ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ศีล-ธรรม

๑๙ ก.ค. ๒๕๕๗

ศีล-ธรรม

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๕๗

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) .หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

 

ถาม : เรื่องพระโทรศัพท์หาสีกา เล่นเฟซบุ๊กคุยกับสีกา

. ผิดศีลหรือเปล่าครับ

. ถือว่าคุยในที่ลับตาหรือเปล่าครับ

ตอบ : นี่คำถามเนาะ ถ้าคำถามเป็นอย่างนี้ คำถามอย่างนี้ตอบมาเยอะมาก ทีนี้เพียงแต่ว่าคนมาอ่านใหม่เขาไม่ไปดูในเว็บไซต์ที่เราตอบผ่านๆ มาแล้วไง ปัญหานี้เป็นปัญหาพื้นฐานที่คนถามมาเยอะมาก แล้วในปัจจุบันนี้มันมีโทรศัพท์ มีสิ่งต่างๆ

พระโทรศัพท์หาสีกา เล่นเฟซบุ๊กคุยกับสีกา

. ผิดหรือเปล่า

. ถือว่าเป็นการคุยในที่ลับหรือเปล่า

. ผิดหรือเปล่า โดยตามตัวอักษรมันผิดอยู่แล้ว ทีนี้พอผิดอยู่แล้ว โดยความสำนึกไง ถ้าความสำนึกโดยทางโลก เวลาพระอานนท์ถามพระพุทธเจ้าเอง เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะนิพพานน่ะ ในโลกนี้มันมีผู้หญิงเข้ามาเกี่ยวข้องพระพุทธศาสนามากมายเลย เป็นพี่เป็นน้อง เป็นพ่อเป็นแม่ของพระ ให้พระทำอย่างไร

ถ้าไม่พูดไม่คุยด้วยนั่นแหละดี แต่ถ้ามีความจำเป็น มีความจำเป็น มีธุระปะปัง มีความจำเป็น ก็ให้ตั้งสติไว้แล้วคุยกับเขา ให้ตั้งสติไว้ ให้พูดไม่เกิน ๖ คำ แล้วถ้าพูดเสร็จธุระแล้วให้หลีกหนีไป

กรณีนี้มันย้อนกลับมาที่ว่า ถ้ามีความจำเป็น ถ้าคุยก็คุยว่าเป็นเรื่องงาน เป็นเรื่องงาน เป็นเรื่องเขาต้องเทศนาว่าการ เทศน์ผ่านเฟซบุ๊ก ว่าอย่างนั้นเลย

ไอ้นี่มันก็พูดไป ถ้าเทศน์ผ่าน เราก็เทศน์อยู่นี่ เทศน์เสร็จแล้วก็เข้าไป เข้าไปแล้วก็จบ เขาก็ฟังของเขาไปกันเอง แต่ถ้าเวลาจะถามปัญหา ถ้าถามปัญหาขึ้นมาก็ถามมาแบบนี้

แต่ถ้าโดยโทรศัพท์ ในวัดเราว่าจะไม่มี ก็มี บ้านตาดก็มีอยู่เครื่องหนึ่ง เป็นพระเลขา เพื่อประสานงาน เพราะโลกมันต้องมีการประสานงานไง ถ้าประสานงาน ถ้าเป็นเรื่องงาน เพราะเขาจะอ้างว่าเป็นเรื่องงาน ถ้าเรื่องงานนี่ผิดศีลหรือเปล่า ถ้าเป็นเรื่องงาน เราอนุโลมได้ไหม ถ้าอนุโลม แต่มันผิดไหม ลับหูลับตา ถ้าเป็นการลับหู

มันอยู่ที่ความสำนึก ถ้าสำนึกของพระ พระเขาไม่ทำกัน ถ้าพระเขาไม่ทำกัน เว้นไว้แต่ความจำเป็น จำเป็น เราก็รู้ได้ ความจำเป็น เห็นไหม ความจำเป็น อย่างเช่น ดูสิ พระอานนท์ถามพระพุทธเจ้า ในโลกนี้มีผู้หญิงมาเกี่ยวข้องพระพุทธศาสนามากเลย เป็นทั้งพี่หรือเป็นน้อง เป็นแม่ของพระ เป็นพี่เป็นน้อง เป็นแม่ เวลาเขาถามถึงความเป็นอยู่ต่างๆ ถ้าเป็นญาติมันก็อีกเรื่องหนึ่งใช่ไหม ไอ้อย่างนี้มันแบบว่าพออนุโลมได้ ถ้าแบบว่ามันเป็นเรื่องธุระ แต่ถ้าเป็นเรื่องอื่นน่ะ มันอยู่ที่พระมีความสำนึกว่าเราจะปิดโทรศัพท์หรือไม่ปิดโทรศัพท์ไง

กรณีนี้เมื่อก่อนหลวงตาท่านบอกว่า ก่อนหน้านั้นมีทางราชการเขาขอติดโทรศัพท์ที่วัดป่าบ้านตาดเพื่อเป็นการประสานงาน ท่านไม่อนุญาต ทางฝ่ายที่ไปติดต่อเขาถามว่า เหตุผล

เหตุผลบอกว่า ถ้ามันติดโทรศัพท์แล้วพระจะไม่มีเวลาว่างเลย จะมานั่งเฝ้าโทรศัพท์ คนนู้นจะโทรมา คนนี้จะโทรมา พระก็ต้องมานั่งรับโทรศัพท์ตลอดเวลา ท่านถึงไม่ให้มี ตอนนั้นท่านไม่ให้มี ตอนนั้นยังไม่ออกมาโครงการช่วยชาติ

แต่เวลาโครงการช่วยชาติแล้วนะ มี ๕๐ เครื่อง มีเยอะเลย แล้วเรียกพวกผู้สื่อข่าวมาให้สัมภาษณ์ ให้สัมภาษณ์เพราะอะไร เพราะต้องการให้เขารับรู้ถึงโครงการช่วยชาติว่าท่านจะไปเทศน์ที่ไหน

เห็นไหม เมื่อก่อนไม่ได้ ตอนเราอยู่กับท่านใหม่ๆ นะ นักข่งนักข่าว ท่านไม่ให้เข้าใกล้เลย แต่เวลาพอมันเป็นโครงการช่วยชาติ ท่านถามเลยว่าวันนี้มีนักข่าวมาไหม ถ้ามี ให้สัมภาษณ์เลย ถ้ามีกรณีเรื่องโครงการช่วยชาติมันมีสิ่งใด ท่านก็ใช้เป็นประโยชน์ นี่ถ้ามันเป็นประโยชน์

แต่พระ ถ้ามีความสำนึก เราจะปฏิบัติ คำว่าจะปฏิบัติแม้แต่เราไม่มีเรื่องในใจ เวลานั่งกำหนดพุทโธ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ มันยังไม่ลงเลย แล้วเราไปกว้านเอาสิ่งนั้นมาเผาหัวใจ แล้วก็ไปนั่งนะ ไปนั่งคอตกเลยนะ พุทโธๆ ก็เพิ่งคุยกันมาเมื่อกี้นี้ เรื่องอะไรไม่รู้มันเผาใจ แล้วก็จะไปนั่งพุทโธให้มันลง อันนี้มันเป็นความสำนึกของผู้ที่ปฏิบัติ ถ้าพระที่ปฏิบัติเขามีความสำนึก เรื่องนี้เขาเห็นว่าเป็นโทษ เห็นว่าเป็นโทษ เหมือนกับเชื้อโรค เรามีวัคซีนใช่ไหม เราป้องกันเชื้อโรค เราไม่ให้เชื้อโรคเข้ามาร่างกายเรา แต่นี้เวลาเราไปแสวงหาเอง แล้วก็บอกว่าเราอยากแข็งแรง เราไม่อยากเป็นโรค แล้วเราไปหาเอง มันอยู่ที่สามัญสำนึกของพระ

กรณีนี้เราบอกว่าผิดไหม เราว่าผิดไหม

ตามตัวอักษร ตามวินัยมันผิดอยู่แล้วล่ะ มันผิด มันผิดธรรมและวินัย ถ้ามันผิด ผิดต้องไม่ทำสิ ผิดต้องไม่ทำ ถ้าผิดต้องไม่ทำนะ พระในเมืองไทย ๔ แสนกว่าองค์นี่พระอรหันต์หมดเลยล่ะ พระในเมืองไทยเป็นพระอรหันต์หมดเลย ไปวัดไหนก็กราบแต่พระอรหันต์ทั้งนั้นเลย แต่นี่มันไม่มี เห็นไหม

กฎจราจรนะ ฝ่าไฟแดงเป็นความผิด แล้วดูสิ เขาก็ฝืนฝ่ากันตลอดเวลา มันก็ผิด แล้วทำไมขับรถฝ่าไฟแดงกันล่ะ มันผิดไหม มันก็ผิด แต่คนมันคิดว่าเล็กน้อย คิดว่าไม่จำเป็น คิดว่าเรามีธุระ มันจะรีบไป ถ้ารีบไป เขาก็มองข้ามไง แต่บอกว่าผิดไหม ผิด ผิดแน่นอน เพราะเทศบัญญัติหรือกฎจราจรเขาบัญญัติไว้แล้วว่าผิด ฝ่าไฟแดงนี่ผิดแน่นอน

นี่ก็เหมือนกัน พูดถึงว่า พระโทรศัพท์หาสีกา เล่นเฟซบุ๊กคุยกับสีกาผิดไหม

ผิด แต่ทีนี้พอผิดแล้ว ศีลกับธรรม ธรรม ก็สมมุติอย่างเช่นวัด แบบว่าพระห้ามถูกต้องเงินและทอง แต่ถ้าพระวัดไหนมีพระพุทธรูปทองคำ เขาสมมุติให้พระองค์ใดองค์หนึ่งเป็นผู้รักษา ผู้รักษาก็ต้องเช็ดต้องถู เขาสมมุติให้เป็น

นี่ก็เหมือนกัน เช่น ในวัดนี้เขาสมมุติให้เราเป็นผู้รับแขก ให้มีโทรศัพท์ อ้าว! โทรศัพท์ คนโทรมา เขาสมมุติให้ทำหน้าที่นี้ เห็นไหม ธรรมและวินัย แต่ถ้าไม่ได้สมมุติ คือเราไม่มีหน้าที่ มันก็ต้องถือว่าผิดหมด

ภิกษุหยิบต้องเงินและทองเป็นอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่สมมุติ ในวินัยมุขเขาจะบอกว่าเว้นไว้แต่สมมุติ สมมุติให้พระทำหน้าที่นั้น สมมุติให้พระทำหน้าที่นั้น นี่ก็เหมือนกัน สมมุติให้เป็นพระอุปัฏฐาก สมมุติ

ดูอย่างพระอานนท์ สงฆ์ตั้งให้เป็นผู้อุปัฏฐากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทีนี้ก็สมมุติให้ใครเป็นผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ เขาก็ต้องรับผิดชอบ นั่นเป็นหน้าที่ของเขา วินัย ถ้ากฎหมายผิดไหม ผิด แต่ถ้าเว้นไว้สมมุติคือว่าให้คนคนนี้ทำหน้าที่แบบนั้น ให้พระองค์นี้มีหน้าที่แบบนั้นในการรับโทรศัพท์

ถ้ารับโทรศัพท์แล้ว แต่มันก็ต้องมีความสำนึกไงว่า เราจะไม่พูดเกินไป เราจะพูดมีแต่ความจำเป็น ถ้าไม่มีความจำเป็นแล้วก็วาง เพราะว่า แบกโลกไม่ได้หรอก เรื่องโลกมันใหญ่โตนัก

ฉะนั้นบอกว่าผิดศีลหรือเปล่าครับ

ถ้าตามวินัย ผิด

ถือว่าเป็นการคุยที่ลับตาหรือเปล่าครับ

ไอ้นี่เหมือนกัน ลับหูลับตา ถ้าลับหูลับตา ถ้าเรามีความสำนึก เราก็ไม่ไปยุ่งกับเขา คือว่าวินัยเขาไว้บังคับตัวเองไง ถ้าเรามีสำนึก แล้วถ้าเรามีสำนึกแล้วเราปรารถนา เรามีเป้าหมายที่เราจะภาวนา เรามีเป้าหมายที่จะพ้น

ศีล สมาธิ ปัญญา

ศีล สมาธิ ปัญญา แล้วถ้าศีลมันไม่สะอาดบริสุทธิ์ ศีลมันด่างพร้อย เราไปภาวนา ขนาดว่าศีลเราบริสุทธิ์แล้วนะ เราว่าศีลเราถูกต้อง ภาวนายังไม่ลงเลย แล้วศีลมันด่างพร้อย แล้วเราจะไปนั่งพุทโธๆ โอ้โฮ! กิเลสนี้มันร้ายนักนะ มันจะบอกเลยนะ โกหกตัวเอง เมื่อกี้ยังทำผิดอยู่เลย ไปปลงอาบัติก่อนไป

เพราะเราอยู่กับหมู่คณะ อยู่กับพระ เดี๋ยวคนนั้นก็มาปลงอาบัติ เดี๋ยวคนนี้ก็มาปลงอาบัติ ทำไมวะ ถ้าเขาสงสัย เขาปลงอาบัติทันทีเลย เพราะว่าถ้าไม่ปลงอาบัติ ไปเดินจงกรมอยู่ มันหาเหตุผลน่ะ เรื่องนั้นเรื่องนี้ เรื่องนี้เรื่องนั้น มันโต้แย้งกันอยู่ในใจ ไม่จบหรอก ปลงอาบัติซะ ปลงอาบัติซะ ปลงอาบัติ กรรมนั้นจะหาย ไม่หาย แต่ปลงอาบัติคือสำนึกผิด ปลงอาบัติคือสำนึกผิด สาธุ สุฏฺฐุ ข้าพเจ้าจะสำรวม ข้าพเจ้าจะระวังไปข้างหน้า สิ่งที่ผิดแล้วก็คือว่าผิด ยอมรับผิด คือสารภาพ สารภาพว่าผิด แล้วจะสำรวมระวังไป จะไม่ทำอย่างนี้อีก แล้วก็มาเริ่มต้นใหม่ นี่การปลงอาบัติ

ถ้านักปฏิบัตินะ ถ้ามีปัญหา เขาจะปลงอาบัติทันทีเลย ปลงอาบัติเพื่อตัดตอนกัน แล้วพอปลงอาบัติเสร็จแล้วเราก็จะมาภาวนาต่อ ไอ้นี่พูดถึงว่าถ้าเราจะภาวนานะ

ฉะนั้น กรณีนี้เวลาไปศึกษามาแล้ว แล้วเห็นพระเขาทำอย่างนั้น พระเขาโทรศัพท์คุยกันอย่างนี้ แล้วเราก็ว่ามันเป็นความผิด ก็มีคนเห็นอย่างนี้แล้วถามมาเยอะ เช่น ในกรุงเทพฯ พระไปเดินในที่อโคจร ทุกคนเห็นแล้วมันก็คิด

แต่นี้พระที่เขาไปแถวนั้นเขาบอกเขาเป็นนักศึกษา พระฝ่ายปริยัติเขาศึกษา เขาต้องไปหาอุปกรณ์การศึกษา เขาบอกเขาต้องไปหาอะไร เขาต้องไปซื้อของเขา เขาอ้างของเขาอย่างนั้นน่ะ แต่เราเห็นแล้วจริงไหมล่ะ

อ้าว! อย่างนี้อย่างพวกเรานี่นะ เราโตขึ้นมา พ่อแม่เป็นคนส่งเสียใช่ไหม พระพอไปอยู่วัด ถ้ามีครูบาอาจารย์ส่งเสียก็ส่งเสีย ถ้าไม่ส่งเสีย เขาต้องไปหาอุปกรณ์การศึกษา เพราะเราก็เป็นพระ เราก็คุยกับพวกพระว่าทำไมเขาทำกันอย่างนั้น พวกอาจารย์สอนน่ะ คนรู้จักสอนอยู่มหามกุฏต่างๆ เขาบอกว่า บางทีเขาต้องไปหาอุปกรณ์การศึกษา เขาก็ต้องไปคลองถม เขาต้องไปหา นี่เขาว่าอย่างนั้นนะ แต่เราไม่ได้ศึกษา เราก็ไม่รู้

ไอ้นี่เวลาเราถามเขาว่าทำไมเป็นอย่างนั้น ทำไมที่อโคจร ที่อโคจรคือที่พลุกพล่าน พระไม่สมควรไปแล้วล่ะ ถ้าเราจะประพฤติปฏิบัตินะ เพราะในบุพพสิกขาบอกว่า แม้แต่เป็นท่ารถ เป็นท่าเรือ เป็นต้นไม้ที่มีผล ไม่ควรไปอยู่ที่นั่น เพราะเขาจะมาหา เราต้องหาความสงบสงัดขนาดนั้นน่ะ แต่นี่ที่อโคจร เราเข้าไปทำไม

ในการศึกษา เขาศึกษาจนอยู่กับโลก ศึกษามา พอจบแล้วเขามีความรู้ แต่ความรู้อย่างนั้นก็ต้องทบทวนตลอดเวลา

แต่ถ้าเวลาปฏิบัติขึ้นมา ถ้าเป็นความจริงนะ ความรู้เกิดขึ้นมาจากใจ ความรู้เกิดขึ้นมาจากใจ เป็นอริยสัจ ไม่มีวันลืม

ถ้ามีวันลืมนะ ถ้ามันลืมนะ เวลาไปถามปัญหา ตอบไม่ได้หรอก ถ้าเป็นความจริงมันจะแจ่มแจ้งกลางหัวใจ ถามเมื่อไหร่ พูดเมื่อไหร่ ทันทีๆๆ เลย ไม่มีวันลืมเลย มันเป็นอริยสัจ มันเกิดขึ้นกลางหัวใจ

แต่ถ้าการศึกษาเป็นความจำ พอความจำขึ้นมา เราวิจัย เราก็ว่าเราปลอดโปร่งมาก เราเข้าใจหมดล่ะ พอสักปีสองปีมาทบทวน ลืมแล้วนะ ลืมแล้ว เราจะศึกษาต้องไปเปิดตำรา แต่ถ้าเวลาปฏิบัติแล้วไม่เป็นแบบนั้น นี่พูดถึงว่าเวลาคนจะปฏิบัตินะ

ที่ว่ามันเป็นการลับหูลับตาหรือเปล่า

เราเห็นไง เราจะบอกว่า มันเป็นความสำนึก ความสำนึกของผู้ที่ใฝ่ดี ความสำนึกของผู้ที่การกระทำ ถ้าเป็นความสำนึกนะ ฉะนั้นบอกว่า มันผิดหรือไม่ผิด สังคมมันใหญ่ไง แต่อย่างที่เราพูดนี่ ผิด ตามตัวอักษร ผิดเลย แต่ทีนี้เพียงแต่ว่าเขาพอใจหรือเปล่า

หลวงตาท่านไม่ให้ ท่านบอกเลยนะ เทวทัต ๔ อย่าง โทรทัศน์ วิดีโอ โทรศัพท์ ท่านบอกพวกนี้ฆ่าพระทั้งนั้นน่ะ ท่านถึงว่าไม่ให้มี ไม่ให้ถือ ไม่ให้มี ถ้าพระอยากปฏิบัติ เขาจะไม่มีของเขา

แต่ถ้าใครจะมีนะ เขาบอกว่ามันจำเป็นนะ มันเข้าเว็บไซต์ได้นะ เอาไว้ดูธรรมะ

เวลามันดีมันก็ว่าเอาไว้ดูธรรมะ เวลามันเสื่อมมันก็ว่าขอดูหน่อย อันนี้ไม่เคยดู พอดูๆ ไปแล้วมันเคยเลย

อันนี้มันอยู่ที่สำนึกของพระ แต่ถ้าผิดแล้วผิดเลย ถ้าสำนึกพระแล้ว ทางโลกเขาเรียกว่าเคร่งไง เขาบอกไอ้นี่เคร่งเกินไป ไอ้นี่ตึงเกินไป เดี๋ยวนี้มันต้องอย่างนี้ๆ...ไอ้นั่นเรื่องของเขา

ฉะนั้น เขียนว่าพระโทรศัพท์หาสีกา เล่นเฟซบุ๊กคุยกับสีกา ผิดศีลหรือเปล่าครับ

ผิด

ถือว่าเป็นการคุยในที่ลับตาหรือเปล่าครับ

ใช่ อันนี้ตามตัวอักษรนะ แต่ถ้ามันเป็นเรื่องธรรม เรื่องธรรมแบบว่า เขามีความจำเป็น เขาเป็นพี่เป็นน้อง เป็นญาติ อันนั้นอีกเรื่องหนึ่ง ก็ไม่รู้ว่าเป็นญาติไม่เป็นญาติ เพราะเราไม่รู้นี่ แต่ถ้าเขารู้ก็อีกเรื่องหนึ่งนะ จบไป

ถาม : เรื่องเมื่อปัญญาแยกแยะอารมณ์ไม่ได้

กราบเท้าหลวงพ่อที่เมตตาเสมอมา ชีวิตฆราวาสในการทำงานแต่ละวันต้องเจอและพบปะผู้คนมากมาย ใจต้องได้รับความกระทบกระเทือนเสมอ ปกติผมกลับมาบ้านและทำสมาธิ เมื่อเริ่มนั่งก็พบว่าในใจว้าวุ่นมาก ผมใช้ปัญญาอบรมสมาธิที่หลวงพ่อสอนในการแก้ปัญหา พยายามจับความคิดแล้วพิจารณาจนไล่วางเรื่องที่ผุดมาทีละเรื่องจนใจสงบทุกๆ วัน โดยพยายามจับว่า ใจเราไปติดกับอะไร ไปให้ค่ากับอะไร ความคิดมันไหลออกมา ถ้าหาเจอแล้วสอนใจให้คลายความยึด มันจะปล่อย แต่หลายครั้งพบว่า ปัญญาไม่สามารถหาเหตุผลและปล่อยวางอารมณ์ลงได้ทุกครั้งไป หลายครั้งรู้ แต่วางไม่ได้ บางครั้งติดหลุมอารมณ์อยู่ถึง ๓-๔ วัน ทำให้ใจหมองและทุกข์เกิดเวทนาทางใจรบกวนตลอดเวลา จึงอยากเรียนถามหลวงพ่อดังนี้

. ในช่วงที่สติและปัญญาไม่คมกล้าพอจะจัดการกับก้อนอารมณ์ จิตใจต้องรับทุกข์จากอารมณ์อันนั้น นอกจากอดทนให้ก้อนอารมณ์นั้นสลายไปเอง สามารถทำอะไรได้บ้าง

. ในการพิจารณาความคิด ผมดูความคิดที่มันไหลออกมา ได้เกิดคำถามขึ้นว่า ความคิดนี้มันมาจากไหน ทำไมมันออกมาได้เรื่อยๆ ผมรู้แต่ว่า ถ้าเผลอไปยึด ไปพอใจหรือไม่พอใจมัน มันก็จะพัฒนาเป็นอารมณ์ทำให้เกิดความทุกข์ใจ แต่ผมไม่เห็นที่มาของมัน มันออกมาจากไหน ผมคิดว่า ถ้าผมสามารถเห็นว่ามันประกอบด้วยอะไร เกิดขึ้นมาได้อย่างไรตลอดทั้งกระบวนการ จะทำให้ผมสามารถควบคุมความคิดและควบคุมทุกข์ได้ อันนี้เป็นความเห็นที่ถูกต้องไหมครับ ควรพิจารณาในประเด็นนี้ต่อไปไหมครับ หรือไม่ควรเพราะจะทำให้เนิ่นช้าต่อการปฏิบัติ กราบขอบพระคุณหลวงพ่อ

ตอบ : เวลานักปฏิบัติจริงๆ จังๆ เราจะเอาความจริงกัน ทีนี้พอเอาความจริงขึ้นมา เวลาปฏิบัติไป ปริยัติ ปริยัติคือการศึกษา ศึกษามาแล้วเราก็ยึดว่าปริยัติเป็นความจริงอย่างนั้น แล้วเราปฏิบัติแล้วเราจะทำความเข้าใจอย่างนั้น นั้นเป็นโลกียปัญญานะ ปัญญาทางนี้เป็นปัญญาทางวิชาการ ทางวิชาการ เราแจ่มแจ้ง เราทำได้หมด เวลาสอบบาลีได้ ๗ ประโยค ๘ ประโยค ๙ ประโยค แปลบาลี แปลต่างๆ เข้าใจ ขยายความ แต่งความได้ทั้งนั้นน่ะ แต่เอาจริงๆ ไม่รู้ ไม่รู้

เพราะมี ๙ ประโยคเคยมาถามหลวงปู่ฝั้น นี่หลวงปู่ฝั้นท่านเล่าให้ฟัง พวก ๙ ประโยคมาถามว่าผมเข้าใจเรื่องธรรมะหมดเลย ผมศึกษาเข้าใจหมดเลยในพระไตรปิฎก แต่ผมปฏิบัติจะให้ผมเริ่มต้นที่ไหน

เพราะเขาศึกษาจนจบแล้ว เขาจบ ๙ ประโยค เขาเข้าใจเรื่องธรรมะแจ่มแจ้งมาก แต่เขาจะปฏิบัติ เขาบอกว่าเขาจะเริ่มต้นอย่างไรดี ทั้งๆ ที่เขาเข้าใจหมดนะ เขาเรียนทุกๆ เรื่องเลย แล้วเขามาถามหลวงปู่ฝั้น บอกว่าเรื่องธรรมะนี่ผมเข้าใจหมดเลย แต่จะให้ผมปฏิบัติอย่างไรล่ะ จะให้ผมปฏิบัติอย่างไร

หลวงปู่ฝั้นก็ตอบ ตอบว่าทุกข์มันอยู่ที่ไหนล่ะ ทุกข์มันอยู่ที่ไหน

เพราะเวลาท่านถามนะ เขาถาม เขาบอกเขารู้หมด รู้ว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนพระสารีบุตรอย่างนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอนพระโมคคัลลานะอย่างนี้ เพราะทางวิชาการเขาจะมีของเขา เขารู้หมดนะ สอนโมฆราช เธอจงสักแต่ว่ารู้ จงสักแต่ว่าเห็น เธออย่าไปยึดมั่นถือมั่นมัน แล้วโมฆราชก็เป็นพระอรหันต์ไป เราก็ศึกษาไง เราก็เข้าใจแล้วก็ศึกษามา พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้ เขาเป็นพระอรหันต์ เราศึกษาจนจบ ๙ ประโยค เราตีความ ขยายความได้หมดเลย แต่ไม่รู้จะปฏิบัติอย่างไร

คนอื่นเขาฟังเป็นพระอรหันต์นะ ในสมัยพุทธกาลที่ฟังพระพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์ แต่เขาจดจารึกขึ้นมาอยู่ในพระไตรปิฎก เราก็ไปศึกษามา พอศึกษามาแล้วรู้ คำสอนสอนให้โมฆราชเป็นพระอรหันต์ เธอจงมองโลกสักว่าเป็นโลก เธอจงมองสรรพสิ่งทั้งโลกนี้เป็นของสักแต่ว่า เป็นสักแต่ว่า อย่าไปยุ่งกับมัน อย่าไปยึดมั่น อย่าไปถือมั่นนี่สอนโมฆราช โมฆราชเป็นพระอรหันต์เลย

เทศน์ธัมมจักฯสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นต้องดับเป็นธรรมดาพระอัญญาโกณฑัญญะเป็นพระโสดาบันเลย

นี่ก็ศึกษามาหมด เขาบอกหลวงปู่ฝั้นไง บอกว่า เขาก็ศึกษาหมด สอนคนนี้ก็ไปอย่างนี้ เขาพูดในทำนองที่ว่ามันไม่เป็นวิทยาศาสตร์ไง ถ้ามันเป็นวิทยาศาสตร์มันต้องสอนอันเดียวกัน แต่นี่สอนคนนี้ก็อย่างหนึ่ง สอนคนนู้นก็อย่างหนึ่ง ทำให้เราศึกษามาเยอะหมดเลย แนวทางปฏิบัติเยอะแยะไปหมดเลย แล้วก็ทำให้เราสับสนนะ อ้าว! แล้วทำอย่างไรล่ะ จะทำอย่างไร...นี่ไง ภาคทฤษฎีเป็นอย่างนี้

แต่ถ้าภาคปฏิบัติไม่เป็นอย่างนั้น ภาคปฏิบัติ จริตนิสัยของคนไม่เหมือนกัน ความชอบของคนไม่เหมือนกัน กิเลสของคนหยาบหนาแตกต่างกัน การทำสมาธิ บางคนก็ทำได้ บางคนก็ทำไม่ได้ ทำสมาธิแล้วบางคนวิปัสสนาได้ บางคนก็ล้มลุกคลุกคลาน มันอยู่ที่วาสนาของคน อยู่ที่วาสนา อยู่ที่บารมี อยู่ที่การสร้างมา แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านอตีตังสญาณ ท่านรู้ ท่านรู้ว่าคนคนนี้เคยทำสิ่งใดมา

จูฬปันถก มหาปันถก พี่ชายเป็นมหาปันถก บอกเป็นพระอรหันต์ ให้ท่องคาถาคำเดียว พระอรหันต์สอนน้อง สอนไม่ได้ สอนไม่ได้ ให้น้องไปสึก

พระพุทธเจ้าไปดักอยู่หน้าวัดเลยจูฬปันถกจะไปไหน

พี่ให้ไปสึก

ทำไมให้ไปสึกล่ะ

ก็ท่องคาถาคำเดียวท่องไม่ได้

อ้าว! มานี่ ไม่ต้องไปสึก เธอบวชเพื่อใคร

บวชเพื่อพระพุทธเจ้า ไม่ได้บวชเพื่อพี่ชาย บวชเพื่อพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

อ้าว! ถ้าบวชเพื่อพระพุทธเจ้า มานี่ เอาผ้าขาวนะ แล้วเธอลูบนะ ผ้าขาวหนอๆ

พอลูบไปๆ ผ้าขาวมันก็ดำ...ปิ๊ง! เป็นพระอรหันต์เลย

แล้วเขาไปถาม ไปถามพระพุทธเจ้าว่าทำไมเป็นอย่างนั้นล่ะ

ท่านบอกว่า ตั้งแต่อดีตชาติ ชาติหนึ่งเคยเป็นกษัตริย์ เวลาขี่รถม้าตรวจพล ตรวจทหาร แล้วเอาผ้าเช็ดหน้าเช็ดหน้า ฝุ่นมันเลอะไง แล้วอันนั้นมันเป็นคติธรรมที่มันฝังใจมา

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอนาคตังสญาณ รู้ รู้ว่าจิตดวงใดสร้างสิ่งใดมา จิตดวงใดมีอำนาจวาสนามากน้อยแค่ไหน คำสอนนั้นน่ะมันจะเข้าไปจี้จุดใจดำ จี้จุดที่กิเลสมันฝังใจ ใครมีกิเลสอะไร ใครยึดมั่นอะไร ใครยึดติดสิ่งใด องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะสอนให้เข้าไปทำลายตรงนั้น

แต่สาวกสาวกะมันไม่มีคุณสมบัติได้ขนาดนั้น ทีนี้ไม่ขนาดนั้น ยิ่งเดี๋ยวนี้เป็นวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ทฤษฎีต้องเป็นทฤษฎี ต้องชัดเจน ฉะนั้น เวลาพระพุทธเจ้าสอนก็เท่ากับพระพุทธเจ้าสอนคนนี้อย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าลำเอียง สอนคนนี้อย่างหนึ่ง สอนคนนี้อย่างหนึ่ง ทำไมพระพุทธเจ้าไม่สอนเป็นอันเดียวกันหมดล่ะ

อันเดียวกันหมดมันก็วิทยาศาสตร์ไง เถรตรงไง มันก็ไม่ได้ไง แต่ถ้ามันเป็นอย่างนั้น นี่เวลาเขาไปถามหลวงปู่ฝั้นว่าผมจบ ๙ ประโยค ผมอยากปฏิบัติ ผมรู้ธรรมะไปหมดเลย แต่ผมไม่รู้ว่าจะปฏิบัติอย่างไร ผมรู้ธรรมะไปหมดเลย ก็ผมศึกษามาหมดแล้ว เข้าใจหมดเลย แล้วจะให้ผมปฏิบัติอย่างไรล่ะ

หลวงปู่ฝั้นท่านบอก ทุกข์อยู่ที่ไหนล่ะ กลับมากำหนดที่ทุกข์ของตัว กลับมาทำความสงบของใจ ถ้าทำความสงบของใจ มันก็ได้ประโยชน์ขึ้นมา

เรายกตัวอย่างนี้ขึ้นมาให้กับปัญหานี้ไง ปัญหาที่ว่า เขาเวลาเขาปฏิบัติไป ไปทำงาน กลับมาถึงบ้านมีความกระทบกระเทือน มีผลกระทบ ทำสมาธิ นั่งสมาธิไป มันมีความวุ่นวาย ถ้าสมาธิ ถ้ามันทัน ถ้าสติปัญญามันทัน มันก็วาง ถ้าสติปัญญาไม่ทัน มันก็ยึด ยึดก้อนอารมณ์ มีแต่ความทุกข์ความยาก

อันนี้มันก็เหมือนที่ว่า จิตใจแข็งแรง จิตใจอ่อนแอ ถ้าจิตใจแข็งแรงใช่ไหม เราดูแลรักษาหัวใจที่ดี หัวใจมันสดชื่น อะไรกระทบมันก็ตกหล่นไปหมด มันไม่เข้ามาสู่ใจ ถ้าจิตใจอ่อนแอนะ ไม่ต้องมากระทบหรอก มันวิ่งไปหาเขาเลย มาเลยๆ มันรับมาหมด

แต่ถ้าจิตใจแข็งแรงนะ มันเป็นปัญหาสังคม ปัญหาสังคมไม่มีวันจบหรอก อารมณ์ของคนมันสูงๆ ต่ำๆ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย อารมณ์ดีก็ แหม! คุยกันนุ่มนวลนะ เวลาเขาโกรธมา เขาระบายใส่เรา โอ๋ย! เจ็บช้ำเลยล่ะ นี่อารมณ์ของคนมันแปรปรวนตลอด ถ้าอารมณ์ของคนมันแปรปรวนตลอด แล้วเราอยู่กับสังคม เราอยู่กับอารมณ์ของคน เราจะให้มันเจอแต่ความพอใจถูกใจทุกคนมันเป็นไปไม่ได้หรอก

ถ้าเป็นไปไม่ได้นะ เราก็รักษาใจเรา ถ้าเรารักษาใจเรา มันมีสติมีปัญญา เวลาอะไรมากระทบ อย่างที่ว่า ไปทำงานกลับมาแล้วมีสิ่งใดมันกระทบกระเทือนมา แล้วมันต้องกำหนดพุทโธ แล้วเวลามันเกิดขึ้นมา ความคิดมันไหลมาตลอดเวลา ความคิดมันมาจากไหน เวลาปฏิบัติจริงๆ มันจะรู้

ถ้าคนที่ทำสมาธิแล้วมีปัญญานะ รูป รส กลิ่น เสียงเป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร ตรงนี้เราเน้นย้ำมาก เพราะเราเคยปฏิบัติมา ถ้าเราไม่ทันตรงนี้นะ เป็นอย่างนี้ มันรุมเร้ามาตลอด แล้วเราไม่รู้ เราไม่รู้หรอก มันรุมเร้ามา ทุกอย่างมันมีรสมีชาติหมด ทุกอย่างเจ็บช้ำน้ำใจไปหมด

แต่ถ้ามีสติปัญญานะ รูป รส กลิ่น เสียง เห็นไหม รูป รส กลิ่น เสียง เสียงก็คือเสียง รูปก็คือรูป รสก็คือรส อ้าว! แล้วทำไมล่ะ

รูป รส กลิ่น เสียง รูปอันวิจิตรมันไม่ใช่กิเลส เสียงเป็นกิเลสไหม เวลาเปิดมา เสียงมันร้องไห้ไหม ถึงเสียงคร่ำครวญอยู่ มันก็เป็นเสียงเฉยๆ มันไม่มีความรู้สึกหรอก แต่เราฟังเขาร้องไห้แล้ว อู้ฮู! สงสาร สงสารมาก ไอ้เสียงนั่นมันรู้ได้ไหม

ดูสิ พญาโศก เวลาเขาเล่นดนตรีพญาโศก เขาเล่นมานี่เสียงมันคร่ำครวญจน โอ้โฮ! แทงใจหมดเลย เสียงนั้นมันเจ็บปวดไหม ไม่หรอก แต่คนฟังเจ็บ คนฟัง โอ้โฮ! ขนลุกเลย คนฟัง เห็นไหม

รูป รส กลิ่น เสียงเป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร

เป็นบ่วง เป็นพวงดอกไม้ ใครมายอนะ โอ้โฮ! พระสงบนี่เก่ง โอ้โฮ! ตูดนี่ลอยเลย ใครไปด่าไอ้หงบนี่รุนแรง โอ้โฮ! จะด่าเขาตอบทันทีเลย

นี่ไง สรรเสริญนินทา สรรเสริญนินทามันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นน่ะ แต่ถ้าเรามีสติปัญญา รูป รส กลิ่น เสียงมันสักแต่ว่า มันสักแต่ว่า เพียงแต่เรายึดมากยึดน้อย ถ้าจิตใจเราดี จิตใจเราดี เราก็เข้าใจ เราก็วางได้ ถ้าจิตใจเราอ่อนแอนะ อู้ฮู! เจ็บช้ำน้ำใจไปกับเขา อู้ฮู! คนนี้น่าสงสาร อู้ฮู! ชีวิตเขาทุกข์มาก อู้ฮู! ไปกับเขาเลย แต่ถ้าบ่วง พวงดอกไม้เป็นบ่วง มันรัดคอ

แต่ถ้าเรามีสติมีปัญญานะ ถ้าทำตรงนี้เป็น มันจะเข้าใจตรงนี้ไง เข้าใจที่ว่าความคิดมันไหลมาตลอด มันไหลไม่มีวันจบวันสิ้นหรอก มันไหลมาตลอด

แต่ที่เขาบอกว่าดูจิตๆ ถ้าดูจิตจนเห็นอาการของจิต ก็เห็นการไหลไง ถ้าจิตเห็นอาการของจิต เห็นการเกิด จบครับ

หลวงปู่ดูลย์สอนไง ดูจิต เห็นไหม จิตส่งออกทั้งหมดเป็นสมุทัย ผลของสมุทัยเป็นทุกข์ จิตเห็นจิตเป็นมรรค ผลของการที่จิตเห็นจิต ผลของจิตเห็นจิตนั่นเป็นนิโรธ

ผลของการที่จิตเห็นจิต ผลของการเห็นความคิด นี่ไง ความคิดที่มันไหลออกมานี่ ความคิดที่มันไหลออกมา มันไหลมาจากไหน ความคิดมันเกิดมาจากไหน ถ้าจิตไม่สงบ ไม่เห็น แล้วจับไม่ได้ด้วย

นี่ไง มหา ๙ ประโยคไปถามหลวงปู่ฝั้นน่ะให้ผมปฏิบัติตรงไหนอ้าว! ก็ปฏิบัติตามตำราไง ท่องเอา ท่องให้รู้เลย ท่องไป ท่องให้รู้...ไม่มีสิทธิ์ แต่ถ้าทำความสงบของใจมันจะสงบเข้ามาได้

ความคิดมันไหลออกมา

มันไหลออกมาตลอด เห็นไหม

ปัญญามันหาเหตุผลไม่ได้ วางอารมณ์ไม่ได้

ถ้าสติปัญญามันทัน มันก็วางอารมณ์ได้ วางอารมณ์บ่อยๆ ครั้งเข้า ทำสมาธิจนมันสงบระงับ ถ้าสงบระงับแล้วตั้งใจให้ดี ถ้าตั้งใจให้ดี จิตเห็นอาการของจิต เห็นการเกิดไง เห็นที่มา เห็นที่การเกิดของความคิด ถ้ามันจับความคิดได้ มันจับได้ ถ้ามันจับได้นะ เพราะความคิดมันมีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ความคิดมันมีขันธ์ ๕ ถ้าไม่มีขันธ์ ๕ เป็นความคิดไม่ได้

แต่ที่ว่าความคิดๆ เราบอกว่า ความคิดมันเป็นนามธรรม ความคิดมันจับต้องอะไรไม่ได้

จับได้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกหลานพระสารีบุตร อารมณ์ความรู้สึกของเธอก็เป็นวัตถุอันหนึ่ง

อารมณ์ความรู้สึกของเธอ อารมณ์นี่จับต้องได้ แล้วแยกแยะได้ ถ้าแยกแยะได้ มันจะเห็นเลย กาย เวทนา จิต ธรรม มันจะรู้จะเห็นของมันตามความเป็นจริง แล้วพอมันเห็นอย่างนั้น มันจับได้ มันแยกแยะได้นะ มันจะไปข้างหน้า แต่ถ้ายังไม่ได้ก็เป็นแบบนี้จับอารมณ์ก็ไม่ได้ มันเกิดเอง

ถ้าเห็นอารมณ์ได้ เขาว่านะ บางทีตกหลุมอารมณ์ถึง ๓-๔ วัน

อันนี้หลวงตาจะสอนบ่อย สอนว่า อย่าไปเสียดายอารมณ์ความรู้สึก สลัดมันทิ้ง คือเปลี่ยนเลยไง

เวลาหลวงตาท่านสอนนะ สมมุติเราไปเจออะไรที่ฝังใจ เราจะหาเหตุหาผล จะเอาชนะหรือจะเอาแพ้กันน่ะ มันชนะแพ้ไม่ไหว ท่านบอกให้เปลี่ยนไป คือเรามาตรึกในธรรมเลย เรามาพุทโธเลย สลัดอันนั้นทิ้งไป อย่าไปหลงตกในหลุมอารมณ์อันนั้น

ถ้าหลงตกในหลุมอารมณ์แล้วพยายามจะคิดพิจารณา เพราะจิตใจเราอ่อนแอไง จิตใจเรากำลังไม่พอไง กลับมาพุทโธซะ พุทโธถึงที่สุดแล้ว เดี๋ยวพอกำลังมันทันนะ ไอ้ที่ว่าหลุมอารมณ์กลายเป็นฟองอากาศ เพราะมันพิจารณา มันปล่อยหมด ถ้าฟองอากาศมันก็ได้

นี่พูดถึงอารัมภบทของเขานะ คำถามนะในช่วงที่สติปัญญามันคมกล้า พอจะจัดการกับก้อนอารมณ์ จิตใจต้องรับทุกข์จากอารมณ์อันนั้น นอกจากอดทนให้ก้อนอารมณ์นั้นสลายไปเอง สามารถทำอย่างไรได้บ้าง

ถ้าก้อนอารมณ์นั้นเอง ก้อนอารมณ์ เพราะมันเป็นอัตตา สิ่งใดที่เกิดขึ้นมา พอเวลาเจ็บช้ำน้ำใจมันก็ยึดไว้

เวลาคนบอกเลย บอกว่าอยากจะมีความสุข แต่ใครนินทาไม่ได้นะ จำแม่น ไอ้เขานินทา ไอ้เขาว่านั่นน่ะเอามาทำร้ายตัวเองตลอดเวลา สิ่งที่เขาติเขาเตียนนี่ชอบ จำแม่นเลย เขาเคยบอกว่าเราเป็นคนดี จำไม่ได้หรอก จำไม่ได้ แต่ถ้าใครติเตียนนี่จำแม่น นี่ไง ก้อนอารมณ์ เราไปยึดมั่นไง

แต่ถ้าเราบอกว่านี่โลกธรรม ๘ เป็นของเก่าแก่ เขาพูดด้วยความไม่เข้าใจก็ได้ เขาจะชมว่าเราดี ถ้าเราไม่ดีจริง มันก็ไม่สมกับคำชมเขา เขาจะติฉินนินทาว่าเราเป็นคนเลว แต่เราไม่ได้เลวอย่างเขา ไอ้นั่นก็คำพูดของคน

นี่ก็เหมือนกัน ที่ว่าถ้าเราไม่มีสติปัญญา เราจะอดทนแก่อารมณ์อย่างนั้น จะมีทางแก้ไขอย่างใด

ถ้าการแก้ไข วางเลย วางเลยนะ วางไว้ เพราะกำลังมันไม่พอ วางแล้วกลับมาพุทโธให้จิตสงบ พอจิตสงบ จะกลับไปหามันไม่เจอแล้ว ไม่มี

ถ้าจิตอ่อนแอ ก้อนอารมณ์นั้นทับถม พอจิตมันสงบแล้ว จิตมีกำลัง จะไปหามัน หาไม่เจอ หาไม่เจอ เพราะหาไม่เจอ เห็นไหม เวลาคนทำความสงบของใจ ถ้าใจมันสงบแล้วนะ จะบอกให้เห็นกาย มันไม่เห็น จิตสงบก็สงบเฉยๆ ไอ้เห็นก็เห็นนิมิตเรื่องอื่น ไปเห็นเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์เลย

เขาต้องการเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง ถ้าจิตสงบแล้วถ้าไปเห็นกาย มันจับกายได้ มันพิจารณากาย ถ้าจับกายไม่ได้ก็จับความรู้สึกให้มันเป็นกาย จับความรู้สึกมันก็เป็นความรู้สึก แล้วพิจารณาแยกแยะไป ถ้าจับความรู้สึกได้มันก็เป็นธรรม อารมณ์ความรู้สึกก็เป็นธรรม แยกแยะ จับ นี่จิตเห็นอาการของจิต

จิตเห็นอาการของจิต จิตเห็นสติปัฏฐาน ๔ เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง จิตเห็นอาการของจิต ถ้าเห็นอาการของจิต เห็นที่เกิดไง

เขาบอกว่าแล้วมันเกิดมาจากไหนล่ะ ความคิดมันเกิดมาจากไหน ความคิดมันเกิดมาจากไหน

เพราะไม่เห็น มันถึงไม่รู้ไง ถ้าคนรู้เห็นมันชัดเจนมาก เวลาถามนะ เอ็งมาจากไหน ก็มาจากพ่อแม่ เรามาจากไหนล่ะ ก็บอกว่า พ่อแม่เราชื่อนี้ เราเกิดมาจากแม่ เกิดมาจากแม่ ก็พูดแบบโลกไง

นี่ก็เหมือนกัน ความคิดมาจากไหน ความคิด ความคิดก็เลื่อนลอย มันไม่มีของมัน มันไม่มีตัวตนของมัน แต่มันให้ผลความทุกข์ไว้

ฉะนั้น นอกจากอดทน คำว่าอดทนเห็นไหม อดทน หลวงตาท่านติมาก ท่านบอกว่า ถ้าเราไม่ใช้ปัญญา เวลาพิจารณาไป หลวงตาท่านพิจารณาของท่าน พิจารณาเวทนานะ แล้วท่านเหนื่อยมาก ท่านก็ทนไว้อย่างนี้ พอดีหลวงปู่มั่นท่านส่งจิตมาดูไง แล้วพอหลวงตาไปทำข้อวัตรมหา มหาพิจารณาอย่างไร พิจารณาอย่างนั้นเหมือนหมากัดกัน

หมากัดกัน เวลากัดกันแล้วมันไม่ปล่อย กรามมันล็อกอยู่อย่างนั้นน่ะ อดทนก็ทนอย่างนี้ การอดทนนี่นะ อดทนเป็นขันติธรรม ถ้าเราจะเอาความมั่นคงของเรา เราอดทนไว้ แต่เวลาพิจารณามันต้องใช้ปัญญา ถ้าใช้ปัญญา มันต่อสู้กัน ใช้ปัญญา เหนื่อยมาก เหนื่อยมาก

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าอดทนเฉยๆ นะ ถ้าเราไม่มีปัญญานะ เห็นไหม ทำเหมือนหมากัดกัน หลวงปู่มั่นท่านก็ติ ทุกคนก็ติ

ฉะนั้น การอดทนไว้ ถ้าเราทำอะไรไม่ได้เลย การอดทนนี้ก็เป็นขันติธรรม อดทนแล้วถูไถไป แต่ความจริงแล้วต้องใช้ปัญญา

วาง คือไม่ต้องไปเสียดายอารมณ์ ไม่ต้องเสียดายหลุมอารมณ์นี้ ไม่ต้องไปเสียดายมัน เพราะเดี๋ยวมันก็เกิดอีก ทีนี้เราคิดว่าอันนี้มันเป็นสมบัติ เหมือนกับเป็นสมบัติของเรา แล้วเราทิ้งไป เดี๋ยวมันจะไม่มีไง ก็จะเอามาถนอมไว้ๆ

เนื้อร้าย ถนอมไว้ได้ไหมล่ะ เขามีแต่ตัดทิ้ง เขาตัดแล้วโยนทิ้งเลย อารมณ์ที่มันเป็นโทษ ทิ้งมันไปเลย แล้วเดี๋ยวถ้าเราพิจารณา จิตสงบแล้วนะ ถ้าเราจับได้ มันจะเป็นเนื้อร้ายเนื้อไม่ร้ายต้องเข้าห้องแล็บ อารมณ์ความรู้สึกเป็นโทษหรือเป็นคุณ ต้องเข้าห้องแล็บแล้วพิจารณา เดี๋ยวมันจะเป็นประโยชน์ตรงนั้น ถ้าเป็นประโยชน์ตรงนั้น

มันจะแก้ได้อย่างไรว่าสามารถทำอย่างไรได้บ้าง

ร้อยแปดเลย ถ้าคนทำงานเป็นแล้วมันพลิกแพลงได้ทั้งนั้นน่ะ แต่ตอนนี้เรากลัวผิด หนึ่ง แล้วการปฏิบัติเริ่มต้นมันก็กลัวผิดพลาด มันก็ย้ำคิดย้ำทำอยู่อย่างนั้นน่ะ...ต้องหาอุบาย หาอุบายพลิกแพลงตลอดเวลา นี่ข้อที่ ๑

. ในการพิจารณาความคิด ผมดูความคิดที่มันไหลออกมา ได้เกิดคำถามขึ้นมาว่า ความคิดนี้มันมาจากไหน ทำไมมันไหลออกมาได้เรื่อยๆ ผมรู้แต่ว่า ถ้าเผลอไปยึด ไม่พอใจหรือพอใจมัน มันก็จะพัฒนาเป็นอารมณ์ที่ทำให้เกิดความทุกข์ แต่ผมไม่เห็นว่ามันออกมาจากไหน

คำถามอย่างนี้มันฟ้องถึงวุฒิภาวะของผู้ปฏิบัติ ถ้าผู้ปฏิบัตินะ ถ้าเขาเห็นกายนะ เห็นกาย จิตมันเห็น มันรู้ว่ามันมาจากไหน มันมาจากสมาธิ

แต่ถ้าจิตมันเห็นความคิดนะ มันจับความคิดได้ ความคิดมาจากไหน ความคิดมาจากจิต ถ้าจิตเห็นอาการของจิต ความคิดนี้เป็นอาการของจิต ความคิดนี้เป็นเงา เวลาคนยืนอยู่ มีแสง มันจะมีเงา ถ้าไม่มีแสง จะไม่มีเงา ถ้าไม่มีจิต มันจะมีเงาได้ไหม สมมุติไม่มีจิต ไม่มีตัวตน มีแสง ก็ไม่มีเงา ถ้าไม่มีตัวตนอยู่

ฉะนั้น ถ้ามีตัวตนอยู่ เวลามันมีแสง มันก็มีเงา มันมีจิตอยู่ มันก็มีความคิด แล้วความคิดมันเกิดจากไหนล่ะ

นี่ความคิดเกิดดับ เขาบอกความคิดมันเกิดดับ ทุกอย่างมันเกิดดับ

เกิดดับมันก็เป็นเงา ไม่ใช่ตัวอัตตา ไม่ใช่ตัวกิเลส แบบว่ามันตีกลับได้ไง แล้วมันพิจารณาแยกแยะได้ ถ้ามันเป็นเงาก็เป็นอาการ เป็นอาการ ถ้าจับอาการได้ก็เป็นอาการ แล้วความคิดมาจากไหน

พิจารณาซ้ำๆ ความคิดมาจากจิต แต่เพราะเราว่าไม่มีสติปัญญาจับต้องได้ จับความคิดสิ จับความคิดไว้แล้วแยกแยะอย่างที่ว่า แยกแยะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันประกอบไปด้วยรูป มันเกิดพอใจไม่พอใจ มันเกิดข้อมูลถึงมีความคิด มันเกิดสังขารปรุงแต่ง มันถึงคิดต่อเนื่อง แล้วมันเกิดวิญญาณรับรู้ เพราะมันรับรู้มันถึงมีความคิด ไม่รับรู้จะมีความคิดได้อย่างไร ถ้ามีความคิด มันต้องมีขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ สมบูรณ์มันถึงเป็นอารมณ์ มันถึงเป็นความคิด

ความคิดพิจารณาแยกแยะไป ถ้าจับแยกแยะ พอแยกแยะไป มันปล่อย ปล่อยแล้วเหลืออะไร นี่พอมันเหลืออะไร มันจะรู้ตรงนั้นไง เพราะเหลือไอ้นั่น ก็เกิดจากตรงนั้นไง มันจะรู้มันจะเห็นของมัน ถ้าพิจารณาตรงนั้นได้ มันจะเป็นประโยชน์ตรงนั้น ถ้าเป็นประโยชน์ตรงนั้น มันจะชัดเจน ถ้าเราทำของเราได้นะ

ฉะนั้น เขาบอกว่าความคิดมันมาจากไหน มันออกมาได้เรื่อยๆ

มันออกมาเรื่อยๆ ออกมาจนเราเหนื่อยนะ เหนื่อยมาก ถ้าจับแล้วพิจารณานะ ถ้าโดยมรรค มันจะปล่อย โอ้โฮ! โล่ง ว่างไปหมดเลย เดี๋ยวก็คิดอีก จับ พิจารณาไปซ้ำๆ ถ้ากำลังพอมันก็ปล่อย ถ้ากำลังไม่พอมันก็ยื้อกันอย่างนี้

วาง กลับไปที่ความสงบ แล้วจับต้องใหม่ พอสงบแล้ว กลับมาพิจารณาใหม่ พิจารณาซ้ำๆ ซากๆ

ทีนี้เพียงแต่ว่า เพราะโยมต้องทำหน้าที่การงาน การปฏิบัติมันถึงไม่ค่อยต่อเนื่อง แล้วปฏิบัติต่อเนื่อง จะปฏิบัติอย่างเดียวก็ไม่ได้เพราะเรามีงาน

อ้าว! ถ้ามีงานแล้วทำงานให้จบ ทำงานให้จบแล้วอย่ากังวล เวลาไปทำงาน ทำงานให้เต็มที่เลย ทำงานโดยความรับผิดชอบ กลับบ้าน จบแล้วมาปฏิบัติ เราค่อยมาพิจารณาของเรา เอาจริงเอาจังเลย แล้วพอเอาจริงจบแล้ว เราก็กลับไปทำงาน แบ่งให้มันชัดเจน ทำของมันอย่างนี้ให้มันดีขึ้นมา

เขาบอกว่าแต่ผมไม่เห็นว่ามันออกมาจากไหน

ถ้าคำอย่างนี้มันฟ้อง มันฟ้องถึงนักปฏิบัติ ถ้าผมไม่เห็นว่ามันมาจากไหน ก็ไม่รู้จักสมุฏฐานของโรค ไม่รู้จักที่มาที่ไป แล้วเราจะแก้ไขได้อย่างไร นักปฏิบัติเขาจะเห็นเลย เห็นเป็นไตรลักษณ์ แล้วมันดับไปแล้ว ดับไปอยู่ที่ไหน แล้วเหลืออะไร แล้วเกิดใหม่ เกิดอย่างไร นี่มันชัดเจน ต้องชัดเจนแบบนี้มันถึงจะชัดเจน แล้วชัดเจนมาก ทำต่อเนื่องไป

ฉะนั้น เขาบอกว่าผมมีความคิด ถ้าผมสามารถเห็นว่ามันประกอบไปด้วยอะไร

ตรงนี้มันเป็นผล ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ เพราะมีเหตุ เราพิจารณาแล้วมันถึงมีผล

ผมคิดว่า ถ้าผมสามารถเห็นว่ามันประกอบไปด้วยอะไร เกิดขึ้นมาได้อย่างไรตลอดทั้งกระบวนการ จะทำให้ผมสามารถควบคุมความคิด และควบคุมทุกข์ได้

ถ้ามันพิจารณาไปแล้ว เวลามันสำรอก มันปล่อยวางได้ พอมันปล่อยวางได้ มันจบหมด เห็นไหม ไม่ใช่ควบคุม มันทำลาย พอทำลายไปแล้ว ทำลายขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ทุกข์ ทุกข์ไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ถ้าขันธ์ ๕ มันทำลาย สักกายทิฏฐิ ๒๐ มันก็หลุดไป แล้วทุกข์มันจะไปไหนล่ะ ในเมื่อมันไม่มีเหตุ ทุกข์มันก็ไม่มี แต่นี้เพราะมันมีเหตุ ทุกข์มันถึงเหยียบย่ำไง

ทีนี้พอเราไปเหยียบย่ำ เราจะบอกว่า ค่อยๆ ทำไป ค่อยๆ ทำนะ ค่อยๆ ทำ ถ้ามันรู้เหตุรู้ผล ก็การพิจารณาด้วยปัญญามันจะรู้เหตุรู้ผล ถ้ามันจับอารมณ์ความรู้สึก เวลามันพิจารณาไป รูปประกอบไปด้วยอะไร เวทนาประกอบไปด้วยอะไร สัญญาประกอบไปด้วยอะไร สังขารประกอบไปด้วยอะไร วิญญาณประกอบไปด้วยอะไร พิจารณาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วถ้ามันพิจารณาขันธ์ ๕ หมดแล้ว มันเข้าใจหมดแล้ว มันปล่อยหมดแล้ว มันยังมีอารมณ์ความรู้สึกอีก ก็จับในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ในขันธ์ ๕ ในรูปมันก็มีขันธ์ ๕ ในเวทนาก็มีขันธ์ ๕ ในสัญญาก็มี โอ๋ย! มันต้องทำต่อเนื่องตามเข้าไปอีก พอตามเข้าไป มันพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆ การทำซ้ำแล้วซ้ำเล่ามันจะเข้าใจ มันจะสนุกนะ

เวลาภาวนานี่นะ เวลาใช้ปัญญาไปแล้วมันจะแยกแยะ มันจะพิจารณาของมันไป มันจะก้าวเดินของมันไป ถ้าบอกว่า มันเป็นการหนักหนา มันเป็นการเหนื่อยยากมาก มันก็ใช่ เวลาภาวนา เวลาถ้าใช้ปัญญาไปแล้วมันจะต่อสู้กัน มันจะหนักสาหัสสากรรจ์ ทุ่มเทมาก ต้องทุ่มเทเต็มที่

พอทุ่มเทเต็มที่ไปมันก็เหนื่อยมาก พอเหนื่อยขึ้นมา พอพิจารณาไปแล้วพอมันปล่อยวางก็คิดว่าสิ่งนั้นเป็นผลๆ...ยังไม่ใช่ ต่อเนื่องไป

เพราะเวลาครูบาอาจารย์ท่านปฏิบัติมา ท่านจะรู้ของท่านเป็นสเต็ป เป็นสเต็ปขึ้นมา เป็นชั้นๆ ขึ้นมาเลย ปุถุชน กัลยาณปุถุชน โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ แล้วระหว่างในโสดาปัตติมรรค อู้ฮู! กว่ามันจะเป็นโสดาปัตติผล มันสู้กันเกือบเป็นเกือบตาย ระหว่างสกิทาคามิมรรค กว่ามันจะจบสิ้นมันก็ต้องเต็มที่ ในอนาคามิมรรค อู้ฮู! มันเป็นน้ำป่า มันเป็นมหาสติ มหาปัญญา มันต้องต่อสู้กันสุดๆ เลย แล้วยิ่งอรหัตตมรรคด้วย

ฉะนั้น ไอ้ที่พูดนี่พูดให้เห็นว่า ไอ้ที่ทำมันยังอนุบาลอยู่เลย มันยังเริ่มต้น ฉะนั้น เริ่มต้นแล้ว สิ่งที่ถามมา คำถามมันจะฟ้องถึงวุฒิภาวะของใจว่า ใจรู้ได้ระดับไหน ความเป็นจริงระดับไหน

ฉะนั้น เวลาถามไปหลวงพ่อ หลวงพ่อฟังให้จบก่อนสิ ยังไม่ทันไรหลวงพ่อตอบทุกทีเลย หลวงพ่อฟังให้จบก่อน

ก็ฟังอย่างนี้มา ฟังอย่างนี้มาเป็นหลายๆ ล้านครั้งแล้ว มันรู้ ฉะนั้น เห็นใจไง เห็นใจ ให้ขยันหมั่นเพียร เพียงแต่อธิบายมาตั้งแต่ต้น ถ้าว่าความคิดมันมาจากไหน ถ้าจับความคิดได้แล้ว จับความคิดแล้วก็แยกแยะมัน ถ้าแยกแยะได้นั่นคือใช้ปัญญา แยกแยะไม่ได้ก็ปล่อย ปล่อยเลย ปล่อยความคิดเลย แล้วกลับมาพุทโธ กลับมาทำความสงบของใจ ถ้าใจสงบแล้วกลับไปจับใหม่ พิจารณาซ้ำๆ อย่างนี้เข้าไป มันจะพัฒนาขึ้นไป แล้วไอ้คำถามที่ถามๆ มานี่นะ มันจะแยกแยะหมดเลย มันจะเข้าใจหมดเลย แล้วมันจะปล่อยวางตามความเป็นจริงเลย อันนั้นเป็นสมบัติของการภาวนา

นี่เขาบอกว่าเมื่อปัญญาแยกแยะอารมณ์ไม่ได้

เมื่อปัญญาแยกแยะอารมณ์ไม่ได้ เพราะว่ากำลังมันอ่อน เพราะว่าความรอบคอบเราอ่อนแอ แต่ถ้าเราทำสมาธิ เรามีกำลังขึ้นมา พอมีกำลังขึ้นมาแล้วจิตใจเข้มแข็ง จิตใจมีกำลังแล้วใช้ปัญญาเป็นภาวนามยปัญญา มันจะแยกแยะได้ แยกแยะอารมณ์ก็ได้ แยกแยะกายก็ได้ แยกแยะจิตก็ได้ แยกแยะธรรมก็ได้ แยกแยะด้วยศีล สมาธิ ปัญญา มันก็เกิดเป็นธรรมจักร พอธรรมจักรก็เป็นทางอันเอก เป็นมัคโค เป็นทางก้าวเดินของจิต จิตมันก้าวเดินอย่างนั้น นี่ฝ่ายปฏิบัตินะ

ทำนี่ถูกต้องแล้วแหละ เพียงแต่ว่า ทำหน้าที่การงาน ๒ อย่าง อย่างหนึ่งคือทางโลก ทำหน้าที่การงานของโลก แล้วเอาเวลามาปฏิบัติเป็นเฉพาะเรามีโอกาสเท่านั้น ถ้าอย่างนี้แล้วเราทำของเราเพื่อเป็นสมบัติ สมบัติโลก สมบัติธรรม ทำของเราไป ทำของเราไป ทำได้เท่าที่จะมีความสามารถ

แต่เราอธิบายนี้เราอธิบายถึงว่า ความเป็นไปมันจะเป็นแบบนี้ ถ้ามันเป็นแบบนี้ ทำต่อเนื่องไป ทำเพื่อให้กำลังใจผู้ปฏิบัติ ปฏิบัติแล้วใครได้มรรคได้ผลขนาดไหนก็เป็นสมบัติของคนคนนั้น เอวัง