ซ่อนกิเลส
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
เทศน์บนศาลา วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๕
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
ตั้งใจฟังธรรมนะ เอาหัวใจเราไว้ในร่างกายเรานะ เอาหัวใจ เอาความรู้สึกนึกคิดมาอยู่กับตัวเรา สิ่งใด เห็นไหม เวลากำหนดพุทโธๆ แม้แต่โลกธาตุจะย่อยสลายไปเราก็อยู่กับพุทโธของเรา ถ้าเรากำหนดพุทโธ เอาใจไว้ในอำนาจของเรา เรากำหนดพุทโธๆ โลกนี้จะเปลี่ยนแปลงขนาดไหนเราก็อยู่กับพุทโธ แต่ถ้ามันไม่เอาใจไว้ในอำนาจของเรา สิ่งใดเกิดขึ้น จิตใจเราคิดแส่ส่ายไปหมด ฉะนั้น ตั้งใจ เอาใจไว้ในร่างกายของเราแล้วฟังธรรม ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ขณะที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสรู้ธรรม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ เขาก็มีความดีความชั่ว เจ้าลัทธิต่างๆ เขาปฏิญาณตนว่าเขาเป็นศาสดา เขามีคุณธรรม เขาเป็นพระอรหันต์ เห็นไหม สิ่งที่ว่า คำว่า เป็นพระอรหันต์ ทุกคนก็ปรารถนา เพราะมันเป็นที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ ทีนี้ คำว่า สิ้นสุดแห่งทุกข์ มันเป็นความเชื่อของเขา ถ้าเป็นความเชื่อของเขา สิ่งที่ว่าความดีความชั่วมันมีอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นความจริงล่ะ ความจริงมันเป็นเช่นนั้นไหม? มันไม่เป็นความจริงเพราะอะไร เพราะความดีความชั่วมันเกิดขึ้นจากอะไร ความดีความชั่วมันเกิดมาจากไหน
เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษากับเขา เห็นไหม ดูสิ พระโพธิสัตว์ เขาปรารถนาแต่คุณงามความดีทั้งนั้น ทำความดี ความดีก็ความดีของโลกไง ถ้าความดี ทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว มันเป็นสัจธรรมอยู่แล้ว สัจธรรมเป็นความจริงอยู่แล้ว ทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว แต่ความดีความชั่วของโลกเขา เห็นไหม ทีนี้ ความดีความชั่วของโลกเขา ทำแล้วมันก็ประสาโลก
เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามารื้อค้นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง เห็นไหม ความดีความชั่วมันเกิดจากตัณหาความทะยานอยากต่างหาก ความดีและความชั่วเกิดจากกิเลส เพราะความมีกิเลสใช่ไหม คนมีกิเลสเขาถึงแสวงหาของเขา แล้วอย่างเรานี่ เราปรารถนาอยากจะพ้นทุกข์ เราอยากปฏิบัติ เรามีกิเลสไหม? ก็กิเลสทั้งนั้นน่ะ มันเป็นกิเลสอยู่แล้ว แต่สิ่งที่เป็นกิเลส ความอยาก อยากในทางความชั่วเป็นกิเลส ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์เลย แต่อยากในทางความดีล่ะ อยากในทางความดีมันมีกิเลสไหมล่ะ? มันเป็น มันยังเป็นอยู่ แต่เป็นก็เป็นเพื่อดีไง ถ้าเป็นเพื่อดีก็เป็นมรรค เป็นการใฝ่ดี ต้องอาศัยความดี อาศัยความมั่นคงของใจนี้เพื่อหาข้อเท็จจริงในหัวใจของเรา
ฉะนั้น มันจะเป็นกิเลส แต่คำว่า เป็นกิเลส กิเลสของใครล่ะ
นี่กามฉันทะ กามราคะ...กามฉันทะคือความพอใจ กามราคะคือเรื่องกามของโลกเขา กามฉันท์ เราพอใจกับเราไหม นี่กิเลสอย่างหยาบ กิเลสอย่างกลาง กิเลสอย่างละเอียด กิเลสมันมีของมันอยู่แล้วไง แต่กิเลสมันมีอยู่แล้วเพราะอะไร เพราะคนเราเกิดมาโดยสัญชาตญาณโดยธรรมชาติมันก็มีอวิชชาโดยธรรมชาติของมันอยู่แล้ว แต่ธรรมชาติอยู่แล้ว เราเกิดขึ้นมาด้วยคุณงามความดีไง มันถึงได้มาเกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นมนุษย์เป็นอริยทรัพย์ เป็นอริยทรัพย์เพื่อสิ่งใด? เป็นอริยทรัพย์มาเพื่อดำรงชีวิตถ้าเขาหาทรัพย์มาเพื่อดำรงชีวิตใช่ไหม เราหาทรัพย์มาเพื่อดำรงชีวิต แต่ถ้าเรายังมีความมั่นคงของใจว่า เราเกิดตายๆ มันต้องมีสิ่งใดอยู่ในหัวใจ ถ้าเราแก้ไขสิ่งนี้ สิ่งนี้เราจะหาอริยทรัพย์เพื่อชำระการเกิดและการตาย ถ้าชำระการเกิดและการตาย แล้วมันอยู่ที่ไหนล่ะ
นี่เราไปแสวงหาที่ไหนมันก็ไม่เจอ เห็นคนเกิดคนตายที่โรงพยาบาล เวลาเขาคลอดเขาก็ไปคลอดที่โรงพยาบาล เวลาคนตายก็ไปตายที่โรงพยาบาล เราก็ไปแสวงหากันที่โรงพยาบาล แล้วคนเกิดคนตายมันอยู่ที่ไหน? มันก็มีแต่ตึก มันก็มีแต่เครื่องมือแพทย์ มันก็มีแต่ซากศพ แล้วเวลาเด็กเกิดใหม่ขึ้นมา พ่อแม่ในครอบครัวก็มีแต่ความชื่นใจ มีแต่ความพอใจ เวลาคนที่ตายในโรงพยาบาลนั้นก็มีแต่คนเศร้าโศกเสียใจ เราไปแสวงหาคนเกิดคนตายที่โรงพยาบาลก็ไม่เจอ เราไปหาคนเกิดคนตายที่ป่าเช้าเราก็ไม่เห็น แต่ถ้าเรามีสติมีปัญญาของเรา เราเชื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราจะหาการเกิดและการตายในหัวใจของเรา
ฉะนั้น เวลาเราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรื่องกิเลสๆ เราศึกษาแล้วเราก็เห็นเหตุเห็นผลนะ เราก็ขยะแขยงเหมือนกันว่าสิ่งที่เป็นความทุกข์ความยากใครก็ไม่ต้องการปรารถนา แล้วเวลาโลก เวลาทุกข์เวลายากกัน นี่เราอธิบายเป็นทางวิชาการก็บอกว่า สิ่งนี้เป็นตัณหาความทะยานอยาก สิ่งนี้เป็นกิเลสๆ...แล้วมันเป็นกิเลสทั้งตัวทั้งตนเลยเหรอ มันเป็นกิเลสทั้งพ่อแม่ปู่ย่าตายายเป็นกิเลสหมดเลยเหรอ แล้วเป็นกิเลสแล้วเราจะออกทางไหนล่ะ เห็นไหม
ถ้าเราศึกษาขึ้นมาแล้วเราก็ขยะแขยง เราก็ไม่อยากจะพบจะพานกิเลสเลย เราอยากจะพบจะพานแต่สิ่งคุณงามความดีทั้งนั้นน่ะ นี่มีการศึกษานะ แม้การศึกษาเรายังเห็นโทษของมันว่ากิเลสมันน่าเกลียดน่ากลัว เราก็อยากได้ธรรม อยากได้ศีล สมาธิ ปัญญา อยากได้ธรรมโอสถ อยากได้ความร่มเย็นเป็นสุข เราก็อยากของเรา เห็นไหม นี่เราอยากของเรา แล้วสิ่งนี้เป็นธรรมขึ้นมาไหมล่ะ
เวลาเราระลึกถึงธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราก็มีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอาศัย อย่างถ้าเรามีความโลภ ความโกรธ ความหลง เวลามีความโกรธ ความโกรธมันก็ทำให้เราโกรธ ทำให้เลือดสูบฉีด ทำให้อารมณ์มันขุ่นมัว ถ้าเราหลงเราก็เชื่อคนง่าย เราก็หลงใหลไปเลย ถ้าความโลภ ความโลภเราก็แสวงหาเพื่อชีวิตของเรา แสวงหามาไม่มีที่สิ้นสุด เห็นไหม เสร็จแล้วถ้าเรามีสติปัญญา อืม! นี่ก็เป็นกิเลส สิ่งนี้มันเป็นกิเลสนะ ความโลภ ความโกรธ ความหลง มันเป็นกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความหลง ทำให้เราทุกข์เรายาก แต่เราจะแก้ไขกันอย่างไรล่ะ
ถ้าเราศึกษามานะ ศึกษาแล้ว ถ้าเราศึกษา เราตรึกในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันก็สงบระงับ สิ่งนี้มันเป็นเรื่องโลกๆ น่ะ นี่เราศึกษา เราเห็นว่าเห็นดีและชั่ว สิ่งที่เป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยากก็ทำให้เราเพลิดเพลินหลงใหลกับชีวิตนี้ไป แล้วถึงที่สุดแล้วเวลาตายไป เห็นไหม เวลาคนเกิดอุบัติเหตุ เวลาคนนอนหลับตายไปไม่รู้สึกตัวนะ นอนแล้วตายไปเลย แล้วตายแล้วไปไหนล่ะ มันไปแล้ว จิตมันไปแล้ว ไปสัมภเวสี ไปเกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม ถ้าไปเกิดในนรกอเวจี มันไปแล้ว ถ้ามันไปแล้ว เห็นไหม แล้วเราบอกว่า สิ่งที่เราจะหาอริยทรัพย์เพื่อชำระการเกิดและการตาย แล้วจะไปหากันที่ไหนล่ะ
แม้แต่การศึกษา ถ้าเราตรึกในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันก็เศร้า มันก็สลดนะ มันหาทางออกไม่ได้ มันเป็นปริยัติ มันเป็นทางวิชาการ สิ่งที่หาทางออกไม่ได้เราก็พยายามแสวงหาทางออกกันอยู่ แสวงหาทางออก เห็นไหม การศึกษามา แล้วถ้าปฏิบัติ ถ้าคนเรานะ จิตใจวุฒิภาวะมันอ่อนแอ จะปฏิบัติขึ้นมา จะทำสิ่งใด เหมือนคนจะทำหน้าที่การงานต่างๆ เราก็ห่วงหน้าพะวงหลังไปหมดเลย ละล้าละลังไม่กล้าทำน่ะ จิตใจมันไม่กล้า แต่ถ้ามันตัดสินใจแล้วมันทำสิ่งใดไปเลย ผิดก็ผิด ถูกก็ถูก แล้วเราแก้ไขของเราไป นี่สิ่งนั้นคนจะออกประพฤติปฏิบัติก็เป็นแบบนี้
เวลาจะไปปฏิบัติ มันจะได้หรือไม่ได้ ปฏิบัติแล้วมันจะได้ผลหรือไม่ได้ผล มันละล้าละลังไปหมดน่ะ เห็นไหม เราก็ยังอยู่แต่ทางโลกไง เราศึกษามันเป็นคติ เห็นไหม ทุกคนมั่นใจในความรู้สึกของเรา มั่นใจคือมั่นใจตัวเอง มั่นใจว่าจิตมันอยู่กับเรา เราก็ต้องมีความมั่นคงของชีวิต
แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถามพระอานนท์นะ อานนท์ เธอระลึกถึงความตายวันละกี่หน
พระอานนท์บอกว่า ระลึกถึงความตายวันละ ๖ หน ๗ หน
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก ไม่ใช่หรอก ระลึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก
หายใจเข้าแล้วไม่หายใจออกก็ตาย หายใจออกแล้วไม่หายใจเข้าก็ตาย ดูสิ นี่ความเกิดความตายมันอยู่ที่นี่ แค่หายใจเข้าแล้วไม่หายใจออกมันก็ตายแล้ว สิ่งที่มันตายแล้ว เห็นไหม ระลึกถึงมรณานุสติ ระลึกถึงความตายทุกวินาที ถ้าระลึกถึงความตาย เห็นไหม ถ้าระลึกอย่างนี้ จิตใจมันก็อยู่ มันมีสติ มันมีธรรมสังเวช มันสลด ถ้ามันสลดขึ้นมามันเป็นธรรมไหม นี่ถ้ามันศึกษาธรรมมันก็ศึกษามาเป็นเครื่องให้ใจมันได้เปรียบเทียบ ให้ใจมันได้ที่พึ่งที่อาศัย
แต่เวลาเราจะแก้กิเลสกันจริงๆ นะ เราจะชำระกิเลส ปริยัติแล้วปฏิบัติ เวลาปฏิบัติขึ้นมานี่เราก็มีความมุมานะ มีการกระทำของเรา เราจะเอาชนะตนเองให้ได้ ถ้าเราเอาชนะตนเองได้ เราก็ทำความสงบของใจเข้ามาได้ ถ้าเราเอาชนะตนเองไม่ได้ เราไม่มีสติมีปัญญา เรากำหนดพุทโธหรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าจิตใจมันไม่สงบขึ้นมา เห็นไหม เด็ก ถ้าปล่อยให้มันวิ่งเล่นตามสบายของมัน มันก็มีความเพลิดเพลินของมันทั้งชีวิตของเด็ก ความรับผิดชอบของเด็กนั่นแหละ เด็ก ถ้าบอกให้มันนั่งทำงาน เด็ก ให้มันนั่งให้เรียบร้อยนะ เด็กมันอึดอัดขัดข้อง ใจ ถ้ามันเป็นเรื่องโลกๆ ใจเป็นโลกมันคือความเคยชิน
ทุกคนบอกว่าเรามีความสำคัญ เรามีความมั่นใจ เรานี่เป็นตัวตนของเรา เรามั่นใจของเราทั้งนั้นน่ะ เราจะทำสิ่งใดมันมั่นใจตัวมัน แต่เวลาเอาเข้าจริงๆ ความมั่นใจนั้นคืออะไรล่ะ ถ้าเป็นทิฏฐิ ถ้าสัมมาทิฏฐิ ศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วเรารู้จริงหรือเปล่า เราทำความเป็นจริงอย่างนั้นไหม
แต่ถ้ามันเป็นมิจฉาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิเพราะอะไร มิจฉาทิฏฐิเพราะความเห็นผิดจากอวิชชา ความเห็นผิดจากความไม่รู้ในหัวใจของเรา พอความไม่รู้ในหัวใจของเรา เราคิดสิ่งใดเราก็เชื่อความรู้สึกนึกคิดของเราออกไป มันเป็นมิจฉาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิขึ้นมา เห็นไหม ทำสิ่งใดไปด้วยความเชื่อมั่นของตัวเองไป แล้วมันไปไหนล่ะ มันจะเข้าไปสู่ความจริงไหม
ฉะนั้น สิ่งที่ความเป็นทิฏฐิมานะในใจ เวลาเราจะตั้งสติเพื่อจะกำหนดพุทโธๆ ขึ้นมา มันจะสงบระงับเข้ามาไหม มันจะสงบระงับเข้ามาเป็นความจริงไหม ถ้ามันไม่สงบระงับเข้ามา เราจะหาอุบายวิธีการอย่างไรเพื่อให้จิตใจของเราให้มันเข้าสู่ความสงบ ถ้าเข้าสู่ความสงบเพื่อสิ่งใด? เข้าสู่ความสงบเพื่อจะเข้าไปรื้อค้นหากิเลสตัณหาความทะยานอยากนะ
เราบอกว่าเราอยากจะประพฤติปฏิบัติกัน เราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาแล้วว่านั่นคือกิเลสๆ กิเลสเป็นสิ่งที่ไม่ดีไม่งามทั้งนั้นน่ะ แต่เวลาเราปฏิบัติขึ้นไป เราปฏิบัติด้วยตามความไม่รู้ของเรา ถ้ากิเลสเป็นสิ่งที่ไม่ดี เรา ถ้าเป็นความตั้งใจนะ ความตั้งใจก็กลบซ่อนมันซะ เอากิเลสไปซ่อน เอากิเลสไปกลบฝังซะ กิเลสมันจะได้ไม่มีในหัวใจของเราไง ถ้าเราคิดนะ นี่ความตั้งใจ ตั้งใจว่าเราอยากชำระกิเลส เราอยากสลัดกิเลสให้ทิ้งออกไปให้มันสิ้นไปจากหัวใจของเราด้วยการกลบฝัง ด้วยการที่ซ่อนเร้นมัน นี่ซ่อนกิเลสไว้
ความตั้งใจ ถ้าความตั้งใจเพราะสิ่งใดล่ะ ความตั้งใจเพราะเราตั้งใจทำของเรา เราตั้งใจทำเพราะวุฒิภาวะของจิตมันอ่อนแอ มันถึงทำของมันอย่างนั้น ถ้าทำของมันอย่างนั้นนะ มันเป็นความจริงไหม สิ่งที่ซ่อนไว้มันเป็นการชำระล้างไหม? มันไม่เป็นการชำระล้างหรอก สิ่งที่มันซ่อนไว้ ถ้ามันเป็นสิ่งของ ถ้าซ่อนไว้ เราลืม หรือซ่อนไว้แล้วใครลักขโมยต่อไป สิ่งของที่มีค่านั้นเราจะสูญเสียไป แต่ถ้ามันเป็นเรื่องนามธรรม เป็นเรื่องกิเลส เวลาเราไปซ่อนไว้แล้ว คนอื่นเขาจะมารับรู้กับเราไปไม่ได้หรอก เพราะมันเป็นเรื่องในหัวใจของเรา เป็นเรื่องความรู้สึกนึกคิดของเรา ใครจะมาขโมยความรู้สึกนึกคิดของเราไปไม่ได้ มันเป็นนามธรรม
กิเลสที่เป็นนามธรรม เราจะซ่อนเร้นไว้ขนาดไหนนะ มันก็อยู่ในหัวใจของเรานั่นน่ะ เราจะลืมไปขนาดไหน เราจะแกล้งว่าไม่เห็นมัน ไม่เห็น ไม่มอง ไม่สนใจมัน เพราะเราว่าเราซ่อนแล้ว มันจะไม่เกิดกับเรา เห็นไหม แล้วสิ่งนี้ เวลามันเป็นเชื้อ เหมือนเชื้อโรค ถ้าเชื้อโรคมันโดนของแสลง เชื้อโรค ถ้าร่างกายอ่อนแอ เชื้อโรคนั้นมันจะกำเริบทันที เราจะเจ็บไข้ได้ป่วยทันที นี่พูดถึงเชื้อโรค
แต่ถ้าเป็นกิเลส เห็นไหม มันเป็นเชื้อโรค ถ้ากิเลสเป็นเชื้อโรค ถ้ามันเอาไปซ่อนเร้นไว้ มันคิดว่ามันไม่มี แต่ถึงเวลาแล้วถ้ามันแสดงตัวออกมา ถึงเวลามันเจอของแสลงของมัน มันมีความโลภ ความโกรธ ความหลง ถ้ามีอะไรกระทบมานี่ เวลามันออกมา เห็นไหม ซ่อนไว้ขนาดไหนมันจะไม่แสดงตัวได้ไหม? มันเป็นไปไม่ได้ นี่คือความตั้งใจไง ความตั้งใจว่าเราจะประพฤติปฏิบัติ
เราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า กิเลสนี้เป็นของน่าเกลียดน่ากลัว กิเลสนี้มันทำโทษเรามาก ให้โทษให้ภัยเรามามากมายมหาศาล มันทำให้เราต้องเกิดต้องกาย ทำให้มันทุกข์ยากมาขนาดนี้ เราเกิดมาเป็นชาวพุทธได้ศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราก็จะกลบจะซ่อนมัน จะทำไม่ให้มันมีในหัวใจของเรา เราจะเอาให้จิตใจของเราบริสุทธิ์ แล้วมันเป็นไปได้ไหมล่ะ? มันเป็นไปไม่ได้ มันเป็นไปไม่ได้เพราะมันเป็นนามธรรม นี้พูดถึงความตั้งใจนะ
แล้วถ้าไม่ได้ตั้งใจล่ะ ไม่ได้ตั้งใจ ทำด้วยความไม่รู้ ถ้าจิตใจมันไม่รู้ เห็นไหม เราตั้งสติของเรา แล้วว่าเราชำระล้างกิเลสของเราด้วยความไม่รู้ เห็นไหม ทำไปด้วยวุฒิภาวะ ด้วยมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดในหัวใจของเรา เราคิดว่าเราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาแล้ว เราศึกษาทฤษฎีมาแล้ว แล้วเราจะประพฤติปฏิบัติทำให้เป็นความจริงขึ้นมา
กิเลสเป็นสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม กิเลสมันทำให้เกิดให้ตาย กิเลสมันอยู่ในหัวใจของเรา กิเลสมันคืออวิชชาความรู้ กลบฝังมันซะ แล้วกลบฝังมันอย่างไร นี่ถ้าความตั้งใจไง ความตั้งใจแล้วทำไป ความตั้งใจนั้น เพราะเขาทำแล้วเขาตั้งใจทำ คิดว่าสิ่งนั้นมันเป็นวิธีการ แต่ถ้าด้วยความไม่รู้ล่ะ ด้วยความไม่ตั้งใจ เพราะไม่ตั้งใจ เวลาทำขึ้นไปนะ เราถึงไม่รับรู้มันไง เพราะปฏิเสธมันว่ามันไม่มี ปฏิเสธมันเพื่อทำลายมันซะ ขยะที่เป็นขยะพิษ เวลาเขากลบฝังมันน่ะ เขาไปกลบฝังนะ เขาฝังกลบของเขาในหลุมขยะ นี่ฝังกลบแล้วมันจะอันตรธานหายไปไหม
เวลาถ้ามันเป็นสารพิษ มันย่อยสลายไปนะ มันลงไปแหล่งน้ำ มันลงไปในที่ดินนั้น มันเป็นความเสียหายไปทั้งนั้นเลย มีภวาสวะ ภพ ภพคือในหัวใจของเรา ถ้ามันกลบฝังของมันไว้ เห็นไหม สนิมเกิดจากเหล็ก สิ่งที่เป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยากทำให้เราทุกข์เรายากอยู่แล้ว แล้วสิ่งนี้มันอยู่ในหัวใจของเรา แล้วเราทำกลบฝังมันด้วยความไม่ตั้งใจ ไม่ตั้งใจคือไม่คิด ไม่รู้ว่ามันเป็นจริงและไม่เป็นจริง ถ้าตั้งใจคือความต้องการเป็นอย่างนั้น ถ้าความต้องการเป็นอย่างนั้น วิธีการเป็นอย่างนั้น นี่คือมิจฉาทิฏฐิ
แต่ถ้าความว่าเราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเราพยายามปฏิบัติให้ตรงแนวทางธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเราทำของเราด้วยวุฒิภาวะเราเท่านั้น เห็นไหม มันไม่ตั้งใจ ไม่ตั้งใจมันก็ไม่ได้ชำระล้างกิเลสสิ่งใดๆ เลย แล้วถ้ามันกลบฝังไว้ในหัวใจของเรา เห็นไหม มันกลบฝังไว้ในหัวใจของเรา มันต้องแสดงตัวแน่นอน แล้วพอแสดงออกมา มันแสดงให้เราทุกข์เรายากด้วย
เราปฏิบัติไปแล้ว เราก็ว่าเราจะประสบความสำเร็จ เพราะเราได้กลบฝังมันไว้แล้ว แล้วเวลาเราพิจารณาไป พิษของมัน มันก็คายพิษ เวลามันคายพิษออกมามันจะให้เราได้เจ็บปวดแสบร้อนในใจแน่นอน เวลามันคายพิษออกมานะ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างนี้หรือ ทำไมมันสร้อยเศร้าเหงาหงอย ทำไมมันไม่อาจหาญ ทำไมมันไม่รื่นเริงอย่างนั้นเลย เห็นไหม นี่เวลาพิษมันแสดงตัวไง
นั้นมันถึงว่า การกลบซ่อนไว้มันไม่ใช่การชำระกิเลส ถ้าในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ทางโลก เกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ นี่กิเลสเป็นอย่างไร องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เข้าใจมัน แล้วไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ ที่เขาบอกว่าเขาเป็นศาสดาๆ เห็นไหม ความดีและความชั่วมีอยู่ประจำโลก โลกธรรม ๘ เป็นธรรมะเก่าแก่นะ สรรเสริญ นินทา มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ มีมาก่อนพุทธกาล สมัยพุทธกาลก็มีอยู่ ต่อไปก็จะมีอยู่อย่างนั้น
ฉะนั้น สิ่งที่ว่า เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ ความดีความชั่วมันก็มีของมัน แต่ความดีความชั่วนี้มันไม่มีที่มาที่ไปว่ากิเลสมันบิดเบือนมันอย่างไรมันถึงมาเป็นความดีความชั่วอย่างนั้น ฉะนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ ไปศึกษามาแล้วถึงได้ปฏิเสธหมดไง
เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามารื้อค้นในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง เวลาจิตมันละเอียดเข้าไป เห็นไหม บุพเพนิวาสานุสติญาณ นี้มันเป็นญาณหยั่งรู้ ญาณหยั่งรู้ว่าจิตนี้มาจากไหน จิตนี้ได้สร้างสมบุญญาธิการมาอย่างใด นี่เกิดมากี่ภพกี่ชาติ ไปไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีต้นไม่มีปลาย ดึงกลับมา ดึงกลับเพราะมีสติสัมปชัญญะ เพราะได้สร้างสมบุญญาธิการมามาก ดึงกลับมา เห็นไหม พอจิตสงบเข้ามา มีกำลังขึ้นมา จุตูปปาตญาณมันออกไปรู้ จิตมันต้องเกิด คือมันมีอยู่ของมันน่ะ มันต้องมีเหตุมีผลของมัน ในเมื่อมีเหตุมีปัจจัยมันต้องไปของมันไม่มีวันที่สิ้นสุด ถ้าอย่างนี้มันก็ไม่จบ เห็นไหม ดึงกลับมา คือดึงกลับมาอยู่ที่ผู้รู้ ดึงกลับมาอยู่ที่ใจ พอมาอยู่ที่ใจ พอจิตสงบเข้าไป อาสวักขยญาณมันชำระล้าง การชำระล้างมันชำระล้างในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยมรรคญาณ ด้วยอริยสัจ ด้วยสัจจะความจริง
เวลาด้วยสัจจะความจริง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา เห็นไหม ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค นี่อริยสัจ สัจจะความจริง ทุกข์ควรกำหนด สมุทัยควรละ เกิดนิโรธ เกิดมรรค เกิดนิโรธได้เพราะมรรคอันนั้น ถ้ามันเป็นสัจจะความจริง นี่กิจจญาณ สัจจญาณ ถ้าไม่มีกิจจญาณ สัจจญาณ มีวง ๓ รอบ เราจะไม่ปฏิญาณตนว่าเป็นพระอรหันต์
เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดในธัมมจักฯ กับพระอัญญาโกณฑัญญะ สิ่งที่ปัญจวัคคีย์เขาตั้งกันแล้วว่าจะไม่รับ เพราะสิ่งที่เขาเห็นว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอดอาหารมา ทำทุกรกิริยามามหาศาล สุดท้ายแล้วก็มาฉันอาหารของนางสุชาดา นี่ด้วยความรู้สึกของโลกว่ากลับมามักมาก เห็นไหม ทำทุกรกิริยาคือทรมานตนขนาดนั้นยังไม่สำเร็จ แล้วเวลามาฉันอาหารของนางสุชาดา กลับมากินอาหารมันจะสำเร็จได้อย่างใด นี่ความคิดความเห็นของโลก
ความเห็นของโลกคือความเห็นของวัตถุ แต่เวลาในเรื่องการประพฤติปฏิบัตินี้เป็นเรื่องนามธรรม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปฏิบัติขึ้นมาเป็นความจริง ความจริงก็คือความจริง
เวลาคนว่ายน้ำไม่เป็น เวลาลงไปในน้ำแล้วมันก็ว่ายน้ำใหญ่เลย ทั้งๆ ที่น้ำตื้นมันพอไปได้ มันก็ว่าย มันก็คิดว่าสิ่งนั้นเป็นความจริง ถ้าเขาลงไปในน้ำลึกนะ ถ้าคนว่ายน้ำไม่เป็นมันก็ตะกุยไปกับน้ำ มันไม่รู้หรอกว่าคนว่ายน้ำเป็นนี่เขาลอยตัวอย่างใด เห็นไหม คนว่ายน้ำเป็นตกน้ำแล้วมันก็ว่ายไปธรรมชาติของการว่ายน้ำนั้น
จิต ถ้ามันภาวนาเป็นนะ คำว่า ภาวนาเป็น เราลอยตัวอย่างไรในกระแสน้ำนั้น ถ้าพูดถึง คนว่ายน้ำไม่เป็นเขาไม่รู้หรอกว่าสภาวะที่เขาลอยอยู่ในน้ำเป็นอย่างไร คนว่ายน้ำไม่เป็น ถ้าตกน้ำนะ เขาจะตะเกียกตะกาย เพราะเขากลัวจมน้ำตาย พอเขาจมน้ำตาย นี่ความรู้สึกมันแตกต่างกัน ความรู้สึก เห็นไหม ถ้าไม่มีกิจจญาณ ไม่มีสัจจญาณ ไม่มีสัจจะความจริง เขารู้สิ่งนี้ไม่ได้ ถ้าเขารู้สิ่งนี้ไม่ได้ เห็นไหม กิเลส ถ้าเราคิดของเราเองทางโลก เราก็จะซ่อนมันไว้ กลบฝังมันไว้ ถ้ากลบฝังมันไว้แล้วมันจะไม่เกิดอีก นั้นเป็นความคิดความเห็นของโลกเขา
แต่ถ้าเป็นความจริงนะ ความจริง เราจะต้องทำความจริงของเรา ถ้าความจริงของเรานะ ถ้าจิตเราไม่สงบ สิ่งที่รู้ที่เห็นมันเป็นเรื่องโลกๆ ทั้งนั้น ถ้าเรื่องโลกๆ ทั้งนั้น แล้วมันจับต้องสิ่งใดมันก็ไม่ชัดเจน มันไม่ชัดเจน เพราะเราไม่ได้เห็นตามความเป็นจริง ถ้าเราเห็นความเป็นจริงนะ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาเทศนาว่าการว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้เองโดยชอบ นี่ถ้ามันเป็นความจริงมันจะชอบธรรมของมัน มันมีเหตุมีผล มีที่มาและที่ไป มีเหตุมีปัจจัย ถ้ามีเหตุมีปัจจัย เหตุ เพราะเหตุใด แล้วผลของมันเป็นอย่างใด ถึงที่สุดแล้วการประพฤติปฏิบัติจริงต้องตามนั้น
ฉะนั้น ถ้าเป็นการฝังกลบ ถ้าเราจะซ่อนมันด้วยความรู้ความเห็นของเรา มันเป็นไปไม่ได้ ถ้าการซ่อนกิเลส การเอากิเลสไปซ่อนไว้ มันมีแต่จะทำให้เราเสียโอกาสไป เว้นไว้แต่เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราปฏิบัติของเราด้วยเต็มกำลังความสามารถของเรา ถ้ามันได้ผลอย่างใด มันก็ต้องให้ผลอย่างนั้น ถ้าได้ผลอย่างไรนะ เวลาทำบุญกุศล สิ่งที่ว่าทำบุญกุศลเป็นบุญของเรา แล้วถ้าเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เห็นไหม ทำทานร้อยหนพันหนไม่เท่าถือศีลบริสุทธิ์หนหนึ่ง มีศีลบริสุทธิ์ร้อยหนพันหนไม่เท่ากับจิตทำความสงบของใจได้หนหนึ่ง มีสมาธิร้อยหนพันหนไม่เท่าเกิดปัญญาขึ้นมาหนหนึ่ง ปัญญาที่เกิดจากสัมมาสมาธิไง
ฉะนั้น การภาวนาของเรา ถ้าเราบอกปฏิบัติแล้วเราไม่ได้ผล แล้วเราปฏิบัติไปเพื่อให้ภพชาติมันสั้นเข้า ปฏิบัติไปเพื่อเพิ่มอำนาจวาสนาบารมีของเรา ถ้าเราทำอย่างนั้น เพราะการภาวนาคือการทำบุญกุศลที่สูงสุด เพราะมันจะทำให้เราเกิดปัญญา ปัญญาของเรานะ ปัญญาเกิดจากภายใน ปัญญาเกิดจากภาวนามยปัญญา คือปัญญาที่เกิดจากจิตที่มันชำระกิเลสในจิตนั้น เกิดจากหัวใจที่ชำระกิเลสในหัวใจของเรา ถ้ามันจะชำระล้างอย่างนี้มันถึงจะเป็นความจริงที่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่อาสวักขยญาณเกิดในหัวใจองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ชำระล้างกิเลสจนเป็นพระอรหันต์ขึ้นมา เป็นศาสดาของเรา สั่งสอนให้เราประพฤติปฏิบัติ
ถ้าเราประพฤติปฏิบัติ เราต้องทำความเป็นจริง ถ้าเราทำความเป็นจริงขึ้นมา เราทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าจิตมันสงบเข้ามาได้ ถ้ามันเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม ตามความเป็นจริง ถ้าเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม ตามความเป็นจริง มันจะสะเทือนกิเลส
ถ้าการเห็นกิเลส นี่กิเลส ว่ากิเลสเป็นนามธรรม จิตใจเรานี้เป็นนามธรรม กิเลสก็เป็นนามธรรม สิ่งที่เป็นนามธรรมกับนามธรรมอาศัยอยู่ด้วยกัน ถ้าสิ่งที่เป็นนามธรรมกับนามธรรมอาศัยอยู่ด้วยกัน เวลาเราทำความสงบของใจ ถ้าเราทำความสงบ กำหนดพุทโธหรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าเรามีสติปัญญาขึ้นมา เราจะเห็นว่าความคิดเรานี่เร็วมาก ความคิดทำไมมันเร็วมาก ทำไมความคิดเราควบคุมไม่ได้ ทำไมกำหนดพุทโธนี่ ทำไมเดี๋ยวแฉลบไปคิดที่บ้าน เดี๋ยวจะแฉลบไปคิดแต่เรื่องคนอื่น ทำไมเราตั้งใจคิดพุทโธ ทำไมมันไม่อยู่กับพุทโธล่ะ เราตั้งใจพุทโธแล้วนี่ มันควรจะอยู่กับพุทโธสิ มันไม่ควรจะไปไหนเลย เห็นไหม นี่เพราะอะไรล่ะ
เพราะเรามีสติ เรามีการฝึกฝนขึ้นมา เราถึงเห็นว่าจิตใจของเรามันเร็วมาก ถ้าจิตใจของเราเร็วมาก ถ้าเราตั้งสติ เห็นไหม มันจะเร็วขนาดไหน มันจะมีกำลังมากขนาดไหน สตินี้ยับยั้งได้หมด สติ ถ้ามีสติ พุทโธก็ชัดเจน ถ้าขาดสติมันก็แฉลบไปทั่ว มันคิดไปร้อยแปด แล้วเราก็คิดจะแก้ไขนะ เวลาคนกำหนดพุทโธหรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิ พอมันล้มลุกคลุกคลานมา จะหาทางแก้ไขๆ คิดออกไปหมดเลย นั่นน่ะเข้าทางมัน เห็นไหม
เวลาบอกว่าซ่อนกิเลสไว้ แต่นี้กิเลสหลอกเราไว้ บอก นี่ถ้าพุทโธแล้วมันไม่ได้ พุทโธแล้วทำสิ่งใดไม่ได้ เราต้องหาอุบายวิธีการต่างๆ อุบายก็ร้อยแปดพันเก้าไปเลย
แต่ถ้ามีสติ เราใช้สติของเราพุทโธชัดๆ พุทโธชัดๆ เพราะถ้าการที่ว่าหาอุบายวิธีการ เวลาเราปฏิบัตินะ อุบายในการทำความสงบของใจนี้อย่างหนึ่ง อุบายในการออกใช้ปัญญานั้นอย่างหนึ่ง การทำความสงบของใจเป็นหน้าที่ของหัวใจ ควรจะมีความสงบระงับเพื่อมีกำลังขึ้นมา เพื่อจะได้ทำงานต่อเนื่องกันไป ฉะนั้น เวลาจะเริ่มภาวนานี่ต้องทำความสงบของใจ ถ้าใจมันสงบแล้วมันจะมีกำลังของมัน ถ้ามีกำลัง
ทำไมต้องมีกำลังด้วยล่ะ
ถ้าไม่มีกำลัง เห็นไหม เวลาคิดมันก็คิดเรื่องโลกๆ เราไม่ต้องทำสิ่งใดเลย ดูทางโลกเขานะ เขาไม่ต้องกำหนดพุทโธ ทำไมเขาเรียนจบดอกเตอร์กัน ทำไมเขาทำงาน เขาเป็นศาสตราจารย์กัน เขาไม่ต้องทำพุทโธเลย นั้นเป็นวิชาชีพ นั้นเป็นทฤษฎี นั้นเป็นเรื่องโลกที่เขาใช้ตรรกะ ใช้สัญชาตญาณของเขาตรึก ใช้สัญชาตญาณของเขาค้นคว้า ใช้สัญชาตญาณของเขาทำทางวิชาการ เขาก็ได้สิ่งที่เขาปรารถนามา สิ่งนี้แก้กิเลสได้ไหม? สิ่งนี้ไม่ใช่แก้กิเลส
เวลาเราบอกว่าเราจะซ่อนกิเลสไว้ นี่ซ่อนไว้เพื่อไม่ให้มี ซ่อนไว้เพื่อไม่ให้รับรู้ ซ่อนไว้เพื่อให้มันจบสิ้นกันไป...มันจบสิ้นไม่ได้ แต่เราจะมาปฏิบัติจริงๆ ขึ้นมา กิเลสมันจะซ่อนธรรมะไว้ไม่ให้เราเห็นนะ ถ้ากิเลสมันซ่อนธรรมะเรา มันก็เอาความรู้สึกนึกคิดนี้มาอ้างไง อ้างว่า ทำไมต้องทำพุทโธ คนไม่กำหนดพุทโธเขาประสบความสำเร็จไปมหาศาลเลย
แล้วประสบความสำเร็จเรื่องอะไรล่ะ? ประสบความสำเร็จทางวิชาชีพของเขา วิชาชีพนี้เป็นวิชาชีพ คือวิชาการที่เลี้ยงชีพ ถ้าเลี้ยงชีพของเขา เขาไม่ต้องกำหนดพุทโธก็ได้
แล้วในปัจจุบันนี้ เห็นไหม ดูสิ พระปฏิบัติขึ้นมา พุทโธๆๆ พุทโธก็ขายได้นะ พุทโธนี้ก็เป็นวิชาชีพได้ เอาพุทโธนี่มาสั่งสอน เอาพุทโธมาเพื่อเป็นที่ศรัทธาของคน เขาก็เอาพุทโธมาขายเหมือนกัน แต่นี่ก็เป็นวิชาชีพเหมือนกัน
แต่ถ้าเรามีสติมีปัญญา เราไม่ใช่เอาพุทโธมาขายเพื่อเลี้ยงชีพ เราต้องการพุทโธนี่ให้จิตมันบริกรรม ให้จิตนี่พุทธานุสติ เห็นไหม เราระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยหัวใจ เราต้องการคุณธรรม เราต้องการอริยทรัพย์ เราไม่ต้องการทรัพย์สินเงินทองหรอก เราต้องการความสงบระงับ ถ้าความสงบระงับ นี่ถ้ามันมีสติมีปัญญาขึ้นมา ถ้ามันพุทโธๆๆ พุทโธเพื่ออะไร มันไม่ได้พุทโธเพื่อเงินเพื่อทอง ไม่ได้พุทโธเพื่ออวดอ้างกับใคร ไม่ได้พุทโธเพื่อสิ่งใดทั้งสิ้น
แต่ในเมื่อครูบาอาจารย์ของท่านสอนคำบริกรรม แล้วท่านบอกต้องกำหนดพุทโธ พุทโธเพื่ออะไร? เพื่อความสงบของเรา ถ้าเพื่อความสงบของเรา เราก็กำหนดพุทโธของเรา ถ้ากำหนดพุทโธด้วยสติด้วยปัญญานะ
อุบายในการทำความสงบนี้อย่างหนึ่ง อุบายในการใช้ปัญญานั้นอย่างหนึ่ง
ถ้าจิตสงบแล้วไม่ออกฝึกหัดใช้ปัญญามันก็ชำระล้างกิเลสไม่ได้ ถ้าไม่ทำความสงบของใจ ปัญญาที่เกิดขึ้น ปัญญาโลกๆ ทั้งนั้น มันก็ไปไม่ได้ นี่กิเลสมันจะซ่อนเราแล้วนะ แล้วว่าเราซ่อนกิเลส เห็นไหม เอากิเลสไปซ่อนไว้หมดเลย นี้กิเลสมันจะซ่อนเราแล้วล่ะ เอาธรรมะไปซ่อนไว้หมดเลย เอาแต่เรื่องกิเลสนี่มาอ้างอิงหมดเลย แล้วเราก็ว่าเราเป็นผู้ที่มีปัญญา เราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา ศึกษามาเพื่อจะชำระล้างกิเลส กิเลสมันเอาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาอ้างอิงกับเรา นี่ต้องมีอุบาย คำว่า อุบาย ถึงเวลาจะใช้มันต้องใช้ แต่เวลาที่เราปฏิบัตินี่ ถ้าถึงเวลาที่ปฏิบัติ ถ้ากิเลสมันมาอ้าง เห็นไหม นี่ก็เป็นอุบาย นี่ก็เป็นอุบาย ฉะนั้น เวลาแก้ในการประพฤติปฏิบัติมันอยู่ที่ในปัจจุบันนั้น อยู่ในขณะที่ว่าเรากำลังติดสิ่งใด
สวะ ถ้ามันไม่ติดนะ ตั้งแต่ต้นน้ำ มันจะออกปากน้ำ มันจะออกลงทะเลไป ถ้ามันไม่ติดสิ่งใดไว้ นี่ก็เหมือนกัน สวะ ถ้ามันติดสิ่งใด มันออกไปสู่ปากน้ำไม่ได้ มันไม่ออกไปสู่แม่น้ำหรอก มันติดอยู่นั่นน่ะ มันไปไหนไม่ได้ คำว่า ติด เห็นไหม สวะมันติดที่ไหน เวลาเราภาวนานี่มันติดตรงไหน
เริ่มต้น เห็นไหม จากว่า คำว่า ติด เวลาคนภาวนาไปแล้วมันมีเหตุมีผล เวลาก้าวเดินแล้วมันติด ไอ้นี่เราภาวนาหรือยัง เราก้าวเดินหรือยัง เราไปติดอะไร เราไม่มีอะไรให้ติดนะ ถ้าไม่มีอะไรให้ติด เราจะใช้อุบายอะไร ถ้าเราใช้อุบายนะ คำว่า อุบาย อุบายนี่เวลาใช้ ต้องใช้ เวลาเขาออกรบนะ สิ่งที่กลศึกของเขา การรบที่ประเสริฐที่สุด ชนะโดยที่ไม่ต้องรบ ถ้าเวลาเราใช้กองทัพออกรบแล้วชนะ นั่นชนะอย่างกลาง ถ้าออกไปรบแล้วแพ้ก็จบเลย นี่เวลากลศึกเขาต้องมี เวลาออกรบนะ กองทัพรบกันน่ะ เขามียุทธวิธีของเขา เขามีค่ายกลของเขา เขาวางแผนของเขา เขารบเขายังต้องมีวิชาการของเขาเลย ฉะนั้น เวลาเราปฏิบัติล่ะ
ฉะนั้น เพียงแต่ว่า ใช้ตรงไหน ใช้ที่อย่างใดเป็นปัจจุบัน ขณะที่จำเป็นต้องใช้นั้นเราต้องใช้ แต่ขณะที่ไม่จำเป็นต้องใช้ กิเลสมันจะซ่อนธรรมะจากเรา ทำสิ่งใดจะไม่ประสบความสำเร็จเลย ฉะนั้น ถ้าเราจะกำหนดพุทโธๆ ถ้าจิต เพราะมีสติมันถึงเห็นความเร็วของจิต พอความเห็นความเร็วของจิต ถ้าคนไม่เคยประพฤติปฏิบัติเขาเป็นทางโลก นี่ซ่อนกิเลสไว้ ทำสิ่งใดประสบความสำเร็จหมด เพราะเขาจับซ่อนกลบฝังไว้ ไม่มีสิ่งใดเลย แล้วเขาบอกเขาก็มีความสุขแล้ว แล้วเราปฏิบัติกันน่ะ ทำไมมันขี้ทุกข์ขี้ยาก ทำไมบ่นว่า ทำไมนู่นก็ไม่ได้ นี่ก็ไม่ได้ ทำไมมันวุ่นวายขนาดนี้ คนผู้ปฏิบัติมันต้องเรียบง่าย คนที่ปฏิบัติต้องทำสิ่งใดแล้วมีความสะดวกสบาย ทำไมมันทำสิ่งใดมันติดขัดขัดข้องไปหมดเลย เห็นไหม นี่เวลากิเลสมันพาอ้างมันอ้างอย่างนั้นน่ะ
แต่ถ้าเรามีสติปัญญาขึ้นมานะ เพราะเราเห็นมันใช่ไหม เราเห็นความเร็วของจิต เพราะเรามีสติเราถึงได้เห็นความเร็วของมัน ถ้าเห็นความเร็วของมันนะ ถ้าสติมันชัดเจน มันยับยั้งได้หมด ถ้ายับยั้งได้หมด พุทโธๆๆ พอพุทโธน่ะ เวลาเราหนาว เราต้องการความอบอุ่น ต้องการความร้อน เห็นไหม ถ้าเราได้ความอบอุ่น เราจะมีความสดชื่นทันที เราจะหายจากหนาว
นี่เหมือนกัน จิตใจของเรา ถ้าเวลากำหนดพุทโธๆ ถ้าจิตมันสงบเข้ามาๆ จากที่เร่าร้อน จากที่สิ่งใดที่ไม่มีที่พึ่ง มันจะสงบระงับเข้ามาๆ เรารู้เราเห็นนะ ถ้าเรารู้เราเห็น นี่เกิดจากอะไรล่ะ? เกิดจากสติ เห็นไหม เกิดจากสติ เกิดจากคำบริกรรม แต่ถ้ามันไม่สงบเข้ามาน่ะเราหนาวเย็นนัก อุณหภูมินี่ติดลบ ๒๐-๓๐ เลย แล้วเราจะทำให้ร่างกายเราอบอุ่นอย่างไร มันทุกข์ร้อนนัก มันทุกข์ร้อน มันไม่มีที่พึ่งอาศัยเลย นี่ก็เหมือนกัน เวลาจิตใจของเรา ถ้าเราพุทโธๆๆ มันไม่มีอุณหภูมิเลย มันไม่มีสิ่งใดเลย เราจะอยู่ได้อย่างใด
ถ้าคนหนาว หนาวจนตายก็เยอะแยะไป ร้อนตายก็มี หนาวตายก็มี หนาวก็ต้องหาเครื่องทำความอบอุ่น ต้องหาเครื่องนุ่งห่มเพื่อให้ร่างกายอบอุ่น ร้อนก็ต้องเข้าที่ร่ม ร้อนก็ต้องหาที่ร่มเย็นเพื่อไม่ให้ร่างกายมันร้อนจนเกินไป นี่สิ่งที่เขาแสวงหานี้ แสวงหาเพื่อดำรงชีวิตนะ แล้วเราเป็นนักปฏิบัติ ถ้านักปฏิบัตินี่มันจะพ้นจากทุกข์ เราต้องมีสติปัญญามากกว่าเขา ถ้าเรามีสติปัญญามากกว่าเขานะ โลกเขาจะติเตียนอย่างใดมันเรื่องของโลกแล้ว เรื่องของโลกเขาจะรู้สิ่งใดกับเรา ถ้าเรามีสติมีปัญญานะ สิ่งที่มีสติปัญญา เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา จะสอนโลกได้อย่างใด จะสอนโลกได้อย่างใด นี่ทอดธุระเลยนะ
เพราะว่าสิ่งที่โลกเขารู้ได้ เขาจะรู้ได้ด้วยทางโลก แต่ทางธรรม ถ้าคนไม่ปฏิบัตินะ มันเหมือนว่ายน้ำ ถ้าคนว่ายน้ำไม่เป็น โลกนี้ไม่มีใครว่ายน้ำเป็นเลย เราบอกว่าเราว่ายน้ำเป็นอยู่คนเดียว ว่ายน้ำต้องเป็นอย่างนั้น เขาจะเชื่อเราไหม
การว่ายน้ำเป็น คนว่ายน้ำเป็นโดดลงน้ำเมื่อไหร่ก็ว่ายน้ำได้ คนภาวนาเป็น ถ้าจิตมันมีการภาวนา มันทำของมันได้ตลอดเวลา แต่ถ้าคนไม่เป็น เราไปบอกเขาน่ะ เราว่ายน้ำได้ๆ แล้วเขาจะเชื่อเราไหมถ้าเขายังว่ายน้ำไม่เป็น แต่ถ้าเขาลงฝึกหัดจนกว่าเขาว่ายน้ำเป็น เขาก็คิดว่า เออ! ว่ายน้ำเป็นมันเป็นอย่างนี้เอง
ฉะนั้น เวลาคนที่เขาว่ายน้ำไม่เป็น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะไปสอนเขาได้อย่างไร นี่คิดแล้วทอดธุระนะ แต่คนถ้าฝึกหัดมันว่ายได้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนามารื้อสัตว์ขนสัตว์ เวลาเทศนาว่าการพระอัญญาโกณฑัญญะ เห็นไหม นี่ออกว่ายได้ นี่มีดวงตาเห็นธรรม มีความปลื้มใจ แล้วเวลาเทศนาว่าการไป ปัญจวัคคีย์เป็นพระโสดาบันทั้งหมด เทศน์อนัตตลักขณสูตรเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด นี่สิ่งที่เป็นพระอรหันต์ขึ้นมา ไปเทศน์ยสะได้ ๕๔ องค์ ไปเทศน์ชฎิล ๓ พี่น้อง ได้พระอรหันต์มาเต็มไปหมดเลย นี่คนที่สร้างบุญญาธิการมามันมี ถ้าผู้ที่สร้างบุญญาธิการมามันมี
ฉะนั้น สิ่งที่บอกว่า เวลาผู้ประพฤติปฏิบัติทำไมมันมีแต่ปัญหาไปหมด นั้นเป็นความเห็นของโลก แต่ถ้าเราปฏิบัติของเรา เรามีสติปัญญาของเรา ถ้าเป็นอุบายวิธีการหรือการฝึกหัดใช้ปัญญา ถ้าความสงบของใจเราก็ทำของเรา แล้วถ้าทำความสงบของใจ เห็นไหม แม้แต่ถือศีลก็ต้องมีปัญญา ทำทานก็ต้องมีปัญญา คนทำทานถ้าไม่มีสติปัญญาทำไปทำไม ถ้าเขามีสติปัญญาของเขา เขาจะเห็นคุณค่าของเขา จิตใจของเขา น้ำใจของเขามีเหนือค่าสิ่งที่เขาเสียสละ เขาทำได้ทั้งนั้นน่ะ
ถือศีลก็ต้องมีปัญญา พอมีปัญญาขึ้นมานะ อะไรเป็นศีล อะไรเป็นศูนย์ นี่มันไม่มีสิ่งใดเลย บอกเป็นศีลๆ...มันเป็นศูนย์ เป็นศูนย์เพราะอะไร เพราะมันเป็นทิฏฐิมานะ มันเป็นการที่ว่ามันไม่เป็นศีลขึ้นมาเลย ศีลคือข้อบังคับ ถ้าศีลคือข้อบังคับ ถ้าเราไม่ทำผิดข้อบังคับมันจะผิดไปไหน แต่นี่มันศูนย์ ศูนย์ก็ขยับไม่ได้เลย ทำอะไรจะผิดไปหมดเลย มันเกร็งไปหมดเลย นั่นน่ะไม่ใช้ปัญญา ถ้าใช้ปัญญา ถือศีลก็เป็นศีล ถ้าเวลาภาวนาขึ้นมา เห็นไหม มีสติขึ้นมา ถ้าภาวนาขึ้นมามันก็จะเป็นภาวนา ถ้าเป็นภาวนาขึ้นมามันเกิดความสงบเข้ามา
พอเกิดความสงบเข้ามา ฝึกหัดใช้ปัญญา ปัญญาที่เราฝึกหัดใช้นี่ พอฝึกหัดใช้ปัญญา ปัญญาในอะไร เวลาเราตรึกในธรรมนะ เวลาเริ่มต้นเราศึกษาปริยัติขึ้นมา เราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่มันมีธรรมสังเวช มันสลดมันสังเวช นี่มันเป็นทางโลก เป็นทางวิชาการ แต่เวลาเรากำหนดพุทโธๆๆ พอจิตมันสงบขึ้นมา นี่เราฝึกหัดใช้ปัญญา ปัญญาที่มันมีสัมมาสมาธิรองรับขึ้นมา ถ้ามันใช้ปัญญาขึ้นมา มันจะลึกซึ้ง มันจะซาบซึ้งเข้าถึงหัวใจ ถ้าหัวใจมันซาบซึ้งนะ พอมันใช้ปัญญาขึ้นไปนี่มันสว่างกระจ่างแจ้ง คือมันมีปัญญาขึ้นมา ปัญญามันจะเป็นหลักเป็นเกณฑ์ ถ้าเป็นหลักเป็นเกณฑ์
พอเป็นหลักเป็นเกณฑ์นะ ทำไมพุทโธไม่ได้ ทำไมอย่างนี้พุทโธได้ แล้วพุทโธทำไมมันสงบ แล้วพุทโธทำไมมันไม่สงบ มันไม่สงบ มันเห็นไง ไม่สงบเพราะเราทำลงไม่สู่มัชฌิมาปฏิปทา ไม่สมดุลมันก็เก้งๆ ก้างๆ อยู่อย่างนั้น แต่ถ้ามันฟุ้งซ่าน เราทำแล้วถ้ามันไม่สมดุลของมัน มันก็ออกไป เห็นไหม อัตตกิลมถานุโยค กามสุขัลลิกานุโยค ถ้ามันลงมัชฌิมาปฏิปทา มันก็มีความสงบขึ้นมา นี่เพราะมันมีปัญญาขึ้นมา มันก็หาเหตุหาผล หาเหตุหาผล ว่าจิตดวงนี้มันทุกข์มันยาก เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวก็ร้าย เดี๋ยวก็ปฏิบัติแล้วมีหลักมีเกณฑ์ เดี๋ยวปฏิบัติแล้วมันก็เร่าร้อน นี่เพราะเร่าร้อน นั่นเหตุผลนั้นล่ะ มันจะทำให้เราตั้งใจทำพุทโธให้มั่นคงขึ้น เพราะเหตุผลอย่างนั้น เพราะมีปัญญาที่จะหาเหตุหาผลมาสอนใจนี้
ถ้ามันหาเหตุหาผลมาสอนใจนี้ เวลามันภาวนาขึ้นมามันก็ทำเพื่อใจ เพื่อความสงบ ไม่ได้เพื่ออวดใคร ทำเพื่อใจของเรา เห็นไหม นี่ปัญญาในการทำความสงบของใจ คือปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าปัญญาอบรมสมาธิ พอใช้ปัญญาอย่างนี้แล้วจิตมันจะภาวนาง่ายขึ้น มันภาวนาด้วยคนทำเป็น คนว่ายน้ำเป็น
คนว่ายน้ำเป็นน่ะมันจะลงแม่น้ำไหน มันจะลงทะเลไหน มันจะลงน้ำที่ไหนมันว่ายไปได้เลย คนว่ายไม่เป็นน่ะมันต้องร่มชูชีพ มันกระโดดแล้วมันก็วิ่งขึ้นมา ลงน้ำก็วิ่งขึ้นเพราะมันกลัวมันน่ะ แต่คนที่เขาว่ายน้ำเป็นตกน้ำที่ไหนเขาว่ายได้ จิต ถ้ามันฝึกหัดใช้ปัญญา พอปัญญานี่มันฝึกหัดใช้ปัญญาจนมันทำความสงบของใจได้ง่ายขึ้น เห็นไหม
รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร
เวลามันพิจารณาไปบ่อยครั้งเข้า รูป รส กลิ่น เสียง มันขาด...รูป รส กลิ่น เสียง ไม่เข้ามาสู่จิต นี่มันทำความสงบของใจได้ง่ายขึ้น ถ้าทำความสงบของใจได้ง่ายขึ้น นี่ฝึกหัดใช้ปัญญา ในการฝึกปัญญา เราทำสมาธิ ฝึกหัดใช้ปัญญา เวลาในขั้นของการทำสมถะ แล้วพอต้องออกฝึกหัดใช้ปัญญาในอุบายในการใช้ปัญญา ถ้าพิจารณาธรรม พิจารณาสิ่งต่างๆ ในโลกนี้เพื่อให้จิตมันสงบระงับ
ฉะนั้น พอจิตสงบระงับ พิจารณาเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม จับได้ ถ้าจับได้นะ ถ้าเห็นจิต จิตเป็นรูป ความรู้สึกนึกคิดนี้เป็นรูป ถ้ามีความรู้สึกนึกคิด จับได้ ในรูปนั้นมันมีอะไร? ในรูปนั้นมันมีสัญญา เพราะไม่มีสัญญามันจะเกิดเป็นความรู้สึกนึกคิดมาได้อย่างไร พอเกิดสัญญามันเกิดสังขารปรุง ถ้าสังขารปรุงไปแล้วนี่วิญญาณรับรู้ ถ้ามันจับได้ มันพิจารณาได้ มันเป็นขันธ์ ๕ มันเป็นกอง กองภูเขาเลย ใหญ่โตมาก รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันเห็นชัดๆ เป็นกองเลย มันแยกออกไป ถ้าแยกออกไปนี่มันไม่รวมกันเป็นพลังงานออกมา มันก็ไม่เป็นความรู้สึกนึกคิด
ถ้าความรู้สึกนึกคิด แล้วความรู้สึกนึกคิดอย่างนี้มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร มันเกิดขึ้นมาแล้วแล้วกิเลสไปไหนล่ะ? กิเลสมันก็ใช้สิ่งนี้ไง ใช้สิ่งนี้ออกไปเป็นความต้องการเป็นความปรารถนาของมัน แต่ถ้าเราทำความสงบของใจเข้ามา เรามีกำลัง พอจับได้เราแยกแยะ พอแยกแยะ กิเลสมันอายนะ เพราะอะไร เพราะกิเลสมันอายธรรม
กิเลส เห็นไหม เราไปกลบฝัง เราซ่อนไว้ เรากลบฝังมันไว้ เราจะชำระล้างมันไม่ได้ แต่พอจิตเราสงบขึ้นมา เราจับ เราเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม ตามความเป็นจริง ธรรมารมณ์ อารมณ์ความรู้สึกโดยธรรม เห็นไหม ถ้าจิตมันจับได้ มันพิจารณาของมัน มันแยกแยะของมันด้วยกำลังของมัน เห็นไหม นี่กิเลสมันกลัวธรรม ถ้าธรรม ธรรมของเรามีกำลังขึ้นมา เรามีสติมีปัญญาขึ้นมา เราพิจารณาขึ้นมา
เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชำระล้างกิเลสด้วยอาสวักขยญาณ นั้นเป็นเพราะว่าเป็นขิปปาภิญญา ไปถึงที่สุดแล้วชำระล้างไป เราเป็นสาวกสาวกะ เวลาพิจารณาจนจิตสงบแล้ว จิตสงบถ้ามันจับกาย จับเวทนา จับจิต จับธรรมได้ตามความเป็นจริง มันจะเป็นวิปัสสนา การวิปัสสนามันเป็นขั้นการใช้ปัญญา การใช้ปัญญามันก็ต้องมีปัญญา ปัญญาจับต้องสิ่งใดแล้วฝึกหัดใช้ปัญญาแยกของมัน
ปัญญาที่ว่าใช้ๆ น่ะ ใช้แล้วมันเกิดประโยชน์อะไร
การใช้ปัญญานะ ปัญญาเกิดจากศีล สมาธิ ปัญญา เกิดจากมรรค ๘ งานชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ เวลาพิจารณาไปแล้วมันปล่อย เวลามันปล่อย มันปล่อยนะ นี่ฝึกหัดใช้ปัญญา นี่ปัญญาชำระล้างกิเลส แล้วถ้ามันปล่อยแล้วนี่ แล้วกิเลสเป็นแบบใดล่ะ ปล่อยไปแล้วมันเหลือสิ่งใดล่ะ
เวลามันปล่อย เห็นไหม เวลาเราทำสมถะนะ เราทำความสงบของใจ เวลาพุทโธๆ หรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เวลามันเข้าสมาธิแล้วนี่ เห็นไหม เอกัคคตารมณ์ จิตตั้งมั่น จิตเป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ มันเป็นสมาธิ มันมีความสงบร่มเย็นมาก กิเลสมันหายไปหมดเลย กิเลสไม่มีเลย มันเป็นธรรมไหม มันเป็นธรรมหรือเปล่า? มันเป็นสมาธิ
สมาธิ เห็นไหม เวลากลบซ่อนกิเลสไว้ เราฝังกลบไว้ เราไม่เห็นมัน แต่เวลาบอกว่า สมาธินี้เป็นหินทับหญ้า นี่เรากวาดกิเลสซุกไว้ใต้พรม แล้วพรมปกไว้ พรมก็สวยงาม กิเลสอยู่ใต้พรม เห็นไหม สมาธิเป็นหินทับหญ้า แต่ก็ต้องอาศัยสมาธิ เพราะสมาธิเป็นหินทับหญ้า เพราะถ้าเราไม่มีสมาธิ หญ้ามันยิ่งเจริญงอกงาม แล้วเราจะไปต่อสู้กับอะไร
หญ้า เดี๋ยวมันจะเป็นกอไผ่ มันเป็นสิ่งที่มันรกร้างไปหมด เราจะไม่มีที่อยู่อาศัยเลย เพราะมันเป็นเรื่องของกิเลสทั้งนั้น แต่ถ้าเราทำสมาธิ พุทโธๆ สิ่งที่เป็นกอไผ่ก็เล็กลงเป็นยอดหญ้า พอเราถากถาง หญ้านั้นมันก็เหลือแต่เม็ดหญ้าอยู่ในแผ่นดิน นี่มันก็เป็นที่โล่ง นี่สมถกรรมฐาน ฐานที่ตั้งแห่งการงาน ถ้าฐานที่ตั้งแห่งการงาน มันเป็นลานโล่งเตียนเพื่อเราจะปฏิบัติ มันไม่ใช่ว่าเราจะเอากิเลสซุกไว้ใต้พรม เราจะเอาหินทับหญ้าไว้มันก็เลยไม่เห็นหญ้า อันนั้นนี่สัมมาสมาธิ
ถ้าสัมมาสมาธิแล้ว เวลาจิตมันสงบหมด กิเลสไปไหนล่ะ ไม่เห็นกิเลสเลย เวลาวิธีการเราใช้ปัญญาล่ะ เวลาใช้ปัญญา เราพิจารณาปัญญา พิจารณาปัญญาในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม ถ้าพิจารณากายโดยเจโตวิมุตติ มันเห็นกายนะ เห็นกายเป็นโครงกระดูกต่างๆ เห็นกายเป็นร่างกายนี่จิตมันเพ่งเห็นนะ มันตั้งไว้ แล้วใช้รำพึง ใช้ปัญญาแยกแยะไป
ใช้ปัญญานี่ ปัญญามันมีสัมมาสมาธิ มันมีสติ มีงานชอบ เพียรชอบ เวลาพิจารณาไปนี่รำพึงไปให้สิ่งนั้นเป็นไตรลักษณ์ ให้สิ่งนั้นแปรสภาพมันไป ถ้ากำลังมันพอมันจะแปรสภาพ พั๊บ! พั๊บ! ไปเลยนะ แปรสภาพต่อหน้า ต่อหน้านี่คืออะไร? นี่คือไตรลักษณะไง ไตรลักษณญาณ ก็จิตมันเห็นไง นี่ญาณหยั่งรู้ รู้ว่ามันเป็นไตรลักษณ์ ถ้ารู้ว่าเป็นไตรลักษณ์ มันพิจารณาไปแล้วมันย่อยสลายไปต่อหน้าเลย ไม่มีสิ่งใดเลย ว่างหมดเลย แล้วเป็นอย่างไรต่อไป
เราทำความสงบของใจ ถ้าใจมันสงบแล้วนี่สงบระงับ อัปปนาสมาธิสงบร่มเย็นไปหมดเลย พอเวลาเราออกจากสมาธิมามันก็เหมือนเดิม มันก็ยังมีความรู้สึกนึกคิด มันก็ยังมีกิเลสเหมือนเท่าเก่า เวลาเราใช้ปัญญาของเรา ปัญญาที่เราทำความสงบของใจเข้ามาแล้ว เราทำสมถกรรมฐานเข้ามาพอแรงแล้ว เราจับกาย จับเวทนา จับจิต จับธรรมได้ตามความเป็นจริงแล้ว แล้วพิจารณา อุบายในการใช้ปัญญา เห็นไหม พอเราใช้ปัญญามันเป็นไตรลักษณ์แล้ว มันแปรสภาพไปหมดเลย ว่างไปหมดเลย
เวลาเป็นสมาธิ พอมันปล่อยว่างแล้วมันก็เป็นความว่าง แต่มันเป็นหินทับหญ้า แต่เราใช้ปัญญาไปแล้ว พิจารณาไปแล้วมันเป็นไตรลักษณ์ มันแปรสภาพหมดเลย มันปล่อยหมดเลย พอปล่อย ปล่อยอย่างไรล่ะ ปล่อยแล้ว เห็นไหม เพราะเป็นสมาธิก็เป็นสมาธิ เวลาเป็นปัญญา พิจารณาแล้วมันปล่อยวาง มันเป็นสมาธิอีกหรือเปล่า มันเป็นสมาธิหรือเปล่า? มันเป็นสมาธิของมันอยู่แล้ว เพราะเรามีสัมมาสมาธิเราถึงใช้ปัญญาได้ เพราะมีสัมมาสมาธิ ถ้าไม่มีสัมมาสมาธิ ไม่มีสัมมากัมมันโต งานชอบ เพียรชอบ มันจะไม่เกิดการใช้ปัญญา ปัญญาอย่างนี้ เห็นไหม
นี่กำหนดพุทโธๆๆ เขาบอกทำไมต้องทำ เขาไม่ต้องทำพุทโธเลย เขามีการศึกษา เป็นดอกเตอร์ก็ได้ เป็นศาสตราจารย์ก็ได้ เขาเอาพุทโธมาเป็นวิชาชีพ ฝึกหัดให้ใช้กรรมฐาน ใครกำหนดพุทโธแล้วจะได้มีศรัทธามีความเชื่อได้เงินได้ทองมา เห็นไหม อันนั้นเขาบอกว่า ทำไมต้องใช้พุทโธ นี่เขาใช้ปัญญาก็ได้...นี่เป็นปัญญาโลก
ปัญญาโลกคือใครก็เรียนได้ เรียนแล้วก็ทำการค้นคว้าทำการวิจัย มันก็ได้เป็นศาสตราจารย์ เป็นผลงานของเขา ผลงานให้ทางโลก โลกเขาได้เอาผลงานนี้ เอาทางวิชาการนี้เพื่อไปทำวิชาชีพ แล้วมีการวิจัยต่อยอดกันไป อันนั้นเป็นเรื่องทางโลก
แต่เวลาเราใช้ปัญญาของเราล่ะ ปัญญาที่มันสัมมาสมาธินี่มีปัญญา เห็นไหม พุทโธๆ ขึ้นมา มีสัมมาสมาธิ แล้วเวลาเราใช้ปัญญา นี่ปัญญาเพื่ออะไรล่ะ? ปัญญามันเกิดจากจิต ปัญญามันเกิดจากปัจจุบันธรรม ปัญญาไม่ใช่เกิดจากอดีตอนาคต ปัญญามันเกิดจากจิตที่เกิดเป็นปัจจุบัน ปัจจุบันขึ้นมา เห็นไหม นี่เวลามรรคมันเกิด เวลามรรคขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มรรคญาณมันทำลายอวิชชาในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นเป็นปัจจุบันขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อ ๒,๖๐๐ ปีมาแล้ว
แต่ขณะที่เราใช้ปัญญาของเราอยู่ในปัจจุบันนี้ ถ้าเราใช้ปัญญาปัจจุบันของเรานี้ ถ้ามันทำเดี๋ยวนี้ จิตสงบเดี๋ยวนี้ เราพิจารณาของเราเดี๋ยวนี้ นี่เวลามรรคมันหมุนไป มรรคที่มันเขยื้อนไปเพราะจิตเราสงบ เพราะเรามีสติ เรามีงาน มีการกระทำ เห็นไหม กิจจญาณ สัจจญาณมันเกิดขึ้นมาจากใจของเรา เราพิจารณาของเราไป เห็นไหม นี่ปัญญาอย่างนี้นี่ภาวนามยปัญญา ปัญญาอย่างนี้มันเกิดกับใจที่สงบ ใจที่มีกำลัง ใจที่ออกใช้ปัญญา นี่มันหมุนไป มรรคมันหมุน พอมรรคมันหมุน พอมันหมุนขึ้นไป มันสมดุลของมัน มันก็ปล่อย พอปล่อย เพราะมันเป็นไตรลักษณ์ มันเห็นชัดเจนมันก็ปล่อย ปล่อยแล้วอย่างไรต่อ ปล่อยแล้วอย่างไรต่อล่ะ
การปล่อยนะ นี่ฝึกหัดใช้ปัญญา อุบายวิธีการใช้ปัญญา พอมันปล่อยแล้ว ถ้ามันปล่อยแล้ว ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติใหม่ เริ่มต้นปฏิบัติมาเราก็จะว่ากิเลสนี้เป็นของชั่วร้าย อวิชชาเป็นความไม่รู้ เราก็จะเอากิเลสไปกลบไปฝังกัน นั้นถ้าตั้งใจฝัง นั้นมันเป็นทิฏฐิมานะ ถ้าความไม่ตั้งใจคือสติปัญญาไม่พอ ก็ทำกันอย่างนั้น แต่พอเวลาเราฝึกฝน เราประพฤติปฏิบัติขึ้นมาจนเรามีเหตุมีผลขึ้นมา มีกำลังขึ้นมาในใจ จากที่ล้มลุกคลุกคลานมาจนยืนตัวขึ้นมาได้ จนเป็นหน่อของพุทธะ นี่จิตใจมันมีกำลังขึ้นมา มันพิจารณาของมันขึ้นมา เห็นไหม
พอกำลังขึ้นมา มันพัฒนาขึ้นมาจนเรารู้เราเห็นนะ มันเห็นความแตกต่างว่า ถ้าเราเป็นทารก ถ้าเรายังอ่อนด้อยอยู่ เราก็มีความเชื่อเดิมๆ ที่เราเคยผ่านพ้นมา ปัจจุบันนี้เราพัฒนาของเราขึ้นมา เราสร้างสติของเราขึ้นมา เอาสติยับยั้งมาทั้งหมด กำหนดพุทโธเป็นสมาธิอบรมปัญญา เราใช้ปัญญาตรึกในธรรมเป็นปัญญาอบรมสมาธิ พอจิตมันมีความสงบ มีกำลังขึ้นมา เราก็ฝึกหัดใช้ปัญญาจนจิตเรามั่นคง พอจิตเรามั่นคงขึ้นมา พอเราออกฝึกหัดใช้ปัญญา นี่เรามีอุบายออกฝึกหัดใช้ปัญญาให้ไปเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม พอพิจารณาเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม มันก็ล้มลุกคลุกคลาน พอฝึกหัดใช้ใหม่ๆ การฝึกหัดออกใช้ปัญญา
ถ้าคนติดสมาธินะ คนติดในความสงบ คนติดในความร่มเย็น มันจะบอกว่าสงบนี้ดีกว่า เพราะสงบแล้วมันอบอุ่น สงบแล้วไม่เหนื่อย สงบแล้วมีความร่มเย็น พอออกใช้ปัญญาแล้วมันก็เสื่อม สมาธิมันใช้ไปแล้วมันก็อ่อนลง พออ่อนลงมันก็เป็นสัญญา โอ๋ย! ออกไปก็เหนื่อย ออกไปก็ทุกข์ ออกไปก็ยาก ไม่ออกดีกว่า ไม่ออกก็คือนิพพาน นี่มันก็ติดของมัน เห็นไหม นี่ต้องอุบาย
ถ้าเต่าไม่ยอมทำงาน เราก็ต้องพยายามให้เต่ามันออกเดิน เต่านะ เวลาเต่ามันหดหัวเข้าสู่กระดอง มันจะเข้าไปอยู่ในหัวใจของเรา เข้าไปอยู่กับผู้รู้ นี่ต้องพยายามใช้อุบายให้เต่าออกเดิน ถ้าเต่าออกจากกระดองมันเดินออกไป มันหาอาหารของมัน มันจะก้าวเดินออกไปพ้นจากที่เดิมของมัน พ้นจากสิ่งที่กิเลสมันผูกมัดมันไว้ นี่ถ้ามันฝึกหัดใช้ปัญญา นี่อุบายออกฝึกหัดใช้ปัญญา
พอใช้ปัญญาแล้ว ถ้ามันพิจารณาแล้วมันปล่อย มันปล่อย มันปล่อยนั้น เวลามันปล่อย ถ้าไม่มีสติปัญญา สิ่งนี้เราคิดว่ามันเป็นผล เป็นผลเราก็ย่ามใจ ชะล่าใจ เราไม่มีสติปัญญารักษาไว้ พอมันเสื่อมนะ พอมันเสื่อมขึ้นมามันก็ถอย เห็นไหม เพราะมันเป็นตทังคปหาน คือมันปล่อยชั่วคราว พอปล่อยชั่วคราว เพราะเรายังไม่ได้ชำระล้าง คือเราไม่สามารถทำลายกิเลสได้ เราไม่มีความสามารถทำให้กิเลสมันสะอาดบริสุทธิ์ตามขั้นตอนมรรค ๔ ผล ๔ ในการประพฤติปฏิบัติของเราได้
ในบุคคล ๘ จำพวก เห็นไหม โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ เห็นไหม บุคคล ๘ จำพวก หัวใจของเรานี้จะเป็นบุคคลที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ มันจะพัฒนาของมันขึ้นไป แต่ถ้ามันไม่พัฒนาขึ้นไป มันเป็นปุถุชนคนหนา คนที่กิเลสมันพอกพูนหัวใจ
แต่ถ้ามันมีสติมีปัญญา มีการกระทำของเราขึ้นมา ถ้าเราพิจารณาจนจิตเราสงบเข้ามา จนเราเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม นี่โสดาปัตติมรรค ถ้าโสดาปัตติมรรค ประพฤติปฏิบัติไปแล้วมันไม่เป็นโสดาปัตติผล เพราะมันยังชำระล้างกิเลส ทำให้กิเลสสะอาดไม่ได้ โดยคนที่เขาไม่มีความเข้าใจหรือเราเคยทำมา เราก็ไปกลบไปซ่อนมัน เราก็เอาไปชำระล้าง เราคิดว่ามันจะเป็นความจริงขึ้นมา
แต่สนิมเกิดจากเหล็ก สนิมเกิดจากในเนื้อเหล็ก มันก็ต้องกัดกร่อนมันไปทั้งนั้นน่ะ ไม่มีวันจบสิ้นหรอก แต่เราจะชำระล้างให้หมด เห็นไหม ชำระล้างของเราขึ้นมา เวลามันพัฒนาขึ้นมาเราก็เห็นของมัน คือว่ามันพัฒนาขึ้นมาแล้ว พอพัฒนาขึ้นมาแล้ว พอมันพิจารณา มันปล่อย มันปล่อย ถ้ามันปล่อย คนที่ปฏิบัติขึ้นมามันเคยเห็นสภาวะแบบนี้ แล้วพอมันปล่อยขึ้นมา ถ้าย่ามใจ ชะล่าใจ เวลามันเสื่อมไปแล้วนะ พอเสื่อมไปแล้วล้มลุกคลุกคลาน
การปฏิบัติของพระเรา การปฏิบัติของนักปฏิบัติทุกคนมันต้องมีเจริญแล้วเสื่อม คนที่ปฏิบัติไม่เคยจิตเสื่อม ไม่มี นี่จิตมันต้องเสื่อม แม้แต่ทำสมาธิมันก็เจริญแล้วเสื่อม แล้วเวลาพิจารณา พิจารณาใช้ปัญญา คนเราหาเงินหาทองมามันเหนื่อยยากขนาดไหน แล้วเราใช้จ่ายไปนี่มันใช้จ่ายออกไป เงินทองเราก็ต้องใช้จ่ายออกไปเพื่อดำรงชีวิตทั้งนั้นน่ะ การดำรงชีวิตก็ดำรงชีวิตไว้เพื่อจะหาเงินไง
นี่ก็เหมือนกัน เวลาจิตมันสงบเข้ามา สงบมันต้องออกใช้ปัญญา ออกใช้ปัญญาแล้วสมาธิมันก็ต้องอ่อนลง ก็ต้องกลับมาทำสมาธิไง สมาธิก็หาเงินมาเพราะเราต้องใช้เงินตลอดไป เราต้องใช้ดำรงชีวิตของเราตลอดไป การปฏิบัติมันก็ต้องอาศัยก้าวเดินไประหว่างสมถกรรมฐานกับวิปัสสนากรรมฐานไปด้วยกัน ถ้าไปด้วยกันมันพิจารณาไป มันก็ก้าวเดินของมันไป
ฉะนั้น เวลามันเสื่อม ถ้ามันเสื่อมขึ้นมา มันเสื่อม เพราะคำว่า เสื่อม เวลาพูดน่ะง่ายทุกคน เวลาครูบาอาจารย์พูดมานี่ทุกคนก็จับได้ทั้งนั้นน่ะ ทุกคนว่า เราเคยได้ยินได้ฟังมา เราเคยศึกษามาจากพระไตรปิฎกแล้วล่ะ แล้วครูบาอาจารย์ยังมาตอกย้ำเราอีก เราจะทำให้ดีเลย
แต่กิเลสมันอยู่กับใจเรา อวิชชาตัวนี้ร้ายนัก เวลาปฏิบัติไปแล้วเราจะกลบซ่อนมันด้วยความเข้าใจ แต่เวลาปฏิบัติไป เวลามันขาดต่อหน้า เวลามันปล่อยต่อหน้าเราก็คิดว่ามันขาด เพราะอารมณ์ความรู้สึกไง
เวลาเราทำความสงบของใจเข้ามานะ มันมีความสุข มันมีความร่มเย็นมาก เวลาพิจารณาแล้วมันปล่อยนี่ โอ้โฮ! มันลึกซึ้งกว่า ไม่มีสิ่งใดเลย นี่สักแต่ว่าหมดเลย อะไรก็ไม่ใช่เราทั้งนั้นน่ะ มันไม่ใช่เรา...ไม่ใช่เรา ใครพูด เราไม่มีสิทธิพูด เราไม่มีสิทธิว่าเราบริสุทธิ์นะ เวลาขึ้นศาลบอกว่า ศาลที่เคารพ กระผมบริสุทธิ์ผุดผ่องเลย...ไม่มี ศาลเขามีข้อเท็จจริง เขาดูสำนวน เขาไต่สวน เขาต้องทำให้เป็นจริงขึ้นมา
นี่ก็เหมือนกัน แล้วก็บอกว่า พอปล่อยแล้ว เราคิดของเราว่าอย่างนั้นน่ะ เพราะเวลาเราเข้าใจของเราอย่างนั้น แล้วเราเกิดมาจากอะไร? เราเกิดมาจากอวิชชา เวลาปฏิบัติขึ้นมา เริ่มต้นขึ้นมา ทุกคนทั้งนั้นน่ะ คนมีกิเลสนะทุกข์ทั้งนั้นน่ะ แล้วคนเกิดมามันมีความรู้สึกนึกคิดในหัวใจทั้งนั้น
ฉะนั้น เวลาปฏิบัติไปแล้วนี้ ถ้ามันปล่อย มันปล่อยแล้วนะ มันปล่อยขนาดไหน ดูสิ ทำสมาธิ เข้าอัปปนาสมาธิ สักแต่ว่าเลยล่ะ เข้าอัปปนาสมาธิ สักว่ารู้นะ เข้าอัปปนาสมาธินี้กายกับจิตแยกออกจากกันโดยสมาธิ เวลาเข้าถึงอัปปนาสมาธินี้ จิตสักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่ารู้คือมันไม่รับรู้ร่างกายไง มันไม่รับรู้อะไรเลย สักแต่ว่า
ถ้ามันไม่รับรู้อะไรเลยก็ไม่มี ก็ต้องตายใช่ไหม ไม่รับรู้อะไรเลย แต่มันมีอยู่ มันมีอยู่เพราะตัวจิตมันยังมีอยู่ มันไม่รับรู้อะไรเลย ฉะนั้น เข้าอัปปนาสมาธินี่กายกับจิตแยกออกจากกันด้วยสมาธิ แต่มันแยกออกจากกันด้วยกำลังของสมาธิ เข้าไปกี่ชั่วโมงล่ะ สองชั่วโมงสามชั่วโมงก็แล้วแต่เวลามันคลายออกมาก็เป็นอันเดิมไง ก็ออกมารับรู้เรื่องกายเหมือนปกติไง นี่ขั้นของสมาธินะ
แม้แต่สมาธิมันยังสักแต่ว่าได้เลย อย่าว่าแต่การใช้ปัญญา
แล้วเวลาใช้ปัญญาขึ้นไปแล้วนี่ เวลาใช้ปัญญาขึ้นมา เวลามันปล่อยแล้ว กว่าจะรู้นะ คนเราถ้าไม่ผิดมาก่อน มันจะไม่รู้ว่าถูกเป็นอย่างไร ถ้าพิจารณามันปล่อยขนาดไหนแล้วเราก็คิดว่าใช่ คิดว่ามันควรจะเป็น แล้วพอคิดอยู่ว่าใช่ มันไม่ใช่ มันไม่ใช่เพราะมันไม่ใช่สมุจเฉท มันไม่ใช่มัชฌิมาปฏิปทา มัชฌิมาปฏิปทาคือมรรคสามัคคี คำว่า มรรคสามัคคี มันสามัคคีอย่างใด มันรวมตัวระหว่างมรรค ๘ ที่มันสามัคคีรวมแล้วมันสมุจเฉทปหาน มันจะมีวิธีการของมัน นี่ธรรมมันต้องมีเหตุมีผล เหตุและปัจจัย มันถึงจะเป็นความจริง ฉะนั้น สิ่งที่ว่าเวลามันพิจารณาไปมันปล่อย พอมันปล่อยแล้ว สิ่งที่วุฒิภาวะของเราไม่ถึง มันจะทำครั้งที่ ๒ ก็ยาก จะทำอีกมันก็ไม่มี แล้วจะทำอย่างไรต่อไป ทั้งๆ ที่มันมี
เริ่มต้นมาก็จะไปกลบซ่อนมัน แต่นี้บอกไม่กลบซ่อน ไม่ได้ซ่อนกิเลสเลยนะ นี่เผชิญกันต่อหน้าเลยนะ พิจารณามาเต็มที่เต็มฐานเลย ทำเต็มไม้เต็มมือแล้วมันก็ปล่อยไป
แล้วอย่างไรต่อล่ะ ต่อตรงไหน
พอมันปล่อยไปแล้วนะ ด้วยความที่ว่าเราไม่รู้ถูกรู้ผิดไง พอปล่อยไปแล้ว แล้วเราจะจับต้องมันจับต้องสิ่งใด นี่มันจะล้มลุกคลุกคลาน ถ้าเราเคยมีประสบการณ์ที่ว่า เราเคยผิดลาดมา ฉะนั้น เวลาครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติมาท่านจะซ้ำของท่าน ซ้ำของท่านๆ คำว่า ซ้ำ จิตถ้ามีกำลังมันจับได้ เพราะของมันมีอยู่ พอจับได้พิจารณาซ้ำ พอพิจารณาซ้ำครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓ เออ! พิจารณามาอย่างนี้มันก็ปล่อยอย่างนี้ แล้วมันยังมีอีกเนาะ พิจารณาซ้ำอีกเนาะๆ พอซ้ำอย่างนี้ปั๊บ มันไม่เสื่อมไง
แต่ถ้ามันไม่ซ้ำ มันเสื่อม เสื่อมเพราะอะไร เสื่อมเพราะมันเป็นกิเลส กิเลสมันเป็นพญามาร สิ่งที่เป็นมาร มันปลุกเร้าในหัวใจเราอยู่แล้ว มันต้องการให้หัวใจล้มลุกคลุกคลานอยู่แล้ว เวลาปฏิบัติไปมันก็ว่าสิ่งนี้เป็นธรรมๆ มันหลอกมันล่อไง ถ้ามันหลอกมันล่อว่าสิ่งนี้เป็นธรรม เราก็ชะล่าใจ พอชะล่าใจว่าเป็นธรรมใช่ไหม สมาธิก็เสื่อมลง ทุกอย่างก็เสื่อมลง แล้วจะมาทำสมาธิ ถ้าไม่เสื่อมกลับมาทำสมาธิสิ กลับมาทำให้ใจมันมั่นคงขึ้นมา ถ้าใจมั่นคงขึ้นมามันก็มีอาวุธ ถ้ามั่นคงขึ้นมา เห็นไหม มันก็มีกำลัง กำลังเดี๋ยวก็ไปจับมันอีก พอจับมันก็เจอไง
แต่ถ้าเวลามันเอาธรรมะมาอ้างอิง เห็นไหม ปล่อยวางแล้ว สักแต่ว่าแล้ว ไม่มีสิ่งใดแล้ว ไม่มีอะไรในหัวใจเลย มารมันอ้างอิงธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ เห็นไหม เราจะซ่อนกิเลสไว้ แต่นี้กิเลสมันจะเอาธรรมะไปซ่อนไว้ แล้วมันเอากิเลส คือเอาความพอใจ เอาชื่อเสียงเรียงนาม เอาสิ่งต่างๆ มาอ้างอิงไง
ชื่อเสียงเรียงนาม ความรับรู้ของคนน่ะมันมีประโยชน์อะไรกับเรา นี่โลกธรรม ๘ ธรรมะเก่าแก่มันมีมาตั้งแต่ก่อนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสรู้ธรรมนะ แล้วศาสนานี้สิ้นไปนะ ในเมื่อมีมนุษย์อยู่ โลกธรรม ๘ ก็เรื่องธรรมดาทั้งนั้นน่ะ คน ๒ คนเกิดขึ้นมามันก็ต้องมีการกระทบกระทั่งเป็นธรรมดา โลกธรรม ๘ ไม่มีที่สิ้นสุดหรอก สิ่งที่ว่าคำติคำชมของคนอื่นมันมีประโยชน์อะไร เราต้องการความจริงของเรา ถ้าความจริงของเราขึ้นมา เห็นไหม
ถ้าเวลามันเฉา มันเหงาหงอยต่างๆ จับมัน ถ้าจะจับมันได้ต้องทำความสงบของใจขึ้นมา จับแล้วพิจารณาซ้ำๆ ถ้าคนเคยทำสมาธิมาด้วนอุบายวิธีการมาเยอะแล้ว เวลาปฏิบัติขึ้นมานี่มันก็มีอุบายวิธีการเยอะเหมือนกัน แต่ทำไมมันไม่ประสบความสำเร็จล่ะ ทำไมไม่ถึงที่สุดล่ะ ไม่ถึงที่สุดเพราะความมักง่าย ไม่ถึงที่สุดเพราะสุกเอาเผากิน
สุกเอาเผากินได้อย่างไร ปฏิบัติมาทั้งวันทั้งคืน ปฏิบัติมา ๗ วัน ๗ คืน นั่งมาทั้งวันทั้งคืนเลย มันจะสุกเอาเผากินได้อย่างไร...สุกเอาเผากินโดยอารมณ์ความรู้สึก สุกเอาเผากินท่ามกลางหัวใจ หัวใจไม่ละเอียดพอ ความละเอียดรอบคอบของใจมันไม่ละเอียดรอบคอบ ถ้ามันละเอียดรอบคอบขึ้นมามันจะพลิกแพลงของมัน จิตเรา ถ้าใครติด มันพิจารณาของมันว่าอย่างนั้นเป็นความจริงแล้วมันก็จะอยู่แค่นั่นน่ะ
สวะมันไปติดอยู่ในซอก น้ำจะแรงขนาดไหน พัดขนาดไหนนะ ขยะมันไม่ออกมาหรอก มันจะเน่าอยู่นั่นน่ะ แต่ถ้าพูดถึงเรามีสติปัญญาของเรานะ เราจะดึงออกมา เราจะงัดมันออกมา ถ้างัดออกมานะ นี่ไงๆ พิจารณาซ้ำๆ แล้วมันก็พิจารณาซ้ำนะ เราเคยพิจารณาแล้ว เรามีอุบายแล้ว เราเคยเข็ด เราเคยโดนหลอก เราเคยทำให้ล้มลุกคลุกคลาน กลัวมาก กลัวมาก เพราะว่าอะไร เพราะสิ่งนี้มันเป็นความรู้สึกของเราอยู่คนเดียว
เวลานั่งสมาธิภาวนา ความรู้สึกในหัวใจของเรากับสติของเรามันรับรู้กัน ฉะนั้น เวลาภาวนาล้มลุกคลุกคลานนะ หัวใจของเราน่ากลัวมาก ฉะนั้น น่ากลัวมาก เราต้องมีสติ มีความรอบคอบกับเรา ถ้ามีความรอบคอบนะ นี่พอมันปล่อยวางแล้ว สิ่งใดถ้ามันกระทบ สิ่งใดที่มีอยู่ เวลาปฏิบัตินะ อยู่กับผู้รู้ อยู่กับพุทโธ ไม่เสีย
เวลามันปล่อยวางแล้วนะ ปล่อยวางคือไม่มี ผู้รู้ก็หายไป พุทโธก็หายไป ไม่มีสิ่งใดเลย ว่างหมดเลย เวิ้งว้างหมดเลย ปล่อยมันไปหมดเลย
แล้วพุทโธมันอยู่ไหน แล้วผู้รู้มันอยู่ไหน แล้วเหลืออะไร
เหลือเวิ้งว้าง เหลือว่างหมดเลย
ก็ว่างๆ นั้นน่ะคือตัวมัน ถ้ามีสติปัญญาก็จับตัวว่างๆ นี่ได้ ถ้ามันจับว่างๆ มันจับตัวว่างนั่นแหละ เพราะมันอ้างว่าว่าง อ้างว่าว่างก็จับอีก เออ! พอจับมันก็ได้อีก นี่พิจารณาอีก ซ้ำแล้วซ้ำเล่า คนปฏิบัติมามันรู้ได้นะ มันรู้ของมันได้ พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า อุบายมันจะละเอียดลึกซึ้งขึ้น เพราะเราเคย เราเคยมักง่าย มันเลยผิดพลาด พอเราไม่มักง่าย เราก็ละเอียดรอบคอบขึ้น พอพิจารณาซ้ำๆ พอซ้ำมีครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓ ครั้งที่ ๔ ไป เห็นไหม อ้อ! ถ้าซ้ำครั้งที่ ๑ ซ้ำครั้งที่ ๒ ซ้ำครั้งที่ ๓ พอซ้ำไปแล้ว เพราะมีการซ้ำ เพราะมันซ้ำได้ แต่ก่อนบอกว่ามันหมด มันเวิ้งว้างไปหมด เราเข้าใจของเราไป
ถ้าพอเข้าใจแล้ว ไม่มีสติรักษา เดี๋ยวมันจะเสื่อม พอเสื่อมแล้วเราก็ต้องพยายามทำของเราขึ้นมาใหม่ถ้าจะทำนะ ถ้าไม่ทำมันก็รักษาไว้อย่างนั้นน่ะ ทีนี้มันก็เป็นว่าซ่อนกิเลสไว้ แล้วก็อ้างอิงแต่ความรู้สึกนึกคิดของเรา การอ้างอิงความรู้สึกนึกคิดนั้น ความรู้สึกนึกคิดมันอยู่กับใจอยู่แล้ว มันอ้างอิงสิ่งที่เราเคยทำมา เขาเรียกว่า สัญญา ว่าจิตมันเคยสงบ เคยได้รับอย่างไร ก็เอาสิ่งนั้นมาเป็นสินค้าตลอดเวลา
แต่ถ้าเรามีสติปัญญา เราไม่ต้องอ้างอิง เราจะให้เป็นปัจจุบันตลอด ฉะนั้น เราจะต้องมีสติปัญญาไม่มักง่าย แล้วไม่ทิ้งผู้รู้ ไม่ทิ้งพุทโธ เพราะผู้รู้มันรู้ถึงสัจธรรม มันรู้ถึงว่าสักแต่ว่ารู้ เพราะมันรู้สักแต่ว่ารู้ก็คือผู้รู้ นี่ตอของจิต ในเมื่อมันเป็นภพ ในเมื่อมันเป็นสิ่งที่มันยืนอยู่ แล้วเราบอกว่าเวิ้งว้างๆ ใครมันบอกน่ะ
ถ้ามันพิจารณาซ้ำเข้าไปมันจะเข้ามาสู่ฐานที่ตั้งของกิเลส ถ้าพิจารณาซ้ำ คำว่า ซ้ำ ถ้าหลงไป มันก็ว่าหลงไปแล้ว พอซ้ำมีครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ เห็นไหม ถ้ามีครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ ถ้าซ้ำยังมีอยู่ ถ้ามีครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ มันก็ต้องมีครั้งที่ ๓ ครั้งที่ ๔ ถ้ามีครั้งที่ ๓ ที่ ๔ มันก็ต้องมีครั้งที่ ๑๐ ที่ ๑๐๐ ที่ ๑,๐๐๐ ก็ทำมันไปเรื่อย ถ้ามันยังไม่สมุจเฉทปหานก็ทำไปเรื่อย หนึ่งครั้งแสนครั้งล้านครั้งก็ขอพิสูจน์กัน
ถ้าพิสูจน์แล้ว พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ ของมันไป เพราะอะไร เพราะมันเป็นมรรคญาณ มันเป็นอดีตอนาคตใช่ไหม เราเคยปฏิบัติได้ มันได้ก็เรื่องของมัน เพราะมันปล่อยแล้วมันก็ยังอยู่ ปล่อยแล้วมันก็ยังมี เพราะในเมื่อมันยังถอดถอนไม่ได้ ถ้ามันถอดถอนไม่ได้มันก็ยังมีของมันใช่ไหม ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนถึงที่สุด เวลามันขาดล่ะ กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์
คำว่า กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ นกแก้วมันก็พูดได้ นกแก้ว เราไปสอนมันสิ มันก็พูดได้ แต่มันรู้จริงหรือเปล่า นกแก้วนกขุนทอง สอนมันทุกวันมันพูดได้ทั้งนั้นน่ะ กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ ใครก็พูดได้
แต่เวลาจำพระไตรปิฎกมา เห็นไหม พุทธพจน์ๆ...สาธุ! พุทธพจน์ก็เป็นพุทธพจน์ แต่ถ้าเป็นความจริงนะ ความจริงมันเป็นเนื้อเดียวกัน แต่ถ้าสิ่งที่มันมีในใจของเรานี้ เรามีสิ่งใดของมันล่ะ ฉะนั้น เวลาพิจารณาไป เวลามันขาด สังโยชน์มันขาดนะ นี่พลิกศพกิเลส
เวลาเขาทำอาชญากรรม หน่วยพิสูจน์หลักฐานเขาจะรู้ว่ามันตายเพราะอะไร คนตายนี่แผลไหนเป็นแผลตาย แผลไหนเป็นแผลเจ็บ ถ้าแผลตาย แผลนี้แผลตาย แผลฉกรรจ์นี้แผลตาย นี่ก็เหมือนกัน เวลาพิจารณาไปเวลามันขาด มันขาดเพราะอะไร ถ้าไม่ขาดเพราะอะไร ทำไมพระโสดาบัน เอกพิชี คือว่าจะสิ้นไปเลย ถ้าเป็นพระโสดาบันก็มีหลายประเภท ในจริตนิสัยของมันมี เขาแบ่งประเภทกันได้ ขณะจิตที่มันบอก มันจะบอกเลย
ถ้าเป็นปัญญาวิมุตติ เจโตวิมุตติ มันจะบอกเลยว่ามันผ่านเข้ามาได้อย่างไร ถ้าผ่านเข้ามา มันพูดได้ไง ถ้ามันพูดของมัน พูดตามความเป็นจริงขึ้นมา นี่เขาเอาเหตุผลกันตรงนี้ ถ้ามันผ่านมา มันพูดมาไม่ได้นี่ มันเอาอะไรมาเป็นเหตุเป็นผล ถ้ามีเหตุผลขึ้นมามันจะเป็นความจริงขึ้นมา
ฉะนั้น สิ่งที่ว่าถ้าซ่อนกิเลสมันก็เป็นการซ่อนไว้เพื่อความสบายใจ ซ่อนไว้เพราะความเข้าใจว่าซ่อนนี้มันเป็นวิธีการ ถ้าไม่ตั้งใจก็คือความไม่เข้าใจ แล้วทำไปด้วยกำลังที่อ่อนแอ ว่าสิ่งนี้เป็นวิธีการที่ถูกต้อง พอวิธีการที่ถูกต้อง ทำไปแล้วกิเลส...ก็เราซ่อนมันไว้ เราซ่อนไว้เพื่อไม่ให้เห็น เพื่อไม่ให้รู้ เพื่อไม่ให้เราเป็นธรรม มันเป็นไปได้ไหม? มันเป็นไปไม่ได้หรอก
แต่ถ้าเราทำความเป็นจริงของเราขึ้นมา เห็นไหม เราไม่ซ่อนเร้นทั้งนั้น เผชิญหน้ากับทุกๆ อย่าง เผชิญหน้ากับสิ่งที่ตกทุกข์ได้ยากในหัวใจ สิ่งที่ตกทุกข์ได้ยากนะ เพราะกิเลสมันทำให้ตกทุกข์ได้ยาก มันทำให้พร่องอยู่เป็นนิจ เราพยายามทำอิ่มเต็มขึ้นมาด้วยการทำความสงบของใจ แล้วเวลาใช้ปัญญาขึ้นไป ปัญญามันจะพิจารณามันแยกแยะขึ้นไปเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป เป็นชั้นเป็นตอนนะ แล้วฟังเทศน์ครูบาอาจารย์กับสิ่งนี้ ฟังเทศน์ครูบาอาจารย์นะ ถ้าฟังเทศน์ครูบาอาจารย์เข้าใจแล้วเห็นตามความเป็นจริง มันอีกเรื่องหนึ่ง ทดสอบ ทดสอบในใจ ทดสอบกับเรา
เวลาครูบาอาจารย์เทศน์ แล้วลูกศิษย์ลูกหาผู้ปฏิบัติ คำใดถ้าสะเทือนใจ เอาคำนั้นเป็นที่ตั้ง แล้วไปปฏิบัติ เอาสิ่งนี้เป็นโจทย์ โอ๋ย! มันต่อยอดความคิดเราไปได้นะ เห็นไหม ครูบาอาจารย์มีประโยชน์อย่างนั้น คือให้อุบายเรา ให้อุบาย ให้คำสั่งสอน ให้หลักเกณฑ์เรา ให้เราประพฤติปฏิบัติขึ้นมาตามความเป็นจริง ถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมานะ มันเป็นปัจจัตตัง สันทิฏฐิโก ถ้าปัจจัตตังเกิดกับเราแล้ว เวลาพูดมาไม่ขัดแย้งกันหรอก
ฉะนั้น เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้เอากิเลสไปซ่อนไว้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชำระล้างให้สะอาด ชำระล้าง เห็นไหม เวลากิเลสมันตายไป พลิกศพกิเลส ตั้งแต่ลูก ตั้งแต่หลาน เห็นไหม โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหัตตมรรค อรหัตตผล เวลามันพลิกศพกิเลส แล้วกิเลสมันหยาบมันละเอียดแตกต่างกัน มันถึงมีสติ มหาสติ มีปัญญา มหาปัญญา แล้วเกิดปัญญาญาณ ยถาภูตํ เวลามันขาด ญาณทัสสนะที่รู้ มีญาณทัสสนะ ถ้าญาณทัสสนะ...ยถาภูตํ คือขาด เกิดญาณหยั่งรู้ว่าขาดแล้ว สิ่งต่างๆ นี้...
แล้วญาณหยั่งรู้เป็นอย่างไร
สิ่งที่ญาณหยั่งรู้ ถ้าเป็นวิชาการนะ เขามีการศึกษามา เขาอธิบายดีกว่าเราหลายเท่า อธิบายเป็นคุ้งเป็นแควไปเลย เขียนเป็นวิชาการได้ ๕ เล่ม ๑๐ เล่มเลย ๕ เล่ม ๑๐ เล่ม แล้วความรู้จริงล่ะ ๕ เล่ม ๑๐ เล่มนั้นเอามาเป็นวิชาการให้มีคนศึกษา ให้คนว่านี่คือความสำคัญของพุทธศาสนา แต่เวลาปฏิบัติขึ้นมานะ มันรู้ขึ้นมาท่ามกลางหัวใจ
ทางโลกเขาบอกว่า หนึ่งภาพดีกว่าร้อยคำพูด ในหัวใจถ้ามันรู้จริงขึ้นมา ความเป็นจริงในใจนั้นอธิบายไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าใจของคนที่เป็นธรรม จากใจดวงหนึ่งสู่ใจดวงหนึ่ง เห็นไหม ถ้าใจดวงนั้นเป็นธรรม พูดไปเถอะ พูดไปทั้งชีวิต ไม่มีวันจบล่ะ พูดไม่หมด
แต่ถ้าเป็นสัญญา เราจำมานะ เราเองพูดเรายังอายตัวเองเลย เพราะคำพูดนี้พูดแล้วพูดเล่า แต่ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ที่มีความจริงขึ้นมานะ เห็นไหม ท่านอายตัวเองไหม ท่านพยายามแสดงความจริงในใจของท่านออกมาให้เราเข้าใจ ฉะนั้น การแสดงความจริงในใจของท่านออกมาก็ใช้คำพูดเหมือนกัน
ทีนี้คำพูดน่ะ คำพูดโลกมีเท่านี้ไง กิน รับประทาน เสวย นี่ก็คือการกิน คำพูดของโลกมีเท่านี้ ฉะนั้น สิ่งที่ครูบาอาจารย์ท่านมีความจริงในหัวใจของท่าน ท่านพยายามเอาความจริง อธิบายความจริงอธิบายให้เราเข้าใจด้วยภาษาโลก ด้วยภาษาพูด ด้วยภาษาสมมุติ แต่มีธรรมในหัวใจดวงนั้น เอวัง