เทศน์บนศาลา

ธรรมต้องเป็นฉันทามติ

๑๗ มี.ค. ๒๕๔๖

 

ธรรมต้องเป็นฉันทามติ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๔๖
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจฟังธรรม ฟังธรรม “ธรรม” ธรรมคือเป็นสิ่งที่เหนือทุกๆ อย่าง ธรรมนี้ชำระกิเลสได้

“สภาวธรรมนี้มีอยู่โดยดั้งเดิม” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้ธรรม สิ่งนี้มีอยู่โดยดั้งเดิมแต่เป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อน สิ่งที่คนเข้าไม่ถึง สิ่งที่ไม่มีใครสามารถจะรู้ได้ ไม่มีใครสามารถจะรู้ได้เว้นไว้แต่ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ผู้ที่มีอำนาจวาสนาบารมี เราเป็นผู้มีอำนาจวาสนาบารมี เพราะเราตั้งใจประพฤติปฏิบัติ เว้นไว้แต่ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ

ถ้ามีเหตุต้องมีผล ต้องมีเหตุก่อน ส่วนที่เป็นเหตุคือการประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะเข้าสู่สัจธรรมอันนี้ ถ้าความเข้าสู่สัจธรรมความจริงโดยสมควรแก่ธรรม ธรรมนั้นจะเกิดกับบุคคลผู้นั้น ถ้าบุคคลผู้นั้นถึงธรรมแล้ว ใจดวงนั้นหลุดพ้นจากกิเลส...มีความสุขมหาศาลมาก มีความสุขมาก คือไม่เวียนตายเวียนเกิด

คนเราเวียนตายเวียนเกิด จิตนี้เหมือนกับลูกฟุตบอลกลิ้งไปสนามฟุตบอล มันจะมีความทุกข์ขนาดไหน คิดเอาเองสิ เปรียบเทียบเอาเองว่าจิตเราเหมือนฟุตบอลแล้วกลิ้งไปในสนาม นี่เหมือนกันเลย วนเวียนตายในวัฏฏะ เป็นวนเวียนไปชั่ว ๑๐๐ ปีของเรา เราว่าเราเกิดมา ๑๐๐ ปี ชีวิตเรายืนยาวมาก นั่นน่ะ ฟุตบอลมันหมุนไปรอบหนึ่ง แล้วมันหมุนไปตามในสนามฟุตบอล คนนั้นเตะไป คนนี้เตะมา จิตวิญญาณเราต้องเวียนไปเป็นอย่างนั้น สภาวะตามความเป็นธรรม ถ้าใครเห็นธรรม จะเห็นสภาวะแบบนี้ แล้วจะสลดสังเวชมากว่า

“ทำไมชีวิตนี้ทำไมมันทุกข์ร้อนแบบนี้ ทำไมมันต้องเป็นไปตามสภาวะนี้”

แต่มันก็เป็นจริง มันเป็นความจริงเพราะมันมีอยู่ สิ่งที่มีอยู่... กรรมจำแนกสัตว์ให้เกิดแตกต่างกันไป แล้วกรรมก็จำแนกสัตว์ให้เกิดเป็นสภาวะจิตใจแตกต่างกันไป การประพฤติปฏิบัติก็จำแนกให้แตกต่างกันไป

ชีวิตทางโลก การประกอบสัมมาอาชีวะก็ทำแต่สัมมาอาชีวะทางโลก ก็มีความถนัดของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน อำนาจวาสนาคนก็ไม่เหมือนกัน ถ้าคนอยู่ชีวิตทางโลกเป็นคนจริงจัง เป็นคนเอาจริงเอาจัง การประพฤติปฏิบัติมันจะมีความเป็นไปได้ ถ้าเป็นคนเหลาะแหละเราเหลาะแหละมาตั้งแต่ทางโลก ไม่จริงไม่จังตั้งแต่ทางโลก มันส่อนิสัย ถ้านิสัยไม่จริง ทำไม่จริง มันก็จะความไม่จริง

“ธรรม” ความเป็นจริงเห็นไหม จริงสุดส่วนในความสุดส่วนของโลกนี้ ไม่มีอะไรจริงกว่าสิ่งนี้เลย สิ่งนี้เป็นความสุดยอด แม้แต่เพชรนิลจินดาว่าเป็นของมีค่าขนาดไหน สุดยอดขนาดไหน มันก็เป็นของมัน มันก็ยังแปรสภาวะของมัน แต่ความจริงอันนี้มีคุณค่ามากกว่านั้น มีคุณค่ามากกว่าเพชรนิลจินดา มีคุณค่ามากกว่าสิ่งที่มีคุณค่าต่างๆ ทั้งหมดเลย แล้วสถิตอยู่ที่ใจ เป็นเนื้อเดียวกับใจ

แต่ขณะปัจจุบันนี้ใจเรามีกิเลส กิเลสขับไสแล้วหมุนเวียนไปให้เราหมุนออกไปตามอำนาจของกิเลส อำนาจของกิเลสขับไสดันออกมา แล้วเราก็เวียนไปตามความคิดความเห็นของเรา ความคิดเห็นหมุนไปอย่างนั้น ไม่เป็นตามความเป็นจริง ไม่เป็นไปตามสภาวธรรม

“ธรรมต้องเป็นฉันทามติ”

“ฉันทามติของธรรม” แม้แต่เราจะบวชเป็นพระเป็นสงฆ์ บวชเป็นพระเป็นสงฆ์ เวลาบวชต้องจตุตถกรรม ญัตติ ต้องสาธุพร้อมกันหมด นิ่ง มีสาธุ นิ่งอยู่ นี่ต้องเป็นฉันทามติ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้เป็นฉันทามติทั้งหมดเลย เพราะความเป็นฉันทามติทั้งหมด มันลบล้างสิ่งต่างๆ แต่นี้ของเราประพฤติปฏิบัติกันมันไม่เป็นฉันทามติ มันไม่เป็นความเห็นถูกต้องตามความเป็นจริงที่ถูกต้อง

“มัชฌิมาปฏิปทา” ฉันทามตินั้นเป็นมัชฌิมาปฏิปทา ความละเอียดอ่อนของใจนั้น มันจะทำรวบยอดให้จิตดวงนี้พลิกออกไปจากกิเลสที่มีกิเลสอยู่ ให้กิเลสตายไปจากใจ ตายไปจากใจโดยฉันทามติอันนั้น ความเห็นทุกส่วนไม่มีความเห็นต่างเลย แต่ประชาธิปไตยเห็นไหม “ประชามติ” สิ่งที่ลงประชามติ มันมีสิ่งที่ว่ามีเสียงข้างมากเป็นผู้ที่ชนะ สิ่งที่ชนะแต่มีเสียงข้างน้อยที่ไม่เห็นด้วย นี่เวลาประพฤติปฏิบัติจะเป็นแบบนั้น

แม้แต่จิตสงบขึ้นมาชั่วคราว เดี๋ยวก็ออกมาเพราะมีสิ่งที่อยู่ในหัวใจคือกิเลสอยู่ในหัวใจ

ถ้าธรรมเป็นฉันทามติกิเลสจะต่อต้านธรรมอันนี้ไม่ได้

แต่ถ้าเป็นประชามติ กิเลสจะต่อต้านสิ่งนี้ แล้วหลบเลี่ยงสิ่งนี้ แล้วถ้าเป็น “กิเลสมติ” นะ เป็นกิเลสมติ เป็นกิเลสมตินี้มันยิ่งแล้วใหญ่ไปเลย มันสร้างสมสิ่งที่ว่าหลอกลวงให้ใจเป็นสภาวะแบบนั้น นั้นเป็นกิเลสล้วนๆ เลย ในอุปกิเลส ๑๖ มันมีอยู่แล้ว โอภาส-ความสว่างไสว ความสว่างไสว ความเวิ้งว้างขนาดไหน มันเป็นอุปกิเลสเห็นไหม กิเลสมติมันจึงเป็นกิเลสหลอกลวงใจในหัวใจของเรา

เราประพฤติปฏิบัติต้องเป็นฉันทามติ ต้องเป็นฉันทามติเท่านั้น แต่จะเป็นฉันทามติขึ้นไปนี่มันเป็นสิ่งที่ว่ารวบยอด “ช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น ถึงแล้วกิเลสมันจะสิ้นออกไปจากใจ” แต่ในเมื่อใจเรายังไม่ถึงขนาดนั้น เราเป็น “กรรมจำแนกสัตว์ให้เกิดต่างๆ กัน” การประพฤติปฏิบัตินี้เป็นกรรมดี

สิ่งที่เป็นกรรมดี กรรมคือการกระทำ สร้างเหตุด้วยการเราสะสมเหตุของเราขึ้นไป เหตุในการประพฤติปฏิบัติ เหตุในตั้งสมาธิ สมาธิจะเกิดขึ้น สติจะเกิดขึ้นเพราะความตั้งใจของเรา “จริง” จริงตรงนี้ จริงตรงที่เราตั้งใจจริง คนจริงเห็นไหม หัวใจที่จริง หัวใจที่กัดเพชรขาด หัวใจที่กัดเพชรขาดนั้นหัวใจผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ จะอ่อนนอกแข็งใน หรือจะเป็นคนที่ว่าไม่สงบเสงี่ยมขนาดไหนก็แล้วแต่ แต่หัวใจต้องเป็นสิ่งสำคัญ หัวใจต้องมีความองอาจกล้าหาญ หัวใจต้องพยายามทำชำระของเราให้ได้

ถ้าหัวใจมีความองอาจกล้าหาญในการประพฤติปฏิบัติ อุปสรรคสิ่งใดจะขวางกั้นขนาดไหน ใจนี้ก็ต้องฝ่าฝืนไปได้ จะมีอุปสรรคขวางกั้นในการประพฤติปฏิบัตินี้มหาศาล จะมีมหาศาลเลยเพราะกิเลสมันอยู่ที่ใจ การที่จะติดตามผู้ที่ขโมยขโจรต่างๆ แต่ละคน มันเป็นเรื่องที่แสนทุกข์แสนยาก กว่าจะเจอตัวมัน กว่าจะเอาตัวมันมาลงโทษได้ เราต้องติดตาม แล้วในการทางโลกเขาบัญญัติกฎหมายไว้ให้เวลา ๒๐ ปี กฎหมายอาญามีอายุความอยู่ ๒๐ ปี หนีไป ถ้าเราทำร้ายใครขึ้นมามันต้องหนีไป คนที่ต้องหนีไป นักโทษต้องหนีไป ๒๐ ปี แล้วพ้นจาก ๒๐ ปีก็อนุโลมกัน เลิกกัน

แต่กิเลสไม่เป็นแบบนั้น กิเลสนี้ฝังอยู่ที่ใจแล้วจะเป็นสิ่งนั้นเป็นอนันตกาลไป อนันตกาลไปเพราะจิตนี้ไม่เคยตาย จิตดวงนี้ไม่เคยตาย แต่สภาวะต่างๆ ไป ถึงจะไปเกิดเป็นคนใหม่ไม่ใช่เราก็จริง ไม่ใช่เราหรอก แต่สภาวะจิตนั้นเป็นส่วนหนึ่งของใจดวงนั้น ใจดวงนี้เป็นความจริงแต่ไปเกิดเป็นสภาวะของคนที่เป็นคนใหม่ เราก็เหมือนกัน เมื่ออดีตชาติจะเป็นชาติไหนก็แล้วแต่ เราจะเป็นใครมาก็แล้วแต่ เกิดมานี่มันก็มีอานิสงส์อันนั้นมา อานิสงส์คือบุญกุศลที่เราสร้างสมมา มันก็มาเป็นเรา แต่อดีตชาติกับเราไม่ใช่อันเดียวกัน

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาย้อนอดีตชาติบอกว่า

“เราเคยเป็นกษัตริย์องค์นั้น เราเคยเป็นมหาราชาองค์นั้น เราเคยเป็น”

“เราเคยเป็น” ไม่ใช่ปัจจุบัน ปัจจุบันนั้นเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสมณโคดม เป็นผู้ที่สั่งสอน เป็นผู้ที่รู้สิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง นั่นน่ะ ใจดวงนั้นถึงไม่เคยตาย เป็นอนันตกาลตลอดไป สิ่งที่เป็นอนันตกาลตลอดไปนั้นมันถึงได้เข้ากับสิ่งที่ว่าเป็นนิพพาน สิ่งที่เป็นนิพพาน จิตนี้จะมีความสุขตลอดไป

มันเป็นสิ่งที่ว่ามันให้เรามีกำลังใจขึ้นมาได้ว่า ถ้าเราทุกข์ยากขนาดไหน เราก็ต้องล้มลุกคลุกคลานตลอดไป แล้วจะไม่หวังพึ่ง ไม่หวังชาติหน้า ไม่หวังชาติต่อๆ ไป ไม่หวังพระศรีอริยเมตไตรย ทั้งๆ ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดนี้เป็นสิ่งที่ว่าคงที่ เป็นสิ่งที่ตายตัวว่าพระศรีอริยเมตไตรยจะตรัสรู้ต่อไปในภายภาคหน้า องค์ต่อไปที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านี้เป็นพระศรีอริยเมตไตรย จะมาตรัสรู้องค์ต่อไป

เราก็หวังพึ่งตรงนั้น หวังว่าตรงนั้นจะเป็นที่เกาะเกี่ยวกับเรา แต่สิ่งที่เราสร้างสมขึ้นมา เหมือนเราอยู่ในน้ำป่า น้ำป่าพัดกระแสไปแล้วมีขอนอยู่ขอนหนึ่ง เราจะกระโดดเกาะขอนนั้น จะเกาะทันหรือไม่ทันเราก็ไม่รู้ ถ้าเกาะทันขึ้นมาเราก็รอดชีวิตไปได้ ถ้าเกาะไม่ทันเราก็จมน้ำตาย หมุนอยู่อย่างนั้น นี่ก็โอกาสเสี่ยงอย่างนั้นเหมือนกัน พระศรีอริยเมตไตรยต้องมาตรัสรู้แน่นอน สิ่งนี้เป็นสิ่งที่แน่นอน แต่กรรมของเรามันไม่แน่นอน สิ่งที่กรรมของเราไม่แน่นอนถึงไม่อาศัยชาติหน้า ไม่หวังชาติหน้า ไม่หวังสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น เราต้องหวังปัจจุบันนี้

เพราะปัจจุบันนี้ใจเรามันมุ่งหวัง มันอยากจะประพฤติปฏิบัติ มันจะเอาหัวใจนี้ออกได้ แล้วเหตุผลก็เพียงพอ โลกก็มียาพร้อม ถ้ามีโลกอยู่ อริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค...มรรคอริยสัจจังนี้สามารถสร้างสมขึ้นมาได้ ในตัวของเราสร้างมรรคขึ้นมา ถ้ามีมรรคอริยสัจจังขึ้นมา งานอันประเสริฐ งานอย่างอื่นนั้นเป็นงานสัมมาอาชีวะ งานนี้เป็นงานข้อวัตรปฏิบัติ งานนี้เป็นงานเครื่องอยู่อาศัย สิ่งที่เครื่องอยู่อาศัย ใจนี้เป็นเครื่องอยู่อาศัย

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ขึ้นมาแล้ว ยังใช้ชีวิตอยู่ ๔๕ ปีก็เครื่องอาศัย เครื่องอาศัยของผู้ที่อาศัยโดยธรรมชาติ กับเรามันเป็นเครื่องอาศัยแล้วมันเป็นมารด้วย สิ่งที่เป็นมารกดถ่วงเราตลอดไป เราก็ตื่นกับเครื่องอยู่อาศัยกัน ตื่นกับเครื่องอยู่อาศัย พยายามเห็นว่าเครื่องอยู่อาศัยนั้นเป็นที่อยู่อาศัย ใจก็เกาะเกี่ยว ใจส่งออกไปอยู่ข้างนอก ใจไม่ย้อนกลับเข้ามาข้างใน

“สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องดับเป็นธรรมดา”

ข้อวัตรปฏิบัติมีอยู่ ตั้งอยู่ขึ้นมาได้ มันก็เสื่อมถอยไปได้ เสื่อมถอยไป คนไม่ทำตาม คนไม่เห็นด้วย ในการประพฤติปฏิบัติในการนั่งสมาธิภาวนา นี่บุญกุศลมหาศาล คนยังไม่เห็นด้วย ไม่เห็นมีการกระทำ ทำแล้วไม่ได้ผล สิ่งที่ไม่ได้ผลกับการประพฤติปฏิบัตินั้นมันเป็นอำนาจวาสนาของเขา นี่กิเลสมันก็เสี้ยมสอนไปอย่างนั้น

“เราไม่มีอำนาจวาสนา เราทำไม่ได้ เราไม่มีโอกาสทำ”

นั่นน่ะ กิเลสมันผลักไส วัตรปฏิบัติมันจะเสื่อมไปอย่างนั้น แล้วก็ตั้งขึ้นใหม่ ตั้งขั้นใหม่ เป็นครั้งเป็นคราวขึ้นมา จนกว่าจะตั้งได้ตลอดไป ถ้าผู้ที่ตั้งได้ตลอดไป มันเป็นความจริงของใจดวงนั้น ใจดวงนั้นตั้งสิ่งนี้ได้ ข้อวัตรปฏิบัติตั้งอยู่แต่จากข้างนอก แล้วก็ข้อวัตรปฏิบัติตั้งมาจากข้างใน จะเดินจงกรมวันละเท่านั้นชั่วโมง จะนั่งสมาธิวันละกี่ชั่วโมง นั่นน่ะ สัจจะเราตั้งขึ้นมา นี่วัตรปฏิบัติจากภายนอกมันก็ส่งถึงความเป็นวัตรปฏิบัติภายใน

“วัตรปฏิบัติ” ถึงเวลาแล้วต้องปฏิบัติ ถึงเวลาแล้วต้องนั่ง ถึงเวลาแล้วต้องภาวนา มีข้อวัตร มีข้อกดถ่วง มีข้อต่อรองกับกิเลส เรามีข้อต่อรองกับกิเลสเราก็ได้โอกาสมากขึ้น ถ้าเราไม่มีข้อต่อรองกับกิเลส กิเลสเอาไปกินหมด กิเลสเอาเวลาของเราไปกินหมดเลย วันๆ คิดแต่เรื่องความเห็นของกิเลสนั้น คิดแต่เรื่องของโลก เรื่องของสงสาร เรื่องของความเครื่องอยู่อาศัย

“สิ่งที่อาศัย” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นถึงกษัตริย์ ทิ้งมาทั้งหมดเลย ทิ้งมา

ถ้าอยู่กับสิ่งนั้น สิ่งนั้นจะดึงเวลาเราไปทั้งหมด สิ่งนั้นความคิดเป็นวัตถุอันหนึ่ง “ความคิดของเราเป็นวัตถุอันหนึ่ง” เป็นความเห็นอันหนึ่งเวลาเกิดดับขึ้นมาในหัวใจ สิ่งนั้นคือความคิดของเรา สิ่งที่มีอยู่ในความคิดของเรา เราเห็นแต่ความคิดของเรา เรายังไม่เห็นตัวใจเลย ตัวความคิดของเราคือตัวของเงา เงาอยู่หลอกให้ใจหมุนเวียนออกไป เวลาตายไป เงามันก็อยู่สถานะของเงา ของภพชาติอันนั้นมันก็วางไว้ที่นั่น แต่ตัวใจที่ไม่เคยตายเรายังไม่เคยเห็น ถ้าเราไม่เคยเห็นตัวใจของเรา เราถึงไม่เห็นสัจธรรมตามความเป็นจริง

ถ้าเราเห็นตัวใจของเรา เราจะซึ้งมาก คนทำความสงบของใจ จะซึ้งใจมากว่า มีความสุขของการทำความสงบของใจนี้ มันจะมีความสุขมากขนาดนี้ ความสุขไม่ต้องหาที่อื่นที่ไกลเลย โลกตื่นกันนะ ถึงเวลาพักร้อนถึงเวลาตื่นกันไปพักร้อนที่นั่น ไปพักร้อนที่นั่น นั่นน่ะ ความเห็นของเขา แต่ในศาสนาของเรานะ ในวันมาฆบูชา พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ องค์มาเข้าในสโมสรสันนิบาต การพักร้อนของพระอรหันต์ นั่งสงบกัน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสโอวาทปาฏิโมกข์

“ควรทำใจให้ผ่องแผ้ว”

“ไม่ควรทำสิ่งที่ผิดพลาดต่างๆ ไม่ควรทำเลย”

“ควรทำคุณงามความดี ควรทำให้จิตผ่องแผ้ว”

พักร้อนอยู่กับหัวใจไง หัวใจมันพักเครื่องมาโดยธรรมชาติของมันอยู่แล้ว มันไม่ต้องไปพักร้อนที่ไหน มันรอเวลาสิ้น ถึงเวลามันก็สลัด สิ่งที่เป็นสอุปาทิเสสนิพพาน เป็นธาตุขันธ์ต่างๆ ที่ทิ้งออกไปจากโลก แล้วก็จะพ้นออกไปจากโลกนั้น นั้นเป็นสิ่งที่อุ่นใจได้ พักร้อนได้

ของเรานี้ยังอุ่นใจไม่ได้ พักร้อนไม่ได้ ต้องไม่พักร้อน ต้องมีทำการงานตลอดไป

งานของเราคืองานต่อสู้ชำระกิเลส กิเลสเกิดขึ้นจากหัวใจ ไม่ต้องไปดูกิเลสคนอื่น กิเลสของคนอื่นเป็นเรื่องกิเลสของเขา กิเลสของใครก็เป็นกิเลสของบุคคลนั้น กิเลสของเรามันอยู่ในหัวใจของเรา เรารู้อยู่ในหัวใจของเรา เหมือนปลาในข้องของเรา เราต้องจับปลาในข้องของเราได้ ปลาอยู่ในข้อง แต่เรายังจับปลาในข้องของเราไม่ได้เลย แล้วเราจะไปดูกิเลสของคนอื่น ไปดูปลาในมหาสมุทร ปลาในทะเล ปลาในแม่น้ำลำคลอง แล้วเราจะไปจับได้อย่างไร เราจับปลาของเขาแล้วเราได้ประโยชน์อะไรขึ้นมา เพราะปลาของเขาเราไม่มีสิทธิ เราทำอะไรไม่ได้

แต่ปลาของเรา ถ้าเราจับปลาของเราได้ ปลาในข้องของเรา จิตของเราไง อยู่ในร่างกายของเรา ข้องคือตัวร่างกายของเรา ร่างกายนี้เปรียบเหมือนข้อง จิตนี้อาศัยอยู่ในร่างกายนี้ แล้วเราก็ไม่เคยเห็น เราก็จับต้องมันไม่ได้ เราหามันไม่เจอ ถ้าเราหามันไม่เจอ เราจะเอาอะไรเป็นคุณประโยชน์ขึ้นมา เอาอะไรไปแก้ไขกิเลสล่ะ

ถ้าเราไม่มีเครื่องมือขึ้นมา เครื่องมือที่เราจะไปชำระกิเลส มันต้องมีความสงบของใจขึ้นมาก่อน ใจนี้สงบขึ้นมา สิ่งที่เป็นความคิดต่อจากความสงบนั้นถึงจะเป็นประโยชน์กับเรา สิ่งที่ใจยังไม่สงบยังฟุ้งซ่านอยู่ เราก็ตื่นไปกับอาการของใจอย่างนั้น อาการของใจก็ต้องคาดไปหมายไป นี้คือตัณหา มันเป็นตัณหา เป็นอริยสัจ “ทุกข์ สมุทัย” มันเป็นสมุทัย มันเป็นอริยสัจเป็นความจริงอยู่อันหนึ่ง แต่ความจริงอันนี้มันเป็นความจริงในฝ่ายผูกมัดไง

“ทุกข์ สมุทัย” นี้เป็นธรรมเกิดมีอยู่แล้วโดยธรรมชาติ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงเอาธรรมอันนี้เป็นจุดหมายเป็นที่ตั้ง

“ทุกข์ สมุทัย” เป็นที่ตั้ง

แล้ว “นิโรธะ กับ มรรคอริยสัจจัง” เป็นความฝ่ายแก้ไข

“นิโรธะ” เกิดขึ้น ถ้ามันดับสิ่งต่างๆ นิโรธะ ความว่าง ความสงบใจเกิดขึ้น

แต่ถ้าเป็นกิเลสมติ เวลาว่างเกิดขึ้นเราก็ว่า อันนี้มันเป็นสิ่งที่สุดของการประพฤติปฏิบัติ นั่นน่ะ กิเลสมติเอาไปกิน เราก็หลงอยู่ในตัวของเราเอง นั่นน่ะ มันแค่ปล่อยวางเข้ามา ปล่อยวางเข้ามาเป็นเครื่องมือที่จะเอาไปขุดคุ้ยค้นคว้าหากิเลส สิ่งที่จะค้นคว้าหากิเลสต้องมีเครื่องมือเข้าไป ถ้าเราไม่มีเครื่องมือเข้าไปทำงานเลย เราจะเอาอะไรไปทำงาน คนเป็นเชื้อ โรคนี่ไปติดเชื้อ แล้วเราไม่ได้ระวัง ทำอะไรไปเชื้อมันก็ต่อเนื่องไป นี่ผู้ที่ปฏิบัติธรรม มันไม่เป็นฉันทามติ มันเป็นประชามติ

เวลาธรรมเกิดขึ้นมันมีฝ่ายเสียงข้างมาก-เสียงข้างน้อย มีฝ่ายแพ้-ฝ่ายชนะตลอดไป มือติดเชื้อแล้วก็ทำไป ของติดเชื้อแล้วก็ผ่าตัดไป เอาร่างกายนี้ผ่าตัดไป ติดเชื้อแก้ไขไป เชื้อก็ลุกลามไป เราติดเชื้อเห็นไหม คนเราเวลาคนมีอายุมากต้องให้เข้าห้องปลอดเชื้อเพราะอะไร เพราะติดเชื้อแล้วเป็นโรคติดเชื้อแล้วจะตาย ตายง่ายๆ ขึ้นมาเลย ทั้งๆ ที่ไม่มีโรคอะไรขึ้นมา ติดเชื้อเสียชีวิตไป นี่ใจเราเป็นอย่างนั้น

ถึงว่า “ธรรมต้องเป็นฉันทามติ” สิ่งที่จะเป็นฉันทามติตัวนี้ มันเป็นตัวที่ว่าทำให้เราทุกข์ยาก ทุกข์ยากเพราะว่าอะไร เพราะตรงไหนมันเป็นฉันทามติ มันถึงต้องพยายามฝึกฝนของเราขึ้นไป หน้าที่ของเราสร้างเหตุของมันไป “เหตุ” ถึงจะต้องมีเหตุอย่างเดียว

เราสร้างธรรม ธรรมฝ่ายเหตุ กรรม-การกระทำความดีนี่เป็นกรรมฝ่ายเหตุ เหตุสะสม เหตุ แยกแยะ เหตุพยายามเคลื่อนไหวตลอดเวลา ไม่นอนจมอยู่กับความเห็นของกิเลส นอนจมอยู่ในมูตรในคูถ มันเห็นอย่างนั้นแล้วมันขยะแขยง มันนอนจมไม่ได้ แต่เวลานอนจมอยู่กับกิเลส มันไม่รู้ว่าเป็นกิเลส มันพอใจอยู่กับการนอนจมในหัวใจ หัวใจนอนจมอยู่กับมันแล้วก็คลุกคลีอยู่กับมันตลอดไป ไม่รู้ว่าสิ่งนี้เป็นกิเลส สิ่งนี้เป็นภัย

ภัยต่างๆ ในโลกนี้ สงครามจะเกิดที่นั่นเราก็ตื่นเต้นว่า มันจะมีกระทบกระเทือนกับเราไหม สิ่งนั้นจะเป็นอะไรกับเราไหม แต่ภัยคือกิเลสในหัวใจที่มันนอนอยู่กับเรา ลุกก็ลุกอยู่ในเรา ความคิดก็คิดอยู่กับเรา ไม่ใช่คิดอยู่กับเราธรรมดานะ มันเป็นตัวเหตุกระทุ้งยุแหย่ให้เราคิดขึ้นมาด้วย คิดขึ้นมา นั่นน่ะ ภัยตัวนี้สำคัญมาก

เห็นภัยตัวนี้ขึ้นมา นั่นน่ะ จับปลาในข้อง เห็นปลาในข้องขึ้นมา เวลาปลาในข้อง เวลาเราเข้าไปจับ มันจะทำให้น้ำกระเพื่อม มันจะว่ายน้ำสะเทือนให้หนีไป สะเทือนหัวใจ เวลาโกรธ เวลาโลภ เวลาหลงเป็นอย่างนั้น สิ่งนี้เวลาเราเข้าไปจับต้องมัน มันแสดงตัวมันต่อต้านขึ้นมา นี่ก็เหมือนกัน เวลาประพฤติปฏิบัติเรามีความต่อต้าน

“เราทำไม่ได้ เราเป็นไปไม่ได้ วาสนาเราไม่ถึง แล้วก็มรรคผลนิพพานไม่มี”

“มรรคผลนิพพานไม่มี” แล้วทำไมเหตุบอกว่าพระอาทิตย์ขึ้นทำไมแดดมันร้อนล่ะ สัจจะความจริงมีอยู่ ถ้ามันตากแดดมันต้องร้อน ถ้าอยู่ในที่ร่มเย็นมันต้องเย็น นี่ความจริงมันมีอยู่ สิ่งนี้มันเป็นอริยสัจ มันเป็นความจริงมีอยู่ ทุกข์มันมีอยู่ เวลามันร้อนก็ร้อนขึ้นมาจากหัวใจของเรา เพราะหัวใจเราเร่าร้อน หัวใจนี้เป็นทุกข์ หัวใจนี้ว้าเหว่ หัวใจนี้ไม่มีเครื่องดำเนิน ไม่รู้จะดำเนินต่อไปอย่างไร นี่มันว้าเหว่ มันอาลัยอาวรณ์ในเรื่องของใจ มันน่าสลดสังเวชกับเราเอง แล้วมันไม่มีทางออกไม่มีทางออก ไม่มีทางออกเพราะไม่มีศาสนา

แต่ในเมื่อมีศาสนา ศาสนาชี้ทางออกให้ชัดเจนเลย “ทุกข์ควรกำหนด” สิ่งที่พูดมาเหล่านี้มันเป็นเรื่องของทุกข์ทั้งหมดเลย เป็นผลของทุกข์ทั้งหมดเลย ถ้าเรากำหนดทุกข์ได้ เราจะสาวไปหาเหตุได้ ถ้าเรากำหนดทุกข์ไม่ได้ เราจับทุกข์ไม่ได้ เราบ่นกัน เราพิไรรำพันว่าเราเป็นความทุกข์ เรามีความทุกข์ในหัวใจ แต่เราไม่เห็นตัวทุกข์ เห็นตัวทุกข์คือเห็นตัวใจ แล้วใครเป็นผู้เห็น?

นี่ไง “ใครเป็นผู้เห็นทุกข์นั้น” ถ้าเราเห็นทุกข์นั้น เราจะมีอาการหวั่นไหว มีอาการกระเพื่อมในหัวใจว่า “เราเจอแล้ว เราเจอมหาสมบัติ” มหาสมบัติของเราคือต้องเห็นสติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม แล้วอะไรไปเห็น สิ่งที่เอาอะไรไปเห็น หน้าที่ของเราต้องทำแบบคนที่ว่าไม่ใช่คนฉลาด ถ้าทำแบบคนฉลาด นั้นน่ะ ประชามติ เสียงข้างมากของกิเลสด้วยนะ ไม่ใช่เสียงข้างมากของธรรม

เราฉลาด เรารู้ทัน เราต้องทำตามความเห็นของเรา นี่สร้างสภาวะขึ้นมา สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมาว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นธรรม” แล้วเราก็จะไม่ก้าวเดินไป เราถึงต้องทำแบบคนที่ว่าโง่ๆ ไง โง่กับกิเลส แต่ฉลาดในธรรม

เพราะกิเลสมันทำให้เราคิด “กิเลส” สิ่งหนึ่งคือความคิดของเราเกิดขึ้นมาจากกิเลสพาคิด ถ้ากิเลสพาคิด มันก็ต้องวาดภาพให้เราเสร็จแล้ว ต้องเป็นสิ่งนั้น ต้องเป็นสภาวะนั้น แล้วก็คิดออกไป นั่นสภาวธรรม นั่นธรรมปฏิรูป ธรรมสิ่งนี้เราคิดขึ้นมา เราปรุงแต่งขึ้นมา อ่านหนังสือ อ่านของครูบาอาจารย์มา แล้วก็คาดหมายมา อ่านพระไตรปิฎกมาก็คาดหมายมาว่าจะเป็นสภาวะแบบนั้น แล้วเราจะทำให้ได้อย่างนั้น อย่างนั้น นั่นน่ะ สิ่งนี้เกิดขึ้นมา กิเลสมติขึ้นมาด้วย เป็นกิเลสฝ่ายใหญ่ มติด้วย ประชามติของกิเลสส่วนใหญ่แยกออกไป เอาไปกิน

เราปฏิบัติไปล้มลุกคลุกคลานขนาดไหน อันนี้เป็นครู ความผิดนี้เป็นครู เป็นครูให้เราพยายามประพฤติปฏิบัติขึ้นไป แก้ไข มันต้องมีความผิดความถูกในหัวใจ การประพฤติปฏิบัติจะไม่ถูกต้องตลอดไป แล้วจะไม่มีความราบรื่น

สิ่งที่เป็นงานของโลกเขา ใครประสบสำเร็จทางโลกนั้น คนทำงานมา ลองถามว่าเขาประสบความสำเร็จมาอย่างไร เขาจะอธิบายว่าเขาทุกข์ยากมาขนาดไหน เขาต้องวางแผนมาขนาดไหน เขาถึงสร้างโครงการของเขา แล้วประสบความสำเร็จของโลกขึ้นมา ประกอบเป็นธุรกิจขึ้นมาแล้วประสบความสำเร็จมา มีได้กำไรมาขนาดไหน เป็นสมบัติของเรา นั้นน่ะ เขาจะพูดถึงโครงการของเขา

อันนี้ก็เหมือนกัน ในเมื่อจิตมันสงบขึ้นมา โครงการของเรา เราจะทำขนาดไหน ความเห็นของเรามันจะมีความสะดวกสบายในการประพฤติปฏิบัติให้ทำถูกต้อง...มันเป็นไปได้อย่างไร มันจะมีความสะดวกความสบายในการประพฤติปฏิบัติ แล้วจิตนี้จะเข้าถึงมีความสงบโดยที่กิเลสไม่ต่อต้าน

อย่างธุรกิจของเขานั้น เขามีคู่แข่งขันเป็นคู่ต่อสู้ของเขา แต่ในการประพฤติปฏิบัติของเรานี้ กิเลสของเรานี้เป็นคู่ต่อสู้ของเรา ฟังดูสิ กิเลสของเรา ความอยาก ตัณหาความทะยานอยากนี้เป็นกิเลส แล้วอยากในการประพฤติปฏิบัติมันเป็นตัณหาความทะยานอยากไปที่ไหน ในการประพฤติปฏิบัติ แต่มันก็แฝงตัวมา นั่นน่ะ กิเลสมันถึงเป็นคู่ต่อสู้ คู่ต่อกรในการประพฤติปฏิบัติไง

ในการประพฤติปฏิบัติ กิเลสของเรานี่แหละมันเสี้ยม มันพลิกแพลงให้การประพฤติปฏิบัตินี้พลิกแพลงออกไป มันถึงมีความยากลำบาก ความยากลำบากว่าการคาดการหมาย การคาดการหมายในวงรอบหนึ่ง มันก็หมุนไปวงรอบหนึ่ง ความเห็นก็เปลี่ยนไปวงรอบหนึ่ง เป็นอย่างนั้น แล้วคาดหมายละเอียดอ่อนหรือว่าจะแก่กล้าขึ้นมาขนาดไหน มันก็เป็นเรื่องของเราตั้งสติขึ้นมา

อย่างเช่น การตกภวังค์ ถ้าเรานั่งอยู่แล้วมันหายไปเลย แล้วสะดุ้งรู้สึกตัวขึ้นมา นั้นคือการตกภวังค์ แล้วการตกภวังค์ใหม่ๆ แล้วถ้าเราแก้ไขมันจะเป็นการแก้มาก แต่ถ้าเราเข้าใจผิด เราคิดว่าอันนี้เป็นความสงบของใจ เวลากำหนดพุทโธๆ ขึ้นมา หรือกำหนดใช้ปัญญามันจะหายแว็บไป แล้วเงียบไป หายเลย แล้วเวลารู้สึกตัวขึ้นมา มันเหมือนกับคนตื่นนอน สะดุ้งตื่นนอนขึ้นมา อันนี้เป็นการตกภวังค์ ถ้ามันลงลึกมากๆ การแก้ไขจะยากเข้า ยากเข้า สิ่งที่แก้ไขยากเข้า นั่นน่ะ มันพาออกไปข้างนอก สิ่งนี้เป็นกิเลสมติอออกไปข้างนอก ออกไปต่างๆ แล้วทำให้เราเข้ามาไม่ได้ ล้มลุกคลุกคลานไป

ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติจะล้มลุกคลุกคลานอย่างนี้ แล้วมีความทุกข์ยาก มีความทุกข์ยาก แต่ทุกข์เพื่อจะพ้นกิเลส การประพฤติปฏิบัติไม่ใช่เอาความสุข เอาความสมหวังมาแต่เริ่มต้นหรอก มันมีความผิดพลาดของใจนี้ตลอดไป ความผิดพลาดนี้แหละมันเป็นเครื่องทำให้จิตใจเราเข้มแข็ง ใจจะเข้มแข็งขึ้นมาเพราะมันมีความผิดพลาดขึ้นมาแล้ว มันรู้จักว่าผิดพลาดขึ้นมา ถ้าจิตน้อมไปอย่างนี้ตกภวังค์ จิตน้อมอย่างนี้ส่งออกไป ถ้าส่งออกไปแล้วทำให้ผลของมันคืออะไร?

คือความทุกข์ร้อนของใจ เวลาจบสิ้นสุดของมันคือทุกข์ร้อนแล้ว เรามีแต่ทุกข์ร้อนออกไป ผลของมันคือการปฏิบัติบูชา การปฏิบัติบูชานี้เราบูชาพระพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสั่งพระอานนท์ไว้แล้ว บอกว่า

“บุญกุศลสิ่งที่ต่างๆ ในการทำบุญกุศลนั้นไม่มีเท่ากับการปฏิบัติบูชา”

ถึงจะผิดพลาด เราก็ปฏิบัติบูชาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เป็นจริตนิสัยของเรา สะสมให้เป็นไป ถึงมันจะผิดพลาดก็ให้มันผิดพลาดไป แต่ถ้ามันผิดพลาด มันเสียเวลาไป นั่นมันก็เป็นว่าเราอำนาจวาสนาของเรา

เราหาครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์บางองค์พูดมันเข้าใจ มันซึ้งใจเรา บางองค์พูดไม่เข้าซึ้งใจเรา นี้เหมือนกันจริตนิสัย การสร้างสมบุญกุศลมา ถ้าเราเจอครูบาอาจารย์เข้ากัน ลูกศิษย์ของพระสารีบุตรมีแต่ปัญญาทั้งนั้นเลย ลูกศิษย์ของพระโมคคัลลานะ นั่นน่ะ ฤทธิ์ทั้งนั้นเลย ลูกศิษย์ของพระเทวทัตก็ลามกทั้งนั้นเลย นี่ก็เหมือนกันถ้าจริตนิสัยเราเข้าอย่างนั้น มันก็อยู่ที่อำนาจวาสนาของเรา แล้วแต่ใครจะฉุดจะลาก เรื่องของกรรม น้อยคนนักที่จะแก้ไขกรรมสิ่งที่ว่าสะสมมา ต้องให้เขาได้ใช้กรรมกันไป พอใช้กรรมกันไป ผ่อนคลายขึ้นมาแล้ว ถึงจะคอยชักคอยลากกันไป ต้องคอยชักคอยลากกันไป

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารื้อสัตว์ขนสัตว์นะ ศาสนาจะเจริญขึ้นมา เจริญมาในหัวใจของสัตว์โลก จนทิ้งครอบครัว ทิ้งสิ่งที่สิทธิของมนุษย์ขึ้นมา ทิ้งสิ่งที่ว่าเป็นประโยชน์สาธารณะ ทุกคนมีสิทธิ์การครองเรือน ทิ้งสถานะขึ้นมาเพื่อออกบวชเห็นไหม ถ้ามีความศรัทธาขึ้นมา ออกบวชเพื่อจะต่อสู้กับกิเลสของตัว ออกบวชเพื่อจะเข้าสงครามกับการต่อสู้กับกิเลส

นี่เหมือนกัน พอได้เข้าสงครามแล้ว มันเข้าต่อสู้กับกิเลส มันก็ต้องพยายามทำของตัวเองขึ้นมาสิ ทำของตัวเองขึ้นมา มันทุกข์ยากขนาดไหน มันก็เป็นการที่ว่าเราพอใจแล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมไว้อย่างนี้ มันถึงว่าลึกซึ้ง ผลของมันละเอียดอ่อน ผลของมันถ้าได้ผลแล้วมันมีคุณค่าสมกับการประพฤติปฏิบัติ สมกับที่เรามีชีวิตขึ้นมาแล้วเป็นเอกบุรุษนะ

เอกบุรุษองค์แรก คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หนึ่งเดียว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสรู้ได้องค์เดียวเท่านั้น เพราะมันเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เรื่องของธรรมนี่เป็นเรื่องสำคัญมาก มันละเอียดอ่อนมาก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมแล้วก็ยังกราบธรรมอยู่ตลอดเวลา เพราะกราบธรรมด้วยความซึ้งใจ

เวลาทุกข์นี้ไม่มีใครบอกนะ ทุกใจทุกดวงใจมันร้อนรุ่มมาก ทุกข์จนสะเทือนใจกินไม่ได้นอนไม่หลับก็มี ขนาดว่ากินได้นอนหลับผ่อนคลายลงไปบ้าง มันก็ยังเผารนอยู่ในหัวใจ แล้วก็อย่างนี้ เกิดดับ เกิดดับในหัวใจ ไม่มีทางจะเอาออกจากหัวใจได้หมดเลย

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้สิ่งนี้ แต่ตรัสรู้ได้ต้องสร้างสมบารมีมา สร้างสมบารมีเพราะมันอยู่ที่ลึกซึ้ง กว้างขวางที่สุดคือค้นหาไม่เจอ ลึกซึ้งที่สุดคือในหัวใจเราเอง แล้วย้อนกลับเข้ามาขนาดไหน มันจะมีพลังงานสิ่งใดย้อนกลับ...หาได้น้อยมาก จนกว่าเกิดมรรคาขึ้นมา พลังงานย้อนกลับ พลังงานที่ย้อนกลับเข้ามาทำลายตัวมันเองขึ้นมาได้ ย้อนกลับขึ้นมาเพราะทำความสงบของใจขึ้นมาก่อน สิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่บอกถึงว่าพลังงานสิ่งนี้มีแล้ว ถ้าความสงบของใจพลังงานไม่มี นั้นเป็นเรื่องของโลก เรื่องของมือติดเชื้อแล้วทำการผ่าตัด นั้นเรื่องของพลังงานของโลก นั่นคือโลกียะ หมุนออกไปทั้งหมดเลย

พลังงานของธรรม จิตสงบฆ่าเชื้อแล้ว สิ่งที่ฆ่าเชื้อแล้วย้อนกลับเข้ามา ย้อนกลับเข้ามาจับต้องในสติปัฏฐาน ๔ นี่ค้นหาโจรหามารต้องค้นหาอย่างนี้ ถ้าใครค้นหาโจรหามารได้ คนนั้นคนมีความสามารถ มีอำนาจวาสนา มันไม่เป็นสิ่งที่ลอยๆ มาหรอก มันจะเกิดขึ้นมาจากจิตที่สงบก่อน ถ้าจิตมีพื้นฐานจะเกิดสิ่งนี้ ถ้าจิตไม่มีพื้นฐาน สิ่งนั้นจะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ไม่มีฐานรองรับมันจะเกิดขึ้นมาจากบนยอดฟ้าอากาศได้อย่างไร

ทำนาทำสวน ทำลงที่ดินทั้งหมดเลย การประพฤติปฏิบัติมันต้องประพฤติปฏิบัติลงที่ใจ ประพฤติปฏิบัติลงที่จิตที่สงบขึ้นมา ทำนาทำสวนไปทำบนก้อนเมฆ นั้นเป็นความฝัน นี้เหมือนกัน ความคิดของเราก็เป็นความฝัน “ว่ามันเป็นสมาธิอย่างนั้น จิตสงบเป็นอย่างนั้น” เป็นความฝัน เป็นความใคร่ครวญของใจ ใจนี้ฝันเอาเอง ใจนี้ใคร่ครวญเอง...เป็นกิเลสมติ กิเลสมติเป็นแบบนั้น แล้วหมุนออกไป หมุนออกไปอย่างนั้น ทำให้ใจนี้ทุกข์ร้อน ทุกข์ร้อนมาก

ไหนการประพฤติปฏิบัติมันจะมีความร่มเย็นเป็นสุข?

มันไม่เห็นมีความร่มเย็นเป็นสุข มันจะร่มเย็นเป็นสุขต่อเมื่อใจนี้สงบ ใจนี้สงบ จะร่มเย็นเป็นสุขแน่นอนเลย เพราะสิ่งที่เป็นฟืนเป็นไฟเราชักถอนออกไปจากใจ การชักฟืนถอนออกไปจากใจ ทำให้ไฟของใจนี้ดับ ชักฟืนออกไปจากความคิดที่มันฟุ้งซ่าน เรายิ่งคิดเท่าไร เรายิ่งเติมฟืนเติมไฟเข้าไป

เขาว่า “กำหนดพุทโธๆ แล้วมันจะดับ”

ไม่เห็นดับเพราะสติเราไม่พอ แม้แต่พุทโธบางทีก็เป็นฟืนเป็นไฟเข้าไป เพราะมันตื่นเต้น มันตื่นกับอาการอันนั้นแล้ว มันตื่นกับความเห็นของมัน กระทบกับสิ่งใดแล้วมันดูดดื่มกับสิ่งนั้น หรือกับความคิดต่างๆ ที่มันสะสมลงที่ใจ สิ่งใดที่บาดหมางหัวใจไว้มาก เราคิดสิ่งนั้นขึ้นมา มันจะมีแต่อารมณ์รุนแรงขึ้นมาตลอดเลย ความลึกซึ้งของใจ แผลของใจที่ลึกๆ ลองคิดขึ้นมานี่เจ็บปวดตลอดเวลา นั่นน่ะ มันมีอยู่โดยตลอดไป

ชักฟืน ชักไฟ ชักสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นฟืนเป็นไฟเติมเข้าไปตลอดไป ไฟมันจะลุกโชติช่วง มันก็จะเป็นความร้อนของใจ แต่ถ้าเราชักฟืนชักออกไป ไฟมันสงบตัวลง สงบตัวลง นั่นน่ะ มันเป็นความสงบแน่นอน เป็นความสุขแน่นอน สุขในหัวใจของเรา นี้เป็นเครื่องดำเนินไง

ถ้าจิตนี้มีความสุข ๑ ความเห็นของเรามันปล่อยวางสิ่งต่างๆ เข้ามา อารมณ์ต่างๆ เข้ามา มีความสุขขึ้นมา นั่นน่ะ เป็นเครื่องดำเนินที่ว่า เอาสิ่งนี้ขึ้นทำงาน การวิปัสสนาต้องมีจิตเป็นพื้นฐาน ถ้าไม่มีจิตเป็นพื้นฐานจะเอาอะไรไปวิปัสสนา

ปัญญาจะเกิดขึ้นมา จะเกิดขึ้นมาจากไหน ถ้าปัญญาไม่มีการฝึกฝน ไม่มีการค้นคว้าขึ้นมา ปัญญามันอยู่ที่การฝึกฝน การค้นคว้า การแยกแยะ แยกแยะในสติปัฏฐาน ๔ ในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม

ในเวทนาที่เกิดขึ้นกับเรานี่แหละ สิ่งที่เวทนาเกิดขึ้น “เวทนากาย” ก็เป็นเวทนากายที่เจ็บปวดเรื่องของกาย “เวทนาของจิต” ความโสมนัส ความโทมนัส ความเศร้าโศกเสียใจ ความคิดของใจมันแยกแยะได้ทั้งหมดเลย นั่นน่ะ วิปัสสนา เวทนากาย-เวทนาจิต วิปัสสนาแยกแยะมันออก แยกมันออก แยกที่ว่า มันทุกข์ร้อนเพราะสิ่งใด?

สิ่งนี้มันมีความคิดแล้ว มันมีพื้นฐานของใจแล้ว สิ่งที่มีพื้นฐานของใจนี้เป็นโลกุตตระ ถ้าโลกุตตรธรรมเกิดขึ้นมา สัมมาสมาธิไม่เป็นโลกกุตตระ จะเป็นสิ่งใด สิ่งนี้เป็นโลกุตตระเพราะมันพ้นจากแรงดึงดูดของกิเลส พ้นจากแรงดึงดูดของฟืนของไฟที่เราสะสมขึ้นไป สิ่งที่เป็นฟืนเป็นไฟสะสมแล้วเผารนใจ เราชักฟืนออกแล้ว สิ่งนี้เป็นโลกุตตระ สิ่งที่เป็นโลกุตตระมันเป็นสมบัติที่ว่ามันเป็นอิสระจากกิเลส มันไม่มีอยู่ในอำนาจของกิเลส ไม่มีอำนาจควบคุมสิ่งนี้ มันเป็นอิสระขึ้นมา

นั่นน่ะ เอาสิ่งนี้มาเป็นสิ่งที่ค้นคว้า สิ่งนี้ค้นคว้าในสติปัฏฐาน ๔ ยกขึ้นมาเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม แล้วใช้ปัญญาแยกออกไป ถ้าเห็นกาย กายนี้มันเป็นสภาวะแบบใด ถ้าไม่เป็นสภาวะแบบใด ตั้งไว้ไม่ได้ สิ่งที่ตั้งไว้ไม่ได้ มันตั้งขึ้นมา ปัญญามันยังไม่ทันเกิดไง พอเห็นกาย กายก็ดับ เห็นกายสภาวะเป็นไปอย่างนั้น มันก็ดับไป

ปัญญามันเกิดขึ้นมาเพราะว่าเราเห็นกายแล้ว ให้กายนี้กลับคืนไปสู่สภาวะเดิมของเขา สิ่งที่กลับคืนไปสู่สภาวะเดิมของเขา คือปัญญาของมันมันจะเห็นทัน เห็นทันไง เห็นสภาวะของกายที่เห็นนั้นมันแปรสภาพไปด้วยอำนาจของสัมมาสมาธิ ด้วยอำนาจของปัญญาในการค้นคว้า สิ่งนี้เราค้นคว้าเราแยกแยะออกไป เราให้มันแปรสภาพออกไป

ตั้งใจไว้ ฝึกฝนตรงนี้บ่อยๆ ทำตรงนี้ ตั้งใจขึ้นมาให้ได้

เห็นกายตั้งแต่กายหยาบๆ เห็นครั้งแรกใหม่ๆ มันจะหยาบ มันจะไม่เข้าใจ พอเห็นครั้งต่อไปๆ มันจะแปรสภาพ มันปล่อยได้ มันวางได้ พอมันปล่อยได้วางได้ มันจะเกิดความโล่งใจมาก

“ธรรมต้องเป็นฉันทามติ” มันจะเกิดสภาวะแบบนั้น มันจะดึงใจมาทั้งหมดเลย ดึงใจมาว่า

“เห็นสภาวะสิ่งนี้ สิ่งนี้เป็นไป เอ๊าะ! มันไม่ใช่เรื่องจริง มันเป็นสมมุติสัจจะ มันเป็นเพราะเราเกิดมาเป็นมนุษย์ แล้วเราได้ร่างกายนี้มาเท่านั้น ร่างกายนี้ต้องคืนธรรมชาติเขาไปเด็ดขาด ทุกคนต้องตายไปนะ แล้วเวลาคนตายไปซากศพเอาไปไหน? เอาไปเผาไฟ เอาไปฝังดินไว้ ไม่มีใครต้องการมันเลย”

แต่ในปัจจุบันนี้เราอยู่กับมัน สิ่งนี้เป็นการที่ทำให้เราต้องเสียเงินเสียทองมากเลย ในการบำรุงบำเรอมัน อาหารการกินก็ต้องหามาให้มันกิน แล้วมันยังต้องเจ็บไข้ได้ป่วย ต้องทำให้เสียเงินเสียทอง ต้องทำให้มันสวยงามขึ้นมา ให้มันพอใจ ต้องทำให้มันพอใจในความต้องการของตัวเอง สิ่งที่จะให้มันต้องการในตัวเอง มันจะสมความปรารถนาไปไหน

เพราะสิ่งนี้มันเป็นเรื่องของอนิจจัง เป็นของสมมุติทั้งหมด สมมุติสัจจะจะเกิดตลอดเวลา นั้นเป็นเรื่องที่ว่าเรารู้โดยโลกียะ สิ่งที่โลกียะนี่รู้ในสมมุติสัจจะ เราก็รู้ทันตามสมมุติสัจจะนั้นเพราะเราใช้ปัญญาของเรา แต่มันไม่เป็นโลกุตตระมันถึงไม่ปล่อยไง สิ่งที่ไม่ปล่อย ไม่ปล่อยขาดออกไปจากใจ

ถ้ามันปล่อยขาดออกมาจากใจ มันจะใช้กำลังที่เราคิดค้นคือตั้งอยู่ ถ้ามันพลาด เราต้องกลับมาที่สัมมาสมาธิ กลับมาทำความสงบของใจ จิตเห็นสภาวะต่างๆ นั้นกำหนดลงที่ใจ อย่าไปกำหนดตรงที่ภาพนั้น ถ้าเรากำหนดไปที่ภาพนั้น จิตมันส่งออกไปที่ภาพนั้น เดี๋ยวภาพนั้นก็จะเลือนหายไป

เราต้องตั้งอยู่ที่ใจ ดูใจของเรา ตั้งใจของเราให้ใจของเรากำหนดพุทโธ สติอยู่ที่ใจ ใจนี้มั่นคงขึ้นมา ภาพนั้นจะชัดเจนขึ้นมาเอง สิ่งที่ชัดเจนขึ้นมาเอง แยกออกไป อำนาจวาสนามันเป็นอยู่ที่วาสนาของคน จะว่าเราจะเอาสิ่งนี้เป็นเครื่องดำเนินทั้งหมด มันก็ถูกต้องอยู่ แต่บางทีมันทำไม่ได้ เราวิปัสสนากายก็ได้ วิปัสสนากายด้วยจิตไง ด้วยจิตคิดเอา คิดว่ากายเป็นสภาวะแบบนั้น สภาวะแบบนั้น นั้นเราเอากายเป็นตัวตั้ง แต่จริงๆ คือการพิจารณาจิต เพราะจิตนี้น้อมไปที่กาย มันก็มีความคิดเห็นไหม มีความคิดที่ว่าเป็นฟืนเป็นไฟครั้งก่อน มันเป็นฟืนเป็นไฟเพราะเราใช้โลกียะ เราใช้ความคิดของเราเลย มันคิดแล้วมันจะเป็นกิเลสมติออกไป

แต่ถ้าเราใช้ความเห็นของเรา ในเรื่องจิตมันสงบเข้ามาแล้ว อาศัยสภาวะกายอันนั้นแล้ว แล้วพิจารณากายไป นี่เปรียบเทียบได้ เปรียบเทียบสิ่งนี้ขึ้นมาก็เพื่อจะให้ใจมันหดสั้นเข้ามา ถ้าใจมันหดจากความคิด หดจากความที่มันเกาะเกี่ยวต่างๆ มันจะเป็นอิสรภาพของมันขึ้นมา มันจะย้อนกลับมาที่ใจของมัน ย้อนกลับมาที่ฐานนี้ มันสร้างฐานขึ้นมา แล้วกลับมาวิปัสสนากายซ้ำก็ได้

นี่มันเป็นอุบายวิธีการไง ใช้นึกเอา นึกโดยความรู้สึก นึกได้ตอนนี้นึกได้ เพราะว่ามันปล่อยวางสิ่งต่างๆ เข้ามา มันเป็นโลกุตตระ มันถึงต้องน้อมนึกไปก่อน เป็นสัญญาไปก่อน ถ้าไม่มีสัญญาเลยมันจะเกิดปัญญาขึ้นมาได้อย่างไร แต่ถ้าใช้สัญญาไปตลอดมันเป็นสัญญา สัญญาแก้กิเลสไม่ได้ แต่ในเมื่อไม่มีการเริ่มต้นไง

เหมือนการผ่าตัด ถ้าเราไม่ผ่าหนังกำพร้าเข้าไปก่อน มันจะไปถึงเนื้อ ถึงสิ่งที่เราจะผ่าตัดได้อย่างไร นี้ก็เหมือนกัน จิตนี้มันเหมือนหนังกำพร้าไง ขันธ์ ๕ เหมือนหนังกำพร้าไง เราต้องผ่าจากสิ่งนี้เข้าไป นึกสิ่งนี้ขึ้นมาก่อน...ขันธ์ ๕ สัญญาเป็นความจำได้หมายรู้ จริงอยู่มันเป็นหนังกำพร้าของใจ มันเป็นสิ่งที่ห่อหุ้มใจอยู่ อาการของใจไม่ใช่ตัวใจ

แต่ในเมื่อโลกุตตรธรรมเกิดขึ้นมาแล้ว

อยากอย่างหนึ่งเป็น “ตัณหา” อยากอย่างหนึ่งเป็น “มรรค”

นี้ก็เหมือนกันสัญญาที่จิตนี้เป็นตัณหาอยู่ มันจะเป็นสิ่งที่ว่าทำให้ฟืนไฟนี้ลุกโชติช่วงขึ้นมาเลย แต่ถ้าสิ่งนี้มันมีอยู่ นี่พลิกหน่อยเดียว ในการประพฤติปฏิบัติมันยาก มันยากตรงนี้ ยากว่าตรงไหนเป็นโลก ตรงไหนเป็นธรรม ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติจะเข้าใจว่า ถ้ามันพิจารณาเข้าไป มันปล่อย มันว่างขึ้นมา มันปล่อยวาง มันแยกออกไป นั่นน่ะ เป็นโลกุตตระ เป็นธรรม

ถ้ามันคิดแล้วมันปล่อยวางไม่ได้ มันติด มันอั้นตู้ มันดึงเราไว้ นั่นเป็นโลก สิ่งที่เป็นโลกต้องพักทันที ปล่อยวางเอาความคิดทั้งหมดแล้วกลับไปที่พุทโธๆๆ ต้องทำสมถะขึ้นมา ถ้ามีสมถะขึ้นมาใจจะสงบเข้ามา ถ้าไม่มีสมถะขึ้นมามันจะออก มันจะคิดอย่างนั้นตลอดไป มันคิดไปๆ จนออกมาหยาบ จนถึงกับเราเติมฟืนเข้าไป เรายังไม่รู้สึกตัวเลย

ถ้าเราเติมฟืนเพราะมันร้อน มันเผาจนร้อน จนได้รำพึงว่า “ทำไมปฏิบัติทุกข์ขนาดนี้ไง” นั่นน่ะ มันออกมา มันหยาบออกมา พอมันหยาบออกมา มันก็หมุนออกไปทางโลกียะแล้ว เราไม่รู้สึกตัวเลย นี่กิเลสมันชักลากไป แล้วเราก็หลงไป...

(เทปขัดข้อง)

...เราปฏิบัติต้องต่อสู้กับกิเลสด้วย ไม่ใช่ว่าเราจะชำระกิเลส กิเลสจะนอนให้เราเข้าไปชำระ...เป็นไปไม่ได้ กิเลสมันก็ต้องต่อต้านตลอดไป นี่ความต่อต้านของกิเลสเป็นแบบนั้น ล้มลุกคลุกคลานขนาดไหนก็ต้องให้มันล้มลุกคลุกคลานไป แล้วยืนขึ้นมาให้ได้ใหม่ ยืนขึ้นมาคือการกำหนดพุทโธ การยืนคือต้องตั้งสติก่อนเลย

สิ่งที่จะยืนได้คือสติจะกลับมาก่อน ตั้งสติกลับมา แล้วตั้งสติ แล้วระลึกพุทโธๆ ใช้สติย้อนกลับๆๆ ตลอดเพื่อจะให้พลังงานตัวนี้คือพลังงานของใจ ให้มันมีพลังงานขึ้นมาแล้วกลับไปวิปัสสนาใหม่ จะวิปัสสนาได้เลยเพราะมันฝึกฝนขึ้นมา

จากก้าว ๑ ขึ้นมาแล้ว มันจะเป็นก้าวที่ ๒ ก้าวที่ ๓ ขึ้นไป

นี้ก็เหมือนกัน ในเมื่อเราปฏิบัติเป็นแล้ว ถ้าผู้ที่ปฏิบัติเป็น “คนภาวนาเป็น” หมายถึงคนที่เห็นกายเห็นจิตแล้วจับกายกับจิตนี้วิปัสสนา นี้มันเป็นงานอยู่แล้ว มันจะเสื่อมจากสัมมาสมาธิ เสื่อมจากการปฏิบัติมาบ้าง เสื่อมลงมาก็เสื่อมลงมาแค่ออกมา แล้วเราย้อนกลับเข้าไป ทำอยู่อย่างนี้ ย้อนกลับไปอยู่อย่างนี้ วิปัสสนาไปอยู่อย่างนี้ นี่ปัญญาเกิดเกิดอย่างนี้ ปัญญาไม่ใช่เกิดขึ้นมาเอง

ปัญญาของโลกนั้นเป็นเรื่องของความหยาบๆ เหมือนกับมรรคหยาบ มรรคของโลก สัมมาอาชีวะเลี้ยงชีพของเขา เลี้ยงชีพโดยการประกอบสัมมาอาชีวะนั้นน่ะมันเป็นเรื่องของหยาบ แต่ถ้าเลี้ยงชีพของผู้ปฏิบัติ ใจมันคิดผิด-คิดถูก เลี้ยงสัมมาอาชีวะเลี้ยงลงที่ใจ อารมณ์ความรู้สึกนั้นเป็นอาหารของใจ นี้ก็เหมือนกัน ในเมื่อปัญญาของโลกมันเกิดขึ้นมา ปัญญาที่ว่ามันเป็นปัญญา มันออกไปมันเป็นสัญญา ย้อนกลับมาเป็นปัญญา เป็นปัญญา ปัญญาของโลกว่าเอาไว้เป็นประโยชน์กับอะไร ประโยชน์ทางโลกมันก็หมุนออกไปทางโลกเขา

ถ้าปัญญาของใจ โลกุตตรปัญญา ภาวนามยปัญญา ปัญญาคือเห็นความแปรปรวนของสภาวะขันธ์อันตามความเป็นจริง เห็นสภาวะความแปรปรวนของกายตามความเป็นจริง เห็นบ่อยครั้งเข้า บ่อยครั้งเข้า เป็นประชามติไปก่อน เป็นประมติมันปล่อยวางๆ ประชามตินี้ปล่อยวางนะ

ถ้าเป็นฉันทามติเมื่อไร นั้นคือมัชฌิมาปฏิปทา สิ่งที่เป็นมัชฌิมาปฏิปทาคือมรรคอริยสัจจังนี้รวมตัว มรรคจะรวมตัว งานชอบ ความเพียรชอบ การงานชอบ สติชอบ สมาธิชอบ สิ่งต่างๆ นี้เป็นความชอบทั้งหมดเลย แล้วมันรวมตัวเป็นฉันทามติ สิ่งที่เป็นฉันทามตินี้ชำระกิเลส นี่มันปล่อยวางอย่างนี้

มันจะขาดออกไป เห็นสังโยชน์ขาดออกไปจากใจโดยชัดเจนเลย ชัดเจนว่านี่สังโยชน์ขาดออกไป ใจนี้เป็นใจ จิตนี้เป็นจิต ทุกข์นี้เป็นทุกข์ แยกออกจากกันโดยธรรมชาติของมัน ขณะจิตที่มันแปรสภาพมันเปลี่ยนขึ้นไป มันเปลี่ยนจากอย่างนี้ จากบุคคลธรรมดาขึ้นไป จนเป็นบุคคลที่เห็นธรรม

“อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ”

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีความปลื้มปีติมากว่าธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้มีพระอัญญาโกณฑัญญะนี้เป็นสงฆ์องค์แรกของโลก เป็นผู้ที่เห็นธรรมตามความเป็นจริง เป็นพยานกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง

เราประพฤติปฏิบัติ ถ้าเราเห็นตามความเป็นจริง เราจะเป็นพยานกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “ธรรมยังมีอยู่” ถ้าจิตสภาวะแบบนี้เกิดขึ้นมา ธรรมยังมีอยู่โดยแน่นอน เพราะใจนี้เป็นธรรมขึ้นมา ใจนี้เห็นสภาวะว่าปล่อยวางสังโยชน์ สักกายทิฏฐิ ๒๐ ขันธ์ ๕ เป็นเรา เราเป็นขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ทุกข์เป็นขันธ์ ๕ สักกายทิฏฐิ ๒๐ มันจะปล่อยวางออกไป สภาวธรรมเกิดขึ้นตามความเป็นจริง ความเป็นจริงเกิดขึ้นมาจากฉันทามติ

ธรรมต้องเป็นฉันทามติอย่างนี้ อย่างนี้มันถึงรวมตัว

ถ้าเป็นประชามติอย่างที่ว่าปล่อยวางชั่วคราว ปล่อยวางชั่วคราว...จะติดตรงนั้นไป สิ่งนั้นจะติดแล้วทำให้เราล้มลุกคลุกคลานติดอยู่อย่างนั้น แล้วเราไม่ก้าวเดิน มันถึงว่าไม่เป็นอกุปปธรรมไง เจริญแล้วเสื่อม เจริญแล้วเสื่อม ทำให้ทุกข์ยากนะ

คนเราสร้างสม เรามีฐานะแล้วเราก็ไม่อยากจะไปทุกข์ยากอีก อยากมีฐานะก็อยากจะมีฐานะตลอดไป ไม่อยากจะกลับไปจนอีกหรอก คนจนก็อยากจะเป็นคนรวยขึ้นมา นี้ใจเหมือนกัน ใจเรายังว้าเหว่ ใจเรายังไม่มีหลัก เราต้องพยายามฝึกฝนขึ้นมา จนใจมันมีหลักได้ มันปล่อยวางสิ่งนี้ได้ มันเป็นอกุปปธรรม มันเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ เพราะว่าใจดวงนี้จะไม่พลิกกลับไปเป็นปุถุชนอีก ใจดวงนี้จะไม่พลิกกลับ ถึงจะวนเวียนตายในวัฏฏะนี้ก็อีก ๗ ชาติเท่านั้น ถึงนิพพานแน่นอน เข้าถึงกระแสของธรรมแล้วจะถึงนิพพานแน่นอน

แต่ในการประพฤติปฏิบัติในการเกิดการตาย ถ้าเราเกิดตายขึ้นมา ถ้าคนประพฤติปฏิบัติไม่ได้ต่อไปนะ ถ้าไม่ได้ต่อไป ติดอยู่อย่างนี้ ติดอยู่ได้ แต่ถ้ามีครูบาอาจารย์มันจะติดไปได้อย่างไร ในเมื่อสิ่งที่ว่ามรรค ๔ ผล ๔ ไม่ใช่มรรค ๑ ผล ๑ เว้นไว้แต่ขิปปาภิญญาปฏิบัติทีเดียว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นไหม อาสวักขยญาณเกิดขึ้นในปัจฉิมยาม อาสวักขยญาณเกิดขึ้นชำระกิเลสไป แต่ก็วางไว้ สอนไว้มรรค ๔ ผล ๔ ให้พวกเราก้าวเดิน

เพราะเราเป็นเวไนยสัตว์ สิ่งที่เวไนยสัตว์ สัตว์ที่มีการสร้างบุญกุศลมาไม่เต็มที่เหมือนกับปฏิบัติแล้วมันจะลุล่วงไปเร็ว แต่ก็มีอำนาจวาสนา มีอำนาจวาสนาในการประพฤติปฏิบัติ ในเมื่อเรามีการประพฤติปฏิบัติอยู่ ผลขึ้นมา มันเกิดขึ้นมาอย่างนี้ ถึงว่ามรรค ๔ ผล ๔ ถึงเป็นทางเดินของเรา ถ้าเป็นทางเดินของเรา เราต้องยกขึ้นวิปัสสนาขั้นตอนต่อไป

แล้วก็ย้อนกลับไป พิจารณากายซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่อย่างนั้นตลอดไป ถ้าพิจารณากาย เห็นกายในสภาวะละเอียดเข้าไป ในเมื่อเราพิจารณากายแล้ว เราจะไม่ยอมพิจารณากายอีก เราจะไปพิจารณาจิต นั้นเป็นอำนาจวาสนาของแต่ละบุคคล แต่อำนาจวาสนาของเราพิจารณากายก็พิจารณากายไป ยกเว้นพิจารณาจิตก็พิจารณาจิตไป สิ่งนี้มันให้แยกได้เพราะเป็นสติปัฏฐาน ๔ เหมือนกัน ถ้าเป็นสติปัฏฐาน ๔ นี้เป็นงานในการภาวนามยปัญญา ถ้าไม่เป็นสติปัฏฐาน ๔ นี้เป็นเรื่องของกิเลสมันหมุนออกไป

กิเลสอย่างละเอียดไง แม้แต่กิเลสอย่างหยาบตายไปแล้ว กิเลสอย่างละเอียดมันก็ต่อต้าน ต่อต้านในความเห็นผิด ยังมีความเห็นผิดในการประพฤติปฏิบัตินี้ล้มลุกคลุกคลาน เป็นไปธรรมชาติของมัน จนต้องอดนอนผ่อนอาหาร ในเมื่อเราทำสมาธิครั้งแรกตอนเริ่มต้น เราทำของเรา อย่างไรเราก็ทำของเราได้ สิ่งนี้มันยังไม่มีเครื่องเร้าใจ แต่เมื่อพอใจ มันมีหลักเกณฑ์ขึ้นมาในหัวใจแล้ว มันมีสิ่งที่เร้าใจ “เร้าใจ” คือผลของการประพฤติปฏิบัติไง สุขที่ได้จากความรู้สึกอันนี้ไง

ในเมื่อสิ่งนี้เป็นความสุขที่เราสมความปรารถนา มีความสุขอย่างมาก แล้วใจนี้เป็นอกุปปธรรม รู้โดยสัญชาตญาณ รู้โดยสัจธรรม รู้โดยปัจจัตตัง ใจดวงนี้ไม่ลงต่ำอีกแน่นอน ใครจะรู้กับเรา-ไม่รู้กับเรานั้นเป็นเรื่องของคนอื่น แต่เรื่องของเรา เราต้องประพฤติปฏิบัติไป กิริยาท่าทางของเรา เราต้องพยายามทำของเรา

เหมือนกัน เหมือนกับโลก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมแล้ว ฉันอาหารเหมือนกับพระทั่วไป นี่กิริยาของโลกกับกิริยาของผู้ที่มีธรรมเหมือนกัน กิริยาภายนอกส่วนเป็นกิริยาภายนอก แต่หัวใจไม่เหมือนกัน หัวใจมันเปลี่ยนแปลงไปจากเรื่องของโลกแล้ว มันเป็นเรื่องของธรรม มันจะแสวงหาธรรม มันถึงพยายามประพฤติปฏิบัติให้เข้มแข็งขึ้นไปไง นั่นน่ะ การประพฤติปฏิบัติมันจะเข้มแข็งขึ้น การเข้มแข็งขึ้นมันถึงว่าต้องอดนอนผ่อนอาหาร สิ่งที่อดนอนผ่อนอาหารเพื่อจะรุกเร้าขึ้นไป

แต่เดิมเราทำไม่ได้ เราไม่กล้าทำ ทำเพราะว่าเราคิดว่า เรื่องของร่างกายแค่นี้ก็มัชฌิมาปฏิปทาแล้ว เป็นทางสายกลาง ทางสายกลาง แต่ในเมื่อกิเลสมันละเอียดขึ้นไป สิ่งที่ละเอียดขึ้นไป อดนอนผ่อนอาหารขึ้นไปเพื่อจะไปต่อสู้กับสิ่งที่ละเอียดกว่า ให้ใจนี้สงบขึ้นมา สิ่งที่จะสงบขึ้นมานั้นเป็นพื้นฐานของใจ

พิจารณากาย จับกายขึ้นมาวิปัสสนาก่อน พิจารณาซ้ำไป ซ้ำไป อยู่อย่างนั้น

พิจารณาจิตก็ได้ ขันธ์มันเป็นขันธ์อันละเอียดขึ้นไป ปล่อยวางเหมือนกัน

กายหรือจิต ถ้าปล่อยวางจะปล่อยวางเหมือนกัน

เราจะขึ้นรถ ถึงป้ายนั้นเหมือนกัน จะรถยี่ห้อใด รถอะไรก็แล้วแต่ ถ้าเข้าป้ายแล้วมันก็คือป้ายนั้น นี้ก็เหมือนกัน ในเมื่อใจเข้าถึงที่แล้วมันจะเข้าถึงด้วยฉันทามติ จะไม่มีด้วยสิ่งอื่นใดเลย ฉันทามติของธรรมที่เราสร้างสมขึ้นมา เป็นการสะสมของใจขึ้นมา หมุนเวียนออกไป หมุนเวียนออกไป รู้ผิดรู้ถูกออกไป

เพราะอาการของใจมันต้องเก็บเล็กผสมน้อยไง รู้เจียมเนื้อเจียมตัวเก็บเล็กผสมน้อยเพราะอำนาจวาสนาของเราเป็นคนขี้ทุกข์ขี้ยาก คนขี้ทุกข์ขี้ยากประพฤติปฏิบัติมันก็มีความทุกข์ความยากในหัวใจ สิ่งนี้มันเป็นเครื่องกางกั้นใจของเรา เราก็พยายามจับสิ่งนี้แล้วให้มันปล่อยวาง ใจมันจะปล่อยวางสิ่งที่เป็นเครื่องกางกั้นเข้าไป จนถึงที่สุดจับได้เหมือนกัน จับกายได้ วิปัสสนาเหมือนกันเลย

วิปัสสนานี้เป็นงาน งานเหมือนกันแต่คนละขั้นตอนของกัน แล้วความเป็นไปของใจก็ไม่เหมือนกัน สิ่งที่ไม่เหมือนกัน เพราะงานของเรา เวลาเราทานข้าว เราทานข้าวเข้าที่ปากแล้วเราอิ่มท้องตลอดไป นี้ก็เหมือนกัน ในเมื่อใจจับกายได้ วิปัสสนากายแยกออกไป แยกออกไป ให้กลายเป็น ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ แยกออก มันจะแยกออกไปตามสภาวะของมัน คืนสภาวะเดิมของมัน พอคืนสภาวะเดิมของมัน มันจะปล่อยวางเข้ามา ปล่อยวางเข้ามา จะเป็นประชามติไปบ่อยๆ ครั้งๆ ต้องซ้ำแล้วซ้ำเล่า

ในการประพฤติปฏิบัตินี้เรื่องการปล่อยวางแล้วคิดว่าเป็นผล นี่ทำให้คนผิดพลาดมามาก คนเรามันผิดพลาดตรงที่ว่า เวลาปฏิบัติแล้วมันจะปล่อยวาง มันจะเวิ้งว้างแล้วว่าอันนี้เป็นผล พออันนี้เป็นผลขึ้นมามันเหมือนกับคนเรามีเงิน มีเงินขึ้นมาเราจะจับจ่ายใช้สอยขนาดไหน มันจะเป็นประโยชน์กับเราเพราะเรามีเงิน เรามีเงินเราไปซื้อหาสิ่งใดมันเป็นประโยชน์กับเราได้ เพราะแลกเปลี่ยนได้

มีสัมมาสมาธิ จิตมันเวิ้งว้าง สิ่งนี้เป็นต้นทุน สิ่งนี้ถึงจะยกขึ้นมาเป็นพื้นฐานขึ้นมาแล้วจับกาย จับจิตได้ จับกาย จับจิตได้นั้นเป็นงานของวิปัสสนา ถ้าภาวนาไม่เป็น จับกายจับจิตไม่ได้ มันไม่เป็นมาตั้งแต่ต้น แต่นี้มันเป็นมาตั้งแต่ทีแรกแล้ว มันเป็นตั้งแต่ขั้นตอนที่ว่า เห็นธรรมสภาวธรรมตามความเป็นจริงแล้วมันเป็นขึ้นมา สิ่งนี้เป็นการยืนยัน

ถ้าชั้นที่ ๑ ผ่าน ชั้นที่ ๒ จะจับต้องง่าย ชั้นที่ ๓ เข้าไปติด ชั้นที่ ๔ ยิ่งหลงไปใหญ่ มันจะหลงไปตลอดไป เพราะมันเป็นเคล็ดลับเป็นความลึกลับของกิเลส กิเลสนี้ลึกลับมาก นี่ไง ธรรมที่มันละเอียดอ่อนมันละเอียดอ่อนอย่างนี้ เพราะมันลึกลับด้วย ลึกลับแล้วอยู่กับเราตลอดไปด้วย

กิเลสมันฉก มันกัดเราตลอดไปเลย ในการประพฤติปฏิบัติมันจะฉก มันจะกัดให้เรามีความน้อยเนื้อต่ำใจ ให้เรามีความคิดตลอดไปว่า

“ทำไมมันเป็นแบบนี้ ทำไมมันเป็นแบบนี้ สมบัติของเราแท้ๆ เลยไม่น่าจะทำลายเรา”

แต่มันจะทำลายออกไป เพราะมันคือกิเลส นี่กิเลสมันร้ายกาจอย่างนั้น กิเลสอยู่ที่หัวใจ แล้วทำให้ใจเป็นที่อยู่อาศัยของเขา ถ้ากิเลสนี้อยู่ในหัวใจของเรา พญามาร ถ้าพูดถึงพระที่ประพฤติปฏิบัติจนพ้นไป มารคอตกนะ เพราะว่าเขาเป็นพญามาร เขาต้องพยายามเอาจิตนี้ เอาหัวใจของสัตว์โลกให้อยู่ในอำนาจของเขาตลอดไป แล้วเพิ่มจำนวนของเขาไว้ในอำนาจของเขา ถ้าจำนวนของสัตว์โลกพิจารณาปล่อยวางไปเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป เขาจะคอตก จำนวนเสนามารที่อยู่อาศัยเขาน้อยไป เขาจะไม่พอใจของเขามาก เขาสร้างสมของเขาไป

เวลาผู้ที่ประพฤติปฏิบัติขึ้นไปแล้วคนทำบุญกุศลเกิดเป็นเทพ ถ้ามีมารในหัวใจเป็นอย่างนั้น เป็นบุคลาธิษฐานก็ได้ เป็นธรรมาธิษฐานก็ได้ ธรรมาธิษฐานธรรมในหัวใจของเราไง บุคลาธิษฐานเป็นบุคคล บุคคลก็มีจริง ในเมื่อประพฤติปฏิบัติ ในวัฏฏะนี้มีคนดี-คนชั่วเหมือนกัน คนชั่วก็เคยทำบุญกุศลเหมือนกัน ถึงคราวที่เขาได้บุญกุศลเสวยของเขา เขาไปเกิด นั่นเทพฝ่ายมาร สิ่งนั้นก็มี เทพฝ่ายมาร พญามารมีจริง ตัวพญามารก็มีจริง แล้วสร้างแต่สิ่งที่ว่าเป็นเรื่องความวุ่นวายให้กับสถานที่อยู่นั้นตลอดไป

เราก็เหมือนกัน เราเป็นธรรมาธิษฐาน ย้อนกลับมาที่ใจ แล้วพิจารณาอย่างนี้ ถ้าพูดถึงมันมีพญามารอยู่ เราต้องแก้ไข เราต้องพยายามต่อสู้กับเรา เราสู้กับเราเอง เราสู้กับมารตัวนี้ ถ้ามารตัวนี้ตายลงไปจากใจตัวนี้ เราจะไม่ไปเกิดเป็นเสนามารอีกต่อไป เราจะเกิดเป็นเทพฝ่ายธรรมตลอดไป ฝ่ายธรรมเพราะมันยังไม่ถึงที่สุด แต่ถ้าถึงที่สุดแล้วมันจะไม่เกิดอีกเลย

สิ่งที่ไม่เกิดอีกต้องวิปัสสนาเข้าไป ซ้ำเข้าไป แล้วปล่อยวางๆ สิ่งนี้ ปล่อยวางหลายครั้งหลายหนเข้า หลายครั้งหลายหนเข้า มันจะต้องขาดอออกไป รู้จากตามความเป็นจริงว่า สังโยชน์ไม่ขาด แต่กามราคะกับปฏิฆะอ่อนลง รู้ว่าอ่อนลงเป็นปัจจัตตัง จิตกับกายแยกออกจากกัน จะต้องแยกออกจากกันโดยธรรมชาติเลย จิตนี้เป็นจิต โลกนี้ราบเป็นหน้ากลอง ถ้าวิปัสสนากาย โลกนี้จะราบเป็นหน้ากลอง วิปัสสนาจิตนี้มันจะปล่อยวาง แล้วมันรู้จากปัจจัตตัง

ปัจจัตตังเป็นเครื่องดำเนินออกไป เป็น “ธรรมต้องเป็นฉันทามติตลอดไป”

มันปล่อยวาง ไม่มีกิเลสในขั้นตอนนี้เข้ามาอยู่ในนี้เลย

แต่ใจมันจะปล่อยออกไปเห็นไหม เวิ้งว้าง ว่างมาก ใจนี้จะว่าง เวิ้งว้างไปตลอดไป

ติดตรงนี้ก็ติดมาก ถ้าติดตรงนี้มันก็อยู่แค่นี้ว่าสิ่งนี้เป็นนิพพาน อาศัยสติสัมปชัญญะ สติมันจะขึ้นมาเต็มที่แล้ว เพราะขั้นต่อไปจะเป็นมหาสติ-มหาปัญญา สติพร้อมอยู่ ควบคุมใจอยู่ มันก็จะว่างอยู่อย่างนั้น เข้าใจว่านี่เป็นผลไง ถ้าเข้าใจว่านี่เป็นผล “สิ่งนี้ติด” ติดอยู่ในขั้นตอนที่ไม่ถึงที่สิ้นสุด

ฉันทามติขั้นต่อไป จะไม่เห็นฉันทามติขั้นที่มันสะเทือนเลื่อนลั่นกลางหัวใจ

ไม่เห็นฉันทามติที่พลิกใจนี้ออกไปจากกิเลส สิ่งนี้ยังอยู่ข้างหน้าที่เราต้องก้าวเดินต่อไป

ในเมื่อมีงานอยู่ สิ่งที่มีอยู่เห็นไหม ปลาในข้อง สิ่งที่ปลาในข้องมีอยู่ มันยังจับได้ นี่ก็เหมือนกัน ปลามันจับได้ มันพิจารณาเป็นชั้นเป็นตอนเข้ามา มันละเอียดเข้าไป เพราะจิตเวลามันปล่อยวางสังโยชน์เข้ามา...ใครเป็นคนปล่อยวาง? จิตนี้เป็นผู้ปล่อยวางใช่ไหม สิ่งที่ปล่อยวางเหมือนปลาตัวนั้นมันมีอยู่ไง ปลาถอดเกล็ดปลา ปลามันก็ยังมีชีวิตอยู่ ถอดลอกหนังปลาออกไป ปลายังมีชีวิตอยู่ สิ่งที่มีชีวิตอยู่ มันยังเป็นไป

นี่ก็เหมือนกัน เราปล่อยวางเป็นชั้นเป็นตอนเข้ามา จิตรับรู้ จิตปล่อยวางเข้ามา ปลามันถึงยังมีอยู่ไง สิ่งที่มีอยู่แต่มันเพียงแต่ละเอียดอ่อนเข้าไป มันใส มันสว่าง มันเวิ้งว้างขนาดไหน มันละเอียดอ่อนเข้าไป มันจะปล่อยวางขนาดไหน มันเรื่องการปล่อยวางนี้มันเป็นวงของสมถะ สิ่งที่เป็นสมถะ เป็นการปล่อยวาง มันจะเวิ้งว้าง นั้นเป็นเรื่องของสมถะ เป็นเรื่องของสัมมาสมาธิ สิ่งที่เป็นสัมมาสมาธิมันปล่อยวางได้ แม้แต่เข้าสมาบัติมันยังเวิ้งว้างยิ่งกว่านั้นอีก มันเวิ้งว้างมาก แต่ความเวิ้งว้างนี่มันสิ่งที่ว่ามันมีกิเลสอยู่ในนั้น มันถึงต้องมาย้อนกลับได้

ถ้าย้อนกลับได้ ถ้าใจย้อนกลับนะ เราไม่คิดว่ามันมี คนที่ติดคิดว่านี่เป็นผล ใจนี้จะไม่ทำงาน สิ่งที่ไม่ทำงานมันก็อยู่เฉยๆ สิ่งที่อยู่เฉยๆ เห็นไหม ถึงว่ามันนอนตายอยู่เฉยๆ ไง สัมมาสมาธิชำระกิเลสไม่ได้ แต่สัมมาสมาธิจะมีความสุขมาก เวิ้งว้างมาก แต่ในความสุขของกิเลสมันหลอกใช้ ในความสุขของกิเลสที่มันอ่อยเหยื่อ อ่อยให้ใจดวงนี้ติดอยู่แค่นั้นไง

แต่ถ้าเราคิดว่าในความสุขนี้มันเป็นอนิจจัง ในความสุขนี้มันไม่ใช่เป็นความสุขความจริง ถ้าความสุขความจริงมันต้องว่างโดยธรรมชาติของมัน ไม่ใช่ความว่างแล้วก็เกิดอารมณ์เกิดความรู้สึกขึ้นมาอีก สิ่งที่ว่างแล้วเกิดความรู้สึกขึ้นมา เป็นปุ่ม เป็นปมในหัวใจนั้น สิ่งนี้มันมีอยู่ มันมีอยู่มันก็จับต้องได้

สิ่งที่มีอยู่ ต้องจับต้องได้

สิ่งที่มีอยู่ ต้องค้นคว้าเจอ

สิ่งที่มีอยู่ในหัวใจทำไมจะค้นคว้าไม่เจอ ในเมื่อปลาอยู่ในข้อง มันดิ้นอยู่ในข้องดังเสียงโครมๆ แต่เรามองไม่เห็นเพราะว่าปลานี้มันเป็นบุคลาธิษฐาน แต่หัวใจมันหลอกไง นี่พญามารมันเสี้ยม เสี้ยมอย่างนั้น หลอกว่านี่ว่าง...ว่าง...จนใจไม่ทำงาน ถ้าใจไม่ทำงานมันก็ไม่ย้อนกลับ

ถ้าใจทำงานมันย้อนกลับ สิ่งที่ย้อนกลับ ใจทำงานคือพลังงานของธรรม ถ้าธรรมมันย้อนกลับขึ้นมา มันจะเข้าไปจับต้องสิ่งนี้ได้ เข้าไปหาสิ่งนี้เจอ ถ้าใจไม่มีพลังงานตัวนี้มันจะไม่ย้อนกลับ สิ่งที่ไม่ย้อนกลับมันก็หมุนออกไปข้างนอกอยู่อย่างนั้น แล้วก็เวิ้งว้างอยู่อย่างนั้นตลอดไป นี่นอนตายเฉยๆ ถ้าตายก็ตายตรงจริงๆ ยังต้องเกิดอีกแน่นอน

แต่ถ้าพิจารณาขึ้นมา มีครูบาอาจารย์คอยแนะนำ หรือเราสงสัยในตัวเอง แล้วก็คิดว่า “สิ่งนี้ต้องมีอยู่” ย้อนกลับ ย้อนกลับ สิ่งที่ย้อนกลับเข้ามา จับต้องได้...กายอันละเอียด สิ่งนี้ละเอียดอ่อนมาก มันเป็นอสุภะ-อสุภัง สิ่งที่เป็นความสกปรกโสมมของเรื่องสิ่งต่างๆ เกิดจากตรงนี้ทั้งหมด สิ่งนี้เกิดขึ้นมาแล้วมีสรรพสิ่งออกมาจากภายนอกทั้งหมดเลย ถ้าตัดตรงนี้ได้ตัดกามราคะได้

ถ้าตัดตรงนี้ไม่ได้...นี้คือกามราคะ สิ่งที่เป็นกามราคะ ถึงต้องเป็นมหาสติ-มหาปัญญา มหาสติ-มหาปัญญานี้ต่อสู้กับกามราคะ พลิกฟ้าคว่ำดินตรงนี้ ตรงนี้เพราะไม่เกิดในกามภพ

สิ่งที่เกิดในกามภพนี้ จิตนี้ต้องเวียนเกิดเวียนตายในกามภพอีก นั่นน่ะ ฉันทามติที่ทำให้ฟ้าดินสะเทือนเรือนลั่น จะสะเทือนตรงนี้ ถึงเห็นว่า

“ธรรมต้องเป็นฉันทามติที่ว่าเกิดจากการประพฤติปฏิบัติโดยโลกุตตรธรรม”

สิ่งที่เป็นโลกุตตรธรรม มันเป็นโลกุตตระมาตั้งแต่เริ่มต้นแล้วทำไมต้องเป็นโลกุตตระอีกหรือ? มันเป็นโลกุตตระธรรมของชั้นของมันไง ชั้นของอสุภะนี่มันชั้นของกิเลสที่ละเอียดมันก็มีสิ่งที่ละเอียด โลกอันละเอียดเห็นไหม โลกอันละเอียดคือโลกที่เกิดในกามภพไง

สิ่งที่จะไม่เกิดในกามภพนี้ มันต้องย้อนกลับเข้ามาวิปัสสนาตรงนี้ วิปัสสนา

สิ่งนี้เป็นสิ่งที่รุนแรงมาก มันจะวิปัสสนาไม่ได้ เพราะมันพอใจ ความพอใจนี้เป็นกาม สิ่งที่เป็นกาม ใจมันพอใจ ใจมันติดของมันเอง ใจมันติดตัวมันเอง ติดสิ่งนี้ ติดต่างๆ แล้วมันก็พอใจสิ่งต่างๆ แล้วความเป็นมรรคล่ะ ความอยากที่เป็นมรรคจะเกิดได้อย่างไร ในเมื่อมันแย่งพลังงานไปใช้ทั้งหมดแล้ว นี่พลังงานที่มีอยู่ในหัวใจ สิ่งต่างๆ แย่งไปใช้ แย่งไปใช้ทั้งหมดเลย แล้วเราจะมีอะไรไปต่อสู้กับมัน เราถึงต้องทำความสงบ

น้ำป่า...ทำความสงบของใจ ดึงเลย ดึงใจให้เข้ามาพุทโธๆๆ บางทีเหมือนกับผู้ที่ประพฤติปฏิบัติใหม่ เพราะเวลามันดึงออกไป มันเป็นประชามติของกิเลสที่มันพาออกไป ออกไปสิ่งนั้นว่านี่เป็นวิปัสสนา เห็นความนอนตาย ถ้าติดในสมาธิขึ้นมาว่า “สัมมาสมาธินี้นอนตาย ต้องใช้ปัญญา” ก็ใช้ปัญญาล้วนๆ ออกไป ปัญญาใช้ไปมาก ใช้ไปมาก มันก็เป็นประชามติ ประชามติไม่เป็นฉันทามติ ถ้าเป็นประชามติ มันชำระไม่ได้

“ก็เราวิปัสสนาอยู่นี้มันเป็นงาน ทำไมมันทุกข์ยากอย่างนั้นอีกล่ะ”

ทุกข์ยากมาก ทุกข์ยากสุดๆ เพราะว่ามันคิดไม่ได้เลย มันปล่อยไม่ได้เลย ปล่อยจะคิดตลอดไป ความคิดนี้มันจะรุนแรงมากเพราะมันใกล้กับตัวใจ ใจกับจิตมันหดสั้นเข้ามา มันถึงตัวเดียวกัน ความคิดมันจะรุนแรงตลอดไป รุนแรงคิดขนาดไหนก็วนออกไป คิดแต่เรื่องมันเป็นไปนะ คิดแต่เรื่องของกิเลสนะ

“ทำไมเราคิดว่าเราประพฤติปฏิบัติ เรามีพื้นฐานของธรรมขนาดนี้แล้ว ทำไมมันยังคิดออกไปเป็นเรื่องของกามราคะได้”

ก็คือตัวมัน คือจังหวะของมัน มันถึงคิดอย่างนั้นได้ คนเราถ้าไม่หิวมันก็ไม่คิดถึงอาหารเห็นไหม ถ้าคนเราถ้าไม่ทุกข์มันก็ไม่แสวงหา ถ้ามันมีอิ่มสบายมันก็เป็นอย่างนั้น แต่เดิมมันใช้สิ่งนี้หากินอยู่ กามมันอยู่ในหัวใจของมัน แต่มันใช้สิ่งนี้หากินออกไป มันก็เพลินของมันตลอดไป มันก็ไม่คิดเรื่องนี้ แต่ในการเราย่นเข้าไปถึงตัวมัน

ใครเป็นตัวทุกข์?

ก็เอ็งเป็นตัวทุกข์ เอ็งเป็นตัวเริ่มต้นตัวคิด มันก็เลยมีพลังงานที่ต่อต้านที่รุนแรงมาก

สิ่งที่รุนแรงมาก กาม สิ่งที่เรื่องของโลกนั้นเป็นผลของกามราคะ แต่เรื่องของใจนี้เป็นเรื่องของกามฉันทะ สิ่งที่ความพอใจของใจ ใจมันติดอยู่ในหัวใจนี้เป็นกามฉันทะ ความพอใจ นี่มันอุ่นกินกับสิ่งนี้ มันจะต่อสู้กันรุนแรงมาก สิ่งที่รุนแรง น้ำป่ามันรุนแรงสุดๆ ความรุนแรงของมันท่วมท้นออกมาทับใจนี้ จนใจนี้ล้มลุกคลุกคลาน ต่อสู้ขนาดไหนก็ล้มลุกคลุกคลาน ต้องล้มลุกคลุกคลานไปก่อน เพราะเรื่องของกิเลส

การแสวงหา การพยายามจับต้องกิเลสนี้เป็นเรื่องแสนทุกข์แสนยาก กว่าจะเจอหน้ามัน เพราะมันหลบซ่อนตัวโดยมิดชิดไม่แสดงตัวเลย แล้วจะไม่เห็นเลยว่าสิ่งนี้เป็นกามราคะ มันจะเหมือนกับใจนี้นิพพานอ่อนๆ นิพพานน้อยๆ อยู่ในหัวใจ คิดว่าอันนี้สิ้น ว่างหมดเลย นั่นน่ะ มันหลบซ่อนขนาดนั้น แต่เวลาไปเจอตัวมันน่ะ มันพลิกแพลง มันต่อสู้รุนแรงขนาดที่ว่าเราไม่มีปัญญาจะต่อสู้เลย ต้องกลับมาพุทโธๆๆ จนเหมือนกับผู้ที่ประพฤติปฏิบัติใหม่ ก็ต้องเป็นแบบนั้น จนกว่าจะยืนฐานได้ จนต่อสู้กันทันว่ามันเป็นสภาวะแบบใด

ใจนี้เคลื่อนไป มีแรงเสียดสี มีแรงต้านทาน

“สิ่งที่เราหยุดอยู่เฉยๆ นี้ก็เป็นธรรม”

นี่ไง มันสร้างเรื่องหลอก

ประชามติ เสียงส่วนมากกับเสียงส่วนน้อยหลอกกันอยู่ในหัวใจ

ถ้าจิตนี้เคลื่อนไปมันก็เป็นกามราคะ จิตนี้ไม่เคลื่อนไปถ้าอยู่เฉยๆ นี้มันก็เป็นธรรม...นี่มันสร้างหลอกแล้วมันก็พลาดไป พลาดไป อยู่อย่างนี้ตลอดไป จนถึงที่สุดเราแยกออกไปจนปัญญามันทัน เป็นปัจจัตตัง สิ่งที่เป็นปัจจัตตังเกิดขึ้นมาจากปัญญาของเรา

เราสร้างสมปัญญาอันละเอียดนะ ลึกซึ้งมาก ละเอียดอ่อนในหัวใจ จนถึงที่สุดธรรมต้องเป็นฉันทามติ รวมตัวกันสมุจเฉทปหาน ครืน! ในหัวใจนะ โลกนี้พลิกฟ้าคว่ำดิน กามราคะจะไม่เกิดกับใจดวงนี้ นั่นน่ะ ใจดวงที่ว่าหมุนเวียนตายเวียนเกิดมา มาเห็นสภาวะอย่างนั้น แล้วใครมันจะมาหลอกมันได้ว่าสวรรค์ไม่มี นรกไม่มี

มันเห็นสิ่งนี้ ที่นรกสวรรค์ สิ่งที่เป็นกามภพตั้งแต่สวรรค์ลงมา สิ่งนี้มันมีอยู่ แล้วมันทำลายจากหัวใจ สิ่งที่ใจดวงนี้ต้องไปเสวยภพสภาวะแบบนั้น แล้วมันทำลายหัวใจ ทำลายเหตุจากที่จะไปจนออกไปจากใจ แล้วจะไปสงสัยที่ไหนว่านรกสวรรค์ไม่มี

นรกสวรรค์ในอก นรกสวรรค์ในหัวใจ...ถูกต้อง นรกสวรรค์ในอก...ถูกต้อง ถูกต้องเพราะมันมีอยู่แล้วทำลายแล้ว แต่ผลของมันถ้ามันไม่ทำลายขึ้นมา มันมีเชื้ออยู่ มันก็ต้องไปเกิดไปตายตามสถานะของเชื้อของเขา...มันทำลายตัวมันเอง นี่เป็นปัจจัตตัง รู้จากการประพฤติปฏิบัติ

ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติจะเห็นสภาวะตามความเป็นจริงว่า สิ่งนี้มันสืบต่อไป เพราะมันมีสิ่งนี้ มีเชื้อจากตรงนี้เอง มีต้นทุนจากตรงนี้ มันถึงไปนรกสวรรค์นั้น แล้วปัจจุบันนี้ทำลายขาดออกไปจากใจ เวิ้งว้างหมดเลย ติดสภาวะแบบนั้นอีก จะเวิ้งว้างมาก จะเวิ้งว้างขนาดไหน นี่ปลาในสุ่ม ปลาตัวสุดท้ายอยู่ในสุ่ม จะเป็นตอของจิต จะสว่างไสว...ฐีติจิตอยู่ตรงนี้

“จิตเดิมแท้นี้สว่างไสว จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้เป็นผู้ข้ามพ้นกิเลส”

ถ้าจิตเดิมแท้นี้ผ่องใสก็จะผ่องใสอยู่อย่างนั้น นี่พระอนาคาติด ติดตรงนี้ไง ติดในดวงจิตของตัวเอง จิตของตัวเองปล่อยวางสิ่งต่างๆ เข้ามา ในสติปัฏฐาน ๔ ในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรมที่วิปัสสนาแล้วปล่อยวางเข้ามา สิ่งที่รับรู้สิ่งต่างๆ แล้วปล่อยวางเข้ามา ปล่อยวางขันธ์ ขันธ์สืบต่อเข้าไปรับรู้สิ่งต่างๆ ปล่อยวางเงา เงาที่รับรู้นี้ เพราะสิ่งนี้สืบต่อ เพราะตัวอวิชชานี้เป็นตัวกิเลส สิ่งที่เป็นตัวกิเลสนี้ถึงสืบต่อออกไปเป็นขันธ์ ขันธ์ เงามันก็ยึดสิ่งต่างๆ ขึ้นมา

แล้วมันวิปัสสนาจนปล่อยวางเข้ามา ปล่อยวางเข้ามา เป็นชั้นเป็นตอนเข้ามา จนถึงที่สุดเห็นไหม ปล่อยวางเข้ามาจิตนี้ก็รับรู้ตลอด รับรู้ตลอด ถึงที่สุดแล้วว่างหมดเลย

ถ้ายังบอกว่า “ว่าง” บอกว่า “สว่างไสว” นั้นคือตัวตอของจิตทั้งหมด

สิ่งที่รับรู้สิ่งต่างๆ ในสภาวะของอากาศ ในสภาวะของสิ่งต่างๆ เขาจะไม่รู้ตัวเขาเองเลย ในวัตถุเขาไม่มีชีวิต ในสิ่งที่เป็นวัตถุเขาจะไม่รู้คุณค่าของเขา รถยนต์เครื่องยนต์กลไก เราให้คุณค่าเขา เขาถึงเป็นคุณค่าขึ้นมา ตัวเขาเองเขาไม่มีคุณค่า เขาไม่รู้สึกตัวของเขา เพราะเขาไม่มีชีวิต

แต่จิตนี้เป็นมหัศจรรย์เพราะมันเป็นสิ่งที่มีชีวิต มันเป็นชีวิตของมัน มันถึงให้คุณค่าเขา แล้วมันปล่อยวางเขาเข้ามาหมดเลย มันก็ว่ามันว่าง แล้วมันก็มหัศจรรย์เวิ้งว้าง

มหัศจรรย์จริงๆ เพราะมันเป็นตัวของมันเอง แล้วมันเวิ้งว้างหมดเลย

จนกว่าว่าใจจะเข้าใจ ปัญญามันเกิดขึ้นมา มรรคมันจะเกิดขึ้นมา ถ้าปัญญาว่าสิ่งที่รับรู้สิ่งต่างๆ นั้นคืออะไร ว่างๆ นี่ใครเป็นคนบอกว่าว่าง สิ่งที่ว่าว่างนี่ใครเป็นคนบอก...จะย้อนกลับเข้ามา ย้อนกลับเข้ามา พลังงานจะย้อนกลับ ถ้าย้อนกลับจะจับสิ่งนี้ได้ สิ่งที่จับต้องได้เป็นจะเป็นสิ่งที่สะเทือนใจมาก สะเทือนใจเพราะว่าสิ่งที่ว่าจิตจับจิตนี้เป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่สุด

ถ้าเป็นพิจารณากาย เห็นกายของจิต จิตนี้จะเป็นกายอันละเอียดลึกลับมาก ละเอียดใสขนาดไหน มันเป็นความละเอียดของใจดวงนั้น ถ้าใจเราเห็น เห็นถึงสภาวะกาย เพราะมันเทียบเคียงขึ้นมาได้ มันเป็นบุคคลาธิษฐานขึ้นมาได้ เพราะมันเป็นสิ่งที่อวิชชา สิ่งที่มีอยู่ ถ้ามันเป็นใจ ใจมันก็ละเอียดอ่อนมาก

นั่นน่ะ มันจะต้องพลิกคว่ำพลิกหงายกันอยู่ตรงนั้นตลอดไป มันจะไม่เป็นงานอย่างหยาบๆ

งานการใช้ปัญญา ปัญญาอย่างแรก อย่างเช่นเราสร้างสมขึ้นมา มันแสนทุกข์แสนยากกว่ามันจะเป็นฉันทามติขึ้นมา แต่ละชั้นแต่ละตอน เวลามันทุกข์ยาก มันเป็นการทุกข์ยาก แต่เราสร้างสมขึ้นมา มันก็ว่าละเอียดอ่อนมากแล้วนะ ละเอียดอ่อนที่สุดเลย แต่ในตรงนี้มันเป็นญาณเฉยๆ มันเป็นปัญญาญาณ ถ้าขยับแรงออกไปมันก็เป็นขันธ์ ขยับแรงออกไปก็เป็นขันธ์ ทั้งๆ ที่ขันธ์ขาดออกไปแล้ว แต่มันขาดมี สิ่งนี้รับรองสิ่งนี้ได้

พอมันย้อนกลับเข้ามา มันวิปัสสนาเข้ามาถึงที่สุดแล้ว มันต้องไปใช้ปัญญาอันละเอียด พลิกไปพลิกมากันอยู่ในที่แคบ อยู่ในที่แคบนั้น พลิกกันไปพลิกกันมา เพราะสถานที่มันถอยเข้ามาในคูหาของจิตแล้ว มันถอยเข้ามาในถ้ำ พลิกไปพลิกมาจนถึงที่สุด มันระเบิด มันทำลายกันทั้งหมดเลย พลิกทีเดียว นั่นน่ะ “ธรรมต้องเป็นฉันทามติ” จะไม่มีกิเลสสิ่งใดใดเข้ามาเสียบ เข้ามาสอดแทรกได้เลย ถ้าเข้ามาสอดแทรก มรรคะนั้นไม่สามัคคี

ถ้ามรรคไม่สามัคคีมรรคไม่รวมตัว มรรคไม่รวมตัวนั้นฉันทามติไม่เกิด ถ้ามรรครวมตัว เพราะทุกเสียงเห็นเหมือนกันหมด ทุกสภาวะเห็นเหมือนกับฉันทามติ เห็นกับปัญญาญาณอันนี้ ปัญญาญาณอันนี้วิปัสสนาจนถึงที่สุดแล้วพลิกคว่ำดินหมดสิ้นกันไป นั้นหมดเรื่อง จิตก็ไม่มี นิพพานก็ไม่มี นี้ไม่มีในประสาความคิดนั้น

แต่ความจริงใครรู้อยู่? สิ่งที่รู้อยู่ถึงมีไง มีของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ

ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติถึงที่สุดแล้ว นิพพานในหัวใจเป็นเครื่องยืนยันในหัวใจนั้น สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ว่าเราการประพฤติปฏิบัติเกิดขึ้นมา “ธรรม” ธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม นั้นใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมของพระสาวก ของครูบาอาจารย์ต่างๆ เป็นธรรมของดวงใจดวงนั้น เป็นเครื่องยืนยันกันกับใจดวงนั้น เหมือนกันโดยสภาวธรรมตามความเป็นจริง

ธรรมถึงมีอยู่ไง แล้วลึกซึ้งมาก

ธรรมนี้ต้องเกิดจากฉันทามติทั้งหมด “ฉันทามติโดยธรรม” ไม่ใช่ฉันทามติโดยทางโลกเขา แต่มันเป็นฉันทามติเหมือนกัน ไม่มีสิ่งใดเข้ามาเคลือบแคลงสิ่งนี้ได้ แล้วใจดวงนี้จะพ้นออกไปจากกิเลส จะมีความสุข แล้วเป็นการยืนยันในการว่ากิเลสมีจริงไหม จับต้องได้จริงไหม ใจมีจริงไหม การเกิดการตายของโลกมีจริงไหม จะรู้โดยใจดวงนี้ สว่างกระจ่างแจ้ง ไม่มีสิ่งใดใดลังเลสงสัยในใจดวงนี้เลย

ใจดวงนี้เข้าใจทั้งหมด แล้วปล่อยวางนะ เข้าใจในสถานะในธรรมทั้งหมด ธรรมฝ่ายเหตุ เราสร้างกรรมดี-กรรมชั่ว เราสร้างขึ้นมาเป็นธรรมฝ่ายเหตุ กรรมชั่วก็เป็นเหตุ กรรมดีก็เป็นเหตุ ให้เราสะสมขึ้นมา จนสิ่งนี้รู้เท่าทันทั้งหมดเลย นี่ใจมันพ้นออกไป พอรู้เท่าทันแล้วปล่อยวาง ต้องปล่อยวางสิ่งนี้ด้วย ถ้าไม่ปล่อยวางสิ่งนี้ เหมือนกับเราไปทางรถ ไปทางเรือ แล้วเราไม่ยอมขึ้นจากเรือจากรถ แล้วเราไม่เข้าถึงฝั่ง

นี่ไง มรรคสามัคคี อรหัตตมรรค อรหัตตผล

ทำไมอรหัตตผลไม่ใช่นิพพาน ๑ ล่ะ?

อรหัตตมรรค อรหัตตผล นั่นน่ะ ระหว่างที่รถมันยังทำงานกันอยู่ อธิบายได้อยู่ ถึงที่สุดแล้วนิพพานมีโดยตามความเป็นจริงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับพระสาวกที่เข้าถึง แต่ของเรานี้มีโดยความเป็นจริงของเราว่าเรามีใจ ใจมีอยู่กับเรา ถ้าเราทำใจของเราถึงที่สุดได้ เรามีโอกาส เรามีสถานะ เพราะเรามีภาชนะที่จะใส่ธรรม

เรามีดวงใจ แล้วดวงใจปัจจุบันนี้เรากำลังศึกษาธรรมอยู่ เรามีโอกาสส่วนหนึ่ง แต่ถ้าเราปล่อยโอกาสของเราไป มันก็จะหมดโอกาส เพราะธรรมนี้มีช่วง ๕,๐๐๐ ปี แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่างๆ ก็มาตรัสต่อไป กาลเวลานี่มันหมายถึงว่าเราจะเสี่ยงภัยกับเราเองอีกต่อไปไหม ถ้าเราเสี่ยงภัย เราก็ประพฤติปฏิบัติไม่สมความปรารถนา หรือเราไม่ประพฤติปฏิบัติเราก็เสี่ยงภัยไป

ถ้าไม่เสี่ยงภัยไป เราเอาปัจจุบันนี้แล้วเราจะพ้นจากทุกข์ได้ เอวัง