ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ไม่เหลวไหล

๑๗ ส.ค. ๒๕๕๗

ไม่เหลวไหล

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๗

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) .หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

 

ถาม : เรื่องพระธรรม

กราบนมัสการท่านอาจารย์ครับ ผมขออนุญาตกราบเรียนถาม

. พระธรรมที่ท่านแสดงขึ้นมาในใจ เช่น (ไม่ว่าสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ก็ต้องตายทั้งนั้น แต่ตัวเราเองก็ต้องตาย) และ (เราปรารถนาทักขิ...อะไรประมาณนี้ครับ จำไม่ได้หมด มันเกิดคนละครั้งนะครับ)

คำถามมีดังนี้

/. เราควรพิจารณาในขณะนั้น

/. หรือควรดูควรรู้ในพระธรรมที่ท่านแสดงนั้นเฉยๆ

/. หรือนำพระธรรมนั้นมาคิดพิจารณาในภายหลังเรื่อยๆ ไปตามที่ระลึกได้ เพื่อสอนใจตัวเองไปเรื่อยๆ ครับ

. ท่านที่จิตกำลังดำเนินสู่พระสกิทาคามีนั้น

/. จิตของท่านควรจะเน้นพิจารณาในธรรมข้อใดหรือไม่ อย่างไรครับ

/. หรือพิจารณาตามสภาวธรรมในกาย เวทนา จิต ธรรม ธาตุดิน น้ำ ไฟ ลมที่เกิดขึ้นขณะนั้นตามเดิมครับ

/. ขอความเมตตาท่านอาจารย์แสดงอุบายธรรมที่เห็นสมควรแก่จิตของท่านที่กำลังดำเนินสู่พระสกิทาคามีด้วยครับ ผมขอความเมตตาจากท่านอาจารย์ด้วย

ตอบ : พระสกิทาคามีมันอยู่ที่ไหนล่ะ พระสกิทาคามี ดูสิ มันต้องเป็นพระโสดาบันมาก่อน แล้วบอกว่าให้ชี้ทางไปพระสกิทาคามี

อ้าว! ก็เราไม่รู้ เราไม่รู้แล้วจะชี้ได้อย่างไร ก็กูก็ไม่รู้ว่าพระสกิทาคามีไปอย่างไร แล้วกูจะชี้อย่างไรล่ะ กูจะไปชี้อย่างไร เออ! นี่มันว่า ถ้ามันพูด ชี้ทางไปพระสกิทาคามี ไอ้นั่นก็ชี้ไปเลยนะ พระสกิทาคามีก็นู่นน่ะ ลงบันไดไปนั่นน่ะ ลงบันไดแล้วจะเจอถ้ำ พอถ้ำแล้วมันจะไปเจอลิฟต์ ขึ้นลิฟต์มันก็จะไปพระสกิทาคามี พระสกิทาคามีที่ไหน มันอย่างว่าแหละ มันพร่ำเพ้อกันไปเองไง ความพร่ำเพ้อไป เห็นไหม มันถามก็ถามไปอย่างนั้นน่ะ ถามไปอย่างนั้น ถามไปเพื่อสวมรอยกันว่าเป็นสกิทาคามี เป็นนู่นเป็นนี่ รับรองกันไป บ้าบอคอแตก มันไม่ใช่อย่างนั้นหรอก มันเหลวไหลไง มันเหลวไหล มันไม่ใช่เรื่อง ถ้ามันไม่ใช่เรื่อง

เพราะว่ามันเป็นความเห็นของคนคนหนึ่ง ถ้าความเห็นของคนคนหนึ่ง มันจะเป็นความจริงหรือไม่เป็นความจริงล่ะ ถ้าเขาเป็นความจริงของเขา เขามั่นคงของเขา เขาไม่ต้องถามใครหรอก ถ้าถามก็สงสัยแล้ว

แล้วจะให้ชี้ทางด้วย ชี้ทาง ชี้ทางก็ขึ้นลิฟต์ อ้าว! ก็ไม่มีใครรู้ แล้วใครรู้ล่ะ อ้าว! ใครรู้ ใครรู้ว่าจะไปสกิทาคามีไปอย่างไร แล้วทางมันไปทางไหน

แต่ถ้าคนเขารู้ คนเขารู้นะ เขารู้ในใจของเขา เห็นไหม เวลาทวนกระแส เวลาธรรมทวนกระแสกลับเข้าไปในใจ ถ้าใจมันเป็นจริงมันเป็นจริงแบบนั้น ถ้าเป็นจริงแบบนั้นนะ คำพูดมันฟ้องหมด กิริยาของคน สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล สกุลของพระอริยบุคคล สกุลของพระโสดาบัน สกุลของพระสกิทาคามี สกุลของพระอนาคามี สกุลของพระอรหันต์ ความละเอียดรอบคอบมันแตกต่างกันมหาศาลเลย

แล้วถ้าละเอียดรอบคอบแตกต่างกันมหาศาล มันจะมาเหลวไหล เห็นไหม ชี้ทางไปสกิทาคามี แล้วไปทางไหนล่ะ จะขึ้นโบอิงหรือแอร์บัสล่ะ หรือจะไปกระสวยอวกาศ จะไปลำไหนดี จะไปลำไหนล่ะ มันพร่ำเพ้อกันไปไง มันเป็นเรื่องเหลวไหล ถ้าเหลวไหล ทีนี้คำถาม คำถามเขาถามว่า เวลาธรรมมันเกิด

ถ้าธรรมมันเกิดก็ธรรมมันเกิด ธรรมมันเกิดแล้วทำไมล่ะ ธรรมมันเกิดก็ความคิดเกิด นี่ไง เวลาว่าพระธรรมเกิด หลวงตาบอกว่ากิเลสเกิด

ในอรรถกถาเขาเรียกว่าธรรมเกิด ธรรมเกิดคือว่าเราจะมีความรู้ความเห็นอะไรขึ้นมา นี่ธรรมเกิด ธรรมเกิด แต่ถ้าคนบ้า ธรรมเกิดไหม เกิดขึ้นมาแล้วมันจะฆ่าตัวตาย ไอ้พวกที่มันมีความเครียดเวลามันวิตกกังวล มันคิดจะทำลายตัวมันเอง อย่างนั้นธรรมเกิดหรือเปล่า อ้าว! มันก็ความคิดเหมือนกัน ธรรมมันเกิดหรือเปล่า

ธรรมเกิดมันต้องมีสติ มีสมาธิแล้วมันเกิดขึ้นมา พอเกิดขึ้นมาแล้ว นี่หลวงตาบอกกิเลสมันเกิด กิเลสมันเกิดเพราะอะไร เพราะคนเราเวลามันมีความอัดอั้นตันใจ แล้วพอมันมีสติปัญญา มันแยกแยะ มันเข้าใจอะไรได้ มันจะปลอดโปร่งมาก พอปลอดโปร่งมาก มันอยากได้อย่างนั้นอีก นี่ไง หลวงตาบอกกิเลสเกิด เกิดอย่างนี้

เวลากิเลสมันเกิดคือมันอยากได้อีกไง พอมันผ่านขึ้นมาแล้วมันอยากได้อีก อยากมีประสบการณ์อย่างนี้อีก อยากให้อารมณ์อย่างนี้เกิดขึ้นมาอีก นั่นแหละกิเลสเกิด เพราะความอยาก นี่กิเลสมันเกิด

แต่ถ้าธรรมมันเกิดนะ มันเกิดมาจากสติ เกิดจากสมาธิ เกิดจากปัญญา เกิดจากเราภาวนา พอภาวนาแล้วจิตมันสงบ

จิต เห็นไหม ว่าจิตนี้เป็นได้หลากหลายนัก เวลามันร้าย มันร้ายนัก มันทำลายตัวเอง ดูสิ คนที่เจ็บช้ำน้ำใจจนทำลายตัวเอง นี่มันทำลายตัวเอง ทำลายตัวเองแล้วยังพาไปทำลายคนอื่น ทำลายไปหมดเลย นี่เวลามันร้าย เวลามันดี เวลามันดีมันก็ดีจน อู้ฮู! คนดีก็ดีจนไม่คิดว่ามันจะมีคนดีได้ขนาดนี้ ก็จิตดวงเดียวนั่นแหละ เวลามันร้าย มันร้ายนัก เวลามันดี มันดีนัก มันเป็นได้หลากหลายนัก จิตนี้เป็นได้หลากหลายนัก

ทีนี้เวลาเรามาภาวนา เรามีสติเรามีปัญญา เรารักษาดูใจของเรา เวลาสิ่งที่มันผุดขึ้น ธรรมมันเกิด ธรรมมันเกิดมันก็คือสัจธรรมมันเกิด มันไม่ใช่อริยสัจ

มันไม่ใช่ธรรมมันเกิดแล้วเป็นพระโสดาบัน อย่างนั้นกูก็นึกเอา อ้าว! นึกเลย เกิดแล้ว โสดาบัน นึกอีกทีเป็นสกิทาคามี นึกอีกทีเป็นพระอนาคามี แล้วกูนึกอีกทีเป็นพระอรหันต์เลย เพราะกูนึกให้เป็นอะไรก็ได้ ธรรมมันเกิดหรือ กิเลสมันเกิดไง

แต่ถ้าธรรมมันเกิดนะ ธรรมมันเกิดเหมือนมือเราสกปรก มือเรามันสกปรก เราได้ล้างมือเราสะอาด นี่ธรรมเกิด เพราะมือสกปรกมันกลิ่นเหม็น เวลามันล้างมือแล้วมันสะอาด กลิ่นมันสะอาด กลิ่นมันปลอดโปร่ง นี่ธรรมเกิด ธรรมเกิดคือมันชำระล้างความสกปรกของใจ ใจที่มันหมักหมมที่มันสกปรกมันได้ชำระล้างไป นี่ธรรมเกิด ธรรมเกิดไม่ใช่อริยสัจ เพราะอารมณ์มันเปลี่ยนแปลงได้ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายมันเปลี่ยนแปลงได้

แต่ถ้าจะเป็นอริยสัจ จิตสงบแล้วเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิตตามความเป็นจริง ถ้าเห็นตามความเป็นจริงมันสะเทือนหัวใจ มันสะเทือนกิเลส ถ้าสะเทือนกิเลสแล้ว กิเลสมันจะปกป้อง มันจะเข้าไปพิจารณาอีกไม่ได้ มันจะล้มลุกคลุกคลาน จิตมันจะเสื่อม มันจะมีการกีดขวาง กิเลสมันจะเอาขวากเอาหนามมาขวางหน้าไว้เยอะแยะเลย ปฏิบัติไปล้มลุกคลุกคลานเข้าไปหามัน เพราะกิเลสมันจะป้องกันตัวมัน

ถ้าคนภาวนามันจะรู้ว่า กว่าจะเจอหน้ามัน กว่าจะเจอกิเลสได้ แล้วพอเจอกิเลสได้ กว่าจะพิจารณาต่อสู้กับมัน นั่นก็เป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง เพราะว่านั่นมันวิปัสสนา

เวลาเราจะเข้าไปเจอมันต้องทำสมถะก่อน ทำความสงบของใจเข้ามาก่อน ถ้าใจไม่มีสมถะ ไม่ต้องมาพูดถึงเรื่องวิปัสสนา ไม่มี ไอ้ที่ว่าคิดๆ กัน ความคิดมันเป็นโลกียปัญญา มันคิดโดยสามัญสำนึก มันคิดโดยกิเลส มันไม่มีธรรมหรอก ไม่มีธรรม ถ้าไม่มีธรรม

ดูสิ คนมีการศึกษา ๙ ประโยค ๑๐ ประโยค เขาคิดได้ใช่ไหม เขาคิดได้หรือเปล่า เขาเรียนจนเขาแปลพระไตรปิฎก เขาเรียบเรียงได้ทุกอย่าง แล้วเขาเป็นพระอรหันต์หรือเปล่า ไม่เห็นเป็นอะไร สึกไปเยอะแยะ สึกไปเอาดาวกัน อนุศาสตราจารย์ จบ ๙ ประโยค เอาดาวดวงหนึ่ง แล้วจบ ๙ ประโยคถ้ามันปฏิบัติมันก็เอาให้จริงสิ เอาให้รู้สิ เอาให้มันจริงขึ้นมา

นี่ก็เหมือนกัน เวลามันมีความคิดขึ้นมา ผุดขึ้นมา ธรรมเกิด แล้วเป็นอะไรล่ะ เป็นอะไร ก็เป็นปุถุชนอยู่นี่ไง เป็นคนหนา

นี่ถ้าไม่พูดต่อหน้าไมค์ เอามากกว่านี้ นี่มันหน้าไมค์ไง

มันเหลวไหล ถ้ามันเหลวไหล แล้วเราไม่เหลวไหล เราจะเอาจริง เวลาสิ่งที่มันเกิดขึ้น อย่างเช่นที่ว่า. พระธรรมที่แสดงขึ้นมาในใจ เช่น (ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา)”

นี่มันก็ธรรมเกิด เกิดแล้วทำไมล่ะ เกิดแล้วอะไรต่อ ธรรมเกิดมันก็เหมือนฝนตก ดูสิ เวลาเมฆฝนมา มันมีน้ำหนักขึ้นมา มันรวมตัวขึ้นมาแล้ว มันรวมตัวแล้วเกิดเป็นหยดน้ำ ก็ตกมาเป็นฝน

นี่ก็เหมือนกัน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา มันเป็นความจริงหรือเปล่าล่ะ มันก็เป็นความจริง

เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัว เป็นตน เป็นเรา เป็นเขา เพราะทิฏฐิมานะมันยึด แต่ถ้ามันไม่มีสิ่งใดไปยึด สัตว์มันก็เกิด มันก็ตาย มันก็ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะมันเป็นสัจธรรม มันเวียนว่ายตายเกิด แล้วทำอย่างไรต่อ มันเป็นมรรคอะไรขึ้นมาล่ะ

ไอ้ที่ว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัวบุคคล ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา ไอ้นั่นต้องจิตมันสงบ จิตสงบแล้วมันเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความจริง แล้วพิจารณาไปแล้ว ใจของเราอัตตานุทิฏฐิที่เข้าไปยึดไปมั่น เห็นไหม มันไปยึดไปมั่นของมันเอง

ถ้าไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา แล้วใครไปยึดมันล่ะ ไอ้โง่ตัวไหนไปยึดมัน ถ้าไอ้โง่ตัวไหนมันฉลาดขึ้นมา ไอ้โง่ตัวไหนมันก็ปล่อยเข้ามา มันไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เพราะใจดวงนั้นไม่มีทิฏฐิมานะที่จะไปยึด

ไอ้นี่เราไปฟังเขาว่า เห็นไหม ธรรมมันเกิด เสียงมันมา เสียง เสียง เสียงมันมา ความรู้มันมา มันเป็นมรรคหรือ มันเป็นกิริยาของใจหรือ มันเป็นธรรมอะไรมา มันก็เหมือนลมพัดใบไม้ไหว ลมพัดมาก็เย็นๆ แล้วลมพัดก็ผ่านไปแล้ว นี่ธรรมเกิด

ธรรมเกิดไม่ใช่อริยสัจ จำไว้ ธรรมเป็นธรรม อริยสัจเป็นอริยสัจ สัจจะเป็นสัจจะ กุปปธรรม อกุปปธรรม มันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ฉะนั้น คำถาม. เราควรพิจารณาขณะนั้นไหม

แล้วขณะนั้นพิจารณาได้ไหม เวลามันเกิด พิจารณาทันไหม มันเกิดมันก็เกิดไปแล้ว มันเกิดเพราะจะว่าขาดสติก็ได้ มันเกิดเพราะมันมาเอง แล้วเราไม่รู้เรื่อง เราทำไม่ได้ นี่ธรรมเกิด

เราควรจะพิจารณาขณะนั้นไหม

มันจบไปแล้วเพิ่งมาคิดได้ มันเป็นอดีตอนาคตไป ๕๐๐ ชาติแล้ว มันเกิดแล้วมันก็ไปแล้ว แล้วจะไปพิจารณามันตอนไหน

เราควรจะพิจารณาขณะนั้นไหม

มันพิจารณาไม่ได้ เพราะอะไร เพราะมันเป็นความรู้สึก มันเกิด มันเกิดสภาวธรรมหนหนึ่งมันก็ไปแล้ว

. เราควรดูควรรู้ในพระธรรมที่มาแสดงนั้นเฉยๆ

นี่มันผ่านไปแล้ว ถ้าธรรมเกิดมันผ่านไปแล้ว ไม่ทันหรอก มันไม่ทัน

เราควรดูควรรู้

ควรดูควรรู้ มันเกิดมันก็เกิด ความเกิดอย่างนี้มันเกิดมาเตือนเราไง พอมาเตือนเรา ความเกิดนี่ธรรมมันเกิด ดูสิ เวลาหลวงตา หลวงตาท่านจริงของท่าน ท่านบอกว่า มันประหลาดมหัศจรรย์นัก มันสว่างไสวไปหมด ธรรมะมาเตือน เห็นไหม นี่ธรรมเกิด ธรรมมันเกิดนะ แสงสว่างนี้เกิดจากจุดจากต่อม เกิดจากผู้รู้

แสงสว่างนี้ แสงสว่างนี่ธรรมเกิด แสงสว่างมันเกิดจากใคร ใครไปรู้มัน พระอาทิตย์มันส่องอยู่นี่ คนตายไปแล้วไม่รู้ไม่เห็นนะ ไอ้คนเป็นๆ นั่งอยู่นี่ไม่เห็น คนตาบอดยังไม่เห็นเลย

ฉะนั้น ธรรมมาเตือน พอเตือนแล้วท่านได้สติไง ท่านมาเตือน ธรรมมาเตือน ท่านบอกนี่ขนาดธรรมมาเตือนนะ สัจธรรมเตือน คือสัจธรรม คือธรรมะเตือน มาเตือนหลวงตาเลย เพราะว่า โอ้โฮ! จิตนี้มันสว่างไสว จิตนี้มันผ่องใส มันมหัศจรรย์ไปหมด ธรรมมาเตือน

ขนาดธรรมมาเตือนแล้วท่านยังหาไม่เจออีก ๘ เดือน ยังวนอยู่นั่นน่ะ นี่ไง ๘ เดือนน่ะ กว่าจะว่า อ๋อ! มันอยู่นี่ มันอยู่นี่ มันย้อนกลับมาที่นี่ นี่ธรรมมาเตือน

ธรรมมันเกิดมันเป็นคำบอกเล่า คำเตือนเท่านั้นเอง มันไม่ใช่อริยสัจ

ฉะนั้นว่า ควรดูควรรู้ในธรรมที่ท่านแสดงมาเฉยๆ หรือ

ควรดูควรรู้ สิ่งที่เกิดขึ้นเอามาเตือนชีวิตเรา สิ่งที่เป็นอยู่นี่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา เหมือนกับธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมะเป็นธรรมชาติ แล้วใครรู้ล่ะ ธรรมะเป็นธรรมชาติก็เวียนว่ายตายเกิดกันอยู่นี่ไง

ธรรมะเป็นธรรมชาติต่อเมื่อจิตที่เป็นธรรม ท่านบอก อ๋อ! สิ่งนี้มันไม่มีตัวไม่มีตน มันวนไปธรรมชาติของมัน มันถอนไอ้ตัวกีดขวางเขานั่นมันก็จบ

แต่ไอ้นี่มันมีตัวกีดขวางมันอยู่ มันไปไม่ได้หรอก

นี่ก็เหมือนกัน เราควรรู้ๆ

เอามาเตือนเรา สิ่งที่เกิดขึ้นเอามาเตือนเรา ธรรมนี้มาเตือนเรา นี่พูดถึงข้อ ๑/.

/. หรือนำธรรมนั้นมาคิดพิจารณาในภายหลัง หรือนำธรรมนั้นมาพิจารณาในภายหลังเรื่อยๆ ไปตามที่ระลึกได้ เพื่อสอนใจตัวเองให้ขึ้นไปเรื่อยๆ

นี่มันก็เตือน เตือนอย่างนี้ ถ้าธรรมมันเกิด มันเตือนอย่างนี้ มันไม่ใช่อริยสัจ แล้วยังไม่มีมรรคมีผลใดๆ ทั้งสิ้น มันเพียงแต่เตือนสติเฉยๆ ถ้าธรรมเกิดๆ คนเราถ้ามีอะไรมันฝังใจ สิ่งนี้มันจะเกิดขึ้น นี่พูดถึงว่าพระธรรมมาเตือน

. จิตของท่านควรจะพิจารณาในธรรมข้อใด ท่านที่จิตกำลังดำเนินสู่สกิทาคามิมรรค

อันนั้นที่เราบอกว่ามันกวนน่ะ คนเรานี่นะ มีมรรคมีผล เขาไม่เอามาโพนทะนากันหรอก คนที่โพนทะนาคนนั้นคือหมาขี้เรื้อน หมาขี้เรื้อนมันคันแล้วมันก็เกาของมันไปเรื่อย คนมีมรรคมีผลเขาไม่เอาอย่างนี้มาโฆษณากัน แต่ถ้าจิตของเรา ถ้ามันผ่าน

เขาว่าท่านที่จิตดำเนินขึ้นสู่สกิทาคามิมรรคนั้น จิตของท่านควรดำเนินการอย่างใด

ถ้ามันผ่านมาแล้ว ถ้ามันเป็นโสดาบันมาจริง ถ้าจริงนะ แต่นี่เราไม่เชื่อ ถึงพูดอย่างนี้ไง ถ้ามันเป็นความจริง ถ้าจริง ความจริงอันนั้นมันฝังใจแล้ว ถ้ามันเดินต่อเนื่องไปมันเดินได้แล้ว เพราะอะไร เพราะคนภาวนาเป็นหรือภาวนาไม่เป็น ภาวนาไม่เป็นนี่จับต้นชนปลายไม่ได้

ถ้าคนจะเป็นโสดาบันนี่นะ มันจะต้องจิต เห็นไหม ปุถุชนคนหนา ถ้ามันมีสติปัญญามันจะรู้เท่า รู้เท่ารูป รส กลิ่น เสียงเป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร ถ้ารูป รส กลิ่น เสียงไม่มีอิทธิพลเหนือจิตดวงนั้น

ถ้ารูป รส กลิ่น เสียงไม่มีอิทธิพลเหนือจิตดวงนั้น จิตดวงนั้นเป็นกัลยาณปุถุชน จิตดวงนั้นจะสามารถจะทำสมาธิได้ง่าย คำว่าทำสมาธิได้ง่ายคือมันชำนาญในวสี การชำนาญในการเข้าสมาธิ ถ้าการเข้าสมาธิปั๊บ จิตมันก็มีกำลัง ถ้าจิตมีกำลัง มันจะย้อนกลับไปหากิเลส หากาย หาเวทนา หาจิต หาธรรม มันก็ทำได้

แต่ถ้าจิตมันไม่มีกำลัง มันจะไปเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิตในแนวทางสติปัฏฐาน ๔ ที่เขาบอกว่าเขาปฏิบัติแนวทางสติปัฏฐาน ๔ แนวทางสติปัฏฐาน ๔...ขี้โม้ทั้งนั้นน่ะ

ถ้าคนจะปฏิบัติตามแนวทางสติปัฏฐาน ๔ ต้องหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น คำว่าหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นนั่นแหละปฏิบัติตามแนวทางสติปัฏฐาน ๔ โดยความชัดเจน หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น นี่คือการปฏิบัติในแนวสติปัฏฐาน ๔ เพราะจิตสงบแล้วมีกำลัง แล้วไปเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริง มันถึงเป็นสติปัฏฐาน ๔ ด้วยการวิปัสสนา

ไอ้ที่ว่าแนวทางสติปัฏฐาน ๔”...นึกเอาทั้งนั้นน่ะ ชีวิตจริงของเรา เราทำมาหากินกันนะ หนังละครมันก็เอาชีวิตของคนไปทำหนังทำละครกัน เอาชีวิตจริงไปเขียนทำหนังทำละคร แล้วก็ไปดูหนังดูละครกัน แล้วก็ซาบซึ้งกัน แต่ชีวิตจริงเป็นของใครไม่รู้ ไม่รู้ ชีวิตจริงคือการปฏิบัติแนวทางสติปัฏฐาน ๔ ไง ไอ้หนังละครนั้นน่ะเขาเอาชีวิตจริงไปเขียนบท แล้วไปสร้างเป็นเรื่องออกมาเป็นละคร แล้วเราก็ไปอ่านกัน

ธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นชีวิตจริง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปฏิบัติจริงรู้จริง แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางธรรมวินัยนี้ไว้ เห็นไหม เป็นวินัยปิฎก สุตตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก สิ่งนั้นเป็นหนังละคร เป็นกิริยา เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าเอาชีวิตจริงของพระพุทธเจ้าแล้วเขียนออกมา เอาชีวิตจริงของพระพุทธเจ้าแล้วทำเป็นแบบอย่างออกมา ถ้าเราไปศึกษาแล้วเราต้องทำให้มันเป็นชีวิตจริงของเราขึ้นมามันถึงจะเป็นภาคปฏิบัติ

ไอ้นี่ไปศึกษามาแล้ว แล้วก็คาดหมายไงแนวทางสติปัฏฐาน ๔ ในการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

ชีวิตประจำวันมาย่างกันอยู่อย่างนั้นหรือ ชีวิตประจำวันเราก็ทำมาหากิน ถ้าเราจะปฏิบัติ เราก็ปฏิบัติเอาความจริงของเรา มันก็ต้องทำความสงบของใจเข้ามาก่อน ถ้าใจสงบแล้วเห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรมตามความเป็นจริงอันนั้นมันถึงเป็นแนวทางสติปัฏฐาน ๔

นี่ก็เหมือนกัน จิตของท่านที่ดำเนินสกิทาคามิมรรค มันเป็นของใครล่ะ จิตของท่านที่ดำเนินสกิทาคามี ๑/. ท่านควรพิจารณาในธรรมข้อใด

ถ้าคนภาวนาเป็นนะ คนภาวนาเป็นหมายความว่า ถ้าเรายังภาวนาไม่เป็น เราก็ทำความสงบของใจได้ยาก หรือทำความสงบของใจด้วยความวิริยะ ด้วยความอุตสาหะ ด้วยความบากบั่นของเรา ล้มลุกคลุกคลานไป ภาวนาเข้าไปจนมีความชำนาญขึ้นไป จิตมันเจริญขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเรามีสติปัญญารู้เท่า รูป รส กลิ่น เสียงเป็นบ่วงของมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร มันขาดเลย พอขาดแล้ว มันขาดหมายถึงว่าสติปัญญามันรู้เท่า ฉะนั้น จิตตรงนี้มันจะไม่ลงไปคลุกกับรูป รส กลิ่น เสียง มันจะชำนาญในการทำสมาธิมาก สมาธิจะมั่นคงมาก ถ้าสมาธิมั่นคงมาก ถ้าคนที่ไม่มีอำนาจวาสนาบอกนี่คือนิพพาน ไร้สาระมาก

แต่ถ้าคนมีวาสนานะ สัมมาสมาธิปั๊บ มันจะรำพึงไปสู่กาย สู่เวทนา สู่จิต สู่ธรรมตามความเป็นจริง ถ้าเห็นตามความเป็นจริงมันสะเทือนมาก คนที่เห็นจริง โอ้โฮ! มันสะเทือนกิเลสมาก แล้วกว่าจะบากบั่นพิจารณาจนถึงที่สุด เวลามันสมุจเฉทปหาน เห็นไหม สังโยชน์ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสมันขาดไป นั่นมันเป็นความจริง

ถ้ามันภาวนาเป็นอย่างนั้นแล้ว สกิทาคามีทำอย่างไร

เออ! แล้วทำอย่างไรล่ะ เออ! สงสัยขึ้นจรวด เราจะไปยานอวกาศเพื่อมันจะได้ใช้ได้หลายรอบ ไปกระสวยอวกาศ ขึ้นไปแล้วเดี๋ยวก็กลับมา กลับมาแล้วเดี๋ยวจะขึ้นไปใหม่ ไปไหน จะไปสกิทาคามี จะไป มันจะขึ้นกระสวยอวกาศ

นั่นเป็นความเห็นนะ เป็นความเห็น เรามองเป็นเรื่องตลก เรื่องตลกมากนะ

/. เมื่อพิจารณาตามสภาวธรรม พิจารณากาย พิจารณาเวทนา พิจารณาจิต พิจารณาธรรม เป็นดิน น้ำ ลม ไฟ

อันนี้ถ้าคนมันจับต้นชนปลายได้ ถ้าพิจารณาเป็นมันพิจารณาไปได้ มันจับได้ จับกาย จับเวทนา จับจิต จับธรรม ถ้ามันจับได้ ถ้าจับได้ เพราะสิ่งนี้ ดูพระอรหันต์สิ เวลาพระอรหันต์ ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา ขันธ์นี้เป็นภาระอย่างยิ่ง แต่ปุถุชนนี่ขันธมาร เพราะเรามีมาร มีกิเลส ขันธ์เลยเป็นมารไปหมดเลย ทั้งๆ ที่เวลาเป็นพระอรหันต์ขึ้นมามันเป็นภาระ ขันธ์สะอาดบริสุทธิ์

เขาบอกขันธ์สะอาดบริสุทธิ์มีด้วยหรือ

เออ! มันไม่มีหรอก เพราะจิตใจมันสะอาดบริสุทธิ์ มันเป็นเพราะจิตทำลายตัวจิต ทำลายภวาสวะ ทำลายภพ ทำลายสถานที่ทั้งหมดแล้วมันเป็นธรรมธาตุ ขันธ์ที่อาศัยกันอยู่นั้นมันก็เลยเป็นขันธ์ที่ไม่มีมาร ขันธ์ที่ไม่มีมารยาสาไถย เขาเลยตีความเอาว่า ขันธ์ที่สะอาดบริสุทธิ์ ขันธ์ที่เบาบาง

นี่ก็เหมือนกัน กาย เวทนา จิต ธรรม มันจับอย่างไร มันพิจารณาอย่างไร มันจะรู้ของมันอยู่อย่างไร ถ้าพิจารณาดิน น้ำ ลม ไฟ ถ้ามันมีหลักมีเกณฑ์ มันเข้าใจได้เรื่องอย่างนี้ มันจะไม่มาคิดว่ามันจะมีทางอันอื่นที่จะต้องขึ้นกระสวยอวกาศ จะขึ้นลิฟต์ จะลงบันได จะเข้าอุโมงค์ จะลอดอุโมงค์ไปโผล่อีกทวีปหนึ่ง อันนั้นเป็นทางอะไร

ทางเราไม่มี เราไม่รู้ สกิทาคามีทำอย่างไรไม่รู้หรอก ทำไม่เป็น ไม่รู้ว่ามันไปทางไหน แต่ถ้าคนเป็นน่ะมันรู้

ฉะนั้น สิ่งที่พูดมามันเหลวไหล มันพร่ำเพ้อ

/. ขอความเมตตาจากครูบาอาจารย์ด้วย

ความเมตตามันส่วนความเมตตา

ขอความเมตตาจากท่านอาจารย์แสดงอุบายธรรมที่สมควรแก่ผู้ที่จะดำเนินสกิทาคามีด้วยครับ

อ้าว! ก็เราไม่รู้ เราจะบอกอย่างไรล่ะ อ้าว! จะไปสกิทาคามี กูไปไม่เป็น ก็กูไม่เป็น แล้วกูจะบอกมึงได้อย่างไรล่ะ มึงไปถามคนเป็นสิ เออ! เขาจะพาไปสกิทาคามีอย่างไร ไอ้เราไปไม่ถูก เพราะกูไปไม่เป็น เพราะกูไม่เห็นน่ะ ฉะนั้น เอ็งก็ไปกันเองแล้วกัน เออ! เอ็งจะไปสกิทาคามี เอ็งก็ไปกันเองเนาะ

ของเรา ของเรากำหนดพุทโธ เรากำลังหัดอยู่นี่ กำลังภาวนาพุทโธๆ ให้จิตสงบ ถ้าจิตมันสงบแล้ว จิตมันจริง มันมีสาระแก่นสาร แล้วเราถึงจะทำของเรา ถ้าทำของเราแล้วมันพิจารณาไป ตอนนี้ก็ยังขวนขวายอยู่นี่ อยากจะทำ อยากปฏิบัติอยู่นี่ ก็ยังทำไม่เป็น เลยบอกไม่ได้ว่าไปสกิทาคามีนี่ไปอย่างไร

ฉะนั้นขอความเมตตาจากท่านอาจารย์ด้วย ถ้าเห็นสมควรอย่างใด

เขาว่าอย่างนั้น ถ้าเห็นสมควรอย่างใดค่อยว่ากันใหม่ อย่างนี้ถ้ามันพูดไปเลยมันตก ตกไปสุดส่วนทั้ง ๒ ข้าง เวลาภาวนาไม่เป็นก็ไม่เป็น พอเป็นก็ตกไปอีกข้างหนึ่งเลย แล้วมันจะไปอย่างไร มันไปไม่ได้หรอก

ถ้ามันเป็นจริงนะ เอ็งจับต้องอะไร จิตเอ็งสงบหรือเปล่า ถ้าจิตสงบแล้วเอ็งรู้อะไรเอ็งเห็นอะไร เอ็งถามข้ามาสิ เอ็งรู้เอ็งเห็นอะไร เอ็งทำอะไรเอ็งบอกข้ามา แล้วข้าจะบอกเองว่าไปอย่างไร เออ! อย่างนี้ยังพอไปได้เนาะ

ต่างคนต่างตาบอดแล้วคลำช้างกันไป กูก็จะลูบๆ คลำๆ ว่า เอ๊ะ! มันเป็นแท่งๆ อย่างนี้หรือเปล่าวะ หรือมันจะมีหาง มีขน เออ! ก็ว่ากันไป

รู้เห็นอะไรก็ว่ามาสิ ไอ้นี่บอกเลยชี้ทางไปสกิทาคามีหน่อย

โอ๋ย! ก็กูก็ไปไม่ถูก กูไม่รู้ไปทางไหน โอ๋ย! ให้กูชี้ก็ยุ่งน่ะสิ กูชี้ไม่ได้หรอก

แต่ถ้าเอ็งปฏิบัติ เพราะเราลูกศิษย์มีครู ครูบาอาจารย์ท่านสอนไว้ อย่าทิ้งผู้รู้ อย่าทิ้งพุทโธ ไม่ให้ทิ้งหัวใจ แล้วพยายามพัฒนามัน ดูแลมันให้มันพัฒนาขึ้นมาได้ มันก็จะเป็นไปได้ หัดฝึกหัดฝนของเราเพื่อประโยชน์กับเรา ตอบแค่นี้

ถาม : เรื่องผลของการปฏิบัติของคนติด

กราบนมัสการหลวงพ่อที่เคารพอย่างสูง กระผมได้ถามปัญหาหลวงพ่อไปครั้งก่อน และหลวงพ่อได้เมตตาตอบกลับมาแล้วในวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๖ ชื่อกัณฑ์รู้ติด-รู้แจ้งจากนั้นมา กระผมก็ไม่ได้ถามหลวงพ่ออีกเลยเป็นเวลาปีกว่าแล้ว

วันนี้ที่เขียนมาเพื่อกราบเรียนหลวงพ่อว่า กระผมยังปฏิบัติตามคำแนะนำสั่งสอนอยู่ครับ ไม่ได้ทิ้งไปไหนครับ เพียงแต่ที่กระผมไม่ได้ถามหลวงพ่อนั้นเพราะว่า เมื่อกระผมปฏิบัติติดขัดก็อาศัยฟังจากหลวงพ่อตอบคำถามคนอื่นๆ หรือค้นคว้าฟังจากเทศน์หลวงพ่อในเว็บไซต์ ความสงสัยนั้นก็หมดไป แล้วก็ปฏิบัติต่อเนื่องมา พอมีปัญหาเกิดขึ้นอีก ก็ฟังหลวงพ่อตอบปัญหาทางเว็บไซต์ ความสงสัยก็หมดไปอีก เป็นแบบนี้เรื่อยๆ ครับ จึงมิได้รบกวนถามหลวงพ่อ วันนี้จึงขอโอกาสเล่าผลการปฏิบัติในปีที่ผ่านมาถวายหลวงพ่อ ส่วนหลวงพ่อจะเมตตาแนะนำประการใดก็สุดแต่จะเมตตาครับ

ปีที่ผ่านมากระผมปฏิบัติสภาพจิตที่มีทั้งเจริญดีและเสื่อมสลับกันหลายๆ ครั้ง การปฏิบัติใช้ปัญญาอบรมสมาธิเป็นหลัก ความคิด สัญญาอารมณ์ จะพิจารณาบ่อยมากจนความคิดนี้หยุดได้ สั่งหยุดได้ ปล่อยได้โดยไม่หิวโหยอยากคิดต่อเนื่องกันไป หรือเมื่อปล่อยจากความคิดหรืออารมณ์ที่พิจารณาอยู่ ก็จะกลับมาที่ตัวรู้ จิตจะสดชื่นสบาย

กระทั่งดักพิจารณาตอของความคิดที่กำลังจะออกจากจิต ซึ่งมันกำลังจะออกไปคิดหรือจะเป็นอารมณ์ก็โยนทิ้งตรงนั้นไปเลย ความคิดสั้นเข้าด้วยครับ กระผมทำได้เพราะเมื่อพิจารณาความคิดบ่อยๆ มันก็ปล่อยบ่อยๆ ดังนั้นเลยพิจารณาว่าอย่างไรเสีย จะพิจารณาเท่าไรก็ตาม ผลสุดท้ายมันก็ปล่อยอยู่ดี ฉะนั้น เราโยนมันทิ้งตั้งแต่มันเริ่มจะคิดดีกว่า เพราะประหยัดเวลาดี ซึ่งบางทีกระผมก็หยุดมันได้ตั้งแต่มันเริ่มโผล่มาทีเดียว

ตอนนี้กระผมได้เฝ้ามองจิตมากขึ้น คอยจับตัวที่จะออกมาจากจิต แล้วโยนมันออกไป ไม่ปล่อยให้มันเป็นไฟลามทุ่ง แล้วก็ดูมัน พิจารณามัน มันก็สงบเร็วดีครับ เร็วขึ้น แต่ก็ยังไม่มีความรู้สึกขาดครับ เพียงแต่ทิ้งอารมณ์หรือความคิดได้ง่าย สรุปก็ยังไม่ขาดครับ

สิ่งที่กระผมดีใจเป็นอย่างยิ่ง เร็วๆ นี้คือการพิจารณาเวทนาครับ หลายครั้งหลายหนก็ต้องทนความเจ็บปวดพ่ายแพ้ต่อมัน มีอยู่วันหนึ่ง เวทนาเกิดขึ้นก็พิจารณามัน เห็นว่า เวทนากายก็มี เวทนาจิตก็มี ชัดเจนมาก วันนี้มีเวทนากาย อีกวันมีเวทนาจิต แสดงว่าเวทนามันแสดงทั้งกายและจิต กระผมจึงพิจารณาต่อไปว่า เวทนากับความคิดก็เป็นสิ่งที่ออกมาจากจิตเหมือนกัน ทำไมเราจะทิ้งไม่ได้ กระผมก็กำหนดที่ตัวจิต ก็รู้สึกได้ว่า ไม่มีเวทนาแล้ว สลับส่งออกมาที่เวทนาก็รู้เวทนาได้ชัด แล้วสลับกลับมาที่ตัวจิตอีกก็ไม่มีเวทนา ก็เลย อ๋อ! สูตรแบบนี้เอง แบบนี้ผมเป็นนักหลบใช่ไหมครับ

แล้วยังมีอีกหลายอย่างครับ ไม่เล่าไปหมด เพราะจะเสียเวลาหลวงพ่อมาก กระผมมั่นใจว่าหลวงพ่อคงทราบตั้งแต่กระผมอ้าปากถวายแล้ว กระผมก็ขอสรุปให้สั้นสำหรับการปฏิบัติทั้งหมดดังนี้

. ควบคุมความคิดได้ โยนทิ้งได้ พิจารณาอารมณ์ที่เกิดขึ้นให้สงบได้เร็วดี จะทั้งแอบเฝ้ามองเวลามันจะโผล่มาจากจิต จะโยนทิ้งมันตอนนั้นเลย แต่มันก็ยังไม่ขาดครับ

. จิตเสื่อมมีครับ เวลาหมกมุ่นทำงาน เล่นคอม อ่านหนังสือ สิ่งข้างนอกมันค่อยๆ คลายออกแล้วเสื่อม แล้วรู้ว่ามันเสื่อมครับ ก็พยายามกลับมาอีก ถึงรู้ว่า อ๋อ! ครูบาอาจารย์ท่านห้ามไม่ให้ดูทีวี อ่านหนังสือพิมพ์ก็เพราะเป็นห่วงนักปฏิบัติ

. ผมมีงานทำตลอดแล้วครับ คือพิจารณาสิ่งที่อยู่ในจิตของผม เฝ้ามองมันพิจารณาที่มันจะออกมา งานข้างนอกคืองานเลี้ยงชีพปกติทั่วไปครับ งานนี้เป็นงานข้างในของผมจะทำไปเรื่อยๆ ครับ ปฏิบัติมาเป็นปีได้แค่นี้ครับ ถูกผิดหลวงพ่อเมตตาด้วย

ตอบ : เวลาถูกมันถูกอย่างนี้ แต่เวลาถูก เวลาถูกหมายความว่า เราใช้ปัญญาอบรมสมาธิต่างๆ ถ้าทำต่อเนื่องๆ ไป จิตสบาย จิตปลอดโปร่ง

แต่ไอ้คำว่าโยนทิ้งมันประมาทเกินไป คำว่าโยนทิ้งนี่ใช้ไม่ได้

คำว่าโยนทิ้งเห็นไหม มันต้องเก็บมาพิจารณา

ก็พิจารณา ก็บอกแล้วไง นี่เขาถามมาแล้ว เขาบอกอยู่แล้ว ถ้าพิจารณาไปแล้วมันก็ปล่อยอยู่ดี ก็รู้อยู่แล้ว สิ้นสุดมันคือการปล่อย ก็ปล่อยมันเลย ก็ทิ้งมันไปเลย

การทิ้งอย่างนี้มันประมาทเกินไปไงมันจะปล่อยอยู่ดีปล่อยอยู่ดีมันต้องมีเหตุมีผลสิ อารมณ์แต่ละอารมณ์มันไม่เหมือนกัน ถ้ามันปล่อยอยู่ดี ถ้าปล่อยอยู่ดี เพราะอะไร เพราะเราไปโยนมันทิ้งไง

พอโยนมันทิ้ง หมายความว่า เหมือนกับเรามีปัญหาต่อกัน เราไม่คุยกันน่ะ เราไม่เจรจา รู้อยู่แล้ว เจรจาก็คือเราดีกัน อ้าว! ดีกันเลย ไม่ต้องเจรจา ก็เหมือนกับโยนทิ้งไง อารมณ์มันจะเกิดขึ้นมา แล้วรู้ว่าพิจารณาไปแล้วมันก็คือปล่อย ผลของมันคือปล่อยก็โยนมันทิ้งเลย

ถ้าโยนมันทิ้งเลย นี่ขาดปัญญาไง

ก็ปัญญามันก็ต้องโยนทิ้ง

คำว่าโยนทิ้งถ้าสติ สมาธิดี ปัญญามันจะมี มันจะสามารถชนะได้ คือโยนทิ้งได้ แต่ถ้าวันไหนสติไม่ดี สมาธิไม่ดี มันโยนทิ้งไม่ได้หรอก กิเลสมันขี่หัว

แต่ทีนี้พอบางทีถ้าสติเราดี เหมือนคนมีกำลัง ของหนักๆ เราก็ยกได้ แต่ถ้าวันไหนเราอ่อนแอ ของเบาก็ยกไม่ขึ้น ความคิดบางทีถ้าสติเราไม่ดี สมาธิเราไม่ดี ความคิดเล็กน้อย แต่มันทำให้เราหงุดหงิดได้ มันทำให้เราทุกข์มากเลย

แต่ถ้าวันไหนนะ เราภาวนาอยู่นี่ โอ้โฮ! จิตใจเราดี สมาธิเราดีนะ ให้เขาด่าขนาดไหน ให้เขาอารมณ์รุนแรงขนาดไหนก็ไม่สน ไม่สน มันคุมได้ มันคุมได้เพราะจิตมันดี ถ้าจิตไม่ดีนะ อะไรก็คุมไม่ได้ ของเล็กน้อยก็เป็นของใหญ่ ของไม่เป็นเรื่องก็เป็นน่ะ ของไม่เป็นเรื่องเลย เป็นเรื่องแน่ๆ เลยถ้าจิตมันไม่ดี

ฉะนั้น ถ้าจิตมันไม่ดี มันอยู่ที่ว่าเราจะโยนทิ้งไม่โยนทิ้ง มันอยู่ที่สติปัญญาของเรา ไม่ใช่ว่าเรารู้อยู่แล้ว เห็นไหม ของมันรู้อยู่แล้ว มันต้องปล่อยอยู่ดี ก็โยนทิ้งมันไปเลย มันก็รู้อยู่แล้ว...อันนี้อันหนึ่ง

อีกอันหนึ่งตอนพิจารณาเวทนา เห็นไหม พอพิจารณาเวทนา สติมันดี มันก็ใช้ปัญญาอบรมสมาธิเหมือนกัน พิจารณาเวทนา พอพิจารณาเวทนาไป พิจารณาได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่พอมันได้นะอ๋อ! สูตรมันเป็นอย่างนี้เอง

สูตรไง สูตรก็คือสัญญา ถ้าสูตรมันเป็นอย่างนี้ ก็ดูขนมสิ เขามีสูตรของเขา เขาทำขนมหวาน เขามีสูตรของเขา แต่วันไหนเขาทำของเขา วัตถุดิบมันไม่ดี สูตรนั้นขนมก็ไม่อร่อยเหมือนกันน่ะ อ้าว! ถ้าไข่มันเสียไข่มันบูดแล้วเอามาทำขนม มันจะขนมดีอย่างไรล่ะ ก็สูตรก็สูตรนั้นแหละ แต่วัตถุดิบมันไม่ดี

นี่ไง นี่บอกว่าอ๋อ! มันเป็นสูตรอย่างนี้

สูตรอย่างนี้คือสัญญา สัญญาใช้ไม่ได้ สัญญานี่นะ มันเป็นสูตรสำเร็จ สัญญาคือวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์เป็นทฤษฎี แต่กิเลสมันมีชีวิต มันพลิกมันแพลง มันหลบมันหลีกไง แต่สูตรสำเร็จมันใช้ไม่ได้ แต่เวลาแสดงธรรมก็แสดงธรรมตามสูตร เพราะเราแสดงธรรมตามอารมณ์เราไม่ได้ เราแสดงธรรมตามสูตร แต่คนที่แสดงจริงมันมีของมัน

ฉะนั้นบอกว่า พิจารณาเวทนาไปเลย ผมเข้าใจหมดเลย พอมันปล่อย อ๋อ! มันเป็นสูตรอย่างนี้เอง

ต่อไปก็จะเอาสูตรนี้จับเลย เอามาก็เอาสูตรนี้วัดเลย นี่เราคิดอย่างนี้ อันนี้คือประสบการณ์นะ ถ้าประสบการณ์ต่อหน้าไปมันจะเข้าใจ มันจะเข้าใจเรื่องนี้ แล้วตอนนี้มันเป็นสูตร มันเป็นสัญญา

ทีนี้ครูบาอาจารย์ที่ท่านภาวนาเป็นท่านจะบอกว่า ต้องให้เป็นปัจจุบัน ปัจจุบันคือเกิดขึ้นเดี๋ยวนั้น ปัจจุบันคือเดี๋ยวนี้ เห็นเดี๋ยวนี้ รู้เดี๋ยวนี้ ปัจจุบันนี้ แต่ถ้าเราเทียบเคียง เห็นไหม นี่เคยทำได้นะ มันจะคิดว่าเราเคยได้ๆ นี่บางคนมาหลวงพ่อ ผมทำสมาธิได้แล้วเมื่อ ๑๐ ปีที่แล้ว แล้วให้ผมทำอย่างไรต่อ

แล้ว ๑๐ ปีนี้เอ็งไม่มีสมาธิเลยใช่ไหม เอ็งทุกข์เกือบตายใช่ไหม แล้วเอ็งจะเอาปัญญาตอนนี้ไปต่อกับไอ้ ๑๐ ปีที่แล้วหรือ มันต่อกันไม่ได้

สมาธิเคยทำได้เมื่อ ๑๐ ปีที่แล้ว แล้วมันเสื่อมไปหมดแล้ว แล้วทำอย่างไร ตอนนี้ทำอย่างไร

ก็กลับมาพุทโธให้ได้สมาธิก่อน สมาธิในปัจจุบัน แล้วเวลาเกิดปัญญา เกิดปัญญาจากปัจจุบันนี้

แต่พวกเราเคยคิดว่าเราเคยทำสมาธิได้แล้ว สมาธิเป็นของเราตลอดไป ก็เหมือนผู้หญิงไม่อยากแก่ ดึงให้ตึงเลย ไม่อยากแก่ แล้วมันแก่ไหมล่ะ มันแก่แน่นอน ไอ้นี่ก็เหมือนกัน สมาธิมันตั้ง ๑๐ ปีที่แล้ว มันไม่อยู่กับเรา มันไปแล้ว คือมันเป็นความรู้สึก มันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มันต้องให้เป็นปัจจุบันตลอด

ฉะนั้น ขณะที่ว่าพิจารณาแล้ว ขณะพิจารณาเวทนานะ คราวนี้ปล่อยหมดเลย ถ้าคราวหน้าพิจารณาอย่างนี้อีกตายเลย กิเลสมันรู้เท่า เวทนาเป็น ๒ เท่า ๓ เท่าเลย แต่ถ้าจิตเราพิจารณาคราวนี้ปล่อยเลย คราวหน้าเราทำความสงบของใจเข้ามาก่อน ใจมันสงบแล้ว แน่นหนามั่นคงแล้วไปจับเวทนาอย่างไรก็ได้ พลิกแพลงเล่นได้ พลิกแพลงเล่นได้เลย พลิกแพลงเล่นพิจารณาเพราะจิตมันดีไง

ฉะนั้น คำว่าอ๋อ! สูตรมันเป็นอย่างนี้เอง”...วางไว้นะ อันนี้อย่าเอามาใช้ ถ้าอันนี้เอามาใช้นะ ตายเลย ต่อไปข้างหน้านะ เอาอันนี้มาใช้แล้วมันไม่ก้าวหน้า แล้วมันก็เหมือนกับว่าขายของเก่า จะเอาสมบัติเดิมมาใช้ อย่างพระเคยทำฌานสมาบัติได้แล้วมันเสื่อม ต่อไปก็ขายแต่ประสบการณ์นั่นน่ะ แต่ปัจจุบันทำไม่ได้ มันไม่เป็นปัจจุบันไง

เอาที่เป็นปัจจุบันนี้ ฉะนั้น สิ่งที่ทำมาดีแล้ว สิ่งที่ว่า เวลาสงสัยก็ฟังเว็บไซต์

เหมือนพระสารีบุตร พระพุทธเจ้าเทศน์สอนหลาน พระสารีบุตรยืนอยู่ข้างหลังแอบฟัง ได้เป็นพระอรหันต์เลย

นี่ก็เหมือนกัน คำถามในเว็บไซต์จะตอบใครก็แล้วแต่ เราฟังเพื่อประโยชน์กับเรา ถ้าเป็นประโยชน์ได้ เป็นประโยชน์หมด แล้วพอเป็นประโยชน์แล้ว เห็นไหม ปีกว่ายังเอาไปกินได้มาป่านนี้ แล้วก็มาถามมานี่

. ควบคุมความคิดโยนทิ้งได้ พิจารณาอารมณ์ที่เกิดขึ้นให้สงบได้เร็วดี จะทั้งแอบเฝ้ามองมันเวลามันจะโผล่มาเกิดจากจิต จะโยนทิ้งตอนนั้นเลย แต่มันยังไม่ขาด

มันขาดไม่ได้เพราะโยนทิ้งนี่แหละ มันจะขาดได้เพราะว่า ศีล สมาธิ ปัญญา งานชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ สติชอบ ปัญญาชอบ ความชอบธรรมของมัน การโยนทิ้งคือมันผลักออก มรรค ๘ มันจะสมดุลไหมล่ะ มรรค ๘ มันครบไหมล่ะ

ถ้ามีสติ มีสมาธิ มันโยนทิ้งได้ มีกำลัง แต่ปัญญามันก็ไม่ได้ใคร่ครวญไง มรรคมันก็ไม่สมดุลไง มันไม่ใช่มรรค ๘ มันมรรค ๒ มีศีลกับสมาธิ แล้วงานไม่ชอบ งานปฏิเสธคืองานไม่ชอบ งานชอบคืองานเผชิญหน้า งานที่เอามาพิจารณานั้นคืองานชอบ งานชอบ สติชอบ สติชอบคือการทำความถูกต้องดีงาม สมาธิชอบ สมาธิชอบเป็นสัมมาสมาธิ ความเพียรชอบ ความเพียรชอบคือมีความวิริยะ ความอุตสาหะในการหมั่นไตร่ตรอง ความเพียรชอบ นี่มันมีความชอบธรรมของมัน

ถ้าไม่มีมรรค ๘ ญาณํ อุทปาทิ ปญฺญา อุทปาทิ วิชฺชา อุทปาทิ อาโลโก อุทปาทิ มีญาณ มีความหยั่งรู้ มีวิชชา มีความเข้าใจ นั่นมรรคมันเป็นอย่างนั้น ไอ้นี่ฟังเอาไง ครูพักลักจำไง หลวงพ่อว่าอย่างนั้น กูก็ทำเหมือนเปี๊ยบเลย หลวงพ่อว่าในเว็บไซต์เหมือนกันเปี๊ยบหมดเลย เห็นไหม มันเทียบเคียง ก็สูตรไง อริยสัจมันก็มีสูตรเดียวเท่านั้นแหละ พระพุทธเจ้าก็พูดอย่างนี้ พระสารีบุตรก็พูดอย่างนี้ เราทำนี่ก็เหมือนกันเลย เปี๊ยบเลย เป็นสูตรเลย แต่ถ้าเราพิจารณาไปมันอีกเรื่องหนึ่ง

นี่พูดถึงนะ ดีแล้วแหละ ดีที่ว่าฟังมา พิจารณามา มันเป็นเครื่องอยู่ มันเป็นให้เรามีที่ปรึกษา แต่ถ้าความจริง นี่เราพูดอย่างนี้ คำว่าโยนทิ้งคือการปฏิเสธ คำว่าโยนทิ้งคือเอาความสกปรกซุกไว้ใต้พรม แล้วเราไม่ได้ดูแลรักษามัน มันต้องดูแลรักษา

แล้วถ้าจะให้มันขาด มันพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆๆ เวลาขาด มันขาดเพราะความสมดุลของจิต มัชฌิมาปฏิปทา ความสมดุลของมัน ความเพียรพร้อมของมัน เวลามันขาด มันรู้ ปัจจัตตัง สันทิฏฐิโก รู้ท่ามกลางหัวใจ ผัวะ!

ไม่ใช่ว่า จะไปสกิทาคามีจะไปทางไหน

มันผัวะ! กลางหัวใจ มันรู้ของมันเลย แล้วไปได้แล้วเพราะภาวนาเป็น แล้วพอมันจะไปสกิทาคามี มันไปของมันแล้ว เพราะว่ามันพาดกระแสเข้าปากทางแล้ว เราขึ้นสู่ถนนไฮเวย์แล้ว มันจะไปสิ้นสุดปลายถนนเลย จบกระบวนการของมันไปได้เลย นั่นพูดถึงถ้าเป็นนะ

. จิตเสื่อมมีครับ เวลามันหมุน จิตมันเสื่อมมีครับ เวลาไปอ่านหนังสือ ไปเล่นคอม จิตเสื่อม

เสื่อม มันเสื่อมอยู่แล้ว ความเจริญ เจริญ เราพยายามค้นคว้าของเรา แต่เวลามันเสื่อม มันเสื่อมของเรา ครูบาอาจารย์ท่านดูแลท่านรักษา ท่านให้ดูแลเรื่องของเราไง

สิ่งที่ว่า เขาไปดู ไปค้นคว้า มันถึงเวลาเราปฏิบัติแล้วมันติดขัด มันไม่เข้าใจแล้วเรามาค้นคว้าตำรับตำรา พระไตรปิฎกมันสำคัญมาก สำคัญเวลาปฏิบัติไปแล้วถ้าเรามาค้นนะ บุพพสิกขา วิสุทธิมรรค พวกนี้พระส่วนใหญ่แล้ว พระกรรมฐานเราค้นคว้าหมด ยิ่งอภิธรรม อภิธรรมที่ชำนาญมากก็หลวงปู่สุวัจน์ หลวงปู่สุวัจน์ชอบเรื่องนี้ มันอยู่ที่ว่าจริต หลวงปู่สุวัจน์ชอบเรื่องอภิธรรม แล้วเวลาท่านเทศน์ ท่านเทศน์เป็นแบบอภิธรรม แล้วท่านเขียนอภิธรรม อภิธรรมในเชิงปฏิบัติของหลวงปู่สุวัจน์

ความถนัด หลวงปู่จวนท่านถนัดแบบหลวงปู่มั่น เพราะว่าเวลาจิตสงบแล้วมันขึ้นเป็นบาลี หลวงปู่มั่นก็ขึ้นเป็นบาลี พวกนี้มีฤทธิ์ หลวงปู่จวน หลวงปู่มั่น แล้วอย่างที่ว่าเป็นฝ่ายปัญญา หลวงตามีปัญญา มันเป็นความถนัด เขาเรียกจริต จริตมันถนัด

ฉะนั้น สิ่งที่ถนัดแล้ว พอใครทำสิ่งใดก็แล้วแต่ ความถนัดเราก็มีอยู่แล้ว แต่มันไปไม่ได้ เราก็มาค้นคว้า มาเทียบเคียง มาเทียบเคียงต่อเมื่อเราออกมาจากภาวนาแล้วไง คือเราไปทำงาน ทำงานเสร็จแล้วเราก็มาตรวจสอบกับหลักการ ถูกต้องไหม แล้วถ้าเข้าใจแล้วก็ไปทำงานต่อ ทำงานเสร็จแล้วก็กลับมาตรวจสอบ นี่ปริยัติเขามีไว้อย่างนี้ แต่ทางโลกเขาเรียนมาแล้วเขาก็ประดับเกียรติเลย ใส่มงกุฎ ผัวะ! จบแล้ว มีความรู้

เขาเรียนมาปฏิบัติ เขาไม่ได้เรียนมาไว้เป็นมงกุฎสวมหัวไว้ไปอวดกัน เขาเรียนไว้ปฏิบัติ ถ้าปฏิบัติได้

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าจิตมันเสื่อม ถ้ามันเสื่อม ที่มันเข้าใจ ดูแลนั่นเป็นเรื่องหนึ่งนะ

. ผมมีงานทำตลอดแล้วครับ คือการพิจารณาที่อยู่ของจิต

ถ้ามีพิจารณาที่อยู่ของจิตนะ ไม่ทิ้งผู้รู้ ไม่ทิ้งพุทโธ ไม่ทิ้งผู้รู้ ไม่ทิ้งพุทโธ แล้วจิตมันสงบแล้ว เวลามันออกรู้ไง นี่มีงานทำแล้วมันสนุกมันเพลิดเพลินของมันนะ

หน้าที่การงาน เราก็ทำของเรา แล้วเวลาเราพิจารณาของเรา ถ้าใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ถ้าจิตสงบแล้วจับให้ดี จับให้ดีว่ามันเสวยอารมณ์ ตอนเสวยอารมณ์ถ้าจับได้ชัดเจนนะ โอ้โฮ! มันไปได้ต่อเนื่อง เราไม่ใช่โยนทิ้ง

อย่างที่พอมันจะคิด มันคิดอย่างไร มันคิดอะไร แล้วจับตรงนั้นน่ะ ในความคิด ในอารมณ์มันมีขันธ์ ๕ มันมีรูป รูปคือความคิด ถ้ามันสมบูรณ์แล้วเป็นรูป เป็นความคิด อารมณ์ความรู้สึกเป็นรูป มันมีเวทนา เวทนาคิดดีก็เป็นสุข คิดไม่ดีก็เป็นทุกข์ ถ้ามันคิดเฉยๆ คิดเฉยๆ มันก็รำคาญ เห็นไหม ความคิดเกิดจากสัญญา สัญญาคือข้อมูล แล้วเกิดสังขารปรุง ความคิดมันปรุงได้ ความคิด

ถ้าเห็นจิตนะ เห็นอาการของจิต มันจับแล้วมันเป็นวิทยาศาสตร์เลย เหมือนนักวิทยาศาสตร์ที่ทดสอบ ทดสอบทางสารเคมีเลย เห็นชัดๆ ความรู้สึก รูปมันเหมือนกับวัตถุอันหนึ่งเลย มันเหมือนกับวัตถุ เหมือนกับแร่ธาตุที่เราเอามาแยกแยะเลยว่าในแร่ธาตุนั้นมีส่วนประกอบของอะไร ในอารมณ์ความรู้สึกนี้ จับตรงนี้ ถ้าจับ ถ้าจิตมันไม่ใช่โยนทิ้ง จับแล้วพิจารณาแยกแยะของมัน นี่มันจะเป็นมรรค มันจะเป็นปัญญา

พอเป็นมรรค มรรคมันเคลื่อนแล้ว จักรมันเคลื่อนแล้ว ถ้ามันเคลื่อนไป มันพิจารณาของมันไป พิจารณาไป ถ้ามันปล่อยก็เป็นตทังคปหาน มันไม่ขาดอย่างที่ว่านี่ ปล่อยเรื่อยๆ แต่ต้องจับมาคิดอีก ถ้ามันจะจับหมด จับทุกคิด จับทุกอย่าง พิจารณาทุกอย่างด้วยความสามารถของเรา แล้วมันสนุกด้วยนะ พิจารณาไป อู้ฮู! มันสนุกมาก แล้วก็เหนื่อยมาก พอพิจารณา เหมือนที่ว่าเล่นเกมๆ เพราะถ้าพิจารณามันชนะ มันก็ปล่อย ถ้ามันแพ้นะ มันโดนตัดคะแนนด้วย ถ้ามันแพ้ มันแพ้ มันทุกข์ ไม่อยาก โอ๋ย! ปฏิบัติขนาดนี้ยังเบื่อ เบื่อ แต่ถ้ามันชนะนะ มันได้คะแนน นี่ดีกว่าเกม

เขาเล่นเกม เขาไปกดกัน เด็กไปกดกัน เรากดที่จิตเลย โอ๋ย! สนุกมาก เวลาคนภาวนานะ มีงานทำ เขาว่าเขามีงานทำแล้ว มีงานทำก็ทำ เขาบอกเขามีงานทำแล้ว ทำหน้าที่ทางโลก ทำหน้าที่ทางธรรม เราไม่เหลวไหลนะ ถ้าเราทำจริงมันจะเป็นจริง ถ้ามีสติมีปัญญาตามความเป็นจริงมันจะเป็นประโยชน์กับเรา

เวลาปฏิบัติ เห็นไหม งานทางโลกเขายังต้องมีสติมีปัญญาดูแลรักษาเพื่อธุรกิจการค้าของเขา งานของเรางานเพื่อรื้อภพรื้อชาติ จะทำด้วยความเหลวไหล ทำด้วยความไม่เอาไหน ทำด้วยความมักง่าย มันใช้ไม่ได้ มันเป็นทางให้เสื่อม ทางให้เสื่อม ทำทางที่เหลวไหล ทางที่เราจะมีความทุกข์ความยาก

แต่ถ้ามันเป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นความวิริยะ ความอุตสาหะด้วยความรอบคอบ จะทำสิ่งใดเพื่อประโยชน์กับสัจธรรม เพื่อประโยชน์กับหัวใจของเรา เราไม่ใช่เหลวไหล มันจะได้ประโยชน์กับเรา

ฉะนั้น มันผิดมันพลาด มันไป เราอุตส่าห์นะ กว่าจะมาปฏิบัติ คนที่ไม่ปฏิบัติเขาบอกว่า เรามาปฏิบัติเสียเวลากัน เขามีเวลาไปทำมาหากินได้มากกว่านั้น

ไอ้เรา เพราะเรามีศรัทธามีความเชื่อ หน้าที่การงานก็ทำของเรา แล้วก็หาเวลาของเรา เพราะอริยทรัพย์ของเรา สมบัติของเรา เราทำของเราเพื่อประโยชน์กับเรา เขาจะเห็นดีเห็นงามหรือไม่เห็นด้วย เรื่องของเขา

แต่ถ้าเราทำได้นะ จิตอย่างนี้กว่าเราจะพัฒนาได้มาขนาดนี้ แล้วพอมาปฏิบัติจะมาเหลวไหล มันเสียดาย มันเสียดายเวลา เสียดายศรัทธา เสียดายความเชื่อมั่นของเรา เสียดายหัวใจของเราที่อุตส่าห์ขวนขวาย ฉะนั้น ต้องทำจริงทำจัง อย่าทำเล่น อย่าทำเหลวไหล เอวัง