ผงเข้าตา
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
ถาม : กราบนมัสการหลวงพ่อ
๑. การที่คนป่วยตัดสินใจไม่รับการรักษาต่อไป เช่นไม่ยอมให้ปั๊มหัวใจกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินที่ทำให้หัวใจหยุดเต้น ไม่ให้เจาะเพื่อเสียบเครื่องมือทางการแพทย์ต่างๆ ช่วยหายใจ หรือให้อาหารทางสายยาง ไม่ให้ล้างไตหากไตหยุดการทำงาน โดยคิดว่าจะยอมตายดีกว่ามีชีวิตอยู่โดยต้องทนทุกข์ทรมานจากการใช้วิธีการต่างๆ ดังกล่าว เพื่อช่วยชีวิตให้ยืนยาวดังต่อไปนั้นจะเป็นบาปแก่ตัวคนป่วยหรือไม่
๒. กรณีคนป่วยสั่งไว้ให้ปฏิบัติตามการตัดสินใจของตน ผู้รับคำสั่งการปฏิบัติตามนั้นได้หรือไม่? จะเป็นบาปหรือไม่?
ตอบ : นี่แสดงว่าถ้าเราเป็นลูกศิษย์นะ ลูกศิษย์กรรมฐาน ลูกศิษย์พระ ถ้าลูกศิษย์พระเราได้ฝึกหัดใจของเราแล้ว ถ้าฝึกหัดใจของเรา นี่มันเป็นสัจจะความจริงไง เราจะไม่หนีสัจจะความจริง การเกิดและการตายเป็นสัจจะความจริง นี้เป็นสัจจะความจริงมันต้องเป็นแบบนั้น ถ้ามันเป็นแบบนั้น เพียงแต่เราไง ถ้าเราศึกษาของเรา เราปฏิบัติของเรา เราจะพ้นไปจากมันก่อน เห็นไหม เวลามันเป็นโวหาร เป็นสัญญาอารมณ์ว่าตายก่อนตายๆ ตายก่อนตาย อะไรตายก่อนตายล่ะ?
ตายก่อนตาย เพราะเราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเราก็พูดได้ คำว่าตายก่อนตาย อะไรตาย? แต่ถ้าในการปฏิบัตินะกิเลสมันตายก่อน เราได้ชำระล้างกิเลสแล้ว เราได้ฆ่ากิเลสแล้ว เราได้ฆ่าพญามารแล้ว นั่นล่ะสิ่งนั้นความตายมันถึงไม่มีภัยกับธรรมธาตุอันนั้น แต่ถ้าจิตใจเรายังมีกิเลสอยู่มันต้องสั่นไหวเป็นธรรมดา แต่สั่นไหวเป็นธรรมดา ถ้ามีการศึกษา เราเป็นปฏิบัติ เราเป็นลูกศิษย์กรรมฐานนะ ถ้าเราศึกษาแล้วเรามีอุดมคติอย่างนี้ได้แสดงว่าจิตใจเรามีหลักแล้ว มีหลักหมายความว่าไม่กลัวมรณภัยไง
ไม่กลัวมรณภัย ไม่กลัวความตาย ไม่กลัวสิ่งใด ถ้าไม่กลัวสิ่งใด เจ็บไข้ได้ป่วยเราก็เข้าไปรักษา ถ้ารักษาแล้ว เห็นไหม นี่เวลาเราไปหาหมอ หมอก็รักษาเราตามหน้าที่ของหมอ ถ้าหน้าที่ของหมอ ถ้ามันรักษาได้เราก็รักษา ถ้ารักษาไม่ได้นะไม่ทรมาน ถ้าความคิดแบบธรรมนะอย่างนี้ถูก เราไปรักษาเราก็รักษา ถ้าเราไปรักษานะ ถ้าจิตใจเราไม่หวั่นไหวใช่ไหม หมอเขารักษาได้ง่ายนะ เพราะเวลาคนไข้จิตใจเข้มแข็ง ทำอะไรมันก็สะดวกสบาย ถ้าจิตใจคนอ่อนแอ เข้าไปก็ช็อกแล้ว นี่เวลาจะผ่าตัดต้องให้จิตแพทย์เขามารักษาก่อน ให้ใจเข้มแข็งก่อน พอใจดีแล้วค่อยเอาเข้าผ่าตัด
นี่สิ่งอย่างนั้นมันจิตใจอ่อนแอ ถ้าจิตใจเข้มแข็งขึ้นมา มีความคิดอย่างนี้ ถ้ามีความคิดอย่างนี้ก็รักษากลับง่ายขึ้นด้วย ง่ายขึ้นด้วย พอจิตใจของเขาเข้มแข็งขึ้นมา ถ้าเขาได้สั่งของเขาไว้ ในวงการแพทย์เขาพูดบ่อย เวลารักษา จิตใจของคนส่วนใหญ่แล้วอยากอยู่ อยากอยู่เพื่อดูแลลูก อยากอยู่เพื่อดูแลลูก แล้วก็บอกว่าทรัพย์สมบัติที่รักษาไว้ขายจนหมดเลย เวลาตัวเองนะถึงที่สุดแล้วก็ต้องตาย พอตายแล้วนะทรัพย์สมบัติที่ควรจะตกกับลูกขึ้นมามันก็มาเป็นค่ารักษาจนหมดเลย
ถ้ากรณีอย่างนี้รักษาไปมันก็ไม่หาย รักษาไปก็ไม่ได้ นี้ไม่ใช่เราดูดายนะ ถ้าเราบอกเราดูดาย เราไม่รักษานั่นก็ไม่ใช่ เพราะอะไร? เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกแล้วปัจจัย ๔ ปัจจัย ๔ ปัจจัย ๔ มันมีอะไรล่ะ? มีอาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรคคือการรักษา เห็นไหม นี่มันมีเครื่องนุ่งห่ม มันมี ๔ อย่าง ปัจจัย ๔ ปัจจัย ๔ เพื่อดำรงชีวิต
ฉะนั้น คนเจ็บไข้ได้ป่วย คนมีบาดแผลต่างๆ ก็ต้องรักษา ไม่ใช่ว่าฉันปล่อยวางแล้วฉันก็ไม่ดูอะไรเลยมันก็ไม่ใช่ แต่ถ้าไปวิตกกังวลเกินไปมันก็ไม่ใช่ วิตกเกินไปมันก็เป็นภาระเกินไป แต่ถ้าบอกว่าเราไม่ดูแลอะไรเลย เราจะปล่อยวางเลย ปล่อยวางอย่างนี้มันก็ไม่ใช่ ปล่อยวางอย่างนี้พอเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นมาก็ไปรักษาอยู่ดี รักษา รักษาตามหน้าที่ รักษาตามทางโลกที่เขามี แต่ถ้าเขาบอก เขาสั่งเอาไว้ เห็นไหม
ถาม : ๑. การที่คนป่วยตัดสินใจไม่รับการรักษาต่อไป เช่นไม่ยอมให้ปั๊มหัวใจ กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินที่ทำให้หัวใจหยุดเต้น ไม่ให้เจาะเพื่อเสียบเครื่องมือทางการแพทย์ต่างๆ ช่วยหายใจ หรือให้อาหารทางสายยาง ไม่ให้ล้างไตหากไตหยุดการทำงาน โดยคิดว่าจะยอมตายดีกว่ามีชีวิตอยู่ด้วยต้องทนทุกข์ทรมานจากการใช้วิธีการต่างๆ ดังกล่าวเพื่อช่วยชีวิตให้ยืนยาวต่อไป จะเป็นบาปแก่ตัวคนป่วยหรือไม่?
ตอบ : จะเป็นบาปหรือ? จะเป็นธรรมของเขาต่างหากล่ะ เขาเองมีจุดยืน เขาเองยังไม่หวั่นไหวในมรณภัยของเขา นี่ผู้ถามเป็นลูก แล้วเป็นลูกที่เขาถามว่าเป็นบาปไหม? กลัวว่าตัวเองเป็นบาปไง กลัวว่าตัวเองไม่ได้ดูแลพ่อแม่ กลัวว่าตัวเองจะเป็นบาปเป็นกรรม แล้วไอ้คนที่เขาไม่ดูแลพ่อแม่เลย เขาปล่อยพ่อแม่ไว้ไม่ให้ใครดูแลเลย อันนั้นเขาคิดอะไรของเขาล่ะ? นั่นก็ความคิดอย่างหนึ่งสุดโต่ง ไอ้นี่ก็ดูแลพ่อแม่ๆ แล้วพ่อแม่สั่งไว้อย่างนี้ ถ้าพ่อแม่สั่งไว้อย่างนี้เราเป็นลูกใช่ไหม? สิ่งใดที่หมอเข้าใจได้เองว่าสมควร ไม่สมควร
กรณีอย่างนี้หมอบอกถ้าควรจะรักษาเราก็รักษา เพราะคนไข้ ถ้าเกิดเขาช็อกไปแล้วคนไข้ไม่รู้เรื่องหรอก เพียงแต่ว่ามันก็อยู่ที่เราใช่ไหม เพียงคนไข้เป็นพ่อ พ่อสั่งไว้ว่าห้ามทำอย่างนั้นๆ ห้ามทำ เราก็ห้ามทำถ้าเกินกว่าเหตุ แต่ถ้าในทางการแพทย์เขารักษาได้ แล้วมันเป็นเรื่องเล็กน้อยเราก็รักษา เพราะพ่อเราใช่ไหม? พ่อของเรา แล้วพูดถึงพ่อของเราถ้าหมดสติไปเราเป็นคนสั่ง เราเป็นคนสั่ง ไม่ใช่พ่อสั่งแล้ว แล้วมาห่วงอะไรบาปหรือไม่บาปล่ะ?
เวลาเราทำบุญ เราทำบุญแบบว่าทำบุญโดยเบื้องหลัง ทำบุญโดยที่ไม่ต้องการชื่อเสียงทุกคนไม่เข้าใจกับเรานะ การทำบุญกุศล การทำสิ่งต่างๆ ทุกคนต้องการให้เขาเข้าใจว่าเราทำคุณงามความดี แต่การทำคุณงามความดีของเราโดยการปิดทองหลังพระ ปิดทองหลังพระเราทำคุณงามความดี นี้พ่อแม่ของเรา ทำดีไม่ดีกับพ่อแม่ของเรา นี่ความจริงก็คือความจริงอยู่วันยังค่ำ ฉะนั้น สิ่งที่เรารักษาได้เราก็รักษา แต่ถ้ามันแบบว่าจะต้องพะรุงพะรังจนเกินไปต่างๆ แล้วอีกอย่างหนึ่งลูกศิษย์กรรมฐานเรื่องนี้ ถ้ารักษาก็คือรักษา รักษาได้
กรณีนี้มันมีหลวงปู่บุญจันทร์เนาะ หลวงปู่บุญจันทร์เป็นมะเร็งในไขกระดูก แล้วเวลาหมอเขาตรวจแล้ว หลวงปู่บุญจันทร์ท่านบอกท่านไม่รักษา ท่านปล่อยวางชีวิตท่านแล้ว แล้วอาจารย์สิงห์ทองท่านเป็นเพื่อนกับหลวงปู่บุญจันทร์ วัดไชยวาน แล้วท่านก็ไปเยี่ยมมา เยี่ยมเสร็จแล้วท่านก็ไปรายงานหลวงตา รายงานหลวงตา หลวงตาท่านก็รับผิดชอบว่าเป็นคนไข้ของท่าน แล้วท่านส่งข่าวไปเอง หรือท่านไปหาเองก็ไม่รู้
บอกว่าให้หลวงปู่บุญจันทร์ วัดป่าไชยวาน บอกให้หลวงปู่บุญจันทร์ไปรักษา เราเป็นเจ้าของคนไข้ ไปรักษาที่ศิริราชเพราะว่าหมอเขายังรักษาได้ พอในปัจจุบันนี้มะเร็งไขกระดูกเขารักษาได้ ก็ส่งหลวงปู่บุญจันทร์ไปรักษาที่ศิริราช แล้วหลวงตาท่านรับเป็นเจ้าภาพหมดเลย แต่ตอนก่อนหน้านั้นหลวงปู่บุญจันทร์ท่านเข้าใจว่า การป่วยเป็นมะเร็งไขกระดูกมันหมดวิธีการรักษาแล้ว พอหมดวิธีการักษาแล้ว ท่านกำหนดที่วัดท่าน ท่านกำหนดรอวันตาย
ทีนี้ท่านกำหนดรอวันตาย แล้วอาจารย์สิงห์ทองท่านไปเยี่ยม แล้วอาจารย์สิงห์ทองท่านก็เอาเหตุการณ์นี้มารายงานหลวงตา หลวงตาลูกศิษย์ท่านเยอะใช่ไหม ท่านปรึกษาลูกศิษย์ของท่าน ลูกศิษย์บอกว่ามะเร็งไขกระดูกเขาก็รักษาได้ พอรักษาได้หลวงตาท่านก็สั่ง สั่งให้อาจารย์สิงห์ทองไปเอาหลวงปู่บุญจันทร์ไปศิริราช แล้วก็ไปรักษาที่ศิริราช แล้วก็หายด้วย
นี่ถ้ามันสิ่งที่รักษา ถ้ามันรักษาได้เขาก็รักษา ถ้าทางโลกมีการรักษาเราก็รักษา นี่ครูบาอาจารย์ท่านก็รักษา แต่ แต่ก็ไม่ใช่ว่ารักษาต้องให้หายอย่างเดียว ต้องให้หายอย่างเดียว แล้วเกิดมันเป็นวิกฤติต่างๆ อย่างนี้เรารักษาใจเรา เราทำเต็มที่แล้ว จะเป็นบาปกับคนป่วยไหม? คนป่วยจะเป็นบาปอะไร? ถ้าคนป่วยเป็นบาป กรณีนี่เปรียบเทียบนะ อย่าเอาไปเป็นหลักนะ อย่างเช่นกรณีคนถามบ่อยมากเลยว่าการเสียสละร่างกายไง การมอบร่างกายให้เป็นอาจารย์ใหญ่มันเป็นบุญหรือเป็นบาป เขาบอกว่าเรามอบร่างกาย เป็นบุญสิ เราให้ร่างกาย เห็นไหม ให้ร่างกายเพื่อเป็นทางวิชาการกับพวกนักศึกษาแพทย์ นี่เรามอบให้เป็นบาปไหม?
นี่ก็เหมือนกัน เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยเขาเสียสละของเขามันเป็นบาปไหม? ไม่เป็นบาปหรอก ไม่เป็น มันเป็นกำลังใจของเขาต่างหากล่ะ เราเองนี่ไปคิดมาก เราเองหัวใจสู้เขาไม่ได้ หัวใจอ่อนแอกว่าเขา
ถาม : ๒. กรณีที่คนป่วยสั่งไว้ให้ปฏิบัติตามการตัดสินใจของตน ผู้รับคำสั่งปฏิบัติตามนั้นได้หรือไม่ จะเป็นบาปหรือไม่
ตอบ : คำว่าธรรมนะ ธรรมคือเหตุและผล ธรรมคือสัจธรรม ถ้าสัจธรรมเราอยู่ในเหตุการณ์ ถ้าเป็นธรรมเราควบคุมได้ เราเป็นผู้ที่มีปัญญา เราเป็นผู้ที่ออกสตางค์ว่าอย่างนั้นเลย เราเป็นคนที่จ่ายสตางค์ เราสั่งได้หมดแหละ สตางค์ของเรา เราจะรักษาพ่อแม่เรา ถ้าท่านหมดสติไปแล้วเรารักษาได้
ถาม : จะเป็นบาปไหม?
ตอบ : เป็นบาปเราดูแลของเรา แต่ไม่ใช่ว่าจะรักษาจนว่าขนาด มันมีเหมือนกัน เวลารักษาไปจน มีลูกศิษย์คนหนึ่งเขาเอาแม่ไปอยู่โรงพยาบาลเอกชน จนที่โรงพยาบาลเขาให้ลูกหลานประชุมกัน แล้วบอกว่าให้ตัดสินใจนะ ที่อยู่นี่อยู่ได้ด้วยเทคโนโลยี เพราะว่ามันเขียวหมดทั้งตัวแล้ว แต่เขาก็อยู่ด้วยอย่างนั้นแหละ
คือว่าเขาเอาสตางค์จนพอแล้ว เขาสงสารคนป่วย เขาบอกให้ปรึกษากันนะ คือว่าเขาเสียชีวิตไปนานแล้ว แต่อยู่ได้เพราะลูกไม่ยอมให้ตาย จนหมอเขาพูดนะ นี่ตัวเขาเองมาคุยกับเราเอง บอกหมอนี่ หมอเขามาบอกเลย เขาประชุมหมอใช่ไหม โรงพยาบาลเอกชนประชุมเสร็จแล้วก็บอกว่าให้ญาติพี่น้องตัดสินใจนะ มันสมควรจะดึงออกนานแล้วแหละ เอาสตางค์มาจนพอแรงแล้ว เอาสตางค์มาจนเบื่อแล้ว จนไม่อยากเอาอีกแล้ว
กรณีอย่างนี้ก็มี กรณีที่ว่า ทีนี้กรณีอย่างนั้นมันก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง เพราะว่าลูกยังไม่อยากให้ตาย ลูกยังไม่อยากให้ตาย จนหมอก็ยังบอกให้ประชุมกันเถอะ ประชุมกัน ทีนี้มันเป็นสิทธิไง ไอ้นั่นอย่างหนึ่ง นี่พ่อแม่ของเราใครก็รัก ใครก็รักทั้งนั้นแหละ แต่เราทำของเราสมควรแก่ธรรม ถ้าสมควรแก่ธรรมมันก็เป็นความจริงอันนั้น จบ
ถาม : ข้อ ๑๓๑๙. เรื่อง ลังเลวิธีการพิจารณา
กราบนมัสการหลวงพ่อที่เคารพเป็นอย่างสูง หนูได้ขอความเมตตาจากหลวงพ่อค่ะ ขอคำแนะนำจากหลวงพ่อค่ะ หนูขอเล่าและสอบถามเลยนะคะ โดยปกติหนูจะเป็นคนที่ไม่สวดมนต์ เพราะคิดว่าการภาวนาพุทโธก็เหมือนการสวดมนต์อยู่แล้ว จนหนูได้มาอ่านเรื่องๆ หนึ่งที่หลวงปู่มั่นท่านกล่าวไว้ หนูก็เลยอยากจะสวดมนต์ขึ้นมา
เล่าแบบสั้นๆ นะคะ หนูเลือกบทธัมมจักฯ และอนัตตลักขณสูตรพร้อมคำแปล ตั้งใจสวดมาก สม่ำเสมอเสียงฟังชัด พอสวดภาษาบาลีเสร็จทั้ง ๒ บทก็เริ่มอ่านบทแปล อ่านธัมมจักฯ เสร็จก็ต่อมาอนัตตลักขณสูตร พออ่านถึงรูปเป็นอนัตตา ท่อนแรกก็ผ่านไป เวทนาเป็นอนัตตา ท่อนที่ ๒ ก็ผ่านไป พอเริ่มขึ้นสัญญาเป็นอนัตตา น้ำตามันก็เอ่อไหลออกมาแบบคนที่เสียใจมาก แล้วก็จะร้องไห้ หนูก็รีบพุทโธ พุทโธ เหมือนมันพอจะสงบลงบ้างหนูก็อ่านบทแปลต่อ แต่ใช้การกลั้นน้ำตาเอาไว้ ก็อ่านต่อได้อีกนิดหนึ่งก็ต้องหยุด แล้วหนูก็นั่งสมาธิเลย
ภาวนาพุทโธ พุทโธไป ก็ยังเห็นความเสียใจอยู่ แล้วก็มีร้องแบบสะอึกสะอื้น มันว้าเหว่ มันเคว้งคว้างมากเลย หนูก็พยายามพุทโธจนสงบลงมา แต่หนูก็ยังอดจะห่วงสวดมนต์อีกว่ายังไม่จบ หนูก็เลยลืมตาขึ้นมาอ่านคำแปลต่อ ตอนนี้หนูภาวนาพุทโธหนูก็ละล้าละลังว่าจะพิจารณาอนัตตาดี หรือจะภาวนาพุทโธดี แล้วก็ยังห่วงอ่านคำแปลยังไม่จบอีก ตอนที่เกิดหนูไม่ตกใจ แต่ละล้าละลังว่าจะเอาอย่างไรดี หนูตั้งใจว่าจะสวดมนต์พร้อมกับแปลนี้อย่างน้อยถึงวันที่ ๒๔ นี้หนูก็ไม่แน่ใจว่าเดี๋ยวจะมีการเกิดอะไรทำนองนี้อีก และหนูควรจะพิจารณาหรือพุทโธกันแน่คะ
ตอบ : ถึงวันที่ ๒๔ อันนี้มันตกมาตั้งแต่อาทิตย์ที่แล้วไง ตอบก็ไม่ทันอีกแล้ว มันเลย ๒๔ มาแล้ว ฉะนั้น สิ่งที่ว่าเวลาสวดเราเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง เอาอย่างใดอย่างหนึ่งใช่ไหม ธรรมดาเราพุทโธ พุทโธมาเราไม่เคยสวดมนต์เลย พอเขาบอกให้สวดมนต์เราก็ไปสวดมนต์ พอสวดมนต์ ถ้าจิตมันสงบแล้ว เวลาคำแปล เห็นไหม นี่รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา น้ำตามันเอ่อไหล
คำว่าน้ำตามันเอ่อไหลมันเกิดธรรมสังเวช ถ้าธรรมสังเวชนะ เพราะจิตใจเราสวดมนต์ใช่ไหม จิตใจเราสวดมนต์ จิตใจสวดมนต์มามันเหมือนคำบริกรรมพุทโธ จิตใจมันมีหลักมา พอมีหลักมา พอสวดมนต์มันก็สวดมนต์แบบนกแก้วนกขุนทองเพราะเราไม่รู้สิ่งใด แต่มันก็เป็นคำบริกรรม แต่เวลาเราอ่านแปลไง พออ่านแปล นี่รูปเป็นอนัตตา สรรพสิ่งก็เป็นอนัตตา แล้วจิตนี่ ดูสิเวลาเราไปอยู่ในที่มืด เราอยู่ในที่วิเวก เสียงเล็กน้อยมันก็เสียงดังมาก
จิตเวลาถ้ามันหยาบ เหมือนผ้าที่มันสกปรก มันสกปรกอีกเล็กน้อยก็ไม่เป็นไร แต่ผ้าที่สะอาด เวลามันสกปรกเล็กน้อยมันก็เห็น จิต จิตเวลามันสกปรกมากไง เวลาเราอยู่กับสัญญาอารมณ์ อยู่กับความรู้สึกนึกคิด ความรู้สึกนึกคิดสิ่งใดเกิดขึ้นมามันก็ไม่มีอะไรกระเทือนใจ พอเราอยู่ในความสงบสงัด พอสิ่งใดมันกระทบขึ้นมามันก็มีความสะเทือนใจ
จิตเวลามันสวดมนต์มา มันภาวนาของมันมา เวลารูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา มันสะเทือนใจๆ มันก็เกิดธรรมสังเวช ธรรมสังเวชน้ำตาไหล ธรรมสังเวช เห็นไหม สิ่งที่ธรรมสังเวชเราก็ตั้งสติ ตั้งสติของเราไว้ ถ้าเราสวดได้เราก็สวดไป เราสวดไม่ได้เราก็หยุดไว้ ถ้าเราสวดไม่ได้เรารับรู้อารมณ์อย่างนั้น ถ้าพุทโธถ้ามันนิ่งไปก็นิ่งไป เดี๋ยวก็มาทำใหม่ เห็นไหม เขาบอกว่า
ถาม : ตอนนี้มันละล้าละลังทำสิ่งใดไม่ได้เลย ว่าจะสวดมนต์ดีหรือจะกำหนดพุทโธดี
ตอบ : นี่ถ้ามันสวดมนต์มาแล้วสวดมนต์มาก่อน พอสวดมนต์มาก่อนนะ สวดมนต์มาก่อนแล้วมาแปล นี่ถ้ามันต่อเนื่องกันไป มันเหมือนกับเดินจงกรมดีหรือนั่งสมาธิดี บางคนนั่งสมาธิดีก็นั่งสมาธิแล้วได้ผล ถ้าบางคนเดินจงกรมดี เดินจงกรมได้ผล
นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเรากำหนดพุทโธ พุทโธ เราพุทโธมาตลอดต่อเนื่องเห็นไหม มันพุทโธมาแล้วมันไม่มีสิ่งใดขยับเขยื้อน มันไม่มีสิ่งใดที่เป็นปัญญา พอเรามาสวดมนต์ๆ แล้วเราแปลขึ้นมา นี่มันเป็นธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันเป็นปัญญา จิตใจมันได้ก้าวเดิน พอได้ก้าวเดินมันก็สลดสังเวช เห็นไหม มันกลั้นน้ำหูน้ำตาไม่อยู่ ถ้ากลั้นน้ำหูน้ำตาไม่อยู่เราก็ปล่อยมัน พอมันอยู่ที่อารมณ์ พออารมณ์มันเจือจางลงไปมันก็หายของมันไปเอง แต่ถ้าอารมณ์เจือจางไปแล้วเราอยากให้จิตสงบ แล้วเราทำอย่างไรต่อไป? เราก็พุทโธของเราต่อไป ถ้าเราพุทโธได้เราก็พุทโธต่อไป ถ้าพุทโธไม่ได้นี่เราสวดมนต์เลย สวดมนต์แล้วเราแปลของเราเลย พอแปลของเรา มันสะเทือนใจมันก็สะเทือนใจกับเรา
นี่มันละล้าละลังคือว่าเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง กินข้าวเสร็จแล้วกินน้ำ กินข้าวเสร็จแล้วกินของหวาน กินของหวานเสร็จแล้วกินน้ำ เราจะกินอะไรล่ะ? เรากินข้าวเราก็กินข้าว ถ้าเราจะพุทโธเราก็พุทโธเลย ถ้าวันนี้กินข้าวอิ่มแล้วเราจะกินของหวาน กินของหวานเราก็สวดมนต์ของเราไปเลย ถ้าเราจะกินน้ำ กินน้ำเราก็นั่งภาวนาของเราไปเลย นี่มันทำต่อเนื่องกัน มันทำต่อเนื่องกัน มันส่งเสริมกันให้ใจมันพัฒนาขึ้นมาได้ นี่เราทำของเราอย่างนี้ ไม่ต้องไปละล้าละลัง ถ้าละล้าละลัง เพราะเราละล้าละลังไง ละล้าละลังเพราะว่ามันยังไม่เข้าใจ ถ้ามันเข้าใจ มันปฏิบัติไปแล้วมันจะเป็นไปได้นะ
นี่ตอบหลังวันที่ ๒๔ เนาะ มันพ้นกำหนดไปแล้ว แล้วเราทำของเราไป ถ้าทำของเราได้มันก็จะเป็นประโยชน์กับเรา ทำของเรานะ นี่การภาวนามันเป็นแบบนั้น สิ่งที่คนที่ไม่เคยทำสิ่งใดมันก็ไม่รู้สิ่งใด สิ่งที่เราทำสิ่งใดเหมือนผงเข้าตา ผงไม่เข้าตาใครนะ ผงนี่มันลอยไปในอากาศมันไม่เคยทำระคายเคืองให้กับใครเลย แต่พอมันเข้าตาเรามันระคายเคืองกับเรามากเลย นี่ก็เหมือนกัน ในการปฏิบัติเราไม่เข้าใจ เราทำสิ่งใดเราติดขัดของเรา เหมือนผงเข้าตาแล้วเขี่ยออกไม่ได้ แต่ถ้าเราเขี่ยผงออกจากตานะเราก็รู้ว่า อ๋อ ถ้าผงเข้าตาก็ต้องเขี่ยออก ถ้าเขี่ยออกมันก็หายระคายเคืองตา
นี่ก็เหมือนกัน เวลาเราเกิดสงสัยขึ้นมา เราไม่มีสิ่งใดเราก็พยายามของเรา ถ้ามันเข้าใจแล้วก็จบ ถ้าไม่เข้าใจเราก็พยายาม ถ้าละล้าละลัง ผงเข้าตา ก้ำกึ่งอยู่นั่นแหละ จะออกจะไม่ออกอยู่อย่างนั้นแหละ อยู่อย่างนั้น แต่ถ้าเราทำของเราได้มันจะเอาผงออกจากตาของเราได้ ถ้าเอาผงออกจากตาของเราได้มันก็จะเป็นประสบการณ์ของเรา ประสบการณ์ที่ดีนะ เพราะมันติดใจอยู่คำเดียวคำว่าละล้าละลัง คำว่าละล้าละลังนะจะเอาดีทางไหน จะทำอย่างไรดี
คนเราปฏิบัติส่วนใหญ่เป็นแบบนี้ จะไปข้างหน้าก็ไปไม่ได้ จะถอยหลังหรือก็ไม่อยากจะถอย จะไปข้างหน้าทำไมไปไม่ได้ล่ะ? มันก็ต้องมีอุบาย มีอุบายไม่ใช่ทำสักแต่ว่าทำ ถ้าทำสักแต่ว่าทำ คนเราขี้เกียจไม่ทำสิ่งใดก็ไม่ทำสิ่งใดเลย แต่เวลาภาวนาเข้าไปก็ภาวนาแบบหุ่นยนต์ไง หลวงตาท่านพูดบ่อย หมามี ๔ ขา มันวิ่งไปวิ่งมาได้สบายเลย นี่มันมีขามากกว่าเราอีกคู่หนึ่ง มันมี ๔ ขา เรามี ๒ เท้า ๒ เท้าเราเดินจงกรมเราต้องมีอุบายสิ เวลาภาวนาโง่อย่างกับหมาตาย คิดอะไรไม่เป็นเลย
เวลากิเลสมันหลอกลวง กิเลสมันชักนำไป ฉลาดปราดเปรื่องมาก เวลาฉลาดปราดเปรื่อง ฉลาดปราดเปรื่องแบบกิเลสไง ฉลาดปราดเปรื่องเอาแต่โทษมาใส่ตัว แต่เวลาฉลาดปราดเปรื่องเพื่อจะเอาตัวเองพ้นจากการครอบงำของกิเลส โง่อย่างกับหมาตาย นี่ถ้ามันฉลาดขึ้นมา เห็นไหม ฉลาดขึ้นมาก็หาอุบาย พอหาอุบายกิเลสมันก็หลอกว่าทำไม่ได้ ถ้าใช้อุบาย ใช้ความคิดไปมันจะหยาบขึ้นไป มันจะไม่ละเอียด เราทำสมาธิขึ้นไป แต่เวลามันโง่แบบหมาตาย เดินแบบหุ่นยนต์เลย อย่างนี้ดี
นี่ผงเข้าตา ผงเข้าตาเพราะเราไม่มีประสบการณ์ คนที่ปฏิบัติไม่มีประสบการณ์เป็นแบบนี้ แต่ถ้ามีประสบการณ์ขึ้นมานะมันจะดีขึ้นเรื่อยๆ มันจะทำของเราเป็นประโยชน์ขึ้นมา มันก็จบของมัน เห็นไหม ถ้ามันทำได้มันก็เป็นประโยชน์นะ นี่พูดถึงลังเลสงสัยในการพิจารณา ถ้าลังเลสงสัยในการพิจารณา ทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าใจสงบแล้ว ถ้าเราจับสิ่งใดได้เราพิจารณาของเราเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป จับสิ่งใดได้ ไอ้นี่พูดถึงมันเป็นธรรมสังเวช ธรรมสังเวชเพราะอะไร? นี่มันเป็นธรรมไง ธรรมะคืออะไร? ธรรมะคือบทธัมมจักฯ ไง อนัตตลักขณสูตรไง
นี่เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธัมมจักฯ เวลาสวดขึ้นมา พระอัญญาโกณฑัญญะมีดวงตาเห็นธรรม สวดอนัตตลักขณสูตร ปัญจวัคคีย์ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์หมดเลย นี่สวดบทนี้ นี่คือธรรมข้อนี้ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการปัญจวัคคีย์ แล้วเราเอาสิ่งที่ปัญจวัคคีย์ได้ผลประโยชน์จากธรรม ๒ บทนี้ แล้วเรามาอ่าน เรามาศึกษา ศึกษาถ้าศึกษาทางโลกศึกษาเข้ามาเขาก็ท่องจนคล่องปาก นี่ความหมายล่ะ? ความหมาย ความเข้าใจล่ะ? แต่ของเรานี่เวลาเรากำหนดพุทโธของเรา พุทโธของเรา เห็นไหม
เรากำหนดพุทโธอยู่ เขาบอกให้สวดมนต์บ้างสิ พอมันสวดมนต์เพราะจิตเรากำหนดพุทโธอยู่แล้ว พอมันสวดมนต์ขึ้นมา ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่จิตใจเรามันละเอียดลึกซึ้ง พอมันสัมผัสน้ำตาร่วง น้ำตาร่วงมันเป็นครั้งแรกนะ แล้วถ้าเราพิจารณาจิตสงบเข้าไป ถ้าจับได้พิจารณาของเราไปมันจะต่อเนื่องไป มันจะเป็นโสดาปัตติมรรคแล้ว ถ้าเข้าไปเดี๋ยวมันจะรู้ผลของมัน ถ้ารู้ผลของมัน นี่เราจะเขี่ยผงออกจากตา ถ้าเขี่ยผงออกจากตา นี่ในภาคปฏิบัตินะ ทำของเรา ทำความจริงของเรา นี้ข้อ ๑๓๑๙. เนาะ จบ
ข้อ ๑๓๒๐. นะ
ถาม : ข้อ ๑๓๒๐. เรื่อง ผิดธรรมวินัยหรือไม่?
เมื่อไม่กี่วันมานี้มีมิสทิฟฟานี่มาบวชเป็นพระ ลูกเลยไม่เข้าใจว่าสามารถบวชได้หรือไม่คะ และผิดธรรมวินัยไหมคะ กราบขอรบกวนถามข้อนี้ค่ะ
(เขาเขียนมาว่าลูกศิษย์ที่โง่เขลาซะด้วยนะ เขาเขียนมาว่าลูกศิษย์ที่โง่เขลา)
ตอบ : ฉะนั้น สิ่งนี้มันเป็นปัญหาสังคมนะ นี่ปัญหาสังคมเป็นปัญหาสังคมอันหนึ่ง แต่ถ้าปัญหาธรรมวินัยเป็นปัญหาธรรมวินัย ฉะนั้น การบวชพระเขาต้องอบรมสั่งสอนอุปัชฌาย์ อุปัชฌาย์ได้ใบตราตั้ง อุปัชฌาย์ต้องศึกษาแล้วต้องสอบผ่านใบตราถึงได้เป็นอุปัชฌาย์มา ฉะนั้น การบวชพระมันผ่านจากอุปัชฌาย์ ทีนี้อุปัชฌาย์ ถ้าตามวินัย เห็นไหม ตามวินัยบัณเฑาะก์บวชไม่ได้ สิ่งที่ว่ามนุษย์ มนุสโสสิ ผู้มีหนี้มีสินต่างๆ บวชไม่ได้ แต่นี่เป็นข้อบัญญัตินะ เป็นวินัย เป็นข้อบัญญัติไว้ จะเป็นสงฆ์หรือไม่เป็นสงฆ์ แต่เวลาที่ว่าเขามาบวช ปัญหาสังคมๆ ไง
ปัญหาสังคม เห็นไหม ดูสิในเมื่อสังคมของเขา สังคมว่าใครเดือดร้อนมาศาสนาเป็นที่พึ่ง ใครมีเจตนามาอยากจะพ้นจากทุกข์ก็มาบวชในศาสนา นี่มันเป็นปัญหาสังคม ถ้าปัญหาสังคมขึ้นมา สังคมเขาจะช่วยเหลือเจือจานกันเขาจะมีจิตใจหยาบละเอียดอย่างไร ทีนี้ปัญหาสังคมส่วนปัญหาสังคมสิ ปัญหาสังคมเรื่องปัญหาสังคมใช่ไหม แต่ปัญหาธรรมวินัยเป็นปัญหาธรรมวินัย แล้วอุปัชฌาย์อาจารย์ อุปัชฌาย์ผู้ที่ยกเข้าหมู่ นี่มันอยู่ตรงนั้นไง
ฉะนั้น มาถามเรา นี่เราไม่ใช่อุปัชฌาย์ เราไม่ใช่อุปัชฌาย์ เราไม่ได้อยู่ในปัญหานั้น ถ้าปัญหานั้นมันมีผู้รับผิดชอบ ผู้รับผิดชอบ เวลาจะรับผิดชอบปัญหา เวลารับผิดชอบบวชได้หรือบวชไม่ได้ ถ้าบวชได้หรือบวชไม่ได้ นี่ยิ่งอุปัชฌาย์ที่ได้บวชกุลบุตรมามาก ประสบการณ์จะมีมาก อะไรบวชได้ อะไรบวชไม่ได้ เห็นไหม ดูสิเวลาคนบวชเขาบอกว่าถ้า ๑๙ ปี ๘ เดือน นับในท้องอีก ๙ เดือน เขาคำนวณกัน มันก็เหมือนวินัย วินัยเขาจะคำนวณกันว่ามันเริ่มต้นตั้งแต่เมื่อไหร่ สุดตั้งแต่เมื่อไหร่
นี่ก็เหมือนกัน อายุบวช ๒๐ ปีไง ๒๐ ปีถึงจะเป็นพระได้ แล้วคนเขาอยากจะบวชมากเพราะเขามีความจำเป็นของเขา แล้ว ๑๙ ปี ๘ เดือน ๑๙ ปี ๗ เดือน มันไม่ครบ ๒๐ ปี อุปัชฌาย์ก็นับเลยนะในท้องอีก ๙ เดือน นี่ประสบการณ์ของอุปัชฌาย์ถ้าอยู่ไปอุปัชฌาย์เขาจะมีประสบการณ์ของเขา นี่มันเป็นปัญหาสังคม ปัญหาสังคมๆ หนึ่ง ปัญหาสังคมนั้นเวลาบวชพระเข้ามาแล้ว มันจะเข้ามาเป็นหมู่สงฆ์แล้วมันจะกระทบกระเทือนกันในหมู่สงฆ์หรือไม่ ถ้าหมู่สงฆ์เป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์
นี่ไงมันเป็นที่ว่าเวลาเราที่มีครูบาอาจารย์ที่ดี ครูบาอาจารย์ที่ชัดเจนขึ้นมามันก็ทำให้สังคมเราปฏิบัติชัดเจน เห็นไหม อย่างเช่นหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านเป็นครูบาอาจารย์ของเรา ท่านเป็นครูบาอาจารย์ของเรา สิ่งใดมีขาดตกบกพร่องท่านจะขึ้นไปหาอาจารย์ ท่านอาจารย์จะวินิจฉัยทันที เราอยู่บ้านตาดก็เหมือนกัน เวลามีสิ่งใดที่เราไม่เข้าใจในธรรมวินัย เห็นไหม เพราะในธรรมวินัยนะ นี่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดกับพระอานนท์
ต่อไปในอนาคต วินัยเล็กน้อย ถ้ามันอย่างไรก็ให้แก้ไขได้
เถรวาทเรา พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ เถรวาท พระเถระเป็นผู้ที่ร้อยกรองสังคายนาธรรมวินัยนี้มา ถามพระอานนท์ว่าเล็กน้อยคือแค่ไหน? พระอานนท์ตอบไม่ได้ว่าเล็กน้อยแค่ไหน ถ้าเล็กน้อยแค่ไหน นี่พระกัสสปะเป็นผู้ที่สังคายนา ก็เลยตั้งญัตติขึ้นมา บอกว่าเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว แล้วเราเป็นสาวก สาวกะ เป็นผู้ที่ดำรงธรรมวินัยไป แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านิพพานไปยังไม่กี่เดือนเราบอกว่าธรรมวินัยเล็กน้อยจะแก้ไขได้ มันจะทำให้ลัทธิศาสนาอื่นเขามองเข้ามาแล้วเขามีความสังเวช ก็เลยตั้งญัตติว่าเราจะไม่แก้ไข
ถ้าเราไม่แก้ไข เห็นไหม นี่สิ่งที่พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์เป็นผู้ที่สังคายนา นี่เป็นเถรวาท สิ่งที่เถรวาทนี่หินยาน แล้วมหายานของเขาล่ะ เขาทำของเขา เขามีความเห็นของเขา เขานับถือ นี่ถ้าเป็นมหายานนะเขาเรียกว่าอาจริยวาททำตามอาจารย์ของเขาไป ถ้าอาจารย์เขามีความเห็นขนาดไหนเขาก็ทำของเขาไป แต่ของเรา เวลาเราทำ เราปฏิบัติกันแล้วเราจะเทียบเคียงกับพระไตรปิฎกตลอดเวลา แต่ขนาดเทียบเคียงกับพระไตรปิฎกยังมีความเห็นต่าง ยิ่งปัจจุบันนี้ยิ่งยุ่งใหญ่เลย
ในปัจจุบันนี้มีพระออกมา มีแนวคิด แนวทาง มีความเห็นแตกต่างกันมหาศาลเลย แตกต่างมหาศาลเขายังไม่มีหลักไง ถ้าเขามีหลัก เห็นไหม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต เพราะเขาไม่เห็นตถาคต ถ้าเขาเห็นตถาคต นี่ธรรมวินัยที่พระเถรวาท ตั้งแต่พระกัสสปะที่ ๕๐๐ องค์ที่สังคายนามามันชัดเจนอยู่แล้ว ถ้ามันชัดเจน พอมันชัดเจนแล้วเรายังไปตีความ ตีความของเราประสาเราไปอีก นี่พูดถึงผู้ที่ความเห็นต่างนะ แต่ถ้าผู้นำที่ดี หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านพาทำของท่าน แล้วพาทำของท่าน ท่านพาทำแล้วท่านตรวจสอบของท่านด้วย แล้วทำให้เป็นหลักเป็นชัยกับหมู่คณะ
ถ้าหมู่คณะ เห็นไหม ถ้าผู้นำเป็นอย่างนี้เราก็มั่นใจ พอมั่นใจขึ้นมา ในการปฏิบัติเราก็สะดวก แต่ทีนี้กรณีอย่างนี้มันเป็นปัญหาสังคมด้วย มันเป็นปัญหาสังคมด้วย แล้วมันเป็นปัญหาอุปัชฌาย์ด้วย ถ้าอุปัชฌาย์ที่เห็นว่ามันถูกต้องอย่างไร อุปัชฌาย์ของเขา ฉะนั้น มาถามเรา ถามเราเราก็มีความเห็นอย่างนี้ เรามีความเห็นนะ เพราะ เพราะเราก็อยากจะให้มั่นคง อยากให้มั่นคง อยากให้ยั่งยืนตลอดไป ทีนี้มันยั่งยืนได้ขนาดไหน? เพราะแม้แต่ภาษา ภาษามันยังมีการเปลี่ยนแปลงภาษานะ ภาษายังมีชีวิต
สังคมก็เหมือนกัน สังคมเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เมื่อก่อนเราก็มีความเห็นว่าเราคิดว่าหลวงปู่มั่นทำอย่างใด เราก็พยายามจะเถรตรงแบบนั้น แต่นี้พอมองไปแล้ว มองไปแล้วสังคมมันเปลี่ยนแปลงไปเยอะมาก ถ้าสังคมเปลี่ยนแปลงไปเยอะมาก เราพยายามยืนหลักไว้มันก็ยังบอกว่าเรายังขวางโลกๆ ถ้ายังขวางโลกก็ส่วนขวางโลก แต่เราไม่ขวางธรรม ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะเราไม่ขวางธรรม
ถ้าเราไม่ขวางธรรม สิ่งนี้มันเป็นปัญหาสังคม สังคมของโลกก็เรื่องหนึ่ง สังคมของสงฆ์ก็เรื่องหนึ่ง ถ้าสังคมของสงฆ์ อุปัชฌาย์อาจารย์ อุปัชฌาย์เขาได้ศึกษามา เขาได้สอบผ่านการเป็นอุปัชฌาย์มา แล้วเขาบวชของเขามา เราจะว่าถูกว่าผิดได้อย่างไรล่ะ? มันก็เป็นอุปัชฌาย์ของเขามา เขามีฝ่ายปกครอง เขาต้องดูแลกัน เขาดูแลรักษาของมันไปใช่ไหม? แต่ในเรื่องสิทธิ เป็นสิทธิ์ของแต่ละบุคคล
สิทธิความเห็นในใจ สิทธิในใจที่เรารู้ เราเห็น เราเห็นด้วย ไม่เห็นด้วยมันเป็นสิทธิของเรา สิทธิของเรานั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ปัญหาสังคมที่เขาพูดกันอย่างนี้มันก็เป็นปัญหาสังคมใช่ไหม มันเป็นผู้มีหน้าที่เขาจัดการเขามีใช่ไหม? ถ้าผู้มีหน้าที่จัดการก็จัดการกันไป แต่สิทธิความเห็นของเรา เราขอสงวนไว้ในใจของเรา เอวัง