ทำนองคลองธรรม
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
เทศน์บนศาลา วันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๗
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
ตั้งใจนะ ฟังธรรม ฟังธรรมอยู่กับโลก โลกมันแสนร้อน โลกเป็นอย่างนี้ สภาวะโลกเป็นแบบนี้ ทุกคนเกิดมาเห็นอยู่กับตานะ ความรู้สึกของเรา เราประสบโลก นี่โลก โลกเป็นแบบนี้ แต่สภาวธรรม เราศึกษากันเฉยๆ เราฟังธรรมเฉยๆ แต่เราไม่เคยเข้าถึงธรรมได้ไง
ทำนองคลองธรรม ทำนองนะ.. ทำนองของวัฏฏะ
เวลาเราเกิด เราเกิดมาในวัฏฏะ.. ทำนองของวัฏฏะ
ถ้าเราเกิดมาเป็นมนุษย์ มนุษย์สมบัติ เราเป็นชาวพุทธ เรามีอำนาจวาสนามาก เพราะ! เพราะมนุษย์สมบัติไง มีทาน มีศีล มีภาวนา การให้ทาน การรักษาศีล เห็นไหม ถ้าเรามีศีล ๕ เรารักษาศีล ๕ มนุษย์สมบัติ การเกิดเป็นมนุษย์นี้แสนยาก ถ้าเกิดเป็นมนุษย์นี้แสนยาก ทำไมเราเกิดเป็นมนุษย์กันบ่อยๆ ล่ะ เกิดซ้ำเกิดซากนะ
เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสาวไปบุพเพนิวาสาสนุสติญาณ ตั้งแต่ ๑๐ ชาติเห็นไหม ทศชาติ ๑๐ ชาติ ตั้งแต่เป็นพระเวสสันดรนี่ไป ๑๐ ชาติ ต่างๆ เพราะอะไร เพราะได้ทำบุญกุศลไง ทำคุณงามความดี มนุษย์สมบัติถึงได้เกิดเป็นมนุษย์ แต่ถ้าไม่ทำบุญกุศลก็เกิดเป็นสัตว์ แม้แต่ครูบาอาจารย์ของเรา เวลาพูด เวลาย้อนของครูบาอาจารย์ไป ไปเกิดเป็นสุนัข ไปเกิดเป็นไก่ สิ่งที่เกิดเป็นไก่เพราะอะไร
เพราะเราพอใจไง ไปพอใจกับภพชาติอย่างนั้น มันก็ติดในภพชาติอย่างนั้น ทำนองคลองธรรม ถ้าทำนองไม่ดีเห็นไหม ทำนองของวัฏฏะไม่ดี เราก็จะเกิดเป็นสัตว์ เกิดเป็นสัตว์นะ ถ้ามีบุญกุศลเราก็เกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม ถ้าเรามีบาปอกุศล เกิดเป็นเปรต เป็นผีก็ได้ เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานก็ได้ อบายภูมิ ๔ ถ้าเราทำบาปอกุศล ทำด้วยความเข้าใจหรือทำด้วยความไม่เข้าใจ
ถ้าเป็นทำนองคลองธรรมแล้ว ทำนองคือทำนองของวัฏฏะที่ทำให้เกิดให้ตาย คลองธรรมกับคลองกิเลสไง ถ้าทำคลองธรรม เรื่องของโลก คลองของธรรม ถ้าคลองของธรรม เราเป็นชาวพุทธ คลองของธรรมคือทำตามคำสั่งสอน เราเป็นชาวพุทธเราก็ถือศีล เราก็ประพฤติปฏิบัติ เราก็ให้ทานของเรา คุณงามความดีอย่างนี้ทำให้เราเกิดเป็นมนุษย์สมบัติ สิ่งที่เป็นมนุษย์สมบัติเป็นเรื่องของโลก มันก็เป็นเรื่องของโลก เราต้องปากกัดตีนถีบเพื่อความดำรงชีวิตอยู่
เวลาคนเกิดขึ้นมาแล้วแต่อำนาจวาสนา คนเกิดขึ้นมามีศักดิ์ศรี มีบุญญาธิการต่างๆ นั้นก็สมความประโยชน์ของเขา แต่ทุกข์ในหัวใจนะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไว้ คนเกิดคนตายมาแต่ละภพชาติ น้ำตาที่ร้องไห้ไว้ ถ้ารวมไว้โดยที่ไม่เหือดแห้งไป น้ำทะเลสู้ไม่ได้นะ น้ำทะเลมหาสมุทรมากขนาดไหน น้ำตาของสัตว์โลกเกิดมาร้องห่มร้องไห้ ร้องห่มร้องไห้นี้สะสมไว้จะเหมือนกับน้ำทะเลเลย แต่สิ่งนี้มันเป็นวัฏฏะ มันเป็นความหมุนเวียนไป
สิ่งที่หมุนเวียนไปเป็นอนิจจัง มันเกิดดับๆ ตามสภาวะแบบนั้น เราถึงไม่มีสติ ไม่มีสัมปชัญญะไง เกิดมาก็ตื่นไปกับโลกเขา เกิดมาตื่นไปกับโลก โลกเจริญ-โลกเสื่อม เรายิ่งศึกษาขึ้นไป เรายิ่งมีความภูมิใจนะ ว่าเราเกิดมาโลกกำลังเจริญ เราเป็นผู้ที่เป็นปัญญาชน เราอยู่ในโลกที่เจริญ แล้วเวลาอ่านประวัติศาสตร์ไป สมัยประวัติศาสตร์นั้นโลกไม่เจริญ มนุษย์อยู่ถ้ำ.. ก็สัตว์ตัวนี้มันข้อง ใจตัวนี้มันข้อง มันเกิดมันมาตายมาตามวัฏฏะมา มันจะไปไหน.. ก็ไอ้สัตว์ตัวนี้ สัตว์ตัวของเรามันข้องอยู่
เราเพียงแต่ภูมิใจไง ภูมิใจในปัจจุบัน ภูมิใจในเวลาเราศึกษาไปว่าปัจจุบันนี้ภูมิใจ เวลาของเรามี ๑๐๐ ปีหรือมากกว่านั้นเล็กน้อยเท่านั้น เวลาของเรา เวลาที่ว่าเรามีปัญญา เรามีโอกาสที่เราจะประพฤติปฏิบัติ เราจะทำในสิ่งที่เราจะไม่ต้องหมุนเวียนไปในวัฏฏะตามอำนาจของกิเลสไง คลองของกิเลสนะ ทำให้เรายึดมั่นถือมั่นในทางชีวิตของโลกเขา นี่เราต้องมีศักดิ์ศรี เราต้องมีสิ่งต่างๆ เพื่อที่จะให้กิเลสมันพองตัวไง กิเลสนี้จองหองพองขนนะ มันจะพองขนในหัวใจของเรา มันจะยกหูชูหางตามอำนาจของกิเลส
กิเลสนี้มีความคิดอยากใหญ่ อยากต้องการต่างๆ มันเป็นสภาวะของมันอย่างนั้น ทำไมไม่เอาชนะตัวเองล่ะ ทำไมไม่เอาชนะตัวเอง เอาให้ตัวเองสงบอยู่ในอำนาจของตัว สิ่งนี้ต่างหากคือธรรมนะ โลกจะเป็นขนาดไหนมันเป็นเรื่องของโลกเขา แต่เรื่องของเรา ธรรมะสอนเรื่องของเรา ถ้าเรื่องของเราชำระเรื่องของเราได้ นี้จะเป็นประโยชน์กับเรามาก
สิ่งที่เป็นประโยชน์กับเรา ธรรมนี้ย้อนกลับเข้ามาจากทางนี้ตลอดเลย สภาวะของโลกมันเสื่อมไป ถ้าเราส่งออกไป เราส่งออกไปยึดของโลก นั่นน่ะ ทำนองของวัฏฏะ วัฏฏะหมุนไปอย่างนั้น แล้วเราจะพยายามยึดสิ่งนั้นเป็นไปไม่ได้ สภาวะโลกนี้เป็นอจินไตย เป็นอจินไตยอยู่แล้ว มันต้องแปรสภาพ มันต้องเสื่อมไปโดยธรรมชาติของมัน มันต้องแปรสภาพอย่างนี้โดยสัจจะความจริงของเขา แล้วเราก็จะว่าเราจะพัฒนา เราจะทำให้อยู่ในอำนาจของเรา.. มันหมุนไป
เราเกิดมาช่วงชีวิตหนึ่ง เราอาศัยจังหวะชีวิตหนึ่งอยู่ในกระแสโลกเขา การดำรงรักษาไว้สิ่งที่เป็นประโยชน์นั้นเป็นประโยชน์โลก สิ่งที่เป็นประโยชน์โลก ใครทำ.. คนนั้นก็เป็นบุญกุศลของคนนั้น นี้เหมือนกัน ใจเราไปทำ ถ้าเรามีโอกาสทำเราก็ทำของเรา แต่เราไม่ไปยึดมัน สิ่งนั้นไปยึดไม่ได้ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ สิ่งนี้ไปเป็นอำนาจของกระแส สิ่งที่กระแสของวัฏฏะมันเป็นอย่างนั้นโดยธรรมชาติ สิ่งนี้มันหมุนไปไม่มีใครสามารถยกดึงพระอาทิตย์ไว้ ขึ้นแล้วไม่ให้ตก เป็นไปไม่ได้ โลกก็เวียนไปตามสภาวะแบบนั้น นี่ถ้าเราเข้าใจอย่างนั้น เราไม่ไปยึดสิ่งนั้น เราจะย้อนกลับเข้ามาไง
ถ้าทำนองคลองธรรมนะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างบุญญาธิการมหาศาลเลย กว่าจะได้ออกประพฤติปฏิบัติ พระเจ้าสุทโธทนะยื้อดึงไว้ พยายามต้องการให้เป็นจักรพรรดิ เพราะพ่อแม่ต้องสงวนรักษาสิ่งนั้นโดยธรรมชาติ พ่อแม่ เพราะพ่อแม่มีปัญญาทางโลก แต่ทางธรรมไม่มีใครมีปัญญา สิ่งนี้ต่างๆ พ่อแม่ต้องการดึงไว้ให้อยู่ปกครองเป็นกษัตริย์ แต่เพราะว่ามีอำนาจวาสนาไง เวลาออกไปเที่ยวสวน เห็นคนเกิด คนแก่ คนเจ็บคนตาย เราก็ต้องเป็นสภาวะแบบนี้หรือ
ถ้า เราสภาวะแบบนี้.. สิ่งนี้เป็นสภาวธรรมไง คลองของธรรมไง เกิดขึ้นมาในโลกเป็นถึงกษัตริย์ ความเป็นกษัตริย์มันก็สูงส่ง ทางโลกสูงสุดแล้ว ทำไมสละสิ่งนี้ออกมาได้ล่ะ ถ้าสละสิ่งนี้ออกมาได้เพื่อประโยชน์กับตัวเองไง เพื่อประโยชน์กับใจดวงนี้ไง ถ้าเพื่อประโยชน์กับใจดวงนี้ แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็สร้างบุญญาธิการมาด้วย ต้องไปสยัมภู ตรัสรู้ด้วยตนเอง
สภาวธรรมสิ่งนี้ไม่เกิด ออกแสวงหานะ ออกไปแสวงหาต่างๆ โดยธรรมชาติของกิเลส ที่ไหนที่เขามีผู้ชี้นำจะต้องไปหาตรงนั้น สิ่งนั้นต้องศึกษาก่อน เพราะสิ่งที่ผู้ชี้นำ เหมือนกับทางโลกเขาว่าต่อยอด สิ่งที่วิทยาศาสตร์เขามีแล้ว ถ้าเราเอาสิ่งนั้นเป็นพื้นฐาน เราต่อยอดของเราขึ้นไป นี้ก็ไปแสวงหา สิ่งที่มีที่ไหนว่าเป็นทางธรรมๆ จะเห็นไหม มันไม่ใช่เป็นคลองของธรรม เพราะธรรมยังไม่เกิด คลองของธรรมจะมีได้อย่างไร สิ่งนั้นเป็นเรื่องของ.. ถึงจะเป็นความสงบก็เป็นเรื่องของโลก เพราะว่าเรื่องของโลกมันเป็นฌานโลกีย์ไง
สิ่งที่เป็นฌานโลกีย์จะทำให้จิตนี้มีพลังงาน เรื่องของฌานเรื่องสมาบัติ จิตนี้จะมีพลังงานมากแล้วจะส่งออกไปตามอำนาจของจิตดวงนี้ จิตดวงนี้รู้สิ่งใด กาฬเทวิล ในธรรมบท รู้อดีตชาติได้ ๔๐ ชาติ อนาคตได้ ๔๐ ชาติ ไปอยู่บนพรหมนะ สิ่งนี้ส่งออก สิ่งนี้เป็นไป กาฬเทวิลยังไม่สามารถจะเข้ามาถึงธรรมการชำระกิเลสได้ เพราะสิ่งนี้ส่งออก ไปศึกษากับอาฬารดาบสก็เหมือนกัน นี่คลองธรรมยังไม่มี ยังไม่มีคลองธรรม มันถึงว่าเป็นคลองของกิเลสก็หมุนเวียนไป ด้วยอำนาจวาสนาก็ย้อนกลับเข้ามาไง
ถ้าย้อนกลับเข้ามา ย้อนกลับเข้ามาถึงกับว่าต้องทำอานาปานสติ ทำความสงบของใจให้ได้ ถ้าทำความสงบของใจให้ได้ แล้วยกขึ้นมาไง กิเลสมันเกิดจากสิ่งใด อดอาหารมานะ ๔๙ วัน พยายามจะเอาชนะกิเลสให้ได้ นี่เรื่องของโลกทำสภาวะแบบนั้น ที่ว่า กิเลสมันอยู่ที่ไหน? กิเลสมันอยู่ในหัวใจของเรา กิเลสมันอยู่กับตัวของเรา ก็ไม่เข้าใจสิ่งนี้ พยายามกดเห็นไหม กดเพื่อจะทำลายมัน แต่ปัญญาอย่างนี้ไม่เกิด
คำว่า โลกียะ คือปัญญาของเรา ปัญญาตัวตนของเรา ปัญญาความคิดของเรา เราจะศึกษามาขนาดไหน เรามีมุมมองขนาดไหน มันจะใช้สิ่งนี้ออกมา แล้วกิเลสมันก็อยู่กับเรา คลองของกิเลสมันจะบิดเบือนออกไป ความบิดเบือนออกไปตามสภาวะของกิเลส กิเลสจะทำลาย.. ทำลายนะ เพราะมันต้องปกป้อง ปกป้องที่อยู่ของเขา ปกป้องอำนาจของเขา ปกป้องสัตว์โลก เราต้องยึดพื้นที่ เราอยากมีประเทศ เราอยากมีจังหวัด มีอำเภอ มีที่อยู่อาศัยของเรา มีสังคมของเรา
นี้ก็เหมือนกัน พญามารอยู่ในหัวใจของสัตว์โลก จะไม่ยอมปล่อยใครให้หลุดมือออกไปได้เลย ถึงจะต้องผลักไสออกทุกวิธีการ ไม่ให้ย้อนกลับเข้ามาจากภายใน นี่ถึงต้องทำอานาปานสติ จิตนี้ถึงเป็นสัมมาสมาธิย้อนกลับมา แล้ววิปัสสนา นี่ย้อนกลับมาดูใจ เราทรมานตนขนาดไหน พยายามสุดวิสัยของเราขนาดไหน มันเป็นไปไม่ได้ไง การทำความเพียรที่อุกฤษฏ์ขนาดไหน ไม่เท่ากับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำทุกวิถีทางมาเพื่อจะให้ชำระกิเลสได้ สิ่งนี้เป็นจิตส่งออก จิตส่งออกมันอยู่แต่เรื่องของภายนอก ย้อนกลับเข้ามาถึงจะเป็นโลกุตตรธรรมไง
โลกียธรรม ผู้ที่มีบุญกุศลเห็นไหม มีจริตนิสัยที่ว่าอ่อนน้อมถ่อมตน เขาก็ควบคุมใจของเขาได้ เขาควบคุมของเขาได้เป็นกิริยามารยาทนะ แต่ความทุกข์ในหัวใจ ไฟเผารนในหัวใจ มันจะร้อนมาก สิ่งที่ร้อนมากคือเรื่องของกิเลสไง นี่กิเลสมันอยู่ที่ใจ ถึงต้องย้อนกลับมา สิ่งที่ย้อนกลับมาที่ใจ พอย้อนกลับมาที่ใจ พลังงานย้อนกลับเข้ามา บุพเพนิวาสาสนุสติญาณ เห็นเลยแหละ เห็นสภาวะของจิต
สภาวะของจิตที่ว่าเกาะเกี่ยวมาแต่ชาติใด ชาติใดต่างๆ เกาะเกี่ยวกันไป สิ่งนี้ปัญญาใคร่ครวญไปแล้วไม่ใช่.. ย้อนกลับ ถึงว่าจุตูปปาตญาณก็ไม่ใช่ เพราะสัตว์ตายแล้วเกิด อดีต-อนาคต สิ่งนี้มันเป็นสภาวธรรม มันเป็นเรื่องภายในนะ นี่คลองของธรรมมันก็มีหยาบ-มีละเอียดเข้าไปเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป จนสุดท้ายอาสวักขยญาณเข้ามาทำลาย นี่คลองของธรรม ทำนองคลองธรรมนะ
เราก็เหมือนกัน ทำนองคลองธรรมของเรา เราเกิดมา เราเกิดมาเป็นมนุษย์สมบัติ นี่ทำนองของเรามี ถ้าเรารำดีเห็นไหม เรารำดีเพราะมีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีอยู่แล้ว เหมือนกับเราเล่นดนตรี เราไปฝึกหัดดนตรี เริ่มจากเราเล่นดนตรีไม่เป็น แต่ละชิ้น เราก็ต้องฝึกหัด ความผิดพลาดมันต้องมี นักดนตรีที่มีชื่อเสียงมาก เขาก็ฝึกหัดมาเหมือนเรานี่แหละ เขาฝึกหัดมาเหมือนเรา เริ่มต้นจากมีความชอบ เราชอบสิ่งใด เราก็เล่นดนตรีชิ้นนั้น ถ้าเราเล่นดนตรีชิ้นนั้น การฝึกหัดของเรามันก็ต้องมีความผิดพลาดเป็นธรรมดา
สิ่งที่มีความผิดพลาดเป็นธรรมดา แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มี สิ่งนี้ไม่มี ไม่มีตัวโน้ต ไม่มีสิ่งต่างๆ เลย ต้องค้นคว้าเอา ต้องพยายามหาค้นคว้าหาสิ่งนี้ขึ้นมา แต่ของเรามีนะ ตัวโน้ตมีอยู่แล้ว แต่เราเล่นของเรา เราจะฝึกฝนของเราขึ้นมา.. จะเข้ามาไง สัมมาสมาธิเราต้องทำให้เกิดขึ้นมาให้ได้ ถ้าเราทำสัมมาสมาธิเกิดขึ้นมาได้แล้ว ทางโลกเขาว่านะเป็นคำโบราณ รำไม่ดีโทษปี่โทษกลองไง เราประพฤติปฏิบัติ เรานี่ตัวโน้ตมันก็มีอยู่แล้ว แล้วเรารำไม่ได้ เราจะไปโทษได้อย่างไรว่าศาสนานี้หมดมรรคผลนิพพานแล้วหรือ นรกสวรรค์หรือ ไม่มี.. นี่กิเลสมันพาสงสัยไง
ทำนองคลองธรรม ถ้าทำนองคลองธรรมสิ่งนี้ไม่จริง ๒,๕๐๐ กว่าปีนี้มาได้อย่างไร แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา องค์ที่ ๔ เห็นไหม พระพุทธเจ้าจะมีอย่างนี้ตลอดไป โลกกับธรรมจะมีของคู่กัน เพียงแต่เราเกิดมานี่เรื่องธรรมยังเจริญอยู่ ความเจริญของธรรม ถ้าใครเกิดสมัยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะมีอำนาจวาสนามาก เพราะขณะฟังธรรมนะ ถ้าเราฟังธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะซึ้งใจมาก
แต่ปัจจุบันนี้เราอ่านพระไตรปิฎกทำไมเราไม่เข้าใจ เราอ่านแล้วทำไมมันไม่ซึ้งใจของเรา เพราะกาลเวลาไง สังคมต่างสังคม ภาษาต่างภาษา ปัจจุบันนี้เราว่าเป็นปัจจุบันภาษาของเรา เราเข้าใจ แต่สมัยพุทธกาล สังคมมันต่างกัน มันถึงว่าความซึ้งใจ เห็นไหม เกิดทันองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นอันดับหนึ่ง แล้วเราเกิดพบพระพุทธศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้อันดับสองไง อันดับสองแล้วมีครูบาอาจารย์ของเรา
ทำนองคลองธรรม ทำนองคือทำนองของเราที่จะประพฤติปฏิบัติ
ทำนองเริ่มต้นคือทำนองที่เกิดในวัฏฏะ ทำนองของวัฏฏะ การเกิดนะ เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เกิดเป็นต่างๆ เขาไม่มีโอกาสนะ ทุกข์มาก จากสิ่งที่ว่าเกิดแล้วไม่ทุกข์ไม่มี ใจทุกข์ดวงเกิดแล้วทุกข์หมด เว้นไว้แต่เวลาเกิดบนสวรรค์ มีความสุขชั่วคราว แต่เวลาเราจะต้องหมดวาระ หมดกาลของเรา เราก็ต้องทุกข์เหมือนกัน สุขขนาดไหน มีความสุข ความสุขคือว่าสร้างบุญกุศลขึ้นมา บุญกุศล สัจจะความจริง ทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว เราสร้างบุญกุศลเราก็มีที่พัก เวลาอุบัติขึ้นมาเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม เราจะมีโอกาสได้สุขสบายอยู่ชั่วคราว สิ่งนี้เป็นสัจจะความจริงอันหนึ่ง แต่สัจจะความจริงอันนี้มันเป็นอนิจจังไง
สรรพสิ่งในโลกนี้เป็นอนิจจัง มันมีวาระไง สิ่งที่เป็นวาระ เราถึงต้อง.. ถ้าเราเกิดเป็นมนุษย์ โอกาสที่เราสร้างคุณงามความดี เราสร้างคุณงามความดีแล้วเราก็จะไปพักที่นั่น แล้วถ้าเราทำบาปอกุศลเราก็จะต้องไปเกิด เกิดในสิ่งที่ว่าเราสร้างเหตุอันนั้น เหตุอันนั้นอยู่กับใจเรา มันจะพ้นไปไหนในเมื่อเหตุมันเต็มแล้ว มันก็ต้องไปตามอำนาจของเหตุนั้น สัตว์ก็เหมือนกัน เขาเกิดมาเพราะเขาได้สร้างความผิดพลาด ได้เกิดมาเป็นสัตว์ ได้เกิดมาเป็นเปรตเป็นผีนะ เขาก็ทุกข์ร้อนของเขา แต่จิตทุกดวง การเกิดนี้มีความทุกข์ผูกไปกับใจทุกดวง
แต่การเกิดบนสวรรค์นั้นก็เป็นว่าสุขชั่วคราว คือ สุขชั่วพัก เท่านั้น สุขชั่วพัก
ถ้าเราเข้าใจอย่างนี้ เราถึงว่าเราพยายามประพฤติปฏิบัติของเรา
ทำนองอันนี้เราจะต้องให้เข้าคลองธรรมให้ได้ สิ่งนี้มีอยู่ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางอยู่แล้วไง แล้วย้อนกลับมาดูชีวิตของสัตว์ แล้วย้อนกลับมาดูชีวิตของเรา ถ้าย้อนกลับมาดูชีวิตของเรา ทำนองของเราดี ถ้าเรารำ เรารำคือการประพฤติปฏิบัติ เราพยายามทำของเราให้ได้ ถ้าเรารำดี ทำนองก็ดี รำก็ดี เหตุมันสมบูรณ์แล้ว นี่คลองของธรรม ถ้าคลองของธรรม เราเข้าคลองของธรรม เราจะเข้าไปถึงธรรมไง
ถ้าเราไปเข้าถึงธรรมนะ.. เรื่องของโลกมันเป็นความร้อนอย่างนี้ ไม่ต้องมีใครบอกกัน เรื่องของความเป็นทุกข์นะ คนแบกภาระคนจะเป็นทุกข์มาก ถ้าเรามีกิเลสในหัวใจ แล้วเราแบกภาระด้วยนะ เราจะมีความทุกข์มาก เพราะกิเลสมันก็เผาอยู่ภายใน ภาระก็อยู่เต็มบ่านะ แต่ครูบาอาจารย์ กิเลสในหัวใจท่าน ท่านทำลายกิเลสในหัวใจท่าน ภาระของท่าน ท่านก็เป็นภาระ
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ ตรัสรู้ธรรม ๔๕ ปี แบกภาระมามหาศาลเลย แบกภาระของโลกนะ พุทธกิจ ๕ ถ้าพุทธกิจ ๕ ตั้งแต่เล็งญาณนะ ออกบิณฑบาต ตั้งแต่ออกบิณฑบาตสั่งสอนคฤหัสถ์ สั่งสอนพระตอนหัวค่ำ แล้วก็สั่งสอนเทวดาตลอด ไม่มีเวลาพักเลยนะ ๒๔ ชั่วโมงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ทำงานตลอด
เราอ่านพระไตรปิฎก เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหนื่อย อานนท์ ปูสังฆาฏิเป็น ๔ ชั้นเถิด เราจะสีหไสยาสน์
เวลานอนเราก็เห็นว่านอน แต่จิตนอนหรือเปล่า? จิตทำงานหรือเปล่า? เราไม่เห็นเพราะเราไม่รู้ เพราะใจของเรามีแต่ความมืดบอด ใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสว่างตลอด นี่จิตของผู้ที่ธรรมชำระกิเลสแล้ว ภาระอันนั้นเป็นภาระเพื่อสัตว์โลกไง เพื่อสัตว์โลกคือเราตัวหนึ่ง เราก็เป็นสัตว์โลก
เราสัตว์โลก เราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา เราต้องเชื่อปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมอันนี้ไว้ นี่ทำนองของเราดี เราถึงมีโอกาสได้ออกมาประพฤติปฏิบัติ เพราะเรามีความเชื่อ ถ้าทำนองของเขาไม่ดีนะ คนเกิดมาในโลกนี้ ในลัทธิศาสนาต่างๆ การสั่งสอนของเขาก็ไม่เหมือนกัน แล้วในอริยสัจ สุภัททะ! เธออย่าถามให้มากไปเลย ศาสนาไหนไม่มีมรรค ศาสนานั้นไม่มีผล ในลัทธิศาสนาต่างๆ ที่เขาถือผิด เขาถือผิด เขาอ้อนวอนเอา เขาทำลายเพื่อจะไปอยู่กับ.. เอาใจไง เอาใจพระเจ้า เอาใจสิ่งต่างๆ เพื่อจะให้สมประโยชน์ของเขา แต่เอาใจขนาดไหนมันก็เรื่องของใจเรา เราดับของเราไม่ได้ไง ในเมื่อเราทำลายกิเลสของเราไม่ได้ เราจะพ้นไปไหนล่ะ เราก็ต้องเป็นสิ่งต่างๆ ที่อ้อนวอนกันตลอดไป ทำนองไม่ดีมันจะเป็นแบบนั้น
แล้วเราเป็นชาวพุทธ เราเกิดมาทำนองดีอยู่แล้ว แล้วเราก็ไม่เข้าใจ เราก็ไม่ประพฤติปฏิบัติ เราก็ไม่ค้นคว้าหาของเรา เพราะอะไร? คลองของธรรมหรือคลองของกิเลสล่ะ เกิดเป็นชาวพุทธทำนองดีมาก เราไม่ได้เกิดเป็นสัตว์ด้วย ทำนองของวัฏฏะเห็นไหม เกิดเป็นสัตว์ เกิดเป็นผู้ที่ทุกข์ที่ยาก แต่ทำนองของเราดี เพราะเกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาอาการ ๓๒ ครบ แล้วมีหัวใจไง หัวใจมีความศรัทธา มีความเชื่อในศาสนา ถ้าความเชื่อในศาสนาของเรา เราไม่มีความเชื่อในศาสนา เราจะไม่มาประพฤติปฏิบัติหรอก
เราทำงานทางโลกเห็นไหม โลกเขาทำงานกัน ทำธุรกิจทำการค้ากัน ไม่มีเวลา ไม่มีการพักผ่อน มีแต่การแข่งขันกันตลอด นั้นว่าเป็นการงานของเขา แล้วผู้ที่ประพฤติปฏิบัติล่ะ จะต้องรั้งใจของเราให้ได้ มันเป็นงานที่หนักหนาสาหัสสากรรจ์กว่าเขามาก สาหัสสากรรจ์เพราะอะไร เพราะทำเรื่องของโลกมันวางได้ มันมีสิ่งต่างๆ ข้อมูลมันเก็บไว้ได้
แต่เวลาเราประพฤติปฏิบัติเห็นไหม เวลาเราทำสัมมาสมาธิ เราเดินจงกรม เวลาสมาธิเกิดขึ้นมา มันจะทรงได้อย่างไร ถ้าเราไม่ชำนาญในวสี ชำนาญในวสีคือการเข้าและการออก การเข้าและการออกคือการสร้างเหตุและผลเห็นไหม มีเหตุแล้วผลมันจะเกิดขึ้น ถ้าเราสร้างเหตุของเราสมดุล ถ้าเมื่อไรเหตุสมดุล ผลมันจะค่อยๆ เกิดขึ้นมา แล้วเราจะไม่สามารถที่จะต้องการหรือมีความปรารถนา ถ้าเรามีต้องการมีความปรารถนา เรามีความปรารถนาในการสร้างเหตุ ถ้าเราปรารถนาในผลของมัน นี่อันนี้หลอก หลอกเพราะอะไร เพราะคลองของกิเลสไง กิเลสเสี้ยมเข้าไปในการประพฤติปฏิบัติ
เราว่าเราประพฤติปฏิบัติเพื่อคุณงามความดี เพื่อเหตุของเรา มันจะต้องมีสิ่งนี้เข้าไปกับใจทุกดวงในการประพฤติปฏิบัติ เหมือนกับนักดนตรีใหม่เขาหัดเล่นดนตรีไง โน้ตวางอยู่แต่ทำไมเราทำเสียงตามเสียงนั้นไม่ได้ เราทำเสียงไม่ได้ เพราะเราไม่มีความชำนาญ แต่ถ้าเมื่อไรเรามีความชำนาญ.. ไม่ต้องมีตัวโน้ต แต่เพราะความชำนาญของเรา เราจะควบคุมเสียงนั้นได้ ควบคุมให้ต้องการเป็นเสียงใดก็ได้ในการเล่นดนตรีของเรา นี้ก็เหมือนกัน ในการชำนาญในวสี ก็เพราะเราควบคุมของเรา เรามีสติของเราควบคุมสิ่งต่างๆ เหมือนกับเราเล่นดนตรี เรามีความควบคุมได้ มีความชำนาญ นี่ชำนาญในวสีเป็นแบบนั้น
มันถึงว่าปรารถนาไม่ได้ ความปรารถนาคือว่าเป็นตัณหาซ้อนตัณหา ความอยากซ้อนความอยากนะ แล้วถ้าผู้ที่ประพฤติปฏิบัติในทางของกิเลส บอกว่าในการประพฤติปฏิบัติของเรา เรามีความปรารถนา เรามีความต้องการของเรา มันเป็นอกุศลธรรม อกุศลจิต แล้วจะให้เกิดสัมมาสมาธินี่เป็นไปไม่ได้ สิ่งนั้นก็เป็นการคาดผิด เพราะอะไร เพราะว่าถ้าเราไม่ต้องการสิ่งใดเลย เราทำของเราโดยสักแต่ว่า แล้วสติมันอยู่ที่ไหนล่ะ ความสิ่งที่สติมันควบคุมไม่ได้ สิ่งที่ทำมันเป็นไปไม่ได้ นี่การเล่นดนตรี ถึงว่ามันจะเป็นความผิดพลาด มันเป็นการฝึกฝน
แต่ในเมื่อมีความชำนาญแล้ว ความปรารถนาหรือไม่ปรารถนามันจะสอนมาไง สอนจนเราเข้าใจนะ เวลาเราอยากมาก จิตเราเคยสงบมาหนหนึ่ง แล้วเราอยากให้มันสงบอีก เราทำจนมีความทุกข์ยากขนาดไหนมันก็ไม่สมประโยชน์ สิ่งนี้มันจะเตือนเราตลอด มันจะสอนเราเองไง สอนจิตดวงนั้นเอง จิตนั้นต้องรู้เอง.. จิตนี้เหมือนกับเด็กน้อย เริ่มหัดเดินขึ้นมา จากเด็กน้อยหัดเดินขึ้นมา มันจะพัฒนาขึ้นมา จากเด็กเกิดมา จากนอนแบเบาะก็หัดให้เด็กนี้คว่ำ เด็กนี้คว่ำลุกหงายได้แล้วให้เด็กนี้นั่ง แล้วก็ต้องให้เด็กนี้เดิน โดยธรรมชาติเด็กนี้จะต้องเดินได้ถ้าไม่พิการ
นี้ก็เหมือนกัน ถ้าจิตของเรา เราพัฒนาของเราขึ้นมานะ เรามีความปรารถนา เรามีศรัทธาความเชื่อ ศรัทธาความเชื่อ.. ทำนองดี เราจะได้ให้เข้าคลองธรรมที่ถูกต้อง คลองธรรมที่ถูกต้องเพราะเราเกิดมากึ่งกลางพุทธศาสนา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก กึ่งกลางพระพุทธศาสนานี้ ศาสนาจะเจริญอีกหนหนึ่ง ศาสนาจะเจริญขึ้นมา จะเจริญในหัวใจของครูบาอาจารย์ไง เจริญในหัวใจของหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น แล้ววางเป็นปฏิปทาเครื่องดำเนินของเรามา
ถ้าทำนองของเราดี เราต้องฝึกฝนเรา เห็นไหม การกิน การเดิน การอยู่ของเรา จะต้องให้มีวัตรปฏิบัติ สิ่งที่มีวัตรปฏิบัติ เวล่ำเวลาต้องให้ตรงกับเวลา ถ้าเราตรงกับเวลานะ เราตั้งเวลาของเราแล้วเราทำได้ตามเวลาของเรา นี่ทำนองจะเกิดขึ้นไง สิ่งที่ทำนองเกิดขึ้นเหมือนกับตัวโน้ต เราเล่นตามตัวโน้ต นี้ก็เหมือนกัน วัตรปฏิบัติ ตามในพระไตรปิฎก ภิกษุหัวค่ำนี้ให้เดินจงกรม ๔ ทุ่ม ๔ ทุ่มนอนถึงตีสอง ตีสองลุกขึ้นต้องเดินจงกรมถึงสว่าง การนอนอย่างนี้ พระไตรปิฎก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็วางไว้
แล้วครูบาอาจารย์เราก็ทำสิ่งนี้มาถึงที่สุด จนถือเนสัชชิก จนถึงว่าให้มันเข้มข้นขึ้นมาเป็นธุดงควัตรไง สิ่งที่เป็นธุดงควัตรเพื่อจะดัดแปลงตนขึ้นมา นี่เป็นทำนองทั้งนั้น ถ้าเราเก็บสงวนทำนองของเราขึ้นมา สงวนรักษาสิ่งนี้ของเรา ธรรมเจริญในหัวใจของหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ซึ้งมาก เพราะจะเกิดขึ้นมา ธรรมอันนี้เกิดขึ้นมาจากวัตรปฏิบัติสิ่งนี้ ถ้าวัตรปฏิบัติสิ่งนี้เกิดขึ้นมา เราเห็นคุณค่าไง เก็บเล็กผสมน้อยนะ
คนสุรุ่ยสุร่ายจะเก็บเงินไว้ไม่ได้หรอก คนทำการค้าทำธุรกิจ ถ้าเขาไม่รอบคอบ ธุรกิจของเขาจะไม่ประสบความสำเร็จ นี้ก็เหมือนกัน ในเมื่อการประพฤติปฏิบัติของเรา เก็บเล็กผสมน้อย อย่าเห็นว่าของนี้เป็นของเล็กน้อย สิ่งนี้เราจะไปเอาสิ่งที่ว่าเป็นการประพฤติปฏิบัติ จะเอาหัวใจของเรา เราจะเอาเป็นความปรมัตถ์ นี่เราคิดของเราอย่างนั้น ความเป็นปรมัตถ์กิเลสมันก็เอาปรมัตถ์นั้นมาหลอกเราได้ อารมณ์อย่างนี้ ความรู้สึกอย่างนี้เป็นปรมัตถ์ ปรมัตถ์ใครจะไปรู้เรื่องปรมัตถ์ล่ะ
แต่ถ้าเราสร้างฐานของเราเก็บเล็กผสมน้อย เริ่มจากมีศีล มีสมาธิแล้วมีปัญญาขึ้นไป เราสร้างทำนองของเราให้ถูกต้องขึ้นไป สิ่งนี้เป็นฐานเอง.. จิตตั้งมั่น ถ้าจิตตั้งมั่น จิตนี้มีฐาน จิตนี้มีฐานเพราะเราเป็นคนที่ว่าไม่สุรุ่ยสุร่าย เราเป็นคนเก็บเล็กผสมน้อย เราเป็นคนรอบคอบ เราพยายามพัฒนาของเราขึ้นมา นี่เราสร้างของเราขึ้นมาได้
ถ้าจะดูผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ดูตรงหัวใจ ถ้าหัวใจนะ ซื่อสัตย์กับตนเอง เป็นสุภาพบุรุษกับตนเอง เพราะเราเท่านั้น ธรรมและวินัยนี้ไว้จับผิดเราไง ธรรมและวินัยไว้คอยดูแล คอยสอดส่องเรื่องความคิด เรื่องเจตนาของเรา ถ้าเจตนาความคิดของเราถูกต้อง เพราะเรื่องนี้เรื่องของเรา
ไฟอยู่บนหัวของเรานะ เราเกิดขึ้นมามีกิเลสทุกคน สิ่งที่กิเลสนี้อยู่ในใจของทุกๆ ดวง แล้วก็เผาใจทุกๆ ดวง แล้วเราก็ว่าเราเป็นสุภาพบุรุษนะ จะเที่ยวไปดับไฟของคนอื่นให้เขาไง นี่เรื่องของสังคม โลกส่งออกไง ไฟอยู่ในหัวของเรา เราจะต้องทำดับไฟในหัวของเรา ปัดไฟดวงนี้ออกจากศีรษะเราให้ได้ ถ้าเราปัดไฟออกจากศีรษะเราได้ ความร้อนของไฟนั้นจะไม่เผาไหม้ศีรษะเรา ธรรมและวินัยถึงให้จับมาที่ตัวเรา
จิตคึกจิตคะนอง การแสดงออกของจิตนี้ การแสดงออกของกิริยานิสัยนี้ ออกมาจากไฟดวงนี้ ออกมาจากกิเลสของเรา ออกมาจากสิ่งรู้ ออกมาจากตัวรู้นี้ ออกมาจากธาตุรู้ ออกมาจากพุทโธไง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนี้เป็นฐานของใจทุกๆ ดวง
สิ่งที่มีค่าที่สุดของโลกนี้คือหัวใจของสัตว์โลก สิ่งที่ว่าหัวใจของสัตว์โลกที่มีคุณค่านี้ โดนกิเลสปกป้องอยู่ โดนกิเลสควบคุมอยู่ กิเลสนี้ควบคุมสิ่งนี้ แล้วก็แสดงสิ่งนี้ออก แล้วเราก็ว่าเราจะประพฤติปฏิบัติ เราจะทำคุณงามความดี เราจะเอาสิ่งนี้มาเป็นประโยชน์กับเรา
ถ้าเราไม่กลับมาดัดแปลงตน กลับมาดัดแปลงใจของเรา กลับมาดัดแปลงนะ ทำนองคลองธรรม แล้วจะต้องรำให้เข้ากับทำนองนั้น ถ้าเข้ากับทำนองนั้นนะ สภาวธรรมมันจะเกิดขึ้นมา สิ่งที่สภาวธรรมจะเกิดขึ้นมา จะมีความร่มเย็นเป็นสุขไง จะองอาจกล้าหาญ ถ้าเราอยู่ในศีลในธรรม เราจะมีความองอาจกล้าหาญ จะเข้าสังคมใดก็ได้ เพราะสังคมนี้ทุกคนเป็นนักปราชญ์ สิ่งที่เป็นนักปราชญ์เขาจะรู้ว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูก สิ่งใดผิดสิ่งใดถูกนั้นมันเป็นธรรมวินัยจากภายนอก
สิ่งที่เป็นธรรมจากหัวใจคือการแสดงออกมาจากจิตดวงนี้ เพราะอะไร เพราะชำนาญในวสี เพราะยังควบคุมสิ่งนี้ได้ ทำสิ่งนี้เข้ามา เริ่มสงบเข้ามาไง ถ้าจิตนี้สงบเข้ามา ย้อนกลับ ย้อนกลับ เพราะอะไร เพราะธรรมมีอยู่แล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าค้นคว้าสิ่งนี้มากนะ ดูอย่างองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเทศน์สอนพระปัญจวัคคีย์สิ พระปัญจวัคคีย์เพราะฝึกกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา อุปัฏฐากมา ๖ ปีถึงมีสัมมาสมาธิไง
สิ่งที่เป็นสัมมาสมาธิเพราะว่ามีจิตนี้ตั้งมั่นอยู่แล้ว แต่ยังไม่มีคลองธรรมที่จะให้กิเลสนี้ออกไง เวลาเทศน์ธัมมจักฯ พระอัญญาโกณฑัญญะมีดวงตาเห็นธรรมขึ้นมา เป็นสงฆ์องค์แรก พระปัญจวัคคีย์ ๕ องค์ นี่พระอัสสชิทำไมไม่มีดวงตาเห็นธรรมล่ะ นี่จริตนิสัยเห็นไหม พระอัญญาโกณฑัญญะมีบุญวาสนามากกว่า จะมีดวงตาเห็นธรรม แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เทศน์สอนไป จนพระปัญจวัคคีย์ทั้งหมดเป็นพระโสดาบันทั้งหมด องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์อนัตตลักขณสูตรขึ้นมา นี่เป็นพระอรหันต์ขึ้นมาทั้งหมดเลย สิ่งนี้เข้าทำนองคลองธรรม ธรรมจากใจดวงนั้น.. พระปัญจวัคคีย์ ๕ องค์ยังไม่เหมือนกัน ยังทำต่างกัน
นี้ก็เหมือนกัน ถ้าเราย้อนจิตของเรากลับมา ย้อนกลับเข้ามาดูความข้องใจ ใจนี้มันข้องสิ่งใด มันเกี่ยวพันกับสิ่งใด เวลาจิตสงบขึ้นมาแล้ว มันพอใจกับสิ่งใด มันพอใจ คือมันจับต้องสิ่งใดได้ สิ่งใดที่มันเป็นการเป็นงานของมัน ของใจดวงนี้ไง ถึงจะต้องจับตรงนั้นไง ถ้าเราจับตรงนั้น จะเป็นวิปัสสนาขึ้นมาได้ จะเป็นวิปัสสนานะ ถ้าเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เราใช้ปัญญาใคร่ครวญสิ่งนี้เข้ามา มันสงบตัวเข้ามา มันจะหดตัวเข้ามา.. หดตัวเข้ามา.. จิตนี้จากที่มันแผ่ขยายออกไปยึดโลกทั้งโลกเลยนะ มันรู้สิ่งใดมันก็ว่ามันรู้ สิ่งที่มันรู้มันกวนใจ เพราะสิ่งที่รู้นั้นเป็นสังขาร ความคิด ความปรุง ความแต่งมันเกิดขึ้นมา แล้วมันก็ยึดออกไป สิ่งที่จิตนี้ยึดออกไปทั้งโลก โลกทั้งโลกเป็นของเรา
นี่บอกว่าเรื่องของสังคม เรื่องของสัตว์โลกมันเป็นธรรมชาติอยู่อย่างนั้น เราจะรู้ขนาดไหนนี้เป็นความเจริญของโลกที่ว่าเราเคยผ่านต่างประเทศ เราเคยสิ่งต่างๆ มา มันเป็นความเจริญของโลกที่โลกมันแคบเข้ามา สิ่งนี้มันรู้ขึ้นมาเพื่อประโยชน์ของโลกเขาไง แต่เวลาเราเอามาภาวนา เวลาเราเริ่มภาวนา มันยึดออกสิ่งนั้น รับรู้สิ่งนั้น รับรู้สิ่งใด เราก็รู้สิ่งภายนอก นี่จะมีปัญญาขนาดไหน จะรู้ขนาดไหน สิ่งนั้นไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นประโยชน์เพราะมันทำให้ใจนี้ฟู ใจนี้ไม่สงบเข้ามา ถึงใช้ปัญญาอบรมสมาธิไล่สิ่งนี้เข้ามา ต้อนสิ่งนี้เข้ามา มันปล่อยไง ปล่อย ปล่อยโลกเข้าไป
โลกนอก-โลกใน เรื่องของโลกภายนอก มันเป็นไปตามกระแสของโลก ความเจริญของโลกมันเป็นครั้งเป็นคราว มันเจริญแล้วเสื่อมโดยธรรมชาติของมัน แต่โลกของใจ โลกภายในสิ โลกภายในที่แบกสิ่งนี้ไว้มีแต่ความเร่าร้อน มีแต่ความทุกข์ มันความเร่าร้อนไง เรารู้อยู่ ถ้ามีกิเลสกับทุกดวงใจนะ
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไว้แล้ว ในสโมสรสันนิบาตทุกดวงใจว้าเหว่ ทุกดวงใจ สัตว์ที่เกิดขึ้นมาทุกดวงใจมีความทุกข์ จะมั่งมีศรีสุข จะสูงส่งขนาดไหน ทุกข์ทั้งนั้น ไม่มีความสุข ความสุขนี้เพราะทุกข์มันเจือจางลง ทุกข์มันเบาลงเท่านั้น แต่เราก็เราพอใจ เพราะเราไม่เข้าใจ เราประพฤติปฏิบัติไม่ได้ มันถึงว่า ถ้าสิ่งนี้เข้ามา ถึงจะเป็นโลกียธรรม สิ่งนี้เป็นโลกียธรรม เราถึงใช้ปัญญาอบรมสมาธิเข้ามา ปล่อยวางสิ่งนั้นเข้ามา.. ปล่อยวางเข้ามา.. ถึง พอมันปล่อยวางเข้ามาเป็นสัมมาสมาธิ
ในเรื่องของน้ำ ในเรื่องของกระแสน้ำนะ แม่น้ำทุกสายไหลลงสู่ทะเลหมด แต่แม่น้ำบางสายสาขาของแม่น้ำ ไหลลงมาสู่แม่น้ำสายหลักนะ แม่น้ำสายสาขาต่างๆ เข้าใจว่าไหลลงมาถึงที่แม่น้ำสายหลัก เข้าใจว่านั่นเป็นทะเล เพราะเป็นแม่น้ำใหญ่ นี้ก็เหมือนกัน เวลาทำจิตของเราเป็นสัมมาสมาธิ เราก็ว่าสิ่งนี้เป็นนิพพาน สิ่งนี้เป็นความว่าง สิ่งนี้เป็นความสุขมาก นี่ทำนองคลองกิเลส! เป็นทำนองนะ เราสร้างสมสิ่งนี้ขึ้นมา เราพยายามทำของเราขึ้นมา แล้วเวลาคลองของธรรมมันควรจะเข้าถึงธรรม ทำไมมันไปติดสิ่งนั้นได้ล่ะ นี่สิ่งที่ติด กิเลสนี้มันละเอียดลึกลับซับซ้อนมาก เราคิดว่าเราทำในการประพฤติปฏิบัติ เราจะทำแบบไม่ให้มีกิเลส ไม่ให้มีตัณหา ไม่ให้มีอกุศลเข้ามาในหัวใจของเราเลย มันจะเป็นไปได้อย่างไร เพราะเขาไม่เคยไปประพฤติปฏิบัติ
ถ้าคนเคยประพฤติปฏิบัติโดยมีครูมีอาจารย์นะ หลวงปู่เสาร์กับหลวงปู่มั่นแก้กันมาเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมานะ กิเลสอย่างหยาบๆ ถ้าเราฆ่ามัน เราทำลายมันไปได้ กิเลสอย่างกลางมันก็ปลิ้นปล้อน มันก็หลอกลวงใจดวงนั้นตลอดไป กิเลสอย่างละเอียด กิเลสอย่างละเอียดสุดมันจะทำให้เป็นหมอบราบคาบแก้วกับมันอยู่ตรงอวิชชานะ เวลาเข้าไปถึงอวิชชาจะไปหมอบราบคาบแก้วกับสิ่งนั้นเลย เพราะสิ่งนี้มันมีอยู่ มันเป็นอนุสัยอยู่กับจิตทั้งหมด แล้วเราบอกว่าจะไม่ให้จิตนี้เป็นอกุศล ประพฤติโดยเป็นกุศลขึ้นมามันจะเป็นไปได้อย่างไร
เราประพฤติปฏิบัติ เราถามใจเราสิ เราลังเลสงสัยไหม ทุกดวงใจมีความลังเล มีความสงสัย ทั้งๆ ที่เชื่อมั่นมากนะ เราเชื่อมั่นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขนาดไหน เราก็สงสัย ถึงต้องมีครูบาอาจารย์คอยชี้นำ คอยแก้ความสงสัยของเราไง สิ่งที่ว่าเราสงสัยเพราะเราไม่รู้ เพราะเราประพฤติปฏิบัติเราทำไม่ได้
ถึงว่าเวลาศึกษาธรรม ต้องประพฤติปฏิบัติโดยที่ไม่มีอกุศลถึงจะเป็นธรรม ถ้าประพฤติปฏิบัติโดยอกุศลนี้ ถึงจะไม่เป็นสัมมา แต่จะเป็นมิจฉาตลอดไป ความเห็นผิดของคนที่ไม่เคยประพฤติปฏิบัติ คนเคยประพฤติปฏิบัติแบบครูบาอาจารย์ของเรา ต้องแก้ขึ้นไปเป็นชั้นเป็นตอน เพราะกิเลสอย่างหยาบๆ มันก็หลอกอย่างหยาบๆ กิเลสอย่างกลางมันก็หลอกอย่างกลาง กิเลสอย่างละเอียดมันหลอกให้หลงอยู่ในกามราคะ อยู่อย่างนั้นตลอดไป แล้วกิเลสอย่างละเอียดสุด เวลาเข้าไปถึงมันจะไม่เห็นมัน จะเข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นธรรมๆ ตลอดไป
ถึงว่าเราเกิดมา ทำนองคลองธรรม ศาสนาเจริญรุ่งเรืองในหัวใจของครูบาอาจารย์ของเรานั้นเป็นสิ่งที่ว่าเราจะมีสิ่งนั้นคอยแก้ไขใจของเรา ถ้าไม่มีครูบาอาจารย์ของเรานะ ครูบาอาจารย์ของเราเวลาค้นคว้าขึ้นมา เปิดพระไตรปิฎก พยายามค้นคว้ามาก บาลีว่าอย่างไร ความรู้ความเห็นของเราเป็นอย่างใด ความรู้ความเห็นของเราตรงกับบาลีไหม ถ้าเริ่มต้นประพฤติปฏิบัติก็ต้องว่าตรงเพราะกิเลสมันอยู่กับเรา แล้วความคาดความหมายเพราะไม่มีครูบาอาจารย์ ก็ต้องค้นคว้าอย่างนั้นตลอดไป แต่ในปัจจุบันนี้มี ในปัจจุบันนี้มีหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น คอยชี้นำมา จนส่งทอดต่อๆ มา จนเป็นครูบาอาจารย์ของเรา เป็นแต่ละองค์มาเพื่อจะชี้นำสิ่งนั้น
เราถึงต้อง.. เวลาผิดพลาดอย่างไร เราถึงต้องถามหาครูบาอาจารย์เพราะคอยแก้สิ่งนี้ ถ้าแก้สิ่งนี้ได้ไม่เสียเวลา เรารื้อค้น เราพยายามค้นคว้านะ เป็นปีเป็นเดือนกว่าจะแก้ความเห็นผิดตกไปเป็นขั้นเป็นข้อหนึ่งๆ แต่ถ้าเราถามครูบาอาจารย์นะ ครูบาอาจารย์จะปัดตกเดี๋ยวนั้น เดี๋ยวนั้นไม่เสียเวลา เดี๋ยวนั้น เราถึงว่าสิ่งนี้เป็นประโยชน์กับเรา
แต่ถ้าเราไม่มีสิ่งที่ว่าเป็นความเกี่ยวข้อง เป็นความผิด เป็นความเข้าใจผิด เราก็ต้องประพฤติปฏิบัติสิ่งนี้ขึ้นมา นี่ถ้าใจมันสงบเข้ามามันจะเป็นสภาวะแบบนี้ ถ้าเป็นสภาวะแบบนี้ จากแม่น้ำหลายสาขา พอไปถึงแม่น้ำใหญ่ มันมีความว่างขนาดไหน เราก็ต้องรักษาสิ่งนี้ไว้ ถ้าเราชำนาญในวสี เราจะชำนาญในวสีนะ แม่น้ำจากสายสาขา มาถึงแม่น้ำสายแม่น้ำใหญ่ เราก็ประคองให้แม่น้ำใหญ่นี้ไหลลงสู่ทะเล ถ้าแม่น้ำใหญ่ไหลลงสู่ทะเล ถ้าจะไหลไป มันจะไม่เกี่ยวข้องไปกับสิ่งที่ไปเกาะเกี่ยว วังน้ำวนหนึ่ง สิ่งที่ว่าเป็นวังน้ำวน สิ่งที่ว่าเป็นเขื่อน เป็นสิ่งที่กั้นน้ำไว้หนึ่ง ถ้ามันติดสภาวะแบบนั้นต้องแก้ไข
ถ้าแก้ไขลงไป เวลาจิตสงบเข้ามานี้เป็นแค่แม่น้ำสายสาขา ลงถึงแม่น้ำใหญ่เท่านั้น ถ้าเรายกขึ้นวิปัสสนาได้ แม่น้ำใหญ่ ความเห็นของปัญญามันจะเกิดไง ถ้าความเห็นของปัญญามันเกิด เหมือนกับกระแสน้ำมีแต่ไหลลงสู่ทะเล ถ้ากระแสน้ำนั้นไหลลงสู่ทะเลได้ นี่ทำนองคลองธรรมนะ ถูกต้องตามธรรมชาติ สิ่งที่สภาวธรรมนี้คือสิ่งที่เป็นธรรมชาติอันหนึ่ง แต่ธรรมชาติของโลกเขา เราจะไปเทียบสิ่งที่เป็นธรรมชาติของโลกนั้นเป็นสภาวธรรม ธรรมชาติที่มันแปรปรวน
แต่สภาวธรรมตามธรรมชาติของเรามันเกิดดับไง มันเป็นอนัตตา สิ่งที่เป็นอนัตตาเพราะอะไร เพราะใจนี้เกิดดับโดยธรรมชาติ เราเกิดมาเป็นมนุษย์ร้อยปีหรือกว่านั้นเราก็ต้องตายไป มันเป็นสิ่งที่ว่าไม่คงที่แน่นอน เป็นสิ่งที่อนิจจังแน่นอน สิ่งนี้มันมีอยู่แล้ว แต่เวลาความเกิดดับจากภายใน ความเกิดดับ เกิดดับจากปัญญาไง เวลาปัญญามันเกิดขึ้นมา เราสร้างสมขึ้นมาด้วยเหตุของเรา ทำสัมมาสมาธิแล้วจับกายกับจิตได้ ถ้าจับกายกับจิตได้..
จับกายได้จะเห็นเป็นสภาวะของกาย สิ่งที่มันเป็นกาย มันเป็นที่ว่า เป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ พิจารณาไป มันจะเปื่อยเน่าขนาดไหน จับสิ่งใดสิ่งหนึ่งย้อนไป ถ้ากำลังพอมันจะเป็นสภาวะไป นี่ปัญญาอย่างนี้เกิด มันจะเป็นอนัตตาไง ถ้าเป็นอนัตตาเพราะอะไร เพราะว่าสภาวะของกายเหมือนกับสิ่งที่ว่าของที่ว่าใหม่ๆ อยู่ เราดูอยู่มันต้องแปรสภาพเป็นธรรมดา แล้วจิตขณะที่เป็นสัมมาสมาธิมันไม่มีมิติเห็นไหม ไม่มีของกาลเวลา สิ่งที่ว่า สิ่งใดก็แล้วแต่ที่มันจะต้องแปรสภาพไป มันต้องใช้กาลเวลา ต้องถึงเหตุผลของมัน มันถึงจะเป็นไป
แต่ขณะวิปัสสนามันจะเห็นเป็นปัจจุบันตลอด เพราะจิตนี้มันจะมีความมหัศจรรย์มาก สภาวธรรมที่เห็นจากสภาวะภายใน นี่แม่น้ำใหญ่แล้วจะไหลไป กระแสน้ำจะพัดไปรุนแรง รุนแรงเพราะอะไร เพราะถ้าเราเห็นสภาวะแบบนี้มันจะมีความรู้สึกขนพองสยองเกล้า มีความรู้สึกจากภายใน เห็นสภาวะแบบนั้นนะ มันจะเริ่มปล่อย ปล่อยนะ ถ้าเห็นสภาวะอย่างนั้น เพราะอะไร เพราะสิ่งนี้มันเป็นสภาวะที่ไม่ใช่ของเรา มันเป็นสภาวะที่ว่าไม่มีใครเป็นเจ้าของ มันมีอยู่ชั่วคราว แล้วมันก็จะต้องสลายไปโดยธรรมชาติของมัน
มันจริงของมันอันหนึ่ง สภาวะจริงของมันอันหนึ่งเพราะอะไร เพราะใจอันนี้จริงไง ใจอันนี้เป็นโลกุตตรธรรม สิ่งนี้เป็นสภาวธรรมที่เราสร้างขึ้นมา ถ้าโลกุตตรธรรม สิ่งนี้เกิดขึ้นมา โลกุตตรธรรมก็เป็นโลกุตตรปัญญา สิ่งที่เป็นโลกุตตรปัญญาก็วิปัสสนาสิ่งที่ว่าเป็นสภาวะของกายนี้ ใคร่ครวญสิ่งนี้ไป ถ้ากำลังพอ สิ่งนี้จะเป็นไป
แต่ถ้ากำลังไม่พอนะ ความไม่เข้าใจของเรา ถ้าเราไม่เข้าใจของเรา เราจะยึด ยึดเพื่ออะไร เพื่อว่ามันเป็นปัญญา เราเห็นสภาวะกาย สภาวะที่แปรสภาพไปแล้วมันปล่อยขึ้นมา เรามีความพอใจมาก เราจะให้เป็นสิ่งนั้นอีก เราก็พยายาม พยายามอยู่อย่างนั้น คลองของกิเลสมันก็ติดพันไปตลอด เพราะมันเป็นไปไม่ได้ เป็นไปไม่ได้เพราะมันไม่มีกำลังพอ
เหมือนกับเราจะทำอาหาร แต่ไฟของเราไม่แรงพอ อาหารนั้นจะไม่สุก แต่เราก็ทำอยู่นะ อาหารอยู่ในกระทะของเรา เรากำลังกลับไปกลับมา แต่ไฟไม่พอ ก็ทำอยู่อย่างนั้น แล้วเมื่อไรจะสุกสักที สุกสักที มันจะไม่สุกเพราะกำลังมันไม่พอ ถึงต้องปล่อยสิ่งนี้แล้วกลับมากำหนดพุทโธๆ หรือใช้ปัญญาอบรมสมาธิเข้ามา แล้วค่อยกลับเข้าไปใคร่ครวญใหม่ ต้องยึดสิ่งนี้ ทำสิ่งนี้ตลอดไป
สมถกรรมฐานกับวิปัสสนากรรมฐานนี้จะเดินคู่กันไปตลอด สิ่งใดสิ่งหนึ่งขาดไปไม่ได้ ถ้าสิ่งใดสิ่งหนึ่งขาดไป นี่มรรค ๘ มรรคอริยสัจจังจะไม่สมดุล ถ้ามรรคอริยสัจจังไม่สมดุลความเป็นไปของจิตนี้ มันจะไม่เป็นไป มันจะคากันอยู่ในหัวใจอย่างนั้นตลอดไป แล้วก็จะมีความลังเลสงสัย จะเดินหน้าก็ไม่เข้าใจ จะถอยหลังก็ถอยไม่ได้ แล้วจะทำอย่างไรตลอดไป นี่การขาดครูบาอาจารย์ก็ต้องค้นคว้าเอา
แต่ถ้ามีครูบาอาจารย์บอกให้ปล่อยวางสิ่งนี้ไว้ก่อน แล้วกลับมาทำความสงบให้ตั้งมั่นให้ได้ ถ้ามีอำนาจวาสนา กลับไปจะพิจารณากายได้ ถ้าไม่มีอำนาจวาสนานะ มันก็ล้มลุกคลุกคลาน สิ่งที่ล้มลุกคลุกคลานเพราะออกไปหาสภาวะกายมันจับกายไม่ได้ไง ถ้าจับกายไม่ได้ เราก็ไม่รู้จะค้นคว้าสิ่งใด เหมือนกับทางตำรวจเขาจับจำเลยได้ จับผู้ร้ายได้ แล้วฟ้องศาลเห็นไหม แต่เวลาลงจากศาลแล้วเขาหนีหมายศาลก็ได้
อันนี้ก็เหมือนกัน ถ้าเราวิปัสสนากาย เราวิปัสสนามีอำนาจวาสนา เราจะจับอย่างนั้น คือจำเลยเขาไม่หนีศาล ไม่หนีศาลเราก็จะเห็นกายตลอดไป วิปัสสนาไป วิปัสสนาไป ซ้ำแล้วซ้ำเล่ามันจะปล่อย ปล่อยขนาดไหนมันเป็นเรื่องของสภาวธรรม ไม่ใช่เรื่องของเรา ถ้าเป็นเรื่องของเรา เราจะเข้าใจของเราเองว่าสิ่งนี้เป็นธรรม.. แม่น้ำสายใหญ่จะไหลไปขนาดไหน ถึงเวิ้งว้างขนาดไหน กว้างขนาดไหนก็เข้าใจว่าเป็นทะเลไม่ได้ เราจะต้องไหลไปถึงที่สุด ให้มันเป็นไปให้ถึงที่สุด นี้ก็เหมือนกัน มันจะปล่อยวางขนาดไหนมันไม่ใช่หน้าที่ของเราจะตัดสินว่าอันนี้เป็นอะไร อันนี้เป็นธรรมอย่างไร มันจะมีความสุข เพราะมันมีปล่อยวางก็เป็นเรื่องของสภาวธรรม
เรื่องของเราเราก็ต้องประพฤติปฏิบัติของเราไปสิ เรื่องของเราเราต้องใคร่ครวญแล้วใคร่ครวญเล่า เราไม่ใช่ว่าเราเห็นสภาวะแบบนี้ เราจะยึดว่าเป็นความเห็นของเรา เป็นธรรมเป็นสภาวะของธรรม นั้นเป็นความเห็นของเรา ถ้ามีเรา! ถ้ามีเรา.. มีความยึดของเรามันก็จะเป็นความเห็นของเรา มันจะเป็นธรรมไปไหนล่ะ สภาวธรรมเป็นธรรมชาติ ธรรมชาติอันหนึ่ง ธรรมชาติ.. ปัญญาก็เหมือนกัน ธัมมจักฯ ก็เหมือนกัน จักรที่มันเคลื่อนไป มันเคลื่อนไปตามสภาวะของมัน สภาวะของธัมมจักฯ อันนั้น มันไม่ใช่เรา
ถ้าเป็นเราเห็นไหม เวลามรรค ๘ รวมตัวแล้วเป็นหนึ่ง เขาว่าอย่างนั้นนะ มรรค ๘ รวมตัวแล้วเป็นหนึ่ง เป็นหนึ่งมันก็ไปคาสิ มรรค ๘ เวลารวมตัว สภาวธรรมมันรวมตัวไป ว่างหมด มันปล่อยเอง สิ่งที่มันปล่อยเอง รวมตัวแล้วไม่มีสิ่งใดเข้าไป ถึงว่ามันเป็นสัมปยุตเข้าไป ชำระกิเลสแล้วคลายตัวออก วิปยุตออก มันถึงเป็นหนึ่งไง เป็นหนึ่งเพราะจิตนี้รับรู้อันนี้ต่างหากล่ะ สิ่งที่เป็นหนึ่งเพราะจิตแยกออกมา.. กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ ต่างอันต่างจริง อยู่กันเก้อๆ เขินๆ
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์ธัมมจักฯ สอน เทศน์ธัมมจักฯ ครั้งแรก จักร-ธรรมนี้เคลื่อนแล้ว พระอัญญาโกณฑัญญะ เพราะมีพื้นฐาน เพราะประพฤติปฏิบัติ อุปัฏฐากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่แล้ว มีทำนองอยู่ คือมีทำนองของใจอยู่ มีสัมมาสมาธิอยู่ แล้วพิจารณาสิ่งนี้ ทำนองด้วย คลองธรรมด้วย เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติจนเข้าใจ เห็นธรรมแล้วถึงเอาธรรมนี้มาประกาศให้พระอัญญาโกณฑัญญะ
พระอัญญาโกณฑัญญะปฏิบัติธรรมเห็นไหม จากทำนองคลองธรรม จากรำเห็นไหม จากรำก็ดี ทำนองก็ดี ทุกอย่างก็ดี ถึงที่สุด พระอัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ สภาวะตามความเป็นจริงอันนี้ ต้องให้เกิดขึ้นจากสภาวะของการประพฤติปฏิบัติ ของความเป็นจริง ความเป็นจริงคือจริงขึ้นมาจากการประพฤติปฏิบัติ อย่าให้กิเลสมันยกยอปอปั้น อย่าให้กิเลสเสี้ยมในการประพฤติปฏิบัติของเรา ถ้ากิเลสเสี้ยมในการประพฤติปฏิบัติของเรา เราจะว่า สิ่งนี้เวลาน้ำเคลื่อนไปถึงที่เวิ้ง ที่คุ้งน้ำ ที่คุ้งน้ำว่าง ที่คุ้งน้ำกว้าง เขาเรียกว่านี้ไง ใจว่าง ใจปล่อยวาง ใจมีความสุขมาก
ความสุขขนาดไหนถ้าไม่สมุจเฉทปหาน เป็นตทังคปหาน การประหารชั่วคราวคือการทำให้กิเลสสลบตัวไปเท่านั้น ลองกิเลสสลบไปนะ แล้วถ้ากิเลสฟื้นขึ้นมา เพราะกิเลสเคยเจ็บปวดจากการโดนธัมมจักฯ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชำระ ทำลายให้สลบไป มันจะมีความเล่ห์เหลี่ยมการพลิกแพลงของมัน ในการประพฤติปฏิบัติมันถึงต้องล้มลุกคลุกคลานไง ถ้ากิเลสสงบลงด้วยตทังคปหานแล้วฟื้นขึ้นมา การประพฤติของเราต้องใช้กำลังอย่างมาก ต้องใช้ความรอบคอบอย่างมาก เพื่อไล่ต้อนกันให้กิเลสเข้าจนมุม แล้ววิปัสสนา ทำกันอยู่อย่างนั้น จนถึงเวลาเป็นสมดุล เป็นสมุจเฉทปหาน
ถ้าตทังคปหานคือสลบแล้วฟื้น แล้วลุกขึ้นมาได้ ถ้าสมุจเฉทปหาน หลานของกิเลสตาย สิ่งที่กิเลสตาย คนตายแล้วฟื้นได้ไหม กิเลสตายออกไปจากใจจะฟื้นได้ไหม สิ่งที่ฟื้นไม่ได้รู้ขึ้นมาจากใจดวงนั้นเป็นปัจจัตตัง เพราะ! เพราะเห็นสังโยชน์ขาดออกไปโดยสัจจะความจริง ใจดวงนี้จะมีความเบิกบานมาก ทำนองคลองธรรม ใจดวงนี้มีธรรมอย่างหยาบอยู่ในหัวใจดวงนั้น จะต้องประพฤติปฏิบัติย้อนเข้าไปสู่ภายใจ ไม่ใช่ย้อนออกมา
ในการประพฤติปฏิบัตินะ เวลาเรามีธรรมในหัวใจ เราอยากจะให้สัตว์รู้ธรรมกับเรา รู้สัจธรรมของเรา หน้าที่ของเราต้องฆ่ากิเลสอย่างกลาง-อย่างละเอียดเข้าในหัวใจของเราให้ได้ก่อน หน้าที่การอบรมสั่งสอนเป็นหน้าที่ของครูบาอาจารย์ไง หน้าที่ของครูบาอาจารย์ หลวงปู่มั่น เตือนไว้แล้วในมุตโตทัยข้อที่หนึ่ง ถ้าทองคำในร้าน ทองคำในร้านเป็นทองคำที่สะอาดบริสุทธิ์ไม่มีสิ่งเจือปน ถ้าทองทำในเหมือง มันยังมีสิ่งเจือปนคือมีดิน มีแร่ธาตุต่างๆ เจือปนอยู่
นี้ก็เหมือนกัน ในเมื่อเราก็มีธรรมส่วนหนึ่ง เราเพียงแต่เราขุดเจอเหมืองทอง แต่สิ่งที่กิเลสอันละเอียดของเรา มันก็ยังมีสิ่งที่ว่าอยู่ในใจดวงนั้น ครูบาอาจารย์ถึงพยายามเข้าป่าเข้าเขา ถึงที่สุดแล้วนะ เวลาไปเจอกิเลสอย่างละเอียดนะ มันจะไม่มีเวลาจะไปสั่งสอนใครหรอก มันจะต้องย้อนต้องกลับมาพันตูกับกิเลส ล้มลุกคลุกคลานกับกิเลส เวล่ำเวลาหาไม่ได้นะ ต้องการมากเรื่องเวล่ำเวลา เวลาของเราในการประพฤติปฏิบัติ ๒๔ ชั่วโมงนี้เป็นการประพฤติปฏิบัติตลอด ถ้าเพลียนัก อ่อนเพลียนักก็นอนชั่วคราว แต่นอนขนาดไหนนะ ถ้าอย่างกิเลสในหัวใจของเรากำลังต่อสู้กัน มันอยากได้ผลมาก มันอยากได้ผล มันมีความพอใจ มีการประพฤติปฏิบัติ มันนอนชั่วคราวพอตื่นขึ้นมามันก็จะสู้กับกิเลสอีกแล้ว จะพันตูกับกิเลสตลอดไปถ้าหากิเลสเจอ
ถ้าหากิเลสไม่เจอนะ เราจะติดอยู่ตรงนี้ไง แต่ถ้าเราติดอยู่ตรงนี้ใครพอใจจะอยู่ตรงนี้ มันก็ได้เท่านี้ แต่ถ้าเรายกขึ้นไป เราย้อนกลับเข้าไปจับภายใน กิเลสอยู่ที่ใจ กิเลสไม่อยู่กับโลก ไม่อยู่กับสังคม ไม่อยู่กับสิ่งต่างๆ เรื่องของสังคม เรื่องของสัตว์โลก เรื่องต่างๆ นี้เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล เรื่องของกรรมของสัตว์แต่ละบุคคล
พระปัญจวัคคีย์เห็นไหม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์ธัมมจักฯ พระอัญญาโกณฑัญญะรู้ธรรมขึ้นมาองค์เดียว แต่ต้องสอนซ้ำเข้าไป พระปัญจวัคคีย์ถึงรู้ตามกันมา นี้ก็เหมือนกัน เรื่องของสัตว์โลกเรื่องของการกระทำของเขา มันเป็นจริต มันเป็นนิสัย มันเป็นกรรม มันเป็นสิ่งที่สะสมมาในใจของเขาทุกๆ ดวง มันจะเป็นสภาวะแบบนั้น มันไม่ใช่หน้าที่ของเรา หน้าที่ของเราคือเอาใจของเราไว้ให้สิ้นกิเลสให้ได้ เราจะต้องทำลายกิเลสในหัวใจของเราให้สิ้นได้คือหน้าที่ของเรา ให้ธรรมกังวานในหัวใจของเราโดยที่ไม่มีกิเลสปลิ้นปล้อนอยู่จากภายใน ให้เราล้มลุกคลุกคลาน ให้เราไม่เข้าใจสิ่งต่างๆ
เพราะ! เพราะนางวิสาขาเป็นพระโสดาบันตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ ยังมีครอบครัว ยังมีบุตรได้เพราะอะไร เพราะสิ่งที่ว่ากายไม่ใช่เรา เราไม่ใช่กาย กายนี้ไม่ใช่เรา ความเห็นผิดในเรื่องของกายนี้มันปล่อยวางได้ แต่กามราคะมันอยู่ที่ใจ สิ่งที่เป็นกามราคะเห็นไหม มันก็เป็นสิ่งที่ว่าเสพกามได้ไง นี้ก็เหมือนกัน ในเมื่อเราจะเห็นโทษของมันอย่างนั้น
โทษ โทษของกิเลส ถ้ากิเลสจะมีมากมีน้อยในใจดวงใดก็แล้วแต่ กิเลสคือไฟ มันจะเผาใจดวงนั้น ความสุขอันที่ว่าเข้าใจตามความเป็นจริงว่ากายไม่ใช่เรา เราไม่ใช่กาย...จริง! ไม่ใช่เรา สิ่งนี้อาศัยกันอยู่ชั่วคราว แต่อาศัยอยู่ สิ่งที่เป็นกิเลสอยู่มันก็ขี่คออยู่ มันขี่หัวใจอยู่แล้วเราจะปลดเปลื้องอย่างไรล่ะ สิ่งที่มันปลดเปลื้องไม่ได้มันก็ต้องเผาใจตัวนั้นสิ นี่ถึงต้องทำความสงบของเราเข้าไปให้สูงขึ้น สิ่งที่สูงขึ้น สูงขึ้นไปยกขึ้นไปมันก็จะเป็นสติปัฏฐาน ๔ เพราะกิเลสมันอาศัยสติปัฏฐาน ๔ ปิดสิ่งนี้แล้วก็ปิดสิ่งภายนอกออกไป สิ่งที่เป็นภายนอกเราปล่อยเข้ามาแล้ว เราก็ย้อนกลับเข้ามาจับภายใน นี่ทำความสงบ ถ้าจิตมันสงบไม่ได้ กำหนดพุทโธๆ คำบริกรรม ถ้าจิตมันอยู่เฉยๆ เหมือนกับสิ่งที่สกปรก สิ่งที่สกปรกอยู่ปกติมันก็สกปรกอยู่อย่างนั้น แต่ถ้าเราซัก เราซักเราทำความสะอาด จิต สิ่งภาชนะนั้นมันก็สะอาดขึ้นมาได้
คำบริกรรมก็เหมือนกันถ้าจิตมันอยู่ปกติมันก็ว่างอยู่ เพราะเรามีธรรมอยู่ในหัวใจอยู่แล้ว มันรักษาได้ มันพออยู่พอกินไง รักษาสิ่งนี้ได้ แต่มันก็มีกิเลสที่ว่ามันเศร้าหมองอยู่ในใจนั้น แต่เราใช้คำบริกรรม พุทโธๆๆ คำบริกรรมเหมือนกับทำความสะอาดมัน มันเคลื่อนไหว มันซักฟอกอยู่ตลอดเวลา ถ้ามันมีคำบริกรรม สิ่งนี้มันจะสงบเข้ามาได้ มันจะมีพลังงานขึ้นมาได้
ถ้าจิตสงบมีความสุขหนึ่ง เป็นพลังงานอันหนึ่ง สิ่งที่เป็นพลังงานคือสัมมาสมาธิ สิ่งที่เป็นสมถกรรมฐานเกิดขึ้นมาอย่างนั้น นี่คำบริกรรมถึงสำคัญอย่างนี้ ถ้าคำบริกรรมสำคัญอย่างนี้เราทำอย่างนี้ขึ้นมาแล้ว ถ้ามันเป็นจริตของเรา มันเกี่ยวกับความคิด เราก็ดูใช้ความคิดได้ เทียบเคียงได้หมด เพราะขณะที่เราออกมาใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เราจะดูสิ่งต่างๆ ก็ได้ ดูความเห็นจากภายนอกนี่แหละ ให้ฝึกใจไง เหมือนกับคำบริกรรม คำบริกรรมเราพุทโธๆๆ สิ่งนี้มันทำความสะอาดแล้วมันจะปล่อยเข้ามา
นี้ก็เหมือนกัน เราใช้ปัญญาใคร่ครวญสิ่งต่างๆ มันก็ปล่อยเข้ามา ถ้ามีฐานอันนี้ ถ้ามีฐานอันนี้แล้วเราก็ยกขึ้นวิปัสสนาได้ ถ้ายกขึ้นวิปัสสนา งานเกิดขึ้นอีกแล้ว สิ่งที่งานเกิดขึ้นอีกแล้ว ในการต่อสู้กัน ในการแยกแยะกัน สิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่ว่ามันสร้างสมขึ้นมาได้อย่างไร สิ่งที่ว่าเกิดขึ้นมาจากใจ กิเลสคืออะไร กิเลสคือความรู้สึกของใจ กิเลสคือความยึดมั่นของใจ ใจยึดมั่นเพราะอะไร ใจยึดมั่นเพราะมันไม่รู้.. มันไม่รู้.. มันปล่อยกายเข้ามาแต่มันก็ยึดมั่น
อุปาทานในกายอันละเอียดนั้น กายในกายสิ่งนั้นมันก็เอาสิ่งนี้เป็นฐานออกมา มันก็เป็นสิ่งที่เป็นฐาน มันก็ออกไปเกาะ เกาะกับอะไร เกาะกับความรู้สึก เกาะกับความพอใจ เกาะกับความต้องการ เห็นไหม มีธรรมอยู่ในหัวใจ แต่ก็ยังออกอยากในสิ่งที่ความพอใจของตัว ตัวเคยพอใจสิ่งใด รักสิ่งใด สงวนสิ่งใด ก็แสวงหาสิ่งนั้น การแสวงหานั้น นี่กิเลสอาศัยตรงนี้ ให้ใจนั้นขุ่นมัว ใจนี้ขุ่นมัว ใจนี้แสวงหา ใจนี้ต้องการ แต่เราใคร่เอาจิตจับสิ่งนี้เป็นเหตุขึ้นมา เป็นวิปัสสนา
ถ้าวิปัสสนา.. ปัจจัย ๔ เครื่องอาศัยมันก็พอสมควร ในธรรมวินัยว่าไว้ เวลาพระออกบิณฑบาต ถ้าอาหารนั้นเต็มบาตรได้ ๓ หน เกินจาก ๓ หนไปเป็นอาบัติ นี่ไม่ต้องการให้มากเกินไปและน้อยเกินไป เพราะ! เพราะถ้าเขาศรัทธา เราก็รับของเราใส่บาตรมา แต่ ๓ หนนี้เวลากลับมาแล้วให้แบ่งปันกันไง สิ่งที่แบ่งปันกัน เราอยู่ในป่าในเขานะ อย่าว่าแต่ ๓ หน ครึ่งบาตรยังหาไม่ได้เลย นี้ในสัปปายะที่เราประพฤติปฏิบัติ
แต่ครูบาอาจารย์นะ หลวงตาบอกว่าเวลาบิณฑบาตบางวันเทบาตรถึง ๕๐๐ ครั้งนะ จนหน้ามืด จนบิณฑบาตไม่ไหว สิ่งนี้ถ้าว่าเป็น ๓ บาตรเป็นอาบัติ มันเป็นอาบัติเพราะเรามีกิเลส มีตัณหา เราบิณฑบาตเขามาไปเบียดเบียนกับชาวบ้านเขาเกินไป นั้นเป็นการเบียดเบียน แต่ในเมื่อชาวบ้านเขาศรัทธาครูบาอาจารย์ ถ้าบอกว่าบิณฑบาต ๓ บาตรแล้วเลิก แล้วศรัทธาอันนั้นตกไปล่ะ
สิ่งที่เป็นอาบัติต่อเมื่อเป็นสิ่งที่เป็นโทษ จะเป็นไม่เป็นอาบัติเพราะสิ่งนี้เป็นคุณไง สิ่งที่เป็นคุณ คุณทั้งสองฝ่าย แต่ขนาดนั้นหลวงตาก็ยังว่าไม่บิณฑบาต เดี๋ยวนี้ไม่บิณฑบาตเพราะบิณฑบาตมาแล้วไม่คุ้มกับว่า ทรงธาตุขันธ์ไว้เพื่อสงเคราะห์โลกดีกว่า แบบบิณฑบาตนี่เป็นทานของเขา ในทานของเขา เขาได้ทาน แล้วถ้าเขาได้ประพฤติปฏิบัติล่ะ สงเคราะห์คนที่ประพฤติปฏิบัติคนที่หูตาสว่าง
เราทำทานร้อยหนพันหน จะไม่เท่ากับมีศีลบริสุทธิ์หนหนึ่ง ศีลบริสุทธิ์ร้อยหนพันหนไม่เท่ากับมีสัมมาสมาธิหนหนึ่ง แล้วสัมมาสมาธิถ้ายกขึ้นวิปัสสนาได้ มันจะทำให้เกิดวิมุตติกับใจดวงนั้นได้ สิ่งนี้เป็นธรรมที่จะกังวานในหัวใจของสัตว์โลก.. นี่อยู่สงเคราะห์โลกด้วยเหตุนั้นไง บุญกุศลอย่างหยาบ-อย่างกลาง-อย่างละเอียด แล้วปัญญาอย่างหยาบ-อย่างกลาง-อย่างละเอียด นี่เรื่องของครูบาอาจารย์ไง
ธรรมวินัย สิ่งที่เป็นธรรมวินัยเห็นไหม ถึงบอกว่า ถ้ามันสิ่งนี้ เราเอาสิ่งนี้ใคร่ครวญขึ้นมามันก็เป็นวิปัสสนาได้ ถ้าเป็นการวิปัสสนา วิปัสสนาเพื่ออะไร? เพื่อให้เห็นคุณเห็นโทษไง เห็นคุณเห็นโทษเพราะว่าเรามีกิเลส เรามีความยึดมั่น เรามีความต้องการของเรา เราถึงแสวงหาของเรา เพื่อบำรุงกิเลสไง บำรุงกิเลสไม่บำรุงธาตุขันธ์ ถ้าบำรุงธาตุขันธ์นะมันพอ ข้าวเปล่าๆ ก็พอ พอกับดำรงชีวิต สิ่งใดๆ ก็พอเพื่อกับดำรงชีวิต เพื่อจะดำรงชีวิตไว้เพื่อเอาเวลาของเราไว้ชำระกิเลส ไว้ต่อสู้กับกิเลสไง แต่มันก็ต้องการสิ่งที่ว่าเป็นสมดุล เป็นความพอใจของมัน ต้องแสวงหาสิ่งที่ว่ามันความพอใจของมัน นี่สิ่งนี้เป็นกิเลส
เรามีปัญญา เรามีสติ เรามีสมาธิ เราก็เอาสิ่งนี้เข้ามาวิปัสสนา ให้มันปล่อยอุปาทาน อุปาทานสิ่งนี้ไง กังวลกับความเป็นอยู่ของเรา กังวลมากเพื่อจะสิ่งที่ว่า เอาชีวิตของเรานี้เพื่อประพฤติปฏิบัติธรรม กังวลจนเป็นกิเลสไง ต้องแสวงหาสิ่งนั้นมาเพื่อตรงนี้ ถ้าได้สิ่งนี้พอสมใจแล้วเราจะประพฤติปฏิบัติได้มรรคได้ผล ได้ธรรมขึ้นมาด้วยความสะดวกสบาย แต่ถ้าเราเป็นความลำบากของเราแล้วเราจะประพฤติปฏิบัติแล้วจะไม่ได้ผล ไม่ได้ความสะดวกสบายของเรา เราถึงต้องแสวงหาสิ่งนั้น แล้วให้กิเลสมันลากไป.. ลากไป.. เราก็ตามกิเลสไป เห็นไหม กิเลสมันฉลาดหรือมันโง่ล่ะ เราต่างหากโง่กับกิเลส ให้กิเลสดึงสิ่งนี้ออกไป
ครูบาอาจารย์ทำเพื่อประโยชน์นั้นเทิดไว้ใส่หัวนะ สิ่งนี้เป็นคติ สิ่งนี้ให้เห็นว่าในธรรมวินัยบัญญัติไว้ เพื่อกดขี่ผู้ที่แก้ยาก-สอนยาก แต่ธรรมวินัยนี้ไม่ใช่ปิดกั้นผู้ที่ทำคุณประโยชน์กับโลก สิ่งที่เป็นคุณประโยชน์กับโลกนั้นเป็นประโยชน์กับโลก สั่งสอนเทวดามนุสสานัง ทั้งเทวดา ทั้งหมู่สัตว์ สิ่งนั้นเป็นคุณของครูบาอาจารย์
แต่สิ่งที่เป็นกิเลสของเรามันออกไปยึดสิ่งนั้น ออกไปติเตียนสิ่งนั้น ออกไปหาโทษมาใส่ตัวของหัวใจนะ กิเลสมันไปติเตียนสิ่งนั้นแล้วก็เอาโทษมาใส่ใจเรา แล้วเราก็ทุกข์ร้อน การประพฤติปฏิบัติก็ล้มลุกคลุกคลานก็จะแสวงหาสิ่งที่ว่าประพฤติปฏิบัติง่ายกับใจดวงนั้น กิเลสมันก็ลากไป.. ลากไป.. นี่มันถึงต้องมีสติ เตือนตนเอง เตือนเรา ธรรมวินัยนี้ควบคุมเรา เราต้องดัดแปลงเรา ย้อนใจกลับเข้ามา ย้อนสิ่งนี้เข้ามา วิปัสสนาสิ่งนี้ไง
สิ่งนี้เป็นกิเลสแล้วนะ สิ่งนี้ยึดแล้วนะ สิ่งนี้คือใจคึกคะนองออกไปแล้วส่งออกไปข้างนอก มันจะย้อนกลับเข้ามาทำลาย นี่ถ้าเป็นปัญญาญาณมันจะทำลายสิ่งนี้ ทำลายในหัวใจของเรา ทำลายกิเลสของเรา ถ้ามันทำลายกิเลสของเรานะ ทำลายกิเลสเพราะกิเลสมันยึดจากกายกับจิตนี้ออกไปรับรู้แล้วยึดมั่นถือมั่นต่างๆ พอมันทำลายมันทำลายบ่อยครั้งเข้า
เพราะการประพฤติปฏิบัติตั้งแต่สักกายทิฏฐิมันจะมีความเข้าใจว่าจะต้องซ้ำแล้วซ้ำเล่า ปล่อยวางขนาดไหน ถ้าไม่มีเหตุผล อันนั้นไม่เข้าคลองธรรม ถ้าเข้าคลองธรรม จะเข้าคลองธรรมไหลลื่นไปกับธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าถึงคลองธรรม อันนี้เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นธรรมของครูบาอาจารย์ที่เราศึกษา เรายึดเป็นนิติ เป็นแบบอย่าง
แต่ขณะที่เข้าคลองธรรม ธรรมของเราจะเริ่มเจริญงอกงามขึ้นมา จนถึงที่สุดธรรมนี้จะเกิดขึ้นจากใจ กายกับจิตจะแยกออกจากกันโดยธรรมชาติ กายเป็นกาย จิตเป็นจิต โลกนี้ราบเป็นหน้ากลอง ปล่อยวางสิ่งต่างๆ ทั้งหมด มันจะเข้ามาสะเทือนหัวใจมาก สิ่งนี้คือธรรมจากใจดวงนั้นไง
ถ้าใจดวงนั้นมีธรรม ทำนองคลองธรรมของครูบาอาจารย์ ทำนองคลองธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรายึดไว้ ยึดไว้เป็นแนวทางเครื่องดำเนิน เรายึดไว้ แต่ถึงที่สุดแล้วจะต้องเป็นปัจจัตตังจากใจดวงนั้น ใจดวงนั้นจะต้องสัมผัสธรรมจากใจดวงนั้น ถ้าใจดวงนั้นได้สัมผัสธรรมเห็นไหม
ทำนองคลองธรรมนี้เป็นเรื่องของโลก สิ่งที่เป็นเรื่อง..
พระไตรปิฎกเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ก็มีกาลเวลา ๕,๐๐๐ ปีแล้วศาสนานี้จะเสื่อมไป พระศรีอริยเมตไตรยก็จะมาตรัสครั้งหน้า
คำว่า เรื่องของโลก โลกคือว่าเป็นสมมุติ เป็นบัญญัติ สิ่งนี้เป็นธรรมของโลก แต่ขณะที่เราประพฤติปฏิบัติ จิตนี้-หัวใจนี้เข้าถึงธรรม เป็นธรรมของเรา สิ่งนี้จะเป็นของเรา เรื่องของโลก เรื่องของสิ่งต่างๆ จะไม่เข้ามาเกี่ยวข้องกับสิ่งนี้เลย เพราะสิ่งนี้เป็นสมบัติของเรา เป็นสมบัติจากใจดวงนี้ไง
ถ้าใจดวงนี้เกิดขึ้นมา ย้อนกลับเลยนะ พอจิตนี้ปล่อยวาง กายกับจิตว่างมาก ตรงนี้เป็นจุดหนึ่งที่เราจะประพฤติปฏิบัติยาก เพราะ! เพราะมันจะว่าง มันจะมีความสุข แล้วมันจะยึดติดสิ่งนี้ แล้วจับต้องสิ่งใดไม่ได้ไง เราถึงต้องทำความว่างนี้ ทำความสงบของเราขึ้นมา พื้นฐานต้องมีความสงบแล้วตรวจสอบใจของเราตลอด ถ้าตรวจสอบใจของเราตลอดมันจะยกขึ้นนะ ยกขึ้นวิปัสสนา มันจะเห็นกามราคะ
สิ่งที่เข้าหากามราคะในการประพฤติปฏิบัตินี้ ในการขุดค้น ในการหาจำเลยเป็นงานสุดยอด ถ้าใครทำหาจำเลยได้ เหมือนกับเราหลงทางนะ ถ้าเราไม่เจอถนน ไม่เจอทางที่ถูกต้อง เราจะเข้าทางนั้นไม่ได้เลย เราจะไปถึงเป้าหมายไม่ได้เลย แต่ถ้าเราเจอทางที่ถูกต้อง เราเจอปากซอย เราจะเข้าถึงเป้าหมายของเราได้ทุกครั้งไป เพราะมันถูกต้องไง นี่ทำนองคลองธรรมเรายึดอย่างนี้ของครูบาอาจารย์ เรายึดอย่างนี้ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ถ้าจิตเราสร้างความสงบเข้ามา เวลาเราขุดคุ้ยเราค้นเข้าไปหา หากาย หาจิต ถ้ามันหาเจอนะ ในเมื่อเราก็พิจารณากายเราปล่อยกายมา ทำไมหากายไม่เจอ กายสิ่งนั้นนั้นเราทิ้งไปแล้ว กายอย่างหยาบเราทิ้งอย่างหยาบไป กายอย่างกลางเราต้องพิจารณาอย่างกลางแล้วทิ้งอย่างกลางไป กายอย่างละเอียดมันจะเป็นกายอย่างละเอียด กายเหมือนกัน แต่กายในกายมันคนละส่วนกัน ไม่ใช่กายอันเดียวกัน เราเข้าใจว่าเราเห็นกายแล้วเราพิจารณากายแล้ว...ไม่ใช่!
ถ้าเป็นความความจริง มันพิจารณา.. ใช่ ขณะที่เป็นปัจจุบันอันนั้น แล้วก็ทิ้งอันนั้นไปแล้ว แล้วก็ว่างหาไม่เจอ หาไม่เจอเพราะเราสาวไม่ถึง แต่ถ้าเราย้อนกลับเข้าไปตรงนี้ เราจะเห็นกาย กายอันละเอียดไง ถ้าเห็นกายอันละเอียด นี้เราหาสิ่งนี้เจอ เราหาปากซอยเจอ เราจะเข้าเป้าหมายของเราได้ นี่ทำนองคลองธรรมจะเป็นแบบนี้ แต่ถ้าเป็นทำนองของกิเลสมันก็อันนี้เป็นความว่าง อันนี้เป็นความสุข อันนี้เป็นธรรมอยู่แล้ว มันก็จะติดอยู่ตรงนั้นไง ถ้ามันติดอยู่ตรงนั้น เวลาเราธัมมสากัจฉากันก็จะว่า พูดได้กี่ขั้นตอน ถ้าพูดได้แค่นี้ก็ติดแค่นี้
แต่ถ้าเราเจอครูบาอาจารย์ มันต้องมีทางไป
สายน้ำที่เป็นสาขามันลงถึงสายน้ำใหญ่ มันจะลงทะเลอย่างไร มันจะเป็นไป มันจะไปเจอปากอ่าว ปากอ่าวจะเป็นสภาวะแบบใด ถ้าเจอสภาวะปากอ่าวมันจะลงทะเลอย่างไร ถึงถ้าเจอกายภายในยกขึ้นวิปัสสนามันจะเป็นอสุภะนะ สิ่งที่เป็นอสุภะเราก็ต้องแยกแยะออกไป แยกแยะคือพิจารณามัน ให้เห็นสภาวะสิ่งนี้มันเห็นตามความเป็นจริง เห็นตามความเป็นจริงมันจะเป็นอสุภะ มันจะเยิ้มไปด้วยสิ่งที่ว่าเป็นความสกปรกโสมมของมัน มันจะปล่อยสภาวะแบบนั้น ปล่อยขนาดไหน เราพิจารณาซ้ำๆ อยู่อย่างนั้นนะ ซ้ำ เพราะมันปล่อยทีหนึ่งมันก็ว่างมาก กิเลสอันละเอียดมันจะบอกว่านี้คือสภาวธรรม
เวลาว่าง ว่างแบบลึกๆ นะ ว่างลึกเพราะอะไร เพราะจิตมันละเอียดมาก เราปล่อยสิ่งหยาบๆ มา มันมีความหยาบมา แต่อันนี้มันลึกลับ มันละเอียดกว่า ผลมันต้องได้มากกว่า สิ่งที่มากกว่า เราปล่อยสิ่งนี้มันก็เวิ้งว้างๆ เวิ้งว้างขนาดไหนมันก็ต้องไม่มีเหตุมีผล เราต้องซ้ำอย่างนั้น ถึงที่สุดนะ มันสะเทือนหัวใจมากเวลาขันธ์อันละเอียดขาดออกไปจากใจ ใจนี้จะหวั่นไหวไปหมดเลย จิตปล่อยสภาวะอันนั้น กามราคะ ปฏิฆะ ขาดออกไปจากใจนะ
สิ่งที่เป็นปฏิฆะคือความผูกโกรธ ถ้าสิ่งใดสะเทือนหัวใจ ไม่พอใจมันจะเริ่มสะเทือนสิ่งนี้ แล้วความโลภ ความโกรธ ความหลง อยู่ตรงนี้ ถ้าเราปล่อยขันธ์ละเอียด เราทำลายอสุภะออก ความโลภ ความโกรธ ความหลง ลูกของวัฏจักร มันจะขาดออกไปจากใจ จะสะเทือนหัวใจมาก
สิ่งที่สะเทือนหัวใจนะ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ขาดออกไปจากใจ เวิ้งว้างไปหมดเลย แล้วฝึกซ้อมสิ่งนี้ ฝึกซ้อมเพราะเศษส่วนของมันจะมีสิ่งนี้ การฝึกซ้อม ความฝึกซ้อมเพราะอะไร เพราะเศษของมัน เช่น เราทานอาหารแล้ว เราทานอาหาร เราทานเราอิ่มไปแล้ว เรานึกถึงขณะที่ว่าทานอาหารเราก็เห็นภาพนั้นเพราะอะไร เพราะมันเป็นสัญญา มันเป็นสิ่งที่ตาเรากระทบรูปนั้น มันก็ไปสะสมไว้ที่ใจ สิ่งที่ทุกข์อย่างหยาบในอายตนะทั้งหมด กระทบสิ่งใด ต้องส่งข้อมูลนี้ไปเก็บข้อมูลไว้ที่ใจทั้งหมด
นี้ก็เหมือนกัน เราทำลายขันธ์อันละเอียดขาดออกไปจากใจ แต่เศษส่วนของมันที่สิ่งที่ข้อมูลเดิม มันยังมีสิ่งนี้ต้องทำลาย เราถึงฝึกซ้อมไป มีการฝึกซ้อมมันก็จะปล่อย ปล่อยสิ่งเหล่านั้น ถ้าไม่เข้าใจนะ จะนึกว่ามรรค ๔ ผล ๔ เพราะมันปล่อยแล้ว แล้วมันจะว่างมาก จะติดอยู่ตรงนั้นไง.. โลกนี้ว่างหมดเลย ว่างขนาดไหน.. เพราะความว่าง เพราะจิตนี้รับรู้มันถึงว่าว่าง เพราะรับรู้ว่าว่าง เพราะมีความรู้สึกไง ว่างๆ ยังพูดได้อยู่ มันเป็นสภาวะแบบนั้นทั้งหมด...นี่ติด! กิเลสอันละเอียดอ่อนอ่อนมากอยู่ในหัวใจนะ จะต้องให้จิตนี้ไปหมอบราบคาบแก้วกับมัน
ถ้าไปหมอบราบคาบแก้วกับอวิชชา สิ่งนี้คืออวิชชา คือความไม่รู้ คือเจ้าวัฏจักร เข้าไปถึงที่แล้วก็ต้องไปหมอบราบคาบแก้วกับสิ่งนั้น จะติดพันกับสิ่งนั้นไปมาก จะศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขนาดไหน จะฟังธรรมของครูบาอาจารย์ไหนไว้เป็นคติเป็นตัวอย่าง มันก็เป็นคติเป็นตัวอย่าง แต่เราเข้าไปเจอกับความจริงมันไม่เหมือนกับสิ่งที่เราคาดหมายหรอก สิ่งที่เราคาดหมายว่าถ้าเราไปเจออวิชชา เราจะจับอวิชชา แล้วเราจะทำลายอวิชชาให้ได้ เพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ว่า การประพฤติปฏิบัติมันจะจบกระบวนการของมัน แต่ถึงที่สุดแล้วเราก็ไปหมอบราบคาบแก้วว่าสิ่งนี้คือการทำลายแล้วไง
ทำนองคลองธรรม ขนาดถึงที่สุดแล้วกิเลสอย่างละเอียดมันก็ยังหลอกอยู่ขนาดนั้นแล้วจะบอกว่า ประพฤติปฏิบัติโดยไม่ให้มีอกุศลธรรม ไม่มีอกุศลจิต เป็นฝ่ายอกุศล ต้องเป็นกุศล.. กิเลสละเอียดมันหลอกขนาดนั้น มันจะไปเป็นกุศลได้อย่างไร ในเมื่อมันเป็นกิเลสอยู่น่ะ
แต่ในการประพฤติปฏิบัติที่ว่าเป็นอกุศลหรือว่ากุศลก็แล้วแต่ เราก็ยังบุกบั่นเข้าไปจนถึงที่ เข้าไปหมอบราบคาบแก้ว แล้วครูบาอาจารย์จะชี้นำ สิ่งที่ว่าว่างๆ ใครรู้ว่าว่าง? สิ่งที่เป็นความรู้สึก ใครเป็นคนรู้สึก? นี่มันละเอียดขนาดนั้นนะ แล้วถ้าจิตนี้มีความพอใจ มันจะย้อนออกได้ พลังงานนี้จะเกิดขึ้นมาแล้วย้อนกลับเข้ามา แล้วพยายามใช้ตัวของมันเองจับตัวของมันเองให้ได้ ถ้าจับตัวของมันเองได้ เหมือนกับวัตถุสิ่งนั้น เข้าใจวัตถุสิ่งนั้น วัตถุสิ่งนั้น จิตมีความรู้สึกสิ่งนั้น แล้วย้อนกลับเข้าไปถึงรู้สึกตัวมันเอง นี่คือหาจำเลยได้ คือจับตัวอวิชชาได้
คนที่จะค้นคว้าหาอวิชชาได้จะไม่หมอบราบคาบแก้วกับมัน คือต้องเจอตัวมัน พอเห็นตัวมัน นี้คือตัวเจ้าวัฏจักร เห็นตัวเจ้าวัฏจักรนี้คือตัวพญามารไง คือตัวเรือนยอด เรือน ๓ หลังจากนางตัณหา นางอรดี แล้วเป็นเรือนยอดของมัน คือกษัตริย์ คือพ่อของ นางตัณหา นางอรดี พอเห็นตัวพ่อ ตัวนางตัณหา นางอรดี นั่นน่ะ อันนี้เป็นปัญญาอันละเอียดลึกลับมาก จะต้องพยายามให้สมดุลที่สุด ความสมดุลนี้มันจะเข้าไปเป็นปัญญาญาณ อาสวักขยญาณมันอยู่ตรงนี้ไง ปัญญาอย่างนี้จะเป็นปัญญาที่โลกุตตรธรรมที่ลึกลับละเอียดอ่อนมาก
จะละเอียดอ่อนขนาดไหน จะไม่เป็นความลึกลับของใจของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ใจของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติจะเข้าถึงธรรมจะต้องผ่านขบวนการอย่างนี้ทั้งหมด ถ้าไม่ขับผ่านขบวนการอย่างนี้มันเป็นสิ่งที่ว่าปัญญาอย่างหยาบ สิ่งที่เป็นปัญญาอย่างหยาบมันก็จะหมุนอยู่เป็นปัญญาอย่างหยาบอย่างนั้น มันปล่อยอย่างนั้นเข้ามา แต่ปัญญาอย่างละเอียดสุด มันจะเป็นปัญญาที่เข้าไปทำลายตัวนี้ไง พอทำลายตัวนี้สิ้นสุดนะ เป็นปัญญาญาณ ปล่อยสิ่งนี้ทั้งหมด พลิกคว่ำไป
จิตที่ปล่อยวางสิ่งต่างๆ เข้ามา รับรู้สิ่งต่างๆ เข้ามาตลอดไป ถึงที่สุดแล้วต้องทำลายตัวมันเอง แล้วใครจะเป็นผู้ที่บอกว่าว่างล่ะ? เพราะผู้ที่เคยบอกว่าว่างนั้นก็โดนทำลายไปด้วยธรรมไง ด้วยคลองธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยธรรมของครูบาอาจารย์ที่เป็นแนวทางของเรา แล้วด้วยธรรมของใจดวงนั้นที่ประพฤติปฏิบัติเข้าไปถึงจุดนั้น แล้วพลิกสิ่งนี้ออกไป จิตนี้ว่างหมด จิตนี้ปล่อยวางต่างๆ ทั้งหมด จะพูดสิ่งใดไม่ได้ ถึงว่าสิทธิ์นี้เป็นวิมุตติธรรมจากใจดวงนั้นไง
ทำนองคลองธรรม จะอยู่ในใจดวงนั้น จะเข้าใจในการประพฤติที่ล้มลุกคลุกคลานมานะ จะเห็นใจมาก จะเห็นใจผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเพราะ! เพราะใจดวงนี้กว่าจะก้าวเดินขึ้นมาถึงจุดนี้ได้ ล้มลุกคลุกคลานขึ้นมาจากการประพฤติปฏิบัติจากภายในนะ จากภายในคือโลกนอกกับโลกใน โลกนอกเป็นเรื่องที่น่าเศร้ามาก สิ่งที่เป็นอยู่ เวลาคนเกิดขึ้นมามีแต่ความพอใจ ฉลองกัน เลี้ยงกันด้วยความเกิดของคน เวลาคนตายมีแต่ความเศร้าโศกเสียใจ เห็นไหม โลกเขาคาดว่าอย่างนั้น
แต่ถ้าเป็นเรื่องของธรรมนะ เรื่องของโลกคือเรื่องของความต้องแบกไว้ เรื่องของภาระ เรื่องของการตาย คือเรื่องการจบสิ้นขบวนการ แต่ถ้ามีกิเลสอยู่ มันก็ยังเกิดตายๆ ตามกระแสของจิตเคลื่อนไป แต่ถ้าเราประพฤติปฏิบัติจนถึงที่สุดอย่างนี้แล้ว เกิดตายนี้เป็นชาติสุดท้าย เพราะจิตนี้มันทำลายเชื้อของมันแล้ว
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า ทุกดวงใจว้าเหว่ ในสโมสรสันนิบาตทุกดวงใจว้าเหว่ แต่จิตดวงนี้ไม่ว้าเหว่ จิตดวงนี้มีคุณธรรมในใจดวงนั้น จิตดวงนี้ชุ่มชื่น อิ่มเอมอยู่ตลอดเวลา แล้วจะเกิดได้อย่างไร จะตายได้อย่างไร เพราะเป็นผู้ที่ไม่ว้าเหว่ เป็นผู้ที่ไม่กระวนกระวาย เป็นผู้ที่ไม่หาที่อยู่อีกตลอดไป จิตที่ว้าเหว่เขาต้องหาความพอใจของเขา เขาต้องหาที่ชุ่มเย็นของเขา เขาดิ้นรนของเขา เขาถึงต้องเกิดต้องตายตลอดไป
แต่จิตดวงนี้ชุ่มชื่นพอใจอยู่อย่างนั้น ด้วยคุณธรรมจากใจดวงนั้น จะไม่มีการเกิดและการตายอย่างนี้อีกเลย นี้คือทำนองคลองธรรมที่ก้าวเดินมาเป็นชั้นเป็นตอนนะ ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติถึงต้องมีกำลังใจ มองจากโลก เอาโลกนั้นให้สะเทือนหัวใจของเรา แล้วให้สะเทือนใจ พอสะเทือนใจ ให้ทำลายโลกจากภายใน แล้วโลกจากภายนอกมันจะเข้ามายุ่งเรื่องโลกภายในเราไม่ได้อีกเลย เอวัง