เทศน์บนศาลา

ธรรมไม่ไร้เดียงสา

๑๖ ก.ค. ๒๕๔๗

 

ธรรมไม่ไร้เดียงสา
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๔๗
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ฟังธรรมะนะ ธรรมะนี้เป็นธรรมโอสถ จะรักษาใจของเราให้ใจของเรามีความสุข ถ้าผู้ที่มีความศรัทธามีความเชื่อ มีความเชื่อเพราะมีผู้ที่แสวงหา มีการเปลี่ยนแปลงไง เราไม่แช่อยู่กับอารมณ์ปัจจุบันของเรา เราแช่อยู่กับความคิดของเรานะ ความคิดของเรานี่เราเข้าใจว่ามันเป็นธรรมไง การประพฤติปฏิบัติธรรม ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ลึกลับมหัศจรรย์มาก แต่เดี๋ยวนี้มีการตีค่ากันโดยความเป็นโลก ตีค่าไง โลกเรานี่ โลกเราก็คือหมู่สัตว์ คือความเป็นไปตามวิทยาศาสตร์ ตามโลกเรานี่ แล้วเราคิดตามวิทยาศาสตร์อย่างนี้ แล้วเราเข้าใจว่าเป็นธรรม

เราเข้าใจว่าสิ่งนี้คือธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง แต่ตามหลักความจริง ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ทวนกระแส ทวนกระแสไม่ใช่ไปตามกระแสโลก สิ่งที่ไปตามกระแสโลกนี้เป็นเรื่องของโลกทั้งหมดเลย แต่เราเข้าใจว่าเป็นธรรม เพราะเราตีความของเราเองว่านี่คือธรรมะ คือความเข้าใจของเราไง

แต่มันไม่เป็นธรรม เพราะว่ามันไม่สามารถชำระกิเลสได้ มันเป็นการศึกษาเล่าเรียนไง สุตมยปัญญา การศึกษาเล่าเรียนธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สิ่งนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นธรรมโอสถแก้ใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจนเป็นพระอรหันต์ขึ้นมานะ แล้วก็วางธรรมไว้ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีชีวิตอยู่

ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติในสมัยพุทธกาล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะคอยชี้ทางคอยบอกทาง ให้ผู้ที่ประพฤติปฏิบัตินั้นเข้าถึงธรรมตามความเป็นจริง แล้วเรื่องสาวกสาวกะผู้ได้ยินได้ฟัง ผู้ที่เป็นอัครสาวกต่างๆ สืบต่อศาสนามาเพราะมีพระอรหันต์ตามปฏิบัติมา ถึงเข้าหลักตามความเป็นจริงอันนั้น ก็สืบทอดศาสนามาด้วยความคงเส้นคงวาไง

แต่ในปัจจุบันนี้ ในกึ่งพุทธกาลนี้ ศาสนาส่งต่อกันมา ดูสิ ดูอย่างประเทศหรือภูมิประเทศต่างๆ ยังมีการแปรสภาพไป เปลี่ยนไป เกิดชาติใหม่ ชาติเก่าล่มสลายไป เกิดชาติใหม่ตลอดมา สิ่งนี้สะสมกันมา แล้วพอความคิดของเรานี่เคลื่อนมาเป็นทางวิทยาศาสตร์ สิ่งที่วิทยาศาสตร์เจริญ เราก็เข้าใจว่าเราเป็นผู้ที่เจริญ เป็นผู้ที่เข้าศึกษาธรรมด้วยการประพฤติปฏิบัติของเรา ด้วยความเข้าใจของเรา

ในการประพฤติปฏิบัติ ว่าธรรมะนี่คือความปล่อยวางทั้งหมด สิ่งที่ปล่อยวาง เราดูเด็กเล็กๆ เวลาเด็กเล็กๆ เกิดขึ้นมานี่ ความเป็นอยู่ของเขาไร้เดียงสานะ สิ่งที่ไร้เดียงสา ภาวะแบบนี้ดูแล้วมันน่าเอ็นดูมาก สิ่งที่น่าเอ็นดูมากเพราะมันเป็นสิ่งที่ว่าไร้เดียงสา แล้วเราก็เข้าใจว่าสิ่งที่ไร้เดียงสา ธรรมะก็ว่าสิ่งที่ไร้เดียงสานี้คือความบริสุทธิ์ไง

สิ่งที่ไร้เดียงสาเป็นความสุข มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร สิ่งที่ไร้เดียงสาเป็นความบริสุทธิ์ จิตดวงนั้นมันก็ต้องไม่มีทุกข์สิ ถึงเขาไร้เดียงสาของเขา เพราะว่าเขาไม่รู้ตัวของเขานะ เพียงแต่ผู้ใหญ่เราไปดูเด็ก การประพฤติของเด็กว่าเด็กนี้ไร้เดียงสา เราถึงมีความพอใจ เรามีความเห็น แต่ตัวของเด็กเองเขาไม่รู้ เพราะเขาแสดงตามความรู้สึกของเขา แล้วความรู้สึกนี้มันคงที่ได้ไหม มันคงที่ไม่ได้ เพราะเด็กนี้มันต้องเจริญเติบโต โดยสัจจะ โดยความจริงของเขา

สิ่งที่โดยสัจจะ โดยความจริงของเขา เขาต้องเจริญเติบโตขึ้นมา เห็นไหม มันก็มีมายา สิ่งที่มีมายาคือกิเลสมันอยู่ในหัวใจ พอโตขึ้นมานี่คิดอย่างหนึ่ง พูดกับพ่อแม่อย่างหนึ่ง เวลาประพฤติปฏิบัติก็ไปอีกอย่างหนึ่ง เพราะความคิดของเรานี่มันรู้อยู่ผิดถูก ไร้เดียงสา ทำไมมันเกิดสภาวะแบบนั้นล่ะ

แม้แต่ครูบาอาจารย์บางองค์นะ บอกว่า “นิพพานเหมือนกับใจของเด็กไร้เดียงสาไง”

ใจของเด็กไร้เดียงสามันเป็นนิพพานไปได้อย่างไร มันเป็นความไร้เดียงสา มันไม่รู้ตามความเป็นจริงของมัน สิ่งที่ไม่รู้ตามความเป็นจริงอย่างนี้หรือเป็นนิพพานน่ะ เห็นไหม เวลาโลกเขาว่ากันไป เขาคิดของเขาตามสภาวะของเขา เขาก็คิดของเขาได้อย่างนั้นไง ศึกษาธรรมะนะ แม้แต่จบกี่ประโยคก็แล้วแต่ ศึกษาธรรมะมา เห็นความสุขของเด็กๆ ก็ว่าอันนี้เป็นความสุข เพราะมันเป็นการสัมผัสไง โลกนี้ เรื่องของโลกคือการสัมผัส เหตุและปัจจัยสัมผัส เรามองออกไปภายนอก

ธรรมะทวนกระแส คือทวนกระแสเข้ามาใจของเรา ไม่ใช่มองออกไปภายนอก สิ่งที่มองออกไปภายนอก สิ่งที่พอใจเรา เราก็มีความสุข สิ่งที่ขัดใจเรา เราก็มีความทุกข์ เราก็มีความต่อต้านไง สิ่งที่ความต่อต้าน สัมผัสอันนี้เกิดขึ้นมาแล้ว เกิดขึ้นมาจากไหนล่ะ? เกิดขึ้นมาจากมโนวิญญาณไง มโน จิตปฏิสนธิอยู่นี้อยู่ในมโนวิญญาณ แล้วมันเคลื่อนไหวออกไป มันโดยธรรมชาติของการเกิดมา

คนเราเกิดมานี่มีธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ โดยสัจจะความจริง สัจจะความจริงเราเกิดเป็นมนุษย์มีธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ สิ่งที่มีธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ มันก็ทำงานของมันโดยสัจจะของเขาอยู่อย่างนั้น ของเขานะ ข้อเท็จจริงของเขาคือทำงานของเขาอย่างนั้น แต่ถ้าไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาย้อนกลับมาอย่างนี้ จะเห็นการทำงานของใจอย่างนี้ได้อย่างไร จะเห็นความเป็นไปได้อย่างไร ก็ต้องอาศัยแต่สิ่งภายนอก

แม้แต่เจ้าชายสิทธัตถะเวลาออกประพฤติปฏิบัติอยู่ ๖ ปี แม้แต่การอดอาหารนะ การอดนอน การผ่อนอาหาร การทรมานร่างกาย ทรมานคิดว่าอันนั้นจะเป็นการชำระกิเลสไง แต่มันก็ไม่เป็นการชำระกิเลส เพราะว่ามันไม่มีปัญญาจากภายในไง

ปัญญาจากภายในคือภาวนามยปัญญาเกิดขึ้นมาไง เพราะกิเลสมันอยู่ที่ใจ กิเลสมันไม่อยู่ที่ร่างกาย แต่มันก็อาศัยร่างกายนี้อยู่ แล้วเราเป็นปุถุชน เราเป็นคนเพลิดเพลินอยู่ในโลก เราก็ดูแต่ร่างกายของเรา เราจะถนอมเราจะรักษาของเรา แล้วก็สัมผัสกันตามร่างกายนี้ นี่ความเป็นอยู่ของครอบครัว ความเป็นอยู่ของหมู่สัตว์ การครองเรือน การครองเหย้าครองเรือนมันก็ครองเรือนกันตั้งแต่ร่างกาย

แต่ถ้าผู้มีศีลธรรม จริยธรรมขึ้นมานี่ เขาจะครองกันด้วยหัวใจ สิ่งที่ครองกันด้วยหัวใจนี่เขาจะถนอมน้ำใจกัน เขาจะรักษาน้ำใจกัน เพราะน้ำใจนี้มันเป็นความสุขความทุกข์นี่ คนเราเกิดมา อยู่ตั้งแต่วัยรุ่นขึ้นมาจนกว่าอายุมากขึ้นมาขนาดไหน สิ่งนี้มันเป็นอนิจจังทั้งหมดนะ สิ่งที่เป็นอนิจจัง เหมือนกับเรื่องสภาวะของโลกนี้ โลกนี้มันเหมือนสถานะที่เราเกิดขึ้นมา แล้วเราจะสร้างสมสิ่งใดขึ้นมา

เหมือนตลาด ถ้าใครทำการตลาดได้ สินค้าของเขา เขาจะมีกำไรมาก เขาจะได้ประโยชน์ของเขามาก นี้ก็เหมือนกัน ตลาดจะวายหรือไม่วายล่ะ ตลาดก็คือสังคมมนุษย์นี่ สังคมโลกนี่ นี่คือตลาดของมรรคผลนิพพานไง

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เกิดเป็นมนุษย์นะ แล้วออกประพฤติปฏิบัติค้นคว้าในร่างกายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ได้ค้นร่างกายของคนอื่น แต่ตลาดมรรคผลนิพพานคือตลาดความเป็นไป คือตลาดที่เราเกิดมาในสถานะนี้ไง

สิ่งที่สถานะนี้ ถ้าตลาดไม่วาย การประพฤติปฏิบัติ ในหมู่สังคมของสาวกะสาวกผู้ได้ยินได้ฟัง จะคุยกัน จะปรึกษากันเรื่องการประพฤติปฏิบัตินะ ชวนกันแต่การสละออก สิ่งที่สละออก เห็นไหม สละอารมณ์ความรู้สึกอันนี้ในหัวใจนี่สละออกให้ได้ ก่อนจะสละออกสิ่งนี้ให้ได้ ถ้าเราทำไม่ได้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาเทศนาว่าการ อนุปุพพิกถา เรื่องของทานก่อน

ทาน เรื่องของทาน การให้สละทานออกไป เรื่องของสวรรค์ เรื่องของเนกขัมมะ นี่เนกขัมมะออกมา ความละเอียดอ่อนอย่างนี้เราจะมองเป็นเรื่องของธรรมดาไง สิ่งที่ธรรมดาเพราะมันใกล้ตัวของเรา มันจะเป็นเรื่องธรรมดา ทำอยู่ทุกวัน

ฟังเทศน์ก็เหมือนกัน ฟังจนชินหูนะ แต่ใจมันด้าน ใจมันไม่ยอมรับรู้สิ่งนั้น มันไม่ยอมรับรู้เพราะความเคยชินของมันไง นี่อยู่กับครูบาอาจารย์ท่านถึงไม่ให้คุ้นไม่ให้ชินกับสิ่งใด ต้องพยายามตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ตื่นตัวเพื่อจะไม่ให้กิเลสมันนอนแช่อยู่ในหัวใจไง ถ้ากิเลสมันนอนแช่อยู่ในหัวใจของเรานะ มันจะหลอกเราให้เราทำตามอำนาจของกิเลส

ในการประพฤติปฏิบัติก็ให้กิเลสออกหน้า สิ่งที่กิเลสออกหน้า กิเลสจะมีอำนาจกับใจดวงนั้น แล้วเราว่าเราประพฤติปฏิบัติธรรม เราว่าเราทำความสงบของใจขึ้นมา ใจจะสงบขนาดไหนนี่มันไร้เดียงสา ธรรมะไร้เดียงสาคือธรรมะกิเลสที่มันหลอกเรานี่ มันไร้เดียงสา

ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ไร้เดียงสา

เพราะธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ต้องรู้แจ้งแทงตลอด

สิ่งที่รู้แจ้งแทงตลอด แทงตลอดไปในสิ่งใดล่ะ? แทงตลอดไปในการเคลื่อนไปของใจไง

โลกนี้เกิดจากสัมผัส เกิดจากเหตุและปัจจัย สิ่งที่เกิดจากเหตุและปัจจัยนี้สะสมขึ้นมาเป็นบุญกุศลและบาปอกุศล สิ่งที่เกิดเป็นบุญกุศลและอกุศลเกิดจากมโน เกิดจากใจเป็นใหญ่ใจเป็นประธาน ใจเป็นคนคิด ใจเป็นความต้องการ ใจถึงแสวงหาสิ่งต่างๆ ออกไป สิ่งนี้ก็สะสมกลับมาที่ใจ

สิ่งนี้เป็นตลาด ตลาดสิ่งนี้คือการทำคุณงามความดีและทำบาปอกุศล ถ้ากิเลสมันมีอำนาจเหนือกว่า เห็นไหม สังคมเป็นแบบนั้น ตลาดเป็นแบบนี้ แต่ผู้ที่มีปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ธรรมที่เหนือกิเลส ธรรมที่ละเอียดอ่อนกว่าคือการทวนกระแสกลับเข้ามาในหัวใจ

เริ่มตั้งแต่ทำทานก็ทำได้แสนยาก การถือศีลด้วย ยิ่งสังคมในตลาดนี้แหละ ผู้ที่ถือศีล ผู้ที่ว่าไม่เข้าสังคม เขาบอกว่าผู้นั้นจะไม่มีหมู่คณะไง ไม่มีพรรคไม่มีพวก คนจะมีพวกต้องสังสรรค์ ต้องเข้ากับสังคม สังคมนั้นมันก็ลากกันไปไง นี่ไร้เดียงสาภาวะ ภาวะของเราไม่มี ไม่มีจุดยืนของใจของเราเอง

ถ้าเรามีจุดยืนของใจของเราเอง เห็นไหม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้ในศาสนาพุทธของเรา “ศีล สมาธิ ปัญญา” ในเมื่อศีล สมาธิ ปัญญา เราทำตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำตามนักปราชญ์ที่จะให้เราออกจากกิเลส ทำไมเราไปเชื่อสังคมโลกล่ะ สังคมโลกจะต้องฉุดกระชากลากเราให้จมอยู่กับสังคมโลก

เหมือนคนเขาจมทะเลโคลนน่ะ กว่าเขาจะขึ้นจากโคลนได้ มันจะจมลงไปตั้งแต่ถึงเอวถึงอะไร จมทะเลโคลนอยู่อย่างนั้นนะ นี่สังคมก็เป็นแบบนั้น เพราะอะไร เพราะสัตว์สังคม สัตตะก็เป็นผู้ข้อง เป็นผู้มืดบอด สกปรกโสมมตามแต่ทะเลโคลนอย่างนั้น แล้วเราก็เชื่อในสังคมนั้น เพราะเราอยู่ในสังคมนั้น

ตลาด เราเป็นคนจ่ายตลาด เราเป็นคนเข้าไปตลาด ซื้อสินค้าในตลาด นี้ก็เหมือนกัน สังคมเป็นแบบนั้น ทำไมเราต้องไปยุ่งกับเขา ทำไมเราต้องไปแบกรับภาระสิ่งนั้นมาเพื่อเป็นทุกข์กับเราทำไม ถ้าอย่างนั้นเราใช้สิ “เหยื่อ” โลกนี้มีแต่เหยื่อล่อ แล้วเราเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ เราจะกินเบ็ดตามเขาไปหรอ

เราจะไม่กินเบ็ดอย่างนั้น ถ้าเรากินเบ็ดตามเหยื่อล่อของโลกเขา เราจะต้องดิ้นรนในชีวิตนี้ จะต้องดิ้นรน จะต้องทุกข์ยากไปกับกระแสโลกนี้ตลอดไป แล้วเราจะฝืนได้ไหมล่ะ นี่ภาวะของใจมีอยู่ เราจะฝืนสิ่งนี้ได้ เพราะเราจะฝืน เราเข้าคบบัณฑิตไง เราไม่คบพาล พาลจะพาไปตามอำนาจของกิเลส กิเลสจะพาไปขนาดไหน เขาว่าเป็นคนเก่งนะ ทิฏฐิมานะเข้ากับกิเลส

กิเลสว่า ถ้าเราตั้งธงขึ้นมาในหัวใจของเรา เราปรารถนาสิ่งใด แล้วเราจะต้องพยายามแสวงตอบแทน ตอบแต่ธงของเราอย่างนั้น เราต้องแสวงหาสิ่งนั้นมาเพื่อปรนเปรอมันไง ปรนเปรอกิเลสตัณหานะ ตัณหาน้ำล้นฝั่ง ถ้ามีศีลขึ้นมามันจะจำกัดสิ่งนี้ไง สิ่งนี้เราชักออก ถ้าเรามีศีลขึ้นมา สิ่งที่ผิดศีลนี้เราทำไม่ได้หรอก

ถ้าเราทำไม่ได้เพราะอะไร เพราะเราเชื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราเชื่อธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเหตุผลทำไมเราต้องทำล่ะ เราจะต้องทำเพราะเราปรารถนา เราปรารถนาสิ่งที่จะพ้นจากทุกข์ไง เพราะสิ่งที่เป็นความทุกข์นี้มันเป็นเครื่องยืนยันกับใจของเรา

เวลาเราอยู่ในสังคมนะ เราบ่นถึงเรื่องของทุกข์นี่มันจะมีมหาศาลเลย แต่เราก็พูดไม่ได้ ต้องพูดแต่ว่าเรามีความสุข เรามีความพอเป็นไปตามกระแสสังคม เราก็พูดกันได้อยู่อย่างนั้น ทั้งๆ ที่การเกิดมาเป็นมนุษย์นี่เป็นสัตว์ประเสริฐนะ เราเป็นสัตว์ประเสริฐ เรามีคุณงามความดีของเรา เราถึงได้เกิดเป็นมนุษย์ แล้วเรามีศรัทธาความเชื่อนี่ สิ่งนี้คือความสว่างของจิตใจไง

ถ้าจิตใจมีความสว่างนะ มีความเชื่อ เชื่อในปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เชื่อในธรรมไง เวลาทุกข์ขึ้นมานี่ ทุกข์ขึ้นมาแล้วปฏิเสธสิ่งนี้ นี่คนมืดบอด สิ่งที่มืดบอดมีแต่คนมืดบอดนะ แล้วเวลาศึกษาธรรมขึ้นมา เราก็เหมือนกับเราใส่แว่น เราใส่แว่นสีอะไรเราก็จะมองเห็นสภาวะแบบนั้น

กิเลสในหัวใจของเรามันเหมือนแว่นอันหนึ่ง เพราะมันเกิดมาจากใจ สิ่งนี้มีอยู่โดยดั้งเดิม เพราะมันอยู่ในจิตดวงนี้ ปฏิสนธิจิตนี่เกิดขึ้นมา จิตนี้ไร้เดียงสา ไร้ภาวะ แล้วมันก็โดนกิเลสควบคุมอยู่ เวลาเราทำความสงบของใจเข้ามา มันก็ทำเข้ามาเพื่อความสงบอย่างนี้ ถ้าเรากำหนดต่างๆ เราทำกำหนดพุทโธ เรากำหนด เห็นไหม เรากำหนดพุทโธเพราะเหตุใดล่ะ

เพราะเราเชื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราต้องเอาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งไง พุทโธคือพุทธานุสสติ กำหนดพุทโธนี่กังวานไป ๓ แดนโลกธาตุ...๓ แดนโลกธาตุเพราะอะไร เพราะกำหนดว่าพุทโธๆ นี่ พุทโธ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ออกประพฤติปฏิบัติ ในลัทธิต่างๆ เขาก็ว่าเขาเป็นศาสดา เขาเป็นพระอรหันต์เหมือนกัน

พุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนี่มีคนแสวงหา มีคนต้องการอยู่ตลอดไป แต่สิ่งที่เขาแสวงหาของเขา แสวงหาตามกิเลสไง แสวงหาเข้าไป เข้าไปยอมจำนนกับกิเลสไง เวลากำหนดพุทโธทำความสงบของใจเข้ามา เห็นไหม มันไร้เดียงสา ไร้เดียงสาเพราะอะไร เพราะมันไม่รู้จริงสิ่งใดเลย มันกำหนดพุทโธขนาดไหนมันก็ปล่อยวางเข้ามา ปล่อยวางเข้ามา สิ่งนี้มันเป็นความปล่อยวางเข้ามา เข้าไปถึงตัวของใจ ถ้าเข้าไปถึงตัวของใจ เราต้องมีสติสิ ถ้ามีสติ

มีสัมปชัญญะนะ เราจะต้องระวังตัวของเรา เรามีสติ เราควบคุมใจของเราตลอดขึ้นมา สติตัวนี้สำคัญมาก ถ้าการประพฤติปฏิบัติมีสติอยู่ เราจะเป็นความเพียร ถ้าเราขาดสติ สักแต่ว่าเดิน เครื่องยนต์กลไกเดี๋ยวนี้โรงงานผลิตอุตสาหกรรม เขามีสายพานการผลิต มันหมุนของมันเองก็ได้ มันทำของมันเองนะเป็นอัตโนมัติ มันทำของมันได้แล้วมันเป็นสินค้าขึ้นมา มันจะเป็นประโยชน์กับเจ้าของมันนะ

แต่เราประพฤติปฏิบัติ เราเดินไปเดินมาโดยไม่มีสตินี่เราได้อะไรขึ้นมาล่ะ เรามีแต่ความพลั้งเผลอ แล้วเวลาประพฤติปฏิบัติไป นี่มันจะแช่อยู่อย่างนั้น แล้วมันจะเคยตัวนะ สิ่งที่เราประพฤติปฏิบัติสิ่งใดก็แล้วแต่ สิ่งนี้มันจะเป็นการเคยตัว สิ่งที่เคยตัว เห็นไหม นี่ใจมันด้าน ด้านอย่างนี้ไง เวลาประพฤติปฏิบัติไม่ได้ผลมันก็ท้อแท้นะ น้อยเนื้อต่ำใจ เราเชื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราก็พยายามประพฤติปฏิบัติของเรา ทำไมมันไม่สมความปรารถนาของเราล่ะ

เรามีตัณหาความทะยานอยาก เป็นสมุทัย สิ่งที่ตัณหาความทะยานอยากเราต้องวางไว้ก่อน สิ่งที่วางไว้ เรามีความเชื่อมีความศรัทธาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราจะปฏิบัติธรรม เราจะธรรมโอสถเข้ามาแก้กิเลสในหัวใจของเรา เพราะเรามีกิเลสในหัวใจของเรา โดยที่ไม่ต้องมีใครบอกเราเลย เราจะรู้ตัวของเราเองว่าเรามีความขุ่นมัว มีความติดขัด มีความยึดมั่นถือมั่นในหัวใจนี่ มันเป็นสัจจะความจริงในหัวใจแน่นอน

แล้วเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์นี่มีความสุขมาก เสวยวิมุตติสุขนะ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมานี่เสวยวิมุตติสุข เวลาทุกข์มา ๖ ปีนี่ทุกข์แสนสาหัส ที่ไหนเขาประพฤติปฏิบัติที่ว่าเป็นการอุกฤษฏ์ขนาดไหน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะต้องลองประพฤติปฏิบัติกับเขามา นี่สลบถึง ๓ หนนะ กลั้นลมหายใจคิดว่ากิเลสมันอยู่กับเรา ถ้าเรากลั้นลมหายใจ กิเลสมันต้องตายไป พอกลั้นลมหายใจนี่ถึงที่สุดก็ช็อกไป ถึง ๓ หน นี่มันทุกข์ขนาดไหน

แต่เวลาประพฤติปฏิบัติ เวลาย้อนกลับขึ้นมาอานาปานสติ ย้อนกลับเข้าไป จนอาสวักขยญาณชำระกิเลสออกไปจากหัวใจ นี่เสวยวิมุตติสุข ความสุขมาก นิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ไร้เดียงสาหรอก

ครูบาอาจารย์บางองค์บอกว่า “นิพพานเหมือนกับจิตของเด็กที่ไร้เดียงสา”

ไร้เดียงสาไปได้อย่างไร ในเมื่อมันมีความยึดมั่นถือมั่น เด็กไร้เดียงสามันก็ต้องการอาหาร มันต้องการสิ่งที่ความพอใจของมัน มันจะร้องเรียกสิ่งต่างๆ ที่มันต้องการของมัน มันจะเป็นนิพพานไปได้อย่างไรล่ะ มันมีตัวตน มันมีความยึดมั่นถือมั่นของใจมันมหาศาลเลย แต่วิมุตติสุขขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นไหม เสวยวิมุตติสุข สุขอันนี้มันพ้นออกไปจากโลก

ธรรมเหนือโลกเพราะอะไร เพราะสิ่งที่ทวนกระแสเข้าไปในหัวใจนี่มันมีความสัมผัส มีความสัมพันธ์กัน ระหว่างขันธ์กับจิต อารมณ์ความรู้สึกกับใจนี่มันกระทบกระเทือนกัน มันสัมผัสกัน มันก็เป็นความรู้สึก ความสุข ความทุกข์ เห็นไหม อาสวักขยญาณไล่ต้อนเข้าไปจนมันปล่อยขันธ์อย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียดเข้าไปถึงถึงที่สุด

ตัวของจิต ตัวความที่ว่ามันเป็นความไร้เดียงสานั้นน่ะ ต้องจับตัวนั้น แล้วจะเอาตัวนั้นพลิกแพลงออกไป จนถึงที่สุด สิ่งที่ว่ามีอยู่นี้มันก็ขาดออกไปจากใจ สิ่งที่ขาดออกไปจากใจ ตัวใจเองก็ต้องทำลายตัวของมันเอง แล้วมันจะมีสิ่งใดเหลือในหัวใจนั้นล่ะ กิเลสไม่มีสิ่งใดเหลือในหัวใจเลย สิ่งนั้นเป็นความสะอาด เป็นความบริสุทธิ์พ้นออกไปจากสมมุติทั้งหมด เห็นไหม เสวยวิมุตติสุขอย่างนั้น แล้วมีสติสัมปชัญญะเป็นอัตโนมัติตลอดไป อัตโนมัติ ขยับเคลื่อนไหวทีนี่สติจะพร้อมตลอดไป

เพราะสติที่เราสร้างสมกันอยู่นี่ว่าแสนทุกข์แสนยาก การสร้างสติ ถ้าเรามีสติ การทำความเพียรของเราจะเป็นความเพียร จะเป็นความเพียร ถ้าขาดสติความเพียรเราเป็นสักแต่ว่า เหมือนกับหุ่นยนต์ เดินจงกรมนั่งสมาธิ เหมือนหุ่นยนต์ไง หุ่นยนต์มันนั่ง มันนั่งได้สวยงามกว่าเราอีกด้วย แต่มันไม่มีหัวใจตัวรับรู้ไง

แต่นี้เรามีหัวใจในร่างกายของเรา แต่เรานั่งแล้วเราก็นั่งเหมือนหุ่นยนต์ เพราะกิเลสมันครอบงำไง เกิดเป็นนิวรณธรรม เกิดความง่วงเหงาหาวนอน เกิดสิ่งต่างๆ ทั้งหมด เวลาจะต่อสู้กับกิเลส ต่อสู้กับตัวของเราเอง ความรู้สึก ความยึดมั่นถือมั่นของใจนี่มันมีอำนาจเหนือใจของเราก่อน เบียดเบียนตนก่อน เบียดเบียนหัวใจดวงนี้ แล้วหัวใจดวงนี้ก็จะเบียดเบียนสังคมทั่วไปทั้งหมดถ้าเป็นกิเลส

แต่ถ้าเป็นคุณธรรมนะ จริตนิสัยของดวงใจไม่เหมือนกัน บางดวงใจเป็นผู้ที่ประเสริฐ ดูอย่างเช่นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระเวสสันดร มีแต่เป็นผู้สละ มีแต่เป็นผู้ให้ สิ่งที่ให้มา ให้ออกไปเพราะการสร้างสมจริตนิสัยมา จนสละมาเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมา ปรารถนาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง นี่สละทานทุกๆ อย่าง สละออกไปเพื่อใจดวงนี้ไง

ถ้าผู้ที่มีคุณธรรมในหัวใจ การสละออก สังคมนั้นก็จะมีความร่มเย็นเป็นสุข สังคมนั้นร่มเย็นเป็นสุขเพราะมีผู้เป็นหัวหน้าไง สิ่งที่เป็นหัวหน้าเป็นผู้กระทำ เพราะมีวาสนา มีบารมี การสละออกอย่างนั้นจะมีคนเชื่อฟัง มีคนเชื่อฟัง ก็ยอมให้เป็นหัวหน้า ยอมให้เป็นผู้นำไง สิ่งที่เป็นผู้นำ สังคมนั้นก็จะมีความร่มเย็นเป็นสุข

แต่ถ้าสังคมนั้น กิเลสมันมีอำนาจเหนือกับใจทุกดวง เขาก็ต้องพยายามทำอย่างนั้น ทำอย่างว่าเขาเป็นผู้ที่เสียสละ แต่หัวใจของเขาไม่ได้เสียสละ เห็นไหม มันก็มีความขัดแย้งในใจของเขา สิ่งที่ขัดแย้งในใจของเขานั้นเป็นเรื่องของเขา เราเห็นอยู่ในสังคมอย่างนี้ แล้วเราย้อนกลับมาดูใจเรา หน้าที่ของเราคือต้องย้อนดูใจของเรา

ใจของเรามีความทุกข์ ใจของเรามันมีความขับเคลื่อนอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่เป็นเหตุกระทบกับหัวใจของเรานี่ ขันธ์ในหัวใจของเรา แขกมันจรมานะ แขกจรมาคือธรรมชาติของขันธ์ ๕ กับจิตนี้อยู่ในหัวใจของเรา แล้วมันต้องการ เพราะไม่มีใคร ไม่มีธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทวนกระแสเข้าไปเห็นสภาวะแบบนั้น มันถึงทำงานของมันโดยข้อเท็จจริงของมัน

แต่กิเลสในหัวใจสิ มันอาศัยสิ่งนั้นยึดสิ่งนั้นแล้วไม่เห็นสิ่งนั้น แล้วออกไปยึดมั่นถือมั่นสิ่งต่างๆ ยึดมั่นถือมั่นสิ่งต่างๆ แม้แต่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ เราอ่านพระไตรปิฎกมา เราฟังของครูบาอาจารย์มา เราก็ยึดว่าเป็นของเรา เราก็ยึดว่าเรารู้ เราเป็นไป นี่กิเลสมันยึดแม้แต่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ

แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่าให้สละ ให้ละ ให้วาง การสละ การละ การวางนั้นคือการประพฤติปฏิบัติ เห็นไหม การละ การวาง ละสิ่งที่เป็นนามธรรม อารมณ์ความรู้สึกนี่ไม่มีใครเห็นตัวตนมันหรอก แต่ถ้าเราละสิ่งนี้ได้ เราควบคุมสิ่งนี้ได้ เราจะทำจิตของเราให้สงบเข้ามาได้ ถ้าจิตของเราสงบเข้ามานี่...

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรียนกับอาฬารดาบสก็รู้สภาวะแบบนั้น ได้สมาบัติ ๘ เหมือนกัน พอจิตสงบเข้ามานี่มันไร้เดียงสา มันไม่มีเหตุมีผลของมัน มันปล่อยวางขึ้นมานี่ เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิก็เหมือนกัน มันเข้าใจเหตุผลของสิ่งต่างๆ แล้วมันก็จะปล่อยวางสิ่งนี้เข้ามา ปล่อยวางสิ่งนี้ ปล่อยวางอารมณ์นะ ปล่อยวางสิ่งนี้แล้วมันมีเหตุมีผล มันรู้แจ้งสิ่งใดล่ะ? มันไม่รู้แจ้งสิ่งใดเลย เพราะมันเป็นปัญญาของเรา มันเป็นข้อเท็จจริงที่การทำงานของใจที่มันเป็นเหตุเป็นปัจจัย สิ่งที่สัมผัสกันอยู่ในหัวใจ สิ่งนี้มันสัมผัสกันโดยข้อเท็จจริงของเขา แล้วเราเห็นสภาวะแบบนั้นปล่อยวางเข้ามา ธรรมแบบนี้มันเป็นจินตมยปัญญา มันไม่เป็นภาวนามยปัญญา

สิ่งที่เป็นภาวนามยปัญญา เราต้องมีความเข้มแข็งในใจของเรา เราจะมีความเข้มแข็งนะ สัตว์อาชาไนย สัตว์อาชาไนยจะเลือกอาหารของเขา เขาจะไม่กินอาหารโดยทั่วไป นี้ก็เหมือนกัน เราต้องเลือกของเรา สิ่งที่เลือก เห็นไหม วันนี้ปฏิบัติอย่างนี้ได้ผลอย่างใด ในเมื่อเราเร่งความเพียรของเราขึ้นมานี่ ความเพียรของเราสมประโยชน์กับเราไหม สิ่งที่สมประโยชน์กับเรา เราใช้เหตุอะไร เราใช้สติอย่างไร เราวางอารมณ์อย่างไร เห็นไหม นี่เลือกอาหาร เลือกอาหารคือหาอุบายวิธีการให้จิตเรามีความอิ่มเต็มในความสงบของมันไง

เวลาปากของเรากินคำข้าวเป็นอาหาร หัวใจของเรากินอารมณ์เป็นอาหาร แล้วอารมณ์ที่มันกินอยู่นี้ก็เป็นพิษตลอด แล้วแถมมันยังมีกิเลสในหัวใจนะ กิเลสในหัวใจนี้มันทำให้จิตนี้เร่าร้อน จิตนี้หิวกระหาย จิตนี้พร่องอยู่เป็นนิจ สิ่งใดผ่านหูผ่านตามันจะยึดมั่นถือมั่นสิ่งนั้น ไม่มีสิ่งใดผ่านหูผ่านตา เวลาพระเราออกธุดงค์อยู่ในป่า อยู่คนเดียว อยู่ในป่านี่มันก็คิดปรุงความรู้สึก ความสัญญาอารมณ์ของมัน มันจะสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา สิ่งนี้จะเกิดขึ้น แม้แต่เวลาค่ำมืดขึ้นมา เดินจงกรมอยู่นี่ “มีผีนะ ผีจะออกมาหลอกเรานะ เราเป็นคนที่ทุกข์จนเข็ญใจ เราต้องมาอยู่ป่าอยู่เขานะ สัตว์โลกเขา เขาอยู่ในบ้านในเมืองเขามีแต่ความสุข” นี่กิเลสมันจะสร้างเรื่องขึ้นมาหลอกลวงเราตลอดไป

สิ่งที่สร้างเรื่องหลอกลวงเราขึ้นมา เพื่ออะไรล่ะ? ก็เพื่อเผาลนไง นี่เวลาจิตใจมันพร่อง มันพร่องอย่างนี้ มันพร่องแล้วมันสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา เพราะเป็นพิษ เราถึงต้องทำให้จิตใจนี้เต็มนะ เอกัคคตารมณ์ จิตนี้ตั้งมั่น จิตนี้จะตั้งมั่นได้เราจะต้องทำความสงบของใจเข้ามา เป็นความจำเป็นมาก ในการประพฤติปฏิบัติของเรานี่ ถ้าสมถกรรมฐาน การทำกรรมฐาน เห็นไหม ทำสมถกรรมฐานคือต้องหาจุดยืนของตัวเองให้ได้

ถ้าใครมีจุดยืนของตัวเอง คนนั้นจะมีเวที จะมีตลาดของตัวเอง จะมีสถานที่ทำงานของตัวเอง เวลาประพฤติปฏิบัติ เห็นไหม เราภาวนาไม่เป็น เวลาครูบาอาจารย์บอกว่า เวลาวิปัสสนาเกิดขึ้นมาจากใจอย่างนี้ เวลาธรรมะ กิเลสมันต่อสู้กันกลางหัวใจของเรา มันจะมีทำสงครามระหว่างกิเลสกับธรรม เปิดสงครามกันระหว่างในหัวใจของเรา มันเป็นอย่างไรหนอ มันเป็นอย่างไรหนอ เพราะเราไม่เคยทำความสงบของใจเราเข้ามา เราใช้ความคิด ครูบาอาจารย์ท่านว่า เวลากิเลสกับธรรมมันประหัตประหารกันในหัวใจ เราก็สร้างภาพของเรา

นี่ว่าโลกไง เราใช้โลกเป็นว่า สิ่งนี้เป็นธรรม เราใช้ปัญญาของเรา เราว่าเรานี้เป็นผู้มีปัญญา เราหลงตัวเองไงว่าตัวเองนี้เป็นผู้มีปัญญา ตัวเองนี้มีความคิดมาก ตัวเองนี้มีคุณสมบัติมาก ตัวเองนี้ยอดเยี่ยม ทั้งๆ ที่การประพฤติปฏิบัตินี่ไร้เดียงสาภาวะ ไม่มีจุดยืนของใจเลย ถ้ามีจุดยืน มีสถานที่ยืนของใจ

นี่สมถกรรมฐานถึงศีล สมาธิ ปัญญา เราต้องมีสมาธิ เราต้องทำความสงบของใจเราเข้ามาให้ได้ ถ้าจิตมันสงบขึ้นมานี่ ตัวจิตตัวนี้จะเป็นผู้ที่ออกค้นคว้าออกหาทำงาน ถ้าจิตนี้ออกหาทำงาน ใครรู้แจ้งล่ะ? ก็จิตนี้รู้แจ้ง จิตนี้เป็นเอกัคคตารมณ์ จิตนี้ตั้งมั่น สัมมาสมาธินะ เวลาจิตสงบเข้ามานี่ พอจิตตั้งมั่นขึ้นมามันจะมีความสุขมาก สุขเพราะจิตนี้มันเคยพร่องอยู่เป็นนิจ แล้วมันก็กินอาหารที่เป็นพิษอยู่ตลอดเวลา

แม้แต่เป็นธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่แหละ ธรรมนี้เจือไปด้วยกิเลส เจือด้วยความคิดของเรา เจือด้วยพิษของใจไง ยาพิษของใจนี่มันเอาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่...เหมือนกับยาพิษเคลือบกับยาไง ยานี่เป็นธรรมโอสถ ควรจะเป็นสิ่งที่รักษาใจของเรา ควรเป็นสิ่งที่รักษาให้เราหายจากโรค เห็นไหม มันก็มีกิเลส มียาพิษเคลือบ พอเคลือบสิ่งนี้ไปมันก็สร้างสมสิ่งนั้นให้บกพร่องไง ให้ใจเราพร่องของเรา นี่กิเลสมันอยู่ในหัวใจมันเป็นสภาวะแบบนี้

เราถึงต้องทำความสงบของใจ ถ้าใจของเราสงบขึ้นมาได้ เพราะกิเลสมันสงบตัวลง ถ้ากิเลสไม่สงบตัวลงมันจะเกิดความฟุ้งซ่าน มันจะเป็นความสงบไปไม่ได้หรอก สิ่งที่สงบได้เพราะจิตนี้มันสงบตัวลง จิตนี้สงบตัวลงมันจะเป็นสิ่งที่ว่าไม่ไร้เดียงสาถ้าเรามีสติ

ถ้าไม่มีสตินะ เห็นไหม ในการประพฤติปฏิบัติ ว่าจิตนี้เป็นนามธรรม สิ่งที่เป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ สิ่งนี้จับต้องไม่ได้เราก็ควบคุมมันเข้าไป แล้วเราก็ปล่อยวางเฉยๆ เห็นไหม เราไม่มีสติ เหมือนกับหุ่นยนต์ ไม่มีสติเลย จิตของเรานี่มีคุณค่ามาก ธาตุรู้นี้สำคัญมาก เพราะธาตุรู้นี้เป็นปฏิสนธิจิต สิ่งที่เป็นปฏิสนธิจิตนี้เกิดในสถานะไหนล่ะ เกิดในวัฏฏะนี้ เกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม ก็จิตนี้ไปเกิด เกิดเป็นมนุษย์ก็จิตนี้มาเกิด สถานะที่ได้มานี่มันแล้วแต่โอกาส

เหมือนกับดูที่หนังละครที่เขาเล่นกัน เป็นฉากๆ เวลาคนเขาออกมานี่ฉากหนึ่งเขาก็เป็นบุคคลคนหนึ่ง ฉากหนึ่งเขาก็เป็นบุคคลคนหนึ่ง จิตนี้ก็เหมือนกัน เกิดในสถานะไหนล่ะ? เกิดในสถานะของมนุษย์นี่ก็ฉากหนึ่ง ฉากหนึ่งที่เราจะแสดงเป็นมนุษย์จนกว่าเราจะสิ้นชีวิตนี้ไป สิ้นชีวิตนี้ไป เพราะการอำนาจของกรรมสิ้นไป

กรรมสิ้นแต่เฉพาะชาตินี้ แล้วใจมันสิ้นไหมล่ะ? ใจมันสิ้นไม่ได้หรอก ใจนี้เป็นนามธรรม ไม่มีใครเห็นตัวมัน แต่มันก็ต้องล่องลอยออกจากกายนี้ มันก็ไปหาสถานะใหม่ มันแสดงอีกแล้ว มันแสดงของมันอีกฉากหนึ่งแล้วๆ เห็นไหม ฉากที่จิตมันแสดงออกไปสภาวะแบบนั้นมันเวียนตายเวียนเกิด นี่ธาตุรู้มีคุณสมบัติมหาศาลเลย มันถึง...

ถ้าพูดถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุข ก็ใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธาตุรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุข แล้วเสวยวิมุตติสุข สิ่งที่เจือจานมา วางธรรมะไว้ในโลกนี้ วางธรรมะไว้ในโลกให้กับพวกเราก้าวเดิน เพราะใจนี้เป็นใจที่บริสุทธิ์ ใจนี้เป็นใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สยัมภู ตรัสรู้ด้วยตนเอง สิ่งที่ตรัสรู้ขึ้นมานี้เป็นธรรม เห็นไหม รื้อสัตว์ขนสัตว์ก็วางธรรมไว้จนขณะนี้ เราศึกษาธรรมเข้ามาเราก็เอายาพิษเราไปเคลือบไว้ เคลือบไว้มันก็ไม่เป็นความจริงของเรา

จิตนี้เป็นนามธรรม จิตนี้เป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้...จับต้องไม่ได้มันก็ไม่มีสติควบคุมมันก็ไม่เห็นจิตที่ตั้งมั่น มันก็ไม่เห็นจิตที่ว่าเป็นสถานที่จุดยืนของการจะสร้างสถานะธรรมขึ้นมาไง สร้างเอโก ธัมโม ธรรมอันเอกจะเกิดขึ้นมา ปัญญาเกิด เกิดที่ไหน นี่เวลาปัญญา โลกนี้เขาบอกว่าปัญญาเกิดที่สมอง สมองใครโต สมองใครเล็ก ถ้าสมองโตนี้จะมีปัญญามาก...ปัญญามากน้อยขนาดไหน สัตว์โลกนี้ก็ตายเกิด ไม่พ้นจากวัฏฏะไปได้หรอก

แต่ถ้าปัญญาของเราเกิด เห็นไหม ธรรมจักรมันเกิดนะ สิ่งที่ธรรมจักร จักรนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร เพราะจิตนี้มันตั้งมั่น จิตนี้มันไม่มีตัวตน จิตนี้ไม่เคลือบด้วยยาพิษ ถ้าจิตนี้ไม่เคลือบด้วยยาพิษนี่รำพึงไปหากาย เวทนา จิต ธรรม ถ้ารำพึงไปหา กาย เวทนา หาจิต หาธรรมได้นี่วิปัสสนาเราจะเกิดขึ้น ถ้าวิปัสสนาของเราจะเกิดขึ้นนะ มันถึงว่าภาวนาเป็นไง

ภาวนาไม่เป็นคือเริ่มต้นจากเราจุดไฟเผาป่าไม่เป็น ถ้าเราจุดไฟเผาป่าเป็นนะ ถ้าเชื้อไฟมันติดขึ้นมานี่ ไฟนั้นจะต้องลุกลามป่านั้น จนกว่าเชื้อไฟนั้นจะหมด ไฟนั้นถึงจะดับ เห็นไหม ถ้าเชื้อไฟนั้นไม่หมดมันจะดับไม่ได้ เพราะอะไร เพราะเชื้อมันยังมีอยู่ ไฟนี้ติดแล้ว

นี้ก็เหมือนกัน ถ้าเรายกขึ้นวิปัสสนาได้ เหมือนกับเราจะจุดไฟติด ถ้าเราจุดไฟติดนี่ปัญญามันจะหมุนไป หมุนไปต่อเมื่อเรามีสติสัมปชัญญะนะ เรามีสติแล้วเราประคองใจของเราให้วิปัสสนาไป การวิปัสสนานั้นคือการทำงานของใจ ใจนี้ทำงาน เห็นไหม รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สังขาร ความคิด ความปรุง ความแต่ง ถ้ามีสัมมาสมาธินี้ขึ้นมาเป็นบาทฐาน เป็นจุดยืนของใจดวงนั้น จะเป็นภาวนามยปัญญา

แต่ถ้าไม่มีสมาธิเป็นบาทเป็นฐาน สังขารคิด สังขารปรุง สังขารแต่ง โดยข้อเท็จจริงของความเป็นมนุษย์ โดยข้อเท็จจริงของขันธ์ ๕ ที่มันทำงานของมันไป แล้วกิเลสมันก็ยึดมั่นถือมั่นของมันไป มันเป็นโลกียะ มันเป็นความเห็นของโลก มันเป็นความคิดของโลกเขา เห็นไหม นี่ธรรมของโลกเขากับธรรมวิมุตติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันไม่เหมือนกันหรอก

แต่ความเห็นของเรา จุดยืนของเรา ความเห็นของเราผิดพลาดขึ้นมามันก็ไร้เดียงสา มันไม่รู้สิ่งใดเลย ประพฤติปฏิบัติไปแล้วก็ไม่รู้สิ่งใด ปล่อยวาง ว่าง ว่างของเรา มีเหตุผลมันเกิดขึ้นมาจากใจไหม? เหตุผลไม่เกิดขึ้นมาจากใจ เพราะไม่เป็นปัจจัตตัง

สิ่งที่เป็นปัจจัตตังคือกับเกิดท่ามกลางของดวงใจดวงนั้น ถ้าดวงใจดวงนั้นเห็นการประพฤติปฏิบัติ เห็นการชำระสะสางกัน จิตยกขึ้นวิปัสสนา เพราะจิตนี้มีความสงบ พลังงานมันเกิดขึ้นมา สิ่งที่จับขึ้นมาเป็นกายจะเห็นสภาวะกายนี่ พิจารณากายไป พิจารณากายให้มันเปื่อย ให้มันเน่าให้มันพุพองตามแต่สัจจะ ตามแต่อำนาจวาสนาของใจดวงนี้ ถ้าใจดวงนี้เห็นสภาวะแบบนั้นไป นี่วิปัสสนาเกิดอย่างนี้ไง

แล้วความรู้แจ้ง แจ้งอย่างไร แจ้งเพราะมันแปรสภาพให้เราเห็น ความรู้แจ้งอย่างนี้ ความรู้แจ้งของอย่างเด็กก็ได้ ความรู้แจ้งของผู้ใหญ่ก็ได้ ความรู้แจ้งของผู้ที่ประสบการณ์อยู่ในหัวใจมหาศาล นี่ความรู้แจ้งมันก็เป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป เห็นไหม มันเหมือนกับเรานุ่งห่ม เรานุ่งห่มอยู่ พอนุ่งห่มอยู่ สิ่งที่เรานุ่งห่มอยู่ นุ่งห่มกับอะไรล่ะ? กับร่างกายของเรา มันต้องขับความสกปรกโสมมออกมาอยู่แล้ว สิ่งนี้เราต้องซักล้าง ถ้าเราซักล้างขึ้นมามันก็สะอาดขึ้นมา เราก็นุ่งห่มได้อีก

จิตก็เหมือนกัน เราวิปัสสนาสิ่งต่างๆ นี่มันปล่อยวางไป มันปล่อยวางไป มันปล่อยวางขนาดไหนเราก็ชำระ เหมือนกับเราซักล้างสิ่งที่เครื่องนุ่งห่มเรา นี่ขันธ์ ๕ สิ่งที่เป็นขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันเป็นอยู่กับจิต มันเป็นความเกิดขึ้นมาระหว่างธาตุกับขันธ์ เห็นไหม ธาตุกับขันธ์ จิตไม่ใช่ธาตุ จิตไม่ใช่ขันธ์ จิตนี้เป็นจิต ธาตุรู้นี้เป็นธาตุรู้อีกตัวหนึ่ง เป็นธาตุ ๖

ธาตุ ๖ คือธาตุรู้...อากาศธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ธาตุ ๔ คือร่างกายของเรา ธาตุ ๖ คือธาตุของหัวใจไง หัวใจนี้เป็นธาตุอันหนึ่ง สิ่งนี้มันละเอียด ละเอียดลึกลับมากมายมหาศาล ในการประพฤติปฏิบัติของเรามันถึงมีความลึกลับ มีความลึกความตื้นต่างกัน ถ้าในความตื้นอันนี้เราวิปัสสนากายของเราเห็นสภาวะตามความเป็นจริง นี่มันจะเริ่มปล่อยวางนะ

สิ่งที่ปล่อยวางนี่มันปล่อยวางแล้วมันก็ไร้เดียงสา สิ่งที่ไร้เดียงสาเพราะมันปล่อยวางแล้วมันไม่มีเหตุผล สิ่งที่ไม่มีเหตุผลเราก็ต้องพยายามหมั่นคราดหมั่นไถ คือเราต้องวิปัสสนาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพราะเหตุใด เพราะสิ่งนี้กิเลสมันเริ่มสลบตัวลงไง มันสลบเพราะธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ กิเลสนี้กลัวมาก กลัวธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มารนี้ถึงพยายามควบคุมนะ

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา พญามารร้องห่มร้องไห้จนลูกนะ นางตัณหา นางอรดีสงสารพ่อมาก “พ่อเป็นอะไร พ่อเป็นอะไร”

“องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพ้นจากอำนาจของมารแล้ว”

ลูกของพญามารบอก “ไม่เป็นไร จะเข้าไปยั่วยวนเอง” จะทำให้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตกอยู่ในอำนาจของมารไง นี่ในหัวใจของเรามันมีสิ่งนี้อยู่ เห็นไหม

เรือนยอดของกิเลสคืออวิชชา สิ่งที่อวิชชา เห็นไหม ความโลภ ความโกรธ ความหลงนี่มันก็เป็นลูก แล้วว่าเป็นหลานล่ะ นี่ความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานของกาย แล้วเป็นเหลนล่ะ เหลนคือว่าความเห็นของเรานี่ธรรมะตื้นๆ ธรรมะในการประพฤติปฏิบัติ ในการวิปัสสนานี่มันยังตื้นๆ แต่ความตื้นๆ ของเรามันก็ต้องใช้อำนาจวาสนาของเรามหาศาลเลย ถึงว่า เป็นภาวนาเป็นไง ถ้าเราภาวนาเป็น เราจะแยกแยะสิ่งนี้ ธรรมโอสถ ธรรมเหนือโลกมันเหนืออย่างนี้ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงลึกลับอย่างนี้ไง

มันไม่ใช่ความเห็นของโลกหรอก โลกว่า “ศึกษาธรรมแล้วเราเข้าใจแล้ว การประพฤติปฏิบัติเราทำไมต้องทุ่มกันทั้งชีวิต ทำไมต้องทำกันรุนแรงขนาดนั้น เราทำกันแบบพอเป็นพอไปนี่ การปฏิบัติธรรมอย่าเบียดเบียนตนสิ ถ้าเบียดเบียนตนนี่มันเหมือนกับว่า มันเป็นอัตตกิลมถานุโยค มันเป็นการเบียดเบียนตน ไม่เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า”

ธรรมะไร้เดียงสามันหลอกได้ขนาดนี้ หลอกให้ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติต้องก้มหัวให้กับกิเลสนะ ในการประพฤติปฏิบัติเพื่อจะชำระกิเลสก็ต้องปฏิบัติเพื่อบูชากิเลสไง ถ้าเราปฏิบัติบูชากิเลสนี่มันไร้เดียงสา มันไม่มีผลรู้แจ้ง มันไม่เป็นปัจจัตตัง สิ่งนี้มันก็ทำให้เกิดความลังเลสงสัย

เวลาเราประพฤติปฏิบัติ ถ้าเราวิปัสสนาไปมันจะเห็นสภาวะตามความเป็นจริง ปล่อยวาง ปล่อยวาง ปล่อยวางขนาดไหนมันอยู่ที่อำนาจวาสนาของเรา ถ้ามันปล่อยวางแล้วมันขาดนี่มันจะรู้แจ้ง สิ่งที่รู้แจ้งเพราะเหตุใด ยถาภูตํ สิ่งนี้ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องดับเป็นธรรมดา

สิ่งที่เป็นวัตถุข้าวของนี่มันดับไป มันเปลี่ยนแปลงไป เราเห็นสภาวะตลอดเลย แต่เกิด สิ่งที่เกิดดับกับใจมันเป็นไปของมันโดยเป็นอนิจจัง มันเป็นอนัตตาโดยธรรมชาติของมัน เราอยู่กับมัน เราอาศัยมันไง อาศัยสิ่งที่ว่าเป็นกิเลส มันเป็นยาพิษ เป็นสารเคลือบใจนี่ มันไม่เห็นสภาวะแบบนี้เลย

แต่เพราะในการประพฤติปฏิบัติของเรา ในการทวนกระแสเข้าไปที่ใจของเรา การทวนกระแสนะ ทวนกระแสน้ำ เราก็เห็นอยู่ว่าการทวนกระแสน้ำ กระแสลม เวลาเขาแข่งรถกันนี่ใครอยู่ใต้ลม อยู่เหนือลม ได้เปรียบเสียเปรียบเขาจะเห็นของเขา แต่ในการทวนกระแสของใจนี่มันมหัศจรรย์กว่านั้นอีกมหาศาลเลย เพราะมันต้องเอาชนะตนเองให้ได้ มันต้องพยายามดัดแปลงตนเอง

เรา ในการประพฤติปฏิบัติ ในการเป็นมนุษย์นะ เรามีแต่การจะเอาเปรียบเขา เราจะมีแต่การเอารัดเอาเปรียบคนอื่น ถ้าเราเอารัดเอาเปรียบคนอื่นได้ เราว่าเราเป็นคนผู้ได้ไง เราเป็นผู้ที่สะดวกสบาย คนอื่น ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเขาต้องทำข้อวัตรปฏิบัติ เราจะหาทางเอาเปรียบเขาตลอดไปเพื่อว่าเป็นผู้มีปัญญาไง นี่กิเลสมันหลอกได้ขนาดนี้นะ หลอกให้เสียโอกาสไง

ในการทำข้อวัตรปฏิบัติ ในการประพฤติปฏิบัตินี่มันเป็นการขัดเกลากิเลสทั้งหมดนะ ธุดงควัตรนี่ ทางโลกเขากินอิ่มนอนอุ่นนี่คือความสุขของเขา ทำไมผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ทำไมต้องอดนอนผ่อนอาหารล่ะ การอดนอนผ่อนอาหารนี่มันเป็นการเสียเปรียบไหม ในเมื่อเราบิณฑบาตมานี่โอ้โฮ! จนล้นเหลือนะ ทำไมเราฉันแค่เป็นพอประทังชีวิตล่ะ เราไม่เสียเปรียบเหรอ เราอุตส่าห์ไปแบกหามมาขนาดนี้แล้วเราไม่ฉันให้พอใจเรา

เราไม่ฉันเพราะเรามีธรรมไง เราอิ่มในธรรม ธรรมคือความพอดีพองาม ธรรมคือการขัดเกลากิเลส การขัดเกลากิเลสนี้เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เรายืมมานะ เรายืมธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นข้อวัตรปฏิบัติเครื่องดำเนิน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางปฏิปทาเครื่องดำเนินไว้ให้เราก้าวเดิน สิ่งนี้ไม่ใช่สมบัติของเราเลย เป็นสมบัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ฉะนั้น ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติจะกราบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยซึ้งใจมาก เพราะสิ่งนี้เป็นอริยประเพณี ประเพณีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรื่องธุดงควัตรนี่เป็นอริยประเพณีนะ ประเพณีของพระอริยเจ้าไง

สิ่งที่เป็นประเพณีของโลกเขา เดี๋ยวนี้ปัจจุบันนี้เขาเอามาเป็นสินค้า สินค้าก็มีการท่องเที่ยงทางวัฒนธรรม สิ่งที่เป็นประเพณีวัฒนธรรมเขาเอาเป็นสินค้าขายแลกเป็นเงินเป็นทองได้ แต่ในอริยประเพณีของเรานี่มันเกิดขึ้นมาจากหัวใจ ถ้าเราขัดเกลา เราดัดแปลงกิเลสเพื่อจะเอาอริยภูมิของเราขึ้นมานี่ มันเป็นสมบัติของเรานะ

สมบัติของโลกนี้พลัดกันชม สมบัติของโลกนี้เราอาศัยเขาชั่วคราว หรือเขาอาศัยเรา ต้องพลัดพรากจากกันแน่นอน แม้แต่ชีวิตนี้ก็ต้องพลัดพรากจากกันโดยสัจจะความจริง ชีวิตของเรานี่ต้องพลัดพรากแน่นอน ต้องตายแน่นอน แต่การตายออกไปพร้อมกับกิเลส กับการตายของกิเลสในปัจจุบันนี้นะ นี่เพราะอยู่ที่เครื่องดำเนินไง อยู่ที่ข้อวัตรปฏิบัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เรายืมมาแล้วเราพยายามสร้างสมขึ้นมาให้เกิดขึ้นมาจากใจของเรา

ศีล เกิดขึ้นมาจากใจ ใจงดเว้นมันก็เป็นศีล เห็นไหม ใจ ทำความสงบของใจเข้ามา เกิดสมาธิขึ้นมาก็เป็นสมบัติของใจ ใจอิ่มเต็มไง จากหิวโหย กินแต่สารพิษ กินแต่ของที่เป็นพิษกับใจดวงนั้น พอจิตอิ่มเต็มขึ้นมานี่อารมณ์สิ่งต่างๆ เป็นพิษขึ้นมามันจะแยกแยะ มันจะไม่ยอมกินสิ่งนั้น มันจะสร้างปัญญาของมันเป็นคุณสมบัติของเราขึ้นมา

สิ่งที่สมบัติขึ้นมา นี่คือปัญญาของเรา สิ่งที่เป็นปัญญาของเรานี่คุณสมบัติเราเกิดตรงนี้ ถ้าคุณสมบัติของเราเกิดขึ้นมา เราเกิดปัญญาขึ้นมาได้ คือการยกวิปัสสนาได้ ปัญญาในการอบรมสมาธินะเป็นปัญญาในการใคร่ครวญในเรื่องของโลกนี่แหละ สิ่งที่เป็นปัญญาของโลก ความคิด ความปรุง ความแต่งนี่ เราใช้ไป มันคิดขึ้นมามันก็ฉุดกระชากเราไปให้เรามีอารมณ์ฟุ้งซ่านไปกับโลกเขา

เรามีสติสัมปชัญญะ เวลามีความคิดขึ้นมาเราก็ใคร่ครวญความคิด เรามีสติยับยั้งไว้ แล้วเรามีสติตามความคิดของเรานี่ เวลามันปล่อย มันปล่อยวางเข้ามานะ ปล่อยวางอารมณ์ไง นี่เวลาปัญญามันเกิด มันมีรสชาติ มีรสชาติมันก็ฟุ้งซ่านออกไป เวลาสติเราใคร่ครวญทัน สิ่งนี้มันเกิดดับ สิ่งนี้เราเคยอุ่นกินมาตลอดไป เหมือนกับเสลดเราคายทิ้งไปนี่ แล้วเราก็ไปเลียกินมันตลอดไป

ความคิดอย่างนี้ก็เหมือนกัน เวลามันให้ความทุกข์ความร้อนขึ้นมาจากใจนี่มันเกิดจากใจ เกิดดับๆ อย่างนี้ เราก็เจ็บปวดอย่างนี้มากี่รอบ เจ็บปวดแล้วซ้ำแล้วซ้ำเล่า เห็นไหม ปัญญามันใคร่ครวญเข้ามาเห็นโทษอย่างนี้มันก็จะปล่อยวางๆ ปล่อยวางอย่างนี้มันปล่อยวางเข้ามาเป็นปัญญาอบรมสมาธิ ภาวนามยปัญญามันยังเกิดไม่ได้ ถ้ามันเกิดไม่ได้ปล่อยวางเข้ามาอย่างนี้ ปล่อยวางแล้วก็เป็นสิ่งที่ไร้เดียงสาภาวะ มันปล่อยวางเฉยๆ จนกว่ายกวิปัสสนาเป็น

เหมือนกับเราจุดไฟติดน่ะ ถ้ายกขึ้นวิปัสสนาในกาย ในจิต ในธรรมได้ นี่ปัญญาอย่างนี้เกิดขึ้นมาเป็นปัจจัตตัง เป็นสมบัติของใจดวงนั้น ถ้าใจดวงนั้นเกิดสมบัติอย่างนี้ขึ้นมาแล้วมันใคร่ครวญขึ้นมาแยกแยะวิปัสสนาในกายในจิตนี้ ปล่อยให้มันส่วนผสมของมันเป็นอย่างไร

การทำงาน ช่างรถนะ ช่างที่เขาซ่อมรถเขาชำนาญมาก เขาฟังเสียงรถ เสียงเครื่องยนต์นี่เขาจะรู้เลยว่าเครื่องยนต์นี่มันติดขัดอย่างไร เครื่องยนต์นี่มันจะชำรุดตรงไหน เพราะความชำนาญของเขา เขาฟังเครื่องยนต์เขายังรู้เลยว่ามันควรจะซ่อม ควรจะชำรุดอย่างไร เพราะความชำนาญใช่ไหม

อันนี้ก็เหมือนกัน ในเมื่อปัญญามันใคร่ครวญกับจิตใจนี่ ใคร่ครวญมันแยกแยะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันเกิดขึ้นมาอย่างไร พิจารณากาย กายนี่เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ถ้าจิตนี้มีสมาธิ จิตนี้มีพลังงาน ยกขึ้นน้อมไปที่กายจะเห็นสภาวะของกาย ให้กายมันแปรสภาพให้มันเปื่อย ให้มันเน่าไป มันเปื่อยเน่าโดยสัจจะ เห็นไหม

ร่างกายของเรา ถ้าเราตายนี่ โดยข้อเท็จจริงของมัน เพราะร่างกายนี้เป็นวัตถุที่จับต้องได้ แต่ขณะที่เราวิปัสสนานี่เราเห็นกายน่ะ เห็นกายนี้มันเป็นกายของธรรม กายคือจิตมันสงบขึ้นมาแล้วเห็นกายสภาวธรรมเป็นอย่างนั้น มันไม่มีมิติ มันไม่มีกาลเวลา ถ้าสมาธิเรามีพื้นฐาน เราน้อมไป รำพึงไปให้มันเปื่อยให้มันเน่านี่มันจะเป็นเปื่อยสภาวะแบบนั้น เปื่อยเน่าไปตามแต่ใจมันจะเห็น ถ้าใจมันเห็นสภาวะแบบนั้นมันจะเริ่มปล่อยวางสิ่งนี้ เห็นไหม

ปล่อยวางสิ่งนี้เข้ามา มันยังเป็นว่าเรื่องของปัญญา แต่มันโดนสารพิษ โดนกิเลสมันควบคุมไว้ไง มันถึงยังเกิดความลังเลสงสัย “มันเป็นอย่างนี้ มันปล่อยวางอย่างนี้ อย่างนี้น่าจะเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างนี้มันควรจะเป็นธรรม อย่างนี้คือใจของเรารู้แล้ว”

นี่ถ้า “อย่างนี้ อย่างนี้” มันคือความลังเลสงสัย

สิ่งที่ความลังเลสงสัย คือไร้เดียงสา แต่ธรรมที่ไม่ไร้เดียงสา มันจะต้องชำระเข้าไปบ่อยครั้งๆ ถ้ามีครูบาอาจารย์จะจี้เข้าไปตรงนี้ไง จะต้องชี้นำเข้าไปตรงนี้ สิ่งนี้คือการถากการถางของใจดวงนั้น ถ้าใจดวงนั้นมีอำนาจวาสนา จะถากจะถาง จะซ้ำแล้วปล่อยวาง จะปล่อยวางอย่างไรก็แล้วแต่ ถ้ามันไร้เดียงสา มันไม่มีเหตุมีผล มันไม่รู้แจ้ง อย่างนี้เราไม่เอา อย่างนี้เราต้องซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อให้จิตมันเห็นสภาวะตามความเป็นจริงไง

ปัจจัตตังนะ วิปัสสนาไปในกาย พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่ามันปล่อยวาง มันปล่อยอย่างนี้ปล่อยวาง พอปล่อย กายมันเน่าเปื่อยไป ปล่อย พั้บ! ภาพนั้นหาย จิตนี้ว่างหมด ปล่อยหมด ว่าง สุข มีความสุขมาก สุขเพราะมันปล่อยวางกิเลส กิเลสมันเริ่มเบาลงๆ แต่มันไม่ขาด

ถ้าซ้ำไปถึงเวลามันขาด พิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าเวลามันขาด กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ มันจะปล่อยวางจากกัน เห็นแจ้ง ความรู้แจ้งอันนี้เกิดขึ้นมาจากใจดวงนั้น ใจดวงนั้นเห็นสภาวะตามความเป็นจริง เห็นไหม ยถาภูตํ ญาณทสฺสนํ ญาณทัสสะจะเกิดขึ้น ญาณทัสสะจะเกิดคือว่า กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ ปล่อยกัน สักกายทิฏฐิจะปล่อยวางไปจากใจ ความลังเลสงสัยจะไม่มีตรงนั้นเลย สิ่งที่ความลังเลสงสัยไม่มีเพราะมันรู้แจ้งไง

สิ่งที่รู้แจ้งนี้คือธรรมไม่ไร้เดียงสา ธรรมไม่ไร้เดียงสาคือความรู้จริงของใจดวงนั้น ใจดวงนั้นจะปล่อยกิเลสออกไปจากใจเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป เห็นไหม สิ่งที่เป็นความละเอียดอ่อนของกิเลสอันละเอียดนี้มันก็ทำให้เรายังมีความเคลือบแคลง ถ้าใจยังมีความเคลือบแคลง ธรรมที่ละเอียดเข้าไปเราก็ต้องยกขึ้นไป เราต้องมุ่งหน้าเข้าไปสู่ทวนกระแส เข้าไปสู่ที่จิตของเรา

สิ่งที่จิตของเรา เห็นไหม ขันธ์อย่างหยาบ ขันธ์อย่างกลาง ขันธ์อย่างละเอียด ความว่าเป็นขันธ์ กายนอก กายใน กายในกาย มันมีสภาวะแบบนั้น สิ่งที่มีสภาวะแบบนั้นเพราะมันเป็นข้อเท็จจริงของเรื่องของธรรม ธรรมข้อเท็จจริงอย่างนี้ บุรุษ ๘ จำพวก จิตนี้มันพลิกขึ้นมาเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมาจากบุรุษจำพวกหนึ่งๆ ขึ้นไปเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป แล้วใจดวงนั้นรู้เอง รู้ในสถานะของใจที่พัฒนาขึ้นไป

แต่ถ้าไร้เดียงสา มันไม่เข้าใจนะ มันไม่เข้าใจ มันคาดมันหมายว่าจะเป็นอย่างนั้น จะเป็นอย่างนั้น สิ่งนี้มันมีอยู่โดยทุกดวงใจ ใจของเรามี อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สิ่งที่เป็นอวิชชานี้มันมีพลังงานของมัน แต่มันไม่รู้ตัวมันเองไง มันรู้ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราปล่อยวางมาอย่างนี้แล้ว มันเป็นประสบการณ์ของใจดวงนั้น ใจดวงนั้นจะมีข้อเท็จจริงอย่างนี้ฝังอยู่ที่ใจ

มันก็จะว่า ทำแล้วจะเป็นอย่างนี้อีก จะเป็นอย่างนี้อีกไง...มันจะไม่เป็นอย่างนี้หรอก มันจะละเอียดเข้าไปเพราะอะไร เพราะมรรค ๔ ผล ๔ ไง เวลาโสดาปัตติมรรค ความละเอียดอ่อนของสมาธิกับสติส่วนหนึ่ง เวลาสกิทาคามิมรรคนี่ละเอียดเข้าไปอีกเป็นชั้นเป็นตอน ยิ่งอนาคามิมรรค นี่ละเอียดมาก สิ่งที่ละเอียดมากเพราะว่าอะไร เพราะมันเป็นสิ่งที่มหาสติ มหาปัญญา

มหาสติ มหาปัญญานะ จากสติปัญญาเรายังล้มลุกคลุกคลาน ถ้าเป็นมหาสติ มหาปัญญามันจะละเอียดอ่อนขนาดไหน สิ่งที่ละเอียดอ่อนนี่ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ลึกลับมหัศจรรย์มาก แล้วมันจะเป็นสิ่งที่ประจักษ์ เป็นปัจจัตตังกับใจดวงที่ประพฤติปฏิบัติ ผู้ที่ไม่นบน้อมก้มยอมกับกิเลส

ถ้าเรานบน้อมก้มยอมกับกิเลสนะ “เราประพฤติปฏิบัติมาแล้ว เรามีธรรมในหัวใจอยู่แล้วเราก็พออยู่พอกินนะ เราจะอยู่ของเราอย่างนี้” ทำก็สักแต่ว่าทำ การประพฤติปฏิบัติเราทำของเราโดยสักแต่ว่าทำ เราไม่มีความมุมานะไง ถ้าเรามีความมุมานะ เรามีความจงใจ เรามีความตั้งใจนะ ในเมื่อเรายังเป็นโรคอยู่ คนที่เป็นโรคนี่มันต้องรักษาโรคนะ เวลามันแสดงออกมา โรคแสดงออกมานี่ ความเจ็บไข้ได้ป่วยมันต้องมีแน่นอน นี่ความทุกข์ใจมันมีแน่นอน

ความทุกข์ใจนะ พระอานนท์เป็นพระโสดาบันนะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพพานนะ ฟังสิ พระอานนท์นะเป็นพระโสดาบัน “ดวงตาของโลกดับแล้ว เราเป็นผู้ที่อเสขบุคคลอยู่ ยังจะต้องศึกษา ยังจะต้องเล่าเรียนอยู่ ครูบาอาจารย์ก็จะต้องมาพลัดพรากจากไปแล้วนี่” นี่ยังห่วงขนาดนั้นนะ แล้วเราประพฤติปฏิบัติ ทำไมเราไม่ขวนขวาย ทำไมเราไม่จงใจของเรา

เราจงใจเพราะอะไรล่ะ เพราะปัจจุบันนี้การประพฤติปฏิบัติ ครูบาอาจารย์เรายังอยู่ แล้วหมู่สงฆ์ หมู่ที่ประพฤติปฏิบัติยังเป็นสัปปายะ เป็นสิ่งที่เครื่องดำเนิน เป็นสิ่งที่อุ่นใจไง เราประพฤติปฏิบัติโดยที่ว่ามีหมู่คณะ มีสิ่งที่ว่าชักชวนกันดึงกัน เราคบบัณฑิตไง บัณฑิตจะแข่งดี แข่งดีคือการประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงคุณงามความดี ถ้าเราทำความดีเพื่อความดีของเรานะ ใจนี่มันมีคุณสมบัติของมัน

คนจะแข่งขนาดไหน นี้มันเป็นข้อวัตรปฏิบัติ แต่ความเป็นจริงของใจนะ แข่งกันมาขนาดไหน การวิปัสสนา เรายกขึ้นวิปัสสนานี่ซ้ำแล้วซ้ำเล่ากี่หนมันถึงจะปล่อย การปล่อยวาง ปล่อยวางเพราะสติปัญญามันทัน ถ้าสติปัญญามันทันมันเป็นปัจจุบันธรรมนะ ถ้าเป็นสัญญาเป็นการคาดการหมาย ถ้าการคาดการหมายนี้มันจะไม่ปล่อยวาง มันจะยึดยื้อกันอยู่อย่างนั้นในหัวใจนะ เหนื่อยมาก

ในการประพฤติปฏิบัติกำลังของใจ งานของใจนะ เวลาเราเข้าที่ร่ม เราเข้าไปที่ร่มพักผ่อน เราจะมีความสุข เราออกไปตากแดด ออกไปทำงานกลางแจ้ง เราจะมีความร้อน มีความเหนื่อยหน่าย เราจะมีเหงื่อไคลไหลย้อยทั้งร่างกายเลย เวลาวิปัสสนาเป็นแบบนั้น แต่ก็ต้องทำ เพราะในการฆ่ากิเลส คือใช้ปัญญา ปัญญาคือการใคร่ครวญกับความยึดมั่นถือมั่นของใจ ใจนี้มันปล่อยกาย กายนี้ไม่ใช่เรา เรานี้ไม่ใช่กาย แน่นอน มันปล่อยมา แต่สิ่งที่ละเอียดกว่า ว่าลูกว่าหลาน ลูกหลานของกิเลสมันอยู่กับใจของเรา มันก็ต้องยึดมั่นถือมั่นสภาวะแบบนั้น มันยึดของมัน มันเป็นสิ่งที่ว่าเป็นความจริงของเขาอยู่แล้ว แต่เราเอาธรรมเข้าไปเพื่อจะทำลายไง เพื่อจะเจือจานสิ่งนี้ เพื่อให้สิ่งนี้สงบตัวลง เบาตัวลง เพื่อจะให้เรามีโอกาสในการประพฤติปฏิบัติ ในการวิปัสสนา

ถ้าวิปัสสนา เห็นไหม มันจะเริ่มต้นจากการเห็นกายจากภายใน แล้วพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ต้องซ้ำแล้วซ้ำเล่า การซ้ำแล้วซ้ำเล่านั่นคืองานของเรา สิ่งที่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะสิ่งนี้เป็นแก่นของกิเลสไง กิเลสนี้เหนือมาก เหนือกับใจดวงนี้นะ เหนือใจดวงนี้แล้วก็ข่มขี่ใจดวงนี้ แล้วใจดวงนี้ก็มีแต่ความทุกข์

ทุกข์เพราะเราไม่สามารถเห็นหน้าของกิเลสได้ ถ้าเราย้อนกลับเข้าไป ทวนกระแสเข้าไปเห็นหน้าของกิเลสนะ เห็นหน้าของกิเลส กิเลสมันอาศัยอยู่ในสิ่งใด? กิเลสมันอาศัยอยู่ในกายกับจิตนั้น ถ้าเห็นกายสิ่งนั้น จับกิเลสได้ วิปัสสนาจะเกิด วิปัสสนาจะเกิดขึ้นมา นี่ปัญญามันใคร่ครวญ การงานของมันเกิดนะ งานของมันเกิด งานของมันเกิดให้เป็นปัจจุบันตลอดไป สิ่งที่เป็นปัจจุบันคือการเข้าไปคัดง้างกับความเห็นของใจ

ความเคยใจไง ใจเคยสิ่งใด ดูสิ คนสงวนคนรักษา จริตนิสัยของคนชอบไม่เหมือนกัน สิ่งที่ชอบไม่เหมือนกัน เพราะใจมันสะสมมาต่างกัน สิ่งที่ต่างกัน สังคมใดสังคมหนึ่ง ชมรมใดก็แล้วแต่ ชมรมเล่นสิ่งใด เขาจะชอบสิ่งนั้น เขาจะเข้าชมรมของเขาอย่างนั้น เห็นไหม เวลาเข้ากันโดยธาตุ ลูกศิษย์ของพระสารีบุตร นี่ปัญญาทั้งหมด ลูกศิษย์ของพระโมคคัลลานะ นี่ฤทธิ์ทั้งหมด ลูกศิษย์ของพระเทวทัต นี่ลามกทั้งหมดเลย เพราะอะไร เพราะมันเข้ากันโดยธาตุไง

สิ่งที่เขาพูดมาทำไมมันซึ้งใจนัก ทำไมมันฟังแล้วมันเข้ากับความรู้สึกของเรานัก เห็นไหม วัวใครก็เข้าคอกเขาไง จริตนิสัยเป็นแบบใด มันจะเข้ากับสิ่งนั้น เราก็ต้องย้อนกลับเข้ามาดูใจของเรา ถ้ามันชอบกับสิ่งใดล่ะ กาย เวทนา จิต ธรรม สิ่งใดก็ได้ ถ้ามีอำนาจวาสนานะ พิจารณากายซ้ำแล้วซ้ำเล่ามันก็เป็นกายนอก กายใน กายในกาย พิจารณาจิต ขันธ์อย่างหยาบ ขันธ์อย่างกลาง ขันธ์อย่างละเอียด เห็นไหม ครูบาอาจารย์ พิจารณาเวทนามาก่อน พิจารณาธาตุ พิจารณาขันธ์ พิจารณากายแล้วถึงที่สุดแล้วมันพิจารณาไปจนมันเบื่อหน่าย มันไม่ยอมเอากายอีก มันพิจารณา มันยกขึ้นไปเป็นจิต นี่มันเป็นจริตนิสัยของแต่ละดวง

สิ่งที่เป็นจริตนิสัย ขอให้ทำงานซึ่งหน้า ให้เป็นปัจจุบัน ถ้าสิ่งที่เป็นปัจจุบัน มันเกิดขึ้นมาในปัจจุบันนี้ นั่นคืองานในปัจจุบันนี้ ถ้าเป็นปัจจุบันธรรม กิเลสนี้ชำระกันด้วยปัจจุบันธรรม เพราะถ้าทำความสงบของใจขึ้นมาเดี๋ยวนี้ มิติมันไม่มีไง ถ้าไม่มีมิตินี้เป็นปัจจุบันทั้งหมด ถ้าไม่เป็นสมาธิขึ้นมานี่มันมีอดีตอนาคตนะ

ความคิดของเราคิดเดี๋ยวนี้นะ พอคิดอันข้างหน้าต่อไป ขณะความคิดเปลี่ยนมันก็เป็นอดีตอนาคตแล้ว ถ้าเป็นอดีตอนาคต เห็นไหม บาดแผล คือการชำระ คือตอกลิ่มเข้าไประหว่างทำลายกิเลสออกไปจากใจ มันก็เคลื่อน สิ่งที่เคลื่อนมันก็ไม่เป็นความจริง มันก็ไม่เป็นปัจจุบัน เห็นไหม นี่เวลามรรคสามัคคี มันสามัคคีอย่างนี้ไง

สิ่งที่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา มัชฌิมาปฏิปทาที่ไหน เราว่ามัชฌิมาปฏิปทานี่ต้องทำความ...ถ้ากิเลสมันคิดนะ “เราต้องทำสบายๆ ของเรา เราทำความพอใจของเรา นี่มัชฌิมา” นี่กิเลสมันดื้ออยู่ในหัวใจ แล้วมันก็สร้างสิ่งนี้ขึ้นมาในหัวใจของเรา แล้วเราก็หลงเชื่อกิเลสของเรานะ มัชฌิมาของกิเลสมันก็ทำให้เราอ่อนแอ ทำให้การปฏิบัติของเราไม่ได้ก้าวหน้า ถ้าการปฏิบัติของเราไม่ก้าวหน้า เราก็ปฏิบัติแล้วเราก็น้อยเนื้อต่ำใจไง

ถ้าน้อยเนื้อต่ำใจนะ เราต้องพยายามสร้างสมกำลังใจ ถ้ากำลังใจเราเกิดขึ้นมา สิ่งนี้มันเกิดได้ เหมือนกับน้ำ ระเหยได้ มีมากได้น้อยได้ ใจก็เหมือนกัน กำลังใจถ้ามันเข้มแข็งขึ้นมา เราถือธุดงควัตรขึ้นมา เราจะทำข้อไหนก็ได้ เราจะทำอย่างไรก็ได้ แต่ถ้าใจอ่อนแอ มันท้อถอยนะ “สิ่งที่ทำมาแล้วนี่เราทำมาขนาดนี้แล้วเรายังไม่ได้ประโยชน์ ทำแล้วไม่เหมือนครูบาอาจารย์ที่ท่านได้ประโยชน์ของท่าน”

ครูบาอาจารย์ท่านได้ประโยชน์ของท่านเพราะท่านทำจริง แล้วท่านทำโดยปัจจุบัน ท่านทำตามข้อเท็จจริง แต่การทำของเรานี่เราทำแบบเถรส่องบาตรไง เห็นท่านทำเราก็ทำตามท่าน ทำตามท่านนี่เป็นจริตนิสัย เราอาศัยท่าน แต่เราทำแล้วต้องให้มันเกิดขึ้นเป็นความจริงกับเราสิ ถ้ามันเกิดขึ้นมาเดี๋ยวนี้เป็นความจริงกับเราเดี๋ยวนี้ มันก็เป็นผลงานของเราใช่ไหม ถ้าเป็นผลงานของเรามันจะซึ้งใจมากนะ เพราะเป็นผลงานของเรา มันจะปล่อย วิปัสสนาไปจะปล่อยซ้ำแล้วซ้ำเล่า ปล่อยอย่างนั้น

ถ้าปล่อยนี้ ปล่อยมาแล้วไม่มีเหตุมีผล มันไร้เดียงสา แต่ถ้ามันปล่อยแล้ว ซ้ำแล้ว ไร้เดียงสาขนาดไหนเราก็ต้องส่งเสริม การส่งเสริมคือการประพฤติปฏิบัติ เห็นไหม คนจะเป็นเศรษฐีได้นี่เขาต้องรู้จักการเก็บหอมรอมริบนะ เราหาเงินหาทองขึ้นมา เราไม่รู้จักใช้สอย เราสุรุ่ยสุร่ายนี่ เราจะเก็บเงินไม่ได้หรอก เราจะมีรายรับมากขนาดไหน แต่ถ้าเราเป็นคนที่ว่าสุรุ่ยสุร่ายนี่ รายจ่ายไม่พอกับรายรับหรอก

นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อจิตมันสงบขึ้นมา มันพิจารณา มันปล่อยวางขึ้นมาขนาดไหนเราก็ต้องหมั่นเพียรของเรา เราสะสมของเราขึ้นไป สะสมขึ้นไปถึงจุดหนึ่งมันจะเป็นไปตามความเป็นจริงของสัจธรรม ไม่ใช่เป็นความคาดหมายของเรา ถ้าเราคาดเราหมายของเรา เราจะคาดหมายว่าจะต้องเป็นแบบนั้น จะต้องเป็นแบบนั้น

ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างหนึ่ง เราคิด พระสารีบุตรก็อย่างหนึ่ง พระโมคคัลลานะก็อย่างหนึ่ง แล้วเราจะให้เป็นแบบนั้น เป็นแบบนั้น นี่อำนาจวาสนาของคนมันไม่เหมือนกันหรอก เราซ้ำหน้าที่ของเรา คืออยู่ที่เหตุนี้ อยู่ที่ปัจจุบันในการวิปัสสนาในการใช้ปัญญาในการใคร่ครวญอย่างนี้ ถ้าปัญญาใคร่ครวญของเราขึ้นมานี่ มันวิปัสสนานี้คืองานของเรา

ถ้าเรามีงานของเรา เราใคร่ครวญของเรา เห็นไหม ใคร่ครวญด้วยภาวนามยปัญญา ธรรมจักรมันจะเคลื่อนไปหมุนไปตลอดไป ถึงจุดหนึ่งมันมรรคสามัคคี มันรวมตัว สมุจเฉทปหานขาด กายกับจิตนี้แยกออกจากกันโดยสัจจะ เป็นความจริงของมัน ความสุขอย่างนี้เกิดขึ้นมานี่มันบอกใครล่ะ นี่ความรู้แจ้งเกิดขึ้นมาสภาวะแบบนี้ ความรู้แจ้งเกิดขึ้นมาเพราะเราเห็นสมบัติของเราต่อหน้า

เหมือนกับเราทำลายวัตถุสิ่งหนึ่งต่อหน้าเรานี่ สิ่งนั้นละเอียดไปต่อหน้าเรา เราก็เห็นต่อหน้าเรา นี้ก็เหมือนกัน เราวิปัสสนาจนมันขาดต่อหน้าเรานี่ เห็นสภาวะความเป็นไป กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ว่างออกจากกัน แยกออกจากกัน โลกนี้ราบเป็นหน้ากลอง ปล่อยไปหมดเลย สิ่งนี้ปล่อย ว่างหมด นี่ตามข้อเท็จจริง สิ่งที่ตามข้อเท็จจริงเกิดขึ้นมาจากใจ เป็นปัจจัตตัง สิ่งนี้มันเป็นความสุขมาก สิ่งที่เป็นความสุข เห็นไหม ถึงเป็นธรรมของเราไง ธรรมของใจดวงนี้ไง

เวลาทุกข์ ใจดวงนี้เป็นใจที่ทุกข์นะ เวลาใจทุกข์...เรามีความสุขขนาดไหน เราจะมีความสุขขนาดที่ว่าโลกนี้มีแต่ความอุดมสมบูรณ์ไปหมด ถ้าเราสร้างบุญกุศลขึ้นมามากนี่เราจะมีความสุขสมบูรณ์ของเรา แต่หัวใจก็เหงานะ เพราะเวลาเราจะตายนี่คอตกนะ คนเรานี่จะตาย จะต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รัก สิ่งที่รักสิ่งที่สงวนทั้งหลาย จะต้องพลัดพรากจากมัน สิ่งที่พลัดพรากจากมัน ทำไมมันจะไม่เศร้าล่ะ ทำไมมันจะไม่ทุกข์ใจล่ะ นี่เวลาความทุกข์ในใจ หัวใจอย่างนี้มันมีอยู่

แล้วเราเกิดมานี่ งานของโลกเขา มันเป็นเรื่องของโลกนะ คนทำงานขนาดไหน ทำไม่มีวันที่สิ้นสุดหรอก โลกนี้มันพร่องอยู่เป็นนิจ มันจะให้สมบูรณ์เอาจากไหนมาสมบูรณ์ มันก็ต้องทำอยู่สภาวะแบบนี้ โลกนี้เป็นอจินไตย มันต้องเคลื่อนไปโดยธรรมชาติของมัน เราก็อาศัยโลกนี้อยู่ เพราะเราเกิดในวัฏฏะ เราก็วนไปกับโลกนี้ แล้วเราปฏิบัติมาขนาดนี้ เราก็ยังต้องเกิดต้องตายในวัฏฏะนี้ เราจะเกิดตายในวัฏฏะนี้ แล้วเราจะพอใจกับความเป็นไปได้ไหมล่ะ

ถ้าเราไม่พอใจกับความเป็นไปนั้นนะ ถ้าเราประพฤติปฏิบัติ จิตเรามีบุญกุศล เราไปเกิดบนเทวดาเรายังไม่อยากเลย เพราะอะไร เพราะสิ่งนี้มันกำลังเจริญงอกงามขึ้นมาในหัวใจของเรา ในการประพฤติปฏิบัติ เราต้องขวนขวายสิ เราต้องพิจารณาของเรา เราต้องพยายามของเรา ให้สิ่งนี้มันเป็นประโยชน์กับเรา

สิ่งที่เป็นประโยชน์นะ นี่ปัญญาภายใน เวลาผู้ที่เป็นเจ้านาย ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเป็นเจ้านาย ผู้ที่บริหารองค์การต่างๆ เขากำหนดนโยบาย เขาสั่งคำเดียวนะ คนทำงานทำงานทั้งชีวิตบางทีไม่เสร็จนะ โครงการหนึ่งๆ ทำเป็น ๑๐ ปี ๒๐ ปี โครงการนั้นยังไม่เสร็จ นี่ก็เหมือนกัน ปัญญาภายใน ปัญญามันเรื่องนโยบายของใจไง มันย้อนกลับเข้าไปภายใน เพราะนโยบายของใจ เห็นไหม เวลาเกิดขึ้นมานี่ เกิดมาเป็นมนุษย์น่ะมาจากไหน เวลาตายไปจะไปอย่างไรต่อไป แล้วถ้าย้อนกลับเข้ามานี่

ความเป็นนโยบายเป็นนามธรรมจากภายในมันยิ่งมหัศจรรย์มาก เราต้องยิ่งค้นคว้าเข้ามานี่งานมันจะมหาศาลเลย ย้อนกลับเข้าไปถ้าจับสิ่งนี้ได้ เห็นไหม นางตัณหา นางอรดี สิ่งที่เป็นนางตัณหา นางอรดี สิ่งที่เป็นความโลภ ความโกรธ ความหลง มันอยู่ที่ใจ ใจมันจะหลงสิ่งนี้ แล้วมันไม่เห็นตัวของมัน เพราะอะไร เพราะมันละเอียดอ่อน มันอยู่ในหัวใจ

นี่มันถึงว่า ถ้าเป็นความไร้เดียงสา มันจะติดนะ ถ้าสมาธิเป็นปัญญาโดยอัตโนมัตินี่ทำไมผู้ที่ประพฤติปฏิบัติต้องติดในสมาธิล่ะ แม้แต่เราทำลายกิเลส มันเป็นความว่างอย่างนี้ มันก็ติดในความว่าง นี่รู้จริง รู้แจ้ง รู้ตามความเป็นจริงขึ้นมาจากการประพฤติปฏิบัติ แต่กิเลสที่ละเอียดกว่า มันก็ทำให้ต้องไปยอมจำนน ยอมจำนนกับกิเลส ยอมจำนนกับความเห็นของตัว ยอมจำนนสิ่งนี้แล้วก็สิ่งนี้กิเลสมันครอบงำอยู่

เราไม่รู้สิ่งใดเลย มันเป็นความว่าง มันเป็นความสุขมาก เป็นความสุข ติดได้นะ นี่ความไร้เดียงสาของใจ ของธาตุรู้นี่มันน่าสลดสังเวช มันถึงว่าเรามีครูมีอาจารย์ มันเป็นสิ่งที่ประเสริฐมาก ครูบาอาจารย์ ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมํคลมุตฺตมํ เห็นไหม เวลาแสดงธรรมหนึ่ง ถ้าใจของครูบาอาจารย์มีธรรมอยู่ในหัวใจนะ การแสดงธรรมนี่ธรรมออกมาจากใจ มันจะเป็นช่องทางไปเลย

แต่ถ้ามันไม่มีธรรมในหัวใจนะ แสดงออกมานี่มันเป็นสัญญาทั้งหมดไง มันเป็นสัญญา ความคาดความหมาย เพราะอะไร เพราะใจดวงนั้นมันไม่รู้แจ้ง ใจดวงนั้นมันเป็นใจที่ไร้เดียงสา มันไม่รู้สิ่งใดเลย แต่อาศัยสิ่งที่ว่าอยู่ในศาสนานาน ก็ว่ากันไปตามอย่างนั้น

“จิตนิพพานคือจิตเหมือนกับจิตไร้เดียงสา” จิตไร้เดียงสานี่ แม้แต่อุเบกขา อุเบกขามันยังมีตัวตนเลย เวลาจิตมันปล่อยวางเข้ามาถึงที่สุดแล้วนี่มันสว่างขนาดไหนมันก็มีของมันนะ จะสว่าง จะเป็นสภาวะแบบใดมันมีผู้รู้อยู่น่ะ มันมีความเห็นอยู่ในใจ ความเห็นอันนั้นมันเป็นความทุกข์ทั้งหมด เห็นไหม ถ้าย้อนกลับมาสภาวะแบบนี้มันจะเห็นจากภายในไง มันถึงเข้าไป ถึงต้องยกขึ้นวิปัสสนา ถึงต้องพยายามค้นคว้าของใจดวงนั้น

อย่านอนจมนะ อย่านอนจมกับสัมมาสมาธิ อย่านอนจมกับความว่าง อย่านอนจมกับความเห็นของกิเลส อย่าไปยอมจำนนกับกิเลสให้กิเลสมันให้เราเนิ่นช้า ให้เราเสียเวลาในการประพฤติปฏิบัติไง เราต้องมีความตื่นตัวตลอดเวลา เราต้องค้นคว้าของเรา หาเหตุหาผลของใจดวงนั้น ต้องหาเหตุหาผลนะ

เหตุผลไง มรรค ๔ ผล ๔ ทำไมเราไม่เป็นอย่างนั้นล่ะ ทำไมครูบาอาจารย์แสดงธรรมขึ้นมา สนทนาธรรม ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมํคลมุตฺตมํ มันเป็นมงคล ทำไมเราไม่เป็นสภาวะแบบนั้นล่ะ ถ้าเราเป็นสภาวะแบบนั้น เห็นไหม นี่ขั้นตอนที่ ๑ เราก็เข้าใจรู้แจ้ง เราจะเข้าใจตามความเป็นจริง นี่เห็นตามความเป็นจริง กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ เห็นตามความเป็นจริงเพราะเรารู้แจ้ง เวลาจิตมันปล่อยวาง กายกับจิตแยกออกจากกันเราก็รู้แจ้ง

แต่เวลานางตัณหา นางอรดี เรารู้แจ้งได้อย่างไร เราไม่รู้แจ้งเพราะเราไม่เห็น สิ่งที่ไม่เห็น เรารักษาความสงบของใจเราอยู่ เพราะอะไร เพราะเรารักษาความสงบของใจ กิเลสมันก็ไม่แสดงตัว พอกิเลสไม่แสดงตัวเราก็ว่าเรามีความสุข เราก็ว่าเรามีธรรมในหัวใจไง แต่ถ้ายกขึ้นวิปัสสนาไปเห็นสภาวะของกิเลสนะ โอ้โฮ! กามราคะ ใจนี้เป็นกาม ชุ่มไปด้วยกามทั้งหมดเลย

สิ่งที่เป็นกามอย่างนี้ ปัญญาต่อสู้กันน่ะ จะต้องทำลายกันมหาศาล จะต้องใช้ปัญญาอย่างอุกฤษฏ์เพื่อไปทำลายกามภพไง สิ่งที่เป็นภามภพอยู่ในใจตัวนี้ นี่ทำลายมหาศาล สิ่งนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า พิจารณาไป กายเป็นกาย จิตเป็นจิต

จิตกับกาย กายนี้เป็นอสุภะ จิตนี้เป็นจิตละเอียด นี่ขันธ์อันละเอียด ทำลายขันธ์อันละเอียด ปล่อยวางออกมา ปล่อยวางนะ ซ้ำแล้วซ้ำเล่ามันปล่อยวางจนกว่ามันจะกลืนตัวทำลายของมันเอง พอทำลายของมันเองออกไป นี่ฝึกซ้อมใจของเราขึ้นไป

จิตนี้ เวลาปล่อยวางจากกามราคะขึ้นมา นี่นางตัณหา นางอรดีปล่อยวางขันธ์ ลูกของพญามารไง ถ้าปล่อย เห็นไหม ความไร้เดียงสาของใจดวงนั้น ใจดวงนั้นจะไร้เดียงสานะ ปัจจยาการไง อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เห็นไหม อิทปฺปจฺจยตา คือการดำเดินต่อเนื่อง ความสัมผัสของใจ ความสัมผัส เห็นไหม โลกเขาสัมผัสกัน หูกระทบเสียง วัตถุสัมผัสตาที่มันอยากได้ มันถึงมีความคิดค้นคว้าขึ้นมา ธาตุรู้อย่างนี้มันสัมผัสกับขันธ์ สัมผัสกับกายภายใน มันจะสัมผัสกันอย่างนี้มันจะเกิดเป็นธรรมะหยาบๆ มันปล่อยวางสิ่งต่างๆ เข้ามาจนถึงเป็นตัวของมันนะ

ความไร้เดียงสานี้จะมองไม่เห็นเลย จะไม่เห็นตัวตนของจิตดวงนี้ นี่โลกนี้ว่างหมด โลกนี้ว่าง สรรพสิ่งนี้ว่างหมด มันจะเป็นความว่างของใจดวงนั้น ใจดวงนั้นจะว่าสรรพสิ่งว่าง ว่างในความไร้เดียงสาภาวะ ว่างเพราะไม่เห็นตัวมันเอง สิ่งที่จะเห็นตัวมันเองเพราะอะไร มันก็ต้องพลิกสิ่งสภาวะแบบนั้น จะย้อนกลับเข้าไปหาตัวจิตดวงนั้น ถ้าเข้าไปหาจิตดวงนั้น เห็นไหม อรหัตตมรรคเกิดขึ้นมาจากสภาวะสิ่งนี้ สิ่งนี้เกิดขึ้นมา นี่ความไร้เดียงสาภาวะของมัน

ธรรมไม่ไร้เดียงสา สิ่งที่ไม่ไร้เดียงสาเพราะมันมีการทำความสงบของใจ ความดำริชอบ ความเพียรชอบ งานชอบ มันจะเกิดขึ้นมาตามเอโก ธัมโม มรรคจะเกิดขึ้นมา ภาวนามยปัญญาที่ปัญญาอันละเอียด ปัญญาที่ว่าเป็นอีกมิติหนึ่งของปัญญาของโลกเขา โลกเขานี้เป็นปัญญาของเขานี้เป็นปัญญามิติปัญญาของทางโลก ปัญญาของทางธรรมเกิดขึ้นมาเพราะเราวิปัสสนาของเรา เราสร้างสมงานของเราขึ้นมา มันจะเกิดเป็นปัญญาของเราขึ้นมา

ปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทำลายกิเลสขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปัญญาของพระสารีบุตรก็ทำลายกิเลสของพระสารีบุตร แล้วเราจะไปก๊อบปี้ออกมาจากพระไตรปิฎกว่า นี้คือเป็นปัญญา แล้วเราสร้างปัญญาของเราเกิดขึ้นมานี่ นี้คือปัญญาโลก นี้คือธรรมของโลก ธรรมของโลกมันเป็นธรรมไร้เดียงสา ความไร้เดียงสานั้น ใจดวงนั้นจะไม่เป็นประโยชน์กับใจดวงนั้นเลย ใจดวงนั้นจะก๊อบปี้ออกมา แล้วใจดวงนั้นจะสร้างสมสิ่งนี้ขึ้นมา แล้วมันก็มีความทุกข์อยู่ในหัวใจ อุ่นกินอยู่ในหัวใจไง แต่ในหน้าฉาก ก็ว่าตัวเองรู้ธรรม ตัวเองรู้ธรรมไง

สิ่งที่เป็นสภาวธรรม ถึงว่า ธรรมนี้ถ้ามันปล่อยวางเข้าไป จิตนี้มันจะไร้เดียงสา ไร้เดียงสาเพราะจิตมันเป็นความสงบ จิตมันปล่อยวางอารมณ์เข้ามามันก็ไร้เดียงสาของมันไง มันถึงไม่เห็นการทำลายของกิเลส ไม่เห็นมรรคอริยสัจจังเกิดขึ้นมาทำลายในหัวใจ เป็นชั้นเป็นตอนเข้ามาไง เหมือนกับเครื่องนุ่มห่มที่เราทำลายเข้ามาเป็นชั้นเป็นตอนเข้ามา จนถึงที่สุดแล้วเราต้องไปทำลายตัวจิตไง

ตัวจิตคือตัวเหมือนร่างกาย เครื่องนุ่งห่มนี้เรานุ่งห่มที่ร่างกายนี้ใช่ไหม เวลาเครื่องนุ่งห่มเราก็ห่มที่ร่างกายนี้ มันก็สกปรกโสมมเราต้องซักต้องย้อมตลอดไป เราซักสะอาดเป็นชั้นๆ ขึ้นมามันก็สะอาดเข้ามา สะอาดขนาดไหน ถ้ายังมี อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา คือตัวใจตัวนี้ ตัวไร้เดียงสาภาวะตัวนี้คือตัวตนของจริง

ถ้าจิตมีความรู้ มีตัวของตัวมันเอง แล้วมันไร้เดียงสา จะไม่เห็นตัวมัน ถ้ามันไปเห็นตัวของมัน มันจะทำลายตัวของมัน เห็นไหม จะทำลายตัวของมัน เหมือนกับเราทำลายตัวของเรา เราไม่มีตัวของเรา แล้วเครื่องนุ่มห่มมันจะเลอะสิ่งใดล่ะ ตัวเราก็ไม่มี เครื่องนุ่งห่มนี้มันก็เป็นเรื่องของนามธรรมทั้งหมด มันจะไปสกปรกโสมมตรงไหน? มันไม่สกปรกเลย เพราะจิตนี้ไม่มีกิเลส

ถ้าทำลายกิเลส จาก อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา ตัวนี้ จิตตัวนี้ กิเลสตัวนี้ออกไปจากใจตัวนี้ จิตนี้เป็นวิมุตติสุข พ้นออกไป เห็นไหม นิพพานถึงไม่ใช่ไร้เดียงสา นิพพานรู้แจ้งทั้งหมด

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธรรม ธรรมเกิดขึ้นมา ธรรมตั้งแต่หยาบๆ ขึ้นมาก็สอนแต่คฤหัสถ์ขึ้นมา ฆราวาสธรรม ธรรมที่ละเอียดขึ้นมานี่เรื่องของอริยสัจ สิ่งที่เป็นอริยสัจขึ้นมา ทุกข์อยู่ที่ไหน? ทุกข์อยู่ที่ใจ ถ้าจับทุกข์ได้ เห็นตัวทุกข์ได้ ทุกข์ควรกำหนด กำหนดอย่างไร กำหนดลงสิ นี่ร่างกายมันเป็นสถานะรองรับ เห็นสถานะรองรับ จิตดวงนี้เป็นสถานะรองรับของกิเลส นี่วิปัสสนาทำลายตัวนี้ไง

ถ้าทำลายตัวสถานะของมัน ตัณหาความทะยานอยาก อยากให้มันหาย อยากให้มันเป็นอย่างนั้นไป จะต้องทำลายไป เกิดนิโรธ ความว่างหมด นิโรธเกิดขึ้นมาจากมรรคอริยสัจจัง อริยสัจ ๔ จะเกิดขึ้นพร้อมกันเดี๋ยวนั้นในขณะนี้ เหมือนฟ้าแลบพั้บๆ จิตนี้พ้นออกมาจากอริยสัจ พ้นมา จิตนี้กลั่นออกมาจากอริยสัจ พ้นออกมาจากอริยสัจ เห็นตามความเป็นจริง มันจะไปไร้เดียงสาอย่างไร มันจะเห็นตามความเป็นจริงว่ามันปล่อยวางจิตเข้ามาเป็นชั้นเป็นตอนเข้ามา เหมือนเครื่องนุ่งห่มที่เราชำระของมันขึ้นมา แล้วเราก็มาชำระ เราทำลายกายของเรา มันเป็นความมหัศจรรย์ไง

เรารักษาโรคหายแล้ว เราก็ว่ารักษาโรคหาย แต่นี้เวลารักษากิเลสหายนะ ใจก็ไม่มี ร่างกายนี้ไม่มีนะ ตัวอวิชชาโดนทำลายหมด ถ้ามี นั้นคือตัวตน สิ่งที่มีนี่เป็นตัวตนทั้งหมด มันจะไม่มีสิ่งใดเลย มันเป็นวิมุตติพ้นออกไปจากโลกทั้งหมด มันไม่มีสิ่งใดๆ ข้องแวะกับสิ่งนั้นได้ สิ่งนี้พ้นออกไป ธรรมเหนือโลกไง สิ่งที่ธรรมเหนือโลก เกิดขึ้นมาจากครูบาอาจารย์ของเรานะ

วัดป่าสายปฏิบัตินะ ปฏิบัติธรรม ธรรมเหนือโลกไง แต่การประพฤติปฏิบัติของสังคมโลกเขาต้องพัฒนาสังคมขึ้นมาไง ธรรมในโลก ธรรมขับเคลื่อนให้สังคมนั้นพัฒนา สังคมนั้นเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา สังคมของผู้ที่ประพฤติปฏิบัตินั่นน่ะ ทำสังคมขึ้นมาก็สร้างเสนาสนะทางฝ่ายปฏิบัติ สร้างเหตุของการปฏิบัติ เหมือนกับสร้างสิ่งปลูกสร้างขึ้นมาเพื่อจะให้มีการประพฤติปฏิบัติ เพื่อทำสิ่งนี้ขึ้นมาให้เป็นรูปธรรม

แต่ธรรมเหนือโลกของครูบาอาจารย์ นี่เข้าป่า อยู่ในป่าในเขา อยู่ในที่สงบสงัด แล้วเข้ามาพิจารณาหัวใจของเรา เพราะสิ่งที่จะชำระกิเลส ต้องให้ใจดวงนั้นเกิดขึ้น จะต้องเป็นปัญญาจากใจดวงนั้น จะต้องเป็นธรรมที่ไม่ไร้เดียงสาภาวะ เพราะมันเป็นสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ แล้วมันจะทำลายตัวของมันถ้าวิปัสสนาเป็น จะทำลายของมัน นี่เครื่องนุ่งห่มแต่ละชั้นแต่ละตอนขึ้นมา จนถึงทำลายตัวจิต ตัวจิตคือตัวอวิชชา คือจิตปฏิสนธิ คือจิตที่ตายเกิดตายเกิดในวัฏฏะนี้ แต่ละชั้นแต่ละตอน เกิดตายตั้งแต่มีอำนาจวาสนาขนาดไหน แต่ในปัจจุบันนี้เกิดมาเป็นมนุษย์ แล้วออกประพฤติปฏิบัติ ได้บวชเป็นพระ โอกาสประพฤติปฏิบัติมหาศาลมาก นี่ข้อวัตรปฏิปทาเครื่องดำเนินต้องสิ่งนี้เพื่อขัดเกลากิเลส ถึงที่สุดแล้วมันจะต้องไปทำลายกิเลสด้วยภาวนามยปัญญาของเราเอง ถ้าเป็นภาวนามยปัญญาของเราเอง นั้นเป็นสมบัติส่วนตนของเรา ธรรมของเราจะเกิดขึ้น

เราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศึกษาธรรมของครูบาอาจารย์นั้นเป็นประเด็น เป็นคติ เป็นตัวอย่าง จะเกิดธรรมของเราขึ้นมา ถ้าเราปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เอวัง