ธรรมจากป่า
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
เทศน์บนศาลา วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๔๗
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
วันนี้อากาศดีมากนะ วันนี้ฟังธรรม ฟังธรรม ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้เป็นเจ้าของธรรม เพราะในพระไตรปิฎก เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าห้ามภิกษุไม่ให้ทำนะ ปรับอาบัติปาราชิกเลย อวดอุตริมนุษยธรรม แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปราบทิฏฐิของลัทธิต่างๆ แสดงยมกปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์ต่างๆ
พระกับคฤหัสถ์ถามว่า
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าห้ามไม่ให้ผู้อื่นทำ แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำได้อย่างไร
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านเปรียบว่า
ท่านเป็นเจ้าของสวนมะม่วง ท่านห้ามพวกอื่นกินมะม่วง แต่ท่านเป็นเจ้าของสวนมะม่วง ท่านมีสิทธิจะกินมะม่วงเมื่อไรก็ได้
ธรรมเป็นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมมีอยู่โดยดั้งเดิมนะ สภาวธรรมที่มีอยู่นะ แต่เวลามะม่วงใครเอาพันธุ์มาปลูก มะม่วงใครเป็นคนปลูกล่ะ
ธรรมจากป่า ธรรมจากป่านะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมในป่า โคนต้นโพธิ์ที่ริมแม่น้ำเนรัญชรา เวลาท่านเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ เวลาท่านจะออกประพฤติปฏิบัติเอง ท่านก็อยู่ในราชวัง
ถ้าท่านสร้างกระต๊อบห้องหอไว้ในราชวัง ท่านก็อาจจะปฏิบัติในราชวังก็ได้ ท่านเป็นกษัตริย์ด้วยและท่านประพฤติปฏิบัติด้วย ท่านก็จะได้เป็นกษัตริย์ด้วย แล้วท่านก็จะได้เป็นราชาแห่งธรรมอีกด้วย...ท่านทำไม่ได้ ท่านทิ้งเลยนะ ทิ้งเรื่องของสถานะการเป็นกษัตริย์เห็นไหม ออกแสวงหาโมกขธรรม ๖ ปีนะ อยู่ในป่า สมบุกสมบันอยู่กับการประพฤติปฏิบัติ อยู่กับการค้นคว้าไง
แต่เรา พวกเรานี้ชุบมือเปิบ
ธรรม เวลาศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วว่าก็จะประพฤติปฏิบัติธรรมเห็นไหม ธรรมของเรา ธรรมในเมืองไง ธรรมในเมือง ธรรมของเรา ธรรมอยู่ในเมือง อยู่ที่กิเลสตัณหาความทะยานอยาก อยู่กับการคลุกคลีในหมู่คณะ อยู่กับการคลุกคลี อยู่กับสังคม สังคมนี้เป็นเรื่องของการพึ่งพาอาศัย เป็นการเอารัดเอาเปรียบ เป็นการแก่งแย่ง เป็นการชิงดีชิงเด่น แต่เราก็อยากจะปฏิบัติธรรมในสังคมอย่างนั้น ธรรมในเมืองไง ธรรมที่สร้างแต่ความเจ็บปวดให้แก่กัน สังคมการเบียดเบียนกัน การต้องการมีอำนาจวาสนา ต้องการให้คนเขานับหน้าถือตา นี่ธรรมในเมือง มันจะเกิดธรรมไปไม่ได้หรอก ใครจะเก่งกว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นไปไม่ได้
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าออกหาธรรมในป่าเห็นไหม ธรรมในป่า แล้วตัดป่า โค่นทำลายป่า แต่ต้นไม้ยังมีอยู่เพราะอะไร เพราะกิเลสตัณหาความทะยานอยาก มันเหมือนกับสิ่งที่ว่าการผสมไป
เรื่องโลก เรื่องของโลก เรื่องการเจริญเติบโต เรื่องความเจริญงอกงามของโลก โลกจะมีประเทศชาติขนาดไหนแล้วแต่ เขาสร้างมาจากไหนล่ะ มันเป็นป่าดงพงพีมาทั้งนั้นล่ะ โลกกว่าจะหมุนเวียนไป เป็นอจินไตย เป็นทะเลทราย สิ่งที่ว่าไม่มีพืชธัญญาหารสำหรับเลี้ยงชีวิต ถึงเวลาเขาแสวงหา
โลกในปัจจุบันนี้จะไม่มีที่อยู่ที่อาศัยกัน อาหารต่อไปจะไม่พอเลี้ยงชีวิตมนุษย์ในสังคมโลก ความจะเห็นสิ่งจะต้องการค้นคว้าสิ่งที่โลกอยู่ใหม่ ออกไปหานะ ในจักรวาล ดวงดาวต่างๆ ไปพิสูจน์กัน ไปหากัน ถ้าที่ไหนมีแหล่งน้ำที่นั่นจะมีชีวิตไง หาแหล่งน้ำ หาดวงดาวดวงไหนที่มีแหล่งน้ำที่มนุษย์จะขึ้นไปอยู่ได้ จะส่งมนุษย์ขึ้นไปอยู่ที่นั้นจะมีแหล่งน้ำ
นี่ก็เหมือนกัน ในโลกของเราก็เหมือนดวงดาวดวงหนึ่ง โลกนี้เป็นอจินไตยนะ เวลามันเคลื่อนไป มันเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสของโลก โลกจะหมุนไปตามเรื่องของโลกเขา ถ้ามันปรับตัวของมัน มันจะมีอะไรล่ะ มันจะมีเรื่องของโลก เรื่องของน้ำ น้ำ ๓ ส่วน ดินส่วนหนึ่งในโลกนี้ แล้วเรื่องของป่าเขาล่ะ มันจะเกิดขึ้นไง มันเจริญงอกงามขึ้นมา สิ่งมีชีวิตมันจะมีอยู่ในนั้น นี่มันเป็นธรรมชาติ
สิ่งที่เป็นธรรมชาติเห็นไหม อาหารออกมาจากป่าเป็นสิ่งที่มีความบริสุทธิ์ อาหารจากเราที่เราปรุงเอา เราพยายามทำเอาในเมืองมันมีสารพิษไง มันมีสิ่งต่างๆ มันมีสิ่งที่ว่าเป็นปุ๋ย สารเคมีที่เราจะเร่งมัน เราเร่งมัน มนุษย์ต้องการความรวดเร็ว มนุษย์ต้องการความสะดวกสบาย มนุษย์มีแต่กิเลสตัณหาความทะยานอยาก
แต่คนที่เขาอยู่ป่าอยู่เขา เขามีแหล่งอาหารของเขา คือในป่าในเขา เวลามันเกิดขึ้นมามันเป็นธรรมชาติของมัน มันจะเป็นความบริสุทธิ์ของมันนะ เว้นไว้แต่สิ่งที่เป็นพิษไง อย่างเช่น เห็ดพิษมีพิษของมันในตัวมัน ถ้าเราไม่มีปัญญา เราไปกินนั้น เราก็ตายเหมือนกัน ในป่าสิ่งที่ว่าเป็นธรรมชาติ มันก็มีความเป็นพิษเหมือนกัน
เราออกประพฤติปฏิบัติ ในหัวใจเราก็มีสิ่งที่ว่าเป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยากเหมือนกัน เวลาเราเข้าไปป่าไปเขา เราไปป่าไปเขามันมีความว้าเหว่ เวลาเราอยู่กับสังคม เรามีสังคมเรามีที่พึ่งที่อาศัย มันจะมีความอบอุ่นไง แต่เวลาเราปลีกออกไปวิเวกของเรา ออกธุดงค์ เราออกไปมันจะมีความเดือดร้อน มีความกังวลของมัน เรามีความวิตกกังวลไปทั้งหมดเลย
ชีวิตนี้อยู่ได้อย่างไร ชีวิตนี้จะพึ่งพาอาศัยใคร
ทั้งๆ ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาออกประพฤติปฏิบัติอยู่ ๖ ปี ไม่มีศาสนานะ ถ้าไม่มีศาสนาเห็นไหม ออกค้นคว้าอยู่ในป่าน่ะ ตัดทำลายกิเลสในหัวใจ โค่นป่าแต่ต้นไม้ยังมีอยู่ ยังอยู่สมบูรณ์ไง ป่าเขานี้สมบูรณ์มาก มีความสุขไง ถ้าคนไม่ประพฤติปฏิบัติจะไม่เข้าใจสิ่งนี้เลยว่า โค่นทำลายป่าแต่ต้นไม้อยู่โดยสมบูรณ์อยู่ได้อย่างไร
เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำลายกิเลสตัณหาความทะยานอยากออกไปจากใจอยู่ทั้งหมด ต้นไม้คือว่าธาตุขันธ์ ธาตุขันธ์ คือ ขันธ์ ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สิ่งนี้มันมีอยู่โดยธรรมชาติของมัน ในเมื่อเราเกิดเป็นมนุษย์นี้เรามีธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ โดยธรรมชาติของมนุษย์ แล้วกิเลสตัณหาความทะยานอยาก มันยึดมั่นถือมั่นสิ่งนี้ เอาสิ่งนี้เป็นเครื่องอาศัยไง กิเลสตัณหาอาศัยขันธ์ ๕ อาศัยธาตุ ๔ อยู่นะ มันอาศัยหัวใจของสัตว์โลกนี้อยู่เป็นที่อาศัย นี่กิเลส พญามาร มารมันปกครองโลกทั้งหมด มันปกครองหัวใจของสัตว์โลก มันปกครองหัวใจของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ
แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้เข้าไปทำลาย ค้นคว้า ต้องไปหาชัยภูมิที่เหมาะสม ในที่วิเวก ในที่สงัด เพื่อจะค้นคว้าหาสิ่งนี้ไง ขนาดที่ว่าสร้างมาเป็นพระโพธิสัตว์นะ เวลาค้นคว้าขนาดไหน กิเลสตัณหาความทะยานอยากมันมีอยู่นะ มันมีอยู่ในใจของพระโพธิสัตว์ มีคุณงามความดี ปรารถนาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปรารถนาอยากจะรื้อสัตว์ขนสัตว์
เวลาค้นคว้ากลับเข้ามานี่ รื้อสัตว์ขนสัตว์มันต้องมีอะไรล่ะ?
มันต้องมีความเห็น มันต้องมีทฤษฎีต่างๆ ก็ไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ เจ้าลัทธิต่างๆ เขาทำอยู่แล้วนะ มีชื่อเสียงมาก ตั้งตนว่าเป็นศาสดาสอนอยู่ในสมัยนั้น ไปศึกษาแล้วมันไม่เป็นความจริง ไม่เป็นความจริง มันเป็นการค้นคว้ามา แต่ปัญญาของเขาไม่สามารถแทงทะลุติดกิเลสตัณหาความทะยานอยากให้ตายออกไปจากใจได้ เขาไม่สามารถโค่นป่าของเขาได้ไง ถ้าเขาไม่สามารถโค่นป่าของเขาได้ เขาก็ถนอมรักษาป่าของเขาไว้นะ ประพฤติปฏิบัติมาจนเป็นศาสดา ตั้งใจสั่งสอนสัตว์โลก แต่ก็ยังถนอมรักษาป่าของตัวเองไว้ ไม่สามารถทำลายป่า
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระโพธิสัตว์ ไปร่ำเรียนไปกับเขา ศึกษาปฏิบัติไปกับเขา ทำได้มากกว่าเขาอีก แต่ในเมื่อไม่สามารถโค่นป่าได้ ป่ามันก็มีป่ารกชัฏอยู่อย่างนั้นเห็นไหม ในป่าเบญจพรรณ ป่าต่างๆ มันมีสิ่งที่ว่าเป็นประโยชน์-ไม่เป็นประโยชน์ ไม่สามารถสิ่งที่ทำลายนั้นได้ ก็ออกแสวงหาเอง ออกแสวงหาเอง
จนสุดท้าย บุพเพนิวาสานุสติญาณ ย้อนกลับไป ย้อนกลับไปในอดีต สิ่งนี้มันยังพัวพันอยู่ ทั้งๆ ที่ว่าทำสมาบัติได้นะ ทำอานาปานสติ ทำสิ่งที่ว่าเป็นสัมมาสมาธิอยู่แล้ว แต่กิเลสตัณหา ป่าที่มันรกชัฏในหัวใจ มันยังผลักดันนะ ขับไสให้ออกไปเป็นการส่งออก บุพเพนิวาสานุสติญาณ ย้อนไปอดีตชาติ ตั้งแต่ว่าเกิดมาก่อนจะเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ นี้ก็เป็นพระเวสสันดร ย้อนกลับไป ย้อนกลับไปถึงที่สุด สิ่งนี้มันก็ไม่สามารถชำระกิเลสได้ เพราะสาวไปไม่มีต้นไม่มีปลาย
สิ่งที่สาวไปไม่มีต้นไม่มีปลาย มันจุดจบอยู่ตรงไหนล่ะ มันเป็นอดีต สิ่งที่เป็นอดีตมาสาวไปขนาดไหน แต่สิ่งที่เป็นอดีตนี้มันเป็นสิ่งที่สร้างสมบารมีมาให้เป็นพระโพธิสัตว์ที่ค้นคว้าอยู่นี้ไง มันถึงมีสติมีสัมปชัญญะ สิ่งที่มีสติสัมปชัญญะคือมันระลึกอยู่ว่าสิ่งนี้มันเป็นอดีตที่สาวไปไม่มีที่สิ้นสุด มันไม่จบขบวนการของมัน ถึงมีสติเห็นไหม
เราก็เหมือนกันถ้าเรามีสติ มีศรัทธา สิ่งนี้เบื้องหลัง ความเป็นเบื้องหลังของใจมันส่งเสริมมา สิ่งที่ส่งเสริมมาให้มันมีโอกาส มีความคิด มีความฉุกคิดของมันว่าชีวิตนี้คืออะไร เราเกิดมาทำไม โลกนี้เขาเกิดมา คนที่มั่งมีศรีสุขกว่าเราก็มหาศาล แล้วโลกเขาก็ว่ากันว่าคนนั้นมีความสุข มีความสุขไง แต่ลองไปถามเขาให้เขาพูดความจริงสิ มันจะมีความสุขมาจากไหน ในเมื่อกิเลสตัณหาในหัวใจของสัตว์โลกนะ สัตว์ที่เกิดมาบนโลกนี้ สัตว์มนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน สัตว์ที่เป็นอินทร์ เป็นพรหม สัตว์ สัตตะผู้ข้อง ไม่มีความสุขหรอก มันเกิดในวัฏฏะโดยธรรมชาติของเขา
ทุกข์นี้เป็นอริยสัจ ทุกข์นี้เป็นความจริง อริยสัจเป็นความจริงแต่เขาไม่เห็นของเขา แล้วเขาไม่มีทางออกของเขา ในเมื่อเขาไม่มีทางออกของเขา เขาเข้าใจว่าเขาหลงไปในกระแสโลก เขาเข้าใจว่าสิ่งนี้เป็นความสุข แล้วสิ่งนี้แสวงหา ยึดมั่นถือมั่นกันจนเป็นสัตว์สังคม
จากป่าจากสิ่งที่ว่าเป็นป่า แปลนบ้านแปลนเมือง จากการสร้างวัดต่างๆ สร้างประเทศต่างๆ ก็สร้างขึ้นมาจากสิ่งที่เป็นป่าเป็นเขาทั้งนั้นล่ะ แล้วสร้างมามันก็ล่มสลายไปเป็นชาติๆ ล่มสลายไปมาตลอดนะ สิ่งนี้มีมาตลอด เขาไม่สามารถสร้างของเขา
แต่เรามีศรัทธา เรามีความเชื่อ เรามีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์อย่างนี้ สิ่งที่ย้อนไปอดีตชาติ สาวไปไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าเราประพฤติปฏิบัติเราเจอสิ่งนี้ เราก็ตื่นเต้นแล้ว เราก็พอใจสิ่งนี้แล้ว เราก็ว่าสิ่งนี้เป็นธรรมๆ
แต่เจ้าชายสิทธัตถะมีสติสัมปชัญญะว่าสิ่งนี้ไม่ใช่ ย้อนกลับมาถึงที่ใจ ทำความสงบของใจ อานาปานสติกลับเข้าไป ถึงออกไปมัชฌิมยาม จุตูปปาตญาณ สิ่งนี้เป็นป่ารกชัฏทั้งนั้นเลย สิ่งที่เป็นป่ารกชัฏนะ มันเป็นสิ่งอดีต เป็นอนาคต สัตว์เกิดตายๆ เกิดตายในวัฏฏะนี้มันเป็นสภาวะแบบนี้
นี้ไปเห็นการเกิดและการตายของวัฏฏะของสัตว์โลก ทั้งๆ ที่ใจของตัวย้อนจากใจของตัว เห็นใจของตัวเป็นสภาวะแบบนี้นี่แหละ สิ่งนี้มันเป็นป่ารกชัฏไง ถ้าไม่ทำลายสิ่งนี้ สิ่งนี้ก็เกาะเกี่ยวกันไป เป็นอดีต เป็นอนาคต อารมณ์มันส่งออกไป มันขับเคลื่อนจากปัจจุบันนี้ไปอยู่ในอดีต อนาคต แล้วก็รับรู้สิ่งต่างๆ เป็นสภาวธรรมนะ เป็นสิ่งที่เป็นความโลก โลกนี้เขาอยากรู้มาก
โลกนี้เขาอยากรู้ว่าอดีตชาติ คนเป็นอย่างไร?
คนนี้เกิดมาจากไหน?
จิตนี้เกิดมาจากไหน การเป็นไปของจิตนี้เป็นอย่างไร?
มนุษย์นี้คืออะไร?
เราเกิดมาเป็นมนุษย์ มีต้น มีเหตุ มีผลมาอย่างไร?
ชีวิตนี้อยากรับรู้มาก สิ่งนี้เจ้าชายสิทธัตถะก็ไปรู้มาก่อน ก่อนที่จะทำลายป่า จะโค่นป่าไง จะโค่นป่า จุตุปปาตญาณ คือญาณที่หยั่งรู้เห็นจิตนี้เวลามันตายแล้ว มันอุบัติเกิดเป็นสภาวะแบบใด เห็นสภาวะแบบนั้นไปหมดเลย สิ่งนี้มันก็ไม่มีที่สิ้นสุด เพราะสัตว์มันมีสภาวะของมันตลอดไป มันมีสถานะของมัน มันต้องสืบต่อไปเพราะมันมีปัจจัยของมัน ถ้ามีปัจจัย จิตนี้ยังมีปัจจัยเครื่องขับไสอยู่ มันต้องเป็นไปตามสภาวะนั้น สิ่งที่เป็นสภาวะนั้นมันเป็นอดีตอนาคต มันไม่มีที่สิ้นสุด มันไม่มีจบขบวนการของมัน
ถึงย้อนกลับเข้ามา ถึงยามสุดท้าย ถึงย้อนกลับไปเห็นความเป็นไปของอริยสัจไง มรรคญาณ อาสวักขยญาณ มรรคญาณเกิดตรงนี้ไง เกิดในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ค้นคว้ามา นี่เข้าป่า ธรรมจากป่าเกิดจากตรงนี้ไง ป่าเพราะว่าเพราะร่างกายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่งอยู่โคนต้นโพธิ์นะ แล้วหัวใจ หัวใจ ภวาสวะ อาสวักขยญาณเกิดขึ้นทำลายจุดของภวาสวะ จุดของอวิชชาปัจจยา สังขารา จุดของภพ จุดของจิต จิตที่มันขับเคลื่อนมาตลอดไป
จิตดวงนี้แหละ ที่เป็นบุพเพนุวาสานุสติญาณแล้วข้อมูลเดิมสะสมไว้
จิตดวงนี้แหละ ถ้ามันเกิดตาย ถ้ามันตายไปแล้วมันเกิดสภาวะไหน
ธรรมเกิดตรงนี้ไง ธรรมเกิดจากตรงหัวใจ ป่าในหัวใจทำลายป่าดวงนี้
อาสวักขยญาณเข้ามา เข้ามา ขิปปาภิญญา การทำลาย
ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างสมมาขนาดนี้ ย้อนกลับเข้าไปทำลายฐานของความรู้สึก ฐานของการขับเคลื่อน ฐานของจิตที่ว่าย้อนไปอดีตชาติ ถึงย้อนกลับไปที่จุตูปปาตญาณ แล้วเป็นจุดที่อยู่ของพญามารไง มารจับควบคุมตรงนี้ไง แล้วขับไสสิ่งนี้ไป สัตว์โลกถึงตกอยู่ในใต้กรงเล็บของพญามารทั้งหมดไง มารควบคุมสัตว์โลกแล้วขับไสสัตว์โลกเวียนตายเวียนเกิดในสภาวะแบบนี้มาไม่มีต้นไม่มีปลาย แล้วสภาวะของจิตนี้มีมหาศาลที่จะต้องมาเกิดอีก ที่จะต้องมาตายอีก สภาวะแบบนี้จะเป็นอย่างนี้ไปตลอด
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย้อนกลับมาตรงนี้ นี่เจ้าของธรรมไง
ธรรมจากป่า ป่าตรงนี้ไง ถ้าจับป่าตรงนี้ได้ อาสวักขยญาณ ทำลายอวิชชาอันนี้ดับสูญไปจากหัวใจ ดับสูญไปจากหัวใจทำลายกิเลสตัณหา โค่นป่าเห็นไหม โค่นป่าคือโค่นกิเลสออกไป สิ่งที่ต้นไม้ยังอยู่คือขันธ์ ๕ มันก็ยังอยู่ ธาตุ ๔ นี้ก็ยังอยู่ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ตรัสรู้ขึ้นมาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง แล้วเอาธาตุ ๔ เอาขันธ์ ๕ นี้เผยแผ่ธรรมมา
เผยแผ่ธรรมนะ เอาธรรมที่ไหนมาเผยแผ่ล่ะ?
เพราะเอาธรรมมาจากใจดวงนั้นไง ใจดวงนี้พ้นออกไปจากกิเลส ออกไปจากขันธ์ ๕ ออกไปจากธาตุ ๔ เห็นไหม สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ว่าเป็นสมมุติทั้งหมด แต่ใจดวงนี้วิมุตติพ้นออกไปจากธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ นี้ ธรรมจากป่าคือธรรมตามความเป็นจริง คือธรรมที่มีชีวิต ธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔๕ ปีนี้ยังขับเคลื่อนไป นี้คือสภาวธรรมจากป่า
แต่เราเกิดในเมืองกัน เราเกิดในป่า คนป่าเกิดในป่าก็ยังติดอยู่ในป่า พระเราออกประพฤติปฏิบัติในป่าก็ยังไปติดอยู่ในป่า ป่าอันนี้เป็นป่าของกิเลส เพราะเรามีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก แล้วเราการประพฤติปฏิบัติในสมัยปัจจุบันนี้ต้องการความสะดวก ต้องการความสบาย
เวลาเราศึกษาพระไตรปิฎก นั่น ธรรมที่ไม่มีชีวิตไง สิ่งที่ไม่มีชีวิตนี้เราเอากิเลสตัณหาของเรา เอาความรู้สึกเราเข้าไปอ่านพระไตรปิฎกใช่ไหม เราศึกษาธรรมจนกว่าเราจะได้สถานะของการศึกษา เรามีความรู้ เรามีความท่องจำได้ขนาดไหน เราจะท่องจำได้หมดตู้พระไตรปิฎกนะ ในตู้พระไตรปิฎกนี้เราท่องจำธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้หมดเลย เพราะสมัยก่อนครั้งสมัยพุทธกาลนี้ พระท่องจำกันมาได้ทั้งหมด สิ่งที่ท่องจำมาได้ทั้งหมด ชำระกิเลสได้แม้แต่ตัวเดียวไหมล่ะ ชำระกิเลสไม่ได้เลย เพราะสิ่งนั้นเป็น ธรรมที่ไม่มีชีวิตไง
ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีชีวิตนะ มีชีวิตคือจิตดวงนั้นไง จิตดวงนั้นมีความรู้สึก จิตดวงนั้นแสดงออกได้ไง แต่พระไตรปิฎกหรือการท่องจำมา เราจำธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามานี้มันไม่สามารถชำระกิเลสได้ เพราะเป็นการสัญญาจำได้หมายรู้มา
เวลาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่โค่นป่า โค่นป่า โค่นสิ่งที่ว่าไม่อยู่ในขันธ์ ๕ ไม่อยู่ในธาตุ ๔ แล้วการจำมันอยู่ในขันธ์ ๕ ใช่ไหม สัญญาความจำได้หมายรู้นี้เป็นขันธ์ ๕ มันเป็นป่าอยู่แล้ว ต้นไม้ที่มันรกชัฏอยู่แล้ว แล้วเราก็ไปยึดมั่นถือมั่นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา แล้วว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เรารู้ นี่มันเพิ่มทิฏฐิมานะนะ สิ่งที่ว่าทิฏฐิมานะว่าเราเป็นผู้รู้ เราเป็นผู้มีปัญญา สิ่งที่ผู้รู้ที่มีปัญญา นี่กิเลสมันพาใช้นะ ถ้ากิเลสมันพาใช้ มันพาเอาสิ่งนี้มาเชือดคอผู้ที่ศึกษาเล่าเรียนนั้น มาทำลายโอกาสของผู้ที่ศึกษาเล่าเรียนนั้น
โอกาส คือการเข้าป่าและออกประพฤติปฏิบัติ ออกทำสัมมาสมาธิไง ออกทำความสงบของใจขึ้นมาให้ได้ ถ้าเราทำความสงบของใจเราขึ้นมาได้ คือเราเริ่มสงบกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ความฟุ้งซ่านมาจากไหน เวลาทุกข์นี้ทุกข์มหาศาลเลย เราไม่เคยเห็นจิตของตัวเอง เราไม่เคยเห็นความรู้สึกของตัวเอง เรามีแต่ความทุกข์ๆ ทั้งหมด
คนเรานี้มีกายกับใจ กายกับใจ
เราก็ท่องจำกัน
กายกับใจ เกิดมาแล้วก็ต้องตาย เราเป็นชาวพุทธให้ปล่อยวาง เราก็ปล่อยวางกันแล้ว
มันไปรวบยอดธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้กิเลสมันขี่ขับเคลื่อนไปในหัวใจของเรานะ ว่าเราเป็นชาวพุทธเรารู้ทั้งหมด รู้ นี่ธรรมในเมืองไง
รู้ แต่ก็ว้าเหว่
รู้ แล้วก็ทุกข์
รู้ แล้วก็ต้องขับเคลื่อนจิตนี้ ต้องให้เกิดให้ตายไปในอดีตในอนาคตนั้น
ต้องขับเคลื่อนไปนะ แล้วรู้แล้วบิดเบือนอีกด้วยนะ
เวลาบิดเบือนมันแสวงหาตามความต้องการความทะยานอยากเห็นไหม ธรรมอย่างนี้ สภาวะแบบนี้เป็นของเรา จนสุดท้ายแล้วนี้หน้าด้านเอาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสินค้าก็มีนะ จนหน้าด้านจนทำให้หัวใจนี้หยาบกร้านมาก
ธรรมนี้เขาไม่ใช่สินค้า ธรรมนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ไม่ใช่สินค้านะ ให้ธรรมเป็นทาน เป็นบุญกุศลที่สุด เวลาทาน ศีล ภาวนา เราให้วิชาการเป็นทาน เราให้สิ่งต่างๆ นี้เป็นทาน เราฝึกฝนคนขึ้นมาให้คนมีสติสัมปชัญญะ ฝึกฝนคนขึ้นมาให้รื้อตัวเองให้พ้นจากกิเลสตัณหาความทะยานอยาก สิ่งนี้เป็นธรรมทั้งหมด ธรรมนี้เขาให้กันโดยสิ่งที่ว่าสะกิดใจไง สะกิดใจให้คนที่มีความรู้สึกนี้ให้กลับมาหาตัวเอง
อย่าตื่นไปกับโลก โลกเขาแสวงหากัน โลกเขาสะสมกัน โลกเขาทำของเขาไป เว้นไว้แต่คนที่มีธรรมในหัวใจพอสมควร เขาก็ทำให้โลกนี้เป็นประโยชน์กับเขา คนที่เกิดมาในโลก พระโพธิสัตว์ยังต้องเกิดต้องตายในกระแสโลก เกิดมาในโลกนี้แหละ แล้วสร้างสมคุณงามความดีของเขา สิ่งที่สร้างสมคุณงามความดีของเขาก็สร้างสมคุณงามความดีเพื่อการขับเคลื่อนไปไง เพื่อขับเคลื่อนไปมันก็ต้องตกอยู่ในกฎของพญามารอยู่วันยังค่ำ เพราะการเกิดและการตายมันยังมีความทุกข์ไปตลอด พระโพธิสัตว์ผู้ที่มีคุณธรรมในหัวใจก็สร้างสมอยู่ในโลกนี้แหละ สิ่งที่สร้างสมอยู่ในโลกก็เป็นประโยชน์ของโลก
โลกกับธรรม
ในปัจจุบันนี้ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สิ่งที่เป็นธรรมที่มีชีวิตอยู่ ตั้งแต่
ครูบาอาจารย์เรารื้อค้นขึ้นมา รื้อค้นขึ้นมาให้เป็นสิ่งที่มีชีวิตขึ้นมาไง แต่เดิมอยู่ในตู้พระไตรปิฎก อยู่ในการท่องจำกัน อยู่ในการเรียนกัน อยู่ในสิ่งที่ว่าเขาจดจารึกไว้ สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต
ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหมือนกัน แต่สิ่งที่ไม่มีชีวิตกับสิ่งที่มีชีวิตมันต่างกันไง ต่างกันที่ว่า สิ่งที่มีชีวิตคือธรรมของในหัวใจของครูบาอาจารย์เรา มันมีชีวิตไง เพราะมันมีชีวิตมันถึงเป็นปัจจุบัน สิ่งที่เป็นปัจจุบันเวลาเราประพฤติปฏิบัติไป เรามีความลังเลสงสัย เรามีความติดข้อง สิ่งที่มีชีวิตจะใช้ประโยชน์เดี๋ยวนั้นไง สิ่งที่ประโยชน์เดี๋ยวนั้นคือเป็นธรรมโอสถ เข้าไปปลดเปลื้องในความลังเลสงสัย ในจุดนั้นในการติดข้องของใจดวงนั้นนะ
แต่ถ้าเป็นธรรมที่ไม่มีชีวิต เป็นพระไตรปิฎก เวลาเราไปค้นคว้าเราต้องตีความเอง เราต้องพยายามจับต้องเอาธรรมนั้น เพราะไม่มีชีวิต ทำให้มันมีชีวิตเข้ามาในหัวใจของเรา เราพยายามทำให้มีชีวิตคือตีความแล้วว่าสิ่งนี้เข้ากับความลังเลสงสัยของเรา เราจะแก้ความลังเลสงสัยของเราได้หรือไม่ ในเมื่อเรามีกิเลสอยู่มันก็ต้องมีการตีความอย่างนั้น เข้าข้างตัวเองไปตลอด เราประพฤติปฏิบัติแล้วจะเป็นอย่างนั้นๆ หรือถ้าเราจำขึ้นมา เราสร้างภาพขึ้นมาให้เราเป็นแบบนั้น เป็นแบบนั้นเห็นไหม
ตู้พระไตรปิฎก สิ่งที่ตู้พระไตรปิฎกนี้ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นกิริยานะ กิริยาที่แสดงออกมาในธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ ที่โค่นป่าแล้วไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโค่นป่าแล้วก็อาศัยป่านี้เป็นการแสดงธรรมออกมา เป็นกิริยาของธรรม เพราะการเคลื่อนออกมาจากใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสมมุติบัญญัติ เป็นสมมุติคือการเทศนาว่าการแล้วสั่งสอนสัตว์โลกมานี้ นี่มันเคลื่อนออกมา สิ่งที่เคลื่อนออกมา เวลาเราศึกษาธรรมมันต้องทะลุจากขันธ์ ๕ เข้าไปถึงหัวใจ
ในการประพฤติปฏิบัติ สิ่งนี้เป็นกิริยาของธรรม กิริยานะ กิริยาของใจเพราะสิ่งนี้แสดงออกจากป่าอันนั้น ป่าต้นไม้ ป่าที่ยังมีอยู่ในหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงออกมา แล้วถ้าสิ่งที่เป็นธรรมมีชีวิต แสดงมาเพื่อย้อนกลับเข้าไปในกระแสของใจดวงที่ผู้ประพฤติปฏิบัติ แต่ในเมื่อเราอ่าน เราอ่านพระไตรปิฎก เราอ่านจากกิเลสตัณหาความทะยานอยากของเรา เพราะเราไม่เชื่อครูเชื่ออาจารย์ของเรา ถ้าเราเชื่อครูเชื่ออาจารย์ของเรา มันจะย้อนทวนกระแสกลับมา สิ่งนั้นเป็นแผนที่เครื่องดำเนิน แผนที่เครื่องดำเนินกับพื้นที่จริงก็ต่างกัน
ในเมื่อแผนที่เครื่องดำเนินเห็นไหม แล้วในแผนที่ สิ่งที่แผนที่เขียนได้เป็นแค่แผนที่แค่ร่างขึ้นมาให้เป็นสภาวะที่เราต้องการ ให้ความสื่ออันนั้น แต่ในความรู้สึกในความเป็นจริงในข้อเท็จจริง มันจะมีสิ่งนี้มหาศาลเลย เพราะในแผนที่เขียนลงไปนี้ ในแผนที่นั้นมันก็มีต้นไม้ มีสถานะต่างๆ มีดิน มีน้ำ แล้วดินหรือว่าแหล่งน้ำนั้นมันหายไปได้ มันเหือดแห้งไปได้ แล้วแผนที่ว่ามีแหล่งน้ำ แล้วเราเข้าไปในพื้นที่เพราะน้ำมันระเหยไป น้ำมันแห้งไป แล้วไม่มีน้ำ เราจะทำอย่างไร?
เรายังไม่เข้าใจสภาวะตามความเป็นจริง แต่ถ้ามีครูบาอาจารย์ของเรานี้ท่านจะเข้าใจเองว่า นี้หน้าแล้งน้ำมันก็แห้งไป เดี๋ยวหน้าฝน ฝนตกมามันก็ขังน้ำขึ้นมาได้ ในเมื่อใจของเรามีสภาวะแบบนี้ มันควรจะเป็นสภาวะในปัจจุบัน เราเข้าไปในจิตสงบนี้มันเป็นหน้าแล้งหรือหน้าฝนล่ะ ถ้าเป็นหน้าแล้งเราจะเห็นเฉพาะความแห้งแล้งอันนั้น ถ้าเป็นหน้าฝนเราจะมีแหล่งน้ำของมันขึ้นมา เพราะความเป็นจริงมันหมุนเวียนตลอดไป อนิจจังทั้งหมด สรรพสิ่งนี้เป็นอนิจจัง ใจสิ่งที่ธรรมที่มีชีวิตจะมีคุณประโยชน์ตรงนี้ไง มีคุณประโยชน์เพราะมันเป็นสิ่งที่มีชีวิต มันจะเข้าใจสภาวธรรมตามความเป็นจริงตลอดไป
สิ่งที่ธรรมมีชีวิต ธรรมจากป่า สภาวะแบบนั้น
เราเชื่อธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วเราศึกษาธรรม...ธรรมในเมือง ธรรมในตู้พระไตรปิฎกเราศึกษาขึ้นมาแล้ว เราต้องออกประพฤติปฏิบัติ ถ้าเราอยู่ในเมืองของเรา เราประพฤติปฏิบัติของเรา นี่เหยียบเรือสองแคมไง โลกก็จะเอา ธรรมก็จะเอาไง เรื่องของโลก เรื่องของความเป็นไป เราเกิดมาแล้ว เราต้องมีสิ่งที่สืบต่อ เวลาบวชเวลาเรียนก็ลาไว้ก่อน พอสึก ถึงคราวออกพรรษาสึกแล้วก็จะออกไปทำงานต่อ นี่มันสิ่งนี้มันยึดมั่นไว้แล้วเรื่องของโลกทั้งหมดเลย
แต่ในเมื่อสิ่งนี้มันเป็นอำนาจวาสนาของคน อำนาจวาสนาของพระผู้ที่บวชมา พระบวชมาไม่ใช่ว่าจะบวชแล้วจะอยู่ในเพศของพระตลอดไปหรอก พระบวช สึก บวช สึก นี้มีมหาศาลเลย มันอยู่ที่กรรมของสัตว์ไง สัตว์นี้มีกรรม กรรมนี้ตัดรอนเมื่อไร สิ่งที่เป็นกรรมตัดรอนนี้ กรรมอดีต กรรมในปัจจุบัน กรรมในอนาคต ถ้ามันมีสิ่งที่ว่าวิบากกรรม วิบากมาจากไหน มาจากเหตุของมัน เหตุคือเราการกระทำมา สิ่งที่กระทำมา ใครเป็นคนพากระทำล่ะ? ก็คือกิเลสตัณหาความทะยานอยากพากระทำ นี้ก็เหมือนกันในเมื่อกรรมมันมาตัดรอน กรรมมาขับไส คนเราบวชเรียนเป็นครั้งเป็นคราว มันก็เรื่องของกรรม เรื่องของกรรมที่สภาวะเป็นไป นี่เป็นสภาวะแบบนั้น
แต่ถ้าเราเอาความเป็นจริงของเรา ในปัจจุบันนี้ในเมื่อมีศรัทธามีความเชื่อนี้ เราจะออกประพฤติปฏิบัติไหม ถ้าเราออกประพฤติปฏิบัติ พระเราบวชเรียนแล้วนี้จะบวชเรียนเพื่ออยู่ในเมือง เพื่อจะศึกษาเล่าเรียนธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อเอาทิฏฐิมานะไง เอาทิฏฐิ เอามานะว่า ฉันรู้ ฉันเก่ง ฉันเป็นผู้ที่เข้าใจธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉันจำได้มาก ฉันเถียงชนะ
ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ เวลาเราสนทนาธรรมกัน เป็นมงคลอย่างยิ่ง มงคลแบบเวลาหลวงปู่มั่นท่านอยู่ในป่าในเขานะ เวลาพระเข้าไปหาท่าน นี่เป็นมงคลอย่างยิ่งเพราะอะไร เพราะธรรมมีชีวิตไง เวลาเข้าไป สิ่งใดติดข้องท่านจะชี้เข้ามา ถ้าเป็นประโยชน์อย่างนั้น
ธัมมสากัจฉาเป็นมงคล เพราะสิ่งนี้จะดัดแปลงเข้าไปให้เป็นตบะธรรม ให้เป็น นิพฺพานสจฺฉิกิริยา จ ถึงที่สุดจิตนี้พ้นออกไปธรรมลายป่าดวงนั้นได้
แต่ถ้ามันมีความยึดมั่นถือมั่นของเรา เรารู้มาก ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติจะไม่มีสิ่งมีความรู้เป็นอย่างเราได้ เพราะไม่ได้ศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตู้พระไตรปิฎกมีเฉพาะอยู่ที่ว่าเป็นตู้พระไตรปิฎกโดยความเป็นจริงหรือ ตู้พระไตรปิฎกในหัวใจไม่มีหรือ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สัมผัสด้วยใจนี้มันไม่มีหรือ นี่มันถึงมีปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธไง
ในการศึกษาเล่าเรียน มันจะทำลายป่าอันนั้นมันเป็นไปไม่ได้ ยิ่งศึกษาขนาดไหน มันยิ่งจะไหม้ป่านั้นมีแต่สิ่งที่วัชพืชทำให้ป่านั้นมีเกสรของกิเลสตัณหา มันหว่านผลไปในหัวใจดวงนั้นไง มันหว่านไปนะ เกสรเวลามันผสมพันธุ์กันแล้ว มันจะเกิดเป็นสิ่งที่ว่าเป็นพืชต่างๆ ขึ้นมาออกมา นี้เป็นพืชนะ แต่นี้มันเป็นสารพิษ มันเป็นพืชที่มีความพิษ มันไปทำลายหัวใจดวงนั้น เพราะมันเกิดทิฏฐิมานะ มันเกิดความรู้แล้วยึดมั่นถือมั่นของใจของมัน นี่ใจของมันมันยึดมั่นว่าธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นธรรมของเขาไง ธรรมของเขาเห็นไหม จนหน้าด้าน จนออกไปเป็นสินค้า จนออกไปเป็นสิ่งที่
เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านพูดไว้ในธรรม นี่ติรัจฉานวิชา วิชาสิ่งที่ว่า
ติรัจฉานนะ สิ่งที่ทำให้การเนิ่นช้าไง ในเรื่องของวิชาการทางโลก ทุกอย่างไม่ควรศึกษา เพราะการศึกษาวิชาการทางโลกมันเป็นวิชาชีพของโลกเขา คฤหัสถ์มันเป็นธรรมของคฤหัสถ์ ฆราวาสธรรมของเขา เขาศึกษาอย่างไรของเขาขึ้นมา เขาเป็นอาชีพของเขา อาชีพหมอ อาชีพสิ่งการ... อาชีพช่างต่างๆ ช่างทอง ช่างอะไรก็แล้วแต่ที่เขาทำเขาไป นั่นมันอาชีพของเขา เขาศึกษามาเพื่อเป็นอาชีพของเขา นี่เป็นติรัจฉานวิชาจากของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ
ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติต้องย้อนกลับมา เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ สิ่งนี้ศึกษามาเพื่อจะทำลายกิเลส แต่เวลาเราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ว่าเราเป็นผู้รู้ เรามีการศึกษาวิชาการมาก แล้วเราก็ออกไปเขียนเป็นตำรับตำราออกไป เป็นวิชาการ เป็นสิ่งที่ว่าเป็นการดำรงชีวิตเห็นไหม ออกไปจนเป็นหน้าด้านไง หน้าด้านว่าเรานี้เป็นผู้รู้ไง นี่ธรรมในเมือง ธรรมในเมืองแล้วมีผู้ที่เขาศึกษากัน เขาว่ามีความสุขมาก มีวิชาการมาให้เราได้ประเทืองปัญญา ปัญญาของเรานี้ เราได้ประเทืองปัญญาเพราะเราได้ศึกษาธรรม
ประเทืองกิเลส เราไม่พูดถึง เพราะนี่คือธรรมในเมืองไง ธรรมในเมืองคือสังคม คือสัตว์โลก คือสิ่งหมู่สัตว์ที่มันหมุนเวียนไปในกระแสโลก ติรัจฉานวิชา คือการเราเนิ่นช้าไง ศึกษาแต่ธรรมในเมืองกัน แต่ธรรมในป่าไม่เกิด ไม่ทำลายโค่นทำลายป่าในหัวใจ ถ้าไม่ได้ทำลายโค่นในป่าในหัวใจ มันก็ติดในสภาวะแบบนั้น มันก็ติดเป็นโลกอย่างนั้น สถานะของสังคมก็เยินยอกัน
เยินยอหน้าด้าน จนถึงกับทำลายศาสนาได้นะ
แต่ถ้าเราเป็นพระ เราเป็นผู้ที่มีอำนาจวาสนา เรามีศรัทธา มีความเชื่อในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดจากในป่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมในป่า แล้วธรรมในป่าเป็นธรรมที่บริสุทธิ์ไง ผลไม้พืชผลในป่าเป็นสิ่งที่บริสุทธิ์ ถ้าไม่ใช่สิ่งที่ผลไม้มีพิษนะ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน เพราะท่านปฏิบัติขึ้นมาในป่า แล้วทำลายโค่นจากในป่า สิ่งที่เป็นป่า ธรรมป่ากลับเป็นธรรมที่บริสุทธิ์
สิ่งที่ว่าเป็นอยู่ในป่าไม่มีวิชาการ เพราะไม่ติดติรัจฉานวิชา ไม่ติดสิ่งที่เนิ่นช้า ถึงเวลาบวชกับอุปัชฌาย์อาจารย์ เห็นไหม เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ... เราทำลายตรงนี้ขึ้นมาให้ได้ ถ้าเราทำความสงบของใจของเราขึ้นมา เราจะเข้าหาพื้นที่ของเรา เราจะโค่นป่าของเรา เราจะปรับพื้นที่ของเรา ปรับพื้นที่ของเรา แล้วเราทำสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์กับเราขึ้นมา จะรักษาป่า
ในปัจจุบันนี้เวลาไฟป่าเกิดขึ้น ในทางยุโรปเขานะ เขามีทีมดับไฟป่า เขามีเครื่องบินพ่นนะ เขามีสิ่งดับไฟป่าเพราะเขาสงวนรักษาป่าของเขามาก เพราะป่านี้เป็นแหล่งอาหาร ป่านี้เป็นความ
ชุ่มชื่น ป่านี้เป็นสิ่งที่โลกนี้จะอยู่ยั่งยืน เขารักษาสงวนของเขาขนาดนั้นนะ นี้ก็เหมือนกันเราจะทำลายป่าของเรา ทำลายกิเลสต่างหาก แล้วรักษาป่าที่เป็นป่าที่บริสุทธิ์ ป่าที่ไม่เป็นโทษกับใจดวงนี้
เวลามันฟุ้งซ่านตัณหาความทะยานมันฟุ้งซ่าน เวลาป่าที่ไม่เป็นประโยชน์ สิ่งที่เป็นวัชพืช มันไม่เป็นประโยชน์ เขาต้องทำลายมัน หญ้าคอมมิวนิสต์ หญ้าต่างๆ เวลาเขาทำการเกษตรกันเขาต้องทำลาย นี่ก็เหมือนกันความฟุ้งซ่าน ความตัณหาความทะยานอยากในหัวใจของเรา นี่มันเป็นพืชที่ไม่เป็นประโยชน์ ที่มันจะทำลายดินด้วย ทำลายป่าของเราในหัวใจ แต่เราไม่เข้าใจว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ว่าเป็นการทำลายใจของเราไง
เพราะมันเป็นตัณหาความทะยานอยาก มันถึงเป็นความสงบของเราไม่ได้ แล้วถ้าเอาตัณหาความทะยานอยากไปศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันก็เป็นอย่างที่ว่า ติรัจฉานวิชา มันจะทำให้เนิ่นช้าไง
แต่ถ้าเรามีศรัทธา เรามีความเชื่อ เราจะทำลายกิเลสตามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราเป็นลูกศิษย์ของตถาคต ครูองค์แรกของเราคือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บรมครูของเรา เราจะตามเสด็จกับองค์บรมครูของเรา เราจะต้องทำความสงบของเราเข้ามาให้ได้ ถ้าเราทำความสงบของเราให้ได้ นั้นเราจะเข้าไปค้นคว้าหาการทำลายกิเลสในป่านั้น ถ้าเราทำลายกิเลสในป่านั้น คำบริกรรมถึงสมควรอย่างนั้น
ถ้าคำบริกรรมพุทโธๆ เราต้องทำอย่างนั้น เพราะเรามีศรัทธา แล้วมีความเชื่อ ถ้าเรามีศรัทธามีความเชื่อ เรามีสติอยู่นี่เราจะสามารถทำได้ กำหนดพุทโธก็ได้ กำหนดลม อานาปานสติก็ได้ ถ้ามันเอาไม่อยู่เราต้องใช้ปัญญาอบรมสมาธิ แต่ต้องมีศรัทธา ถ้ามีศรัทธา สติจะพร้อมหมดเลย ถ้าไม่มีศรัทธานะ เวลากาลามสูตรบอกว่าไม่ให้เชื่อแม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการ ไม่ให้เชื่อแม้แต่ครูบาอาจารย์ของเราสอน ไม่ให้เชื่อเพราะการเชื่อนั้นมันไปยึดมั่นถือมั่นแบบที่ว่า ติรัจฉานวิชาที่กิเลสมันด้วยสัญญาเข้าไปยึดมั่นถือมั่นธรรมของผู้อื่นเป็นของเราไง สิ่งนี้มันไปยึดมั่นถือมั่นถึงไม่ให้เชื่อ แต่มีศรัทธา ศรัทธาคือศรัทธาในตัวของเรา ศรัทธาในชีวิตของเรา ศรัทธาในสติของเรา ศรัทธาในจิตของเรา ถ้ามีศรัทธาตัวนี้มันทำให้สติของเรานี้ยกขึ้นมาเป็นความเพียรชอบ ถ้าเป็นความเพียรชอบมีสติอยู่ มีการกำหนดอยู่ จิตมันจะเป็นสัมมาสมาธิโดยชอบ
ถ้าเราไม่มีศรัทธาเราสักแต่ว่าทำไง เพราะเราไม่ศรัทธา เราสักแต่ว่าทำ ศรัทธาของเราคลอนแคลน ศรัทธาของเราไม่มั่นคง การกระทำนั้นมันก็ทำแต่ว่าเห็นเขาทำก็ทำ เข้าใจว่าธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่ประเสริฐ เราเป็นชาวพุทธ ครูบาอาจารย์ผ่านพ้นจากทุกข์ไปได้ ครูบาอาจารย์โค่นป่าได้ เราก็จะโค่นป่า เราก็จะทำของเราอย่างนั้น ทำโดยแต่ว่าเอามือลูบคลำไง สักแต่ว่าทำ ถ้าสักแต่ว่าทำ ไม่มีสติความเป็นจริงอันนั้น มันไม่เกิดไง
แต่สัญญาอารมณ์นะ อารมณ์หัวใจเรื่องของใจมันลึกลับมันมหัศจรรย์ เวลาพระโพธิสัตว์สร้างสมมาเป็นพระโพธิสัตว์ สร้างบุญญาธิการมาก แต่เวลาถ้าพูดถึงมีปัญญาหรือจะหักออกจากพระโพธิสัตว์ ลาพระโพธิสัตว์ก็ได้ ขณะพระโพธิสัตว์ที่ว่าท่านสร้างบุญญาธิการมา จนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งพยากรณ์แล้ว เป็นพระโพธิสัตว์เหมือนกัน แต่ไม่สามารถจะลาพระโพธิสัตว์นั้นได้แล้วต้องเดินหน้าไป แล้วอย่างที่การสร้างสมมา เราสร้างสมมาเป็นสาวกะ-สาวกนี้ เราสร้างสมศรัทธาความเชื่อของเราขึ้นมา นี่ความพลิกแพลงของมัน ความมหัศจรรย์ของมันมีความมหาศาลเลย
สิ่งที่มหัศจรรย์ที่สุดคือใจของสัตว์โลกนะ สิ่งที่มหัศจรรย์คือความรู้สึกของเรานี้เป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ที่สุด มันพลิกแพลงได้ร้อยแปดพันเก้า ถ้ามันทำความดีมันมีความตั้งใจของมัน มันจะทำคุณงามความดีได้ขนาดไหน มันทำได้ตลอดไปเลย แต่ถ้ามันถอนศรัทธา มันเสื่อมศรัทธา มันไม่เชื่อของมันนะ มันจะไม่ยอมก้าวเดินเลยนะ แล้วเวลาประพฤติปฏิบัติไป เวลาจิตเข้าไปติดอยู่ เข้าไปสงสัยสิ่งใดอยู่ มันจะเกาะเกี่ยวสิ่งนั้น โดยที่มันไม่ขยับเลย
เรื่องของจิตนี้มหัศจรรย์มาก ต้องธรรมในป่าของครูบาอาจารย์เรา จะเข้าใจเรื่องของหัวใจนี้มาก แล้วเข้าใจเรื่องของหัวใจที่พญามารมันควบคุมอยู่ไง สิ่งที่มันควบคุมอยู่นี้ เวลาจิตมันจะสงบขึ้นมานี้ มันจะทำเป็นสัมมาสมาธิเพื่อจะรื้อทำลายป่าของเรา มันก็จะไม่เข้าใจสิ่งนี้ มันจะติดของมันไง ถ้ามันติดของมัน มันก็ฟุ้งซ่าน แม้แต่กำหนดพุทโธอยู่ มันก็ฟุ้งซ่าน มันก็ออกคิด เราถึงต้องมีสติ แล้วถ้ามันพุทโธพร้อมลมหายใจเข้า-ออก ตั้งสติให้ดี ถ้ามีสติ ความเพียรของเราจะเป็นความเพียรชอบ ถ้าเป็นความเพียรชอบมันจะเกิดธรรมโดยสัมมาทิฏฐิตามความเป็นจริงนั้น
ถ้าเกิดสัมมาทิฐิในความเป็นจริงนั้น ใจดวงนั้นจะเป็นประโยชน์ขึ้นมา ถ้าใจเป็นประโยชน์ขึ้นมา มันจะเห็นตามความเป็นจริง ถ้าผู้ใดเห็นจิต ถ้าไม่เห็นจิตผู้นั้นภาวนาไม่เป็น ถ้าผู้เห็นจิต จิตนี้เป็นสัมมาสมาธิ ถ้าจิตเป็นสัมมาสมาธิ เพราะจิตดวงนี้มันจะยกขึ้นวิปัสสนา ถ้าพิจารณาเข้ามาโดยศรัทธา โดยความเชื่อ โดยสัญญาอารมณ์ มันปล่อยวาง มันว่าง แต่ไม่มีสติเลย เห็นไหม มันเป็นมิจฉาสมาธินะ เป็นสัญญาอารมณ์ ความปล่อยวางของใจเข้ามา มันปล่อยวางเหมือนกัน มีความสุข มีความสบาย โลกเขาก็สบายนะ คนเราถ้ามีความสุขความสบาย อารมณ์สบาย เขาก็สบายๆ ของเขา เขาก็สบายได้ สบายของโลกเขา สบายใจ วันนี้สบายใจมีความสุขไม่ทุกข์เลย มีความสบายใจ
นี่เหมือนกันเวลาเรากำหนดของเราขึ้นมา ถ้ามันสบายๆ เห็นไหม เขาก็เป็นได้ สัตว์โลกเขาก็เป็นได้ แม้แต่สัตว์เดรัจฉานเวลามันสนุกสนานของมัน มันก็ยังสบายๆ ได้ แต่ถ้าเรามีสติขึ้นมา ความสบายๆ ต้องมีสติเข้าไป กำหนดพุทโธเข้าไป สิ่งที่สบายมีสติควบคุมตลอด สิ่งที่จิตสงบขึ้นมาจะมีสติรับรู้ตลอด จิตรับรู้ตลอด มันสงบเข้ามา จิตเป็นอย่างนี้หรือ ความสงบเป็นอย่างนี้หรือ จิตนี้มันจับต้องได้ มันรู้สึกตัวของมันเอง มันเห็นฐานของมัน นี่เห็นจิต
ถ้าใครเห็นจิตคนนั้นจะยกขึ้นวิปัสสนาได้
ถ้าใครไม่เห็นจิต ใครไม่เห็นความรู้สึกของตัวเอง...
แล้วเวลาเห็นจิตจะยกขึ้นวิปัสสนาในกายหรือในจิตก็ได้
ถ้าพิจารณาในกาย ส่วนเป็นของกาย ถ้าเป็นกาย เราย้อนกลับไปที่กาย เพราะเรื่องของกายนี้ มันเป็นสิ่งที่ว่าจับต้องได้ง่าย เรื่องของกายเป็นเรื่องของสิ่ง...นี่คือป่าไง จะทำลายป่า ต้นไม้นะ เวลาเราโค่นมัน มันล้มไปแล้วมันจะล้มไปเลย แล้วกว่าจะปลูกขึ้นมาเป็นร้อยปีพันปีกว่าจะโตขึ้นได้ขนาดนั้นนะ แต่การพิจารณากาย เราจะล้มกาย ล้มธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ นี้เราล้มไปขนาดไหน ล้มยิ่งล้มยิ่งมี ยิ่งล้มยิ่งงอกงาม สิ่งที่งอกงามเห็นไหม เราโค่นให้ล้มไปเลย
ถ้าจิตเราสงบขึ้นมานี้ เราย้อนไปที่กาย จับกายได้แล้ววิภาคะความขยายส่วนมัน ให้มันเน่า ให้มันเปื่อย ให้มันพุพอง ให้มันเป็นสิ่งที่เราพอใจ มันจะโดนด้วยแรงของสัมมาสมาธิ ด้วยแรงของธรรม สิ่งที่แรงของธรรมมันจะแปรสภาพของมันไป สิ่งที่แปรสภาพเห็นไหม นี่โค่นต้นไม้ โค่นป่ายิ่งโค่นป่าขนาดไหน มันยิ่งผ่องใส มันยิ่งมีความดีของมันขึ้นมา ความดีคือใจมันปล่อยว่างเข้ามาๆ เรายิ่งโค่นเท่าไร มันยิ่งปล่อยวาง โค่นป่าแต่ต้นไม้ยังอยู่ไง สิ่งที่ยังอยู่คือ ธาตุ ๔ และขันธ์ ๕ มันก็อยู่ของมันอย่างนั้นล่ะ ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ ของเราเป็นขันธมาร ขันธมารเพราะมีกิเลสตัณหาความยึดมั่นถือมั่นของเรา สิ่งนี้เป็นของเรา จิตใต้สำนึกนี้มันบอก ของเรา
เราเป็นชาวพุทธเราฟังธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สิ่งนี้เป็นสัญญาเราก็รู้ รู้โดยสัญญา รู้โดยสัญญาแก้กิเลสไม่ได้นะ ศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตู้พระไตรปิฎกจำได้หมด แก้กิเลสไม่ได้ สิ่งใดก็แก้กิเลสไม่ได้ จะแก้กิเลสได้ต้องสร้างขึ้นมา ต้องถางป่าของตัวเอง ต้องทำลายป่าของตัวเอง นี่ธรรมที่มีชีวิตจะเกิดจากใจดวงนั้นไง
ใจดวงนี้คือธาตุรู้ คือสิ่งที่มีชีวิต มันขับเคลื่อนไปในวัฏฏะนี้มาตลอด แล้วมันวิปัสสนาขึ้นมา เป็นพลังงานของมัน เป็นภาวนามยปัญญาเกิดขึ้น ในการวิปัสสนาปัญญามันเกิดมันใคร่ครวญไป สิ่งที่ใคร่ครวญของภาวนามยปัญญา...นี่อริยสัจ สิ่งที่เป็นอริยสัจ สิ่งที่เป็นธรรมจักรแล้วมันเกิดในหัวใจของเรา มันจะโค่นทำลายป่าของเราไง
ป่าคือวัฏฏะ คือกิเลสตัณหาความทะยานอยากในใจของเรานี้ มันยึดมั่นถือมั่นใจดวงนี้ ใจดวงนี้สะสมคุณงามความดีมา มันจะเกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม ข้างหน้านั้น เกิดเป็นมนุษย์เพื่อจะมาสร้างสมบุญญาธิการออกไปเห็นไหม สิ่งนี้ความเป็นความดีก็ขับเคลื่อนเป็นอามิส เป็นความดีตลอดไป สิ่งที่เป็นความชั่ว สิ่งที่เป็นบาปอกุศลก็ทำให้ใจดวงนี้เวียนตายเวียนเกิดไป คนเราเกิดมามีทั้งคนดีและชั่วตลอดไป
เวลาในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บ่วงของมาร บ่วงบุตร บ่วงภรรยา บ่วงสมบัติ สมบัตินี้มันเป็นเรื่องของโลกเลย แก้วแหวนเงินทองนี้มันเป็นเรื่องของโลก เราจะมีมากมายขนาดไหน เราไปฝากไว้ในตู้นิรภัย ในธนาคารเอาไปฝากไว้ในตู้ นี่เราได้ใช้ได้สอยไหม เราหามาเป็นแทบเป็นแทบตายนะ แล้วเราก็เอาไปฝากไว้ในตู้ในธนาคารเพราะเราเก็บไว้มันจะไม่ปลอดภัย นี่มันเป็นภาระเป็นเรื่องของรุงรัง มันเป็นเรื่องสมบัติของโลก เราก็ไปตู่ว่าเป็นของเรานะ เราต้องพลัดพรากจากเขาหรือเขาต้องพลัดพรากจากเราโดยธรรมชาติแน่นอน เห็นไหม มันก็มาเป็นบ่วงของใจได้ เพราะใจไปยึดมั่นถือมั่นมัน
แล้วว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เราๆ มันพูดแต่ปาก มันพูดแต่สัญญา สัญญาเห็นไหม ต้นไม้ที่มันมีอยู่ มันยึดมั่นถือมั่นของมัน นี่มันมีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ถ้าเราวิปัสสนาไปนี้ทำลายไปๆ วิปัสสนาไปด้วยกำลังนะ ถ้าวิปัสสนา ขณะที่วิปัสสนาเห็นกายแล้วมันไม่เคลื่อนไป มันยื้อกันอยู่อย่างนั้น นี่กำลังของเราไม่พอ ถ้ากำลังของเราไม่เต็มที่ เราต้องปล่อยวาง เราจะโค่นต้นไม้ มีดของเรามันไม่คม ขวานของเรามันไม่คม เราจะฟันไปขนาดไหน เหงื่อโทรมกายเลยนะ ฟันน่ะขวานกระเด็นออกมา กระเด็นออกมาเลย
นี้ก็เหมือนกัน เห็นกายแล้วให้มันแปรสภาพ...ทำไมมันไม่แปรภาพ เราก็พยายามดึง พยายามทำลายมัน มันก็ไม่เห็นแปรสภาพสักที แล้วคำว่า แปรสภาพๆ นี่ถ้าธรรมจากป่าในหัวใจของครูบาอาจารย์จะเข้าใจสิ่งนี้ จะบอกว่าเพราะเคยฟัน เคยทำลายมาแล้ว ถึงต้องวางไว้ก่อน แล้วกลับมาพุทโธๆ กลับมาทำสัมมาสมาธิ กลับมาอานาปานสติ กลับมาเป็นปัญญาอบรมสมาธิ ย้อนกลับเข้ามาตรงนี้
เวลาย้อนกลับมาเหมือนกับเราเอาขวานมาลับมีด การลับ เอาขวานมาลับมีดมันเสียเวลานะ เราจะโค่นป่า เราอยากโค่นป่ามาก เราจะฟันเดี๋ยวนี้ ทำไมเราต้องเอาขวานไปนั่งลับ เสียเวลามาก ยิ่งเราคิดอย่างนั้น กิเลสตัณหาความทะยานอยากในการโค่นทำลายป่ามันก็มาทำให้เราเสียการเสียงาน มันทำให้เราล้มลุกคลุกคลาน
กิเลสในใจของเรานี้หลอกลวง ดึงไปหน้า พยายามจะดึงไปข้างหน้า ยันมาข้างหลัง มันทำให้เรายึดหน้าหลัง แล้วเราทำแล้วเราไม่สมกับความปรารถนาของเรา เราก็น้อยเนื้อต่ำใจ เห็นไหม กิเลสตัณหาความทะยานอยากอยู่ในหัวใจของเรานะ ทั้งๆ ที่เราประพฤติปฏิบัติธรรม
ว่าผู้ที่ประพฤติปฏิบัติธรรม ผู้ที่อยู่ในธรรมนี้กิเลสมันจะกลัวนะ มันจะไม่แสดงตัวของมัน
นี่มันไม่ใช่กลัว มันหลอกล่อต่างหาก มันสร้างกลอุบายวิธีการให้เราเนิ่นช้า ถ้าเราทำถูกต้อง ถ้าเราทำไม่ถูกต้อง มันจะใส่ไคล้ให้เราว่าสิ่งนี้เป็นคุณงามความดีของเรา ให้เราหลงทิศหลงทางออกไปนอกจุด นอกที่หมายของการทำงาน...กิเลสมันมีอำนาจขนาดนั้น นี่เรื่องของมาร
การต่อสู้กับกิเลส มารมันก็ทำลายอย่างนั้น ให้เราเคลื่อนที่ออกไปจากการจะโค่นป่าของเรา เราถึงต้องกลับมาที่พุทโธ แล้วกลับมาลับขวานลับมีดของเราให้มันคม...จะเสียเวลาเพื่อความคมของมีดนั้น จะเสียเวลาในการพักผ่อนๆ เพื่อกำลังของเรา จะเสียเวลาในการฝึกซ้อมของนักกีฬา ฝึกซ้อมมาก็เพื่อจะเล่นกีฬา เพื่อจะเอาชนะกิเลส เพื่อจะทำลายกิเลส ฉะนั้น เราจะต้องยอมเสีย เรายอมเสียในทางกิเลสว่าสิ่งนั้นเป็นเสียไป แต่ในการประพฤติปฏิบัติ สิ่งนั้นคือจะได้ ได้เพราะเราจะได้ชนะ ได้เพราะเราจะได้กำลังของเรา ได้เพราะเราจะได้มีพื้นฐานของเราออกไป
มีดเราคมแล้ว เราจะไปฟัน ฟันขนาดไหนนั้นคือการใช้ปัญญาใคร่ครวญ ในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม สิ่งที่เป็นกายเห็นไหม สิ่งนี้เป็นป่าทั้งหมดเลย ป่าขันธ์ ๕ ป่าธาตุ ๔ ธาตุ ๔ คือกายไง ถ้าวิปัสสนาไป สิ่งที่เป็นธาตุ ๔ นี้เป็นกาย นี้คือการพิจารณากาย ถ้าเป็นเวทนา วิปัสสนาเวทนา เพราะป่านี้พืชพรรณของมันมีมหาศาลเลย ไม้ในป่านี้เป็นหมื่นๆ ชนิดนะ ไม่ใช่มีชนิดเดียวหรอก เป็นหมื่นๆ ชนิด เป็นจริต เป็นนิสัยของสัตว์โลก สัตว์โลกนี้มันเป็นไม้ประเภทใด มันเกี่ยวพันกับสิ่งใด มันควรจะโค่นควรทำลายสิ่งใด
ถ้าเราเป็นไม้แก่น เนื้อของมันมันแข็งมาก เราก็ต้องพิจารณาแล้วพิจารณาเล่า ถ้าเราเป็นไม้ล้มลุก เป็นต้นหญ้า ถอนทีเดียวมันก็ขึ้น ขิปปาภิญญาไง สิ่งที่ถอนทีเดียวก็ขึ้น ต้นหญ้าเป็นเรื่องของกิเลส แต่ถ้ามันเป็นสมุนไพร สิ่งที่เป็นสมุนไพรเป็นยารักษาโรค สิ่งนั้นมันเป็นประโยชน์มากเห็นไหม อยู่ในป่า ในป่ามีมหาศาลเลย นี้มันถึงเป็นจริต เป็นนิสัย
ในการประพฤติปฏิบัติเวลาคุยธรรมะกัน ต้องทำอย่างนั้นสิดี ต้องทำอย่างนั้นสิดี นี้มันเป็นจริตมันเป็นนิสัย จะดีมันดีของเขาเห็นไหม มันต้องเป็นธรรมในป่าจากใจของครูบาอาจารย์ของเรา จะเข้าใจว่าควรจะดีอย่างไร ถ้าเราฟัง เราควรฟังครูบาอาจารย์ของเรา คอยชี้นำไง แต่ในการสนทนาธรรมของเรานี้ สนทนาเป็นแง่คิดเป็นคติธรรมเท่านั้น แต่เราจะเชื่อแล้วเราจะปฏิบัติตามเป็นอย่างนั้นไป... เป็นดี ดีของใครล่ะ ป่าของใครล่ะ ต้นไม้ของใครล่ะ ต้นไม้ของเราเป็นต้นไม้แก่น แล้วเราจะใช้ถอนเอามันเป็นไปได้อย่างไร มันเป็นไปไม่ได้หรอก แต่ถ้าเราเชื่อเขานะ เราก็กอดต้นไม้ของเรา แล้วก็ถอนอย่างนั้นน่ะ มันถอนไม่ขึ้นหรอก
แต่ถ้ามันเป็นตรงกับจริตนะ เวลาวิปัสสนาไปมันจะเป็นช่องไปเลยนะ ล้มไป ล้มไป ฟันนะไม้จะล้มไป ล้มขนาดไหน กิเลสมันเป็นนามธรรม กิเลสมันเป็นสิ่งที่ว่าล้มแล้วมีชีวิต มันฟื้นได้ มันยืนตัวได้ ฉะนั้น เวลาวิปัสสนาเรื่องของกายเวลามันปล่อยแล้ว เราเข้าใจว่าสิ่งนี้ เป็นสิ่งที่ว่าเราผ่านแล้ว สัญญาอารมณ์มันสร้างภาพ ความเป็นไปของใจมันจะเวิ้งว้าง มันจะมีความสุขมาก มีความสุขมหาศาลเลย เพราะเราโค่นป่า ป่าต้นไม้ล้มต่อหน้ามัน...ตึง! แล้วต้นไม้นี้เป็นต้นไม้ที่เป็นไม้แก่นด้วย เป็นสิ่งที่เราไปเอาเลื่อย เลื่อยแล้วมันจะสร้างบ้านสร้างเรือนได้
มันยิ่งคิดจินตนาการไปนะ จิตนี้จะเตลิดเปิดเปิงไปมหาศาลเลย แล้วเดี๋ยวกิเลสมันก็เจริญขึ้นมา งอกงามขึ้นมา แล้วเราก็จะล้มลุกคลุกคลานไป เพราะความพลั้งเผลอของเรา เพราะกิเลสตัณหาความทะยานอยากในหัวใจของเรามันมีอำนาจกว่า มันขับไสในการประพฤติปฏิบัติของเราให้ล้มลุกคลุกคลานนะ
นี่โสดาปัตติมรรค เราเดินมรรคอยู่ ขณะที่ว่าเราเป็นกัลยาณปุถุชน เราสร้างสมของเราขึ้นมา จนเราเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม แล้วเราวิปัสสนาไปขนาดไหน เพราะป่าเขานี้มันมีต้นไม้มหาศาลที่มันจะทำลายของมันออกไป พอมันทำลายสิ่งนี้ไป เห็นไหม ทั้งๆ ที่เราเดินมรรคนะ แต่ในเมื่อมันยังไม่เข้าไปถึงโสดาปัตติผล มันจะไม่เป็นอกุปปธรรม มันจะเจริญแล้วเสื่อม
สัพเพ ธัมมา อนัตตา สภาวธรรมที่เป็นอนัตตา
มันเป็นอนัตตาในตัวของมันเองแล้ว ๑
ขณะที่เราเจริญส่งเสริมเราขึ้นมา ในเมื่อมันยังไม่เป็นอกุปปธรรม มันก็ยังอยู่ในกฎของอนัตตานั้น ๑
ถึงว่านิพพานไม่ใช่อัตตาและไม่ใช่อนัตตา
เพราะอัตตาคือกิเลสตัณหาความทะยานอยากของใจที่มันยึดมั่นถือมั่นนั้น สิ่งที่ยึดมั่นถือมั่นนั้น กิเลสตัณหาความทะยานอยากมันอยู่ใต้บึ้งของหัวใจ ที่เราไม่สามารถจะไปปลดเปลื้องมันได้ เพราะมันอยู่ใต้บึ้งของหัวใจ มันอยู่เบื้องหลังความคิด แล้วมันใช้ความคิดนี้เป็นสิ่งที่แสดงออกของมัน สิ่งที่เป็นความคิดแสดงออกของมัน ในเมื่อมีปัญญา ปัญญานี้เป็นสิ่งที่มันแสดงออกเท่านั้น สิ่งที่แสดงออกจะต้องทวนกระแสเข้าไป ถ้าทวนกระแสเข้าไปถึงก้นบึ้งของหัวใจนั้น จะเข้าไปทำลายกิเลสนั้น สิ่งนี้มันเป็นปัญญา ปัญญา-ภาวนามยปัญญาถึงจะย้อนกลับไง สิ่งที่ย้อนกลับจะเข้าไปทำลายก้นบึ้งของความคิดนั้น ก้นบึ้งของกิเลสอันนั้น
ถ้ากิเลสมันอยู่ในก้นบึ้งนั้น ความคิดออกมามันถึงว่าถ้าปัญญา สัญญาอารมณ์ มีปัญญามาก เราศึกษาธรรมในเมืองในตู้พระไตรปิฎก เราศึกษามาก สิ่งใดก็ได้เพิ่มทิฏฐิ เพิ่มมานะ แม้แต่การประพฤติปฏิบัติ พิจารณากายจนกายปล่อยวางแล้วก็แล้วแต่ มันถึงว่าไม่ใช่อัตตาและไม่ใช่อนัตตา ทิฏฐิมานะตัวนี้สำคัญมาก ผลของวิบากกรรมของใจดวงนี้สำคัญมาก สำคัญเพราะมันยึดมั่นถือมั่นในใจดวงนั้น แม้แต่ประพฤติปฏิบัติมันก็ประพฤติปฏิบัติโดยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ทั้งๆ ที่จะโค่นป่านะ คนเขาโค่นป่ากัน เขาทำลายต้นไม้กันนะ เขาโค่นต้นไม้ ต้นไม้ล้มทับคนตายก็มีนะ
นี่ก็เหมือนกันวิปัสสนา วิปัสสนาของเราไป เราว่าเป็นวิปัสสนานี้แล้วมันทำลายไหม มันได้ทำลายกิเลสตัณหาอันนั้นไหม ถ้ามันไม่ได้ทำลายกิเลสตัณหาอันนั้น สิ่งที่เราก้าวเดินอยู่นี้เป็น สัพเพ ธัมมา อนัตตา สิ่งที่สัพเพ ธัมมา อนัตตานี้คือสภาวธรรม อัตตาคือกิเลสตัณหาความยึดมั่นถือมั่นของมัน สิ่งนี้คืออัตตา
เวลาทำความสงบของเรานี้ ในเมื่อปฏิบัติศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมในเมืองบอกว่า พุทโธๆ จิตสงบขึ้นมานี้มันไม่มีปัญญา มันเป็นความสงบเฉยๆ
ถ้ามันเป็นพุทโธ จิตสงบเข้ามาเห็นจิตถึงวิปัสสนาเป็น ถ้ามีจิตวิปัสสนา มันจะวิปัสสนาได้ ถ้ามันเห็นจิตแล้วมันยึดมั่น นั้นก็เป็นอัตตาเห็นไหม สิ่งที่เป็นอัตตา ถ้ามันยึดมั่นถือมั่นของมัน มันก็ก้าวเดินไม่ได้ แต่ถ้าเราใช้ปัญญาก้าวเดินออกไป มันก็จะเป็นสัพเพ ธัมมา อนัตตา ธรรมนี้จะเป็นอนัตตา สิ่งที่จะสภาวธรรมที่เป็นอนัตตาเกิดขึ้นมา
มันเป็นอัตตาโดยสามัญสำนึก มันเป็นอัตตาโดยข้อเท็จจริง มันเป็นอัตตาในหัวใจเพราะเราเกิดมามีกิเลส ในเมื่ออวิชชามันอยู่ในหัวใจของเรา มันเป็นอัตตาโดยชัดๆ มันเป็นตัวตน มันเป็นสถานะแน่นอน เพราะจิตนี้มีอยู่ จิตนี้ถ้าหลุดพ้นไปแล้ว จิตนี้พ้นออกไปแบบธรรมในป่าขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้หลุดพ้นออกไปแล้ว พ้นจากป่าไปเห็นไหม ต้นไม้ยังอยู่ สิ่งใดๆ ยังอยู่ในโลกนี้ อันนั้นพ้นออกไปจากอัตตาอันนี้ พ้นออกไปจากอนัตตาอันนี้
แต่ในเมื่อเราเป็นผู้ที่จะทำลายป่าของเรา เราก้าวเดินอยู่มันเป็นอัตตาโดยข้อเท็จจริง โดยความเป็นจริงของมันอยู่แล้ว ในเมื่อมันเป็นอัตตา ถ้าจิตมันสงบเข้ามานี้ เห็นจิต มันถึงวิปัสสนาไปไง มันเป็นขั้นตอนของการประพฤติปฏิบัติ นี่ธรรมในป่ามันจะเห็นตามความเป็นจริงว่ามันต้องอาศัยสิ่งนี้ อาศัยตามข้อเท็จจริงที่ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มันจะยกขึ้นวิปัสสนา
ถ้าวิปัสสนานี้มันเป็นปัญญา นี่สัพเพ ธัมมา อนัตตา อนัตตาคือธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ในเมื่อธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเป็นธรรมอยู่ในตู้พระ ไตรปิฎก สิ่งที่ไม่มีชีวิต แต่สิ่งที่ธรรมที่มีชีวิตในใจของครูบาอาจารย์ของเราชี้นำอย่างนี้มา แล้วเราเริ่มประพฤติปฏิบัติขึ้นมาจนมันก้าวเดินออกมา จนปัญญามันหมุนออกมาอย่างนี้ นี่มันเกิดขึ้นมา
แต่ในเมื่อกิเลสมันยังครอบคลุมอยู่ พอมันวิปัสสนาไป มันปล่อยวางไป นี่สิ่งที่ปล่อยวางแล้ว แล้วเราจินตนาการไปต้นไม้นี้เราจะเลื่อย จะสร้างบ้านสร้างเรือน สร้างยุ้ง สร้างฉาง สร้างสิ่งที่เป็นเก็บสมบัติมหาศาล เราจะสะสมของเราอยู่ในนี้ มันเตลิดเปิดเปิงไปมหาศาลเลย แต่ถ้ามีครูบาอาจารย์ของเราย้อนกลับนะ...สิ่งที่ล้มไปนั้นมันไม่สมุจเฉทปหาน มันไม่มีสังโยชน์ขาดออกไปแม้แต่ตัวเดียว มันไม่มีสิ่งสังโยชน์คือการร้อยรัดของกิเลสตัณหา
กิเลสตัณหาความทะยานอยากมันร้อยรัด สักกายทิฏฐิความเห็นผิด กายเป็นเรา เราเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ มันยึดมั่นถือมั่นเป็นอันเดียวกันหมดเลย เพราะมันมีตัณหา มันมีความทะยานอยาก นิโรธะมันดับไม่รอบ นิโรธะคือปล่อยวางชั่วคราว ในเมื่อสัพเพ ธัมมา... ธรรมนี้เกิดขึ้นมา เราโค่นป่ามันล้มไปก็จริงอยู่ แต่มันสามารถมีรากแก้ว ในเมื่อรากมันมีอยู่มันงอกได้ มันเจริญเป็นต้นไม้ขึ้นมาอีกได้
เราถึงต้องย้อนกลับมาใช้ปัญญาซ้ำเข้าไปตรงนี้ไง ซ้ำย้อนกลับมาที่การวิปัสสนา
มันวิปัสสนา ถ้าปัญญามันพอ เราออกไปลับมีด ลับขวานของเราให้มันคม ฟันอยู่อย่างนั้น ฟันแล้วฟันเล่า ล้มแล้วล้มเล่า ในการวิปัสสนา ปัญญามันเกิดมาแต่ละแง่มุมนะ แง่มุมมันวิปัสสนาอย่างนี้ เราวิปัสสนากายเป็นอย่างนี้ มันจะปล่อยอย่างนี้ มันปล่อยแล้ว พอมันจับต้องได้ใหม่ เราก็ใช้แง่มุมใหม่ แง่มุมใหม่คือเป็นปัจจุบันธรรมตลอด
ถ้าเป็นแง่มุมเก่าคือสัญญาความจำได้หมายรู้ กิเลสมันหัวเราะเยาะเลยนะ อ๋อ! จะเอาปัญญาอย่างนี้หรือมาฆ่าฉัน เพราะฉันใช้ปัญญาอย่างนี้หลอกเราอยู่แล้วไง หลอกเจ้าตัวนี้แหละ ปัญญาเกิดจากเรา ความคิดเกิดจากเรา เราก็งง เราก็ไม่เข้าใจความคิดของเรา เอ้! ทำไมมันคิดอย่างนี้ ทำไมมันเป็นอย่างนี้ กิเลสตัณหาความทะยานอยากมันใช้ความคิดเรานี้หลอกเรา แล้วเราก็จะใช้ปัญญาอย่างนี้ไปฆ่ามัน มันหัวเราะเยาะนะ
เราถึงต้องกลับมาทำอานาปานสติ กลับมาพุทโธ สร้างฐานของเรา แล้วย้อนกลับเข้าไปซ้ำ นี่สัพเพ ธัมมา อนัตตา สภาวธรรมเป็นอนัตตาตลอด แต่เวลามันวิปัสสนาไปซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถึงเวลามันปล่อยหมด นั้นน่ะ เป็นอกุปปธรรม...ไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่อนัตตา ไม่ใช่อนัตตาเพราะสภาวะของอนัตตามันรวมตัวไง รวมตัวเป็นมรรคสามัคคี ความสามัคคีของมัน มันรวมตัวสัมปยุตเข้ามา มันสมุจเฉทปหานขาดออกไปจากใจ ต้นไม้ส่วนหนึ่งทำลายออกไปเห็นไหม ใจนี้มีพื้นฐานนี่เป็นอกุปปธรรม
อกุปปธรรม...จะทำลาย จะเขย่า จะทำอย่างไรให้มันเสื่อมสภาพ...เป็นไปไม่ได้ มันจะเป็น
อฐานะที่ใจดวงนี้จะกลับไปเป็นปุถุชนอีกเลย มันเป็นอฐานะนะ
ต้นไม้สิ่งที่เป็นพิษมันยังมีอยู่กับป่าไง โค่นต้นไม้ทั้งหมดแล้วต้นไม้กลับมาเป็นอย่างเก่า มันยังมีต้นไม้อยู่ เพราะมันโค่นกิเลสตัณหา แต่นี้มันเป็นกิเลสอย่างหยาบๆ นี่ขันธ์นอก-ขันธ์ใน-ขันธ์ในขันธ์ นี่มันจะเป็นสภาวะแบบนั้น ถ้าวิปัสสนาโดยปัญญานะ มันจะทำลายเข้าไป ป่ามันก็มีสภาวะแบบนั้นตลอดไป จนกว่าจิตมันจะพ้นออกไปจากสภาวะของพญามารทั้งหมดไง เราถึงจะไว้ใจชีวิตของเราได้ ถ้าไม่อย่างนั้นชีวิตของเราเกิดก็ตาย ยังต้องเกิดต้องตายโดยสภาวะของมัน โดยสภาวะของข้อเท็จจริง เพราะมันมีสิ่งที่ขับไสอยู่ ในเมื่อใจมีสิ่งนี้ขับไสคือกิเลสตัณหาความทะยานอยากอย่างละเอียด สิ่งที่อย่างละเอียดมันมีความลึกลับซับซ้อนอย่างละเอียดนะ
เวลาเราเห็นสภาวธรรม ในเมื่อเราวิปัสสนากายเห็นตามความเป็นจริง มันมหัศจรรย์นะ มันปล่อย มันมีความเห็นต่างๆ มันมีความสุขมหาศาลเลย ความสุขอย่างนั้นเป็นความสุขของขั้นตอนนั้นไง ความสุขอย่างนั้นเป็นการเลี้ยงชีวิตอย่างนั้น
แต่ความสิ่งที่กิเลสมันละเอียดกว่าเห็นไหม วัฏจักรนี้มันมีอย่างหยาบ มีอย่างละเอียด มีอย่างต่างๆ เกิดเป็นสัตว์ เกิดเป็นมนุษย์ เกิดเป็นอินทร์ เป็นพรหม เวลามันเกิดสถานะนั้นมันยังมีสถานะที่ละเอียด มีสถานะที่อย่างหยาบได้เลย แล้วเวลามันวิปัสสนาขึ้นมา นี่กิเลสอย่างหยาบ กิเลสอย่างละเอียด มันจึงต้องชำระล้างให้สะอาดทั้งหมดไง
ในเมื่อเราชำระล้างสิ่งที่เป็นความสกปรกโสมมของเราจากของนอก เราทำความสะอาด สิ่งที่เราทำความสะอาดบ้านเรือน บ้านเรือนข้างนอกเราทำความสะอาดจากข้างนอก ทาสีสวยงามเลย แต่ในเรือน ในห้องในหับของเรามันสกปรกโสมมขนาดไหน เราจะเข้าไปในเรือนของเรา จะไปนั่งไปนอนที่ไหนล่ะ สิ่งที่นั่งนอนไม่ได้เพราะมันมีแต่ความสกปรก นี่ข้างนอกดูมันสวยงามมาก เพราะเราทำลายสิ่งความสกปรกโสมมจากภายนอก แล้วเราทำความสะอาดของมันขึ้นมา มันเป็นอฐานะที่มันจะเป็นสกปรกอีกไม่ได้เลย
แต่จากภายในเห็นไหม เราถึงต้องทำความสงบของใจ เราต้องมีความเพียรชอบ เราต้องมีขันติ มีสติ ถ้าเรามีสติ ความเพียรจะเป็นความถูกต้องตลอดไป
ถ้าทำสักแต่ว่านะ ทำสักแต่ว่าทั้งๆ ไม่มีพื้นฐาน เพราะมันล้มลุกคลุกคลานไป กิเลสมันเอาแง่มุมต่างๆ มาหลอกนะ สิ่งนี้เป็นธรรม ความรู้สึกนี้เป็นธรรม นี่ธรรม สภาวธรรมเกิดขึ้น มีความสุขมาก ความสุขอย่างนี้ทำให้เกิดเนิ่นช้าไง เราจะติดสภาวะความสุขอย่างนั้น แล้วเราจะไม่ก้าวเดินต่อไป
สิ่งที่ก้าวเดินต่อไป มันต้องมีกำลังส่งของมันขึ้นไป เราถึงต้องทำพุทโธตลอดไป ต้องทำสิ่งที่ให้เป็นพลังขับเคลื่อนตลอดไป มันจะทำให้สิ่งนี้เจริญขึ้นไป มันถึงจะเป็นสติปัญญา มหาสติ-มหาปัญญา แล้วเป็นสติอัตโนมัติขึ้นไป เป็นปัญญาญาณอย่างละเอียดขึ้นไป จนไปทำลายสิ่งที่อยู่ในเห็นไหม ในห้องในหับมันเก็บอะไรไว้ ในห้องในหับยังมีตู้ มีไห สิ่งที่เก็บของไว้ แล้วในห้องไหนั้นยังมีสิ่งที่ว่าเป็นสมบัติ เป็นสมบัติแก้วแหวนเงินทองซุกซ่อนไว้ในหีบในไหนั้น
สิ่งที่ซุกซ่อนเป็นแก้วเป็นแหวนเงินทองมันเป็นของมีคุณค่า แต่นี้มันเป็นอวิชชาสิ
อวิชชาคือความไม่รู้ในตัวมัน
ในสภาวะของจิตนี้ มันเข้าใจสิ่งที่เป็นธรรมอย่างหยาบมันก็เข้าใจเป็นธรรมอย่างหยาบ แต่ธรรมอย่างละเอียด มันไม่เข้าใจตามสภาวะของมันเห็นไหม นี้แง่มุมของมันเป็นอย่างนี้ ถ้าแง่มุมเป็นอย่างนี้ มันก็จะหลอกเราเป็นอย่างนี้ ประพฤติปฏิบัติธรรมแล้วจะมีปัญญาขึ้นมามหาศาลเลย
เวลาเราสนทนาธรรม ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ นี่เห็นไหม สนทนาธรรม
ทำไมครูบาอาจารย์นี้มีขั้นมีตอนนะ ธรรมสภาวะแบบนี้จะมีอาการอย่างนี้ๆ อย่างหยาบๆ อาการอย่างหยาบๆ เวลามันทำลายความอย่างหยาบ มันจะปล่อยความอย่างหยาบๆ เข้ามา มันจะไปติดอย่างละเอียด
แต่เราไม่เข้าใจ เราคิดว่ามันปล่อยวางอย่างนี้ แล้วมันปล่อย...วิปัสสนามันปล่อยๆ ครั้นปล่อยนี้เราก็ไปให้ค่ามันเองไง กิเลสมันหลงตัวมันเอง มันไปให้ค่ามัน ความปล่อยอย่างนั้น มันปล่อยแล้วมันไม่สมุจเฉทปหานด้วย ถ้าสมุจเฉทปหานนั้นมีครั้งเดียวนะ สมุจเฉทปหานแต่ละขั้นตอนหนึ่งจะเป็นหนเดียว สิ่งที่เป็นหนเดียวนี้มันเป็นปัจจัตตัง มันเป็นปัจจัตตัง เห็นความเป็นไปของสังโยชน์ขาดโดยตามความเป็นจริง นั้นมันเป็นอฐานะ
แต่การมันปล่อยแล้วเรามีความสุขอย่างนี้ อย่างนี้มันเป็นการปล่อยๆ ที่ไม่สมุจเฉทปหาน มันปล่อยแล้ว ปล่อยเล่า แล้วเราให้ค่ามันเอง สิ่งที่เราให้ค่ามันเอง นี่เราโค่นต้นไม้ขนาดไหน มันก็มีรากแก้วรากฝอยของมันอยู่ตลอดไปเราถึงต้องต่อสู้ ต้องมีปัญญาเข้าไปถึงเป็นสิ่งที่ละเอียดเข้าไป สิ่งที่ละเอียดเข้าไป ก็ไปทำความสะอาดในหัวใจของเรา ในสิ่งที่เป็นวัฏฏะ สิ่งที่เป็นจุดศูนย์กลางของสิ่งที่เกิดและตาย สิ่งที่เกิดและตายคือตัวอวิชชานะ แต่ตัวอวิชชานี้มันมีสิ่งป้องกันมัน มันมีลูกมีหลาน
สิ่งที่เป็นกองทัพที่ขับเคลื่อนไป กองทัพเขาจะมีแม่ทัพ แล้วเขาจะมีขุนพล เขาจะมีทหารเอก เขาจะมีสิ่งต่างๆ นี่สิ่งที่รบออกไป แล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดคือสิ่งที่เข้าไปสืบรู้สิ่งฝ่ายตรงข้ามไง เห็นไหม ในการทำข้าศึกนี้เขาต้องวางแนวที่ ๕ วางสิ่งที่เข้าไปสืบรู้ นี่กิเลสมันก็อาศัยสิ่งนี้เข้าไปสืบรู้ในการกระทำของเราไง วันนี้จะประพฤติปฏิบัติ เราจะตั้งสัจจะในการประพฤติปฏิบัตินะ กิเลสมันมาสืบรู้หมดแล้วว่าเราจะทำอะไรบ้าง เราจะอดอาหาร เราจะอดนอนผ่อนอาหาร การประพฤติปฏิบัติมันถึงอยู่ฟากตายไง
ในเมื่อมันสืบสภาพในการประพฤติปฏิบัติของเรา มันก็สร้างเป็นสัญญาอารมณ์ให้เรามีความพอใจไง นี่อย่างนี้เป็นความสุข อย่างนี้ถ้าปฏิบัติแล้วอย่างนี้มีความพอใจ ไปสร้างสิ่งที่เป็นสถานะ การศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีโทษตรงนี้ ถ้าเราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วสภาวะเป็นแบบนี้ เราจะสร้างภาพแบบนี้ แล้วเราจะเข้าไปถึงจุดหมายอย่างนี้ มันเป็นกิเลสสร้างภาพทั้งหมดเลย
ในกิเลสสืบรู้ในการประพฤติปฏิบัติของเรานี้ส่วนหนึ่ง ในการสร้างสัญญาอารมณ์ให้เป็นสภาวะเป็นธรรมก็เป็นอย่างหนึ่ง เราโค่นป่าเหนื่อยแสนเหนื่อย แล้วเราจะไม่เห็นว่ากิเลสในป่านั้นทำลายไป นี่เราโค่นป่า ต้นไม้ก็ล้มด้วย ป่าก็ล้มด้วย ล้มลุกคลุกคลานจนไม่รู้ว่าสิ่งใดเป็นอะไรเลย เพราะมันไม่เป็นตามความเป็นจริงไง
แต่ถ้าเราโค่นตามความเป็นจริง พอสมุจเฉทปหานขาดปั๊บ กิเลสขาดไปๆ ต้นไม้ยังอยู่ ต้นไม้ยังอยู่ตลอดไป โค่นป่าโดยมีต้นไม้ มันจะเป็นสภาวะเกิดขึ้นมาจากใจของมัน เห็นตามความเป็นจริงอย่างนั้น เราถึงวิปัสสนาไปซ้ำแล้วซ้ำเล่า ให้มันเป็นปัจจัตตัง ให้มันรู้จริงขึ้นมาจากใจของเรา
ถ้ามันรู้จริงขึ้นมาจากใจของเราเห็นไหม ธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ เพราะถ้าสัตว์ สัตตะเป็นผู้ข้องคือมันไม่เข้าใจตามความเป็นจริงเลย แต่ถ้ามันเป็นปัจจัตตัง มันรู้จริงตามจริงมันจะปล่อยตามความเป็นจริง ถ้ามันปล่อยตามความเป็นจริง มันสมุจเฉทปหานขาดตามความเป็นจริง นั่นล่ะ เป็นความจริง นี่รื้อสัตว์ขนสัตว์อย่างนี้ไง เพราะมันเห็นตามความเป็นจริง มันเป็นปัจจัตตังมันถึงไม่ข้อง มันไม่ข้อง ไม่สงสัย มันไม่มีความลังเล มันเป็นความเป็นจริงของใจดวงนั้น แล้วมันก็รู้จริงจากใจดวงนั้นไง
ไม่มีครูบาอาจารย์องค์ไหน ไม่มีใครองค์ไหนจะสามารถมาทำลายตรงนี้ให้ค่าให้มันเสื่อมลงได้ หรือให้มันเพิ่มค่าขึ้นมาได้ ถ้าเราไม่ประพฤติปฏิบัติเป็นสัมมาปฏิบัติ
ถ้าเป็นสัมมาปฏิบัติเราจะเป็นตามความเป็นจริงของเรา
ถ้าเป็นมิจฉาปฏิบัติมันหลงได้เพราะเป็นกิเลส คนมีกิเลสนี้เวลาประพฤติปฏิบัติมีความผิดพลาด องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๖ ปี มุมานะขนาดไหน เวลาถ้าเป็นมิจฉามันจะออกไปสภาวะแบบนั้น กลั้นลมหายใจจนสลบนะ อดอาหารจนขนหลุด ขนเน่าหลุดออกไปเลย แต่เวลาเราประพฤติปฏิบัติเราก็เอาอาการอย่างนั้นมาใช้เป็นอุบายเป็นวิธีการ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอาสิ่งนี้เป็นประสบการณ์แล้วบอกว่า
ผู้ใดใช้สิ่งนี้เป็นอุบายวิธีการ การส่งเสริมขึ้นมาให้เกิดปัญญาขี้นมา สิ่งนี้ส่งเสริมได้
เพราะขณะที่ประพฤติปฏิบัติเป็นมิจฉาทิฏฐินั้นแหละ ความเห็นผิดขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่กำลังมันก็มี มีกำลังแต่ไม่มีปัญญา ไม่มีสิ่งที่ว่ารื้อค้นขึ้นมาเห็นไหม ในเมื่อมันไม่มีปัญญาขึ้นมา มันก็ไม่เป็นมรรค มรรคมันไม่เกิด มันก็เป็นสภาวะแบบนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างสมบุญญาธิการมาขนาดนั้น แต่ถ้ายังไม่มีมรรคก็ยังหลงผิดไปเลย
แต่ในเมื่อเรามีครูบาอาจารย์อยู่ เรามีตู้พระไตรปิฎกอยู่ เห็นไหมนี่ธรรมในเมือง ศึกษาแล้วต้องวางไว้ ธรรมนี้ศึกษา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้ เราควรศึกษา ศึกษามาให้เป็นเครื่องดำเนิน ให้มีความศรัทธา ให้ชุ่มชื่นในหัวใจของเรา เวลาเราศึกษาธรรมมันจะมีความชุ่มชื่น มีความพอใจ เพราะธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือธรรม
ในเมื่อธรรมเราศึกษาไป มันสะเทือนกิเลส ความสะเทือนกิเลส แต่ถ้ากิเลสมันฉลาดกว่า มันก็ยึดธรรมนั้นว่าเป็นของมัน ถ้ายึดธรรมแล้วจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ไม่ได้เลย เพราะอะไร เพราะมันเป็นสิ่งที่ว่าเป็นพิษเป็นภัยกับใจดวงนั้น
แต่ถ้าเราศึกษาทางธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีความชุ่มชื่นมีกำลังของเรา แล้วเราวางธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ แล้วเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมาเป็นธรรมของเรา มันจะเป็นปัจจัตตัง มันจะรื้อสัตว์ขนสัตว์เห็นไหม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนาจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ แล้วเราเป็นสาวก-สาวกะ เกิดมาท่ามกลางพระพุทธศาสนา เกิดมาท่ามกลางธรรมในป่าของครูบาอาจารย์ของเราที่มีสิ่งที่เป็นจริง เป็นธรรมที่มีชีวิตคอยชี้นำเราไง ธรรมที่ไม่มีชีวิตคือธรรมที่มันไม่มีโอกาสชี้นำใคร แล้วแต่เราจะเลือกใช้ เราจะใช้วิจารณญาณของเรา ใช้สิ่งที่เป็นปะโยชน์
แต่ธรรมที่มีชีวิตนี้... มีชีวิต ตอบสนองได้ ชี้นำได้ ตอบโต้ได้
นี่ธรรมในป่าเป็นสภาวะแบบนี้ไง
ในเมื่อเราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชุ่มชื่นแล้ววางไว้... ต้องวาง ถ้าไม่วางเป็นสัญญาอารมณ์ สิ่งที่เป็นสัญญาอารมณ์...จิตนี้มหัศจรรย์ขนาดนี้ ถ้ามันมีสิ่งใดข้องมาแล้วมันจะสร้างภาพสภาวะแบบนั้น เราถึงปล่อยวางอย่างนั้นขึ้นมา แล้วเราเข้ามารื้อค้นของเราให้ได้เป็นปัจจัตตังเห็นไหม เป็นปัจจัตตัง เกิดจากใจ สิ่งที่เป็นใจมันจะทำให้สิ่งที่ข้องอยู่นี้ปลดเปลื้องไปๆ จนยกขึ้นวิปัสสนาสูงขึ้นไป เห็นความเป็นไปนะ กามโอฆะมหาศาลในหัวใจของเรานะ
เวลาพูดถึงกามราคะความเป็นไปของจิตนี้มันเป็นความมหัศจรรย์
ป่าเขาเวลาเกสรมันผสมพันธุ์กัน มันเกิดเมล็ดพันธุ์ใหม่ตกไปในแผ่นดิน ตกไปในดินมันจะงอกงามขึ้นมาเห็นไหม นี้มันเป็นสิ่งที่ผสมพันธุ์ของเกสรดอกไม้ สิ่งที่สวยงามนะ ละเอียดอ่อนมาก นุ่มนวลมาก ปลิวไปตามลมนะ ให้วัฏฏะมันพัดไป พัดไป เกสรหนึ่งไปตกดอกไม้อีกดอกหนึ่ง พัดไปตามกระแสอย่างนั้น นี่กามราคะที่จิตมันเป็นสภาวะแบบนั้น มันปรารถนาไปไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นไปของมันโดยสัญชาตญาณของมัน
นี่กามราคะในหัวใจ มันทำป่านั้นเกิดตายๆ ในหัวใจดวงนั้น ไม่ต้องไปหัวใจดวงอื่น
เวลาพระประพฤติปฏิบัติเกิดมาแล้วบวชตั้งแต่เณร ไม่ได้ครองคู่ แต่เขาต้องเกิดตายเหมือนกัน เวลาคู่ของโลกเขา เขาเกิดมาเขามีครอบครัวของเขา สามีภรรยาเขาอยู่ด้วยกันเป็นเรื่องของโลก เขาถึงต้องเกิดต้องตายไป แล้วพระเราเวลาบวชแล้วประพฤติปฏิบัติไม่ถึงที่สิ้นสุด ผู้ที่ออกประพฤติปฏิบัติถือพรหมจรรย์ไม่ถึงที่สุด มันก็พัดไป มันเป็นเกสรดอกไม้มันผสมพันธุ์ในนั้น ผสมพันธุ์โดยเกสรของมัน
นี่ก็เหมือนกันในเมื่อใจมันมีกามราคะ ในเมื่อใจมันมีความต้องการของมัน มันก็ผสมของมันในหัวใจอันนั้น ป่ามันถึงได้เจริญงอกงามไง ถ้าประพฤติปฏิบัติไม่ถึงที่สิ้นสุด มันก็ยังมีป่า มีกิเลสตัณหาความทะยานอยากอยู่อย่างนั้นในหัวใจดวงนั้นไง ป่านั้นถึงไม่ได้ทำลายเลย ป่านั้นถึงเจริญงอกงามขึ้นมามหาศาลเลย
นี่มันย้อนกลับขึ้นมาเห็นสภาวะแบบนั้นได้ จับสภาวะแบบนั้นได้ นี้ปัญญาอย่างละเอียดนะ เป็นมหาสติ-มหาปัญญา จะทำลายป่า มันมหัศจรรย์ขนาดนั้น ในการทำลายป่าในหัวใจของผู้ที่ประพฤติปฏิบัตินั้นล่ะ แล้วมันจะเข้าใจตามความเป็นจริง มันจะซึ้งใจในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่โคนต้นโพธิ์นั้นล่ะ โคนต้นโพธิ์ในป่านั้น ในภาวะของใจดวงนั้นที่เป็นจุดและเป็นอวิชชาปัจจยา สังขารา ที่มันขยับเขยื้อนออกไป มันออกไปยึดโลก
เราวิปัสสนาเข้ามาเห็นตามความเป็นจริงของเรา เพราะเรามีปัญญาอย่างนี้ เราก็ทำลายของเราอย่างนี้ พืชพันธุ์ของเราเป็นสภาวะแบบใด จิตใจของเราเป็นอย่างใด มันก็ทำลายของมันขึ้นไป ปัญญามันเกิดเป็นมหาสติ-มหาปัญญา ปัญญาอย่างมหาศาลเกิดขึ้นมาเห็นไหม นี่การทำลายป่า มันจะเป็นชั้นเป็นตอนขึ้นไป เห็นเป็นการทำลายไป
จนมันทำลายทั้งหมดนะ เกสรต่างๆ ไม่มี เกสรนี้เป็นเกสรที่เป็นหมันทั้งหมด ถ้าเราทำลายกามราคะออกไป เกสรต่างๆ มันจะผสมพันธุ์กันไม่ได้เลย มันเป็นหมัน มันเกสรในป่ามันก็มีอยู่ แต่มันผสมพันธุ์กันไม่ได้ ทำลายกามราคะขาดออกจากใจเห็นไหม หมดสิ้นขบวนการของกามราคะ จิตมันละเอียดขึ้นไป
ป่าที่มันเห็นอยู่ ขันธ์อย่างหยาบ แล้วความรู้สึกจากป่าอยู่ในนั้น จิตดวงนี้มันจะทิ้งป่าเข้ามาได้อย่างไรไง ทิ้งป่าเพราะเราเข้าไปอยู่ในป่าเห็นไหม เราเข้าป่า พรานป่า พระธุดงค์ในป่าแล้วมันหลงป่า ความหลงอยู่ในป่านี้ มันก็หลงไปในป่า มันถึงกับอดอาหาร ถึงกับตายในป่าได้นะ นี่ก็เหมือนกัน ถ้าจิตมันปล่อยวางเข้ามาทั้งหมดแล้ว เกสรนี้เป็นหมันทั้งหมด สิ่งความโลกนี้ผสมพันธุ์ไม่ได้ทั้งหมด แล้วมันก็ยังหลงอยู่ในป่านั้น วนเวียนอยู่ในป่านั้น มันก็ต้องเกิดไปบนพรหมไง
แต่ถ้ามันทำลายของมันออกมา ย้อนกลับเข้าไป ใครเป็นผู้หลง ผู้ที่หลงอยู่ในป่านั้นคือใคร คือตัวจิตดวงนี้ไง ตอของจิตตัวอวิชชาปัจจยา สังขารานี้ ปัจจยาการของใจดวงนี้มันเป็นผู้ที่หลงป่าอยู่นั้น ถ้าในผู้ที่ปฏิบัติ พระธุดงค์ที่อยู่ในป่านั้น จิตดวงนี้อยู่ในป่านั้นหลงป่านั้น มันก็จะทิ้งป่านั้นไม่ได้ ผู้ที่จะทำลายป่า ต้นไม้ในป่ายังอยู่ เพราะจิตดวงนี้ ผู้ที่หลงอยู่ในป่านั้น ต้องค้นหาตัวเองให้เจอ ถ้าใครค้นหาตัวเองที่หลงป่าอยู่นั้นเจอ นั้นคือเจอตัวตอของจิตไง
นี่ความละเอียดอ่อนมหัศจรรย์ มันเป็นมหัศจรรย์ขนาดนี้นะ มหัศจรรย์มากแล้วมันเข้ามาจับต้องของมันได้ ความเป็นไปของจิตนี้ ความย้อนกลับมาถึงทำลายตัวนี้ไง นี่ผู้หลงป่า เป็นความมหัศจรรย์ เพราะตอของจิตจับตอของจิตได้อย่างไร
ในเมื่อจับตอของจิตได้เห็นไหม นี้ปัญญาญาณอย่างละเอียดแล้วเข้ามาทำลายผู้ที่หลงป่านั้น พอทำลายผู้ที่หลงป่านั้น จิตนี้พ้นออกไปจากป่านั้น พ้นออกไปจากป่า ป่าต้นไม้สมบูรณ์ โค่นป่าแล้วป่าโดยสมบูรณ์ เพราะทำลายอวิชชาปัจจยา สังขารา ออกจากใจดวงนั้น
ถ้าใจดวงนั้น ถ้ามีกิเลสมีตัณหา นี่คืออัตตา อัตตาคือใจมีอยู่ คือตอของจิต พอทำลายถึงที่สิ้นสุด จิตพ้นจากอัตตาและอนัตตาไปทั้งหมดเลย นี่มันถึงว่าพ้นออกไปจากป่า วางป่าไว้ตามความเป็นจริง แล้วก็ต้นไม้สมบูรณ์ ความสุขสมบูรณ์มหาศาล สมบูรณ์มหาศาลจากใจดวงนั้นนะ ใจดวงนั้นที่ล้มลุกคลุกคลานนะ
ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ เห็นไหม ธรรมในป่าขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงประเสริฐมาก สมบูรณ์ในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็สมบูรณ์ในใจของครูบาอาจารย์ของเรา เป็นธรรมที่มีชีวิต ธรรมในป่าคือธรรมที่มีชีวิต แต่ธรรมในตู้พระไตรปิฎกคือธรรมที่ไม่มีชีวิตไง ฉะนั้น เราถึงศึกษา ในการศึกษาของเรา เราจะศึกษาอย่างไร แล้วเราจะเข้าใจธรรมของเราอย่างไร
เราเข้าใจนะ ถ้าเราเข้าใจ เราก็จะเลือกสถานอย่างนั้นเป็นเครื่องดำเนินชีวิต เป็นเครื่องดำเนินในการชำระกิเลส เป็นเครื่องดำเนินในการค้นคว้าหาตัวเรา แล้วเราจะเอาตัวรอดได้ เพราะเราเกิดธรรม เกิดท่ามกลางพระพุทธศาสนา เราเกิดท่ามกลางกึ่งกลางพระพุทธศาสนาที่เจริญรุ่งเรืองมาก เราเกิดมาแล้วชีวิตเราสมบูรณ์มาก เพราะเรามีสมบูรณ์ในร่างกาย แล้วเราก็สมบูรณ์ในจิตใจด้วย แล้วเราออกประพฤติปฏิบัติด้วย แล้วเราจะโค่นป่าคือกิเลสตัณหาของเราให้ได้โดยสมบูรณ์ เอวัง