ธรรมเห็นชอบ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
เทศน์บนศาลา วันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๖
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
ตั้งใจฟังธรรมเนาะ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าค้นคว้ามาเป็นความจริงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนา นี่เวลาออกบวช เวลาออกบวชนั้นน่ะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนา ปรารถนาอยากจะพ้นจากทุกข์ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนาจะพ้นจากทุกข์ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น นี่พยายามแสวงหานะ
ถ้าพูดถึง ถ้าธรรมเห็นชอบมันก็เป็นตามความเป็นจริง แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เห็นชอบ ถ้าไม่เห็นชอบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะออกบวชทำไม ถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ออกบวช องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเป็นจักรพรรดิ จะได้ขึ้นครองราชย์อยู่แล้ว ถ้าขึ้นครองราชย์ทางโลก นั่นคือเป้าหมายของเขา ผู้นำชุมชน ผู้นำสูงสุดทุกคนก็ปรารถนา นี่เรื่องทางโลกนะ ทางโลกปรารถนากัน ยอมรับกัน ถ้ายอมรับเป็นผู้นำนี่มันมีอำนาจตามความเป็นจริง มีอำนาจกฎหมาย มีอำนาจการปกครอง มีอำนาจทุกอย่างเลย ทำไมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทิ้งสิ่งนั้นมา นั่นล่ะเพราะความเห็นชอบ เห็นชอบเพราะนั่นเป็นเรื่องของโลกไง
แต่เรื่องของสัจธรรม เห็นไหม เวลาไปเที่ยวสวนเห็นคนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย แล้วเห็นสมณะไง ถ้าเห็นสมณะ สมณะนั้น ผู้ที่จะพ้นจากทุกข์ เวลาออกประพฤติปฏิบัตินะ ด้วยความเห็นชอบ ความเห็นชอบ อยากประพฤติปฏิบัติ อยากจะพ้นจากทุกข์ อยากพ้นจากทุกข์ แต่ในเมื่อความเห็นชอบ เวลาประพฤติปฏิบัติไป นี่กิเลสตัณหาความทะยานอยากในหัวใจเอาไว้ไม่อยู่
นี่เวลาพยายามทำตบะธรรม พยายามจะไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ ทำมาทั้งนั้นแหละ ๖ ปี ทำทุกรกิริยามาตลอด สิ่งที่ทำมา นี่ความเห็นชอบ แต่มันมีกิเลสไง กิเลสทำให้เห็นผิด ถ้ากิเลสมีความเห็นผิด กิเลสทำให้สับสน กิเลสทำให้ออกนอกลู่นอกทาง กิเลสจะไม่เข้าสู่สัจธรรม ถ้าไม่เข้าสู่สัจธรรม ถ้าเป็นโดยที่เป็นพวกสาวกสาวกะอย่างพวกเรา ถ้าไม่มีอำนาจวาสนามันก็จะแถไปเรื่อย เห็นไหม เพราะมันมีคนไง มีคนรองรับ มีลัทธิต่างๆ ที่เขาประพฤติปฏิบัติกันอยู่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไปประพฤติปฏิบัติกับเขา
อาฬารดาบส อุทกดาบสบอกเลยนะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีความรู้เท่าเรา มีความรู้เสมอเรา เป็นอาจารย์สอนได้ คือเป็นอาจารย์สอนได้คือพ้นจากทุกข์ไง คือคนมีหลักตามความเป็นจริงไง แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปฏิเสธ เห็นไหม ปฏิเสธนะ แต่ถ้าเป็นพวกเราปฏิเสธไหม? นี่เป็นพวกเราไม่ปฏิเสธ เพราะเรามีกิเลส พอเรามีกิเลสขึ้นมาในหัวใจของเรา เราจะไม่สามารถแบ่งแยกถูกผิดได้ ถ้าไม่สามารถแบ่งแยกถูกแยกผิดได้ เราก็ต้องเชื่อตามความเห็นของเรา
ถ้าเชื่อตามความเห็นของเรา เห็นไหม นี่กิเลสเห็นผิด ถ้ากิเลสมันเห็นผิด เห็นผิดจากสัจธรรม เห็นผิดจากว่าธรรมะมีอยู่โดยดั้งเดิม นี่เวลาเขาบอกว่าธรรมะมีอยู่แล้ว ธรรมะมีอยู่แล้ว มันอยู่ที่ไหนล่ะ มันมีที่ไหนล่ะ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารื้อค้นๆ มันค้นมาจากไหนล่ะ ถ้ายังมีกิเลสมีความเห็นผิดอยู่ในใจ ความเห็นชอบมันมาจากไหน
นี่ธรรมเห็นชอบ เห็นชอบตามความเป็นจริง เป็นจริงอย่างสัจธรรมนั้น นี่ธรรมะมีอยู่โดยดั้งเดิม สัจจะที่มีอยู่ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้ว พอตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ อริยประเพณี ประเพณีของพระพุทธเจ้าทำอย่างใด จะดำรงชีวิตอย่างใด จะทำอย่างใด องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเล็งญาณ พระพุทธเจ้าในอดีตทำอย่างไร ท่านจะทำอย่างนั้น จะทำอย่างนั้น นี่มันมีอยู่แล้วๆ เพราะเหตุนั้น เพราะมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้มาตั้งแต่ต้นมาก็มี แล้วเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ มีความปรารถนา มีความมุ่งมั่น ต้องสร้างบุญญาธิการมามหาศาล นี่เพราะมีอำนาจวาสนาอย่างนั้น มีปัญญาอย่างนั้นถึงได้ออกบวช ออกบวช ออกประพฤติปฏิบัติ ออกค้นหาสัจธรรม นี่เวลาสร้างสมบุญญาธิการมาเป็นพระโพธิสัตว์ เห็นไหม สร้างสมมาเพราะเหตุนี้ เพราะเหตุนี้ไง
แต่ถ้าเราสร้างสมบุญญาธิการมาแล้ว พระโพธิสัตว์ๆ เวลาสร้างสมบุญญาธิการมา สร้างสมมาเพื่ออะไร? สร้างสมมาเพื่อสิ้นสุดแห่งทุกข์ แต่เวลาสร้างสมมา ถ้าเราสร้างสมมาเป็นพระโพธิสัตว์มา แต่เรายังติดในโลก นี่สร้างสมเป็นพระโพธิสัตว์มา แต่ก็อย่างว่าทางโลกๆ เห็นไหม นี่โลกธรรม ๘ มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ มีอำนาจวาสนาต่างๆ มีของคู่มา มันก็ปรารถนาไปอย่างนั้นไง นี่เวลาเป็นพระโพธิสัตว์ทำมาเพื่อเหตุใด? ทำมาเพื่อสิ้นสุดแห่งทุกข์ สิ้นสุดแห่งทุกข์มันคืออะไรล่ะ
เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะบอกกับพราหมณ์ เห็นไหม ถ้าศาสนาไหนไม่มีมรรค ศาสนานั้นไม่มีผล แล้วเวลาการประพฤติปฏิบัติ ศาสนาไหนไม่มีมรรค ศาสนานั้นไม่มีผล วิธีการปฏิบัติใดไม่มีมรรค วิธีการปฏิบัตินั้นผลไม่มี ถ้าผลไม่มี สิ่งที่มีผลต้องมีมรรค เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาด้วยสัจธรรมตามความเป็นจริงในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถึงได้ยืนยันสัจธรรมอันนี้ไง ถ้ายืนยันสัจธรรมอันนี้ เวลาประพฤติปฏิบัติไปเป็นความจริงขึ้นมา นี่บุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ชำระล้างกิเลสในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นไหม ไก่ตัวแรกที่เจาะฟองอวิชชาออกมา แล้วเสวยวิมุตติสุขๆ นี่ถ้าการปฏิบัติจริง เห็นไหม
ดูสิ ปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์มา สร้างสมบุญญาธิการมามหาศาล สิ่งใดถ้าประสบความสำเร็จ พระโพธิสัตว์เข้าฌานโลกีย์ได้ พระโพธิสัตว์ นี่รื้อสัตว์ขนสัตว์ รู้เห็น เล็งญาณ รู้ถึงการเกิดและการตาย รู้ถึงอดีตอนาคต รู้ไปหมด แต่ไม่เข้าสู่อริยสัจ ไม่เข้าสู่ความจริงเลย นั่นไม่ใช่ความจริง อันนั้นมันผลของฌานโลกีย์ อันนั้นมันเป็นอำนาจวาสนาบารมีของจิตแต่ละดวงที่สร้างสมมา
ฉะนั้น เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ตั้งแต่ว่าศาสนาไหนไม่มีมรรค ศาสนานั้นไม่มีผล มรรคญาณ ดูสิ สัจธรรมอันนี้เข้ามาชำระล้างในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พอชำระล้างกิเลสในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่ธรรมธาตุๆ ที่สะอาดบริสุทธิ์ เสวยวิมุตติสุข มันแตกต่างไปกับโลก นี่เวลาแตกต่างไปกับโลก เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกเสวยวิมุตติสุข พวกเราก็อยากรู้ว่าสุขเป็นอย่างไร สุขเป็นอย่างไร
เรารู้อยู่ว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่สมมุติบัญญัติ ถ้าสมมุติมันก็สมมุติไปแต่ละท้องถิ่นประเพณีที่ภาษาสมมุติเขา ที่ไหนเสียง นิรุกติศาสตร์ ถ้ามีเสียงที่สื่อความหมายกันได้ ๒ คนขึ้นไป นั้นเป็นภาษา นี่ไง ถ้าเป็นภาษา นี่ภาษาสมมุติไง นี่สมมุติบัญญัติๆ ถ้าสมมุติอย่างนั้นมันสมมุติกันไปแล้วแต่ภาษาของแต่ละท้องถิ่น ในท้องถิ่นในชุมชนเขาใช้ภาษาพื้นถิ่นของเขา นี่สมมุติ ฉะนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก ถ้าสิ่งนั้นแล้วมันจะฟั่นเฝือ เห็นไหม บัญญัติ
นี่ไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบัญญัติธรรมและวินัย พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ตรัสรู้ธรรมเองโดยชอบ แต่เวลาสั่งสอนก็สอนในความรู้ของพระปัจเจกพุทธเจ้า แต่ไม่ได้บัญญัติไว้ๆ นี่ศาสนาถึงไม่มั่นคง ไม่เจริญก้าวหน้าไป นี่คืออำนาจวาสนาบารมีของพระปัจเจกพุทธเจ้า แต่ถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าล่ะ นี่สมมุติบัญญัติ สมมุติบัญญัติ ถึงว่าสุขเวทนา ทุกขเวทนา ไอ้พวกเราภาษาสมมุติก็ว่าอยากสุข อยากร่ำอยากรวย อยากรู้อยากเห็น อยากเป็น อยากไปหมด ถ้าอยากอันนั้น นี่สมมุติ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมมุติ สิ่งใดเป็นทุกข์ กิเลสเป็นอธรรม นี่กุศลธรรม อกุศลธรรม แต่ถ้าธรรมะกับอธรรม
ถ้าเป็นอธรรม อธรรมมันพาไปไหนล่ะ? มันพาออกนอกลู่นอกทางไปทั้งนั้นแหละ แต่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเวลาบัญญัติขึ้นมา สิ่งใดผิดสิ่งใดถูกก็องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบัญญัติขึ้นมา นี้บัญญัติขึ้นมา บอกวิมุตติสุขๆ เราก็อยากรู้ว่าวิมุตติสุขเป็นแบบใด มีความสุขนะ ถ้าธรรมเห็นชอบ
นี่ความชอบธรรม ทุกคนปรารถนา แม้แต่อยู่ทางโลกที่เขาชิงกัน เขาชิงกัน ความถูกต้อง ชิงกัน ความที่ดีงาม ทั้งๆ ที่ความดีงาม เห็นไหม เป็นความดีงามก็เลยตะครุบเงากัน ว่าจะทำคุณงามความดี ทำคุณงามความดี ถ้าทำคุณงามความดี คุณงามความดีแบบพระปฏิบัติเรานะ ครูบาอาจารย์เราท่านทำคุณงามความดี ทำคุณงามความดีในใจของท่าน ท่านทำจริงทำจังของท่าน เอาใจของท่านเอาไว้ในอำนาจของท่าน แล้วท่านใช้ปัญญาของท่าน พิจารณาของท่านไปจนท่านถึงที่สุดแห่งทุกข์ อันนั้นมันมีความจริงในใจ เห็นไหม นี่ถ้าทำคุณงามความดี ทำคุณงามความดีอย่างนี้มันเป็นความปรารถนาของชาวพุทธเรา
ฉะนั้น เวลาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุข ความสุขอย่างนั้น อย่างพวกเราเกิดมาขี้ทุกข์ขี้ยาก เกิดขึ้นมาขี้ทุกข์ขี้ยาก เพราะจิตใจมันต่ำต้อย จิตใจแสวงหาแต่เรื่องสิ่งใด แสวงหา เห็นไหม ดูสิ ยิ่งเราเกิดมาในสมัยปัจจุบันนี้ ปัจจุบันนี้สื่อสารมวลชนเร็วมาก สื่อต่างๆ ไปรุนแรงมาก แล้วเราก็ศึกษาแต่เรื่องสื่ออย่างนั้นมา หัวใจมันเร่าร้อน มันอยากมีอยากเป็นอย่างเขาไปทั้งนั้นแหละ นี่คุณภาพชีวิตๆ ให้เขาปั่นหัวกัน นี่เป็นเหยื่อไง เป็นเหยื่อของโลก ทั้งๆ ที่เกิดมากับโลกนะ แล้วมันก็เป็นเหยื่อเขาอีกชั้นหนึ่งนะ เพราะไม่ได้ศึกษาธรรม
ถ้าศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพพาน ภิกษุทั้งหลาย เธอจงพิจารณาสังขารด้วยความไม่ประมาทเถิด โลกนี้จะไม่ว่างจากพระอรหันต์เลย ถ้าไม่มีความประมาทไง ไม่มีความประมาทในอะไรล่ะ
ถ้าเรามีสติปัญญา เห็นไหม เราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่ปัจจัยเครื่องอาศัย ดูสิ ปัจจัย ๔ ปัจจัย ๔ พอแล้ว เดี๋ยวนี้การโฆษณาของเขา เห็นไหม ปัจจัยที่ ๕ ปัจจัยที่ ๖ มันมีความจำเป็นไปหมดแหละ
นี่มีความจำเป็นไปต่อเมื่อเขาทำหน้าที่การงานทางโลกเขา เขาแข่งขันกันด้วยกาลเวลาของเขา แต่ถ้าเราเป็นพระล่ะ เราเป็นพระ เรามีปัจจัย ๔ เราพอแล้ว ถ้าเรามีปัจจัย ๔ มันไม่พะรุงพะรังจนเกินไป ถ้ามันมีปัจจัยที่ ๕ ปัจจัยที่ ๖ ขึ้นมา มันเป็นภาระไปทั้งนั้นแหละ พอเป็นภาระต้องดูแลรักษามัน แล้วยังได้ข้อมูลข่าวสารมา ทำจิตใจให้มันทุกข์ให้มันยากไปใช่ไหม
นี่เราเสียสละกันมา เห็นไหม เพราะเรามีอำนาจวาสนา เพราะเรามีอำนาจวาสนา เราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว นี่ธรรมเห็นชอบ พอธรรมเห็นชอบ มันทำให้จิตใจเราไม่ไหลไปตามกระแสโลก อยู่กับโลกแต่ไม่ไหลตามกระแสโลกนะ เพราะมันเห็นชอบ เห็นชอบมันก็ไม่ขัดแย้งกับความขัดข้องหมองใจใช่ไหม
แต่ถ้ามันเห็นผิด นี่กิเลสมันเห็นผิด ถ้ากิเลสเห็นผิด มันชอบอย่างนั้น กิเลสตัณหาความทะยานอยาก เห็นไหม วัวใครเข้าคอกมัน วัวของใครก็เข้าคอกของคนนั้นแหละ ถ้าความคิดของกิเลส มันก็ไปสุมอยู่ที่กองกิเลสนั่นแหละ
แต่ถ้ามันเป็นธรรมล่ะ ถ้ามันเป็นธรรม เห็นไหม เรามีสติมีปัญญา ภิกษุทั้งหลาย เธอควรพิจารณาสังขารด้วยความไม่ประมาทเถิด ถ้ามันไม่ประมาท มันมีสติ มีสติมันก็ยั้งคิดได้ ถ้ายั้งคิดได้ มันสมควรหรือไม่สมควร เรามีความจำเป็นแค่ไหน นี่ในชีวิตเรา เรามีความจำเป็นจะต้องเห่อเหิมไปกับเขาขนาดนั้นเชียวหรือ สิ่งนั้นมันเป็นเรื่องการตลาด ยุยงส่งเสริมให้คนบริโภค ยุยงส่งเสริมให้คนแสวงหา แสวงหามาทำไม? แสวงหามากองไว้ในบ้าน แล้วก็เป็นขี้ข้าดูแลมันไป แล้วเวลาใช้สอย ใช้สอยมากน้อยขนาดไหน
นี่เราจะเป็นขี้ข้าเขาขนาดไหน ถ้าเราไม่เป็นขี้ข้าเขา ดูสิ เราเป็นชาวพุทธใช่ไหม ถ้าชาวพุทธ เราดูครูบาอาจารย์ของเราสิ ครูบาอาจารย์ของเรามีผ้า ๓ ผืน เช้าขึ้นมาบิณฑบาตเป็นวัตร เลี้ยงชีพด้วยปลีแข้ง ปัจจัยเครื่องอาศัยก็อยู่ในเรือนว่าง ชีวิตของเขาทำไมมันอยู่ได้ล่ะ นี่ฉันอาหารก็ฉันอาหารมื้อเดียว ทำไมพระเขาอยู่ได้ ถ้าสังคมมองว่าพระเป็นตัวอย่างนะ นี่เราไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย เราไม่ใช้จ่ายของเราจนเกินกำลังของเรา เราจะไม่ทุกข์หรอก
สิ่งที่ทุกคนบอกทุกข์เพราะเป็นหนี้ ทุกข์เพราะไม่พอใช้จ่าย แต่ไม่พอใช้จ่าย ไม่พอใช้จ่ายที่ไหน เพราะใจมันเร่าร้อน เพราะใจ เห็นไหม นี่กิเลสเห็นผิด เห็นผิดว่าเราเป็นชาวพุทธไง แล้วชาวพุทธ เวลากิเลสมันเห็นผิดไปแล้วมันก็ย้อนกลับมาทำลายตัวเองนะ
พุทธศาสนาบอกว่าทำบุญกับครูบาอาจารย์ของเรา พุทธศาสนาบอกทำบุญกับพระ ถ้าทำบุญกับพระ เนื้อนาบุญของโลก ทำบุญกับพระแล้วต้องมีบุญกุศล ต้องร่ำรวยมหาศาล นี่มันคิดไปนู่นนะ มันคิดไปนู่น การกระทำมันไม่คิดถึงหัวใจของเราเลย สิ่งที่ทำ อำนาจวาสนาของคนนะ เกิดมานี่เกิดมาสว่าง เกิดมาสว่างก็เกิดมามั่งมีศรีสุข เกิดมาสว่าง แล้วจะไปสว่างหรือจะไปมืดล่ะ ถ้าจะไปสว่าง ถ้าศึกษาพุทธศาสนา พุทธศาสนาบอกให้มีความกตัญญูกตเวที ให้หมั่นประหยัดมัธยัสถ์ ให้รู้จักบริโภค ให้รู้จักคบมิตร พระพุทธเจ้าสอนหมดแหละ ถ้ามันมีปัญญา เกิดมาสว่างมันก็ไปสว่าง ถ้าเกิดมามืดล่ะ เกิดมามืด เราก็เกิดมาเป็นคน เกิดมามืด แต่ถ้ามีอำนาจวาสนา เราพยายามตั้งใจของเรา เราหมั่นเพียรของเรา มันก็สว่างได้ ของมันสว่างได้นะ
ดูสิ สมัยโบราณนะ เสื่อผืนหมอนใบอพยพกันมา นี่เป็นเศรษฐีโลกกันหมด ทำไมเขาทำได้ล่ะ แต่ส่วนใหญ่นี่อพยพเสื่อผืนหมอนใบมาก็แล้วแต่ ถ้าเขาล้มลุกคลุกคลาน เพราะเขาไม่รู้จักประหยัด ไม่รู้จักมัธยัสถ์ ไม่รู้จักมีสติมีปัญญาเพื่อค้นคว้า เพื่อแก้ไข เพื่อมีการกระทำของเขา ถ้าใครมีของเขา เขามีโอกาสของเขา เห็นไหม นี่อำนาจวาสนา
ฉะนั้น ถ้ากิเลสมันเห็นผิด ถ้าเห็นผิดไปแล้วมันก็ออกนอกลู่นอกทางไป เราเป็นชาวพุทธ เราภูมิใจกันมากนะ เมืองไทยนี่ชาวพุทธ ๙๐ เปอร์เซ็นต์ นี่เมืองไทยเป็นชาวพุทธ เวลาเราไปภูมิใจ นี่กิเลสเห็นผิด เพราะเราเป็นชาวพุทธแล้วนี่ เราภูมิใจแล้วนี่ ชาวพุทธ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา พวกเรามีปัญญามาก พวกเราเป็นนักปราชญ์ทั้งนั้นแหละ
นักปราชญ์ ทำไมไม่รู้จักรักษาใจของตัว นักปราชญ์ ทำไมไม่รู้จักสิ่งที่เป็นอริยทรัพย์ สิ่งที่ในพุทธศาสนา สิ่งที่มีคุณค่ามันอยู่ที่ไหน เวลาเราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา เราว่าเรารู้เราเข้าใจไปหมดแหละ แต่การดำรงชีวิตล่ะ ทำไมปล่อยให้กิเลสมันขี่หัว มันครอบงำได้ขนาดนั้น
แต่ถ้าเวลาเราเป็นธรรมล่ะ คนที่เป็นธรรมนะ ถ้าธรรมเห็นชอบ เขาดำรงชีวิตของเขา ประหยัดมัธยัสถ์ของเขา เขาจะมั่งมีขนาดไหน เขาก็ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยหรอก คนที่เป็นคนดีนะ เขาจะมีมากมีน้อย เขาก็ใช้จ่ายด้วยความประหยัดมัธยัสถ์ของเขา เพื่อให้เป็นตัวอย่างที่ดีกับลูกหลานของเขา ให้เป็นตัวอย่างที่ดีกับสังคมว่าเขามั่งมีศรีสุข แต่เขารู้จักประหยัดมัธยัสถ์ ใช้จ่ายพอเป็นเครื่องอาศัย สิ่งที่เหลือ สิ่งที่เหลือถ้าทำประโยชน์ได้ เขาทำประโยชน์กันต่อไป นี่ถ้าธรรมเห็นชอบ การดำรงชีวิตของเขา การใช้ประโยชน์กับทรัพยากรของเขา เขาเหลือสิ่งที่เป็นทรัพยากรของเขาเพื่อมาสร้างบุญกุศล เห็นไหม
ถ้าใครมีใจที่เป็นธรรม เขาทำสาธารณประโยชน์ ทุกคนได้ใช้สอยประโยชน์จากเขา เวลาเขาตายไป เขาไปเกิดเป็นพระอินทร์ นี่เป็นพระอินทร์ เพราะเขาตายไป แล้วเขาสร้างแต่คุณงามความดี เราก็สร้างคุณงามความดีเหมือนกัน เวลาเราตายไป เราก็ไปเกิดเป็นเทวดาเหมือนกัน แต่ไปเกิดเป็นเทวดาในใต้ปกครองของพระอินทร์ เพราะอะไร เพราะพระอินทร์เขาได้สร้างสาธารณประโยชน์ สร้างถนน สร้างแหล่งน้ำ สร้างประโยชน์สาธารณะประโยชน์ทั้งนั้นแหละ แล้วใครใช้สอยล่ะ เราใช้สอย นี่ใช้สอยของใครล่ะ เขาได้บุญกุศลของเขาไปหมด เพราะจิตใจของเขา นี่ธรรมเห็นชอบ จิตใจเขาเป็นธรรม
จิตใจของคนมีกิเลสนะ ไม่ใช่ของเรา มันเอาป้ายไปติด ใครทำไว้มันก็เอาป้ายไปติด นี่เราเป็นคนทำ เราเป็นคนทำ นี่มันจะชิงดีชิงเด่น มันชิงชั่ว นี่กิเลสมันเห็นผิด มันเป็นอย่างนั้นแหละ ถ้ากิเลสมันเห็น
นี่ถ้าธรรมเห็นชอบๆ เห็นไหม แม้แต่การดำรงชีวิตของเรา แม้แต่การดำรงชีวิตของเรานะ สุขภาพก็ไม่เสียหายไป จริตนิสัยก็ไม่เสียนะ ใครถ้าไม่มีสติปัญญา มีเงินมีทองทำให้คนเสียได้ ทำให้คนคนนั้นเสียคนไปเลย แต่ถ้าคนมันธรรมเห็นชอบ เราจะมีมากมีน้อยก็แล้วแต่ เราจะดูแลรักษาทรัพย์สมบัติของเรา เราใช้เพื่อประโยชน์ในการดำรงชีวิต
ชีวิตก็มีเท่านี้ กินอิ่มนอนอุ่นเหมือนกัน สิ่งที่มีเครื่องใช้สอยเหมือนกัน แต่ถ้าหัวใจเป็นธรรมนะ มันพอใจ มันไม่ดิ้นรนขวนขวายแล้วให้หัวใจเร่าร้อน ให้มีแต่ความทุกข์ตรอมใจนะ นี่จะมั่งมีเงินจรดฟ้าเลย ถ้ามันไม่พอใจนะ ขนาดไหนมันก็ทุกข์ เห็นไหม แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมานี่วิมุตติสุขๆ อยู่ในป่าในเขานะ อยู่โคนต้นไม้ เวลาเสวยวิมุตติสุขอยู่โคนต้นไม้ เวลาฝนตก พญานาคแผ่พังพาน สิ่งต่างๆ ทำเพื่อประโยชน์สิ่งใดล่ะ
สิ่งที่เป็นประโยชน์ เขาอยากได้บุญกุศลของเขา แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จิตเวลามันปล่อยวางหมด มันเป็นความจริงขึ้นมา ไม่มีเม็ดหินเม็ดทรายอยู่ในใจเลย นี่วิมุตติสุข เราปรารถนาอย่างนั้นกัน แล้วเวลาเราปรารถนาอย่างนั้นกัน เราเป็นชาวพุทธ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา เราว่ามีปัญญา มีปัญญาขึ้นมาก็ปัญญาทางโลกไง ปัญญาทางโลก ถ้าเรารักษาทรัพย์สมบัติ รักษาสติปัญญาของเรา สติปัญญารักษาหัวใจของเรา ถ้ามีสติปัญญา เห็นไหม นี่ความเห็นชอบๆ ความชอบธรรมทำให้ชีวิตเราราบรื่น ราบรื่นหมายความว่าหัวใจมันไม่ขัดแย้ง หัวใจไม่เผาลนตัวเอง แต่ความเป็นอยู่ของโลกมันอยู่ที่อำนาจวาสนา
คนเรา เห็นไหม ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เผยแผ่ธรรมไปนะ พราหมณ์นิมนต์ไว้ให้จำพรรษา ให้จำพรรษาแล้ว เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารับนิมนต์เขาจำพรรษา ในพรรษานั้นเกิดข้าวยากหมากแพง ข้าวยากหมากแพง ประชาชนเขาไม่มีปัญญาที่จะเลี้ยงดูพระได้ พราหมณ์ที่นิมนต์ไว้ก็มารดลใจให้ลืมไปเสีย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปบิณฑบาตที่ไหนก็แล้วแต่ขาดแคลนไปหมด
แต่ด้วยอำนาจวาสนานะ มีผู้ที่เขาขายม้าต่าง เขามาพักหลบฝนอยู่ที่นั่นเหมือนกัน เขาใส่บาตรเฉพาะข้าวที่เขาเลี้ยงม้า นี่พระอานนท์เอาสิ่งนั้นมาบดนะ บดให้มันเป็นผงแล้วถวายองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะภิกษุเราทำอาหารให้สุกเองไม่ได้ ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีวาสนาขนาดนั้นนะ ดูสิ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ให้เอตทัคคะพระสีวลีว่าเป็นผู้มีลาภมาก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำมาลาภมากกว่านั้นอีก แต่ถึงคราวที่ว่าเวลาถึงคราวที่เป็นแบบนั้น นี่ชีวิตของคนมันมีลุ่มๆ ดอนๆ ทั้งนั้นแหละ ใครมันจะสมประโยชน์ตลอดต่อเนื่องกันไป หัวใจของคนก็ยิ่งกว่านั้น
เวลาออกพรรษาขึ้นมา พระโมคคัลลานะทนไม่ได้ พยายามจะพาพระไปบิณฑบาตทวีปอื่นต่างๆ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่อนุญาต ไม่อนุญาต ออกพรรษาแล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าพวกนี้ชนะแล้ว ชนะอะไร? ชนะสิ่งที่เป็นทุกข์ความขัดแย้งในใจไงว่าทำไมมันทุกข์มันยากอย่างนั้น
นี่ออกพรรษาแล้วพราหมณ์ระลึกได้ว่านิมนต์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจำพรรษาอยู่ในเมืองของตัว แล้วลืมใส่บาตรทั้งพรรษา ออกพรรษาแล้วได้ไปขอขมาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วนิมนต์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าไปฉันในเมือง นี่เวลามันมี แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาพราหมณ์นิมนต์ไว้ยังลืมใส่บาตรทั้งพรรษา แล้วเกิดข้าวยากหมากแพงอีกด้วย นี่พูดถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ด้วยความสุข นี่วิมุตติสุขๆ ไม่เดือดร้อนเลย แต่พระที่ยังมีอยู่ ยังมีความขาดแคลนอยู่ จิตใจยังมีกิเลสอยู่ นี่เดือดร้อนๆ ความเดือดร้อน เห็นไหม
วิมุตติสุข สุขที่ความเป็นจริง สิ่งที่เป็นจริงๆ กับสุขที่ว่าสุขเวทนา ทุกขเวทนา มันเป็นเรื่องโลกๆ ฉะนั้น สิ่งที่เรามีอำนาจวาสนา เราพยายามทำใจของเรา ถ้าเราศึกษาแล้ว คำว่า ทำใจ เราจะหา เราจะฝึกฝนใจของเรา ฝึกฝนใจของเราให้ใจเรามั่นคง ให้ใจเราได้สัมผัส ปัจจัตตัง สันทิฏฐิโก ถ้าใจมันได้สัมผัสสัจจะความจริง มันจะเป็นความจริงขึ้นมาไง ถ้าเป็นความจริงขึ้นมา เห็นไหม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุข เราก็ว่ามันเป็นได้อย่างไร มันเป็นได้อย่างไร
ฉะนั้น ถ้าเราอยากให้เป็นอย่างนั้น เราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว เราต้องประพฤติปฏิบัติ ทีนี้เวลาประพฤติปฏิบัติ บำเพ็ญเพียรตบะธรรม เราบำเพ็ญเพียรนะ เราบำเพ็ญเพียรกัน เราทำตบะธรรมกัน เวลาทำตบะธรรม เห็นไหม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาเทศนาว่าการ เล็งญาณจะรื้อสัตว์ขนสัตว์นะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุขมา นี่พุทธกิจ ๕ เช้าจะเล็งญาณว่าจิตดวงใดมีอำนาจวาสนาที่จะสามารถรับธรรมนั้นได้ แล้วจิตดวงนั้นอายุขัยสั้น จะไปรื้อสัตว์ขนสัตว์ผู้นั้นก่อน
นี่เล็งญาณ เช้าไปบิณฑบาต ถ้าผู้ใด สิ่งที่อำนาจวาสนาเขามากน้อยแค่ไหน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าเป็นฆราวาสที่จิตใจของเขา เพื่อให้เขามั่นคงในศาสนา อนุปุพพิกถา เทศน์เรื่องทาน เรื่องศีล เรื่องเทวดา ถ้าพูดถึง ทำทานแล้วจะได้บุญกุศลไปเกิดเป็นเทวดา ให้เนกขัมมะ ให้ประพฤติปฏิบัติ
ถ้าจิตใจเขาควรแก่งาน จิตใจเขาอ่อนนิ่ม คือจิตใจเขาเป็นสมาธิ จิตใจเขามั่นคง ควรแก่การงาน ควรแก่อริยสัจ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเทศน์เรื่องอริยสัจ เห็นไหม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ ท่านดูในหัวใจของสัตว์โลกว่าหัวใจของสัตว์โลกมันควรมากน้อยแค่ไหน นี่ควรมากน้อยแค่ไหน แล้วท่านถึงเทศนาว่าการจำเพาะ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีอนาคตังสญาณ มีฤทธิ์มีเดช สามารถรู้วาระจิตของเราได้ ว่าเราควรหรือไม่ควรขนาดไหนที่ควรจะเทศน์มากน้อยขนาดไหน จะสั่งสอนได้มากได้น้อยขนาดไหน
นี่เวลาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นแบบนั้น แล้วเวลาเทศนาว่าการไป เวลาคนที่มีอำนาจวาสนา เอาคนนั้นก่อน แล้วไปเทศน์พาหิยะทีเดียวเป็นพระอรหันต์เลย เวลาไปเทศน์ชฎิล ๓ พี่น้อง เห็นไหม เขาก็มีอำนาจวาสนาของเขา แต่เขาบูชาไฟของเขา เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราก็บูชาไฟเหมือนกัน เราก็บูชา แต่เราไม่บูชาเหมือนเธอ
นี่บูชาไฟ เขาบูชาไฟเพราะนั่นเขาได้ฤทธิ์ได้เดชของเขา เขาได้ฌานสมาบัติของเขา แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โทสัคคินา โมหัคคินา ความโกรธเป็นราคะ ความโลภเป็นไฟเผาเรา ความโกรธเป็นไฟเผาเรา ความหลงเป็นไฟเผาเรา นี่โทสัคคินา โมหัคคินา ตบะธรรม พิจารณาไป ชฎิล ๓ พี่น้องเป็นพระอรหันต์หมด
สิ่งที่เป็นพระอรหันต์ นี่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารื้อสัตว์ขนสัตว์ รื้อสัตว์ขนสัตว์อย่างนั้น แต่เราจะประพฤติปฏิบัติล่ะ นี่ถ้าธรรมเห็นชอบนะ เราก็จะเริ่มทำความสงบของใจของเราเข้ามา ถ้ากิเลสมันเห็นชอบ กิเลสมันบิดเบือนของมันไป ถ้าบิดเบือนของมันไป การประพฤติปฏิบัติของเราก็ลุ่มๆ ดอนๆ ทั้งนั้นแหละ
แต่ถ้าเรามีอำนาจวาสนา นี่ถ้าธรรมเห็นชอบ เรามีสติมีปัญญามาตั้งแต่ต้น การดำรงชีวิตของเรา เราก็ดำรงชีวิตของเราให้เป็นธรรม เวลาเราบวชพระมา เห็นไหม เราพอใจ เราพอใจในข้อวัตรปฏิบัติ เราพอใจในข้อวัตร เราพอใจในการกระทำของเรา นี่เวลาเราประพฤติปฏิบัติ เราฟังธรรมของครูบาอาจารย์ สิ่งที่เป็นธรรมๆ มันเตือนหัวใจของเรา ถ้ามันเตือนหัวใจของเรา เห็นไหม เพราะธรรมดาใจของเรามันคิดโดยธรรมชาติของมัน เวลาความเกิดดับ อารมณ์ความรู้สึกมันเกิดดับ มันเกิดดับของมันตลอดเวลา แล้วความเกิดดับนั้นมันก็สร้างอารมณ์ขึ้นมาแผดเผาในหัวใจของเราเหมือนกัน นี่เวลามันคิดเป็นความทุกข์ไป เวลามันคิดผิดไป นี่ถ้ากิเลสเห็นชอบ มันคิดผิดไป ทั้งๆ ที่ศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา มันก็คิดเข้าข้างตัวมัน มันก็คิดเห็นผิดของมันไป ผิดไปจากความเป็นจริง
แต่ถ้าธรรมเห็นชอบล่ะ ถ้าเราเห็นชอบขึ้นมา เห็นไหม ธรรมนี้เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาเราศึกษามา ศึกษาเป็นภาคปริยัติ นี่ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เวลาศึกษามานี่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการเพื่อความเข้าใจ เราบอกนี่เป็นปริยัติ เราต้องศึกษา
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาเทศนาว่าการ เทศน์กับใครก็แล้วแต่ ให้คนคนนั้นจิตใจเขาอ่อน จิตใจเขาเห็นบุญ เห็นโทษ เห็นบาป เห็นบุญ ให้รู้จักบาป รู้จักบุญ ถ้ารู้จักบาป รู้จักบุญ มันรู้จักแยกแยะอารมณ์ได้ ถ้ามันแยกแยะอารมณ์ได้ เห็นไหม อารมณ์ใดที่มันกระตุ้นให้จิตใจของเรามันส่งออก จิตใจของเราไปยึดมั่นถือมั่นแล้วมาแผดเผาเรา สิ่งนั้น อารมณ์อย่างนั้นเราควรปล่อยวางมันมา แล้วถ้ามันปล่อยวางได้ นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการนะ
ฉะนั้น เวลาครูบาอาจารย์ของเรา เวลาท่านจะให้เราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ท่านจะให้เราทำความสงบของใจเข้ามา ทำความสงบของใจเข้ามา สิ่งที่มันทำความสงบของใจ ถ้าใจมันสงบระงับเข้ามาได้ เห็นไหม สิ่งที่ใจมันสงบระงับเข้ามาได้เพราะธรรมเห็นชอบ เพราะมันมีความรู้ ความเห็นไง แต่ถ้ากิเลสมันเห็นชอบของมันล่ะ กิเลสมันเห็นผิดล่ะ กิเลสเห็นผิด มันก็มีความลังเลสงสัย เวลาประพฤติปฏิบัติไป กิเลสทั้งนั้นแหละ เพราะคนเราเกิดมามีกิเลส
ถ้าเวลาคนเกิดมามีกิเลส ทำสิ่งใดมันก็มีความเห็นผิดไป ถ้ามีความเห็นผิดนะ มันจะทำให้สงบเข้ามาได้อย่างไรล่ะ นี่มันไม่สงบขึ้นมาเพราะการกระทำของเรา งานสิ่งใดก็แล้วแต่ งานอาบเหงื่อต่างน้ำเราก็ได้ทำกันมาแล้ว แต่เวลางานดูแลหัวใจของตัว เราจะเอาอะไรไปดูแลมันล่ะ เวลาเรามีสติ เห็นไหม ว่าเรามีสติ เราขับรถ เราทำงานสิ่งใด เรามีสติหมดแหละ ไอ้สติอย่างนั้นสติที่มันออกรู้โดยสามัญสำนึก แต่เวลามีสติที่มันทันความคิดล่ะ
มีสติ เห็นไหม ดูสิ เวลาครูบาอาจารย์ให้เรามีคำบริกรรม กำหนดพุทโธๆ ในหัวใจกำหนดพุทโธ นี่ท่านมีอุบายของท่าน ท่านมีอุบายของท่านว่าธรรมดาใจมันคิดตลอดเวลา เห็นไหม ถ้ามันคิดของมันตลอดเวลา นี่สัญชาตญาณเป็นแบบนั้น บังคับให้มันคิดพุทโธซะ ถ้าเราไม่มีกำลัง เราไม่มีความสามารถที่จะทำอย่างอื่นได้ เราพยายามระลึกถึงพุทโธซะ พุทธานุสติ เราคิดถึงครูเอกของเรา เราคิดถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน พุทโธ ธัมโม สังโฆ เราบังคับให้มันระลึกพุทโธๆ นี่ธรรมเห็นชอบ พอได้ธรรมเห็นชอบขึ้นมา กิเลสมันเห็นผิด พุทโธไปก็ลำบาก พุทโธไปแล้วมันก็ไม่อยู่ นี่ทำไมเราไปบั่นทอนตัวเราเองล่ะ
ดูสิ เวลาเรากินเราอยู่ เรากิน เราก็อิ่ม เราอยู่ในที่ร่ม มันก็ร่มเย็น นี่เวลาเราไม่ได้กินมันก็หิวกระหาย เวลาตากแดดตากฝนมันก็ทุกข์มันก็ยาก นี่ไง มันก็รู้มันก็เห็นของมัน เวลาเรากินเราอยู่ เราก็รู้ว่าถ้าเรากินแล้วมันก็อิ่ม กินแล้วมันก็อิ่มหนำสำราญ ถ้าเราไม่มีจะกิน เราก็ทุกข์
นี่ก็เหมือนกัน เวลาเราจะพุทโธๆ เราก็ทำไม่ได้ พุทโธเราก็พุทโธไม่ได้ ทำแล้วมันก็ไม่มีผล จิตใจมันก็ไม่ได้สัมผัส มันก็ไม่ได้กินไง พอไม่ได้กิน คนไม่ได้กินมันจะบอกว่ามันอิ่มได้ไหม คนเราไม่กินอาหารมันก็ทุกข์ยาก มันก็หิวโหย หิวกระหายไปตลอดเวลาแหละ แต่คนใดถ้ามันได้กินอาหารขึ้นมา ได้กินตกถึงท้อง แล้วกินจนมันอิ่ม มันก็รู้ว่ามันอิ่ม แล้วเวลาเราบอกเราจะกิน เราจะกินอาหาร นี่เราระลึกถึงพุทโธ เสวยอารมณ์ไง
พุทโธๆๆ ถ้ามันกินของมัน ถ้าเราได้ตักอาหารใส่ปากแล้วเคี้ยวกลืนเข้าไปในกระเพาะเรานี่ เราจะอิ่มไหม? แน่นอน อิ่ม แต่เวลาเราพุทโธๆ ทำไมมันหิวมันกระหาย แล้วทำไมมันทุกข์มันยาก นี่กิเลสเห็นผิด มันลังเลสงสัย มันไม่แน่ใจของมัน
เวลาเขากินอาหาร เขาต้องตักอาหารใส่ปากนะ เขาไม่ตักอาหารใส่จมูกหรอก นี่เราไม่ตักใส่จมูก เราตักใส่หูเลย อาหารมันก็ยัดใส่หูเลย จะให้มันลงกระเพาะ มันเป็นไปได้ไหม อาหารเขายัดใส่หู มันไม่ลงกระเพาะหรอก เขาต้องใส่ปาก พอใส่ปาก เคี้ยวกลืนเข้าไปมันก็ลงสู่กระเพาะ ลงสู่ลำไส้ใหญ่
นี่ก็เหมือนกัน พุทโธๆ สักแต่ว่าทำ นี่กิเลสมันเห็นผิด ถ้าธรรมเห็นชอบนะ เรามีความมั่นคง เรามีความเชื่อมั่นของเรา เรากำหนดพุทโธของเรา พุทโธๆ ไป ถ้าพุทโธไป มันแฉลบ มันแบบว่ากิเลสมันเรื่องหยาบๆ เรื่องการกระทำสิ่งที่มันหยาบ มันจะทำให้สมความปรารถนา กิเลสมันต่อต้านทั้งนั้นแหละ มันต่อต้านโดยที่เราไม่รู้ตัว
ทั้งๆ ที่เราเป็นชาวพุทธ เราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราเชื่อมั่นในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเราประพฤติปฏิบัติกันอยู่นี่ ล้มลุกคลุกคลานอยู่นี่ นี่ธรรมเห็นผิด กิเลสมันพาเห็นผิด ถ้ากิเลสมันพาเห็นผิดนะ เราก็ล้มลุกคลุกคลานอย่างนี้ ถ้าเราจะเอาความจริงของเรา ถ้าเราล้มลุกคลุกคลานแล้วก็บอกว่าทำแล้วมันต้องมีความสุข เราปฏิบัติธรรมแล้วมันต้องมีความสุขสิ ทำไมมันล้มลุกคลุกคลานขนาดนี้
เวลาโลกนะ เวลาเขาทุกข์เขายากกัน ทุกข์ยากเพื่อทุกข์ต่อไป เวลาเขาขาดแคลน เขาทำความเป็นอยู่ของเขา เขาทุกข์เขายาก เขาต้องพยายามขวนขวายเพื่อการดำรงชีวิตของเขา หาปัจจัยเพื่อดำรงชีวิตของเขา เขาก็ทุกข์ยาก เขาทุกข์ยากกว่าเราอีก เวลาเขาขาดแคลนขึ้นมา เวลาสินค้าที่ขาดแคลน สิ่งที่ไม่พอเจือจานกัน เขาแย่งชิงกัน เขาแย่งกัน เขาทำร้ายกันถึงเสียชีวิตได้เลย นี่ทุกข์ไหม? นั่นก็ทุกข์ แล้วทุกข์อย่างนั้นทุกข์ซ้ำทุกข์ซาก ทุกข์ในวัฏฏะ ทุกสิ่งที่การเกิดและการตาย แย่งชิงฆ่ากันถึงกับสิ้นชีวิตไป แล้วเขาก็ต้องไปเกิดใหม่ เขาก็ทุกข์ยากของเขา
แต่เวลาเราประพฤติปฏิบัติของเรา นี่เวลาปฏิบัติขึ้นมา ถ้ามันจะทุกข์จะยาก เพราะเรามีสติเรามีปัญญา เราเป็นชาวพุทธ เรามีศรัทธาความเชื่อ พอมีศรัทธาความเชื่อ เราคิดว่าการบำเพ็ญเพียร การประพฤติปฏิบัติธรรมขึ้นมา มันจะเป็นบุญกุศล มันจะเป็นเข้าไปสู่สัจธรรม มันจะเข้าสู่อริยสัจ มันจะเข้าสู่มรรคสู่ผล มันจะเข้าไปสู่วิมุตติสุข มันจะเข้าไปสู่ความจริง ถ้ามันเข้าไปสู่ความจริง ถ้าเราเชื่อมั่นของเราอย่างนั้น ทำไมเราไม่มีกำลังใจจะทำ
แล้วถ้าเรามีกำลังใจที่อยากจะทำขึ้นมา เห็นไหม ทุกข์อันนี้ ทุกข์อันที่เราประพฤติปฏิบัติอยู่นี่ ทุกข์ที่มันแสนทุกข์แสนยาก ทุกข์นี่เพื่อจะพ้นจากทุกข์ ถ้าเราคิดว่าเราจะทุกข์จะยาก เราจะทุกข์จะยาก เราจะมีความจริงใจของเรา เราจะเข้มแข็งของเรา เราจะปราบกิเลสในใจของเรา เราจะชำระล้างของเราด้วยอริยมรรค ด้วยสัจจะ ด้วยความจริง ด้วยสิ่งที่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาและวางเป็นธรรมวินัยที่เราศึกษามานี้
ศึกษามานี่ศึกษามาเป็นปริยัติ ศึกษามานี่เราเข้าใจของเราได้เป็นปริยัติ เป็นทางวิชาการ แต่เวลาปฏิบัติขึ้นมา เราต้องปฏิบัติตามความเป็นจริง แล้วให้มันเป็นความชอบธรรม ไม่ให้กิเลสมันเห็นผิด ถ้ากิเลสเห็นผิด มันก็เห็นผิดอย่างที่เราทำกันอยู่นี่ จะทำความสงบของใจมันก็ทุกข์มันก็ยาก แล้วกิเลสมันก็กระทืบซ้ำ นี่เห็นไหม ว่าปฏิบัติแล้วมันจะเป็นความสุข ดูสิ โลกเขา เขามีแต่ความรื่นเริงกัน เขาอยู่กันด้วยความร่มเย็นเป็นสุข มีแต่ความสงบ มีแต่ความสุขความสงบของเขา เขาเที่ยวกัน เขาไปมีแต่ความรื่นเริงของเขา ทำไมเราต้องมาบังคับตนเอง ทำไมเราต้องมาทำให้เราทุกข์เรายาก
เวลากิเลสมันเห็นผิดนะ มันเห็นของมันไป ไม่มีค่าสิ่งใดเลย แต่ถ้าธรรมเห็นชอบ เราบังคับตัวเราได้ แล้วพอใจที่มันจะทุกข์ ถ้าพอใจจะทุกข์ ทุกข์อะไรจะเอามาต่อต้าน ทุกข์อะไรที่จะเอามาข่มขี่เรา ทุกข์อะไรที่บอกว่าทำแล้วเราจะไม่มีทางออก ทุกข์อะไรมาได้เลย ถ้าเราจะเผชิญกับทุกข์ด้วยสัจจะความจริง เห็นไหม ธรรมเห็นชอบ กิเลสมันอาย กิเลสมันไม่เอาสิ่งใดหรอก เหมือนทิฏฐิ ทิฏฐิใครรุนแรง เวลาสิ่งที่เกิดขึ้นมากระทบใจมันจะมีความรุนแรงมาก ทิฏฐิใครพอประมาณ เวลาสิ่งใดเกิดขึ้นกระทบหัวใจ นี่เราพอจะควบคุมมันได้
นี่ก็เหมือนกัน เวลาสิ่งที่มันอยู่กับหัวใจของเรา มันเอาสิ่งใดขึ้นมาเพื่อเกลี้ยกล่อมให้ความเพียรเราล้มลุกคลุกคลาน นี่ถ้าเรามีสติมีปัญญา ด้วยปัญญาของเรา ด้วยปัญญาที่แยกแยะกับมัน มันจะมีทุกข์อะไรมากไปกว่านี้อีกไหม ที่เราปฏิบัติมานี่ เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา มันจะมีความลำบากมากกว่านี้อีกไหม ถามมัน แล้วเราพยายามของเราไป ถ้าเราพยายามของเราไป นี่ธรรมเห็นชอบ กิเลสนะ ทิฏฐิอันนั้นมันหายหน้าไปเลย
แต่เพราะเราล้มลุกคลุกคลาน เพราะกิเลสมันเห็นผิด เราถึงทำคุณงามความดีกันไม่ได้ เราทำสิ่งใดแล้วเราก็เอากิเลสมาขี่หัวไว้ เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนาก็มองนาฬิกา มองว่าเราจะเดินได้มากน้อยแค่ไหนแล้ว เราไม่ได้เดินเพื่อความสงบเลย เราไม่ได้เดิน เรานั่งสมาธิไม่ใช่เพื่อให้จิตสงบเลย
ถ้าจิตมันจะฟุ้งซ่านขนาดไหน มันจะมีความรุนแรงขนาดไหน นั้นก็เป็นอำนาจวาสนาของคน ถ้าเป็นอำนาจวาสนาของคน เราก็ต้องมีความเข้มแข็ง มีความจริงจังของมัน เพื่อจะเอาใจของเราไว้ให้สู่ความสงบได้ ถ้าจิตมันเริ่มสงบเข้ามานะ มันเป็นความแปลกประหลาดมหัศจรรย์แล้ว ขณิกสมาธิ พอจิตมันปล่อยวางเข้ามามันก็แปลกแล้ว สุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี ถ้าจิตสงบนะ มันฝังใจมาก ถ้าทำแล้วมันฝังใจนะ ตัวนี้มันเบาหมด มันมีความสุข มีความสุข เห็นไหม ความสุขอันนี้ไม่ใช่สุขจากอามิส ความสุขของโลกเขา เขาต้องใช้อามิสแลกเปลี่ยนมา ทำสิ่งใด ตัณหาความทะยานอยากมากน้อยขนาดไหนปรนเปรอมันแล้วมีความสุข แต่ขณะที่เราปฏิบัติ เราจะทำลายมัน มันไม่ใช่กิเลสตัณหาความทะยานอยาก มันเป็นมรรค
สิ่งที่เป็นมรรค เราพุทโธ เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้ามันปล่อยวางเข้ามา ขณิกสมาธิ ถ้ามันเป็นสิ่งนี้แล้ว เราจำการกระทำอันนี้ไว้ แล้วพยายามทำให้มากขึ้น พยายามทำให้มากขึ้น พอทำให้มากขึ้น ถ้ามันสงบเข้ามา พอสงบเข้ามา ถ้ากิเลสมันเห็นผิดนะ พอมันสงบเข้ามาแล้วมันฝังใจ ฝังใจ มันอยากได้อยากเป็น นี่อยากได้อยากเป็น ทำแล้วมันก็ยิ่งลำบากมากขึ้น เพราะตัณหาซ้อนตัณหา กิเลสซ้อนกิเลส
ฉะนั้น กิเลสที่มันมีอยู่แล้ว เราวาง พยายามทำของเราด้วยความเข้มแข็ง ด้วยสติด้วยปัญญา นี่ธรรมเห็นชอบ กำหนดพุทโธชัดๆ เวลาใช้ปัญญาอบรมสมาธิ นี่ใช้ปัญญาของเรา เวลามันปล่อยวางเข้ามา ปล่อยวางเข้ามา เวลามันปล่อยวางแล้วไม่ต้องการ ไม่ปรารถนาอย่างนั้นอีก เราปรารถนาแต่เหตุ เรามีสติมีปัญญาไล่ต้อน ไล่ต้อนปัญญาความคิดของเราให้เห็นเหตุเห็นผล ถ้ามันปล่อยมันวางขึ้นมา เห็นไหม นี่ไง ความสุขมันเกิดขึ้น แล้วความสุขอย่างนี้เป็นความสุขจริง ความสุขอย่างนี้ไม่ได้ให้ใครยื่นให้ ความสุขอย่างนี้เกิดจากการประพฤติปฏิบัติของเรา
ความสุข นี่ความสุขเกิดจากจิต สุขเกิดจากหัวใจของเรา มันมีความสุขของมันได้ เห็นไหม นี่ถ้าจิตสงบขึ้นมาจะมีความสุขมาก ความสุขมาก ถ้าคนไม่มีสติปัญญา นี่สุขอย่างนี้คือนิพพาน นิพพานคือความว่าง สมาธิคือความว่าง ความที่มันปล่อยวางหมดแล้ว ถ้ากิเลสเห็นผิดมันก็เป็นอย่างนั้น
เวลากิเลสเห็นผิดนะ มันลับลวงพราง จิตสงบแล้วกิเลสมันลับ มันลับไม่ให้เรารู้เราเห็น จิตสงบแล้ว นี่เวลามันลับก็ไม่รู้จัก ไม่เห็นกาย ไม่เห็นเวทนา ไม่เห็นจิต ไม่เห็นธรรมตามความเป็นจริง เวลามันลวงนะ นี่มันลวง มันลวงบอกว่าสิ่งที่เรารู้เราเห็น เราเห็นสติปัฏฐาน ๔ เรารู้ตามความเป็นจริงของเรา ลับลวงพราง เวลาพรางมันพรางให้เราหลงผิดไปเลย นี่เราหลงผิดไปนะ เพราะเราจับพลัดจับผลูไง
แต่ถ้าเรามีครูมีอาจารย์นะ ถ้าจิตสงบแล้วให้ฝึกหัดใช้ปัญญา
อ้าว! ก็ใช้ปัญญามาเต็มที่แล้ว ก็ใช้ปัญญามา ก็มีความเชื่อมั่น มีสติปัญญา ก็ใช้ปัญญามาจนจิตสงบแล้ว แล้วจะใช้ปัญญาสิ่งใดกันอีกล่ะ เห็นไหม เพราะเราปฏิบัติใหม่ เราไม่เข้าใจหรอกว่าสุตมยปัญญา จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา ปัญญาในพุทธศาสนานี้แบ่งไว้เป็น ๓ ระดับ ปัญญาในการศึกษา ปัญญาในการค้นคว้า ปัญญาทางวิทยาศาสตร์ เขาเรียกสุตมยปัญญา สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดขึ้นจากสัญชาตญาณ ปัญญาที่เกิดขึ้นจากความเป็นมนุษย์ ความเป็นเทวดา อินทร์ พรหม ปัญญาอย่างนี้มันมีของมันอยู่ นี่มันมีของมันอยู่เพราะผลของวัฏฏะไง ในเมื่อมีจิต เห็นไหม จิตมันมีภวาสวะมีภพ มีสถานที่ นี่เวรกรรม มารต่างๆ มันเกิดบนนี้ ถ้าเกิดบนนี้ เราก็ใช้ปัญญาอย่างนี้เป็นโลกียปัญญา ปัญญารื้อค้นธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปัญญาที่เราใช้ปัญญาอบรมสมาธินี่กลั่นกรองปัญญาของเรา กลั่นกรองความรู้ ความเห็นของเรา กลั่นกรองเข้ามา นี่เป็นโลกียปัญญา
ถ้าเป็นโลกียปัญญา เห็นไหม เพราะอะไร นี่ธรรมเห็นชอบ เห็นชอบในระดับของสมถะ เห็นชอบในระดับของการทำความสงบของใจเข้ามา นี่ถ้าอย่างนี้มันเป็นสุตมยปัญญา ถ้าจินตมยปัญญา จิตสงบแล้วมันศึกษาธรรมมา มันมีธรรมเกิดขึ้น นี่จินตมยปัญญา จินตนาการไป จินตนาการ ความรู้ความเห็น สร้างภาพกันไป มันไม่เป็นความจริงขึ้นมา นี่มันไม่เป็นความจริงขึ้นมาเพราะมันชำระล้างกิเลสไม่ได้ไง
แต่ถ้าเวลาจิตสงบแล้ว เห็นไหม ธรรมเห็นชอบๆ เราก็ฝึกหัดใช้ของเรา
นี่ถ้าฝึกหัดใช้ อ้าว! ก็ทำมาพอแรงแล้ว ก็ปัญญาทั้งนั้นแหละ
เราไม่มีครูมีอาจารย์นะ ถ้าไม่มีหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์ของเราที่ท่านประพฤติปฏิบัติของท่านมา ท่านปฏิบัติไป นี่เส้นทางยังยาวไกลนัก เส้นทางแม้แต่ทำความสงบของใจเข้ามาเพื่อปรับฐานที่ตั้งแห่งการงาน เส้นทางของเรา เห็นไหม ดูสิ การเกิดเป็นมนุษย์ ถ้าพูดถึงกิเลสเห็นชอบ ในทางสังคมทางโลกเขานะ เขาเกิดมาเป็นคน แล้วเขาทำตัวเขา เขาใช้ชีวิตของเขาสมกับความเป็นคนไหม แม้แต่ความเป็นคนของคนในสังคมเราก็ไม่เท่ากัน ทั้งๆ ที่คนเหมือนกัน ศักดิ์ศรีของมนุษย์เท่าเทียมกัน แต่เพราะกิเลสตัณหาความทะยานอยากที่หยาบในใจนั้น เขาทำตัวของเขา เขาทำตัวให้เป็นปัญหาสังคม เขาทำจนให้สังคมรังเกียจ ไม่มีใครอยากเข้าใกล้เขาเลย นี่สิ่งที่ใช้ปัญญาอย่างนั้นมันเป็นประโยชน์กับสิ่งใด
แม้แต่คนก็ยังไม่เท่ากัน ความรู้ความเห็นของคนมันไม่เท่ากัน ทั้งๆ ที่ว่าในรัฐธรรมนูญ ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เท่ากัน มันเท่ากัน มันเท่ากันในผลของวัฏฏะ แต่ในเมื่ออำนาจวาสนาบารมีของคนมันไม่เหมือนกัน มันไม่เท่ากัน ถ้ามันไม่เท่ากัน สิ่งที่เรามีสติมีปัญญาเข้ามา เราก็รักษาของเรา ถ้าจิตใจมีหลักมีเกณฑ์ขึ้นมา เห็นไหม นี่สมกับความเป็นมนุษย์ไง ถ้าสมกับความเป็นมนุษย์ แล้วเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิเข้ามา ถ้าจิตมันสงบเข้ามา แล้วเราฝึกหัด เราฝึกหัด เห็นไหม
ถ้าฝึกหัด ถ้ามันเป็นกิเลสเห็นชอบ มันจะลับลวงพราง ถ้าลับก็ไม่รู้ไม่เห็นกิเลส ถ้ามันลวง มันก็ลวงจนสร้างภาพให้เรารู้เราเห็นความเห็นที่แตกต่างกันไปจากความเป็นจริง ถ้ามันพราง พรางจนเราล้มลุกคลุกคลานเลย เห็นไหม เวลากิเลสมันเห็นชอบ มันเห็นชอบทำให้เราเสียหายกันไป
ถ้าธรรมเห็นชอบล่ะ ธรรมเห็นชอบเพราะเรามีครูมีอาจารย์ ความชอบธรรม เห็นไหม ถ้าจิตสงบแล้วออกฝึกหัดใช้ปัญญา ถ้าฝึกหัดใช้ปัญญา ถ้ามันเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง ถ้ามันเห็นของมัน มันจะเห็นกิเลส ถ้ามันเห็นกิเลส เราก็ใช้ปัญญาของเรา ใช้ปัญญาของเรา ถ้าจิตมีกำลังของมัน เวลาพิจารณากายไป ให้มันเป็นไปตามความเป็นจริง ถ้าเราใช้ปัญญา เราฝึกหัด ให้มันแปรสภาพให้เราดู รำพึง รำพึงคือนึกไป นึกโดยที่มีสมาธินะ นึกไปโดยจิตที่มันเป็นสัมมาสมาธิ จิตมันมีความสุขแล้ว แล้วมีความสุขแล้ว พอเราออกฝึกหัดใช้ปัญญา ถ้าเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง มันเกิดวิปัสสนา
สิ่งที่วิปัสสนามันเกิดมาจากไหนล่ะ? นี่มันเกิดมาจากจิต ถ้าจิตมันออกใช้ปัญญาของมันไป ถ้าออกใช้ปัญญาของมันไป ถ้ามันเห็นกาย ถ้ากายมันแปรสภาพของมันไป มันเห็นเป็นความมหัศจรรย์มาก มหัศจรรย์เพราะมันเห็นต่อหน้า มันเป็นปัจจุบัน ถ้ามันเห็นต่อหน้า เห็นไหม ดูสิ ที่ว่าความสุขๆ นะ จิตสงบก็มีความสุขแล้ว ถ้าจิตสงบมีความสุข จิตเวลามันจับกายได้ มันมีคุณค่าขึ้นมาไง
คุณค่าของความเป็นมนุษย์ มนุษย์ถ้าทำหน้าที่การงานประสบความสำเร็จ มนุษย์จะภูมิใจมาก มนุษย์จะภูมิใจมากว่าเราเกิดเป็นมนุษย์ เราสามารถรักษาตัวเราได้ เราสามารถประกอบสัมมาอาชีวะได้ แล้วเรายังสามารถเอาทรัพย์สมบัติเราให้กับสังคมได้ประโยชน์กับทรัพย์สมบัติของเรา เราจะมีความภูมิใจมากเลย
นี่ก็เหมือนกัน พอจิตมันเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง มันจะภูมิใจมาก ภูมิใจว่าจิตที่เราเกิดเป็นชาวพุทธใช่ไหม เราเชื่อมั่นในพุทธศาสนาใช่ไหม นี้เวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา มันจะเป็นบุคคลคู่ที่ ๑ เห็นไหม บุคคล ๔ คู่ คู่ที่ ๑ ถ้าจิตสงบแล้วเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง นี่โสดาปัตติมรรค
แล้วเวลามันพิจารณาของมันไป เวลาพิจารณาไป มันแยกแยะของมันไป ถ้าพิจารณาเวทนา นี่พิจารณา เวทนามันเกิดมาจากอะไร เวทนามันเกิดมาจากไหน ถ้ามันใช้ปัญญาแยกแยะได้จนจิตมันปล่อยวางได้ เวทนาจะหายทันที ถ้าพิจารณาจิต จิตเศร้าหมอง จิตผ่องใส ผ่องใสเพราะเหตุใด พิจารณาธรรม ธรรมที่เกิดขึ้นมา ธรรม นี่ที่ว่าธรรมเห็นชอบๆ ธรรมแบบนี้มันเป็นบุรุษคู่ที่ ๑ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติมรรคคือเหตุไง คือมรรค ถ้ามรรคมันแยกแยะของมัน มันจะเกิดผล โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล ถ้ามันพิจารณาแยกแยะของมันซ้ำแล้วซ้ำเล่า เวลาพิจารณาไปแต่ละครั้งมันปล่อยนะ เวลามันปล่อยมันจะมีความสุขมาก เห็นไหม
ถ้าธรรมเห็นชอบมันจะชอบธรรม แล้วจิตมันจะมีคุณค่า ความเกิดมาเป็นมนุษย์ มนุษย์ที่ทางโลกเขา มนุษย์ที่ดีเขาจะเป็นประโยชน์กับสังคม มนุษย์ที่เลวเขาทำลายสังคมนั้นให้กระทบกระเทือนกัน ฉะนั้น เราปฏิบัติของเรา
จิตนี้เวียนตายในวัฏฏะ การเวียนตายเวียนเกิดของจิต ถ้าเวียนตายเวียนเกิดของจิต จิตมันเวียนตายเวียนเกิดไปเพราะมันมีเหตุมีผลของมัน มันต้องมีเหตุมีปัจจัย มันถึงเวียนตายเวียนเกิด เวลาเราพิจารณาของเรา เวลาจิตเราสงบเข้ามาแล้ว นี่จิตที่สงบเข้ามามันมีความสุข ความสุขเพราะมีความสงบมีความระงับ มันมีความพอใจ มันชื่นบานมาก เวลาจิตออกไปเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง นี่บุคคลคู่ที่ ๑ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล เวลามันพิจารณาของมันไป เวลามันปล่อยวาง เห็นไหม มันปล่อยวางๆ ความปล่อยวางมันมหัศจรรย์ตั้งแต่มันเห็น
เราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา เสวยวิมุตติสุข เราก็สงสัย เราก็อยากรู้อยากเห็นว่ามันเป็นอย่างใด เวลาเราพยายามทำตามธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พยายามทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าใจมันสงบแล้ว เวลาเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง มันใช้ปัญญาพิจารณาไปด้วยจิตที่มีสัมมาสมาธิรองรับ มันพิจารณาของมันไป มันมหัศจรรย์ มันมหัศจรรย์ว่าทำไมจิตมันทำได้
แม้แต่เราทำสมาธินะ ถ้าจิตคนไม่เคยเข้าสมาธิ จะไม่รู้จักว่าสมาธิเป็นแบบใด ถ้าจิตคนเคยเข้าสมาธิแล้ว สมาธินี่ทำให้มีความสุข มีความสงบ ถ้าเข้าฌานสมาบัติ มันก็มีฤทธิ์มีเดชเพื่อเป็นฌานโลกีย์ แต่เราไม่ต้องการ เราต้องการสัมมาสมาธิ ถ้าจิตมันสงบระงับเข้ามา มันมหัศจรรย์ มันมีความสุข แล้วคนถ้าทำไม่เป็น แล้วถ้ากิเลสมันเห็นผิด มันก็ลับลวงพราง ไม่รู้ไม่เห็น เป็นไปไม่ได้ แล้วเป็นไปไม่ได้ก็ล้มลุกคลุกคลานอยู่อย่างนั้นแหละ อันนี้มันอยู่ที่อำนาจวาสนา
แต่ถ้าเรามีครูบาอาจารย์ของเรา เห็นไหม ถ้าจิตสงบเข้ามาแล้วมันมีความสุข ความสุขอันนี้ สัมมาสมาธิเขาไว้เป็นพื้นฐานเพื่อยกขึ้นสู่วิปัสสนา เขามีไว้เพื่อจะให้เราก้าวเดินไป เพื่อจะเข้ามาชำระล้างกิเลสในใจของเรา ถ้ามันเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง เห็นไหม นี่ถ้ามันเห็นจริงมันก็มีความชอบธรรม มีความชอบธรรม มันเป็นมรรค ถ้าเป็นมรรค มันพิจารณาแยกแยะไป มันปล่อยวางขึ้นมา มันปล่อยวางแต่ละทีนะ มันจะอู๋ย! มีความสุขมาก มันจะเบา มันจะวาง มันจะว่างไปหมด แต่ว่างมีสตินะ
ความชุ่มชื่น ผลของธรรม ผลของการวิปัสสนา ผลของการใช้สติปัญญาไปแล้วมันปล่อยวาง มันจะมีความสุขมาก นี่ตทังคปหาน พิจารณาไปซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ ถึงที่สุดเวลามันขาด เวลามันขาดไปนะ ผลที่มันขาด เห็นไหม สิ่งที่มันขาด พอมันขาดขึ้นมา นี่จิตดวงนี้เวียนตายเวียนเกิดในวัฏฏะไม่มีต้นไม่มีปลาย คนที่ประพฤติปฏิบัติ จิตทุกดวงที่เวียนตายเวียนเกิด เราไม่รู้เหนือรู้ใต้ เราไม่รู้ที่เกิดและที่ดับ ไม่รู้ว่าจิตดวงนี้มันมาจากไหน แล้วมันจะไปสิ้นสุดเอาเมื่อไหร่ แต่เวลาเพราะเรามีศรัทธามีความเชื่อในพุทธศาสนา เราถึงประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริงของเรา แล้วมีครูบาอาจารย์ท่านคอยชี้นำขึ้นมา มีหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านวางข้อวัตรปฏิบัติขึ้นมา เราอาศัยข้อวัตรปฏิบัตินั้นเพื่อให้สติ ให้จิตมันมั่นคงขึ้นมา
ถ้าจิตมันมั่นคงขึ้นมา พอมันมีสัมมาสมาธิขึ้นมาแล้วมันออกฝึกหัดใช้ปัญญา พอออกฝึกหัดใช้ปัญญา พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ เวลามันขาด เห็นไหม เวลามันขาด จิตดวงนี้ที่ไม่มีต้นไม่มีปลาย มันมีต้นมีปลาย นี่ความสุขอันนี้เป็นอกุปปธรรมๆ นี่บุคคลคู่ที่ ๑ สำเร็จ บุคคลคู่ที่ ๑ สมบูรณ์ ถ้าบุคคลคู่ที่ ๑ สมบูรณ์ขึ้นมาแล้ว นี่ความเป็นไปที่ว่าสิ่งนี้เป็นความสุขๆ มันมีฐานรองรับ สิ่งที่จิตนี้มันเป็น มันรู้นี่ มันรู้ขึ้นมา รู้ขึ้นมา เห็นไหม เวลาพิจารณากาย กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ จิตนี้รวมลง จิตนี้รวมลง เห็นไหม ได้สลัดทิ้งออกไป ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ สิ่งที่เป็นสักกายทิฏฐิ ทิฏฐิที่ความเห็นผิด
ถ้ามันเห็นผิด เพราะมีความเห็นผิด นี่กิเลสเห็นชอบ มันลับลวงพราง จิตดวงนี้เลยเวียนตายเวียนเกิดไปในวัฏฏะ แต่เวลาพิจารณาจนชัดเจนขึ้นมาแล้ว เวลาสังโยชน์มันขาดไปแล้วเป็นอกุปปธรรม สิ่งที่เป็นอกุปปธรรมขึ้นมา เห็นไหม มันมีต้นมีปลาย ถ้ายังต้องเวียนตายเวียนเกิดก็ ๗ ชาติเท่านั้น มันรู้ขึ้นมาจากจิตดวงนั้น จิตดวงนั้นรู้ด้วยความสมบูรณ์ จิตดวงนั้นรู้ด้วยความสมบูรณ์แล้วจะไม่ถือมงคลตื่นข่าว จะไม่ถือนอกรีต จะไม่มีความเชื่อนอกจากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เด็ดขาด นี่มันเชื่อในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วมีกำลังใจ มีความมั่นคงที่พยายามจะประพฤติปฏิบัติต่อเนื่องขึ้นไป
ถ้าพิจารณาต่อเนื่องขึ้นไป เห็นไหม สิ่งที่เราทำขึ้นมานี่ธรรมเห็นชอบ แต่กิเลสที่อย่างละเอียดมันเห็นผิด ถ้าธรรมเห็นชอบมันก็จะปฏิบัติต่อเนื่องๆ ถ้าปฏิบัติต่อเนื่อง ทำความสงบของใจให้มากขึ้น ถ้าใจมันสงบแล้วออกหา ออกพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม สติปัฏฐาน ๔ ถ้าพิจารณากาย สติปัฏฐาน ๔ ด้วยความสุข ด้วยฐานอันมั่นคงที่ธรรมเห็นชอบ เป็นฐานมั่นคง ในการประพฤติปฏิบัติ จิตมันจะก้าวหน้า
เวลาเราปฏิบัติล้มลุกคลุกคลาน เพราะเราไม่มีต้นไม่มีปลาย เราจะเริ่มต้นที่ไหน แล้วเราจะก้าวเดินอย่างใด แล้วเราจะไปสิ้นสุดกระบวนการมันอย่างใด เราล้มลุกคลุกคลาน เรามีแต่ความวิตกกังวล นี่กิเลสมันเห็นผิดของมัน มันก็ล้มลุกคลุกคลานของมันไป เราก็ทำของเราไป เพราะกิเลสมันมีโดยพื้นฐาน แต่ถ้าธรรมเห็นชอบ ธรรมเห็นชอบคืออะไร? คือสติ คือสมาธิ คือปัญญา ถ้าธรรมมันเห็นชอบขึ้นมา พิจารณาเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมา นี่เราเห็นถูกของเราขึ้นมาเป็นชั้นเป็นตอน เป็นชั้นเป็นตอน เวลาปฏิบัติมาจนถึงที่มันมีอกุปปธรรมเป็นฐานรองรับ ถ้าทำใจของเราสงบขึ้นมาแล้วออกฝึกหัดใช้ปัญญา สิ่งที่ครูบาอาจารย์ท่านบอกภาวนาเป็น คนภาวนาเป็นหมายถึงว่าออกฝึกหัดใช้ปัญญาเป็น ถ้าออกฝึกหัดใช้ปัญญาเป็น จิตเราทำความสงบของใจเข้ามา แล้วเราก็ต้องใช้ปัญญาต่อเนื่องกันไป นี่กิเลสอันละเอียด
ความที่เป็นธรรมมันมี พื้นฐานมีแน่นอน แล้วถือมั่นคงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถ้ามั่นคงในพระธรรม สัจธรรมไง ถ้ามันมั่นคงในสัจธรรม มันจะทำสัจธรรมให้ละเอียดลึกซึ้งขึ้นไป ถ้าทำสัจธรรมให้ละเอียดลึกซึ้งขึ้นไป ต้องทำความสงบของใจให้ลึกซึ้งขึ้น ถ้าลึกซึ้งขึ้นแล้ว เพราะสัมมาสมาธิ สมาธิต้องลึกซึ้งขึ้น แล้วสมาธิลึกซึ้งขึ้น มันออกรู้ออกหา ถ้ามันออกรู้ออกหา มันก็เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง ถ้าเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง
ความเห็นชอบคือความชอบธรรม คือความถูกต้อง แต่เวลาปฏิบัติ กิเลสที่มันละเอียดกว่า มันก็พลิกแพลง มันพลิกแพลงให้ล้มลุกคลุกคลาน สิ่งที่มีการกระทำ เห็นไหม มีการกระทำ จิต นี่เรานั่งอยู่ที่ไหนก็แล้วแต่ เราเดินจงกรมที่ไหนก็แล้วแต่ เราก็เห็นได้แต่ร่างกาย เราไม่รู้ว่าใจคนที่ปฏิบัติ ใจของคนมันแปลกประหลาดมันมหัศจรรย์ มันคิดได้ร้อยแปด คิดได้มหัศจรรย์ ถ้าคิดผิด มันก็ผิดไปจนถึงสุดกู่ ถ้ามันคิดถูก คิดถูกคิดไม่ได้ คิดไม่ได้เพราะอะไร สิ่งที่ประพฤติปฏิบัติมันต้องเป็นความจริงขึ้นมา สิ่งที่มันคิดไปมันก็เป็นจินตนาการ สิ่งที่จินตนาการมันก็เป็นจินตมยปัญญา
แต่ถ้ามันเป็นความจริงล่ะ ถ้าจินตนาการไปมันมีฐานสิ่งใดรองรับ เห็นไหม สิ่งที่กิเลสมันเหนือกว่า สิ่งที่กิเลสเหนือกว่ามันก็บิดเบือน มันก็ทำให้การประพฤติปฏิบัติล้มลุกคลุกคลาน ทั้งๆ ที่กิเลสอย่างหยาบเราได้กระทำมาแล้ว หลานของมันเราได้สมุจเฉทปหานไปแล้ว แต่เราจะเข้าไป เราก็จะเข้าไปสู่ลูกของอวิชชา ถ้าลูกของอวิชชา สิ่งที่ลูกของอวิชชามันก็มีพลิกแพลงของมัน สิ่งที่พลิกแพลง
เวลาเราปฏิบัติ สิ่งที่เป็นทุกข์ๆ เป็นทุกข์เพราะว่ามันเป็นความเพียร ความเพียร ความวิริยะ ความอุตสาหะ คนจะล่วงพ้นทุกข์ด้วยความเพียร แต่เวลากิเลสมันพลิกแพลงขึ้นมา สิ่งนี้มันเป็นงานของกิเลส กิเลสมันเป็นอย่างนี้ กิเลสมันเป็นอย่างนี้ มันพยายามจะพลิกแพลงแน่นอน ฉะนั้น มันพลิกแพลงแน่นอน ความชอบธรรมของเรา เราต้องมีสติมีปัญญามากขึ้น แล้วจับเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม แล้วแยกแยะ พยายามพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อฝึกหัดใจ เพื่อฝึกหัดให้เป็นมัชฌิมาปฏิปทา เพื่อความถูกต้องดีงาม
ในการประพฤติฏิบัติ เห็นไหม อัตตกิลมถานุโยค กามสุขัลลิกานุโยค จิตที่ปฏิบัติไปแล้วมันจะตกไปทางสองส่วน ถ้ามันปฏิบัติไป มันก็ไม่ชอบธรรม ไม่ชอบธรรมนะ ไม่ชอบธรรมเพราะมันไม่สมดุลของมัน แต่ถ้าจิตใจกำลังเราไม่พอ มันไม่ปล่อยวาง เราทำแล้วมันจะเหน็ดมันจะเหนื่อยมาก ถ้ามันเหน็ดเหนื่อย เราก็วาง ทีนี้พอจะวาง ตามหลักตามความเป็นจริงมันต้องวางเพื่อกลับมาทำความสงบของใจ แต่กิเลสในใจของเรามันจะวางได้อย่างใด มันละล้าละลังไง
คำว่า ละล้าละลัง มันจะวางมันก็ไม่กล้าวาง เวลามันจะพิจารณาไป พิจารณาไปมันก็ไม่มีกำลังพอ นี่กิเลสมันเห็นผิด ถ้ากิเลสเห็นผิด มันจะมีเล่ห์กลของมันในการกระทำตลอดไป ฉะนั้น ในการกระทำ มันต้องอยู่ที่เราจะมีสติปัญญามากน้อยแค่ไหน แล้วเราจะมีความมั่นคงขนาดไหน จะวางให้ได้ วางเสร็จแล้วกลับมาทำความสงบของใจ ทำความสงบแล้วเวลามันคายออก ปล่อย ต้องเข้าไปสู่งาน งานอะไร? งานการฝึกหัดใช้ปัญญา งานการมัคโค ทางอันเอก มรรค เห็นไหม งานชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ สติชอบ ปัญญาชอบ
ถ้าเราพิจารณาโดยความชอบธรรม ถ้าธรรมเห็นชอบ ในการปฏิบัติมันก็มีความสุข ถ้าเวลากิเลสมันเห็นผิด เวลาการปฏิบัติของเราก็ล้มลุกคลุกคลาน ในการปฏิบัติแต่ละชั้นแต่ละตอน ระหว่างกิเลสกับธรรมมันจะต่อสู้กัน การต่อสู้กันด้วยสติด้วยปัญญานะ ด้วยมรรคญาณ ด้วยความรู้สึกนึกคิดภายใน ไม่ใช่ด้วยสมอง ถ้าเป็นสมอง สิ่งที่ว่าเป็นสมอง ไปศึกษาๆ เวลาปฏิบัติพอเป็นพิธีกัน ปฏิบัติแล้วกลัวแต่จะผิด นี่พุทธพจน์ว่าไว้อย่างนั้น จะต้องว่าไว้อย่างนั้น นั่นคือการสร้างภาพทั้งนั้น
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะว่าไว้อย่างใด สาธุ! ก็เรียนมาด้วยกันทั้งนั้นแหละ แต่ในการปฏิบัติมันจะเอาความจริงขึ้นมา อาหารที่จะกินต้องเป็นอาหารของเรา เราจะไปยืมอาหารใครมากิน ถ้ายืมอาหารใครมากินมันเป็นหนี้เป็นสิน ต้องชดใช้เขา แต่ถ้าเป็นอาหารของเรา เราแสวงหามา อาหารคืออะไร? ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าศีล สมาธิ ปัญญา ถ้ามีสมาธิก็อิ่มหนำสำราญ นี่อาหารก็อาหารของเรา เราอาบเหงื่อต่างน้ำหาของเรามาเอง เวลาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็บอกวิธีการให้เราทำ แต่เวลาเราทำขึ้นมานะ ถ้าเราหาอยู่หากินของเราขึ้นมา เราก็อิ่มหนำสำราญ เราก็มีกำลังที่จะไปปฏิบัติต่อเนื่องกันไป นี่สิ่งที่มันเป็นจริงก็เป็นจริงแบบนี้
ฉะนั้น เวลาปฏิบัติกลัวแต่ว่าจะผิดจะพลาด กลัว พอกลัวแล้วก็ไปยึดไง พุทธพจน์ๆ สาธุ! พุทธพจน์จริงๆ แต่เราปฏิบัติขึ้นมามันจะเอาความจริงขึ้นมา นี่พิจารณาซ้ำพิจารณาซาก ถึงที่สุดเวลามันขาด ขาดเหมือนกัน เวลาขาดเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป
เวลาเราทุกข์ยากลำบากมันก็ทุกข์ยากลำบากด้วยความหยาบละเอียดขึ้นไป เวลามันละเอียดขึ้นไปแล้ว เวลาพิจารณาไปแล้วเวลามันขาดนะ สมุจเฉทปหาน กายเป็นโพธิ จิตเป็นกระจกใส ราบไปหมด โลกนี้ราบหมดเลย เวิ้งว้างมีความสุข
ความสุขของขั้นที่อกุปปธรรมขั้นแรกมันก็เป็นประจักษ์พยาน มันเป็นประจักษ์พยานในใจเลย ความมั่นคง ความมั่นคงเป็นแบบนี้ บุคคลคู่ที่ ๑ เวลาพิจารณาไปๆ พอเวลากายเป็นโพธิ จิตเป็นกระจกใส นี่เวลาพิจารณาไปมันเป็นสกิทาคามิมรรค เวลามันเป็นสกิทาคามิผล บุคคลคู่ที่ ๒ บุคคลคู่ที่ ๒ กามราคะ ปฏิฆะมันอ่อนลง มันเวิ้งว้างไปหมด ถ้าเวิ้งว้าง สิ่งที่มันเวิ้งว้าง นี่อกุปปธรรม สิ่งที่เป็นความสุข นี่สุขมหาศาล
ความสุขอันนี้ได้มาจากการล้มลุกคลุกคลาน ความสุขอันนี้ได้มาจากความเพียรชอบ ความสุขอันนี้ได้มาจากความตั้งใจจริง ความสุขอันนี้เกิดขึ้นจากความตั้งใจ การต่อสู้ด้วยสติด้วยปัญญา ด้วยการกระทำของเราเอง ถ้ามันเป็นขึ้นมา มันเป็นปัจจัตตัง มันเป็นสันทิฏฐิโก ความสุขอย่างนี้ เห็นไหม ผู้ที่ปฏิบัติไป ถ้าธรรมเห็นชอบ มันเป็นความจริงขึ้นมา มันชอบธรรม มันมีความสุข แล้วสุขที่ไหนล่ะ? สุขในใจดวงนั้นน่ะ สุขในใจที่มันก้าวเดินไป ที่ปฏิบัติไปล้มลุกคลุกคลาน ที่มันทุกข์มันยากนี่ เวลามันเป็นจริงขึ้นมา เห็นไหม มันเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก ถ้าจิตมันเป็นอย่างนี้แล้วมันมั่นคงไหม จิตมันมีพื้นฐานอย่างนี้มันจะลังเลสงสัยสิ่งใด
ถ้ากิเลสเห็นชอบนะ กิเลสมันเห็นผิด มันก็ลับลวงพราง ถ้าครูบาอาจารย์บางองค์ก็ติดไง นี่ติด ติดสิ่งนี้ว่าเป็นนิพพาน ถ้าอำนาจวาสนามีเท่านี้ แต่ถ้าครูบาอาจารย์ที่ท่านมีสติปัญญา ท่านบอกมรรค ๔ ผล ๔ บุคคลคู่ที่ ๒ จะมีบุคคลคู่ที่ ๓ บุคคลคู่ที่ ๔ ถ้ามีบุคคลคู่ที่ ๓ เราจะขึ้นสู่คู่ที่ ๓ นั้นได้อย่างไร ถ้าขึ้นบุคคลคู่ที่ ๓ เห็นไหม
เวลาเราปฏิบัติล้มลุกคลุกคลานไปตลอด เวลามีความสุขก็ความสุข ถ้ามันเป็นผล เป็นผลต่อการปฏิบัติ ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ ถ้ามีเหตุเพียงพอ ผลมันจะมีความสุขมาก เวลาผลมีความสุข กิเลส เห็นไหม กิเลสเห็นผิด กิเลสเห็นผิด กิเลสที่มันอยู่ในใจของเรา อวิชชาความไม่รู้จริงในใจเรามันคายตัวออกมา เราล้มลุกคลุกคลานตลอด สิ่งที่ล้มลุกคลุกคลาน เราพยายามทำของเราด้วยความตั้งใจตามความเป็นจริงของเรา เวลามันปล่อยมันก็มีความสุข เห็นไหม นี่ปฏิบัติไปแล้ว เวลาวิมุตติสุข สุขในสัจธรรม สุขในการกระทำที่มันเป็นจริง มันทำให้จิตใจนี้รื่นเริงอาจหาญ จิตใจที่มีความเข้มแข็งที่จะต่อสู้ จิตใจที่มีการกระทำ มันเห็นผลต่อหน้า นี่ปัจจัตตัง สันทิฏฐิโก เป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป
ถ้าเป็นชั้นเป็นตอน เวลามันปล่อยวางหมด ที่มันเป็นความสุข สุขอย่างนี้มันสุขในใจ เป็นปัจจัตตัง นี่เป็นความจริงในใจของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ แต่ครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติท่านรู้ นี่ท่านรู้ ท่านจะรู้เลยว่าจิตใจของเราอยู่ในขั้นตอนใด จิตใจของเราสูงต่ำแค่ไหน แล้วจิตใจของเราควรทำอย่างไรต่อไป
แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการ นี่อนาคตังสญาณท่านรู้เลยว่าควรทำอย่างไร แล้วทำอย่างไร เวลาสอนพระโมคคัลลานะ สอนพระสารีบุตร เห็นไหม สอนพระโมคคัลลานะไปอย่างหนึ่ง สอนพระสารีบุตรไปอย่างหนึ่ง สอนชฎิล ๓ พี่น้องก็สอนไปอย่างหนึ่ง นี่เวลาสอนแต่ละคนแต่ละอย่าง เพราะจริตนิสัยคนไม่เหมือนกัน ฉะนั้น เวลาเราทำกัน เวลาถ้าเรามีสติมีปัญญาขึ้นไป เราพยายามทำความสงบของใจให้มากขึ้น เราจะเริ่มมหัศจรรย์แล้ว ถ้าเราทำความสงบของใจเข้ามานะ มันจะเป็นมหาสติมหาปัญญา เรารู้ได้เอง
เวลาจิตนี่ บุคคลคู่ที่ ๒ มันปล่อยกายกับใจไปแล้ว มันปล่อย แล้วมันจะเข้าไปสู่ขันธ์อันละเอียดในจิตนั้น ถ้าเข้าไปสู่ขันธ์อันละเอียดในจิตนั้น ถ้าธรรมเห็นชอบมันจะเป็นมหาสติมหาปัญญา แล้วการค้นคว้าการค้นหา การค้นหานะ นี่การขุดคุ้ยหากิเลสนี้เป็นงานอย่างหนึ่ง เหมือนเจ้าหนี้ตามหาลูกหนี้ ถ้าลูกหนี้มันหนี ลูกหนี้หนีไป เจ้าหนี้ตามตัวลูกหนี้ไม่ได้ เจ้าหนี้จะไม่ได้มูลหนี้คืนมาจากลูกหนี้
นี่เหมือนกัน เวลาเราทำความสงบของใจๆ ถ้าใจมันสงบแล้ว เห็นไหม โดยธรรมชาติ ใจมันสงบเข้ามาได้ ถ้าใจมันสงบเข้ามาได้เพราะอะไร เพราะทำอย่างไรก็แล้วแต่ เรามีใจ เรามีความรู้สึก เรามีภวาสวะเรามีภพ นี่เรามีภวาสวะเรามีภพ มันอยู่กับเรา แต่เวลาทำให้มันสงบเข้ามาแล้ว เราจะจับสิ่งที่มันเป็นขันธ์อันละเอียด สิ่งที่เป็นอสุภะ สิ่งที่กิเลสมันเอาสิ่งนั้นออกใช้เพื่อประโยชน์กับกิเลส เราจะทำอย่างใด กิเลสมันจะหลบหลีก มันจะไม่รู้ไม่เห็นของมัน
ถ้าจิตมันเป็นมหาสติ แล้วมันเป็นมหาปัญญา มันจะแยกแยะ มันจะจับของมันได้ ถ้ามันจับของมัน แยกแยะของมันได้ ถ้ามีครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์ท่านจะให้อุบายว่าเราจะทำอย่างไร เราจะเห็นไหม นี่เรามองไปข้างหน้า เราจะเห็นไหม เราจะสามารถให้สายตาเราย้อนกลับได้ไหม นี่ท่านจะมีอุบายบอกมีอุบายเตือนให้เราได้คิด ถ้าเตือนให้เราได้คิด เราจะย้อนกลับมาจับอสุภะได้ ถ้าเราจับอสุภะได้ นั่นล่ะกามราคะ สิ่งที่เป็นกามราคะ เห็นไหม
เวลาเราทำหน้าที่การงานขึ้นมา เวลาทำหน้าที่การงานล้มลุกคลุกคลานมาตลอด แล้วจิตของเรามันมีความสุขเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมา เวลาบุคคลคู่ที่ ๒ มันก็เวิ้งว้างไปหมด มันเหมือนกับไม่มีสิ่งใดเลย แต่มี เพราะมันละเอียดไง สิ่งที่กิเลสมันละเอียด จิตเดิมแท้นี้ผ่องใสมันละเอียดกว่านี้อีก มันละเอียดลึกซึ้งเข้าไป เวลาทำความสงบของใจ ทำไมมันต้องเป็นมหาสติมหาปัญญา? เพราะมันเร็ว เพราะเกิดจากจิตมันก็ออกเลย เกิดจากจิตมันก็สุมไว้กินในใจเลย แล้วเราจะเข้าไปหาสิ่งนี้ได้อย่างไร
ถ้ามันจะเข้าไปหาสิ่งนี้ได้ เราต้องฝึกหัดใช้ของเรา เพราะมันมีฐาน ฐานของบุคคลคู่ที่ ๑ บุคคลคู่ที่ ๒ มันเป็นฐานขึ้นไปให้จิตนี้เริ่มขึ้นเป็นบุคคลคู่ที่ ๓ ถ้าเป็นคู่ที่ ๓ ถ้าเป็นมหาสติมหาปัญญามันก็จับจิตได้ ถ้ามันจับจิตได้ มันก็เห็นกามราคะ ถ้าเห็นกามราคะ พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า
นี่ถ้ากิเลสเห็นผิด มันเห็นผิดของมันอยู่แล้ว เพราะมันยิ่งเข้าใกล้จักรพรรดิ ยิ่งเข้าใกล้จอมวัฏจักรมันยิ่งพยายามจะต่อต้าน มันยิ่งจะทำให้การประพฤติปฏิบัติของเรา ทำให้มรรคญาณ ทำให้มรรคผลนิพพาน สิ่งที่เป็นเหตุเป็นผลขึ้นไปมันจะล้มลุกคลุกคลาน นี่ตบะธรรมๆ ที่เราได้สร้างสมบุญญาธิการมา เราได้ทำของเรามาเต็มที่แล้ว เราปฏิบัติตั้งแต่บุคคลคู่ที่ ๑ เราก็ล้มลุกคลุกคลานมา เราก็ต่อสู้มาจนผ่านมาได้ พอบุคคลคู่ที่ ๒ เราก็คิดว่าเราจะทำได้ พอไปเจอบุคคลคู่ที่ ๓ ยิ่งล้มลุกคลุกคลานเข้าไปใหญ่ เพราะอะไร เพราะกิเลสมันได้ต่อสู้กับเรามาแล้ว มันได้หลบหลีกเข้ามาจนถึงเข้าไปสู่จิตภายใน ถ้าเรารุกเข้าไป จิตภาวนาเข้าไป งานอย่างนี้มันงานลืมตายนะ
เวลาคนประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เวลาจิตมันละเอียดเข้ามา ดูสิ กว่าจิตเราจะละเอียด กว่าจิตเราจะเห็นลูกหนี้ เห็นสิ่งที่อวิชชามันใช้สิ่งนี้ออกมาให้มันเป็นกามราคะ ให้มันเป็นสิ่งที่สร้างภพสร้างชาติ ทำสิ่งใด ตรงนี้มันเป็นจุดสำคัญเลย ถ้าจุดสำคัญ ถ้าจิตมันจับของมันได้ มันพิจารณาของมันไป นี่พิจารณาด้วยมหาสติมหาปัญญา ถ้ามันพิจารณาไปถึงเต็มที่แล้ว ถ้ามันไม่รอบคอบขึ้นมา มันก็ล้มลุกคลุกคลาน นี่ล้มลุกคลุกคลานเพราะอะไร เพราะกิเลสมันเห็นผิด กิเลสมันลับลวงพราง กิเลสมันทำให้เราล้มลุกคลุกคลาน มันเป็นเรื่องการที่กิเลสมันจะต้องหาทางเอาตัวมันรอด
กิเลสมันจะต้องทำให้พญามารมันมีที่อาศัย มันไม่ปล่อยง่ายๆ หรอก ทั้งๆที่เราปฏิบัติขึ้นมาจนรู้จนเห็นตัวมัน แต่รู้เห็นมันก็ต้องใช้ปัญญาแยกแยะ ปัญญาพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำแล้วซ้ำเล่ามันก็พลิกแพลงด้วยเหตุด้วยผลของกิเลส กิเลสมันก็จะอ้างเหตุอ้างผลว่าสิ่งนั้นเป็นธรรม สิ่งนี้เป็นธรรม ปัญญาเราไม่ทัน มันก็เชื่อไปก่อน พอเชื่อไปก่อน เรามาตรวจสอบ ผิดอีกแล้ว ย้อนกลับเข้าไปต่อสู้ใหม่ เดี๋ยวกิเลสมันพลิกแพลงมา มันทำอย่างนี้มา
นี่บุคคลคู่ที่ ๓ ถ้าบุคคลคู่ที่ ๓ พิจารณาซ้ำๆ เข้าไป ถึงเวลามันละเอียดเข้าไป ละเอียดเข้าไปสู่จิต ละเอียดเข้าไปสู่จิต มันไปทำลายกันที่นั่น พอทำลายกันที่นั่น เห็นไหม ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเข้าไปถึงที่สุด นี่บุคคลคู่ที่ ๓ มันสำเร็จ สมุจเฉทปหาน ครืน! ในหัวใจ พอครืน! ในหัวใจ มันเหมือนกับจะสุดวิสัยของการปฏิบัตินะ เวลาจิตมันทิ้งเข้ามาทั้งหมดแล้ว มันจะปล่อยวางเข้ามาจนทำสิ่งใดไม่ได้ เพราะมือ ๒ ข้างเรากระทบกันตลอดเวลา มือซ้ายและมือขวา เราหยิบของ ๒ มือ เรายกน้ำหนักขึ้นมาได้ เอามือข้างหนึ่งหยิบของข้างหนึ่งก็ได้ มืออีกข้างหนึ่งหยิบของอีกข้างหนึ่งก็ได้ แต่เวลาเราจะหยิบของพร้อมกัน เราใช้ ๒ มือช่วยกันยกขึ้น
จิตเวลามันพิจารณาไป มันมีการกระทบกัน เห็นไหม ระหว่างจิตกับขันธ์มันกระทบกันมาตลอด มันมีสิ่งที่กระทบกระทั่งกันมาตลอด มันถึงรู้ถึงเห็น ขณะที่ว่ากระทบกัน ความรู้สึกกระทบกันพลังงาน เรามีสติปัญญา เราก็ละเอียดขึ้นไปขณะนั้น เวลาบุคคลคู่ที่ ๓ มันทำลายกันแล้ว มันหมดเลย แล้วว่างไปหมด แล้วเวลาจิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้หมองไปด้วยอุปกิเลส มันเป็นตอ มันเป็นหนึ่งเดียว ถ้าเป็นหนึ่งเดียว สิ่งใดจะเข้าไปจับสิ่งนั้นได้ล่ะ ถ้าไม่มีอำนาจวาสนาก็ว่าสิ่งนี้จบสิ้นกระบวนการแล้ว โลกนี้ว่างหมด สิ่งใดๆ ว่าง
โมฆราชไปถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง โลกนี้ว่างหมดเลย
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก โมฆราช เธอจงมองโลกนี้เป็นความว่าง แล้วย้อนกลับมาผู้ที่รู้ที่เห็นโลก ย้อนกลับมาที่ทิฏฐิตัวตนของเรา นี่เวลาสอนโมฆราช
ถ้าคนมีสติมีปัญญามันรู้ได้ นี่บุคคลคู่ที่ ๔ คู่สุดท้าย คู่ที่ละเอียดลึกซึ้ง
ถ้าเรามีสติมีปัญญา เห็นไหม ทำความสงบของใจให้มากขึ้น แล้วหมั่นสังเกต พอสังเกตถึงที่สุด เห็นไหม มูลหนี้ เจ้าหนี้ ลูกหนี้ เป็นบุคคลเดียวกัน เจ้าหนี้กับลูกหนี้เป็นบุคคลเดียวกัน ตัวจิตนั้นมันเป็นบุคคลเดียวกัน ถ้าเป็นบุคคลเดียวกัน เห็นไหม ดูสิ ถ้าเจ้าหนี้กับลูกหนี้ที่เขาแสวงหาผลประโยชน์กับทางโลกกัน เขามีผู้ได้ผู้เสีย เวลาถึงที่สุดแล้วทุกคนจบที่เจ้าของเงินนั้น
นี่ก็เหมือนกัน เวลาจิตมันปล่อยวางหมดแล้ว ชำระล้างทุกอย่างหมดแล้ว นี่เก็บเงินมาได้หมดแล้วมากองไว้ เงินก็คือกระดาษ มันจะใช้ประโยชน์กับสิ่งใด จิตมันปล่อยวางเข้ามาหมดแล้วมันถึงตัวมัน แต่ตัวมันคือตัวภวาสวะคือตัวภพ ถ้าตัวภพ ถ้ายังมีอยู่ เกิดบนพรหม แล้วจะทำอย่างไรล่ะ ทำอย่างไรมันถึงจะเข้ามาถึงตัวมันได้
ถ้าเข้าถึงตัวมันได้ นี่อรหัตตมรรค อรหัตตผล บุคคลคู่ที่ ๔ ถ้าบุคคลคู่ที่ ๔ มันละเอียดลึกซึ้ง มันเป็นปัญญาญาณ ญาณที่ละเอียดลึกซึ้งเข้าไป จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้หมองไปด้วยอุปกิเลส จิตเดิมแท้นี้ผ่องใส จิตเดิมแท้นี้เป็นผู้ข้ามพ้นกิเลส ความมหัศจรรย์ของธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใครจะรู้ได้ ใครจะกระทำสิ่งนี้ได้ สิ่งที่ศึกษามา ศึกษามาโดยทางวิชาการ แล้วเวลาแสดงออกมา เวลาสื่อกันก็สื่อกันเป็นสมมุติ สื่อกันเป็นทางวิชาการ สื่อกันเป็นวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทางโลกไง แต่เวลาครูบาอาจารย์ของเรา หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์ของเราท่านเป็นวิทยาศาสตร์ทางจิต นี่เป็นวิทยาศาสตร์ทางจิต เป็นวิทยาศาสตร์ที่เป็นนามธรรม สติปัญญาไล่ต้อนกันเข้าไปเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป ถึงที่สุดถ้าเป็นอรหัตตมรรค นี่มันจับของมันได้ แล้วปัญญาญาณที่มันเกิดขึ้น
ถ้ามันเป็นอรหัตตผลล่ะ นี่บุคคลคู่ที่ ๔ เวลาทำลายในหัวใจ นี่บุคคลคู่ที่ ๔ มันทำลายแม้แต่ตัวมันเอง เจ้าหนี้กับลูกหนี้ บุคคลคนเดียวกัน แล้วก็ทำลายภวาสวะ ทำลายภพ ทำลายตัวตนของลูกหนี้ เจ้าหนี้ ทำลายทั้งหมดเลย บุคคลคู่ที่ ๔ ทำลายลงไปแล้ว เห็นไหม มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ นี่มรรค ๔ คู่ที่ ๔ บุคคล ๔ คู่ที่การดำเนินการ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่สมมุติบัญญัติ แต่เวลาเป็นนิพพาน ๑ ออกไปแล้ว ออกไปจากบุคคล ๔ คู่ สิ่งนี้มันคืออะไร สิ่งนี้ใครแสวงหากันอยู่ นี่ไง ธรรมเห็นชอบ ความชอบธรรมมันเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป จนถึงที่สุดแห่งทุกข์
ถ้าถึงที่สุดแห่งทุกข์ ไม่มีสิ่งใด ไม่มีภวาสวะ คำว่า ภวาสวะ คือสถานที่ คือสิ่งที่รองรับความเกิดขึ้น นี่ภพชาติ สิ่งที่รองรับความเกิดขึ้น มันไม่มีสิ่งที่รองรับ ไม่มีสิ่งใดเลย แล้วมันจะมีอะไรเกิดขึ้น ถ้ามันไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้น เห็นไหม นี่วิมุตติสุขๆ ที่ว่าสุขหนอๆ มันไม่ใช่สุขเวทนา ทุกขเวทนา ไม่ใช่อะไรทั้งสิ้น แต่ผู้รู้ได้ มี นี่ความจริงเป็นแบบนั้น
ธรรมเห็นชอบ ความชอบธรรมในการประพฤติปฏิบัติก้าวเดินขึ้นมา แล้วมันจะมีความสุข มีความสุข มีความสุขแท้จริง เป็นความจริงในพุทธศาสนา เพราะพุทธศาสนามีมรรคมีผล มีสัจจะ มีความจริง แล้วเราเป็นชาวพุทธไง เราเกิดเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา เรามีความเชื่อมั่นของเรา เรามีศรัทธาของเรา เราจะทำมรรคทำผล อริยทรัพย์ให้เป็นของเรา เอวัง