เทศน์บนศาลา

ต้องรู้จริง ไม่รู้จำ

๑๗ ธ.ค. ๒๕๕๖

 

ต้องรู้จริง ไม่รู้จำ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๖
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เอาเนาะ ตั้งใจฟังธรรมเนาะ เราต้องฟังธรรม ฟังธรรมเพื่อให้หัวใจเรามีคุณธรรม ถ้ามีธรรมขึ้นมา สิ่งที่เราแสวงหา เราแสวงหา ควรทำสิ่งนี้ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสวงหา การแสวงหานั้นแสวงหาด้วยความเป็นจริง ความเป็นจริงคือใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้จริง ความรู้จริงอันนั้นถึงวางธรรมวินัยอันนี้ไว้ ศาสนาจึงเจริญรุ่งเรืองมา ความเจริญรุ่งเรืองมาเพราะมีองค์ศาสดา องค์ศาสดาเป็นของจริงไง

ครูบาอาจารย์ท่านว่า ในลัทธิศาสนาต่างๆ ศาสดาของเขาไม่มีความรู้จริง ไม่มีความรู้จริง เขาก็วางกันด้วยความคาดหมายๆ แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดาที่รู้จริง พอความรู้จริง วางธรรมและวินัยให้เราศึกษา พอเราศึกษา เวลาผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ เวลาถึงที่สุดแห่งทุกข์ๆ เป็นพระอรหันต์มหาศาล เพราะอะไร เพราะครูบาอาจารย์ที่รู้จริง ถ้ารู้จริง สัจจะความจริงอันนั้น แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้สั่งสอนเสียเอง

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้สั่งสอนเอง เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างสมบุญญาธิการมา เพราะเป็นศาสดา เป็นพระโพธิสัตว์ อนาคตังสญาณ รู้อนาคตว่าอนาคตต่อไปภายภาคหน้าจะเป็นแบบใด

ศาสนาของเรา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่าท่านมีอำนาจวาสนาน้อย คำว่าน้อยของท่าน คือเปรียบเทียบกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ อายุท่านสั้นกว่า คือเราอายุแค่ ๘๐ ปี วางธรรมวินัยไว้อีก ๕,๐๐๐ ปี ในอนาคตกาล กึ่งพุทธกาล ศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองอีกหนหนึ่ง นี่อนาคตังสญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้อนาคต ทีนี้อนาคตถึงผลของวัฏฏะ อนาคตถึงความเจริญรุ่งเรืองของศาสนา แต่เวลาอนาคตังญาณในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธกิจ ๕ เช้าเล็งญาณไง เล็งญาณว่าผู้ใดที่มีอำนาจวาสนา แต่จะหมดอายุเขา จะเอาคนนั้นก่อนๆ พุทธกิจ ๕ กิจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นภาระที่ว่าขนาดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้เองโดยชอบ ความชอบธรรมในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเป็นความจริง เป็นความจริง เห็นไหม แต่เวลาจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ เล็งญาณๆ เอาคนใดก่อนๆ สิ่งนั้นสำคัญไง สิ่งนั้นสำคัญว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา กิเลส อาสวะ กิเลสในหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสิ้นไป

เวลาจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ก็เหมือนกัน เวลาเจตนาสั่งสอน คนใด มนุษย์คนใด ภิกษุองค์ใด ผู้ที่ปฏิบัติคนใดมีอำนาจวาสนา เอาคนนั้นก่อนๆ เอาคนนั้นก่อนเพราะว่าสิ่งที่เวลาเข้าไปถึงใจๆ ใจของเขา เขามีโอกาสไหม คนที่มีอำนาจวาสนาอยู่ในหัวใจมันหาได้ยาก หาได้น้อยนัก เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ทอดธุระๆ ใครมันจะรู้ได้ๆ เพราะสิ่งนี้เป็นความละเอียดลึกซึ้ง เป็นความละเอียดอ่อน

คนเราเวลาเวียนว่ายตายเกิด ขนาดเวียนว่ายตายเกิด เกิดมาแล้วยังบอกว่าชาตินี้มีชาติเดียว เกิดมานรกสวรรค์ไม่มี สรรพสิ่งนี้ไม่มี นี่ความดื้อด้านของเขา เขายังดื้อด้านขนาดนั้น แต่ผู้ที่มีอำนาจวาสนาเกิดเป็นสหชาติ สหชาติขึ้นมา เขาก็ไปเชื่อเจ้าลัทธิต่างๆ ไปเชื่อ ไปเชื่อศาสดาต่างๆ ที่มีอยู่โดยดั้งเดิม แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาไปประพฤติปฏิบัติกับเขา ได้พิสูจน์แล้ว มันไม่จริงๆ พอมันไม่จริงนะ แต่อำนาจวาสนาผู้ที่สร้างเวรสร้างกรรมกันมา มันสายบุญสายกรรมของเขา

แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารื้อสัตว์ขนสัตว์ จะเรียงไปในใจของสาวก-สาวกะ ผู้ที่จะมีอำนาจวาสนา ถ้ามีอำนาจวาสนา เขาต้องมีบารมีธรรมของเขามา เวลาเขาทำของเขามา เขาพยายามแสวงหาทางออกเหมือนกัน ดูสิ พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะไปอยู่กับสัญชัย ก็ไปศึกษากับเขาเหมือนกัน สร้างอำนาจวาสนา ขนาดปรารถนามาเป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวา แต่ในสังคมไง ในสังคมเวลาเกิดมา เกิดมาไปเที่ยว เป็นลูกเศรษฐี ไปเที่ยว ไปดูการละเล่นต่างๆ แต่ในวันหนึ่งไปแล้วมันสลด มันไม่สดชื่น ไม่มีความรื่นเริงไปกับเขา ถึงว่าเราควรจะออกหาทางพ้นทุกข์แล้ว หาทางทิ้งจากโลกนี้ไป ก็แสวงหา ไปอยู่กับสัญชัย “นั่นก็ไม่ใช่ๆ ในไม่ใช่ก็คือไม่ใช่” ไม่ใช่ไปเรื่อย ปฏิเสธไปเรื่อย

ขนาดศึกษาแล้ว พอศึกษาถึง เพราะคนที่มีปัญญามา พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะปรารถนามานะ ปรารถนาเป็นอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวา ก็ได้สร้างบุญญาธิการมา ไปถามตรงๆ เลยว่าจะมีความรู้มากขึ้นไปกว่านี้อีกไหม เพราะศึกษาจบสิ้นแล้วมันก็ยังหาทางออกไม่ได้ นี่มีปัญญาเท่านั้น

เวลาไปแสวงหา ไปพบพระอัสสชิบิณฑบาตอยู่ เดินตามไปเพราะแสวงหาอยู่ไง ขนาดนี่ไม่ได้ฟังองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ นี่ฟังสาวกด้วยกันนะ เวลาพระอัสสชิบอก “ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ไประงับที่เหตุนั้น ให้ไปแก้ไขที่เหตุนั้น” พระสารีบุตรเป็นพระโสดาบันขึ้นมาทันที

สิ่งที่แสวงหาๆ หัวใจที่มันปรารถนา หัวใจที่แสวงหา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเล็งญาณๆ เล็งญาณอย่างนี้ เวลาถ้ามันเจริญรุ่งเรือง มันเจริญรุ่งเรืองในใจ เพราะเวียนว่ายตายเกิด ใจเวียนว่ายตายเกิด เวลาเกิดมาเป็นมนุษย์มันดื้อด้านว่ามีชาติเดียว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย มีชาติเดียว ตายแล้วก็ตายสูญ จะไม่มีสิ่งใดอีกเลย ทำสิ่งใดก็ทำไปตามกำลังของความปรารถนานั้น

ฉะนั้น เวลาเราเกิดมาเหมือนกัน เราเกิดมาเป็นสาวก-สาวกะนะ กึ่งพุทธกาล ศาสนาจะเจริญอีกหนหนึ่ง เราเกิดมาแล้วเรามีชีวิตแล้ว ถ้าเรามีชีวิตแล้ว เราเกิดมา ในโลกมันเจริญ ทางวิชาการมันมี คนมีการศึกษาทั้งนั้น ถ้ามีการศึกษาแล้ว เราศึกษาทางโลกแล้ว เราก็มีวิชาชีพของเรา เราก็มีอาชีพของเรา ศึกษามาเพื่อดำรงชีวิต เราก็ว่าเรามีปัญญาล่ะ แต่ถ้าเราสนใจในพระพุทธศาสนา เราก็ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหมือนกัน เราศึกษาเอาได้ เราค้นคว้าเอาได้ ยิ่งในปัจจุบันนี้ พระไตรปิฎกในคอมพิวเตอร์ เรากดเข้าไปมันมีขึ้นมาเลย เราจะค้นคว้าได้ง่ายมาก สมัยพุทธกาลไม่มี พอไม่มีขึ้นมาต้องฟังจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การฟังธรรมถึงแสนยากไง การฟังแสนยากเพราะการฟังธรรมที่แท้จริงแสนยาก เพราะในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นความจริง แสดงออกมาก็เป็นความจริง

เวลาพระสารีบุตรไปฟังธรรมความจริงจากพระอัสสชิ ฟังธรรม “ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ ย้อนไปที่เหตุนั้น” มันมีเหตุมีผลไง ถ้าความจริง ถ้ารู้จริงมันมีเหตุมีผล มีองค์ความรู้ มีความจริงที่สามารถจะสื่อได้ ถ้าสามารถสื่อได้ ความจริงอย่างนี้มันแสนยาก แล้วผู้ที่เป็นความจริงแล้วเผยแผ่ธรรมอยู่มันมีมากน้อยขนาดไหนล่ะ

เวลาฟังขึ้นมา ความจริงอันนั้นมันสะเทือนหัวใจไง ถ้ามันสะเทือนหัวใจมันสะเทือนความจริง ความจริงอันนี้มันพิสูจน์กัน มันพิจารณาขึ้นมามันก็เป็นความจริง มันมีเหตุมีผลขึ้นมาเป็นความจริง เห็นไหม เพราะเราแสวงหาของเราอยู่

แต่ในปัจจุบันนี้ เวลาการศึกษามันเจริญขึ้นมา ทุกอย่างก็มี สิ่งที่เราศึกษานั้นเป็นความจริงไหม? ความจริง เราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นความจริง เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมวินัยไว้ อยากรื้อสัตว์ขนสัตว์ ศาสนาจะมีอายุ ๕,๐๐๐ ปี กึ่งพุทธกาล ศาสนาจะเจริญอีกหนหนึ่ง เจริญขึ้นมาด้วยการค้นคว้า เจริญขึ้นมาด้วยความเป็นจริง เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเล็งญาณรื้อสัตว์ขนสัตว์นะ รื้อสัตว์ขนสัตว์ จะเทศนาว่าการเป็นความจริงอันนั้น จากใจดวงหนึ่งสู่ใจดวงหนึ่ง ใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสู่ใจของสาวก-สาวกะ สู่ใจของพระที่เป็นเอตทัคคะ ๘๐ องค์ เป็นกำลังในพระพุทธศาสนาไง ฉะนั้น เวลาความจริงมันเป็นความจริงที่นี่ไง

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมานะ เวลาจะวางธรรมวินัย จะเอาใครดีก่อน ถ้าเวลาที่ทอดธุระก็ไม่อยากจะสั่งสอนใคร เวลาคิดว่าเขามีโอกาส เขาจะมีโอกาสเป็นไปได้ เอาใครก่อน เขาต้องมีวาสนา เขาต้องมีบุญญาธิการ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมเอง ตรัสรู้ธรรมโดยชอบด้วยตนเอง มันรู้ว่ามันเป็นจริงขนาดไหน

เล็งญาณไง อาฬารดาบส อุทกดาบสเป็นอาจารย์ของตัว เพราะเคยไปศึกษากับเขา ได้สมาบัติ ๖ สมาบัติ ๘ กับเขา ผู้ที่เขาทำสมาบัติได้ จะไปสอน อาฬารดาบส อุทกดาบสก็ตายเสียแล้ว เพิ่งตายไปเมื่อวานนี้เอง เวลาเล็งญาณไป ถึงบอกว่าเอาใครดีต่อไป ปัญจวัคคีย์ ปัญจวัคคีย์เพราะอะไร เพราะปัญจวัคคีย์ได้อุปัฏฐากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาด้วยกัน อุปัฏฐากมา ๖ ปี คำว่า “อุปัฏฐาก” นักบวชที่ทำหน้าที่การงาน ทำหน้าที่การงานของนักบวชก็คือทำความสงบของใจ หน้าที่นักบวชคือพยายามค้นคว้าจะหาความจริงในหัวใจ

ฉะนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารื้อค้นอยู่ ๖ ปี ปัญจวัคคีย์ได้อุปัฏฐากอยู่ ก็ได้รื้อค้นค้นคว้ามาเหมือนกัน ฉะนั้น ถ้าค้นคว้ามา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาตรัสรู้เองโดยชอบ มาฉันอาหารของนางสุชาดา ปัญจวัคคีย์ทิ้งไป พอทิ้งไป พอตรัสรู้ขึ้นมาด้วยตนเอง จะกลับไปสอนปัญจวัคคีย์ เอาปัญจวัคคีย์ก่อน ปัญจวัคคีย์ยังมีชีวิตอยู่ไง อุทกดาบส อาฬารดาบสตายไปแล้ว คนตายไปแล้ว ตายไปแล้วจะไปสั่งสอนอย่างไร ตายไปแล้วจะไปสั่งสอน

เราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็สอนได้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไปเทศน์พุทธมารดาบนสวรรค์ได้ นี่ก็เหมือนกัน อุทกดาบสก็ไปสอนเขาสิ พุทธมารดามีสายบุญสายกรรม มีเวรมีกรรม เวลาเทศนาว่าการมันก็เป็นไปได้ แต่เวลาที่อาฬารดาบส อุทกดาบสเขาไปเกิดเป็นพรหม แล้วไปนี่จะสอนอย่างไร

แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารื้อสัตว์ขนสัตว์ เป็นอาจารย์ของเทวดา อินทร์ พรหมลงมา ทำไมเวลาเทวดา อินทร์ พรหมมาเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาฟังธรรมล่ะ นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเขาเป็นพรหม เขาต้องการอยากฟังธรรม ฟังธรรม หมายความว่า เขาปรารถนา จิตใจเขาควรแก่การงาน จิตใจเขาลงธรรม เขาฟังธรรม มันก็จะได้ธรรม ก็จะศึกษาค้นคว้าตามความเป็นจริงนั้น แต่ถ้าเขาไม่ลง เขาไม่ลงคือจิตใจเขาปิด จิตใจเขาไม่สนใจ แล้วจะไปสอนใคร แล้วถ้าไปเกิดบนพรหมมันก็ไม่ใช่อาฬารดาบส อุทกดาบสแล้ว เขาเป็นพรหมแล้ว แล้วเป็นใคร นี่พูดถึงว่าสายบุญสายกรรมนะ สายบุญสายกรรมคือหัวใจที่มันเปิดรับ หัวใจที่มันมีอำนาจวาสนาของมัน มันก็เป็นความจริงของมัน

ฉะนั้น เวลาเอาคนเป็นๆ เอาปัญจวัคคีย์ ไปเทศน์ปัญวัคคีย์ พอเทศน์ปัญจวัคคีย์ ได้อัญญาโกณฑัญญะมาเป็นสงฆ์องค์แรกของโลก แล้วเทศนาว่าการต่อไปจนเป็นโสดาบัน แล้วเทศน์อนัตตลักขณสูตรถึงเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด เวลาเทศน์สอนยสะได้อีก ๕๕ องค์ รวมแล้วทั้งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็น ๖๑ เวลาจะเผยแผ่ธรรม “ภิกษุทั้งหลาย เธอพ้นจากบ่วงที่เป็นโลกและเป็นทิพย์ เธอจงไปอย่าซ้อนทางกัน โลกนี้เร่าร้อนนัก เขาต้องการธรรม”

โลกนี้เขาเร่าร้อนนัก อย่าไปซ้อนทางกัน มันเสียโอกาสไง กว่าจะเทศนาว่าการจนเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด แล้วพ้นจากบ่วงที่เป็นโลกคือโลกธรรม ๘ ไง บ่วงที่เป็นโลก ลาภสรรเสริญ ชื่อเสียง ลาภสักการะ ไม่ไปติดมัน ถ้าติดมันจะไปสั่งสอนใคร ไปสั่งสอนใครก็สิ้นศรัทธาเขา เขาถวายลาภสักการะขึ้นมา มันก็โมฆบุรุษตายเพราะเหยื่อ ตายเพราะลาภ

ไม่ติดบ่วงที่เป็นทิพย์ เป็นทิพย์ ทิพย์สมบัติ ความสมบัติของเรา เราเป็นห่วงเป็นใย สิ่งต่างๆ ที่เป็นทิพย์ “เธอทั้งหลาย ๖๐ องค์ ไม่ติดบ่วงที่เป็นโลกและเป็นทิพย์ เธอจงอย่าไปซ้อนทางกัน” เพราะถ้ารู้จริงเป็นแบบนี้ ถ้ารู้จริงเป็นแบบนี้มันเป็นความจริง ทำสิ่งใดมันก็เป็นประโยชน์มาทั้งนั้น

แต่เราในปัจจุบันนี้โลกเจริญๆ ไง ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันมีเขาเผยแผ่เพื่อบุญกุศล ให้ธรรมเป็นทานๆ เวลาให้ธรรมเป็นทาน ให้ทางวิชาการเป็นทาน นี่ให้ธรรมเป็นทาน แต่เวลาเราไปศึกษาตำรา ในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นจริงไหม? จริง เราไปศึกษามา ศึกษามาด้วยอะไร? ก็ด้วยความจำ ถ้าจำสิ่งใดมา จำมาๆ แต่เรามันมีกิเลสตัณหาความทะยานอยากไง นี่ไง เวลาประพฤติปฏิบัติ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ การปริยัติสำคัญไหม? สำคัญ ถ้าเขาว่าปริยัติมั่นคง ปริยัติตรงต่อธรรมวินัย ถ้ามั่นคงขึ้นมา ในทางการปฏิบัติก็จะปฏิบัติไปเจริญรุ่งเรืองมากขึ้น นี่ด้วยความเห็นของโลกไง

แต่เวลาครูบาอาจารย์ของเราท่านก็ศึกษาของท่านมา ศึกษามาเป็นปริยัติ ยิ่งมีครูบาอาจารย์ท่านประพฤติปฏิบัติให้เราเห็นขึ้นมาในภาคปฏิบัติของเรา เรามีครูมีอาจารย์ ถ้ามีครูมีอาจารย์ ศึกษาโดยตรง ศึกษาโดยข้อวัตรปฏิบัติ ทำให้เห็นไง เวลาหลวงปู่เสาร์ท่านพูด หลวงปู่เสาร์ท่านปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า โดยครูบาอาจารย์ท่านบอกกันมาว่าองค์หลวงปู่เสาร์ท่านปรารถนาอย่างนั้น ฉะนั้น เวลาท่านประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริงของท่านจนสิ้นสุดแห่งทุกข์ไปแล้ว เวลาท่านเป็นตัวอย่าง ดูสิ หลวงปู่มั่นท่านเทศนาว่าการรื้อสัตว์ขนสัตว์เพื่อให้ศาสนามั่นคง ให้เป็นธรรมทายาท ให้หมู่คณะมีคุณสมบัติจริงในหัวใจ ท่านพยายามของท่าน ท่านทำของท่านด้วยอำนาจวาสนาของท่าน ด้วยบารมีของท่าน ท่านสั่งสอนของท่าน

เวลาหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่เสาร์เวลาท่านเทศน์ของท่าน ท่านก็เทศน์ของท่านสั้นๆ แล้วท่านบอกเลย “ทำให้มันดู ทำให้มันดู ทำให้มันดูมันยังไม่ทำตามเลย แล้วไปสอนมัน มันจะเอาไหม” นี่พูดถึงมุมมองความเห็นของหลวงปู่เสาร์

แต่หลวงปู่มั่นท่านเอาของท่านเต็มที่ “แก้จิตแก้ยากมากนะ แก้จิตแก้ยากมากนะ ให้ปฏิบัติเข้า ผู้เฒ่าอายุ ๘๐ แล้วนะ ถ้าตายไป คนแก้จิตมันแก้ยากนะ ปฏิบัติมา ผู้เฒ่าจะแก้ว่ะ ผู้เฒ่าจะแก้ว่ะ” ท่านปรารถนาจะรื้อสัตว์ ท่านปรารถนาจะช่วย ท่านปรารถนาจะบอก ท่านปรารถนา เพราะผู้รู้จริงไง

ฉะนั้น เราอยู่กับครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์ท่านทำให้เราดู ทำให้เราดู ศึกษาโดยความเป็นจริงเลย แต่ถ้าในภาคปริยัติมันก็ต้องศึกษา ศึกษาเป็นความจำมา เป็นความจำก็ศึกษามา ศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าศึกษามาเป็นประโยชน์นะ ศึกษาเป็นประโยชน์ ในวงการศึกษาเขาถ้ามันจะปฏิบัติ เพราะเราศึกษามา

หลวงตาท่านศึกษาจนเป็นมหา เวลาไปปฏิบัติ จะออกปฏิบัติจริง ไปกราบหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นบอกเลย บอกว่า “สิ่งที่มหา ท่านเรียนถึงเป็นมหามานะ สิ่งที่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทิดใส่ศีรษะไว้ๆ” คำนี้เป็นคำจริง ไม่มีหรอกพระที่ปฏิบัติแล้วจิตใจจะไม่ลงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันเป็นไปไม่ได้หรอก ถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า “ธรรมและวินัยเป็นศาสดาของเธอ” ถ้าลงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันก็ลงธรรมวินัย สิ่งที่ธรรมวินัยเพราะอะไร เพราะว่าครูบาอาจารย์ที่ท่านปฏิบัติมา ถ้าท่านมีดวงตาเห็นธรรม ท่านมีคุณธรรมในหัวใจ ท่านเคารพบูชาทั้งนั้นน่ะ เพราะโดยสามัญสำนึกของคน ใครที่มีคุณกับเรา โดยสมบัติของคนดี คุณสมบัติของคนดี ความกตัญญูกตเวที นี่คนดี

ถ้าคนไม่ดี คนที่ไม่มีจิตใจอยากประพฤติปฏิบัติ ไม่มีจิตใจเราจะมาปฏิบัติไหม เราจะมาทรมานตนไหม เราจะมาบำเพ็ญเพียรตบะธรรมแผดเผากิเลส เราต้องต่อสู้กับมันเพราะอะไร เพราะเราหวังดีไง เราหวังดี เราเป็นคนดี เราก็พยายามกระทำของเรา ถ้าเป็นคนดี คนดีต้องมีเครื่องหมายของคนดี ก็คือความกตัญญูกตเวที

แล้วสิ่งที่ธรรมและวินัยจะเป็นศาสดาของเรา ถ้าไม่มีธรรมวินัย เราเป็นสาวก-สาวกะ เราเกิดมาเป็นมนุษย์มีอำนาจวาสนามาก เพราะเราเกิดมาเป็นมนุษย์ คำว่า “เกิดเป็นมนุษย์” มันวาระไง ผลของวัฏฏะ วาระที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เราเกิดมาเป็นมนุษย์แล้วเรายังเกิดมาพบพระพุทธศาสนา แล้วยังมาเกิดพบพระพุทธศาสนาที่การประพฤติปฏิบัติกำลังเจริญรุ่งเรือง แล้วเรามีครูมีอาจารย์ ครูบาอาจารย์ของเราท่านปฏิบัติของท่าน แล้วสิ่งที่ท่านรู้ท่านเห็นขึ้นมา ใครเป็นคนวางธรรมและวินัยนี้ไว้ ใครเป็นคนวางแนวทาง ใครเป็นคนวางข้อวัตรปฏิบัติ ใครเป็นคนเปิดช่องทางให้เราไป แล้วคนที่มันปฏิบัติไป มันมีรู้จริงขึ้นมาจะไม่กตัญญูไม่กตเวที ไม่ระลึกถึงคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันเป็นไปไม่ได้เลย มันเป็นไปไม่ได้ หัวใจอย่างนี้มันออกมาจากใจ มันจะแข็งข้อ มันจะวัดรอยเท้า มันจะตีเสมอ มันเป็นไปไม่ได้

พอมันเป็นไปไม่ได้ แต่ด้วยข้อเท็จจริงที่เราปฏิบัติ เราศึกษามาด้วยความจำ เราศึกษามาด้วยความจำ แล้วเราอยากจะประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริง เราอยากให้เป็นความจริงขึ้นมา เวลาท่านไปกราบหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นบอกว่า “ท่านเรียนมาจนเป็นมหานะ คำว่า ‘ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า’ เราเทิดใส่ศีรษะไว้ แล้วเก็บใส่ลิ้นชักนั้นไว้ก่อนนะ แล้วใส่กุญแจไว้ อย่าให้มันออกมา ให้ปฏิบัติไปก่อน”

เวลาปฏิบัติไป ถ้ามันรู้จริงขึ้นมา ความรู้จริงกับธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันขัดแย้งกันได้อย่างไร ถ้าความรู้จริงกับความเป็นจริงมันอันเดียวกัน ผู้รู้จริงเขาเป็นแบบนี้ แต่ขณะที่เราจะปฏิบัติใหม่ เรายังไม่รู้จริงใช่ไหม แต่เราศึกษามาๆ เพราะเราเป็นปัญญาชน นี่การศึกษา โลกนี้ศึกษา โลกจะเจริญรุ่งเรืองต้องมีการศึกษา การศึกษาเท่านั้นจะทำให้คนฉลาดขึ้น การศึกษาเท่านั้นจะทำให้คนไม่เป็นเหยื่อของคน เพราะมีความรู้จริง แต่เพราะการศึกษานั้นเป็นความรู้จริง นี้เรื่องของโลก นี่ปริยัติไง ปริยัติมันถึงสำคัญแบบนี้ไง

แต่ถ้ามันสำคัญขึ้นมาแล้วเวลาเราปฏิบัติขึ้นไป เวลาเราปฏิบัติให้เอาสิ่งนี้วางไว้ก่อน ถ้าไม่วางสิ่งนี้ไว้ก่อน เวลาปฏิบัติไป หลวงปู่มั่นท่านบอก มันจะเตะมันจะถีบกัน มันจะเตะ มันจะขัดมันจะแย้งกัน มันขัดมันแย้งกันจากข้อเท็จจริงกับศึกษามาโดยที่เรามีกิเลส คนที่มีกิเลส มีทิฏฐิมานะสูง พอมันรู้สิ่งใดขึ้นมามันก็ไปยึดมั่นถือมั่น ทิฏฐิมานะไปยึดความถูกต้องขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่กิเลสตัณหาความทะยานอยากในหัวใจของเรา อำนาจวาสนาของเรา จริตนิสัยของเรา มันไปยึดแล้วมันขัดแย้งกัน มันจะขัดมันจะแย้งกัน มันจะเป็นความจริงได้ยาก แต่ถ้าเวลาเราจะปฏิบัติ เราวางสิ่งนั้นก่อนไว้ตามเป็นจริง นี้พูดถึงความจำนะ

แต่ผู้ที่ไม่มีอำนาจวาสนา จำสิ่งใดมา เกิดทิฏฐิมานะ เราจำธรรมวินัยนี้มา เราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมและวินัยเป็นศาสดา เป็นศาสดา เป็นข้อวัตรปฏิบัติ เป็นช่องทาง เป็นวิธีการ เป็นสิ่งที่จะให้จิตใจนี้ประพฤติปฏิบัติให้เข้าไปสู่ความจริงนั้น แต่ในเมื่อเราศึกษามา แล้วด้วยความวุฒิภาวะที่อ่อนด้อย สิ่งใดขึ้นมาก็คิดว่ามันจะเป็นอย่างนั้นๆ

นี่ไง ถ้ามันรู้จำมา มันมีข้อเสีย ข้อเสียเพราะอะไร เพราะกิเลสมันอยู่ในหัวใจของสัตว์โลก มันอยู่ในหัวใจของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ เรามาประพฤติปฏิบัติกันนี้ เพราะเราจะมาชำระล้างมัน เราจะมาค้นคว้ามัน เราจะค้นคว้าหากิเลสของเราว่ากิเลสของเรามันอยู่ที่ไหน กิเลสมันเป็นอย่างใด กิเลสนี้ทำไมมันร้ายนัก ทำไมมันให้เราเวียนว่ายตายเกิดมาจนขนาดนี้ เพราะเราศึกษาธรรมและวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดาของเรา เราเชื่ออยู่แล้ว เราเชื่อถึงผลของวัฏฏะ เราเชื่อถึงการเวียนว่ายตายเกิด เราถึงได้เชื่อถึงเวลาเราไปประพฤติปฏิบัติ

ถ้าเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา ถ้าเรามีสติมีปัญญา เราจะทำจิตใจของเราสงบได้ง่าย ถ้าสติเราอ่อน ถ้าเราทำด้วยความไม่รอบคอบ วันนั้นการปฏิบัติของเราจะไม่ได้ผลเลย แม้แต่จิตของเรา แม้แต่การประพฤติปฏิบัติแต่ละคราวๆ มันยังแตกต่างหลากหลาย ฉะนั้น เวลาจิตที่เวียนว่ายตายเกิด เราถึงได้เห็น เราถึงเข้าใจว่ามันเวียนว่ายตายเกิดอย่างนั้นไง เราก็เชื่อของเราใช่ไหม ทีนี้เราก็พยายามประพฤติปฏิบัติของเราให้มันเป็นความจริงขึ้นมา ความเชื่อ ศรัทธาความเชื่อแก้กิเลสไม่ได้ แต่เพราะศรัทธาความเชื่อ ถึงได้ให้เรามาศึกษาค้นคว้าธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาค้นคว้านี้เป็นปริยัติ แล้วถ้ามันมีความจำ เพราะรู้จำ เพราะรู้จำ ความรู้จำนี้มันจะเหนี่ยวรั้ง เหนี่ยวรั้งว่ามันน่าจะเป็นแบบนั้น มันน่าจะเป็นแบบนี้ มันน่าจะเป็น ความน่าจะเป็น แต่มันไม่เป็น

แต่ถ้ามันจะเป็นความจริง ถ้าเราวางสิ่งนั้นไว้แล้วเราทำความจริง นี่ต้องรู้จริง ไม่รู้จำ ถ้ารู้จำ มันให้โทษกับเราในการประพฤติปฏิบัติ แล้วในการปฏิบัติถ้ามีครูบาอาจารย์จริงนะ ดูสิ หลวงปู่มั่นท่านบอกหลวงตา “ธรรมที่ศึกษามาเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เอาความรู้สึกอันนี้ พยายามเอาความรู้สึกอันนี้ใส่ในลิ้นชักไว้ แล้วลั่นกุญแจมันไว้ อย่าให้มันออกมา แล้วเราปฏิบัติตามความเป็นจริงขึ้นมา ต้องรู้จริงๆ”

ถ้ารู้จริง แล้วปฏิบัติไป หลวงปู่มั่นท่านก็เป็นคนควบคุมดูแลเอง หลวงปู่มั่นท่านก็เป็นคนสั่งสอนเอง หลวงปู่มั่นท่านคอยกำราบเอง มันก็เป็นจริงอย่างนั้นจริงๆ หลวงตาพูดมันก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงๆ ขึ้นมามันก็เป็น ถ้าพอรู้จริงขึ้นมา ท่านมีทั้งปริยัติ ท่านมีทั้งทางวิชาการ แล้วท่านก็มีความรู้จริงในใจของท่าน มันถึงเป็นประโยชน์ไง

ถ้ามันเป็นประโยชน์แล้ว สิ่งที่ความรู้จริงอันนั้นท่านวางเอาไว้ วางข้อปฏิบัติต่อเนื่องกันไป วางประสบการณ์ของท่านเพื่อให้พวกเราได้ดำเนินตาม การดำเนินตาม เห็นไหม ถ้าเรารู้จริง สิ่งนั้นมันจะไม่ขัดไม่แย้งกัน แต่ถ้าเรายังรู้ไม่จริง เรารู้จำ มันจะขัดแย้ง ขัดแย้งตรงไหน ขัดแย้งที่ความเห็นของเราไง มันไม่ได้ขัดแย้งที่ความจริงของท่านหรอก ธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีความขัดแย้งไหม

ดูสิ เราศึกษามากิเลสของเรามันอ้างพุทธพจน์ๆ อ้างแต่ความเป็นจริงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ความเป็นจริงในหัวใจของเราล่ะ พวกรู้จำๆ พอรู้จำขึ้นมา รู้จำมันมีแต่ลมปาก มันมีลมปาก มันไม่มีอะไรเป็นความจริงขึ้นมาในหัวใจเลย ไม่มี ดูกิเลสมันเอาความรู้จำอันนั้น มันทำให้เรามักง่าย ทำให้เราฟั่นเฝือ ทำให้เราประพฤติปฏิบัติไม่ก้าวเดิน แล้วก็สำคัญตนว่าปฏิบัตินะ เพราะนี่มันเป็นรูปแบบ

สิ่งที่เป็นรูปแบบ ดูสิ คนก็เหมือนคน ในองค์กรต่างๆ เขาจะมีเครื่องแบบของเขา ถ้าเครื่องแบบของเขาเพื่ออะไร เพื่อให้เห็นว่าสิ่งนี้ไปอยู่ในองค์กรเดียวกัน นี่ก็เหมือนกัน สิ่งที่ว่าเราเกิดมาเป็นชาวพุทธไง เราเกิดเป็นชาวพุทธนะ ดูสิ พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ อนุสติ ๑๐ การทำกรรมฐาน ๔๐ ห้อง เราก็รู้ของเรา แล้วเวลาคนปฏิบัตินะ สิ่งที่ปฏิบัติ เราอยากจะเกินหน้าเกินตาเขา เราก็ว่าสิ่งนี้ ทำสิ่งนี้ไปแล้วมันจะเป็นสมถะ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา เราใช้ปัญญาของเราไปเลย เราใช้ปัญญาโดยที่ไม่มีความอยากด้วยนะ ใช้ปัญญาของเขาไปเลย นี่มันเป็นรูปแบบ แล้วรูปแบบ ดูสิ องค์กรใดก็แล้วแต่ เขาก็มียูนิฟอร์มของเขา แต่ละองค์กรของเขา มันก็เป็นรูปแบบทั้งนั้นน่ะ แต่เนื้อหาสาระความเป็นจริงล่ะ เขาทำงานได้จริงหรือเปล่า เขาทำงานของเขาแล้วเป็นประโยชน์กับองค์กรนั้นไหม เขาเป็นคนซื่อสัตย์สุจริตหรือเขาเข้าไปคดโกง เขาเข้าไปหาผลประโยชน์ในองค์กรนั้น

นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อการปฏิบัติมันเป็นแค่รูปแบบ ถ้าเป็นรูปแบบ แต่เราศึกษามาๆ มันก็เป็นรูปแบบ พอมีรูปแบบแล้วเราก็ว่าจะเป็นอย่างนั้นๆ เป็นอย่างนั้นเพราะอะไร เพราะรู้จำ ความรู้จำมันทำให้เราล้มลุกคลุกคลานนะ ถ้าล้มลุกคลุกคลาน ถ้าเราจะเอาความจริง มันต้องรู้จริง การรู้จริง ประพฤติปฏิบัติไปข้างหน้า เพราะรู้จำมันถึงทำความเสียหายนะ ทำความเสียหาย เพราะรู้จำมันไม่มีความจริงใช่ไหม เพราะรู้จำ อ้างพุทธพจน์ อ้างผลงานของครูบาอาจารย์ของเรา อ้างหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น อ้างครูบาอาจารย์ไปหมดเลย อ้างว่าเป็นอย่างนั้นๆ แต่ความจริงมันไม่ใช่

ความจริงก็เป็นความจริง แต่ความที่ว่า ธรรมวินัยนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้ มันมีพระไตรปิฎกเป็นเครื่องยืนยัน นี่ก็เหมือนกัน คำเทศนาว่าการของครูบาอาจารย์ของเรา ถ้ามันเก็บหอมรอบริบไว้มันก็มีเป็นหลักเป็นฐานเหมือนกัน ทุกคนก็อ้างอิงๆ อ้างอิงแล้วอ้างอิงผิด ผิดเพราะอะไร ผิดเพราะความรู้จริงของเราไม่มี เพราะความรู้จริงของเราไม่มี มันไม่รู้ขั้นตอน มันไม่รู้ความเป็นจริงของวิถีแห่งจิต จิตนี้มันจะก้าวเดินไปอย่างไร

ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา บุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ เวลาบุพเพนิวาสานุสติญาณ อดีตชาติ จิตนี้มันดำเนินมาอย่างไร ย้อนกลับไป เพราะโดยธรรมชาติของมนุษย์ โดยธรรมชาติของคนที่จะเข้าไปศึกษาค้นคว้าใจของตัวเองก็อยากจะพบอยากจะเห็น ทีนี้พอเข้าไปสู่ใจของตัวเอง เวลาจิตมันสงบเข้ามา กำหนดอานาปานสติ พอจิตสงบเข้ามา มันมีอยู่แล้วไง คำว่า “มันมีอยู่แล้ว” มันมีข้อมูลของมันอยู่แล้วไง ทำดีทำชั่วมันก็ซับลงที่จิตหมดไง

ถ้ามันซับลงที่จิต คำว่า “มีอยู่แล้ว” คือมีข้อมูลของมันอยู่แล้ว แต่ธรรมยังไม่มี มันมีข้อมูลของมัน เวลาจับแล้วสาวเข้าไปสู่ใจของตัว จะไปต้นขั้วของใจ เข้าไปสู่ข้อมูลในหัวใจที่สะสมมา ย้อนกลับไปตั้งแต่พระเวสสันดร ไปไม่มีที่สิ้นสุดเลย นี่ไง เวลาจิตมันสงบเข้ามามันรู้ที่มาที่ไป ถ้ามันไปแล้วไม่จบ เพราะมีอำนาจวาสนา เพราะล้มลุกคลุกคลานมา ๖ ปี กับปฏิบัติมากับเจ้าลัทธิต่างๆ ได้ทั้งเข้าสมาบัติ ทำมาหมดล่ะ รู้วาระจิต รู้มาหมด ทำมาทั้งนั้น แต่มันแก้กิเลสไม่ได้

แล้วเวลาจะตรัสรู้เองโดยชอบ เวลาเข้าไป เข้าไปเห็นข้อมูล บุพเพนิวาสานุสติญาณ ย้อนไปเลย ย้อนอดีตชาติไป ดึงกลับมาๆ นี่ก็ยังไม่ใช่ พอดึงกลับมาแล้วกำหนดจิตใจให้เข้มแข็งมากขึ้น สมาธิละเอียดมากขึ้น พอปล่อยโดยธรรมชาติของมัน จุตูปปาตญาณ นี่ญาณหยั่งรู้ๆ ญาณที่หยั่งรู้แต่มันหยั่งรู้ด้วยอวิชชา หยั่งรู้ด้วยข้อสมบัติเดิมของจิตนั้น นี่ไง ถ้ารู้จริงมันรู้เห็นว่าจิตนี้มันมาจากไหน มันมาอย่างไร แล้วเวลาถ้ายังไม่สิ้นกิเลส จุตูปปาตญาณ มันก็ไปข้างหน้าของมัน

แล้วก็ดึงกลับมา เวลาอาสวักขยญาณ ดูสิ เวลา อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขาราปจฺจยา วิญฺญาณํ ดูสิ อวิชชาๆ อาสวักขยญาณมันเข้าไปทำลายในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะมันรู้มันเห็นของมันตามความเป็นจริงไง สิ่งที่รู้จริงอย่างนี้มันรู้จริง ที่มาที่ไปของจิตดวงหนึ่งมันยังลึกลับซับซ้อนขนาดนี้ แล้วเวลาครูบาอาจารย์ของเราที่ท่านรู้จริง มีข้อเท็จจริง แล้ววางธรรมวินัย เป็นความจริงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเราก็ตีความกันไป เวลาปฏิบัติไป จะคอยเหนี่ยวรั้ง “มันจะเป็นอย่างนั้นๆ”

หลวงปู่มั่นท่านถึงบอก บอกกับหลวงตา เห็นไหม “ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าศึกษามาแล้วเถิดใส่ศีรษะไว้ แล้วเก็บใส่ลิ้นชักไว้ก่อน ถ้าไม่เก็บใส่ลิ้นชักไว้ก่อน เวลาประพฤติปฏิบัติไป มันจะขัดมันจะแย้ง มันจะขัดมันจะแย้ง”

ในการประพฤติปฏิบัติ เราเข้าไปหากิเลสของเรา เราเข้าไปต่อสู้กิเลสของเรา มันก็เป็นเรื่องภาระหนักหนาสาหัสสากรรจ์อยู่แล้ว แล้วไปศึกษามา ศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา แล้วก็มาอ้างอิงว่าเป็นความรู้ของเราๆ นี่มันรู้จำ มันรู้จำมา สัญญามันรู้จำมา นี่ปริยัติ

ปริยัติสำคัญไหม? สำคัญ ถ้าเราไม่มีแนวทางไม่มีช่องทางมันก็ไปลำบาก มันก็ต้องมีแนวทางช่องทางตามเป็นจริง ผู้รู้จริงคือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้จริงขึ้นมาเอง แล้ววางไว้ แต่เราไปศึกษามา ปริยัติก็คือปริยัติ เวลาปฏิบัติขึ้นมา เวลาจะมาปฏิบัติ ครูบาอาจารย์ท่านเป็นความจริง ท่านจะปฏิบัติ ท่านถึงบอกให้ทำอย่างนี้ไง ให้วางไว้ก่อนๆ วางไว้ที่ไหนล่ะ วางก็วางวาระในหัวใจ วางไว้ให้ได้ ถ้าวางไว้ในหัวใจแล้วปฏิบัติไป ปฏิบัติไปมันไม่ขัดไม่แย้ง ไม่ขัดไม่แย้งเพราะท่านรู้จริงขึ้นมา

หลวงปู่มั่นท่านรับเข้ามาเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมา ท่านอนุโมทนาไปกับการประพฤติปฏิบัติของลูกศิษย์ลูกหา ท่านปลื้มใจ ท่านเห็นใจ ท่านส่งเสริม ท่านให้แนวทางตลอดไป นี่พูดถึงผู้ที่ปฏิบัติตามร่องตามรอยตามครูบาอาจารย์ไป มันรู้จริงขึ้นมา มันก็หมดปัญหากันไป ไม่มีอะไรขัดไม่มีอะไรแย้งกัน พอไม่ขัดแย้ง ท่านถึงวางข้อวัตร ท่านถึงเอาสิ่งที่หลวงปู่มั่นท่านวางแนวทางไว้มาวางไว้ให้พวกเราก้าวเดินไง

แต่พวกเรายังไม่มีความรู้จริงไง ไม่มีความรู้จริงขึ้นมา เราถึงคาดหมาย คาดหมายสิ่งที่ท่านวางเป็นความจริงผิด สิ่งอาการที่ท่านวางไว้ สิ่งที่ท่านบอกเป็นแนวทางไว้ เราก็ไปเปลี่ยนแปลง เราก็ไปแก้ไขว่ามันต้องเป็นอย่างนี้ๆ ด้วยข้อเท็จจริงของท่านเอง นี่ก็เหมือนกัน เวลาเราประพฤติปฏิบัติกัน ด้วยข้อเท็จจริงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมและวินัย พระไตรปิฎกนี่แหละ

ในพระไตรปิฎก พระไตรปิฎกเป็นความจริงไหม? เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริง แต่เพราะเรามาปฏิบัติ เราปฏิบัติด้วยสัญญา เราปฏิบัติไปด้วยความจำ แล้วไอ้กิเลสในหัวใจเรามันร้ายกาจนัก มันก็ว่า “ดูสิ ไอ้พวกที่ทำสมถะ ไอ้พวกพุทโธ ไอ้พวกพุทธานุสติ มันเป็นสมถะ มันเป็นสมาธิ ไม่จำเป็นต้องทำ แล้วผู้ที่ทำอย่างนี้จะไม่มีช่องทาง จะเป็นไปไม่ได้ เพราะมันไม่ใช้ปัญญา” นี่ด้วยความรู้จำ ไปคาดหมาย ไปบิดเบือนว่าสิ่งที่มันจะไม่เกิดปัญญา ด้วยทิฏฐิมานะ ด้วยความเห็นผิด ด้วยความรู้จำอันนั้น เพราะกิเลสในหัวใจมันไม่รู้นี่ มันไม่รู้มันไม่เข้าใจ มันมีความเห็นอย่างนั้นมันก็อ้างอิงเป็นแบบนั้น นี่รูปแบบไง รูปแบบอีกรูปแบบหนึ่งในการปฏิบัติที่จะให้วนเวียนอยู่ในวัฏฏะ ให้วนเวียนอยู่ในอำนาจของกิเลส ให้วนเวียนอยู่ในอำนาจของตัณหาความทะยานอยาก

นี่ไง ถ้าบอกว่า “ทำอย่างนั้นไปแล้วมันจะเกิดปัญญาไม่ได้ มันเป็นสมถะ มันไม่มีปัญญา พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งปัญญา” ก็ว่าไป แต่เวลาหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านบอกว่าให้ทำความสงบของใจเข้ามาก่อน นี่ไง มันจะไม่ให้ไปขัดไปแย้งระหว่างปริยัติ-ปฏิบัติ ไม่อย่างนั้นมันจะขัดมันจะแย้งกัน

ปริยัติ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธพจน์น่ะจริง แต่ไอ้ความขัดแย้งมันขัดแย้งในใจเราไง ความที่มันขัดมันแย้งเพราะกิเลสตัณหาความทะยานอยากไง กิเลสของเรานั่นแหละมันขัดมันแย้ง กิเลสของเรามันไปอ้างไปอิงไง กิเลสของเรามันไปยึดมั่นถือมั่นว่าจะเป็นอย่างนั้น “จะเป็น” เห็นไหม ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหมือนกัน สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา มันเป็นจินตนาการจากที่มีข้อมูล นี่ถ้ารู้จำมันเป็นแบบนั้น ทำให้เสียให้หาย เสียหายแล้วไม่รู้ว่าอะไรถูกอะไรผิดด้วย ถ้าไม่รู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด มันจะจรรโลง มันจะเป็นศาสนทายาททำเพื่อให้แนวทางปฏิบัติต่อเนื่องกันไป ให้กุลบุตรสุดท้ายภายหลังได้ประโยชน์มันจะเป็นไปได้ไหม

กุลบุตรสุดท้ายภายหลังเขาควรจะมีแนวทางของเขา ดูสิ เวลาหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านพยายามประพฤติปฏิบัติของท่านขึ้นมา ไปหาใคร ใครจะสอนได้ ไปหาใคร ใครก็บอกไม่ได้ ต้องรื้อค้นเอาในธรรมวินัย ในพระไตรปิฎก แล้วก็ปรึกษากันระหว่างหลวงปู่เสาร์กับหลวงปู่มั่น ปรึกษา จะเป็นไปได้ไหม เริ่มต้นหลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ท่านก็ชี้แนวทางได้ในการทำความสงบของใจเข้ามา เวลาไปสูงขึ้นไป หลวงปู่เสาร์ท่านบอกเลย “เราไม่มีวาสนา ท่านมีปัญญามาก ท่านต้องรื้อค้นเองแล้ว” หลวงปู่มั่นท่านก็ปรึกษา เจ้าคุณอุบาลีต่างๆ ปรึกษาหาทางไปจนได้ นี่ปรึกษา ปรึกษาในธรรมวินัย ปรึกษาเพราะท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ท่านช่ำชองในปริยัติ ช่ำชองในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่หลวงปู่มั่นท่านเป็นผู้ที่ออกบุกเบิก ออกค้นคว้า ออกรื้อค้นขึ้นมาในความเป็นจริงของท่านขึ้นมา นี่ไง ถ้ามันเป็นความจริง มันจริงขึ้นมาแล้วถึงวางสิ่งนี้ไว้

ฉะนั้น เวลาเรา เรามีแต่ความจำ ทั้งๆ ที่อยู่กับครูบาอาจารย์นะ เวลาอยู่กับครูบาอาจารย์ เราว่าเป็นพระปฏิบัติ เวลาพระปฏิบัติถ้าปฏิบัติจริง ครูบาอาจารย์ก้าวซ้ายก็รู้ว่าซ้าย ครูบาอาจารย์ก้าวขวาก็รู้ว่าขวา มันไม่สับสน ถ้าไม่สับสนนะ ดูสิ ดูหลวงปู่มั่นสิ เวลาท่านสอนหลวงตา ถ้าฝึกหัดใหม่ เวลาทำความสงบของใจไม่ได้ เวลามันน้อยเนื้อต่ำใจ “จิตนี้เปรียบเหมือนเด็กๆ เด็กๆ นี้มันต้องมีคนบำรุงดูแลมัน มันต้องมีอาหารการกินเพื่อความดำรงชีวิตของมัน ถ้าเด็กมันดื้อ เด็กมันเที่ยวเล่นของมันโดยไม่สนใจอะไร เราไม่ต้องยุ่งกับมัน เราหาสิ่งที่จะเป็นอาหาร ที่อยู่อาศัย รอไว้ เดี๋ยวเด็กมันไปมันไม่มีใครดูแลมัน มันจะกลับมาเอง” นี่พูดถึงถ้าใจของเรา

ใจของเรา ความรู้สึกของเรามันอยู่กับเรา ฐีติจิต จิตของเราเอง เวลามันดื้อมันด้าน เวลามันฟุ้งซ่าน มันดิ้นรนของมันไป มันเป็นเด็ก เด็กกับใจของเรา คือใจดวงใดก็เด็กคนนั้น ถ้าเราเปรียบเด็กๆ ทางโลก ดูสิ เวลาถ้าเป็นความจำ ความจำมันก็บอกว่า อู๋ย! อย่างนี้ก็ไปดูที่เด็กกำพร้าก็ได้ ไปสถานที่เลี้ยงเด็กกำพร้า ไปสถานที่เด็กเยอะแยะ เอาเด็กคนไหนมาก็ได้

นี่มันพูดถึงเวลาความหมายของท่าน ท่านจะพูดถึงจิตหนึ่ง จิตหนึ่งคือจิตดวงนั้น เวลามันฟุ้งซ่าน เวลามันปฏิบัติจะมีพื้นฐานขึ้นมา เวลามันดื้อด้านท่านก็เปรียบให้ลูกศิษย์ได้เห็น บุคลาธิษฐาน ให้เห็นภาพชัดเจนว่าเปรียบเหมือนเด็กๆ ถ้าเด็กอ่อนมันไปเที่ยวเล่น เดี๋ยวมันไม่มีที่อยู่อาศัยมันก็ต้องกลับมาหาพี่เลี้ยงมันเอง นี่ก็เหมือนกัน ใจดวงใดเวลามันประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เวลามันทุกข์มันยาก เวลาเอาใจของเราไว้ไม่ได้ มันดื้อมันด้าน ท่านก็บอกเปรียบเหมือนเด็กๆ ฉะนั้น ไม่ต้องไปเดือนร้อนในใจไปกับเขา ให้หาอาหารของมัน ให้ดูอาหารมาเตรียมเผื่อไว้ แล้วรักษาอาหารนั้นไว้ เดี๋ยวเด็กมันหิวมันกระหายมันต้องกลับมาเอง นี่หลวงปู่มั่นท่านสอนอย่างนี้ เริ่มต้นปูพื้นฐาน

ท่านก็บอกว่าสอนเหมือนเด็กๆ เลย แล้วเราก็กำหนดพุทโธของเราไปเต็มที่ของเราไป แล้วสุดท้ายพอจิตมันสงบ มันก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ มันก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ นี่เวลาเราศึกษา แต่เวลาเรารู้ด้วยความจำ อ๋อ! ทำไมเด็กเดี๋ยวก็ไปที่สถานที่เลี้ยงเด็กกำพร้า เดี๋ยวไปเนิร์สเซอรี ดูเด็กๆ มันนอนเต็มเลยน่ะ จะเอาคนไหนก็ได้ อุ้มมาเลย

นี่ก็เหมือนกัน เวลาปฏิบัติ มันลัดเลาะไปตามแต่กิเลสมันน่ะ รูปแบบ! รูปแบบของการปฏิบัติ เราไปดูกันที่รูปแบบ รูปแบบ เห็นไหม ดูสำนักปฏิบัติต่างๆ เขามีสำนักปฏิบัติทั้งนั้น รูปแบบ! แต่เนื้อหาสาระ ถ้ามันจำมา มันจำมาอย่างนั้นมันมีแต่รูปแบบ แล้วมันไปไหนไม่รอดหรอก เอารูปแบบไว้ไปขายกินกัน เอารูปแบบไว้อวดกัน ใครปฏิบัติได้ง่าย-ปฏิบัติได้ยากก็เอารูปแบบไว้อวดกัน ความจริงล่ะ? ความจริงไม่มี

ต้องรู้จริง ไม่ใช่รู้จำ รู้จำ พูดถึงในภาคการศึกษา ในภาคปฏิบัติ มันก็เป็นความจำเป็น มันก็ต้องมีการศึกษา เขาว่าถ้าปริยัติมั่นคง ปฏิบัติก็จะเจริญรุ่งเรืองขึ้นไป เพราะว่าในปริยัตินี้ก็มีการศึกษา...ศึกษามา ศึกษามาแล้ววางไว้ ศึกษามาเพื่อประพฤติปฏิบัติ ไม่ใช่ศึกษามาว่าเป็นสมบัติของเรา ไม่ใช่ศึกษามาว่าฉันเป็นนักปราชญ์ ถ้าฉันเป็นนักปราชญ์ นักปราชญ์มันก็แสดงธรรมด้วยข้อมูล ด้วยสัญญา ด้วยการวิจัย มันก็เป็นเรื่องโลก ถ้ามีปัญญาไหม ถ้าปัญญาเทียบกับประชาชน เทียบกับสังคมโลก ก็ใช่ มีปัญญา มีปัญญาก็เราเป็นนักบวชไง เราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง เรามีหน้าที่ไง มันก็มีปัญญาจริงๆ นั่นล่ะ เป็นภาคปริยัติไง

แล้วปฏิบัติล่ะ ปฏิบัติเพื่ออะไร? ก็ปฏิบัติเพื่อหัวใจของเราไง ปฏิบัติเพื่อให้จิตดวงนี้พ้นจากวัฏฏะไง ในเมื่อศึกษามา ดูสิ โปฐิละ คัมภีร์ใบลานเปล่าๆ นั่นใบลานเปล่าด้วยความซื่อสัตย์สุจริตนะ มันก็น่าเห็นใจ น่าเชิดชูเขา เพราะเขาจรรโลงศาสนาในแขนงหนึ่ง แต่ถ้าเราอยากปฏิบัติด้วย ถ้าปฏิบัติถ้ามันยังไม่มีความจริงขึ้นมา ไม่มีความจริงขึ้นมา ไปชี้นำ ไปชี้บอกในแนวทางที่ผิด ไปชี้บอกสิ่งที่เป็นจริงอยู่แล้วให้มันเป็นสิ่งที่ผิด แล้วยังตะแบงนะ “พุทธพจน์ๆ”

พุทธพจน์เป็นความจริง แต่กิเลสตัณหาความทะยานอยากของผู้พูด กิเลสตัณหาความทะยานอยากของเรามันพุทธพจน์รึเปล่า

นี่เหมือนกัน เวลามาปฏิบัติ ครูบาอาจารย์ท่านมีคุณธรรมของท่าน ท่านก็วางข้อวัตรปฏิบัติ วางแนวทางในการปฏิบัติ สิ่งที่ประสบการณ์ของท่าน แล้วผู้ที่จรรโลงต่อไป ธรรมผู้ที่จรรโลงสิ่งที่เป็นความจริง มันมีความจริงในหัวใจหรือเปล่า ถ้ามันมีความจริงในหัวใจมันจะไม่ผิดพลาดเลย แล้วมันจะทำประโยชน์ ทำประโยชน์ให้วงศาสนาด้วย แล้วมันจะทำความจริงให้กับวงกรรมฐาน

เพราะครูบาอาจารย์แต่ละองค์ที่ท่านจะประพฤติปฏิบัติมาตามความเป็นจริงท่านลงทุนลงแรงไปขนาดไหน สละชีวิตกันเลยนะ เวลามันมีปัญหาขึ้นมา เวลามันขัดมันแย้งขึ้นมาในหัวใจ กิเลสที่มันดื้อด้านจะต้องเอากันให้ลง แล้วไม่ต้องให้ใครมาเป็นกรรมการ ไม่ต้องให้ใครเข้ามาเป็นห่วงเป็นใยคอยดูแล มันเป็นกิเลสของเรา มันข่มขี่หัวใจของเรา เราจะชนะคะคานกับมันอย่างนี้มันต้องลงทุนลงแรงกันขนาดนี้ แล้วลงทุนลงแรงมันเป็นประสบการณ์ทั้งชีวิต เป็นประสบการณ์ความจริงๆ แล้วท่านวางไว้ ท่านเทศนาว่าการให้เป็นประโยชน์กับเรา แล้วเรารู้จำ ไปแก้ไข ไปเปลี่ยนแปลง ไปวางตำแหน่งไว้ให้มันคลาดเคลื่อน

ผู้รู้จริงด้วยกันเขาเห็นแล้วเขาสังเวช สังเวชนะ ของครูบาอาจารย์ท่านทำไว้ดีๆ ทำไมเราไปทำให้มันสับสนเอง แล้วสับสนเพราะอะไร เพราะรู้จำ ก็เรารู้จำ รู้จำก็รู้ได้แค่นั้นน่ะ รู้จำ เห็นไหม ดูสิ ท่านเทศนาว่าการว่าอย่างใดก็พยายามจะเทียบเคียงกับพระไตรปิฎก เทียบเคียงกับความเห็นของเรา มันจะพยายามเทียบเคียงกับความเห็นไง เพราะเราก็รู้จำ เราก็ศึกษามา เราก็ปัญญาชน เราก็มีการศึกษา แล้วเราก็อยู่กับครูบาอาจารย์ด้วย พออยู่กับครูบาอาจารย์มันก็เอาสิ่งนี้ไง เอาทิฏฐิมานะของตัว เพราะมันรู้จำ เพราะรู้จำถึงได้แสดงความไม่รู้ออกไป เพราะรู้จำมันถึงไม่แสดงความรู้จริง ไม่มีข้อมูลความเป็นจริงออกไป มันถึงได้ชี้จุดผิดพลาด ชี้จุดบกพร่องไง แต่ถ้ารู้จริง เป็นไปไม่ได้เลย เพราะอะไร

เพราะถ้ารู้จริงขึ้นมา ดูสิ ถ้าเราทำความสงบของใจ ถ้าใจมันสงบเข้ามา ถ้าไม่สงบมันก็ดื้อด้านอย่างนี้ ถ้าไม่สงบมันก็ทุกข์ยากอย่างนี้ แต่ถ้าเราพยายามทำความสงบของใจล่ะ แม้แต่ถ้าทำความสงบของใจนะ ถ้าใจมันสงบเข้ามา ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ เวลาสมาธิเกิดขึ้นมามันล้มลุกคลุกคลาน

เราเกิดมาเป็นชาวพุทธ เรามีอำนาจวาสนา เราอยากจะประพฤติปฏิบัติของเรา เราจะเอาความจริงของเรา ศึกษามาก็ศึกษามาแล้ว ศึกษามาเป็นสมบัติของครูบาอาจารย์ ศึกษามาเป็นสมบัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมและวินัยคือศาสดาของเรา ศึกษามาทั้งนั้นน่ะ แต่เป็นสมบัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสมบัติของครูบาอาจารย์ของเรา แล้วเราศึกษามาแล้ว เราศึกษามาเพื่อเป็นวิธีการ เราศึกษามาเพื่อเป็นแนวทาง นี่เราปฏิบัติเริ่มต้น เราปฏิบัติล้มลุกคลุกคลาน เราไม่มีแนวทาง เราก็เอาแนวทางของครูบาอาจารย์ เอาแนวทางขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเครื่องดำเนิน เป็นแนวทางที่เราเดินต่อไป

ถ้าเราดำเนินต่อเนื่องกันไปมันมีอุปสรรคแล้ว ทำไมทำอย่างนั้นก็ไม่ได้ ทำอย่างนี้ก็ไม่ได้ ทำอย่างนู้น ทำอย่างนี้ อย่างนี้ดี อย่างนั้น เห็นไหม มันมีทั้งอุปสรรค มันมีทั้งประสบความสำเร็จ ถ้าอย่างนั้นเราก็คัดแยก เราก็เลือกแนวทางของเราให้มันตรงจริตกับเรา ถ้ามันตรงจริตกับเรานะ ถ้ามันสงบเข้ามา สงบมากสงบน้อยเข้ามามันเห็นความแตกต่าง เวลาสงบขึ้นมามันต้องมีสติ มีสติขึ้นมามันรู้ตัวทั่วพร้อม มันพร้อมของมันพร้อม รู้ตัวทั่วพร้อม มันก็ส่งออกมารับรู้ร่างกาย ถ้ามันหดสั้นเข้ามาๆ มันละเอียดเข้าไปๆ รู้ตัวทั่วพร้อมมันไม่ออกจากร่างกายนี้ไปยึดมั่นถือมั่นจับวัตถุธาตุข้างนอกภายนอก

อารมณ์ความรู้สึกความนึกคิดต่างๆ แม้แต่ไปยึดในตำรา ไปยึดในความรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปยึดของใคร ไม่ใช่ทั้งนั้น เพราะศึกษามาๆ เป็นแนวทาง แต่เวลาปฏิบัติขึ้นมาต้องการความจริงขึ้นมา ให้มันสงบตัวเข้ามา ถ้ามันสงบเข้ามา นี่ปุถุชน กัลยาณปุถุชน มันจะเข้ามาถึงตัวของเรา มันจะเริ่มต้นจากตรงนี้ทั้งนั้น เพราะสิ่งนี้คือต้นเหตุ เพราะใจของเราเป็นต้นเหตุ

ใจของเรา ดูสิ ความทุกข์ความยากทั้งหลายมันก็ไปทับถมลงที่ใจ เวลาจะประพฤติปฏิบัติขึ้นมาก็ใจอยากได้อยากเป็น พอใจอยากได้อยากเป็นมันก็ฟุ้งซ่านของมันไป มันก็ไปยึดมั่นถือมั่นของมันไป นี่ไง พอมันรู้จำขึ้นมาก็คาดหมายคาดการณ์กันไปทั้งนั้นน่ะ ปฏิบัติโดยการคาดการเดามันไม่มีอะไรสิ่งใดเป็นความจริงขึ้นมาเลย แต่เวลาไม่มีความจริงขึ้นมามันก็อ้างอิง นี่ไง พระไตรปิฎกว่าอย่างนี้ไง พุทธพจน์ว่าอย่างนี้ไง ท่องให้แม่นๆ จำให้แม่นๆ หน่อย พยายามพูดวรรคตอนที่เราพอใจ เวลาอ้างอิงธรรมของครูบาอาจารย์ก็บอก มันเป็นอย่างนี้ไง เพราะอะไร เพราะเราอยู่ใกล้ชิดไง เราอยู่ใกล้ชิดครูบาอาจารย์มานะ เราเป็นมือขวานะ เราเป็นคนจรรโลงเรื่องนี้มาหมดเลย แต่ไม่มีความรู้จริงในหัวใจเลยน่ะ มันวางตำแหน่งเป้าหมายผิดหมด

แต่ถ้ามันรู้จริงขึ้นมา เวลามันฟุ้งซ่านมันฟุ้งซ่านอย่างนี้ ถ้ามันสงบมันสงบอย่างนี้ มันรู้เลย แล้วถ้าเป็นสมาธิ ขณิกสมาธิเป็นแบบนี้ ขณิกสมาธิเป็นแบบนี้ที่มันเป็น อุปจาระเป็นแบบนี้ อัปปนาเป็นแบบนี้ แล้วถ้าเป็นแบบนี้ เวลาเป็นแบบนี้เป็นอย่างไร เป็นแบบนี้ก็มันมีสติ เพราะมันทำแล้วได้บ้างไม่ได้บ้าง ถ้ามันได้ ถ้ามันลงสู่สมาธิ เหตุมันสมควร เหตุมันเป็น แต่เวลาเราทำแล้วมันไม่ได้ ทำเหมือนกันมันไม่ได้ ไม่ได้เพราะอะไร ทำแล้วมันไม่ได้ ไม่ได้เพราะความบกพร่อง เพราะกิเลสมันทิฏฐิมานะ เพราะกิเลสมันมีกำลังที่เหนือกว่า ทำเหมือนกัน ทำมากกว่าด้วย แต่มันไม่ลง ถ้ามันไม่ลง

แล้วมันถ้าลงล่ะ เห็นไหม สมาธิมันเป็นแบบนี้ ผลของสมาธิ ผลของสมาธิทำให้จิตของเรามันไม่ยึดรูป รส กลิ่น เสียงเป็นสมบัติของมัน เพราะการยึดรูป รส กลิ่น เสียง รูป รส กลิ่น เสียงนี้ เวลากิเลสเป็นนามธรรม มันก็อาศัยสิ่งนี้ล่ะ อาศัยขันธ์ ๕ อาศัยวิถีแห่งจิต จิตของเรานี่ จิตที่ส่งออกนี่ พลังงานนี้ที่มันออกไปโดยธรรมชาติของมัน มันมีมารครอบงำมันอยู่

ถ้าไม่มีมารครอบงำมันอยู่ เห็นไหม อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขาราปจฺจยา วิญฺญาณํ มันมีความไม่รู้ครอบงำมันอยู่ เวลาความไม่รู้ครอบงำมันอยู่ เราเกิดเป็นมนุษย์ไง มีธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ ไง โดยสัญชาตญาณไง วิถีแห่งจิตมันไปทำงานอย่างนี้ไง ผู้รู้-สิ่งที่ถูกรู้ นี่มันเป็นผู้รู้ ความรู้อันนี้มันเป็นผู้รู้ มันอยู่ในพลังงานของมัน มันก็รู้ของมันโดยธรรมชาติของมัน รู้โดยสัจธรรมของมัน แต่มันมีอวิชชา รู้พร้อมอวิชชาไปด้วยไง รู้พร้อมกับความไม่รู้จริง ออกมาตลอดไป แล้วเรามีสติมีปัญญา เรากำหนดพุทโธ เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เห็นมันวางเข้ามา มันปล่อยวางเข้ามาจนเป็นความจริงของมันขึ้นมา เรารู้เราเห็นทั้งนั้นน่ะ เป็นสมาธิเราก็รู้ว่ามันเป็นสมาธิ

แต่เวลาทำสมาธิแล้วมันทำได้ เราก็รู้ว่าทำได้ เวลามันทำไม่ได้ เราก็รู้ว่าทำไม่ได้ เวลาทำไม่ได้ล้มลุกคลุกคลาน มันเป็นเหตุ มันเป็นเหตุให้คนที่ไม่มีอำนาจวาสนา คนที่ไม่มั่นคงพยายามดิ้นรนหาทางไป เวลามันดิ้นรนหาทางไป อ้างอิง ปฏิบัติที่มันขัดมันแย้งกัน เวลาหลวงปู่มั่นท่านบอกว่าธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้ก่อนนะ เราปฏิบัติตามความจริงนะ ถ้าเราปฏิบัติไปพร้อมกับความรู้ของเรามันจะขัดมันจะแย้ง มันจะขัดมันจะแย้งกัน นี่ก็เหมือนกัน พอมันเคยทำได้ พอมันทำไม่ได้ขึ้นมามันก็อ้างเลย นี่ไง พุทธพจน์ว่าอย่างนั้น ครูบาอาจารย์ว่าอย่างนี้ นี่ว่าอย่างนั้น อ้างอิงไปหมดเลย แต่ความรู้จริงไม่มี

ต้องรู้จริง ไม่รู้จำ ถ้ารู้จำ ความจริงจะไม่เกิดขึ้นกับใจของเรา ถ้ามันรู้จริงขึ้นมาแล้วความจำไม่จำเป็น เพราะมันเป็นความจริงขึ้นมา มันจริงๆ ในหัวใจ แล้วมันจะพลิกแพลงอธิบายเป็นข้อมูลอย่างไรก็ได้ ทางวิชาการเราอธิบายก็ได้ แล้วกับพระไตรปิฎก กับข้อวัตรปฏิบัติของครูบาอาจารย์ มันจะต่างกันตรงไหน อริยสัจมันมีหนึ่งเดียว ความจริงที่อันเดียวกันมันเป็นอันเดียวกัน มันจะแตกต่างกันตรงไหน ถ้ามันไม่แตกต่างกัน แล้วไม่แตกต่างกันอย่างไร ถ้าไม่แตกต่างมันก็ต้องมีความรู้จริงนี้ขึ้นมาไง ถ้ามันรู้จริงขึ้นมา มันไม่ต้องไปอ้างอิงใครทั้งสิ้น มันเป็นความจริง ความจริงที่เป็นสัจธรรมในหัวใจ ความจริงที่เกิดขึ้นกับใจของเรา

ถ้าใจเรา ทำความสงบของใจ ดูสิ สมาธิๆ ที่ทำกันอยู่นี่ ทำไมสมาธิมันเป็นอย่างไร ทำไมจิตที่มันไม่เป็นสมาธิ จิตที่มันไม่มีเครื่องอาศัย จิตมันก็เร่าร้อน จิตมันก็ดิ้นรนของมันโดยธรรมชาติของมัน จะมีอำนาจวาสนาขนาดไหน จะมีคุณสมบัติขนาดไหน มันเป็นเรื่องคุณสมบัติจากภายนอก แต่ตัวจิตล่ะ ตัวประธานล่ะ ตัวที่รับสถานะ รับอำนาจวาสนามามันอยู่ของมันไหม มันพอใจของมันไหม มันจะมักมากอยากใหญ่ขนาดไหน หามาปรนเปรอมันขนาดไหนไม่มีวันพอ ตัณหาล้นฝั่ง ตัณหาความทะยานอยากไม่มีวันพอ จิตนี้พร่องอยู่เป็นนิจ จะเอาโลกทั้งโลกยัดเข้าไปก็ไม่เต็ม แต่ถ้าเรากำหนดพุทโธล่ะ เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิล่ะ เวลามันสำรอกมันคายของมันออกทำไมมันเต็มได้ล่ะ ทำไมมันปล่อยวางได้ ถ้ามันปล่อยวางได้ ถ้าปล่อยวางอย่างนี้ ปล่อยวางแล้วมีความสุข มีความสงบ มีความระงับ

หลวงปู่มั่นท่านสอนหลวงตา จิตมันเหมือนเด็กๆ มันไปเที่ยวเล่นของมัน มันดื้อรั้นของมันไป มันก็ไปตามอำนาจของมัน เรารักษาอาหารของมันไว้ เรากำหนดพุทโธไว้ เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิไว้ เรารักษาไว้ จิตมันก็คือจิต แต่มันด้วยทิฏฐิมานะ ด้วยความเห็นผิดของมัน มันก็ฟุ้งซ่านเป็นธรรมดาของมัน แต่ถ้าเรารักษาด้วยสติ ด้วยคำบริกรรม มันจะไปไหน มันก็ต้องกลับมาสู่ฐีติจิต มันก็ต้องกลับมาสู่จุดเดิมของมัน

แต่ด้วยความไม่รู้ ด้วยความจำ ด้วยธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยข้อมูลของครูบาอาจารย์ มันยัดเข้าไปในสมอง ยัดเข้าไปในความเห็น มันฟุ้งซ่านไปหมด มันไม่มีความจริงเลยล่ะ...วางให้หมด วางให้หมดแล้วกำหนดพุทโธของเรา แล้วใช้ปัญญาอบรมสมาธิของเรา เวลามันกลับมาสู่จุดกำเนิดของมัน นี่ไง มันกลับบ้าน เด็กมันก็กลับมาอยู่กับเรา ถ้ากลับมาอยู่กับเรา เราทำเป็น เห็นไหม เราทำเป็น เราทำได้ แล้วเราจะให้มั่นคง ให้อยู่กับเราเพื่อจะดำเนินการก้าวเดินต่อเนื่องไปให้เป็นวิปัสสนา

สมถกรรมฐาน-วิปัสสนากรรมฐาน เราก็ฝึกหัดของเราให้มันมั่นคงของเรา ถ้ามันไม่เข้า เด็ก เด็กจะทำอะไร เด็กมันก็อ้อนจะกินแต่อย่างเดียวนั่นล่ะ แล้วเราก็พุทโธ ปัญญาอบรมสมาธิ ให้เด็กมันเจริญเติบโต เห็นไหม จิตตั้งมั่น จิตมีกำลัง จิตตั้งมั่น แล้วถ้าเด็กมันยังอ้อน เด็กมันยังไม่โต แล้วเด็กมันหลงตัวมันเองว่ามันมีปัญญา แล้วจะทำอย่างไรล่ะ มันก็ไม่เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริงไง

ถ้าไม่เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง เราใช้ปัญญาของเราก็ได้ ปัญญา ปัญญาอบรมสมาธิ ใช้ปัญญาเข้าไปเรื่อย ฝึกฝนเข้าไปเรื่อย พิจารณาของเราไปเรื่อย มันปล่อยวางเข้ามา มันปล่อยอะไร? มันก็ปล่อยรูป รส กลิ่น เสียงนั่นน่ะ ปล่อยมาเป็นตัวมัน ปล่อยเพราะอะไร ปล่อยเพราะมีสติปัญญาเท่าทัน

ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมของครูบาอาจารย์นั่นเป็นเรื่องหนึ่ง ในการประพฤติปฏิบัติตามความเป็นจริงในใจของเราเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ถ้ามันเป็นจริงขึ้นมา เราก็รู้ว่า อ๋อ! มันสรุปอย่างนี้ ครูบาอาจารย์ท่านปรารถนาอย่างนี้ ท่านคอยบังคับขู่เข็ญ บังคับขู่เข็ญก็เพื่อให้เราปฏิบัติให้เป็นความจริง ให้มันเข้มแข็งขึ้นมาเป็นอย่างนี้ ถ้ามันเป็นอย่างนี้ปั๊บมันปล่อยเข้ามา นี่ดูแลรักษาบ่อยครั้งเข้า ถ้าจิตมันยังไม่รู้ไม่เห็นของมันก็ใช้ปัญญาไล่ต้อน ปัญญาใคร่ครวญมา ให้มันมั่นคงให้มันดีงามขึ้นมา ถ้าจิตมันสงบเข้ามา มันก็มีพออยู่พอกิน มันมีความจริงไง

ความจำขึ้นมามันเป็นความจำทั้งนั้น ดูสิ คนทำงานเขาบริหารจัดการจนเหงื่อไหลไคลย้อย ผมดำๆ ขาวหมดเลยน่ะ เพราะด้วยความเครียด ด้วยต่างๆ นั่นมันเป็นเรื่องทางโลกที่เขาบริหารจัดการของเขา แต่ถ้าเป็นหัวใจของเราล่ะ ที่เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เราใช้ต่างๆ ขึ้นมาให้มันปล่อยวางเข้ามาๆ

ถึงบอกใช้ปัญญาๆ เราจะใช้ปัญญา ทางโลกเขาบริหารจัดการกัน เขามีปัญญาของเขา นั่นมันเป็นโลกียปัญญา แต่ถ้ามันจะเกิดปัญญาของเราล่ะ ปัญญาที่เราจะพิจารณาของเราขึ้นมา เห็นไหม ศาสนาพระพุทธศาสนาแห่งปัญญา สุตมยปัญญา จินตมยปัญญา ภาวนามยปัญญา ถ้าภาวนามยปัญญามาฝึกหัดขึ้นมา มันจะรู้เห็นของมัน ถ้ารู้เห็นขึ้นมา นี่รู้จริง ต้องรู้จริง มันถึงจะบอกว่าสมถกรรมฐานเป็นแบบใด แล้ววิปัสสนากรรมฐานเป็นแบบใด

ถ้าสมถกรรมฐานขึ้นมา ธรรมรักษาใจเราขึ้นมา ถ้าไม่รักษาใจของเราขึ้นมา ใครมันจะเป็นคนวิปัสสนา ใครจะเป็นคนแยกแยะของมัน ใคร ใครจะทำ แล้วก็บอกว่า “อ้าว! ก็พุทธพจน์ รูปแบบก็ทำทุกอย่างพร้อมหมดแล้ว” แล้วเราทำของเราเพื่อความสงบระงับ แล้วพออารมณ์ความรู้สึกเกิดขึ้นมันก็คาดหมายเลยนะ พิจารณากาย ปัญญาอบรมสมาธิ พิจารณาตรึกในธรรม นั่นน่ะ มันปล่อยวางได้โดยธรรมชาติของมัน ความปล่อยวางขึ้นมา “โอ้! ปล่อยวางครั้งหนึ่งก็เป็นโสดาบัน ปล่อยวางครั้งที่สองก็เป็นสกิทาคามี ปล่อยวางครั้งที่สามก็เป็นพระอนาคามี ปล่อยครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์” ทั้งๆ ที่ไม่ได้ก้าวเดินไปไหน ไม่ได้เดินไปไหนเลย นี่การปฏิบัติถ้าไม่รู้จริงเป็นแบบนี้

ถ้ามันพิจารณาไปปล่อยวางหนหนึ่งเป็นโสดาบัน พิจารณาอีกหนหนึ่งปล่อยวางเป็นสกิทาคามี ขบปัญหาให้แตกไง เขาบอกใช้ปัญญาไปเลยๆ มันก็ขบไง ขบปัญหาคือขบความรู้สึกนึกคิด ความคิดมันเป็นประเด็น เป็นปม แล้วปัญญาไล่ต้อนมัน พอมันขบปัญหาแตก ขบปัญญาแตกมันเป็นมรรคตรงไหน ขบปัญหาแตก ปัญหามันเป็นจิตตรงไหน ขบปัญหาแตก ปัญหานั้นกิเลสมันสร้างขึ้น มันไม่ใช่ตัวกิเลส

กิเลสคืออะไร? กิเลสคือตัณหาความทะยานอยาก คืออวิชชา สมุทัย แล้วสิ่งที่เป็นความรู้สึกนึกคิดมันเป็นของมัน แล้วมันบอกขบแตก ขบคือว่าสิ่งที่เป็นประเด็น เป็นปมในใจ มันพิจารณาแล้วมันปล่อยเท่านั้นล่ะ “โอ๋ย! เป็นขั้นนั้น ขั้นนี้” นี่รู้จำ แล้วก็เอาความรู้อย่างนี้ไปชี้ถึงสัจธรรมของครูบาอาจารย์ที่ท่านประพฤติปฏิบัติมาว่าจะเป็นขั้นเป็นตอน

มันเป็นขั้นเป็นตอนขึ้นไป มรรค ๔ ผล ๔ บุคคล ๔ คู่ มันมีเหตุมีผล ต้องรู้จริง มันจะเห็นเลย แล้วมันจะรู้เลยว่าก้าวเดินอย่างไร แล้วการก้าวเดิน เหตุ โสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค มันไม่เหมือนกัน มันแตกต่างกัน เพราะด้วยกำลังของสมาธิแตกต่างกัน ด้วยกิเลส กิเลสคือหลานของกิเลส ลูกกิเลส พ่อกิเลส ปู่กิเลส คำว่า “กิเลส” มันแตกต่างกัน ความละเอียดลึกซึ้งของกิเลส ความละเอียดลึกซึ้งของกระแสที่มันออกจากจิต มันละเอียดลึกซึ้งต่างกัน ฉะนั้น สิ่งที่จะเข้าไปกลั่นกรอง โสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรค มันแตกต่างกัน เพราะมันเป็นสติ-มหาสติ

มหาสติก็อธิบายกัน “ถ้าสติมันไม่มีปัญญาก็เป็นสติ สติมันมีปัญญามันก็เป็นมหาสติ”

รู้จำมันไปทำให้ฟั่นเฝือหมดเลย

สติมันก็คือสติ สติ-มหาสติ มันก็เป็นสติที่เจริญขึ้น สติที่เข้มแข็งขึ้น สติที่ละเอียดขึ้น แล้วปัญญา “สติที่มีปัญญามันถึงเป็นมหาสติ” อ้าว! แล้วปัญญากับสติมันไม่เกี่ยวกัน ไม่ใช่อันเดียวกัน แล้วมันมารวมกันได้อย่างไรล่ะ นี่ไง เวลาคนที่รู้จำมันก็คาดหมาย อ้างอิง ทำให้สับสนไปหมดเลย

แต่ถ้าเป็นความจริงล่ะ สิ่งที่เป็นความจริง ถ้าต้องรู้จริง พอรู้จริงขึ้นมา จิตมันสงบแล้วถ้ามันจับสิ่งใดไม่ได้ก็ล้มลุกคลุกคลาน เป็นสมาธิเดี๋ยวสมาธิมันก็เสื่อมลง ถ้าสมาธิเรามีครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์จะคอยแนะนำขึ้น ให้รอบคอบให้ดูแลนะ จิตใจนี้ดูแลยาก หลวงปู่มั่นท่านพูดเอง “แก้จิตแก้ยากนะ แก้จิตนี้แก้ยากมาก ผู้เฒ่าอายุมากแล้วนะ ผู้เฒ่าตายไปจะไม่มีใครแก้นะ” เพราะคนรู้จริง ต้องรู้จริง รู้จริงมันจะก้าวเดินไป

มนุษย์คนคนหนึ่งเป็นปุถุชน เป็นคนหนา เป็นคนเลวทราม แต่พอมีคุณธรรมในหัวใจ มนุษย์คนคนหนึ่งกลายเป็นคนดีขึ้นมาได้ มนุษย์คนดี มนุษย์ดีขนาดไหน มนุษย์ทำคุณงามความดีก็เป็นศีลธรรมจริยธรรม มนุษย์ทำคุณงามความดีเพื่อเป็นอามิส เพื่อเป็นบุญกุศลเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ แต่ถ้ามนุษย์คนหนึ่งถ้ามีสติมีปัญญาทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าใจมันสงบขึ้นมา ใจมันสงบเข้ามา เห็นไหม

มนุษย์คนหนึ่งทำงานแบกหามทางโลก ทำงานแบกหาม เป็นผู้บริหารจัดการขึ้นมา สร้างโลก ผู้เป็นรัฐบุรุษทำคุณงามความดีกับโลก เขาก็ได้ประโยชน์กับทางโลก เขาตายไปเขาก็เกิดเป็นพระอินทร์ เพราะเขาทำสาธารณประโยชน์ให้กับมนุษย์ได้ใช้ได้สอย นี่ไง ถ้าคุณงามความดีขนาดไหนมันก็เวียนว่ายตายเกิด

มนุษย์คนหนึ่งมีสติมีปัญญา พยายามทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าใจมันสงบเข้ามา ถ้าใจสงบเข้ามา ถ้ารักษาใจอย่างนี้ได้ มนุษย์คนหนึ่งตายไปจะเกิดบนพรหม

มนุษย์คนหนึ่งถ้ามีสติมีปัญญา แล้วพยายามรักษาจิตของตัว มันละเอียดเข้ามา พอมันละเอียดเข้ามา ปุถุชน กัลยาณปุถุชน มนุษย์คนหนึ่ง จิตใจของตัวที่ตั้งมั่น จิตใจของตัวที่มีกำลัง จิตใจของตัวน้อมไปรำพึงไปให้จิตของตัวออกค้นคว้าในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม ถ้าออกค้นคว้าไปในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม นี่โสดาปัตติมรรค ถ้ามันเป็นมรรคขึ้นมาล่ะ ถ้าเป็นโสดาปัตติมรรค ถ้าไปเห็นกายตามความเป็นจริง เห็นกายโดยความเป็นจริงเพราะจิตมันจริง จิตมันจริง ถ้าจิตมันจริง จิตมันเป็นสัมมาสมาธิ ถ้ามันน้อมไป มันเห็นกายโดยชัดเจน ถ้ามันใช้กำลังรำพึงไปให้กายนี้แตกสลายไป ให้กายมันย่อยสลายไป ให้กายมันแปรสภาพของมันไปด้วยกำลังของสมาธิ แล้วมันมีสติมีปัญญา นี่ไง สติปัญญา

เวลาสติ ปัญญาอบรมสมาธิ กำหนดพุทโธ มีสติพุทโธ ระลึกชัดๆ สติควบคุมในคำบริกรรม อาหารเด็กๆ ให้เด็กมันได้กินอาหาร ให้เด็กมันได้อิ่มหนำสำราญ ให้เด็กมันเจริญเติบโตขึ้นมา ถ้ามันเป็นสัมมาสมาธิ เวลารำพึงไปมันมีสติด้วย สติ เพราะรำพึงไปมันถึงเป็นงานชอบ ถ้างานชอบ งานชอบในอะไร? ในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม

ถ้างานชอบในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม งานชอบเพียรชอบ ถ้าเพียรไม่ชอบ มันเพียรส่งออก เพียรไปเที่ยวนรกสวรรค์ เพียรไปเพื่อใช้กำลังสูญเปล่า ถ้ามันเพียรชอบ เพียรชอบในสติปัฏฐาน ๔ ในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม เพราะมันเพียรชอบ มันมีสติชอบ มีสมาธิชอบ มีเพียรชอบ

ถ้ามันเกิดปัญญาเป็นมรรค มรรคเกิดปัญญาขึ้นมามันแยกแยะของมัน มันก็มีปัญญาชอบ ถ้าไม่มีปัญญาชอบ ความชอบธรรมของมัน มันพิจารณาแยกแยะของมัน ใช้ปัญญาของมันไป แล้วมรรคมันจะก้าวเดินอย่างไร มรรคมันจะหมุนของมันไปอย่างไร ธรรมจักร จักรที่ความเป็นไปของใจมันทำอย่างไร ถ้ามันทำของมันขึ้นมา มันมีปัญญาของมัน มันแยกแยะของมัน แยกแยะของมัน

พิจารณาแยกแยะบ่อยครั้งเข้า ถ้ามีกำลังพอไหม ถ้ากำลังมันพอ มันปล่อยๆๆ ปล่อยแล้ว เห็นไหม หลวงปู่มั่น “แก้จิตแก้ยากนะ” มันปล่อยแล้วก็เป็นโสดาบันไง ถ้ามันปล่อย มันปล่อยเป็นโสดาบันตรงไหน มันตทังคปหาน มันปล่อยชั่วคราว มันมีสิ่งใดบอกเหตุ มันมีสิ่งใดบอกขณะจิต มันมีสิ่งใดที่มันบอกว่าความเป็นจริง? มันไม่มีสิ่งใดบอก เห็นไหม

ต้องรู้จริง ถ้ารู้จริงมันจะรู้ของมัน ถ้าเวลาวิปัสสนาไม่ได้ เวลาพิจารณาล้มลุกคลุกคลาน เวลาทำสมาธิไม่ได้มันเหมือนเด็กน้อยเลย เด็กน้อยๆ จิตนี้เหมือนเด็กน้อยมันไปเที่ยวเล่นของมัน ส่งเสริมมัน ดูแลมันขึ้นมาจนมันเป็นผู้ใหญ่ มันมีกำลังของมัน พอมีกำลังของมัน ถ้ามันไม่เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง ไม่เข้าสู่โสดาปัตติมรรค ถ้ามันยกขึ้นเข้าสู่โสดาปัตติมรรคคือยกขึ้นเข้าสู่วิปัสสนา ถ้ามันไม่ยกขึ้นเข้าสู่วิปัสสนามันก็เป็นสัมมาสมาธิ สมาธิเจริญแล้วเสื่อม มันมีขั้นตอนของมัน มันเป็นความจริง อริยสัจมีหนึ่งเดียว มีหนึ่งเดียว มันเป็นความจริงของมันอย่างนั้น

ถ้าไปรู้จำ มันรู้ของมัน รู้จำด้วยทิฏฐิมานะ อ้างอิงธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า “พุทธพจน์ๆ ว่าอย่างนั้น” แล้วมันอ้างอิง ดูสิ ธรรมของครูบาอาจารย์ที่ท่านวางไว้เป็นประโยชน์ขึ้นมาก็ไปชี้นำให้มันเสียหาย ไปเอาความไม่จริงเข้ามาปนเป

ความจริง ความจริงที่มันกลั่นกรองออกมาจากใจของครูบาอาจารย์เราท่านปฏิบัติมาด้วยความล้มลุกคลุกคลาน ด้วยความเป็นจริงขึ้นมา ด้วยอริยสัจความเป็นจริงอันนั้น แล้วท่านเอาประสบการณ์ของท่านเทศนาว่าการให้เราฟัง ทำไมผู้ที่ดูแลรักษา ผู้ที่จรรโลงต่อไป ทำไมมันไปชี้ให้มันเสียหายล่ะ มันเสียหายเพราะอะไร เพราะมันรู้จำไง รู้จำแล้วก็เอาศักยภาพ เอาความใกล้ชิด เอาความเชื่อถือของคนอื่นเอามาทำให้มันเสียหาย

แต่ถ้ามันเป็นความจริงขึ้นมา มันไม่ต้องเอาศักยภาพของใครมาทั้งสิ้น เพราะความจริงที่เรายังปฏิบัติอยู่นี่มันเป็นความจริง ความจริงเป็นอันเดียวกัน ความจริงนั้นมันจะชี้จุดแตกต่าง จุดบกพร่อง ความเป็นไปได้ถูกต้อง ถ้าถูกต้องนะ จุดที่มันเป็นประโยชน์ จุดที่มันเป็นการปฏิบัติมันถูกต้องอย่างนั้นน่ะ

ถ้ามันถูกต้อง นี่ไง ถ้ามันไม่ยกขึ้นวิปัสสนามันก็เป็นสมถะอย่างนั้น ปัญญาที่เกิดขึ้นมามันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ มันเป็นตรรกะ มันเป็นการตรึกในธรรม ปัญญาที่มันเกิดขึ้น นี่สมถะเป็นอย่างนั้น แต่นี้โดยสามัญสำนึก โดยอำนาจวาสนาของสังคม อำนาจวาสนาของสัตว์โลกมันก็มีปัญญาเท่านั้นน่ะ ปัญญาอย่างนี้มันก็เหมือนปัญญานักวิทยาศาสตร์ที่เขาทำวิจัยต่างๆ เพื่อเขาจะทดสอบความรู้ความคิดของเขาว่าเป็นจริงหรือเปล่า

นี่ปัญญาเราก็วิจัยธรรมไง เราก็ศึกษาวิเคราะห์ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง เปรียบเทียบด้วยใจของเราไง เพราะถ้าเราใช้ปัญญา ปัญญามันเกิดจากจิต ดูสิ โลกียปัญญา โลก โลกคือใจ โลกคือภพ แล้วเวลามันเกิดขึ้นมา ปัญญามันเกิดจากไหนล่ะ? ก็เกิดจากใจ ถ้าเกิดใจ โลกียปัญญา มันเป็นโลกเพราะอะไร เพราะจิตยังไม่สงบ จิตมันยังไม่สงบขึ้นมามันก็เป็นโลก เพราะว่าสามัญสำนึกของจิตมันเป็นแบบนั้น

แต่เรามีสติมีปัญญาขึ้นมา ปัญญาอบรมสมาธิ เราตรึกเข้ามา ตรึกในธรรมๆ ที่เราตรึก โลกทั้งนั้นน่ะ แต่พอมันสงบเข้ามาแล้วล่ะ ถ้ามันสงบขึ้นมา จิตเด็กน้อยมันโตขึ้นมาล่ะ ถ้าเด็กน้อยมันโตขึ้นมา แล้วถ้าโตขึ้นมา ถ้าเรารำพึง เรารู้เห็น เรามีอำนาจวาสนา เราเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง ถ้าตามความเป็นจริง มันยกขึ้นสู่โสดาปัตติมรรค ขึ้นสู่มัคโค ขึ้นสู่ทางอันเอก ขึ้นสู่อริยสัจ

แต่ถ้ามันขึ้นสู่อริยสัจแล้วถ้ามันพิจารณาของมัน พิจารณาแล้วถ้ามันปล่อย มันขึ้นสู่อริยสัจ แต่มันไม่สามารถเกาะติด หลวงตาท่านใช้คำว่า “เกาะติด” ขึ้นแล้วตกๆ พิจารณาแล้วมันปล่อย มันพิจารณาแล้วมันปล่อย ปล่อยแล้วมันเกาะไม่ติด แล้วพอมันปล่อยแล้ว ถ้ามันไม่มีครูบาอาจารย์คอยดูแลรักษา เสื่อมหมด เสื่อมหมดเพราะอะไร เพราะมันครึ่งทางไง มัคโค ทางอันเอกไง เกาะแล้วตกๆ เกาะอยู่อย่างนั้นน่ะ แล้วมันไม่มีขณะจิตไง

หลวงตาท่านพูดบ่อย ท่านบอกเลย พิจารณาของท่าน เกาะตกๆ จนนั่งตลอดรุ่ง พิจารณาเวทนาของท่าน พิจารณาเต็มที่ของท่าน เวลามันปล่อยมาหมด นี่เกาะติด ไม่ตกอีกเลย นี่ไง ถ้าเราพิจารณาของเรา พิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรม มันต้องมีจุดเริ่มต้น จุดจบของมัน มีกระบวนการของมัน มีขณะจิตที่มันเป็นไป มันเป็นไปนะ ถ้ารู้จริงมันเป็นแบบนี้ รู้จริง มันรู้จริงของมัน มีจุดของมัน ถึงเวลาแล้ว

ท่านบอกเลย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “ไม่มีกำมือในเรา ธรรมะนี้ไม่มีสิ่งใดซ่อนเร้น” แต่เวลาในพระไตรปิฎกว่าอย่างนั้น ธรรมวินัยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าอย่างนั้น บอกแต่เหตุ แต่เวลาปฏิบัติ มี หลวงปู่มั่นท่านก็พูดอย่างนี้ หลวงตาท่านก็พูดแบบนี้ จุดของมันมี หลวงตาท่านบอกว่า ไม่มีในพระไตรปิฎกก็ไม่ได้บอกไว้ แต่ผู้รู้จริงมี องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านทำของท่านมา ท่านผ่านของท่านมา ท่านรู้ของท่านมา สิ่งที่เป็นบอกเหตุๆ นั้นบอกเหตุไว้ แต่เวลาเป็นความจริงล่ะ

เป็นความจริง ความบริสุทธิ์ของบุคคลไม่มีใครการันตีใครได้ แต่ความจริงอันเดียวกัน ฉะนั้น ความเป็นจริงอันนี้ ถ้าครูบาอาจารย์ที่ท่านเป็นธรรมๆ ท่านเปิดเผยหมด เปิดเผยหมดนะ มันก็สัญญายึดหมด มันยิ่งปฏิบัติยิ่งยากขึ้น

ฉะนั้น เวลาท่านเกาะติด พิจารณากาย นี่ธรรมจักร เวลาบอกว่า “สติ ถ้าไม่มีปัญญามันเป็นสติ ถ้ามีปัญญาเป็นมหาสติ” มันไม่เกี่ยวกัน แต่เวลาเป็นมรรคทำไมมันเกี่ยวล่ะ เวลามันเป็นมรรค เห็นไหม สติชอบ ปัญญาชอบ ดำริชอบ สมาธิชอบ เวลามันชอบล่ะ แล้วก้าวเดินอย่างไร ธรรมจักร จักรที่มันหมุนมันก้าวเดินอย่างไร เวลาพิจารณาไป ดูสิ เวลาถ้าสมาธิมันดี พิจารณากาย กาย วับ! หายเลย พิจารณากาย กายตั้งแล้วมัน วับ! หายเลย นี่ไง สมาธิแรงไป ถ้าสมาธิแรงไปมันพิจารณาแล้วมันไม่เป็นไตรลักษณ์ อ้าว! แล้วถ้าสมาธิแรงไปจะทำอย่างไร

สติชอบ งานชอบ เพียรชอบ มันต้องให้สมดุลของมัน ถ้าสมดุล นี่มัชฌิมาปฏิปทา ถึงว่าทางสายกลางๆ กลางอย่างไร อะไรสายกลาง ทางสายกลาง วัดซ้ายวัดขวาแล้วอยู่ตรงกลางใช่ไหม ถ้าทางสายกลาง มัชฌิมาปฏิปทา มันต้องสมดุล ถ้าไม่สมดุล สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีกำลังเหนือกว่า มรรคจะสรุปไม่ได้ มรรคจะลงตัวไม่ได้ ถ้ามรรคลงตัวไม่ได้ ชำระกิเลสได้อย่างไร เวลามันพิจารณาไปมันปล่อย ปล่อยแล้วมีอะไรต่อ ทำไมมันถึงปล่อย ปล่อยเพราะอะไร แล้วทำไมไปปล่อย เห็นไหม เกาะไม่ติด แล้วเสื่อมหมด เวลาเสื่อมแล้วจะเริ่มต้นอย่างไร

เริ่มต้นก็นับหนึ่งใหม่ไง ต้องทำสมาธิเข้ามา ต้องมีจิตสงบเข้ามา ไม่มีจิต ก้าวเดินไปไม่ได้ เพราะจิตคือตัวต้นเหตุ จิตนี้เป็นผู้มีมาร จิตนี้อวิชชาครอบงำมันอยู่ จิตนี้พญามารยึดครอง แล้วเราจะแก้ไข เราจะแก้ไขจิตนี้ที่เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ ถ้ามันไม่เข้าสู่จิต ไม่เข้าสู่จุดที่พญามารมันครอบครอง ไม่เข้าสู่การเปิดเผยในธรรม เปิดเผยโดยธรรมจักร มันจะไปแก้กันตรงไหน เอาอะไรมาแก้

ถ้ามันมาแก้ พิจารณาไปแล้ว โดยอำนาจวาสนามันปล่อย มันปล่อยแล้วมันเสื่อม เพราะปล่อยแล้วไม่ดูแลรักษา แต่มันปล่อย ปล่อยแล้วนะ ครูบาอาจารย์บอกให้ซ้ำ ให้ต่อสู้ ให้พิจารณาเข้าไป เพราะสมาธิมันยังมีบาทมีฐาน เราก็ทำความสงบของใจเข้ามาแล้วจับต่อเนื่อง พิจารณาซ้ำไปๆ มันก็ปล่อยชั่วคราวๆ เพราะเกาะไม่ติดๆ

จนถ้าพิจารณาถึงที่สุดไปแล้วมันขาด กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ นี่เกาะติด หลวงตาว่าท่านเกาะติด ตั้งแต่วันนี้ไปไม่เสื่อม แต่ก่อนแล้วจิตเสื่อม จิตเสื่อมตั้งปีกับห้าเดือน เสื่อมมาตลอด เจริญแล้วเสื่อมๆ ก้าวเดินไปไม่ได้ เวลามันเกาะติด ตั้งแต่วันนี้ไม่เสื่อม เพราะนี่ไง ขณะของมันไง ใจมันเป็นไง อกุปปธรรมไง

สิ่งที่เป็นอกุปปธรรมมันเป็นความจริงขึ้นมา ความจริงอย่างนี้มันเกิดขึ้นถ้าเราปฏิบัติ ต้องรู้จริง ไม่รู้จำ ต้องรู้จริง รู้จริงขั้นไหน แล้วคำสอนของท่าน ท่านบอกว่าอย่างไร ท่านบอกให้พวกเราก้าวเดินอย่างไร ท่านบอกไว้หมด แผนที่เครื่องดำเนินขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชัดเจน ยิ่งของหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ประวัติหลวงปู่มั่นยิ่งชัดเจน บอกไว้หมด แต่ไอ้คนไม่รู้น่ะ รู้จำแล้วก็ไปบิดเบือนทำความเสียหาย ทำความเสียหายตั้งแต่แผนที่เครื่องดำเนิน แล้วเราจะไปไหนกัน สิ่งที่เป็นความจริงทำให้มันเสียหายซะ แล้วความจริงอยู่ไหนล่ะ

แต่ถ้ารู้จริงแล้วนะ จบ ความจริง สาธุ! เวลาหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านพูดอยู่ แม้แต่นั่งอยู่หน้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไม่ถาม จะไปถามอะไร หนึ่ง คนไม่มีความสงสัย แล้วความจริงอันนี้ไม่มีใครจะบอกว่ามันถูกต้อง ผิด หรืออย่างไรได้ มันเป็นความจริงของมัน ถ้าผิดมันก็ผิดของมันจริงๆ นั่นล่ะ ถ้าถูกก็ถูกจริงๆ นั่นแหละ แต่ถูกผิดมันได้กลั่นกรอง ได้ซักฟอกกันมา มันได้กลั่นกรองซักฟอกกันมาตลอดแล้ว แล้วก้าวเดินขึ้นไปนะ บุคคล ๔ คู่ นี่คู่ที่ ๑ ถ้าคู่ที่ ๑ ผ่านไปแล้ว คู่ที่ ๒ คู่ที่ ๒ พิจารณากาย พิจารณากายเสร็จแล้วกลับไปสู่ธาตุเดิมของมัน ธาตุเดิมของมันแล้วมันละเอียดลึกซึ้ง เวลาขั้นตอนมันละเอียดลึกซึ้งมันมีความสุขมาก มีความสุขมาก ขึ้นไปหาหลวงปู่มั่น “เป็นแบบนั้น อยากให้เป็นอย่างนี้อีก”

“มันก็เป็นหนเดียวเท่านั้นแหละ เวลามันขาดมันหนเดียวเท่านั้นแหละ” เวลาซ้ำๆๆ แต่เวลาขาดมันหนเดียว จุดบอกสถานที่บอกเครื่องดำเนิน ด้วยผู้ที่ปฏิบัติเวลาเป็นเด็กน้อย ท่านก็ว่าเด็กน้อย ก็ฝึกมา เวลาก้าวเดินไปแล้วจะเอาต่อเนื่องไป ก็มีหนเดียวเท่านั้นแหละ คำว่า “หนเดียว” ติด ๕ ปี ติดอยู่นั่น ๕ ปี เพราะมันมีหนเดียว ก็หนเดียวได้ผ่านแล้ว

แต่ถึงเวลาแล้ว คำสอน “จิตนี้แก้ยากนะ ผู้เฒ่าจะแก้ว่ะ” ขนาดผู้เฒ่าจะแก้นะ แก้ไปแล้ว เพราะอะไร เพราะวุฒิภาวะของเรา เราฟังสิ่งใดแล้วเรายึดของเรา เห็นไหม มันมีหนเดียว เวลาโลกนี้ราบเป็นหน้ากลองมันมีหนเดียว หนเดียวเพราะมันฆ่ากิเลสนี้ไปแล้ว แต่กิเลสที่มันละเอียดกว่ามันคนละตัวกันน่ะ กิเลสที่ละเอียดกว่า อสุภะมันรออยู่ข้างหน้า แต่เราบอกมีหนเดียว หนเดียวอันนี้มันหนเดียวอันนี้ แต่ข้างหน้ายังมีอีก แต่ด้วยความเข้าใจผิดมันก็รักษาไว้ด้วยอำนาจวาสนา หลวงปู่มั่นท่านก็ลากออกมา พยายามลากออกมา ติดตรงนี้ ๕ ปี ติดอยู่ ๕ ปี

นี่การศึกษา ศึกษามาแล้วรู้ ติดอยู่ ๕ ปี ลากออกมา โอ้โฮ! ครั้งเดียวมันจบไปแล้ว ก็มีหนเดียวน่ะ จะมีอะไรอีก มันจะบ้าหรือ เวลาขาดก็ขาดหนเดียว แต่ข้างหน้ามันยังมี เวลาขาดหนเดียว นี่ไง บอกไว้ชัดๆ รู้จริงไม่มีอะไรขัดแย้งเลย ถูกต้องดีงามหมดเลย แล้วดีงามชัดด้วย ถ้าไม่ถูกต้องดีงาม ติดอยู่นั่นน่ะ แล้วก็แค่นั้นน่ะ

แต่นี้ออกมาด้วยน้ำมือ ออกมาด้วยใช้ธรรมตบออกมา ออกมาก้าวเดินต่อไปอสุภะ ก็พิจารณาอสุภะ พิจารณาซ้ำๆๆ อสุภะ มหาสติ-มหาปัญญา มหาสติ-มหาปัญญาพิจารณาไป “จนนอนไม่ได้แล้วนะๆ”

“นี่มันสมบัติบ้าๆ” ต้องให้สมดุลมันไง นี่ไง มัชฌิมาปฏิปทาไง แล้วถ้าทำสมดุลไปแล้ว สมดุลอย่างไร มหาสติ-มหาปัญญาสมดุลอย่างไร พอสมดุลขึ้นมาถึงที่สุดแล้วมันกลืนเข้าไปทำลายที่จิต ต่อเนื่องกันไป ต่อเนื่องกันไปอย่างไร ถ้าต่อเนื่องขึ้นไป จุดและต่อม ขึ้นไปถึงที่จุดและต่อมแล้วทำลายที่นั่น พอทำลายแล้วจบ เห็นไหม นี่กระบวนการของมัน

ต้องรู้จริงแล้วไม่มีปัญหาเลย แต่ที่มีปัญหาเพราะรู้จำ รู้จำแล้วเกิดทิฏฐิมานะ ด้วยสุนัข ด้วยหมาห่มหนังเสือ พยายามจะคำรามให้แบบเสือ สุนัขมันจำเสียงคำรามเสือมา แล้วมันห่มหนังเสือ ห่มหนังเสือเหมือนคืออยู่ใกล้ชิดครูบาอาจารย์ อ้างอิงไปแบบนั้น แต่เวลามันเห่าออกมามันไม่ใช่เสียงเสือ นี่ไง รู้จำ รู้จำ รู้จำทำให้เสียหาย รู้จริง ต้องรู้จริง ไม่รู้จำ เอวัง