หลอกให้ทำ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
เทศน์บนศาลา วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๗
ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
ตั้งใจฟังธรรมะ ฟังธรรมนะ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้รื้อค้นขึ้นมา รื้อค้นขึ้นมานะ ว่าธรรมะมีอยู่โดยดั้งเดิม ธรรมะมีอยู่โดยดั้งเดิม อยู่ที่ไหน เวลาธรรมะมีอยู่โดยดั้งเดิม ดั้งเดิมของใคร
แต่เวลาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทดสอบ ได้ขุดค้นขึ้นมาจากในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง การขุดค้นขึ้นมาด้วยอำนาจวาสนาบารมี ด้วยอำนาจวาสนาบารมีนะ เพราะว่ายังไม่มีผู้รู้จริงในสมัยนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปทดสอบ เห็นไหม เวลาไปทดสอบ อยากจะประพฤติปฏิบัติ อยากค้นคว้า อยากพ้นจากทุกข์
เวลาจะพ้นจากทุกข์นะ เห็นไหม เป็นเจ้าชายสิทธัตถะ มีครอบครัวมีทุกอย่างพร้อม แต่ในเมื่อต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ สิ่งที่เวียนว่ายตายเกิดอยู่นี้ เราต้องเป็นเช่นนี้ใช่ไหม เราต้องเป็นเช่นนี้ใช่ไหม เพราะได้สร้างสมบุญญาธิการมา เราไม่ต้องการเป็นเช่นนี้ ถ้าเราไม่ต้องการเป็นเช่นนี้ มันต้องมีฝั่งตรงข้ามว่า การไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย
การไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย มันจะเกิดที่ไหนล่ะ
ถ้าไม่มีการเกิดมา ไม่มีคนเกิดมามันก็ไม่มีการตาย แต่นั่นมันเป็นเรื่องของวัฏฏะ มันเป็นเรื่องของกามภพ รูปภพ อรูปภพ มันเป็นเรื่องของการเวียนว่ายตายเกิด แต่ของเราล่ะ ของเรา ในเมื่อมีการเกิด เราเกิดมาของเราเอง เราเกิดออกมา เราเกิดมาเพราะอะไร เพราะเรามีบุญกุศลเราถึงได้เกิดมา ถ้าเราไม่มีบุญกุศลมันก็เวียนว่ายตายเกิดอย่างนั้น แต่เวียนว่ายตายเกิดในสถานะสิ่งใดล่ะ
สิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสรู้ขึ้นมา สิ่งนี้เขาก็เชื่อถือกัน เพราะพราหมณ์เขาก็เชื่อของเขาอย่างนั้น ถ้าพราหมณ์เขาเชื่อของเขาอย่างนั้น แล้วถึงที่สุดแห่งทุกข์อย่างไรล่ะ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปศึกษากับเขา เห็นไหม
ฟังธรรมๆ ฟังเพราะเหตุนี้ไง เพราะฟังธรรม เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารื้อค้นขึ้นมา เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกข์ยากมาก่อน การทุกข์ยากมา ๖ ปี การทุกข์ยากมาขนาดไหน ปฏิบัติมา ถ้ามันไม่ใช่สัจจะไม่ใช่ความจริง เพราะเราไปค้นคว้าเองใช่ไหม เราเป็นคนสงสัยเอง เวลาเห็นคนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย เพราะว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ที่มีอำนาจวาสนาบารมี พระเจ้าสุทโธทนะพยายามรักษาไว้เพื่อจะให้เป็นกษัตริย์ จะเป็นเป็นจักรพรรดิ จะรวบรวมแว่นแคว้นขึ้นมาให้เป็นประเทศเดียว นี่เป็นแว่นแคว้น เป็นกษัตริย์ เห็นไหม เขาทะนุถนอมมาขนาดไหน
จนไปเที่ยวสวน ไปเห็นคนเกิด คนแก่ คนเจ็บ คนตาย เราต้องเป็นเช่นนี้ด้วยหรือ เราต้องเป็นเช่นนี้ด้วยหรือ เห็นไหม ขณะนั้นพระพุทธศาสนายังไม่มี ยังไม่มี องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระโพธิสัตว์ แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรารถนา ปรารถนาเพราะสร้างบุญญาธิการมามหาศาล เขาจะเลี้ยงดูขนาดไหน เกลี้ยกล่อมไว้ขนาดไหน เพื่อความมั่นคงของโลก ที่ว่าโลกเจริญๆ ไง แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่เห็นสิ่งนั้นเป็นคุณค่า เห็นแก่ชีวิตไง เห็นแก่ชีวิต เห็นไหม เวลาเป็นพระเวสสันดรก็ว่าเห็นแก่ตัว สละลูก กัณหา ชาลี สละนางมัทรีไป เขาว่าเห็นแก่ตัว
เห็นแก่ตัวอย่างไร ในเมื่อการสละอย่างนั้นมันสะเทือนหัวใจ ของรักของหวงใครก็หวงทั้งนั้นน่ะ ของรักของหวง เราก็รักษาไว้ทั้งนั้นน่ะ แต่ในเมื่อเขาขออย่างนั้น มันเป็นผลของวัฏฏะ เพราะสร้างบุญกุศลมา พระเทวทัตๆ สร้างกุศลมาอย่างใด เขาก็สร้างของเขามา เขาเกิดมาเป็นชูชก เขาก็มาขอของเขา นี่ผลของวัฏฏะไง มันมีเวรมีกรรมต่อกันมาไง
แต่มันสะเทือนหัวใจไหมล่ะ ว่าเห็นแก่ตัวๆ เห็นแก่ตัวอย่างไร มันเจ็บปวดขนาดไหน คนที่เป็นพ่อที่มีความเป็นสุภาพบุรุษ เป็นผู้ที่รับผิดชอบมหาศาล แต่ต้องควักหัวใจให้เขา ต้องควักหัวใจให้เขาไปมันทุกข์ขนาดไหน
นี่ไง ว่าเห็นแก่ตัวไง คนเรา เราดูแต่วัตถุไง เราไม่ได้ดูถึงหัวใจ ไม่ได้ดูถึงความรู้สึกไง นี่ก็เหมือนกัน เวลามาเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะก็ว่าเห็นแก่ตัวอีกล่ะ
ถ้าไม่ออกค้นคว้า ไม่ออกแสวงหา มันจะเอาสิ่งใดมาเป็นประโยชน์ ในเมื่อเรายังไม่มีจะเอาสิ่งใดมาเป็นประโยชน์ ทุกคนก็ไม่มี ทุกคนก็ทุกข์ร้อนกันไปทั้งนั้นน่ะ มันก็ผลของวัฏฏะ มันก็เวียนว่ายตายเกิดไปตามแรงขับของกรรม กรรมดีก็ว่าดี กรรมชั่วมันก็ให้ผลเป็นความทุกข์ทั้งนั้นน่ะ ออกไปค้นคว้าด้วยความเป็นบุรุษอาชาไนย ไปค้นคว้าสิ่งนี้มา ไปค้นคว้าสิ่งนี้ พอได้สิ่งนี้มา สิ่งที่เป็นสัจธรรม เวลาค้นคว้ามาแล้วปรารถนามารื้อสัตว์ขนสัตว์ ความปรารถนามารื้อสัตว์ขนสัตว์ก็วางธรรมวินัย วางธรรมวินัยคือสั่งสอนไง
เวลาไปเทศน์ปัญจวัคคีย์ ท่านเทศน์รื้อสัตว์ขนสัตว์ครั้งแรกได้มา ๕ องค์ เวลาไปเทศน์ยสะ ได้มาอีก ๕๔ องค์ ได้มารื้อสัตว์ขนสัตว์ รื้อสัตว์ขนสัตว์ตรงนี้ไง นี่ถ้ารื้อสัตว์ขนสัตว์ตามความเป็นจริง เห็นไหม
ทำความเป็นจริง ได้ผลตามความเป็นจริง เพราะมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เป็นผู้ที่ชำระล้างกิเลสได้เป็นองค์แรก เป็นไก่ตัวแรกที่เจาะฟองอวิชชาออกมา เป็นผู้ที่เสวยวิมุตติสุข มีความสุข เห็นไหม
นี่มีความทุกข์ความยาก เวลาเป็นเจ้าชายสิทธัตถะจะออกจากราชวัง ก็ทิ้งอีก สามเณรราหุล นางพิมพา นี่ทิ้งมาอีก กว่าจะออกไปแสวงหามันเจ็บช้ำขนาดไหน เวลามันสะเทือนหัวใจมันสะเทือนขนาดไหน ผลของวัฏฏะมันทุกข์ยาก มันบีบคั้น กิเลสมันบีบคั้นอยู่อย่างนี้ แล้วเราก็ไม่อยากเกิดแก่เจ็บตายอีก ทำอย่างใด
ออกไปค้นคว้า ไปทุกข์ยาก ๖ ปี ไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ ทำทุกรกิริยา ทุกวิธีการที่โลกเขาทำกัน แล้วทำมากกว่าเขาด้วย สุดท้ายแล้ว ดูสิ อุทกดาบส อาฬารดาบสก็รับประกันด้วยว่า มีความรู้เสมอเรา มีความเห็นเหมือนเรา ให้เป็นอาจารย์สอนได้ๆ แต่หัวใจเวลามันละมา มันทิ้งมามันเจ็บช้ำอย่างไร มันเจ็บปวดขนาดไหน
คำว่า เจ็บปวด กิเลสมันบีบคั้น กิเลสมันบีบคั้นหัวใจทุกคนเจ็บปวดทั้งนั้นน่ะ แล้วออกมาแสวงหามันก็ยังละล้าละลัง ยังสงสัยอยู่ ยังเป็นไปไม่ได้ในใจอันนั้น แล้วเขาก็ปฏิญาณตนกันอยู่ว่าเขาเป็นอาจารย์ๆ เป็นผู้สั่งสอน ก็ไปเรียนมากับเขา ไปเรียนมากับเขาแล้วมันไม่ใช่ทางๆ พอไม่ใช่ทาง เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะมารื้อค้นด้วยตัวขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง บุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ มันทำลาย มันเห็นชัดๆ มันเห็นชัดๆ ในหัวใจนี้
เวลากิเลสมันบีบคั้นมันก็บีบคั้น พญามารมันบีบคั้นอยู่ เวลาลมหายใจเข้าลมหายใจออก อานาปานสติ เวลาจิตมันสงบเข้ามา จิตสงบเข้ามามันเป็นเรื่องส่วนตัวของเราแล้วนะ มันเป็นเรื่องภายใน เป็นเรื่องหัวใจ ปฏิสนธิจิตที่เวียนว่ายตายเกิด มันเข้ามาเรื่องส่วนตัวของเราแล้ว พอเข้ามาเรื่องส่วนตัวของเรา ดูสิ ที่มันลึกซึ้งเข้าไป บุพเพนิวาสานุสติญาณ จิตนี้เคยเกิดเป็นพระเวสสันดร ย้อนกลับไปแล้ว ถ้าย้อนกลับไป
ชาติปัจจุบันก็เป็นเจ้าชายสิทธัตถะ เพิ่งออกมาจากพระราชวังมา ๖ ปีไง สามเณรราหุลกับนางพิมพาอยู่ที่พระราชวัง นี่พูดถึงในชาติปัจจุบันใครก็คิดได้ พูดได้ เราก็รู้ได้ใช่ไหม เพราะเป็นเรื่องชีวิตของเราเอง แต่เวลามันย้อนอดีตชาติไปล่ะ มันย้อนไป บุพเพนิวาสานุสติญาณ ย้อนไปๆ มันไม่จบ มันเป็นเรื่องของใครล่ะ มันก็เป็นเรื่องของจิต ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้สร้างสมบุญญาธิการมาเป็นพระโพธิสัตว์มา ถ้ามันไม่จบล่ะ มันไม่จบ จุตูปปาตญาณ มันก็ไปของมัน มันต้องเกิดแน่นอน แล้วใครเห็นล่ะ
โลกเขาก็วิตกวิจารณ์กัน โลกเขาก็วิเคราะห์วิจัยกัน นั่นเป็นเรื่องของโลกเขา เรื่องของโลกก็ศึกษาเรื่องคนอื่นไง ศึกษาเรื่องสัจจะไง ศึกษาเรื่องสาธารณะไง แต่ไม่ได้ศึกษาเรื่องใจของตัวไง ถ้ามาศึกษาเรื่องของใจของตัว มันก็ไปเกิดอีก รู้ด้วยเฉพาะตน ดึงกลับมาๆ เวลาเกิดอาสวักขยญาณทำลายอวิชชา ถ้าทำลายอวิชชาไปแล้วนี่จบ มันจบแล้ว เพราะมันเรื่องส่วนตัว มันเรื่องในหัวใจ เรื่องของเรา แล้วเราทำของเรา
ดูสิ อุทกดาบส อาฬารดาบสเขารับประกันไว้แล้ว รับประกันไว้แล้ว เป็นอาจารย์เหมือนเรา สอนเหมือนเรา แต่สมาบัติมันก็เท่านั้นน่ะ รู้ๆ อยู่ รู้ๆ อยู่ เพราะเคยทุกข์เคยยากมา จิตนี้เคยสร้างบุญกุศลมา ทำดีก็ทำมา ทำความผิดพลาดก็ทำมา แต่เวลาจะปฏิบัติด้วยสัจจะความจริง ชำระล้าง ชำระล้างอวิชชาทั้งหมด
อวิชชาคืออะไร? อวิชชาคือความไม่รู้ สิ่งที่ไม่รู้ มันมืดบอด มันจะรู้ได้อย่างไร นี่ไง เข้าฌานสมาบัติมารู้อะไรล่ะ เป็นสมาธิรู้หรือเปล่าว่าเป็นสมาธิ ไม่เป็นสมาธิรู้หรือเปล่าว่าไม่เป็นเป็นสมาธิ ถ้าเข้าฌานสมาบัติมามันเป็นของมัน แล้วปัญญาอยู่ไหนล่ะ แล้วมันหูตาสว่างขึ้นมาไหมล่ะ มันก็ไม่หูตาสว่างขึ้นมา
ย้อนกลับมา ดูสิ มรรคญาณๆ สิ่งที่อาสวักขยญาณทำลายอวิชชา ความไม่รู้ไง ทำลายอวิชชาคือความไม่รู้ตัวตนไง ทำลายอวิชชาก็ทำลายพญามารไง เจ้าวัฏจักรที่มันยังครอบหัวใจนี้ เพราะมันมืดบอดอย่างนี้มันถึงเวียนว่ายตายเกิดไง เห็นไหม
เราต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย ด้วยหรือ ถ้าเราต้องเกิด ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย มันก็ต้องมีฝั่งตรงข้ามที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตายสิ แล้วอะไรจะทำให้ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตายล่ะ
ก็พูดแต่ปากใช่ไหม มันเป็นโวหารใช่ไหม ลิ้นสองแฉกก็ว่ากันไปอย่างนั้นใช่ไหม อย่างนั้นมันจะแก้กิเลสได้ไหม อ้าว! ศึกษามาก็ศึกษามาอย่างนี้ ธรรมของพระพุทธเจ้าก็วางไว้อย่างนี้ ก็ศึกษามา แล้วมันได้อะไรล่ะ
เขาศึกษามา เขาศึกษามาให้ปฏิบัติ เวลาศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศึกษามาก็ศึกษามาเป็นวิชาการ ไม่ใช่ทางโลก วิชาชีพเขาเอาไว้ทำมาหากิน อันนี้เขาศึกษามาเพื่อปฏิบัติ ศึกษามาเพื่อชำระล้างกิเลส ถ้ามันศึกษามันจะชำระล้างกิเลส กิเลสมันอยู่ที่ไหนล่ะ แล้วเวลามันครอบงำหัวใจ หัวใจเวียนว่ายตายเกิดอย่างไรล่ะ
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตีแผ่ ได้ชำระล้างแล้วถึงได้เสวยวิมุตติสุขไง แล้วรื้อสัตว์ขนสัตว์ มาเทศนาว่าการ เทศนาว่าการสั่งสอนคืออบรมสั่งสอน เทศนาว่าการคืออบรมสั่งสอน ได้ภิกษุมา ๖๐ องค์ ทั้งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็น ๖๑ เธอทั้งหลายพ้นจากบ่วงที่เป็นโลกและเป็นทิพย์
พ้นจากบ่วงที่เป็นโลก เป็นโลกที่คำสรรเสริญเยินยอ ลาภสักการะ ไอ้เรื่องสรรเสริญนี้เรื่องการประชาสัมพันธ์ เรื่องผลประโยชน์ นี่พ้นจากบ่วงที่เป็นโลก ของโลกๆ โลกเขาแสวงหากัน เขาแสวงหาสิ่งนี้ เขาอยากให้มีการยอมรับ นี่บ่วงที่เป็นโลก
บ่วงที่เป็นทิพย์ สิ่งที่เป็นคุณธรรม สิ่งที่เป็นทิพย์ เห็นไหม ครูบาอาจารย์ของเราเวลาปฏิบัติอยู่ในป่านะ เวลาอดอาหารมา เทวดาเอาอาหารทิพย์มา อาหารทิพย์จะมาไล้ให้เข้าทางผิวหนัง
ไม่ได้ ไม่ได้
บ่วงที่เป็นทิพย์ ของที่เป็นทิพย์ไม่มีใครรู้ เทวดาบอกว่า เพราะเทวดานี้เป็นคู่ครอง บอกว่า ไม่มีใครเห็นหรอก
ไม่มีใครเห็นก็ไม่ได้ เพราะพระรู้ พระรับไม่ได้
นี่บ่วงที่เป็นโลกและบ่วงที่เป็นทิพย์ พ้นหมดแล้ว สิ่งนี้เป็นความจริง สิ่งที่เป็นความจริง เวลาที่ไม่จริงก็รู้ว่าไม่จริง เวลาจริงขึ้นมามันก็เป็นจริงขึ้นมา เห็นไหม สิ่งที่เป็นจริงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารื้อสัตว์ขนสัตว์ รื้อสัตว์ขนสัตว์แบบนี้
เวลาแสดงธัมมจักฯ แสดงธัมมจักฯ ออกไป เทวดาส่งข่าวเป็นชั้นๆ เทวดา เห็นไหม มันมีวัฏฏะ ต้องมีโลกมนุษย์ จะมีเทวดา อินทร์ พรหม เราเชื่อไม่เชื่อมันเรื่องของเรา แต่ผู้ที่หูตาเขาสว่างไสว เขารู้ของเขา เขาทำของเขาเพื่อประโยชน์ นี่ผลของวัฏฏะ
เพราะเวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมาแล้วเป็นครูสอน ๓ โลกธาตุ สอนได้หมด เข้าใจได้หมด เพราะครอบงำหมด หัวใจมันพ้นไปไง แต่ของเรามันไม่พ้น ในโลกปัจจุบันนี้เราก็ติดข้องของเรา ตายไปแล้วไปเกิดเป็นเทวดา เป็นอินทร์ เป็นพรหม หรือไปเกิดในนรกอเวจีเราก็ไม่รู้ ถ้าไปเกิดในภพชาติใดเราก็อยู่ในภพชาตินั้น เราก็ว่ามีภพชาตินั้นภพชาติเดียว นี่เพราะความไม่รู้ไง เพราะไม่รู้ว่ามันตกในสถานะไหนมันก็เป็นอย่างนั้น แต่เวลาคนหูตาสว่างมันรู้หมด มันรู้มันเห็นของมันหมด มันเข้าใจของมันหมด พอเข้าใจของมันหมด เห็นไหม
ฉะนั้น ความเข้าใจ ทำดีถึงได้ดี ทำชั่วถึงได้ชั่วไง ใครทำบาปอกุศลมันก็ได้ผลตามนั้นไง ใครทำคุณงามความดีก็ได้ผลตามคุณงามความดีนั้น แต่ความดีแค่ไหน ทำดีทำชั่ว ความดีความชั่วมันก็มีตั้งแต่หยาบๆ ขึ้นไป มีอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด ละเอียดสุด แล้วเราแสวงหาอย่างใดล่ะ เราก็อยากจะเอาความละเอียดสุด เราก็มาประพฤติปฏิบัติกันนี้ เราก็อยากพ้นจากทุกข์ ถ้าอยากพ้นจากทุกข์นะ
ถ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธรรม แล้วแสดงธรรม เห็นไหม เทวดา อินทร์ พรหมสำเร็จเป็นพันๆ เป็นแสนๆ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการแต่ละที นั่นเป็นความจริง ความจริงเพราะอะไร ความจริงเพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้ รู้ถึงจริต รู้ถึงนิสัย รู้ถึงความชอบ รู้ถึงสิ่งที่มันครอบงำในหัวใจนั้น ท่านแสดงธรรมตรงต่อเหตุ ตรงต่อผล ตรงต่อกิเลสในใจของคน เอาสิ่งนั้นออกไป
แต่ถ้าหลอกให้ทำล่ะ เวลาหลอกให้ทำ ใครมันหลอก ถ้าหลอกให้ทำ หลอกให้ทำเพราะมันไม่รู้ไง เรานี้เราไม่รู้ เราเองเราก็ไม่รู้ เราว่าเรารู้ เราก็ศึกษามา เราก็มีความเข้าใจ แล้วหลอกให้ทำ หลอกให้ทำเพราะอะไร หลอกให้ทำเพราะทำแล้วเป็นอย่างไรเราก็ไม่รู้ เราไม่รู้หรอก เพราะเราทำไม่ได้ เราทำไม่ถึง เราก็หลอกให้เขาทำ แล้วเราอยากปฏิบัติ
เวลาครูบาอาจารย์เรา เรามีครูมีอาจารย์ เราเกิดเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา แล้วพระพุทธศาสนา กึ่งพุทธกาลศาสนาเจริญอีกหนหนึ่ง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพยากรณ์ไว้ในพระไตรปิฎกว่า กึ่งพุทธกาลศาสนาจะเจริญงอกงามขึ้นมาอีกหนหนึ่ง แล้วเราเกิดมาท่ามกลางกึ่งพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาเวลาเจริญงอกงาม เจริญงอกงามที่ไหน
ในพระไตรปิฎก ในการทำสังคายนาก็พิมพ์แล้วพิมพ์เล่า มันก็แท่นพิมพ์ พิมพ์ออกมามันก็เป็นกระดาษเอาไว้ให้เป็นอาหารของปลวก เก็บไว้ให้ปลวกมันกิน เราไปศึกษามา เราไปศึกษามาเราก็มีความรู้ เพราะเราเปิดพระไตรปิฎก แล้วเราทำการค้นคว้า เราวิจัย เราก็ได้ความรู้มา แล้วความรู้มา ความรู้มากิเลสมันก็พาใช้ กิเลสมันก็เอาอย่างนี้มาใช้ กิเลสเอามาว่าเป็นเราเกิดทิฏฐิมานะ ศึกษามาก มีความรู้มาก เข้าใจมาก
เขาศึกษามาเพื่อประพฤติปฏิบัติ เราเกิดมากึ่งพุทธกาล เวลาศาสนาเจริญ เจริญที่ไหน? เจริญที่หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านก็ทำแบบนี้ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านเกิดมาท่านก็มีความปรารถนา ท่านก็มีความปรารถนาในหัวใจ มีความสำนึกว่าเราก็อยากจะรู้จริง อยากจะรู้จริง อยากจะชำระล้างกิเลส ในใจเรา เราก็มีความตั้งใจของเรา แล้วท่านก็พยายามค้นคว้าของท่าน ท่านก็พยายามปฏิบัติของท่าน ทำความจริงของท่านขึ้นมา
พอทำความจริงของท่านขึ้นมา เห็นไหม ท่านล้มลุกคลุกคลาน เพราะเวลาท่านสั่งสอน ท่านบอกว่าท่านเคยปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์เหมือนกัน คำว่า ปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ คือว่าอดีตชาติที่ต่างๆ มา ต้องได้สร้างคุณงามความดีมามาก ถ้าสร้างคุณงามความดีมามากเขาเรียกว่ามีบารมี คนมีบารมีเขาไม่เชื่อสิ่งใดง่ายๆ คนที่มีบารมีเขาจะเชื่อสิ่งที่มีเหตุมีผล เขาจะเชื่อสิ่งที่เป็นความจริง
ฉะนั้น เวลาท่านมาค้นคว้า มาปฏิบัติ มันมีครูบาอาจารย์สั่งสอนไหมล่ะ? ไม่มี แต่ท่านค้นคว้าของท่านเองด้วยอำนาจวาสนาบารมีของท่าน เพราะท่านมีอำนาจวาสนาบารมีของท่าน เห็นไหม ดูสิ หลวงปู่เสาร์เป็นอาจารย์ของหลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์เป็นคนไปเอาหลวงปู่มั่นมาบวชเอง แล้วเวลาบวชเองก็สั่งสอนมา นี่หลอกให้ทำๆ พอหลอกให้ทำขึ้นมา มันทำขึ้นมาได้จริง เวลาหลวงปู่มั่นจิตของท่านมันสงบ จิตของท่านมีอุปสรรคก็กลับไปถามหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่เสาร์บอก ท่านมีปัญญามาก ท่านต้องแก้เอง
ท่านมีปัญญามาก ต้องแก้เอง แล้วแก้อย่างไรล่ะ แล้วแก้อย่างไร
ถ้ากิเลสมันหลอกให้ปฏิบัติ เวลาปฏิบัติไป คนที่มีอำนาจวาสนามันก็ยังพลิกแพลง ยังหาเหตุหาผลเพื่อจะเข้าสู่สัจธรรมให้ได้ แต่นี่พูดถึงคนที่ปฏิบัติที่มีอำนาจวาสนานะ แล้วถ้าคนไม่มีอำนาจวาสนา เวลาปฏิบัติมามันปฏิบัติให้กิเลสมันหลอก กิเลสมันก็หลอกเรา เรารู้เราเห็น เรารู้สิ่งต่างๆ ไป มันเป็นความจริงไหม? มันไม่เป็นความจริง แต่ด้วยวุฒิภาวะ ด้วยบารมีอ่อนด้อยมันก็ว่าสิ่งนี้เป็นธรรมๆ ไง พอไปเจอไปพบสิ่งใด โอ๋ย! ธรรมะเขาเป็นแบบนี้ เวลาเจอสิ่งใดมันเป็นธรรมจริงหรือเปล่า นี่หลอกให้ทำๆ หลอกให้ทำ ตัวเองก็ไม่เข้าใจ แล้วไปให้คนอื่นทำ เห็นไหม
แต่หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านเป็น ท่านใช้อุบาย เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการ ท่านใช้อุบาย ใช้อุบายชักนำให้คนประพฤติปฏิบัติ หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านบอกว่า พวกเรา นักปฏิบัติเราอย่าทิ้งผู้รู้ อย่าทิ้งพุทโธ จะไม่เสียหาย
อย่าทิ้งผู้รู้ อย่าทิ้งพุทโธ ก็อย่าทิ้งหัวใจของเรา อย่าทิ้งผู้รู้ หัวใจของเรานี่ หัวใจของเรามันไม่มีใครรับผิดชอบ ไม่มีใครดูแลมัน มันถึงได้ทุกข์ได้ยากนี่ไง
เราก็ว่าเป็นคนดีนะ ทุกคนที่เกิดมาทุกคนว่าเป็นคนดีไหม เราก็พยายามทำคุณงามความดีของเรา เราก็ปรารถนาความสุข เราก็ต้องการให้จิตใจของเรามันมีที่พึ่งพาอาศัย แล้วเราก็ทำของเรามาตลอด เราทำ เราดูแลมาทั้งนั้นน่ะ แล้วทำไมมันทุกข์มันยากขนาดนี้
นี่ไง อย่าทิ้งผู้รู้ อย่าทิ้งหัวใจอันนี้ ถ้ามันทิ้งมัน ไม่ดูแลมัน เวลามันต้องการสิ่งใดโดยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก เห็นไหม อยากได้นู่น อยากได้นี่ อยากได้ตามความพอใจของมัน เราก็ปรนเปรอมันไปตลอดด้วยความขาดสติ ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ว่าทำสิ่งนี้ก็เพื่อความสุขๆ แล้วมีความสุขจริงไหม นี่ไง ถ้าเราไม่ดูรักษามันก็เป็นแบบนั้น แต่ถ้าเราดูแลรักษา ดูแลรักษาอย่างไรล่ะ
หลอกให้ทำๆ ถ้าหลอกให้ทำ เวลาทำไป เพราะอะไร เพราะคนบอกมันก็ไม่รู้ พอคนบอกไม่รู้ แล้วเราทำไปๆ จิตของคนนะ จิตของคนที่มีอำนาจวาสนาเวลาทำไปมันจะเกิดเหตุ เกิดอุปสรรค แล้วถ้ามันลงได้ มันไปรู้เห็นสิ่งใด แล้วจะแก้อย่างไร ถ้าไม่มีอำนาจวาสนาจะแก้อย่างไร
หลวงปู่มั่นเวลาท่านปฏิบัติของท่าน ท่านไปเจออุปสรรคสิ่งใด หันรีหันขวางเลย แล้วจะทำอย่างไร อ้าว! ในตำราก็บอกพิจารณากาย พิจารณากายก็พิจารณาแล้ว พิจารณาออกมาแล้วมันก็ไม่เห็นมีอะไรดีขึ้นมา พิจารณาแล้วมันก็ไม่มีอะไรแปลกประหลาด พิจารณาแล้วทำอย่างไร นี่ท่านก็มีอุปสรรคของท่านอีกชั้นหนึ่ง เพราะท่านปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์
พระโพธิสัตว์ทำได้แต่ฌานโลกีย์ พระโพธิสัตว์ทำได้แต่ฌานสมาบัติ มันจะไม่เข้าสู่มรรค ถ้าเข้าสู่มรรคแล้ว ถ้ามันเข้าสู่มรรค มันพิจารณาเข้าไปด้วยวิปัสสนา ถ้ามันทะลุอวิชชา ทะลุกิเลสไปจะเป็นพระโสดาบัน ถ้าเป็นพระโสดาบัน การเวียนว่ายตายเกิดก็อีก ๗ ชาติเท่านั้น
แต่พระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์เวียนว่ายตายเกิด ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย มันต้องเวียนว่ายตายเกิดไปอีกมหาศาลเพื่อบ่มเพาะ นี่พันธุกรรมของจิตๆ บ่มเพาะให้จิตใจนี้เข้มแข็ง ให้จิตใจนี้มีอำนาจวาสนา
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดไว้ในพระไตรปิฎกว่า เราวาสนาน้อย อายุแค่ ๘๐ ปี จะต้องนิพพานไป องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ อายุ ๘๐,๐๐๐ ปี นี่ไง มันขึ้นอยู่กับตรงนี้ ขึ้นอยู่กับตรงนี้ ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย ในเมื่อเหตุมันแตกต่างกัน ในเมื่อเหตุสร้างมาเกือบเท่าตัว ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย เท่าตัว หรือ ๒ เท่าตัว คนสร้างกันมากกว่าทบเท่าทวีคูณ แล้วมันจะมาเหมือนกันมันเป็นไปได้อย่างไร มันเป็นไปไม่ได้ แต่ในเมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านสร้างของท่านมาอย่างนี้ ท่านสร้างของท่านมาอย่างนี้ แต่ท่านก็ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ท่านพูดเองว่า เราวาสนาน้อย อายุแค่ ๘๐ ปี ไม่เหมือนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละองค์ที่ท่านอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี สิ่งนั้นท่านสร้างของท่านมามาก
นี่ก็เหมือนกัน หลวงปู่มั่นท่านเคยปรารถนาพระโพธิสัตว์มา ท่านก็ทำของท่านมา ท่านทำของท่านมา ท่านถึงมีอำวาสนาของท่าน ท่านถึงมีกำลังของท่าน ถ้าครูบาอาจารย์ที่ไม่เป็น ครูบาอาจารย์ที่ท่านไม่มีหลักเกณฑ์ เห็นไหม หลอกให้ทำ หลอกให้ทำนะ พอทำไปแล้วมันเป็นอย่างนั้นๆ มันก็เป็นสิ่งที่คาดหมาย
ในเมื่อคนที่ไม่เป็นปฏิบัติไปมันก็คาดหมายของมันอยู่แล้ว ผู้ใดปฏิบัติธรรมไม่สมควรแก่ธรรม ผู้ใดปฏิบัติธรรมด้นเดา ด้นเดาเกาหมัด มันก็ได้ธรรมด้นเดาเกาหมัด เห็นหมาไหม หมาเวลามันคัน มันเกาของมัน มันอยู่ไม่ติดหรอก แล้วจิตใจของคนมันยิ่งกว่านั้น กิเลสเวลามันคัน กิเลสที่มันครอบงำหัวใจมันยิ่งกว่านั้น แล้วหลอกให้ทำๆ ก็กลายเป็นหมาขี้เรื้อนด้วยกันนี่ไง ปฏิบัติไปๆ หนังเลยขนลอกหมด มันมีแต่ขี้เรื้อน แล้วก็มานั่งเกากันอยู่นี่ สิ่งนี้เป็นนิพพาน นิพพานคันอยู่นี่ คันนิพพาน เกาอยู่นั่นน่ะ แล้วมันเป็นจริงไหม
เพราะมันไม่เข้าสู่มรรค เพราะมันไม่เข้าสู่ความจริง ถ้ามันไม่เข้าสู่ความจริง มันเข้าสู่ความจริงไม่ได้ ถ้าเข้าสู่ความจริงไม่ได้ เพราะมันไม่เป็นไง
แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครูบาอาจารย์ของเราท่านรู้จริงของท่าน จิตนี้มหัศจรรย์นัก หลวงปู่มั่นท่านจะบอกประจำ จิตนี้แก้ยาก จิตนี้แก้ยาก การแก้ไขหัวใจนี้แก้ได้ยากมาก เพราะหัวใจของเรา เรายังไม่รู้จักมัน แล้วเราจะไปแก้ไขของใคร
หัวใจของเรา เราต้องรู้จักหัวใจของเราก่อน ถ้าหัวใจของเรามันเป็นอย่างไร ถ้าเวลาจิตมันสงบ มันสงบไหม ถ้าจิตมันสงบเข้ามา มันใช้บริกรรมอย่างใด มันใช้วิธีการอย่างใดมันถึงจิตสงบเข้ามา ถ้าจิตมันสงบเข้ามา มันมีวุฒิภาวะอย่างใดถ้าจิตสงบ ถ้าหลอกให้ทำๆ จิตมันเป็นมิจฉาทิฏฐิก็ได้ ถ้าสงบเข้ามาเป็นมิจฉาสมาธิก็ได้
เพราะจิตนี้มันมหัศจรรย์นัก เวลามันดี มันดีได้มหัศจรรย์เลย เวลาอารมณ์เราดี เราทำสิ่งใดแล้วเราประสบความสำเร็จ โอ๋ย! มีแต่ความสุข โอ๋ย! จะบวชไม่สึก จะปฏิบัติตลอดชีวิต อาทิตย์หน้ามันล้มแล้ว นี่เวลามันดี เราคิดได้ดีมากๆ เลย แต่เวลากิเลสมันตื่นขึ้นมานะ มันออกฤทธิ์หน่อยเดียวเท่านั้นน่ะ มีแต่ความทุกข์ความยาก นี่หลอกให้ทำๆ หลอกอย่างนี้
เวลาหลอกมา แหม! ชื่นบานกันนะ มากันเป็นขบวนเลย เวลามันล้มลุกคลุกคลานไปนี่จบ แต่ถ้ามันไม่ล้มลุกคลุกคลานไป เห็นไหม เวลาปฏิบัติ ปฏิบัติไปโดยกิเลสไง โดยกิเลส กิเลสเป็นใหญ่ ทำตามความพอใจ ทำตามความชอบของตัว คิดสิ่งใดว่าสิ่งใดสะดวกก็ทำอย่างนั้น
แต่เวลาหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านบอกว่าพยายามทำความสงบของใจเข้ามาก่อน ใจมันต้องสงบ มันต้องระงับ ถ้าใจมันสงบระงับขึ้นมามันถึงเป็นอิสระ ความเป็นอิสระของมัน เห็นไหม ดูสิ เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์ธัมมจักฯ ทำไมพระอัญญาโกณฑัญญะมีดวงตาเห็นธรรมล่ะ
เพราะพระอัญญาโกณฑัญญะกับปัญจวัคคีย์อุปัฏฐากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ ๖ ปี คนที่ทำความสงบ ๖ ปี คนที่พยายามค้นคว้าอยู่ ๖ ปี จิตมันสงบไหม จิตมีกำลังไหม? จิตมันต้องมีกำลัง แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดา เป็นผู้รื้อค้นสิ่งนี้มา เป็นผู้ที่ปราบปรามกิเลส เป็นไก่ตัวแรกที่เจาะฟองอวิชชาออกมา มันถึงเห็นโทษของอวิชชาไง เห็นโทษของเปลือกไข่ที่มันห่อหุ้มหัวใจดวงนี้ แล้วหัวใจ ไข่มันอยู่ในเปลือกไข่ เปลือกไข่คืออวิชชา คือความไม่รู้ที่มันกลิ้งไป มันกระทบกระแทกกับสิ่งใดไป ไอ้ไก่ที่มันยังฟักไม่เป็นตัวอยู่ในนั้นมันอาจจะไม่ได้เกิดเลย มันกระทบกระเทือนมาขนาดไหน
ฉะนั้น เวลาท่านแสดงธัมมจักฯ กับปัญจวัคคีย์ ปัญจวัคคีย์ได้ประพฤติปฏิบัติ ได้ปฏิบัติอุปัฏฐากมา คำว่า อุปัฏฐากมา ทำสมาธิอยู่ ๖ ปี ล้มลุกคลุกคลานมากับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปฏิบัติมากับเจ้าลัทธิต่างๆ ทำทุกรกิริยาทุกอย่าง
ว่าใช้ปัญญาๆ ที่เขาว่าใช้ปัญญาๆ กันไปนั่นน่ะ
ใช้ปัญญาไป ใช้ปัญญาไปโดยจิตมันไม่สงบไง ใช้ปัญญาไปโดยที่ความล้มลุกคลุกคลานไง นี่หลอกให้ทำๆ ไง ไปศึกษากับเจ้าลัทธิต่างๆ ก็หลอกไป อันนั้นเป็นนิพพาน อันนั้นเป็นพระอรหันต์ ลัทธิต่างๆ ก็หลอกลวงกันไป แต่หลอกลวงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้มีบารมี ไม่เชื่อ ไม่ฟัง กลับมารื้อค้น รื้อค้นเอง
ปัญจวัคคีย์อุปัฏฐากค้ำจุนดูแลกันมาตลอด คนที่อุปัฏฐากมา คนที่ปฏิบัติมา ๖ ปี จิตจะมีสมาธิไหม พอจิตมีสมาธิ มีกำลัง เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธัมมจักฯ เห็นไหม เพราะจิตเป็นสมาธิ เทฺวเม ภิกฺขเว ทางสองส่วนที่ไม่ควรเสพ
ปัญจวัคคีย์กับเราด้วยกัน เราก็ไปทำทุกรกิริยากันมา เราก็ไปศึกษามากับเจ้าลัทธิต่างๆ ประพฤติวัตรเป็นหมา ประพฤติวัตรเป็นสัตว์ ประพฤติวัตรต่างๆ เขาทำกันมาทั้งนั้นน่ะ นั่นน่ะอัตตกิลมถานุโยค ทางสองส่วนที่ไม่ควรเสพ
กามสุขัลลิกานุโยค มีลัทธิในสมัยพุทธกาล ให้เสพกาม เสพมากๆ เสพสุขๆๆ ๕๐๐ ชาติ เป็นพระอรหันต์ นี่เสพแต่สุข จะเอาแต่ความประณีต เอาแต่เนื้อหนังมังสาความพอใจของตัว นี่กามสุขัลลิกานุโยคไปไม่รอด
มัชฌิมาปฏิปทาคือสัจธรรม คืออริยสัจที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากำหนดอานาปานสติทำให้จิตสงบระงับจากโลกียปัญญา จากความเห็นของโลกๆ ทั้งหมดที่จินตนาการกัน ที่พอใจกันว่าสิ่งนั้นชอบอกชอบใจ ใครชอบใจทางใดก็คิดว่าทางของตัวถูกต้อง กามสุขัลลิกานุโยคเขาก็เสพสุขของเขาไป ๕๐๐ ชาติ แล้วจะสำเร็จไป อัตตกิลมถานุโยค ทำทุกรกิริยา ทำความทรมาน ทำความเจ็บช้ำให้กับตัวเอง ทำความบอบช้ำให้กับใจ ให้กับร่างกายมาตลอด เห็นไหม ไม่ควรเสพ
มัชฌิมาปฏิปทา ความสมดุลของใจ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธัมมจักฯ ปัญจวัคคีย์ ๕ คน แต่เวลามีดวงตาเห็นธรรมมีพระอัญญาโกณฑัญญะองค์เดียวเท่านั้น
นักพรต ๕ คน ถ้ามันเหมือนกัน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธัมมจักฯ ด้วยกัน ก็ต้อง ๕ คนก็ต้องเป็นพระโสดาบันด้วยกันทั้งหมด แต่เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงธัมมจักฯ มีพระอัญญาโกณฑัญญะองค์เดียวเท่านั้นที่มีดวงตาเห็นธรรม
ดวงตาเห็นธรรมเพราะปัญญามันเกิด มันเกิดอริยสัจ เกิดสัจจะ เกิดความจริง เกิดความสมดุลของใจ ความสมดุลของใจ สิ่งที่จักร ปัญญามันเคลื่อน ปัญญามันหมุน ธรรมจักร มันต้องมีสัจจะ มันมีความจริง พระอัญญาโกฑัญญะมีดวงตาเห็นธรรม พระปัญจวัคคีย์อีก ๔ ยังไม่มีดวงตาเห็นธรรม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็สอนซ้ำๆๆ ไป จนเป็นพระโสดาบันทั้งหมด ถึงเวลาแล้วแสดงอนัตตลักขณสูตรถึงเป็นพระอรหันต์ขึ้นมา
นี่เผยแผ่ธรรมๆ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเผยแผ่ธรรม เพราะมีสัจธรรม เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีความรู้จริงเห็นจริง
เพราะจิตมันลึกลับมหัศจรรย์ ดูสิ ล้อมกรอบไว้เลยตั้งแต่เริ่มต้นที่จะไม่ให้จิตของปัญจวัคคีย์ออกนอกลู่นอกทาง เทฺวเม ภิกฺขเว ทางสองส่วนที่ไปไม่ได้ บังคับจิตไม่ให้ตกข้างทางทั้งสองฝ่าย ให้ไปสู่มัชฌิมาปฏิปทา ทางอันเอก ทางมัคโค มัคโคที่เราจะบังคับใจของเราก้าวเดินไป การก้าวเดินไปในอะไร? ก้าวเดินไปในสติปัฏฐาน ๔
สติปัฏฐาน ๔ มันคืออะไร? มันคือกาย คือเวทนา คือจิต คือธรรม
แล้วกาย เวทนา จิต ธรรม มันเกิดขึ้นมา เกิดขึ้นมาจากอะไร? มันเกิดขึ้นมาจากจิตสงบ
ถ้าจิตไม่สงบมันก็เห็น เห็นไหม กาย เวทนา จิต ธรรม ดูสิ หมู เห็ด เป็ดไก่ เราเอามากินทุกวันเลย มันมีกาย เวทนา จิต ธรรม ไหมล่ะ แล้วเห็นแล้วมันได้อะไรมา? ก็อิ่มท้องไง
แต่ถ้าจิตมันสงบ เห็นไหม จิตมันสงบ ถ้าจิตมันไม่สงบ มันเป็นจินตนาการ มันเป็นเรื่องหลอกให้ทำๆ คนที่ไม่มีวุฒิไม่มีภาวะเขาหลอกให้ทำ หลอกให้ทำ พอหลอกให้ทำเราก็ล้มลุกคุกคลานไป พอหลอกให้ทำ จิตมันเป็นอย่างไร นี่ไง ใช่ ธรรมๆ เพราะอะไร เพราะมันก็ไม่รู้ คนไม่รู้มันจะบอกคนรู้ได้อย่างไร ยิ่งคนไม่รู้ไปหลอกให้ทำ แล้วไอ้คนที่ทำมันก็ไม่รู้ ถ้าคนที่ทำไม่รู้ แต่จิตมันมหัศจรรย์ จิตมันเป็นได้หลากหลาย จิตเป็นได้ทุกอย่าง เราจะคิดจินตนาการถึงความว่าง เราจะคิดจินตนาการถึงทรัพย์เงินทอง จินตนาการได้หมดล่ะ แต่ความจริงมันไม่มี มันไม่มี
แต่ถ้าครูบาอาจารย์เราปฏิบัติ ไม่ใช่หลอกให้ทำ เพราะครูบาอาจารย์ท่านสมบุกสมบันมา ท่านจะรู้ว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกข์ยากมาขนาดไหน รู้เลยว่าจิตมันดื้อขนาดไหน ยิ่งมีอำนาจวาสนาบารมีนะ เวลาจิตสงบแล้วมันจะไปรู้เห็นสิ่งต่างๆ ไปรู้เห็นสิ่งต่างๆ รู้อะไรน่ะ รู้มาทำไมน่ะ มันไม่ถึงเวลาจะให้รู้ ไปรู้อะไรมา
ถ้าเพราะคนไม่รู้ เพราะคนไม่รู้ เวลาคนผู้ทำไปก็ทำไปด้วยความไม่รู้ ด้วยความไม่รู้แล้วมันเป็นอย่างไร แต่ถ้าผู้รู้ล่ะ ถ้าครูบาอาจารย์ท่านใช้อุบาย ท่านไม่ใช่หลอกให้ทำ ท่านใช้อุบายให้จิตใจของเราไม่แส่ส่าย ถ้าจิตใจของเราแส่ส่าย มันจะไปกว้านเอาอะไรมาล่ะ สัญญาอารมณ์ในใจมันก็ท่วมท้นอยู่แล้ว เราก็ยังจะไปกว้านเอาสิ่งจินตนาการเข้ามาอีก ถ้าว่าศีล สมาธิ ปัญญาเราก็มีทุกอย่าง ศีลก็เป็นแบบนั้น สมาธิก็เป็นแบบนี้ ปัญญาก็เป็นแบบนั้น มันก็เลยเป็นสัญญาทั้งหมดเลย นี่ไปดูงานของเขามา ดูงานมาแล้วก็ว่าเราทำได้ เราทำเป็น แล้วมันทำจริงหรือเปล่าล่ะ แล้วมันได้จริงหรือเปล่า? มันไม่มีสิ่งใดเป็นของตัวเองเลย
แล้วเป็นของตัวเอง เราไปดูงานเขามา ดูงานมาแล้วเราต้องมาฝึกหัด ต้องมาทำของเราให้เป็นความจริงขึ้นมา เป็นความจริงขึ้นแล้วยังจะต้องทำให้เข้ากับความต้องการใช้ประโยชน์ของเรา เราไปดูงานเขามา ของเขาใช้ประโยชน์ของเขา ของเรามันจะเป็นประโยชน์อะไรกับเราล่ะ
ถ้ามันจะเป็นประโยชน์กับเรา มันต้องเกิดสติ เกิดสมาธิ เกิดปัญญา ประโยชน์กับใคร? ประโยชน์กับใจของเราไง ถ้ามันมีสติ มีสมาธิ มีปัญญา เวลาทำขึ้นมามันจะเป็นความจริง ถ้ามันเข้าสู่อริยสัจ มันเข้าสู่สัจจะ มันเข้าสู่อริยมรรค มันก็เป็นความจริงของเรา แต่มันไม่เข้า มันไม่เข้า มันหลอกให้ทำๆ เพราะอะไร เพราะใครหลอกล่ะ
ถ้าสังคมที่เขาหลอกกัน นั่นสังคมที่เขาหลอกกันอยู่แล้ว หลอกให้ทำ เราก็ทำตามเขาไป กระแสสังคมใช่ไหม พอกระแสสังคม กระแสมันมีมากขึ้นมาเราก็เชื่อ เชื่อแค่อย่างนั้นน่ะ นี่ไง อุปาทานหมู่ เป็นอุปาทานหมู่เลย มันไม่เป็นความจริง
แต่ถ้าเป็นความจริง ความจริงนะ ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ เวลาครูบาอาจารย์ท่านสนทนาธรรมกัน ดูสิ ครูบาอาจารย์ท่านเข้าไปป่าไปเขามา ไปธุดงค์ของท่าน คำว่า ธุดงค์ คือการไปทรมานกิเลส คำว่า ธุดงค์ๆ ธุดงค์เพราะอะไร เพราะเราไม่คุ้นชินกับสถานที่ ไปธุดงค์ ธุดงค์ด้วยสติด้วยปัญญา พอเวลาภาวนาขึ้นมาเพื่อเข้ามาค้นคว้าใจของตัว แล้วใจของตัวสงบแล้วอยู่ที่คนที่มีคุณธรรมมากน้อยแค่ไหน
ถ้าคนอยู่ในระดับของความสงบของใจ เราปฏิบัติใหม่ เราต้องการความสงบของใจ แล้วใจมันดื้อด้านนัก เราก็เข้าไปสู่ป่าช้า เราเข้าไปสู่ในที่สงัดวิเวก เอาที่สงัดวิเวกเป็นชัยภูมิเพื่อจะให้มันไม่แส่ส่าย แล้วเรากำหนดพุทโธของเรา ถ้าจิตสงบ ผู้ที่อยู่ในขั้นของทำความสงบของใจ
ถ้าผู้ที่อยู่ในขั้นของเดินปัญญา ถ้าเดินปัญญาแล้วใช้ปัญญาก็ปัญญาอย่างหยาบ ปัญญาอย่างกลาง ปัญญาอย่างละเอียด ปัญญาในพระพุทธศาสนา ปัญญาในมรรค ๔ ผล ๔ มันซับซ้อน มันมีขั้นตอนของมันอีกมากมายมหาศาล
ถ้าใครปัญญาอยู่ในระดับของปัญญา เข้าไปธุดงค์ก็ไปใช้ศีล สมาธิ ปัญญาเข้ามาเพื่อจะมาชะล้าง ชำระล้างเพื่อเข้ามาแยกแยะ เพื่อฝึกหัดใจให้เข้มแข็ง ฝึกหัดใจให้มันฉลาด ฝึกหัดใจให้มันรู้เท่าทันอวิชชา เท่าทันกิเลสในใจของตัว นี่ครูบาอาจารย์ที่เข้าธุดงค์ไปก็ธุดงค์ไปเพื่อเหตุนี้
เวลาออกมาเจอกัน ออกมาเจอกัน เพราะว่าในหมู่นักปฏิบัติด้วยกันก็มีความคุ้นเคยกัน ธมฺมสากจฺฉา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ เวลาสนทนาธรรมๆ เวลาไปธุดงค์ไปวิเวกกลับมา ใครมีมรรคมีผล ใครมีผลงาน ธมฺมสากจฺฉา
สิ่งที่ว่าครูบาอาจารย์ของเรา ท่านเป็นสังคมกรรมฐาน สังคมนักรบ แล้วนักรบแต่ละองค์ นักรบแต่ละบุคคลก็เข้าไปอยู่สู่ป่าสู่เขา เข้าไปสู่ป่าสู่เขาไม่ใช่ไปรบกับป่ารบกับเขา ไปจำสภาพต้นไม้ ไปจำสภาพแวดล้อมแล้วมาคุยกันว่าที่นั่นมีสภาพแวดล้อมดีอย่างโน้น...ไม่ใช่ ไม่ใช่ สิ่งนั้นเป็นชัยภูมิ เป็นการต่อสู้เท่านั้น แต่ที่มันเกิดขึ้นมามันเกิดขึ้นมาในหัวใจของเราไง
ถ้าผู้ที่ทำความสงบ ไปทำที่นั่นแล้วมันมีความสงบดี เห็นไหม ฉะนั้น เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เวลาตรัสรู้ธรรมขึ้นมา ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา นี่เราทำที่ไหน เราได้ผลที่ไหนมันจำได้ทั้งนั้นน่ะ เพราะมันฝังใจ เราไปตกทุกข์ได้ยากที่ไหนเราก็ฝังใจว่าเราเคยตกทุกได้ยากที่ไหน เราไปทำผลงานที่ไหน เราประสบความสำเร็จเราก็จำได้ว่าเราเคยประสบความสำเร็จที่ไหน แต่ความสำเร็จนั้นมันเป็นผลของวัฏฏะ มันเป็นผลของโลก ผลของสิ่งที่มีชีวิต นี่ผลของสมมุติ ผลของโลก ไม่ใช่ผลของธรรม
ผลของธรรมมันอยู่ที่ใจเรานี่ไง ผลของธรรม เราไปอยู่ที่ไหน เราปฏิบัติที่ไหน แต่ใครเป็นคนปฏิบัติล่ะ นี่ไง ก็ต้องมีหัวใจเราเป็นผู้ปฏิบัติใช่ไหม ถ้าหัวใจเป็นผู้ปฏิบัติ ครูบาอาจารย์เราถึงบอกว่า เราอยู่ที่ไหนก็แล้วแต่ เราทำความสงบของใจของเราเข้ามา รักษาใจของเรา สำคัญที่นี่ สำคัญที่หัวใจของเรา อย่างนี้ไม่ได้หลอกให้ทำ นี่ให้อุบายวิธีการ ให้อุบายเพราะอะไร เพราะจิตมันสงบเดี๋ยวมันจะมีอุปสรรค ถ้าจิตมันสงบ สงบอย่างไร
จิตของสัตว์โลก จิตของนักปฏิบัติ ในการปฏิบัติถ้ามันไม่เคยเจริญงอกงามขึ้นมาเลยมันก็ล้มลุกคลุกคลานอยู่อย่างนี้ คนที่ไม่สนใจในภาคปฏิบัติเลย ในภาคการฝึกฝนตัวเองเลย ก็ใช้ชีวิตแบบคนเหยียบแผ่นดินผิด แบบคนเกิดมารกโลก เกิดมาเพื่อตายไง
ดูสิ ดูสัตว์สิ สัตว์ที่เป็นอาหารมันเวียนตายเวียนเกิดกี่ภพกี่ชาติล่ะ ๔๕ วัน เชือด ๔๕ วันเท่านั้น เชือด มันเกิดมาชีวิตมันก็ ๔๕ วันเท่านั้น แล้วเราเกิดมา เราเป็นอย่างนั้นใช่ไหม แล้วเราให้ใครเชือดล่ะ? ก็กิเลสเชือดไง เวลากิเลสมันเชือด กิเลสมันก็หลอกลวงอย่างนี้ไง นู่นก็ไม่ต้องทำ นี่ก็ไม่ต้องทำ เราเกิดมาเราก็มีวาสนา เราเกิดมาเราก็เป็นคนดี นี่มันเชือด มันเชือดคุณงามความดีไง มันเชือดที่เราจะเป็นประโยชน์ขึ้นมาไง สิ่งที่มันทำให้เราล้มลุกคลุกคลานอยู่นี่ไง
ถ้าเรามีศรัทธามีความเชื่อ เรามีความสนใจของเรา ถ้าเรามีความสนใจของเรา เราก็จะไม่ใช่คนรกโลกไง สัตว์เวลามันเชือดแล้วมันเป็นอาหารไง เวลาคนเราตายขึ้นมามีแต่ญาติพี่น้องน้ำตาร่วงน้ำตาไหล ไปส่งกันที่เชิงตะกอนไง แล้วไปไหนต่อ แล้วไปไหนต่อ
แต่เราไม่เกิดมารกโลก เราเกิดมาเรามีสติมีปัญญา งานทางโลกใครๆ ก็ทำกันมาทั้งนั้นน่ะ เราก็เคยทำมา แต่งานทางธรรม งานในการทรมานตน เห็นไหม เวลาพระในสมัยพุทธกาลไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านจะถามเลย ใครทรมานมา ใครทรมาน เห็นไหม มันทรมานกิเลสไง มันบีบคั้นไง ทรมานกิเลส
ใครทรมานมา ถ้าเป็นสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรก็เป็นพระสารีบุตรทรมานมา ถ้าเป็นสัทธิวิหาริกของพระโมคคัลลานะ พระโมคคัลลานะก็เป็นคนทรมานมา เป็นคนทรมานไง นี่ไง ใครทรมานมา เราจะทรมานใคร เรามีสติปัญญา เราพอใจ เราภูมิใจ
หัวใจเป็นนามธรรม ถ้ามันดื้อมันด้าน เราจะไปหาหัวใจที่ไหน ทั้งๆ ที่หัวใจอยู่ในร่างกาย เราหาหัวใจของเราไม่เจอ แล้วเวลาการโฆษณาชวนเชื่อ การปฏิบัติง่าย การปฏิบัติแล้วจะมีความสำเร็จ นี่หลอกให้ทำๆ แล้วก็ทำตามเสต็ปนั่นน่ะ ทำตามนั้นน่ะ แล้วทำอย่างไรต่อ มีอะไรต่อ
ทำแล้วๆ เออ! จบแล้วไง ทำทุกอย่างเหมือนเลย แล้วอย่างไรต่อล่ะ ทำอย่างไรต่อ
นี่หลอกให้ทำ หลอกให้ทำไง ไอ้คนสอนก็ไม่รู้ ไอ้คนสอนมันยังไม่รู้เลยว่าใจเป็นอย่างไร แล้วมรรคเป็นอย่างไร มรรค ๔ ผล ๔ โสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรคเป็นอย่างไรมันก็ยังไม่รู้จักเลย คนที่ไม่รู้จักมันจะพาไปไหน คนไม่รู้จักมันจะพาไปไหน? มันก็พาสู่ออกนอกไง มันก็ไม่เข้าสู่อริยสัจไง ถ้าไม่เข้าสู่อริยสัจมันก็ไม่เข้าสู่มรรค ถ้าไม่เข้าสู่มรรคไง
เวลาพราหมณ์ไปถามองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศาสนาไหนก็ว่าดี ศาสนาไหนก็ว่าดี
พระพุทธเจ้าตอบพราหมณ์ไง ศาสนาไหนไม่มีมรรค ศาสนานั้นไม่มีผล
การปฏิบัติของเรานี้มันไม่สู่มัคคา มันจะเอาผลมาจากไหน ในเมื่อศาสนาไหนไม่มีมรรค ศาสนานั้นไม่มีผล นี่ก็เหมือนกัน การปฏิบัติไหนมันไม่มีมรรค เราปฏิบัตินี่มันไม่มีมรรคหรอก ถ้าหลอกให้ทำๆ เพราะมันหลอกให้ทำ แล้วเราก็มีกิเลสอยู่แล้ว กิเลสมันก็มักง่าย หมู่ชนการปฏิบัติเขาก็หลอกอยู่แล้ว หลอกให้ทำๆ ทำพอเป็นพิธีนั่นน่ะ ทำไปเพื่อให้ภูมิใจว่าเป็นสำนักปฏิบัติ ทำไปพอให้สังคมเห็นว่าที่นี่นักปฏิบัติธรรม
ใครๆ ก็อยากเป็นนักปฏิบัติธรรม มันเป็นแฟชั่นไง เราเป็นคนดีๆ เขาวัดกันตรงไหนล่ะ ชุดขาวๆ คนดีเขาวัดกันที่ใส่ชุดขาว ถ้าเราใส่ชุดสี พระยังสู้ไม่ได้เลย พระใส่สีกรัก ถ้าคนมีคุณธรรมเขาใส่ชุดขาว พระใส่สีกรักไม่ใช่มีคนมีคุณธรรม
นี่มันอยู่ที่ไหน ความดีมันอยู่ที่ไหน? มันอยู่ที่เปลือก นี่หลอกให้ทำๆ ก็หลอกให้ทำทั้งนั้นน่ะ
แต่กรรมฐานเราไม่เป็นแบบนั้น กรรมฐานเรา พระเราย้อมผ้าสีน้ำฝาด เราใช้เปลือกไม้ เราใช้แก่นขนุนถาก มีผ้ามาเราย้อมของเรา เราย้อมเราดูแลของเรา อยู่กับสัจจะ อยู่กับความจริง ไม่อยู่กับความโป้ปดมดเท็จ ไม่อยู่กับความหลอกลวง ไอ้กระแสสังคม สังคมปฏิบัติไง ชุดขาว ชุดขาวเอาไว้ทำไม ชุดขาวเอาไว้ นกกระยางไง จำศีลไง เผลอนะ เผลอมันมับ! เลย มันรอกินปลา
ชุดขาว เห็นไหม ร่างกาย เนื้อหนังมังสามันก็เนื้อหนังมังสา เนื้อหนังมังสาเท่านั้น เนื้อหนังมังสามันก็เนื้อหนังมังสา มันก็ธาตุ มันก็ธาตุ การแก้กิเลสมันแก้ที่หัวใจ เพราะหัวใจ ปฏิสนธิจิต เห็นไหม จิตนี้ร้ายนัก จิตนี้มหัศจรรย์นัก เขาแก้กันที่นี่ ถ้ามันแก้กันที่นี่ ถ้าเรามีสติปัญญาที่นี่ ไอ้รูปแบบให้มันเป็นปัจจุบัน ให้มันเข้ากับหัวใจของเรา ถ้ามันเข้ากับหัวใจ นี่อุบาย
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครูบาอาจารย์ของเราท่านปฏิบัติ ปฏิบัติเอาความจริง เอาใจปฏิบัติ เอาหัวใจปฏิบัติ แล้วถ้าหัวใจมันปฏิบัติ มันมีสตินะ มันยับยั้งกิเลสของมันได้นะ มันทำความสงบของใจเข้ามาได้นะ ถ้าใจมันสงบเข้ามามันจะเกิดความมหัศจรรย์เลย สุขอื่นใดเท่ากับจิตสงบไม่มี ถ้าไม่เข้าสู่มรรคมันก็บอกความสงบนี้คือนิพพาน
เวลาเจ้าชายสิทธัตถะไปศึกษากับอุทกดาบส อาฬารดาบส ได้แต่สมาบัติ ๘ เขาบอกว่า เจ้าชายสิทธัตถะมีความรู้เหมือนเรา เป็นอาจารย์สอนเหมือนเราได้ เจ้าชายสิทธัตถะไม่เอา เพราะความสงบเดี๋ยวคลายตัวออกมามันก็เป็นปุถุชน พอคลายตัวออกมามันก็กิเลสท่วมหัว ถ้ากิเลสท่วมหัวมันก็เกิด แก่ เจ็บ ตายไง เพราะเป้าหมายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตายไง แล้วไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย มันจะสำรอก มันจะคายอะไรออกไปล่ะ
ถ้ามันจะสำรอก มันจะคาย นี่อุบายวิธีการ ไม่ใช่หลอกให้ทำๆ
หลอกให้ทำ หนึ่ง เราไม่รู้เรื่อง เราก็โดนหลอกอยู่แล้ว แล้วกิเลสเราก็หลอกซ้ำเข้าไปอีก ใช่ พวกพุทโธนั่นน่ะเขาเนิ่นช้า เขาไปทางอ้อม เขาอ้อมโลกไปเลย พวกเรานี่นักปฏิบัติ พวกเรานี่ทางสายตรง พวกเรานี้สุดยอด
พุทธานุสติ กรรมฐาน ๔๐ ห้อง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นคนวางหลักการไว้เอง กรรมฐาน ๔๐ ห้อง เพราะจริตนิสัยของคนมันแตกต่าง ลูกของเราในบ้านเดียวกัน นิสัยยังไม่เหมือนกัน นักปฏิบัติด้วยกัน จริตนิสัยแตกต่างกันมาก ความที่จริตนิสัยแตกต่างกัน เรามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเดียวให้ทุกจิตมันต้องบังคับเข้ามาสู่ความถูกต้องอันนี้ มันทำให้ไม่ตรงกับจริตนิสัย
ฉะนั้น กรรมฐาน ๔๐ ห้อง การทำความสงบ ๔๐ วิธีการ เพราะถ้าจิตมันสงบ จิตมันจริง ถ้าสงบแล้วจิตมีจริง จิตเราสงบ พอจิตเราสงบ จิตเราเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นตามความเป็นจริง มันจะเข้าสู่มรรค มันจะเข้าสู่มรรคเพราะอะไร เพราะมันเข้าสู่สติปัฏฐาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ ฐานที่ตั้งแห่งการงาน งานที่จะเป็นงานขึ้นมา
ดูสิ งานทางโลก เขาบอกอาบเหงื่อต่างน้ำ ทำมาหากินนี้เป็นงานของเขาๆ อันนี้งานเลี้ยงปาก งานประจำโลก งานประจำชีวิต เราหาอยู่หากิน เห็นไหม ทางของฆราวาสเป็นทางคับแคบๆ เพราะทำมาหากินขึ้นมาแล้วก็ต้องประพฤติปฏิบัติด้วย ทางของพระ ทางของนักรบเป็นทางกว้างขวาง ๒๔ ชั่วโมง รบตลอดเวลา รบกับอารมณ์ความรู้สึกของตัว เวลาอารมณ์มันเบียดเบียนตัว อารมณ์มันต่างๆ รบกับมันๆๆ นักรบๆ ถ้านักรบที่นี่ พยายามดูแลรักษาหัวใจของตัว เริ่มต้นต้องดูแลรักษาหัวใจของตัว
พระบวชใหม่ เวลาพระบวชใหม่ เวลาเข้ามาเขาจะฝึกหัดข้อวัตร ให้ฝึกหัดข้อวัตร ฝึกหัดข้อวัตรให้จิตอยู่กับข้อวัตรนี้ ให้จิตมันอยู่กับข้อวัตร ให้จิตมันอยู่กับตัว เวลาพระบวชใหม่ บวชมาแล้ว บวชมาเป็นพระ ร่างกายก็อยู่ในวัด จิตใจมันคิดถึงบ้านทั้งนั้นน่ะ จิตใจมันคิด เพราะมันเป็นความถนัดไง จิตมันเคย จิตมันเคยของมันอย่างนั้นน่ะ เราต้องฝึกหัดข้อวัตร รักษาให้มีสติ มีหัวใจอยู่กับตัวเอง ทำข้อวัตรปฏิบัติให้มันชัดเจน พอมันชัดเจน ฝึกหัดๆๆ นี่พระบวชใหม่
เวลาพระมีความชำนาญขึ้นมา พยายามเอาใจของเราไว้ในอำนาจของเรา เวลามันดิ้น มันดิ้นมันจะคิดไปข้างนอก ถามมันสิ มึงจะคิดไปไหน มึงจะไปไหน กูไม่ไปกับมึง มึงไปเถอะ อารมณ์มึงไปเถอะ กูไม่ไป กูอยู่นี่ แล้วพุทโธมันชัดๆ พุทโธมันชัดๆ มันไปไม่ได้ เหมือนคนติดคุก ความคิดมันออกจากคุก แต่ตัวมันอยู่ในคุก
นี่ก็เหมือนกัน เรามีสติอยู่ของเรา มึงจะไป มึงไปเลย กูไม่ไป มึงไปเถอะ กูไม่ไป พุทโธๆ มันอยู่อย่างนั้น สู้มัน แล้วมันจะไปได้อย่างไรล่ะ ถ้าฐานมันอยู่ที่นี่ เห็นไหม ทำความสงบ ๔๐ วิธีการ ถ้าจิตมันสงบเข้ามาๆ จิตมันอยู่กับเรา
ไม่ใช่อยู่ในวัด เราภาวนาอยู่นี่ มันคิดไปรอบโลกเลยมันยังไม่รู้เลยว่ามันคิดไปไหน แล้วถ้าเขาปฏิบัติกัน เขาบอกว่า ไอ้พวกพุทโธมันอ้อมโลก เรานี่สายตรง เรานี่สายตรง มันไม่รู้หรอกว่ามันคิดทั้งปี แล้วมันจะตรงไปไหน ตรงไปไหน นี่ไง หลอกให้ทำๆ กิเลสมันหลอกให้ทำ แล้วทำแล้วมันไม่มีผล ทำแล้วไม่มีสิ่งใดเป็นสัจจะ ไม่มีความจริง มันไม่มีมรรค แล้วเข้าสู่มรรคไม่ได้ เพราะคนไม่เคยเข้ามรรค เข้าสู่มรรคไม่ได้
แต่ถ้าคนจะเข้าสู่มรรค เราทำความสงบของใจเข้ามา
แล้วบอก อ้าว! ไอ้พุทโธอ้อมโลก แล้วทำความสงบของใจเข้ามา แล้วมันจะเข้ามรรคอย่างไรล่ะ แล้วมันจะไปไหนล่ะ
นี่อุบาย อุบายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อุบายขององค์หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น อุบายของครูบาอาจารย์ของเรา อุบาย ไม่ใช่หลอกให้ทำ หลอกให้ทำมันไม่มีที่มาที่ไป ไม่มีเหตุไม่มีผล หลอกลวงกัน เพราะคนบอกมันก็ไม่รู้ คนที่เขาไม่รู้จักมรรค เขาจะบอกให้เราไปสู่มรรคได้ไหม คนตาบอดมันจะจูงคนตาดีไปให้ตาบอด คนตาบอดมันจูงคนตาดีไป คนตาดีบอก ตาบอดมึงจะจูงไปไหนวะ ไอ้ตาบอดมันก็จูงไปเรื่อยเลย ไอ้คนตาดีจูงไปจูงมามันเดินตามคนตาบอดจนใจมันบอดตามเขาไปได้อย่างไร งงนะ
ไอ้คนตาบอดมันก็จูงไปเพราะมันไม่รู้ มันหลอกให้ทำ ไอ้คนตาดี พอเราเป็นคนตาดี แต่อยากปฏิบัติ ก็ไปเดินตามไอ้คนตาบอด ไอ้คนตาบอดมันก็จูงไปเรื่อย จูงไปจูงมา ไอ้คนตาดีตาบอดหมดเลย แล้วบอกว่า ไอ้พุทโธมันอ้อมโลก นี่ทางลัด นี่ตรงต่อธรรม นี่ไง หลอกให้ทำเป็นแบบนั้น
แต่หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น ครูบาอาจารย์ของเราไม่เป็นแบบนั้น ไม่เป็นแบบนั้นเพราะหูตาท่านสว่าง ท่านเห็นโทษของกิเลส ท่านเห็นโทษของอวิชชาที่ครอบงำหัวใจของสัตว์โลก มันมีอำนาจบาตรใหญ่ เอาใจดวงนี้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในอำนาจของมัน ท่านเห็นโทษของมันท่านถึงให้เรามีสติมีปัญญา พยายามตั้งสัจจะ รักษาตัวได้ รักษาตัวให้จิตสงบเข้ามา ให้พ้นจากการครอบงำของอวิชชาเป็นครั้งเป็นคราว
ถ้าเป็นครั้งเป็นคราวแล้วฝึกหัดบ่อยครั้งเข้า ฝึกหัดบ่อยครั้งเข้าจนกว่ามีความชำนาญในวสีในการเข้าการออกเพื่อรักษาความสงบของใจอันนี้ไว้เพื่อให้ใจมันเป็นความจริง มันเป็นสมบัติของเรา มันเป็นหัวใจของเราที่เวียนว่ายตายเกิดมา แล้วเราไม่รู้จักมัน รู้จักแต่อวิชชา รู้จักแต่ตัณหาความทะยานอยาก พลิกหน้ามาเล่น หลอกลวงเรามาตลอด หลอกลวงให้เราใช้ชีวิตแบบที่มันต้องการที่มันปรารถนา มันต้องการสิ่งใดก็หามาปรนเปรอมัน แต่ไม่รู้จักตัวเอง จิตของเราโดนอวิชชามันครอบงำ มันจับขังไว้ แล้วอวิชชามันก็บัญชาการชีวิตของสัตว์โลกไป หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นเห็นโทษของอวิชชาที่มันปิดหูปิดตาหัวใจของเรา แล้วบังคับให้เราใช้ชีวิตเดินตามมันไป ท่านถึงเห็นภัยของมันไง
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครูบาอาจารย์ของเราท่านเห็นโทษของอวิชชา ท่านเห็นโทษของการที่มันปิดหูปิดตา แล้วจับเราก้าวเดินไปในอำนาจของมัน ท่านถึงบอกให้ทำความสงบของใจ พยายามทำความสงบของใจเราเข้ามา ถ้าให้ใจเราเข้ามานั้นคือเราพยายามเปิดหูเปิดตาของเรา ไม่ยอมเชื่ออวิชชา ไม่ยอมเชื่อสิ่งที่พญามารมันปิดหูปิดตาแล้วให้เราดำรงชีวิตตามมันไป เราถึงพยายามทำความสงบของใจเข้ามา
แล้วคนที่ไม่เคยประพฤติปฏิบัติ เวลาจะทำความสงบของใจเข้ามา คนมันเคยใช้ชีวิตสุรุ่ยสุร่าย เคยใช้ชีวิตโดยกิเลสตัณหาความทะยานอยากบงการมาทั้งวัฏฏะ ไม่ใช่ทั้งชีวิตนี้นะ อวิชชาพญามารมันบงการชีวิตเรามาก่อนที่เราจะมาเกิด เกิดมาก็บงการ ตายไปมันก็ยังบงการต่อไป เพราะผลของวัฏฏะ จิตนี้เวียนว่ายตายเกิดไม่มีต้นไม่มีปลาย อวิชชา พญามารมันปิดหูปิดตามาตั้งแต่เรายังไม่เกิด เพราะมันปิดหูปิดตามา เราถึงเวียนว่ายตายเกิดมาเกิดเป็นเราอยู่นี่ มันคลุม มันครอบงำหัวใจเรามาตั้งแต่เรายังไม่เกิด แล้วเกิดมาแล้วตายไปก็จะครอบงำไปแบบนี้
แล้วเวลาเราเกิดมา เรามีสติมีปัญญา เราอยากจะประพฤติปฏิบัติ ก็ให้เขาหลอกให้ทำ เขาก็หลอกให้ทำ ก็ทำตามเขาหลอก เห็นไหม คนตาดีๆ ให้คนตาบอดมันจูง แล้วจูงไปจูงมา คนตาดีๆ มันก็เลยตาบอดไปกับเขา
แต่ครูบาอาจารย์ของเราท่านเห็นโทษของอวิชชา เห็นโทษของพญามาร เห็นโทษของพญามารที่มันครอบงำหัวใจของสัตว์โลก ท่านถึงบอกว่าให้ทุกคนหูตาสว่าง พยายามปฏิบัติ มันมีสติปัญญา พยายามกำหนดพุทโธ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิเพื่อไม่ให้พญามารมันครอบงำหัวใจ ไม่ให้พญามารมันปิดหูปิดตาให้มันบงการชีวิตของเราไง
ดูสิ เวลามันบงการชีวิตของเรานะ เราจะนั่ง จะยืน จะนอนตามความสะดวกสบายของเราทุกๆ อย่างเลย เวลาจะนั่งสมาธิมันก็ลำบาก ปวด เจ็บปวดไปหมด เวลาเราเดินจงกรม แหม! ทำไมมันอัดอั้นตันใจขนาดนี้ ไปเดินห้างมันชอบ ไปเดินห้างมันยิ้มเลย แต่เดินจงกรมนี้มันต่อต้าน มันจะเป็นจะตาย แต่ไปเดินห้างนี้มันยิ้มเลย นี่มันบงการชีวิต เห็นไหม
แล้วไอ้ลัดสั้น ไอ้พวกที่มันต้องการมันก็บอกว่านี่แหละเป็นธรรม เพราะพิจารณาสินค้าให้ดูเป็นไตรลักษณ์ไง ไปเดินห้างนะ มันบอกมันจะพิจารณาไตรลักษณ์ นั่นล่ะเป็นไตรลักษณ์ เพราะซื้อมาแล้วเป็นของเรา ทิ้งไปก็ไม่ใช่ของเราแล้ว มันจะเป็นไตรลักษณ์
ดูสิ ครูบาอาจารย์เราท่านรู้ ท่านรู้ท่านเห็น ท่านถึงบอกว่าทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าใจมันสงบได้ ฉะนั้น จิต การครอบงำของกิเลส กิเลสตัณหาความทะยานอยากครอบงำมาตลอด มันต้องต่อต้านแน่นอน เราจะบอกว่ามันควบคุมใจดวงนี้ตั้งแต่ก่อนเกิด แล้วเกิดมา เกิดมาพบพระพุทธศาสนา แล้วเราจะเอาจริงกับมัน เราจะเอาจริงๆ แล้วครูบาอาจารย์ท่านถึงมีอุบายไง อุบายให้พยายามทำความสงบของใจเข้ามา ให้ต่อสู้ ให้เราได้สัมผัส
ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ถ้ามีสติก็สติยับยั้งความรู้สึกนึกคิด ถ้ากำหนดพุทโธ เพราะจิตมันสงบได้ มันก็รู้ว่า อ๋อ! มันเป็นอย่างนี้ๆ นี่ถ้ามันสงบได้ พอมันสงบแล้วมันถอยออกมา เราก็พยายามทำความสงบมากขึ้น พอทำเข้าไป อ๋อ! เราทำได้ๆ แต่ก่อนนี้ โอ้โฮ! มันล้มลุกคลุกคลาน มันทุกข์มันยาก มันลำบากลำบนไปหมดเลย ตอนนี้ทำได้ๆ เห็นไหม นี่คืออะไร
นี่ไง จากสิ่งที่จิตมันมหัศจรรย์ จิตมันเป็นได้หลากหลาย เราทำให้มันดีขึ้น เราพัฒนาให้จิตเราดีขึ้น เราพัฒนาของเราให้จิตมันมั่นคงของมัน มันเปิดหูเปิดตาไง ไม่ให้กิเลสมันครอบงำไง ไม่ให้ใช้ชีวิตดำรงชีวิตแบบที่กิเลสตัณหาความทะยานอยากมันบงการ มันบงการ มันใช้สอย เราทำมันมาตลอดไง แต่ตอนนี้ธรรมะจะบงการแล้วล่ะ
ถ้าเรามีครูบาอาจารย์ ใช้อุบายวิธีการ ครูบาอาจารย์ท่านให้อุบาย ให้อุบายเราทำ ให้อุบายเราทำ แล้วเราทำตามครูบาอาจารย์ เพราะครูบาอาจารย์ท่านทำมาแล้วท่านรู้ รู้ว่าจิตมันสงบใหม่ๆ มันแสนยาก ดูสิ ผู้ปฏิบัติใหม่ๆ พระบวชใหม่ทนคำสอนไม่ได้ อะไรกัน มันยุ่งไปหมดเลย
มันยุ่งสิ เพราะมันเคยหน้าด้าน มันเคยย้ำว่าทุกอย่างเป็นของเรา ทุกอย่างทำได้หมดไง มันหน้าด้าน เวลาจะให้แยกดีและชั่ว ให้แยกมีสติไม่มีสติ มันบอกว่า ยุ่งไปหมดเลย อะไรก็ยุ่งไปหมดเลย นี่ผู้บวชใหม่ ผู้บวชใหม่มันยุ่งไปทุกเรื่องเลย แล้วเขายุ่งทำไมล่ะ เขายุ่งกับเราทำไมล่ะ เขายุ่งกับเรา ก็จะเปิดตาไง ไอ้คนโง่ๆ ไอ้คนดื้อตาใสให้มันหูตาสว่างไง
ดูสิ หลอกให้ทำ คนตาดีๆ มันภาวนาไปจนตาบอดหมดเลย แต่ครูบาอาจารย์ของเรา ไอ้ตาบอดๆ ไอ้ดื้อด้าน ตั้งสติไว้ ทำของมันไว้ พอทำได้ มันทำได้แล้วมันจะระลึกถึงคุณเลยล่ะ
เวลาหลวงตาท่านพูดนะ กับหลวงปู่มั่น ท่านบอกว่า ไม่รู้ไม่เป็นท่านก็สอนมา ท่านก็เลี้ยงมา ท่านก็กล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดูมา มันเหมือนกับเด็กแดงๆ เลยล่ะ ป้อนนมมัน ดูแลมันมาจนกว่ามันจะโต นี่เวลาท่านรำพันถึงหลวงปู่มั่นนะ ท่านเลี้ยงเรามา ท่านดูแลเรามา ดูสิ เด็กเวลามันเล่นกับพ่อแม่มัน เดี๋ยวมันก็ตบเดี๋ยวมันก็ตี มันสนุกของมัน มันคิดว่ามันเป็นความดีของมัน แล้วผู้ใหญ่ก็ทนนะ ทนไป
นี่ก็เหมือนกัน เวลาจิตมันดื้อมันด้าน นู่นก็ไม่ได้ นี่ก็ไม่ได้ โอ๋ย! มันวุ่นไปหมดเลย
เลี้ยงมา ดูแลมา หัวใจมันจะเลี้ยงยากอย่างนี้ เลี้ยงมากว่ามันจะโต พอมันจะโตขึ้นมา มันเป็นผู้ใหญ่ไง มันเป็นผู้ใหญ่มันก็อายนะ มันจะเล่นแบบเด็กๆ มันก็ไม่เป็นผู้ใหญ่ เวลาเป็นเด็กมันก็อยากเป็นผู้ใหญ่ แล้วมันก็คิดว่ามันเป็นผู้ใหญ่ เวลาเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมา นจะทำอะไรแบบเด็กๆ มันก็ทำไม่ได้แล้ว เพราะอะไร เพราะเป็นผู้ใหญ่แล้ว มันมีความเก้อเขิน มันทำไม่ได้
จิตก็เหมือนกัน เวลาถ้ามันทำได้จริง เราเปิดตาๆ มา เห็นไหม ไม่ใช่ให้เขาหลอกให้ทำ หลอกให้ทำมันทำแบบมืดบอด คนดีๆ ทำตาบอดหมดเลย แต่ถ้าเป็นความจริง ทำให้คนตาบอดเป็นคนดีหมดเลย ทำให้คนตาบอดเป็นคนตาดีได้
จิตมันบอด จิตมันไม่เคยเห็น มันไม่เป็นปัจจัตตัง มันไม่เป็นสันทิฏฐิโก ศึกษามาๆ ก็ว่าเป็นสมบัติของเราๆ ทั้งๆ ที่มันไม่มีความจริงในหัวใจเลย แต่เวลาปฏิบัติขึ้นมา มันเป็นจริงขึ้นมา พอจิตมันสงบ จิตสงบก็คือตัวจิตมันเป็น จิตมันสงบมันถึงมีคุณธรรม จิตมันสงบมันถึงมีเหตุมีผล ถ้าจิตสงบมันมีเหตุมีผล โอ้โฮ! มันมหัศจรรย์ขนาดนี้ แล้วถ้าปฏิบัติไปมันจะขนาดไหน มันก็อยาก เห็นไหม อยากสงบอีกเลยไม่ได้สงบเลย
แต่เดิมเวลากิเลสตัณหาความทะยานอยากปิดหูปิดตา มันก็ใช้ชีวิตเราไปแบบนั้น เวลาตอนนี้พอจิตเราสงบขึ้นมาแล้ว พอมันอยากได้ อยาก อยากได้ก็กิเลสไง อยู่ทางโลกก็ให้กิเลสมันปิดหูปิดตาไว้ เวลาปฏิบัติขึ้นมามีสติมีปัญญาต่อสู้มันได้จนจิตสงบขึ้นมาได้หนหนึ่ง เวลาจะปฏิบัติอีกก็เอากิเลสเข้ามาสอดอีก นี่สมุทัยๆ สอดเข้ามาๆ ก็ล้มลุกคลุกคลานอีกล่ะ จิตสงบแล้วก็อยากให้สงบอีก จิตสงบเพราะอะไร จิตสงบเพราะมีสติมีปัญญา เพราะดูแลรักษาไง
ใจมันบอด ได้อาศัยธรรมะ อมตธรรม ทำจนหัวใจมันเปิดหูตาสว่างขึ้นมา ได้เห็นความสงบกับเขาสักทีหนึ่ง แล้วพออยากได้ๆ ก็อยากได้แบบโลก อยากได้แบบตามความพอใจ มันไม่ได้อยากได้ด้วยเหตุด้วยผล ถ้าอยากได้ อยากได้ก็พุทโธเข้าไปสิ อยากได้ก็ใช้ปัญญาอบรมสมาธิสิ ปัญญาอบรมสมาธิให้เป็นความสมดุล เป็นความพอดี มันก็สงบอีก
เพราะความสงบนี้มันจากเหตุจากผล ความสงบนี้มันมาจากการลงทุน ความสงบนี้มันมาจากการกระทำ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ชี้ทางให้เท่านั้น เราเท่านั้นเป็นผู้ประพฤติปฏิบัติขึ้นมาเอง แล้วเราทำความเป็นจริงขึ้นมามันก็สงบได้ตามความเป็นจริงของมัน เหตุผลมันมีไง มันมีสัจจะความจริงอยู่แล้ว แต่ไอ้คนมักง่าย ไอ้คนเห็นแก่ได้ ไอ้คนจะเอา เอาสุกก่อนห่าม นี่ติตนเองอย่างนี้ ถ้าติตนเองอย่างนี้แล้วมันไม่โทษใครไง
เวลาปฏิบัติมันก็โทษหมดล่ะ โอ๋ย! นู่นก็ไม่ดี นี่ก็ไม่ดี แล้วใครดีล่ะ กิเลสใช่ไหม กิเลสในใจของตัวเองดีใช่ไหม นี่โทษเขาทั้งนั้นเลย มันต้องโทษมันสิ โทษไอ้กิเลสนี่
ถ้ามันสงบได้ สงบแล้วมันเป็นความดี เห็นไหม สงบเพราะเหตุเพราะผล สงบเพราะเราปฏิบัติแล้วตามความเป็นจริง เราทำความจริง จิตเราเคยสงบได้มันต้องสงบได้ ถ้ามันเสื่อม มันเสื่อมก็ต้องสู้กัน คนเรามันมีเจริญแล้วเสื่อมทั้งนั้นน่ะ พอจิตมันสงบแล้ว ถ้าจิตสงบมันมีความสุข ถ้าจิตสงบแล้วมันใช้อุบาย ไม่ใช่หลอกให้ทำ ถ้าคนไม่เคยทำ จิตสงบก็ไม่รู้ว่าสงบ พอจิตสงบนะ มันก็บอกว่างๆ ว่างๆ...ไอ้ว่างๆ มันเผลอ ไอ้ว่างๆ มันไม่มีสติ
ถ้าจิตมันสงบ ตัวมันเป็นสมาธิ แต่มันเป็นคำสมมุติ เวลาบอกว่า มันว่างอย่างนั้น ว่างอย่างนั้น มันว่างอย่างนั้นเขาว่างจริงของเขา เขาไม่ว่างๆ อย่างเราหรอก ว่างๆ ว่างๆ เป็นอย่างไร ว่างๆ ไม่รู้ มันมาจากไหน ไม่รู้ มันมาเอง แล้วเวลามันเสื่อมไปล่ะ มันไม่เสื่อม มันอยู่อย่างนี้ตลอดไป นั่นว่างๆ ของมัน มันไม่มีตัวตนไง มันไม่มีความจริงอยู่ในใจ
ถ้ามีความจริงอยู่ในใจ ถ้าจิตมันสงบ ถ้ามันสงบแล้วนะ ถ้ามันขาดสติมันก็ว่านี่คือนิพพาน แต่ถ้าคนมีสติ จิตสงบแล้วรำพึงไปที่กาย
ก่อนที่จิตสงบ บางทีสงบแล้วมันจะเห็นกาย เห็นกาย เห็นภาพนิมิตต่างๆ เห็นกาย เห็นภาพนิมิต ถ้าครูบาอาจารย์ท่านเป็นจริงนะ ท่านจะบอกว่าให้พุทโธไว้ อย่าทิ้งผู้รู้ อย่าทิ้งพุทโธ มันยังไม่ถึงเวลา ไม่ถึงเวลาถ้าเราออก คนมีเงินมีปัจจัย ไม่รู้จักเก็บรักษา ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย หาไม่ทันใช้
จิตมันสงบนี่เกือบตายกว่ามันจะสงบได้ รู้นู่นรู้นี่ไปหมดเลย เวลาหามาเกือบเป็นเกือบตาย แล้วก็ปล่อยมันส่งออก ส่งไปรับรู้ อยากรู้ อยากเป็น มันไม่เป็นหรอก ถ้ามันไม่เป็นนะ ถ้ามีสติปัญญาบังคับ เวลาพุทโธมันไม่ยอมพุทโธ เราบังคับให้พุทโธ พุทโธจนสงบได้ พอสงบได้ จิต กำลังของสติ กำลังของปัญญา รักษาไม่ได้ รักษาไม่เป็น มันก็จะออกรู้นิมิต ออกรู้นิมิต ออกชมเชยความสงบของตัว เออ! สงบนี้คือนิพพาน อู๋ย! สุดยอด เดี๋ยวก็เสื่อม เพราะนั่นเป็นผล
แต่ถ้าเรามีสตินะ พุทโธไว้ รักษาตรงนี้ไว้ ถ้าพุทโธไว้ พุทโธมันก็ลำบากขนาดนี้ มันไม่ลงสักที
จิตของคน ใครสร้างเวรสร้างกรรมมามากน้อยแตกต่างกัน ขิปปาภิญญา ปฏิบัติง่ายรู้ง่าย เวลาเวไนยสัตว์ ปฏิบัติยากรู้ยาก ปฏิบัติก็ยาก กิเลสมันไม่ให้ปฏิบัติ มันบอกไปเที่ยว ไปเดินห้างดีกว่า มันจะไปทัศนศึกษา เวลาปฏิบัตินะ เราไปทัศนศึกษา ไปปฏิบัติเข้าคอร์สเข้มข้น
นู่น! เข้มข้นอยู่ไหน ใจมึงจะเข้มข้นมาจากไหน ถ้าเราจะปฏิบัติ เราอยู่ที่ไหนเราก็พุทโธได้ เราก็มีลมหายใจเข้าลมหายใจออก เรามีสติ มีสติรักษาของเรา เราไม่ให้กิเลสมันมาพลิกแพลงไง
เวลาเราปฏิบัติก็แสนยาก เวลาปฏิบัติมาแล้วปฏิบัติพอมันได้ผลขึ้นมามันก็จะเอาแต่ง่ายๆ ถ้าเราไม่เอาแต่ง่ายๆ เราเอาที่เหตุ น้อมไปที่เหตุ รักษาของเรา มันเสื่อมขนาดไหนมันต้องกลับมา มันเสื่อม มันต้องกลับมาแน่นอน แล้วมันต้องเสื่อมด้วย ของที่เป็นวัตถุมันยังย่อยสลาย ของที่เป็นวัตถุมันยังสูญหาย แล้วของที่เป็นนามธรรมทำไมมันจะไม่ตกหล่นไปจากใจ ถ้ามันตกหล่นจากใจ มันตกหล่นให้เรารู้จักรักษาไง มันตกหล่นมันจะสอน สอนว่าไอ้เซ่อ สมาธิรักษาไม่เป็น มันจะสอนเราไง ถ้าเราไม่เซ่อ สมาธิมันจะตกหล่นไปไหน
นี่เพราะมันเซ่อ แล้วเซ่อจะไปโทษใคร เซ่อก็ต้องโทษตัวเองสิ ถ้าโทษตัวเองเราก็ฝึกของเราขึ้นมา ถ้ามันรักษาอย่างนี้ได้ มันรักษาได้ ชำนาญในวสี สมาธิที่ไหนมันจะเสื่อม สมาธิมันจะเสื่อมอย่างไร ในเมื่อเหตุมันล้อมมันอยู่มันจะเสื่อมไปไหน แต่นี่เหตุมันไม่สมบูรณ์ไง ลากอวนไง ไม่ได้ซ่อมอวนของตัวเลย รูเบ้อเร่อเท่อ ลากมามีแต่อวนกับน้ำ ปลามันออกหมด แล้วเราจะไปโทษใคร จะไปโทษใคร
จะลากอวน ซ่อมสิ อวนของเราต้องซ่อม ต้องเย็บ ต้องดู ต้องแล แล้วเวลาลากมาปลามันออกไม่ได้ นี่ก็เหมือนกัน เวลาลากอวน โอ้โฮ! เก่งมาก ลากมาเลย ขึ้นมามีแต่อวนกับน้ำ ปลาไม่มีสักตัว แล้วไปโทษใคร โทษใครไม่ได้ ต้องโทษเราทั้งนั้นน่ะ
เวลาเราปฏิบัติล้มลุกคลุกคลาน กิเลสมันก็ปิดหูปิดตา เวลาจะเป็นจริงเป็นจังขึ้นมา ได้ผลขึ้นมาแล้วล่ะ มีความสงบบ้าง ได้สัมผัสบ้างก็ยังดีมากเลย เกิดมาไม่เสียชาติเกิด จิตของเราไปอยู่กับเราจะค้นคว้าหามันเจอ นี่ปฏิสนธิจิตเกิดมาเป็นเรา แต่ไม่เคยเห็นหน้ามันเลย ไม่รู้จักมันเลย รู้แต่กิเลสตัณหาความทะยานอยากให้มันหลอกใช้อยู่ทั้งชาติ พอจิตมันสงบขึ้นมานี่รู้จักตัวมัน มีความสุข อืม! เกิดมาไม่เสียชาติเกิด
เกิดมาเป็นชาวพุทธ เราสนใจในการประพฤติปฏิบัติ จิตสงบแล้ว องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอน เห็นไหม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปอยู่กับอุทกดาบส อาฬารดาบส ได้สมาบัติ ๘ เหมือนเรา เป็นอาจารย์สอนได้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปฏิเสธ แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้รื้อค้นเอง แล้วให้อุบายวิธีการเรานี่ไง เราทำความสงบของใจของเราเข้ามาเราก็มีความภูมิใจ นี่น้อมไปๆ
พอจิตมันสงบแล้วไปเห็นนู่นเห็นนี่ อยากรู้อยากเห็นนักน่ะ นั่นน่ะมันหลอก มันหลอกให้จิตเสื่อม มันหลอกให้ส่งออก มันหลอกให้ทิ้งผู้รู้แล้วไปอยู่ที่ภาพนิมิต ทิ้งผู้รู้
หลวงปู่มั่นสอน อย่าทิ้งผู้รู้ อย่าทิ้งพุทโธ เวลามันรู้เห็นอะไรมันก็ทิ้งตัวมันเองไปอยู่กับเขา เห็นนู่นก็ทิ้งตัวเองไปอยู่กับเขา เห็นอะไรก็ไปหมดเลย แล้วเหลืออะไรล่ะ? เหลือจิตเสื่อมไง เหลือเวลาเหลือแต่กาก เหลือแต่ความทุกข์ เหลือแต่ความเสียใจ
แต่ถ้ามีครูบาอาจารย์ ท่านใช้อุบาย เห็นไหม มันเสื่อมมันก็ต้องกลับมาได้ เวลามันมีก็มีขึ้นมาจากใจเรา เวลาสมาธิมันหายไปจากใจเราแล้ว แล้วมันหายไปแล้วเราจะทำอย่างไรล่ะ เราก็สร้างเหตุสร้างผล เห็นไหม เรามีเหตุล้อมมันๆ เรามาซ่อมอวนไง เดี๋ยวเราจะไปลากปลาด้วยกันไง
พุทโธๆ ของเราไป มันที่เหตุ พอมันสมดุล สมดุลมันก็กลับมาสงบ สงบแล้ว ที่เราไปอยากรู้นู่นรู้นี่ ทำให้มันเสื่อมไป ทำให้มันส่งออกไป ต้องจำๆๆ เราไม่ให้ออกเลยจนจิตตั้งมั่น ถ้าจิตตั้งมั่นมันจะแข็งแรง ใส พิจารณาไป สมาธิแรง คนที่สมาธิเข้มแข็งนะ เพ่งภาพชัดเจน แล้วปัญญามันไม่ก้าว ต้องพยายามใช้ปัญญาแยกแยะ ให้ปัญญากับสมาธิสมดุลกัน ถ้าปัญญากับสมาธิสมดุลกัน เห็นไหม
เราทำสมาธิเกือบเป็นเกือบตาย เรายังไม่เห็นกาย ไม่เห็นสติปัฏฐาน ๔ ครูบาอาจารย์ของเรา เห็นไหม คนตาบอดทำให้เป็นคนตาดี คนตาดีแล้วไปเห็นอะไรมันชัดเจนขึ้นมา แล้วก็ยังละล้าละลัง ยังทำไม่ได้ มันก็ใสอยู่อย่างนั้นน่ะ มันใส ใส ใสนั่นสมาธิดี
ถ้าว่าสมาธิดี โอ๋ย! ฉันมีเยอะ...ไม่ใช่ สมาธิดีแบบผู้ที่ปฏิบัติเก่ง ผู้ปฏิบัติเป็น แต่ไม่รอบคอบ ไม่สมดุล ถ้าไม่รอบคอบ ไม่สมดุล มรรคสามัคคีไม่ได้ ถ้าใช้ปัญญาไปๆ เวลาคนใช้ปัญญาไปมากๆ สมาธิมันอ่อนแอ ภาพนั้นหลุดหมดเลย ภาพนั้นหายหมดเลย อันนี้เป็นไตรลักษณ์...ไม่ใช่ มันหายไปโดยข้อเท็จจริงของเขา ไม่ใช่ไตรลักษณ์ ไม่ใช่การบริหารจัดการของเรา ไม่ใช่การใช้ปัญญาของเรา
แต่ถ้าการใช้ปัญญาของเรา เวลาจิตมันสงบแล้วจับสิ่งใดได้ พิจารณาด้วยความจริงของเรา ถ้ามันสมดุลของมัน มันเป็นไตรลักษณ์ คือมันย่อยสลาย เวลาพิจารณาเห็นกาย ให้กายมันผุพังไป มันเป็นให้ดูๆ
เขาไปธุดงค์ๆ กัน เขาก็ไปค้นหาหัวใจ เขาไปวิปัสสนา ไอ้นี่เอาธุดงค์ในใจแล้ว ธุดงค์ในกายนคร ธุดงค์ในหัวใจ นั่งอยู่นี่แล้วจิตมันค้นคว้าในร่างกาย มันธุดงค์ มันตรวจสอบในร่างกาย ตรวจสอบว่า อัฐิ กระดูก ตับ ไต ไส้ ปอด มันตรวจสอบของมันด้วยสัมมาสมาธิ ด้วยความเป็นมรรค มัคโค ทางอันเอก เพราะจิตมันจริง เพราะจิตมันเป็นสมาธิ จิตมันมีจริง มันถึงจับได้จริงๆ แล้วมันค้นคว้าได้จริงๆ ถ้าจิตมันไม่สงบขึ้นมา มันฟังเขามานี้ หลอกให้ทำๆ มันก็สร้างภาพ เขียนภาพ เขียนธรรมะ ธรรมะจะเป็นอย่างนั้น เขียนไป นั่นน่ะเขาหลอกให้ทำ
แต่ไอ้นี่เป็นความจริง เรามีครูบาอาจารย์ เรามีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรามีหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านใช้อุบายให้เราทำ พอเราทำขึ้นมา จิตสงบแล้วมันเป็นความจริงขึ้นมา มันน้อมไปที่กาย ที่เวทนา ที่จิต ที่ธรรมจากในหัวใจ มันกำลังค้นคว้าอยู่ในกายนครของเรา
จิตของเรา เรารู้ของเรา เราเห็นของเราขึ้นมา เราทำความจริงของเราขึ้นมา มันเป็นมรรค แล้วเวลามันรื้อมันถอน รื้อถอนด้วยนามธรรม รื้อถอนด้วยหัวใจ คนตาบอดๆ ทำให้หูตาแจ่มแจ้ง เวลาวิปัสสนาขึ้นมา วิปัสสนาด้วยหัวใจของเรา เห็นไหม ชัดเจน แจ่มแจ้ง พิจารณาของมันไป มันปล่อยด้วยกำลังนะ เวลากำลังมันสมดุลของมัน มันปล่อย มันปล่อยด้วยอะไร
เวลากิเลสมันโดนธรรมะรุกราน ธรรมะเข้าไปจัดการจะทำมัน ชีวิตเราทั้งชีวิต ใช้ชีวิตมาด้วยให้กิเลสตัณหาความทะยานอยากมันครอบงำ เวลาเราปฏิบัติของเรา ศีล สมาธิ ปัญญามันเจริญงอกงามขึ้นมา มันเกิดขึ้นมา สัจธรรม ธรรมจักรๆ ที่มันเกิดขึ้นมา แล้วจักรมันหมุน มันทำลายอวิชชา ทำลายกิเลส มันเริ่มทำลาย นี่ไง มันต้องมีเหตุมีผล มันต้องมีมรรคอย่างนี้ไง ถ้ามีมรรค ครูบาอาจารย์ท่านสอนอย่างนี้ไง
ไม่ใช่ว่า พุทโธนี้อ้อมโลก ไม่อ้อมโลกหรอก นี่ทางตรง ทางตรงทำจริง ความเป็นจริงของสัจจะ เป็นความจริงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเผยแผ่ธรรมมา ใช้อุบายวิธีการมาเพื่อให้เรารู้จริง ถ้าเรารู้จริงก็เป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก ธรรมะอยู่ที่นี่ เห็นไหม
เราค้นคว้าๆ ธรรมะกัน ธรรมะอยู่ที่ไหน ธรรมะบนอวกาศใช่ไหม อากาศนี้เป็นคลื่นนะ ให้พวกทำธุรกิจเขาได้สตางค์นะ ธรรมะไปค้นที่ไหน ไปค้นบนในอากาศ ไปค้นในภูเขาเลากา ไปค้นที่ไหน
เขาค้นในกายของใจ ค้นคว้าในหัวใจ ค้นคว้าอยู่นี่
ไอ้ปฏิบัติโดยเขาหลอกให้ทำ คนดีๆ ทำให้ตาบอดหมดเลย แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครูบาอาจารย์ของเรา เห็นไหม ไอ้คนมืดบอด ไอ้หัวใจบอดนี่ทำให้เป็นสมาธิขึ้นมา ให้มันสว่างโพลงขึ้นมา ให้มันเกิดปัญญาขึ้นมา ถ้ามันทำความจริงขึ้นมามันเกิดมรรค เกิดสัจธรรมขึ้นมา มันวิปัสสนาของมัน มันทำของมันไป ถ้าหูตาสว่าง เวลาทำของมันด้วยความสมดุลของมัน ด้วยธรรมจักร นี่มัคโค ทางอันเอก เข้าสู่อริยสัจ เข้าสู่สัจจะความจริง เข้าสู่สัจธรรม เข้าสู่มรรค
ศาสนาไหนไม่มีมรรค ศาสนานั้นไม่มีผล องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพูดไว้ พราหมณ์ เธออย่าถามให้มาก ศาสนาไหนไม่มีมรรค ศาสนานั้นไม่มีผล
ในวงปฏิบัติ ในวงปฏิบัติเรามันมีมรรคจริงหรือเปล่า มันมีแต่ความจำ แล้วความจำขึ้นมาแล้ว เพราะความจำพูดแล้วมันจืด พอมันจืดขึ้นมาจะพูดต่อเนื่องกันไปก็เลยกลายเป็นการสร้างภาพ กลายเป็นความหลอกลวง เพราะมันบอด คนมันบอด มันไม่มี มันจะเอาอะไรมาพูด แล้วมันพูดไปแล้วมันจืดเอง พอพูดไปแล้ว พอพูดบ่อยๆ ไอ้คนพูดมันก็จืดชืด มันก็ไม่มี ตอนนี้จะพูดให้มันเข้มข้น...ไปแล้ว ไอ้คนฟังมันก็ไปด้วย พอไป มันจะไปไหน นั่นล่ะเขาหลอกให้ทำ เราก็พอใจให้เขาหลอกเสียด้วยนะ
แต่ถ้าเรามีสติมีปัญญา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกไว้แล้ว การประพฤติปฏิบัติ ผู้ใดปฏิบัติสมควรแก่ธรรม ให้มันสมควรกับจริตนิสัย จริตนิสัยคนมันไม่เหมือนกัน เราจะลุยให้เหมือนคนอื่นไปมันก็ไม่ใช่ มันจะต้องทำให้ว่ากิเลสของเรา ความรู้สึกในใจของเรา สิ่งที่เราจะตรวจสอบอยู่ ถ้าเราทำได้จริง ทำแล้วมันสมเหตุสมผล เราทำของเราด้วยกำลังของเรา
หลวงตาท่านสอนนะ เวลาจะอดนอนผ่อนอาหารให้วัดกำลังของตัวก่อนว่าตัวเรามีกำลังแค่ไหน ไม่ใช่ทำโดยที่ไม่มีเหตุมีผล ทำโดยความพอใจของตัว มันต้องมีเหตุมีผล วัดว่าเราจะมีกำลังต่อสู้กับมันได้มากน้อยแค่ไหน แล้วเราพยายามทำตามนั้น การปฏิบัติเราต้องมีสติมีปัญญาเลือกค้นเลือกเฟ้นเอาเพื่อประโยชน์กับเรานะ
เราทำจริงๆ ตามอุบายวิธีการของครูบาอาจารย์ท่านสอน ไม่ให้ใครมาชักนำ ไม่ให้ใครมาหลอกลวงให้เราเสียโอกาสของเราไป เอวัง