เทศน์บนศาลา

ธรรมบ่มนิสัย

๑๕ ส.ค. ๒๕๔๗

 

ธรรมบ่มนิสัย
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา ๑๕ สิงหาคม ๒๕๔๗
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

ตั้งใจฟังธรรมนะ ฟังธรรม สิ่งที่เป็นธรรมะนี้เป็นความสำคัญ.. สำคัญมาก เราอุตส่าห์เดินทางมา เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะประกาศธรรมนะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสวงหาธรรม แสวงหามาก สร้างเป็นพระโพธิสัตว์นี่สร้างบารมีมาก เพราะต้องมีบารมี ต้องมีอินทรีย์ ความแก่กล้าของอินทรีย์คือหัวใจนั่นล่ะ อินทรีย์ไง “ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ”

อินทรีย์นั้นคือใจ ความแก่กล้าของใจนี้มันมีการสร้างสม เราสังเกตทางโลกได้ไหม บางคนใจเข้มแข็งมาก บางคนใจอ่อนแอ ขนาดนี้เราก็มองเห็นได้ว่าคนเข้มแข็งกับคนอ่อนแอทางหัวใจ คนเข้มแข็งกับคนอ่อนแอทางร่างกาย แต่นี้มันเป็นเรื่องความเข้มแข็งนะ แต่ถ้ามีกรรมล่ะ ถ้ามันมีกรรมขึ้นมานั่นสภาวกรรม ทำให้คนนั้นพิการ ทำให้คนนั้นเป็นจริตใบ้บ้า นั่นคือเรื่องของกรรม ถ้าการกระทำอันนั้นเป็นส่วนหนึ่ง

แต่ในเมื่อสร้างสมบารมีมาเป็นพระโพธิสัตว์ สร้างสมสิ่งนี้มามาก แล้วมาตรัสรู้ธรรมสิ่งนี้ กว่าจะตรัสรู้ธรรมได้นะ พยายามค้นคว้าแสวงหาอันนี้มา แสวงหาสิ เพราะถ้าธรรมยังไม่ประกาศ เจ้าชายสิทธัตถะสร้างมาพร้อมแล้วก็ยังแสวงหา พยายามออกศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ ก็เพื่อจะหาความสะดวก เพราะสิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่ว่าเราได้ยินมาตั้งแต่โบราณกาลมาตลอดว่า “สิ้นทุกข์ๆ พระอรหันต์ๆ ” ก็ว่ากันพระอรหันต์ เห็นไหม

ในเจ้าลัทธิต่างๆ เขาประกาศ เขาก็ว่าเป็นพระอรหันต์ มีอยู่แล้ว เจ้าชายสิทธัตถะก็ไปเรียนกับเขา สิ่งที่ไปเรียนกับเขา สิ่งนั้นมันก็วนอยู่ในโลก โลกไง เป็นวิชาการทางโลกเห็นไหม วิชาการทางโลกกับสมัยพุทธกาลก็วิชาการทางโลกเหมือนกัน เพราะโลกเขาอาศัยสิ่งนั้นไง

สมัยโบราณเมื่อ ๒,๕๐๐ กว่าปีมาแล้ว สังคมเป็นแบบใดล่ะ การรักษา การพยาบาลก็เป็นเรื่องของโบราณทั้งหมดใช่ไหม นั้นคือสังคมโลก ถ้าสังคมโลกอยู่อย่างนั้น ถ้าใครทำได้ แต่สังคมโลกขนาดนั้นนะ สิ่งที่เป็นความมหัศจรรย์เห็นไหม หมอชีวกนี่สามารถผ่าสมองมาได้ตั้งแต่ ๒,๕๐๐ กว่าปีมาแล้วนะ หมอชีวกศึกษาสิ่งนี้มา ถ้าใครเข้าถึงสิ่งที่ว่าเป็นความละเอียดอ่อน หรือเป็นสิ่งที่ในสมัยพุทธกาลทำได้ จะมีชื่อเสียงมีเกียรติศัพท์เกียรติคุณมาก

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไปเรียนกับเขา สิ่งที่เรียนกับเขามาเห็นไหม สิ่งนั้นมันเป็นที่ว่าเขาไม่ได้สร้างบุญญาธิการมาแบบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เขาจะรู้สิ่งนี้.. เป็นไปไม่ได้! เป็นไปไม่ได้เลยนะ เพราะอะไร เพราะว่าขนาดที่ว่ามีศาสนาอยู่นี้ เวลาเราประพฤติปฏิบัติมันยังเป็นความลึกลับ เป็นความมหัศจรรย์นะ แล้วถ้ามีใครมาเสนอแนวทางแปลกๆ ใหม่ๆ เราก็จะฟังเขา เพราะเขาว่า “ทางนี้เป็นทางวิทยาศาสตร์ ทางนี้เป็นทางโลก ทางนี้เป็นทางใหม่ ทางนี้เป็นทางที่ควรจะทำให้เราปฏิบัติได้ง่ายดาย”

สิ่งที่ง่ายดายเป็นไปไม่ได้หรอก เพราะอะไร เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างสมบารมีมาขนาดนี้ ขนาดที่ว่าสร้างสมบารมีมาแล้วกำลังศึกษายังค้นคว้ามาขนาดนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ “พุทธวิสัย” สิ่งที่เป็นพุทธวิสัยนี้ ปัญญานี้กว้างขวางมาก เราไม่สามารถจินตนาการปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เลย

แล้วสิ่งที่เรามาเสนอกัน คนที่เสนอนั้นเป็นใคร สิ่งที่เสนอนี้เห็นไหม “สาวก-สาวกะ” เราเป็นชาวพุทธ เราเกิดในพระพุทธศาสนา เราประพฤติปฏิบัติ แล้วเราศึกษาเล่าเรียนมาทางโลกคือในวิทยาศาสตร์ปัจจุบันนี้ไง กับวิทยาศาสตร์ในสมัยพุทธกาลไง ๒,๕๐๐ กว่าปีมานี้ นี่ความแตกต่างกันของวิทยาศาสตร์ ความเจริญรุ่งเรือง หรือความด้อยของวิทยาศาสตร์สมัยโบราณ สิ่งนี้มันเป็นเรื่องของทางโลกเขา

แต่ทุกข์เป็นความดั้งเดิม ทุกข์เป็นความของเก่า ทุกข์สิ่งนี้มันมีอยู่โดยดั้งเดิม แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะวางทางให้เราเดิน สิ่งที่ว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติไว้ มันเป็นไปไม่ได้หรอก สิ่งที่เป็นไปไม่ได้เห็นไหม เพราะในสมัยปัจจุบันนี้เราสร้างสมบารมีมา มันเป็นไปไม่ได้เพราะศาสนามีอยู่ใช่ไหม

ถ้าศาสนานี้ ๕,๐๐๐ ปีไปแล้ว ศาสนานี้ไม่มี ผู้ที่มีบุญญาธิการพยายามแสวงหาด้วยตนเอง ก็จะเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า สิ่งที่เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นคือแสวงหาต่อเมื่อศาสนาไม่มี ศาสนาไม่มีคือคำสั่งสอนไง ศาสนธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมอันนี้ประเสริฐมาก เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังต้องกราบนะ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลากราบ ลูกศิษย์พระถามว่า “องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากราบอะไร ในเมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเจ้าของศาสนา เป็นผู้ค้นคว้า เป็นผู้เห็นสิ่งนี้เอง” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก “กราบธรรม” กราบธรรม เพราะสิ่งนี้ทำให้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระอรหันต์ แล้วความสุขอันนี้เกิดขึ้นมา วิมุตติสุขเกิดขึ้นมาจากใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศธรรมจักรเห็นไหม ธรรมจักร.. จักรของธรรมไง

กงจักรคือเรื่องของโลก เรื่องของโลกคือกงจักร คือการเดือดร้อน การกระเทือนหัวใจ การทุกข์โศกหัวใจเห็นไหม “ชีวิตนี้เกิดมาไม่มีต้นและไม่มีปลาย” ในเมื่อเราเกิดมาเรามีความทุกข์ความร้องไห้ของเรา เก็บน้ำตาไว้นี่จะมากกว่ามหาสมุทรนี้อีก แต่น้ำนี้มันก็ระเหยไป มันเป็นอนิจจังไง เราถึงไม่เห็นต้นเห็นปลายในชีวิตของเรา ในเมื่อเราไม่เคยเห็นต้นเห็นปลายในชีวิตของเรา ชีวิตเราก็ต้องสมบุกสมบันไปสภาวะของโลกเขา เป็นสภาวะแบบนั้น

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมนี้ แล้วประกาศ.. ประกาศเพราะเป็นวิมุตติสุขไง สิ่งที่วิมุตติสุขเห็นไหม พอมันเป็นธรรมจักร มันก็ไปชะล้าง เวลาชะล้างขึ้นมา เวลาเราปฏิบัติธรรมเห็นไหม เวลาเราปลงธรรมสังเวช เรามันสะเทือนใจ น้ำตาเราก็ไหลได้ เวลาคนเกิด คนทุกข์ คนยาก เวลาร้องไห้ร้องห่ม เกิดมานะ แต่ชีวิตนี้น้ำตาสะสมไว้แม้แต่มหาสมุทร สิ่งนี้ก็ทำให้เกิดให้ตาย มันไม่มีคุณค่าไง สิ่งที่ไม่มีคุณค่า เพราะสิ่งนี้ออกมาจากกิเลส สิ่งที่กิเลสนะ ถ้ากิเลสอบรม เห็นไหม เราว่าอบรมบ่มนิสัย อบรมธรรมไง

ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศธรรมนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้เอาธรรมอบรมพวกเราไง เวลาเทศนาว่าการเห็นไหม การบันลือสีหนาทของราชสีห์ การบันลือสีหนาทขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศธรรมออกไปนี้ เทวดาส่งกันไปเป็นชั้นๆ ขึ้นไปนะ ว่า “องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศธรรมแล้ว ธรรมจักรนี้ได้เคลื่อนไปแล้ว จะไม่มีใครสามารถจะยับยั้งจักรอันนี้ได้เลย”

ไม่มีใครสามารถยับยั้งเพราะสิ่งนี้มันเป็นความจริง เพราะมันเป็นอริยสัจ มันเป็นอริยสัจในใจของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเข้าไปถึงเห็นสิ่งนั้นแล้ว สิ่งนี้จะไม่มีการถอยหลัง เพราะมันเป็นอกุปปธรรม สิ่งที่เป็นอกุปปธรรม มันเป็นอฐานะที่มันจะเป็นอนิจจัง แบบน้ำตาที่เราเกิดเราตายอยู่นี้

ถ้าเป็นความโลก กงจักรมันหมุนไป เวลาเอาชนะเอาคะคานกันเห็นไหม เราต้องการมีอำนาจ ต้องการมีความอยากใหญ่ ความมีอำนาจมีความอยากใหญ่คือตัณหาความทะยานอยาก คือเรื่องของกิเลส แต่สิ่งที่จะคิดออกไปทางโลก เวลาเขาอยู่กับทางโลก เขามีอำนาจวาสนา สิ่งนั้นเขาบอกว่า “มันเป็นประโยชน์ของเขา” ประโยชน์ของเขาเห็นไหม

คนถ้ามีธรรมนะ อยู่ที่ไหนก็มีธรรม มีธรรมหมายถึงว่าเขาสร้างสมบุญญาธิการของเขามา จิตใจของเขาเห็นไหม “มาสว่างไปสว่าง” จิตใจของเรามามืดแล้วมาสว่างปัจจุบันนี้ ทำไมเราไม่พยายามค้นคว้าหาเรา นี่ธรรม

ธรรมนี้ การประพฤติปฏิบัตินี้สำคัญมาก สำคัญเพราะว่าการปฏิบัตินี่อบรมธรรมไง ถ้าเราได้อบรมบ่มนิสัยนะ เราจะเป็นคนดีขึ้นมา แต่ถ้าเรามีกิเลสอยู่ เวลาอบรมบ่มนิสัยมันมีกิเลสไง สิ่งที่เป็นกิเลสมันก็บิดเบือน เวลามันบิดเบือนสิ่งต่างๆ ออกไป มันบิดเบือนนะ เราว่าเราประพฤติปฏิบัติธรรม

เวลาเราประพฤติปฏิบัติธรรม เราเชื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก เพราะอะไร เพราะสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศนี้มันเป็นการยืนยันในศาสนา สิ่งนี้กังวานอยู่ แล้วเราทำยังไม่ได้ไง แล้วเรามีความทุกข์ ถ้าเรามีความทุกข์ในหัวใจ ทุกข์ในหัวใจมันประกาศตามหัวใจของเรา จะมีใครรู้หรือไม่รู้ ทุกข์นี้มันเป็นความจริงในหัวใจของเรา ทุกคนก็เบื่อหน่ายอันนี้

แต่อดีต อนาคต นี่มันบังปัจจุบันนะ เราว่าเราจะประพฤติปฏิบัติ เรามีความตั้งใจ เรามีความตั้งใจมาก แต่เวลาในปัจจุบันขณะประพฤติปฏิบัติกิเลสมันบังเงาตรงนี้ ร้ายกาจมาก ร้ายกาจคือว่าให้เคลื่อนไปไง ให้ผัดวันประกันพรุ่ง ให้เราชะลอการประพฤติปฏิบัติ คิดแต่ว่า.. “แม้แต่เข้าพรรษามานี้ ๑ ปักษ์ ๑๕ วัน เราก็คิดกันแล้วว่าออกพรรษาเราจะทำอะไรกันต่อไป”

นี่เราคิดไปอนาคตแล้วนะว่า “ออกพรรษาเราจะมีกิจกรรมนั้น เราจะมีกิจกรรมอย่างนี้” เราคิดไปอนาคต เราคาดหวังไปอนาคต “เกิดมานี้แล้วจะไม่ตาย เกิดมาแล้วเวลาประพฤติปฏิบัติเราจะมีมหาศาล เราจะปฏิบัติเมื่อไหร่ก็ได้” เราผัดวันประกันพรุ่งไปตลอด นี้กิเลสมันอยู่ในหัวใจของเรา

กิเลสในหัวใจของเราเห็นไหม ถึงไม่ต้องให้กิเลสมันอบรมเราหรอก กิเลสในหัวใจของเรามันก็แสดงตัวอยู่แล้ว แล้วมันทำให้เราเดือดร้อน ให้เราคลาดเคลื่อนจากปัจจุบันนี้ไป ถ้ามันคลาดเคลื่อนจากปัจจุบันนี้ไป เราก็จะเสียโอกาสไง

ถ้าเราเสียโอกาสนะ ในการประพฤติปฏิบัติ เราประพฤติปฏิบัติมาแล้วมันยังมีความผิดพลาด มีความหลง มีสิ่งต่างๆ นี้เกิดขึ้น แล้วนี่มันไม่ได้ปฏิบัติเลย มันทำให้เราเคลื่อนไปแล้ว เคลื่อนไปแล้วเห็นไหม มันเป็นอดีต อนาคต มันไม่เป็นปัจจุบัน มันถึงแก้กิเลสไม่ได้ไง ถ้ามันไปแก้กิเลสนะ เราต้องมีความจงใจ มีความมั่นใจ เราเกิดมาเป็นชาวพุทธ อำนาจวาสนานี้เรามีมาก

ธรรม.. เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศขึ้นมา นี่ธรรม ธรรมคือเหตุและผล ถ้ามันมีเหตุมีผล.. หัวใจจะยอมรับสิ่งที่เป็นเหตุเป็นผล สิ่งที่เป็นเหตุเป็นผลในหัวใจของเรา เวลาทุกข์มันเกิด เกิดอย่างไร เวลามันมีความเดือดร้อน มันร้อนหัวใจมาก มีคนมาปลอบประโลมเราขนาดไหน มีคนมาช่วยเหลือเจือจานเราขนาดไหน แต่ความทุกข์มันก็เป็นความทุกข์ของเราอยู่วันยังค่ำ

ถ้าเราพยายามค้นคว้าของเราขึ้นมา ค้นคว้านะ เราต้องค้นคว้าเข้ามา ถ้ามันอบรมบ่มนิสัยเข้ามา มันจะเข้ามาถึงนี่ “อบรมบ่มด้วยธรรม” เราจะบ่มใจของเราด้วยธรรม ถ้าเราอบรมบ่มใจของเราด้วยธรรม เราต้องมีความเชื่อ มีศรัทธามีความเชื่อ เห็นไหม

ถ้าเรามีศรัทธามีความเชื่อ นี่ธรรม ธรรมตรงข้ามกับอธรรม อธรรมคือเป็นฝ่ายดำ เป็นเรื่องของกิเลสออกแสวงหาสิ่ง ออกแสวงหาเรื่องของกิเลส คือออกความยึดมั่นถือมั่นไง เรื่องกิเลสคือความยึดมั่นถือมั่น คือความติด ความทุกข์ต่างๆ สิ่งที่มีความขัดข้องใจเห็นไหม ทำไมสิ่งที่ขัดข้องใจ เราพอใจคิด เราพอใจทำ สิ่งที่เราขัดข้องใจ มันเป็นอาหารของกิเลสไง กิเลสเอาสิ่งนี้เป็นอาหารแล้วเผารน หัวใจของเรา นี่เราว่าเราอบรมธรรมอยู่ไง

ธรรมมันมีเหตุมีผลนะ เหตุผลว่า “สิ่งนี้เป็นความทุกข์” ทุกข์มันเกิดขึ้นมาจากสิ่งใดล่ะ ถ้าทุกข์มันเกิดขึ้นมา เกิดจากหัวใจของเรา เราต้องค้นคว้าหัวใจของเราให้ได้ ถ้าเราค้นคว้าหัวใจของเราเห็นไหม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงบอกให้เชื่อธรรมก่อนไง “ศีล สมาธิ ปัญญา”

ถ้าเราไม่มีศีลนะ ความคิดของใจมันสงบเข้ามาไม่ได้หรอก แต่ถ้าเรามีศีลขึ้นมาเห็นไหม ศีลมันบังคับเหมือนรั้วบ้านไง ถ้าเรามีรั้วบ้าน เราจะกันสัตว์ร้ายได้อย่างหนึ่ง กันขโมยได้อย่างหนึ่ง รั้วบ้านนะ แล้วเวลาเรามีรั้วบ้านคือศีลเป็นขอบเข้ามา แล้วถ้าเราเข้าบ้านของเราล่ะ ถ้าเราสร้างบ้านของเราขึ้นมา บ้านของเราคือสัมมาสมาธิไง ถ้าเรามีสัมมาสมาธินะ เรามีบ้าน มีที่อยู่อาศัย

ถ้าเราไม่มีสัมมาสมาธินะ เรามีรั้ว มีศีล เห็นไหม ศีลมีรั้วอยู่แล้ว แต่บ้านเรายังไม่ได้สร้าง เราอยู่ในที่กลางแจ้ง เราก็ตากแดดตากฝน สิ่งที่ตากแดดตากฝนก็คือความทุกข์ในใจนั่นไง เวลาเกิดอารมณ์มีความรู้สึกขึ้นมา ทุกข์เกิดขึ้นตลอดเวลา ถ้าทุกข์เกิดขึ้นตลอดเวลา แล้วเวลาเราประพฤติปฏิบัติ เราก็ต้องการความสะดวกต้องการความสบาย

สร้างบ้านของเรา ถ้าบ้านของเราแข็งแรง บ้านของเราถูกต้อง คือถูกต้องตามสัมมาสมาธิ เราจะมีที่พึ่งอาศัย เราจะมั่นใจว่าบ้านของเราจะไม่พังทลายทับเราไง แต่ถ้าเราสร้างของเราโดยความสะดวกสบาย หาไม้สิ่งใดได้ก็ค้ำขึ้นไปๆ จะให้มันเป็นบ้านไง นี่มิจฉาสมาธิไง การปล่อยวางของเรา การประพฤติปฏิบัติว่าสิ่งนี้การปล่อยวางของเรา ถ้าเราปล่อยวางเข้ามาจะเป็นสมาธิๆ ไง ต้องการความสะดวก ต้องการความสบาย

เวลาเราจะกินอาหาร มันมีเครื่องปรุงอาหารเห็นไหม เราไปตามร้านอาหารจะมีเครื่องปรุงของอาหาร เรากินอาหารเพื่ออะไร เรากินอาหารเพราะเราหิวใช่ไหม เราต้องการการดำรงชีวิตใช่ไหม ถ้าเราดำรงชีวิต เราต้องสั่งอาหารนั้น แล้วเราจะปรุงอาหารของเราให้ถูกกับลิ้น ถูกกับความพอใจของเรา นี้ก็เหมือนกัน แต่ในเมื่อในการประพฤติปฏิบัติ เครื่องปรุงอาหารไม่ใช่อาหาร รสชาติของมันดีไง

เวลาเราสร้างบ้านของเราขึ้นมา เรามีไม้อย่างไร เราก็จะตีขึ้นไปให้เป็นบ้านของเรา มันเป็นเครื่องปรุงอาหาร เครื่องปรุงอาหารไม่ใช่อาหาร ถ้าเป็นอาหาร เห็นไหม ไม้หรือการก่อสร้างบ้านของเรา เราต้องทำขึ้นมาให้เป็นความมั่นคง ตั้งเสาก็ต้องตั้งเสาให้ตรง ไม้..เราจะบากเสา เราจะเข้าไม้เข้าคานอย่างไร ต้องทำให้มันมั่นคง สิ่งที่เป็นความมั่นคง มันก็จะเข้ามาถึงความมั่นคงของใจเรา มันจะเป็นสัมมาสมาธิเข้ามาไง

สิ่งที่เป็นอาหาร มันเป็นการหล่อเลี้ยงร่างกายนะ สิ่งที่เป็นบ้านของใจ เป็นที่พักของใจ คือใจมีสัมมาสมาธิ ถ้าใจมีสัมมาสมาธิ ก็อบรมใจของเราเข้ามา บ่มสิ่งนี้เข้ามา บ่มนิสัยของเรา เราไม่ใช่คนมักง่าย คนมักง่าย คนอยากสะดวกอยากสบายนะ ทำอะไรก็อยากสะดวกอยากสบาย

ดูการประพฤติปฏิบัติสิ เวลาเราประพฤติปฏิบัติ พระผู้ที่ออกบวชเห็นไหม ออกบวชแล้วเป็นสายปฏิบัติเสียด้วย ถ้าเป็นสายปฏิบัติมันมีเวล่ำเวลาตลอด “ทางของสมณะเป็นผู้ที่กว้างขวางมาก” ๒๔ ชั่วโมงนะ ๒๔ ชั่วโมงนี้เราจะประพฤติปฏิบัติได้ตลอดเวลาเลย เราจะพักตอนไหน เราจะไม่พัก เราถือเนสัชชิกก็ได้ เราจะทำขนาดไหน อดอาหารขึ้นมา ๒๔ ชั่วโมง เราทำได้ตลอด แต่ในเมื่อคฤหัสถ์เขาทำอย่างนั้นไม่ได้ เพราะเขามีอาชีพของเขา เขาทำอาชีพของเขาเป็นกาล..เห็นไหม เป็นกาล..

ถ้าจิตมันเรียกร้อง คือมันอยากพ้นออกไปจากวัฏวนนี้ไป เพราะถึงเราจะไม่เห็น แต่เราก็เชื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมชาติของจิตนี้มันพุ่ง มันยาวไกล มันก็เวียนเกิดเวียนตายอยู่สภาวะแบบนี้ ความจริงเห็นไหม คนเกิดมาแล้วต้องตาย ทีนี้ความตาย ขณะที่เราจะตายแน่นอน ทำไมเราไม่เอาสิ่งนี้มาเตือนเรา “เรานี่ต้องตายแน่นอนนะ”

ชีวิตนี้ การดำรงชีวิตนี้มันเป็นเครื่องอาศัย มันเป็นปัจจัย มันไม่เป็นความจริง แต่หัวใจของเราเป็นความจริง ความทุกข์อันนี้เป็นความจริง มันจะเกิดดับๆ กับหัวใจอันนี้ ในเมื่อทุกข์นี้เป็นความจริง มันก็เป็นไตรลักษณ์ “เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป” สิ่งที่เป็นไตรลักษณ์เป็นความจริงนะ แต่ทุกข์ที่มันสุมขอนอยู่ในหัวใจนี้มันยิ่งเผารน มันยิ่งเป็นความจริงกว่าไง

เวลาเราเดือดร้อนขึ้นมา เราเดือดร้อนจากภายนอก เราเห็นว่าสิ่งนี้เป็นความทุกข์มาก มันเป็นความหยาบๆ นะ ความหยาบๆ เพราะอะไร เพราะมันเป็นของหยาบไง แต่ถ้ามันเป็นของละเอียดเข้าไปล่ะ ของละเอียดมันอยู่ในหัวใจของเรา อยู่ในหัวใจของเราคือ “ตัวผู้รู้” นั่นเป็นของละเอียด มันเป็นพลังงานรู้ในหัวใจตัวนี้ สิ่งนี้มันละเอียดอ่อนอยู่ในหัวใจ

สิ่งที่ละเอียดอ่อนอยู่ในหัวใจมันเผารนใจตัวนี้ ถ้าตัวนี้เป็นตัวความจริง เพราะตัวนี้เป็นตัวเกิดตัวตาย สิ่งที่ตัวเกิดตัวตาย เวลาเราว่าเราเกิดเราตาย มันเป็นเรา เห็นไหม จะเป็นพระ ก. พระ ข. นาย ก. นาย ข. ก็แล้วแต่เป็นเรา เราว่าเราเป็นเรา

มันชั่วคราวไง สิ่งนี้ “คนเราเกิดมาเป็นญาติกันโดยธรรม” ญาติกันโดยธรรมเพราะเกิดมามีปากมีท้อง สิ่งที่มีปากมีท้องนะ โรคที่เบียดเบียนอยู่ตลอดเวลาคือโรคหิว โรคหิวนี้จะเบียดเบียนชีวิตอยู่ตลอดไป ทุกคนต้องพยายามแสวงหามาเพื่อบรรเทาโรคนี้ตลอดไป เวลาบรรเทาโรคนี้ เราก็แสวงหาสิ่งนี้ ต้องการบรรเทาเรา พอบรรเทาแล้วเห็นไหม

เวลาผู้บริหารประเทศ เขาต้องมีอาหารคงในประเทศของเขา จะเลี้ยงประชากรได้กี่ปีๆ พลังงานก็ต้องมีว่าในประเทศนั้นจะใช้ได้กี่เดือน เขาต้องบริหารของเขา เขาสะสมไง สะสมเพื่อความมั่นคงของชีวิตของเขา มั่นคงในประเทศของเขา เห็นไหม

นี้ก็เหมือนกัน ในชีวิตของเรา เราก็ต้องการความมั่นคงของเรา เราก็จะสะสม เราก็จะแสวงหา ทั้งๆ ที่มันกินแค่อิ่มเดียวเท่านั้นล่ะ นี่พระปฏิบัติฉันแค่อิ่มเดียว แต่ในทางโลกเขากินกัน ๓ มื้อ ๔ มื้อ เขากินแล้วเขาก็หิวเขาก็กระหายของเขา สิ่งที่อย่างนั้น พอมันหิวมันกระหาย มันเป็นยารักษาโรคอันหนึ่ง เขาพยายามแสวงหาสิ่งนั้น เพื่อจะดำรงชีวิตของเขาตลอดไป

แต่ในเมื่อประพฤติปฏิบัติ.. สิ่งที่ว่ามันเป็นประโยชน์กับการรักษาดำรงธาตุขันธ์ แต่หัวใจล่ะ หัวใจมันเร่าร้อนสิ่งใดล่ะ เวลาเราบวชแล้ว ถ้าธรรมอบรมเราเห็นไหม ถือนิสัย เวลาในพรรษาถือธุดงควัตรด้วย แล้วยังถือการมักน้อยสันโดษ นี่เพื่อขัดเกลากิเลสไง เพื่อสร้างสมให้ใจนี้มันมีหลักมีเกณฑ์ของมัน ต้องให้ใจนี้มีหลักมีเกณฑ์นะ เวลาประพฤติปฏิบัติ บอกใจนี้เป็นนามธรรมๆ ความคาดหมายของเราว่าเป็นนามธรรม มันเป็นนามธรรมเพราะมันชี้ แล้วมันมองไม่เห็น

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงบอกว่า “ใจนี้เป็นนามธรรม” สิ่งที่เป็นนามธรรม ทำไมบอกเป็นดวงล่ะ ทำไมอารมณ์นี้เป็นอารมณ์ ๑๐๘ ดวงล่ะ สิ่งที่เขาว่ากันนะ “อารมณ์ ๑๐๘ ดวง” แต่กรรมฐานเราบอกหนึ่งเดียว! “จิตนี้เป็นหนึ่ง” รับรู้แต่ละทีเป็นหนึ่งเดียวเท่านั้น สิ่งที่หนึ่งเดียวนี้ เราต้องย้อนกลับมาให้มันตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียวให้ได้ เราจะทำงานจากภายในของเราไง สิ่งที่เป็นความจริงคือหัวใจ สิ่งที่เป็นนามธรรม สิ่งที่เป็นความรู้สึกนี่เป็นความจริง

สิ่งที่เป็นแก้วแหวนเงินทอง สิ่งที่เป็นสมบัติ ตึกรามบ้านช่องนั้นไม่ใช่ของจริง สิ่งนี้สมมุติขึ้นมา เวลาเกิดพายุเกิดวาตภัยขึ้นมา สิ่งนี้พังทลายไปทั้งหมดเลย มันเป็นความจริงตรงไหน มันจะอยู่ค้ำฟ้าไปที่ไหน สิ่งนี้ไม่ค้ำฟ้าเลย เวลามันพังทลายไปนี้ มันก็ต้องพลัดพรากจากกัน แก้วแหวนเงินทองสมบัติก็เหมือนกัน เราไม่พลัดพรากจากเขา เขาก็พลัดพรากจากเรา

ถ้าเราเป็นคนฉลาดมีปัญญา สิ่งที่เกิดขึ้นมาจะเป็นประโยชน์กับเราทั้งหมดเลย สิ่งที่เป็นประโยชน์ ถ้าเราสละออก ในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกเหมือนไฟไหม้เรือน “ถ้าใครขนสมบัติออกจากเรือนนั้นได้มากที่สุด คนๆ นั้นก็จะได้สมบัตินั้นเป็นของเรา”

นี้ก็เหมือนกัน มันเผารน ชีวิตนี้กาลเวลามันเผาเราตลอดไป มันกลืนกินสัตว์โลกไปตลอด เราต้องตายแน่นอน เราได้อายุมา ๕๐-๖๐ ปี เวลาที่เราได้มานั้นคือเราเสียเวลาไป ๕๐ ปี ๖๐ ปี แล้วเราจะมาประพฤติปฏิบัติ เรามีกฎเกณฑ์อะไรในหัวใจของเราขึ้นมา เรามีหลักประกันอะไรในหัวใจของเราว่าเราจะค้นคว้าใจของเราเจอ เราเห็นความทุกข์ หัวใจที่ว่ามันเป็นความจริง เราเห็นไหม เพราะมันเป็นนามธรรม

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “เป็นนามธรรม” ถ้าเป็นนามธรรม ทำไมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกธาตุ ๖ ล่ะ ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ นี่เรื่องของร่างกาย.. ธาตุ ๖ คืออากาศธาตุ คืออากาศในกระดูกเห็นไหม นี่ในอากาศเห็นไหม แล้วก็ธาตุรู้ไง หัวใจนี้เป็นธาตุรู้ สิ่งที่เป็นธาตุรู้มันเป็นความจริงของมันอยู่ สิ่งที่เป็นความจริง ธาตุรู้นี้สำคัญที่สุดเพราะธาตุรู้นี้พาเกิดพาตายไง

ธาตุรู้จะเวียนตายเวียนเกิดไปในวัฏฏะนี้ตลอดไป ธาตุรู้คือหัวใจ ความรู้สึกอันนี้เป็นหัวใจ สิ่งนี้เป็นความจริง สิ่งที่เป็นนามธรรมเป็นความจริงมาก แต่เพราะมันโดนกิเลสอบรม แม้แต่ประพฤติปฏิบัติก็เอากิเลสอบรม

สิ่งที่กิเลสอบรม สิ่งที่เป็นความจริงคือเป็นอริยสัจ สิ่งที่เป็นอริยสัจคือ “ความรู้ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์.. ทุกข์ดับ เหตุแห่งการดับทุกข์” มันจะเข้าใจตามความสัจจะอันนั้น แต่ในเมื่อธาตุไปเอากิเลสอบรม มันต้องการความสะดวก มันต้องการความสบาย มันกลับออกรู้สิ่งต่างๆ

เวลาจิตสงบเข้ามา หรือทำความสงบเข้ามา มันจะมีสิ่งออกรู้ เห็นไหม ขณิกสมาธิ.. อุปจารสมาธิ.. เวลาเกิดนิมิต เกิดความเห็น เกิดสิ่งต่างๆ อย่างนั้นมันเป็นแบบเครื่องปรุงอาหาร มันไม่ใช่อาหาร แม้แต่เกิดอภิญญานะ รู้วาระจิตต่างๆ หูทิพย์ ตาทิพย์ สิ่งที่เป็นหูทิพย์ ตาทิพย์นี่มันเป็นเครื่องปรุงอาหาร มันไม่ใช่อาหาร มันไม่ใช่อริยสัจ มันไม่ใช่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า “ทุกข์ดับ รู้วิธีแห่งการดับทุกข์” มรรคญาณจะเกิดไง สิ่งที่เป็นมรรคญาณเกิด นี่ความละเอียด ละเอียดขนาดนั้นนะ เวลาจิตมันธรรมชาติของมัน เหมือนแดดออก เวลาฝนตกเรารองเราก็ต้องได้น้ำใช่ไหม เวลาแดดออก แสงแดด ถ้าเรามีแผงรับแสงแดด เราก็จะได้พลังงานใช่ไหม

นี่ก็เหมือนกัน เวลาจิตเราทำความสงบเข้าไป พลังงานของจิตมันมีไง พลังงานของจิตมันมี มันจะออกรู้สิ่งต่างๆ ถ้าออกรู้สิ่งต่างๆ นี่เราไปตื่นเต้นกับเครื่องเคียงไง เราไปตื่นเต้นกับเครื่องปรุงอาหาร แล้วสิ่งที่รับรู้ต่างๆ นี้มันเป็นอะไรล่ะ มันก็เป็นอนิจจัง สิ่งที่เป็นอนิจจังมันก็เกิดขึ้น มันก็เสื่อมสภาพไป มันจะคงที่อย่างนี้ เป็นไปได้ไหม? มันเป็นไปไม่ได้! เพราะอันนี้คืออาการของใจ

ธาตุรู้คือตัวใจ คือตัวความรู้อยู่อย่างนั้น แต่สิ่งที่ออกรู้มารู้สัมผัสต่างๆ รู้สัมผัสว่าจิตนี้เป็นอุปจารสมาธิแล้วออกรับรู้ สิ่งที่ออกรับรู้มันเป็นอาการของใจ.. ใจไปรับรู้ ใครไปรับรู้สิ่งต่างๆ ใจนี้เป็นผู้รู้นะ แล้วพอเรารู้อาการออกไป อย่างอภิญญาต่างๆ แล้วเราก็ตื่นเต้นไปกับความรู้ความเห็นของเรา

สิ่งที่ตื่นเต้นไปกับความรู้ความเห็นนั้น มันเป็นเครื่องปรุงอาหาร มันกินไม่อิ่มหรอก มันเป็นไปไม่ได้ เพราะมันเป็นอนิจจัง มันเป็นไตรลักษณ์เป็นธรรมชาติของมัน มันจะต้องเสื่อมแน่นอน แต่ถ้าเรามีหลักใจของเรา สิ่งนั้นจะเป็นประโยชน์นะ

ถ้ามีหลักใจ.. ใจของเรามีเหตุมีผลขึ้นมา เราประพฤติปฏิบัติขึ้นมาจนมีหลักใจ สิ่งที่เป็นเครื่องปรุงอาหารจะทำให้อาหารนั้นเอร็ดอร่อยมาก อาหารที่จืดชืดจะทำให้มีรสชาติขึ้นมา อาหารที่รสมันเปลี่ยนแปลงไป เราจะเปลี่ยนรสนั้น เราก็ใช้เครื่องปรุงอาหารนั้นทำให้รสนั้นเข้ามา

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าใจมันมีหลักมีเกณฑ์แล้ว สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์กับใจดวงนั้น ใจดวงนั้นจะอาศัยสิ่งนี้เป็นเครื่องมือ เครื่องมือในการเผยแผ่ธรรม ธรรมอันนี้มันเป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง เห็นไหม เวลาใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใจของพระอัครสาวกต่างๆ มันเป็นสิ่งที่ว่าใจนี้ถ้ามันอาศัยขันธ์นี้ มันจะเอาอะไรออกแสดง ใจนี้มันปล่อยธาตุปล่อยขันธ์เข้ามาทั้งหมดแล้ว

สิ่งที่เป็นธรรมชาติคือธาตุรู้อันนี้มันเป็นอวิชชา ถ้าทำลายสิ่งนี้เข้ามา นี่จิตมันจะสงบ ปล่อยวางสิ่งนี้เข้ามาทั้งหมดเลย สิ่งนี้เป็นวิมุตติสุข มันแสดงตัวของมันไม่ได้ เพราะมันเป็นนิพพาน มันเป็นส่วนหนึ่งของจิตดวงนั้น

จากจิตที่มีอวิชชาที่ปกคลุมใจดวงนี้ให้เร่าร้อน มันก็เร่าร้อนพาใจให้ดวงนี้เร่าร้อนตลอดไป จะต้องเกิดต้องตายในวัฏฏะ ไม่มีต้นและไม่มีปลาย มันจะต้องเป็นอย่างนั้นตลอดไป แต่เวลาเราประพฤติปฏิบัติเข้ามา แต่ละขั้นตอนเข้ามา จิตมันจะต่างกัน สภาวะต่างที่เห็นจากอำนาจของอริยสัจ

อำนาจของอริยสัจ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเทศนาว่าการก็เทศน์ธรรมจักร กิจในการทำงาน ทุกข์อยู่ที่ไหน เราเห็นทุกข์เห็นไหม ทุกข์นี้เกิดเพราะเหตุใด ทุกข์นี้เกิดเพราะสมุทัย สมุทัยเห็นไหม ละที่สมุทัย นิโรธความปล่อยวาง มันปล่อยเพราะอะไรล่ะ มันปล่อยเพราะมรรคไง สิ่งที่เป็นอริยสัจนี้มันจะเกิดขึ้นมา

จะประพฤติปฏิบัติขนาดไหน เราประพฤติปฏิบัติทางปัจจุบันนี้ โลกนี้เจริญขึ้นมา เราก็อ้างอิงไง พอเรามีความรู้ของกิเลส.. กิเลสมันอยู่ในหัวใจอยู่แล้ว มันพลิกแพลงออกไป มันจะหาช่องทางที่สะดวกที่สบาย แล้วบอกว่า “สิ่งนี้ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าว่าไว้ แล้วมันเลือนไปแล้ว เราค้นคว้าขึ้นมาใหม่ ค้นคว้าขึ้นมาใหม่เพื่อเป็นความสะดวก เพื่อเป็นความสบาย” มันบิดเบือนธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า!

ถ้าคนที่สามารถกล้าบิดเบือนธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะกราบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ไหม แล้วมันได้ประพฤติปฏิบัติขึ้นมายังบอกว่า “เรานี่รู้มากกว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีก” มันเป็นไปได้อย่างไร!

ปัญญาความกว้างขวาง จะไม่มีใครมีความกว้างขวางเท่ากับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปได้อีกแล้ว เมื่อถึงกาลขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมณโคดม เอกคือมีหนึ่งเดียวเท่านั้น จะซ้อนไม่ได้ จะเป็นความซ้อนไปไม่ได้ เพราะมันเป็นความจริงอันหนึ่ง เพราะการสร้างสมมาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้แสนยาก แสนยากเห็นไหม อย่างน้อย ๔ อสงไขย แสนมหากัป ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย ถึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแต่ละองค์หนึ่งๆ

ธรรมอันนี้จึงเกิดจากสภาวะแบบนั้น แล้วเราเจอธรรมอันละเอียดอ่อนอย่างนี้ แล้วถึงได้มีผู้บิดเบือนไง นี่อบรมโดยกิเลสไง ประพฤติปฏิบัติโดยกิเลส เห็นไหม สิ่งที่ประพฤติปฏิบัติโดยกิเลสว่า “สิ่งนี้มีอยู่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้” จะอ้างอิง จะบิดจะอิงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อิงแล้วก็ใช้กิเลสนั้นสร้างสมการขึ้นมาว่า “การปฏิบัติจะต้องเป็นแบบความสะดวกความสบายของเขา จะเป็นสภาวะแบบนั้น”

มันเป็นไปไม่ได้! สิ่งที่เป็นไปไม่ได้.. แต่กิเลสมันทำได้ไง นี่กิเลสมันร้ายกาจขนาดนั้นนะ ในการประพฤติปฏิบัติแล้วก็ทำให้ล้มลุกคลุกคลาน ประพฤติปฏิบัติแล้วก็ไม่เข้าอริยสัจ ไม่เข้าอริยสัจเพราะอะไร เพราะไม่เห็นทุกข์ ไม่รู้สิ่งที่เป็นการดับทุกข์ ไม่รู้จักทุกข์ดับ และวิธีการดับทุกข์

ในวิธีการดับทุกข์ มันต้องพร้อมด้วยความเพียรชอบ การงานชอบ สิ่งที่เป็นความชอบ มรรค ๘ มันต้องชอบ สิ่งที่ชอบจะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร สิ่งที่เกิดขึ้นมาได้ แล้วเวลาเกิดขึ้น อาการทำงานของมรรคญาณจะเป็นอย่างไร สิ่งนี้ต่างหากเป็นอริยสัจ สิ่งนี้ต่างหากเป็นความจริง

ถ้าสิ่งนี้เป็นความจริง จะประพฤติปฏิบัติขนาดไหนก็แล้วแต่ มันจะเข้ามาถึงจุดนี้ จุดนี้ต่างหากเป็นการกรองการประพฤติปฏิบัติ ถ้าการประพฤติปฏิบัติมีความจริงอย่างนี้ มันถึงจะเป็นความจริงอันประพฤติปฏิบัติถึงความถูกต้อง

ถ้าไม่มีความจริงอย่างนี้ ไม่มีการอริยสัจอันนี้ ไม่เห็นวิธีการดับทุกข์อย่างนี้ เครื่องดับทุกข์ วิธีการดับทุกข์ของมรรคญาณอย่างนี้เกิดขึ้นมา การกระทำอย่างนั้นมันจะเป็นการดับทุกข์ได้อย่างไร มันเป็นความที่ว่าเราเอาความทุกข์นี้กลบไว้ไง เอาความสงบนี้กลบความทุกข์ไว้ เอาความทุกข์นี้กดไว้ในหัวใจนั้น มันไม่มีการชำระสะสาง มันน่าสลดสังเวชนะ

น่าสลดสังเวชที่ว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปฏิเสธเจ้าลัทธิต่างๆ มา ในสมัยพุทธกาล ครูทั้ง ๖ เขาสอนมาเหมือนกัน สิ่งที่เขาสอน มีลัทธิบางลัทธิให้เสวยสุขไป ให้เสวยแต่ความสุข คนเราจะเกิดตายแค่ ๕๐๐ ชาติ แล้วก็จะถึงซึ่งที่สุดไง “เกิดมาแล้วเสวยแต่ความสุข ทำอย่างไรก็ได้ให้มีความสุขตลอดไป”

ถ้าสิ่งนั้นมันเป็นไปนี่มันมีเหตุมีผลของเขา มีเหตุมีผลโดยสัจจะความจริงเห็นไหม ทุกอย่างมีเหตุมีผล ในเมื่อเราเสวยแต่ความสุข เสวยแต่สภาวะแบบนั้น มันก็ติดสุข ความที่ติดสุข ติดสภาวะแบบนั้น แล้วติดสุขนี้เกิดขึ้นมาจากไหน เราต้องแสวงหาไหม เราต้องการหามาไหม สิ่งนี้มันเป็นวิธีการไหม

มันก็เป็นความคิดความเห็นของลัทธิหนึ่ง ลัทธิต่างๆ การประพฤติปฏิบัติสิ่งใดๆ พิจารณาของเขาไป เป็นขนาดไหนก็แล้วแต่ ในสมัยพุทธกาลก็มีอย่างนี้อยู่แล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปฏิเสธทั้งนั้นเลย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย้อนกลับมาที่ว่าทุกข์.. ถ้าเราเห็นทุกข์ของเรา

แต่เราไม่เห็นทุกข์ของเรา ทุกข์นี่เราไม่เห็นหรอก เราบ่นกันแต่ทุกข์ เราบ่นนะ เพราะอะไร เพราะเราส่งออก จิตนี้เราส่งออก เวลาทุกข์นี่เราก็บ่น เราก็เร่าร้อนว่าเรามีความทุกข์ แล้วเราจะแก้ไขอย่างไร

การจะแก้ไข องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมไว้เห็นไหม “ทาน ศีล ภาวนา” สำหรับคฤหัสถ์ให้ทาน ให้ฝึกฝน ฝึกฝนใจดวงนี้ให้มันมีการเคลื่อนไหว ถ้ามันไม่มีการเคลื่อนไหว ถ้าเราไม่สละทาน เวลาเราสละทาน เรามีความสุขไหม เรามีความสุข เรามีความพอใจ ในเมื่อมีความสุขมีความพอใจ เพราะเราเห็นว่านี้เป็นบุญ ในการเป็นบุญ บุญต้องให้ผลเป็นความสุข ในเมื่อเป็นบุญกุศล.. นี่บุญกุศล ฝึกใจอย่างนี้ จากทานเห็นไหม

ศีล.. เริ่มต้นการประพฤติปฏิบัติเพราะได้ฟังธรรม ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ไง นี่ธรรม ธรรมคือว่า “ทาน ศีล ภาวนา” , “ศีล สมาธิ ปัญญา” สิ่งที่ว่าให้มักน้อยสันโดษในปัจจัย ๔ ปัจจัย ๔ นี่เรามักน้อยสันโดษ เราหามาขนาดไหน ถ้าเราใช้สอยโดยความฟุ่มเฟือย มันจะทำให้เรานิสัยมีแต่ความฟุ่มเฟือย นิสัยเราไม่ละเอียดอ่อน เราจะต้องมีความละเอียดอ่อน ความละเอียด ความรอบคอบ เพราะมันจะเป็นการฝึกสติ

ถ้าเราไม่มีสติ ในการประพฤติปฏิบัติเราจะเป็นคนที่ว่ามักง่าย ขนาดกิริยาท่าทางการแสดงออกยังมักง่ายนะ หลวงปู่มั่นท่านเคยติพระไว้นะ เวลาพระเดินไปท่านเปรียบเหมือนว่า “เอาหัวเดินต่างเท้า” เพราะอะไร เพราะการเดินไปมันไม่มีสติไง การพิจารณาการกระทำนั้นมันไม่มีสติไม่มีปัญญา เอาหัวเดินต่างเท้า ท่านเปรียบเหมือนว่าไม่มีปัญญา การเดินนี่เราเอาเท้าเดิน เราไม่ได้เอาศีรษะเดินต่างเท้า ถ้าเราเอาเท้าเดิน ศีรษะเราต้องไม่มีความคิดสิ เพราะในศีรษะมันมีสมองไง สมองมันต้องคิดได้ทำได้

มันถึงต้องปัจจัย ๔ ให้มักน้อยสันโดษ ถึงต้องมีธุดงควัตร ธุดงควัตรเพื่อขัดเกลากิเลสไง มักน้อยสันโดษ นอนก็น้อย กินก็น้อย สิ่งที่กินก็น้อย นอนก็น้อยเพื่ออะไรล่ะ เพื่อให้ร่างกายมันเบา เพื่อให้การประพฤติปฏิบัติมันคล่องตัว ถ้ามันคล่องตัวขึ้นมา มันจะเริ่มการทำความสงบของใจเข้ามา

แล้วเขาบอกว่า “จิตนี้เป็นนามธรรม จิตนี้เป็นนามธรรม”

ถ้ามันมีความสงบเข้ามา สติมันตั้งมั่นเข้ามา มันจะเป็นนามธรรมไปที่ไหนล่ะ ถ้าจิตนี้เป็นนามธรรมแสดงว่าเขาไม่เคยทำความสงบของใจได้เลย ถ้าทำความสงบของใจได้ จิตนี้ไม่เป็นนามธรรม จิตนี้เป็นรูปธรรมขึ้นมา เพราะสติมันจะพร้อมกับความรู้สึกเข้ามา เวลาจิตสงบขึ้นมา ผู้ที่ทำความสงบของใจเข้ามาจะแปลกประหลาดมากว่า “ความสงบเป็นอย่างนี้หรือ ความสุขเป็นอย่างนี้หรือ” จะมหัศจรรย์กับจิตของตัวเองนะ

เวลาจิตของตัวเอง สติมันไล่ต้อน ไล่ต้อนเข้าไปๆ มันจะลึกเข้าไปนะ “ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ” สติมันจะตามเข้าไปตลอด ละเอียดเข้าไปตลอด จนถึงที่สุดนะ ถ้ากำหนดลมหายใจ ลมหายใจจะเริ่มเบาลงๆ จนขาดไป พอลมหายใจขาดเห็นไหม ความรู้สึกตัวหายไป นี่มันเหลือสักแต่ว่ารู้ไง ถ้าเหลือสักแต่ว่ารู้นี่เข้าถึงอัปปนาสมาธิ เข้าถึงรวมใหญ่

ความเป็นอย่างนี้ มันจะบอกว่าไม่มีตัวตนได้อย่างไร มันเห็นสติมันไล่ต้อนเข้าไป สติจะรู้ไปตลอดจนสักแต่ว่ารู้นะ จนโลกก็แปลกใจว่า สักแต่ว่ารู้นี้เป็นอย่างไร นี่มันจะรู้ได้อย่างไร มันสักแต่ว่ารู้ แล้วมันจะรู้อะไรล่ะ มันก็รู้ในใจของมันไง ตัวที่เป็นตัวผู้รู้นี่แหละ มันจะรู้ตัวของมันเอง แต่ขณะที่ว่ารวมใหญ่นี่ดับหมดนะ อายตนะคือ “ตา หู จมูก ลิ้น” นี่ดับหมด เสียงไม่ได้ยิน ทุกอย่างนี้ดับหมดเลย แล้วรวมอยู่อย่างนั้นพักใหญ่แล้วคลายออกมา นี่สัมมาสมาธินะ

เวลาพิจารณาด้วยปัญญาอบรมสมาธิก็เหมือนกัน “ปัญญาอบรมสมาธิ” เราพิจารณาของเราเข้าไป ใช้ปัญญาไล่ต้อนความคิดของเรา มันปล่อยวางได้ ถ้ามันปล่อยวาง เรามีจริต เรามีนิสัย เราใช้ปัญญาเราไล่ต้อนเข้ามา ไล่ต้อนความคิด เวลามันคิดออกไป มันมีความคิด มีสติ แล้วความคิดว่าเราคิดอะไร เราคิดสิ่งนี้ เราคิดซ้ำคิดซาก เราเคยคิดมาแล้วกี่ร้อยครั้ง แล้วคิดแล้วทีไรมันก็เร่าร้อนทุกที

ถ้ามันเห็นปัญญาอย่างนี้ พอมันรู้ว่าคิดแล้ว เดี๋ยวเราก็ต้องมีความรู้สึกในหัวใจ มันก็จะปล่อยวางสิ่งนี้ แล้วสติอันนี้มันจะใคร่ครวญตลอด พิจารณาตลอดไป ใคร่ครวญตลอดคือว่ามันจะไล่ต้อนความคิดมันตลอด นี่มันก็สงบเข้ามาได้ สงบเข้ามาได้ สงบเข้ามาอย่างนี้ สงบเข้ามาโดยไม่รวมใหญ่ ไม่ตัดถึงอายตนะ สิ่งนี้เป็นปัญญาอบรมสมาธิ

เวลาทำสมาบัติ เห็นไหม ทำสมาบัติ จิต..มันเริ่มต้นขึ้นไปจากปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ถึงจตุตถฌานนี่เอกัคคตารมณ์จิตมันตั้งมั่นอย่างนี้ไง จากสมาธิ จากฌานขึ้นมา เราทรงตัวขึ้นมา แล้วอากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ มันพัฒนาอย่างนี้ ถ้าเราทำสมาธิแบบนี้ แบบว่าได้ฌานสมาบัติ มันจะมีพลังงานมาก

พลังงานเพราะจิตเวลาเข้าถึงเรื่องสมาบัติเห็นไหม มันเปลี่ยนขั้นตอนไง มันเปลี่ยนขั้นตอนเหมือนกับน้ำ จากน้ำเย็นเป็นน้ำเดือด น้ำอุ่นขึ้นมาเรื่อย มันมีพลังงานของมันขึ้นมาในจิตนั้น จิตนั้นถึงมีพลังงานแล้วมันจะออกอย่างที่ว่าเป็นอภิญญานั่นล่ะ สิ่งที่เป็นอภิญญาคือจิตนี้จะออกรู้ไง แล้วมันก็ติดอย่างนี้ไง นี่สมาธิที่ว่าเวลาออกไปแล้วมันติดไง แล้วบอกว่า “จิตเป็นนามธรรม ไม่มี” ไม่มีไปได้อย่างไร

เวลาเพ่งกสิณ เวลาทำฌาน เวลาพิจารณาฌานขึ้นไป จิตนี้ก็เป็นฌาน เป็นฌานก็คือความสงบ สิ่งที่สงบเป็นฌาน แต่มันมีพลังงานของมันไง พลังงานมันเหมือนสมาบัติ สิ่งนี้มันจะส่งออกไง หลวงปู่มั่น หรือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงทำอานาปานสติ ทำความสงบของใจ ทำใจให้สงบเข้ามา มีสติพร้อมเข้ามา สิ่งนี้ถึงเป็นเอกัคคตารมณ์ จิตนี้ตั้งมั่น พอจิตนี้ตั้งมั่นยกขึ้นวิปัสสนา

วิปัสสนาในสิ่งใดล่ะ เวลาเรากินอาหาร เรากินอาหารเพื่ออะไร เพื่อประโยชน์กับร่างกายของเรา ถ้าเรากินอาหารเพื่อประโยชน์กับร่างกายของเรา นี้ก็เหมือนกัน เราทำสัมมาสมาธิขึ้นมา พอสัมมาสมาธิขึ้นมาก็เหมือนกับเราหาอาหารขึ้นมา “ความเพียรชอบ” ชอบในอะไร เราจะกินอาหารของเรา ถ้าเรากินอาหารของเรา นี่มันจะให้ผลกับจิตดวงนั้นไง ถ้าเราบ่มจิตดวงนั้นด้วยมรรคญาณ มรรคญาณจะเกิดขึ้นอย่างนี้

มรรคญาณจะเกิดขึ้น ทุกข์.. ทุกข์เพราะเหตุใด ทุกข์เพราะมีตัณหาความทะยานอยาก ตัณหาความทะยานอยากนี้เป็นสมุทัย แล้วพอสมุทัย ปัญญามันใคร่ครวญในความทุกข์นั้น จับทุกข์นั้นตั้งให้ได้ “ทุกข์นั้นตั้งอยู่ที่ไหน” ทุกข์นั้นตั้งอยู่บนกายกับจิตนี้ เวลามันทุกข์ ใครเป็นคนทุกข์ ก็จิตนี่ ความรู้สึกเรานี่ทุกข์ ทุกข์เพราะมีความรู้สึกอันนี้ ความรู้สึกอันนี้มันหลงผิด มันหลงผิดเพราะว่ามันเห็นว่าสรรพสิ่ง สมบัติข้างนอกเป็นของเรา สิ่งที่เราหามาเป็นสมบัติของเรา

แม้แต่เป็นพระเห็นไหม บริขาร ๘ ก็เป็นของเรา บริขาร ๘ นี้เป็นของเรา เพราะเราบวชแล้ว บริขาร ๘ ต้องเป็นของส่วนบุคคล ถ้าเป็นของคนอื่นเราใช้ของเขาไม่ได้ ห่มผ้า..ผ้านี่ต้องพินทุอธิษฐานเป็นของๆ เรา สิ่งที่เป็นของๆ เรานี้เป็นปัจจัยเครื่องอาศัย แล้วกุฏิวิหาร สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากในวัด มันก็เป็นของเราหรือ.. สิ่งนี้เป็นสาธารณะสมบัติ สิ่งนี้เป็นเรื่องของสาธารณะวัตถุ มันไม่ใช่เรื่องของเรา

ถ้าเป็นคฤหัสถ์.. บ้านเรือนบ้านช่องสิ่งต่างๆ นี่เป็นของเราหรือ สิ่งนี้เป็นที่อาศัยของเราทั้งนั้น แล้วถ้าสิ่งนี้อาศัยกัน มันเป็นเรื่องความจริงใช่ไหม..

จริงโดยสมมุติ เพราะมันเป็นของเราจริงๆ มันเป็นของเราเพราะเราเป็นเจ้าของสมบัตินั้น สิ่งนี้มันก็เลยออกไปยึดไง แต่ถ้ามีธรรมเข้ามา เห็นไหม “ปัญญาอบรมสมาธิ” ก็คิดว่าสิ่งนั้นไม่ใช่ อาศัยกันชั่วคราว สิ่งนี้อาศัยชั่วคราวถึงเป็นของเรา ขณะที่เราจะปฏิบัตินี้ เราจะวางสิ่งนี้อยู่ แล้วเราทำอานาปานสติกำหนดดูลมของเราเข้ามา ถ้าพุทโธเราก็ดูใจของเราเข้ามา

แต่ถ้าเป็นพระ เห็นไหม เราก็ต้องพยายามประพฤติปฏิบัติของเราเข้ามาจากภายในอย่างนี้ พอจิตมันสงบเข้ามา มันก็ปล่อยวางไง มันปล่อยวางสิ่งที่มันออกไปยึดไง สิ่งที่เราไปคิด เวลาเรานั่งปฏิบัติอยู่ เราลองคิดดูสิว่าเรายังไม่ได้ดับเทียน ถ้าเป็นคฤหัสถ์ก็เรายังไม่ได้ดับไฟ นี่มันก็ว่าเรามันจะเป็นความสงบไปได้ไหม ถ้าเราปล่อยสิ่งนั้นเข้ามา มันก็สงบได้ เห็นไหม

บ่วงของมาร.. บ่วงของมารคือ “รูป รส กลิ่น เสียง” ออกไปจากใจดวงนี้ ใจดวงนี้เห็นสภาวะแบบนั้นออกไป มันก็ฟุ้งซ่านออกไปยึด “ความคิดธรรมดา” สิ่งนี้เป็นความคิดธรรมดาๆ เรานี่ล่ะ แต่เวลาเราประพฤติปฏิบัติ เราต้องการหยุดมันไง หยุดความคิดนี้ให้ได้ ถ้าหยุดความคิดนี้ได้ จิตมันจะสงบเข้ามา

ถ้าจิตสงบเข้ามา นั่นล่ะ “จิตตั้งมั่น” จิตนี้เป็นนามธรรม มันจะเป็นสภาวะของมัน มันจะมีความสุขมากนะ เวลาปล่อยวางสิ่งนี้เข้ามาได้ มันก็มีความสุขของมันแล้ว นี่ถึงตัวของจิต ถ้าถึงตัวของจิต พอถึงความสงบของเรา ยกอันนี้เป็นวิปัสสนาเพราะอะไร เพราะที่ทุกข์ๆ มันทุกข์ตรงนี้ไง ทุกข์ตรงที่ว่าใจนี่มันไปยึดสิ่งนี้ๆ ยึดว่ากายกับจิตนี้เป็นเรา

ถ้าพิจารณาโดยพุทโธๆ เข้ามา จิตสงบเข้ามาให้ย้อนไปดูที่กาย เพราะจิตนี้มันก็ยึดกาย จิตนี้มันต้องมีกายด้วยจิตมันถึงอยู่ได้ไง เพราะเราเกิดขึ้นมาจากท้องแม่ เกิดปฏิสนธิจิตขึ้นมาในครรภ์ของมารดา เราก็กินอาหารจากสายเลือดของมารดามาตลอด ดำรงชีวิตมา เวลาคลอดออกมามันก็เป็นเรา จิตมันเกิดตั้งแต่ตอนปฏิสนธิ อาศัยร่างกายนี้มาตลอด

พออาศัยร่างกายนี้มาตลอด นี่อำนาจวาสนาเกิดเป็นมนุษย์ไง มนุษย์! เราเกิดเป็นมนุษย์ แล้วได้ออกบวชเห็นไหม ถ้าเราได้เอากายกับใจดวงนี้ออกมาวิปัสสนาค้นคว้า “บ่มใจให้เป็นนิสัย” ถ้าบ่มใจเป็นนิสัยแล้วมันจะเข้ามาค้นคว้าสิ่งนี้ ถ้าเป็นนิสัยนะ นี่ธรรม บ่มธรรม ธรรมนี้บ่มใจจนเป็นนิสัย จนเป็นนิสัยก็ย้อนกลับเข้ามาสิ ถ้าเป็นนิสัยมันจะย้อนกลับได้

ถ้าเป็นนิสัยมันจะต่อต้าน มันจะส่งออก มันจะไปรับรู้สิ่งต่างๆ เห็นไหม จากที่ว่าออกไปอภิญญาต่างๆ นั่นน่ะ สิ่งนั้นมันเป็นอนิจจัง สิ่งนั้นเป็นเพราะจิตสงบ แล้วมันมีพลังงานมันก็จะแสดงตัวอย่างนั้นๆ ออกไป โดยสัจจะความจริงของเขาโดยไม่ได้ใช้ปัญญาอะไรเลย มันเป็นสภาวะแบบนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “การฆ่ากิเลสมันต้องใช้ปัญญา”

การฆ่ากิเลสใช้ปัญญาเพราะปัญญามันจะไล่ต้อนเข้ามาตรงจุดนี้ จุดที่ว่ามีร่างกายถึงมีหัวใจ เพราะหัวใจนี้อาศัยในร่างกายนี้ แล้วเรายังมีลมหายใจเข้าและลมหายใจออกนี้ โอกาสของเราในการประพฤติปฏิบัติ ในการตักตวงธรรม ในการค้นคว้า ในการพลิกจากใจที่มันมีสิ่งที่ดำรงอยู่คงที่ในหัวใจนี้ แต่โดนกิเลสมันปกคลุมอยู่ แล้วมันพาขับไสอยู่นี้ เราจะทำสิ่งนี้ให้มันสะอาดขึ้นมา เราจะเพิกกิเลสออกไปจากใจ

ถ้าเรามีนิสัย เราจะทำจิตจากที่มีกิเลสออกไปจากใจ เราจะทำความสะอาดออกไปจากใจ เห็นไหม ความสกปรกโสมมของโลก ของวัตถุสิ่งต่างๆ เราชะล้างขนาดไหน มันก็ออกได้ แต่ความชะล้างความสกปรกของใจคือกิเลสที่มันหมักหมมใจอยู่ มันต้องใช้ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เข้าไปบ่มเพาะ เข้าไปทำลาย เข้าไปทำความสะอาดใจดวงนั้น

สิ่งที่ทำลาย สิ่งที่บ่มเพาะทำลายจากตรงนั้น นี่ไง “ทุกข์ดับ-รู้วิธีการดับทุกข์” ถ้าทุกข์ดับ เห็นไหม เวลานิโรธดับหมดเลย แล้ววิธีการดับทุกข์อยู่ไหน วิธีการดับทุกข์ดับอย่างไร วิธีการดับทุกข์ มรรคญาณจะเกิดอย่างไร

วิธีการดับทุกข์ มรรคญาณจะเกิด เกิดในการชำระ การทำความสกปรกโสมมของใจดวงนี้ ทำความยึดมั่นถือมั่นของใจที่มีความทุกข์นี้ ทุกข์นี้มันทุกข์เพราะความยึดมั่นกายกับจิตของเรา ในเมื่อยึดมั่นกายกับจิตของเรา สถานะของเราเกิดขึ้น ถ้าเราไม่เป็นหนี้ใคร เราจะไม่ต้องใช้หนี้ใครเลย ถ้าเราเป็นหนี้เห็นไหม สภาวะของลูกหนี้ นี้ใจก็เหมือนกัน ในเมื่อมันมีกิเลสอยู่ มันสร้างสภาวกรรมนี้ขึ้นมาอยู่ มันเป็นหนี้ไง สิ่งที่เป็นหนี้คือความเป็นหนี้ของกิเลส กิเลสมันเกี่ยวเกาะสิ่งนี้ไง

เราถึงต้องใช้ปัญญานี้ใคร่ครวญสภาวะแบบนี้ นี่มรรคมันเกิดอย่างนี้ วิธีการดับทุกข์อย่างนี้ แล้วเห็นวิธีการดับทุกข์อย่างนี้ คือปัญญาญาณมันจะเกิด มันจะทำงานของมันตลอดไป สิ่งที่ทำงานตลอดไป มันก็จะต้องชำระความสะอาด ใจนี้เริ่มสะอาดบ้าง สะอาดขึ้นมาๆ ความสุข.. ความสุขจากความสะอาด เห็นไหม จากความทุกข์นะ เวลากิเลสมันบีบบี้สีไฟหัวใจนี้จะทุกข์ร้อนมาก ความทุกข์ร้อนของมัน เพราะเราไม่เคยเห็นสภาวะแบบนี้เลย

แม้แต่ประพฤติปฏิบัติก็บ่มใจโดยกิเลสไง ถ้าบ่มใจโดยกิเลส มันก็ไปติดในฌาน ในสมาบัติ ในความเห็นต่างๆ แล้วก็ว่าสิ่งนี้เป็นการประพฤติปฏิบัติ แล้วก็ล้มลุกคลุกคลานไปกับสิ่งนี้นะ เพราะมันไม่ได้แก้ไขจริตนิสัย ไม่ได้เพิ่มสติปัญญา ไม่ได้ทำให้เรามีสติปัญญาเลย แล้วเราก็ใช้ศีรษะเดินต่างเท้าไปอย่างนั้นตลอดไป

เราจะต้องใช้เท้าเดิน แล้วเอาศีรษะขึ้นมาค้นคว้าคิดพิจารณาของเราในหัวใจของเรา ถ้าเราคิดค้นคว้าขึ้นมาในหัวใจของเรานะ วัตถุคือสิ่งที่ว่าเป็นสมอง แต่เวลาปัญญามันเกิดเห็นภาวนามยปัญญาจะเกิดขึ้นมา จะรู้ว่าปัญญามันเกิดขึ้นมาจากสังขาร ความคิด ความปรุง ความแต่ง สังขาร ความคิด ความปรุง ความแต่งอันนี้มันมีสัมมาสมาธิเข้ามารองรับ

สัมมาสมาธิเข้ามารองรับคืออาการของใจ ใจดวงนี้มีพลังงานมาก พลังงานของใจดวงนี้จะส่งเสริมให้ใจดวงนี้มีการพิจารณาออกไป สิ่งที่พิจารณาออกไปคือพลังงานของใจดวงนี้เป็นมรรคญาณ มรรคญาณจะเข้ามาทำความสะอาดของใจดวงนี้ ชำระล้างออกไป ชำระล้างออกไป นี่วิธีการดับทุกข์ เห็นวิธีการดับทุกข์ ปล่อยวาง ปล่อยวางมาบ่อยครั้งเข้า มีความเบาขึ้นมาจากการพินิจพิจารณานั้น มีความสุขขึ้นมาจากการพิจารณานั้น มันก็มีความองอาจกล้าหาญสิ มันก็มีการประพฤติปฏิบัติสิ

การประพฤติปฏิบัติจนถึงที่สุด มรรคญาณรวมตัว “สมุจเฉทปหาน” ขาด! นี่เวลากิเลสอย่างหยาบๆ ขาดออกไปจากใจ มันจะมีความองอาจกล้าหาญ ใจดวงนี้จะกล้าหาญ จะรื่นเริงในธรรมนี้มาก เห็นไหม บ่มเพาะจนเป็นธรรมขึ้นมาในหัวใจ ถ้าเราบ่มเพาะธรรมขึ้นมาในหัวใจเพราะอะไรล่ะ เพราะธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้ให้เราก้าวเดิน เป็นปริยัติเป็นพระไตรปิฎก

พระไตรปิฎกค้นคว้าขนาดไหนก็งงงวย.. งงไปหมด จะทำอย่างไรก็ไม่เข้าใจ แล้วก็บอกว่าจิตนี้เป็นนามธรรม.. จิตนี้จับต้องไม่ได้.. แล้วก็ล้มลุกคลุกคลาน มันสร้างตนไม่ได้ ไม่มีจุดยืนของใจ

ในเมื่อคนไม่มีจุดยืน คนไม่มีสถานที่มั่น คนไม่มีสถานที่ตั้ง คนไม่มีถิ่นที่อยู่แล้วมันจะไปครองสมบัติได้อย่างไรล่ะ มันจะครองสมบัติสิ่งใดไม่ได้เลย เพราะเราจดทะเบียนไม่ได้ เราทำสิ่งใดไม่ได้ แต่ถ้าเราจดทะเบียนของเราได้ เราถึงมีถิ่นที่อยู่ของเราขึ้นมา นี่จิตมันมีถิ่นที่อยู่ เพราะกิเลสมันอยู่ตรงนั้น ถ้าเราไปทำลายกิเลสตรงนั้น เราทำลายเหตุตรงนั้น แล้วเราจะรู้สิ่งสภาวะแบบนี้

แล้วบอกว่าจิตนี้เป็นนามธรรมได้อย่างไร! จิตนี้ไม่มีสิ่งที่จับต้องไม่ได้อย่างไร!

จิตนี้เป็นนามธรรม จับต้องได้ มีความสุข มีความพอใจ ตัวเบาสบาย มีความทุกข์ “ทุกข์ เหตุให้ดับทุกข์ ทุกข์ดับ รู้วิธีการดับทุกข์” การประพฤติปฏิบัติต้องเข้าอริยสัจทั้งหมด เพราะในพระพุทธศาสนา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมไว้ แก่นของศาสนาคืออริยสัจตรงนี้ สิ่งที่อริยสัจตรงนี้เกิดขึ้นมาจากใจดวงใด ใจดวงนั้นถึงจะเป็นลูกศิษย์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เห็นไหม จะไม่ถือมงคลตื่นข่าว จะเชื่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จะกราบธรรมโดยความเต็มหัวใจ จะไม่คัดค้านธรรมว่า “สิ่งนี้พระพุทธเจ้าวางไว้แล้วไม่มีใครเห็น เรามาค้นคว้าๆ ”

เรามันเป็นใคร!! ในเมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเจ้าของศาสนา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนามารื้อสัตว์ขนสัตว์ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมไว้เพื่อจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ ปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขนาดนี้ ทำไมกล้าสบประมาทปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “เราจะมาค้นคว้าใหม่” ทำไมคิดขนาดนั้น กิเลสมันทำลายตนขนาดนั้น แล้วก็จะไม่ได้เข้าถึงความเป็นไป เห็นมรรคญาณอย่างนี้ เห็นวิธีการดับทุกข์อย่างนี้

ถ้าเห็นวิธีการดับทุกข์อย่างนี้จะกราบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยหัวใจ แล้วจะไม่ถือมงคลตื่นข่าว จะเชื่อมั่นในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วจะมีธรรมในหัวใจ เพราะบ่มเพาะธรรมขึ้นมาในหัวใจ แล้วจะก้าวเดินเข้าไปในหัวใจนั้น เพื่อจะเข้าไปทำลายกิเลสอันละเอียดอ่อนในหัวใจอันนั้น

สิ่งที่ละเอียดอ่อน.. ความต่าง เห็นไหม คำบริกรรมเห็นไหม คำบริกรรมพุทโธก็ได้ ธัมโมก็ได้ สังโฆก็ได้ ปัญญาอบรมสมาธิก็ได้ นี้คือความเหมือน เหมือนนั่นคือคำบริกรรม ความต่าง-ต่างคือวิธีการ วิธีการที่มันต่าง ต่างเพราะว่าเราใช้พุทโธก็ได้ เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิก็ได้ เราใช้อานาปานสติก็ได้ อันนี้คือความต่าง-ต่างวิธีการ ความเหมือน-เหมือนเพราะเป็นคำบริกรรม

สิ่งที่บริกรรม บริกรรมเพื่ออะไร? เพื่อให้จิตสงบเข้ามา

สงบเพื่ออะไร? สงบเพื่อให้ใจนี้มีพลังงานไง

ถ้าไม่มีความสงบ “สัมมาสมาธิ” พลังงานมันจะเกิดมาจากไหน?

ถ้าไม่มีสติ สติจะเกิดมาจากไหน?

แล้ว “สติ สมาธิ ปัญญา” ที่ละเอียดเข้าไปนี้ มันเกิดมาจากไหน?

เกิดขึ้นมาเพราะเราเห็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาแล้วขั้นตอนหนึ่ง เราจะเชื่อธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก เราจะกราบธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กราบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเพราะอะไร เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมไว้ให้เราก้าวเดิน

เราเกิดมามีวาสนา.. ชุบมือเปิบนะ ล้างมือแล้วก็ชุบเปิบ เพราะมีอาหารอยู่ในตู้พระไตรปิฎก “สุตมยปัญญา” สิ่งนั้น นี่ชุบมือเปิบ แต่ก็เปิบเข้าปากไม่ได้เพราะอะไร เพราะมีกิเลส ความลังเลสงสัย ถึงต้องอาศัยครูบาอาจารย์ไง เพราะครูบาอาจารย์ผ่านอย่างนี้แล้ว “หญ้าปากคอก” สิ่งที่หญ้าปากคอก สติก็ตั้งไม่ได้ ความล้มลุกคลุกคลานของใจ ใจก็มีความลังเลสงสัย ประพฤติปฏิบัติก็มีความอ่อนแอ ไม่มีกำลังใจเลย

แต่ถ้าอยู่ใกล้ครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์จะชี้นำตลอด ครูบาอาจารย์จะเป็นแบบอย่างของเรา เราประพฤติปฏิบัติ เห็นไหม สัตว์.. เขายังเอามาทำงานได้ สัตว์ใหญ่ ช้าง เสือ สัตว์ต่างๆ เขาเอามาฝึกได้ ละครสัตว์เขาเอาเสือมาเล่นได้ทั้งนั้นน่ะ เขาจะทำขนาดไหน สัตว์เขายังฝึกได้ ทำไมคนฝึกไม่ได้ แล้วฝึกไม่ได้เพราะอะไร เพราะเราไม่มีครูไม่มีอาจารย์ ถ้ามีครูมีอาจารย์ ครูบาอาจารย์ทำตามอย่างนั้น ทำไมเราทำตามครูบาอาจารย์ไม่ได้

ทำตามนะ ทำตามนี่คือจริตนิสัย สร้างสมจริตนิสัยขึ้นมาแล้วทำตามขึ้นมา พยายามปิดกั้น ให้จิตของเรามีกำลัง ให้จิตของเราตั้งมั่นขึ้นมา พอจิตของเราตั้งขึ้นมา เราทำของเราขึ้นมาจนเป็นธรรมในหัวใจของเรา นี่กราบ กราบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กราบครูบาอาจารย์นะ ครูบาอาจารย์ทุกข์ยากสิ่งนี้มา แล้ววางสิ่งนี้ให้เราชุบมือเปิบ ให้เราชุบมือเปิบ เราต้องมีความภูมิใจไง

เวลาย้อนกลับไป ดูองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสิ สลบถึง ๓ หนนะ ค้นคว้ามา ๖ ปี ทุกข์ยากขนาดไหน แล้วเรานี่ สิ่งนี้มีอยู่แล้ว ทำแล้วมีครูบาอาจารย์คอยชี้นำ มีที่ปรึกษาว่า “ทำมาถูกไหม?” มันมีที่ปรึกษา มีที่ที่กระทำ ทำไมไม่มีกำลังใจล่ะ ทำไมไม่มีแก่ใจกระทำ ถ้ามีแก่ใจกระทำนะ มันต้องได้ผลนะ ได้ผลเพราะอะไร เพราะมันมีถิ่นไง มีถิ่นคือมีหัวใจไง

ถ้าหัวใจมันมีอย่างนี้ แล้วเราพยายามไม่ทำความสงบของใจเข้ามา แล้วเราไม่มุมานะ เราไม่มีความพยายามของเรา เวลาทำงานข้างนอกเห็นไหม คนที่มีความจริงจัง คนที่เขาทำประโยชน์ของเขาขึ้นมา เขามีโอกาสของเขา เขาสร้างตัวของเขาได้นะ คนที่อ่อนแอ คนที่ล้มลุกคลุกคลาน คนที่เหี่ยวเฉา คนที่ทำงานสักแต่ว่าทำ นี่มันจะได้ประโยชน์ที่ไหนจากทางโลกเขา

ในการประพฤติปฏิบัติ มันก็ต้องมีกำลังใจของเราขึ้นมาสิ ครูบาอาจารย์ทำเป็นแบบอย่างแล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำมา ๖ ปี ทำทุกอย่าง..สิ่งที่ว่าเป็นอุกฤษฏ์ขนาดไหน ในสมัยพุทธกาล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทดลองทดสอบมาทั้งนั้นเลย การประพฤติปฏิบัติที่ว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่เคยทำ.. ไม่มี

เวลาประพฤติปฏิบัติออกมาจนเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว เวลาโลกธรรมย้อนกลับมาสะเทือนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนพระอานนท์ทนไม่ไหวนะ “หนีเถิดๆ ” องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถามว่า “ถ้าหนีไปข้างหน้า เขาว่าอย่างนี้จะว่าอย่างไร เขาว่าอย่างนี้แล้วจะหนีไปไหน จะหนีไปไหน” เหตุเกิดที่ไหนต้องดับที่นั่น! แม้แต่ภายนอกนะ

แล้วเวลาเหตุเกิดในหัวใจ เพราะจิตปฏิสนธินี้มันพาเกิด เหตุเกิดคือถิ่นที่อยู่ของจิตนี้มันพาเกิด แล้วเราทำไมจะไม่ย้อนกลับมาล่ะ ถึงต้องมีความมุมานะยกขึ้นให้ได้ ทำความสงบเข้ามาอย่างนั้น สิ่งที่ทำความสงบเข้ามานี้ให้จิตมีกำลัง ถ้าจิตมีกำลังเป็นฐานขึ้นมาแล้วออกรับรู้ “กาย เวทนา จิต ธรรม” แล้วแต่จริตนิสัย

สิ่งที่เป็นจริตเป็นนิสัยนี้มันเป็นอำนาจวาสนา สิ่งที่เป็นจริตนิสัยต้องเปิดให้กว้าง เปิดให้กว้าง พิจารณากายก็ได้ เวทนาก็ได้ จิตก็ได้ ธรรมก็ได้ อย่างเดียว! ไม่ต้องเข้าใจว่าพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม แล้วต้องเดินก้าวให้ครบ ถ้าไม่ครบเราจะประพฤติปฏิบัติแล้วเราจะไม่ได้ผลประโยชน์.. ไม่ใช่!

พิจารณากาย ใครเป็นคนพิจารณา พิจารณากายคือจิตมันเป็นผู้พิจารณากายใช่ไหม กายเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต มันพิจารณาตัวมันเองไม่ได้ กายนี้มีหัวใจของเราอยู่ ในเมื่อหัวใจของเราสงบขึ้นมา แล้วมีพลังงานขึ้นมา ถ้าพิจารณากายเห็นไหม เพราะจิตนี้พิจารณากาย

ความรู้สึกคือเวทนา เวทนาความรู้สึกมันเป็นเวทนา สุขหรือทุกข์นี่มันเป็นเวทนาเวลาปัญญามันเกิด ปัญญาที่เกิดในปัญญานั้น มันก็เป็นธรรม “กาย เวทนา จิต ธรรม” พิจารณากายนี้แหละ มันก็พร้อมไปหมด อันเดียว! ให้ชำนาญ ให้คล่องตัว

พิจารณาเวทนา เห็นไหม เวทนาเกิดจากไหน เวทนาเกิดจากกายก็ได้ เกิดจากจิตก็ได้ เวลาเกิดขึ้นมา มันเป็นอะไรล่ะ เวทนาเกิดขึ้นมา เกิดที่ไหน กายกับจิต แล้วเวลาปัญญามันเกิดล่ะ มันก็เหมือนกัน

พิจารณาจิตก็เหมือนกัน พิจารณาธรรมก็เหมือนกัน เหมือนกันเพราะพิจารณาสิ่งใด มันก็เป็นกาย เป็นเวทนา เป็นจิต เป็นธรรม แต่มันเพียงแต่ความถนัด ถ้าเราถนัดในกาย เราก็ดูกาย ถ้าเราถนัดในเวทนา หรือว่าเวลาประพฤติปฏิบัติไปมันมีขั้นตอนของมัน ขั้นตอนคือว่าระหว่างอุบายวิธีการที่จะก้าวเดิน

เวลาเราก้าวเดิน เห็นไหม นักกีฬา เวลาเขาซ้อมนี่เขาเบื่อมาก เพราะจำเจ พอจำเจเขาจะมีความเบื่อหน่ายของเขา นี่ก็เหมือนกัน เราประพฤติปฏิบัติ เราทำอยู่แล้ว ทำซ้ำทำซาก มันมีความเบื่อหน่าย แล้วกิเลสมันจะเข้ามาทำให้เราล้มลุกคลุกคลาน เราก็มีอุบาย มีวิธีการ ดูกายก็ได้ ถ้าดูกายแล้วเห็นกาย.. บางทีมันเวทนาเกิด ดูเวทนาก็ได้

ก็ได้! ก็ได้ในขณะปัจจุบันนั้น ก็ต้องดูสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สิ่งเดียวๆ ตลอดไป นี้คืออุบายวิธีการที่จะพัฒนาให้ใจดวงนี้ชำระล้างความสกปรกในหัวใจที่มันละเอียดอ่อนไง

สิ่งที่หัวใจละเอียดอ่อน กิเลสมันละเอียดเข้าไป พลิกแพลง เล่ห์เหลี่ยมของกิเลสมหาศาลเลย เวลากิเลสอบรมธรรม กิเลสอบรมเรา กิเลสอบรมพระผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ มันมีเบื้องหน้าเบื้องหลังไง เบื้องหน้าก็บอกว่า “ทำดี ทำทุกอย่างว่าฉันเป็นคนดี” แต่เบื้องหลังคือสิ่งที่หมักหมมในใจไง มันมีเบื้องหน้าเบื้องหลัง มีเล่ห์มีเหลี่ยม นี่เรื่องของกิเลสทั้งหมดเลย

แต่ถ้าเราพิจารณาของเราขึ้นมา มันจะมีเล่ห์เหลี่ยมอย่างไรล่ะ ถ้ามีเล่ห์เหลี่ยมอยู่ที่ไหน เราก็ต้องใช้ปัญญาทิ่มเข้าไปตรงนั้นน่ะ แทงเข้าไปตรงเล่ห์เหลี่ยมของความเห็น ความพลิกแพลงไง เล่ห์เหลี่ยมคือผัดวันประกันพรุ่ง เล่ห์เหลี่ยมคือการพิจารณา เล่ห์เหลี่ยมคือการสร้างภาพ เล่ห์เหลี่ยมคือให้ใจล้มลุกคลุกคลาน นี่เราก็ทิ่มเข้าไปตรงนั้น

ธรรม! ธรรมเหนือกิเลส ธรรมจะมีอำนาจข่มกิเลสให้อยู่ในอำนาจของธรรม.. ธรรมเพราะอะไร ธรรมเพราะมันเป็นสัมมาสมาธิไง ธรรมเพราะปัญญาไง ปัญญาธรรม สมาธิธรรม ความไม่เข้มแข็งของเรา “สติธรรม ปัญญาธรรม”

ปัญญาธรรมเข้าไปไล่ต้อนสิ่งนี้ พอไล่ต้อนสิ่งนี้ทำลายสิ่งนี้ “ทุกข์ดับ วิธีการดับทุกข์อันละเอียด” สิ่งที่วิธีการดับทุกข์อันละเอียด มันปล่อยวางอย่างไร สิ่งที่ปล่อยวางขนาดไหน แล้วเราก็จะต้องซ้ำไป เพราะมันไม่มีเหตุผล สิ่งที่ไม่มีเหตุผลคือความเป็นไปของมันไม่มี ความเป็นไปนะ ความเป็นไปคือมรรคญาณที่มันเคลื่อนไง เคลื่อนที่เป็นธรรมจักรไง

ถ้าธรรมจักรเคลื่อน ปัญญามันเคลื่อนอย่างไร มรรคสามัคคีมันเห็นความเป็นสามัคคีอย่างไร มันสัมปยุตเข้าไปอย่างไร วิปยุต-สัมปยุต สมุจเฉทปหาน ทำให้จิตนี้ปล่อยวางออกไปอย่างไร แล้วมันปล่อยกายนี้ขาดออกไป ความด้อยค่าของกายนี้ไม่มีความหมายเลย กายนี้ทิ้งเป็นเศษส่วน แต่หัวใจนี้รื่นเริงอาจหาญมาก! ปล่อยกายออกทั้งหมด ความรื่นเริงอาจหาญ ความสุขของมันเกิดจากการประพฤติปฏิบัติ มันมีอยู่ในหัวใจของเรานะ

เวลาทุกข์-ทุกข์เร่าร้อน หัวใจนี่ทุกข์มาก… ทุกข์เร่าร้อนนะ แต่เกิดท่ามกลางพุทธศาสนา ท่ามกลางธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้เหนือกิเลส ชำระกิเลสได้ทั้งหมด แต่เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ในตู้พระไตรปิฎก มันไม่เป็นธรรมของเรา

ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นยา เป็นยาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราต้องประกอบยาของเราขึ้นมาในใจของเรา ยาของเราเห็นไหม “สัมมาสมาธิ สัมมาสติ ปัญญาชอบ ความเพียรชอบ งานชอบ” จะเกิดขึ้นมาจากปัญญาของเรา เพราะการฆ่ากิเลส ยาฆ่ากิเลสเป็นธรรมโอสถ เป็นยาที่ละเอียดอ่อนมาก

ยาทางโลกเขาเห็นไหม เขาก็ไปหาสมุนไพรมา แล้วเขาก็มาบดมาตำให้เป็นยาขึ้นมาเพื่อรักษาโรคของเขา แต่การรักษากิเลส มันเป็นกิเลส มันเป็นสิ่งที่มีชีวิต สิ่งที่เป็นความนึกคิด เพราะมันเกิดตายๆ อยากสิ่งใด ปรนเปรอมันขนาดไหน เดี๋ยวมันก็อยากอีกก็ต้องปรนเปรอมันตลอดไป เห็นไหม มันเกิดตายตลอด มันต้องการตัณหาความทะยานอยากเข้าไปปรนเปรอใจนี้ตลอด ไม่มีความอิ่มความพอ จิตใจนี้ถมไม่เต็ม เต็มไปไม่ได้

แต่ถ้าเราต้องใช้ยาฆ่ามัน ยาอันนี้มันถึงละเอียดอ่อนไง เพราะมันเป็นสิ่งมีชีวิต มันเป็นสิ่งที่ว่าเกิดตายในจิตนี้ เวลาเป็นยาขึ้นมา ยานี้ก็ต้องมีชีวิตเหมือนกัน สิ่งที่มีชีวิตถึงมีสติไง ถึงมีปัญญาไง ถึงเป็นจิตที่มีความรู้สึกไง จิตนี้ถึงตั้งมั่นได้ไง แล้วย้อนกลับเข้าไปเป็นมรรคญาณเข้าไปทำลายมัน ทำลายใจดวงนี้ทำลายเข้าไปตลอด

พอมันปล่อยวางจนขาด จนความรู้สึกออกไปเห็นไหม ว่างมาก… ความสุขเกิดมาจากใจดวงนี้ สุขมหาศาล… สุขแบบอกุปปธรรมซะด้วย สุขแบบไม่เสื่อมสภาพไง เป็นอฐานะที่จะแปรสภาพอีก

แต่ความละเอียดอ่อนในหัวใจอันข้างบนนั้นมันก็เผารนอยู่ เผารนใจดวงนี้นะ เผารนอยู่ภายในลึกลับ เผารนโดยที่เจ้าตัวไม่รู้นี่แปลกมาก ไฟมันเผาใจโดยที่เราไม่รู้ เป็นไปได้อย่างไร? เป็น! เป็นไปได้เพราะกิเลสอันละเอียดอ่อนอยู่ในหัวใจของเรา มันจะเผารนใจอันนั้น เพราะเราไม่รู้ เราหลงไง

ความไม่รู้ไม่เห็นนะ เราไม่รู้เรื่องของคนอื่น เราจะไม่รู้เลยว่าเขานิสัยใจคอเป็นอย่างไรเลย แต่ถ้าเราไปคบค้าสมาคมกับเขา เราจะรู้คนนี้ดีหรือคนนี้ไม่ดีเลย เพราะถ้าเป็นคนดีเขาจะเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กับเรา ถ้าเขาเป็นคนไม่ดี เขาจะมีพาลใส่เรา แต่ถ้าเราไม่รู้จักเขา เราก็จะไม่เห็นคุณค่าอันนี้เลย

ใจก็เหมือนกัน กิเลสอันละเอียดมันซุกอยู่ในหัวใจ มันจะไม่เห็นเลย เราไม่ได้คบค้าสมาคม คือเราไม่เข้าไปเห็นมัน เราไม่สามารถทำใจดวงนี้เข้าไปค้นคว้าถึงใจดวงนั้นได้ เห็นไหมนี่ความลึกลับไง ต้องบ่มเพาะให้มันลึกลงไป ธรรมบ่มเพาะเป็นนิสัยใจคอ จะทำลายเข้าไปถึงถิ่นความเป็นอยู่ของกามราคะ

สิ่งที่เป็นกามราคะในหัวใจ มรรคญาณ ความละเอียดอ่อนของใจ “ทุกข์ดับ วิธีการดับทุกข์” วิธีการดับทุกข์จะไม่เหมือนกัน วิธีการดับทุกข์แบบหยาบๆ ขึ้นมา มันทำลายอย่างไร มันจะเห็นสภาวะที่ทำลายกัน แตกออกไปเห็นไหม สังโยชน์ขาดออกไป เวลามันปล่อยวาง ขาดออกไป เวลาปล่อยวาง กายกับจิตมันก็ปล่อยวางอีกอย่างหนึ่ง.. เวลาเข้าไป วิธีการต่างกันนะ

วิธีการ.. ถ้าได้ขั้นตอนเดียว แล้วเราบอก “วิธีการของฉันถูก ของฉันถูก” ถูก! ถูกขั้นตอนนั้น แต่ขั้นตอนที่เหนือกว่า ขั้นตอนที่ละเอียดกว่าอยู่ที่ไหน ถ้าขั้นตอนที่เหนือกว่า ขั้นตอนที่ละเอียดกว่าไม่มี แสดงว่าภูมิรู้มีเท่านี้ ถ้าภูมิรู้ที่ไม่มีเลยนี่น่าสลดสังเวชมาก....

“จิตนี้เป็นนามธรรม สิ่งนี้เป็นนามธรรม นิพพานคือทุกข์เกิดทุกข์ดับ ทุกข์เกิดทุกข์ดับก็ควบคุมไว้ รักษาสติไว้!”

นี่หัวใจตรอมตรม หัวใจเศร้าหมอง หัวใจมีแต่ความทุกข์ แล้วต้องเกิดต้องตายกี่ชาติอีกก็ไม่รู้ แต่ว่า “นิพพาน” นิพพานเพราะว่าอะไร เพราะคุมไว้ไง เพราะความเข้าใจผิดไง นี่กิเลสอบรมบ่มธรรม บ่มใจดวงนั้น น่าสลดน่าสังเวชนะ..

แล้วก็แข็งข้อกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยว่า “สิ่งนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่เห็น แต่ตัวเองเป็นผู้มีอำนาจวาสนา เป็นคนรื้อค้นสิ่งนี้ขึ้นมาไง” รื้อค้นขึ้นมา รื้อค้นกิเลสขึ้นมาให้หัวใจมันพองโต รื้อค้นขึ้นมาให้หัวใจดวงนั้น นั่นรื้อค้นขึ้นมานะ แล้วก็เหยียบย่ำธรรมวินัยไง!

ธรรมวินัยเป็นองค์ศาสดา.. องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่มันก็ไม่กราบ มันก็ไม่ไหว้อยู่แล้วเห็นไหม แต่เวลาธรรมวินัยที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก

“อานนท์.. เราปรินิพพานไปแล้วนะ ธรรมวินัยจะเป็นศาสดาของเธอ”

เป็นธรรมวินัย เป็นศาสดา มันก็ไม่ฟัง! มันก็ค้นคว้าขึ้นมาเห็นไหม มันเป็นแค่ฌานสมาบัติ เป็นแค่ความเห็นผิด มันก็ว่าเป็นทุกข์เกิดทุกข์ดับแล้วมันก็เป็นนิพพาน

เพราะไม่เห็นวิธีการดับทุกข์ เพราะไม่เห็นอริยมรรค เพราะไม่เห็นธรรมจักรที่เกิดขึ้น ถึงไม่เห็นคุณประโยชน์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คุณประโยชน์ของเสนาบดีธรรม พระสารีบุตรประกาศธรรมไง เวลาพระสารีบุตรประกาศธรรมเทศนาว่าการออกไป เทวดาฟ้าดินนี่เขาได้รับได้ยินสิ่งนี้ เขาจะได้ประโยชน์สิ่งนี้มหาศาลเลย

เทศน์ก็ไม่มีความหมาย!

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก สิ่งที่เป็นคุณประโยชน์ สิ่งที่เป็นอภินิหารที่สุด คือการบันลือสีหนาทของธรรมนี่ไง เพราะการบันลือสีหนาทของธรรม เราเป็นมนุษย์ เรามีหู เราก็ฟังอยู่ เราก็ได้ประโยชน์ของเรา เพราะมันสะเทือนหัวใจของเรา

สิ่งที่เป็นทิพย์ สิ่งที่เขามีอยู่ เขาก็ฟังของเขา เพราะสิ่งนี้เสียงสะเทือนไปได้หมด คลื่นมันไปได้ทั้งนั้นล่ะ นี่สิ่งที่เป็นประโยชน์ เวลาธรรม เวลาประกาศธรรมขึ้นมาบอกว่า “ไม่มีความหมายๆ” ไม่มีความหมายเพราะสิ่งที่ว่าธรรมนั้นมันเป็นการเหยียบย่ำธรรมวินัยไง เหยียบย่ำความเห็นของตัวไง

เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางสิ่งนี้ไว้ว่า สิ่งนี้เป็นการบันลือสีหนาท สิ่งนี้เป็นเรื่องของศาสนา ศาสนานี้เป็นเรื่องของธรรมะ ธรรมะคือออกจากใจ ธรรมะในการประพฤติปฏิบัติออกจากใจหนึ่งนะ ค้นคว้าเข้าไปถึงตรงนี้ ความลึกของมันนี่บ่มเพาะอย่างนี้ถึงมีนิสัย ถ้าไม่บ่มเพาะอย่างนี้นิสัยไม่มี มันจะไม่เห็นกามราคะ มันจะติดในความว่างนะ ติดในความสุขอันนี้

กิเลสมหัศจรรย์มาก... ยิ่งละเอียดยิ่งมหัศจรรย์ มันถึงหลบซ่อนอยู่ในหัวใจของเราได้ หัวใจนี่เป็นความจริง แล้วเกิดตายๆ สภาวะแบบนี้ เพราะกิเลสมันมีอำนาจอย่างนี้ มันถึงต้องทำให้เกิดตายต่อไป แต่ถ้าเราบ่มเพาะใจของเราจนมีความลึกซึ้ง แล้วย้อนกลับลงไป เข้าไปค้นคว้าจนเจอกามราคะนะ สิ่งที่เป็นกามราคะ “ความโลภ ความโกรธ ความหลง” นี่กามราคะ

“ความโลภ ความโกรธ ความหลง” เพราะมันโลภ ความต้องการไม่มีเมืองพอ ความหลง หลงว่าคิดว่าสิ่งนี้เป็นความสุข ความสุขอย่างไร มันสร้างแต่ความทุกข์เผารนใจ เพราะเกิดตายมาอย่างนี้กี่ภพกี่ชาติแล้ว สิ่งนี้เสพมาไม่รู้เท่าไร ทุกดวงใจไม่มีต้นไม่มีปลาย สิ่งนี้ต้องผ่านมันทุกชีวิต ทุกชีวิตเคยผ่านสิ่งนี้มา มันถึงเป็นจริต มันถึงเป็นนิสัย “วิตกจริต กามจริต โทสจริต” จริตอันนี้จะฝังใจมา

สิ่งที่ฝังใจมา ย้อนกลับมากามราคะจะเข้าไปทำลายตรงนี้ นี่วิธีการดับทุกข์ ในกามราคะ วิธีการดับทุกข์ทำอย่างไร?

ในกามราคะ วิธีการดับทุกข์ก็ต้องย้อนกลับ เวลากิเลสมันรุนแรงมากก็ต้องใช้ปัญญาเข้าไปค้นคว้าแรงมาก วิธีการแรงมาก เริ่มตั้งแต่อสุภะ-อสุภัง พิจารณามัน ถ้าใจมันจับได้ มันจะเริ่มทำลาย.. ทำลาย.. ทำลายไป ทำลายจนมีความชำนาญมหาศาล ปล่อยวางได้หมด เห็นไหม นี่กิเลสมันก็หลอก หลอกที่ว่ามันไม่กลืนเข้ามาถึงตัวมันเอง มันไม่ทำลายตัวมันเอง มันไม่ทำลายตัวกิเลสเอง

ถ้ามันทำลายตัวกิเลสเองนะ วิธีการดับทุกข์มันต่างกัน ความเห็นต่างกัน ผลต่างกัน สิ่งที่ผลต่างกันอันนี้ มันจะทำลายเข้ามาต่างกัน มันถึงว่าอริยสัจอันนี้เป็นความจริง จริตนิสัย วิธีการต้องเปิดกว้าง แต่จะเปิดกว้าง จะเข้าถึงขนาดไหนต้องเข้าถึงจุดนี้ทั้งหมด ถึงเห็นวิธีการดับทุกข์ ทำลายกิเลสกามราคะขาดออกไป นี่ปล่อยวาง

เทียบเข้ามา อสุภะ-อสุภัง เข้ามาถึงตัวเอง พิจารณากายเข้ามาถึงกามราคะ แล้วปล่อยกามราคะ ทำลายกามราคะ หัวใจนี้สะเทือนเลื่อนลั่น “ครืนๆ ” เลยนะ สะเทือนเลื่อนลั่นเพราะอะไร เพราะกามราคะมันคว่ำกามภพไง สิ่งที่เป็นกามภพ ตั้งแต่เทวดาลงมา มันพลิกคว่ำจากใจดวงนี้นะ ใจดวงนี้จะไม่เกิดในกามภพอีกแล้ว ถ้าตายเดี๋ยวนี้จะเกิดบนพรหม

นี่มัน “ครืนๆ” มันทำลาย มันสะเทือนหัวใจนะ สะเทือนหัวใจว่าจะไม่เกิดอีกแล้วในกามภพ ถ้ายังหลงอยู่ก็จะเกิดอยู่ในพรหมเท่านั้น ยังหลงอยู่นะ! นี่เข้าใจขนาดนั้น แต่ก็หลง.. เพราะกิเลสเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนมาก “อวิชชาปัจจยา สังขารา” ไง เขาว่า “อวิชชา.. ทุกข์เกิดแล้วทุกข์ดับ.. เท่านั้น อวิชชา..” ความเห็นของเราไม่มี

มันมีเบื้องหน้าเบื้องหลังไง เบื้องหน้าคือว่า ออกมารับรู้ว่านี่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดธรรมเป็นสิ่งที่เรียบง่าย ทุกข์เกิดแล้วก็ทุกข์ดับ ถูกต้อง! ทุกข์เกิด-ทุกข์ดับตามความเป็นจริง ต้องเห็นวิธีการดับทุกข์ เห็นวิธีการทำลายทุกข์ ไม่ใช่ทุกข์เกิดทุกข์ดับแต่ปาก! แต่หัวใจเร่าร้อน หัวใจแสวงหา

หัวใจทำลายธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หัวใจทำลายองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่กราบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้ากราบด้วยหัวใจจะไม่กล้าทำผิดพลาดขนาดนั้น! แต่นี้เพราะกิเลสมันมีอำนาจในใจดวงนั้น ทำให้ใจดวงนั้นทำลายโอกาสของตัวไง โอกาสที่จะเข้ามาเห็นวิธีการดับทุกข์ เห็นมรรคญาณมันหมุนไปขนาดนี้ไง นี้คืออริยสัจ นี่ธรรมต้องเป็นแบบนี้สิ

ถ้าธรรมเป็นแบบนี้ ครูบาอาจารย์เห็นสภาวะแบบนี้มาเหมือนกัน ถึงเข้าใจกันในสภาวะแบบนี้ ถึงเคารพกันด้วยหัวใจนะ วุฒิภาวะของใจต่างกัน ต่างกันคือการประพฤติปฏิบัติมันพัฒนามาต่างกัน แต่วุฒิภาวะของใจพัฒนาขึ้นมาแต่ละชั้นแต่ละตอน เห็นวิธีการดับทุกข์ผ่านขึ้นมา มันจะกราบครูบาอาจารย์แบบซึ้งใจมาก ซึ้งใจมากเพราะอะไร

เพราะครูบาอาจารย์เป็นผู้ชี้ทางให้เรานะ! ครูบาอาจารย์พยายามทำระยะเวลาที่ยาวไกลของเราให้สั้นเข้ามานะ! ครูบาอาจารย์พยายามรักษาเราไม่ให้ตกข้างทางนะ! รถของเรา ยางแตก ยางรั่ว เบรกแตก แล้วมันจะลงข้างทางตลอด แล้วครูบาอาจารย์พยายามจะประคองรถของเราไว้ ครูบาอาจารย์จะมีคุณค่ากับเราไหม

นี้ก็เหมือนกัน เวลาประพฤติปฏิบัติมันหลงซ้ายหลงขวา มันพลิกแพลง มันปลิ้นปล้อน กิเลสมันทำลายให้เราล้มลุกคลุกคลาน แล้วครูบาอาจารย์พยายามประคองให้เราขึ้นไปบนทางแล้วรักษาไป ครูบาอาจารย์จะมีประโยชน์ไหม จะกราบครูบาอาจารย์ไหม นี่ครูบาอาจารย์นะ! แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าล่ะ เป็นเจ้าของสิ่งนี้ทั้งหมด!

แล้วบอกว่า “มีความรู้.. มีการค้นคว้าสิ่งนี้มา.. เป็นผู้ที่มีปัญญามาก..” นี่มันเศร้าใจ! มันเศร้าใจเห็นไหม อวิชชามันละเอียดกว่านี้ มันทำลายสิ่งนี้ ทำลายสิ่งนี้เข้ามา

ถึงย้อนกลับนะ ถ้าการย้อนกลับได้ ครูบาอาจารย์จะชี้นำ ถ้ามีครูมีอาจารย์จะย้อนกลับมา ถ้าเราบอกว่า “ว่าง ว่างหมดเลย กามราคะนี้ปล่อยแล้ว” นี่พรหม! เพราะมันผัสสะ จิตหนึ่งเดียว ผัสสะอยู่อย่างนั้น ผัสสะแล้วก็ว่าไม่มี เพราะกิเลสมันบอกว่า “ตัวมันเข้าใจแล้วๆ กิเลสมันปล่อยวางหมดแล้ว” นี่กิเลสมันละเอียดขนาดนั้นน่ะ

ครูบาอาจารย์จะเข้าไปจับตรงนี้เพราะอะไร เพราะมันไม่สิ้นกระบวนการไง ถ้ามันไม่สิ้นกระบวนการ ไม่ทำลายภวาสวะ ไม่ทำลายตัวภพ สิ่งนี้อยู่ที่ใจ ย้อนกลับเห็นไหม นี่วิธีการดับทุกข์ไง “ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ทุกข์ดับ เห็นวิธีการดับทุกข์” วิธีการดับทุกข์อันละเอียดอ่อนมหัศจรรย์ ลึกลับมหัศจรรย์มาก... ลึกลับมหัศจรรย์จากใจดวงนั้น จากใจทุกๆ ดวงใจ เห็นไหม

ทุกๆ ดวงใจต้องตกอยู่ในใต้ของพญามาร พญามารควบคุมใจดวงนี้อยู่ใต้ดวงใจทั้งหมด ถ้าย้อนกลับเข้าไปเห็นสภาวะอย่างนี้ จะเป็นความลึกลับมหัศจรรย์มาก ลึกลับมหัศจรรย์จนถึงว่า “อวิชชาปัจจยา สังขารา สังขาราปัจจยา วิญญาณัง” สิ่งนี้ มันเป็นปัจจยาการอย่างนี้ นี่เวลาว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าอย่างนั้น

เวลาเราประพฤติปฏิบัติ เราใช้สิ่งนี้เป็นปัญญานะ เราก็ใคร่ครวญว่าสิ่งนี้เป็นปัญญา แม้แต่ทำสมาธิก็เหมือนกัน คิดทางวิชาการ “อวิชชาปัจจยา สังขารา สังขาราปัจจยา วิญญาณัง” “สิ่งนี้มี ถึงมีสิ่งนี้” ย้อนกลับไป แล้วไล่ต้อนกลับมา มันก็จบ เป็นแค่ปัญญาอบรมสมาธิก็ได้นะ สิ่งนี้เป็นแค่ปัญญาอบรมสมาธิ แต่เราเอาอุบายวิธีการมาใช้

แต่ไปเจอความจริง มันไม่เป็นแบบนั้นหรอก! ไปเจอความจริง มันจะเกิดดับในความรวดเร็วมหาศาล นี่ตัวจิต ตัวตอของจิต ตัวพลังงานนี้มหัศจรรย์มาก

แต่เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพุทธปัญญา ปัญญามหาศาล ถึงมีความเห็นอันละเอียดอ่อนอย่างนี้ สิ่งที่เห็นละเอียดอ่อนเกิดพร้อมกัน ท่านยังอธิบายออกมาให้เป็นปัจจยาการ ให้เข้าใจ ให้ใครก็แล้วแต่ที่ประพฤติปฏิบัติขึ้นมาถึงจุดนี้แล้วจะอธิบายอย่างไรก็ไม่สามารถอธิบายเกินองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า!

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางสิ่งนี้ไว้ ผู้เข้าไปเห็นสภาวะแบบนั้น ถึงจะเห็นตัวอวิชชา แล้วใช้ปัญญา วิธีการดับทุกข์อันละเอียดนี้มหัศจรรย์ ลึกลับมาก มันพลิกอันนี้คว่ำฟ้าคว่ำดิน หมดสิ้นกระบวนการของใจ บ่มเพาะใจ.. บ่มเพาะจนเป็นจริตนิสัย บ่มเพาะจนถึงที่สุด ตัวบ่มเพาะนั้นก็ต้องทำลาย ทำลายความเป็นไปของใจดวงนั้นทั้งหมด นี่ธรรม.. ธรรมอบรมใจไง

ครูบาอาจารย์มีความสำคัญ เพราะครูบาอาจารย์เอาธรรมอบรมใจของเรานะ ใจของเราอบรมด้วยธรรม อย่าให้กิเลสอบรม กิเลสในหัวใจเรามีมันอบรมอยู่แล้ว เพราะมันเป็นพลังงานอยู่ภายใน มันอบรมนะ แต่เทียบเคียงมาเป็นธาตุ ธาตุสิ่งที่ว่าครูบาอาจารย์เป็นธรรม เรามีความรักมีความเคารพ นั้นคือว่าจิตใจเราเป็นธรรม

ถ้าครูบาอาจารย์เป็นธรรม แต่หัวใจของเราปฏิเสธ แต่เห็นสิ่งใดที่เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ เห็นสิ่งใดที่เป็นเรื่องของความได้ผล เป็นผลประโยชน์ของเรา เราเคารพอย่างนั้น นั่นล่ะกิเลสมันอบรม นี่ธาตุเป็นอย่างนั้นเลยนะ เฉพาะเรื่องธาตุ มันก็เป็นเรื่องธาตุแล้ว ทีนี้สิ่งนี้มันเปลี่ยนแปลงได้ มันแก้ไขได้ จริตนิสัยถึงกว้างขวางมาก ปล่อยไปตามจริตนิสัย

เราจะปล่อยไปตามจริตนิสัย จริตนิสัยใครอย่างไร ก็ให้ทำตามจริตนิสัยเข้ามา แต่เข้ามาขนาดไหนก็แล้วแต่ จะต้องเห็น “ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ เห็นทุกข์ดับ เห็นวิธีการดับทุกข์” วิธีการดับทุกข์.. มันเปลี่ยนแปลง มันดับอย่างไร มันทำการงานอย่างไร มันจบสิ้นกระบวนการอย่างไร นี้คือเรื่องของอริยสัจ นี้คือธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เราเป็นลูกศิษย์ สาวก-สาวกะ เกิดมาทันธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เกิดมาทันครูบาอาจารย์ที่มีความเข้าใจจากในหัวใจดวงนั้นแล้วส่งต่อมา ยื่นมาให้กับใจของเราในปัจจุบันนี้ เราจะมีความสามารถรับแล้วยื่นเข้ามาในหัวใจของเราได้ไหม

นี่จากใจดวงหนึ่งมอบให้กับใจทุกๆ ดวงที่ฟังธรรม เอวัง