจากศีล ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ พระนี่จับต้องสิ่งนี้ไม่ได้เลยเป็นอาบัติ เป็นอาบัติ เพราะว่าทองคำ ภิกษุรับเงินและทองไม่ได้ จับทองคำ จับสิ่งที่เป็นประโยชน์ไม่ได้ เป็นอาบัติทันที พระพุทธเจ้าห้ามเลย ห้ามไม่ให้ไปติดสิ่งนั้นไง แต่ธรรมชาติของใจทุกคน ใครไม่อยากได้ ในเมื่อของนั้นมีคุณมีค่ามีราคา ก็อยากได้เป็นเจ้าของ แต่มันไม่เป็นประโยชน์กับการประพฤติปฏิบัติ
สิ่งที่ประพฤติปฏิบัติ ภิกษุบวชมานี้มีบริขาร ๘ เท่านั้น บริขาร ๘ เวลาธุดงค์ไปเหมือนกับนก บิณฑบาต ฉันแล้วล้างบาตรแล้วเก็บบริขารเดินไป นกมีปีกบินไปตลอดไป ชีวิตนี้มีคุณค่าขนาดนั้น มีคุณค่าให้ปล่อยวาง ให้วางเรื่องของโลกไว้ก่อน ในเมื่อเราเริ่มประพฤติปฏิบัติใหม่ เรื่องของโลกให้เป็นเรื่องของโลก เราไม่สามารถรักษาใจของเราได้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า วางทางไว้ นี้ไง
ธรรม ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้ให้เราก้าวเดิน แล้วแต่ว่าเราจะเข้ามาในสถานะไหน เราถ้ามีคุณค่าของเราสูงขึ้นมา สถานะของเราจากปุถุชนคนที่ไม่สนใจเรื่องศาสนา จนหันเข้ามาสนใจเรื่องศาสนา เรื่องทาน เรื่องศรัทธา มีความเชื่อในเรื่องของศาสนา มีความเชื่อในศาสนาก็เริ่มออกประพฤติปฏิบัติ จนเข้าใจ จนพอใจ จนเข้าใจว่า สิ่งที่เป็นผล คือบุญกุศล คือมรรค ผล นิพพาน มีอยู่ นี่ออกบวช ออกบวชแล้วก็ปล่อย จากศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ เป็นสามเณร ศีล ๒๒๗ นี้ เป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ เป็นผู้ที่เป็นนักรบ ผู้ที่จะออกรบกับกิเลส ถึงมีกฎกติกาเพื่อให้ใจนี้ไม่ไปติดข้องกับสิ่งนี้
แล้วยังมี ธุดงควัตร เข้าไปอีก มักน้อย สันโดษ มักน้อยนะ บิณฑบาตเข้ามาก็มักน้อยอยู่แล้ว แล้วถือธุดงควัตรขึ้นมาให้สันโดษ สันโดษเพื่อว่า เพื่อเวลาเราไปประพฤติปฏิบัติ ไปนั่งขึ้นมาจะได้ไม่โงกง่วง อาหารมันทับธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ คือความรับรู้สิ่งต่างๆ อารมณ์ที่มันกระทบเข้ามา มันจะมาทับกดถ่วงใจ สังขารความคิด ความปรุง ความแต่งจะกดถ่วงใจ ธาตุ ๔ ก็เหมือนกัน อาหารการฉัน บริโภคเข้าไป อาหารเราเป็นอาหารที่ว่ามันมีพลังงานมาก มันจะทำให้เราโงกง่วง ถึงมีธุดงค์วัตรเข้ามา ธุดงค์วัตรนี้ไม่ปฏิบัติก็ไม่เป็นอาบัติ
แต่ถ้าผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ผู้ที่เอาขึ้นมาปฏิบัตินี้เพื่อเห็นคุณค่าไง คุณค่าของคนจะเกิดตรงนี้ ค่าของคนเกิดขึ้นมาเพราะเห็นคุณค่าของเรา ไม่ใช่หลงไปตามโลกเขา โลกนั้นเป็นเรื่องของโลก มันเป็นสมบัติของโลก มันเป็นความจำเป็นของเขา คุณค่าผลประโยชน์ของใคร
ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน ใครทำงานขนาดไหน ได้สมบัติมาสิ่งใด สิ่งที่เป็นสมบัติของเขานั้นเป็นคุณค่าของเขา นั้นเป็นเรื่องของโลกๆ แล้วเขาก็ต้องพลัดพรากจากกัน เขาจะไม่มีความทรงไว้อย่างนั้นโดยสภาวะความเป็นจริงไปตลอดไปไม่ได้ สักวันหนึ่งเราไม่พรากจากเขา เขาก็ต้องพลัดพรากจากเราโดยธรรมชาติ เราต้องใช้จ่ายไปโดยธรรมชาติสิ่งนั้นต้องเป็นไปธรรมของโลก ธุรกิจการค้ามันต้องมีได้มีเสีย มีได้มีเสียในเรื่องของโลกนะ
แล้วเรามีได้มีเสียในเรื่องของใจเราไหม ในเรื่องของใจ ในเรื่องของการเห็นคุณค่าของเราขึ้นมา เราเห็นคุณค่าของเราขึ้นมา เราก็พอใจ สิ่งที่พอใจ อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ เราพอใจของเรา เราจะปฏิบัติของเราได้ เราจะบังคับตนได้ในเมื่อเราพอใจ ถ้าเราไม่พอใจ ครูบาอาจารย์สั่งสอน มันจะเป็นจริงอย่างนั้นไหม เราพอใจไหม นี่มันจะมีการโต้แย้ง
สิ่งที่โต้แย้งในใจของเราเพราะกิเลสมันมีอยู่ทุกคน กิเลสในหัวใจธรรมชาติมันเป็นแบบนั้น ธรรมชาติมันไม่เชื่อตัวเอง ตัวเองก็ยังว่าไม่เห็นคุณค่าของตัวเอง ยังเหยียบย่ำตัวเอง แล้วมันจะไปเชื่อใคร? มันเชื่อใครไม่ได้หรอก มันพยายามผลักไส เพราะมันว่ามันมีปัญญา มันสามารถเอาตัวรอดได้ สามารถจะมีความสุข มีความสุขตามจินตนาการของกิเลสได้ แต่คว้าไปที่ไหนก็มีแต่ลม สิ่งที่มีแต่ลมคือว่ามันเป็นอากาศธาตุ ไม่มีสิ่งใดที่เป็นความจริงเลย
สิ่งที่เป็นความจริงคือมันต้องตาย และมันต้องพลัดพรากไป แล้วมันต้องเกิดอีก แล้วเราสะสม มันสะสมความดีหรือความชั่วนั้น ความดีและความชั่วให้ผลเกิดในภพที่สูงหรือภพที่ต่ำ มีเท่านั้น กิเลสหรอกให้ชีวิตนี้ สิ้นสุดการ ถึงที่สุดแล้วต้องพลัดพรากจากการตายไปเท่านั้น ชีวิตนี้มีการพลัดพรากเป็นที่สุด เวลากิเลสมันหลอกจนตายไปแล้ว ลมหายใจเข้าหายใจออกไม่มีแล้วก็ต้องตายไป นี้ลมหายใจเข้าลมหายใจออกเรามีอยู่ เราไม่หายใจทิ้งเปล่าๆ เราพยายามรักษาเก็บหอมรอมริบ ถ้าเก็บหอมรอมริบ ค่าของเราเกิดจากตรงนี้ ค่าของคนเกิดขึ้นมา ค่าของคนเกิดขึ้นมา เพราะมีค่าของใจ
ใจมันศึกษา ใจมันเล่าเรียน ใจศึกษา ศึกษาในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เชื่อในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กายกับใจไปด้วยกันตลอด แต่กายกับใจไปด้วยกัน คุณค่าของใจมันจะเห็นประโยชน์ขึ้นมา เพราะเราประพฤติปฏิบัติธรรม แล้วสัมผัสธรรมขึ้นมา จนใจนี้เป็นอริยภูมิขึ้นมานะ เป็นอริยภูมิขึ้นมาเป็นชั้นเป็นตอน เพราะเราได้วิเคราะห์วิจัยในเรื่อง สติปัฏฐาน ๔
สติปัฏฐาน ๔ เพราะใจนี้มันติดพัน ติดพันกับกาย เวทนา จิต ธรรม สิ่งนี้มีคุณค่าของเรา มันเหมือนสมบัติของเรา เราต้องเก็บไว้ในที่ลับ ในที่ว่าเราคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ว่าสะดวก สิ่งที่ปลอดภัยที่สุด นี้ก็เหมือนกัน เราคิดว่า คุณค่าของเรา พบในเรื่องของใจ สิ่งนี้มีคุณค่าที่สุด มันติดตรงนี้ก่อนไง ติดในเรื่องกายกับใจแล้วก็หมุนเวียนออกไปข้างนอก หมุนเวียนออกไปยึดสิ่งต่างๆ ถ้าไม่มีเรา เรายึดไม่ได้ ไม่มีความรู้สึกของใจเลย ใจนี้ไม่มี แล้วมันจะยึดกับสิ่งใด
ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติถึงที่สุดแล้ว ใจก็มีอยู่ แต่เหมือนไม่มี เพราะได้ชำระล้าง ภวาสวะ ภพของใจ โดนปลดเปลื้อง โดนสภาวธรรม โดนภาวนามยปัญญาใคร่ครวญแล้วปลดเปลื้องออกไป จนสิ้นสุดออกไป ใจก็มีอยู่ แต่ใจไม่ยึด ใจไม่มีสภาวะ ไม่มีภวาสวะ ไม่มีที่ภพชาติ ภพที่ตั้งของใจ มันไม่มีที่จะเข้าไปรับสภาวะสิ่งใดเลย ไม่มีที่เก็บซ่อนเร้นไง
แต่ของเรามันมีที่เก็บซ่อนเร้น ซ่อนไว้ในหัวใจ ความคิดเกิดขึ้นมา แล้วก็เก็บสะสมไว้ในใจ ซ่อนไว้ในหัวใจว่า สิ่งนี้จะไม่มีใครรับรู้กับเรา นี่มันรับรู้ในหัวใจของเราเอง ในเมื่อใจของเราคิดขึ้นมา ใจของเราปรุงแต่งขึ้นมา เราก็รับรู้ของเรา นั่นน่ะ มโนกรรมเกิดแล้ว สิ่งที่เป็นมโนกรรมเกิดขึ้น เชื่อดีก็เป็นความดี เชื่อสิ่งที่ว่าเป็นอกุศล เป็นความไม่ดี มันก็เป็นความสะสมของใจ นั่นน่ะ มันทำให้เกิดความคิด ความปรุง ความแต่ง ตามกระแสอันนี้ไง
ต้นของความคิดนั้นคือ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา
ถ้าเป็นวิชชา วิชชาของธรรมเกิดขึ้นจากการประพฤติปฏิบัติ เกิดขึ้นจากเราเชื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกข์มาขนาดไหน ๖ ปีนะ ในการทำความเพียรที่อุกฤษฏ์ขนาดไหน ไม่มีใครเกินองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำมาทุกอย่าง แล้วไม่เป็นผล สิ่งนั้นไม่เป็นผล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงวางวินัยไว้
ให้มัชฌิมาปฏิปทา ให้เป็นมัชฌิมาเป็นกลาง ไม่ตกไปสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
แล้วการประพฤติปฏิบัติ เราก็มองไปสมัยพุทธกาลสิ ผู้ที่ประพฤติอุกฤษฏ์ เขาประพฤติวัตรต่างๆ ประพฤติวัตรเป็นสัตว์ ประพฤติวัตรในการอุกฤษฏ์นะ ไม่ใช้ปัจจัย ๔ เลย อยู่กับกระแสของโลก พวกที่เป็นชีเปลือย เขาไม่ใช้ผ้าผ่อนเลย เพราะว่าสิ่งเขาปล่อยวาง เขาปล่อยวาง ปล่อยวางทุกอย่าง แม้แต่สิ่งที่ว่าเพื่อเป็นเครื่องปลดเปลื้องความอาย เขาก็ไม่ต้องการใช้เลย
แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกให้มัชฌิมาปฎิปทา ให้เป็นกลาง กลางของเรา สิ่งที่เป็นประโยชน์ ให้ปัจจัยมาบริขาร ๘ นี้เท่านั้น สิ่งนี้เป็นการอาศัยดำรงอยู่ในชีวิตเท่านั้น แล้วอาศัยสิ่งนี้เข้าไป นี่เครื่องดำเนินขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เชื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในการประพฤติปฏิบัติเป็นตัวอย่าง เป็นครูแล้ว แล้วเราก็เอาสิ่งนี้เข้ามา ธรรมนี้เป็นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาโดยสภาวะตามความเป็นจริง
ถ้าเราเชื่อสิ่งนี้ เราก็พยายามปฏิบัติของเราขึ้นมา มันจะเกิดขึ้นมาจากใจของเรา ถ้าเป็นใจของเรานี้ก็คือธรรมของเรา ธรรมส่วนบุคคลเกิดจากใจที่สัมผัส สิ่งที่สัมผัสแล้วพยายามตั้งไว้ อย่าให้เป็นอนิจจัง มันเป็นอนิจจังโดยธรรมชาติ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นต้องดับเป็นธรรมดา ถ้าสภาวธรรมเราเห็นอย่างนี้เราจะเป็นพระโสดาบัน สิ่งที่เป็นพระโสดาบัน คือเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริง แล้วมันแปรสภาพเป็นไตรลักษณ์ให้เราเห็น แต่นี้มันไม่ใช่ ไม่ใช่เพราะเนื้อหาสาระของเรา ใจของเราต่างหากมันเป็นอนิจจัง สภาวธรรมที่เราพยายามประพฤติปฏิบัติขึ้นนี่มันเป็นอนิจจัง มันเป็นอนิจจังคือมันเกิดขึ้นมา แล้วมันก็เสื่อมไป มันเกิดขึ้นมาชั่วคราวแล้วมันก็เสื่อมไป เสื่อมไป โดยสภาวะของเขา เราไม่สามารถทรงไว้ได้ เราไม่สามารถตั้งมั่นได้ ถ้าเราตั้งมั่นได้ เราพลิกกลับขึ้นมา
สภาวะนี้เป็นอนิจจัง แต่เป็นสิ่งที่เป็นเครื่องดำเนิน สภาวะเป็นเครื่องดำเนิน มรรคโคทางอันเอกเราสร้างขึ้นมา เราสร้างสภาวธรรมขึ้นมา สัมมาสมาธิ มีความสุข ความสุขเกิดขึ้นจากการประพฤติปฏิบัติ แค่มีสมาธินี่พออยู่พอกิน พระที่ประพฤติปฏิบัติมีสมาธินี่อยู่ได้แล้ว อยู่ได้เพราะใจมันร่มเย็นไง
ถ้าไม่มีสมาธิ มันอยู่กับกระแสโลก กระแสโลกก็พึ่งไม่ได้ สิ่งนั้นก็พึ่งไม่ได้ ใจเรานี้ก็ร้อนรน มันก็มีความทุกข์ มีความทุกข์ก็ต้องอดอาหาร ต้องอดหลับอดนอน นี่ธุดงค์วัตรเข้ามาตรงนี้ ตรงที่ว่า ในเมื่อมีเหตุ ต้องมีผล ถ้าเราสร้างเหตุอยู่ เราทำสัมมาสมาธิทำใจให้ตั้งมั่น เวลาเราประพฤติปฏิบัติเข้าไป ใจมันจะปล่อยวาง ปล่อยวางเข้าไป แต่มันไม่ลงถึงฐาน มันครึ่งๆ กลางๆ ไง เพราะเราขาดคำบริกรรม ถ้าเราใช้คำบริกรรมตลอดไป ตลอดไป เราไม่ปล่อยคำบริกรรมนะ เรายึดคำบริกรรมไว้ คำบริกรรม คือพุทโธ ธัมโม สังโฆ มรณัสสติ คิดยึดสิ่งนี้ไว้ตลอดไป
ในเมื่อมันมีเหตุ ผลมันต้องเกิดโดยธรรมชาติ สิ่งที่เป็นธรรมชาติ มรรค ผล นิพพาน นี้มีอยู่โดยธรรมชาติ แล้วสิ่งที่มีอยู่ มันมีอยู่แล้ว แล้วสภาวะที่เข้าไปสัมผัสคือใจ ใจนี้จะสัมผัสมรรค ผล นิพพาน ไม่มีสิ่งใดๆ ในโลกนี้จะเข้าไปรู้ถึงมรรค ผล นิพพาน ไม่มีเลย ยกเว้นไว้แต่ภาชนะที่จะรับรองสิ่งนั้นได้คือหัวใจ แล้วหัวใจของเรามันมีอยู่ แต่มีอยู่โดยสภาวะทุกข์ สภาวะทุกข์คือสภาวะของกิเลสมันข่มขี่อยู่
แม้แต่การประพฤติปฏิบัติอยู่มันไม่เข้ามัชฌิมา เพราะกิเลส อัตตกิลมถานุโยค คือทำให้มันหนักหน่วงเกินไป เราทำให้มันหนักหน่วงเกินไป มันก็เป็นอัตตกิลมถานุโยค มันไม่เป็นตามความเป็นจริง เราทำตามสบายๆ มันก็เป็นสุข สุขะ เป็นความหลงในความสุขของการประพฤติปฏิบัติ นั่นน่ะ มันติดสุขในหัวใจ มันก็ไม่เข้า
แต่ถ้าเรายึดคำบริกรรมของเรา มัชฌิมาปฏิปทา มัชฌิมาปฏิปทาคือเรากำหนดคำบริกรรมโดยสติตลอดไป ยึดอยู่ตรงนี้ นี่ทำง่ายๆ นะ แค่เรายึด ยึดคำบริกรรมไว้ แล้วก็มีสติไป ทำไปอยู่อย่างนี้ มันถึงเวลาแล้วมันต้องเป็นไป เหมือนกับเราต้มน้ำ ถ้าเรารักษาไฟของเรา น้ำมันต้องเดือดโดยสภาวะธรรมชาติ แต่นี้เรารักษาไฟของเราแล้ว น้ำมันก็หกรดมาในไฟ ไฟก็มอดไป มอดไป เป็นสภาวะการประพฤติปฏิบัติ จะเป็นสภาพอย่างนั้น นี่ค่าของการประพฤติปฏิบัติ
ถ้าคุณค่าของมันถึง ค่าของใจก็จะเกิดขึ้น คุณค่าของใจเกิดขึ้นมันก็จะสงบเข้ามา สงบเข้ามา แล้วมันจะเป็นการยืนยันว่า สิ่งนี้เราทำได้ ถ้าเราทำสิ่งนี้ได้ มันจะเป็นผลของเราขึ้นมา เราจะตื่นเต้น เราจะพอใจกับการประพฤติปฏิบัติของเรา ถ้าเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมาผล มันไม่เกิดขึ้นมา เราก็ว่า เราเป็นคนไม่มีอำนาจวาสนา
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไว้ในพระไตรปิฎก ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี ต้องได้ผลทุกคน ถ้าไม่ได้ผล พระพุทธเจ้าไม่พูดหรอก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่เคยหลอกใครนะ พูดคำไหนต้องเป็นคำนั้น คำจริงตลอดไปเลย ผู้ที่ปฏิบัติธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม อย่างมาก ๗ ปี อย่างกลาง ๗ เดือน แล้วก็ ๗ วัน จะต้องได้ผล สิ่งที่ได้ผลคือการประพฤติปฏิบัติ ประพฤติปฏิบัติเข้าทางธรรม เข้าทางธรรม ได้ผลคือ ผลของใจไง นี่ค่าของใจมันจะสูงขึ้น
ค่าของใจเกิดขึ้นจากการประพฤติปฏิบัติ เกิดขึ้นจากมรรคอริยสัจจังนี้ อันนี้มันรวมตัวขึ้นมา มรรคมันจะเริ่มทรงตัวได้ สิ่งที่ทรงตัวได้ มรรคในทางเดินนะ มรรคในการชำระกิเลส ไม่ใช่มรรคที่เราท่องจำกันมา มรรคที่ท่องจำกันมา ทำสัมมาอาชีวะ ทำเลี้ยงชีพชอบ การทำงานชอบ เราก็ว่าชอบ ชอบอยู่ในเหตุในผล ความเลี้ยงชีพชอบนี้มันเลี้ยงปาก
สิ่งที่เลี้ยงใจ สิ่งที่จะฆ่ากิเลสนี้มันต้องเป็นการเกิดสัมมาสมาธิที่มันแปลกประหลาดมหัศจรรย์แล้ว ถ้าจิตนี้ตั้งมั่นขึ้นมา มันมหัศจรรย์ว่าสิ่งนี้มันมีได้อย่างไร สภาวะใจนี่ทุกคนจะตื่นเต้นมาก ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติใจตั้งมั่นจะมีความตื่นเต้น แล้วพอตื่นเต้นขึ้นมา มรรคจะไม่เป็นงานไม่ชอบ ไม่ชอบตรงนี้ ไม่ชอบตรงที่ว่า ไม่สามารถยกขึ้นวิปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ คือกาย คือเวทนา คือจิต คือธรรม วิปัสสนาสิ่งนี้ จับสิ่งนี้ แล้วสมาธิจะมีพลังงานขึ้นมา จะจับสิ่งนี้ได้ เวทนาก็เป็นเวทนาสักแต่ว่าเวทนา จิตนี้รับรู้เท่านั้น มันจะเข้าใจสิ่งนี้ แล้วจะปล่อยวางเข้ามา ปล่อยวางเข้ามา พอปล่อยวางเข้ามา พอทรงสุขอยู่พักหนึ่ง ถ้าเรานั่งต่อไป เวทนาจะเกิดซ้ำขึ้นมาอีก หน้าที่ของเราก็จับเวทนานี้แยกต่อไป ว่าปัญญาของเราใคร่ครวญแล้ว เข้าใจว่า เวทนาเป็นเวทนา กายเป็นกาย จิตเป็นจิต มันไม่เป็นอันเดียวกัน แล้วมันยังกลับมาปวดอีกล่ะ ก็ต้องค้นคว้าใหม่ ค้นคว้าใหม่ ปัญญาอันใหม่จะเกิดขึ้น นี้คือการงานชอบ ชอบในเวทนา
ชอบในจิต คืออารมณ์ที่เกิดขึ้น พิจารณาจิตว่า จิตนี้มันไม่ทรง มันหมุนไปเพราะเหตุไร มันมีอารมณ์เกิดขึ้นมา มันเพราะเหตุไร? เพราะเหตุที่มีสัญญา สัญญาการเทียบเคียงความรู้สึกของเราว่าอันนี้ถูกหรือผิด อันนี้ดีหรือชั่ว แล้วเราก็คิดตามไปอย่างนั้น นั่นน่ะ เกิดขึ้นจากสังขารปรุง เกิดขึ้นจากวิญญาณรับรู้ อาการนี้จะหมุนออกไป
พิจารณาธรรม ธรรมารมณ์
พิจารณาจิต จิตนี้เศร้าหมองหรือผ่องใส จิตนี้มีความรู้สึกเมื่อก่อนนี้มันผ่องใส มันมีความสบายอยู่ ทำไมตอนนี้มันเศร้าหมอง เศร้าหมองเพราะเหตุไร เศร้าหมองเพราะความยึดมั่นถือมั่น ความยึดของมัน เราไม่ใช้สติประคองไว้เฉยๆ สติของเราประคองไว้ในคำบริกรรม มันจะทรงตัวไว้ของมันไป จิตมันก็อยู่ในสภาวะของมันโดยธรรมชาติของมัน
กาย นี้ยิ่งแล้วใหญ่เลย กายนี้มันเป็นอะไร ตายแล้วเป็นประโยชน์ไหม? ไม่เป็นประโยชน์เลย เกิดขึ้นมา เกิดขึ้นมาจากไหน? เกิดขึ้นมาจากไข่ของมารดา เกิดขึ้นมาจากครรภ์ของมารดา ออกมาเป็นเรา เวลาออกมาเป็นเรา เราขึ้นมา เราก็เจริญเติบโตขึ้นมาด้วยอาหาร สิ่งที่อาหารเลี้ยงชีวิตมา แล้วเราก็เลี้ยงชีวิตของเราไป
ถ้าธาตุไฟไม่เผาผลาญอยู่ กายนี้ต้องตายไป
ลมไม่หายใจเข้า-หายใจออกนี้ ถ้ามันขาด หยุดเมื่อไร เราก็ต้องตายไป
เวลาตายไป จิตไปไหน
กายก็สักแต่ว่ากาย มันเป็นประโยชน์ต่อเมื่อเราเอามาประพฤติปฏิบัติ ค่าของคนคือค่าของกาย ค่าของน้ำใจคือค่าของการประพฤติปฏิบัติ คือเห็นคุณงามความดี วิปัสสนาเข้าไป ปัญญามัน ถ้าสติสัมปชัญญะ ถ้าสติพอ มันจะเป็นวิปัสสนา ถ้าสติไม่พอ มันเป็นการสักแต่ว่าทำ นี่สัมมาสติ ในมรรคมีสติด้วย มีสมาธิด้วย
มรรค ๘ มรรค ๘ จะเกิดขึ้นมาจากการยกขึ้นวิปัสสนา ใช้ปัญญาบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า ความชำนาญงานของเราจะเกิดขึ้น แต่เดิมมันก็ไม่มัชฌิมาปฏิปทา เพราะความคิดของเราเกินไป เราต้องการผลของเราเกินไป หรือสมาธิแน่นเกินไป สมาธิแน่นเกินไปก็เราทำความสงบ ว่าความสงบนี่เป็นความถูกต้อง มันปล่อยวางเข้ามา ปล่อยวางเข้ามา มันความถูกต้อง นี่อยู่ในความสงบ มันไม่แยกแยะ มันไม่มีความเข้าใจ
ปัญญาในโลกุตตระ สิ่งที่เป็นโลกุตตระ คือความเห็นถูกต้อง ความเห็นตามความเป็นจริง ตามความเป็นจริงสภาวธรรมที่มันเป็นจริง ไม่ใช่สภาวธรรมที่การคาดหมาย ถ้าเป็น ปัญญาของโลกียะ เป็นความคาดหมาย สิ่งนี้คาดหมายเพราะเป็นสัญญา
สิ่งที่สัญญาเราจำมาจากครูบาอาจารย์ ๑
จากการศึกษาเล่าเรียนมาในพระไตรปิฎก ๑
เราจะจำสิ่งนี้มาว่า สภาวะนี้มันต้องคืนสภาวะเดิมของเขา เราคาดหมาย คาดหมายอดีตอนาคต ว่าต้องเป็นสภาวธรรมต้องเป็นแบบนั้น แต่ความเป็นจริง หน้าที่ของเราคือสร้างเหตุ สร้างเหตุคือการวิปัสสนา การแยกแยะออกไป แล้วปัญญามันจะเกิดขึ้นมา มันจะหมุนออกไปขนาดไหน นั้นเป็นปัญญา
เป็นกายต้องตั้งกายไว้ แล้วให้กายนี้แปรสภาวะไป แปรสภาวะมันจะกลืนตัวมันเอง นั้นสภาวะสัมมาสมาธิพอ มันจะเป็นไป
จิตก็เหมือนกัน ธรรมก็เหมือนกัน ถ้าสมาธิพอ มันจะแยกออก แยกออก แยกออก การปล่อยวาง สิ่งที่เป็นสัมมาสมาธินี้เรามีความสุข มีความเวิ้งว้างมาก แต่เวลามันปล่อยวาง มันวิปัสสนาปล่อยวางขึ้นมามันจะมีคุณค่ามากกว่านั้น คุณค่าในการปล่อยจากปัญญา
จิตนี้ปล่อยสติปัฏฐาน ๔ ด้วยปัญญา กับจิตนี้ปล่อยความฟุ้งซ่านออกมาด้วยคำบริกรรม นี่ความเห็นจะต่างกัน ต่างกันคือว่า มันละเอียดลึกซึ้งต่างกัน พอลึกซึ้งต่างกันแล้ว ถ้าผู้ที่ประพฤติปฏิบัติมีครูบาอาจารย์แนะ ต้องหมั่นคราดหมั่นไถ คนเขาจะไถนา เขาจะทำนาของเขา เขาไถนาเสร็จแล้ว เขาต้องไถคราด คราดนาเพื่อไม่ให้มีวัชพืช มันจะเกิดกับต้นข้าว แล้วแย่งอาหารไป
นี้ก็เหมือนกัน ในเมื่อเรามีวิปัสสนา มันปล่อยวางมา เรามีความสุขขนาดนั้น นี่ถ้าไม่หมั่นคราดหมั่นไถ เดี๋ยววัชพืชคือกิเลสมันก็เกิดขึ้นมาอีก เราต้องหมั่นคราดหมั่นไถ หมั่นคราดหมั่นไถ หน้าที่ของเราคือคราดและไถ จนกว่าที่นานั้นจะไม่มีวัชพืชออกไป แล้วเราค่อยปลูกต้นข้าวขึ้นมา ผลจะเกิดขึ้นมาจากต้นข้าวที่เจริญงอกงามขึ้นมาจากใจของเรา
ผลการปล่อยวางจากเป็นอริยภูมิขึ้นมา จะเกิดขึ้นมาจากการเราหมั่นคราดหมั่นไถ เวลาเราสร้างสมมรรคขึ้นมา เราวิปัสสนาได้ จนวิปัสสนาได้มันก็เป็นงานแสนทุกข์แสนยากนะ ทุกข์ยากเพราะว่าอะไร เพราะเราต้องประคองไว้ สิ่งที่เป็นเคลื่อนที่เร็วที่สุด ใจนี้เคลื่อนที่เร็วที่สุด เราใช้สติระลึกรู้อยู่ แล้วใช้คำบริกรรมเกาะเกี่ยวไว้ ให้จิตนี้เกาะเกี่ยวกับคำบริกรรมไว้ แล้วให้มันคงที่
สิ่งที่คงที่ วัตถุ เราต้มน้ำขึ้นมา ในภาชนะเวลาเราใส่น้ำขึ้นมา น้ำมันยังหกได้ แล้วนี่เราทำ พยายามทำจิตของเราให้ตั้งมั่นขึ้นมา มันทำไมไม่กระฉอก ไม่หกไป ไม่เป็นอนิจจัง ไม่เสื่อมสภาวะไป มันจะเสื่อมสภาวะ เราพยายามทรงไว้ ตั้งมั่นไว้เพื่อให้เป็นสัมมาสมาธิ อันนั้นก็เป็นสติที่ว่า เราพยายามประคองสุด สุดความกำลังของเราอยู่แล้ว เพราะเราเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติใหม่ แล้ววิปัสสนาแล้ว มันต้องใช้สิ่งนี้ควบคุมเข้าไปอีก
เวลามรรคมันเดินตัว จะเห็นสภาวะของภาวนามยปัญญา เห็นปัญญาในการเกิดขึ้น พอซ้ำเข้าไปนี่มันจะแยกออก แยกออก แยกสภาวธรรม สิ่งที่เป็นสภาวธรรม จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ ขันธ์เป็นขันธ์ มันจะปล่อยวางไป ปล่อยวางไป นี้คือการซ้ำ สิ่งที่ซ้ำจะเกิดความมหัศจรรย์บ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า
ถ้าเราทำอย่างนี้ เราซื่อสัตย์กับเราเอง เราเป็นสาวกะ-สาวกผู้ได้ยินได้ฟังธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราต้องพิสูจน์ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นมาจนเป็นค่าของใจ ใจมันจะเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริง
จนบ่อยครั้งเข้า มันจะปล่อยขาด สิ่งที่ปล่อยขาดคือจิตเป็นจิต ขันธ์เป็นขันธ์ ทุกข์เป็นทุกข์ ปล่อยวางออกจากกัน สิ่งที่ออกจากกัน สิ่งที่หลุดออกไปคือสังโยชน์ ๓ ตัว สิ่งที่สังโยชน์ สังโยชน์คือเครื่องร้อยรัดจิต สิ่งที่ร้อยรัดจิตไว้นี้ ร้อยรัดจิตให้เป็นปุถุชนไง จิตนี้ยึดมั่นถือมั่น หลงไปตามอนิจจัง อนิจจังมันก็เป็นความหลงอยู่แล้ว แล้วเราก็เห็นสภาวะความหลงนั้นว่าเป็นเรา เป็นเรา สิ่งนั้นเป็นเรา
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นต้องแยกสลายเป็นธรรมดา
เราเห็นจนเป็นสภาวธรรม มันเป็นธรรมดาที่มันแยกจากกัน มันไม่มีสิ่งใดเลย ที่ว่ามันเป็นสิ่งที่ว่ามันกดถ่วงกัน เพราะใจเราหลงมันต่างหาก เราถึงเอาสิ่งนั้นมาเป็นเรา เป็นของๆ เรา เวลามันแยกแล้วนะ ขันธ์เป็นขันธ์ ทุกข์เป็นทุกข์ จิตเป็นจิต มันต่างอันต่างจริงอยู่ด้วยกัน สภาวะความรับรู้ขึ้นมา จิตนี้เป็นถึงอริยภูมิไง ภูมิของจิต ค่าของใจเกิดขึ้นจากสภาวธรรมแบบนี้ แล้วมันก็ต้องยกขึ้นวิปัสสนาสูงส่งขึ้นไปเพื่อจะเข้าให้สูงส่ง ให้ค่าของธรรมถึงที่สุด ให้ค่าของธรรมกับค่าของใจเป็นอันเดียวกัน
ธรรมกับจิตนี้เป็นหนึ่งเดียว เอโกธัมโม
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา นี้เป็นสภาวธรรมอันหนึ่ง
เอโกธัมโม จิตนี้เป็นธรรมแท่งเดียว ธรรมของจิตนี้มันเป็นอันเดียวกัน ค่าของธรรมจะสูงส่งขึ้นมาด้วยการยกขึ้นวิปัสสนาซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะกิเลสอย่างกลางยังอยู่ในหัวใจ กิเลสอย่างกลางคือความหลงผิด สิ่งที่หลงผิดจะเบิกได้ เบิกความถูกต้องคือเบิกกายกับจิตนี้ออกจากกัน กายกับจิตนี้ผูกพันกันไปโดยสภาวธรรม ด้วยอุปาทาน สิ่งที่เป็นอุปาทาน อุปาทานในธาตุขันธ์ จะอุปาทานไหนไปอีก อุปาทานในสิ่งต่างๆ นั้นเป็นอุปาทานยึดมั่นถือมั่น มันเป็นความหลงของใจ ทำให้ใจเราฟุ้งซ่าน แต่ถ้าเรายกขึ้นวิปัสสนาได้ มันเป็นอุปาทานของใจ ใจนี้ไปติดสิ่งนี้ สิ่งนี้ว่าเป็นคุณค่าของเรา มันยึดมั่นถือมั่น มันยึดเพราะความไม่เข้าใจ เห็นไหม ต้องสอน เราสอนใจของเรา
ค่าของคนอยู่ที่การประพฤติปฏิบัติ ค่าของคนอยู่ที่การศรัทธาในเรื่องของศาสนา แล้วยกขึ้นมาวิปัสสนา แล้วค่าของกิเลส คือค่าของใจ มันก็อยู่ในหัวใจ แล้วเราปลดเปลื้องกิเลสออกไปจากใจ ค่าของใจมันก็สูงขึ้นมา แล้วเราวิปัสสนาซ้ำเข้าไป ค่าของใจจะสูงขึ้นไปเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป
ค่าของใจเกิดขึ้นเพราะเกิดขึ้นจากความเพียร ความเพียรประพฤติปฏิบัติ เรานั่ง นั่งสมาธิ เดินจงกรม งานมันคืออะไร? งานคือการใจนี้ขับเคลื่อนไป ใจนี้เป็นสัมมาสมาธิแล้วยกขึ้นวิปัสสนาได้ ปัญญามันจะเกิดจากตรงนี้ เป็นงานของใจ ผู้ที่บริหารงานต่างๆ นักบริหาร ต้องใช้สมอง ต้องใช้บริหารด้วยนโยบาย ด้วยปัญญา อันนี้ก็เหมือนกัน อันนี้เกิดขึ้นมาจากค่าของใจที่มันหมุนเวียนไป นั่งเฉยๆ นะ นั่งสมาธิเฉยๆ แต่ปัญญาต่อกรกับกิเลสนี้ สงครามเกิดขึ้นจากภายในนี้มหาศาลเลย งานเกิดขึ้น ไม่อย่างนั้นมันจะนั่งทั้งวันได้อย่างไร เดินจงกรม ๗ วัน ๗ คืน เดินจงกรมได้อย่างไร ในเมื่อไม่มีงาน
งานมันเกิดขึ้นมา เวลากิเลสมันเกิดขึ้นมา มันสร้างแง่สร้างมุมขึ้นมา มุมแง่ของกิเลสคือว่าความเข้าใจของเขาอย่างนั้น สิ่งที่ไปติดข้องของใจ มันติดข้องอยู่อย่างนั้น นี่มันจะปลดเปลื้องออกไปด้วยสภาวธรรม สภาวธรรมมันคือสติ แล้วปัญญามันจะแยกออกไปว่าสิ่งนั้นเป็นอนิจจัง สิ่งนั้นไม่จริง เพราะพระพุทธเจ้าสอนไว้อย่างนั้น เรายังไม่เห็นสภาวะตามความเป็นจริง เราก็แยกแยะออกไป แยกออกไป
นี่ธาตุต้องเป็นธาตุ ดินต้องเป็นดิน น้ำต้องเป็นน้ำ ลมต้องเป็นลม ไฟต้องเป็นไฟ ถ้าเห็นสภาวะของกายวิปัสสนา มันจะคืนสภาวะเดิมอย่างนั้น แล้วจิตมันยึดอย่างนั้นไม่ได้ มันจะไปอยู่ที่ไหน มันก็ต้องปล่อยวาง ปล่อยวางซ้ำเข้าไป ซ้ำเข้าไป สภาวะของจิตก็เหมือนกัน พิจารณาจิต จิตเป็นอะไร จิตไปยึดเขาต่างหาก จิตไปหลงอุปาทานในกายทั้งนั้นว่าเป็นเรา สิ่งที่หลงออกไปนั้นเพราะอะไร เพราะความไม่เข้าใจ ความไม่รู้ นี่ปัญญามันก็แยกเข้าไป แยกเข้าไป
ปัญญานี้ถ้ามีสัมมาสมาธิรองรับอยู่นี้ จะเป็นปัญญาในการประพฤติปฏิบัติ ถ้าสมาธิอ่อนไป มันจะเป็นสัญญาทันทีเลย มันเป็นสัญญาแล้วมันจะแยกสิ่งนี้ไม่ออก มันจะยึดให้เราประพฤติ เราใช้พลังงานของใจหมุนเข้าไปเหมือนกัน แต่มันแยกแล้ว แล้วมันไม่ปล่อยวาง มันไม่ปล่อยวาง เราต้องกลับมาสัมมาสมาธิ กลับเข้ามาทำพลังงานของเรา กลับมาใช้คำบริกรรม
คำบริกรรมต่างๆ มันถึงมีประโยชน์ตลอดไป
คำบริกรรม สติจะมีตลอดไป ในเมื่อเราตั้งมั่นในหัวใจ มันจะแยกสิ่งนั้น
ค่าของธรรม ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้วางไว้ถูกต้อง แต่เพราะเราเองต่างหากหลงผิดของเราเอง เราถึงผิดพลาด ถ้าเราผิดพลาดขึ้นไปเราก็จะได้สติ จะได้สติว่านี้เราเผลอแล้ว เราทำงานไปโดยสักแต่ว่า แล้วเราจะไม่ได้ผลงานของเรา ถ้าเรารีบ เราด่วนขึ้นไป เราจะไม่ได้ผลตามความเป็นจริง เราต้องกลับมาทำสัมมาสมาธิ เหมือนกัน การทำธุรกิจก็เหมือนกัน ถ้าเราด่วนได้เกินไป มันไม่เป็นผลประโยชน์ขึ้นมา เราต้องให้รอบคอบว่า สิ่งนั้นมันสมประโยชน์ไหม ถ้าไม่สมประโยชน์ เราต้องเริ่มกลับมาทำ เริ่มต้นมาตั้งต้นใหม่ ตั้งต้นให้มันถูกต้องขึ้นไป
นี่วิปัสสนาเป็นอย่างนั้นเลย ใจมันจะแยกออกไป หรือไม่แยกออกไปอยู่ที่พลังงานของใจ มันจะเป็นโลกียะ หรือโลกุตตระมันอยู่ตรงนี้ โลกียะเรื่องของโลกจะมีตลอดไป ตลอดไปเพราะมันยึดมั่นถือ กิเลสมันอยู่ในหัวใจแล้ว มันจะยึดมั่นถือมั่นตลอดไป ยึดทุกอย่างที่เป็นกิเลส เพราะมันเริ่มต้นเค้ามูลมาจากอวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา ออกมาจากความยึดผิดมาตั้งแต่เริ่มต้น มันถึงได้ผิดตลอดไป นี้คืองานของกิเลส จะเป็นหน้าที่ของเขา เขาต้องทำหน้าที่อย่างนั้นโดยธรรมชาติของเขา เพื่อจะให้เขามีชีวิตอยู่ในหัวใจ ในภวาสวะนั้น เพื่อข่มขี่ใจดวงนี้ตลอดไป
แต่สภาวธรรม สภาวธรรม สภาวะของภาวนามยปัญญา มันจะแยกออก แยกออก แยกให้ใจนี้พ้นออกมาให้เป็นอิสระออกมา แต่มันยังอิสระไม่ได้เพราะกิเลสมันเหนียว กิเลสมันเหนียวแน่น เราถึงต้องแยกซ้ำแยกซาก นี่กลับมาทำความสงบของใจ แยกทีหนึ่งมันก็ปล่อยวางโล่งทีหนึ่ง แยกเข้าไป สภาวะเหมือนกัน ถ้าปล่อยวางแล้วมันจะปล่อยวาง แล้วมีความสุขด้วยนะ สุขจากการวิปัสสนา สุขจากการที่เราจะพ้นออกไปจากกิเลส แล้วเป้าหมายของเรามีอยู่ เป้าหมายของเราคือพ้นออกไปจากสิ่งที่มันควบคุมใจเรา
กิเลสควบคุมใจเรา เราถึงต้องมาเกิดเป็นคนไง แล้วคนนี่คนมีคุณค่าด้วย มีคุณค่าเพราะคนนี้มันประพฤติปฏิบัติ ชำระกิเลสของกิเลสในหัวใจออกมาจากใจของเรา คนนั้นเป็นคนเหมือนกัน แต่น้ำใจ ใจนั้นมีคุณค่า ธรรมในใจนั้นจะสูงส่งขึ้น สูงส่งขึ้นจนรู้ตัวเอง เป็นปัจจัตตัง นี่อกาลิโก ไม่มีกาล ไม่มีเวลา สมัยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าธรรมก็เป็นแบบนี้ สมัยปัจจุบันนี้ธรรมก็เป็นแบบนี้ เพราะทุกข์มันอยู่ที่ใจ สิ่งที่จะแก้ไขนะ ทุกข์ควรกำหนด สมุทัยควรละ ถ้าเราละได้ มันก็จะขาดออกไปจากใจ ขาดออกไปจากใจเพราะเราละด้วย มรรคอริยสัจจัง ไม่ใช่ขาดออกไปจากใจด้วยเรานึกเอาเอง เราคาดหมายของเราเอง มันจะขาดไปไม่ได้
สิ่งที่เป็นโรคเป็นภัยมันต้องมียา ถ้ายาเข้าไปแก้ ธรรมโอสถเกิดขึ้นมาจากมรรคอริยสัจจังนี้ ธรรมโอสถจะเกิดขึ้น ถ้าเราไม่สร้างธรรมโอสถให้เกิดขึ้นมา มันจะเกิดขึ้นมาลอยๆ ไม้ได้หรอก สิ่งนี้ไม่มีสิ่งใดลอยๆ กิเลสมันเกิดมาจากใจ มันอยู่กับเรานี่มันลอยมาไหม มันฝังอยู่กลางหัวใจเลย ฝังอยู่แนบแน่นอยู่ในหัวใจแล้วก็ขับไสให้เราทุกข์ยากไป มันลอยไหม? มันไม่ลอยเพราะมันเป็นนามธรรม สิ่งที่เป็นนามธรรมฝังอยู่ที่ใจแล้วขับเคลื่อนให้ใจนี้ปฏิสนธิจิต จิตนี้ปฏิสนธิในภพชาติต่างๆ มันลอยมาไหม มันมีอยู่โดยพื้นฐาน ในเมื่อมันแสดงออกมา มันจะแสดงเป็นกิเลสออกมา สภาวธรรมเกิดขึ้นมาเพราะเรามีวาสนาต่างหากล่ะ
เราพบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย เราเชื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย แล้วเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ผลมันเกิดขึ้นมาตามสภาวะตามความเป็นจริงด้วย มันถึงเห็นสภาวธรรม การต่อสู้วิปัสสนามันถึงเกิดขึ้นจากใจ ถ้าเราเชื่อ แล้วสักแต่ว่าเชื่อ เราไม่ทำ มันก็ไม่เกิด เราทำขึ้นมาบางทีมันก็ยังผิดพลาดไป ผิดพลาดเพราะการประพฤติปฏิบัติเรา มันต้องมีความผิดพลาดโดยธรรมชาติของการประพฤติปฏิบัตินั้น แล้วพยายามแยกออกไป
ผิดเป็นครู ผิดนี้เริ่มต้นใหม่ เริ่มต้นใหม่ ไม่น้อยเนื้อต่ำใจ
การน้อยเนื้อต่ำใจนั้นคือกิเลสมันหลอกอีกชั้นหนึ่ง กิเลสมันหลอกให้เราน้อยเนื้อต่ำใจว่า เราประพฤติปฏิบัติ เราไม่มีอำนาจวาสนา เราทำไปไม่ได้ เราเหน็ดเหนื่อยเหลือเกิน เราทุกข์ยากเหลือเกิน ใครทำงานแล้วมีความสบาย ทำงานของคนที่แบกหาม เขาจะทุกข์ยากขนาดไหน แล้วเราทำงานในการใช้วิปัสสนาในหัวใจ มันใช้ปัญญาเดินในหัวใจนี่มันจะทุกข์ยากขนาดไหน มันต้องใช้พลังงาน พลังงานทั้งชีวิตนะ
การชำระกิเลสถึงต้องฟากตายไง ฟากตายเพราะถึงที่สุดแล้ว ถ้าไม่เราตาย ก็ต้องกิเลสตาย ถ้าไม่กิเลสไม่ตาย เราก็ต้องตาย เวลาสู้กันขนาดนั้นแล้ว กิเลสมันถึงกลัว เพราะกิเลสมันก็อาศัยชีวิตนี้ดำรงอยู่ อาศัยหัวใจนี้ดำรงชีวิตอยู่ของมัน มันเองถ้าเราตาย มันก็กลัวตายเหมือนกัน เราถึงต้องฟากตาย แล้ววิปัสสนา วิปัสสนาใช้ปัญญาวิปัสสนาใคร่ครวญไป นั้นเป็นสภาวะที่เราทำของเราขึ้นมา นั่นน่ะ เรามีอำนาจวาสนาที่เราเชื่อ แล้วเราปฏิบัติตามสมควรแก่ธรรม วิปัสสนาไปถึงที่สุดแล้วมันต้องจบขบวนการ
ทำสิ่งใด ขั้นตอนใดก็แล้วแต่ มรรค ๔ ผล ๔ มันจะมีขบวนการของมัน ขณะจิตที่มันเปลี่ยนแปลงสภาวะ มันขาดออกไป สภาวะจิตจะปล่อยวางสิ่งนั้นออกไป ขาดออกไปเลย ใจเป็นใจ กายเป็นกาย กายกับจิตจะแยกออกจากกัน แยกออกโดยสภาวะตามความเป็นจริง สภาวะตามความเป็นจริงนี้เป็นปัจจัตตัง รู้จากใจดวงนั้น
เวลาธรรมเกิดขึ้นมาจากใจผู้ประพฤติปฏิบัติ มันจะรู้ตามความเป็นจริง แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ต่อหน้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ยืนยันเท่านั้น ยืนยันว่า ทำมาถูกส่วน ถูกต้องตามความเป็นจริง มันถึงปล่อยวางมาได้ แล้วก็ต้องก้าวเดินต่อไป ยกขึ้นไป กิเลสที่เหนือกว่าอยู่ในหัวใจยังมีอยู่ สิ่งที่มีอยู่ยังทำให้ใจนี้เศร้าหมอง ใจนี้ยอกใจอยู่ ใจจะยอกใจ เพราะเราประพฤติปฏิบัติมา เราฆ่ากิเลสมาตั้งแต่เริ่มต้นมา กิเลสมันก็ต้องตั้งป้อมมาตลอดเวลา ตั้งป้อมจะไม่ให้เราเข้าไปหาสิ่งที่ว่า เป็นผลงานขึ้นมา จะเป็นผลงานขึ้นมา
เราทำธุรกิจ เราจะค้าขายให้กับใคร เราต้องมีลูกค้าของเรา เราถึงจะขายสินค้าของเราได้ นั้นเป็นธุรกิจ เขาทำเขายังต้องมีฝ่ายมีผู้ขายและผู้ซื้อ นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อธรรมจะเกิดขึ้นมา สภาวธรรมจะเป็นผู้ไปฆ่ากิเลส กิเลสมันอยู่ที่ไหน เราจะไปฆ่าลอยๆ ที่ไหน ในเมื่อเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา มันเป็นการบอกแล้วว่า เราฆ่ากิเลส กิเลสมันเกิดขึ้นมาจากใจ ใจนี้มันเกาะเกี่ยวกับสิ่งใด มันหลงสิ่งใด
สภาวะใจนี้เป็นนามธรรม สิ่งที่เป็นนามธรรม เราจะเห็นมันว่า มันเป็นกิเลสได้อย่างไร ในเมื่อมันเป็นเรา สิ่งที่เป็นเรามันต้องมีคุณค่าสิ เรามีคุณงามความดี เราคิดแต่คุณงามความดี เราถือศีลนี้ก็เป็นคุณงามความดีแล้ว เราทำสมาธินี้ก็มีความสงบของใจก็เป็นคุณงามความดีแล้ว แล้วคุณงามความดีนี่มันจะเป็นโทษได้อย่างไร มันไม่เป็นโทษหรอก ในเมื่อเรายังไม่เห็นกิเลส แต่ถ้าเราเห็นกิเลส สิ่งนี้กิเลสมันเอามาใช้ให้เราเชื่อกับสิ่งนี้ แล้วเราก็นอนจมกับสิ่งนี้ ถ้าเรานอนจมกับสิ่งนี้ เราจะเห็นกิเลสไหม ถ้าเราไม่เห็นกิเลส เราจะขึ้นไปชำระกิเลสได้อย่างไร
เราถึงต้องทำความสงบของใจขึ้นมา แล้วขุดคุ้ย ค้นคว้าหาไง หาเชื้อที่มันยอกใจอยู่นี่ สิ่งใดที่มันยอกใจ ยอกใจอยู่นี้มันคืออะไร ถ้าเราทำความสงบอยู่ มันจะสงบอยู่มันจะเวิ้งว้าง...ติด ติดเพราะเหตุนี้
ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ความว่าจะก้าวเดินขึ้นไปเพื่อจะให้สิ้นสุดของการให้กิเลสมันตายออกไปจากใจ ก็ให้สิ่งที่กิเลสมันเอาสิ่งที่ว่าเป็นธรรม ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี้เป็นธรรมแท้ แต่ธรรมของกิเลส กิเลสมันเอาสภาวธรรมยกขึ้นมาหลอกเรา เราก็เชื่อ เพราะเรากับความคิดเราเป็นอันเดียวกัน
เราต้องเชื่อเราสิว่าสิ่งนี้เป็นสภาวธรรม สิ่งนี้ว่าง สิ่งนี้เวิ้งว้าง สิ่งนี้มีความสุขมาก นั่นน่ะ เราก็เชื่อกิเลส แล้วเราก็นอนจมอยู่กับสิ่งนั้น นอนจมนะ ทั้งๆ ที่ว่า มรรค ๔ ผล ๔ ก็มีตำราก็บอกไว้แล้ว ในพระไตรปิฎก ธรรม สภาวธรรม ธรรมและวินัย เป็นศาสดาของเรา องค์ศาสดาก็บอกแล้ว มรรค ๔ ผล ๔ อันนี้มันชำระ ชำระมันเท่าไร มันชำระสิ่งที่ว่ากายกับจิตแยกออกจากกันเท่านั้น แล้วแยกมามันก็เวิ้งว้างโดยสภาวธรรม สภาวธรรมของสิ่งที่เป็นผลมาแล้วสิ สิ่งที่ว่ามันเป็นยอกใจอยู่ข้างหน้านี้มันคืออะไร นั่นน่ะ ต้องยกใจขึ้นไปค้นคว้า
มรรคสูงขึ้นแต่ละชั้นมันละเอียดขึ้นไป สติจะต้องจากสติสัมปชัญญะ ก็ต้องเป็นมหาสติ-มหาปัญญา สิ่งที่เป็นมหาสติ-มหาปัญญา สติมันลึกซึ้งละเอียดอ่อนเข้าไป นี่มันมหัศจรรย์ ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติถึงมหัศจรรย์ในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย มหัศจรรย์ครูบาอาจารย์ด้วยว่า เวลาจิตมันละเอียดเข้าไป มันทำไมมันละเอียดอ่อนขนาดนั้น มันเหมือนกับสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้เลย ใจเราขนาดว่าเราจะจับความรู้สึกของใจ มันยังจับได้ยากเลย แล้วใจมันปลดเปลื้องออกมาเป็นชั้นๆๆ เข้าไป มันยกขึ้นไปได้อย่างไร มันจะเป็นไปได้อย่างไร
แต่ถ้ามันเกิดขึ้นมาจากเรา มันเป็นปัจจัตตัง มันจะเป็นไปได้หรือไม่เป็นไปได้ก็เป็นปัจจัตตัง รู้ท่ามกลางหัวใจ สิ่งที่เกิดขึ้นท่ามกลางหัวใจของเรานี้เป็นพยานหลักฐาน ปัจจัตตังรู้อย่างนี้ ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติมีปัจจัตตังเป็นเครื่องยืนยันกับใจดวงนั้น ใจดวงนั้นก็ต้องย้อนกลับเข้าไป ย้อนกลับเข้าไป ยกขึ้นวิปัสสนา ขุดคุ้ยสิ่งนี้ได้ก็จะเห็นกิเลส สิ่งที่เห็นกิเลสนี้ กิเลสนี้ก็ฉุดกระชากลากไป ลากให้เราล้มลุกคลุกคลานไป
เพราะสิ่งที่เป็นกามราคะ สิ่งที่ว่าเป็นความรุนแรงของใจนี้มันเป็นเรื่องรุนแรง รุนแรงมาก กามราคะในหัวใจรุนแรงมาก รุนแรงต่อเมื่อเจอเท่านั้น จะนอนสงบนิ่งอยู่ในหัวใจ ถ้าเราไม่เจอแล้วจะเวิ้งว้างอยู่อย่างนั้น สิ่งที่เป็นเชื้อโรค โรคที่เป็นโรคอันตราย เวลามันติดขึ้นมา เวลาพิสูจน์เชื้อขึ้นมามันจะพิสูจน์ได้ยาก ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ นี้ก็เหมือนกัน ในเมื่อเป็นกิเลสที่ละเอียดอยู่ในหัวใจ เราจะเอาอะไรไปพิสูจน์ขึ้นมา? ก็ต้องเป็นมหาสติ-มหาปัญญา สิ่งที่เป็นมหาสติ-มหาปัญญาเกิดขึ้นมาจากล้มลุกคลุกคลาน เราสร้างสมขึ้นมา จนเป็นมหาสติ-มหาปัญญาขึ้นมาแล้วขึ้นมา นั้นเป็นผู้ที่เดินถูกต้อง เดินตามอริยมรรค
สิ่งที่มรรคเป็นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้เราเดินตามธรรม ผู้เดินตามธรรม มีสติ มีสัมปชัญญะ แล้วเดินตามธรรมด้วยความระลึกรู้อยู่ มีสัมปชัญญะ การใคร่ครวญ การเห็นความผิดเล็กน้อยของใจนี้ก็เป็นสิ่งที่น่าจะจับต้องได้ ความกระเพื่อมของใจนี้ก็เป็นสิ่งที่ว่า เราจะเห็นความเป็นโทษของมันได้ สิ่งนี้มันเป็นโทษเพราะมันกระเพื่อมออกมาจากใจ ในเมื่อใจมันเป็นความเวิ้งว้าง สิ่งที่กระเพื่อมมันรู้สึกได้อย่างไร สิ่งที่รู้สึกได้ก็ต้องเป็นขันธ์สิ สิ่งนี้มันกระเพื่อมขึ้นมามันต้องเป็นจุด เป็นที่หมาย เป็นมุม เป็นเหลี่ยม เป็นมุมของใจ ถ้าเป็นมุม เป็นเหลี่ยมของใจนี้ ใจยังไม่อิสรภาพโดยธรรมชาติของมัน นี้คือกามราคะ
สิ่งที่เป็นกามราคะ คือขันธ์อันละเอียด ขันธ์อันละเอียดคือธรรมชาติของใจ ใจมันเป็นธรรมชาติอันหนึ่ง แล้วมีขันธ์สิ่งที่ว่า ขันธ์เครื่องดำเนินของมัน เครื่องดำเนินคือธรรมชาติที่ว่าหมุนออกมาเป็นขันธ์อันนั้น แล้วหมุนออกไปแล้วก็ไปยึดสิ่งต่างๆ ยึดตัวมันเอง เสพสมในตัวมันเอง เสพสมในความพอใจไง พอใจในความคิดของตัวเอง พอใจในสิ่งต่างๆ
กามราคะ นี้เป็นเรื่องของโลกเขา กามฉันทะ ความพอใจนั้นก็เป็นกาม สิ่งที่เป็นกาม เรื่องของกาม กามต่างๆ นี้มันจะให้ผลในความติดข้องของใจ ใจจะติดข้องสิ่งนี้มาก ยกขึ้นวิปัสสนาได้ก็เป็นการพิจารณาอสุภะ-อสุภัง สิ่งนี้เป็นอสุภะด้วย มันเป็นความสกปรกของใจ เพราะอวิชชาอยู่ เพราะอวิชชาอยู่ในหัวใจนั้น มันถึงว่า มันปลิ้นปล้อน มันหลอกลวงใจให้ใจเชื่อสิ่งนี้ ถ้าใจเชื่อสิ่งนี้ยังเกิดในกามภพ
สิ่งที่เป็นกามนี้ต้องทำให้ใจเกิด แม้ทั้งๆ ที่ว่าเราวิปัสสนาเข้ามา มันปล่อยวางเข้ามาเป็นชั้นเป็นตอนเข้ามา นี้ก็เป็นเครื่องหลอก สิ่งที่หลอกแล้วการต่อสู้กับใจนี้จะต่อสู้อย่างรุนแรง ต้องมีสัมมาสมาธิ มีความรุนแรงของความสงบของใจ พลังงานของใจเกิดขึ้นมาถึงจะต่อสู้ได้ ถ้าพลังงานของใจไม่มีพื้นฐานขึ้นมา เราจะล้มลุกคลุกคลานนะ กิเลสมันจะขี่คอ มันจะเหยียบย่ำสิ่งนี้ การวิปัสสนา ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเวลางานมันเกิดขึ้นมาแพ้ก็มี ชนะก็มีเป็นครั้งเป็นคราวไป ผู้แพ้ขึ้นมา แพ้เพื่อจะสู้ใหม่ ถ้าผู้ชนะขึ้นมามันก็จะปล่อยวาง เราก็จะมีความสุขอยู่ในหัวใจ นั้นวิปัสสนาจะเป็นอย่างนั้นตลอดไป นี่งานในการวิปัสสนา งานในการทำความเพียร งานของใจ
ค่าของใจเกิดขึ้นจากความเพียร เพียรของใจ อาศัยร่างกายนี้เป็นเครื่องดำเนินเฉยๆ เดินจงกรมนี้ก็ใช้กาย นั่งสมาธินี้ก็ใช้กาย แต่กายนี้มันเหมือนหัวตอ กายนี้มันสักแต่ว่ากาย กายนี้มันไม่ใช้ประโยชน์อะไร สิ่งที่เคลื่อนไปนี้คือเคลื่อนด้วยปัญญา ด้วยใจทั้งนั้น อาการของใจ ปัญญาของใจ มรรคของใจนี้เคลื่อนออกไปตลอด แล้วทำการวิปัสสนาตลอด แยกแยะสิ่งต่างๆ
อสุภะ ความไม่สะอาด ความสกปรกโสโครกมันจะเป็นของเราได้อย่างไร มันต้องไม่เป็นเรา อาศัยว่าเพราะมีร่างกายเกิดขึ้น อาศัยเพราะเราต้องดำรงชีวิตอยู่ มันถึงอาศัยกันไป เวลาสลัดแล้วถ้าเราไปเกิดเป็นเทวดาไม่มีร่างกาย มันก็เป็นนามธรรม สิ่งที่เป็นนามธรรม มันก็ให้คุณค่า ให้โทษเป็นความยึดมั่นถือมั่น
นี้ก็เหมือนกัน ถ้าเราวิปัสสนาจิตมันก็เป็นสภาวะแบบนั้น ถ้าวิปัสสนากาย มันเป็นอสุภะ วิปัสสนาคืองานของใจ วิปัสสนาแยกแยะออกไป แยกออกไป บ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า มันจะปล่อยวางหมด ปล่อยวางเฉยๆ ไม่ขาด เพราะปล่อยวาง เพราะอำนาจของมรรคเกิดขึ้น เริ่มมีความว่ามรรคมีกำลังขึ้นมา มรรคมีกำลังขึ้นมา หมุนเวียนออกไป ปัญญาแยกออกไป ปัญญามหัศจรรย์มาก
สิ่งที่เป็นความมหัศจรรย์ของการประพฤติปฏิบัติ นี่ตรงนี้มหัศจรรย์สุดๆ เลย สุดๆ จนถึงที่สุดแล้ว มันมหัศจรรย์แล้วแยกออกไปด้วย เราจะไม่นิ่งนอนใจ ไม่เชื่อใจสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น หน้าที่ของเราคือวิปัสสนาแล้วแยกออก ขันธ์เป็นขันธ์ จิตเป็นจิต แยกออกจากกัน ขันธ์อันละเอียด มันจะปล่อยวางขาดออกไปจากใจ วิปัสสนาเป็นอสุภะ อสุภะนั้นมันจะแปรสภาพ มันจะแปรสภาพไป แปรสภาพไปจนจับต้องสิ่งใดไม่ได้ มันจะปล่อยวางขาดออกไปเลย นั่นน่ะ กามราคะจะขาดออกไปจากใจ สิ่งที่จะออกไปจากใจ เห็นไหม ฝึกซ้อมต่อไป ฝึกซ้อมไปเรื่อยๆ จนมันว่างหมดนะ ฝึกซ้อมต่อไป
เพราะขั้นของอนาคานี้มันเป็นขั้นที่ละเอียดมาก มันมีเป็นชั้นๆ ขึ้นไป ต้องซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำแล้วซ้ำไปเรื่อยๆ จนมันจะปล่อยวาง ปล่อยวางซ้ำอีก ซ้ำอีก จนมันเวิ้งว้างหมดเลย จับต้องสิ่งใดไม่ได้เลย นั้นเป็นเรื่องของใจ ใจล้วนๆ จะเป็นแบบนั้น
ใจไม่ใช่ขันธ์ ขันธ์ไม่ใช่ใจ สภาวะตามความเป็นจริง ขันธ์อันหยาบ ขันธ์อันกลาง ขันธ์อันละเอียดจะขาดเข้ามาเป็นชั้นๆ ด้วยค่าของใจ ด้วยความเพียรของใจ ใจนี้เป็นปัญญาขึ้นมา วิปัสสนาสิ่งนี้ แล้วชำระล้างสิ่งนั้นจนใจเป็นใจ ขันธ์เป็นขันธ์ มันจะเป็นตอของจิต นี่ย้อนกลับเข้าไป ย้อนกลับเข้า แต่มันจะย้อนกลับได้ด้วยยากมาก เพราะธรรมชาติ สิ่งที่เป็นธรรมชาติไม่มีใครทำลายตัวเอง คนที่จะทำให้ตัวเองเจ็บปวดนี้ไม่มีหรอก สิ่งที่ไม่มีมันก็ต้องทรงตัวมันไว้
นี้ก็เหมือนกัน ในเมื่อตัวของจิตมันเป็นธรรมชาติของจิต แล้วมันย้อนจับ ย้อนเข้ามาหาตัวมันเอง ค้นคว้าตัวมันเอง มันจะเป็นไปได้อย่างไร แต่สภาวธรรมเป็นไปได้
อรหัตมรรค สิ่งที่เป็นอรหัตมรรคจะย้อนกลับเข้ามาสิ่งนี้ สิ่งที่จะเกิดอรหัตมรรคได้ต้องอาศัยครูบาอาจารย์เป็นคนชี้แนะ ๑.
๒. เราจะรักษาสิ่งนั้นไว้ แต่กิเลสตัวนี้มันจะร้ายกาจมาก เราจะรักษาสิ่งนี้ไว้ จะบอกสิ่งนี้เป็นความว่าง สิ่งนี้เป็นสภาวธรรม ถ้าสภาวธรรม นี่ติดตรงนี้ ครูบาอาจารย์ติดตรงนี้มาก็มาก หลวงปู่มั่นแก้ไขมา แก้ไขมา แก้ไขตรงนี้ ตรงที่ว่าเราเข้าไปติด
ถ้าเป็นคนที่ประพฤติปฏิบัติ มันยังมีอยู่ มันยังมีความเศร้าหมอง มีความผ่องใส จิตนี้จะเวิ้งว้าง จะมีความสว่าง จะสะอาดอยู่ตลอดเวลา แต่สิ่งที่ว่ามันปักอยู่ในหัวใจ ศรของอวิชชา มันเป็นความไม่รู้เฉยๆ มันละเอียดมาก แม้แต่ว่าความโกง สิ่งที่ถือว่าเป็นคดโกง มันยังเป็นการคดโกงออกไป อันนี้มันเป็นพลังงานเฉยๆ เพียงแต่พลังงานผิดกับพลังงานถูกเท่านั้นเอง ถ้าพลังงานผิด มันจะเป็นพลังงาน แล้วมันจะผิดได้อย่างไร? ผิดเพราะว่ามันเป็นความไม่รู้ตัวมันเอง มันเศร้าหมอง มันผ่องใส มันสว่าง มันสว่างแล้วมันก็ต้องเศร้าหมองอยู่อย่างนั้น นี่ย้อนกลับเข้าไป
น้อยมากที่จะเข้าไปหาตรงนี้ได้ แต่ถ้ามีครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์จะคอยเช็คและคอยบอกให้ย้อนกลับเข้าไปตรงนี้ ถ้าสิ่งนี้ย้อนกลับเข้าไป นี่แท่งของธรรมจะอยู่ตรงนี้ไง จิตนี้เป็นตอ จิตนี้เป็นเอก ถ้ามันเป็นหนึ่งเดียว สิ่งที่เป็นหนึ่งเดียว หนึ่งเดียวโดยไม่รู้ จับหนึ่งเดียวที่ไม่รู้นี้คว่ำออกไปมันก็เป็นสิ่งที่สะอาดบริสุทธิ์ สิ่งที่สะอาดบริสุทธิ์ จิต ค่าของคนกับค่าของใจต่างกันตรงนี้ไง ตรงที่ว่า ในเมื่อจิตที่บริสุทธิ์แล้ว
ผู้ใดมีอิทธิบาท ๔ อยู่ จะปรารถนาอยู่กี่ปี กี่เดือนก็อยู่ได้
แต่พวกเราผู้ที่มีกรรมในหัวใจ ถึงที่สุดแล้วเราก็ต้องเป็นสภาวะกรรม กรรมขับไสต้องตายไป ต้องตายไปตามสภาวะกรรม เราอยากจะมีอายุยืนยาว อยากจะมีความอยู่ของเรา เราจะเป็นไปสมความปรารถนาไหม
แต่ผู้ที่มี เอโกธัมโม ธรรมในจิต มีอิทธิบาท ๔ เพราะเวลาจิตมันขยับ มันเคลื่อนออกไปพร้อมกันเลย สิ่งที่มันเคลื่อนออกไป วิมังสา วิมังสาคือการดูจิตอยู่ตลอดเวลา การใคร่ครวญ จิตมันขยับ พอขยับเข้าไปสติมันก็พร้อมออกไป สิ่งที่พร้อมออกไป ถ้ามันจะตาย มันก็ตายตรงนี้ ถ้ามันออกแล้วมันดับ มันก็ตายไป ถ้ามันขยับ เราดูจิตอยู่ เรารักษาจิตเราอยู่มันจะดับไปไหนล่ะ ถ้าเราเหนี่ยวไว้ นี่ชีวิตมันยังสืบต่อไปได้เรื่อยๆ จะอยู่ขนาดไหนก็อยู่ได้ เพียงแต่ว่าประโยชน์โลก-ประโยชน์ธรรม
ถ้าเห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริง เราไม่สนใจกับโลก การเกิดและการตายมีคุณค่าเท่ากัน ถึงไม่ได้ตกใจกับเรื่องการเกิดและการตาย เห็นสภาวะการเกิดและการตายตามความเป็นจริง สิ่งนี้เป็นเรื่องสมมุติ เป็นเรื่องของโลกล้วนๆ เลย แต่หัวใจเป็นธรรมแล้วมันไม่ตาย ไม่ตายตั้งแต่เราคว่ำจากอวิชชาเป็นวิชชาแล้ว รู้ตามสภาวะตามความเป็นจริง จะต้องตายจากชาติสุดท้ายนี้เท่านั้น จะไม่มีการเกิดอีกแล้ว จะไม่มีการตายอีก เพราะจิตนี้ไม่เกิด
สิ่งที่เป็น เอโกธัมโม ธรรมทั้งแท่งนี้จะไม่ไปตกที่ไหน จะไม่ปฏิสนธิที่ไหนอีกเลย เพราะมันไม่ใช่จิตปฏิสนธิ มันเป็น เอโกธัมโม สิ่งที่เป็น เอโกธัมโม จะไม่ไปตกที่ไหน แล้วจะไม่เกิดอีก จะเป็นสิ่งที่คงที่ตลอดไป แต่คงที่แบบไม่มี ถ้าบอกคงที่มันก็ต้องมีสิ่งที่คงที่ แต่สิ่งนี้เป็นเอก เป็นหนึ่งเดียว ไม่มีความคงที่ มันจะเป็นสภาวธรรมออกไป ถึงที่สุดแล้ว ค่าของใจจะเป็นความจริง แล้วจะเป็นความจริงตลอดไป
ค่าของคน ค่าของเราที่เราเกิด เราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราเกิดขึ้นมา เราเป็นคน สิ่งที่เป็นคน มีตัวตน มีร่างกายและมีจิตใจ แล้วเกิดมาด้วยอำนาจวาสนา ถึงได้มาพบพระพุทธศาสนา แล้วเชื่อในการประพฤติปฏิบัติ ปฏิบัติตนขึ้นมา
ค่าของคนในโลก ในเรื่องของโลกเขา ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน เขาทำงานประสบผลสำเร็จแล้วคนนั้นเป็นคนดี คนนั้นเป็นคนที่เจริญรุ่งเรือง แต่ค่าของใจของเขาก็เป็นปุถุชน จะสูงส่งขนาดไหนก็เท่านั้น จะต้องตายไป แล้วจะต้องอาลัยอาวรณ์เพราะตายไปด้วยขันธ์ ขันธ์กับจิตนี้ผูกไป แล้วต้องตายไป
แต่ในเมื่อเราประพฤติปฏิบัติจนเป็นค่าของใจขึ้นมาแล้ว จะไม่เป็นแบบนั้น แล้วจะทรงอยู่ขนาดไหน จะทรงในสถานะไหนก็ทรงได้ ทรงได้ด้วยสภาวธรรมตามความเป็นจริงนั้น นั่นน่ะ มันถึงเป็นความสุขล้วนๆ ไง ความสุขอันนี้เกิดขึ้นจากการประพฤติปฏิบัติ จะทุกข์ยากจะลำบากก็ต้องทนเอา เราจะถึงเป้าหมาย
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในธรรมแล้ว
ประพฤติปฏิบัติแล้ว ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี ต้องได้ผล ตามสภาวะตามความเป็นจริง
เราต้องตั้งใจปฏิบัติของเรา แล้วเราจะสมความปรารถนา เอวัง