เมตตาตน
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต
เทศน์บนศาลา วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๔๗
ณ วัดสันติธรรมาราม ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี
ตั้งใจฟังธรรม ฟังธรรม ฟังธรรมฟังเข้าให้ถึงใจ ถ้าใจมันเปิดรับมันจะเข้าถึง การฟังธรรมฟังเพื่อความเข้าใจนะ ถ้าเราเข้าใจสิ่งต่างๆ เข้าใจสิ่งที่ตามความเป็นจริง ตามสภาวะตามความเป็นจริง สิ่งที่เป็นจริงนี่มันเป็นสิ่งที่ว่าเหนือโลกไง สิ่งที่เป็นความสมมุติจอมปลอมเป็นเรื่องของโลก สิ่งที่เป็นความจอมปลอมนะ ถ้าว่าเป็นความจอมปลอมแล้วมันมีอยู่จริงได้อย่างไร สมมุติโลกนี้มีอยู่จริง สิ่งที่เป็นความจริงนี้มันจอมปลอมเพราะมันเป็นของชั่วคราวไง แต่ถ้าเราเป็นคนโลเล เราก็จะว่าสิ่งนี้เป็นความเป็นจริง แล้วมันจะคลุกเคล้ากันไป แล้วมันจะไม่มีที่พึ่ง เพราะสิ่งนี้เป็นที่พึ่ง
เรากินข้าว เห็นไหม เรากินทุกวัน เราต้องกินทุกวัน เราต้องขับถ่ายทุกวัน สิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่ว่าสิ่งที่เป็นสมมุติขึ้นมา สิ่งสมมุติขึ้นมาเพื่อจะหล่อเลี้ยงชีวิตไง เห็นไหม สิ่งนี้ต้องแสวงหา สิ่งนี้เป็นของชั่วคราวทั้งหมดเลย แต่ความรู้สึกสิ หัวใจนี่เป็นความจริงนะ สิ่งที่เป็นความจริงเหนือโลกไง สิ่งนี้เป็นความเหนือโลกแต่อยู่ในหัวใจของเรา อยู่ในร่างกายของเรา เพราะมันเป็นหัวใจ
ทำไมเจ้าชายสิทธัตถะ ทำไมออกแสวงหาสิ่งนี้ได้ล่ะ?...เป็นผู้เสียสละไง ก่อนจะออกผนวชจะได้ครองสมบัติอยู่แล้ว จะได้เป็นกษัตริย์อยู่แล้ว สิ่งที่เป็นกษัตริย์ทางโลกเขาก็แสวงหากัน มันล่อขนาดนั้นนะ เวลาเราทำธุรกิจของเรา เราทำการค้าของเรา เราอยู่ในโลกของเรา เราต้องแสวงหาของเราเพื่อเป็นของเรา นี้ก็เหมือนกัน จะได้เป็นของเราอยู่แล้ว แต่ทำไมคิดออกบวชล่ะ ทำไมคิดเสียสละออก เสียสละสิ่งที่เสียสละได้ยาก เพราะสิ่งนี้จะเป็นตำแหน่งหน้าที่การงาน หน้าที่นะ แล้วถ้าเป็นจักรพรรดิ เป็นกษัตริย์มันจะปกครองไป ชีวิตนี้ก็จะว่า ทางโลกว่าเป็นสิ่งที่ว่าเป็นสิ่งที่ปรารถนาของโลกเขา
แต่ถ้าทางธรรม มันเป็นภาระมาก ถ้าเป็นภาระมาก ว่าจะเป็นการเห็นแก่ตัวเห็นไหม ไม่ยอมรับภาระสิ่งใด เอาแต่ตัวรอด นี้เป็นความเห็นของโลกไง เป็นสิ่งที่สมมุติ เพราะกษัตริย์เห็นไหม จะเป็นกษัตริย์ จะเป็นจักรพรรดิขนาดไหนก็ต้องตายไป สิ่งที่ตายไป
สิ่งนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาประพฤติปฏิบัติ ย้อนไปบุพเพนิวาสานุสติญาณก็เคยเป็นมาแล้ว สิ่งที่เป็นมาแล้วเป็นมามหาศาลเลย เป็นจักรพรรดิก็เคยเป็นมา เป็นกษัตริย์ก็เคยเป็นมา สร้างสมบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ สิ่งนี้ก็เป็นมาแล้ว แล้วจะมาทำสิ่งนี้ซ้อนอีกหรือ เห็นไหม ถึงได้สละสิ่งนี้ออกไปเป็นผู้เสียสละ เสียสละไปเพื่อจะไปเอาสิ่งที่เป็นความจริงไง ธรรมที่เป็นความเหนือโลก นี่เปิดเข้ามาที่ใจของเรา
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาประพฤติปฏิบัติจนได้ธรรมแล้วนะ เวลาเสวยวิมุตติสุขเห็นไหม สิ่งนี้จะสอนใครได้ โลกเขาจะรู้ได้อย่างไร เพราะโลกเขามันเป็นสิ่งที่ว่าเป็นอนิจจัง สิ่งที่ความเป็นไปของโลกที่เขาจับต้องได้เป็นรูปธรรม แต่สิ่งนี้เป็นนามธรรม สิ่งที่เป็นนามธรรม ใจเข้าไปสัมผัส
พุทธภาวะ ภาวะของใจที่หลุดพ้น ถ้าภาวะของใจที่หลุดพ้นเสวยวิมุตติสุขนี่จิตใจไม่ขับเคลื่อนไป ในตัวของจิตก็ไม่ขับเคลื่อนไป ในสิ่งที่กระทบ สิ่งที่รู้อยู่คืออารมณ์ความรู้สึกต่างๆ มันไม่กระทบ สิ่งที่ไม่กระทบเพราะอะไร เพราะมันสมุจเฉทปหาน มันทำลายสิ่งนี้ออกไปจากใจ จะทำลายสิ่งนี้ออกไปจากใจได้ เกิดจากการเสียสละก่อน นี้ก็เหมือนกัน ถ้าเราเมตตาตนนะ เราเสียสละเรื่องของกาลเวลาของเรา ถ้าเราไม่เมตตาตน เรารักตน...คนที่รักนวลสงวนตัว รักสิ่งใดก็ผูกพันกับสิ่งนี้ สิ่งที่รักสิ่งใดก็ผูกพันกับสิ่งนั้น สิ่งนั้นเราก็ต้องหวงต้องแหนกับสิ่งนั้น
เราอยากสะดวกอยากสบาย เราอยากต้องการสิ่งต่างๆ ตามแต่ว่ากิเลสตัณหาความทะยานอยากมันต้องการ เวลาเราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราก็สงวน เราก็รักษา เราไปรักไง เราไปรักเราไปยึดมั่นถือมั่น เราย้อนกลับไปดูคน คนที่ตระหนี่ถี่เหนียวนะ เขาเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี แต่เขาใช้เงินของเขาไม่ได้นะ เขาใช้ไม่ได้ แล้วเขาไปยึดมั่นถือมั่นว่าเงินนั้นเป็นของเขา เขาหวงแหนของเขามากเพราะอะไร เพราะเขารัก เขาถึงหวง เขาถึงแหน
นี้ก็เหมือนกัน ถ้าเรารักชีวิตของเรา เห็นไหม เรารักชีวิตของเรา เราว่าชีวิตของเราเกิดมาแล้วเป็นมนุษย์นี่ เกิดเป็นคนนี่ เราจะสงวนรักษา เราจะปรารถนาสิ่งใด เราก็อยากตั้งเป้าแล้วเราพยายามทำให้ของเรา เพราะเราเข้าไปยึด เราไปรักไปสงวน มันทำให้ยึดมั่นถือมั่นกับความคิดความเห็นของเรา ถ้ายึดมั่นความคิดความเห็นของเรา พอมันคิดอะไรขึ้นมา เราก็แสวงหาตามความคิดนั้น ถ้าตามความคิดนั้น มันจินตนาการไปขนาดไหน เห็นโอกาสความเป็นไปของเราว่า เราจะประสบความสำเร็จทางโลก ทางต่างๆ เห็นไหม เราก็จะพยายามแสวงหาของเรา แสวงหาเพราะอะไร?...เพราะมันรัก มันยึด พอมันยึดขึ้นไป มันถึงกินเหยื่อไง กินเหยื่อของกิเลส กิเลสสร้างสมสิ่งนี้ขึ้นมาให้สัตว์โลกกินเหยื่ออย่างนี้ ติดในเหยื่อนะ สมมุติโลก นี้เป็นเหยื่อ ล่อให้สัตว์โลกติดอย่างนั้น
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ยอมเป็นเหยื่อนะ เป็นเหยื่อมาก่อน เริ่มตั้งแต่เป็นพระโพธิสัตว์ เพราะปรารถนาไง ต้องสร้างคุณงามความดีขนาดนั้น ถ้ามีคุณงามความดีเป็นอำนาจวาสนา เป็นบารมี คนที่มีบารมีเห็นไหม บุญหรือบาป บุญทำให้ใจนี้มีความสุข มีอำนาจวาสนา บาปอกุศลทำให้ใจเศร้าหมอง ทำให้เกิดทุกข์เกิดยากกับการเกิดและการตายของใจดวงนั้น เห็นไหม เป็นพระโพธิสัตว์สร้างสมสิ่งนี้ขึ้นมามันถึงมีบุญญาธิการไง สิ่งที่เป็นบุญญาธิการถึงแสวงหา มีโอกาสมีอำนาจวาสนา เพราะต้องสร้างสมมาขนาดนั้น เป็นสยัมภู ตรัสรู้ด้วยตนเองนะ ถ้าตรัสรู้ด้วยตนเอง ต้องค้นคว้าเห็นไหม ค้นคว้าด้วยตนเอง ธรรมไม่มีก็แสวงหา เราเกิดมาเป็นสาวกะ เราไม่ต้องเสียสละขนาดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมไว้ให้เริ่มตั้งแต่ทาน เรื่องการเสียสละจากวัตถุทานก่อน ถ้าเราเสียสละจากวัตถุทาน เราไม่มีความตระหนี่ถี่เหนียว เราไม่รัก เราไม่ยึดมัน สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ใครเองไม่ต้องการ สิ่งต่างๆ เป็นวัตถุของโลกเขา เงินทองทรัพย์สมบัตินี้เป็นสิ่งที่สงวนรักษาทั้งนั้นล่ะ แต่ถ้าเรามีศรัทธา เห็นไหม เรามีศรัทธา เรามีความเชื่อ สิ่งนี้เราสละออกไปได้ สละออกไปเพื่อจะบริหารใจไง ให้ใจมันได้เสียสละสิ่งนี้ ให้สละทานออกไป ให้สิ่งนี้มันหมุนเวียน ให้ใจเราไม่หมักหมมกับความตระหนี่ถี่เหนียวอันนั้นถ้ามีความตระหนี่ถี่เหนียว
ถ้าการสละทาน การทำบุญกุศลมันไม่ให้ผลกับใจ ทำไมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระโพธิสัตว์มา สละมาทุกอย่างล่ะ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นพระโพธิสัตว์ สละมาทุกอย่างนะ สละทานมา สละทุกอย่างเพื่อจะสร้างสมบารมีขึ้นมา
การสละทานมีผลแน่นอน ถ้าไม่มีผลทำไมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ในพระไตรปิฎก ท่านเกิดขึ้นมาจากทานล่ะ ทานเพราะการเสียสละสิ่งนี้ พอเสียสละสิ่งนี้ใจมันก็สร้างคุณงามความดีขึ้นมา เพราะสิ่งนี้เราอาบเหงื่อต่างน้ำแสวงหามา ทรัพย์สมบัติเราต้องอาบเหงื่อต่างน้ำแสวงหามานะ แล้วเราทำไมเสียสละออกไปล่ะ
เวลาเราเก็บหอมรอมริบไว้มันตกหาย มันตกหล่นไปเรายังเสียดายเลย เพราะสิ่งนี้มันตกหล่นไป มันเสียหายไป มันไม่ได้ประโยชน์อะไรกับเราขึ้นมา มันเป็นแต่เพราะเราหลงลืม เราทำความผิดพลาดไป สิ่งนี้เสียหายไปเฉยๆ เวลาเราสละออกไป มันก็สูญไปเห็นไหม เสียหายไป ถ้าว่าเสียหายไป แต่มันไม่เสียหายเพราะมันมีเจตนา มันมีหัวใจรับรู้ไง หัวใจรับรู้ความตระหนี่ถี่เหนียว ความรักความผูกพัน เห็นไหม มันไปทำลายความรักความผูกพันอันนั้น ถ้ามีศรัทธาความเชื่อ นี่อาศัยธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากดขี่ความตระหนี่ถี่เหนียวของใจ ความรักความผูกพัน สิ่งที่เป็นสมบัติเป็นสิ่งข้าวของเงินทองของเรา เราสงวนเรารักษาสิ่งนั้น เราสละออกไปเป็นทาน
สิ่งที่สละออกไปเป็นทาน ทาน ศีล ภาวนา...จะเกิดการภาวนาขึ้นมา ถ้าเราเกิดการภาวนา เรารักษาศีลของเรา เราก็ตระหนี่ถี่เหนียวกลัวศีลจะขาด กลัวศีลจะด่าง กลัวศีลจะพร้อย เรารักษาศีลเราก็ไปยึดมั่นถือมั่นว่าศีลต้องเป็นแบบนั้น เราทำตามปกติ ทำตามแต่อำนาจวาสนาของเรา เราทำตามปกติ
ศีลคือความปกติของใจ ถ้าใจเราเป็นปกติ เราอยู่กับศีลโดยปกติแล้ว มันก็เป็นศีลโดยสมบูรณ์ แต่ในเมื่อเรามีความกังวล เรามีความผูกพัน มีความยึดของเรา นี่ความรักความตระหนี่ถี่เหนียวเป็นเรื่องของกิเลสตัณหาทั้งนั้นเลย
แต่ถ้าเป็นความเมตตา มันจะเริ่มเป็นกลางไง ความเมตตา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารื้อสัตว์ขนสัตว์ มีเมตตามาก เวลาตรัสรู้ธรรมขึ้นมา จะสอนเขาได้อย่างไร จะสอนอย่างไร แต่ถึงสุดท้ายแล้ว เพราะสร้างสมมาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อจะรื้อสัตว์ขนสัตว์ไง เพราะสร้างอำนาจวาสนามา สละมามหาศาลเพื่อจะแบกรับไง แบกรับเป็นการค้นคว้ามาวางไว้ให้เพื่อรื้อสัตว์ขนสัตว์อันนี้ เห็นไหม มีเมตตามหาศาล
แต่เราไปยึดไง เรามีความรักความผูกพัน เราไปมีความตระหนี่ถี่เหนียวไปยึดธรรม ศึกษาว่าเป็นธรรมของเรา ศึกษาธรรม เวลาเราศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศึกษาขนาดไหนมันก็สะเทือนใจนะ เพราะมันเป็นธรรมไง มันเป็นความจริงสุดส่วน มันถึงเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งๆ ที่มีกิเลสอยู่ในหัวใจนี่แหละ
เวลาศึกษาธรรมขึ้นไปเกิดความกระทบของใจ ใจกระทบธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังไม่ใช่เป็นธรรมของเราเลย ถ้าจะเป็นธรรมของเรามันจะเกิดขึ้นมาจากภายในของเรา ถ้ามันจะเกิดขึ้นจากภายในของเรา มันจะเกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดขึ้นจากเราต้องมีความเป็นกลาง เรามีความเมตตาของเรา เรามีเมตตาของเรา เราก็จะดึงเรา ดึงชีวิตเรา ดึงร่างกายของเรา เพราะเรามีศรัทธามีความเชื่อ เรามีศรัทธา เรามีความเชื่อ เราอยากจะประพฤติปฏิบัติ ๑ เราจะฟังธรรมของครูบาอาจารย์ ๑
ธรรมนี่เปิดโลก เห็นไหม ธรรมนี่เปิดโลก เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเปิดโลก เปิดหมดนะ ตั้งแต่เทวดา อินทร์ พรหม กับโลก กับนรก เปิดหมดนะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสร้างสมบุญญาธิการมา จะมีอย่างนี้หนหนึ่ง จะมีสงฆ์จาตุรงคสันนิบาตหนหนึ่ง จะมีอย่างนี้เพราะเป็นอำนาจวาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง
เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากลับไปโปรดพระเจ้าสุทโธทนะ พระเจ้าสุทโธทนะไม่ได้นิมนต์เพราะถือวิสาสะว่าเป็นพ่อเป็นลูกกัน เห็นไหม เป็นพ่อเป็นลูกในปัจจุบันนี้นะ แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ความเป็นพ่อเป็นลูกกันมันขาดกันตั้งแต่ตรงนั้นไง
ขาดเพราะอะไร?...เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้พ้นจากกิเลส แต่พระเจ้าสุทโธทนะยังยึดมั่นว่าเป็นพ่อกัน เวลากลับไปโปรดพ่อ พ่อไม่ได้นิมนต์
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าย้อนกลับดูว่า ประเพณีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติอย่างไร?...ให้ออกบิณฑบาต เช้าขึ้นมาถึงออกบิณฑบาต ออกบิณฑบาต พ่อทนไม่ได้ ว่าเป็นกษัตริย์ ลูกของกษัตริย์ทำไมมาเป็นขอทาน ทำไมไม่ถือวิสาสะไปฉันในพระราชวัง
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกพระเจ้าสุทโธทนะว่า
นี่เป็นประเพณีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
นี่วางธรรมไว้ไง ให้มีการประพฤติปฏิบัติ วางธรรมไว้ให้พระเราเช้าออกมาออกบิณฑบาต เลี้ยงชีวิตด้วยลำแข้ง ด้วยปลีแข้ง เลี้ยงชีวิต สิ่งนี้จะทำให้เกิดประพฤติปฏิบัติ นี่มันจะมีทางออกไง เป็นชีวิตที่บริสุทธิ์ เลี้ยงชีวิต เลี้ยงชีวิตเพื่อจะออกมาประพฤติปฏิบัติ
แต่เวลาเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา นี่เลี้ยงหัวใจ ธรรม มรรคญาณเกิดเห็นไหม เลี้ยงชีวิตชอบคืออารมณ์ความเกิดขึ้นของใจ สิ่งที่อารมณ์ความเกิดขึ้นของใจจากภายในของเรา ถ้ามันเป็นสิ่งสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ สิ่งนี้จะทำให้เรามีความมุมานะ ทำเราเกิดกำลังใจ ทำให้เราเกิดมีความศรัทธา
ตั้งแต่เป็นคฤหัสถ์เราก็จะออกประพฤติปฏิบัติ ออกบวชเป็นภิกษุ เป็นภิกษุ ภิกษุเป็นผู้ขอ ชีวิตนี้เป็นผู้ขอเขา ไม่ต้องทำการทำงานแบบโลกเขา โลกเขานี่เขาเป็นพลาธิการ เขาเป็นหน่วยส่งกำลังบำรุง เขาต้องได้บุญกุศลจากพระ จากผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ จากผู้ที่เป็นนักรบ เป็นนักรบไม่ต้องห่วงเรื่องปัจจัย ๔ ให้ออกประพฤติปฏิบัติ เรื่องคฤหัสถ์ญาติโยมเขาจะจุนเจือสิ่งนี้อยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว
นี่ถ้ามีความเมตตาตน มันจะมีเป็นบริษัท ๔ สิ่งที่บริษัท ๔ มันจะหมุนเวียนไปเป็นบริษัท ๔ เป็นการจุนเจือกัน สิ่งที่จุนเจือกัน จุนเจือกันโดยความเมตตา ความเห็นของใจนะ แต่ผลประโยชน์เกิดขึ้นมาเป็นบุญกุศลไปทั้งหมด เริ่มตั้งแต่ทาน เราให้สัตว์ก็เป็นบุญกุศล เราให้ทาน เราให้สัตว์ เราให้ต่างๆ เรายังได้บุญกุศล
นี้เห็นไหม พระเป็นผู้ที่มีศีล เป็นผู้ที่ทรงศีล ผู้ที่ทรงศีลออกประพฤติปฏิบัติ ทำไมมันจะไม่ได้บุญจากเราล่ะ แล้วถ้าพระที่ปฏิบัติ ออกประพฤติปฏิบัติจนจิตนี้พ้นออกไปจากกิเลสได้ เป็นเนื้อนาบุญของโลก นี่เป็นเนื้อนาบุญของเรา เรายิ่งสละทาน ทานจะให้ผลตอบสนองกลับมากับการประพฤติปฏิบัติของเราไง
ดูสิ ดูอย่างพระกัสสปะเวลาเข้าสมาบัติแล้วออกโปรดสัตว์ พระอินทร์ยังต้องมาใส่บาตรนะ มาใส่บาตรเพราะอะไร เพราะต้องการบุญกุศลอันนี้ไง เพราะมีเทวดาเคยทำบุญกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเกิดเป็นเทวดา เป็นผู้ใต้ปกครองของพระอินทร์ แต่บุญกุศลสูงกว่า พระอินทร์ถึงต้องมาใส่บาตรอันนี้ นี่เนื้อนาบุญของโลก
สิ่งที่เป็นเนื้อนาบุญนะ เนื้อนาบุญของโลก ผลออกมาจากเป็นอามิสทาน แต่ถ้าเราประพฤติปฏิบัติของเราขึ้นมา มันจะเกิดขึ้นมาจากหัวใจของเรา ถ้าหัวใจของเราจะเกิดเป็นมรรคญาณขึ้นมานี่เราต้องเมตตาเราก่อน ถ้าเรารัก เราสงวนเรา การประพฤติปฏิบัติมันก็จะไปสงวน ไปยึดมั่นถือมั่นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่กิเลสพาออกประพฤติปฏิบัติ
ถ้ากิเลสพาออกประพฤติปฏิบัติ สิ่งที่เป็นธรรมหนหนึ่งเห็นไหม เวลาเราทำความสงบของใจ ใจนี้สงบหนหนึ่งมีความดูดดื่มมาก แล้วก็อยากเป็นอย่างนั้นอีก อยากต้องการอย่างนั้นอีก เวลาต้องการความอยากอย่างนั้นอีก นี่ตัณหาความทะยานอยากมันเข้าไปยึดนะ สิ่งที่เข้าไปยึดเพราะจะทำให้เราล้มลุกคลุกคลาน กิเลสถ้ามันให้ผลกับใจ มันยึดเพราะมันเป็นความต้องการ มันเป็นความสงวนความรักษา มันอยากได้
แต่ถ้าเป็นเมตตาธรรม เราเมตตาตนเรา เราประพฤติปฏิบัติด้วยเหตุ เราสร้างเหตุของเราขึ้นมา เราออกประพฤติปฏิบัติ เห็นไหม เรามีสติ สิ่งที่เป็นสติสัมปชัญญะ ถ้าเรามีสติอยู่ สิ่งที่มีสติอยู่ กำหนดพุทโธหรือเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิ เรามีสติอยู่ สิ่งนี้จะเป็นการเป็นงานของเรานะ
ถ้าเราเผลอสติ สิ่งนี้มันก็ไพล่ไปเป็นเรื่องของกิเลสแล้ว กิเลสมันแทรกไปในการประพฤติปฏิบัติของเราตลอดเวลา ถ้ากิเลสมันแทรกเข้าไปในการประพฤติปฏิบัติของเรา สิ่งที่ประพฤติปฏิบัติมันจะเป็นผลของกิเลส มันจะเป็นความยึดมั่นถือมั่น มันจะเป็นสัญญาอารมณ์สิ่งยึดต่างๆ แล้วมันก็จะนำความเร่าร้อนมาให้กับหัวใจดวงนั้น
ถ้าเราไปยึด สิ่งที่ยึดเพราะอะไร เพราะเรารัก เรารักเราต้องการ ถ้าเรารักเราต้องการ มันจะมีสิ่งที่กระเทือนกับหัวใจ เราทำของเรานี่ไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับผู้อื่นเลย กิเลสในหัวใจของเรา มันยึดมั่นถือมั่นอย่างไร มันทำให้เราผิดพลาดขนาดไหนมันก็จะตอบสนองในหัวใจของเรา เราจะรู้ในหัวใจของเรา แต่สภาวธรรมเกิดขึ้นมาจากหัวใจของเรา มันจะเกิดความโล่งความสะดวกสบาย
ความสะดวกสบาย ความสุขเกิดจากการประพฤติปฏิบัติ นี่ถ้าสภาวธรรมเกิดขึ้น มันจะเป็นสภาวะแบบนั้น ถ้าสภาวธรรมเกิดขึ้น เราจะมีกำลังใจของเรา เกิดขึ้นเพราะเหตุใด เกิดขึ้นเพราะว่าเราไม่ไปยึดมั่นถือมั่น มันจะเป็นความจริงของมัน สิ่งนี้เห็นไหม เวลาเรากินอาหารเข้าไป เราจะต้องขับถ่าย ขับถ่ายออกไป เราจะเอาเป็นของเราไม่ได้ทั้งหมดหรอก
นี้ก็เหมือนกัน อารมณ์ต่างๆ เกิดขึ้น มันก็ต้องจากพลัดพรากไปเป็นธรรมดา สิ่งที่เกิดขึ้น ถ้าจิตเราไม่สงบ เราจะไม่เห็นระหว่างจิตกับสัญญาอารมณ์ทำงานต่อกัน ถ้าเราไม่เห็นจิตกับสัญญาอารมณ์ทำงานต่อกัน วิปัสสนามันจะเกิดขึ้นได้อย่างไร
สิ่งที่จะเกิดขึ้นวิปัสสนามันจะเห็นตัวจิต สิ่งที่จิตกับสัญญาอารมณ์คือขันธ์ ๕ มันจะทำงานต่อกัน มันจะวิปัสสนาต่อกัน มันจะตอบโต้กัน มันจะทำลายกัน สิ่งที่ทำลายกันอันนั้นมันเกิดขึ้นมาจากใจ แต่อันนี้เพราะความสงวนความรักษาสัญญาอารมณ์ อารมณ์กับจิตมันเลยเป็นอันเดียวกัน สิ่งที่อารมณ์กับจิตมันเป็นอันเดียว แล้วเราก็สงวนเราก็รักษา สิ่งที่รักษาขนาดไหนมันก็เป็นสมถะ ถ้ามันเป็นสมถะ มันปล่อยวาง
ถ้าไม่เป็นสมถะ ถ้าเรายึดมั่นขึ้นไป มันจะเกิดความฟุ้งซ่าน เกิดความจินตนาการ เกิดความคิด ความปรุง ความแต่งของมันออกไป สิ่งที่ความคิด ความปรุง ความแต่งออกไป อุปกิเลส สิ่งที่เป็นอุปกิเลสเห็นไหม ความสว่าง ความว่างขนาดไหนมันเป็นอุปกิเลส นี่มันเอากิเลสอันละเอียดนี้มาหลอกเราอีกทีหนึ่งนะ ในการประพฤติปฏิบัติของเรา มันจะเกิดสภาวะแบบนั้น เพราะเราไปยึดมั่น เรารักเราสงวนเกินไป
ถ้าเราเมตตาของเรา เมตตาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับการเมตตาตน ถ้าเราเมตตาตนนะ เราไม่ยึดมั่นถือมั่น สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าธรรมนี้เป็นธรรมชาติ มันเกิดดับสภาวะแบบนี้ไปตลอด
โลกนี้เคลื่อนไปตลอดนะ วิทยาศาสตร์เจริญมาก ในปัจจุบันนี้วิทยาศาสตร์เจริญ เวลาในทางการแพทย์เขา เราเจ็บไข้ได้ป่วย เราต้องไปรักษา สิ่งที่เป็นสิ่งที่เนื้อร้าย สิ่งที่เป็นความเสียหายของร่างกายนี่เขาต้องตัดทิ้งนะ เพราะถ้าเราไม่ตัดทิ้ง เราสงวนเรารักษาไว้มันจะเป็นพิษกับร่างกาย มันจะทำให้เราถึงแก่เสียแก่ชีวิตได้ ทำไมเขาต้องตัดทิ้งล่ะ
เพราะทางวิทยาศาสตร์เขาพิสูจน์แล้ว ว่ามันเข้าไปทำลายกระแสของโลหิต มันเข้าไปทำลาย ถ้ามันติดเชื้อมันจะเข้าไปในร่างกาย มันจะทำลายสิ่งระบบร่างกายนี้เสียหายหมดเลย นี้ก็เหมือนกัน สิ่งที่เป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยากมันเป็นสิ่งที่ร้ายกาจ แต่สิ่งนี้มันมีอยู่ในหัวใจอยู่แล้วไง นี่กิเลสกับใจดวงนี้มันมีอยู่ มันเป็นโรคอันหนึ่งในหัวใจนี้ ถ้าเป็นโรคอันหนึ่งในหัวใจนี้ เราจะกำจัดมันอย่างไร นี่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นจะไปทำลายโรคร้ายจากหัวใจของเราให้เป็นปกติธรรมดาให้ได้ เวลาเราเจ็บไข้ได้ป่วย เราไปหาหมอ เราไปหาหมอหมอรักษาเราเพราะหมอเขาเรียนมา เขาศึกษาทางวิชาการแพทย์มา ประสบการณ์ของเขา เขาเข้าใจ เขาตรวจ เขาเข้าใจของเขา เขารักษาเราหายได้ นี้เรื่องของร่างกาย
แต่เรื่องของจิตใจ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี่ธรรมโอสถรักษาจิตใจ รักษาจิตใจให้จิตใจนี้กลับมาเป็นปกติได้ ถ้าจิตใจกลับมาเป็นปกตินะ พุทธภาวะ พุทธะไง คือผู้รู้ ภาวะของความว่างอันนั้นไง สิ่งที่เป็นภาวะของความว่างอันนั้นจะถึงที่สุดแห่งการชำระกิเลส ถ้าถึงที่สุดแห่งการชำระกิเลส พุทธภาวะ พุทธะคือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ภาวะอย่างนี้มันต้องทำความสงบของใจเข้ามาให้ได้ ถ้ามันทำความสงบของใจเข้ามาให้ได้ ความสงบของใจ ถ้าเราสงวนเรารักษา เราว่าสิ่งนี้เป็นธรรมไง ถ้าสิ่งนี้เป็นธรรม มันรักษา มันสงวน มันผูกพัน สิ่งที่ผูกพันมันทำลายกิเลสอันไหนไปล่ะ?
มันไม่ได้ทำลายสิ่งใดเลย มันทำเป็นสมถะเท่านั้น สิ่งที่เป็นสมถะกัน การประพฤติปฏิบัติด้วยความรักความผูกพันความสงวนรักษา แต่ถ้าเราเมตตาเรา เวลาสิ่งใดเกิดขึ้น ความสงบจะเกิดขึ้นขนาดไหน เรามีสติดูความสงบของเราเข้าไป สิ่งที่ความสงบมันจะลึกเข้าไปเรื่อยๆ มันจะเกิดกำลังของเราขึ้นมา ถ้าเรามีกำลังของเราขึ้นมา สิ่งที่เป็นกำลัง จิตนี้ตั้งมั่น ถ้าจิตนี้ตั้งมั่น มันก็จะเป็นงานของมัน
ถ้าจิตนี้ไม่ตั้งมั่น เวลาสมาธินี้เจริญแล้วเสื่อม เวลาจิตเสื่อมนี้เป็นสิ่งที่เป็นความทุกข์ของผู้ที่ประพฤติปฏิบัตินะ แล้วมันก็จะเป็นสิ่งนี้ตลอดไป เพราะสิ่งนี้มันเป็นสพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา สภาวธรรมนี่เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป แล้วเราถึงพยายามสงวนรักษา
ความคิดของโลกเห็นไหม เราดูสัตว์สิ สัตว์บางตัวนิสัยดีมาก สัตว์บางตัวนิสัยเกเรมาก นี่ก็เหมือนกัน ความคิดของคน ความคิดที่ดีก็มี ความคิดที่เป็นสิ่งที่กวนตัวเองก็แล้วไปเบียดเบียนคนอื่นก็มี นี้คือเป็นจริตเป็นนิสัย สิ่งที่เป็นจริตเป็นนิสัยนี่มันเป็นสันดานมาจากหัวใจ แล้วเราพยายามทำความสงบของใจเราเข้ามา สิ่งที่เป็นความสงบของใจเราเข้ามา มันก็อยู่ในวังวนของสพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา มันจะต้องเสื่อมไปโดยธรรมชาติของมัน ความเสื่อมนี่มันเป็นการฝึกฝน ทำให้ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเข้าใจตามความเป็นจริงว่า จิตถ้าทำความสงบขนาดไหน ถ้าเรารักษาไม่เป็นมันก็จะเสื่อมของมันไป ถ้าเรารักษาเป็นล่ะ นี่มันเป็นการฝึกฝนไง เป็นการพิสูจน์กับการประพฤติปฏิบัติของเรา
ถ้าเราประพฤติปฏิบัติ เรารักษาอย่างไร เรากำหนดพุทโธอย่างไร เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิอย่างไร เรากำหนดลมหายใจอย่างไร แล้วมันสงบเข้ามาอย่างไร สิ่งที่มันสงบเข้ามา นี่มันสงบเข้ามาแล้วเราตื่นเต้นไปกับมัน เห็นไหม เพราะเราไปยึด มันก็จะเสื่อมไปโดยธรรมดา แต่ถ้าเรารักษาของเรา พอมันเสื่อมแล้วเราก็เริ่มต้นของเราใหม่ นี่การประพฤติปฏิบัติมันจะต้องมีการลองผิดลองถูกกันไปโดยการประพฤติปฏิบัติ ต้องเป็นความเข้มแข็งไง เป็นความเข้มแข็ง คือใจดวงนี้ เราจะต้องฝึกฝนใจดวงนี้
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีฤทธิ์มีเดชมากนะ เวลาไปทรมานพวกชฎิลต่างๆ ไปทรมานพวกลัทธิต่างๆ เห็นไหม ใช้ฤทธิ์ใช้เดชเพื่อพิสูจน์ให้เขาเห็นไง...ทำไมไม่ใช้ฤทธิ์ใช้เดช บังคับให้จิตนั้นบริสุทธิ์ล่ะ ทำไมไม่ใช้ฤทธิ์ใช้เดชอันนี้ให้ใจสาวกะ สาวกเราบริสุทธิ์ล่ะ?...สิ่งที่บริสุทธิ์สิ่งนี้มันเกิดจากภายในไง มันถึงต้องใช้ธรรมโอสถ ธรรมโอสถเข้าไปชำระโลกของเรา มันถึงต้องเป็นธรรมของเราที่เกิดขึ้นจากการประพฤติปฏิบัติของเราไง
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีเมตตาธรรมมากอยากรื้อสัตว์ขนสัตว์ แต่วิธีการการรื้อสัตว์ขนสัตว์ สัตว์ต้องเป็นแบบนี้ เพราะจิตเห็นไหม เวลาเกิดเป็นมนุษย์นี่เกิดแสนยาก เพราะจิตนี้มีอยู่โดยดั้งเดิม เพราะจิตนี้เป็นอวิชชา มีพญามารควบคุมจิตนี้ จิตนี้ต้องเกิดตายอยู่ตลอดเวลา แต่เวลาจะชำระมันก็ต้องจิตดวงนี้เข้าไปทำลายกิเลสในหัวใจของเราขึ้นมา
นี่มันถึงว่าธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ว่าท่านสละมามหาศาลเลย เพื่อจะรื้อค้นธรรมอันนี้ขึ้นมา แล้วธรรมที่วางไว้นี่เรามี มียาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมโอสถมีอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าเราจะทำอย่างไรให้มันเป็นมัชฌิมาปฏิปทา ให้มันเป็นกลางไง เราไม่ไปยึดมัน ถ้าเราไปยึดมันตกไปส่วนใดส่วนหนึ่ง กามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค สิ่งที่เป็นอัตตกิลมถานุโยค สิ่งนี้มันเป็นอาการของใจ
แต่ในการประพฤติปฏิบัติของเรา ถึงจะเป็นธุดงควัตร ถึงเราจะมักน้อยสันโดษขนาดไหน เพื่อจะให้กิเลสมันเบาบางลงนะ เวลาธาตุขันธ์มันแข็งแรง ขันธ์ ๕ เวลาความคิดแบบดิบๆ ความคิดดิบๆ แบบปุถุชนเขาคิดกัน เวลาดูเขาทำร้ายกันสิ เขาโกงกันโดยหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส มันจะเริ่มด้วยความเมตตาธรรมนะ จะช่วยเหลือเจือจานเห็นไหม แต่เขาทำลายกัน เขายึดเขาโกงกันจนหมดเนื้อหมดตัว นี่ความคิดดิบๆ อย่างนั้นไง ความคิดดิบๆ อย่างนี้ มันถึงว่าเป็นความคิดของโลกเขา
แต่ถ้ามันย้อนกลับเข้ามาล่ะ ถ้าเราจะทำอย่างไรให้มันจางลง จางลง สิ่งที่จางลงถึงจะต้องทำให้เกิดความชำนาญของเราขึ้นมา ถ้าเรามีความชำนาญ เรามีสติของเราขึ้นมา เราเคยกำหนดลมหายใจก็ได้ กำหนดพุทโธก็ได้ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิก็ได้ ให้จิตนี้ตั้งมั่นขึ้นมา พอจิตนี้ตั้งมั่นขึ้นมา แล้วเรายกขึ้นวิปัสสนาเป็นนะ ถ้าเรายกขึ้นวิปัสสนาเป็น มรรคญาณจะเกิดตรงนี้ ถ้ามรรคเกิดตรงนี้ มรรคจะเป็นการทำลายกิเลส
สิ่งที่ทำลายกิเลสเพราะมันต้องเอาสิ่งที่เป็นเนื้อของมัน เอาความรู้สึกของมันทวนกระแสเข้าไปทำลายจิตดวงนี้ เห็นไหม ทำลายจิตดวงนี้ ทำลายสิ่งที่เป็นกิเลสตัณหาในจิตดวงนี้ ถ้าทำลายกิเลสตัณหาในจิตดวงนี้ จิตจะเป็นปกติไป เริ่มต้นตั้งแต่ทำสัมมาสมาธิ มันเป็นปกติโดยชั่วคราว เพราะสัมมาสมาธิ มันฟุ้งซ่านออกไป มันถึงออกไปรับรู้โลกต่างๆ รับรู้เรื่องของโลกเขา ฟุ้งซ่านออกไป
เวลาเรามีสติควบคุมเข้ามา ใช้กำหนดพุทโธเข้ามาให้มันเกาะเกี่ยวสิ่งนี้เข้ามา มันจะเกาะนะ เกาะพุทโธ พุทโธเข้ามา เพราะเป็นอาหารของใจ เวลาเราหิวอาหารเห็นไหม เวลาเราหิวอาหาร เราหิวข้าวนะ เราต้องหาข้าว พอเรากินเข้าไปเราก็อิ่ม แต่จิตเวลามันหิวกระหาย มันหิวกระหายอารมณ์ เวลามันกินขนาดไหน มันไม่เคยอิ่มเคยพอ เวลาเราคิดเราฟุ้งซ่านออกไป มันจะไปตลอดมหาศาลเลย เพราะมันหิวของมัน สิ่งที่มันหิวมันถึงกินอารมณ์ความรู้สึก กินความคิด ความปรุง ความแต่ง ยิ่งคิดมาก คิดจนเสียสติก็ยังได้เลย นี่เวลาคนเขาคิดมากทางโลก คิดจนแบบว่าฟุ้งซ่านออกไปมหาศาล แต่ถ้าเรากำหนดพุทโธ พุทโธ ให้มันกินธรรมไง ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทโธ พุทโธ มันตัดอารมณ์ความรู้สึกออกไปข้างนอก พุทโธ พุทโธ แล้วมันต้องบังคับนะ
ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติใหม่ๆ เวลาคิดพุทโธ พุทโธ พุทมันก็ออกไปคิดก่อน กว่าจะกลับมาโธมันช้าเกินไป สิ่งที่ช้าเกินไปเรากำหนดพุทโธให้เร็วขึ้นก็ได้ โดยไม่พร้อมกับลมหายใจเข้าออก อานาปานสติคือลมหายใจเข้าออก แล้วกำหนดพุทโธด้วยเป็นรูปธรรมอันหนึ่ง แต่ขณะที่เราประพฤติปฏิบัติเข้าไป มันอยู่ที่จริตนิสัย ถ้าจริตนิสัยความคิดมันรุนแรงมาก มันจะแทรกออกมา
ถ้าแทรกออกมา เราวางลมไว้ก่อน แล้วเรากำหนดพุทโธ พุทโธให้ไวขึ้น ไวขึ้นเห็นไหม เร็วขึ้นขนาดไหน ต้องยับยั้งสิ่งนี้ นี้คือเอาธรรมนะ เอาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้ กรรมฐาน ๔o ห้อง ให้หัวใจเกาะเกี่ยว ให้มันกินอันนี้ไง ไม่ให้มันหิวอารมณ์ มันหิวกระหายมากแล้วมันก็มีความทุกข์มาก มันก็จินตนาการของมันออกไป เพรามันหิวกระหาย มันเอาอาหารของมัน
เหมือนคนที่ตระหนี่ถี่เหนียว เขาพยายามปกปักรักษาสมบัติของเขา อันนี้มันหิวกระหายแล้วมันก็ไปยึดอารมณ์ต่างๆ ว่าเป็นมัน เป็นมันไง มันก็เลยเอาความทุกข์กลับมาให้หัวใจ เอาความทุกข์ไง เพราะมันกินแต่กิเลสตัณหาความทะยานอยาก ด้วยคิดว่าสิ่งนี้คิดขนาดไหนแล้วเราจะได้สมประโยชน์ของเรา เราคิดแล้วเราจะทำสิ่งที่ตามเราคิด นี่มันฟุ้งซ่านออกไป
แต่ถ้าเรากำหนดพุทโธ พุทโธ นี่ธรรม ธรรมเพราะว่าพุทโธคือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่สะเทือนหัวใจนะ สะเทือนทุกสิ่งทุกอย่างเพราะพุทโธ พุทโธในหัวใจของเรา ถ้าสะเทือนสิ่งนี้ขึ้นมา มันสะเทือน แต่เพราะเราหยาบไง เราถึงไม่เห็นความสะเทือน มันจะสะเทือนอย่างไร ทำไมเราคิด เราต้องการมีสติ ต้องการเหนี่ยวรั้งพุทโธไว้มันยังอยู่กับเราไม่ได้เลย แล้วมันสะเทือนไปไหนล่ะ ทำไมครูบาอาจารย์บอกว่า เวลานึกพุทโธสะเทือน ๓ แดนโลกธาตุ...สะเทือนจริงๆ
พุทธะ เวลาอนาถบิณฑิกเศรษฐีไปเยี่ยมน้องชายของตัว บอกว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดแล้ว นี่นอนไม่ได้นะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธะเกิดแล้ว อยากพบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาก เพราะว่าผู้สร้างสมบารมีมา เห็นไหม พุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน พุทธะคือสิ่งที่จะเอาเราพ้นจากกิเลสได้ อยากจะฟังธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือคนป่วยอยากได้ยารักษาไง
นี่ก็เหมือนกัน ถ้าเรานึกพุทโธ มันสะเทือนถึง ๓ โลกธาตุ แต่ในการฝึกฝนเพราะกิเลสมันหยาบ สิ่งที่กิเลสมันหยาบเวลาเรากำหนดพุทโธมันถึงจะไม่ได้ผล เห็นไหม ถึงต้องพยายามต้องตั้งสติ ต้องฝึกฝน สิ่งที่ฝึกฝนเพื่อให้จิตมันอิ่มพอ ถ้าจิตมันอิ่มพอ มันไม่หิวกระหายในอารมณ์ มันจะสงบเข้ามาเรื่อยๆ สิ่งที่มันสงบเข้ามา มันจะพอมีเป็นบาทเป็นฐาน เป็นใจดวงนี้ให้มันเป็นกลางไง
เมตตาตนจากการศึกษาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่ศึกษาแล้วยึด ถ้าศึกษาแล้วยึดนี่ เราไปยึดอย่างนั้น ยิ่งยึดมันจะประพฤติปฏิบัติไม่ได้ เพราะมันเข้าใจว่าสิ่งที่มันเข้าใจนั้นเป็นผลแล้วไง ถ้าเราไม่เข้าใจว่าเรามีความผิดเห็นไหม ดูสิ ดูเด็ก เด็กหรือคนทำความผิดพลาด แล้วยอมรับความผิดนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า
ผู้ใดทำความผิดแล้วระลึกได้ แล้วแสดงออก คือว่าไม่ทำสิ่งนั้นอีก นั่นคืออริยประเพณีนะ เป็นประเพณีของพระอริยเจ้า
เพราะทำความผิด ใครบ้างที่มันจะไม่มีความผิด ทุกคนจะมีความผิด เคยทำความผิดพลาดมาทั้งนั้น ความผิดอย่างหยาบๆ มรรคหยาบมันฆ่ามรรคละเอียด ถ้าเราคิดแต่ความหยาบ เราคิดแต่สิ่งที่เราสร้างสม เราคิดปัญญาของเราได้ แล้วเรายึดของเราถูก แล้วเรายึดของเรานะ เราจะเข้าไปสิ่งที่ละเอียดไม่ได้
ถ้าเราเห็นว่าสิ่งที่ละเอียดเข้ามา เราจะปล่อยสิ่งที่เป็นอันหยาบนั้น ถ้าใครยึดมั่นถือมั่นความผิดของตัว ระลึกได้ความผิดของตัว แล้ววางสิ่งนั้น เราจะละเอียดเข้าไปเป็นชั้นเป็นตอน เวลาเราสวดมนต์ ความดีที่ยิ่งขึ้นกว่านี้ยังมีอยู่ ความดีกว่านี้ยังมีอยู่
ถ้าเราประพฤติปฏิบัติเข้าไปถึงความดีอันนั้น เราจะปล่อยสิ่งที่หยาบเข้ามา ปล่อยสิ่งที่หยาบเข้ามา นี่ถ้าเราทิ้งสิ่งนี้ได้ เราปล่อยวางสิ่งนี้ได้ ถ้าเราปล่อยวางเพราะอะไรล่ะ เพราะเราเห็นสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์ไง เราถึงเห็นโทษอันนี้
ถ้าเราไม่เห็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ เราจะยึดอย่างนี้แล้วเราว่าอันนี้เป็นประโยชน์ ถ้าเป็นประโยชน์กับเรา ในเริ่มต้นปฏิบัติมันเป็นประโยชน์กับเรา สิ่งที่เป็นประโยชน์กับเรา เราก็ว่าสิ่งนี้เป็นประโยชน์แล้วเราจะยึดสิ่งนี้ เราจะเข้าไปสิ่งละเอียดไม่ได้ แต่ถ้าเราเห็นว่าสิ่งนี้เป็นโทษ เราจะปล่อยสิ่งนี้เข้าไป เราจะละเอียดของเราเข้าไป
อย่างเช่น ทำสมถะ เห็นไหม พุทโธ พุทโธ พุทโธนี่ทิ้งไม่ได้นะ คำบริกรรมทิ้งไม่ได้ ลมหายใจนี้ทิ้งไม่ได้เลย ถ้าทิ้งสิ่งนี้ นี่กิเลสมันหลอก เห็นไหม ว่างๆ มีความสบาย...คนเรามันตระหนี่ มันอยากสะดวก มันอยากสบาย เวลากำหนดพุทโธ พุทโธมันกำหนดชั่วครั้งชั่วคราว แล้วก็จะให้ว่างๆ จะอยู่ว่างๆ...มันขี้เกียจ มันไม่ยอมทำงานของมัน
ถ้ามันทำงานของมัน เห็นไหม คนขยันหมั่นเพียร ความเพียรชอบอยู่ไหน คนเราต้องมีความมุมานะนะ มีความเพียรชอบของเรา ถ้าเรามีความเพียรชอบแล้วมีสติพร้อมขึ้นไป กำหนดพุทโธ พุทโธ หน้าที่ของเราคือสร้างแต่เหตุ ความสงบมันจะเกิดขึ้นโดยสัจจะความจริงของเขา แต่นี้เราไปจินตนาการ เราไปต้องการความสงบ นี่ว่างๆ เวลาพุทโธ พุทโธไปมันว่างๆ มันสบาย สบายก็ปล่อย
มันสบายสิ เพราะมันมีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอาหารไง ให้จิตนี้ได้ดื่มกินไง แต่มันยังไม่ถึงสัจจะ ไม่ถึงพลังงานอันนั้นไง ถ้าจิตมันปล่อยวางเข้าไปจนมันมีพลังงาน มันจะมีพลังงานเพราะสติมันจะควบคุมเข้าไป
ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอันหนึ่งนะ พุทโธ พุทโธนี่เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เวลาจิตสงบขึ้นไปนี่เป็นธรรมของเรา เป็นธรรมของเราเพราะมีสติพร้อมเข้าไปตลอด มันจะลึกเข้าไปขนาดไหน...ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ มันจะลึกเข้าไปเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป พอลึกเข้าไป สติมันพร้อมเข้าไป มันเห็นไปหมดเลย เห็นว่าจิตของเราสงบเข้ามา นี่มันจับต้องจิตอย่างนี้ได้ แล้วพอจิตนี้มีรากมีฐานแล้วพาออกใช้ปัญญาไง
ถ้าพาออกใช้ปัญญาจะใช้ปัญญากับอะไร ถ้าใช้ปัญญากับโลกมันก็เป็นวงของสมถะ เพราะมันเป็นปัญญาของโลกแล้วมันปล่อยวางเข้ามา แต่ถ้าจะใช้ปัญญากับการชำระกิเลสมันต้องใช้ปัญญากับสิ่งที่กิเลสมันพาใช้ไง กิเลสมันพาสิ่งใดใช้ล่ะ?...ก็มันพาอารมณ์ของใจออกไปรับรู้สิ่งของโลก ถ้าเราเห็นอารมณ์ คือเห็นตัวจิต ถ้าเราเห็นตัวจิต ระหว่างจิตกับอารมณ์มันทำงานกัน มันทำงานอย่างไร ถ้ามันทำงาน เรามีสติเข้ามาเราจับสิ่งนี้ได้ วิปัสสนาจะเกิดตรงนี้ นี่สภาวธรรมของเราจะเกิดแล้ว
ถ้าสภาวธรรมของเราจะเกิดขึ้นมา เห็นไหม ปัญญาญาณของเราเกิด ถ้าปัญญาญาณของเราเกิด เราจะวิปัสสนาไป นี่กำลังมันเกิด เกิดมาจากไหนล่ะ?...เกิดมาจากสัมมาสมาธิ เกิดขึ้นมาจากพลังงานที่ใจเรามี ถ้าสิ่งนี้เกิดขึ้นมาจากที่ใจเรามี นี่มันสอนเราอย่างนี้ไง สอนว่าถ้ามีสติ มีกำลังขึ้นมา ความใคร่ครวญออกไปมันจะเริ่มมีกำลัง พอมีกำลังมันจะวางอารมณ์อีกต่างๆ วางสิ่งที่มันทำงานกันอย่างไร สิ่งที่สัมผัสสัมพันธ์กันระหว่างจิตกับขันธ์ เห็นไหม จิตกับขันธ์จะสัมผัสสัมพันธ์กัน
แต่ถ้าเราพิจารณากาย เรายกขึ้นดูพิจารณากาย ถ้าเรารำพึงให้กายนี้มันแปรสภาพ ให้กายนี้มันเปื่อยมันเน่าไปตามสัจจะความจริงของมัน นี่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีอยู่อย่างนี้นะ สิ่งที่เป็นเพราะพระไตรลักษณญาณ สิ่งที่เป็นพระไตรลักษณ์ เห็นไหม สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องดับไปเป็นธรรมดา สิ่งที่มันเป็นธรรมดาอยู่ แต่เราไม่เป็นธรรมดาเพราะเราไม่เห็นตามความเป็นจริงของมัน
ถ้าเราไม่เห็นตามความจริง เราไม่เห็นไตรลักษณะ ถ้าไม่เห็นไตรลักษณะ เราจะปล่อยวางของเราไม่ได้ ถ้าเราปล่อยวางของเราไม่ได้ ธรรมจะเกิดขึ้นมาสภาวะกับเราได้อย่างไร สิ่งที่ธรรมเกิดมาไม่ได้ เพราะมันมีความสงวนความรักษาไง มันไปเหนี่ยวรั้งธรรม อดีตอนาคตมาเป็นปัจจุบันไง เหนี่ยวรั้งอดีตอนาคตเข้ามาว่าเป็นปัจจุบันว่าเราเห็นจริงตามความปัจจุบัน
นี่มันไม่ได้เมตตาตน มันเป็นกิเลสตัณหา มันไปยึดมั่นถือมั่น เพราะมันไม่เมตตาเรา มันถึงทำลายเราไง ทำลายวงปฏิบัติ ทำลายบัลลังก์ในการนั่งสมาธิภาวนาอยู่นั้น ทำลายให้มันไม่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา มันไปขวาง ขวางความเป็นจริงไง ถ้ามีตัวตนของเราเข้าไปขวางนะ นี่มันไม่บริสุทธิ์ สิ่งที่ไม่บริสุทธิ์มันก็ไม่เป็นตามความเป็นธรรม ถ้าไม่เป็นธรรม มันไม่บริสุทธิ์
ดูเขาทำ อย่างน้ำที่เขาเอามาใช้ประโยชน์ในทางการเกษตร ถ้ามันมีสารพิษ มันมีสิ่งต่างๆ มันทำให้ต้นไม้ต่างๆ นั้นเฉาตายไปได้นะ นี้ก็เหมือนกัน ถ้ามันไม่บริสุทธิ์ ธรรมมันไม่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา มันมีกิเลสแทรกเข้าไป การประพฤติปฏิบัตินั้นมันก็ปล่อยเหมือนกัน เพราะมันรดน้ำ มันชุ่มชื่นมันก็เป็นความชุ่มชื่น แต่มันไม่ขาด เราต้องหมั่นซ้ำไง วิปัสสนามันจะเกิดตรงนี้ไง กายปัญญามันจะเกิด เห็นไหม เราจะไม่ต้องให้กิเลสมันแทรกเข้ามาในการประพฤติปฏิบัติของเรา
ถ้ากิเลสมันแทรกขึ้นมาในการประพฤติปฏิบัติของเรา เราต้องกลับมาที่พุทโธ กลับมาที่พลังงานตัวนี้เพื่อจะให้อิ่มพอ ให้จิตมันอิ่มพอ ถ้าจิตมันอิ่มพอ กิเลสมันสงบตัวลง ถ้าจิตมันไม่อิ่มพอเห็นไหม มันมีความหิวความกระหายของกิเลส กิเลสตัณหาความทะยานอยากมันเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ในการประพฤติปฏิบัติมันก็จะล้มลุกคลุกคลานไป สิ่งที่การสุกเอาเผากิน เวลามันปล่อย ปล่อยเพราะความเห็นของเรา ปล่อยเพราะกำลังของเรา แต่มันไม่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา
แต่ถ้าเราใช้ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้ามานะ เข้ามาตรวจสอบ การประพฤติปฏิบัติเราต้องตรวจสอบ เพราะมันมีความผูกพัน ใจนี่มันอาลัยอาวรณ์ มันเกาะเกี่ยวกับความรู้สึกอันนี้นะ ถ้ามันมีสิ่งนี้อยู่ ถ้ากิเลสมีอยู่ ถ้าเราตรวจสอบของเรา เราจะเห็นความเป็นไปของจิตนี้ จิตนี้มันเกาะมันเกี่ยว มันเกาะเกี่ยวกัน มันเกี่ยวพันกัน มันไม่เป็นตามความเป็นจริงหรอก
แต่ถ้าเราวิปัสสนาซ้ำแล้วซ้ำเล่านะ เวลาขันธ์มันขาด สัญญาอารมณ์ที่มันทำงานอยู่กับจิต เพราะมีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก สายใยของกิเลส สายใยของสังโยชน์มันผูกพันกัน มันผูกพันสิ่งนี้ให้เข้ามาผูกพันกับจิตดวงนี้ ถ้าวิปัสสนาคลี่คลายมันออก มันก็ปล่อยวาง คลี่คลายออกนะ ขันธ์เป็นขันธ์ จิตเป็นจิต มันปล่อยวางเป็นชั้นเป็นตอนเข้ามา นี่มันคลี่คลายของมันออกไป เราต้องเห็นความเป็นไป ปัญญามันจะเกิดอย่างนี้ นี่ปัญญาญาณมันชำแรกเข้าไปในระหว่างที่มันสัมผัสสัมพันธ์กัน
ถ้าไม่มีปัญญาเข้าไปเห็นความสัมผัสสัมพันธ์กัน มันจะสัมผัสสัมพันธ์กันโดยความยึดมั่นถือมั่นของกิเลสไง มันสัมผัสสัมพันธ์กันโดยสัจจะความจริงของมันอยู่แล้วนะ นี่สภาวธรรมที่มันมีอยู่มันเป็นความจริงอย่างนี้ ความคิดนี้ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ความคิด มันก็เกิดดับ มันก็มีการผูกพันกันไป มันมีความฟุ้งซ่านออกไปโดยธรรมชาติของมันอย่างนี้
แต่เพราะว่ามีเราไปยึดไง เป็นเรา สรรพสิ่งเป็นเรา เวลายึดมั่นถือมั่น เป็นเรา เรารักสิ่งใดเราสงวนสิ่งใด เราก็รักษาสิ่งนั้น ยึดมั่นถือมั่นสภาวะเป็นเรา เป็นของเรา สิ่งต่างๆ นี้เป็นเราทั้งหมดเลย แต่เวลาธรรมที่มันเกิดขึ้น ปัญญาญาณที่เกิดขึ้น มันจะเข้าชำแรกเข้าไป สิ่งใดเป็นเรา ทำไมเราไม่รักษา ทำไมไม่อยู่กับเราตลอดไป ทำไมสิ่งนี้มันไม่อยู่กับเรา ทำไมเราสงวนรักษาไม่ได้
สมมุติโลกเป็นเท่านี้ แม้แต่ชีวิตนี้ยังเป็นสมมุติเลย แต่จิตนี้ไม่ใช่สมมุติ จิตนี้เป็นความจริง เพียงแต่เกิดเป็นมนุษย์สมบัติ แล้วได้ออกไปบวชเป็นพระเป็นเณรขึ้นมา เราจะประพฤติปฏิบัติ นี่เรามีสถานะของพระของเณรรองรับนะ รองรับเพราะมีลมหายใจเข้าและลมหายใจออก เวลาพระตาย เห็นไหม เวลาพระตายศพก็ต้องเผาเหมือนกัน เวลาคฤหัสถ์ตายศพก็ต้องเผาเหมือนกัน ศพซากศพนี้ทิ้งไว้กับโลกเขา สิ่งถึงที่สุดแล้วธาตุ ๔ ต้องทิ้งไว้ที่นี่ แต่หัวใจเวลาตายไปแล้วมันก็ต้องหมุนเวียนไปตามกรรมที่มันสร้างสมขึ้นมา
แต่ถ้าเราวิปัสสนาขึ้นมา มันเห็นจากภายใน สิ่งที่เป็นภายใน สิ่งที่ว่าเป็นการชำระกิเลส สิ่งนี้มันจะทำลาย เห็นไหม ทำลาย ทำลายกัน ยิ่งทำลายยิ่งสะอาดยิ่งบริสุทธิ์ ยิ่งทำลายเท่าไร สิ่งที่มันมีอยู่คือการเกาะเกี่ยวของใจมันจะปล่อยวางขึ้นมาเป็นชั้นเป็นตอนเข้ามา มันปล่อยวางเพราะปัญญาของเราชำแรกเข้าไป ปัญญาที่มีสัมมาสมาธินี้เป็นเครื่องรองรับ
ปัญญาที่เกิดขึ้นจากธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่วางไว้ วางไว้ในภาคปริยัตินะ แล้วเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราฝึกฝนหมั่นสร้างความเพียรของเราจนเกิดขึ้นมาจากเป็นปัญญาของเรา สิ่งที่เป็นปัญญาของเรา นี่มันปล่อยวางต่อหน้าเรา สิ่งที่มันปล่อยวางต่อหน้าเรานี่มันเป็นปัจจัตตัง สิ่งที่เป็นปัจจัตตังมันเริ่มปล่อยวางออกไป ปล่อยวางออกไป
นี่ปัญญามันจะกว้างขวางขนาดไหนเราต้องตามต้อนนะ ตามต้อนสิ่งที่กิเลสมันจะหลบซ่อนไง ถ้าปัญญาของเราเข้มแข็งขึ้นมากิเลสมันจะหลบซ่อนอยู่ในหัวใจของเรานี่ หลบซ่อนว่าเราปล่อยวางแล้ว ขันธ์เป็นขันธ์ จิตเป็นจิต นี่ปล่อยวางโดยสัจจะความจริงแล้ว สัจจะความจริง สิ่งที่ว่าปล่อยวางใครเป็นคนพูดล่ะ นี่กิเลสมันร้ายกาจขนาดนี้ กิเลสในหัวใจของเรานี่
สิ่งนี้มันพาให้เราสงวน มันพาให้เรารักษาสิ่งนี้ ยึดมั่นถือมั่นตั้งแต่เรื่องสมบัติวัตถุนะ สิ่งที่เป็นวัตถุมันก็ยึดมั่นถือมั่นว่าชีวิตนี้เราต้องอาศัยสิ่งนี้ ร่างกายนี้พูดถึงเรื่องแก่เฒ่า คิดถึงแล้วมันแปรสภาพจะไม่ยอมรับสิ่งนี้นะ อยากจะให้มันคงที่ตลอดไป อยากจะให้เราเกิดมาแล้วก็ไม่ตาย อยากจะให้เราสภาวะแบบนี้ สมบัติก็มีของเราแล้วใช้ไม่รู้จักพร่องนะ สมบัติมีเงินทองขนาดนี้ ใช้ขนาดไหนก็จะให้มันอยู่เท่าปัจจุบันไม่ให้มันพร่องไป...นี่ถ้ามันสงวนมันรักษา มันจะไม่มองเห็นสัจจะความเป็นจริงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นธรรม มันจะเกลียด มันจะขยะแขยง มันจะไม่...ปฏิเสธสิ่งที่เป็นธรรมนะ แล้วมันไปยึดมั่นถือมั่นกิเลส คือสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ไง
สัจจะความจริงสิ่งที่แปรสภาพสิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่เป็นสมมุติชั่วคราว มันมีจริงโดยชั่วคราวอาศัยสิ่งที่เป็นชั่วคราวขึ้นมาเพื่อฝึกฝนสติปัญญา ให้สติปัญญาเห็นตามความเป็นจริงอย่างนี้ จะปล่อยวางจากสิ่งข้างนอกเข้ามา เห็นไหม จากวัตถุข้าวของเข้ามาให้มันปล่อยวางเข้ามาว่า เราอาศัยกันในชีวิตนี้เท่านั้น สิ่งนี้เป็นสิ่งอาศัย ปัจจัยอาศัย จนให้เรามีศรัทธามีความเชื่อ จนมีความเมตตาของเรา
เราประพฤติปฏิบัติโดยความเป็นจริง ไม่ใช่ประพฤติปฏิบัติด้วยความยึด ด้วยความรัก ด้วยความสงวนรักษา สิ่งที่สงวนรักษา ยึดขนาดไหนมันก็ให้โทษกับตนเอง เราสงวนเรารักษา ให้เราปฏิบัติโดยสงวนรักษา อยากได้ผลเพราะต้องการผล ต้องการอยากได้...มันทำลายโอกาสของตัวนะ ทั้งๆ ที่ว่าเราก็ประพฤติปฏิบัติทุ่มเททั้งชีวิตนะ
เวลาอดอาหาร อดนอนผ่อนอาหาร เราปฏิบัติของเรา เราทำเพื่อชำระกิเลส แต่ในเมื่อมันมีกิเลสในหัวใจมันก็ให้ไปสงวน ไปรักษา แล้วปฏิเสธธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่อยากตาย ไม่ต้องการพลัดพรากจากสิ่งใด ไม่ต้องการให้ร่างกายนี้ชราคร่ำคร่า จะต้องให้เป็นหนุ่มเป็นสาวอย่างนี้ตลอดไป จะอยู่ค้ำฟ้ากับเรื่องของโลกเขา...มันเป็นไปได้ไหม?...มันเป็นไปไม่ได้
นี่ถ้ามันสงวนมันรักษา มันจะคิดอย่างนั้น
แต่ถ้าเป็นสภาวะตามความเป็นจริงนะ ตามความเป็นจริง สิ่งนี้มันเป็นสิ่งของชั่วคราว มันต้องทำลายไป สิ่งที่ทำลายไป มันต้องทำลายของมัน นี่สภาวธรรมที่เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ว่าวางไว้ สัจจะความจริงมันมี ในโลก เรื่องของโลก มันเรื่องของกาลเวลา เรื่องของสมมุติ มันเห็นการเกิดการตายโดยสัจจะ โดยกาลเวลา โดยสภาวะกรรม
แต่วิปัสสนาจากภายในเห็นความแปรสภาพ เห็นความเป็นไปของมรรคญาณ มรรคญาณมันจะเห็นสิ่งที่แปรสภาพระหว่างขันธ์กับจิตที่มันสัมผัสสัมพันธ์กัน มันปล่อยวางขนาดไหน มันปล่อยวางแล้วมันก็เกิดปัญญาญาณขึ้นมา มันเป็นอย่างนี้ มันเป็นอย่างนี้ เห็นสภาวะแบบนี้ แล้วมันจะมีความองอาจกล้าหาญใช้ปัญญาญาณ
ดาบเพชรฟาดฟันเข้าไประหว่างขันธ์กับจิต จิตกับขันธ์มันทำงานกันอย่างไร ฟาดฟันเข้าไปมันก็ปล่อย มันมีความองอาจมีความกล้าหาญ เพราะมันมีความปล่อยวาง พอจิตมันปล่อยวาง มันปล่อยวางสิ่งต่างๆ เข้ามา แล้วมันก็เบาขึ้นมาพร้อม มันมีความอิ่มเอมของมัน นี่เพราะเราเมตตาตนไง เราเมตตา เราไม่สงวนรักษามัน
ถ้าเราไปสงวนเรารักษามัน เพราะเรารักมัน เรายึดมัน มันเป็นของเรา สิ่งนี้จะเป็นสมบัติของเรา เราจะได้ผลประโยชน์กับการวิปัสสนาขึ้นมา เราจะเป็นพระอริยเจ้า เราจะเป็นลูกศิษย์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า...มันยึดไปหมดเลย กิเลสมันพายึด มันจะยึดไปหมดแล้วจะมาให้โทษกับการประพฤติปฏิบัติ มันจะไม่ลงมัชฌิมาปฏิปทา เพราะเราไปสงวนรักษา เราไม่เมตตา
เราทำด้วยเมตตาธรรม เมตตาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าประพฤติปฏิบัติโดยหลักความเป็นจริงมันก็ไปเมตตาตน เมตตาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้ให้เราเมตตาตน เราเมตตาสงวนรักษาตน เวลาธรรมมันเกิดขึ้นมาในหัวใจของเรา เราจะมีความสลดมีความสังเวช นี่ธรรมสังเวชคือว่าทำไมเราโง่กับกิเลสขนาดนี้ ทำไมกิเลสมันต้องให้มาขับไสให้การประพฤติปฏิบัติของเราตกซ้ายตกขวา ไม่ลงมัชฌิมาปฏิปทา
เวลาลงมัชฌิมาปฏิปทามันก็ปล่อยวางทีหนึ่ง ปล่อยวางทีหนึ่ง เห็นไหม นี่สภาวธรรมเกิดจากใจของเรา สิ่งนี้มรรคญาณจะเกิดในหัวใจของเรา มรรคญาณเกิดขึ้นในหัวใจเรา เราก็มีความองอาจ มีความกล้าหาญ ความเพียรก็เป็นความเพียรชอบ
ถ้ามันเป็นพิจารณากาย พิจารณากาย กำหนดกายนี่มันจะปล่อยวางไป กำหนดขนาดไหนกำลังมันมี มันจะปล่อยมันไป มันเป็นสภาวธรรมมันมีอย่างนี้ มันก็กลับคืนสภาวะของมัน ตั้งแต่มันจะเปื่อยมันจะเน่าขนาดไหน ถ้ากำลังมันพอ มันจะสลายลงเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ มันจะทำลายต่อหน้าตลอด ตลอดไป ต่อหน้าตลอดไป นี่มันเห็นในสภาวะในปัจจุบัน สิ่งที่ในปัจจุบันเพราะจิตนี้สงบแล้ว มันพ้นจากมิติไง
เรากำหนดใน...ถ้าเราอยู่ของเรา เรากำหนดวันเดือนของเรา มันเป็นเวล่ำเวลาของจิต จิตนี้มันเป็นสมมุติเพราะมันเป็นวันเป็นเดือน มนุษย์มันมี ๒๔ ชั่วโมง แต่จิตสงบไม่มีมิติ ไม่มีสิ่งใดๆ มาเจือปนอันนั้น ขณะที่เป็นสิ่งนั้น เห็นสภาวะกายมันแปรสภาพเดี๋ยวนั้น มันทำเดี๋ยวนั้น มันมหัศจรรย์มาก พอมันเกิดความมหัศจรรย์อย่างนี้มันก็จะเริ่มปล่อยวาง เริ่มคายออก เห็นไหม คายความยึดมั่นถือมั่น จิตใต้สำนึกมันยึดมั่นถือมั่นของเรา มันสงวน มันรักษา มันรักมาก มันรักจนยึดไง เพราะมันยึดว่าเป็นของมันไง มันยึดว่าเป็นของมันทั้งๆ ที่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปฏิเสธอยู่แล้ว แต่ธรรมอันนั้นเราเป็นการศึกษา เป็นการยึดขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นมา
ขณะที่ปฏิบัติมันเห็นตามความเป็นจริงของมันขึ้นมา ตามความเป็นจริงของใจ ใจเห็นสภาวะแบบนั้น ถ้าสภาวะแบบนั้นมันไปยึดไม่ได้หรอก เพราะมันไม่มีสิ่งใดให้ยึดไง มันทำลายต่อหน้า มันคืนสภาวะต่อหน้า มันไม่มีสิ่งใดเลย มันเป็นอากาศธาตุ ยึดได้อย่างไร เราไปกำอากาศ มือเราไปกำอากาศ มันมีอะไรให้เรากำ...มันไม่มีหรอก
แต่ถ้ามันมีความยึดของมัน มันยึดว่าเป็นของมัน มันยึดความรู้สึกไง ยึดความคิด ยึดความรู้สึก ยึดความเป็นไป แล้วก็ออกมาเป็นเรื่องของร่างกาย เห็นไหม กิเลสอยู่ที่ใจ กิเลสไม่อยู่ที่กาย แต่ขณะที่กิเลสมันอยู่ที่ใจก็จริงอยู่ แต่ใจนี้ไปยึดกาย ทีนี้วิปัสสนากายเห็นตามความเป็นจริง กายมันแปรสภาพ มันไม่มีสิ่งใดยึด มันทำลายทั้งหมด ถึงที่สุด พอมันทำลายทั้งหมด มันคืนสู่สภาวะเดิม นี่มันเป็นอย่างนี้หนอ ชีวิตมันมีเท่านี้เองหรือ สภาวะของกายมันมีเท่านี้ มันจะปล่อยทันทีนะ ถ้าปัญญาถึงที่สุด มรรคญาณเกิดขึ้น ความเป็นไปของมัน มันจะปล่อยสิ่งนี้ทันที
ขณะพิจารณาจิตก็เหมือนกัน ขณะที่ความเป็นไปของขันธ์กับจิตที่มันทำงานกัน มันผูกพันกัน ถึงที่สุดแล้วมันปล่อยวางเหมือนกัน สิ่งที่ปล่อยวางเหมือนกัน ขณะที่เป็นไปมันจะปล่อยวางเหมือนกัน ถ้าปล่อยวางเหมือนกัน นี่สภาวธรรมเกิดขึ้น ความเมตตานะ มันจะเกิดมหาศาลเลย เกิดจากใจดวงนี้ไง แล้วย้อนกลับไปดูความยึดมั่นถือมั่น ทำไมเราโง่อย่างนี้ มันจะสลดสังเวชกับชีวิตที่เราผ่านมานะ
ชีวิตที่ผ่านมาทำไมเราไปยึดมันล่ะ ทำไมเราไปสร้างสมสิ่งนี้ ดีก็ติด ชั่วก็ติด สิ่งใดก็ติดไปหมดเลย แต่พอเวลามันขาดแล้ว สิ่งนั้นเป็นเรื่องของเขานะ เรื่องของโลกมันเป็นเรื่องของโลก เรื่องของเราคือเรื่องหัวใจของเรา ถ้าเราไม่มีสภาวะแบบนี้ เราไม่ปฏิบัติธรรมตามความเป็นจริงอย่างนี้ เราจะไม่รู้สภาวะแบบนี้ เราก็จะไปตื่นเต้นไปกับโลก ถ้าตื่นเต้นไปกับโลก สิ่งใดที่เป็นความพอใจ เราก็จะมีความพอใจไปกับเขา สิ่งใดกระเทือนใจเรา เราก็จะปฏิเสธ เห็นไหม เราจะปฏิเสธ เราจะไม่ต้องการสิ่งนั้น สิ่งนั้นจะให้ผลกับหัวใจของเราทับทวีคูณเลย เพราะเราปฏิเสธ ตัณหาซ้อนตัณหามันจะให้ทุกข์มาก
เวลาเราประพฤติปฏิบัติสงวนรักษาอยากได้ ก็เป็นความทุกข์มาก
เวลาเห็นสภาวะเป็นไปที่เราไปยึด มันก็เป็นความทุกข์มาก
ปฏิเสธเรื่องไม่เป็นจริง มันก็เป็นความทุกข์มาก
มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น แต่เพราะเราดูใจของเรา เรารักษาใจของเราขึ้นมา ใจของเราถึงพัฒนาขึ้นมา พัฒนาถึงที่สุดจนมันเป็นอกุปปธรรม สิ่งที่เป็นอกุปปธรรมคือมันจะไม่มีการแปรสภาพลงไปยึดสิ่งที่มันเคยยึดมาอยู่แล้ว สิ่งที่มันเคยยึดมาอยู่แล้วเพราะมันไม่รู้จริง มันถึงไปยึดมาอย่างนั้น ยึดหมดนะ แม้แต่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่เครื่องดำเนิน ก็ไปยึดเอาเป็นของเรา
เงินทองไม่ใช่ของเรา มันเป็นสิ่งที่เป็นเครื่องอาศัยเท่านั้น ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เป็นสิ่งที่ว่าสร้างสมขึ้นมาให้เกิดสภาวะที่เห็นตามความเป็นจริงของเราขึ้นมา สิ่งที่เห็นสภาวะตามความเป็นจริงของเราขึ้นมา สิ่งที่มีโอกาสกระทำ สิ่งที่ถึงกาลถึงเวลาเราก็ทำคุณงามความดีของเรา แต่ขณะที่ว่าเราย้อนกลับเข้ามา จิตนี้ไม่ให้ยึด ถ้าจิตนี้ไปยึดมั่นถือมั่นสิ่งนั้น เห็นไหม ยึดมั่นถือมั่นสิ่งนั้น มันเป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยาก
แต่ถ้าเราทำตามหน้าที่นะ เราทำวัตรเช้า-ทำวัตรเย็น เวลาเราสวดมนต์ ถ้าเราบอกว่าสิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เราจะไม่ยึดสิ่งนี้ เราจะไม่ทำสิ่งนี้เลย แล้วเราจะได้ประโยชน์อะไรล่ะ แต่ถ้าเราทำวัตรเช้า-ทำวัตรเย็น สิ่งนี้เป็นการสรรเสริญพุทธคุณไง เราบรรยายธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไง
๑. เราสอนตัวเราเอง เห็นไหม เราสวดธัมมจักฯ เราจะเห็นธรรมจักรเกิดขึ้นกับใจของเรา สิ่งนี้มันสอนเราอยู่แล้ว สิ่งที่เราสวดธัมมจักฯ นี้เป็นธัมมจักฯ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ที่ว่าขณะประพฤติปฏิบัติ...ความเพียรชอบ การงานชอบ สิ่งที่มรรคมันเกิดขึ้นมาจากเรา นี่ธรรมของเรา ปัญญาของเรา สิ่งที่ความเป็นไปของเรา แล้วมันก็จะฆ่ากิเลสของเรา
เกิดขึ้นมาจากธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราสวด เราสรรเสริญธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา มันจะเป็นธรรมของเรา ไม่ใช่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นอยู่ในตู้พระไตรปิฎก แต่ถ้าเราศึกษา เราสัญญามาความจำมา นั้นก็ยังเป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่
แต่ในการประพฤติปฏิบัติ มันเป็นปัจจุบันธรรม มันเกิดขึ้นมาอย่างนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นมากับเรา สิ่งนี้เป็นเครื่องดำเนินไง ถ้าจิตของเราต้องยกขึ้นให้มันสูงขึ้นไปจนกว่าจะถึงพุทธภาวะนะ ถ้าถึงพุทธภาวะ มันจะไม่มีพลังงานขับเคลื่อนในตัวของมันเอง มันจะอิ่มพอในตัวมันเอง แต่สิ่งนี้เราเห็นเรื่องสภาวธรรมตามความจริง เพราะเราใช้ปัญญาใคร่ครวญระหว่างขันธ์กับจิต
ขันธ์ คือขันธ์ ๕ ระหว่างกายกับจิต ขันธ์กับจิต จิตนี้เป็นผู้ใคร่ครวญสิ่งนี้มา จิตนี้มันจะใคร่ครวญสิ่งนี้ได้มันต้องมีกำลังงานของมัน มันต้องมีพลังงานของมันนะ ถ้าไม่มีพลังงานของมัน สิ่งนี้มันโดนกิเลสขับไสแล้วมันจะคลุกคลีไป มันจะคลุกคลี มันจะกลืนตัวไปกับเรื่องของกิเลส กับเรื่องของตัณหาความทะยานอยาก หมุนไปในเรื่องของโลกียะ ในเรื่องของความเป็นไปของกิเลสตัณหาที่มันปกปิดให้เราหลงว่าเราประพฤติปฏิบัติแล้วเราได้ธรรม มันก็จะหมุนอยู่อย่างนั้น
แต่ถ้าสภาวะตามความเป็นจริงของเราเกิดขึ้นมาด้วยปัญญาญาณของเรา ด้วยพลังงานของใจที่มีปัญญาใคร่ครวญเข้ามา เห็นไหม ทำลายสิ่งนี้เข้ามา นี่เราทำลายเข้ามา เราจะเห็นตามสัจจะความเป็นจริงของเรา นี้เป็นธรรมของเรา สิ่งที่เป็นธรรมของเรา สิ่งที่จิตมันทำลายขันธ์ สิ่งที่ทำลายขันธ์แล้วขันธ์อย่างกลาง ขันธ์อย่างละเอียด...แล้วตัวของจิตล่ะ?
นี่ถึงจะต้องเข้าไปถึงพุทธภาวะ มันจะอยู่ภายในไง สิ่งนี้คือพุทธภาวะปล่อยเขาเข้ามา ปล่อยสิ่งต่างๆ ปล่อยที่กิเลสตัณหาความทะยานอยากที่มันพาออกไปรับรู้เรื่องโลกๆ เรื่องสมบัติปัจจัยเรื่องของโลก เรื่องข้าวของเงินทองมันออกไปยึด เราปล่อยเข้ามา มันก็เป็นสิ่งที่ตั้งมั่นในหัวใจ เป็นสัมมาสมาธิ แล้วเราทำลายสิ่งที่ว่าระหว่างขันธ์กับจิต หรือว่ากายกับจิตนี้ออกมา มันก็ปล่อยวางสิ่งที่ว่าเป็นขันธ์อย่างหยาบเข้ามา นี่จิตมันจะถอยร่นเข้ามา เพราะกิเลสตัณหาความทะยานอยากมันอาศัยสิ่งนี้เป็นเครื่องดำเนินไง
เวลาเราปุถุชน ขันธ์ ๕ เป็นขันธมาร ความคิดมันยึดไปหมด ความคิดยึดแล้วสงวนรักษา เพราะเราสงวนเรารักษา เราไปรักมัน เราไปยึดมัน แล้วมันก็เป็นความทุกข์ทั้งหมด แต่เวลามันปล่อยเข้ามา ปล่อยเพราะว่าธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฟาดฟันทำลายมัน ทำลายมันจนกว่าว่าสัจจะความจริง ทำลายต่อหน้าจนเรายึดมั่นถือมั่นไม่ได้ เพราะมันสิ่งที่ว่าไม่มีสิ่งใดจะไปยึดมั่นถือมั่นได้ เพราะสภาวธรรมมันทำลายอย่างนั้นแล้ว เราถึงปล่อยสิ่งนี้เข้ามา มันก็หดสั้นเข้ามาสิ่งที่หดสั้นเข้ามา มันก็เข้าไปถึงขันธ์จากภายใน เรายกขึ้นเข้าไป เราย้อนกลับจิตของเราเข้าไป ทวนกระแสกลับเข้ามา เห็นไหม ทวนกระแสกลับเข้าไป ไปดูจากความเป็นจริงจากภายใน
นี่การประพฤติปฏิบัติมรรคหยาบ-มรรคละเอียดมันต่างกันอย่างนี้ไง
มรรคอย่างหยาบมันทำลายสิ่งที่เป็นความเห็นจากข้างนอกจากหยาบๆ อย่างสิ่งอย่างหยาบนะ แต่ขณะที่หยาบๆ เราภาวนาเริ่มต้นเราล้มลุกคลุกคลาน มันทุ่มทั้งชีวิต มันหยาบมาจากไหน เพราะมันทุ่มทั้งชีวิต มันต้องเป็นความเป็นจริง ถ้าเราไม่ทุ่มทั้งชีวิต กิเลสมันจะแทรกตรงนั้น พอกิเลสมันแทรกมันหลอกลวง หลอกให้เราล้มลุกคลุกคลานไง ทั้งๆ ที่เราปฏิบัติธรรม
งานของโลกเขา เขาทำงานของโลกเขา เขาต้องใช้กำลังของเขา เขาต้องใช้ทุกอย่างของเขาเพื่อทำงานของเขา เพื่อจะมาหาปัจจัย ๔ เครื่องอาศัย เขายังต้อง...คนที่จับจด คนที่สุกเอาเผากินยังทำงานของโลกเขาไม่ประสบความสำเร็จเลย แต่นี้เราทำงานของเราด้วยมรรคญาณ ด้วยความสุขุมคัมภีรภาพ ด้วยความรอบคอบของเรา สิ่งนี้มันย้อนกลับเข้ามา เข้ามา เข้ามา ละเอียดเข้ามา แล้วมันทำลายสิ่งที่ว่าเป็นความหยาบเข้ามา ความหยาบเข้ามา มันละเอียดเข้ามาเห็นไหม นี่ทุ่มทั้งชีวิตมันทุ่มอย่างนี้ไง
ถ้าไม่ทุ่มทั้งชีวิตมันจะมีช่องให้กิเลสมันออกไง ถ้าช่องกิเลสมันออกนะ มันจะพาออกอย่างนั้น พาให้พลังงานของเราเสื่อมไป พาให้สิ่งที่เราตั้งใจเป็นปัญญาของเรานี่มันย้อนออกไป นี่มันเอาปัญญาของเราหลอกเรา สร้างภาพของเราให้เราเห็นส่งออก ให้เห็นส่งออกว่ามันปล่อยวาง มันเป็นสัจจะความจริง
เพราะเราไม่เชื่อมัน เพราะเราไม่เชื่อ ถึงว่าเวลากิเลสมันเข้าแทรกเข้ามาในการประพฤติปฏิบัติ เราไม่เชื่อ เราถึงย้อนกลับ เราถึงใช้ปัญญาใคร่ครวญตลอดมา จนถึงที่สุดมันปล่อยวางมา สิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่ยืนยันกับใจผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ แล้วสิ่งที่เป็นความละเอียดกว่านี้ มันก็จะมีความหลอกลวงที่ว่ามันละเอียดเข้าไปอีกชั้นหนึ่ง เราถึงจะต้องทำความสงบให้มันละเอียดเข้าไป ถึงต้องกำหนดพุทโธตลอดไป
สิ่งที่กำหนดพุทโธเพื่อให้จิตนี้...ความว่างระหว่างการปล่อยวางอันหนึ่งนะ การปล่อยวางมันว่างนี่ มันเป็นสถานะของจิต จิตนี้จากที่มันเป็นปุถุชนมันแบกรับภาระหนักหน่วงมาก แต่เวลามันปล่อยวางสิ่งที่ว่าเป็นสักกายทิฏฐิออกมาแล้ว ความหนักหน่วงของมันจะเบาลงไปส่วนหนึ่ง สิ่งที่เบาลงส่วนหนึ่ง เห็นไหม ความเป็นความว่างอย่างนั้นคือเป็นความเบาของมัน เป็นความว่างของใจระดับนี้ แต่ขณะที่จิตจะยกขึ้นไปวิปัสสนา มันต้องการพลังงาน
ความว่าง เห็นไหม เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพพาน เข้าตั้งแต่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน นี่ใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธภาวะอย่างนั้นที่ว่าไม่มีกิเลสตัณหาเลยนะ ไม่มีสิ่งใดๆ เข้าไปทำลาย เข้าไปเจือปนในใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย เป็นความว่างไหม?...เป็นความว่าง แต่ท่านก็มาเข้าตั้งแต่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน ขึ้นไปอากาสานัญจายตนะ แล้วย้อนกลับ แล้วก็มานิพพานระหว่างนั้นไง
เวลากำหนดพุทโธ เราต้องการพลังงานอันนี้ไง สิ่งที่ว่าเป็นพลังงาน พลังงานที่ว่าให้ใจมีกำลังขึ้นมา ความว่างเป็นความว่าง แต่พลังงานของสัมมาสมาธิมันเป็นพลังงานสัมมาสมาธิอีกอันหนึ่ง เราถึงต้องกำหนดพุทโธขึ้นมาให้จิตมันละเอียดเข้ามา ให้จิตมีพลังงานเข้ามา แล้วเรายกจิตนี้ออก ออกค้นคว้าตลอดไป
ถ้าเราเอาจิตนี้ออกค้นคว้าได้ เราเอาจิตนี้ออกทำงานได้ เราทำจิตของเราให้ออกทำงาน เราจะเข้าไปเห็นกายกับจิตเห็นไหม เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม แล้วพอเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม เราจะมีความละเอียดรอบคอบขนาดไหน เราจะเริ่มทำใช้ปัญญาใคร่ครวญขนาดไหน ถ้าปัญญาใคร่ครวญขนาดไหน เราจะไม่ไปติด เราจะไม่ไปยึดสิ่งต่างๆ สิ่งที่กิเลสอันอย่างละเอียดมันก็หลอกอย่างละเอียด เราก็ต้องใช้ความสุขุม เราต้องใช้ความทดสอบของเรา จะทดสอบให้จิตนี้มันก้าวเดินตลอดไป
ถ้าจิตมันก้าวเดินนะ ก้าวเดินคือปัญญามันใคร่ครวญไปนะ มันจะมีความสนุก มีความสนุก มีความองอาจ มีความกล้าหาญ เพราะเวลาจิตมันปล่อยวาง...เราทำสัมมาสมาธิกำหนดพุทโธ พุทโธ เวลาจิตมันสงบ เรามีความสุขขนาดไหนล่ะ เราจะมีความสุขมาก จิตนี้มีความสงบ จิตนี้มีฐาน จิตนี้มันทำให้เราสบาย โอ้โฮ! ทำไมจิตมันมหัศจรรย์ขนาดนี้ นี่ขนาดจิตสงบนะ แต่ถ้าเราเข้าไปจับ เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม แล้วปัญญามันใคร่ครวญไปมันจะมีการปล่อยวาง ความสุขมันจะมีมามหาศาลเลย ความสุขจะมีมากกว่านี้นะ
เวลาทุกข์ ทุกข์มาก เวลาเราทุกข์นะ เวลามันฟุ้งซ่าน เวลาเราประพฤติปฏิบัติไม่สมประโยชน์จะมีความทุกข์ ทุกข์เพราะมันไม่ได้ดั่งใจ แต่ในการประพฤติปฏิบัติ เวลาจิตมันปล่อยมันก็มีความสุข ความสุขนี้ก็อยู่ในอนิจจัง ความสุขนี้มันก็สุขชั่วคราว ถ้าเราไม่มีสติ เราไม่ควบคุมให้ดีเดี๋ยวมันก็เสื่อม เสื่อมเพราะอะไร เพราะสิ่งนี้พอมันปล่อยวางแล้ว พลังงานมันใช้ไปแล้วไง ความสุขอันนี้เพราะเรื่องของใจ
เรื่องของใจ เรื่องของความเคลื่อนไปของใจ ใจมันยังเคลื่อนไหวอยู่ มันยังมีกิเลสตัณหาความทะยานอยากอยู่ มันจะเคลื่อนสภาวะแบบนั้น ถ้าสิ่งที่สภาวะแบบนั้น เวลามันจะปล่อยวางขนาดไหน มีความสุขเราก็อยู่กับความสุขนั้น เรากำหนดพุทโธไว้ไม่ยอมคลาดเคลื่อนกับอันนี้ เพราะเราต้องให้จิตเราอิ่มเต็มตลอด สิ่งที่จิตอิ่มเต็มมันไม่หิวกระหาย มันก็ไม่คาดไม่หมายไป
ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มันให้สมควรแก่ธรรม ให้เป็นสัจจะความจริงของมันที่เกิดขึ้นมา เราอย่าไปยึดมัน ถ้าเราไปยึดมัน เห็นไหม สิ่งใดยึดไม่ได้หรอก แม้แต่ของวัตถุ กาลเวลามันทำให้สิ่งนั้นเปลี่ยนแปลงไปเลย แล้วเรื่องของใจมันจะไม่เปลี่ยนแปลงไปมันเป็นไปได้ไหม ใจมันต้องเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มันเป็นไปไม่ได้ที่มันจะคงที่ มันจะคงที่ไม่ได้เพราะมันมีความรู้สึก มันมีเป็นไป
แม้แต่ความว่าง สัมมาสมาธิ หรือการใช้วิปัสสนาที่มันปล่อยวาง เพราะอะไร เพราะมันยังมีกิเลสอยู่ มันยังมีสิ่งที่ว่าเป็นอนิจจังอยู่ มันยังมีสิ่งที่ว่ามันมีปลอมปนอยู่ในนั้นไง สิ่งที่ปลอมปนมันจะทำให้สิ่งนี้คลาดเคลื่อนไป ถ้าสิ่งนี้คลาดเคลื่อนไป ถ้าเราไม่สงวนรักษามันก็ถอยร่นออกมา มันเสื่อมสภาวะไป เราก็ต้องย้อนกลับมาตลอด
ในการก้าวเดินของปัญญา สิ่งที่ขณะที่ปัญญาก้าวเดินไป มันจะมีการเจริญแล้วเสื่อมอย่างนี้ เหมือนกับเข็นครกขึ้นภูเขา เวลาเราเข็นขึ้นไปนี่แสนทุกข์แสนยาก เพราะเราต้องใช้ก้นของเรายันไว้กับพื้น แล้วเราต้องใช้มือเราเข็นครกขึ้นไป แต่ขณะถ้ามันหลุดมือเราไปมันจะไหลลงมารวดเร็วมาก นี่ก็เหมือนกัน เวลาเรากำหนดพุทโธ เราใช้ปัญญา เราฟาดฟันกับมันเหมือนกับเข็นครกขึ้นภูเขานะ มันจะต้องใช้กำลัง จะต้องใช้สติทั้งหมด จะต้องใช้ความรู้สึก จะต้องใช้ความรอบคอบทั้งหมด แต่ถ้ากิเลสมันหลอกทีเดียว เผลอทีเดียวหลุดมือนะ ครกจะกลิ้งลงจากภูเขา เราก็ต้องไปตั้งต้นใหม่ เข็นขึ้นมา เข็นขึ้นมา นี่เวลาเราใช้ปัญญา มันเปรียบเทียบอย่างนั้น เปรียบเทียบเหมือนว่าถ้ากิเลสมันหลอก ทำไมเราเชื่อมันง่ายๆ ไง แต่เวลาสภาวธรรมที่เราสร้างขึ้นมา เราพยายามสะสมขึ้นมาจนเป็นสมบัติของเรานะ ฟาดฟันกับกิเลสนะ ฟาดฟันกับขันธ์ ๕ ฟาดฟันกับร่างกาย มันเห็นสภาวะอย่างนี้ มันปล่อยอย่างไรก็แล้วแต่ ทำไมเราเชื่อมันล่ะ
เพราะมันมีสิ่งที่เจือมาไง มันมีสภาวธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วกิเลสมันบอก นี่เป็นอย่างนี้ นี่ว่างๆ เพราะมันเป็นการคาดการหมาย การด้นการเดาว่ามันจะว่างอย่างนี้ เพราะเราไม่เคยเจอสภาวะแบบนี้ เราไม่เคยเจอสภาวะแบบที่มันจะว่างขนาดไหน ที่มันปล่อยขนาดไหน เราก็ไปเชื่อ เชื่อกับกิเลสที่มันหลอกมาไง
แต่ถ้าเราทำสัจจะความจริงนะ ความว่างของการที่กิเลสมันจะขาด มันจะมีขั้นตอนของมัน มันจะมีขณะจิตที่มันเป็นไป สิ่งที่มันเป็นขณะจิต อกุปปธรรมไปตลอด ถ้าเป็นอกุปปธรรม ถึงที่สุดมันปล่อย ปล่อยหมดเลย ขาดหมด ถ้ามันขาดแล้วนะ ให้สงวน ให้รักษา ให้ทำอย่างไร มันก็ไม่มีตัวตน มันก็ไม่มีสิ่งที่ไปยึดมั่นถือมั่นมัน
เพราะสิ่งที่มันขาดไปมันยึดไม่ได้ สิ่งที่ไม่มี เห็นไหม เราไม่มีเราจะบอกให้มี มันเป็นไปไม่ได้หรอก แต่ถ้าเรามี เราซ่อนเร้นไว้ขนาดไหนนะ ว่าไม่มีมันก็มี นี่ก็เหมือนกัน ถ้ากิเลสมันเป็นไปตามความเป็นจริงอย่างนี้ เวลามันขาดไปแล้วมันไม่มี มันปล่อยโล่งหมด นี่มันถึงเป็นสัจจะความจริงนี้ นี่ขั้นของปัญญาไง
ถ้าขั้นของปัญญามันชำระไป มันสงวนรักษาไป มันถึงเป็นไปตามความเป็นจริงของมันนะ นี่ยกขึ้นวิปัสสนาต่อไป อย่าไปนอนใจนะ ถ้าสิ่งนี้นอนใจมันจะคาอยู่ตรงนี้ ติดอยู่ตรงนี้ไง ถ้ามันติดอยู่ มันว่าง มันมีความเป็นไป แต่ถ้าคนมีอำนาจวาสนา มันจะไม่เชื่อสิ่งใดๆ เลย ถ้ามันจับต้องสิ่งใดได้ ถ้ามันยังสงวนได้ มันจับต้องได้ มันหาไม่เจอไง จับต้องใจของตัว ทำให้สงบได้ แต่ไม่สามารถหาสิ่งที่เป็นการเป็นงานได้ ถ้าหาสิ่งที่เป็นการเป็นงานไม่ได้ มันวิปัสสนาไม่ได้ มันถึงต้องใช้อำนาจวาสนา
บารมีสะสมมาขนาดไหนนะ ถ้ามีบารมีมันจะไม่เชื่อสิ่งนี้ แล้วจะแสวงหา จะดั้นด้น จะค้นคว้า พยายามจะหาให้เจอว่าเราจะควรทำงานอย่างไร เราจะรักษาสิ่งใดอย่างไรให้มันเกิดจับตัวตน จับสติปัฏฐาน ๔ อันละเอียดให้ได้ มรรค ๔ ผล ๔ เห็นไหม กายอย่างละเอียด กายนอก-กายใน-กายในกาย จะจับอย่างไรให้เกิดกายภายใน ถ้าจับกายภายในได้มันจะเป็นอสุภะ จับได้ ทำไมถึงว่าจับล่ะ เพราะมันอยู่กับเรา ทำไมเราจับของเราไม่ได้
จิตมันเป็นนามธรรมนะ แล้วกิเลสที่มันอาศัยสิ่งที่ยึดมั่นถือมั่นในเรื่องของกามราคะ มันอาศัยสิ่งนี้หลอก หลอก หลบหลีกธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าเรามีวาสนาเพราะเราไม่พลั้งเผลอ เราไม่นอนใจ เราพยายามค้นคว้า นี่งานมันจะเกิดตรงนี้ งานการค้นคว้าสังเกตดูใจของเรา สังเกตว่ามันเป็นสภาวะแบบใด มันว่างขนาดไหน มันปล่อยขนาดไหน มันขาดมาขนาดไหน แต่สิ่งที่มันลึกลับซับซ้อนอยู่ภายในมันอยู่ตรงไหน
ทำไมธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่ามรรค ๔ ผล ๔ ล่ะ ถ้าเรามีสภาวะแบบนี้ เราค้นคว้าสิ่งนี้ นี่ถ้ามันเป็นไปนะ ไม่มีอำนาจวาสนา จิตมันสงบขนาดไหนมันแสดงตัวได้ ถ้ามันแสดงตัวขึ้นมา...นี้มันคืออะไร? เอาสิ่งนี้มาเปรียบเทียบกับมัน สุภะก็ได้ อสุภะก็ได้ มาเปรียบเทียบกับใจดวงนี้
ถ้าเปรียบเทียบ นี่มีความไหวตัว มีความกระเพื่อม สิ่งที่มันกระเพื่อมนี่จับตรงนี้ได้ เพราะมันกระเพื่อมนั่นคืออำนาจของกิเลสไง อำนาจของกิเลสมันอาศัยอยู่ในใจของเราใช่ไหม ถ้าอาศัยใจของเรา ระหว่างขันธ์กับจิตไง เวลาจิตมันมีกิเลสอยู่ เวลามันกระเพื่อมออกไปรับรู้ มันไหวตัว ถ้ามันไหวตัว จับตรงนั้นได้ ถ้าจับการไหวตัวอันนี้ได้ นี่แหละสติปัฏฐาน ๔
ถ้ามันจับอันนี้ได้แล้วปัญญามันก็จะเริ่มละเอียดเข้าไป สิ่งที่มหาสติ-มหาปัญญามันจะละเอียดเข้าไป ทำลายสิ่งนี้เข้าไป ทำลายเข้าไป จากความเป็นไปใน...ความเป็นไปจากภายใน ปัญญาภายในมันจะรื้อค้นไปของมันเข้าไป รื้อค้นสุดยอดจากการประพฤติปฏิบัติ สิ่งที่ประพฤติปฏิบัติมันจะรื้อค้นเข้ามา นี่ปัญญาอย่างละเอียด ปัญญาอย่างละเอียดสุด มันจะมีความเห็นจากภายในไง ถ้าความเห็นจากภายในมันเป็นสิ่งที่ว่าทำไมซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำซากอยู่อย่างนั้น ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซ้ำซากอย่างนี้หรือ?
ไม่ซ้ำซากกับธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผ่านพ้นไปแล้ว จะซ้ำซากกับผู้ที่มีกิเลสไง เพราะกิเลสมันเอาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบิดเบือน สร้างสมให้มาเป็นสมบัติของตัวไง เพราะมันไปยึดธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามันถึงไม่เป็นตามความเป็นจริงไง เพราะมันไปยึดเพราะกิเลส...มันเป็นเพราะกิเลสของเราต่างหาก
ถึงครูบาอาจารย์ต้องบอกให้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ความซ้ำซากนี้เพราะกิเลสมันหลอกลวง ความซ้ำซากเพราะกิเลสมันยึดมั่นถือมั่น ความซ้ำซากเพราะกิเลสมันต้องการผลักไส มันไม่ต้องการให้เราไปเผชิญหน้ากับมัน กิเลสมันขับไสไม่ให้เราเข้าไปเห็นมัน กิเลสมันขับไสว่าให้เชื่อมันไง มันจะสร้างสมว่าสิ่งนี้ผ่านแล้ว สิ่งนี้เป็นไปแล้ว มันจะไม่ยอมซ้ำ ไม่ยอมค้นคว้า ถ้าไม่ยอมค้นคว้า ปัญญามันก็ไม่กางออก ถ้าปัญญาไม่ได้กางออก มันไม่มีเครือข่ายของปัญญาเข้าไปทำลายกิเลสแม้แต่นิดเดียว
เพราะกิเลสมันอ้างสิ่งนี้ เพราะมันไปยึดว่าสิ่งนี้ซ้ำแล้วซ้ำซาก สิ่งที่ซ้ำซากไม่เป็นประโยชน์กับเรา สิ่งที่เราทำแล้ว สิ่งที่เราทำแล้วผ่านแล้วนี้คือประโยชน์กับเรา...นี่กิเลสมันสร้างสมอย่างนี้ให้เราหลอกลวงเรา เห็นไหม มันซ้ำมาจากไหน มันเหมือนกับเรากินอาหาร กินแล้วกินเล่าจนร่างกายเติบโต ถ้าเราซ้ำซาก เราก็อย่ากินข้าวสิ เราเคยกินมาตั้งแต่เด็กแล้ว ปัจจุบันนี้เรากินข้าวอีกทำไม...มันต้องกินตลอดไป
นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อมันมีกิเลสอยู่ มันมีความสกปรกโสมมของมันอยู่ ทำไมเราจะใคร่ครวญมันไม่ได้ ทำไมเราใช้ปัญญาคลี่คลายความเป็นไปของกิเลสไม่ได้ เห็นไหม ให้กิเลสมันอ้างอิงว่าให้เอาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาฟาดฟันคอเราให้เราขาดไป ทั้งๆ ที่เราจะฟันคอมันนะ เราจะเหยียบหัวกิเลสไป ให้กิเลสมันเหยียบหัวเราให้เราจนล้มลุกคลุกคลาน
ถ้าเรามีปัญญาของเราขึ้นมา เราลุกขึ้นมาต่อสู้กับมันให้จิตใจของเราเป็นธรรมขึ้นมา ต่อสู้กับความเห็นผิดของมัน นี่ปัญญามันก็ออกก้าวเดินไป ก้าวเดินไปมันปล่อยขนาดไหนเราไม่เชื่อกิเลสที่มันจะมาสร้างภาพหลอกลวง จิตพิจารณาไปมันปล่อยขนาดไหนก็ซ้ำไปสิ ถึงที่สุดมันต้องเป็นไป สิ่งที่เป็นไป เพราะปัญญาอย่างละเอียดก็ทำลายกิเลสอย่างละเอียด มันก็ขาดไปอย่างละเอียดจนถึงกับระหว่างขันธ์กับจิตมันปล่อยทั้งหมด
ขันธ์กับจิต จิตมันปล่อยต่างๆ เข้ามา มันเป็นตัวของมันเอง มันจะว่างขนาดไหน หมั่นฝึกซ้อมเข้าไปจนจิตมันปล่อยวางหมด สิ่งที่ทำลายเขาเข้ามา นี่พุทโธ พุทธภาวะ สิ่งที่ปล่อยวางเขามาก็เป็นพุทธะเหมือนกัน แต่ภาวะของมันยังมีอยู่เพราะมันเป็นภวาสวะ สิ่งที่เป็นภวาสวะ ถ้ามันทำลายภวาสวะ ทำลายพุทธภาวะเห็นไหม พุทธภาวะนี้ก็เป็นสมมุติอันหนึ่ง
ถ้าทำลายพุทธภาวะมันก็เป็นวิมุตติ สิ่งที่เป็นวิมุตติ จิตนี้มันจะปล่อยกับภวาสวะ กับภพของจิตนี้ ถ้าทำลายภพของจิตนี้ เว้นไว้แต่สมมุติไง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะสื่อธรรมกับบริษัท ๔ จะต้องสื่อมาเป็นสมมุติให้เข้าใจไง นี่สิ่งที่สื่อมาสมมุติ
พุทธภาวะที่ไม่ขับเคลื่อน ใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ขับเคลื่อน
แต่ขณะที่เราจะทำให้มันขับเคลื่อนได้ เราต้องทำลายพลังงานของมันก่อน ถ้าทำลายพลังงานของมันก่อน ถึงบอกว่า ถ้าเจอพุทธะที่ไหน จะต้องทำลายที่นั่น จะต้องทำลายที่นั่น คือนั้นคือตัวภพ นั้นคือตัวฐาน เห็นไหม เราถึงไม่สงวน เราไม่รักษา
ถ้าเราสงวน เรารักษา เราไปรักเราไปผูกพันสิ่งใดไม่ได้เลย เราจะต้องทำลายทั้งหมด สภาวธรรมคือทำลายสิ่งที่ตามความเป็นจริง ถ้าทำลายสิ่งที่ว่าเป็นภวาสวะ สิ่งที่เป็นตัวฐานของใจ ทำลายใจดวงนี้ออกทั้งหมดแล้วจะเป็นความบริสุทธิ์ผุดผ่อง
ถ้าเราเมตตาตน เราเมตตาเรานะ เราไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดให้มันเป็นสิ่งที่มากีดขวางในการประพฤติปฏิบัติ ถ้าเรายึดมั่นถือมั่น เพราะเรามีความเอนเอียง กิเลสมีความเอนเอียงยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดก็ว่าสิ่งที่ยึดมั่นถือมั่นนั้นเป็นสมบัติของเรา พอเป็นสมบัติของเรา แล้วเราก็จะเอาว่าสิ่งนี้มันเป็นสมบัติที่เป็นภายใน ยิ่งมีความยึดมั่นถือมั่นตลอดไป
แต่ถ้าเราเมตตาเรา เราไม่ยึดมั่นถือมั่นตั้งแต่ต้น เห็นไหม เราวางให้มันเป็นกลาง แล้วพยายามประพฤติปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มันจะทำลายกิเลสเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไปจนถึงแต่ พุทธภาวะ ภาวะพุทโธอันนั้น แล้วทำลายตรงนั้น ถึงที่สุดแล้วมันจะเป็นวิมุตติสุข มันจะเป็นหลักความจริงของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ เพราะเราเมตตาเรา มันก็จะเข้ากับธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เมตตาธรรม
ความเมตตาไม่ใช่ความรัก ความสงวน ความตระหนี่ถี่เหนียว เพราะความตระหนี่ถี่เหนียว ความยึดนี่มันจะไปทำลายจิตใจแล้วก็ทำลายคนอื่น แต่ถ้าเป็นความเมตตา เมตตาธรรมค้ำจุนโลก เอวัง