ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

ปากทาง

๒o ธ.ค. ๒๕๕๗

ปากทาง

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๗

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) .หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

 

ถาม : เรื่องเล่าถวายการปฏิบัติเพื่อขอความเมตตาชี้แนะจากครูอาจารย์เพื่อการปฏิบัติต่อไปครับ

กราบนมัสการหลวงพ่อ กระผมขอเล่าถวายการภาวนา พร้อมขอความเมตตาจากหลวงพ่อเพื่อการปฏิบัติและปรับปรุงความคิดให้ถูกต้องต่อไปครับ กราบขอบพระคุณ

. กระผมใช้คำบริกรรมพุทโธ บางครั้งก็กำหนดดูลมจนสงบ บางทีก็พิจารณารูปและนาม จิตสงบลงได้บ้างไม่ได้บ้างครับผม แต่ก็พอสงบได้ครับ แบบนี้ถูกต้องไหม

. เมื่อจิตสงบตัวลง มีสติรู้กาย ตรงนี้กระผมยังไม่ชำนาญครับหลวงพ่อ กระผมประคองให้สติรู้ตัวอยู่เป็นระยะ จิตจับลมไม่ปล่อย หลุดบ้างเป็นระยะครับ พร้อมกับใช้ความคิดพิจารณาออกทางรูปนามว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ กายก็มีธาตุ ๔ ประชุมกัน ไม่มีส่วนไหนเป็นเรา ส่วนนามได้แก่เวทนา (ตรงนี้ในขณะนั่งบางคราวปวดมาก บางคราวปวดน้อยๆ พอรำคาญ บางทีปวดมากๆ สุดขีดแล้วก็ดับวูบไปเฉยๆ เปลี่ยนอยู่ตลอดครับ บางทีตลอดการนั่งภาวนาก็ไม่มีอาการปวดเลยครับ สบายแบบเฉยๆ อยู่ก็มีครับ ทุกอาการมีสติรู้ตัวอยู่เสมอครับ)

ต่อจากเวทนาก็เป็นสัญญาความจำ เป็นไปเพื่อความเข้าใจสังขารความปรุงแต่ง วิญญาณรับรู้ตอนพิจารณา วิญญาณก็ติดอยู่ครับ เพราะการมีสติรับรู้กายใจมันก็คือการรู้ ผมมีความเห็นว่ามันก็ต้องเป็นวิญญาณ มีวิญญาณ จึงรับรู้ความคิดปรุงแต่ง จึงรับรู้เวทนา อาศัยสัญญาความจำ จึงเข้าใจรู้เรื่องและสื่อสารได้ พอหยุดปรุงแต่ง ความคิดไม่รับรู้อะไร มันก็เหลือตัวสติรู้ ก็ยังรับรู้อยู่ครับหลวงพ่อ แต่ก็หาส่วนที่เป็นที่ว่านี้ เรานั้นก็ไม่มีตรงไหนว่าเป็นเรา สักแต่ว่าเท่านั้นครับผม

ที่ว่ามาทั้งหมดมันเป็นสัญญาความจำมาจากการฟังบ้าง อ่านบ้างครับ มันเลยคิดไป ก็รู้สึกเฉยๆ ครับ ผมจึงปล่อย ไม่คิด ปล่อยให้มีสติรู้ตัวกายใจ รู้อย่างนี้ไปเรื่อยๆ แบบนี้ถูกไหมครับ ควรแก้ตรงจุดไหนบ้างครับ

. ส่วนด้านความปีติ สุข หรือเอกัคคตานั้นมันแสดงอาการสลับเปลี่ยนไปมาเรื่อยๆ แต่สุดท้ายแล้วผมก็เห็นสติรู้อันเดียว รู้สึกชอบมากครับ ความเห็นตรงนี้ถูกต้องไหมครับ หรือควรจะเสพปีติ สุข ให้อิ่มเอมแล้วถอนออกจึงจะถูกครับ

ด้วยความเคารพหลวงพ่ออย่างสูง กระผมมีหลวงพ่อเป็นที่พึ่งอยู่เสมอครับ

ตอบ : นี่เขาว่านะ นี่พูดถึงการปฏิบัติ ถ้าอย่างการปฏิบัติเริ่มต้น เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านะ เวลาเผยแผ่ธรรม เผยแผ่ธรรมก็เพื่อ เพราะก่อนที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม มันมีพวกพราหมณ์ พวกฮินดู พวกลัทธิต่างๆ อยู่เต็มไปหมด

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเผยแผ่ธรรมไปๆ เผยแผ่เพื่อให้เขามีที่พึ่ง เวลาเป็นทางฆราวาสก็ให้เขามีที่พึ่ง มีที่พึ่งคือให้เขาเห็นถูกเห็นผิด เห็นความถูกต้องดีงาม เราจะต้องเป็นคนดี ละชั่วทำดี แล้วพยายามขวนขวายดำรงชีวิตให้เป็นชีวิตที่สงบดีงาม นี่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเผยแผ่ธรรม เผยแผ่ธรรมเพื่อให้ชาวพุทธมีที่พึ่งที่อาศัยไง ถ้าทางโลกเขาก็อาศัยส่วนหนึ่ง เวลานักปฏิบัติเขาอาศัยส่วนหนึ่ง เวลาบวชเป็นพระขึ้นมา นักรบเวลารบกับกิเลส รบกับความคิดของตัวเองก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง

ฉะนั้น เวลาที่เรามีศรัทธามีความเชื่อแล้วมาประพฤติปฏิบัติ เวลาเราจะประพฤติปฏิบัติ เราก็ปฏิบัติมาจากทางโลก ทางโลกหมายถึงว่าเรามีความคิดทางวิทยาศาสตร์ ความคิดทางโลกนี่แหละ เวลาเราจะมาปฏิบัติปั๊บ เราก็เอาความคิดนั้นน่ะมาเทียบเคียง พอเอาความคิดมาเทียบเคียงปั๊บ เราก็ว่าเราทำแล้วเราทำเหมือนเลย แล้วทำไมมันไม่เป็นอย่างที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกล่ะ ทำไมเราปฏิบัติแล้วมันไม่เป็นสมาธิ เราปฏิบัติแล้วมันไม่เกิดปัญญา เราปฏิบัติแล้วทำไมไม่ฆ่ากิเลส เอากิเลสมาเชือดมาเฉือน มาเห็นต่อหน้าเรา นี่เราคิดของเราไปด้วยจินตนาการของเราไง

ด้วยจินตนาการนะ ด้วยจินตนาการมันก็เป็นความจริงอันหนึ่งไง เป็นความจริงอันหนึ่งเพราะอะไร เพราะเราฟังเทศน์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา ศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา แล้วเราประพฤติปฏิบัติขึ้นมา เราก็คิดว่ามันจะเป็นจริงอย่างนั้นไง

แต่เวลาปฏิบัติ เวลาครูบาอาจารย์ของเราท่านบอกว่า ศึกษาภาคปริยัติมาแล้ว มันเป็นภาคปริยัติคือทฤษฎี คือปัญญา คือแนวทางในการปฏิบัติ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกข้อ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกความหมายชี้เข้ามาให้แก้ไขที่ใจของตัวเพื่อให้ใจนี้หลุดพ้นไง

ฉะนั้น พอให้ใจนี้หลุดพ้น มันจะย้อนกลับมาที่ใจของเรา ถ้าย้อนกลับมาที่ใจของเรา ไปศึกษาแล้ว ใจของเรา เราช่วยตัวเองไม่ได้ เราช่วยตัวเองไม่ได้ เรามีแต่กิเลส เรามีแต่ความสงสัย เราช่วยตัวเองไม่ได้ เราก็อยากจะพึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อยากจะพึ่งทฤษฎีอันนั้น แล้วเราปฏิบัติ เราพยายามจะทำใจให้เหมือนกับทฤษฎีอันนั้น พอทำให้เหมือนทฤษฎีนั้น เราก็พยายามจะให้เป็นแบบนั้นไง แล้วมันก็ไม่เป็นน่ะ มันไม่เป็นแล้วก็งง

ฉะนั้น เวลาครูบาอาจารย์เราท่านปฏิบัติแล้วถึงบอกปริยัติ ปฏิบัติ นี่เจ้าคุณอุบาลีฯ ท่านพูดเองภาคปริยัติ ภาคปฏิบัติ ห่างกันราวฟ้ากับดินนี่ท่านเป็นผู้วางแนวทางการศึกษานะ

ศึกษา ทุกคน ประเทศชาติจะเจริญเพราะมีการศึกษา คนต้องมีปัญญา...ใช่ มันต้องมีการศึกษา ต้องมีปัญญาทั้งนั้นน่ะ เพื่อให้คนฉลาด เพื่อให้คนมีปัญญา ให้คนคิดเป็นทำเป็น ให้คนบริหารจัดการได้

การศึกษามา ภาคปริยัติเป็นอย่างนั้นน่ะ แต่ศึกษามาแล้วมันเป็นจริงไหมล่ะ คนศึกษามา ศึกษามาแล้ว วิชาชีพใด เขาอาจจะไปทำอาชีพจากประสบการณ์ของเขา จากการทำธุรกิจของเขา เขาไม่ได้ศึกษามาแล้วว่าจะเอาสิ่งนั้นเป็นอาชีพเลย นี่ก็เหมือนกัน เวลาศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา ศึกษามาๆ เราคิดว่าจะเป็นอย่างนั้นไง

แต่เวลาครูบาอาจารย์ของเราท่านภาคปริยัติแล้วปฏิบัติ มันปฏิบัติ ส่วนที่การศึกษาให้วางไว้ก่อน พยายามวางไว้ก่อน อย่าให้มันมาสร้างภาพ อย่าให้มันเป็นคนชี้นำ เพราะชี้นำมันก็เป็นสัญญาทั้งนั้นน่ะ เราไปโดยจินตนาการ เราไปโดยสัญญา

เราเอง ดูสิ นักประพันธ์เขาเขียนนิยาย เขาได้รางวัลโนเบลกันเลยนะ เขาเขียนหนังสือ เขียนต่างๆ เขียนมาจากไหนล่ะ เขาก็สร้างเรื่องของเขาขึ้นมา ไอ้นี่เราก็จินตนาการ จินตนาการธรรมะไป เห็นไหม

ฉะนั้น เวลาครูบาอาจารย์บอกปริยัติศึกษามา ศึกษามาแล้ววางไว้ก่อน ถ้าไม่วางไว้ก่อน มันจะสร้างภาพ มันจะทำให้การปฏิบัติเราล้มลุกคลุกคลาน

แต่เวลาเราปฏิบัติไป เราก็ว่าเราทำถูก มันมีอารมณ์ มันมีความชอบใจ เพราะมันทิ้งจากโลกมาเป็นธรรม มันก็ว่ามันดีไง แต่ดีอย่างนี้ก็ดีแบบโลก เพราะเรายังเป็นโลกอยู่ไง

แต่ครูบาอาจารย์ให้ทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าเราจะทำความสงบของใจเข้ามา เราพุทโธ ธัมโม สังโฆ มรณานุสติ อะไรก็ได้ ๔๐ วิธีการ ให้จิตมันสงบ จิตสงบระงับแล้ว มันสะอาดบริสุทธิ์แล้ว ถ้ามันมีปัญญาการรอบรู้ได้ มันมีปัญญาที่จะไปเห็นสติปัฏฐาน ๔ ตามความเป็นจริง เพราะจิตมันสงบจริง ถ้าจิตสงบจริงแล้ว ความรู้ความเห็นมันจะเป็นความจริง

จิตมันไม่สงบจริง มันเกิดจินตนาการ มันเกิดโดยสัญชาตญาณ เป็นได้ สิ่งที่เขาเห็นกันนี่ใช่ ใช่เลย ใช่ แต่มันใช่ของกิเลสไง หลวงตาท่านบอกสมุทัยมันเจือปนมา สมุทัยคือจินตนาการ มันมีอวิชชา มีกิเลสปลอมปนเข้ามา มันก็อยู่อย่างนั้นน่ะ วนอยู่อย่างนั้นน่ะ

แต่ถ้าเราทำความสงบของใจเข้ามาไม่ให้สมุทัยมันเจือปน ให้มันเป็นสัจจะ ให้มันเป็นความจริงเลย พอจิตสงบแล้วถ้ามันออกรู้ออกเห็นนะ โอ้โฮ! มันจะมหัศจรรย์มาก

ฉะนั้น ที่เราจะทำความสงบของใจกันอยู่นี่ อย่าไปน้อยเนื้อต่ำใจว่าเรานี่เสียเวลา เรานี่มันแก่แล้ว อยากจะได้บรรลุธรรมไวๆ อู๋ย! อยากจะมีความรู้ความเห็น อยากจะเจริญก้าวหน้า ต้องทำให้จริงจัง แก่แล้ว เวลาเราน้อยแล้ว เราต้องใช้ปัญญาไปเลย

อย่าไปเชื่อเขา ไอ้นั่นมันเตี้ยอุ้มค่อม แก่อุ้มคนแก่ไง แก่หลังค่อม แล้วมันจะโค้งลงสู่ดินน่ะ มันไม่เป็นประโยชน์อะไรหรอก แต่ถ้าจะแก่จะหนุ่ม จะปฏิบัติอย่างไร พยายามทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าทำความสงบของใจเข้ามา ย้อนกลับมาที่คำถาม

กลับมาที่คำถามนะ. กระผมใช้คำบริกรรมพุทโธ บางครั้งก็กำหนดดูลมจนสงบ บางทีก็พิจารณารูปและนาม จิตสงบลงได้บ้างไม่ได้บ้างครับ แต่ก็พอสงบได้ครับ แบบนี้ถูกต้องไหม

ถ้าถูกต้องแล้วต้องเป็นพระอรหันต์เลยไง ถูกต้องจะชำระกิเลสเลยไง ถูกต้องหมายความว่าถูกต้องของการทำความสงบ ถูก ถูกต้องของการทำความสงบของใจ ถูกต้องของการทำสมาธิ

คนเรามันมีความฟุ้งซ่าน คนเรามีความคิดจินตนาการอยู่ร้อยแปด แล้วมันจะเอาความจินตนาการ เอาการกระทำนั้นไปจินตนาการธรรมะมันก็จินตนาการไปได้ จินตนาการไปแล้วมันก็สมบัติบ้า สมบัติบ้ามันก็พอใจกับการจินตนาการนั้น มันพอใจกับการจินตนาการ เพราะการจินตนาการได้ เพราะมันมีต้นแบบ ต้นแบบมาจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้นแบบมาจากครูบาอาจารย์ของเรา เราก็จินตนาการของเราไป มันก็เป็นอารมณ์อารมณ์หนึ่ง มันเป็นความรู้สึกหนึ่ง

ถ้าเรากำหนดพุทโธๆ ให้จิตสงบเข้ามา ถ้าจิตสงบแล้ว เราไม่ได้จินตนาการ มันจะเกิดกิจจญาณ มันจะเกิดการกระทำ จิตสงบแล้วฝึกหัดยกขึ้นสู่วิปัสสนา

ดูสิ ทางโลกเวลาทำธุรกิจการค้า บางคนทำธุรกิจการค้าบางชนิดก็ประสบความสำเร็จ บางชนิดก็เพื่อหาประสบการณ์

นี่ก็เหมือนกัน จิตสงบแล้วก็ฝึกหัดใช้ปัญญา มันก็เหมือนกับคนเขาทำกิจการการค้ากัน ทำการค้าเขายังมีกำไรมีขาดทุน เขาเห็นผลประโยชน์ของการทำการค้านั้น เราจะทำอัตตสมบัติ เราทำสัจจะความจริงของเราขึ้นมา จิตสงบแล้วฝึกหัดใช้ปัญญา ถ้าฝึกหัดใช้ปัญญานะ มันจะดีงามขึ้นมา

ฉะนั้นบอกว่ากำหนดพุทโธ บางครั้งกำหนดดูลมหายใจ มันสงบได้บ้าง ไม่สงบบ้าง อย่างนี้ถูกไหมครับ

ถูก ถูกในการทำความสงบของใจ ถูกในการเหมือนกับเราทำงานเหนื่อยยากมา เราจะเข้าบ้านเพื่อพักผ่อนนะ อาบน้ำชำระล้างร่างกายก่อน ทำความสะอาดมาแล้ว เข้าบ้านเราแล้ว เครื่องใช้ไม้สอยมันจะได้ไม่สกปรก

นี่ก็เหมือนกัน จิตของเรามันคลุกกับอารมณ์มาทั้งวันๆ เราพยายามทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าใจสงบแล้วมันทำความสะอาดของใจ ถ้าใจมันสะอาดบริสุทธิ์แล้ว ทำสิ่งใดมันก็เป็นประโยชน์หมด เห็นไหม

ถูก ถูก การภาวนามันมีเป็นขั้นเป็นตอนของมันขึ้นมา ไม่ใช่ว่าใครมาก็ใช้ปัญญา ใครมาก็จะชำระล้างไปเลย ใครมาก็จะเป็นพระอรหันต์ไปเลย อันนั้นมันเป็นขิปปาภิญญา ผู้ที่ปฏิบัติง่ายรู้ง่าย เพราะเขาได้สร้างบุญกุศลของเขามา เขาได้ทำคุณงามความดีของเขามา

สังเกตได้ไหม บางคนมีจิตใจที่เมตตา เห็นอะไรก็สงสารไปหมดเลย บางคนจิตใจดื้อด้านมาก ทำแต่เรื่องเบียดเบียนคนอื่น ทำไมเขาเป็นอย่างนั้นล่ะ จิตใจของคนมันก็แตกต่างหลากหลาย เห็นไหม อำนาจวาสนาของคนมันก็เหมือนกัน แตกต่างหลากหลายอย่างนี้

ฉะนั้น ถ้าเรามีสติปัญญาอย่างนี้ เราทำความสงบของใจอย่างนี้ถูกไหม

ถูก

. เมื่อจิตสงบตัวลง มีสติรู้กาย ตรงนี้กระผมยังไม่ชำนาญครับหลวงพ่อ ผมจะประคองสติตัวรู้เป็นระยะ จะจับลมไม่หยุดเป็นระยะไป อย่างนี้ถูกไหมแล้วพอจับลมไป เขาก็บอกเขาใช้ปัญญา

ถ้ามันใช้ปัญญาอย่างนี้ ที่ว่าใช้ปัญญาพิจารณานามรูป พิจารณาถึงความเจ็บไข้ได้ป่วย พิจารณาถึงความเจ็บปวด เห็นไหม การพิจารณาอย่างนี้ ถ้าจิตมันสงบแล้วเราจะฝึกหัดใช้ปัญญา ถ้าเราจับได้ ถ้าจิตมันสงบนะ มันจับได้มันก็พิจารณาได้

ถ้าจิตไม่สงบนะ พอมันจับได้ พิจารณาไปบางทีมันหลุดมือ พิจารณาไปแล้วมันเหมือนกับว่าเราจับสิ่งใด จับแล้วมันไม่ถนัดมือ มันก็หลุดไม้หลุดมือไป จิตถ้ามันจะไปพิจารณาอะไร

เขาบอกว่าฝึกหัดใช้ปัญญา

ถ้ามันฝึกหัดใช้ปัญญาอย่างว่า ถ้ามันใช้ไม่ได้ เราก็กลับมาที่พุทโธ

เขาบอกว่า เขาก็ใช้ปัญญาไป เขาประคองไปไง เขาบอกว่าเขาทำไม่ถนัด พอจิตมันสงบแล้ว มีสติปัญญาแล้ว มีสติแล้วเขาก็พยายามจะฝึกหัดประคองให้มันใช้ปัญญาไป ถ้าใช้ปัญญาไป อย่างเช่นบางทีมันนั่ง มันปวดมากปวดน้อย มันมีความปวด

ถ้ามันมีความปวด เราพุทโธชัดๆ เลย แต่ถ้าจิตมันสงบแล้วนะ มันไปจับเวทนาอย่างนี้ มันจับแล้วมันพิจารณาได้ มันมีกำลัง อย่างนี้พิจารณาต่อเนื่องไป ถ้ามันจับไม่ได้ เราวาง คือเราวางเวทนา คือวางความเจ็บปวด ตั้งสติกลับมาที่พุทโธ

นี่ก็เหมือนกัน เวลามันพิจารณาไป พอมันมีกำลัง มันมีสติ พอพิจารณาได้ เขาบอกเลย เขาพิจารณาไปหมดเลย เป็นเวทนา พิจารณาเห็นเป็นเวทนา เห็นเป็นสังขาร เห็นเป็นวิญญาณ แล้วก็บอกว่าอย่างนี้เป็นการศึกษามา อย่างนี้เป็นการจำมา ถ้าอย่างการจำมา นี่เขาบอกว่าการฝึกหัดใช้ปัญญา

ปัญญามันต้องฝึกหัด บางคนมีความคิดว่าจิตสงบแล้วปัญญามันจะเกิดเอง พอจิตสงบแล้วปัญญามันจะผุดขึ้นมา...อันนั้นเป็นธรรมเกิดนะ

ถ้าจิตสงบนะ สงบคือความสุข สงบคือจิตมันปล่อยวาง สงบคือวางภาระทั้งหมด พอวางภาระทั้งหมดก็มีความสุขน่ะสิ ถ้ามีความสุขแล้วเดี๋ยวมันก็คลายตัวออกมา คลายตัวออกมาแล้วเราก็ทำความสงบเข้าไปอีก แล้วเดี๋ยวมันก็คลายตัวออกมา จนมีความชำนาญนะ พอมีความชำนาญขึ้นมาแล้วเราฝึกหัดใช้ปัญญา อย่างนี้เราฝึกหัด

ถ้าจิตมันสงบดีๆ มันจะเห็นชัดเจนมาก ถ้าจิตสงบนะ ปัญญามันเกิดนะ มันพิจารณาอะไร โอ๋ย! มันทะลุปรุโปร่ง พิจารณาไปมันเข้าใจ มันปล่อยวาง แหม! วันนี้ทำไมเราเก่งขนาดนี้ วันไหนจิตมันไม่สงบนะ คิดแล้วคิดอีก ความคิดทำไมมันไม่มีเลย เห็นไหม อันนี้พื้นฐานโดยสมาธิอย่างเดียวเลย ถ้าสมาธิดีนะ มันจะไปเลย ถ้าสมาธิไม่ดีนะ มันไปไม่ได้

แต่คนคิดว่า เราเคยทำสมาธิได้แล้ว เราเคยใช้ปัญญาแล้วทำไมเราจะใช้ไม่ได้ จะใช้อีก

คิดแบบนี้ไง ก็คิดแบบวิทยาศาสตร์ คิดแบบวัตถุไง คือเรามีแล้วมันต้องมีตลอดไปไง คิดว่าเรามีสมาธิแล้วสมาธิอยู่กับเราตลอดไป...ไม่ใช่

สมาธิ เราทำดีๆ มันสมควรแก่เหตุ เวลาถ้าเหตุมันพอ มันก็เกิดสมาธิ แล้วเดี๋ยวพอมันคลายตัวมันก็คลายตัวออกมาเป็นปกติ ถ้าเราจะเข้า เราต้องพุทโธเข้าไปอีก

ทำสมาธิ สมาธิมันก็เจริญแล้วเสื่อม แต่ถ้าผู้ที่ชำนาญ กำหนดรักษาได้เลย อยู่กับสมาธิตลอดเลย ทั้งวันทั้งคืน อยู่ได้อย่างนั้นเลย นี่ถ้าผู้ชำนาญ ถ้าอย่างนี้มันน้อมไป มันได้

เราจะบอกว่า ที่มันทำแล้วมันไม่รอบคอบ ทำแล้วไม่กระจ่างแจ้ง นี่ขาดสมาธิ ถ้ามีสมาธินะ มีสมาธิ มันฟ้อง มันฟ้องหมด ถ้าการกระทำมันจะชัดเจนของมัน อย่างเช่นว่า เราพิจารณาไปแล้ว เรารู้หมด มันเป็นเวทนา มันเป็นสัญญา แต่ไม่เห็นวิญญาณ เขาบอกว่า แต่ผมไม่เห็น ถ้าต่อไปมันต้องเป็นวิญญาณไง

เราก็ท่องได้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เราก็ท่องได้ เราก็คิดว่ามันก็เป็น ๑ ๒ ๓ ๔ เดี๋ยวก็ต้องมาลงตรงนี้ไง แล้วไม่เห็นตัวมัน เพราะอะไร เพราะเรารู้ เรารู้ว่ามันเป็น ๑ ๒ ๓ ๔ แล้วมันก็ ๑ ๒ ๑ ๒ มันไม่มา ๓ เสียที มันไม่มา แล้วมันไม่มา ๔ ล่ะ อันนี้มันเป็นสัญญาทั้งหมด

แต่ถ้าเป็นจริงนะ มันเป็นอีกอย่างหนึ่ง ถ้าเป็นจริงนะ สิ่งที่เวลาเป็นจริงแล้วเราจะเห็นอย่างไร พิจารณาไปแล้ว บางทีเขาพิจารณาได้ พิจารณาไปแล้วมันสักแต่ว่า มันไม่ใช่เรา ปัญญามันเกิดได้ ของอย่างนี้มันเกิดได้ มันแบบว่าขั้นของสมาธิ มันมีขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ขั้นของสมาธิมันก็มีการทรงตัวอย่างนี้ แต่ขั้นของปัญญามันไม่มีขอบเขต เพราะปัญญามันทะลุทะลวงไปได้หมดเลย

ฉะนั้น สิ่งที่เวลามันใช้ปัญญาไปมันสักแต่ว่าๆ เราไม่เห็น เราสู้ต่อไปเรื่อยๆ

แล้วเขาบอกว่าที่ทำมาแบบนี้ถูกต้องไหมครับ ควรแก้ไขตรงไหน

ควรแก้ไขคือว่า เวลาจิตสงบแล้วเราก็ฝึกหัดใช้ปัญญา ถ้าจิตพอมันใช้ปัญญาไปแล้วมันฟั่นเฝือ เราก็กลับมาทำความสงบของใจ สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน มันจะเดินไปคู่กัน

ฉะนั้น มันสมควรแก้ไขตรงไหน

มันสมควรแก้ไขตรงที่เราพิจารณาไปแล้วมันไม่ได้ผล เราก็กลับมา เห็นไหม ขณะที่มันภาวนา ถ้ามันไปไม่ได้ เรากลับมาพุทโธเลย พุทโธๆ แล้วพุทโธมันก็เบื่อ มันเบื่อ เพราะเราอยากเจอรสชาติอย่างนั้น รสชาติของปัญญา รสชาติของมีสมาธิแล้วมีปัญญามันทะลุปรุโปร่งไป เราชอบอย่างนั้น เราชอบอย่างนั้น เหตุผลสมควรถึงได้อย่างนั้น

แต่ตอนนี้เหตุผลของเราคือมันอั้นตู้ เหตุผลของเราคือจิตมันมืดมน จิตมืดมน เราต้องมาทำให้จิตมันผ่องแผ้ว ทำให้จิตมันสว่างไสว แล้วเราค่อยกลับไปใช้ปัญญา เห็นไหม มันอยู่ที่เราบริหารจัดการ อยู่ที่เราจะไปทางซ้ายไปทางขวาไง อยู่ที่เรา อารมณ์ของเราเองไง ถ้าอารมณ์ของเราเองมันดี มันไปเลย ถ้าอารมณ์ของเราไม่ดี เราเปลี่ยนมาเลย เราเปลี่ยนมาเลย นี่ความแก้ไข แก้ไขอย่างนี้

. ส่วนความปีติ สุข หรือเอกัคคตา มันแสดงสลับกันเรื่อยๆ สุดท้ายแล้วผมก็เห็นว่าสติรู้อันเดียวนี้ รู้สึกว่าชอบมาก

ถ้าสติรู้อยู่อันเดียว อันเดียวคือหนึ่ง ที่เราทำสมาธิก็คือหนึ่ง แต่หนึ่งแล้วนะ พอมีสติแล้วให้กำหนดพุทโธไปเรื่อยๆ เพราะยังกำหนดพุทโธได้ สมาธิมันจะละเอียดเข้าไปไง สมาธิมันจะละเอียดเข้าไป

เรากำหนดพุทโธๆ เพื่อพักสมาธิ เพื่อให้ใจมันพักผ่อน เพื่อให้ใจมันปลอดโปร่ง ถ้าปลอดโปร่งแล้วก็ฝึกหัดใช้ปัญญาอย่างข้อที่ ๒. นั่นแหละ ฝึกหัดใช้ ใช้ได้ พอใช้แล้วมันฟั่นเฝือ ใช้แล้วมันไปไหนไม่ได้ เรากลับมาพุทโธ หัดทำอยู่อย่างนี้ แล้วพยายามขวนขวาย พยายามหมั่นเพียร มันจะพัฒนาขึ้นไป จิตมันจะดีขึ้น เหมือนปลูกต้นไม้ ต้นไม้มันจะดีขึ้น งอกงามขึ้น ต้นไม้ใหญ่ขึ้น มันจะมีดอกมีผลขึ้นมา

ต้นไม้นะ เขารดน้ำที่โคน ผลออกที่ปลาย นี่ก็เหมือนกัน พุทโธๆ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ใช้ปัญญาใคร่ครวญ เดี๋ยวผลมันออกมา มันออกมากลางหัวใจ หน้าที่ของเรา เรารดน้ำพรวนดิน ดูแลหัวใจของเรา

เขาบอกว่า อย่างนี้ต้องเสพปีติไหม อะไรไหม

ปีติมันก็เหมือนสมาธิ เดี๋ยวมันก็หาย สรรพสิ่งเดี๋ยวมันก็หาย เวลาเขาอยู่กับปีติแล้วมันดี มันก็ดีชั่วคราว ดีชั่วคราวเท่านั้นน่ะ เพราะอะไร เพราะว่ามรรคหยาบฆ่ามรรคละเอียด เวลาจะทำคุณงามความดีมันก็เอาอย่างนี้มาหลอกมาล่อว่าอย่างนี้มันดี เราจะอยู่กับมันไง แล้วสิ่งที่ดีกว่านี้ล่ะ ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ มันยังมีเข้าไปอีก

ฉะนั้น เพียงแต่ว่า มีสิ่งใด เราอยู่กับปัจจุบันตลอด แล้วรักษาใจเรา รักษาเพื่อประโยชน์กับเรานะ นี่พูดถึงว่าการภาวนาจะถูกไหม อันนี้อันหนึ่งนะ อันต่อไป

ถาม : เรื่องหลักปฏิบัติเจริญสมาธิภาวนา และถามข้อสงสัย

กระผมอยู่ต่างจังหวัด มีโอกาสฟังเทศน์หลวงพ่อทางเว็บไซต์อยู่บ่อยๆ ครับ เนื่องจากกระผมเริ่มฝึกหัดปฏิบัติ ยังจับหลักการภาวนายังไม่ค่อยจะได้ จึงมีคำถามอยากเรียนถามหลวงพ่อดังนี้ครับ

. กระผมบริกรรมพุทโธโดยการกำหนดที่ปลายจมูก ทั้งในรูปแบบนั่งสมาธิและเดินจงกรม อย่างนี้ถูกต้องไหมครับ

. ในการฟังเทศน์ ขณะผมนั่งกำหนดความรู้ที่ปลายจมูกโดยไม่ได้บริกรรมพุทโธ แล้วปล่อยให้เสียงเทศน์เข้ามาเตือนคำบริกรรม อย่างนี้ปฏิบัติถูกต้องไหมครับ

. ขณะทำงานในชีวิตประจำวัน กระผมทำความรู้อยู่ที่ปลายจมูกไปด้วย แล้วอยู่กับงานที่ทำ ไม่ได้บริกรรม แบบนี้ปฏิบัติถูกต้องไหมครับ หรือควรส่งจิตไปอยู่ที่งานเลย แบบไหนเหมาะสมกว่าครับ

. เคยฟังจิตคือพุทธะของหลวงปู่ดูลย์ ซึ่งหลวงปู่ได้พูดถึงลักษณะของการดับขันธ์อย่างละเอียดเพื่อเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ดังนี้ คือเจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ เข้าไปดับลึกสุดเหนืออรูปฌาน แล้วถอยร่นสู่สภาวะต้น ดับวิญญาณขันธ์ในร่างกายแล้วเข้าสู่ปฐมฌาน ดับสังขารขันธ์ (ชั้นใน) แล้วเลื่อนสู่ทุติยฌาน ดับสัญญาขันธ์แล้วเลื่อนขึ้นสู่ตติยฌาน ดับสัญญาขันธ์ชั้นในสุดแล้วเลื่อนขึ้นสู่จตุตถฌาน ดับเวทนาขันธ์สุดท้ายแห่งชีวิตแล้วออกจากจตุตถฌาน พร้อมๆ กับดับจิตขันธ์สุดท้าย แล้วพระองค์ก็เข้าสู่พระนิพพานระหว่างรูปฌานกับอรูปฌาน

ซึ่งหลวงปู่ดูลย์ทรงย้ำเสมอว่าสิ่งที่ทำมาทั้งชีวิตก็เพื่อรอเวลานี้เท่านั้น

จากที่ศึกษาประวัติหลวงปู่มั่นก็ทราบว่า ก่อนหลวงปู่มั่นนิพพานก็ทรงเข้าฌานเช่นกัน เลยมีคำถามอยากเรียนถามหลวงพ่อดังนี้คือ

/. ในการดับขันธ์เพื่อเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน จำเป็นหรือไม่ครับที่จะต้องเข้าไปดับในฌาน

/. แท้จริงแล้วฌานมีความจำเป็นหรือไม่ครับในการปฏิบัติเพื่อบรรลุพระนิพพาน เพราะหากจำเป็น จะได้ฝึกฌานไว้แต่เนิ่นๆ

. เคยได้ยินหลวงพ่อเทศน์อยู่บ่อยๆ ครับว่าการปฏิบัติยากอยู่สองคราว คราวหนึ่งคือช่วงเริ่มต้น อีกคราวหนึ่งคือช่วงสิ้นสุดของกระบวนการมรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ เลยอยากถามหลวงพ่อครับว่า กระบวนการของอรหัตตผลก่อนจะได้นิพพาน ๑ นั้น จำเป็นต้องทำความเพียรทางจิตต่อไปอีกหรือไม่ หรือเป็นกระบวนการที่จะต้องเปลี่ยนไปเองโดยอัตโนมัติครับ

หมายเหตุ คำถามข้อ ๔. และข้อ ๕. เป็นคำถามที่กวนใจผมมานาน อีกทั้งไม่รู้จะถามใครที่จะได้คำตอบชัดเจนเด็ดขาดเพื่อคลายข้อข้องใจและวิตกกังวลนี้ เลยขอโอกาสหลวงพ่อตอบคำถาม ๒ ข้อสุดท้ายนี้ด้วยครับ

ตอบ : คำถาม เห็นไหม คำถาม เวลาเริ่มต้นการปฏิบัติ เริ่มต้นปากทาง ถ้าปากทางเราเข้าถูก เราจะเข้าสู่ปลายทาง

ปากทางไง ปากทางต้นทางเรายังทำไม่ได้ แต่เราไปกังวลปลายทาง ไปกลางทาง เห็นไหม อย่างเช่นเราจะต้องทำฌานไว้ก่อนเลย ทำฌานไว้ก่อนเลย ไม่ต้องใช้ปัญญาเลย

ต้นทางและปลายทาง ต้นทางทำให้ถูก ถ้าต้นทางทำให้ถูกมันจะเป็นประโยชน์ไง ถ้าต้นทางเราทำไม่ถูก ปลายทางมันไม่มี

นี่ต้นทางยังทำไม่ได้เลย จะทำฌานไว้ตอนดับขันธนิพพานแล้ว ยังไม่ได้ธรรมะเลย จะเข้านิพพานแล้ว นี่พูดถึงต้นทางปลายทางไง

เอาปากทาง เอาต้นทางก่อน เราจะตอบเป็นข้อๆ ไป

. การบริกรรมพุทโธโดยการกำหนดที่ปลายจมูกทั้งในรูปแบบนั่งสมาธิและเดินจงกรมอย่างนี้ถูกต้องหรือไม่

ถูก ตั้งไว้ปลายจมูก แล้วมันอุ่นๆ รับรู้ เพื่ออะไร เพื่อมันเป็นรูปธรรมที่มันจับต้องได้ง่าย การภาวนาเริ่มต้น เราจะต้องมีหลักมีเกณฑ์ไง พอมีหลักมีเกณฑ์ หลักเกณฑ์ วิธีการที่ถูกต้องแล้ว เวลาปฏิบัติไปแล้วมันยังมีสิ่งที่ว่า มีสิ่งเร้า อารมณ์ความรู้สึก ความรู้สึกนึกคิด ความเบื่อหน่าย ความตึงเครียด ผลกระทบจากหน้าที่การงาน ผลกระทบจากครอบครัว ผลกระทบจากสังคม ผลกระทบมันรุมเร้ามาหมดเลย

ไอ้สิ่งที่ผลกระทบ ถ้าเราอยู่ที่ปลายจมูกเราชัดๆ ไอ้ผลกระทบ เราสละมันทิ้งเลย เราเอาพุทโธๆ ของเราไว้เพราะเราทำความสงบไง

เวลาเราไปทำงาน เราทำงานเราก็ทำงานของเราไป ผลกระทบที่มาจากการทำงาน ผลกระทบต่างๆ มันกระทบมาตลอดเวลา แล้วมนุษย์เป็นอย่างนี้ แล้วเราก็ไปเอาผลกระทบนั้นมาวิจัยตลอดเวลา บอกจะพุทโธก็พุทโธสักแต่ว่าไง

เราพุทโธไว้ชัดๆ ผลกระทบ เพราะพุทโธเพื่อจะวางผลกระทบนั้นไง ผลกระทบที่มันเกาะเกี่ยวหัวใจ อารมณ์ที่มันไปยึดมา ปล่อยให้หมด แล้วเราพุทโธของเราที่ปลายจมูก นี่ข้อที่ ๑.

. ในการฟังเทศน์ ขณะที่ผมกำหนดความรู้ไว้ที่ปลายจมูกโดยไม่บริกรรมพุทโธ แล้วปล่อยให้เสียงเทศน์นั้นเข้ามาเตือนคำบริกรรม อย่างนี้ถูกต้องหรือไม่ครับ

ถูก เวลาฟังเทศน์ ฟังเทศน์ เรากำหนดไว้เฉยๆ เราไม่ต้องพุทโธ เพราะพุทโธ เราต้องระลึกวิตก วิจาร ระลึกขึ้น ระลึกขึ้นมันถึงมีพุทโธ เวลาวิจาร พุทโธๆ มันแตกต่างกัน วิตก วิจาร วิตก วิจารเพื่อให้จิตมันตอกย้ำ เพื่อให้จิตมันมีที่เกาะ จิตมันอาศัยตรงนี้ อาศัยตรงนี้ไม่ให้ออกไปรู้ภายนอกต่างๆ เพื่อคำบริกรรมรักษาจิตไว้ให้จิตมันทวนกระแสกลับเข้ามา

ฉะนั้น เวลาเราฟังเทศน์อยู่ ฟังเทศน์ครูบาอาจารย์ท่านเทศน์อยู่ ฟังเทศน์ เทศน์นั้นก็เป็นธรรม เทศน์เป็นธรรมมันเป็นเนื้อธรรม เรากำหนดไว้เฉยๆ พอเนื้อธรรมมันสะกิดใจ อู้ฮู! ใจมันฟูเลยนะ เป็นบางคำ แต่ถ้าบางคำที่มันยังไม่สะเทือนใจ เราฟัง เพราะเทศน์มันจะเทศน์ต่อเนื่องไปตลอดเวลา

เวลาเราฟังเทศน์ เราเอาคำเทศน์นั้นเป็นพุทโธแทน แต่เรากำหนดรู้ไว้เฉยๆ ไม่ให้จิตมันเร่ร่อน กำหนดรู้ไว้แล้วฟังเทศน์นั้น นี่นักปฏิบัติเขาปฏิบัติอย่างนั้น

เวลาหลวงปู่มั่นท่านเทศน์ หลวงตาท่านบอกว่าพระนั่ง -๔ ชั่วโมง นั่งฟังนี่นิ่งหมดเลยนะ เพราะอะไร เพราะต้องการเนื้อไง เราเองหาทางออกแล้วมันอึดอัดขัดข้อง มันไม่มีทางไปเลย ขอคนชี้ทางๆ

คำเทศน์นั้นน่ะมันจะชี้บอก มันเป็นสเต็ปเลย ต้องทำสมาธิขึ้นมา ต้องโสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล สกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค อรหัตตผลไปเรื่อย

แล้วผู้ที่ปฏิบัติวุฒิภาวะมันมากมาย คนอยู่ระดับไหนมันก็คอยจังหวะๆ คอยจังหวะมาถึงเราแล้ว มาถึงเราต่อเนื่องไป พอพ้นจากเราไปเป็นของคนอื่นแล้ว ของคนที่สูงกว่าแล้ว ท่านจะไปอย่างนั้น

นี่พูดถึงเวลาฟังเทศน์ เอาเทศน์นั้นชี้ให้จิตมันมีทางไป แล้วเราก็ฟังอย่างนั้น ฟังเทศน์อย่างนั้น กำหนดไว้เฉยๆ...ถูก

. ขณะทำงานในชีวิตประจำวัน กระผมทำความรู้ที่ปลายจมูกไว้ แล้วอยู่ที่ทำงานด้วย ไม่บริกรรม แบบนี้ถูกต้องไหมครับ ควรจะส่งจิตอยู่ที่งานเลยหรือไม่

ไอ้นี่มันอยู่ที่งานหยาบงานละเอียดไง ถ้ามันอยู่ที่งานที่มันหยาบๆ นะ งานหยาบๆ หมายความว่า เราทำโดยความเคยชิน เราก็อยู่ได้ แต่ถ้างานละเอียด เราต้องอยู่กับงาน ถ้างานละเอียดนะ งานเสียหาย เราตั้งใจตั้งสติแล้วอยู่กับงาน เสร็จจากงานแล้วเราค่อยมากำหนดรักษาใจไว้ ไม่ให้มันไปกว้านเอาแต่ไฟมาเผาตัวไง ถ้าทำงานแล้วตั้งใจทำอย่างนั้น ฉะนั้น นี่ข้อที่ ๓. นะ

ทีนี้. เคยฟังจิตคือพุทธะของหลวงปู่ดูลย์ทีนี้คำว่าหลวงปู่ดูลย์สาธยายมาเลยว่าหลวงปู่ดูลย์พูดอย่างนั้น

หลวงปู่ดูลย์พูดอย่างนั้นก็ยกไว้ที่หลวงปู่ดูลย์ท่านพูดอย่างนั้น เพราะกรณีนี้ หลวงตาเวลาท่านเทศน์ท่านก็เทศน์เรื่องนี้เหมือนกัน ท่านเทศน์ขึ้นมา ท่านเทศน์ว่า เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพพาน เข้าสมาบัติตั้งแต่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ เวลาถอยเข้าถอยออก แล้วนิพพานระหว่างนั้น

เวลาหลวงตาท่านเทศน์ ท่านเทศน์บอกว่านิพพาน นิพพานมันพ้นจากสมมุติทั้งหมด นิพพานมันพ้นจากสมมุติทั้งหมด

เราก็บอกว่านิพพานคืออะไร นิพพานมีหรือไม่มี

หลวงตาเวลาท่านเอามาเป็นบุคลาธิษฐาน ท่านบอกว่านิพพานมี

คำว่ามีมีหมายถึงว่ามันมีธรรมธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มันมี ถ้าไม่มี มันจะเข้าสมาบัติได้อย่างไร มันเข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน เข้าอย่างไร เพราะมันมีอยู่ใช่ไหมมันถึงมาเข้าฌานได้

เพราะฌานมันเป็นอารมณ์ที่เวลาปฐมฌานก็คือปฐมฌาน ใครเข้าปฐมฌานก็คือปฐมฌานเหมือนกัน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน เหมือนกัน ฌานคือฌาน มันแสดงตัวไง มันแสดงตัว เหมือนกับอากาศ เราเก็บอากาศไว้ในสิ่งบรรจุอะไร ถ้าบรรจุแล้วมันก็มีสิ่งบรรจุรูปแบบนั้นใช่ไหม

นี่ก็เหมือนกัน เวลาหลวงตาท่านเทศน์ท่านจะบอกว่า นี่เป็นการยืนยันว่านิพพานมี นิพพานมีอยู่ แต่มีอย่างไรล่ะ เวลามีก็มีคือนิพพาน สิ่งที่พ้นออกไปจากโลกธาตุ วิวัฏฏะ พ้นออกไปจากสิ่งที่จะบัญญัติได้เลย แต่เวลามาเข้านี่ไง เวลามาเข้าฌานสมาบัติแล้วดับขันธ์ระหว่างฌานสมาบัติ นี้เป็นบุคลาธิษฐานของหลวงตา

ฉะนั้น เวลาของหลวงปู่ดูลย์ หลวงปู่ดูลย์ท่านพูดของท่าน ท่านพูดว่าท่านอธิบายไง อธิบายของท่าน แล้วเวลาอธิบายของท่าน เราไปฟัง เราไปฟังแล้วเราก็บอกว่า จากการศึกษาว่า หลวงปู่ดูลย์ท่านย้ำเสมอว่าท่านทำมาทั้งชีวิตก็เพื่อรอเวลานี้

อันนั้นเราจะบอกว่า หลวงปู่ดูลย์เวลาท่านเทศนาว่าการเพื่อประโยชน์ แต่เวลาคนฟัง เราไปฟังแล้วเราตีความหมายไง เราตีความได้อย่างนี้ไง เราตีความได้อย่างนี้ว่า หลวงปู่ดูลย์บอกว่า ย้ำเสมอว่าสิ่งที่ทำมาตลอดชีวิตก็เพื่อรอเวลานี้

ถ้าพูดถึงถ้าเราตีความ ถ้าเราตีความนะ เวลาเราปฏิบัติมาทั้งชีวิต รอเวลา รอเวลาไหน รอเวลาที่มันจะเข้าสู่ชำระล้างกิเลสจนหมดสิ้นไป อาสวักขยญาณ พ้นออกไป นั่นรอเวลานั้น พอพ้นออกไปแล้วก็จบ พอจบ จบอะไร สอุปาทิเสสนิพพาน อนุปาทิเสสนิพพาน มีค่าเท่ากันไง คือพระอรหันต์ก็พระอรหันต์ แล้วพระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่มันเป็นประโยชน์ ถ้ายังทำประโยชน์ได้ มันเป็นประโยชน์ไง

เพราะพระอรหันต์ตายแล้ว ไม่ใช่ว่าพระอรหันต์ตายแล้วมันจะมีคุณค่ามากขึ้น มันก็ไม่มี เพราะคำว่าพระอรหันต์แล้วก็คือจบใช่ไหม ถ้าคำว่าพระอรหันต์ในเมื่อพระอรหันต์ยังมีชีวิตอยู่ก็พระอรหันต์ พระอรหันต์ตายไปแล้วก็พระอรหันต์ มันมีสูงขึ้นต่ำลงไหม มันไม่มี

แต่พระอรหันต์ถ้ายังดำรงชีวิตอยู่ ถ้าบอกถ้ารอเวลานี้

นี่เป็นความคิดไง เวลาท่านพูด พูดอย่างนั้น

ฉะนั้น อย่างที่ว่าจากที่การศึกษาประวัติหลวงปู่มั่น ก่อนที่หลวงปู่มั่นนิพพานก็ทรงเข้าฌานเหมือนกัน

อันนี้เราไม่เคยได้ยินว่าหลวงตาท่านพูดอย่างนี้ แต่เวลาหลวงตาท่านเป็นคนอุปัฏฐาก ออกไปจากวัดบ้านภู่ ไปที่วัดป่าสุทธาวาส พอลืมตาขึ้นมาแล้วท่านก็กำหนดของท่าน อันนี้กำหนดของท่าน เวลาถึงที่สุดแล้วท่านก็ทิ้งธาตุขันธ์ไป

ฉะนั้น เวลาเข้าฌานหรือไม่เข้าฌาน

เพราะถ้าอย่างนี้ปั๊บ มันก็เป็นว่าการนิพพานจะต้องมาเข้าฌานทั้งหมด...ไม่ใช่ เพราะฌานมันเป็นฌาน ฌานมันเป็นสิ่งที่ว่า ฌานสมาบัติมันมีอยู่แล้ว ฤๅษีชีไพรก็เข้าได้ ฤๅษีชีไพรก็เข้า อุทกดาบส อาฬารดาบส ก็ได้สมาบัติ ๘ เหมือนกัน แล้วพวกนี้เขาก็มีอภิญญาเหมือนกัน คำว่า อภิญญามันไม่ใช่มรรคไม่ใช่ผลไง ถ้ามันไม่ใช่มรรคไม่ใช่ผล ฉะนั้น เวลาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงบอกศีล สมาธิ ปัญญา ท่านไม่พูดถึงเรื่องฌานไง ทีนี้ท่านไม่พูดถึงเรื่องฌาน

ทีนี้บอกว่า/. การดับขันธ์เพื่อเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน จำเป็นหรือไม่ครับที่จะต้องเข้าไปดับในฌาน

ถ้าเข้าไปดับ มันไม่ใช่ มันไม่ใช่หรอก คือสิ้นกิเลสก็คือสิ้นกิเลสแล้ว จบแล้ว พระอรหันต์จะตายแบบใด จะตายอย่างไร มันอยู่ที่การตายของพระอรหันต์ พระอรหันต์แต่ละองค์ตายไม่เหมือนกัน ตายไม่เหมือนกันคือว่าอยู่ที่อำนาจวาสนาของคนมันไม่เหมือนกัน ฉะนั้น เวลาอาสวักขยญาณ ทำลายอวิชชาแล้วจบ จบแล้ว

ฉะนั้น สิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำแบบนั้นเพื่อเป็นการยืนยัน ให้เรามายืนยันกันว่านิพพานมีอยู่ สิ่งที่มีอยู่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔๕ ปี เป็นพระอรหันต์มาตลอด แต่เวลาจะนิพพาน มาเข้าฌานสมาบัติ พระอนุรุทธะกำหนดจิตดู พระอนุรุทธะเป็นผู้ที่รู้ทางใจ เป็นเอตทัคคะรู้ทางใจ ตามดู แล้วเป็นคนอธิบายมา

ฉะนั้น แล้วเวลาองค์อื่นนิพพานล่ะ เวลาพระโมคคัลลานะ พระสารีบุตรล่ะ

เวลานิพพานก็คือนิพพาน ฉะนั้น ไอ้นี่มันปลายทางไง

เราจะบอกว่า เราไม่ต้องสงสัยหรอก เป็นพระอรหันต์แล้วจะรู้เอง นี่เราจะมาตีความเรื่องการตายของพระอรหันต์กันแล้ว ปฏิบัติยังจับต้นชนปลายไม่ได้เลย จะบอกว่าพระอรหันต์ตายอย่างไร จะต้องดับขันธนิพพานหรือเปล่า

ถ้ามันสิ้นกิเลสแล้วก็จบ เอาที่ดับสิ้นกิเลส

ฉะนั้นบอกว่าในการดับขันธ์เข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน จำเป็นจะต้องเข้าไปดับในฌานหรือเปล่า

เราบอกฌานมันเป็นเรื่องโลกๆ ฌาน คนที่มีกิเลสก็เข้าได้ แล้วเวลาพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี แล้วพระอรหันต์ เวลาถ้าเข้าฌานสมาบัติแบบนี้มันไม่มีอะไรไปทำให้สะเทือนได้เลย แต่ถ้าเป็นปุถุชนเข้าฌานขึ้นมา ไปเจออารมณ์ มันออกเลย ไปเจออะไร มันกระทบเลย

ฌานคือสมาธิอันหนึ่ง แล้วจิตที่มีกิเลสกับไม่มีกิเลสนั้นคนละเรื่องนะ ฌานเป็นฌานนะ ฌานก็คือสมาธิ ปุถุชนก็เข้าสมาธิได้ พระอรหันต์ก็เข้าสมาธิได้ พระอรหันต์อยู่ในสมาธิเลย ถ้าผู้ที่ชำนาญอยู่ในสมาธิเลย อยู่ในสมาธิตลอด อยู่ในธรรมตลอดเลย มันเป็นชั้นๆ เข้าไปน่ะ

แล้วเราก็ไปบอกว่า ฌานก็คือฌาน พระอรหันต์ก็ต้องมาเข้าฌาน ปุถุชนก็ต้องเข้าฌาน ก็เลยว่าปุถุชนคนหนาคนมีกิเลสก็ต้องมาเข้าฌาน แล้วพระอรหันต์ทำไมต้องมาเข้าฌานอีกล่ะ

พระอรหันต์จะเข้าก็ได้ จะไม่เข้าก็ได้ หรือจะเป็นฌานอยู่แล้วก็ได้ เพราะจิตไม่มีกิเลสแล้ว ทำอะไรก็ได้ มันอยู่ในสถานะไหนก็ได้ ฉะนั้น ไม่ต้องเอาสิ่งนี้มาเทียบกัน

ทีนี้เพียงแต่ว่ามันเป็นที่โจทย์ โจทย์ถามมาอย่างนี้ คือเอกสารมาอย่างนี้ก็ต้องตอบแบบนี้ มันไม่มีทางตอบแบบอื่นไง

ฉะนั้นจะบอกว่า เพราะตั้งโจทย์ผิด ตั้งโจทย์ผิดคือความรู้ความเห็นเข้าใจอย่างนี้ว่าเป็นพระอรหันต์แล้วจะต้องเข้าฌาน ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง ผมจะได้ฝึกฌานไว้ก่อน

ยังไม่ต้องฝึก บอกว่า ฌานก็คือสมาธิอันหนึ่ง แล้วจิตที่มีกิเลสไม่มีกิเลสเป็นอีกเรื่องหนึ่ง จิตที่มีคุณธรรมมันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ฉะนั้น เวลาจะมาเข้าฌาน หลายๆ มุมมอง หลายๆ วุฒิภาวะมาเข้าฌาน

ทีนี้เพียงแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเข้าฌานสมาบัติ มาดับขันธ์ที่นี่เพื่อเป็นการยืนยัน เหมือนกับลาแล้ว หลวงตาท่านบอกว่า มันเป็นลวดลายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แสดงออกในการที่ว่าเราจะละทิ้งหมดแล้ว ละทิ้งกิเลสมาแล้วจาก ๓ โลกธาตุ เวลาจะนิพพานยังมาทำให้ดูอีกนะ ทำให้พระอนุรุทธะยืนยันไว้เป็นสัจจะ ให้เห็นว่าจบสิ้นแล้ว นี่คือพระอรหันต์

แต่ไอ้พวกเราไอ้เข้าฌาน เข้าฌาน ฤๅษีชีไพรก็เข้าฌาน พวกเกจิอาจารย์เขาก็เข้าฌาน เข้าฌานทำฤทธิ์ทำเดช ทำเป็นเครื่องรางของขลังอยู่นี่ พวกนี้พวกเกจิอาจารย์เขาก็เข้าฌาน

ฉะนั้น ฌานส่วนฌาน จิตมีระดับคุณภาพ จิตที่มีคุณธรรมอีกเรื่องหนึ่ง

/. แท้จริงแล้วฌานมีความจำเป็นหรือไม่ครับในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงพระนิพพาน เพราะหากจำเป็น จะได้ฝึกไว้แต่เนิ่นๆ

ฌานมันก็เป็นฌานใช่ไหม ว่าเป็นฌาน ในพระไตรปิฎกก็มีเรื่องฌานเหมือนกัน แต่โดยแท้จริงแล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะบอกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา

ทีนี้ครูบาอาจารย์ของเรา เรื่องฌานท่านไม่ค่อยพูดถึง เพราะเรื่องฌานคือการเพ่งกสิณ ถ้าเพ่งกสิณแล้วจิตมันส่งออก จิตส่งออกแล้ว เข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน เรื่องสมาบัติ ผู้ที่ทำได้เขาจะรู้ แล้วมันชัดเจนมาก

แล้วทำแล้ว แหม! มันถือตัวถือตนนะ มันถือว่าเออ! ฉันก็หนึ่งในตองอูนะ ฉันก็ทำได้แล้วมันมีฤทธิ์มีเดช มันอยากรู้อยากเห็น มันทำให้จิตมันเป็นภาระ คือว่ากิเลสมันร้ายอยู่แล้ว แล้วไปทำตนเองให้มีอิทธิพล มีกำลัง มีสัจจะอย่างนี้มันก็ยิ่งถือตัวถือตน มันยิ่งจะเข้ามาสู่อริยสัจยาก เข้ามาสู่สัจธรรม เข้ามาสู่พิจารณากาย เวทนา จิต ธรรมยาก แต่ถ้าทำสมาธิมันสมควรแก่การงานแล้วมันย้อนกลับเข้ามา เห็นไหม

ฉะนั้น สิ่งที่ว่า ถ้าเป็นฌาน เราจะบอกว่าไม่จำเป็นเลย บางคนนะ เพราะว่าจริตนิสัยไง ถ้าจริตนิสัยของคนถ้ามันมาทางนั้นน่ะ พระพุทธเจ้าถึงเปิดไว้ ๔๐ วิธีการ เพราะคนเรามันทำเวรทำกรรมมามหาศาล ทุกคนเวียนว่ายตายเกิดมาร้อยแปด ใครทำบุญทำกรรมสิ่งใดมา พระพุทธเจ้าบอกว่าสิ่งนั้นเป็นอดีต แล้วจะทำความสงบของใจเข้ามา มันอยู่ที่วิธีการ ถ้าคนที่เป็นพวกชอบฤทธิ์ชอบเดชเขาจะเข้ามาทางฌาน ถ้าโดยคนที่มีคุณธรรมเขาจะเข้ามาทางสมาธิ เข้ามาสมาธิ ๔๐ วิธีการ พระพุทธเจ้าเปิดไว้กว้างหมดเลย

ฉะนั้นบอกว่า ไม่จำเป็นเลย คนที่เขาถนัดล่ะ แล้วคนที่ไม่ถนัด เราจะทำอย่างนั้นไหม

ฉะนั้น โดยพื้นฐาน ศีล สมาธิ ปัญญา ทำสมาธิเข้ามา ฉะนั้น ทำสมาธิ ทำความสงบของใจเข้ามา ถ้าฌานมันสงบ สงบแล้วมันอยากออก สงบแล้วมันจะส่งออก แล้วเราจะบังคับไว้อย่างไรได้

ฉะนั้น เวลาเป็นพระอรหันต์แล้วมันไม่ต้องไปทำฌานอีกหรอก ไม่ใช่ว่าเป็นพระอรหันต์แล้วต้องฝึกฌานไว้เลย กลัวพระอรหันต์ตายไม่ได้ จะต้องเป็นพระอรหันต์ตลอดไป ไม่มีการดับขันธ์...ไม่ต้องห่วง เดี๋ยวรู้เอง

ฉะนั้น ถ้าเราจะเอาความแน่นอน เอาความที่ไม่มีความผิดพลาด เราทำสมาธิมา ทำสมาธิเข้ามาเลย แล้วมันเป็นทางตรงไง ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นมรรคเลย แต่ถ้าเป็นฌาน ฌานต้องพยายามบังคับให้มันเข้ามา บังคับให้ทวนกระแสกลับเข้าไปสู่ปัญญา อันนั้นพูดถึงนะ ไอ้นี่มันต้นทางปลายทาง

. เคยได้ยินหลวงพ่อพูดอยู่บ่อยๆ ว่า การภาวนายากอยู่ ๒ คราว คราวหนึ่งคือคราวเริ่มต้น อีกคราวหนึ่งคือสิ้นกระบวนการฉะนั้น เขาบอกว่า แล้วกระบวนการแห่งอรหัตตผล มรรค ๔ ผล ๔ เขาบอกว่านิพพาน ๑ อันสุดท้ายมันยาก ยากคือนิพพาน ๑ แล้วนิพพาน ๑ มันจะเป็นไปเลยหรือมันจะเป็นอัตโนมัติ มันเป็นอย่างไร

มรรค ๔ ผล ๔ ที่พูดว่ายากอยู่ ๒ คราว เพราะในการปฏิบัติ เวลาเราพูดไว้ เราพูดไว้เพราะว่าเราก็ล้มลุกคลุกคลานมาเยอะ แล้วเวลาฟังเทศน์หลวงตาแล้วมันชอบ หลวงตาท่านพูดเอง คำนี้เราจำขี้ปากหลวงตามา หลวงตาบอกการปฏิบัติมียากอยู่ ๒ คราว คราวหนึ่งคือคราวเริ่มต้น กับคราวหนึ่งคือคราวสุดท้าย เพราะท่านปฏิบัติมาแล้วท่านเผชิญมา

ไอ้เราปฏิบัติแล้วเราก็เห็นด้วย ว่าอย่างนั้นเถอะ เราเห็นด้วย จะบอกว่า แหม! เหมือนกัน เดี๋ยวจะหาว่า เวลาคนอื่นพูดถึงหลวงตา แหม! ไปด่าเขาเลย เวลาตัวเองว่าฉันทำได้

เราเห็นด้วย เวลาล้มลุกคลุกคลาน บอกทำทีแรก โอ้โฮ! มันทุกข์ยากมาก เพราะอะไร เพราะคนทำงานไม่เป็น แต่พอไปแล้วมันก็พอไปได้ แล้วไปสุดท้ายแล้วไปติดหมด ไปติดหมด หลวงปู่คำดี หลวงปู่บัว หลวงตาไปแก้หมด แล้วตัวท่านเองท่านก็แก้ตัวท่านเอง

ฉะนั้นว่ามันยาก ยากอยู่ ๒ คราว คราวหนึ่งคือคราวเริ่มต้น กับคราวหนึ่งคือคราวสุดท้าย ที่พูดนี้พูดเป็นคติไว้ พูดให้คนได้ฟังไว้ เวลาใครปฏิบัติแล้วให้ระวังไง พูดให้ระวัง หนึ่ง พูดไม่ให้น้อยใจ หนึ่ง

น้อยใจเหมือนพวกเราเวลาปฏิบัติเริ่มต้นล้มลุกคลุกคลานตลอดเลย มันจะน้อยใจไง เราจะบอกว่ามันยาก มันยากคราวนี้ แต่พอมันทำงานเป็น เดี๋ยวมันก็ไปได้ ฉะนั้น มันยาก มันยากอยู่ ๒ คราว เริ่มต้นตรงนี้

แต่เขาบอกว่าแล้วถ้ามันไม่ยาก แล้วมันจะเป็นอัตโนมัติไปเองหรือไม่ ให้หลวงพ่ออธิบายด้วย

เวลาเทศน์ เวลาเทศน์ถึงกระบวนการของมัน เวลาครูบาอาจารย์ท่านเทศนาว่าการนะ อย่างเช่นหลวงตาท่านพูดถึงหลวงปู่มั่นไง ท่านจะเทศน์ถึงว่า ทำสมาธิเข้ามา ยกขึ้นสู่โสดาปัตติมรรค ถ้ามันสมุจเฉทปหาน มันก็ไปสู่โสดาปัตติผล ยกขึ้นสู่สกิทาคามิมรรค เวลามันสมุจเฉทปหาน ก็เป็นสกิทาคามิผล ยกขึ้นสู่อนาคามิมรรค ถ้ามันผลสำเร็จสมุจเฉทปหาน ก็เป็นอนาคามิผล ยกขึ้นสู่อรหัตตมรรค เวลามันสมุจเฉทปหาน มันก็เข้าสู่อรหัตตผล มรรค ๔ ผล ๔

อรหัตตมรรค อรหัตตผล มันอยู่ระหว่างการกระทำ แต่มันนิพพาน ๑ พอมันจบกระบวนการแล้วมันก็เข้าสู่นิพพาน ๑ แล้วเข้า เข้าอย่างไร มันรู้ของมันเอง มันรู้ของมันเอง มันเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก

เวลาครูบาอาจารย์ท่านเทศน์ ท่านจะมีของท่าน เพียงแต่ว่าผู้ฟังไง ถ้าผู้ฟังมันมีความจำเป็น มันปฏิบัติแล้วมันอยู่ระหว่างนี้ มันก็พยายามจะตามๆๆ ไป มันจะเอาตรงนี้เป็นแนวทาง

ถ้าผู้ยังไม่เป็นนะโอ้โฮ! พูดอะไรซ้ำๆ ซากๆ วนไปวนมา พูดอยู่นั่นแหละ มรรค ๔ ผล ๔ อะไรวนอยู่นั่นน่ะนี่เวลาคนไม่เป็นมันก็คิดอย่างนั้นน่ะ

แต่ถ้าคนเป็นเขาหาฟังเทศน์อย่างนี้ เขาหาครูบาอาจารย์ที่เป็น เราหาครูบาอาจารย์ที่ท่านบอก มันเป็นวิวัฒนาการของมัน มันเป็นวิธีการ อริยสัจ มันเป็นวิวัฒนาการของอริยสัจ มันเป็นที่ว่าจิตนี้กลั่นออกมาจากอริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค จิตนี้กลั่นออกมาจากอริยสัจ ถ้ามันกลั่นออกมาจากอริยสัจมันก็จบไง อาสเวหิ จิตฺตานิ วิมุจฺจึสูติ อาสวะสิ้นไป กระบวนการของจิตมันสิ้นกิเลสไป นี่มันเป็นอย่างนั้น เห็นไหม

ฉะนั้น สิ่งที่ถามมามันเป็นปลายทาง

ภาวนาพุทโธยังตั้งไว้ปลายจมูกอยู่เลย แล้วมันจะทำฌานไว้รอนิพพานแล้ว ฉะนั้น ต้นทาง ปลายทาง เห็นไหม ต้นทาง ปากทาง เราพยายามฝึกฝนของเราขึ้นมา เราก็มีโอกาส เกิดมาเป็นมนุษย์ เกิดมาพบพระพุทธศาสนา มีสังคมปฏิบัติไง มีครูบาอาจารย์ที่ท่านประพฤติปฏิบัติ มันมีที่ปรึกษา เขาเรียกว่าคบบัณฑิต บัณฑิตจะพากันไปในสิ่งที่ดีๆ โลกเขาก็พากันรื่นเริงอยู่กับทางโลก มีครูบาอาจารย์ท่านปฏิบัติแล้วท่านรื่นเริงอยู่ในธรรม

เราก็มีครูบาอาจารย์เป็นสหธรรมิก เป็นผู้ชี้ทาง เป็นบัณฑิต คบบัณฑิต ชักจูงกันไปสู่ความดีงาม ชักจูงกันไปสู่การประพฤติปฏิบัติ

ถ้ามีความเข้มแข็ง มีความอดทน มีการกระทำของเรา มีความเพียรชอบ งานชอบ ความระลึกชอบ มีความชอบธรรมไง มันมีความชอบธรรมเพราะมันมีความพอใจจะทำ

ถ้ามันไม่มีความชอบธรรม ทำอะไรไปทำด้วยการบังคับ ทำด้วยการขู่เข็ญ มันทำด้วยความแห้งแล้ง ทำด้วยความทุกข์ยากทั้งนั้นน่ะ

แต่ถ้าเราทำด้วยความชอบธรรม ทำด้วยความพอใจ เราทำเพื่อประโยชน์กับเรา ถ้าทำเพื่อประโยชน์กับเรา แล้วถึงปลายทางแล้วมันจะรู้เองว่าจะต้องทำฌานหรือไม่ทำฌาน เอวัง