ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

วุฒิภาวะมีสูง-ต่ำ

๒o ก.พ. ๒๕๕๓

 

วุฒิภาวะมีสูง-ต่ำ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ถาม-ตอบปัญหาธรรม วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
ณ วัดสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

มันมีคำชมมาเยอะมาก เวลาคำชมนะ อันนี้เป็นคำชม

ถาม : กราบเรียนหลวงพ่อ ฟังธรรมหลวงพ่อรู้สึกซาบซึ้งเข้าไปอยู่ในใจมากค่ะ เพราะหลวงพ่อเทศน์ว่า ผู้ปฏิบัติรู้จริงได้ ผู้ปฏิบัติจริง ได้ผลจริง เข้าใจจริงมีอยู่ ดังนั้นจึงรู้สึก เข้าใจสิ่งที่หลวงพ่อสอน ทำให้ความเข้าใจดี จริตหลวงพ่อเทศน์แบบนี้ ธรรมะที่ไหลออกมาจากภายใน แต่เราอยากกราบ หลวงพ่อระวังสุขภาพบ้าง ชอบฟังเทศน์ที่ความปฏิบัติล้วนๆ คือการพูดการเทศน์ของหลวงพ่อ ใครว่าดุเดือดก็ตาม แต่แฝงด้วยความเมตตา ก็กราบขมา เจ้าค่ะ

เราได้ฟังเทศน์เรื่องพระสงบ เรื่องพระสงบ ก็ยิ่งเป็นบุญ ขอถือโอกาสส่ง เพราะเรื่องพระสงบพูดถึงพ่อเขา

หลวงพ่อ : นี่พูดถึงคนที่เห็น เห็นไหม เพราะเขาได้ประโยชน์ของเขา นี่ชมมาเยอะมาก แต่อันนี้ จะพูดถึงอันนี้ต่างหาก นี่ เขาก็พูดเยอะมาก มันมีคนพูดมานี่ มันเป็นเรื่องส่วนตัวมาก บางทีก็ไม่อยากจะพูดออกไป แต่ไอ้นี่นะ

ถาม : ข้อที่ ๔ สิ ผมได้ฟังเทศน์พระอาจารย์ โดยบังเอิญจริงๆ ฟังครั้งแรกมันเหมือนถูกถีบกลับมาเลยครับ นึกขอบคุณพระอาจารย์อย่างเป็นที่สุด พร้อมกันนี้นึกสงสารคนที่เขาอยู่ตรงนั้น ผมว่าร้อยละ ๙๐ ยังคงอยู่ตรงนั้นนะครับ จะมีจำนวนน้อยเต็มที คนที่จะหลุดออกมาได้ ต้องเป็นคนที่ปฏิบัติมาพอสมควรเลยครับ ถ้าคนที่เขามาใหม่ๆไปเจอตรงนั้นก่อนเลยก็ยากครับ เขาเหนียวแน่นมาก ผมเชื่อว่าที่เขาเหนียวแน่น เพราะใจเขาเหล่านั้นกำลังทุกข์มาก กำลังต้องการที่พึ่งสุดท้าย พอมาเจอก็เลยเป็นกรรมของเขา อย่างที่ท่านอาจารย์เทศน์นั่นล่ะครับ ผมพยามเตือนเพื่อนๆ หลายคน แต่ก็ดูไม่มีท่าทีว่าจะเชื่อผมเลย ให้เขาฟังเทศน์ท่านอาจารย์ เขาก็ว่าฟังไม่รู้เรื่อง แรงเกินไป สิ่งที่ผมประทับใจมากๆ คือท่านอาจารย์ตอบมาตลอดมาทุกกัณฑ์ ก็ตรงที่ว่า”วุฒิภาวะ” นี่ล่ะครับ มันใช้ได้ทั้งทางโลกและทางธรรม

หลวงพ่อ : วุฒิภาวะเห็นไหม ฟังครั้งแรกนี่เหมือนโดนถีบกลับมาเลย เพราะมันคิดไม่ถึงไง แต่ด้วยความบังเอิญนะ นี่ ! คำถามเขาเยอะมาก แต่พูดไปประสาเรามันก็เรื่องเล็กน้อย เรื่องวนๆอยู่อย่างนั้นล่ะ นี่บางคนว่าอะไรนะ เรื่องดูจิตเรื่องต่างๆ เราไม่พูดอีกแล้วล่ะ มันเรื่องของเขา เพราะเวลาเราพูดนะมันชัดเจนไปแล้วไง ไอ้นี่พอเขาเห็นแล้วเขาก็พูดกลับมาอีก ว่ามันมีบุญมีคุณ อันนี้เป็นอันหนึ่งนะ คำว่าวุฒิภาวะนี่ ถ้าวุฒิภาวะเห็นไหม มันก็เหมือนเขาเรียกว่าบุญไง

อย่างเช่น เด็กเห็นไหม มุมมองของเด็กๆ จะแตกต่างกันมากเลย เด็กบางคนนี่ ถามเลย พ่อนี่คืออะไร จนพ่อแม่นี่งงเลยนะ เราคิดไม่ถึงนะว่าเด็กจะคิดได้ขนาดนี้ แล้วดูไอคิวของเด็กสิ เด็กบางคนไอคิวดีมากเลย นั่นนะเห็นไหม มันเป็นบุญของเขา เวลาบอกคนเราจะเกิดปัญญาได้อย่างไง จะมีทรัพย์สมบัตินี่ก็ให้เสียสละ เสียสละทานนี่มันจะเกิดผลตอบแทนทั้งนั้น อยากจะมีรูปสวย อยากเป็นคนที่รูปร่างดี อยากเป็นคนที่เป็นคนสวยงามนี่ให้ถือศีล แต่คนที่อยากมีปัญญานี่ต้องพุทโธๆๆๆ พุทโธๆนี่ปัญญา นี่เราสร้างมาด้วยการภาวนา เพราะการภาวนานี่มันเข้าไปถึงรากของจิต

ดูสิ เวลาเด็กมีการศึกษานี่ เราบอกเด็กคนนี้สมองพิการ สมองไม่ดี สมองเห็นไหม ไอน์สไตน์สมองก้อนใหญ่ที่สุดเขาว่าอย่างนั้นนะ ไม่ใช่หรอก อันนี้วิทยาศาสตร์เขาพิสูจน์กันว่าคนฉลาดๆ ที่ไหน เขาเรียก สมองก้อนใหญ่ก้อนเล็กไง แล้วพิสูจน์กันโดยทางวิชาการเห็นไหม

สัตว์ อย่างเช่นแมลงนี่สมองแทบไม่มีเลย มันสมองเล็กมาก มนุษย์นี่สมองก้อนใหญ่กว่าเพื่อน นี่ก้อนสมองใหญ่ แล้วเรานี่นะถ้าสมองพิการ แต่มันบวม สมองนี่ใหญ่เบ้อเร่อเลยนะ แต่โง่ดักดานเลย เราจะบอกว่าความจริงมันอยู่ที่เชาว์ปัญญา มันอยู่ที่ใจ

แล้ววุฒิภาวะของจิตเห็นไหม พันธุกรรมทางจิตมันแตกต่างกัน ถ้าแตกต่างกัน ถ้าคนมันมามันมีมานะ ดูสิ ดูจูฬปันถก เห็นไหมพี่ชายให้ท่องคาถาคำเดียวท่องไม่ได้ ทำไมท่องไม่ได้ ท่องไม่ได้ จนพี่ชายอาย ก็ให้ไปสึก พอจะไปสึกพระพุทธเจ้าบอกว่า

“จูฬปันถกเธอบวชเพราะใคร”

“บวชเพื่อพระพุทธเจ้า”

พระพุทธเจ้าบอกว่าให้ลูบผ้าขาว ให้ลูบผ้าขาว เป็นพระอรหันต์ขึ้นมาทันทีเลย เขาก็เลยงงว่าทำไมพระอรหันต์ทำอย่างนั้นไม่ได้ พระพุทธเจ้าบอกว่าเพราะว่าบุญกุศลที่เป็นพระอรหันต์นี้ เพราะเคยเป็นกษัตริย์ เคยออกพลเห็นไหม แล้วเวลาเอาผ้าเช็ดหน้า เช็ดหน้าเพราะตัวเป็นกษัตริย์เห็นไหม กษัตริย์ตรวจพลทหาร รถม้าไง ฝุ่นมันมาปะกษัตริย์ ! พอมันเช็ด มันเห็นผ้าดำนี่ อันนี้มันเป็นเหมือนการพิจารณาอสุภะ มันฝังใจมาไง นี่บุญมันเกิดแล้วเห็นไหม

เหมือนเราไปเที่ยวป่าช้า เรานั่งภาวนา เราว่าจะอะไรแล้วก็ไม่มีประโยชน์เลย ถ้าใจเราเห็นกาย เห็นอะไรต่างๆนี่ มันฝังลงที่ใจนะ เพราะใจมันเห็น ไม่ใช่เห็นโดยสมอง ไอ้พวกสมองนี่เป็นสถิตินะ ดูอย่างปัญญาเรานี่ เขาเรียกโลกียปัญญา ปัญญาเกิดจากสมอง เวลาศึกษาเล่าเรียนต้องใช้สมองจำ จิตมันเป็นพลังงาน แต่เวลาสมอง สมองจำ เพราะอะไร เพราะมันเป็นกรอบเห็นไหม นี่คือความคิดในถังขยะ ความคิดแบบโลกไง ความคิดแบบข้อมูลสถิติ

แต่เวลาถ้าจิตมันสงบเข้ามาเห็นไหม เวลาเห็นอสุภะนี่ ใครเป็นคนเห็น ใจเป็นคนเห็น เพราะใจเป็นคนเห็นว่า ใจนี่เหมือนคนเรานี่นะ คนเรานี่หลงผิด เวลาเราหลงผิด หลงสิ่งต่างๆไปนี่ เราเข้าใจผิด หลงผิดไป เราจะมีอารมณ์ความรุนแรง ความเข้าใจผิดมหาศาลเลย มีใครคนหนึ่งมาบอกว่า เราหลงผิดแล้วเราเข้าใจได้นะ เอ๊อะ! มันปล่อยได้หมดเลยเห็นไหม

ทีนี้จิตเห็นไหม พอจิตมันเห็นอสุภะ เห็นต่างๆ เห็นไหม ที่ว่ากษัตริย์ตรวจพลสวนสนามเห็นไหม เวลาเช็ดผ้าเช็ดหน้านี่ จิตมัน... เพราะความเข้าใจของเรา เราเป็นกษัตริย์ใช่ไหม โอ้โฮ ต้องประณีตมาก มันฝังใจไง

พระพุทธเจ้าถึงบอกว่า นี่เห็นไหม อนาคตังคญาณรู้ว่าอะไรมันจะแก้กิเลสได้ สิ่งต่างๆมันตรงกับจริตนิสัยนี่ พอลูบผ้าขาวๆ ปิ๊งเป็นพระอรหันต์เลย เอ้า แล้วพระอรหันต์ทำไมพี่ชายบอกว่าให้ท่องคาถาคำเดียว ทำไมท่องไม่ได้ ทำไมว่าปัญญามันเกิดแล้วทำไมปัญญาสถิติ ปัญญาสมอง ปัญญาจำนี่ทำไมทำไม่ได้ล่ะ อันนี้มันกรรมนะ

เคยมีอยู่ชาติหนึ่ง เกิดเป็นพระด้วยกัน แล้วเวลาพระสวดปาฏิโมกข์ไง พระเวลาสวดปาฏิโมกข์นี่ ถ้าใครไม่บวชพระมันจะไม่เข้าใจ สวดปาฏิโมกข์มันต้องท่องนะ ต้องท่องปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒ เห็นไหม นิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ ๓๐ ปาจิตตีย์ ๙๒ เสขิยวัตรต่างๆนี่ มัน ๒๒๗ มันต้องท่องๆๆๆๆ ต้องอักขระต้องให้ฐาน เขาต้องให้ชัดเจนมากเลย

อันนี้เวลาตัวเองทำทุกอย่างได้ เพราะเป็นคนมีปัญญาใช่ไหม ทีนี้พอเห็นพระบวชใหม่ท่องผิดๆ ถูกๆ ก็ไปขำเขาไง ไปขำเขา อะไรเขานี่ เขาอายไง นี่กรรมอันนั้นเห็นไหม ทำให้สมองทื่อไปหมดเลย กรรมมันมาอย่างนั้น พูดถึงกรรมอย่างที่พูดตอนเช้านี่ ว่ามันมีทั้งโลกมีทั้งธรรม

ถ้าโลกก็คือสามัญสำนึกเรานี่ โลกคือสามัญสำนึก ธรรมะนี่มันใต้จิตสำนึก ลงไปในฐีติจิต ลงไปในใต้จิตสำนึกเลย พอลงใต้จิตสำนึกขึ้นมา สิ่งที่มันเกิดขึ้นมา พุทโธๆๆการภาวนา สิ่งต่างๆภาวนานี่เกิดปัญญาเกิดตรงนี้ แล้วเวลาเกิดปัญญาเห็นไหม คนเศรษฐี กุฎุมพี เศรษฐีขนาดไหน เวลามีปัญญาขึ้นมาจะมีปัญญามาก มีอำนาจมาก เราเป็นคนทุกข์คนเข็ญใจนี่ มีปัญญาเหมือนกัน

แล้วคนมีปัญญาเราจะแสดงออกได้อย่างไร เพราะว่าเราเป็นคนทุกข์คนเข็ญใจใช่ไหม สังคมเขาไม่เชื่อถือหรอก แต่ถ้ามาเป็นการภาวนานะ จะทุกข์จนเข็ญใจ คนจะมั่งมีศรีสุขขนาดไหน เวลามันแก้กิเลส มันแก้กันที่ภาวนามยปัญญา มันแก้ที่ตัวเราไง นี่ไง ภราดรภาพ ความเสมอภาค

การเสมอภาคนี่ เราเคยเที่ยวป่า เคยไปคุยกับพวกสหาย เขาบอกว่าคอมมิวนิสต์คนแรกคือพระพุทธเจ้าไง เราบอก ไม่ใช่ ไม่ใช่หรอก เขาบอกพระพุทธเจ้าถือความเสมอภาคไง ความไม่มีชนชั้นไง คำว่าไม่มีชนชั้นคือนิพพานนี้ต่างหากล่ะ เวลาเราเข้าไปถึงที่สุดแห่งทุกข์เห็นไหม ทุกข์นี่เสมอภาคกันที่นี่ แต่ถ้าจะเสมอภาคทางโลก มันเรื่องของสังคม เป็นไปไม่ได้หรอก แม้แต่จริตนิสัยการจะเข้าถึงที่สุดแห่งทุกข์ มันยังแตกต่างกันเลย

แต่เวลาเข้าไปถึงแล้วต่างหากล่ะ นั่นพระพุทธเจ้าพูดถึงว่าตรงนั้น”ความเสมอภาคคือนิพพานเหมือนกันหมด” แต่ต่ำกว่านิพพานมาไม่เสมอภาค มันไม่มีเสมอภาค เป็นไปไม่ได้หรอก ฉะนั้นพูดถึงว่าคำว่าปัญญาๆนี่ วุฒิภาวะๆ มันอยู่ที่นี่ วุฒิภาวะนี่มันเป็นเชาว์ปัญญา มันเป็นมุมมองของเรา

อย่างพวกเรา อย่างลูกหลานเราเห็นไหม เวลาถามนะ พ่อนี่อะไร พ่อนี่อะไร จนพ่อก็งงนะ นั่นเป็นความไร้เดียงสาของเขา แล้วความไร้เดียงสาของเขานี่ พอโตขึ้นมาเขาจะทำอย่างนั้นได้ไหม อย่างเด็กๆ นี่ให้ภาวนา เด็กถ้ามันมีความใส่ใจนะ ภาวนาง่ายมากเลย เพราะมันเหมือนผ้าขาว อย่างพวกเรานี่เห็นไหม เวลาผ่านชีวิตมานี่ เราถึงบอกนะ เราพูดบ่อย คนแก่นี่นะเหมือนทารก จิตเหมือนทารก แล้วทารกที่อ่อนแอด้วย ทารกที่มีโรคภัยไข้เจ็บมาก เหมือนกับเราผ่านโลกมามาก ความผูกพันของใจมันผ่านมามาก

เหมือนกับการปฏิบัตินี้ ถ้าวันไหนอารมณ์เราดีเห็นไหม เราปฏิบัติเราพุทโธๆ นี่ หรือเราใช้ปัญญาอบรมสมาธิจะสงบได้ง่าย วันไหนอารมณ์เราขุ่นมัว วันไหนอารมณ์ได้รับการกระทบรุนแรง วันนั้นจะภาวนาได้ยากมากเลย ทีนี้คิดดูว่าจิตใจของผู้เฒ่าผู้แก่นี่มันผ่านโลกมามากแล้ว สงสัยไปหมดเลย แหม ใครจะรู้ดีไปกว่าเรา ยิ่งพระนะ โหย อยู่แต่ในวัดจะรู้อะไรกับเรา เขาคิดไม่ถึงล่ะ เรานี่ผ่านโลกมามากจะรู้มาก

ความจริงนะ พระอยู่ในวัดนะรู้ดีกว่าอีก รู้ดีกว่าที่ไหน รู้ดีกว่าว่าที่ถ้าเราเข้าใจตัวของเราเองแล้ว เห็นไหมเวลาพระพุทธเจ้าพูดจากใจดวงหนึ่งสู่ใจดวงหนึ่ง ใจดวงหนึ่งที่ชำระล้างสะอาดได้ หรือใจดวงหนึ่งที่ทำสมาธิได้ ความทำสมาธิที่ได้ มันลำบากแสนเข็ญแค่ไหน ถ้ามันผ่านวิกฤติอย่างนี้มา แล้วใจที่จะเข้าไปปฏิบัติ มันจะเป็นอย่างนี้หมดเลย

ถ้าเข้าใจกระบวนการของเรา คือเข้าใจข้อมูลความเป็นจริงในทฤษฎีทั้งหมด ทุกดวงใจมันจะเป็นอย่างนี้ ถ้าทุกดวงใจเป็นอย่างนี้ปุ๊บ ไม่เป็นอย่างนี้ธรรมดานะ พอเป็นอย่างนี้ปั๊บ ธรรมดาของเขา ถ้าทำถึงจะต้องเป็นอย่างนี้ แต่เขาไม่เข้าถึงใจของเขา เขาเข้าไปถึงสภาวะกระทบจากความรับรู้ข้างนอก มันยิ่งออกไปข้างนอกหมดเลย นี่ไง มันอ่อนแอตรงนี้ไง จิตใจนี่อ่อนแอเห็นไหม

แต่ถ้าเด็กนี่เหมือนไร้เดียงสาเลย ผ้าขาวเลย ให้มันมา พุทโธๆนี่ สิ่งที่เข้ามาโต้แย้งในความเห็นของเขามันมีน้อย แต่มันทำไปไม่ได้ โดยข้อเท็จจริงของโลก เด็กต้องโตเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมา เด็กต้องมีอาชีพ เด็กต้องมีสังคม

ความข้อเท็จจริง นี่ไง วัฏฏะ ผลของวัฏฏะ คือผลไม้ถ้ามันออกลูกมาแล้ว มันจะต้องเป็นผลไม้อ่อน แล้วก็ผลไม้แก่ไปข้างหน้า คนเราเกิดมามันก็ต้องดำรงชีวิตไปอย่างนี้เป็นธรรมดา นี่เป็นเรื่องธรรมดาของโลกเขา

แต่ถ้าเป็นเรื่องของธรรมะนะ มันต้องกลับมาชำระล้างต้นขั้วนี้ให้ได้ไง นี่เป็นเพราะว่าเป็นวุฒิภาวะ วุฒิภาวะแต่ละคนไม่เหมือนกัน แล้วเราดูข้อเท็จจริง ดูความเป็นไปตรงนั้น ฉะนั้นถึงบอกว่า วุฒิภาวะของคนหลากหลายนะ แล้ววุฒิภาวะมีสูงมีต่ำ ฉะนั้นวุฒิภาวะอันนี้มันถึงว่าอยู่ที่การได้สร้างสมมา

ดูสิ ดูอย่างพระอัญญาโกณฑัญญะกับพระสุภัททะ นี่เป็นพี่น้องกันมาเห็นไหม อยู่ในธรรมบท เป็นพี่เป็นน้องกันมา ทำนามาด้วยกัน พี่น้องสองคน พี่หรือน้องก็จำไม่ได้ คนหนึ่งพอข้าวออกก็จะทำบุญเลย ไอ้พี่อีกคนบอกไม่เป็นไรหรอก นู่นนะ ให้ข้าวมันแก่ก่อน พอข้าวออกมาก็ทำข้าวเม่าไง ที่ถวายพระพุทธเจ้า น้องชายบอกว่าเมื่อไหร่ก็ได้ ทีนี้พอมาถึงมาเกิดในชาติของพระพุทธเจ้า สหชาตินี่ อัญญาโกณฑัญญะเป็นสงฆ์องค์แรก พระสุภัททะเกือบจะไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าบอกว่าเราจะมาตายที่นี่ ก็เพื่อจะมาเอาพระสุภัททะด้วยไง มีปัญญามาก โอย เก่งมาก รู้ไปหมดเลย เมื่อไหร่ก็ได้ไง เมื่อไหร่ก็ได้ ทำเมื่อไหร่ก็ได้ มันจะได้ผลตลอดเวลา

พระพุทธเจ้าจะนิพพานอยู่แล้วนะ ตัวเองเป็นพราหมณ์นี่ก็ โอ้โฮ ว่าตัวเองนี่ปัญญามากๆ เวลาจะไปถามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจะมาปรินิพพานที่กุสินารา ปรินิก็มาเพื่อมัลลกษัตริย์ กับมาเพื่อพระสุภัททะนี่ด้วย พระสุภัททะเป็นพราหมณ์ก็เข้าไปถามไง รู้มาก เก่งมาก ติดตัวอยู่ตลอดเวลา มาถึงสุดท้ายแล้วนี่พระพุทธเจ้าจะนิพพานคืนนี้ เพราะข่าวมันมาแล้ว รู้อยู่แล้ว ถ้าไม่ถามคืนนี้ก็อดแล้ว มันก็ยังมีความระลึกรู้ตัวอยู่ ว่าถ้าไม่ถามคืนนี้ก็อดแล้ว ก็เข้าไปถามไง

“ในลัทธิศาสนาต่างๆ ก็ว่าดีที่สุด ทุกอย่าง ทุกคนว่าศาสนาตัวเองดีกว่าคนอื่นหมดเลย ไปถามพระพุทธเจ้า แล้วพระพุทธเจ้าว่าอย่างไร อะไรดีที่สุด”

พระพุทธเจ้าบอกว่า “อย่าถามอะไรมากไปเลย”

เพราะจะตายอยู่แล้ว คืนนี้จะมาตายอยู่แล้ว ไม่ต้องถามหรอก ถามไอ้เรื่องโลกนะ ไร้สาระเลย

“ศาสนาไหนไม่มีมรรค ศาสนานั้นไม่มีผล ไม่มีรอยเท้าบนอากาศ” ไม่มีเหตุและผลไม่ต้องพูดถึง

ฉะนั้นถ้าจะเอาเหตุเอาผลนะ พุทธศาสนาเท่านั้นที่มีมรรคมีผล แล้วให้พระอานนท์บวชเลย คืนนั้นจึงได้เป็นพระอรหันต์ขึ้นมาเห็นไหม นี่ไง ที่ว่าเมื่อไหร่ก็ได้ เมื่อไหร่ก็ได้น่ะ นี่เกือบจะไม่ได้เลย แต่เวลารีบขึ้นมานี่เห็นไหม นี่พูดถึงว่าวุฒิภาวะ แค่ไอ้วุฒิภาวะคนทำก่อนทำหลังนี่ ถ้ามันทำหลังนะหรือไม่ทำเลย อย่างไรมันจะเสียโอกาสไปเลย นี่ของเขานะ ทีนี้ถ้าเรามีของเราแล้วนี่ เราต้องรีบเลย เราต้องรีบและควรกระทำ เพราะใจคนนี่มันไม่แน่นอน ใจของคนนี่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

เรื่องศรัทธานี่มันเปลี่ยนแปลงได้ แต่ถ้ามันเปลี่ยนแปลงได้ขนาดไหน ถ้าเรามีหลักของเรา เราเอาของเรา ยิ่งปฏิบัติด้วย ยิ่งมีหลักมีเกณฑ์ของเราด้วยนี่ มันซาบซึ้งนะ มันเหมือนกับเรานี่ เราพูดบ่อยนะ เวลาไปไหนนี่เรามีของติดไปเลย เราจะไปไหนนี่เราจะมีเครื่องใช้ไม้สอยของเราไปเลย กับเราไปก่อนแล้วให้คนฝากของส่งไปให้ ต่างกันไหม ยิ่งฝากไปรษณีย์ไป ถ้าไปรษณีย์มันโกงนะ มันไม่ได้หรอก ฉะนั้นต้องทำเลย ยิ่งทำเอง ทุกอย่างเอง รู้เอง พุทธศาสนาสอนที่นี่

ถาม : กระผมมีปัญญาอยากถามหลวงพ่อ ๒ ข้อ

๑. เมื่อก่อนกระผมภาวนาโดยหายใจเข้านึกพุท หายใจออกนึกโธ ภายหลังรู้สึกว่าไม่ค่อยคล่อง จึงนึกแต่พุทโธเพียงอย่างเดียว อยากกราบเรียนถามหลวงพ่อว่า ระหว่างที่เราภาวนาอยู่ เราสามารถจะเห็นได้หรือไม่ ว่าพุทโธมาจากไหน ใครเป็นผู้ว่าพุทโธ หรือว่าให้บริกรรมพุทโธไปเรื่อยๆ แล้วจะพบผู้ที่ว่าพุทโธเอง (เนื่องจากเคยฟังธรรมบางกัณฑ์ของหลวงปู่เจี๊ยะ และหลวงปู่เทสก์ ท่านจะสอนว่าให้จับผู้ที่ว่าพุทโธ หรือในกรณีเกิดเวทนา ให้ดูว่าใครเป็นผู้ว่าเจ็บ) ในอดีตมีเพียงครั้งเดียวที่เมื่อภาวนาเสร็จแล้ว พอล้มตัวลงนอนรู้สึกเหมือนว่ามีอะไรออกจากตัว ในขณะนั้นตื่นเต้นมาก ไม่ทราบว่าเป็นอาการปีติหรือไม่ครับ

๒. บางครั้งเวลาไปกราบครูบาอาจารย์ เมื่อประสบกับเหตุการณ์บางอย่าง ซึ่งเรายังไม่ทราบความจริงว่าเป็นอย่างไร แต่แว็บหนึ่งของความคิดของเราก็ไปวิจารณ์ครูบาอาจารย์ ทั้งที่เราไม่มีเจตนา ซึ่งกระผมรู้สึกว่า เราไม่สามารถบังคับความคิดของเราได้ ทำให้ไม่สบายใจและไปขอขมาท่าน อยากกราบเรียนถามว่า จะต้องปฏิบัติอย่างไรต่อไปครับ

หลวงพ่อ : เอาอันหนึ่งก่อนนะ อันหนึ่งเห็นไหม มีเพียงครั้งเดียวที่พอภาวนาเสร็จแล้วพอล้มตัวลงนอน รู้สึกว่ามีอะไรออกจากตัว ในขณะนั้นตื่นเต้นมาก ไม่ทราบว่าเป็นปีติหรือไม่ครับ

เวลาตั้งใจนึกพุทโธๆ เห็นไหม พุทโธๆนี่เราตั้งใจ แล้วเราพยามนึกพุทโธทั้งลมหายใจเข้า ลมหายใจออกต่างๆ มันบริกรรมของเราไปเรื่อย เพราะมันมีตัวจิต คือมีสสาร มีความรู้นี้ เกาะคำบริกรรมไว้ พุทโธๆๆ มันเป็นข้อเท็จจริง เหมือนเราทำหน้าที่การงาน ทำได้ชัดเจนของเรา เราจะไม่พลั้งเผลอ เราไม่พลั้งเผลอนะ แต่ จิตมันจะลงไม่ลงนี่มันอยู่ที่จิตมันมีกำลัง หรือจิตที่มันจะสงบตัวลงนี้ มันจะเป็นของมันไปเอง

เช่นพุทโธๆๆ รู้สึกตัวเองนี่มันจะหดสั้นเข้ามา ความรู้สึกจะหดสั้นเข้ามา หดสั้นเข้ามานะ นี่พวกเราไปคิดกันเองว่า พุทโธๆๆๆ นี่มันจะวูบ มันจะเป็นยังไงก็แล้วแต่ ความคิดอย่างนั้นมันเป็นจินตนาการไว้ก่อน คือว่าเราไปสร้างภาพไว้ก่อน จิตจะไม่เป็นหรอก แต่เราพุทโธๆๆโดยที่ไม่ต้องการ อย่างเช่น ตักน้ำใส่ภาชนะนี่เราไม่ต้องการให้มันเต็ม ตักไปเรื่อยๆ มันต้องเต็มธรรมดาของมัน นี่พุทโธๆๆ ของเราไป

แต่พุทโธๆๆ ของเราไป แล้วจิตใต้สำนึกมันจะเป็นอย่างนั้น มันจะเป็นอย่างนี้ จิตใต้สำนึกนี่เห็นไหม ทั้งๆที่ว่าจิตนี้คิดได้อย่างเดียว ขณะพุทโธๆ คิดพุทโธอยู่นี่ มันควรจะคิดอย่างอื่นไม่ได้แล้ว แต่คำว่าพุทโธๆ ถ้าทำพุทโธชัดๆ เรานึกพุทโธครั้งแรกเลย พุทโธจะชัดเจนมาก ทำอย่างอื่นไม่ได้เลย พุทโธๆนี่ แต่พอพุทโธๆไปนี่ มัน พุทโธจนชำนาญไง

เหมือนเราทำอะไรก็แล้วแต่ เราชำนาญแล้วนี่ เราจะนึกอย่างอื่นได้เลย แต่ถ้าเราทำสิ่งใดก็แล้วแต่ เราระวัง เรากลัวมันจะผิดพลาดนี่ เราจะตั้งใจ เราจะจับสิ่งนั้นด้วยความมั่นคงเลย แต่เราทำบ่อยครั้งเข้าเห็นไหม จนมันเป็นสัญชาตญาณแล้ว เราก็หันไปทางอื่นนะ เหมือนพุทโธๆนี่ จิตใต้สำนึก จิตใต้สำนึกเห็นไหม มันไปคิดอย่างอื่นได้ไง

พอมันไปคิดอย่างอื่นขึ้นมาเห็นไหม เพราะคำว่าจะเกิดสมาธิ จะเกิดกำลังขึ้นมานี่ มันไม่เกิด มันไม่เกิดเพราะอะไร ไม่เกิดเพราะเรานี่ กิเลสนี่มันซ้อนเข้ามา ซ้อนๆ ระหว่างนี้เรานึกพุทโธ จิตนี้หนึ่งเดียว คิดสิ่งใด ถ้าทำสิ่งใด ต้องอยู่หนึ่งเดียว แต่เราสักแต่ว่าทำ พอสักแต่ว่า คำว่าสักแต่ว่าต้องมีเราอีกคนหนึ่ง เพราะมันเป็นสักแต่ว่านี่ มันเป็นข้างนอกใช่ไหม

นี่พอสักแต่ว่าปั๊บนี่ จิตอันนี้มันถึงไม่เป็นไปไง แต่ถ้าเรามั่นคง มันพุทโธๆๆๆๆ นี่ เราจะไม่สักแต่ว่า เราทำด้วยความตั้งใจ พอทำตั้งใจ กะว่าจะไม่ลงอีกนะ นั่นล่ะมันจะลง แต่ทำสักแต่ว่านี่ไม่มีลงเลย เพราะสักแต่ว่านี่มันแบ่งสภาวะออกเป็นหลายๆอย่างแล้ว โน้นก็เป็นอย่างนี้ นี่ก็เป็นอย่างนี้ไป มันก็เลยแตกความเป็นไป

แต่ถ้าพอเราตั้งสติของเรา หรือเราปล่อยวางแล้วนี่นะ จะนอนลง มันวูบลงเห็นไหม ความวูบลงอย่างนั้นนะ มันติดใจ มันตั้งใจ รู้สึกอย่างเดียว แล้วตื่นเต้นมาก ความตื่นเต้นนี่มันทำให้เราเห็น นี่ปัจจัตตัง สันทิฏฐิโก เวลาจิตมันจะเป็นไปนะ ถ้ามันลง มันลงของมันเองนี่ พอมันลงของมันเอง มันลงของมันเองไม่ได้ สิ่งที่เวลาเรา พุทโธๆก่อน เห็นไหม แล้วเราจะนอน

ถ้าเปรียบเทียบเหมือนกับพระอานนท์เห็นไหม พระพุทธเจ้าบอกว่า

“ถ้าเรานิพพานแล้ว อานนท์ เธออย่าเสียใจไปเลย อย่าร้องไห้ไปเลย”

เพราะพระอานนท์บอกว่า เราเป็นพระโสดาบัน พระพุทธเจ้าจะปรินิพพานแล้วนี่ พระโสดาบันยังต้องมีผู้ชี้นำต่อไป แล้วจะให้ใครชี้นำ

“อานนท์เธออย่าเสียใจไปเลย ถ้าเราตายไปแล้วนี่ อีก ๓ เดือนข้างหน้าเขาจะมีสังคายนา เธอจะสำเร็จตอนนั้น”

นี่ก็จะนั่งเอาเลยนะ พระพุทธเจ้าจะให้สำเร็จคืนนี้ พรุ่งนี้จะสังคายนาแล้ว ตั้งใจเต็มที่เลย จนไม่ไหวนะ คนทำงานข้างในมันจะเหนื่อยมาก พอเหนื่อยมาก ก็ขอพักก่อน ขอพักก่อนก็ปล่อยหมดเลยเห็นไหม พอปล่อย นี่เวลาพระอานนท์สำเร็จ ไม่สำเร็จในท่า ยืน เดิน นั่ง นอน ระหว่างนั่งจะนอนเห็นไหม “ระหว่าง” ระหว่างก็ปล่อย นี่ก็เหมือนกัน พุทโธๆๆ นี่ เราจะนอนเราปล่อย พอปล่อยปั๊บนี่ ไม่มีเรา ไม่มีสิ่งต่างๆเข้าไปคาดหมาย ไม่ใช่สักแต่ว่า หรือจะเป็นอย่างที่เราต้องการ มันเป็นสัจจะของมันเอง

สัจจะเพราะเหตุใด สัจจะเพราะเราพุทโธ มาสมดุลพอดีไง ความพอดีสมดุลที่มันจะเป็นไปไง พอสมดุลที่จะเป็นไป พอเราปล่อยนี้ พออย่างนี้ปั๊บนี่ พอฟังนี่ปั๊บนะ นี่ พุทโธๆๆ แล้วทิ้งเลยนะ เดี๋ยวจะสมดุล ไม่มีทางล่ะ กิเลสมันร้ายนักนะ กิเลสมันอยู่กับเรา ฉะนั้นพุทโธๆๆ นี่ พอใจมัน

นี่ไง ทเวเม ภิกขเว ทางที่ภิกษุไม่ควรเสพทั้งสองส่วน กามสุขัลลิกานุโยค

อัตตกิลมถานุโยค ความเป็นกลาง กลางมันเป็นอย่างนี้ กลางคือความสมดุลของมันไง แต่ความสมดุลนี้ต้องมีสติปัญญานะ ไม่ใช่สมดุลที่มันจะเป็นของมันเอง ความเป็นของมันเองไม่ได้ แต่ที่มันเป็นของมันเอง เพราะมันทำมาแล้วไง ธรรมทั้งหลายมาแต่เหตุ เพราะมีเหตุสมดุลของมัน มันถึงเป็นไปโดยเหตุนั้น

มันไม่มีอะไรหรอก ไม่มีสิ่งใดที่จะเป็นไปเองได้ มันต้องมีเหตุมีผล มันต้องมีเหตุมีปัจจัย มันถึงจะเป็นอย่างนั้นได้ แต่ถ้าเป็นอย่างนั้น ถ้าเป็นตามความจริงมันเป็นอย่างนี้ เห็นไหมที่ว่าปฏิบัติจริง ตามความรู้จริง ข้อเท็จจริงมันเป็นอย่างนี้ ข้อเท็จจริงในขั้นสติจะรู้สติ ถ้าสติเราดีนี่ โอ้โฮ ทำไมเราทำอะไรมันกระฉับกระเฉง มันรู้ไปหมดเลยนะ พอสติเราเผลอนะ ทำอะไรมันผิดพลาดไปหมด นี่มันรู้เพราะมันทำของมันเองน่ะ ขณะรู้เองก็ยัง แล้วมันมาอย่างไร สติเวลามันสมบูรณ์ ทำอะไรกระฉับกระเฉงไปหมด ถูกต้องไปหมดเลย เป็นเพราะอะไรล่ะ แล้วเวลาตั้งใจทำแล้วทำไมมันผิดพลาดไปหมด มันเป็นเพราะอะไรล่ะ เห็นไหม ถ้าสติมันสมบูรณ์ของมัน เพราะสติสมบูรณ์ นั่นเป็นข้อเท็จจริง แต่พอสติของเรา เราตั้งของเรานี่ มันเป็นสติที่เราคิดขึ้นมากันเองไง

ถ้ามันสมดุลของมัน มันจะเกิดของมัน นี่ปัจจัตตัง รู้ทั้งนั้น ถ้าเป็นสมาธิก็ต้องรู้สมาธิ ฉะนั้นเหตุที่มันลงไป มันมีความตื่นเต้น มีความเห็น นั่นล่ะมันสัมผัส นี่ไงการปฏิบัตินี่ ถ้าจิตเราเป็นได้ขนาดนี้ จิตเราถ้ามันสงบบ่อยครั้ง บ่อยครั้ง จนเป็นสมาธิ พอเป็นสมาธิขึ้นมานี่ เรารู้เลยว่าเป็นสมาธิเป็นอย่างไร ไม่เป็นสมาธิเป็นอย่างไร แล้วเป็นสมาธินี่ สมาธิอย่างเป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ สมาธิที่หยาบ ที่ละเอียดแตกต่างกันอย่างไร แล้วในขณิกะก็ยังมีนะ เพราะอะไร

เพราะวุฒิภาวะของจิต วุฒิภาวะของจิตนี่นะ ขนาดที่เกิดปิตินี่นะ รู้ถึงวาระจิตได้เลย นี่เวลาจิตมันปล่อยมันวางขนาดไหน รู้อย่างนี้ มันรู้แบบนี้ที่ว่าญาณๆ หยั่งรู้ รู้โดยกำลังของจิตไง มันไม่ได้รู้ด้วยอริยสัจ มันไม่ได้รู้ด้วยปัญญา ถ้ารู้ด้วยปัญญานี่ ญาณอย่างนี้ ญาณคือกำลังของจิต กำลังที่มันมีอยู่แล้วใช่ไหม แล้วออกใช้ปัญญาขึ้นมาเห็นไหม นี่ญาณทัสนะ มันมีกำลังของจิตด้วย แล้วทัศนะคือสติปัญญา ทัศนะ ทัศนะที่ความเห็น แต่ความเห็นของจิตที่เป็นสมาธิไง ไม่ใช่ความเห็นของสามัญสำนึกอย่างเรานี่

ความเห็นสามัญสำนึกนี่ มันไม่มีกำลังพอ มันไม่มีสมาธิรองรับ ความเห็นของเรามันถึงไม่ลึกซึ้งไง มันเลยเป็นโลกียปัญญาเห็นไหม แต่ถ้ามันมีสมาธิรองรับนะโอ้โฮ ทำไมปัญญาอย่างนี้ไม่เคยเกิดเลยล่ะ เอ๊ะ ทำไมมันมีมุมมองแปลกๆเนอะ ทั้งที่เกิดกับเราก็ยังงงอีกนะ พอเกิดขึ้นมาจากจิต งง พองงขึ้นไปมีสติปัญญา อื้ม คราวหน้าต้องทำเหตุปัจจัยให้ดี

เริ่มครั้งแรกมันจะแปลกใจทุกคน แต่พอครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓ เพราะอะไร มันจะตทังคปหาน มันปล่อยวางชั่วคราวๆๆ แต่การปล่อยวางชั่วคราวนี่เป็นการฝึกใจ ฝึกให้จิตมันออกใช้ญาณทัศนะเห็นไหม นี่อาสวักขยญาณ ญาณที่จะชำระกิเลส การชำระกิเลสนั้นเราจะรู้คนแรกนะ เขาบอกว่าต้องพระพุทธเจ้าตัดสิน คนอื่นตัดสินไม่ได้ ไม่ใช่หรอก

เราตัดสิน สัจธรรมตัดสิน พอสัจธรรมตัดสินแล้วนี่ เราไปหาพระพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าถึงบอกว่า ใช่หรือไม่ใช่ แต่มันไม่ใช่ตั้งแต่ทีแรกแล้วล่ะ มันไม่ใช่ ส่วนใหญ่มันจะไม่ใช่มาก่อน ไม่ใช่มาก่อนเพราะว่าอะไร เพราะว่าเวลามันปล่อยวางๆ นี่ การปล่อยวางนี่ โอ้โฮ คนที่จะเป็นความจริงขึ้นมาได้ มันจะมีประสบการณ์ขึ้นมาก่อน เหมือนเราเป็นแม่ครัว หรือเราทำอาหาร อาหารนี่เราฝึกครั้งแรกนี้มันจะไม่สมดุลหรือว่ารสชาติไม่กลมกล่อมเหมือนกับเราทำบ่อยครั้งเข้าๆ มีความชำนาญเข้า เราทดสอบแล้วเราใช้มีความชำนาญของเรา เราคอยสังเกตของเรา

จิตก็เหมือนกัน เวลามันใช้ปัญญาชำระ มันปล่อยวางขึ้นมาเป็นครั้งเป็นคราวขึ้นมานี่ มันมีผลตอบรับ อื้อฮือ ! มันสุขมาก มันปล่อยวางมาก มันมีความสุข มีความลึกซึ้ง แล้วครั้งต่อไปๆ ถ้ามันลึกซึ้งปั๊บ ครั้งต่อไปมันจะจืดแล้ว จืดเพราะว่ามันทำไม่ค่อยได้ เพราะพอมันลึกซึ้งปั๊บ หรือว่ามันมีความรู้สึกที่ดีมากนี่ กิเลสมันไหวตัวแล้ว กิเลสมันขวางมึงแล้ว พอกิเลสขวางมันก็จะอ้างเล่ห์ไปแล้ว นี่เป็นธรรมะ ธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างนั้น ทำอย่างนี้ผิดแล้วล่ะ อู้ย อย่างนี้มันไม่ถูกต้องล่ะ ถ้าถูกต้องมันจะเป็น... อันนี้เป็นการคาดหมาย ถูกหรือไม่ถูกนั้น มันเกิดจากเรา ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้น เราทำไปบ่อยครั้งเข้า ให้มันเป็นความจริงของเรา ปฏิบัติไป

สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน ในสมถะก็มีวิปัสสนา ในวิปัสสนาก็มีสมถะ เห็นไหม ในวิปัสสนาไม่มีสมาธิ ก็เกิดวิปัสสนาไม่ได้ ในสมถะไม่มีปัญญา สมถะ อันนี้เป็นสมถะนะ พุทโธๆๆนะ

ถ้าจะพุทโธๆให้มันเป็นตามจริงนะ อัดเทปไว้ก็ได้ เปิดเทปน่ะ พุทโธๆๆๆ เปิดเทปไปเลย เทศน์ทีพุทโธ เรานั่งเฉยนะ ไม่ได้เรื่องหรอก พุทโธๆเห็นไหม จะบอกว่าถ้ามันจะเป็นจริง ให้มันเป็นความจริงของเรา แล้วทำตามความจริงของเรา มันจะเป็นประโยชน์กับเรา นี่พูดถึงคำว่าพุทโธนะ มันตื่นเต้นมาก แล้วหลวงปู่เจี๊ยะ บอกว่าให้จับว่าผู้รู้พุทโธ คำว่าพุทโธๆนี่ ถ้าเราไม่นึก ไม่วิตกวิจาร นึกขึ้นมา วิตกขึ้นมา มันถึงมีพุท แล้ววิจารก็ว่าพุทหรือโธ

ฉะนั้นพอมันสงบเข้ามา มันก็จับไปอยู่ผู้ที่จับพุทโธนั่นแหละ จิตนี่เกาะพุทโธไว้ พอเกาะพุทโธๆ ไว้ พอถึงที่สุดแล้ว ถ้าอัปปนาสมาธินี่ มันเป็นผู้ที่รู้พุทโธ เพราะ ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า พุทโธๆนี่มันเป็นคำบริกรรม พอถึงที่สุดมันจะบริกรรมไม่ได้เลย ถ้าบริกรรมได้มันยังเคลื่อนไหวอยู่ มันลงสมาธิลึกไม่ได้ ถ้าสมาธินี่อย่าง พุทโธๆๆนี่เห็นไหม มันพยามทำระหว่างสัญญาอารมณ์กับจิตให้เป็นหนี่งเดียว เพราะมีจิต มันถึงมีสัญญาอารมณ์เป็นของคู่ ของคู่นี่มันจะมีถูกและผิดอยู่ตลอดเวลา สุขกับทุกข์ ดีกับชั่ว เห็นไหม เดี๋ยวดีเดี๋ยวชั่วอยู่ตลอดเวลา พุทโธๆจนเป็นหนึ่ง เป็นหนึ่งนั่นคือสมาธิ ฉะนั้นพอถึงสมาธิ ที่ว่าสอนว่าให้จับพุทโธ หรือกรณีของเวทนา ให้รู้ว่าใครเป็นผู้จับเวทนาเห็นไหม พอกลับไปที่จิต เวทนาดับหมดเลย

ถ้ากลับไปที่จิตนะ พอจิตมันปล่อย เวทนาสักแต่ว่าเวทนา จิตเป็นจิต ถ้าเวลาจับพุทโธเห็นไหม ผู้ที่จับพุทโธ พระท่านสอนว่าให้จับว่าผู้รู้พุทโธ พุทโธๆ นี่แหละ มันเหมือนหนามยอกเอาหนามบ่ง เราจะจับจิตมันก็ต้องอาศัยจิตนี่เกาะพุทโธๆเข้าไปสู่จิต เราจะจับเวทนา เพราะพอมาจับเวทนามันก็ปวด

ถ้าผู้ที่จับเวทนา พิจารณาเวทนา ย้อนกลับไปสู่จิต เวทนาก็ดับ นี่มันเข้าไปสู่ตัวมันเอง โดยข้อเท็จจริง สัมมาสมาธิคือตัวจิต เข้าไปสู่จิต เข้าไปสู่ตัวเรา แล้วพูดอะไรไม่ได้ อื่อ อื่อ นั่นคือสัมมาสมาธิ

๒. บางครั้งเวลาไปกราบครูบาอาจารย์ เมื่อประสบเหตุการณ์...

ไอ้อย่างนี้มันกิเลสมันบังเงา เวลามันแลบออกมานี่ ส่วนใหญ่นี่มันเป็นหมดนะ โดยกิเลสของเรา โดยตัวตนของคนทุกๆคน จะคิดว่าตัวเองนี่จะดีกว่าเขาตลอด ฉะนั้นพอไปเห็นสิ่งใด มันยอมรับกันไม่ได้ แต่ถ้าเราอาศัยอยู่ด้วยกันใช่ไหม อย่างเช่นศีล จะรู้ว่าผู้ที่มีศีลนี่ อยู่ด้วยกันนานๆ จะเห็นหมด จริตนิสัย

ผู้ที่เป็นธรรมเห็นไหม เวลาเป็นธรรมนี่ จิตเราจะมีความรู้ขนาดไหน เวลาเราไปปรึกษาครูบาอาจารย์ ท่านจะชี้นำเราได้มากกว่านั้น เห็นไหม เวลาหลวงตา ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า เวลาปฏิบัติไปขนาดไหน แล้วรู้ได้ขนาดไหนนะ เพราะว่า หลวงตานี่ท่านเรียนถึงเป็นมหา ท่านบอกสิ่งใดก็แล้วแต่นี่ เพราะคำว่าวุฒิภาวะของมหานี่ มันเรียนทฤษฎี เรียนพระไตรปิฎก เรียนธรรมพระพุทธเจ้าไว้หมดแล้ว

ทีนี้เวลาเราปฏิบัติไปนี่ เรียนไว้หมดแล้ว ทีแรกมันยังไม่สงสัยนะ เอ๊ะ นิพพานมีหรือเปล่า มันเป็นความจริงรึเปล่า ทั้งๆที่เราเรียนอยู่นะ แต่พอเวลาปฏิบัติปั๊บมันเป็นความจริงแล้ว เพราะเราเข้าไปสู่ข้อเท็จจริง พอไปถึงความจริง เอ๊าะ! เอ๊าะ! พอเอาะทีไรก็คิดถึงพระพุทธเจ้าทุกที พระพุทธเจ้าพูดไว้หมดแล้ว พระพุทธเจ้าได้บอกหมดแล้ว

นี่พอยิ่งรู้ขนาดไหนนะ มันยิ่งซึ้งๆๆๆสิ่งที่บอก หลวงปู่มั่น หลวงตาท่านพูด เทศน์ประจำ

“หมู่คณะจำคำพูดผมไว้นะ ถ้าใครปฏิบัติมาถึงจุดนี้นะ ถ้าผมตายไปแล้วจะมากราบศพ”

หลวงปู่มั่นก็เหมือนกัน

“การแก้จิตมันแก้ยากนะ การแก้จิตมันแก้ยาก ผู้เฒ่าจะแก้ว่ะ เวลาถ้าผู้เฒ่าตายแล้วคนแก้ๆ ยากนะ”

ถ้าจิตเรายังเข้าไม่ถึงตรงนี้ มันก็เหมือนสัญญาอารมณ์กับจิต มันเป็นของคู่ ถูกหรือผิด ชั่วหรือดี มันงงไปหมด มันก็เลยสงสัย ต่อรองกันนะ ระหว่างกิเลสกับธรรม ระหว่างความจริงกับความปลอมในใจ มันต่อรองกันตลอดเวลา จริงไม่จริง ถูกไม่ถูกนี่ มันจะต่อรองตลอดเวลา

แต่ถ้าเราพยามทำเข้าไป พอเราไปเจอ โป๊ะ! นี่ไง พอเจอความจริงปั๊บ มันลง คำว่าลงใจเห็นไหม คำว่าลงใจ มันถึงจะไม่เกิดกรณีที่ว่า พอประสบเหตุการณ์บางอย่างที่เรายังไม่ทราบความจริงอย่างไร แต่แว็บหนึ่งความคิดก็ไปวิจารณ์ครูบาอาจารย์เห็นไหม โดยที่เราไม่เจตนา เราไม่เจตนาหรอก เวลากิเลสมันแว็บเราไม่มีเคยเจตนาเลย แต่มันแว็บมาก่อน มันเหมือนกับเราเจออะไรล่ะ เหมือนคนเห็นไหม สถานะเห็นไหม พอมองคนอื่น อูย ต่ำต้อยกว่าเรา ดีกว่าเรา คือมันจะขี่เขาตลอดเวลา นี่กิเลสของเราเห็นไหม

แต่ถ้าเราปฏิบัติไป พอปฏิบัติอยู่ด้วยกัน ความเคารพบูชามันเกิด เกิดเพราะอะไร เกิดเพราะเราจะรู้ได้อย่างไรก็แล้วแต่ โห่ เรารู้นะ พอจิตสงบ หรือมีปัญญาขึ้นมารอบหนึ่งนะ ทุกคนนะ โอ๊ย มันละเอียดมาก โอ๊ย ปัญญามันสุดยอดเลย อาจารย์ท่านนั่งหัวเราะเลยนะ

ไอ้อย่างนี้ท่านเป็นมาก่อน แล้วไม่ใช่เป็นนะ ท่านเป็นมามากกว่านี้อีก เป็นอย่างนี้ปั๊บมันแค่อนุบาลนะ แค่ ก.ไก่ ก.กา มันยังไม่ทำอะไรเลยนะ เดี๋ยวมึงก็เจอมากกว่านี้อีก ไอ้ที่ว่า อูย มันยอด มันยอดนี่ เดี๋ยวมึงจะรู้ แล้วท่านจะบอกไปเรื่อยๆ บอกไปเรื่อยๆ นี่เพราะอย่างนี้ปั๊บ เราไปเจออย่างนี้เข้า เราไปอยู่กับครูบาอาจารย์อย่างนี้เข้า ครั้งที่หนึ่ง มันก็ เอ๊ะ ทำไมท่านรู้ ครั้งแรกๆนะ มันก็ยัง ฮึ ! เอ๊ อาจจะฟลุคก็ได้นะ พอทำไปๆ พอทำไปแล้วนี่ปัญญาเราจะพัฒนาขึ้น

เหมือนเราทำงาน หน้าที่ตำแหน่งเราเล็ก ความรับผิดชอบเราก็น้อย ตำแหน่งหน้าที่การงานเราสูงขึ้นเรื่อยๆ ความรับผิดชอบเราก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งเราเป็นผู้บริหารองค์กรนะ รับผิดชอบทั้งหมดเลยนะ จิตเวลามันพัฒนาขึ้นมาแต่ละชั้นแต่ละตอน จากเล็กน้อยนะ ฝึกงาน ทำใจสงบมันแค่ฝึกงาน จะรับเข้ามาทำงานเฉยๆ มันยังไม่ได้ทำงานเลย พอจิตสงบแล้วนะ ออกวิปัสสนา นั่นนะแค่ทดลองงาน ๓ เดือน ทดลองงาน ยังไม่รับนะ ทดลองงานก่อน

มึงภาวนาได้ ไม่ได้ ปัญญามึงต้องฝึกก่อน พอมึงชักฝึกปัญญาได้ อื้ม จะรับเข้าทำงาน รับเข้าทำงานก็วิปัสสนาเป็นไง วิปัสสนาเป็นหรือไม่เป็น ถ้าไม่เป็นกูลองงานมึงก่อน อาจารย์นี่รู้หมดล่ะ เพราะอะไร เพราะถ้าอาจารย์จะเป็นอย่างนี้ อาจารย์ต้องผ่านประสบการณ์อย่างนี้มา

แล้วจิตเกือบทุกดวง เว้นไว้แต่ขิปปาภิญญาเท่านั้น ขิปปาภิญญานี่ อาสนะเดียว พระอรหันต์เลย แต่ก็ต้องสร้างบุญญาธิการมามหาศาลกว่าจะเป็นอย่างนี้ได้นะ ทุกข์ยากมาไม่รู้ขนาดไหน ไอ้พวกเรานี่ลุ่มๆดอนๆ ห้าสิบห้าสิบนี่ ดีก็ครึ่งหนึ่ง ชั่วก็ครึ่งหนึ่ง มึงก็ต้องไถไปอย่างนี้ เวไนยสัตว์ มันต้องถูต้องไถกันไป ถ้าต้องถูต้องไถกันไป นี่สิ่งที่ต้องถูต้องไถกันไป มันอยู่ที่ประสบการณ์ อยู่ที่สัจจะความจริง ถ้าทำจริงมันทำได้ มันทำได้ ทำของมันขึ้นมา แล้วเหตุการณ์อย่างที่เกิดขึ้นมานี้ มันจะมีทุกคน

พวกที่นั่งอยู่นี่นะ ตอบปัญหานี่จะบอกน่าเบื่อ ปัญหานี่ตอบทุกวันเลย ไอ้ที่ว่าจิตมันแว็บคิดเรื่องนู้น แว็บคิดเรื่องนี้ ตอบทุกวันนะ แล้วโดยหลักก็อย่างนี้ ในเว็บไซต์ไปเปิดสิ หลวงพ่อตอบซ้ำๆ อีกแล้ว ตอบซ้ำๆ แต่คนถามคนละคน แล้วคนถามอีกคนมาถามนี่ ถ้าไม่ตอบก็ แหม ลำเอียง แต่ตอบแล้วนะ

โดยหลักนะ ถ้าเราจับหลักได้หลักก็เป็นอย่างนี้ แต่เหตุแต่ผลที่มันเป็นไป เหตุผลของคน นี่ยังน้อยนะ บางคนหนักกว่านี้เยอะมาก บางคนหนักกว่านี้ แล้วมาส่วนใหญ่เป็นอย่างนี้หมดเลย ทั้งๆที่ตั้งใจนะ ทั้งๆที่ครูอาจารย์ของเรา เราเคารพครูอาจารย์ของเรามาก

แต่คำพูดของครูอาจารย์นี่ มันมีลูกล่อลูกชน เวลาพูดไปนี่ หนักทั้งหมดไปก็ โอ้โฮ หนักเกินไป พอหนักขึ้นไปปั๊บมันก็จะผ่อน พอผ่อนปั๊บ พอผ่อนให้เราคิดตาม พอคิดตาม พอขยับมาเราซัดอีกนี่ พอซัดอีกเห็นไหม นี่ มีลูกล่อลูกชน ไอ้ลูกศิษย์ก็คิดแล้ว จริงรึเปล่า มีอยู่คำหนึ่งนี่ ขี้โม้รึเปล่า ไอ้ขี้โม้นี่ เจอบ่อยมากเลย โม้ไม่โม้นี่ มันอยู่ที่เรากระทำนะ

ฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นมาอย่างนี้ มันเป็นไปได้ทั้งนั้น ทีนี้เราเป็นไปได้ทั้งนั้นนี่มันจะย้อนกลับ ย้อนกลับว่าเรารักษาได้มากได้น้อยแค่ไหน ถ้ารักษาจิตใจของเรา จิตของเรา ความรู้สึกของเรา เราเจ้าของต้องเป็นคนรักษาเอง ถ้ารักษาเองนะ พระพุทธเจ้าสอนดังนี้ อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน จิตจะแก้จิต แล้วจิตของใคร ปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า ก็ชำระอวิชชาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า ปัญญาของพระสารีบุตรก็แก้ไขกิเลสของพระสารีบุตร แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระกัสสปะ ปรินิพพานไป ก็เอาสมบัติของแต่ละองค์ไปเท่านั้น

เวลาพระอานนท์ร้องไห้นะ เพราะพระพุทธเจ้าจะนิพพานแล้ว แล้วพระอานนท์ยังต้องการ

“อานนท์ เราไม่ได้เอาสมบัติของใครไปเลยนะ เราเอาแต่ของเราไปเอง ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม”

ผู้ใดปฏิบัติสมควรแก่ธรรม แต่ในปัจจุบันนี่เราปฏิบัติธรรมด้วยความด้นเดา คาดเดา คาดหวัง คาดหมาย ไม่มี ! ไม่มีหรอก ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ผู้นั้นจะได้สมบัติของเขาไป

นี่ก็เหมือนกัน เราปฏิบัติของเรานี่มันสมบัติของเรา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าสอนที่นี่ พุทธศาสนาสอนที่นี่ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ตนต้องฉลาดกับตน เวลามีสติต้องสติของเรา ปัญญาต้องเป็นปัญญาของเรา แล้วเวลาชำระกิเลส มรรค เวลามรรคชำระกิเลส มันก็แล้วแต่กิเลสแต่ละบุคคล เพราะว่าเวลากิเลสหยาบ กิเลสหนา กิเลสบางต่างๆ แต่ละคนมันไม่เท่ากัน พอไม่เท่ากันนี่ มรรคมันต้องสมดุลกับเหตุอันนั้น

ถ้าเราเป็นคนหยาบคนหนามากเลยนี่ เราจะเดินจงกรม นั่งสมาธิเป็นวันเป็นเดือน จิตจะไม่ลงเลย แล้วจิตลงแต่ละทีนะ ลงก็กระด้างมาก พอลงเสร็จแล้ว พอมันถอยมาแล้วนี่ ทีนี้จะเอาเข้าอีกก็ยากมาก แล้วกว่าจะเข้าได้ กว่าจะออกได้ กว่าจะวางพื้นฐานได้ กว่าจะเกิดปัญญาได้ เกิดปัญญานะ ภาวนามยปัญญา ถ้าปัญญามันเกิด ภาวนามยปัญญากับโลกียปัญญามันต่างกันอย่างไร ศึกษามานี่ ๙ ประโยค นี่โลกียปัญญาทั้งหมดเลย เพราะเกิดจากสามัญสำนึก เกิดจากท่องตำรา เกิดจากท่องปัญญาขึ้นมานี่ มันเป็นปัญญาจำนะ มันจะฆ่ากิเลสได้อย่างไร

พระพุทธเจ้าสอนไว้น่ะ มีดๆๆๆ พับเลยนะมีด นี่มันกระดาษ กระดาษพับเป็นมีดมันไม่ใช่มีดหรอก มีดมันต้องเขาตีเหล็กมาเป็นมีด สติมันต้องเกิดมาจากสติ ปัญญาก็เกิดจากปัญญา แล้วปัญญาอย่างนั้นมันเกิดขึ้นมานี่ มันใช้ประโยชน์ได้ แล้วใช้ประโยชน์ได้เฉพาะคน ถ้าของเขา เราไปเอาของเขามาใช้ไม่ได้หรอก ของใครของมัน ไม่มีใครจะมาใช้แทนใครได้หรอก

ครูอาจารย์ท่านบอก เห็นไหม ดูสิ หลวงปู่มั่น หลวงตา ท่านบอกเลยนะ ถ้าใครปฏิบัติไปถึงจุดนี้จะมากราบศพผม หลวงปู่มั่นบอกจิตมันแก้จิต ผู้เฒ่าจะแก้ว่ะ ถ้าผู้เฒ่าไม่อยู่ แก้ไม่ได้นะ คนไม่เคยใช้มีด คนไม่เคยฟันของ ไม่เคยฟันสิ่งใดเลย ไม่มีประโยชน์อะไรเลย ไม่มีประโยชน์อะไรเลย

แต่ถ้าคนมีจริง เห็นจริง มันฟันของมันได้ แล้วเราฟันของเราได้ ขาดไปแล้วนี่ มึงทำอย่างนี้สิๆ ไอ้นั่นมันยังวิ่งหามีดไม่เจอ มันยังหามันไม่เจอนะ แต่ไอ้คนฟัน ฟันเสร็จไปแล้ว ครูบาอาจารย์นี่ ท่านฟันเสร็จไปแล้ว ท่านเอามีดไปเก็บไว้แล้ว ท่านไปนอนพักสบายแล้ว ไอ้เรายังตีมีดไม่เสร็จเลย แล้วจะเอาอะไรไปฟัน

อตฺตา หิ อตฺตาโน นาโถ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน แต่ต้องใช้ครูบาอาจารย์นะ ต้องอาศัยครูบาอาจารย์เป็นที่พึ่ง หลวงตาท่านพูดบ่อยนะ ถ้าไม่มีอาจารย์จะปฏิบัติมาได้อย่างไร หลวงตาท่านถึงเคารพครูบาอาจารย์มาก ท่านพูดเองนะ ถ้าไม่มีภาพหลวงปู่มั่น ผมก็สมมุติขึ้นมา นึกภาพขึ้นมาแล้วกราบไป มันเห็นบุญเห็นคุณกันขนาดนั้น

เวลาพระพุทธเจ้าจะตรัสรู้นะ ๔ อสงไขย ๘ อสงไขย ๑๖ อสงไขย ต้องพระพุทธเจ้าเท่านั้นกับพระปัจเจกพุทธเจ้า ถึงจะสร้างขึ้นมาได้เอง สาวก สาวกะ ถ้าไม่มีใครชี้นำนะ มันก็เหมือนกับวัวพันหลัก หมุนอยู่นั่นนะ แต่เพราะเราได้ยินได้ฟังมา เวลาหมุน เวลามันงง เวลาปัญญามันเกิด อย่างเช่น เราใช้ปัญญาของเรามาก เราบริหารจัดการเรื่องต่างๆ รับผิดชอบ แล้วเราแก้ไม่ตกนะ โอ้โฮ ปัญญามันจะหาทางออก หมุนติ้วๆๆ เลย หาทางออกไม่เจอ หมุนอยู่นั่นนะ ก็หาทางออกไม่เจอ นี่วัวพันหลัก

เวลาหลวงตาท่านพูดเองเห็นไหม เวลาจิตมันสว่างหมดเลย ทุกอย่างสว่างหมดเลย พอสว่างหมดเลย ธรรมะมาเตือน กลัวจะหลงไง ความสว่างไสวเกิดจากจุดและต่อม ความสว่างไสวมันมีที่มาที่ไปของมัน จิตที่สว่างหมด มันสว่างมาจากไหน มันสว่างมาจากอากาศเหรอ มันสว่างเองได้เหรอ มันต้องมีเหตุมีผลสิ พอธรรมะเตือนพั้บ นี่ แสงสว่างนี่มาจากจุดและต่อมของจิต

ท่านบอกเลย ท่านไปหาหลวงปู่มั่นๆ จะชี้เลย ไม่มีใครก็หมุนอยู่นั่นนะ หมุนอยู่นั่นนะ งงไง งงอยู่ ๘ เดือน หมุนไปหมุนมา ก็กลับมาที่จุดและต่อมนั่นนะ ย้อนกลับมาที่ตัวมันนั่นนะ แล้วจะย้อนกลับอย่างไร

แต่ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ท่านเคยทำแล้วนะ หมุนกลับมาเลย นี้ของพวกเรานี่ เวลาท่านเทศน์ มันได้ยินได้ฟังก็จับเป็นคติไว้ เวลาถ้าเราเจอปั๊บ ย้อนกลับเลย ถ้าเราเจอ เราจับได้ ย้อนกลับเลย ห้ามออก ห้ามไปข้างนอก พอเจอปั๊บ วิ่งเข้าข้างในอย่างเดียว จะเป็นไม่เป็นก็ทวนกระแส จะเป็นไม่เป็น เราก็พยามสาวตัวเองขึ้นสู่ที่สูง

อย่างเช่นหน้าผาอย่างนี้ มันมีเชือกผูกออกมา จะเป็นไม่เป็น กูต้องสาวกูขึ้นสู่ที่สูง ไม่ปล่อยให้ตัวเองไหลลงไปต่ำ ถ้ามีสติสัมปชัญญะ เห็นไหม นี่ สาวก สาวกะ ได้ยินได้ฟังอย่างนี้ไง อย่างเช่น พระไตรปิฎก เราก็ได้ยินได้ฟังใช่ไหม ทวนกระแสๆ เอ้า ก็ทวนกระแสไง กระแสลมนู่น ลมมันลงใต้ ก็กูขึ้นเหนือแล้ว มันทวนกระแส มันส่งออกแล้วเห็นไหม

ถาม : ในปัญหานี้มีอยู่ เขาบอกพิจารณากายนอก กายในต่างกันอย่างไร

หลวงพ่อ : พิจารณากายนอก เห็นไหม ดูสิ อสุภะนี่ ไปเที่ยวป่าช้านี่ เขาเรียกกายนอก กายในก็กายของเรา แล้วพอจิตละเอียดเข้าไปเห็นไหม กายนอกนะ มันร่างกายกับจิตใจ นี่ มันละเอียดเป็นชั้นๆ เข้าไปนะ

ถ้าคนภาวนา พูดคำเดียวจะรู้เลย ถ้ากายนอกเห็นไหม กายนอกก็เวลาไปเที่ยวป่าช้า นั่นอยู่กายข้างนอก แล้วถ้ากายนอกเราจะพิจารณาได้อย่างไร กายนอกไปเทียบในอภิธรรมนะ ที่ว่าเราไปเที่ยวป่าช้า เราใช้จิตสงบแล้ว พิจารณากาย หลับตา เห็นภาพนั้นไหม เห็นภาพนั้นนะ มันติดมา ถ้าไม่เห็นภาพนั้น พิจารณากายนอก กายนอกเราไปดูกายนอก ดูกายนอกแล้วหลับตาลง ภาพมันติดที่จิตไหม

ถ้าจิตมันติดภาพมัน นั่นนะมันเกิดแล้ว นั่นเกิดการเห็นกาย เห็นกายต้องจิตเห็น แต่ถ้าเป็นกายในล่ะ เอ้า กายในกายเห็นไหม ถ้ากายในกายมันคนละชั้นแล้ว คนละชั้นเพราะอะไร เพราะโสดาบันพิจารณากาย พอพิจารณากายไปแล้วนี่ มันหมดแล้ว พิจารณากายไปแล้ว พิจารณากายอีกทีก็เป็นสกิทา พิจารณากายไปแล้วนะอสุภะ อสุภะ พิจารณาอสุภะนั้น นั่นก็พิจารณากาย แล้วกายตรงไหนเป็นกายนอกกายในล่ะ

เอ้า กายไหน ถ้าภาวนาไม่เป็นไม่รู้หรอก แต่ถ้าภาวนาเป็นมันจะรู้เลย เอ้า กายนอกกายในมันพิจารณาอย่างไร แล้วทำไมต้องมีกายนอกกายในล่ะ เอ้า ทำไมต้องมีเด็กมีผู้ใหญ่ล่ะ เอ้า ทำไมต้องมีคนแก่ล่ะ เอ้า แก่ขึ้นมาทำไม เอ้า ทำไมเด็ก ก็เด็กอยู่อย่างนั้นล่ะ ห้ามโต มันเป็นขั้นเป็นตอนของมันนะ นี่พิจารณาไปมันจะรู้ของมัน จิตมันจะเห็นของมัน มันจะเข้าใจของมัน ธรรมะมันมีของมัน นี่พูดถึงวุฒิภาวะแต่ละชั้นแต่ละตอน

ฉะนั้นวุฒิภาวะอย่างหนึ่ง กรณีที่ว่าจิตมันออกไป แล้วมันแลบออกอย่างนี้ การแลบออก นี่ยังดีนะ แลบออกไปทางอย่างนี้ แลบออกไปทางที่ดีก็ได้ เช่น เห็นครูบาอาจารย์แล้วมันซาบซึ้งมาก คิดถึงครูบาอาจารย์มาก คิดถึงนะ การคิดถึงนี่ ดูสิ เวลาคนที่เขารู้จักกัน เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีมันมีเห็นไหม ไม่เห็นหน้ากันเลย แต่เป็นเพื่อนสนิทกันเลยเห็นไหม เพราะเขาติดต่อสื่อสารกันตลอดเวลา

นี่ก็เหมือนกัน จิตใจที่คิดถึงกันนี่ เราจะคิดถึงกันได้ แล้วเวลาเราทำบุญทำกุศลเห็นไหม ความรู้สึกนี่คิดถึงกันได้ ข้ามภพข้ามชาติได้ คิดถึงกันได้หมด เพราะจิตคือหนึ่งเดียว แล้วรับรู้กันได้หมด เพียงแต่มิติมันมาบังไว้ มิติคือวาระ วาระของจิตที่มันเกิดในวาระไหน จิตหนึ่งเดียวนะ จะเกิดเป็นเราในปัจจุบันนี้

พระพุทธเจ้าใช้คำนี้ เราเคยเป็นพระเวสสันดร นี่ตั้งแต่บุพเพนิวาสานุสติญาณ เราเคยเป็น ไม่ใช่เราเป็น เพราะปัจจุบันนี้เป็นพระพุทธเจ้า จิตหนึ่ง จิตที่เป็นพระพุทธเจ้าอยู่ แต่เราเคยเป็นเห็นไหม ย้อนบุพเพนิวาสานุสติญาณ เราเคยเป็นพระเวสสันดร เราเคยเป็น จิตเราเคยเป็นสถานะนั้น แต่ในปัจจุบัน เรามาเป็นเราแล้ว

นี่ก็เหมือนกัน ในสถานะของจิตที่ความรับรู้ ความคิดถึงกันต่างๆ สิ่งนี้คิดถึงกันได้ รับรู้ได้ สิ่งต่างๆได้ รับรู้ได้มันเป็นสภาวะ มันเป็นเรื่องของวัฏฏะ เรื่องของความผูกพัน เรื่องของสายบุญสายกรรม ทีนี้พอสายบุญสายกรรม ถ้าเราประพฤติปฏิบัติ แล้วเราพยายามดึงของเรา ให้เราจบขบวนการ จบสิ้นไปแล้ว สิ่งนี้สายบุญสายกรรม ได้บุญกุศลไปหมด

ทำไมลูกมาบวชคนหนึ่ง แม่ได้ ๑๖ กัป เพราะอะไร เพราะเลือดเนื้อเชื้อไขของเราไปค้ำศาสนาใช่ไหม เพราะในปัจจุบันนี้ คือลูกของเราคือสายเลือด คือสายบุญสายกรรม สายบุญสายกรรมคือเลือดเนื้อเชื้อไข ขนาดว่าลูกบวช เห็นไหม ทำไมพ่อแม่ได้ล่ะ เอ้า นี่เราทำบุญ ทำไมเราอุทิศส่วนกุศลได้ล่ะ มันได้ของมัน เพราะคำว่าสายบุญสายกรรม กรรมมันเกี่ยวเนื่องกันมา สายบุญสายกรรม กรรมมันมีบุญมีเวรต่อกัน มันถึงมีประโยชน์ต่อกัน เกื้อกูลต่อกัน ความเกื้อกูลกันอันนั้น มันเป็นเพราะว่าการเกื้อกูล การส่งเสริม นี่คืออภิชาตบุตร

แต่ถ้าเป็นเวรเป็นกรรมเห็นไหม มันก็มีความผูกพันกันไป ความผูกพันอันนี้ เวลาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าบอกว่า การเกิดมาของมนุษย์ มันเป็นญาติกันโดยธรรม แล้วการเกิดมาในปัจจุบัน สิ่งมีชีวิตไม่เคยเป็นญาติกัน ไม่เคยเกิดร่วมกันแต่ชาติใดชาติหนึ่ง ไม่มีเลย นี่ที่นั่งอยู่นี่ ไม่ชาติใดชาติหนึ่งเราเคยเกิดร่วมกันมา เราเคยเป็นสายบุญสายกรรมกันมา มันถึงคุยกันรู้เรื่อง มันถึงรับรู้กัน แต่มันไม่มีสายบุญสายกรรมจะไม่ฟังกัน อันนี้หมายถึงเป็นญาติกันโดยธรรม ฉะนั้นในปัจจุบันนี้ เราก็รับผิดชอบชีวิตของเรา รับผิดชอบถึงเชื้อ ญาติวงศ์ตระกูลของเรา เพื่อประโยชน์กับเรา

ถ้าจิตใจเป็นสาธารณะจะรับกันหมด เวลาทำบุญกุศล เห็นไหม แผ่เมตตา สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเลยให้มีสุข มีความสงบสุขของเขา เราแผ่ส่วนกุศลให้เขาทั้งหมด เพื่อให้มีเวรมีกรรมต่อกัน ให้สิ่งนี้เจือจานต่อกัน แล้วถ้ามันมีเวรมีกรรมต่อกัน ก็อโหสิกรรมต่อกัน นี่พูดถึงสัพเพสัตตานะ

แล้วสัพเพ สัตตานี่สงสารไอ้สัตว์ตัวนี้ไหมล่ะ สงสารเราไหม สงสารชีวิตเราไหม สงสารชีวิตเรานี่ เราก็พยามเอาชีวิตเราให้รอดด้วย ถ้าชีวิตเรารอดนะ ครูบาอาจารย์ท่านพูดบ่อย ถ้าสร้างพระองค์หนึ่งได้ พระองค์นี้จะสร้างประโยชน์ได้มหาศาลเลย

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า ตรัสรู้องค์เดียว เป็นประโยชน์กับโลกมหาศาลเลย พวกเราเห็นไหม ใครประพฤติปฏิบัติถึงที่สุด ให้ใจมันมีหลักมีเกณฑ์ จะเป็นประโยชน์กับตัวเองก่อน เป็นประโยชน์กับตัวเองนะ อย่างที่พูดน่ะมายาทั้งนั้นความคิดความเห็นน่ะมายาทั้งนั้น ไม่มีอะไรเลยนะ

ถ้าไม่มีอะไรเลย ทำไมหลวงตาท่านพูด ไม่มีอะไรเลย ไม่ติดอะไรเลย ทำไมท่านวิ่งเต้นเผ่นกระโดด ไม่มีอะไรเลยแต่สงสารสัตว์โลกไง สงสารสัตว์โลก ทำเป็นคติตัวอย่าง เรานะ วุฒิภาวะเหมือนกันนะ เราจะไม่เชื่อฟังกันหรอก แต่ถ้ามีคนที่สูงกว่านะเห็นไหม มาเจือจานเรา เราจะเชื่อฟังเห็นไหม

นี่ก็เหมือนกัน ถ้าให้โลกช่วยเหลือกัน โลกมันจะแข่งขันกันอยู่นั่น มันจะเจือจานอะไรกัน แต่ผู้ที่ออกไปนอกสังคมแล้วเห็นไหม แล้วกลับมาสงเคราะห์โลก เจือจานโลกเห็นไหม นี่ไง ท่านถึงบอกว่า ท่านห่วงแต่โลก ท่านช่วยแต่โลก เพราะฉะนั้นสร้างพระองค์หนึ่ง ฉะนั้นเราสร้างตัวเราให้เป็นพระในหัวใจ ถ้าใจเป็นพระแล้วนะ จะเป็นประโยชน์กับเราก่อน แล้วก็จะเป็นประโยชน์แก่โลกด้วย เอวัง