เทศน์บนศาลา

สังฆะ

๓๑ ก.ค. ๒๕๔๗

 

สังฆะ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๗
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

อันนี้ภาวนานะ นั่งภาวนา

มีหัวใจนะ เราเกิดมามีหัวใจ แล้วตัวหัวใจนี่แหละจะตัวเป็น “สังฆะ” วันนี้วันเกิดของสังฆะ เพราะพระอัญญาโกณฑัญญะเข้าถึงธรรมวันนี้ไง เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศธัมมจักฯ “อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ”

“อัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ” รู้อะไรล่ะ รู้ไง รู้ว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา” แต่ไม่ใช่เรื่องโลก เรื่องของโลก สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา มันแปรสภาพของมันโดยธรรมดาอยู่แล้ว

แต่ถ้าเรื่องของใจล่ะ เรื่องของใจนะ “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา” แม้แต่อารมณ์ที่เกิดขึ้นก็เป็นธรรมดา สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา แต่ถ้าเราเป็นปุถุชน มันไม่ธรรมดา มันไม่ธรรมดาเพราะเรามีอารมณ์มีความรู้สึก มีความรู้สึกนะ

แม้แต่บอกว่าอุเบกขาไง “ปล่อยถึงอุเบกขา ไม่ติดในดีและชั่ว อุเบกขานั้นเป็นธรรม”...นี้เป็นความเข้าใจผิด

สิ่งที่เป็นอุเบกขาเป็นธรรมได้อย่างไร? สิ่งที่เป็นอุเบกขานี้เป็นภวาสวะไง เป็นสถานที่ตั้ง เป็นภพ เป็นเรื่องของใจล้วนๆ เลย มันเป็นเรื่องของอวิชชาทั้งหมดเลย ถ้าสิ่งที่ว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีเกิดขึ้นเป็นธรรมดา” เห็นไหม มันเป็นธรรมดา เกิดขึ้นเป็นธรรมดา มันก็ดับสลายเป็นธรรมดา สิ่งที่ธรรมดามันทำลายกันไง มันไม่ใช่อุเบกขา สิ่งที่อุเบกขา เราปล่อยวางเฉยๆ แล้วสิ่งนั้นไม่ได้ทำลายกัน ถ้าไม่ได้ทำลายกัน สังฆะจะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร

วันนี้วันเกิดของสังฆะ สังฆะในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งแต่พระอัญญาโกณฑัญญะเป็นสงฆ์องค์แรกของโลก ตั้งแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม เห็นไหม มีพระพุทธกับพระธรรม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระพุทธเจ้า เพราะตรัสรู้ธรรมสิ่งนี้ขึ้นมา จนกว่าออกเทศน์ ออกเทศน์สอนปัญจวัคคีย์จน “พระอัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ” นั้นเป็นสังฆะ นั้นเป็นสงฆ์โดยเป้าหมายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

แต่พวกเรานี้เป็นสมมุติสงฆ์

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเผยแผ่ธรรมมาไง ตั้งแต่เทศน์ปัญจวัคคีย์เสร็จแล้วออกมาเทศน์พระยสะ...สงฆ์ ๖๑ องค์เผยแผ่ธรรม

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า

“เรา ๖๑ องค์ พ้นจากสิ่งที่ว่าบ่วงมารที่เป็นโลกและบ่วงของมารที่เป็นทิพย์”

สิ่งที่เป็นโลกคือเรื่องของโลกกับความเป็นทิพย์ สิ่งที่เป็นทิพย์ ถ้าไม่พ้นจากบ่วงเป็นทิพย์ เห็นไหม พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามีไปเกิดไง เกิดบนพรหม ตั้งแต่พรหมลงมา พระอนาคามีเกิดบนพรหมอยู่แล้ว นี่สิ่งที่เป็นทิพย์ไม่พ้นบ่วง ถ้าไม่พ้นบ่วงมันยังเกิดยังตายอยู่ แต่ถ้าพ้นจากบ่วง บ่วงที่เป็นทิพย์

สงฆ์ ๖๑ องค์พ้นจากบ่วงที่เป็นทิพย์และบ่วงที่เป็นของโลก เผยแผ่ธรรมมา

แล้วว่าพระสมัยพุทธกาลถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง ว่าธรรมวินัยเมื่อก่อนนี้น้อย แต่ทำไมพระอรหันต์มาก ปัจจุบันคือตั้งแต่สมัยพุทธกาล เริ่มแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเผยแผ่ธรรมมาเรื่อยๆ แล้วบัญญัติธรรมวินัยมาตลอด บัญญัติธรรมวินัยมาตลอด เพราะมีพระภิกษุทำผิดพลาดไง

สมมุติสงฆ์เกิดขึ้นมาตั้งแต่สงฆ์บวชเข้ามา ตั้งแต่เริ่มต้นบวชเพราะอะไร เริ่มต้นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติธรรมมีความตั้งใจจริงไง

ปัญจวัคคีย์นะ อุปัฏฐากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ ๖ ปีไง อยู่ ๖ ปีเพื่อรอสิ่งนี้ไง พระอัญญาโกณฑัญญะ ตั้งแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดนะ พราหมณ์ที่ทาย พราหมณ์คนอื่นเขาทาย ทายว่า “ถ้าอยู่ในโลกนี้จะเป็นจักรพรรดิ แต่ถ้าเวลาออกบวชจะเป็นพระพุทธเจ้า”

อัญญาโกณฑัญญะทายหน้าเดียวเลยว่า “ต้องเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ต้องเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน” ถึงได้ออกประพฤติปฏิบัติพร้อมไง พร้อมอุปัฏฐากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตลอดมา ๖ ปี

จนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้างดอดอาหาร แล้วกลับมาฉันอาหารไง ปัญจวัคคีย์ถึงทิ้งไง ทิ้งเพราะว่าคิดว่าคนที่พยายามเร่งความเพียรขนาดนั้นยังไปไม่ได้ แล้วถ้าผ่อนความเพียรมา มันจะเป็นไปได้อย่างไร เห็นไหม นี่เรื่องของโลก

“อัตตกิลมถานุโยค กามสุขัลลิกานุโยค”

ถ้าเราอ่อนแอ มันก็เป็นกามสุขัลลิกานุโยค

ถ้าเราเข้มแข็งไป อัตตกิลมถานุโยค อัตตกิลมถานุโยคเพราะจิตใจมันขับดันไง สิ่งที่ขับดันในหัวใจนะ ถ้าเราทำสิ่งใด หัวใจมีกิเลสอยู่มันจะขับดันสิ่งนี้ ขับดันให้ทำสิ่งที่ว่ามันมีตัณหาความทะยานอยากขับดันไป...อัตตกิลมถานุโยค

จนถึงที่สุดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย้อนกลับมาไง ย้อนกลับมาดูอานาปานสติ คือกำหนดลมหายใจเข้าออก กำหนดลม ดูลมเข้า-ดูลมออก จับลมนั้นเข้าไปตลอดไป นี่พอเริ่มจับลมจิตมันก็เริ่มสงบเข้ามา จับกระแสของลมนั้น เพราะตอนนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสรู้ธรรม เห็นไหม พุทธะ-พุทโธยังไม่เกิดไง สิ่งที่ยังไม่เกิด สิ่งที่ว่ากันไปก็ว่ากันไป แต่ความจริงอันนี้ยังไม่เกิด

ถ้าตามลมเข้ามา เห็นไหม จนย้อนกลับไปจนจิตนี้สงบ

ฟังสิ “จิตนี้สงบได้ จิตนี้มีความรู้แปลกประหลาดมหัศจรรย์”

สิ่งที่แปลกประหลาดมหัศจรรย์ออกรู้สิ่งต่างๆ บุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกอดีตชาติได้ ย้อนกลับไปจนไม่มีที่สิ้นสุด ย้อนไปยาวไกลมาก ถึงสิ่งนั้นไม่ใช่ เห็นไหม ความว่าไม่ใช่เพราะอะไร เพราะมันสืบต่อ มันสาวไป มันมีความรู้สึก

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตั้งแต่อยู่กับอาฬารดาบสอยู่แล้ว เวลาเข้าสมาบัติ ๘

อาฬารดาบสบอกว่า “เจ้าชายสิทธัตถะนี้รู้เหมือนเรา ความเข้าใจเหมือนเรา สมาบัติ ๘ ได้เหมือนเรา”...ให้อยู่ช่วยกันสอนลูกศิษย์ไง

สิ่งนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็รู้ว่านี่มันเป็นความสงบเข้ามาเฉยๆ เป็นความสมาบัติ เวลามันสงบเข้ามา ถ้าจะว่าเป็นอุเบกขาก็ได้ เพราะจิตนี้สงบยิ่งกว่าอุเบกขาเพราะอะไร เพราะมันมีสติคุมเข้าไป เป็นสมาบัติ ๘ ไง สิ่งที่เป็นสมาบัติ ๘ มันไม่คิด ถ้ามันคิด มันมีความรู้สึกมันจะเข้าสงบมาได้อย่างไร

สิ่งที่เข้าสงบเข้ามา อากาสานัญจายตนะ อากาศ สิ่งนี้เป็นอากาศทั้งหมด ความรู้สึกก็เป็นอากาศ อากิญจัญญายตนะ วิญญาณัญจายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะคือว่าเป็นสัญญา เป็นความละเอียดที่สุดขนาดไหน มันก็ผ่านตรงนั้นไง เวลาเข้าสมาบัติมันจะเป็นแบบนั้น

เงียบขนาดไหน ปล่อยวางได้ขนาดไหน แต่เจ้าชายสิทธัตถะว่า “ไม่ใช่” ปฏิเสธสิ่งนี้ เพราะว่ามันสงบเข้ามาเฉยๆ ความที่สงบเข้ามา ย้อนกลับเข้ามาเป็นสมาบัติมีความสุขขนาดไหน มีความสุขมากจนสามารถติดสุขได้

ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ติดสุขคือความสงบอันนี้มันมีความร่มเย็นเป็นสุข มันมีความสุขมาก แต่ถ้าเรากระทบสิ่งใดๆ มันก็ออกรับรู้ แต่ถ้าผู้ที่เขาชำนาญการ เขาควบคุมอย่างนี้อยู่ เขาว่าสิ่งนี้เป็นเป้าหมายของเขา เป็นนิพพานของเขา แต่เจ้าชายสิทธัตถะปฏิเสธสิ่งนี้ แม้แต่มากำหนดอานาปานสติเข้าไป จนเข้าไปบุพเพนิวาสานุสติญาณ

ถ้าเราประพฤติปฏิบัติ เราไปเจอสิ่งนี้ เราอาจจะติดสิ่งนี้ได้ แล้วจะหลงใหลสิ่งนี้ว่าเรารู้สิ่งที่แปลกประหลาด รู้สิ่งที่มหัศจรรย์ เพราะมันระลึกอดีตชาติได้ ย้อนกลับไปตั้งแต่พระเวชสันดร ย้อนกลับไป ๑o ชาติ ย้อนกลับไปตลอด เห็นไหม จนไม่มีต้นไม่มีปลาย เป็นความรู้ที่มหัศจรรย์ แต่เจ้าชายสิทธัตถะไม่ตื่นเต้นกับสิ่งนี้เลย เพราะมีประสบการณ์มาตั้งแต่อยู่กับอาฬารดาบส

เวลาเข้าสมาบัตินั้นอยู่แล้ว ถึงย้อนกลับเข้ามาจิตที่ผู้รู้ กลับมาที่ลมหายใจนี้ กำหนดเข้าไปจนออกนะ พอถึงมัชฌิมยาม จิตรับรู้ออกไปจุตูปปาตญาณ ถ้าจิตนี้ดับจะไปเกิดสภาวะตามกรรมอย่างนั้น เห็นจิตนี้ตายแล้วเกิด ตายแล้วเกิดในสถานะ... จุตูปปาตญาณ เห็นสัตว์เกิด จิตนี้ไม่มีที่สิ้นสุด เหมือนต้องเกิดทั้งหมด ตายแล้วต้องเกิดทั้งหมด ย้อนกลับเข้ามาจนเป็นอาสวักขยญาณ อาสวักขยญาณเพราะอะไร

เพราะว่า อวิชชา ปัจจยา สังขารา สังขารา ปัจจยา วิญญาณัง เห็นไหม “อวิชชา” สิ่งที่เป็นอวิชชาคือตัวสกปรกของใจดวงนี้ มันมีอวิชชาอยู่ มันใช้ปัญญาญาณไง อาสวักขยญาณคือว่าองค์ของมรรคมันสมบูรณ์ไง สมบูรณ์เพราะอะไร เพราะความดำริชอบ ความเพียรชอบ งานชอบ...ความเพียรชอบ

เวลาบุพเพนิวาสานุสติญาณย้อนไปอดีต จุตูปปาตญาณนี่ไปอนาคต มันไม่เป็นปัจจุบัน มันไม่ย้อนกลับเข้ามาชำระกิเลสตรงหัวใจนั้น ตรงที่อวิชชาที่สุดอยู่ในหัวใจนั้น พอจิตย้อนกลับเข้ามาตรงอวิชชา เห็นไหม อวิชชาจนเป็นวิชชาไง จนเป็นอาสวักขยญาณคว่ำกิเลสตรงนั้นไง การทำลาย

ถ้าเป็นอุเบกขา เห็นไหม สิ่งที่วางเฉยอยู่ เป็นอุเบกขาอยู่ เป็นสมาธิอยู่ ถ้าติดสิ่งนี้ได้ แต่ขนาดเป็นสมาธิแล้วมีพลังงานออกรับรู้สิ่งต่างๆ ก็ว่าไม่ใช่ อดีตก็ไม่ใช่ อนาคตก็ไม่ใช่ ความรู้ต่างๆ แต่ทำไมเราประพฤติปฏิบัติกัน เวลาจิตสงบเห็นสภาวะต่างๆ ทำไมตื่นเต้นกับสภาวะแบบนั้นล่ะ ความตื่นเต้นสภาวะแบบนั้นมันเป็นเรื่องธรรมดาไง “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องดับไปเป็นธรรมดา” เราไปตื่นเต้นกับความสิ่งที่เป็นธรรมดา เราไปตื่นเต้นนะ

แต่พระอัญญาโกณฑัญญะไม่ตื่นเต้นกับสิ่งนี้ไง เห็นสภาวะการเกิดดับเป็นธรรมดา แต่ตามธรรมดานี่ กิจญาณ สัจญาณ มีกิจมีการกระทำ มีสัจจะความจริงอันนี้เกิดขึ้น กิจในศาสนานี้ทำขึ้น ญาณัง อุทปาทิ ปัญญา อุทปาทิ ญาณเกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้น สิ่งที่เป็นปัญญาเกิดขึ้น เข้าไปชำระสิ่งนี้ นี่สังฆะเกิดจากตรงนี้ สังฆะเกิดขึ้นมาจากหัวใจของพระอัญญาโกณฑัญญะ สงฆ์องค์แรก พี่ชายใหญ่ในศาสนาสมณโคดมคือพระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นสงฆ์องค์แรกของพุทธศาสนานี้ สงฆ์สิ่งนี้เป็นอริยสงฆ์ สงฆ์จากหัวใจ

แต่ในปัจจุบันนี่เห็นไหม สังฆะ สงฆ์ สมมุติสงฆ์ ในเมื่อเราบวชเป็นพระเป็นสมมุติสงฆ์ ทางโลก โลกหมายถึงธรรมวินัยไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมไว้ เรื่องสงฆ์ สังฆะ สงฆ์ถ้าเป็นสมมุติสงฆ์นี้เป็นบุคคลนะ เวลาเราทำอุโบสถ ถ้าเป็นพระองค์เดียวทำอุโบสถนี้เป็นบุคคลอุโบสถ ถ้าพระ ๒ องค์เป็นคณะอุโบสถ พระ ๓ องค์เป็นคณะอุโบสถ เป็นคณะนะ แต่ถ้าสงฆ์ ๔ องค์นี้เป็นสังฆอุโบสถ สังฆะคือสงฆ์ สงฆ์คือ ๔ องค์ขึ้นไป นี้จะเป็นสงฆ์

ถ้าสมมุติสงฆ์ ในเรื่องธรรมวินัยนี้ก็ต้อง ๔ องค์ขึ้นไป นี้คือสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้โดยธรรมวินัย นี่เป็นสมมุติ เป็นบัญญัติ เป็นโลกทั้งหมดเลย แต่ถ้าใจของพระอัญญาโกณฑัญญะ สงฆ์อย่างนั้นเกิดขึ้นมาจากใจดวงนี้ ใจที่เราเกิดตาย เกิดตาย ใจของเราที่เกิดมาเป็นมนุษย์ ใจของเราที่ประพฤติปฏิบัติอยู่นี้ ใจของเราที่บวชเป็นพระอยู่อย่างนี้ไง “สมมุติสงฆ์” เราถึงต้องถือธรรมวินัยไง

เวลาเด็กเขาเล่นขายของนะ เด็กเล็กๆ นี่เล่นกัน เล่นเป็นพระเป็นเจ้า เขาก็สมมุติ เขาก็มีความสุขของเขา เขาก็หัวเราะ เขาก็เล่นไปเพลินของเขานะ สมมุติของเขาซ้อนมา เห็นไหม เด็กมันเล่นกันชั่วครั้งชั่วคราวแต่มันเป็นความเล่นของเด็กๆ ผลมันเกิดในความเล่นเด็กๆ

แต่ถ้าเราบวชเป็นพระ เวลาเราบวชเป็นพระ สงฆ์ยกขึ้นไง จริงตามธรรมวินัย “จริง” จริงตามธรรมวินัย แต่เป็นสมมุติของโลก แต่ก็จริงตามธรรมวินัยเพื่อจะให้เราเข้าถึงการประพฤติปฏิบัติ ถ้าเราเข้าถึงการประพฤติปฏิบัติ เห็นไหม สังคมยอมรับ ประเพณีวัฒนธรรมยอมรับ

“พระเป็นผู้ประเสริฐ” ประเสริฐเพราะว่าปฏิญาณตนว่าจะเป็นผู้ที่ค้นคว้าหาธรรมมาในหัวใจ ถึงเวลากฎหมายถึงยกเว้นทั้งหมด ยกเว้นพระ นี่ยกเว้น กฎหมายไม่บังคับถึงกับพระ ยกเว้นพระไว้เพราะต้องการให้พระนี้ออกค้นคว้าหาใจของตัวเองให้ได้ ทำให้เป็นสังฆะขึ้นมาจากใจของเราให้ได้

ถ้าเป็นสังฆะขึ้นมาจริง ถ้าเป็นสังฆะขึ้นมาจริง เวลาพระอัญญาโกณฑัญญะรู้ธรรมขึ้นมา สีลัพพตปรามาส จะไม่ลูบคลำในศีล ความลังเลสงสัยในธรรมจะไม่มี จิตใจอย่างนี้จะเป็นจิตใจที่ทำความชั่วไม่ได้ จะไม่มีเบื้องหน้าเบื้องหลังไง

แต่ถ้าเราบวชของเราขึ้นมานะ เราเป็นสมมุติสงฆ์ สงฆ์เหมือนกัน แต่มีเบื้องหน้าเบื้องหลัง เบื้องหน้าเบื้องหลังเพราะอะไร เพราะมันมีกิเลสอยู่ในหัวใจ ถ้ามีกิเลส ความดิ้นรนในของใจนี่ กิเลสตัณหาความทะยานอยากทำให้ใจนี้เร่าร้อนมาก ความเร่าร้อนอย่างนี้เป็นความทุกข์ทั้งหมด สิ่งที่เป็นความทุกข์เรากดความลังเลสงสัย แล้วเราการประพฤติปฏิบัติ เหมือนกับข้าราชการ ถ้าข้าราชการทำความผิด โทษของเขาต้องมากขึ้นเพราะอะไร เพราะเขาเป็นข้าราชการแล้วเขาทำความผิด

สงฆ์ก็เหมือนกัน ถ้าเราไปประกาศตัวว่าเป็นสงฆ์ จนศีลธรรมในสังคมเขาให้เกียรติ แต่เรามีความลับลมคมในของเรา เรามีเบื้องหน้าเบื้องหลังของเรา ถ้าเรามีเบื้องหน้าเบื้องหลังของเรา เบื้องหลังของเรา เราทำอย่างไรก็ได้ แต่เบื้องหน้านี่เราก็ว่าเราเป็นสงฆ์ เห็นไหม ปั้นหน้าออกไปทางสังคมอย่างนั้น มันเผาลนใจ สิ่งที่เผาลนใจนี้เป็นความทุกข์นะ แล้วถ้าเป็นความทุกข์ มันจะเป็นสงฆ์ขึ้นมาได้อย่างไร สิ่งที่ว่าเป็นโมฆะไง สิ่งที่โมฆะทำให้เรานี้ไม่สมประโยชน์ของเรา

เวลาประพฤติปฏิบัตินะ เวลาเรามีอาบัติขึ้นมา ถ้าอาบัติแม้แต่เล็กน้อย เวลาเราปฏิบัติ กิเลสมันก็ทำสิ่งนี้ มันเหมือนกับว่า มันเหมือนกับเราเป็นแผลแล้วก็ราดน้ำเกลือ สิ่งที่ราดน้ำเกลือให้มันแสบๆ คันๆ ไง นี้ก็เหมือนกัน ถ้าเรามีอาบัติในหัวใจ กิเลสมันจะเอาสิ่งนี้ มันจะขยายผลสิ่งนี้ แล้วมันจะเป็นความสงบไปได้อย่างไร

มันจะหลอกตัวเองขนาดไหน มันก็หลอกไม่ได้ เพราะอะไร เพราะว่ามันไม่มีความลับของเราไง เวลาเราปิดบังคนอื่น เราปิดบังได้นะ แต่เราปิดบังเราไม่ได้ สิ่งที่ปิดบังเราไม่ได้ มันก็จะขยายผลอันนี้ให้ใหญ่ เว้นไว้แต่มืดไง ผู้ที่มืด ผู้ที่เป็นเหยื่อของกิเลสตัณหา ถ้าตัณหาความทะยานอยากขยายสิ่งนี้ไป สิ่งนี้จะทำเป็นความสกปรกโสมมไง

สิ่งที่สกปรกโสมม เพราะพระในสมัยพุทธกาลถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่แล้ว ว่า “เมื่อก่อนธรรมวินัยน้อย ทำไมพระอรหันต์มากล่ะ เดี๋ยวนี้ธรรมวินัยของเรามากขึ้นมา ทำไมพระที่ว่าประพฤติปฏิบัติมีส่วนน้อยลง”

เพราะสิ่งที่การประพฤติปฏิบัตินี้มันมีลาภ มันมีความสรรเสริญ มีการเคารพนบนอบจากผู้ที่เขาให้เกียรติไง สิ่งที่ให้เกียรติ สังคมให้เกียรติอย่างนี้ แล้วถ้าสิ่งนี้มันเป็นเหยื่อ ถ้าจิตใจของเรากินเหยื่ออย่างนี้ ติดในลาภ ติดในสักการะ ติดในสรรเสริญ มันก็แสวงหาลาภ แสวงหาสักการะ แสวงหาความสรรเสริญ

สิ่งที่แสวงหาความสรรเสริญนะ... ในสมัยพุทธกาล มันมีอยู่คราวหนึ่งที่ว่าข้าวยากหมากแพง พระเขาปรึกษากันว่าเราจะทำอย่างไรในการดำรงชีวิตของเรา ตกลงกันเองนะ ว่าให้พระ ก. บอกพระ ข. ว่าเป็นโสดาบัน พระ ข. บอกพระ ก. เป็นพระสกิทามี พระอนาคามี ต่างคนต่างสรรเสริญกัน จนถึงพรรษานั้น ชาวบ้านแถวนั้นเขาบอกว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมไว้แล้ว การถวายทาน ถ้าเราได้ทำทานกับผู้ที่เป็นพระอริยสงฆ์ เราจะได้บุญกุศลมาก เขาก็พยายามขวนขวายมานะ

แต่พระที่เขาซื่อตรง เขาไม่ประกาศตนของเขา ชาวบ้านเขาก็ไม่สนใจไง เวลาออกพรรษาแล้ว พระนี้จะไปกราบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระส่วนใหญ่ไปกราบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีแต่ผู้ที่ว่าผอมๆ ทั้งนั้นเลย เพราะอะไร เพราะข้าวยากหมากแพงไง มีอยู่ชุดนี้มีแต่ความอ้วนพี

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก “เธออยู่ด้วยอุบายสิ่งใด”

บอกองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “อยู่ด้วยการบอกกันกล่าวโจษกันอย่างนี้”

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “พวกนี้เป็นมหาโจร”

สิ่งที่เป็นมหาโจรเพราะอะไร เพราะติดในลาภ ให้เขาเอาสิ่งนี้มาปรนเปรอตน เอามาปรนเปรอตนเพื่อความสุขของตัว แต่ความเป็นไปในหัวใจนั้นมีหรือไม่มี นี้เป็นมหาโจรไง มหาโจรในพุทธศาสนา มหาโจรในการติดในลาภสักการะ สิ่งนี้มันมีขึ้นมา สิ่งที่เป้าหมายของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ถึงต้องย้อนกลับมาตรงนี้ เป้าหมายเราประพฤติปฏิบัติมาเพื่ออะไร

ปัญจวัคคีย์นะ พระอัญญาโกณฑัญญะออกอุปัฏฐากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ ๖ ปี ก็ปรารถนาเพื่อจะให้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรรลุธรรม เพื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรรลุธรรมแล้วจะได้สั่งสอนเราด้วย เราจะได้อาศัยสิ่งนี้เป็นผู้ที่พยายามจะค้นคว้าให้ใจของเราพ้นออกไปจากกิเลส ตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปไง

เพราะว่ามันเกิดมา ความเกิดความตายในโลกนี้เป็นความทุกข์อย่างยิ่ง สิ่งที่เป็นความทุกข์อย่างยิ่ง สิ่งนี้เป็นสิ่งที่อันตรายอย่างยิ่ง แต่พวกเราเพลินไง กิเลสมันบังตา สิ่งที่บังตามันบังเราไว้ไง เราจะพอใจกับชีวิต ถ้าเรายังมีชีวิตอยู่ เรายังมีเพลิดเพลินในชีวิต แล้วมีการผัดวันประกันพรุ่งนะ เมื่อนั้น เมื่อนั้นจะทำ เห็นไหม

ในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไม่อ้างเล่ห์ไง ร้อนนักก็ว่าไม่ทำงาน หนาวนักก็ว่าไม่ทำงาน นี่ยังเด็กนักยังหนุ่มยังสาวนักก็ยังไม่ทำงาน ให้รอจังหวะ ให้รอเวลา ถึงเวลาเราจะทำงานไง เราก็อ้างเล่ห์ของเราไป แต่เราจะไม่รู้หรอกว่าลมหายใจเข้า ถ้าไม่ออกก็ตาย ลมหายใจออกไม่เข้าก็ตาย ความเกิดและความตายนี้แขวนอยู่บนเส้นด้ายตลอดเวลา แต่เราก็ไม่เข้าใจ

เวลาคนนอนหลับไปโดยไม่ตื่นนี่มีมหาศาลเลย ในโลกนี้มีคนเกิดตลอดเวลา แล้วก็มีคนตายตลอดเวลา แล้วถ้ามันตกถึงเราล่ะ ถ้ามันตกถึงเรา เราก็หมดโอกาส หมดโอกาสเพราะการเกิดและการตายนี้เป็นความมหัศจรรย์มาก ความมหัศจรรย์ของเรื่องของกรรม เราจะไม่เข้าใจเรื่องของกรรมเลย

เรื่องของกรรมเห็นไหม ปัจจุบันนี้เราบอกว่า เราศึกษา เราปฏิบัติธรรม เรามีความมั่นคงมาก เราตายไปเราก็จะปฏิบัติธรรมอีก แล้วถ้าเราตายไป ไปเกิดในสถานะอื่นล่ะ ในสถานะที่ว่ามันมีความสุขล่ะ ความสุขก็เพลินไป เห็นไหม เกิดในสวรรค์ มันก็เพลินไปกับเรื่องของสิ่งที่เป็นทิพย์ทั้งหมด

ถ้าเกิดทางบาปอกุศลพาเกิด เกิดไปในสิ่งที่มีความทุกข์ เราก็ต้องพยายามจะดิ้นรนให้เราพ้นจากทุกข์นั้น เวลาอย่างนั้นมันจะมาได้อย่างไร เราจะประพฤติปฏิบัติไปได้อย่างไร เราคิดเอาเปรียบเทียบไง เอาปัจจุบัน เอาสถานะของมนุษย์เรานี้เปรียบเทียบว่าถ้าเราเกิดอีก เราจะมีอารมณ์ความรู้สึกอย่างนี้ เราไม่เข้าใจหรอกว่าถ้าเราไปตาย ไปเกิดในภพใหม่ ภพใหม่คือเปลี่ยนสถานะใหม่

ถ้าเปลี่ยนสถานะใหม่ ความดีและความชั่วนะ เวลาเราสร้างสม ความดีและความชั่วที่เราสร้างสมนี้ สะสมลงที่สัญญา สัญญาความจำ เราทำสิ่งใดไว้ เราจะปกปิดใครไม่ได้หรอก สัญญานี่มันจะจำไว้ทั้งหมดเลย สัญญา เห็นไหม รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้เป็นขันธ์ ๕... ธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ มนุษย์นี้มีธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ แต่เราไม่เคยเห็นตัวจิตไง

สิ่งที่เป็นตัวจิต ธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ เกิด ถ้าสัญญาเป็นความจริง เราต้องไม่ลืมสิ่งใด เราจะต้องจำได้สิ่งต่างๆ ที่เราเคยผ่านมา เราต้องจำได้หมด ทำไมเดี๋ยวเราก็ลืม ทำไมเดี๋ยวเราก็นึกได้ล่ะ เห็นไหม สัญญาก็เกิดดับ สิ่งที่เกิดดับ เกิดดับเป็นอนิจจังอยู่ตลอดไป แต่สิ่งนี้เวลามันมีสะสม สิ่งที่สะสมจนมีน้ำหนักแล้ว มันย่อยสลายไง ย่อยสลายจากสัญญา ย่อยสลายไปอยู่ใน อวิชชา

ปัจจยา สังขารา สังขารา ปัจจยา วิญญาณัง มันย่อยสลายไปอยู่ในตัวจิต จิตตัวนี้มันตัวพาตัวตายเกิด

สิ่งที่ตายเกิดมันถึงจำว่าเราเป็นมนุษย์ เราอยากประพฤติปฏิบัติ ถ้าเราตายไปเราก็จะปฏิบัติต่อไป ต่อไป มันย่อยสลายไปอยู่ใน อวิชชา ปัจจยา สังขารา สังขารา ปัจจยา วิญญาณัง มันย่อยไปเป็นอารมณ์ความรู้สึก เป็นอำนาจวาสนา มันสะสมมาตรงนั้นไง ถึงว่าจริตนิสัยคนเกิด เกิดตรงนี้ไง เกิดจากปฏิสนธิจิต จิตปฏิสนธิตัวนี้ มันมีสะสมความดีมา มันจะมีออกจริตนิสัยถึงเป็นคุณธรรม

แต่ถ้ามันสะสมสิ่งที่ว่าเป็นบาปอกุศลมา มันจะออกเป็นสิ่งที่ว่าเป็นพาล สิ่งที่เป็นพาล เห็นไหม จิตตัวนี้มันเป็นอยู่ตัวภายใน เราไม่เข้าใจเรื่องของกรรมอย่างนี้ เราถึงชะล่าใจไง แต่ถ้าเราเห็นกรรมอย่างนี้ ถ้าเราเกิดสถานะใหม่ เราจะไม่มีความคิดอย่างนี้ ความคิดว่าแล้วแต่อำนาจวาสนา เกิดในสถานะไหน เว้นแต่ว่าบุญกุศลพาเกิด สิ่งที่เราไปพบพระพุทธศาสนา ในธรรมบทนะ เวลาเทวดาเขาจะสิ้นอายุขัย ความสว่างของเขาจะเริ่มมัวลง มัวลง เขาจะต้องตาย เขาเศร้าสร้อยของเขา แล้วเทวดาเขาจะอวยพรกัน ขอให้เกิดเป็นมนุษย์เถิด แล้วให้พบพระพุทธศาสนา จะได้ประพฤติปฏิบัติ จะได้ทำบุญกุศลให้เกิดเป็นเทวดาอีกไง

แต่ของเราทำบุญกุศลด้วย จะเกิดเป็นเทวดาต่อเมื่อเราตายจากสถานะนี้ จะไปเกิดเป็นเทวดา แต่ถ้าในปัจจุบันนี้เราจะต้องตายชาตินี้ แล้วไม่เกิดอีกไง

ในสังฆะนะ สังฆะที่ ๑ สังฆะที่ ๒ สังฆะที่ ๓ สังฆะที่ ๔ สิ่งที่เป็นสังฆะ จิตมันพัฒนาไปเป็นขั้นเป็นตอนของมันขึ้นไป มรรค ๔ ผล ๔ ทำไมมีนิพพาน ๑ ล่ะ สิ่งที่เป็นนิพพาน ขณะที่เป็นสังฆะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ นี้ ยังเป็นสมมุติบัญญัติตลอดไป สิ่งที่เป็นสมมุติบัญญัติตลอดไปจนถึงที่สุด เป็นนิพพาน ๑

ในมงคล ๓๘ ประการ “ผู้ใดเห็นสมณะเป็นมงคลอย่างยิ่ง” มงคลคือสังฆะ แล้ว “นิพฺพานสจฺฉิกิริยา จ” ถึงนิพพานก็เป็นมงคลอย่างยิ่ง เห็นไหม ถึงที่สุดแล้วจะไม่มีใครเคยเห็นจิตขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย จิตที่เป็นนิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช่ไหม แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่แสดงธรรมอยู่ ๔๕ ปี

สิ่งนี้เป็นขันธ์ไง สิ่งนี้เป็นสมมุติ สิ่งที่สมมุติเกิดขึ้นมาจากเจ้าชายสิทธัตถะ จนใจดวงนั้นเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสวยวิมุตติสุขเห็นไหม จนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพพาน พระอนุรุทธะนั่งอยู่ นั่งอยู่ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพพาน แล้วพระที่นั่งอยู่ด้วยถามขึ้นไงว่า

“ปัจจุบันนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานหรือยัง”

พระอนุรุทธะบอกว่า “ยัง...ในปัจจุบันนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังเข้าสมาบัติอยู่ เข้าตั้งแต่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุถฌาน ขึ้นอากาสานัญจายตนะ เข้าไปแล้วถอยกลับ ถอยกลับ ระหว่างนั้น”

นี่พระอนุรุทธะเห็นจิตขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอนุรุทธะเห็นจิตที่เป็นนิพพานไง จิตที่เป็นนิพพาน จิตที่วิมุตติสุข เพราะอะไร เพราะจิตของพระอนุรุทธะก็เป็นนิพพานเหมือนกัน จิตของพระอนุรุทธะเป็นพระอรหันต์เหมือนกัน

สิ่งที่เป็นพระอรหันต์น่ะ...วิมุตติสุข ถึงเห็นวิมุตติสุขด้วยกัน สิ่งที่เห็นนั้นเป็นความจริง

ถึงบอกว่าสมณะที่ ๑ สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ สมณะที่ ๔ นี้ยังเป็นสมมุติอยู่ จนนิพพาน ๑ นั้นพ้นออกไป แล้วสมณะที่ ๑ จะเกิดขึ้นมาได้อย่างไรล่ะ เกิดขึ้นมาจากใจของเรา ใจของเรานี่แหละ ใจที่ว่าทุกข์ๆ ยากๆ อยู่นี้ ถ้าเราตั้งใจ เห็นไหม ตั้งใจให้เป็นสังฆะ ใจของเราจะเป็นสังฆะ

ในปัจจุบันนี้เราเป็นพระ ก. พระ ข. นาย ก. นาย ข. ก็แล้วแต่ นาย ก. นาย ข. พระ ข. พระ ก. นี้ก็เป็นสมมุติ แต่ถ้าจิตเข้าถึงธรรม จิตนี้ทำความสงบของใจเข้ามา ต้องมีความสงบของใจเข้ามาก่อน ถ้าใจของเราไม่สงบเข้ามา ปัญญาเราจะมีมหาศาลขนาดไหน ความคิดของเราจินตนาการขนาดไหน มันเป็นวงของปัญญาอบรมสมาธิ มันเป็นเรื่องสิ่งที่ว่าใช้ปัญญาขนาดไหน ใคร่ครวญขนาดไหน มันจะปล่อยวางเข้ามา ความปล่อยวางอย่างนี้ เพราะมันเป็นจิตสามัญสำนึกใช่ไหม

เรื่องของโลก ปัญญาที่เราคิดอยู่นี้เป็นปัญญาโลก ปัญญาเราจะมีความรอบรู้ขนาดไหน จะมีปัญญา มีประสบการณ์ขนาดไหน เรื่องนี้เป็นเรื่องของวิชาชีพ เรื่องนี้เป็นเรื่องของโลกทั้งหมดเลย ถ้ามันสงบเข้ามา เราใช้ปัญญาอย่างนี้พิจารณาไป พิจารณาเป็นธรรมก็แล้วแต่ ว่าสิ่งนี้มันเป็นอนิจจัง สิ่งนี้เป็นความคิด เอาความคิดไล่ความคิด นี่มันเป็นสิ่งที่ถึงที่สุดแล้วมันจะปล่อยวาง

สิ่งที่ปล่อยวาง มันก็เข้าอยู่ในสมถะ เข้าอยู่ในความสงบของใจ ถ้าเป็นความสงบของใจ เราเห็นการกระทำของใจ เห็นการเคลื่อนไหวของใจ ในเมื่อใจใช้ความคิด เราพิจารณาของเราไป แล้วมันปล่อยวางเข้ามา เราเข้าใจว่าอันนี้เป็นธรรมไง ถ้าเราเข้าใจว่านี่เป็นธรรม มันเป็นความติดในความเป็นสมาธิไง สิ่งที่ติดในสมาธิ เข้าใจว่าสมาธินี้เป็นธรรม

แต่ถ้าเรามีครูบาอาจารย์ ต้องทำจิตให้สงบเข้ามาก่อน ทำจิตสงบเข้ามา ใช้ปัญญาอบรมสมาธิก็ได้ ใช้กำหนดพุทโธก็ได้ แล้วแต่จริตนิสัย ถ้าจริตของเราทำอย่างไรได้ ต้องทำสิ่งนั้นเข้ามา ถ้าเราไม่ทำจิตของเราให้สงบเข้ามา ภาวนามยปัญญามันเกิดไม่ได้ ถ้าภาวนามยปัญญาไม่เกิด ความคิดความเห็นที่เราเกิดขึ้นมาแล้วมันพิจารณาไป มันปล่อยวางขนาดไหน มันปล่อยวางมาในวงของสมถะเท่านั้น เท่านั้นตลอดไปเพราะมันเป็นโลกียปัญญาไง

สิ่งที่เป็นโลกียปัญญาแต่เราไม่เข้าใจว่าสิ่งนี้เป็นโลกียปัญญาเพราะมันเกิดจากเรา เรามีตัณหา เรามีความทะยานอยาก เรามีกิเลสอยู่ แต่ความกิเลสนี้มันจะบังความคิดของเราแล้วเอากิเลสนี้เทียบเคียง สิ่งที่เทียบเคียงไปก็ว่าสิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งนี้เป็นธรรม เป็นธรรมโดยความเห็นของกิเลส ไม่ใช่เป็นธรรมโดยความเป็นธรรม เป็นธรรมโดยความเห็นของกิเลส กิเลสก็คาดหมายไป มันถึงว่าเป็นมรรคหยาบขึ้นมาก่อน

ดูสิ ดูอย่างมรรค ๘ เห็นไหม สัมมาอาชีวะของโลกเขา เขาประกอบสัมมาอาชีวะของโลกเขา ถ้าพระเราไม่ได้ปฏิบัติก็ต้องคิดว่าสัมมาอาชีวะ เพราะมันตรงกับตัวอักษร ตรงกับธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า การเลี้ยงชีพชอบนี้เป็นมรรค ความเลี้ยงชีพชอบไง

แล้วถ้าไก่มันขุดเขี่ย คุ้ยเขี่ยอาหารของมัน มันเป็นสัมมาอาชีวะไหม แล้วสัตว์ที่มันหากินของมันโดยธรรมชาติของมัน มันเป็นสัมมาอาชีวะไหม แม้แต่สัตว์มันกินหญ้าของมัน มันก็เป็นสัมมาอาชีวะ ถ้าสัมมาอาชีวะนั้นมันเป็นมรรค สัตว์มันก็เป็นสัมมาอาชีวะได้ ในเมื่อมันก็ไม่ได้เบียดเบียนใคร มันก็กินหญ้าของมัน มันก็กินคุ้ยเขี่ยกินแมลงของมัน สัตว์มันก็เป็นสัมมาอาชีวะ สิ่งที่เป็นสัมมาอาชีวะคือการเลี้ยงชีพอย่างนี้ คือการเลี้ยงชีพโดยสัญชาตญาณ เกิดมาในสถานะไหนมันก็ต้องเลี้ยงชีพไปสถานะนั้น

เราเกิดมาเป็นมนุษย์เราก็เลี้ยงชีพของเราในสถานะของมนุษย์ เลี้ยงชีพชอบสิ่งนี้มันเป็นศีลธรรม จริยธรรม แต่ถ้าการเลี้ยงชีพด้วยถูกต้อง เลี้ยงชีพด้วยความเป็นธรรม มันจะย้อนกลับเข้ามา ทำความสงบของใจเข้านี่ ถ้ามันคิดฟุ้งซ่าน มันเลี้ยงสัมมาอาชีวะ มันเลี้ยงชีวิตผิด แล้วเราพยายามใช้ไง ใช้ความกด ใช้สติ ใช้ความคิดของเรา ใคร่ครวญเข้ามาเป็นปัญญาอบรมสมาธิ ให้มันเกิดเป็นโลกุตตรธรรม ถ้ามันไม่เกิดเป็นโลกุตตรธรรม มันเป็นโลกียธรรม

โลกียะเห็นไหม ฌานโลกีย์ ดูสิ พระเทวทัตเหาะเหินเดินฟ้าได้ นี่ฌานโลกีย์ ถ้าฌานโลกีย์ เวลากิเลสมันเกิด มันควบคุมกิเลสไม่ได้ไง เวลาเราทำความสงบเข้ามา มันสงบได้ แล้วเราก็ทำความสงบ เห็นไหม เรารำพึงกัน เหาะเหินเดินฟ้านี้ได้ เข้าสมาบัติแล้วตั้งใจไว้เลยว่าเราจะเหาะเหินเดินฟ้า แล้วเราก็เข้าสมาบัติ พอเข้าสมาบัติ จิตกำหนดเข้าไปถึงจุดที่จิตสงบถึงจุดๆ หนึ่ง มันเป็นไปโดยพลังงานของใจ ใจทำได้สภาวะแบบนั้น สิ่งนี้ แล้วกิเลสมันถลอกปอกเปลือกไปตรงไหน กิเลสมันโดนสิ่งใดชำระมัน มันกลับไปเสริมไง เสริมให้สิ่งนั้นออกไปเป็นเรื่องของโลกไง นี่โลกียปัญญา

สิ่งที่โลกียปัญญา สิ่งกิเลสในหัวใจมันขับไส กิเลสตัณหาความทะยานอยากขับไส ทำไมทำให้พระเทวทัตอยากปกครองสงฆ์ล่ะ ทำไมให้เป็นพระเทวทัตทำขนาดที่ว่าพยายามปลงพระชนม์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ล่ะ ทั้งๆ ที่เหาะเหินเดินฟ้าได้นะ มันถึงว่าเรื่องของโลกียฌาน เรื่องของโลกียปัญญา

สิ่งที่โลกียปัญญา มันเป็นเรื่องของศักยภาพของมนุษย์ ศักยภาพของเทวดา อินทร์ พรหม ผู้ที่มีปัญญาเหมือนกับการสร้างสมบุญญาธิการมา เหมือนกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนาพุทธภูมิ มีแต่สลับ มีแต่ให้ มันเป็นสัมมา สัมมาคือความถูกต้องทั้งหมด มันไม่มีการเบียดเบียนไง

แต่ถ้าเป็นมิจฉา มีแต่การเบียดเบียนกัน มีแต่แก่งแย่งกัน แล้วจริตนิสัยมันฝังมาในใจดวงนั้น ถ้าใจดวงนั้นเป็นสภาวะแบบนั้น มันเบียดเบียนเขาตลอดไป แต่ถ้าใจดวงนั้นเป็นสิ่งที่ว่าเป็นสัมมา มันยังประเสริฐ ใจดวงนั้นมันทำลายเขาไม่ได้ สิ่งนี้ทำลายเขาไม่ได้นะ แต่มันไม่ได้ทำลายกิเลส มันทำลายเขาไม่ได้คือมันไม่เบียดเบียนคนอื่นไง แต่ในหัวใจของมัน มันเป็นสิ่งที่ว่าเป็นคนมีคุณธรรม

สิ่งที่มีคุณธรรมมันก็เวียนไปในวัฏฏะ วัฏฏะคือการเกิดและการตาย ตายในวัฏฏะนี้ เกิดในสถานะไหนก็ได้ สิ่งนี้มีอยู่แล้ว วัฏฏะมีอยู่โดยดั้งเดิม สิ่งนี้มีอยู่โดยดั้งเดิม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามารู้สิ่งนี้ไง สิ่งนี้เป็นสถานะของมิติที่มีอยู่นะ แต่ถ้าปัญญามันเข้าถึงสมาบัติ เข้าถึงความเป็นไป จะเห็นสภาวะแบบนั้น ทำไมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย้อนกลับได้ เห็นได้หมดล่ะ

สิ่งที่ย้อนกลับได้เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสรู้ด้วย แต่ถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้ว เห็นไหม ลงจากเขาคิชฌกูฏ เวลาพระโมคคัลลานะเห็นเปรตลอยจากเขาคิชฌกูฏ กับพระที่เดินไปด้วยเห็นพระโมคคัลลานะยิ้ม จนพระที่เดินไปด้วย “พระโมคคัลลานะยิ้มอะไร” พระโมคคัลลานะยังไม่พูด จะพูดต่อหน้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พอไปถึงหน้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้นถามขึ้นมา พระโมคคัลลานะบอก “เห็นเปรตลอยอยู่ ลอยไปตามแต่กรรมของเปรต แล้วขนหลุดออกไปกลายเป็นเหล็กเป็นแหลมทิ่มกลับมาที่ตัว ร้องเจ็บปวดโอดโอยอยู่ขนาดไหน สภาวะกรรมก็มีสภาวะแบบนั้น” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพยากรณ์ว่าท่านก็เห็น

พระอรหันต์ จิตที่สงบแล้ว จิตที่มันเป็นวิมุตติสุข เป็นวิมุตติ จิตนี้มันไม่มีกิเลส มันไม่มีการขับเคลื่อนออกมาให้เป็นสิ่งที่เป็นอกุศลต่างๆ มันจะเห็นสภาวะแบบนั้น สิ่งที่สภาวะแบบนั้นแล้วแต่จริตนิสัย พระอรหันต์มีหลายประเภท หลายประเภทเพราะแล้วแต่อำนาจวาสนาผู้ที่สั่งสมบุญญาธิการมา เป็นพระอรหันต์เหมือนกัน แต่ความรู้ความเห็นต่างๆ กัน

เพราะแม้แต่เวลาความบริสุทธิ์ของใจ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เป็นพระอรหันต์ พระอัครสาวกต่างๆ ก็เป็นพระอรหันต์ แต่ความเห็นไม่เหมือนกัน เพราะการสร้างสมอันนั้นไม่เหมือนกัน แต่ความบริสุทธิ์เหมือนกัน ธรรมวินัยก็เหมือนกัน วางธรรมวินัยไว้เพื่อจะให้เราก้าวเดิน เพื่อจะเข้าถึงตรงนี้ไง นี่ถึงบอกเป็นสมมุติสงฆ์

ถ้าสมมุติสงฆ์พยายามทำใจของตัวเองสงบเข้ามา จากพอจิตสงบเข้ามา ยกขึ้นเดินโสดาปัตติมรรค เห็นไหม บุคคล ๘ จำพวก สมณะที่ ๑ ถ้าสมณะที่ ๑ ทำให้จิตสงบเข้ามา ถ้าจิตสงบเข้ามาแล้วยกขึ้นวิปัสสนาในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม ถ้าเดินถูกต้องตามมรรค นี่บุคคลที่ ๑ แล้วสมณะที่ ๑ สมณะที่ ๒...สังฆะที่ ๑ สังฆะที่ ๒ จะเกิดขึ้นมาจากใจ

ถ้าสังฆะที่ ๑ เกิดขึ้น แล้วเราทำของเราไม่ถูกต้อง เวลามันเสื่อมไป สังฆะที่ ๑ เกิดขึ้นเพราะจิตเราสงบ พอจิตเราสงบขึ้นมา เราวิปัสสนาในกาย ถ้าเราเอากายเข้ามาวิปัสสนา ในกาย ในจิต ถ้าวิปัสสนา ถ้ามันปล่อยวาง พอปล่อยวางเราเข้าใจว่าเป็นผล สิ่งที่เป็นผลนะ สุดท้ายแล้วเราก็ถนอมรักษาสิ่งนี้

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ชม เพราะว่ามันไม่มีการกระทำ มันไม่มีการกระทำเข้าไปทำลายเหมือนกับพระอัญญาโกณฑัญญะ พระอัญญาโกณฑัญญะเข้ามา กิจญาณ สัจญาณเข้าไปทำลายสิ่งนั้น จนพระอัญญาโกณฑัญญะรู้แล้วหนอ สังฆะเกิดขึ้นมาอย่างนั้น

เราวิปัสสนากายกัน เราวิปัสสนากาย ปล่อยวาง ปล่อยวาง ปล่อยวางขนาดไหนก็แล้วแต่ เราต้องซ้ำ พยายามซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อการคราดสิ่งที่เป็นวัชพืชออกจากใจให้ได้ ถ้าเราคราดสิ่งที่เป็นวัชพืช คราดสิ่งที่เป็นกิเลสตัณหาในหัวใจของเราออกมา ใจของเราจะสะอาดขึ้นมานะ ใจตัวนี้ต่างหาก ใจดวงนี้มันจะพัฒนาของมันขึ้นไปเป็นสังฆะ จิตที่เป็นสังฆะ

สังฆะเกิดที่ไหน สังฆะเกิดที่หัวใจของสัตว์โลก นางวิสาขาไม่ได้บวชนะ นางวิสาขาก็เป็นพระโสดาบัน อนาถบิณฑิกเศรษฐีก็ไม่ได้บวช เป็นสังฆะขึ้นมาได้ สังฆะเกิดขึ้นมาจากใจ

แต่ถ้าเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา “สังฆะ” สมมุติสงฆ์นี้มันเป็นโอกาส มันเป็นอำนาจวาสนา อำนาจวาสนาเหมือนกับนักกีฬาเลย นักกีฬาในปัจจุบันนี้จะต้องทำแต้ม จะต้องทำระดับของตัวเองให้เข้าถึงโอกาสนั้น ถึงจะได้เข้าไปแข่งขันไง นี่ก็เหมือนกัน เราเป็นพระ เราปฏิญาณว่าเราเป็นพระ สงฆ์ยกขึ้นมาในหมู่ มันมีโอกาสมีวาสนามาก สมมุติสงฆ์ แต่ถ้าเราทำใจของเราขึ้นมาจนเป็นความบริสุทธิ์ผุดผ่อง ถ้าบริสุทธิ์ผุดผ่อง

“เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องดับไปเป็นธรรมดา”

สิ่งนี้เกิดขึ้นมาแล้ว นี่สีลัพพตปรามาส จะไม่มีการลูบคลำในศีลไง ศีลนี้จะเป็นความจริงในใจดวงนั้น พระโสดาบันจะทำสิ่งที่ว่าเป็นอกุศลไม่ได้เลย เว้นไว้แต่... เว้นไว้แต่สิ่งที่ว่ามันสติไม่พร้อมไง เพราะอะไร เพราะสติยังไม่สมบูรณ์ ถ้าสติไม่สมบูรณ์ ๑ กรรมของสัตว์ ๑

สิ่งที่กรรมของสัตว์สภาวะเป็นไป เห็นไหม แต่เกิดขึ้นมาจากเจตนาทำความผิดของพระโสดาบันไม่มี สิ่งที่เกิดขึ้นจากความผิดอย่างนั้น เพราะกิเลสสิ่งที่มันมีแสดงออกของมันโดยตัณหาความทะยานอยากโดยธรรมชาติของมัน มันโดนหักแล้ว มันโดนทำลายออกไปจากใจแล้ว

สิ่งที่ทำลายออกไปจากใจ ถึงมีการขวนขวาย มีความสุขของใจดวงนั้น มีความพอใจกับใจดวงนั้น ใจดวงนั้นจะมีแต่ความองอาจกล้าหาญจากการประพฤติปฏิบัติ เหมือนกับเราแสวงหาสิ่งที่ว่าเป็นเพชรเป็นพลอย แต่เราไม่เคยเห็นว่าสิ่งที่เป็นเพชรเป็นพลอยเป็นอะไร เราก็มีแต่ความคาดหมายไปตลอดนะ ว่าสิ่งนั้นเป็นเพชร สิ่งนี้เป็นเพชรใช่ไหม สิ่งนี้เป็นเพชรใช่ไหม ไปถามผู้รู้ว่าไม่ใช่ ไม่ใช่

แต่ถ้าเราเจอเพชรเมื่อไร สิ่งนั้นเป็นความเห็นของเรา ครูบาอาจารย์ก็บอกว่าเป็นเพชรเหมือนกัน สิ่งที่เป็นเพชรของเราในหัวใจ นี้คือการเราค้นคว้าของเราขึ้นมาจากใจดวงนี้ สิ่งนี้ถึงเป็นบุญกุศล เป็นบุญกุศลนะ ถ้าไม่มีบุญกุศล เราจะทำสิ่งนี้ขึ้นมาได้ไหม สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากในหัวใจของเรา

เวลาทุกข์ร้อน ทุกข์ร้อนมาก สิ่งที่ทุกข์ร้อนเพราะมันบีบบี้สีไฟในหัวใจของเรา กิเลสตัณหานี้มันจะบีบบี้สีไฟมาก แล้วเราเกิดมาพบพระพุทธศาสนา พระอัญญาโกณฑัญญะเป็นสงฆ์องค์แรกของโลกนะ สงฆ์องค์แรกเกิดขึ้นมา แล้วสงฆ์ของเรา เราจะเกิดขึ้นมาได้ไหม ถ้าสังฆะอันนี้จะเกิดขึ้น สังฆะที่ ๑ เกิดขึ้นมาในหัวใจดวงนั้น ในหัวใจดวงนั้นจะเป็นสิ่งที่มั่นคง มั่นคง

เพราะว่าถ้าปล่อยพลาดไปอนาคตเกิดอีก ๗ ชาติ เกิดอีก ๗ ชาติคือเข้ากระแสของการที่ว่าจะไม่มีต้นไม่มีปลาย เหมือนกับวนไปในวัฏฏะที่จิตต้องเกิดต้องตายไม่มีต้นไม่มีปลายนะ ถ้าถึงที่เราตกในบุญกุศลขึ้นมา มันก็มีความสุข ถ้าเกิดตกในบาปอกุศลมันก็มีความทุกข์เวียนไปแบบนั้น แต่จิตของพระโสดาบันนี้อีก ๗ ชาติอย่างมาก ในการประพฤติปฏิบัติพระอานนท์ปฏิบัติตั้งแต่พระโสดาบัน จนในชาติปัจจุบันนั้นทำลายกิเลสออก

สังฆะที่ ๒ จะเกิดขึ้นมาถ้าเราทำของเราขึ้นไป เราต้องหมุนให้ใจของเราพัฒนาขึ้นไป เพราะสังฆะที่ ๑ กับสังฆะที่ ๒ ต่างกัน ต่างกันโดยความเห็นของในความรู้สึกของใจไง

ในความสกปรกของใจ กิเลสมันมีอำนาจมาก มันก็จะทำลายได้มาก แต่ถ้าเราฆ่ากิเลสไปแล้ว ความหยาบของกิเลสนี้มันโดนทำลายออกไป ใจนี้มันก็มีความสะอาด มีความสุขส่วนหนึ่ง แต่มีสิ่งที่ละเอียดขึ้นมา ถ้าเราทำพยายามวิปัสสนาเข้าไป ทำลายตรงนั้นให้ได้ ถ้ามันสะอาดขึ้นมา สมณะที่ ๒ สังฆะที่ ๒ ขึ้นมา กายกับจิตจะแยกออกจากกัน สิ่งที่แยกออกจากกัน

นี่ติดได้ ติดเพราะอะไร เพราะว่าสิ่งที่เป็นความว่าง สมาธิก็เป็นความว่างนะ เราพิจารณาของเราแล้วปล่อยวางเฉยๆ มันก็เป็นสมาธิ ปล่อยวางเฉยๆ คือปล่อยวางแบบโลกียะ สิ่งที่เป็น

โลกียะมันก็มีความว่างเหมือนกัน มันมีความสุขของมันเหมือนกัน

ถ้าเราเห็นว่าความว่าง ความสุขนี้ เพราะเราไม่เคยเห็นความว่าง เราไม่เคยเห็นความว่าง มันจะมีความสุขขนาดไหน เราก็คาดหมายของเราไปว่าสิ่งนี้เป็นธรรม สิ่งนี้เป็นธรรมไง เราก็ติด แต่ขณะที่ว่าเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมาเป็นสังฆะที่ ๒ มันปล่อยวางกายกับจิตแยกออกจากกัน มันก็ติดได้ ติดได้คือความมหัศจรรย์ด้วย มหัศจรรย์เพราะเราจะไม่เห็นข้างหน้า เราเข้าใจว่านี้เป็นวิมุตติสุข มันเป็นความว่างอย่างนี้

ถ้าเป็นวิมุตติสุข ถ้าเราติด กิเลสอย่างละเอียดมันจะไม่แสดงตัวเลย มันจะสงบเสงี่ยมอยู่ในความรู้สึกอันนั้น เพราะมันต้องการให้เราเป็นเหยื่อของมันไง ต้องการให้สถานะของจิต ภวาสวะ ฐานของใจยังอยู่ กิเลสมันก็ยังมีที่อยู่อาศัย เห็นไหม มันจะไม่แสดงตัว ถ้าติดนะ

“หลง” หลงคือไม่รู้ ถ้าหลงคือไม่รู้ จะไม่รู้เลยว่าเรายังมีกิเลสอยู่ เรายังมีสมุทัยอยู่ในหัวใจ จะไม่เห็นสภาวะแบบนั้น ถึงติดไง ติดเพราะไม่รู้ ติดเพราะความเป็นไป แล้วจะมีติดอยู่อย่างนั้น จะมีความสุขอย่างนั้น รักษาสถานะอย่างนั้นแล้วไม่เสื่อม ไม่เสื่อมเพราะมันทำลายกิเลสมาเป็นสังฆะที่ ๒ ความที่ไม่เสื่อมเป็นอกุปปธรรม มันจะรับรองสถานะนั้นไว้ ติดสภาวะแบบนี้ไง

แต่ถ้ามีครูบาอาจารย์เคาะสิ่งนี้ออกนะ...ออก เวลาออกจิตสงบเข้ามาแล้วยกขึ้นไง ยกขึ้นนะ เวลาจิตที่มันปล่อยวาง มันว่าง ทำไมมันไม่ยกขึ้นล่ะ มันยกขึ้นไม่ได้เพราะกิเลสส่วนละเอียดมันกล่อม กล่อมให้ใจดวงนี้ติดสภาวะแบบนี้ แล้วมันก็เข้าใจว่านี้คือธรรมไง ก็นอนจมอยู่อย่างนั้น เสวยสุขว่านี่คือธรรม “ธรรม” สภาวธรรมแบบนั้น ทั้งๆ ที่ความดีกว่านี้ยังมีอยู่ ความว่าง ความสุขที่มากกว่านี้ยังมีอยู่ไง นี่ติดสุข

ติดสุขโดยสัมมาสมาธิ ๑

ติดสุขโดยเราเป็นโลกียฌาน ๑

ติดสุขในผลก็ติดสุข

ในการประพฤติปฏิบัติมันถึงว่าสัปปายะ ๔ ครูบาอาจารย์สำคัญมาก นี่สัปปายะ ๔ ครูบาอาจารย์ ๑ อาหาร ๑ หมู่คณะ ๑ ที่อยู่อาศัย ๑ นี่สัปปายะการหา แล้วมันจะหาพบเสร็จสมบูรณ์ขนาดไหนล่ะ

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเผยแผ่ธรรมอยู่ ออกวิเวกไปตลอด จำพรรษาแล้วเคลื่อนไปตลอด องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่อยู่เป็นหลักเป็นแหล่งนะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเผยแผ่ธรรมไปเพื่อให้ธรรมนี้กว้างขวาง เผยแผ่ไป เคลื่อนไปตลอด แล้วเราจะไปหาว่าที่ไหนมันจะแบบว่าสัปปายะ ๔ สมบูรณ์ล่ะ

โอกาสและวาสนาของเรา ถ้าเรามีโอกาสวาสนาของเรา เราจะเจอเป็นครั้งเป็นคราว สิ่งเห็นไหม เราไม่พลัดพรากจากเขา เขาก็ต้องพลัดพรากจากเรา มันต้องพลัดพรากจากกัน เรื่องของความพลัดพราก โลกนี้เป็นเรื่องของความพลัดพราก เรื่องนี้เป็นเรื่องของโอกาสชั่วครั้งชั่วคราว ชั่วครั้งชั่วคราวถ้าเราอยู่ด้วยกัน ๑ ชีวิตมันก็ชั่วครั้งชั่วคราวใน ๑๐๐ ปีนะ ถ้าเราอยู่ด้วยกันแค่ชั่วครั้งชั่วคราว มันก็ชั่วครั้งชั่วคราว เห็นไหม มันพลัดพรากอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่พลัดพรากอยู่ตลอดเวลา มันถึงว่าจะให้เป็นสมบูรณ์อย่างนี้มันมีน้อยมาก ยกเว้นไว้แต่สหชาติ

สิ่งที่สหชาติในสมัยพุทธกาล ความปรารถนาของผู้ที่เกิดมาพร้อมกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นคือสหชาติ คือปรารถนาสิ่งเข้ามาเกิดพร้อมกัน ๑ เกิดให้พบ พระสารีบุตรปรารถนาว่าจะเป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวากับพระโมคคัลลานะ แล้วก็ต้องสร้างบุญกุศลขึ้นมา เห็นไหม พระอัครสาวกก็ต้องสร้างบุญกุศลขึ้นมาเพื่อให้อินทรีย์แก่กล้าในสถานะนั้น

เวลาพระสารีบุตรเทศน์ธรรมะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะรับประกันว่า “ถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์ ก็จะเทศน์แบบพระสารีบุตรนี่แหละ” เห็นไหม คือเป็นเสนาบดีโดยธรรม สิ่งที่มีปัญญาเพราะอะไร เพราะการสร้างสมสิ่งนี้มาถึงได้เป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้ายและเบื้องขวา มีอยู่ ๒ องค์ แล้วสิ่งที่ว่าเป็นสาวก-สาวกะในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็สร้างสิ่งนั้นมา สิ่งที่สร้างมาถึงเป็นสหชาติไง

แต่ของเราสร้างบุญกุศลของเรามาในปัจจุบันนี้ เราถึงพบพระพุทธศาสนาที่เจริญรุ่งเรืองอยู่นี้ เจริญรุ่งเรืองนะ ศาสนาไม่ได้เจริญในสิ่งปลูกสร้าง ศาสนาไม่ได้เจริญในวัดวาอารามสิ่งที่ว่าเป็นโบสถ์วิหารแล้วถือสิ่งนั้น โบสถ์วิหารสร้างมานี่ ถึง ๑๐๐ ปี ๑๐๐ กว่าปีก็ต้องซ่อมแซม ต้องบูรณะตลอดไป แต่ถ้าศาสนาเจริญ เจริญในหัวใจของครูบาอาจารย์ของเราที่ประกาศธรรมไง

สิ่งที่ประกาศธรรม เพราะถ้าทำสิ่งที่ว่าเป็นสังฆะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ขึ้นมาแล้ว มันเป็นอกุปปธรรมไง มันไม่มีการซ่อมแซม มันไม่มีการบำรุงรักษา มันเป็นอกุปปธรรม มันเป็น

อฐานะที่จะมีการเปลี่ยนแปลง มันจะคงที่ของมันอยู่อย่างนั้น มันจะเจริญมั่นคงขนาดนั้น

แล้วจากใจของครูบาอาจารย์ดวงหนึ่งพยายามเผยแผ่ธรรม เราประพฤติปฏิบัติ มีธรรมที่ว่ามีดวงตาของธรรมคอยส่องสว่างให้เราไง เหมือนกับพระอานนท์บอกที่ว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพพานไง “ดวงตาของโลกดับแล้ว” ดวงตาของโลกนะ ความสว่างของโลก เห็นไหม

นี้ก็เหมือนกัน ในเมื่อเรามีครูบาอาจารย์อยู่ แสงของธรรม แสงของความสว่างของใจดวงนั้น ถ้าใจเราเป็นสมณะที่ ๒ เวลามันปล่อยวางขึ้นมา มันจะติดของมันนะ ติดความสุขอย่างนี้ ความสุขอย่างนี้ทำให้เราติดได้ ถ้าเราติดความสุขอย่างนี้ เราจะได้ระดับนี้ แล้วเราจะเป็นอำนาจวาสนาของเราขนาดนี้

แต่ถ้าเราทำใจของเราให้สงบขึ้นมาแล้วย้อนออกไปนะ ย้อนออกไปเห็นกามราคะ สิ่งที่เป็นกามราคะขณะที่มันติด สิ่งนี้จะไม่แสดงเลย ความต่างกันของสมณะที่ ๒ และของสมณะที่ ๓ ก็ต่างกันมาก ต่างกันเพราะว่าถ้ามันความสุขอย่างนี้ เวลามันคุมกามราคะอยู่ เราจะไม่เห็นมันเลย แต่เวลายกขึ้นไปเป็นสมณะที่ ๓ ที่ ๔ ขึ้นไป มันจะไปเห็นสภาวะของอย่างนั้น

ถ้าจับสภาวะแบบนั้นได้ เห็นความเป็นไปของกามราคะ เห็นความชุ่มไปของจิต จิตนี้ชุ่มไปด้วยกามราคะมหาศาลเลย แต่ทำไมที่เวลาติด ทำไมมันไม่เห็นล่ะ มันไม่เห็นเพราะว่าสิ่งนี้มันสงบตัวลง มันเป็นความฉลาดของกิเลสต่างหาก กิเลสนี้ฉลาดมากนะ

กิเลสนี้คืออะไร คือความเคยใจ กิเลสนี้คือใจดวงนี้ ถ้าเป็นอวิชชา เห็นไหม มันรู้ในตัวมันเอง แต่มันไม่รู้ในวิชชาเลย ไม่รู้วิชชาคือไม่รู้ในการทำลายตัวมันเอง เวลามันเป็นกิเลสมันมีความสามารถของมันขนาดนั้น มันถึงได้ขับไสให้ใจดวงนี้ไง ถ้าใจดวงนี้มีกิเลสอยู่มันก็จะทำให้เราติดอยู่สภาวะแบบนั้น เราถึงจะไม่เข้าใจสิ่งใดๆ เลย

แต่ถ้าเราทำเป็นสมณะที่ ๓ ขึ้นมานี่เพราะอะไร เพราะเราต้องทำความสงบให้มันสูงขึ้นมา พอสูงขึ้นมามันจะเป็นมหาสติ-มหาปัญญา จะเห็นความเป็นโลกียปัญญากับภาวนามยปัญญา แล้วความเห็นภาวนามยปัญญา เป็นมรรคหยาบกับมรรคละเอียดเข้าไปเป็นชั้นตอนเข้าไป

มรรคหยาบทำลายเป็นโสดาบัน มรรคอย่างกลางทำลายเป็นสกิทา มรรคอย่างละเอียด เห็นไหม สิ่งนี้ละเอียด ละเอียดมาก ความต่างของเหตุผลก็ต่าง ความต่างของสถานะของจิตที่มันวิปัสสนาแล้วมันปล่อยก็ต่าง ต่างเพราะว่ามันยังไม่กระเทือนใจเลย

ถ้ามันยังมีกามราคะอยู่ในหัวใจ มันจะมีความสะเทือนใจมาก ความสะเทือนใจในหัวใจนะ ไม่ใช่ความสะเทือนใจจากความรู้สึก ความสะเทือนใจในหัวใจ สิ่งนี้มันจะเศร้าหมอง มันจะทำลายใจดวงนั้น ให้ทำลายอยู่สภาวะแบบนั้น ถ้าเราทำลายมันไม่ได้ ถ้ามันทำลายไม่ได้มันจะทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้นมา ความคิดนี้จะเกิดขึ้น แล้วถ้าเราเข้าไปผจญหน้ากับมัน มันจะเห็นความเป็นไปของมันอย่างมหาศาลเลย

สิ่งที่เป็นมหาศาลเพราะสิ่งนี้มันคิดอยู่ของมัน นี่มันเผาลนในหัวใจ เวลาเกิดขึ้นมามันเผาลนในหัวใจแล้วหัวใจจะเร่าร้อน สิ่งที่เร่าร้อนเพราะมันเป็นไป สิ่งที่เป็นไปนะ มันมีความลังเลสงสัย มันมีความใคร่ครวญของมันในหัวใจ มันมีความทดท้อใจไง ใจจะรำพึงว่า “ทำไมมันสภาวะเป็นแบบนี้ เราทำความดีขนาดนี้ ทำไมเราไม่ชนะสิ่งนี้” เวลากิเลสมันมีอำนาจเหนือกว่านะ

เวลาคนเขาต่อสู้กัน ถ้าการชนะ สิ่งที่มันชนะรุนแรง ชนะที่ชนะขาด มันจะดูกีฬาอย่างนั้นไม่สนุก แต่ถ้ามีความเสมอภาคกัน มีความสมดุลกัน ชนะกันเล็กน้อย สิ่งที่ชนะกันเล็กๆ น้อยๆ มันมีความชนะกัน ใจที่มันละเอียดก็เหมือนกัน มันบังกันเล็กๆ น้อยๆ แต่มันละเอียดมากนะ

สิ่งที่เป็นความละเอียดในหัวใจมันบีบนิดเดียว เราก็ล้มลุกคลุกคลานแล้ว สิ่งที่ล้มลุกคลุกคลาน เพราะเราจะไม่เห็นสภาวะแบบนั้นเลย มันชนะกันเล็กน้อยมากในหัวใจนี้ เพราะมันละเอียดขนาดนั้น เราถึงจะไม่เห็นสภาวะแบบนั้นเลย เราจะต้องเป็นขี้ข้าของมันตลอดไป สิ่งนี้เป็นขี้ข้าตลอดไป ถ้าตายเดี๋ยวนั้นมันก็ไปเกิดบนสวรรค์ เพราะมันยังไม่ทำลายกามราคะ

ถ้ามันทำลายกามราคะ มันก็ไปเกิดในวัฏฏะ สิ่งนี้ไปเกิดในวัฏฏะ แล้วมันเห็นสภาวะของใจนี้ไปเกิดในวัฏฏะ เห็นไหม เหตุมันอยู่ที่นี่ ถ้าทำลายเหตุนี้แล้ว สถานะที่ว่าเกิดบนสวรรค์ บนพรหม อันนั้นเป็นสถานะที่ใจไปเกิดไง สิ่งที่ใจไปเกิดนั้นเป็นสถานะที่เราเกิดได้ภพได้ชาติ

แต่ด้วยชาติปัจจุบันนี้ จิตเราพัฒนาขึ้นมา สังฆะนี้มันละเอียดเข้าไปเป็นชั้นเข้าไป เห็นความละเอียดอ่อนของมัน เห็นปัญญาการต่อสู้ของมัน เห็นปัญญาการต่อสู้ เห็นความล้มลุกคลุกคลานของใจ ใจนี้จะล้มลุกคลุกคลาน ล้มลุกคลุกคลานเพราะกำลังเราไม่พอ

ถ้ากำลังไม่พอ... ในการประพฤติปฏิบัติ เวลาเราปฏิบัติเริ่มต้นใหม่ว่าเวลาจิตมันสงบขึ้นมา เรากำหนดพุทโธขึ้นมา มันจะเป็นความที่หยาบเกินไป ถ้าจิตเราสงบแล้วมันสงบ ถ้าจิตมันสงบมันละเอียดขึ้นมา เราจะกดว่ามันเป็นสิ่งที่หยาบๆ เราก็จะออกมาเป็นสิ่งที่หยาบๆ เราไประแวง เราไปจินตนาการของเรา มันไม่เป็นไปตามธรรมหรอก เวลาจิตเข้าไปถึงสิ่งที่เป็นกามราคะ สิ่งที่เป็นปัญญาที่มันใคร่ครวญกันขนาดนี้ ถ้ากำลังไม่พอ เรายังต้องกำหนดพุทโธ พุทโธ เพื่อสร้างฐานของมันขึ้นมา

สิ่งที่ฐานกำลังขึ้นมาอย่างนี้เพื่อจะเข้าให้สิ่งที่ว่าชนะกันเล็กน้อยๆ นั่นน่ะ ถ้ากำลังเราพอนะ สิ่งที่เป็นธรรมเกิดขึ้น วิปัสสนาไปมันจะปล่อย สิ่งที่ปล่อย ปล่อยความเป็นไป ปล่อยสิ่งที่มันเกาะเกี่ยว ปล่อยสิ่งที่มันพอใจ

เวลาสิ่งที่เขาเสพกันทางโลก มันออกไปข้างนอก มันถึงไปเสพกันทางโลก แต่นี้มันพอใจในตัวของมัน มันเสพในตัวของมันเอง ใจมันตั้งขึ้นมา ใจนี้ชุ่มไปด้วยกามแล้วทำลายใจดวงนี้ ถ้าเข้าไปถึงนี้มันจะปล่อย เริ่มปล่อย พอเริ่มปล่อยมันก็เริ่มว่าง เริ่มมีความสุข จากที่ล้มลุกคลุกคลานมีแต่ความทุกข์นะ ขณะที่จิตมันข่มขี่อยู่ ขณะที่กิเลสมันข่มขี่จิตอยู่นี้ จิตนี้จะเป็นเบี้ยล่างแล้วโดนมันข่มขี่อยู่ จะพยายามดิ้นรนนะ

ดูอย่างพวกเราแบกหามสิ เวลาทำการทำงาน เราแบกของหนักอยู่ ของหนักอยู่บนร่างกายเรา มันจะแบกของหนักไป เหงื่อไหลไคลย้อยขนาดไหน เราก็ต้องแบกไปใช่ไหม เพราะสิ่งนี้มันอยู่บนร่างกายเรา เวลากิเลสมันข่มขี่จิตก็เหมือนกัน ในเมื่อมันมีกำลังเหนือกว่า มันทำลายจิตดวงนั้น ทั้งๆ ที่เราภาวนาอยู่ เราพยายามต่อสู้อยู่ สังฆะนี้เกิดขึ้นมา กำลังนี้เกิดขึ้นมา ความเป็นไปของใจเกิดขึ้นมา ความมุมานะเกิดขึ้นมา สิ่งที่เกิดขึ้นมา พยายามดิ้นรนไง พยายามดิ้นรนจะปลดเปลื้องสิ่งที่กดขี่หัวใจนี้ให้มันปล่อยวางให้ได้ แต่มันปล่อยวางไม่ได้เพราะมันเป็นสิ่งที่ว่ากิเลสที่มันละเอียดอ่อนมาก มันเป็นแก่นของกิเลสที่มันข่มขี่ใจดวงนี้ ใจดวงนี้ถึงต้องพยายามดิ้นรน ดิ้นรนนะ ความกำหนดพุทโธขึ้นมาให้ใจดวงนี้มีพลังงานขึ้นมา แล้วย้อนกลับไปพิจารณาของมัน

ถ้ากำลังมันพอ มันจะปล่อย สิ่งนี้ปล่อย ก็ปล่อยก็มีความสุข มีความสุขเห็นไหม ความสุขเพราะปล่อยวาง ๑ แต่เราไม่นอนใจ ถ้าเรานอนใจ ความสุขอันนี้ปล่อยขึ้นมาแล้วมันไม่ขาด พอไม่ขาด พอกำลังมันอ่อนขึ้นมา เราต้องสร้างสมขึ้นมาอีก ถึงต้องต่อสู้ ต้องพยายามมุมานะ ถ้ามันปล่อยวางสิ่งที่หนักอยู่ กดถ่วงอยู่ เราแบกของอยู่ เราปล่อยวางได้ชั่วครั้งชั่วคราว แล้วมันก็ต้องแบกของสิ่งนั้นต่อไปเพราะกิเลสมันอยู่ที่ใจ กิเลสมันอยู่กับใจ มันมีสิ่งนี้อยู่แล้ว ถ้าวิปัสสนามันปล่อยวาง ปล่อยวางแล้วเราก็ต้องพิจารณาซ้ำ เพราะมันเป็นเรื่องของนามธรรม มันเป็นเรื่องของสิ่งที่มีอยู่

เราแบกของเป็นวัตถุ เราปล่อยวางแล้วมันก็คือปล่อยวางไปเลย สิ่งที่ปล่อยวางแล้ว เราก็ไม่โง่ที่จะไปแบกหามมันอีกหรอก เพราะมันรู้ว่ามันหนัก เห็นไหม มันเป็นวัตถุอันหนึ่ง แต่กิเลสนี่เวลาเราปล่อย พิจารณาไปมันว่าง มันปล่อยวาง เราก็ไม่โง่หรอก เราไม่ใช่ไปแบกหามมันหรอก แต่มันก็มี สิ่งที่มันมีอยู่ มันซึมอยู่ มันเป็นอนุสัย มันซึมมากับใจ มันมีสภาวะแบบนั้น มันปล่อยวาง มันปล่อยวางเป็นขณะปัจจุบันที่เราพิจารณาธรรมนั้นก็ปล่อยวางอยู่ สิ่งที่ปล่อยวาง แต่ในเมื่อมันยังมีเชื้ออยู่ มันยังสร้างสมของมันขึ้นมาได้อยู่ มันก็สร้างสมสิ่งนั้นขึ้นมาอีก สิ่งที่ขึ้นมาอีก พอมันสร้างขึ้นมาเราก็ล้มลุกคลุกคลาน เห็นไหม ถึงจะต้องวิปัสสนาซ้ำเข้าไป

ถ้าวิปัสสนาซ้ำขึ้นมาคือการต่อสู้ของเราเกิดขึ้น ภาวนามยปัญญาของเราเกิดขึ้น เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์ธัมมจักฯ วันนี้ เห็นไหม ว่าญาณเกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้น ความสว่างเกิดขึ้น จักรนี้มันเคลื่อนไป วิชชาเกิดขึ้น ความเห็นเราเกิดขึ้น สิ่งนี้คือปัญญาไง ธรรมจักรสิ่งนี้มีอยู่ แต่เราสร้างสมขึ้นมานี้มันก็จะเป็นธรรมจักรกับใจของเรา

ถ้าเราสร้างสมขึ้นมา ปัญญามันเกิดขึ้นมา ภาวนามยปัญญาเกิดขึ้น จักรมันเคลื่อน พอจักรมันเคลื่อนมันก็ทำลายรอบหนึ่ง ทำลายรอบหนึ่งมันก็ปล่อยวางหนหนึ่ง ปล่อยวางหนหนึ่ง แต่สิ่งนี้มันมีเชื้ออยู่ เชื้อมันละเอียดมาก ถึงจะต้องพยายามต่อสู้เข้าไป สืบเข้าไป ขยับเข้าไปให้มันเข้าไปถึงเนื้อของใจ ละเอียดเข้าไปถึงเนื้อของใจ ความปล่อยวางมันก็จะละเอียดมากขึ้นๆ มันมีความเป็นไปได้ที่พอมันปล่อยแล้วเราเข้าใจผิดไง

พระประพฤติปฏิบัติในหมู่ผู้ประพฤติปฏิบัติมันจะเป็นแบบนี้แหละ เวลาปล่อยวางเข้ามามันว่างมาก มันมหัศจรรย์มาก ก็เข้าใจว่านี้คือธรรม แล้วพอถ้ารักษาไว้ สังเกตไว้ เดี๋ยวมันก็เกิดอีก เดี๋ยวมันก็เกิดอีก สิ่งที่เกิดอีกเพราะว่ามันเป็นแก่นของกิเลส มันเป็นความแน่นหนาของมัน สิ่งนี้มันเป็นเชื้อข้างในของในหัวใจ

เวลาเราเกิดเราตาย สิ่งที่เกิด ยางเหนียวของใจนี่มันพาเกิด แล้วยางเหนียวของใจระหว่างอวิชชา ปัจจยา สังขารา กับขันธ์ละเอียดมันสืบต่อกัน สิ่งที่เป็นแม่ทัพใหญ่ที่มันข่มขี่ใจอันนี้มันถึงเป็นสิ่งที่ว่าเป็นความโลภ ความโกรธ ความหลง

เวลาประพฤติปฏิบัติกันเริ่มต้นเราเป็นคนโลภมาก เป็นคนโกรธมาก เป็นคนหลงมาก เวลาทำสมาธิขึ้นมาจิตมันปล่อยวางเข้ามา เราก็ว่าเราเป็นคนที่ว่าชนะความโลภ ความโกรธ ความหลง นี่มันเป็นความสามัญสำนึก เรานึกเอาว่าเราไม่หลงแล้ว ไม่หลงเพราะขณะ...เหมือนกับเรากินข้าว ถ้าเรากินข้าวอิ่ม เราไม่ต้องคิดว่าเราจะไม่ต้องกินมื้อต่อไปอีกเลย เพราะมันอิ่มท้อง เสร็จแล้วเดี๋ยวพอมันย่อยแล้ว มันก็หิวก็อยากกินอีก

นี้ก็เหมือนกัน เวลามันปล่อย เวลามันคิดพิจารณาเข้าไปมันปล่อยวางก็เข้าใจว่ามันปล่อยแล้ว มันปล่อยแล้ว มันปล่อยอย่างไรก็แล้วแต่ ความเป็นไปของมัน ความโลภ ความโกรธ ความหลง มันจะปล่อยได้อย่างไรในเมื่อมันมีเชื้ออยู่ เชื้อของความโกรธเห็นไหม ปฏิฆะ กามราคะ

ความปฏิฆะ คือจริตนิสัย จริตนิสัยนะ ปฏิฆะ สิ่งที่ข้อมูลไง จริตนิสัยคือมีข้อมูลมีความชอบสิ่งใด แล้วสงวนรักษาสิ่งนั้น แล้วถ้าสิ่งนี้มีโดนสะกิดไง ถ้าสะกิด เห็นไหม พอสะกิด เรามีปฏิฆะ เรามีข้อมูลของเรา เรามีกามราคะเพราะข้อมูลนี้ทำให้เราอยากได้สิ่งที่เราต้องการ สิ่งที่ต้องการ นี่ปฏิฆะ กามราคะเกิดขึ้นมาอย่างนี้ มันมีอยู่ในหัวใจ แล้วมันสงบตัวไปเฉยๆ ในเมื่อเราทำสมาธิมันก็สงบเข้ามา พอจิตมันสงบเข้ามา เราก็ว่าเราชนะความโลภ ความโกรธ...มันยังไม่ได้กระทบ มันยังไม่ได้เห็นสภาวะของมัน มันยังเข้าไม่ได้เป็นปัจจุบันธรรม ขนาดไม่เป็นปัจจุบันธรรมนะ

ในเรื่องของโลก เราเห็นสิ่งที่เราพอใจ มันก็มีความรู้สึกมีความคิดแล้ว แล้วเวลาที่ในหัวใจมันมีข้อมูลที่ลึกกว่านั้น สิ่งที่ลึกกว่านั้น เวลาใจมันกระทบกระเทือนของมันขึ้นมา มันแสดงตัวของมันขึ้นมาจากหัวใจ นี่แค่มันแสดงตัวขึ้นมาในใจเท่านั้น เราก็มีความรู้สึกแล้วว่านี่มันมีแสดงตัวแล้ว แล้วออกมาจากข้างนอกนี่มันเป็นเรื่องของความเป็นไปของโลกเขา นั้นมันเป็นความโลภ ความโกรธ ความหลง มันถึงออกไปสภาวะแบบนั้น

ความโลภ ความโกรธ ความหลงในใจมันต้องรักษาให้ได้ก่อน วิปัสสนาซ้ำแล้วซ้ำเล่าถึงที่สุด ถึงที่สุดมันจะปล่อย มันจะขาดออกไป พอสิ่งที่ขาดออกไป มันขาดแล้วมันก็ยังมีเชื้ออยู่ สิ่งที่มีเชื้ออยู่ เพราะสิ่งที่ว่าสมณะที่ ๓ มันมีความลึกลับของมัน เราจะต้องซ้ำแล้วซ้ำเล่าเข้าไปอีก มันจะปล่อยวางเป็นชั้นๆ เข้าไป จนถึงที่สุดจะจับต้องสิ่งใดไม่ได้เลย ว่างหมดเลย นี่สมณะที่ ๔

ทำไมต้องมีนิพพาน ๑ ?

สมณะที่ ๔ ถ้าเป็นอรหัตตมรรค มันจะเข้าไปจับสิ่งที่เป็นความว่างไง จิตนี้ว่างมาก สิ่งที่เป็นความว่าง ทำไมโมฆราชไปถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พิจารณาโลกนี้เป็นความว่าง ว่างหมด ถ้ามีความว่าง มีสิ่งใด มีความรู้สึกอยู่ ว่างเกิดจากสิ่งใด สสารต่างๆ เป็นความว่าง เขาไม่รู้เรื่องตัวเขาหรอก เพราะเขาไม่มีชีวิต

แต่ปฏิสนธิจิต จิตนี้ ธาตุรู้นี้เป็นสิ่งที่มหัศจรรย์มาก มหัศจรรย์เพราะมันเป็นสสารอันหนึ่ง แล้วมันมีชีวิต เป็นสสารด้วย แล้วมีชีวิตด้วย แล้วสืบต่อได้ สืบต่อคือการเกิดและการตาย ถ้ามันมียางเหนียวอยู่ แต่ถ้าทำลายสิ่งนี้ออก ทำลายกิเลสออกทั้งหมด มันก็มีชีวิตของมันอยู่อย่างนั้น

ถ้ามันมีชีวิตของมันอยู่อย่างนั้น ทำไมพระอนุรุทธะถึงเห็นจิตขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าล่ะ ถ้ามันไม่มี สิ่งที่ไม่มี ทำไมพระอนุรุทธะไปเห็น แล้วเอาสิ่งใดไปเห็น ก็ต้องใจที่เสมอกันถึงไปเห็น ใจที่เป็นวิมุตติมันก็เป็นส่วนหนึ่ง

แต่ถ้าใจยังไม่เป็นวิมุตติ มันว่าเป็นความว่าง มันมีสิ่งที่ว่าบังไว้ไง มันมีอวิชชา สิ่งที่เป็นอวิชชาจะบังสิ่งนี้ไว้ ถ้าบังสิ่งนี้ไว้ เราก็เป็นความว่าง เราก็จะติดสิ่งนี้ ถ้าติดสิ่งนี้ มันก็คาอยู่นี้ นี่เกิดบนพรหม เวลาเกิดบนพรหมก็รู้ว่าเกิดบนพรหมเพราะอะไร เพราะมันไม่จบ สิ่งที่ไม่จบมันมีความลังเลสงสัย มันมีความสิ่งที่บังใจไว้ มันไม่รู้ครบวงจรหรอก

แต่ถ้ามันทำลายตัวนี้ได้นะ ย้อนกลับเข้ามาถึงเป็นอรหัตตมรรค ถ้าเป็นอรหัตตมรรคเข้ามา ย้อนกลับเข้ามาจะจับเป็นผู้รู้นี้ได้ ผู้รู้นี้เป็นสสาร เป็นความละเอียดอ่อนมาก ถึงว่าเป็นผู้รู้ แล้วการจับได้นี้มันก็เป็นอำนาจวาสนาของแต่ละบุคคล

สิ่งที่แต่ละบุคคล เวลาไปจับ มันจะเปรียบเทียบออกมาเป็นสิ่งใดก็ได้ ถ้าเปรียบเทียบสิ่งใดก็ได้เพราะอะไร เพราะมันเป็นสมมุติไง สิ่งที่สมมุติ ธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้เป็นสมมุติทั้งหมด สมมุติเพื่อเราให้เทียบเคียงเข้ามา แต่ให้หาเป็นสมมุติเข้ามาเพื่อจะให้เราหาข้อเท็จจริง เราเอาสมมุตินี้เป็นบรรทัดฐาน

ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสมมุติ แล้วเราสร้างของเราขึ้นมาจนเป็นสมบัติของเรา เป็นปัจจัตตังของเรา เป็นความเป็นไปของใจดวงนั้น เป็นธรรมส่วนบุคคลจากใจดวงนั้น เป็นภาวนามยปัญญาของใจดวงนั้น เป็นสิ่งที่ธรรมกับกิเลสในใจดวงนั้นเกิดการทำลายกัน

ธรรมกับกิเลส เห็นไหม ธรรมและกิเลสกำลังแข่งขันกันอยู่ในหัวใจดวงนั้น หัวใจดวงนั้นถึงต้องออกวิเวก ออกไปประพฤติปฏิบัติเพื่อจะให้มีเวล่ำเวลากับใจดวงนั้นไง นี่งานของผู้ที่จะพ้นออกจากกิเลสเป็นงานของการภาวนา เป็นงานทำลายกิเลสในหัวใจ งานของโลกเป็นงานของโลก งานก่อสร้างบ้านสร้างเรือน งานก่อสร้างสิ่งที่ว่าเป็นศาสนวัตถุนี้ มันเป็นเรื่องของโลก

สิ่งที่เป็นเรื่องของโลก ๑ สิ่งที่ทำให้เป็นความกังวล ๑ สิ่งที่ทำให้ผู้ที่ไม่ประพฤติปฏิบัติจะหลงสิ่งนั้น การก่อสร้างต่างๆ จะทำให้จิตใจนี้อยากก่อสร้างเพราะอะไร เพราะมันไปเกาะเกี่ยวไง มันอยู่ของมันเองก็ไม่ได้ เวลาทำสมาธิขึ้นมามันก็อยู่ของมันเองไม่ได้ ต้องอาศัยพุทโธ คำบริกรรมเข้ามา นี้มันไปเกาะเกี่ยวกับสังขาร ความคิด ความปรุง

ความแต่งจากเรื่องของข้างนอก เห็นไหม สิ่งนี้ต่างหากมันเป็นการฆ่า เป็นการฆ่าที่จะเป็นสังฆะขึ้นมาไง เป็นสังฆะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่สมมุติสงฆ์ การก่อร่างสร้างต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์กับเรา ประโยชน์กับเราเพราะเราได้สร้างสิ่งที่เป็นถาวรวัตถุไว้ แต่มันเป็นการทำลายสิ่งที่ละเอียดไง มรรคหยาบฆ่ามรรคละเอียดเห็นไหม มันไปฆ่าจิตที่ว่ามันจะประพฤติปฏิบัติ จิตที่มันจะพัฒนาขึ้นไป มันไปฆ่าสิ่งนี้ให้ไม่มีโอกาสในการทำความสงบเข้ามา ให้เกิดเป็นภาวนามยปัญญาขึ้นมาจากเป็นภายในขึ้นมา นี่มันเป็นการฆ่าทำลายใจตัวนั้น

แต่ถ้าเราฉลาดขึ้นมา เราต้องออกธุดงค์ ออกประพฤติปฏิบัติ ออกป่าออกเขา เพื่อจะเข้ามาหาตรงนี้ ถ้าเข้าหาตรงนี้ ย้อนกลับเข้ามาจนเห็นตัวอวิชชา ถ้าเห็นตัวอวิชชา จับตัวอวิชชาให้ได้ แล้วความละเอียดอ่อนของปัญญาขั้นสูงสุด เห็นไหมสมณะที่ ๔

มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑

ขณะที่ทำลายกัน สมมุติคือขณะที่มันกำลังทำลายกัน มันขณะที่ว่าระหว่างกิเลสกับธรรมมันกำลังต่อสู้กันด้วยภาวนามยปัญญา กับโดนล้มลุกคลุกคลานด้วยอำนาจของกิเลสที่มันมีความเหนือกว่าความพลิกแพลงของมัน เห็นไหม มันจะพลิกแพลงของมันอยู่อย่างนั้น

ปัญญาอย่างหยาบ เห็นไหม อุทธัจจะ กุกกุจจะนี้เป็นความฟุ้งซ่านของปุถุชน กุกกุจจะคือความเพลินของกิเลส ความเพลินนะ ความเพลิน แม้แต่ทำคุณงามความดี การประพฤติปฏิบัติ ถ้าเราใช้ปัญญา มันจะขยับเป็นปัญญาหยาบๆ เลย ปัญญาในขันธ์ สังขาร ความคิด ความปรุง ความแต่ง เห็นไหม เป็นสังขาร เป็นความคิด ความปรุง ความแต่ง สังขารระหว่างขันธ์กับจิตเกิดขึ้นมา มีการกระทบกัน มีพลังงานส่งต่อกัน มันเกิดขึ้นเป็นปัญญา

ปัญญาหยาบๆ ที่เราคิด จากเรื่องที่ว่าเป็นโลกียปัญญาคือปัญญาของขันธ์ ปัญญาความคิดอย่างนี้ แล้วเราทำลายขันธ์ขาด ขันธ์อย่างหยาบ-ขันธ์อย่างกลาง-ขันธ์ละเอียดขาดหมด จนมันเป็นความว่าง มันไม่มีขันธ์เลย มันเป็นความละเอียดมาก ขันธ์อันละเอียด ขันธ์ลึกซึ้งอันนั้น แต่มันไม่ใช่ขันธ์เป็นกองๆ ไง มันเป็นปัจจยาการ มันเป็นอันเดียวกัน แต่มันมีความลึกซึ้งอันนั้น นี่ถ้าปัญญาเข้าไปทำอย่างนั้น ถึงกุกกุจจะนี้ถึงเป็นสังโยชน์ตัวหนึ่ง

การทำคุณงามความดี ถึงละเอียดแล้วมันก็เป็นสังโยชน์ คือเป็นความติดของมัน แต่ถ้าเราทำจิตให้ละเอียดอ่อนเข้าไป เราพยายามใคร่ครวญของเรา มันต้องมีการฝึกซ้อมไง มีการฝึกซ้อม มีการประพฤติปฏิบัติเข้าไป มันจากความผิดมันก็เปลี่ยนแปลงไป คราวนี้ผิด ผิดเพราะอะไร ผิดเพราะเราใช้ปัญญาอย่างนี้

แล้วถ้าปัญญาอย่างละเอียด เราฟังเทศน์ของครูบาอาจารย์ เอาตรงนี้เป็นตัวตั้ง นี่น้ำซับน้ำซึม เห็นไหม ซับซึมไปอย่างไร มันกลืนตัวมันอย่างไร มันละเอียดอ่อนเข้าไปอย่างไร นี่ปัญญาญาณ อาสวักขยญาณ เห็นไหม อนุสัยนี่มันซึมออกมาจากตาน้ำตรงนี้ ตาน้ำเล็กๆ นะ มันเกิดเป็นแม่น้ำได้ มันเป็นลำคลองขึ้นมาใหญ่โตได้ จากตาน้ำไง ตาน้ำที่มันซึมออกมาเป็นต้นน้ำนี่แหละ สิ่งนี้เป็นต้นของปฏิสนธิจิต มันซึมออกมาจากตรงนี้ไง ถ้าเราซึมซับเข้าไปจับภายใน ไปพลิกคว่ำสิ่งที่เป็นอวิชชานี้ เห็นไหม สมณะที่ ๔ เกิดขึ้นนี้เป็นสมมุติของครูบาอาจารย์ที่วางไว้ให้สื่อสารกัน

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑

นิพพาน ๑ ไม่ต้องพูดถึง จิตที่สงบแล้ว จิตของพระอนุรุทธะเข้าไปเห็นจิตขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น นั้นเป็นวิมุตติสุข นั้นเป็นจิตที่พ้นออกไปจากกิเลสทั้งหมด นี้คือสังฆะ

สังฆะที่ ๑ ตั้งแต่เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องดับไปเป็นธรรมดา

สังฆะที่ ๒ เห็นการทำลายระหว่างกายกับจิตที่มันแยกออกจากกันเป็นธรรมดา

สังฆะที่ ๓ ทำลาย เห็นกามราคะ ปล่อยกามราคะจนเด็ดขาดไปแล้วฝึกซ้อมเข้าไป ทำลายเข้าไป จนเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไปนะ ถึงจะทำลายแล้ว ปล่อยวางแล้ว จะต้องมีเศษส่วนของมัน จะต้องไล่ต้อนเข้าไปจนถึงจิตมันปล่อยวางเข้าไป จนมันเป็นตัวของมันเอง แล้วย้อนเข้าไป นี่สังฆะที่ ๔ เกิดขึ้น

นี่มันเป็นระหว่างการก้าวเดิน

ธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ว่าเป็นสมมุติ สมมุตินี้คือพระไตรปิฎก แต่ถ้าธรรมเกิดขึ้นมาจากใจดวงนี้ จะเป็นธรรมของใจดวงนี้ นี่สังฆะเกิดขึ้นมาอย่างนี้

เวลาสังฆะ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมแล้ว มีพระพุทธกับพระธรรมเท่านั้น เวลาสังฆะเกิดขึ้นมา ก็ตรัสรู้ธรรมเหมือนกัน ความเสมอกันระหว่างจิตดวงนี้เสมอกัน ความเสมอกัน ความเสมอกันด้วยความสะอาดบริสุทธิ์เสมอกัน แต่ต่างกันด้วยอำนาจวาสนาบารมี ต่างกันโดยความเป็นไป

เวลาเราประพฤติปฏิบัติ เวลาว่าธรรมวินัยเราต้องรักษามาก เพราะธรรมวินัยนี้จะเป็นเครื่องดำเนินของเราไป แล้วเราเข้าไปธรรมวินัยนี้ นี่เป็นสมมุติที่เราจะเดินไป แต่ถ้าใจดวงนั้นเป็นธรรมขึ้นมา ใจดวงนั้นต่างหากเป็นความจริง เห็นไหม ศาสนาเจริญๆ ที่นี่

ถ้าศาสนาเจริญบนหัวใจของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ศาสนาจะมั่นคงมาก เพราะว่าสิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่ปกป้องศาสนา แต่ถ้าศาสนาเจริญเฉพาะสิ่งที่ว่าเป็นตำรับตำรา ไม่เจริญในหัวใจของบริษัท ๔ สิ่งนี้จะเป็นความลังเลสงสัย สิ่งนี้จะเป็นเครื่องดำเนิน แล้วถ้าจิตของผู้ที่ไม่มีหลักมีเกณฑ์ จะอาศัยสิ่งนี้เป็นโมฆบุรุษ อาศัยสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากศาสนานี้เป็นการแสวงหาลาภ แสวงหาสักการะ เห็นไหม โมฆบุรุษคือผู้ที่ติดในเหยื่อไง ให้เหยื่อนั้นสามารถเกี่ยวปากจากโมฆบุรุษนั้นไปได้ ถ้าเหยื่อนั้นติดเข้าไปนะ ติดในเหยื่อ ติดในลาภสักการะ สิ่งนี้เป็นโมฆบุรุษ

แต่สิ่งที่ว่าเป็นลาภสักการะ มันเป็นสมบัติของโลก สมบัติโลกนี้ผลัดกันชม สิ่งที่ว่าเป็นอำนาจวาสนาต่างๆ นี้มันก็เป็นเรื่องสมบัติของโลกเพราะอะไร เพราะสร้างสมมาเพื่อให้ใจดวงนี้มีการประพฤติปฏิบัติ สร้างสมขึ้นมาให้ใจดวงนี้เกิดการภาวนามยปัญญา สร้างขึ้นมาเพื่อให้ใจดวงนี้ทำลายกิเลส

ถ้าใจดวงนี้ทำลายกิเลสสิ้นออกไปจากกิเลสทั้งหมด เป็นสังฆะโดยสมบูรณ์แล้ว มันจะไปติดเรื่องของโลกได้อย่างไร เพราะสิ่งนี้เป็นเรื่องของกิเลส สิ่งนี้เป็นเรื่องของตัณหาความทะยานอยาก แล้วเราทำลายตัณหาความทะยานอยาก เห็นไหม สังฆะต้องเป็นแบบนี้

วันนี้เป็นวันที่ว่าพระอัญญาโกณฑัญญะไง วันอาสาฬหบูชา สังฆะเกิดขึ้นมา จนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนพระอัญญาโกณฑัญญะก่อน แล้วสอนพระอัสสชิ จนปัญจวัคคีย์ทั้งหมดเป็นพระโสดาบันทั้งหมด แล้วเทศน์อนัตตลักขณสูตรจนเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด เห็นไหม เป็นพระอรหันต์ทั้งหมดนะ สิ่งที่เป็นพระอรหันต์ทั้งหมดนี้คือใจเสมอกัน

แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสยัมภู เป็นผู้ตรัสรู้เอง เป็นผู้ค้นคว้าเอง เป็นเจ้าของสมบัติ แต่ปัญจวัคคีย์นี้เป็นสาวกะ เป็นผู้รับ เป็นผู้ที่ศึกษาสิ่งนี้ขึ้นมา สังฆะคือผู้รับ ผู้แสวงหาตามครูบาอาจารย์ แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องค้นคว้าเอง ต้องหาเอง ต้องเป็นเจ้าของสมบัติ ต้องเป็นเจ้าของทฤษฎี เจ้าของค้นคว้าขึ้นมา

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ไง กราบเห็นไหม แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็กราบธรรม เราสาวก-สาวกะจะกราบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยความเคารพอย่างสูงเพราะอะไร เพราะว่าถ้าไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ค้นคว้า สาวกะไม่มีโอกาสไง

ในปัจจุบันนี้กึ่งพุทธกาล ในพระไตรปิฎกก็ว่า “กึ่งพุทธกาลศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองอีกหนหนึ่ง” จะเจริญรุ่งเรือง ศาสนาเจริญในใจของครูบาอาจารย์ ศาสนาไม่ได้เจริญในวัตถุสิ่งของต่างๆ ศาสนาไม่ได้เจริญสิ่งนั้น เพราะสิ่งนั้นไม่มีชีวิต ใจของคนไปสร้างสิ่งนั้นขึ้นมาต่างหาก แล้วใจนั้นได้บุญกุศล สิ่งนั้นมันก็เป็นเรื่องของวัฒนธรรมประเพณี

แต่ถ้าศาสนาเจริญในใจของครูบาอาจารย์ เราจะมีโอกาสประพฤติปฏิบัติธรรม ประพฤติปฏิบัติธรรมเพราะมีแสงสว่างของโลก เพราะมีแสงสว่างของปัญญา ปัญญานี้จะพาให้เราก้าวเดินพ้นออกไปจากกิเลส เอวัง