ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ไม่รู้หนอ

๗ มิ.ย. ๒๕๕๗

ไม่รู้หนอ

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๗

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) .หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

 

ถาม : เรื่องสมมุติหนอ

กราบนมัสการหลวงพ่อครับ โลกนี้ล้วนสมมุติหนอ ขอหลวงพ่อเมตตาด้วยครับ

ตอบ : พูดถึงเวลาถามมานี่ถามมาด้วยความเห็นของตน ด้วยความเห็นของตนคือตนปฏิบัติแล้วพิจารณาในโลกนี้ โลกนี้เป็นสมมุติ นี่ก็เป็นเรื่องหนึ่งนะ ถ้าเราปฏิบัติแล้วเราพิจารณาของเราเองว่าโลกนี้ล้วนแต่เป็นของสมมุติ

ถ้าโลกนี้เป็นของสมมุติ จิตใจมันก็สังเวช ถ้าจิตมันสังเวช อย่างนี้เป็นการปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่ง เป็นการปฏิบัติธรรม เพราะการปฏิบัติธรรมมันแตกต่างหลากหลาย วิธีการมันแตกต่างหลากหลาย จะปฏิบัติธรรมอย่างไรก็ได้ ถ้ามีความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ปฏิบัติ ใฝ่หาคุณงามความดีให้หัวใจได้สัมผัส

ถ้าการปฏิบัตินะ การปฏิบัติอย่างใดก็ได้ ขอให้มีความตั้งใจแล้วปฏิบัติดี แล้วปฏิบัติไปด้วยความมุมานะ ด้วยความมุมานะบากบั่น ด้วยความปฏิบัติของตน ถ้ามีความรู้เห็นสิ่งใด มีความปฏิบัติไปอย่างใด อันนั้นเป็นประสบการณ์ ประสบการณ์ เห็นไหม ปัจจัตตัง รู้จำเพาะตนๆ จะมากน้อยแค่ไหน

ฉะนั้น ถ้าคนที่ปฏิบัติโดยมีสติปัญญา โลกนี้ล้วนแต่เป็นของสมมุติทั้งนั้นน่ะ หลวงพ่อขอเมตตาธรรมด้วย

เพราะว่าถ้าเราปฏิบัติไป เราบอกว่า สรรพสิ่งในโลกนี้เป็นของสมมุติ เป็นของชั่วคราว

ถ้าเป็นของชั่วคราว จิตใจมันก็ไม่เสพสิ่งนั้น จิตใจมันก็ไม่ยึดมั่นถือมั่น ถ้าจิตใจไม่ยึดมั่นถือมั่น อันนี้เป็นแนวทางปฏิบัติ ถ้าแนวทางปฏิบัตินะ แต่ถ้าบอกว่า สมมุติหนอ รู้เท่าหนอ เห็นความเป็นไปในหัวใจหนอ อันนี้ถ้าเป็นแนวทางปฏิบัติแบบนี้

เวลาเราบอกว่าแนวทางปฏิบัติมันเปิดกว้าง ใครปฏิบัติอย่างไรก็ได้ ใครปฏิบัติโดยปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมตามความเป็นจริงแบบนั้นคือวุฒิภาวะของใจ ถ้าใจของคนอ่อนแอทำสิ่งใดก็ล้มลุกคลุกคลานทั้งนั้นน่ะ จิตใจของคนถ้ามันพยายามปฏิบัติแล้วมันยืนขึ้นมาได้ คือมีสติมีปัญญา มันเห็นโลกนี้เป็นสมมุติมันก็สังเวชนะ เห็นสรรพสิ่งในโลกนี้มันเป็นของชั่วคราว มันไม่จริงไม่จัง เราไปยึดมั่นถือมั่น มีแต่ความทุกข์ความยาก อันนี้มันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ

คำว่าปัญญาอบรมสมาธิเพราะอะไร เพราะเขามีสติมีปัญญา เขาปฏิบัติของเขาด้วยความเป็นจริง แล้วเขาก็รู้จริงของเขา แต่วุฒิภาวะจิตใจของเขายังอ่อนแออยู่ เขาก็รู้ได้แค่นี้ไง

แต่ถ้าเป็นปฏิบัติตามกรรมฐานล่ะ ถ้าปฏิบัติตามกรรมฐานเขาจะทำความสงบของใจ อย่างเช่นสรรพสิ่งในโลกนี้เป็นสมมุติ นี่ก็เป็นปัญญาอบรมสมาธิ มันเป็นปัญญาไง ปัญญาแยกแยะ ปัญญาศึกษามาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สิ่งนี้มันเป็นปริยัติ มันเป็นการศึกษามา ศึกษามามันก็แค่ไปจำมา ความจำ

ความจำ การศึกษาค้นคว้าเป็นสุตมยปัญญา แล้วเรามาใช้ใคร่ครวญพิจารณาของเรา มันเห็นแล้วมันก็สังเวช พอมันสังเวช เห็นไหม โลกนี้สักแต่ว่าของสมมุติ แต่จิตใจของเรามันไม่มีกำลังพอ มันก็สลดสังเวช สลดสังเวช มันก็ปล่อยวาง การปล่อยวางมันเป็นสัมมาทิฏฐิ คือการปล่อยวางตามความเป็นจริง เพราะการปฏิบัติ เราปฏิบัติแล้วเรายังมีเป้าหมายของเรา เรามีศีล เราจะปฏิบัติสมาธิ แล้วเราจะปฏิบัติภาวนามยปัญญา มันจะเกิดปัญญาต่อไปภาคหน้า อันนี้มันเป็นสัมมาทิฏฐิ

สัมมาทิฏฐิคือว่าเราปฏิบัติมันเป็นกิริยา มันเป็นวิธีการที่เราประพฤติปฏิบัติ มันจะมีประสบการณ์ มีการกระทำของใจเป็นตามความเป็นจริง มันจะเกิดมรรคเกิดผลขึ้นไป มันมีเป้าหมายข้างหน้าคือเราจะหวังมรรคหวังผล ถ้าเราหวังมรรคหวังผลนะ มันมีเป้าหมายไปข้างหน้าไง มันไม่นอนจมไง เห็นไหม อย่างนี้ก็เป็นปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ

ทีนี้ถ้าปัญญาอบรมสมาธิ เวลาปฏิบัติเข้าไปแล้วโลกนี้มันก็เป็นสมมุติหนอ มันก็เข้าใจหมดแล้ว ทำไมมันเป็นอย่างนี้ ทำไมมันเป็นอย่างนี้ทุกคนจะถามว่าปฏิบัติไปแล้วทำไมมันเป็นอย่างนี้ ปฏิบัติแล้วทำไมมันไม่ก้าวหน้า

ถ้าอย่างนี้ปั๊บ กรรมฐานเราก็บอกว่าต้องทำความสงบของใจ ศีล สมาธิ เกิดปัญญา

ถ้ามีสมาธิ สมาธิคืออะไร สมาธิคือความสงบร่มเย็นของใจ ถ้าใจสงบร่มเย็นแล้วก็มีกำลัง เขาว่าจิตต้องมีกำลัง กำลังไม่พอ กรรมฐานเขาคุยกันว่ากำลังพอหรือกำลังไม่พอ ถ้ากำลังพอ ถ้าจิตมันสงบแล้วมีสติมีปัญญามันก็ฟาดฟัน มันก็แยกแยะของมัน มันเกิดภาวนามยปัญญาต่อไปข้างหน้า

แต่ถ้ามันใช้ปัญญาในปัจจุบันนี้เขาเรียกว่าโลกียปัญญา ปัญญาเกิดจากความรู้สึกนึกคิด มันก็เป็นปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าปัญญาอบรมสมาธิ ถ้ามีสติปัญญามันก็สมมุติหนอ มันเป็นสมมุติไปทั้งนั้นน่ะ สมมุติหนอ เข้าใจหนอ เข้าใจหนอ

นี่พูดถึงว่า ถ้าคนปฏิบัติตามสัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกต้องดีงาม มันก็ปฏิบัติต่อเนื่องไป โอกาสข้างหน้ามันก็เจริญงอกงามไป ถ้างอกงามไป เจริญงอกงามไป

แต่ถ้าบอกโลกนี้มันเป็นของสมมุติหนอ แล้วทำอย่างไรต่อไป ทำอย่างไรต่อไป

อย่างนี้เรายังมีโอกาส เพราะเรายังมีว่าเราจะต้องปฏิบัติไปได้ แต่ถ้ามันเป็นแนวทางปฏิบัติที่ใครปฏิบัติมาแนวทางหนึ่ง ว่ารู้เท่าหนอ สรรพสิ่งรู้รอบ รู้ความเคลื่อนไหว รู้หนอๆ...มันหนอไปไหนล่ะ ถ้ารู้หนอ เข้าใจหนอ สรรพสิ่งนี้เข้าใจทุกอย่าง แล้วทำอย่างไรต่อ ทำอย่างไรต่อ

นี่ไง บอกว่าแนวทางปฏิบัติมันมีแตกต่างหลากหลาย แตกต่างหลากหลาย ปฏิบัติอย่างไรก็ได้ ถ้าเรามีสติมีปัญญามันจะเจริญก้าวหน้า มันจะงอกงามไปข้างหน้า ความงอกงามไปข้างหน้าเพราะมันเป็นสัมมาทิฏฐิ มันมีความเห็นถูกต้องดีงาม

แต่ถ้ามันเป็นมิจฉาทิฏฐิ ถ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ก็เข้าใจหนอ ก็รู้เท่าทันทุกอย่างแล้ว แล้วทำอย่างไรต่อ เพราะมันไม่มีกำลังไง มันไม่มีสมาธิ ไม่มีสมาธิ ไม่มีกำลัง แต่เพราะว่าเราศึกษามา ศึกษา เราเข้าใจ เราใช้ปัญญาใคร่ครวญ เขาเรียกโลกียปัญญา

ถ้าเป็นโลกียปัญญา ถ้าเป็นสัมมาทิฏฐิมันก็เป็นปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าเป็นสัมมาทิฏฐินะ สัมมาทิฏฐิแบบว่า รู้หนอ เข้าใจหนอ ไอ้นี่มันแค่พื้นฐาน เบสิก คือใจไม่มีกำลัง ใจยังทำอะไรไม่ได้ เหมือนนักกีฬาเลย นักกีฬาก่อนจะเล่นกีฬาสิ่งใดเขาก็ต้องออกกำลังกายให้แข็งแรงขึ้นมาก่อน แข็งแรงแล้ว เทคนิคต่างๆ เขาก็มาฝึกเอาทีหลัง พรสวรรค์ เขาพยายามฝึกหัดขึ้นมา

นี่ก็เหมือนกัน ถ้ารู้เท่าทันหนอ แล้วหนอคืออะไรต่อไปล่ะ หนออะไรต่อไป เพราะมันจบแล้ว เข้าใจทุกอย่างมันก็หยุดหมด แล้วจะทำอย่างไรต่อ แล้วมีอะไรต่อเนื่องไปล่ะ แล้วทำอย่างไรต่อ

มันต่อเนื่องไปไม่ได้ เพราะจิตนี้เกิดดับ ความรู้สึกของคนมันเกิดดับ แล้วความเกิดดับ เพราะเราไม่มีสติไม่มีปัญญา ไม่มีกำลัง มันถึงจับกาย เวทนา จิต ธรรมไม่ได้

ความรู้สึกนึกคิดนี้เป็นธรรมารมณ์ ถ้าความรู้สึกนึกคิด จิตเห็นอาการของจิต ถ้าจิตมันสงบ มีปัญญาแล้วมันจะจับได้ จับความรู้สึกนึกคิด ความรู้สึกนึกคิด อารมณ์มันเป็นวิบากแล้วนะ เพราะมันเสวย ปฏิสนธิจิตมันเสวยรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันเสวยมาแล้ว เสวยแล้วถึงเป็นอารมณ์ความรู้สึก ไอ้นี่มันเป็นปลายเหตุแล้ว ถ้าเราจับปลายเหตุได้ ถ้าจิตเห็นอาการของจิต ถ้าจิตมันสงบแล้วมีกำลังมันจะจับได้

ถ้าจิตมันเป็นมิจฉาทิฏฐิ มันไม่มีกำลัง มันเกิดดับๆ ก็เราเกิดดับ ก็กิเลสเกิดดับ ทุกอย่างก็เกิดดับ มันก็เกิดแล้วก็ดับ เกิดก็รู้ ดับก็รู้ รู้แล้วทำอย่างไรต่อ รู้ก็แค่นั้น เป็นมิจฉาทิฏฐิไปไง เป็นมิจฉาทิฏฐิไปเลยเพราะจิตมันไม่ก้าวเดินต่อไป จิตไม่เห็นอาการของจิตแล้วไม่มีการแยกแยะไป ถ้าจิตเห็นอาการของจิตแล้วมีการแยกแยะไปมันถึงจะเป็นวิปัสสนา ถ้าวิปัสสนามันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เห็นไหม

ฉะนั้น สิ่งที่ว่า รู้เท่าหนอ สรรพสิ่งเขาว่ารู้หนอ เข้าใจหนอ ก็แค่นั้นน่ะ มันแค่นั้นเพราะจิตไม่มีกำลัง จิตไม่มีความสงบของใจ

ถ้าจิตมีความสงบของใจนะ เราถึงทำความสงบของใจกันก่อน ทำความเข้าใจให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ปัญญาใคร่ครวญอารมณ์ความรู้สึก ปัญญาใคร่ครวญสิ่งต่างๆ ความใคร่ครวญแล้วมันจะปล่อยวาง ถ้าปล่อยวาง ใครเป็นคนใคร่ครวญล่ะ เพราะเรามีสติ เราใคร่ครวญใช่ไหม ถ้าเรามีสติใคร่ครวญ เวลาปล่อยวาง เราเป็นคนปล่อยวางใช่ไหม ถ้าเราปล่อยวาง ความรู้สึกเรามีใช่ไหม

นี่บอกว่า รู้หนอ เท่าทันหนอแล้วก็จบ แล้วใครปล่อยใคร ใครวางใคร แล้ววางแล้วจะทำอย่างไรต่อไปข้างหน้า มันต่อไปไม่ได้ เพราะอะไรล่ะ เพราะไม่มีครูมีอาจารย์คอยชี้คอยแนะไง

ถ้ามีครูบาอาจารย์คอยชี้คอยแนะ สิ่งใด การปฏิบัติ วิธีการทำอย่างไรก็ได้ แต่ให้เป็นสัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิคือว่า เราปฏิบัติเริ่มต้นเราปฏิบัติเพื่อความสงบร่มเย็น ถ้าสงบร่มเย็นแล้ว จิตมีกำลังแล้ว จิตมีกำลัง จิตเป็นสัมมาสมาธิ ปัญญาอบรมสมาธิ จิตเป็นสัมมาสมาธิ มีสติปัญญาปล่อยวางเข้ามา จิตปล่อยวางอารมณ์เข้ามามันเป็นตัวของมันเอง ถ้าตัวของมันเอง ถ้ามีสติมีปัญญามันก็รักษาไว้ได้

รักษาไว้ไม่ได้ เดี๋ยวก็เสวยอารมณ์ต่อ ก็คิดอีก มันปล่อยแล้วเดี๋ยวก็คิดอีก คิดอยู่นั่นน่ะ คิดอยู่อย่างนั้นน่ะ ถ้าคิดอยู่อย่างนั้น เห็นไหม ฉะนั้น ถ้าแนวทางปฏิบัติ ปฏิบัติด้วยความไม่รู้ ถ้าปฏิบัติไม่รู้แล้วมันก็งงอย่างนี้ ไม่รู้หนอ ไม่รู้หนอ

ไอ้เขารู้หนอนะ รู้หนอ เข้าใจหนอ

หนอไปน่ะ หนอไปที่ไม่รู้ไง ไม่รู้คือก้าวเดินไปไม่ได้ มันก็เป็นการไม่รู้หนอ ไอ้นี่ก็เหมือนกัน เรายิ่งปฏิบัติไป ปฏิบัติไปสู่ความไม่รู้ ปฏิบัติไปแล้วมันก้าวเดินไปไม่ได้ ก้าวเดินไปไม่ได้แล้วทำอย่างไรต่อ

แต่ถ้าเป็นกรรมฐาน ถ้าปัญญาอบรมสมาธิ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ใช้ปัญญาใคร่ครวญไปแล้วมันก็สงบร่มเย็นเป็นสมาธิ เป็นสมาธิคือมีสติมีปัญญา มีสติรักษามันถึงเป็นสมาธิ มีสตินะ รักษาจิต มันก็เป็นสมาธิ ฉะนั้น พอมีสติ เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ มีสติปัญญารักษาไว้

แต่ถ้ามันรู้หนอๆ เวลามันเกิดดับ ดับไปแล้วมันมีสติตรงไหน มันรู้ว่าเป็นสมาธิ มันเป็นสมาธิอย่างใด แต่มันก็บอกว่าสบายๆ สบายๆ เพราะอะไร สบายๆ เพราะไปพูดกับคนไม่รู้ไง

ไอ้เขาไม่รู้หนออยู่แล้ว เราบอกรู้หนอ เขาไม่รู้หนอ ไอ้คนรู้หนอมันก็ดีกว่าคนไม่รู้หนอ แต่ปฏิบัติไปแล้ว จริงๆ แล้วก็คือไม่รู้นั่นแหละ ไม่รู้เพราะอะไร เพราะปฏิบัติไปแล้วก้าวเดินต่อไปไม่ได้ ก้าวเดินนะ เพราะมันตัดขาดไง มันตัดขาด มันเป็นมิจฉา พอตัดขาดไปแล้วคือว่ารู้เท่าทันหมดแล้วก็ดับ ดับแล้วทำอย่างไรต่อ ดับ เดี๋ยวมันเสื่อม มันลงต่ำไปมันก็ไปเกิดอย่างนั้นอีก มันก็ไปสู่ความไม่รู้หนอ ไม่รู้ในอะไร ไม่รู้ในอริยสัจไง ไม่รู้ในสัจจะความจริงไง

เวลาเราหยาบๆ อยู่อย่างนี้ อารมณ์ความรู้สึกเราทุกข์ยาก เราก็เท่าทันหนอๆ หนอแล้วมันก็ดับหมด ดับหมดแล้วมันจะก้าวเดินต่อไปอย่างไร เพราะมันเป็นอวิชชา แล้วจบลงที่อวิชชาคือความไม่รู้หนอ

แต่ถ้าเป็นปัญญาอบรมสมาธิ มันรู้หนอ มันรู้หนอ มีสติรักษา มันรักษา รักษาอะไร รักษาตัวจิตจากความไม่รู้ให้เป็นความรู้ รู้ในตัวเอง ถ้ารู้ในตัวเอง ตัวเองมันรับรู้อยู่แล้วก็คือสัมมาสมาธิ นี่มันก็แค่สัมมาสมาธิ ถ้าสัมมาสมาธิแล้ว เพราะเป็นสัมมาทิฏฐิความเห็นถูกต้องดีงาม ถ้าเป็นสัมมาสมาธิแล้ว ถ้ามันเสวย มันเสวยอารมณ์ มันจับ มันต้องจับตรงนี้ ถ้ามันเสวย เห็นอาการของจิต เห็นความคิด เห็นความเกิดความดับ

นี่เขาบอกว่าเขารู้เท่าทันหนอ รู้หนอๆ รู้ทันอารมณ์หนอ ดับหมด คือกดไว้

แต่เวลาจิตเราสงบแล้ว เวลาจิตมันเสวยอารมณ์ เห็นไหม จิตเห็นอาการของจิต จิตจับความรู้สึกนึกคิด แล้วจับความรู้สึกนึกคิดได้แล้วมันใช้สติปัญญา มันแยกแยะไป ในความคิดมันมีอะไร มันเป็นรูป รูปคืออารมณ์ความรู้สึก อารมณ์ความรู้สึกมันมีอะไร มันมีสัญญา มันมีสังขาร มีวิญญาณ มีเวทนา เวทนารับรู้ มันแยกมันแยะ มันใช้สติปัญญาแยกแยะของมัน อันนี้มันถึงจะเป็นวิปัสสนา

ฉะนั้น เขาบอกว่า มันเป็น ๒ ประเด็น ประเด็นหนึ่งเขาบอกว่าเขาปฏิบัตินะ เขานั่งขัดสมาธิเพชรเชียวนะนี่ เขาทำสมาธิแล้วมันรู้เท่ารู้ทัน แล้วโลกนี้เป็นสมมุติหมดเลย

ถ้าโลกนี้เป็นสมมุติหมดเลย ถ้าจิตเห็นอาการของจิต โลกนี้เป็นสมมุติ ถ้ามีสติปัญญาจับรูป รส กลิ่น เสียงมาพิจารณา ถ้าพิจารณา ถ้ามีสติ มีกำลังไปข้างหน้า ถ้ามันเป็นสมมุติ สมมุติประกอบไปด้วยอะไร แล้วสมมุติเวลาใช้ปัญญาไปแล้วสมมุติมันดับไปอย่างไร

สมมุติบัญญัติ สิ่งที่บัญญัติคือธาตุ สิ่งที่มันพิจารณาแล้วมันเหลือแต่ธาตุ ในธาตุนั้นมันเป็นอย่างไรต่อไป ถ้ามันพิจารณาจนมันถอดมันถอน จิตมันคลายตัวออกมา ถ้าจิตมันคลายตัวออกมา นี่จะเป็นแนวทางปฏิบัติ ถ้าเป็นแนวทางปฏิบัตินะ มันปฏิบัติไปเพื่อความรู้ ไม่ใช่ไม่รู้หนอ

โลกนี้เป็นสมมุติ ถ้าสมมุติโดยใช้ปัญญามันเป็นปัญญาอบรมสมาธิ เพราะเขาบอกเขาเคยถามมาว่า เขานั่งขัดสมาธินะ เขาว่าเขาทำในแนวทางยุบหนอพองหนอมันไม่ถูกต้อง เขาบอกเขานั่งสมาธิเพชรเชียวนะ เขาปฏิบัติตามความเป็นจริง เขามีสมาธิแล้วนะ

ถ้ามีสมาธิแล้ว ถ้ามันต่อเนื่องไป ถ้ามีสมาธิแล้ว ถ้ามีสมาธิ ถ้ามันเห็นว่าโลกนี้เป็นสมมุติหนอ สมมุติหนอ ถ้ามีสมาธิ ต้องทำสมาธิให้มีกำลัง ถ้ามีกำลังแล้ว โลกนี้สมมุติหนอ อะไรเป็นสมมุติล่ะ สมมุติมันเกิดขึ้นมาได้อย่างไรล่ะ ใครเป็นคนสมมุติมัน

เธอจงดูโลกนี้เป็นความว่าง เธอจงมองโลกนี้เป็นความว่าง แล้วถอนอัตตานุทิฏฐิ ความไปยึดว่าโลกสมมุติหนอๆ มันเป็นเรื่องโลก มันไม่ใช่เรื่องของเรา ใจมันออกไปยึดมั่น ใจมันออกไปรับรู้

เธอจงมองโลกนี้เป็นความว่าง มันไม่มีอะไรสมมุติบัญญัติหรอก มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนี้ โลกนี้เป็นสักแต่ว่า มองมันเป็นสักแต่ว่า มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น ถ้าเป็นอยู่อย่างนั้น แล้วใครไปยึดมันล่ะ ใครไปเห็นมันล่ะ ใครไปเห็นว่าโลกนี้เป็นสมมุติล่ะ แล้วสมมุติเราไปแบกมันทำไมล่ะ เราทำไมไม่มีปัญญาปล่อยมันเข้ามา

ถ้าเป็นสัมมาทิฏฐิมันจะเป็นชั้นเป็นตอน เป็นขั้นเป็นตอนในการปฏิบัติ มันจะมีขั้นมีตอนของมัน ศีล สมาธิ ปัญญา มันเป็นมรรค ๘ เห็นไหม ศีล สมาธิ ศีลคือความปกติของใจ ถ้ามีสมาธิ สมาธิเป็นสัมมาสมาธิ

ถ้าเป็นมิจฉา มิจฉามันก็หลับใหล เข้าใจหนอ สต๊าฟจิตไว้หนอ จิตก็วางยาสลบมันไว้หนอ แล้วก็บอกว่าปฏิบัติแล้วมันสบาย เขาใช้คำนี้ประจำ เมื่อก่อนทุกข์ยากมาก พอเดี๋ยวนี้มาปฏิบัติแล้ว โอ๋ย! เข้าใจไปหมดเลย ทุกอย่างเข้าใจหมด รู้หมด มีปัญญาหมด แล้วไปอย่างไรหนอ ก็ไม่รู้หนออยู่นั่นน่ะ

แต่ถ้าเป็นกรรมฐานนะ เป็นเรากำหนดนะ กำหนดพุทโธก็ได้ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิก็ได้ แนวทางปฏิบัติมันแตกต่างหลากหลายมากนัก แต่ต้องเป็นสัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิหมายความว่า ศีล สมาธิ ปัญญา เรามีความปกติของใจ เราปฏิบัติของเราให้เกิดสมาธิ เกิดความร่มเย็นเป็นสุข เกิดกำลัง

ถ้ามีกำลังขึ้นมาแล้ว ถ้าโลกนี้เป็นสมมุติ ถ้ามีกำลังนะ พิจารณา มันปล่อยทันที พิจารณา มันขาดทันที ถ้ามีกำลังพอนะ มันฟาดฟัน ถ้ามีกำลังนะ ใครที่วิปัสสนาเป็นนะ พอจิตสงบแล้วจับสิ่งใดพิจารณาไป มันแยกมันแยะ มันทะลุทะลวงนะ โอ๋ย! มันสุขมาก มันมีกำลังมาก กำลังตรงไหน กำลังที่ใจมันมีอำนาจเหนือทุกๆ อย่าง มันไม่มีสิ่งใดเข้ามามีอำนาจเหนือใจดวงนี้เลย ใจดวงนี้มันพิจารณาไปแล้วมันชำระล้าง มันทำลาย มันครอบคลุม มันเหนือโลก มันเข้าใจได้หมดเลย นี่ถ้ามีกำลัง

แต่ถ้าไม่มีกำลัง พิจารณาไปแล้วมันอั้นตู้ ภาวนาไปแล้ว ภาวนาแล้วไม่ลง ภาวนาไปแล้วมันยื้อต่อกัน ระหว่างกิเลสกับธรรมมันชักเย่อกันแล้วเราทำไม่ได้ นี่คือขาดสมาธิ นี่คือขาดกำลัง ถ้าขาดกำลังต้องกลับมาพุทโธ กลับมาปัญญาอบรมสมาธิ นี่พูดถึงแนวทางปฏิบัติมันปฏิบัติไปแล้วมันมีเหตุมีผล มีถึงที่สุดได้ ถ้าปฏิบัติไปเพื่อความรู้ไง

ถ้าปฏิบัติไป ไม่รู้หนอ ปฏิบัติด้วยความไม่รู้ แล้วปฏิบัติไปแล้วมันก็ไม่รู้เรื่องสิ่งใดเลย ไม่รู้สิ่งใดเลย มันปฏิบัติไปแล้วล้มลุกคลุกคลาน อันนี้เป็นแนวทางปฏิบัติอันหนึ่ง

แต่ถ้าความเป็นจริงนะ ในการปฏิบัติ เราปฏิบัติเพื่อจะพ้นจากกิเลส ปฏิบัติเพื่อจะชนะกิเลส แต่จริงๆ แล้วในใจเรามันมีอวิชชา มีความไม่รู้เป็นอวิชชา

แต่ความไม่รู้มันมีชีวิต เพราะความไม่รู้มันเป็นมาร พอเป็นมาร มันอ้างไง มันอ้างธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เหมือนเราศึกษามา เราศึกษาสุตมยปัญญา ปริยัติ ศึกษาปริยัติมา เรารู้ช่องรู้ทางหมด เรารู้ระยะทาง รู้กำหนดได้ เรารู้วิธี เหตุการณ์ เรารู้หมด แล้วพอปฏิบัติ กิเลสมันเอานี่มาอ้าง เข้าใจหนอ ปล่อยวางหนอ สำเร็จแล้วหนอ มันไปเรื่อยล่ะ แต่สรุปลงแล้วคือไม่รู้หนอ คือมันคลำไป มันลูบๆ คลำๆ มันลูบๆ คลำๆ ไปด้วยความลังเล ด้วยความสงสัย แต่มาร กิเลสมันไปเอาธรรมะมาอ้างอิง แล้วเราก็ท่องได้หมด จำได้หมด แล้วมันก็เป็นคำเดียวกับพระไตรปิฎก มันเป็นอักษรตัว เดียวกันเลย มันจำมาจากบรรทัดนั้น หน้านั้นได้ชัดเจนเลย แต่มันเป็นความจำมา

แล้วกิเลส หลวงตาท่านบอกว่าจิตนี้มหัศจรรย์นัก เวลามันทำร้าย มันคิดร้าย ร้ายมหาศาลนะ แต่มันคิดดีนะ มันก็ดีเป็นเทวดา อินทร์ พรหมไปเลย จิตของคนมหัศจรรย์นัก ธรรมชาติของธาตุรู้มหัศจรรย์นัก

แล้วพอมหัศจรรย์นัก มันก็มีคุณค่าในตัวมันเอง แต่มันเป็นมารออกหน้า เป็นไม่รู้หนอออกหน้า มันก็เอาธรรมะมาอ้าง เห็นไหม รู้หนอ เข้าใจหนอ สำเร็จแล้วหนอ มีคุณธรรมหนอ มันเข้าใจไปหมด แต่เข้าใจไปโดยกิเลสไง กิเลสมันเข้าใจเพราะอะไร เพราะมันไม่ได้ทำจริง มันไม่ต้องเหนื่อยแรง มันไม่ต้องทุกข์ต้องยาก

แต่ถ้ากรรมฐานนะ มันต้องทำจริง ถ้าเป็นสติก็ต้องสติจริงๆ ไม่ใช่ชื่อว่าสติ ถ้าเป็นสมาธิก็ต้องเป็นสมาธิ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ เป็นสมาธิจริงๆ ไม่ใช่ชื่อว่าสมาธิ

เวลาเกิดปัญญาขึ้นมา ปัญญาจากจิตดวงนั้นเป็นคุณสมบัติของใจดวงนั้น เห็นไหม ศีล สมาธิ ปัญญาเกิดจากจิตดวงนั้น จิตดวงนั้นวิปัสสนาญาณ เกิดทัศนคติ เกิดญาณทัสสนะ เกิดการชำระล้าง เกิดการสำรอกคายกิเลสจากดวงใจนั้น นี่ไง เวลาปฏิบัติมันรู้จริงเห็นจริงทำนองนั้นไง มันไม่ใช่ปฏิบัติด้วยความไม่รู้ แต่ไปรู้ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วเอาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาอ้างอิง รู้หนอ เข้าใจหนอ สำเร็จแล้วหนอ แล้วตัวเองก็งงๆ หนอ ก็เลยไม่รู้หนออยู่อย่างนี้

แต่ถ้าเป็นความจริงนะ นี่พูดถึงการปฏิบัติรู้เท่าทัน รู้หนอ เท่าหนอนั่นเรื่องหนึ่ง แต่ถ้าปฏิบัติเขาบอกว่าเขาปฏิบัติจริงๆ เขาปฏิบัติโดยกรรมฐาน นั่งขัดสมาธิเพชรเลย มองโลกนี้ล้วนเป็นสมมุติหมดเลย

ถ้าโลกนี้เป็นสมมุติ ถ้าจิตเราเป็นสมาธิ เรามีกำลัง มีปัญญาขึ้นมา มันเห็นแล้วมันสลดสังเวช ถ้ามันสลดสังเวชมันก็ปล่อยวาง มันก็จางคลายออกมา มันสำรอก แต่มันไม่สมุจเฉทปหาน เราต้องกลับมาทำสมาธิ

เวลาปฏิบัตินะ เหมือนเราเข็นครกขึ้นภูเขา เวลาเราเข็นครกขึ้นภูเขาแต่ละใบมันแสนทุกข์แสนยาก พอขึ้นไปถึงยอดเขาแล้ว แล้วมันจบหรือยังล่ะ มันจบหรือยัง มันยังไม่จบเพราะเราตั้งครกของเราให้สมบูรณ์แบบไม่ได้ เราตั้งครกของเราให้อยู่บนภูเขานั้น เราสร้างบ้านสร้างเรือนบนภูเขานั้นไม่ได้ เดี๋ยวเกิดลมพัด เกิดพายุ เวลามันชำระล้างดินโคลนไปแล้ว ครกมันก็จะกลิ้งลงมา

นี่ก็เหมือนกัน เราสมมุติหนอ เราเข้าใจหนอ เราเข็นครกขึ้นภูเขามันทุกข์ยากแสนเข็ญนะหลวงพ่อ แล้วทำอย่างไรต่อไปล่ะ โลกนี้สมมุติหนอเลยล่ะ แล้วทำอย่างไรต่อล่ะ

ทำอย่างไรต่อนะ สิ่งนี้เราเข็นครกขึ้นภูเขา เราปฏิบัติมาแสนทุกข์แสนยาก อันนี้มันเป็นประสบการณ์อันหนึ่งนะ ประสบการณ์อันหนึ่ง เราทำงานเสร็จสิ้นอันหนึ่ง แต่มันยังไม่สมบูรณ์แบบ มันยังไม่มั่นคง เราก็ต้องเข็นลูกที่ ๒ ลูกที่ ๓ ขึ้นไปเพื่อจะสะสมขึ้นมาให้สร้างบ้านสร้างเรือนให้มั่นคงขึ้นมาได้ คือเราต้องพยายามน่ะ

ถ้ามันรู้เท่า โลกนี้เป็นสมมุติ เข้าใจแล้วมันซาบซึ้งมาก แล้วทำอย่างไรต่อ ทำอย่างไรต่อ ขอเมตตาหลวงพ่อ ขอถามหลวงพ่อครับ นี่เขาถามมาอย่างนั้น

ถ้าโลกนี้เป็นสมมุติ มันเป็นปรากฏการณ์อันหนึ่ง ปรากฏการณ์คือเราใช้ปัญญาพิจารณาแล้วรอบหนึ่ง รอบหนึ่งแล้วเราต้องใช้ปรากฏการณ์คือพยายามทำสมาธิ พยายามใช้ปัญญาแยกแยะมันต่อเนื่อง ถ้าโลกนี้เป็นสมมุติ เห็นไหม เธอจงมอง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนโมฆราช สอนพระหลายองค์มากเลย เวลาทำความสงบของใจเข้ามาแล้วเธอจงมองโลกนี้เป็นความว่าง เธอจงมองโลกนี้เป็นสักแต่ว่า

สักแต่ว่าก็คือสมมุตินี่ จงมองโลกนี้ สรรพสิ่งในโลกนี้เป็นสักแต่ว่า คือมันเกิด ตั้งอยู่ มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วมันจะแปรปรวนไปเป็นอย่างนั้นเอง

เธอจงมองโลกนี้เป็นสักแต่ว่า ของเขามีอยู่ ของเขาเป็นอยู่ ของเขาเป็นไปอย่างนั้นเอง แล้วกลับมาดูแลรักษาใจ กลับมาถอนอัตตานุทิฏฐิ ทิฏฐิว่าอยากให้เป็นอย่างที่เราคาดหมาย อยากให้มันแปรสภาพให้เราดู อยากจะให้ นี่คือทิฏฐิของเรา กลับมาถอนอัตตานุทิฏฐิ กลับมาพิจารณาใจของเรา ถ้าทำปฏิบัติอย่างนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ ถ้าสอนอย่างนี้มันจะเข้าใจอย่างนี้

ไม่ใช่ว่า ถ้าโลกนี้เป็นสมมุติหนอ ก็เข้าใจหมดแล้ว ก็เห็นหมดแล้ว มันก็สังเวชอันหนึ่ง อันนี้เป็นความเห็นของเราเนาะ ถ้าเป็นความเห็นของเรา

ปฏิบัติให้มันรู้จริง ไม่ใช่ปฏิบัติจนไม่รู้หนอ ไม่รู้หนอ ไม่เข้าใจหนอ สงสัยหนอ งงหนอ แต่เวลาปฏิบัติอยู่นี่ เข้าใจหนอ แล้วก็เป็นทิฏฐิความเอามาคุยกัน เอามาอ้างอิงกันว่าปฏิบัติจบกระบวนการ ปฏิบัติจนเข้าใจจบหลักสูตรของยุบหนอพองหนอ เข้าใจหนอ จบหลักสูตร มีความรู้เต็มหัวอก แต่ไม่ได้กระเทือนกิเลสแม้แต่นิดเดียวเลย ผลของมันคือไม่รู้หนอ ไม่รู้อะไร ไม่รู้สัจจะในหัวใจของตัวเอง แต่ไปเข้าใจบทเรียนในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปเข้าใจในสัจธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนไว้ แต่ไม่เข้าใจสัจธรรมในหัวใจเลย ไม่รู้สิ่งใดๆ เลยเรื่องของกิเลสตัณหาความทะยานอยาก

แต่ถ้าทำความเป็นจริงนะ เราทำความสงบของใจเข้ามา เขาบอกที่เป็นสมถะ ที่ไม่มีกำลัง ทำเข้ามาให้มีสมาธิ มีกำลัง แล้วจะไปเข้าใจตามความเป็นจริงแบบนี้

นี่พูดถึงสมมุติหนอ นี่คำถามเขานะ จบ

ถาม : เรื่องกรรมในอดีต

กราบนมัสการหลวงพ่อครับ ผมมีปัญหาในการปฏิบัติครับ ปัญหาคือผมเป็นผู้ปฏิบัติใหม่ และเพิ่งนับถือศาสนาพุทธได้ไม่นาน ในช่วงวัยรุ่น ผมได้หลงไปเชื่อลัทธิศาสนาอื่นมา ด้วยเหตุนี้จึงมีบ่อยครั้งที่ผมสร้างกรรมให้ตัวเองโดยการกังขาพระธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และได้เคยถกเถียงถึงความเป็นไปได้จริงในศาสนาและลัทธิต่างๆ ว่ามีเหตุผลมากกว่าพระธรรมคำสอน

หลังจากที่ผมได้กลับมานับถือพระพุทธศาสนาแล้ว ผมกลับเชื่อและไม่มีข้อกังขาในพระธรรมเลยครับ (จะมีเพียงปัญญาของผมที่ยังไม่มากพอที่จะเข้าถึงพระธรรม) แต่ผมก็อดรู้สึกกลัวในความผิดที่เคยกังขาพระธรรมในอดีตไม่ได้

ผมพอทราบว่า กรรมในอดีตของผมคงทำให้ผมไม่พ้นนรกแน่นอน แต่ผมเองก็ทำใจยอมรับกรรมที่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผม และยอมรับผิด แต่ด้วยเวลาที่ผมมี ผมจึงพยายามที่จะภาวนาให้อย่างน้อยดวงจิตนี้ไม่ตกไปในทางมิจฉาอีก

แต่ผมเกิดปัญหาในการภาวนาที่การภาวนาของผมไม่คืบหน้าเลยครับ บางครั้งก็เกิดอาการง่วง ทั้งๆ ที่ก่อนผมจะเริ่มภาวนา ผมไม่มีอาการง่วงเลย หรือบางครั้งความรู้สึกผิดในกรรมที่ผมก่อไว้ ที่ผมกังขาพระธรรมไว้ ทำให้ผมละอายใจที่จะภาวนา ทำให้ผมเกิดความท้อแท้ครับ

ผมคาดว่าเหล่านี้เกิดจากกรรมในอดีตที่ผมก่อไว้ ผมควรจะมีหลักใจอย่างไรดีครับที่อย่างน้อยพอจะทำให้ผมภาวนาได้ดีขึ้นสักนิดก็ยังดีครับ หรือผมควรทำสิ่งใดให้ผลกรรมเก่าของผมเบาบางลง เพื่อเปิดทางให้ผมเกิดปัญญาที่เป็นสัมมาติดจิตดวงนี้ไปครับ กราบรบกวนหลวงพ่อให้อุบายตามหลวงพ่อเห็นสมควรครับ

ตอบ : อันนี้พูดถึงว่า ตั้งแต่เด็ก ความเป็นเด็ก คนเราเด็กวัยรุ่นมันก็ขวนขวาย มันก็พยายามจะศึกษาค้นคว้า ไปนับถือลัทธิศาสนาอื่นมา อันนี้มันก็เป็นความเสียใจของเราถ้าเราสำนึกของเราได้ ถ้าเราสำนึกของเราได้ พอสำนึก เราไปคิดถึงอดีตที่เราเคยสบประมาท เราเคยทำสิ่งใดไว้ สิ่งนี้เราทำไว้ เราเข้าใจได้ เราเข้าใจได้ พอเข้าใจได้ แต่เรามีสติมีปัญญา เรามีความเห็นถูกต้องกลับมา คือกลับมา เพิ่งกลับมานับถือพระพุทธศาสนา แล้วก็เชื่อด้วย เชื่อสัจธรรมความเป็นจริง แล้วเราอยากจะประพฤติปฏิบัติ เราอยากจะทำความเป็นจริง แต่ขณะที่ว่าเราปฏิบัติแล้วเราก็คิดน้อยเนื้อต่ำใจไป ถ้าน้อยเนื้อต่ำใจไป

มันมีคนที่หลงผิดไป มี ดูสิ ดูพระสมัยพุทธกาลไปเชื่อเทวทัต เทวทัตไปขอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปกครองสงฆ์ แล้วจะขอปกครองสงฆ์ ขอไง ขอให้เคร่ง คือไม่รับกิจนิมนต์ ต้องอยู่โคนไม้ ขอครุกรรม ๕ อย่าง

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่อนุญาตเลย พอไม่อนุญาต เทวทัตก็บอกพระเลยดูสิ พระพุทธเจ้าไม่เคร่งครัดเหมือนเรา เราเคร่งครัดมากมีพระที่หลงผิดไปกับเทวทัตเยอะแยะเลย เพราะเชื่อในความโฆษณาชวนเชื่อของเทวทัต

แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกพระสารีบุตรสารีบุตร เป็นหน้าที่ของเธอ นั่นเป็นพระบวชใหม่ เธอต้องไปเอาพระพวกนั้นกลับมา

เวลาพระสารีบุตรตามเทวทัตไป เทวทัตเขาก็เลียนแบบพระพุทธเจ้า บอกว่า เทศนาว่าการสอนพระเสร็จแล้วเขาจะพักผ่อน ให้พระสารีบุตรเทศนาต่อ พระสารีบุตรก็ไปแจกแจงความเป็นจริงว่าที่พระเทวทัตพูดมันเป็นสุดโต่ง สุดโต่งที่ว่ามันไม่มัชฌิมาปฏิปทา การที่ว่าต้องถือบิณฑบาตเป็นวัตร ต้องอยู่โคนไม้เป็นวัตร ห้ามอยู่บนที่มุงที่บังเลย ให้อยู่โคนไม้ตลอดไป

พระสารีบุตรไปอธิบายให้ฟังว่า การบิณฑบาตเป็นวัตร ถ้าคนที่มีจิตใจเข้มแข็ง สิ่งนั้นเขาก็ทำได้ แต่เวลาญาติโยมที่เขาหวังบุญใฝ่บุญของเขา เขานิมนต์พระไปฉัน เราก็ไปฉัน เราก็ได้ประโยชน์ของเราด้วย ได้ประโยชน์ของญาติโยมด้วย ได้ประโยชน์ของศาสนาด้วย ได้ประโยชน์ของบริษัท ๔ ด้วย แต่ถ้าเราเคร่งครัดของเรา เราก็กลับมาบิณฑบาตของเรา แล้วผู้ที่เห็นเคร่งครัด ที่จะบิณฑบาตเป็นวัตร ถือกิจนิมนต์ ไม่รับของเขา อันนั้นเป็นจริตนิสัยของพระที่ทำได้ ก็เห็นดีงามด้วย มันต้องเปิดโอกาส เปิดทางกว้างขวางให้กับจริตนิสัยของผู้ที่เข้ามาประพฤติปฏิบัติตามจริตนิสัยของเขา อธิบายพระนั้นเข้าใจหมดเลย เวลาพระสารีบุตรจะกลับ พระนั้นกลับไปหาพระพุทธเจ้าหมดเลย

เห็นไหม คนมันหลงผิดได้ เวลาเขาไปหาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเทศนาว่าการ พระพวกนี้สำเร็จได้เยอะแยะเลย

ไอ้นี่ของเรา เราก็หลงผิดไปเหมือนกัน ถ้าหลงผิดไปแล้ว ตอนนี้เราเข้าใจได้ เรากลับมานับถือพระพุทธศาสนา แล้วมีจิตใจอยากจะประพฤติปฏิบัติด้วย ทีนี้พอปฏิบัติไป เราก็อยากปฏิบัติ แต่พอปฏิบัติไปมันเป็นเพราะกรรมเก่าของผมไหม ผมปฏิบัติแล้วมันยากไปหมดเลย

คนเรานี่แปลกนะ เวลาทำสิ่งใดไว้ สิ่งใดที่มันมาตัดรอนมันจำแม่นเลย แต่เราไม่เคยคิดเลยว่า เราเป็นมิจฉาทิฏฐิไป เราไปนับถือศาสนาอื่น ถ้าเราไม่กลับมา เราก็ต้องหลงใหลไปกับเขา แต่เพราะนี้เรามีสติมีปัญญา เราถึงได้พลิกกลับมานับถือพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาสอนให้ประพฤติปฏิบัติ เราก็ยังมีโอกาสไง

จากคนที่เห็นผิด คนที่มืดบอด เหมือนคนตาบอด มีคนตาบอดคนหนึ่ง แล้วไปเจอหมอดีเข้า หมอดีเขารักษาจนเป็นคนหายจากตาบอด มีดวงตาเห็นภาพต่างๆ มีดวงตาเห็นต่างๆ นี่ไง นี่มันก็เป็นบุญอยู่แล้ว

นี่ก็เหมือนกัน พอเราเห็นว่าเราไปนับถือลัทธิศาสนาอื่น ตอนนี้เราหวนกลับมานับถือพระพุทธศาสนา เหมือนคนตาบอดไปพักหนึ่ง ตอนนี้เจอหมอดี หมอดีรักษาจนตาสว่างเห็นภาพชัดเจน ภาพชัดเจน เราก็อยากปฏิบัติ

ทีนี้ปฏิบัติแล้วทำไมมันง่วงนอนล่ะ ก่อนจะปฏิบัติมันก็ไม่ง่วงเลย เวลาปฏิบัติแล้วมันง่วงทุกทีเลย

ย้อนกลับไป เวลากิเลสมันจะยุแหย่นะ มันก็ยุแหย่ว่าเราเคยทำผิดมา เราทำสิ่งนั้นมา เราปฏิบัติไม่ได้ แต่เราไม่คิดบวกเลย อ้าว! ก็เราเคยหลงผิดไป หลงผิดไปมันยิ่งถลำไป มิจฉาทิฏฐิมันไปถึงไหน ตอนนี้ก็บอกว่าเราอยากจะประพฤติปฏิบัติเพื่อไม่ให้จิตใจหลงไปในมิจฉาทิฏฐิ ถ้ามิจฉาทิฏฐิ

ที่มันจะมั่นคง มั่นคงเพราะมันเป็นปัจจัตตัง มั่นคงเพราะจิตใจมันรู้เองเห็นเอง ไม่ต้องมีใครเป็นผู้พร่ำสอน ถ้ารู้เองเห็นเองก็เห็นในศีล สมาธิ ปัญญา เราก็อยากจะมีสมาธิ เราก็พยายามปฏิบัติของเรา ถ้ามันง่วงเหงาหาวนอน ง่วงเหงาหาวนอนก็เป็นเพราะมารไง เพราะกิเลสไง

ถ้าง่วงเหงาหาวนอน เราก็เดินจงกรมสิ เราเดินจงกรม ถ้าง่วงเหงาหาวนอน เราก็ผ่อนอาหารเลย กินแต่น้อย

. ร่างกายก็แข็งแรงด้วย

. ทรัพย์สินในกระเป๋าก็เหลือเยอะด้วย เพราะกินแต่น้อย

แล้วพอปฏิบัติขึ้นมา ทรัพย์ก็มี สุขภาพก็ดี จิตใจก็จะเข้มแข็งเพราะมันไม่ง่วงไง ไม่ง่วงเพราะอะไร เพราะมันหิว พอนั่ง กระเพาะมันร้องจ๊อกๆ เลยนะ แต่นั่งนี่ตัวเบาไปหมดเลย เห็นไหม ถ้าเรามีอุบาย เราเข้มแข็งขึ้นไปมันดีไปหมดล่ะถ้าเรามีสติปัญญา

แต่ถ้ากิเลสมันมายุแหย่ นี่เพราะเราเคยเห็นผิด เพราะเราเคยไปนับถือศาสนาอื่น แล้วเราก็ย่ำยี เพราะในศาสนาอื่นเขาจะพิสูจน์ด้วยการต้องติเตียนพระพุทธศาสนา เอาศาสนามาโจมตี ตอนนี้มันก็เป็นกรรมของเราเลย

ไอ้เป็นกรรมนั่นเป็นกรรมอยู่แล้วล่ะ แต่ตอนนี้มันเห็นถูกต้องดีงาม กรรมอันนี้มันกรรมดี จากกรรมที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ กรรมที่เห็นผิด แล้วมันเป็นกรรมดีมา ถ้าปัญญามันคิดอย่างนี้มันก็ชื่นใจ ชื่นใจว่า อู้ฮู! เราจะถลำไปนะ ตกไปในมิจฉาทิฏฐินะ เรายังมีความเห็นถูกต้องพลิกกลับมาได้นี่ โอ้โฮ! ถ้าคิดอย่างนี้นะ ขนพองเลยนะ จิตใจนี่พองหมดเลยนะ มันไม่ง่วงหรอก มันไม่ง่วง

แต่อันนี้มันง่วงเพราะอะไรล่ะ มันง่วงเพราะว่า โอ๋ย! เดี๋ยวนี้ฉันกลับมาเป็นสัมมาทิฏฐิแล้วนะ ฉันปฏิบัตินะ ฉันจะได้มรรคผลนิพพานนะ แต่นั่งก็ทำไมสัปหงกโงกง่วง โอ๋ย! สัปหงกโงกง่วงนี่ก็เพราะว่าเรามีกรรม สัปหงกโงกง่วงเพราะว่าเราเคยทำผิดไว้น่ะ

มันง่วงอยู่แล้ว แล้วก็ไปทับถมให้มันง่วงมากเข้าไปอีก นี่ไง ใครเป็นคนคิดล่ะ ใจเป็นคนคิด ถ้าใจมันคิดดีมันก็คิดบวกมา มันก็จะดีขึ้นมา นี่พูดถึงว่าทำไมเป็นแบบนั้น

แล้วเวลาปฏิบัติไป เราถึงพระธรรม เรามีความละอายแก่ใจ

มีความละอาย เขาเรียกว่า หิริ โอตัปปะ มีความละอาย มีความเกรงกลัว ถ้ามีความละอาย มีความเกรงกลัว เราก็ถือในปัจจุบันไง สิ่งที่อดีตมาก็วางไว้ อดีตใครแก้ไม่ได้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนอดีตอนาคตแก้กิเลสไม่ได้ ในปัจจุบันนี้แก้กิเลส ถ้าจะแก้กิเลสนะ ทำคุณงามความดีขึ้นไปนะ จิตใจเราจะผ่องแผ้ว จิตใจเราจะดีงาม ถ้าจิตใจเราดีงามนะ เรื่องอย่างนี้มันเป็นเรื่องที่ว่าเราจะผ่านไปได้ เรื่องผ่านไปได้แล้วเราทำของเรา พอทำของเรา มันจะเห็นโทษของกิเลส มันน่ากลัว

แต่ตอนที่เป็นวัยรุ่น เราหลงเชื่อไปในทางลัทธิศาสนาอื่นด้วยเหตุผลของวัยรุ่น เหตุผลของวิทยาศาสตร์ เหตุผลที่เราเทียบเคียงไม่ได้ แต่เดี๋ยวนี้ในปัจจุบัน เวลาวุฒิภาวะของศาสนานะ ปุถุชน กัลยาณปุถุชน โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล บุคคล ๔ คู่ บุคคลคนหนึ่งมันพัฒนาการถึง ๘ ขั้นตอน คำว่า๘ ขั้นตอนวุฒิภาวะของ ๘ ขั้นตอน ความสูงความต่ำคนละระดับ

นี่ก็เหมือนกัน จิตใจของเรา ถ้าเราจะพัฒนาขึ้นไป ถ้ามันพัฒนาขึ้นไปมันจะเห็นโทษอย่างนี้ แต่ถ้าจิตใจของเรา ปุถุชนคนหนา พอคนหนามีอะไรกระทบแล้วมันก็แบกรับแบกหนักไว้อย่างนี้

แต่เรามีสติปัญญาแยกแยะแล้วมันจะเป็นกัลยาณปุถุชน เพราะมันวางความรู้สึกนึกคิด วางสิ่งที่เป็นอดีตอนาคตได้ มันอยู่ในปัจจุบัน มันรักษาของมันไป เห็นไหม ถ้าจิตใจของคนมันมีหลักมีเกณฑ์

จิตใจของคน วุฒิภาวะของคนสูงต่ำ ไอ้ความรู้สึกนึกคิดมันจะหยาบละเอียดต่างกันไง ถ้าหยาบละเอียดต่างกัน เราทำของเราไป ไม่ต้องไปน้อยเนื้อต่ำใจ สิ่งที่ผิดพลาดไปก็คือผิดพลาดไปแล้ว คนที่ประพฤติปฏิบัติ คนที่ผิดพลาดมาเยอะแยะไป

คนที่ผิดพลาดมาแล้ว องคุลิมาลฆ่าคนมาเป็นพันเลย เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเทศนาว่าการเป็นพระอรหันต์เลย

องคุลิมาล ด้วยความเห็นผิด อยากได้นิ้วมือของคน ๑,๐๐๐ นิ้ว คือฆ่าคน ๑,๐๐๐ คน ฆ่ามาแล้ว ๙๙๙ คน

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาไปเห็นองคุลิมาล องคุลิมาลจะเอานิ้วที่ ๑,๐๐๐ จะไล่ฆ่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามเท่าไรก็ไม่ทันเพราะไปเร็วมาก

สมณะหยุดก่อน สมณะหยุดก่อน

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่าเราหยุดแล้ว เธอต่างหากที่ยังไม่หยุด

องคุลิมาลสะอึกเลยหยุดอะไรล่ะ

หยุดการทำความชั่ว หยุดในการจะเอานิ้วที่ ๑,๐๐๐ หยุดที่จะฆ่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เขาได้สติ เขาหยุดหมด

นี่ก็เหมือนกัน เราเตือนสติเรา เราเตือนสติเรา เรายังไม่เคยฆ่าคน มีแต่ว่าเราจะฆ่าคุณงามความดีของเรา มิจฉาทิฏฐิคือความเห็นผิด แล้วพาหัวใจหลงใหลไปในมิจฉาทิฏฐิ เราจะฆ่าคุณงามความดีของเรา

เราไม่ได้ฆ่าคน เรากำลังจะฆ่าคุณงามความดีของเรานะ ถ้าเราเชื่อถือเขา เราไปตามกับเขา เราจะฆ่าคุณงามความดีของเรา แต่ตอนนี้เรามีสติปัญญา เราพลิกกลับมา เราจะมาเชิดชูคุณงามความดีของเรา เรายังไม่ถึงกับฆ่าคน ไม่ถึงกับทำลายคน แต่เราทำลายแต่ความรู้สึก ทำลายถึงผล มิจฉาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ จะทำลายสัมมาทิฏฐิไปเป็นมิจฉาทิฏฐิในใจของเรา แล้วเราพลิกกลับมา เราทำของเราได้ ถ้าเราพลิกกลับมา มันเป็นประโยชน์กับเรา

ถ้าเป็นประโยชน์กับเราแล้ว ไอ้สิ่งที่มันภาวนาไม่ได้ มันภาวนาแล้วมันทุกข์มันยาก มันภาวนาแล้วมันมีความน้อยเนื้อต่ำใจ เพราะเราไปกินอารมณ์เก่าๆ เพราะเรายังไปเอาอาหารเดิมๆ เอาความผิดพลาดของเรามาเป็นอาหาร เอาความที่เราหลงผิด แล้วความลับไม่มีในโลก เราเป็นคนเห็นผิดเอง เราเป็นคนเข้าใจเอง เราเป็นคนเหยียบย่ำ เป็นคนที่เหยียบย่ำพระพุทธศาสนาเพื่อจะทดสอบว่าเราละทิ้งมา เห็นไหม เราทำของเราเอง แล้วความลับไม่มีในโลก เราทำเอง เรารู้เอง มันก็เอาสิ่งที่เราเคยทำเคยเป็นมาหลอกเรา แล้วเราทำคุณงามความดีทำไมไม่เอามาส่งเสริมเราบ้างล่ะ

ถ้าเอาคุณงามความดีมาส่งเสริมเรา ไอ้สิ่งที่มันเป็นความผิดพลาดไป เราคิดแล้วเราขนพองสยองเกล้า เราเกือบจะทำลายคุณงามความดี เราเกือบจะทำลายสัมมาทิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ ทำลายโอกาสของเรา แล้วเรากลับมาได้ คิดได้ขนพองสยองเกล้าเลย ถ้าเราคิดได้อย่างนี้ สิ่งที่ว่าทำไม่ได้ มันเป็นไปไม่ได้ มันก็จบไป ถ้ามันจบไป เราก็ทำของเราให้ดีขึ้น

ถ้าทำของเราให้ดีขึ้น สิ่งที่เป็นอดีตไป เป็นแผลเก่าต่างๆ ก็วางมันไว้ คนมันผิดพลาดได้ แล้วเรานี่ก็ผิดพลาดไปแล้ว แล้วเราจะน้อยเนื้อต่ำใจ จะไปนึกเสียใจสิ่งใด

ฉะนั้น บอกว่ากรรมในอดีต กรรมในอดีต ถ้าในปัจจุบันเราเข้าใจ เราก็วางไว้ กรรมในอดีต เห็นไหม เราเอาปัจจุบัน หน้าที่การงาน เราก็ทำของเราด้วยความมุมานะของเรา แล้วเราปฏิบัติของเราตามความเป็นจริงของเรา เราจะมีอำนาจวาสนาขนาดไหน

เวลาปฏิบัติไปแล้ว ปุถุชน กัลยาณปุถุชน โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล เราพยายามของเรา เราพยายามขวนขวายของเรา เราจะทำของเราให้ได้ เราจะทำของเราเพื่อประโยชน์กับเรา แล้วเราจะเข้าใจจริง แล้วเราจะพ้นจากโลก

ธรรมะเหนือธรรมชาติ เหนือการเวียนว่ายตายเกิด มรรค ๔ ผล ๔ บุคคล ๔ คู่ ธรรมะเหนือหมด เพราะมันรู้จริงเห็นจริงแล้วทิ้งไปๆ จนถึงที่สุด มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑

อรหัตตมรรค อรหัตตผลยังอยู่ในอริยสัจ อยู่ในสมมุติ อยู่ในสมมุติบัญญัติที่อธิบายได้ มรรค ๔ ผล ๔ อรหัตตมรรค อรหัตตผล กับนิพพาน ๑ นี่เหนือโลก เหนือสัจจะ เหนือการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ นี่จะเป็นความจริงของเราถ้าเราทำได้ของจริงนะ

ฉะนั้น กรรมในอดีตก็วางไว้ แล้วเราทำความจริงของเราเพื่อประโยชน์กับเรา เอวัง