เทศน์บนศาลา

กิเลสระงับ

๘ ก.พ. ๒๕๔๘

 

กิเลสระงับ
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

เทศน์บนศาลา วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
ณ วัดสันติธรรมาราม ต คลองตาคต อ โพธาราม จ ราชบุรี

 

ตั้งใจฟังธรรมนะ ตั้งใจฟังธรรม ชีวิตนี้แสนทุกข์นะ ชีวิตเราเกิดมานี่แสนทุกข์แสนยาก แต่เราเพลินกันไปเองไง เราเพลินในชีวิตนะ แม้แต่เราออกบวชเป็นพระเป็นเจ้าเราก็ยังเพลินกันอยู่ ถ้าเราเพลินกันอยู่ เห็นไหม มันไม่มีสติ ถ้ามีสตินะ กาลเวลาผ่านไป วันเวลาล่วงไปๆ เราเรียกกลับมาไม่ได้หรอก สิ่งที่มันล่วงไปแล้ว ชีวิตเราเกิดขึ้นมา แล้วเกิดขึ้นมาตั้งแต่เด็ก แล้วก็เป็นผู้ใหญ่ แล้วขณะปัจจุบันนี้เรามีศรัทธานะ ถ้าเราไม่มีศรัทธา เราไม่มีความเชื่อ เราจะไม่พาตัวเรามาลำบากตามมุมมองของโลก ตามมุมมองของโลกเราต้องไปที่สะดวกที่สบาย ที่อย่างนั้นจะให้ความสุขกับเรา ทำไมเราไปอยู่ป่าอยู่เขาล่ะ ทำไมเราไปหาที่สิ่งที่มันทุรกันดารเพื่ออะไรล่ะ

ถ้าเราไปอยู่ที่ทุรกันดาร ที่ทุรกันดารมันอัตคัดขาดแคลนไง สิ่งที่อัตคัดขาดแคลน ธรรมมันจะเกิดสภาวะแบบนี้ ถ้าเราทุกข์เรายาก เราจะเห็นคุณค่าของชีวิตนะ ถ้าคนเกิดมามีแต่ความสุข มีแต่ความสะดวกสบาย จะไม่เห็นคุณค่าของชีวิตหรอก ชีวิตมันมีความสุขความสบาย อันนี้เกิดจากอะไร? อันนี้เกิดจากบุญนะ

“บุญพาเกิด” คนที่เกิดมาจะมีเกิดมาในครอบครัวที่มีความสุข องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก บุญคือครอบครัวนั้นมีความร่มเย็นเป็นสุข นั้นคือบุญ “บุญพาเกิด” ถ้าเขาเกิดมาในครอบครัวที่มีบุญกุศล อันนั้นมันเป็นความผิดเหรอ ไม่เป็นความผิด แล้วเราทำไมต้องออกไปที่อัตคัดขาดแคลนล่ะ

อัตคัดขาดแคลน มันจะเห็นความทุกข์ มันจะเห็นความเป็นจริงของชีวิตไง ชีวิตนี้มีการต่อสู้ มีการดิ้นรนหา หาความเป็นอยู่ หาอยู่หากินไปแล้วแต่วันหนึ่งๆ คนไม่เคยทุกข์ ไม่อดไม่อยาก ไม่ทุกข์ไม่ยาก ถ้าคนอดคนอยาก คนทุกข์คนยาก

ถ้าเรามีความสุขความเจริญของเรา เรามีความสะดวกสบายของเรา นี้คือบุญกุศลพาเกิด บุญกุศลพาเกิด แล้วถ้าคนมีอำนาจวาสนา พระกัสสปะ เวลาท่านจะออกประพฤติปฏิบัติ พ่อแม่ เกิดมาแล้วอยากให้มีผู้สืบสกุล ก็รักษาพ่อแม่ไว้ พ่อแม่อยากให้มีครอบครัวก็มีครอบครัว แต่สัญญาไว้กับคู่ครองของตัวว่าเราจะอยู่ถือพรหมจรรย์ด้วยกัน จนพ่อแม่ล่วงไปแล้ว สมบัติแจกอยู่ ๗ วัน แจกไม่รู้จักหมด สมบัติมหาศาลเลย พยายามแจกออกไป แจกออกไป

เพราะสิ่งที่เกิดมาแล้วมีความสุขความอุดมสมบูรณ์ในครอบครัว แต่ก็สละสิ่งนี้ออกมา แล้วเพื่อออกประพฤติปฏิบัติ ได้ออกปฏิบัติเมื่อแก่ แต่เวลาออกประพฤติปฏิบัติแล้วก็ได้เป็นหลักเป็นเกณฑ์ของศาสนา พระกัสสปะนี้เป็นผู้ถือธุดงควัตรมาตลอด เวลาสิ้นกิเลสไปแล้ว

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถามนะ

“กัสสปะ เธอก็อายุปานเรา ทำไมต้องถือธุดงควัตร ทั้งๆ ที่สิ้นกิเลสแล้ว”

แต่พระกัสสปะบอกไว้เลย บอกกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า

“ทำไว้เพื่อเป็นคติตัวอย่างกับอนุชนรุ่นหลัง ได้เป็นคติ ได้เป็นตัวอย่าง”

ธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้แล้ว แล้วใครจะเป็นผู้ที่มีหูมีตา เพื่อเอาสิ่งนั้นเข้ามาในหัวใจ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร” มีเวรมีภัยต่อกัน เราต้องระงับ ถ้าเราจองเวร เราพยายามเอาแต่กิเลสตัณหาคะคานกันมันไม่มีที่สิ้นสุดหรอก เพราะมีการกระทำ มีเหตุมันก็ต้องมีผลตลอดไป

เหตุคือตัณหาความทะยานอยาก เหตุคือความบาดหมางของหัวใจ เวลากระทำออกไป วิบากมันต้องเกิดผลไง ผลคือการกระทำแล้ว ผู้ชนะย่อมก่อเวรก่อกรรม ผู้แพ้ย่อมมีความทุกข์ ต้องมีอาฆาตมาดร้าย “เวร ต้องระงับด้วยการไม่จองเวร” นี้เพราะธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมขึ้นมา เห็นสภาวะของกรรม ของกิเลส ของตัณหาความทะยานอยากในหัวใจ สิ่งนี้มันละเอียดอ่อน แล้วมีการกระทบกระเทือนกัน กระทบกระทั่งกันในสัตว์สังคม เราเกิดมาเป็นสัตว์สังคม เราต้องอยู่ในสังคม เกิดมาแล้วเราจะอยู่แบบของเราเป็นเอกเทศ มันเป็นไปไม่ได้

ดูสิ ดูทางโลกเขาทำธุรกิจ เขาต้องหาตลาด เขาต้องหาที่หาตลาดของเขา เขาต้องทำการตลาดของเขา ความทำตลาดของเขา เขาก็มีการโฆษณา มีการชวนเชื่อต่างๆ เพื่อให้สินค้าของเขาเป็นที่นิยมของสังคมนั้นของตลาดนั้น นี่เขาต้องแสวงหาสิ่งนั้น แสวงหาสิ่งนั้นเพื่อผลประโยชน์ของเขา แต่สัตว์ล่ะ

เราเกิดมาในสังคม เราเกิดมา เป็นหมู่บ้าน เป็นประเทศ เป็นโลกขึ้นมาเพราะอะไรล่ะ เพราะอำนาจวาสนาพาเกิดในสังคมๆ นั้น เกิดในประเทศอันสมควร ถ้าเราเกิดในประเทศอันสมควร ประเทศอันสมควร มันเกิดมาแล้วอาหารการกินในประเทศนั้นมันไม่อัตคัดขาดแคลนไง สิ่งที่ไม่อัตคัดขาดแคลน แล้วเราปฏิเสธสิ่งนั้นทำไม ทำไมเราหลีกเร้นออกไปหาที่ออกป่าออกเขา เพื่อเหตุใดล่ะ? ก็เพื่อจะหาตัวตนไง เพราะเราเกิดมาสิ่งนั้นถึงมีนะ เราเกิดมาในประเทศอันสมควรต่างหาก “เราเกิด” เราเกิดมาแล้วเราเกิดมาในโลก เราเกิดมาสภาวะแบบนั้น แล้วสังคมเป็นสภาวะแบบใด...นี่มองไปจากข้างนอกแล้วให้ย้อนกลับมา

ถ้ามันมีเวรมีกรรมต่อกัน สิ่งนั้นต้องกระทบกระเทือนกัน การระงับ การระงับเวร การระงับกรรมด้วยการไม่จองเวรจองกรรม เห็นไหม ทำบุญกุศลกันต้องอุทิศส่วนกุศลนะ ขนาดว่าคนตายไปแล้ว คนสิ่งที่ว่าเขาไปเกิดในภพชาติใดก็แล้วแต่ เราอุทิศส่วนกุศลออกไปเพราะอะไร เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก เราเกิดมา เกิดมาในวัฏฏะ เป็นญาติกันโดยธรรมไง ไม่มีจิตดวงใดเลย มนุษย์คนใดเลยที่ไม่เคยเป็นญาติ ไม่เคยเกิดเป็นญาติกันมาแต่ภพชาติต่างๆ สิ่งนี้มีการเกิด ความเกิดนี้ยาวไกลมหาศาล สิ่งที่ยาวไกลมหาศาลแล้วมันก็ต้องมีการกระทบกระทั่งกันมา ธรรมดาของใจดวงนั้น ถ้าใจดวงนั้นเกิดสภาวะแบบนี้ขึ้นมา แล้วเรามาเข้าใจธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

อดีตทำให้เกิดปัจจุบัน ปัจจุบันนี้จะต้องทำให้เกิดอนาคตข้างหน้านั้น ถ้ามีเวรมีกรรมต่อกันจากอดีตมา ในปัจจุบันนี้เรามีเวรต่อกัน เรามีการกระทบกระทั่งกัน เรามีการทำลายกัน เรามีการจองล้างจองผลาญกัน ผลออกไปจากอนาคตมันก็ต้องมีเวรมีกรรมต่อไปข้างหน้า

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกให้เชื่อกรรม ให้เชื่อคุณงามความดี ให้เชื่อธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้ระงับ ระงับเวรระงับกรรมต่อกัน เราจะไม่จองเวรจองกรรมต่อกัน สิ่งนี้เป็นเรื่องของโลกนะ แล้วถ้าเวลาระงับขึ้นมาแล้ว เวลาเราทำคุณงามความดี

พระโพธิสัตว์ต้องสร้างคุณงามความดีนะ สร้างคุณงามความดีสะสมบุญญาธิการเป็นพระโพธิสัตว์เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ต้องเป็นพระโพธิสัตว์ สิ่งที่เป็นพระโพธิสัตว์นี้ คุณงามความดีไหม สิ่งที่เป็นคุณงามความดี เราสร้างแต่คุณงามความดี คุณงามความดีทั้งหมดเลยเพราะเราปรารถนา แล้วถ้าเราสร้างขึ้นไป จิตใจมันจะเข้มแข็งขึ้นไปเรื่อยๆ ถ้าเราขึ้นไปมันสละได้มหาศาลเลย

สิ่งนั้นผิด สิ่งนี้คืออะไรล่ะ?

เราไม่ได้ทำลายใคร เราแล้วแต่เราจะสร้างบุญญาธิการ เรามีแต่ให้ มีแต่ทำคุณงามความดี แต่มันก็มีกิเลสอยู่ในหัวใจ เพราะมีกิเลสในหัวใจ เวลาเรามีเวรกับกรรมต่อกัน มันมีความสัมผัสกันจากจิตภายนอกไง จากจิตภายนอกนี้เป็นวัฏฏะนะ แต่ถ้าเป็นจิตภายในล่ะ ถ้าเป็นจิตภายในจิตของเรา

พระโพธิสัตว์สร้างสมบุญญาธิการมหาศาลเลย สิ่งที่มหาศาลนี้ก็ตกอยู่ใต้ของกิเลส กิเลสตัณหาความทะยานอยากไง ถ้ากิเลสมันระงับนะ มันระงับ ถ้ากิเลสมันจะระงับนี้เพราะกิเลสมันได้แสวงหา มันได้กินอิ่ม กินจนอิ่มหนำสำราญของมันแล้วมันถึงระงับ สิ่งที่กิเลสระงับ เพราะเราไม่เข้าใจว่ากิเลสระงับ เราเข้าใจว่าเราชำระกิเลส

กิเลสตัณหาความทะยานอยาก เราหาสิ่งนี้ไม่เจอ แล้วกว่าที่มันจะระงับ เพราะมันต้องเสพจนพอใจของมันแล้วมันถึงจะระงับไง มันพาเรากระทำคุณงามความดี พระโพธิสัตว์สร้างคุณงามความดีมหาศาลเลย แต่พระโพธิสัตว์ก็ต้องเกิดต้องตาย จะต้องเกิดต้องตายจนกว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ใดก็แล้วแต่จะพยากรณ์แล้ว พยากรณ์แล้วจะกลับไม่ได้ แต่ถ้ายังไม่พยากรณ์ ยังมีการเกิดการตาย เพราะจิตดวงนี้มันพัฒนาขึ้นมา นี่อำนาจวาสนามันอยู่ตรงนี้ไง อำนาจวาสนาคือบารมีของจิตดวงนั้น จิตดวงนั้นสร้างแต่คุณงามความดีมา ทำดีต้องได้ดี สิ่งที่ได้ดีนั้นก็พัฒนาใจดวงนี้ให้เข้มแข็ง อินทรีย์แก่กล้า มีความรู้ความเข้าใจ จะมีเชาวน์ปัญญามหาศาลเลย สิ่งใดเกิดขึ้นมาจะมีเชาวน์ปัญญาใคร่ครวญชำระ ปัญญาจะเกิดขึ้น

แต่คนมืดบอด เวลากิเลสตัณหาความทะยานอยากมันปิดใจเขา คนมืดบอด สิ่งที่มืดบอด กิเลสระงับต่อเมื่อทำคุณงามความดีแล้วมันมีความสุข มีความพอใจของมัน เห็นไหม เวลาจิตวิปัสสนา เวลาจิตประพฤติปฏิบัติ มันปล่อยวางขึ้นมา

ในสมัยพุทธกาลนะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเรียนกับพวกฤๅษีชีไพร สิ่งที่ฤๅษีชีไพร เพราะธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มรรคญาณยังไม่มีไง เขาประพฤติปฏิบัติ นี่กิเลสระงับเพราะอะไร เพราะเขาทำของเขา เขาใคร่ครวญของเขา เขาทำกำหนด ทำสมาธิขนาดไหนก็แล้วแต่ จะเหาะเหินเดินฟ้าได้ขนาดไหน นี่กิเลสมันระงับ

แต่ถ้ากิเลสมันระงับ จิตนี้ก็ยังต้องตายต้องเกิดตลอดไป

แล้วถ้าจิตมันเสื่อมออกมา มันก็ปุถุชนนี่แหละ คนด้วยกิเลสตัณหาความทะยานอยาก

พระโพธิสัตว์ก็เหมือนกัน พระโพธิสัตว์ถ้าเกิดจิตเสื่อมล่ะ จิตเสื่อมออกมามันก็ถอยออกมา สิ่งนี้เป็น...ถ้ากิเลสมันจะระงับ ต่อเมื่อสมัยที่ก่อนพุทธกาลนั้นเพราะไม่มีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ในปัจจุบันนี้กึ่งพุทธกาล ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศอยู่ตลอดเวลา ตู้พระไตรปิฎกมีอยู่ทุกวัด การศึกษาเล่าเรียนของเรา การค้นคว้าของเรา เราค้นคว้าธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่กิเลสมันก็เสพ เสพธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

สิ่งที่การกระทำ ทำคุณงามความดี ทำขนาดไหน “กิเลสมันระงับ” พอมันปล่อยวาง สิ่งที่มันปล่อยวาง กิเลสระงับแล้วเราหาได้ไหม เพราะเราไม่มีสติไง สิ่งที่ไม่มีสติ ถ้าเป็นสมาธิมันก็ไม่เป็นสัมมาสมาธิ ถ้าเป็นสัมมาสมาธิ เราต้องระงับกิเลสนะ ถ้ากิเลสระงับ นี่มันเป็นความตัณหาความทะยานอยากของกิเลสตัณหาความทะยานอยากที่มันค้นคว้าออกไป ที่มันต้องการเสพของมัน มันต้องการแสวงหาสิ่งใด เราก็หาสิ่งนั้นปรนเปรอมันนะ เราไม่เข้าใจ

ถ้าเป็นเรื่องของโลก เราพอใจสิ่งใด เราต้องการสิ่งใด เราก็แสวงหาสิ่งนั้นเพื่อจะให้เรามีความสุข ถ้าเราแสวงหาสิ่งใดมาปรนเปรอกับความพอใจของเรานี่เราจะมีความสุข สุขนี้เกิดจากอามิส เกิดจากวัตถุสิ่งของที่เราต้องการ เราตั้งเป้า ทำธุรกิจเราก็ตั้งเป้า ถ้าเราตั้งเป้าแล้วทำเกินเป้า เราก็มีความสุข มีความพอใจ ความสุขอย่างนี้เกิดจากอามิส เกิดจากสิ่งที่เราตั้งเป้าสิ่งที่เป็นวัตถุ เราทำสมกับใจดวงนั้นมันถึงเป็นความสุข

แต่ในการประพฤติปฏิบัติ ค้นคว้าเข้ามา ค้นคว้าธรรมว่าธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราก็ประพฤติปฏิบัติของเราขึ้นมา เราเข้าใจของเราว่าสิ่งนี้เป็นสภาวธรรม เราพอใจของเรา...นี่กิเลสพาทำไง ถ้ากิเลสพาทำ ถึงจุดหนึ่งกิเลสระงับ กิเลสระงับนะ เพราะมันพอใจของมัน มันทำถึงจุดของมัน มันก็ระงับของมันออกไป นี่มันทำให้เราไม่ได้ต่อสู้ เราไม่ได้ค้นคว้าหาตัวเราให้เจอ

ถ้าเราค้นคว้าหาตัวให้เจอนะ ต้องระงับกิเลส ถ้าระงับกิเลส กิเลสอยู่ที่ไหน? กิเลสอยู่ที่ใจ ถ้ากิเลสอยู่ที่ใจ สติอยู่ไหน ถ้าเรามีสติ เราใช้สติควบคุมใจของเราให้ได้ ถ้าควบคุมใจของเรา กิเลสตัณหาความทะยานอยากมันจะฟุ้งซ่านขนาดไหนก็แล้วแต่ มันจะคิดไปขนาดไหนก็แล้วแต่ มันเป็นอนิจจัง

“สิ่งใดเป็นอนิจจัง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา”

นี่คือสภาวธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ใจเคยสัมผัสไหม ถ้าใจเราไม่เคยสัมผัสสิ่งนี้ เห็นไหม เราไปตามอำนาจของตัณหาความทะยานอยาก กิเลสพาทำ กิเลสขับเคลื่อนออกไป

ในการประพฤติปฏิบัติในปัจจุบันนี้ ทุกคนเข้าใจว่าสิ่งนี้คือการปฏิบัติธรรม ปฏิบัติธรรมโดยกิเลสตัณหาความทะยานอยากก็ว่าปฏิบัติธรรมไป ในฝ่ายอภิธรรมเขาบอกว่า “ถ้าทำโดยความอยาก จะเป็นปฏิบัติไปไม่ได้” ทำโดยความอยาก ถ้าโดยความอยากก็กิเลสมันพาทำ

แต่ถ้าเรามีสติ เราจะระงับกิเลส กิเลสมีอยู่ คนเรานี่เกิดตายยังกิเลสมีอยู่ เวลาพระโพธิสัตว์ประพฤติปฏิบัติขึ้นมา กิเลสมีอยู่ เขาก็มีคุณงามความดีของเขา ในการประพฤติปฏิบัติ หลวงปู่มั่นท่านประพฤติปฏิบัติของท่านนะ ออกบวชใหม่ๆ แล้วประพฤติปฏิบัติ จิตสงบขนาดไหนก็แล้วแต่ เห็นนิมิตขนาดไหน ไปตามความรู้เห็นเพราะไม่มีครูบาอาจารย์สอนไง ไปขนาดไหน กลับมาแล้ว ออกมา จิตนี้เป็นสภาวะแบบนี้ อย่างนี้คือไม่ใช่

เวลาประพฤติปฏิบัติกำหนดพุทโธเข้ามาขนาดไหน เห็นจิตออกไป เดินถึงสุดทางทางหนึ่ง มันเป็นทางตัน ย้อนกลับมาตลอด นี่กิเลสระงับ กิเลสระงับเพราะออกมาแล้วจิตนี้มันก็เป็นปุถุชน จิตนี้มันก็มีความลังเลสงสัย จนย้อนกลับมา ย้อนกลับมาเพราะอะไร

เพราะว่าองค์หลวงปู่มั่นท่านปล่อยของท่าน ท่านว่าท่านปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ ท่านปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าเหมือนกัน ต้องกลับมาปลดตรงนี้ก่อน กลับมาปลดตรงนี้แล้วออกประพฤติปฏิบัติเข้าไป เวลาออกประพฤติปฏิบัติเข้าไป มันเป็นความอาลัยอาวรณ์ในหัวใจ ถ้าจิตนี้มันเคยสร้างบารมีมา สิ่งนี้เป็นบุญญาธิการของใจดวงนั้น พอจิตสงบขึ้นมาจะตัดความเป็นไป ตัดโพธิสัตว์ของตัวเองมันอาลัยอาวรณ์นะ มันอาลัยอาวรณ์สิ่งที่เราสร้างมาขนาดไหน แต่เพราะมีปัญญา แต่เพราะมีสติสัมปชัญญะ แต่เพราะจะระงับกิเลสไง จะระงับกิเลส จะควบคุมสิ่งนี้ให้ได้ ถึงต้องลา ลาโพธิสัตว์อันนี้ ตัดอันนี้ออกไป

พอตัดอันนี้ออกไป จิตสงบเข้ามาแล้วย้อนกลับไป มันจะไปเห็นกาย เห็นกาย เห็นความเป็นไป เห็นกิเลส เราระงับกิเลสแล้วเราควบคุมกิเลส แล้วเรายกขึ้นใจของเราขึ้นไป วิปัสสนาขึ้นไปมันเริ่มปล่อยวางๆ ความสุขของการปล่อยวาง จากที่เราระงับกิเลสกับที่กิเลสมันระงับ มันต่างกัน

ถ้ากิเลสมันระงับมันปล่อยวางมามันไม่มีสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มันปล่อยวาง มันว่างๆ สิ่งนี้มันเป็นเรื่องกิเลสระงับ เพราะมันพาให้เราหลงไป แต่ถ้าระงับกิเลส เราจะเห็นสภาวะของเรา เราจะมีสติสัมปชัญญะ เราจะควบคุมสภาวะแบบนี้ได้ สิ่งที่สภาวะแบบนี้ได้ นี้เพราะอะไรล่ะ เพราะว่าเรามีสติ เราเชื่อธรรมไง มีสติขึ้นมา การประพฤติปฏิบัติของเราขึ้นมา ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง

สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากชีวิตนี้นะ เรามีชีวิตขึ้นมา แล้วเรามีศรัทธาความเชื่อ ศรัทธาความเชื่ออันนี้จะไม่อยู่กับเราตลอดไปหรอก สิ่งใดก็แล้วแต่เกิดขึ้นมาแล้วมันต้องเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ชีวิตของเราก็เหมือนกัน “คุณค่าของชีวิต” เกิดมาแล้วต้องตายเป็นธรรมชาติของมัน ต้องตายโดยธรรมชาตินะ แต่ถ้าเราค้นคว้า เราขวนขวายทางโลก เราก็จะได้ทางโลก

ถ้าเราขวนขวายทางธรรมล่ะ การขวนขวายทางธรรม ย้อนกลับมาในหัวใจ ในหัวใจของเรา ในเรื่องของโลกเขา มันเป็นเวรเป็นภัยต่อกัน เราระงับดับเรื่องของโลก เป็นเวรเป็นภัยต่อกันแล้ว เราต้องมาค้นคว้าตัวเราให้เจอ ถ้าเราค้นคว้าตัวเราให้เจอ สิ่งนี้มันถึงว่าเราจะเห็นมีคุณค่าขึ้นมา ถ้าจิตมันมีคุณค่าขึ้นมา นี่เรามีศรัทธา มีความเชื่อ เราต้องตั้งสติ แล้วเรากำหนดพุทโธก็ได้ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิก็ได้

สิ่งที่ปัญญาอบรมสมาธิคือความคิดที่มันฟุ้งซ่านออกไป ความคิดถ้ามันตรึกในธรรม ถ้ามันตรึกในธรรมนะ เวลามันประพฤติปฏิบัติไป คนเรามันง่วงหงาวหาวนอนเพราะอะไร เพราะมันเป็นนิวรณธรรม สิ่งที่เป็นนิวรณธรรม เราจะเอาอะไรเป็นเครื่องดำเนินล่ะ เราถึงต้องตรึกในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในพระไตรปิฎก ธรรมวินัยนี้เอามาตรึก ตรึกเพราะว่าอะไร ตรึกเพราะเราใช้ความคิด ความคิดเราอยู่ในธรรมไง ถ้าเราอยู่ในธรรม มันความคิดความปัญญาออกไปอย่างนี้สติเราจะพร้อม

เวลามันปล่อยวางขึ้นมา นี้ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่กิเลสระงับ แต่เพราะเรามีธรรม เพราะเรามีสติ มันถึงจะเป็น “ระงับกิเลส” ถ้าระงับกิเลส พอมันปล่อยวางขนาดไหนเราจะเห็นความปล่อยวางของมัน พอมันปล่อยวางของมัน มันมีผู้ปล่อย ถ้ามันมีผู้ปล่อย นี้คือตัวจิตไง พอมันปล่อยวางสิ่งนี้เข้ามา ความว่าง ความสุขของใจดวงนี้จะเกิดขึ้น ถ้าเรามีสติอย่างนี้ขึ้นมา เราเริ่มระงับกิเลส ถ้าระงับกิเลส แล้วเราก็จะต้องทำลายกิเลส เราจะต้องทำลายสภาวะจากหัวใจของเรา จิตดวงนี้มันถึงไม่เวียนไปในวัฏฏะ

สิ่งที่เกิดในภพในชาตินี้ เกิดมาในสังคมมนุษย์นี้ เพราะจิตมันเกิดมาในสังคมมนุษย์ มันถึงต้องใช้ชีวิตในภพของมนุษย์นี้ แต่ถ้าเราประพฤติปฏิบัติ ใจของเราจะประเสริฐนะ ประเสริฐขึ้นมาจากการมันปล่อยวาง นี่เราสละออก โลกเขาต้องแสวงหา เขาถึงจะได้ประโยชน์ของเขา เขาแสวงหาขึ้นมาขนาดไหน เขาก็ว่าสิ่งนั้นเป็นสมบัติของเขา “สมบัติของโลกผลัดกันชม” ใครมีสติ ใครมีปัญญา สิ่งที่ปัญญาคือการทำธุรกิจของเขา เขาจะได้ประโยชน์ของเขา แล้วคนต้องมีอำนาจวาสนา มันจะมีโอกาสของเขาเข้ามาทำแสวงหาในปัจจัยเรื่องของโลกเขา

แต่ถ้าย้อนกลับเข้ามาจากภายใน “เราต้องสละออก” สิ่งที่สละออก สละออกจากที่ไหนล่ะ เพราะอะไร เพราะความคิด ความคิดมันคิดขนาดไหนมันไม่ใช่วัตถุ มันไม่มีที่เก็บ ถ้าเป็นวัตถุมันต้องมีโกดังมีที่เก็บ เก็บวัตถุนั้น มันถึงจะเก็บได้ คิดมากขนาดไหนมันจะเก็บได้ แต่ความคิดไม่เป็นนามธรรม คิดขนาดไหนมันก็คิดได้ คิดขนาดไหนมันก็แสวงหาได้ มันแสวงหา มันยึดไปหมด แล้วแต่ในวัฏฏะนี้มันจินตนาการไปได้หมดเลย จินตนาการสิ่งนี้ขึ้นไป สิ่งนี้เข้ามามันย้อนกลับเข้ามาทำลายตัวมันเองไง

แต่ถ้ามันสละออก มันสละสิ่งนี้ออก แล้วมันจะสละไม่ได้ มันถึงต้องเอาปัญญาเข้าไปควบคุมมันไง ถ้าเอาปัญญาควบคุม นี่ตรึกในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะธรรมของเรายังไม่มี ถ้าธรรมของเรายังไม่มี เราตรึกธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วเรามีสติคอยพร้อมกับความคิดอันนี้ ถ้าความคิดอันนี้เข้าไปถึงที่สุดมันจะปล่อย มันจะปล่อย เพราะธรรมชาติเป็นอย่างนั้น

แต่เริ่มต้นตั้งสติ เวลาคิดไปมันจะคิดมาก หูตาสว่างโพลง เพราะความคิด คิดจนสว่างโพลงไปในหัวใจของเราเลย เพราะอะไร เพราะกิเลสมันต่อต้านไง กิเลสมันไม่ต้องการให้เราเห็นหน้ามัน กิเลสมันไม่ต้องการให้เราเห็นช่องทางที่เราจะเอาตัวเราให้รอดได้ ฉะนั้นกิเลสเกิดมาจากจิตทุกดวง

เจ้าชายสิทธัตถะเกิดจากมารดามาก็มีกิเลสเหมือนกัน สิ่งที่มีกิเลส จิตทุกดวงที่เกิดนี้มีกิเลส ฉะนั้นกิเลสในหัวใจ เห็นไหม กิเลสเป็นนามธรรม ถ้าไม่มีธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราจะชี้หน้ากิเลสได้อย่างไร อะไรคือกิเลส? ความคิดฝ่ายชั่ว ความคิดฝ่ายผิด ความคิดอกุศลนั้นคือกิเลส แล้วกิเลสมันเกิดมา เกิดจากใจของเรา

แล้วความคิดฝ่ายดีเราล่ะ ความคิดที่เป็นธรรม เป็นกิเลสไหม? สิ่งที่ความคิดฝ่ายธรรม สิ่งนี้เหมือนรถคันหนึ่ง มีทั้งเบรค มีทั้งคันเร่ง ถ้าขณะเบรค เบรคเพราะสิ่งนี้ รถเราจะไปชนกับวัตถุข้างหน้านั้นเราต้องเบรคไว้ แต่ถ้ารถเราไปบนถนน เราจะถึงเป้าหมาย เราต้องเหยียบคันเร่งขึ้นไป นี้ก็เหมือนกัน ความคิดนี้เกิดจากจิต ถ้าความคิดเป็นอกุศล เราต้องเหยียบเบรค ถ้าความคิดเป็นฝ่ายธรรม เราต้องเหยียบคันเร่ง แล้วสติสัมปชัญญะ เราจะรู้ได้อย่างไร คิด ความคิดอันนี้เป็นกิเลสหรือเป็นธรรมล่ะ

มันถึงต้องมีการฝึกฝนไง วุฒิภาวะของใจอยู่ตรงนี้ไง ถ้าจิตมันคิดหยาบๆ ความคิดจากเริ่มต้น เริ่มต้นเราก็มีความวิตกกังวลว่าความคิดนี้ เราปฏิบัตินี้จะเป็นตัณหาความทะยานอยาก สิ่งที่เป็นตัณหาเป็นความทะยานอยากนี้มันไม่ใช่มรรค มันเป็นกิเลส แต่ที่เป็นตัณหาเป็นความทะยานอยาก ถ้ามันเป็นศรัทธานะ เราเอาศรัทธาความเชื่อ แล้วอาศัยธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่ก้าวเดิน

ถ้าอาศัยธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่ก้าวเดิน นี่มรรคหยาบๆ มันจะเกิดขึ้นมาจากใจก่อน ถ้าเราไม่มีมรรคหยาบๆ เลย มันเป็นโลกียปัญญา ปัญญาของโลกียะ ปัญญาของโลกนี้ ว่าเป็นปัญญาๆ ขนาดไหน มันเป็นปัญญาของโลก แล้วปัญญาของธรรมจะเกิดอย่างไร

เวลาประพฤติปฏิบัติธรรม ต้องพ้นกิเลสด้วยปัญญา เราก็ว่าเราพ้นด้วยปัญญา ก็ความคิดด้วยใจ ใจหยาบๆ ใจที่มันเป็นโลก เป็นที่กิเลสมันพาทำ เห็นไหม เราก็คิดของเราเป็นเรื่องของโลก นี่ว่าเป็นปัญญาแล้ว ถ้าปัญญาแล้วมีสติสัมปชัญญะเข้าไป มันจะเห็นการปล่อยของมัน ถ้าเห็นการปล่อยของมัน แล้วเราพยายามไล่ต้อนเข้าไปบ่อยๆ มันจะปล่อยบ่อยครั้งเข้าๆ นี่เราจะมีปัญญาอย่างนี้เข้าไป

สิ่งที่เกิดขึ้นไล่ต้อนไปขนาดไหน มันจะเข้าไปหาสู่ความรู้สึกของเรา ถ้าความรู้สึกของเรามันอยู่เกิดจากที่ไหน? เกิดจากจิตของเรา “จิตของเรานะ” สิ่งใดๆ ในโลกนี้เขาอยู่โดยธรรมชาติของเขา เขาเป็นสภาวะแบบนั้น มีการเอาเปรียบ เอารัดเอาเปรียบกัน มีการจุนเจือกัน นี่เรื่องของโลกไง เราถึงสละ เราระงับ ระงับเวรระงับกรรมจากโลกของเขา แล้วเราไปเกาะเกี่ยวเขา

ถ้าเราใช้ปัญญาไล่ต้อนความคิดของเราขึ้นมา ถึงที่สุดแล้วมันต้องกลับมาอยู่ที่เราทั้งหมด เพราะเราไปรับรู้ เพราะเราไม่พอใจสิ่งนี้ เพราะเราพอใจสิ่งนั้น เพราะเราต้องการสิ่งนี้ เพราะเรายึดมั่นสิ่งใด นี่เกิดจากเราทั้งหมดเลย ถ้าปัญญามันไล่ต้อนเข้ามา ระงับกิเลส เพราะเห็นเรา เพราะเห็นจิตนี้เป็นที่ตั้ง จิตนี้เป็นที่ตั้งแล้วถึงออกไปเป็นความคิดฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว ฝ่ายดีฝ่ายชั่ว “กุศลและอกุศล” เบรคและคันเร่งมันอยู่ตรงนั้น ถ้าเบรคและคันเร่งอยู่ตรงนี้ เราเริ่มมีสติสัมปชัญญะขึ้นมา เราเริ่มแยกแยะได้

ถ้าเราแยกแยะได้ มรรคหยาบๆ มรรคหยาบๆ คือว่าเราเริ่มต้นจากว่าเราเห็นตัวตนของเรา เราเห็นเป้าหมายของเราว่าที่ตรงนี้ ที่ฐีติจิตนี้ ที่ตัวของใจนี้มันไปเกาะเกี่ยวสิ่งต่างๆ ทั้งหมด แต่เดิมเราไม่เห็น เราระงับเวรระงับกรรมจากภายนอก เพราะเรากระทบกระเทือนจากจิตดวงอื่นไง เราเห็นความกระทบกระเทือนกันระหว่างจิต ระหว่างเราไม่พอใจสิ่งใดๆ มันเป็นเรื่องของข้างนอก มันเป็นเรื่องของโลก เป็นการส่งออก ถ้าจิตส่งออก มันก็จะไปกระทบกระเทือนกับความกระทบข้างนอก แล้วเราระงับเวรระงับกรรมต่อกัน

เราย้อนกลับเข้ามา แล้วถ้าย้อนกลับเข้ามา กิเลสมันกระเทือนอยู่ในหัวใจ กิเลสกับใจนี้มันเกิดอยู่ด้วยกัน สิ่งที่กิเลสกับใจนี้เกิดด้วยกัน มันไม่กระเทือนคนอื่น มันหลอกใจเรานะ มันหลอกใจของเรา แล้วมันควบคุมใจของเรา แล้วมันให้ใจของเรารับรู้สิ่งสภาวะที่มันให้รับรู้เท่านั้น มันจะให้เรารับรู้สิ่งใด มันจะให้ใจเรารับรู้เท่านั้น

แต่เราขนาดเราตรึกธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี้เป็นธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ใช่ธรรมของเรา เราตรึกสภาวธรรมแบบนั้น มันก็ให้รับรู้ตรงนั้น แล้วมันให้ระงับมันก็ปล่อยวางสภาวะแบบนั้น แต่ถ้าเราตั้งสติของเราขึ้นมา มันจะเป็นจิตของเรา มันจะเป็นความรู้ของเรา สิ่งที่ความรู้ของเรา เห็นความปล่อยวางอันนี้ เห็นไหม นี่ระงับกิเลสเข้าไปบ่อยครั้งเข้าๆ สภาวะแบบนี้เราไล่ต้อนเข้ามาแบบนี้ วุฒิภาวะของใจมันจะเจริญ มันจะพัฒนาของมันขึ้นไป

ถ้าวุฒิภาวะของใจพัฒนาขึ้นไป จากระงับกิเลส มันก็ต้องทำให้จิตนี้ตั้งมั่น การระงับกิเลสบ่อยครั้งเข้า จนเราสามารถหาทุนหารอนของเราได้ ถ้าเราหาทุนหารอนของเราได้ เราหาตัวจิตของเราได้ หาเป้าหมายของเราได้ แล้วเป้าหมายตรงนี้เราถึงจะเริ่มต้นออกชำระกิเลสไง

เราระงับมันไว้ก่อน เราระงับบ่อยครั้ง ต้องระงับบ่อยครั้ง ต้องสติตั้งเข้ามาตลอดนะ ถ้าเราปล่อย เราระงับได้บางครั้งบางคราว แล้วถ้ากิเลสมันออก มันสติเราอ่อนไป กิเลสมันจะมีอำนาจมากกว่า มันจะทำให้จิตของเราออกไปตามแต่กิเลสตัณหาความทะยานอยาก เราเคยสังเกตไหมว่าเวลาเราทำความสงบของใจเข้ามา เราทำได้เป็นบางครั้ง แล้วเราจะพยายามทำอีกมันทำไม่ได้เพราะเหตุใด ทำไมเราทำให้สงบอย่างนี้ไม่ได้ล่ะ จิตที่มันเคยสงบขึ้นมา เราเคยทำได้ แล้วเราก็ทำอย่างนั้นอีก ทำไมทำไม่ได้

นี่เพราะเราไม่เข้าใจเรื่องของกิเลสของเรา กิเลสของเราขนาดที่ว่าธรรมเจริญ มันอ่อนตัวลง มันจะหลบตัว ขณะที่ธรรมเราอ่อนแอลง เวลากิเลสมันแข็งตัวขึ้นมา กิเลสมันแข็งขึ้น มันมีอำนาจขึ้นมาในหัวใจ มันจะทำให้เราเตลิดเปิดเปิงเลย เราพยายามเดินจงกรมแบบที่เราเคยทำมันก็ไม่ได้ผล เราพยายามนั่งสมาธิ เราพยายามมันก็ไม่ได้ผล ไม่ได้ผลเพราะกิเลสมันมีอำนาจมาก กิเลสมันแสดงตัวของมันขึ้นมา มันเป็นเจ้าวัฏจักร มันเป็นเจ้าหัวใจ มันทำหัวใจนั้นให้เราส่งออกไปตามมัน

เพราะเหตุนั้นเราถึงต้องพามันเข้าป่าช้า เราถึงต้องพามันเข้าในสถานที่มันน่ากลัว พาเข้าไปในป่าในเขา ถ้ากิเลสมีอำนาจมหาศาล มีขนาดไหน เราจะเอาตายเข้าแลก ถ้าเราเอาตายเข้าแลก สภาวะแบบนี้ ขณะที่กิเลสมันมีอำนาจเหนือดวงใจดวงนั้น เราต้องมีสติ เราต้องมีกำลังใจ เราต้องอาศัยครูอาจารย์ อาศัยธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง

เราจะย้อนกลับไปสมัยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพยายามชนะพญามาร มารหลอกขนาดไหน ถึงที่สุดแล้วนางตัณหา นางอรดี...มารคอตกนะว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะต้องพ้นจากมือไป ลูกสาวพญามารยังบอกว่าจะไปยั่วยวน จะไปเอาให้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้อยู่ในอำนาจของพญามาร

พญามารก็อยู่ในหัวใจของเรา เป็นบุคลาธิษฐาน สิ่งที่เป็นบุคลาธิษฐาน “โลภ โกรธ หลง” กับเจ้าวัฏจักรมันยังละเอียดอ่อนอยู่ในหัวใจของเรา แล้วเราเริ่มต้นประพฤติปฏิบัติ เราบอกว่า “เราระงับกิเลส เราพ้นจากกิเลส” นี่มันเป็นเรื่องของกิเลสหลอกลวงนะ ให้เราล้มลุกคลุกคลาน กิเลสมันอิ่มหมีพีมันในหัวใจของเรา มันพาเราล้มลุกคลุกคลาน มันเสพเรื่องของผัสสาหารของมัน ในหัวใจของเรา แล้วมันก็พาเราล้มลุกคลุกคลาน แล้วเราก็ไม่มีกำลัง เวลาทำความสงบมา เคยทำได้ แล้วมันทำไม่ได้ เพราะกิเลสมันมีอำนาจ มันมีอำนาจ

ธุดงควัตรขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงวางไว้ไง วางไว้ให้เราต่อสู้กับมัน ถ้ามันไม่ได้ผลอย่างนั้น เราจะอดอาหาร เราจะอดนอนเพื่อต่อสู้กับกิเลส ในเมื่อธาตุขันธ์มันอ่อนตัวลง ในธรรมชาติสิ่งใดก็แล้วแต่ เวลามันเกิดขึ้นมา ถึงที่สุดแล้วมันต้องแปรสภาพทั้งหมด แม้แต่กิเลสก็เหมือนกัน แต่กิเลสมันเป็นนามธรรม แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเห็นการเกิดดับในหัวใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อน แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประหัตประหารมัน จนมันสิ้นไปจากหัวใจ จนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเย้ยมันเลย

“มารเอย เธอเกิดจากความดำริของเรา บัดนี้เธอเกิดอีกไม่ได้”

มันเกิดจากความคิดของเรานี่ แล้วเวลาเราคิดเรื่องการประพฤติปฏิบัติ เพราะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชนะมาร ฆ่ามารตายออกไปจากใจขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เราผู้ที่สาวกะ-สาวก เราเกิดมานี่กิเลสพาเกิด กิเลสเต็มหัวใจของเราเลย แล้วเราทุกข์มาก เกิดมาถามตัวเองว่าชีวิตนี้มีความสุขขนาดไหน ความทุกข์ขนาดไหน

ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอก “ชีวิตเราเหมือนกับเราวิดน้ำทะเลทั้งทะเลเลย เพื่อจะเอาปลาเล็กๆ ตัวหนึ่ง” นี่เราใช้ชีวิตทางโลกเป็นสภาวะแบบนั้น มันลุ่มๆ ดอนๆ มันมีแต่ความทุกข์ตลอด แล้วเราก็เชื่อธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ออกประพฤติปฏิบัติ ออกบวชเป็นพระเป็นเจ้า เพื่อจะชำระกิเลส แล้วกิเลสมันยุบยอบลงไหมล่ะ กิเลสมันกลัวเพศของเราไหมล่ะ?

มันไม่กลัวหรอก แล้วมันยังว่าถ้ากิเลสมันระงับนะ มันพาอวดดีด้วย พาอวดตัวอวดตนด้วย “เราเป็นพระ เราเป็นผู้มีศีล เราสูงกว่าคฤหัสถ์” นี่กิเลสมันทำให้หัวใจมันพอง มันจองหองพองขน มันก็มีอำนาจ มันก็เหยียบหัวใจของเราก่อน เราไม่รู้เลยว่ากิเลสมันเหยียบย่ำใจของเราก่อน แล้วมันก็ไปเหยียบย่ำจากข้างนอก

เราถึงต้องมีธุดงควัตร ธุดงควัตรเพื่อขัดเกลามัน ขัดเกลากิเลสนะ อยากได้ ไม่เอา อยากกิน ไม่กิน อยากไป ไม่ไป มันอยากสิ่งใด เราจะฝืนมัน ถ้าเรามีการฝืนมัน เรามีสติขึ้นมา เราจะฝืนกิเลส แต่เราไม่ฝืนมัน เราปรนเปรอมัน สิ่งนี้เป็นธรรมชาติ อาหารนี้ก็เป็นธรรมชาติ ธาตุ ๔ นี้มันต้องการอาหาร มันต้องการอาหาร เวลาหลับนอน คนเราเกิดมามันต้องนอน มันคิดสภาวะแบบนั้นไง แต่ทำไมครูบาอาจารย์ท่านสามารถฝืนมันได้ล่ะ

มันฝืนได้ สิ่งฝืนมันก็ฝืนกิเลส ถ้าฝืนกิเลส เราฝืนได้ ถ้าเราทำได้ เราตั้งสัจจะ แล้วเราทำได้สมกับที่สัจจะเรา กิเลสมันจะอ่อนตัวลง จากที่มันมีอำนาจ มันมีอำนาจเพราะว่ามันเป็นนามธรรมที่เกิดในใจของเรา เราไม่เห็นมัน แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเคยเห็นมัน แล้วกลัวมาก กลัวว่า “สิ่งใดๆ ในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดน่ากลัวเท่ากับกิเลสในหัวใจของสัตว์โลก” เพราะมันเป็นความลึกลับมหัศจรรย์ที่อยู่ในใจของเรา แล้วเราไม่สามารถเห็นได้ แล้วเราคล้อยตามมันตลอด ถ้าเราคล้อยตามมัน จะทำดีหรือทำชั่วก็แล้วแต่ พระโพธิสัตว์ทำดีตลอด ก็อยู่ในใต้อำนาจของกิเลส

ถ้ากิเลสมันระงับ ขนาดมันระงับอยู่ในใจของเรา มันก็ยังพาเราเกิดเราตาย ถ้าเราระงับมัน แล้วเราจะทำลายมัน เราจะทำลายกิเลสออกจากใจ นี่จะเห็นความเป็นไปของมัน จะเห็นเป็นไปของมันเพราะเราเชื่อธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า “สติธรรม ปัญญาธรรม”

“ศีล สมาธิ ปัญญา” สิ่งที่เกิดขึ้น ขึ้นมาจากไหน? ขึ้นมาจากสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาจากธรรมวินัย เรามีสติ เรามีธรรมวินัย เวลาฝึกข้อวัตรปฏิบัติ นี่เป็นการฝึกสติ เป็นการฝึกการประพฤติปฏิบัติอยู่ในกรอบ กรอบอันนี้มันเหมือนกติกา กติกาเพื่อจะให้จิตของเราอยู่ในทาง อยู่ในทางที่เราจะพาจิตนี้ให้ย้อนทวนกระแสกลับเข้ามา แล้วถ้าธรรมวินัยนี้ยังเป็นสิ่งที่ยังควบคุมใจนี้ไม่ได้ เราถึงต้องมีธุดงควัตรไง

ธุดงควัตรนี้เป็นธรรมในธรรม ศีลในศีล เป็นศีลในศีลนะ การผิดศีล ศีล ๒๒๗ ศีล ๒๑,๐๐๐ ข้อ ถ้าเราผิดพลาด เราทำโดยไม่เข้าใจก็แล้วแต่ มันเป็นอาบัติไง แต่ถ้าธุดงควัตรนี้พระไม่ถือก็ไม่เป็นอาบัติ เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่ขัดเกลา ถ้าเราถือสิ่งนี้ขึ้นมา ให้ย้อนกลับเข้ามา ถ้าย้อนกลับเข้ามา กิเลสมันจะกลัวตรงนี้ กิเลสมันกลัวธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กิเลสไม่กลัวอะไรเลย “กิเลสกลัวธรรม” ถ้ากิเลสกลัวธรรม แล้วธรรมเราเกิดไหม ถ้ากิเลสกลัวธรรม เราอ่านพระไตรปิฎกเป็นตู้เลย แล้วกิเลสมันยุบยอบลงไหม มันกลัวไหม? มันไม่กลัวเพราะมันเป็นสิ่งที่ว่าอยู่ข้างนอก

แต่ถ้ามันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากกิเลส กิเลสมันอยู่ที่ใจ แล้วความประพฤติปฏิบัติเกิดมาจากใจ เกิดมาจากใจทั้งที่เราไม่รู้ว่าสิ่งนี้เป็นยานะ เด็ก เวลาเราให้กินยา มันเบื่อหน่าย มันจะต่อต้าน ใจก็เหมือนกัน ถ้าเราจะให้มันกินยา เราจะเอาธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นมา มันก็ต่อต้าน สิ่งที่ต่อต้านเพราะมันยังไม่เห็นผล เด็กมันไม่เข้าใจหรอกว่ากินยาแล้วโรคภัยไข้เจ็บมันจะหาย นี่มันก็ต่อต้าน มันก็ผลักไส ไม่ยอมกินยานั้น

ใจก็เหมือนกัน ใจในเมื่อมันกำหนดพุทโธ ธรรมเหมือนเป็นยาเริ่มต้น เป็นคำบริกรรม ถ้าคำบริกรรม สิ่งนี้เกิดขึ้นมา เริ่มต้น เริ่มต้นตั้งแต่เราตั้งจิตของเราให้ได้ ถ้าเรามีคำบริกรรมขึ้นมา นี่มันเริ่มเกิดยา ถ้าเกิดยาเข้าไป เรากินยาบ่อยครั้งเข้าๆ นี่ธรรมโอสถ สิ่งที่ธรรมโอสถ เรากินบ่อยครั้งเข้า เราให้ใจเราได้ดื่มกินธรรมอันนี้

แล้วถ้าใจมันสงบขึ้นมา ถ้าใจมันสงบขึ้นมา สงบขึ้นมาเพราะเหตุใด

เวลาจิตเราสงบขึ้นมา เราเกิดขึ้นมาจากไหน? เกิดขึ้นมาจากคำบริกรรม ถ้าเกิดขึ้นมาจากคำบริกรรม สิ่งที่คำบริกรรมนี้ ผลของมันคือความสงบของใจไง “คำบริกรรม” ขณะที่ว่าเข้าถึงใจ คำบริกรรมจะหายไป สิ่งที่หายไปเพราะจิตมันละเอียดเข้ามาๆ ถึงที่สุดนะ “ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ” สิ่งที่เป็นสมาธิ นี่ระงับกิเลส แล้วมีสติพร้อม

ถ้าสติพร้อมอย่างนี้ เราถึงค่อยยกขึ้นวิปัสสนา

ถ้ายกวิปัสสนา อาสวักขยญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดตรงนี้ เกิดขึ้นมาจากจิตที่มันไม่มีสิ่งที่กิเลสตัณหาความทะยานอยากนี้พาทำ ถ้ากิเลสระงับ กิเลสพาทำ กิเลสมันใคร่ครวญของมันไป มันใคร่ครวญ มันปล่อยวางขนาดไหน นี่กิเลสพาทำ มันเป็นสัญญาอารมณ์

แต่ถ้ามันเป็นสัจจะความจริง สัจจะความจริงของใจที่มันเกิดขึ้นมาจากสภาวะของมัน สิ่งนี้ต่างหากที่หลวงปู่มั่นบอก “นี่เข้าทาง” เวลาที่มันเห็นนิมิต เห็นความเป็นไป เวลาถอนกลับเข้ามามันไม่ได้ปลดเปลื้องสิ่งใดในหัวใจเลย แต่พอลาสิ่งที่เป็นพระโพธิสัตว์ แล้วออกพิจารณากาย พอพิจารณากายไป เพราะจิตสงบขึ้นมา ยกขึ้นกายได้ เห็นสภาวะกาย พิจารณากาย ปล่อยวางเข้ามา

นี่มันเริ่มจางลงๆ ทิฏฐิมานะในหัวใจมันเห็นสภาวะของมัน ทิฏฐิมานะว่า “เรารู้” ทิฏฐิมานะว่า “เราเห็น” ทิฏฐิมานะว่า “เราเป็น” สิ่งนี้ “รู้ เห็น เป็น” ขึ้นมา มันเหมือนกับประกอบธุรกิจทางโลก มันแสวงหา มันต้องการ ถ้ามันเป็นธรรม มันสละออก ทิฏฐิมานะมันจางลง มันเบาลง สิ่งที่เบาลงเพราะเห็นสภาวะแบบนั้น มันจะเป็นความลึกลับของใจนะ เพราะใจดวงนี้มันพาเกิดพาตายมามหาศาล ชีวิตนี้มันเป็นสิ่งที่ว่าเป็นความรู้สึกอันนี้ เป็นนามธรรมแต่มันลึกลับมาก

เวลาเราหายใจเข้าและหายใจออก เวลาตายลง จิตดวงวิญญาณออกจากร่าง...หมดค่า ร่างกายนี้หมดค่านะ แต่ขณะที่เราปัจจุบัน งานของเรา งานละเอียดคืองานของนามธรรม สิ่งที่ฝึกฝนให้ใจดวงนี้มันฉลาด สิ่งที่มันฝึกฝนให้ใจฉลาด มันเห็นสภาวะของกายอย่างนี้ แล้วมันจะฝังลงที่ใจ

“มนุษย์เป็นอย่างนี้หรือ ร่างกายเป็นอย่างนี้หรือ ความเห็นอย่างนี้มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร”

เวลาประพฤติปฏิบัตินะ มันจะมหัศจรรย์ขนาดที่ว่า “ปัญญาอย่างนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร” ปัญญาอย่างนี้ ปัญญาการถอนลูกศรออกจากใจ ลูกศรออกจากใจนะ เพราะมันยึดมั่นถือมั่นโดยธรรมชาติของมัน สิ่งที่เป็นนามธรรมมันยึดมั่นถือมั่นของมัน ทั้งๆ ที่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “กายไม่ใช่เรา เราไม่ใช่กาย สรรพสิ่งนี้เป็นสภาวธรรมอันหนึ่ง สิ่งที่จิตเกิดขึ้นนี้โดยสภาวะของกรรม”

นี่เราก็รู้ เราก็รู้จากสัญญา รู้จากธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขณะที่มันวิปัสสนาเห็นกาย สภาวะแบบนั้นน่ะ นี่มันเป็นความมหัศจรรย์ ปัญญาอย่างนี้ ปัญญาที่เกิดจากภายในมันเลาะ มันปล่อยให้จิตนี้วางว่าง ปล่อยวางลงๆ

หลวงปู่มั่นบอก “อย่างนี้ ใช่ทาง” “อย่างนี้ เข้าทางแล้ว”

ขณะที่เริ่มต้นประพฤติปฏิบัติ ขณะที่ว่าถ้ากิเลสระงับ มันก็เป็นส่วนหนึ่ง เพราะมันออกมาแล้ว “ปุถุชน” ไม่ได้ทำสิ่งใดๆ ไม่ได้สะเทือนกิเลสแม้แต่น้อยเลย ถ้าระงับกิเลส แล้ววิปัสสนา มันจะเริ่มเห็นการทำลายกัน เห็นการทำลายทิฏฐิมานะ ทิฏฐิคือความเห็นผิด ความมานะคือมานะในหัวใจดวงนั้น มานะอยู่ในหัวใจ มันเป็นนามธรรมที่ไม่มีสิ่งใดจะเข้าไปลบล้างสิ่งที่เป็นมานะ เป็นจริตนิสัย นิสัยที่แข็งกระด้างในหัวใจอันนี้ จะไม่มีสิ่งใดไปทำลายมัน เว้นแต่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เกิดจากใจของเรา

เพราะเรามีใจของเรา เพราะเราทำความสงบของใจเข้ามา แล้วใจดวงนี้มันไม่มีกิเลสตัณหาความทะยานอยากที่มันสร้างภาพ ที่มันพาออกไปในการส่งออก แล้วมันย้อนทวนกระแส ต้องเป็นธรรมของเรานะ ต้องเป็นธรรมในหัวใจที่จิตนี้สงบขึ้นมา แล้วจิตนี้มันใคร่ครวญของมันขึ้นมา แล้วมันเป็นสภาวะของมัน เป็นสิทธิ เป็นปัญญาของตัว เป็นลิขสิทธิ์ของตัว เพราะตัวทำของเราขึ้นมา แล้วลิขสิทธิ์อย่างนี้ ใครจะแย่งชิงไปไม่ได้ เพราะสิ่งนี้มันเป็นความเห็นจากภายใน

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงบอกเป็นปัจจัตตังไง โอปนยิโกร้องเรียกสัตว์ทั้งหลายมาดูธรรม ดูความเห็นอันที่เราเกิดขึ้น การวิปัสสนากาย ความเห็นมันปล่อยจากกาย มันจะเห็นปัญญาความลึกลับมหัศจรรย์ของใจ ใจมันมีปัญญาอย่างนี้ได้อย่างไร ใจมีความเห็นสภาวะที่มันปลดเปลื้องความคิด ปลดเปลื้องความภาระรุงรังของใจได้อย่างไร

ใจมันเป็นภาระรุงรัง มันติดในตัวของมันก่อน แล้วมันค่อยออกไปยึด ออกไปยึดเรื่องของร่างกาย เรื่องของร่างกาย เวลาเราเจ็บไข้ได้ป่วย เข้าโรงพยาบาล ถ้าอวัยวะสิ่งใดที่เปลี่ยนได้ เขาตัดทิ้งนะ เขาเปลี่ยน เป็นของเราหรือ? มันไม่เป็นของเราหรอก แต่เวลามันอยู่กับเราทำไมเราสงวนเรารักษาเอามากมายมหาศาลขนาดนั้น

เราสงวนรักษาเพราะเราไม่ต้องการทุกข์ เราไม่ต้องการความเจ็บไข้ได้ป่วยไง เวลาเราเจ็บไข้ได้ป่วย แม้แต่มีบาดแผลมีสิ่งใด มันก็มีความเจ็บปวด แล้วถ้าเรามีบาดแผล แม้แต่หนามทิ่มเท้า เราเดินไม่สะดวก วิกลวิกาลไปตลอดร่างกายเลย ร่างกายวิกลวิกาล อาศัยเท้านี้เดินไปนะ แต่ขณะที่ว่าเท้าเดินไม่ได้ เราเป็นไปไม่ได้แล้ว นี่สิ่งนี้เป็นเรื่องของร่างกาย ร่างกายเป็นสภาวะแบบนั้น แล้วเราไปติดมัน เราไปเข้าใจ “ติดโดยนามธรรม ติดโดยกิเลส” ถ้ามันวิปัสสนาโดยปัญญาอย่างนี้ ปัญญาอย่างนี้จะปลดเปลื้อง

จากระงับกิเลส จากเกิดปัญญาญาณ เพราะปัญญาญาณเกิดขึ้นมาอย่างนี้มันจะเริ่มปล่อยวาง คำว่า “ปล่อยวาง” ถ้าเราปล่อยวางแล้ว เราไม่มีสติ มันปล่อยวาง เพราะการวิปัสสนานี้ไม่ถึงที่สุด ไม่ถึงขบวนการของมัน ถ้าไม่ถึงขบวนการของมัน “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องดับไปเป็นธรรมดา” ควรจะเป็นแบบนั้น ถ้าสิ่งทั้งหลายต้องดับไปเป็นธรรมดา คือความเห็นจริงโดยธรรม

แต่นี้สิ่งที่เกิดขึ้น สภาวธรรม สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา สิ่งนี้เกิดขึ้นมาโดยธรรมดา แล้วมันก็จะเสื่อมไปธรรมดา ถ้ามันเสื่อมไป มันถอยหลัง มันเป็นธรรมดานะ ถึงที่ว่ากิเลสมันระงับไปแล้ว มันก็ยังไม่ถึงที่สุด พอจิตมันถอนออกมา จิตมันถอยออกมา แล้วถ้าจิตเสื่อมจะทำอย่างไร

เวลาจิตเสื่อม จิตที่ไม่มีกำลัง แล้วก็น้อยเนื้อต่ำใจ อ่อนแอน้อยเนื้อต่ำใจว่า “เราไม่มีอำนาจวาสนา” นี่ถ้าเราจิตมันเสื่อมนะ กิเลสตัณหาความทะยานอยากมันจะใส่ไฟ มันจะยุแหย่ “เราไม่มีวาสนา เราทำอย่างนี้” เราน้อยเนื้อต่ำใจ แล้วเราไม่สู้นะ

ครูบาอาจารย์ของเรา เวลาประพฤติปฏิบัติขึ้นมา มันไม่ใช่สิ่งที่ทำได้สะดวกสบายง่ายดายหรอก มันต้องต่อสู้เพราะอะไร เพราะความเป็นเรื่องของกิเลสตัณหาความทะยานอยากนี้ เรื่องนามธรรมนี้ เรื่องทิฏฐิมานะ เราเคย เห็นไหม เวลาเราจะเปลี่ยนนิสัยของคนๆ หนึ่งมันเปลี่ยนได้ง่ายไหม? นิสัยของคน สิ่งที่นิสัยของคน เพราะสิ่งนี้มันเป็นจริตเป็นนิสัยที่เขาสร้างสมของเขามาในหัวใจ แล้วเราจะเปลี่ยนแปลง ให้เขาเปลี่ยนนิสัยของเขาเป็นเรื่องที่แสนยาก เพราะสิ่งนี้มันเป็นเรื่องของภายใน

แล้วเกิด แล้วในหัวใจของเราล่ะ สิ่งที่ความเห็นผิด เราจะเปลี่ยนนิสัย เปลี่ยนความพฤติกรรมของใจเลยล่ะ พฤติกรรมของใจที่มันคิดของมันโดยธรรมชาติของมันว่า “ในเมื่อเกิดมาเป็นเรา ทำไมมันจะไม่เป็นเรา” จิตใต้สำนึกของสัญชาติญาณของสัตว์โลกเป็นแบบนั้น จิตใต้สำนึกของสัตว์โลกทุกอย่างต้องเป็นเรา สะสมลงมาที่ใจทั้งหมด แล้วจะปลดเปลื้องสิ่งสภาวะแบบนี้ มันจะปลดเปลื้องเข้าไปได้อย่างไร

ถ้ามันปลดเปลื้อง มันต้องใช้ปัญญาญาณใคร่ครวญออกไปซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำแล้วซ้ำเล่า การซ้ำแล้วซ้ำเล่านี้เกิดขึ้นมาจากไหน เกิดขึ้นมาจากสติ เกิดขึ้นจากสมาธิ ถ้าสมาธิเราอ่อน การประพฤติปฏิบัติเรามันอ่อนไป สิ่งนี้มันไม่สมดุล ถ้าไม่สมดุลมันก็ไม่ปล่อยวาง สิ่งที่ไม่ปล่อยวาง เราทำขนาดไหน เราเพ่งขนาดไหน เราใช้สติขนาดไหนมันก็เป็นสภาวะกำลังมันไม่พอ ต้องปล่อยสิ่งนี้กลับเข้ามา

นี่การก้าวเดินระหว่างสมถกรรมฐานกับวิปัสสนากรรมฐาน เกิดขึ้นมาจากใจที่มีกิเลสนะ ในทางธรรมที่บอกว่า “ถ้ามีตัณหาความทะยานอยาก การประพฤติปฏิบัตินั้นจะไม่ได้ผล” แต่ถ้าเรามีศรัทธาความเชื่อ เราพลิกจากตัณหาความทะยานอยากนี้เป็นมรรค เราอยากในเหตุ อยากสร้างเหตุขึ้นมา จิตที่มีกิเลสตัณหาความทะยานอยากนี่แหละ เพราะกิเลสตัณหาความทะยานอยากนี้มันปกคลุมฐีติจิต ปกคลุมจิตดวงนี้ไว้

จิตดวงนี้มันมีอำนาจวาสนา เพราะมันเกิดมาเป็นมนุษย์ แล้วมันศรัทธา มีความเชื่อ แต่โดนกิเลสตัณหาความทะยานอยากปกคลุมไว้ เราก็ใช้มรรคขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเบิกออก เบิกกิเลสตัณหาความทะยานอยากออก จนมันเกิดปัญญาญาณขึ้นมา เวลาปัญญาญาณขึ้นมา เพิกถอนสิ่งนี้ขึ้นมา

นี่เริ่มจากเบาลง จากปุถุชนเป็นกัลยาณปุถุชน

ปุถุชนคือควบคุมใจของตัวเองไม่ได้เลย เวลากระทบสิ่งใด รูป รส กลิ่น เสียงเข้ามาในบ่วงของอายตนะ มันจะเป็นไปตามความเห็นของมัน มันจะฉุดกระชากลากใจของเราตลอดไป เรามีสติ มีปัญญา ใคร่ครวญสิ่งนี้ ใช้ปัญญาอบรมสมาธิ ใช้คำบริกรรมขึ้นมาต่างๆ ฝึกฝนจนกว่ามันเข้มแข็งขึ้นมา มันเข้มแข็งขึ้นมาจนเห็นว่า “รูป รส กลิ่น เสียง เป็นบ่วงของมาร” บ่วงของมารนะ แล้วฝึกฝนโดยสภาวะแบบนี้ มันตัดได้

ถ้ามันตัดได้ อุปาทานใน “รูป รส กลิ่น เสียง” เป็นกัลยาณปุถุชน ถ้าเป็นกัลยาณปุถุชน สิ่งใดที่กระทบปัญญามันทัน มันจะปล่อยวางสิ่งนั้นโดยอัตโนมัติ สิ่งที่ว่าอัตโนมัตินี่มันควบคุมใจได้ง่ายเข้ามา ควบคุมใจได้ง่ายเข้ามา แล้วมันยกขึ้นวิปัสสนา ถ้ายกขึ้นวิปัสสนา วิปัสสนามันใช้พลังงานของมันออกไป ใช้พลังงานนะ ใช้ปัญญาญาณออกไปใคร่ครวญในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม

ในเมื่อมันใช้พลังงานของมันออกไป การทำงานมันต้องใช้พลังงานอันนี้ พอการทำงาน พลังงานนี้ใช้ไปแล้วมันต้องเสื่อมค่าของมัน มันพลังงานต้องยุบยอบตัวลง เราต้องกลับมา ถ้ามันทำงานแล้วมันไม่ได้ผล เราต้องกลับมาตั้งสติแล้วกำหนดคำบริกรรม เพิ่มพลังงานอันนี้ขึ้นมาไง มันต้องให้มันสมดุล “สัมมาสมาธิ สัมมาสติ” ในมรรค ๘ มันมีอยู่แล้ว

จากที่เป็นตัณหาความทะยานอยากที่มันใช้อำนาจของใจ ใช้อำนาจของกิเลสตัณหาความทะยานอยากควบคุมใจนี้ แล้วพาใจดวงนี้ โดยที่ระงับ “กิเลสระงับ” เพราะมันอิ่มหมีพีมันของมัน มันถึงระงับเราก็ไม่เชื่อมัน เราถึงย้อนกลับเข้ามาให้มันระงับด้วย แล้วเรากลับไประงับกิเลส คือเราทรงได้ เราควบคุมได้ เราเริ่มต้นจากเราให้ปัญญาของเราก้าวเดินออกไป ปัญญาของเราก้าวเดินออกมาเพื่อชำระกิเลสตัณหาความทะยานอยากในรูป รส กลิ่น เสียง ที่มันเข้าไปพัวพันกับใจดวงนี้ ถ้ามันพัวพันใจดวงนี้เพราะกิเลสตัดมันขาดแล้ว แล้วยกวิปัสสนาเข้ามาที่กายตรงนี้ ให้มันพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำแล้ว เกิดในปัจจุบันนะ “ซ้ำแล้วซ้ำเล่า” หมายถึงว่าเวลาพิจารณาไปแล้วมันไม่เป็นอย่างที่เราเคยทำ

ถ้าเป็นอย่างที่เคยทำนั้นกิเลสพาทำนะ เพราะมันเป็นสัญญา ถ้ามันเป็นสัญญา เราสร้างภาพขึ้นมาขนาดไหนมันจะเป็นสัญญา กิเลสมันมีส่วนร่วมด้วย นี่กิเลสระงับ ถ้าระงับนี่มันปล่อยๆ มันปล่อยได้เหมือนกัน เพราะมันปล่อยโดยที่มันฝึกฝนอย่างนี้ มันไม่มัชฌิมาปฏิปทาไง แต่ถ้าเป็นธรรมนะ มันปล่อยโดยมัชฌิมาปฏิปทา มันปล่อยขนาดไหน เราจะมีผู้รู้ตลอด

เวลาพิจารณาเข้าไป พิจารณาเวทนา ปล่อยเวทนา เวทนาสักแต่ว่าเวทนา จิตสักแต่ว่าจิต ทุกข์สักแต่ว่าทุกข์ มันปล่อยวางเข้ามาหมดเลย ต่างอันต่างจริงนะ ความเห็นก็เป็นอันหนึ่ง ความรู้สึกก็เป็นอันหนึ่ง ทุกข์ก็เป็นอันหนึ่ง มันปล่อยเข้ามา ปล่อยแล้วเวลาถอนออกมามันก็สมานกันอีก มันยังต่างอันต่างจริงชั่วคราว ตทังคปหานมันชั่วคราว ถ้าเราชั่วคราว มันต้องซ้ำ ซ้ำโดยสติของตัว โดยความเห็นของตัว ซ้ำโดยความเห็นของใจดวงนั้น ใจดวงนั้นแล้วแต่อำนาจวาสนาจะซ้ำไปที่เวทนา ไปที่กาย เราก็ซ้ำของเราจนถึงที่สุด

ถ้าวิปัสสนาไปถึงที่สุด ตามหลักความจริง การฆ่ากิเลสสังโยชน์ต้องขาด ทิฏฐิความเห็นผิด สักกายทิฏฐิความเห็นผิด “กายเป็นเรา เราเป็นกาย ทุกข์เป็นเรา เราเป็นทุกข์” มันจะขาดโดยธรรมชาติของมัน จิตนี้ปล่อยวางสิ่งนี้เข้ามาตามความเป็นจริง นี้คือการฆ่ากิเลสไง

เราระงับกิเลสไว้ แล้วเราก็ใช้ปัญญาของเราไล่ต้อน แล้วเราก็ใช้สติสัมปชัญญะของเราไล่ต้อนทำลายกันเข้าไปเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไป เป็นชั้นเป็นตอน จนถึงที่สุดนะ ผลของการเกิดขึ้น “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีการเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งหลายต้องดับไปเป็นธรรมดา”

สภาวะการเกิดของจิต สภาวะความเกิดของอารมณ์ความรู้สึกมันเกิดขึ้นมาจากใจ มันเป็นธรรมดาของมันทั้งหมดเลย แต่เพราะมีอุปาทาน แต่เพราะมีความโง่ของกิเลส เพราะความโง่ของเรา มันถึงไปเอา “ความคิด จิต ทุกข์” มัดกันเป็นอันเดียวกัน เพราะมันมีอารมณ์

ถ้าเรามีความคิดขึ้นมา เราจะคิดว่าความคิดอันนี้พอใจเราไหม ถ้าความคิดนี้เป็นพอใจเรา เราจะพอใจกับความคิดนี้ แล้วเราก็คิดไป ผิดถูกนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งนะ เพราะพอใจ ถ้าผิดมันก็เป็นกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ถ้าถูกมันก็เป็นธรรม สิ่งนี้มันมีอุปาทานยึดสิ่งนี้เข้าไป แล้วสิ่งนี้ก็หมุนออกไป

ถ้าเป็นผิดมันก็เป็นตัณหาความทะยานอยาก

ถ้าเป็นถูกมันก็เป็นธรรม

แต่เพราะมีอุปาทานมันยึด ยึดสิ่งนี้มันก็เป็นธรรมชาติของมันอย่างนั้นแล้วเราไล่ต้อนเข้ามา เราใช้ปัญญาญาณเข้ามา ความที่เรามันเป็นความอุปาทานมันยึดอย่างนั้น มันจะปล่อยๆ จนถึงมันขาด ถ้ามันขาดสิ่งนี้ สิ่งนี้ขาดออกไปจากใจ อุปาทานคือสังโยชน์ขาดออกไปจากใจ สิ่งที่ขาดออกไปจากใจมันก็เป็นความต่างอันต่างจริง สิ่งนี้จะเข้ามาสมานเป็นเนื้อเดียวกันไม่ได้ เพราะ เพราะมันสมุจเฉทปหานด้วยปัญญาญาณ ด้วยมรรคญาณ

มรรคญาณ “ความดำริชอบ ปัญญาชอบ งานชอบ ความเพียรชอบ” สิ่งที่เป็นความเพียรชอบเกิดขึ้นมาจากไหน เกิดขึ้นมาจากจิตที่เราประพฤติปฏิบัติ เกิดขึ้นมาจากเราที่มีกิเลสตัณหาความทะยานอยากในหัวใจนี้ สิ่งที่มีกิเลสตัณหาความทะยานอยากมันปกคลุมใจไว้โดยธรรมชาติของมัน แต่เพราะเราเชื่อธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเราเชื่อธรรม แล้วเราประพฤติปฏิบัติเกิดขึ้นมาจากใจของเรา มันเป็นธรรมส่วนบุคคล มันเป็นธรรมของใจดวงนั้นนะ

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า “กิเลสต้องให้จิตใจของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเป็นผู้ที่แก้ไขเอง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ชี้ทาง” แล้วเรา ถ้าเราประพฤติปฏิบัติ เราประพฤติปฏิบัติเราถึงต้องพาตัวเราเข้าป่าเข้าเขา เข้าไปเพื่อให้มีความสงบสงัด เข้าไปเพื่อให้มันมีโอกาสในการทำงาน เราจะไม่คลุกคลีกับหมู่คณะ เราจะไม่คลุกคลีกับสังคม

ถ้าคลุกคลีกับสังคม จิตมันรับรู้สิ่งต่างๆ มันเป็นภาระ มันเป็นความรับผิดชอบ สิ่งที่มันมี ๑ มี ๒ มันก็เป็นความกังวล เป็นความภาระรับผิดชอบออกไป สิ่งที่เป็นภาระรับผิดชอบนี้เป็นเรื่องของโลก จิตมันส่งออก มันก็รับรู้สิ่งคือโลกียะ ปัญญาโลกียะ ปัญญาความเห็นของโลก

นี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึงบอกว่า “ให้ไม่จองเวร ให้ระงับเวรกรรมต่อกัน” เราจะไม่ไปจองเวร เราจะระงับ “เวรจะระงับด้วยการไม่จองเวรต่อกัน”

สิ่งนี้เป็นเรื่องสังคมโลก เราถึงย้อนกลับ เราถึงปล่อยสิ่งนี้ไว้ให้เป็นเรื่องของโลก แล้วย้อนกลับเข้ามาถึงเรา นี่พาเราเข้าป่าเข้าเขาเพื่อจะย้อนกลับเข้ามาให้เราเห็นสภาวะภายใน ถ้าเราเห็นสภาวะภายใน สิ่งที่มีคุณค่า หัวใจของสัตว์โลกนี้มีคุณค่ามาก ความสุขความทุกข์อยู่ที่ใจดวงนั้น แต่ในทางโลกเขาต้องพัฒนาทางวัตถุให้ทุกคนทุกดวงใจมีความสุข...มันจะเป็นไปได้อย่างไร ทุกดวงใจจะมีความสุข เพราะดวงใจของแต่ละดวงใจมีความเห็นต่างกัน มีความปรารถนาต่างกัน มีความต้องการต่างกัน สิ่งที่มีความต้องการต่างกัน ถึงต้องให้ดวงใจทุกดวงใจย้อนกลับเข้ามาที่ใจของตัว

ถ้าทุกดวงใจจะเป็นปัญญาอบรมสมาธิ จะเป็นกรรมฐาน ๔๐ ห้อง พุทโธ ธัมโม สังโฆก็แล้วแต่ นั้นคือจิตที่มันจริตนิสัยที่จิตที่มันพอใจ ถ้าจิตที่มันพอใจดวงไหน มันพอใจ มันตรงกับจริต ตรงกับนิสัย ความเป็นไปของจิตดวงนั้นมันจะพัฒนาขึ้นมา สิ่งที่จิตดวงนั้นพัฒนาขึ้นมา นี่มันอยู่ที่ความพอใจของแต่ละดวงใจที่ไม่เหมือนกัน วิธีการในการประพฤติปฏิบัติถึงไม่เหมือนกัน ในการทำความสงบของใจก็ไม่เหมือนกัน

สิ่งที่ไม่เหมือนกันย้อนกลับเข้ามา ขณะที่เห็นกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม ก็ไม่เหมือนกัน แม้แต่เห็นกายเหมือนกัน แต่แง่มุมของการเห็นก็ต่างกัน เวลาวิปัสสนาไปให้เป็นให้เน่าให้เปื่อยไปก็ส่วนหนึ่ง ให้แปรสภาพไปก็ส่วนหนึ่ง ให้เป็นไตรลักษณ์ก็ส่วนหนึ่ง เห็นลักษณะของความเป็นไปของจิตก็ส่วนหนึ่ง สิ่งที่ส่วนหนึ่งนั้นอยู่ที่ปัจจุบันธรรม ต้องให้เป็นปัจจุบันตลอด

สิ่งที่เป็นปัจจุบัน ปัจจุบันนี้มาจากอดีต ปัจจุบันนี้จะไปอนาคต ถ้าเราควบคุมปัจจุบันได้ เราควบคุมวัฏฏะทั้งหมด ถ้าเราควบคุมวัฏฏะทั้งหมด เราควบคุมวัฏฏะทั้งหมดแล้วเราเข้าไปทำลายวัฏฏะ ถ้าเราทำลายวัฏฏะขึ้นมา ปัญญาเกิดอย่างนี้ ความมหัศจรรย์ของเราถึงบอกว่าการค้นคว้าๆ ลงที่ใจดวงนี้ สิ่งที่ใจดวงนี้เกิดขึ้นมาจากเรา สิ่งที่เรื่องของภายนอกนี้มันเป็นเรื่องเครื่องอาศัย สิ่งที่อาศัยเราอาศัยมาเพื่อดำรงชีวิตนี้เข้ามา ถ้าดำรงชีวิตเข้ามา เราจะพาชีวิตนี้เข้าถึงฝั่ง

ถ้าเราเข้าถึงฝั่งได้ เราจะพาชีวิตนี้เข้าถึงการวิปัสสนาได้ ถ้าเราวิปัสสนาได้ มันวิปัสสนาจนทำลายกิเลสออกมาเป็นชั้นเป็นตอน แล้วสิ่งที่เหลือคืออะไรล่ะ? มันปล่อยวางสักกายทิฏฐิออกไป แต่ความที่ยึดจิต นี่อุปาทานมันมีหลายชั้น อุปาทานสั่ง เห็นว่ากายเป็นเรา เราเป็นกาย มันปล่อยขึ้นมา แล้วตัวตนอยู่ไหนล่ะ? ตัวตนมันอยู่ที่จิต จิตนี้มันยังมีตัวตนของมันอยู่ มันยังยึดมั่นถือมั่นของมันอยู่ ความยึดมั่นถือมั่น

จิตนี้เวลาพัฒนาขึ้นมาจากโลกมันก็พัฒนาขึ้นมาจากปัญญาโลกียะ แล้วมันก็เป็นปัญญาโลกุตตระ แล้วปัญญามันก็เป็นชั้นเป็นตอนเข้าไปนะ ถ้ามันละเอียดเข้าไป มันจะเห็นสภาวะของมัน นี่ขันธ์อย่างหยาบ ขันธ์อย่างกลาง ขันธ์อย่างละเอียด แล้วจะเป็นตอของจิตนะ เวลาจิตมันออกมา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเย้ยมาร “เกิดจากความดำริของเรา” แล้วความคิดมันเกิด อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ เพราะมีอวิชชา มันไม่รู้มันถึงเกิดสังขาร เพราะมีสังขารมันไม่รู้มันถึงเกิดมีวิญญาณ มีนามรูป มีอายตนะ มีออกไปเป็นชั้นเป็นตอนออกไปเลย นี่จิตมันก็ส่งออกมาอย่างนี้ไง ความรู้สึกของอวิชชามันจะส่งออกมาจากขันธ์อย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียดออกไปข้างนอก ถ้าเราย้อนกลับเข้ามา เราเริ่มตัดออก เราปิดประตู ขันธ์อย่างหยาบ มันก็ส่งออกมาอย่างกลาง ถ้าเราย้อนกลับเข้าไป มันวิปัสสนาเข้าไป มันจะวิปัสสนา

ต้องมีสัมมาสมาธิ ต้องมีสิ่งที่ว่าสิ่งที่เป็นเป้าหมาย ถ้าสิ่งที่เป็นเป้าหมาย เพราะจะเกิดสิ่งใดก็แล้วแต่ ต้องมีผู้รับรู้ ต้องมีสิ่งตอบสนอง มีสิ่งตอบสนองสิ่งนั้นถึงปรากฏรูปร่างขึ้นมา จิตก็เหมือนกัน จิตมันตอบสนองกับสิ่งใด มันตอบสนองกับขันธ์จากภายใน “ขันธ์อย่างหยาบ ขันธ์อย่างกลาง ขันธ์อย่างละเอียด”

เราตัดสิ่งที่มันตอบสนองคือขันธ์อย่างหยาบคือสักกายทิฏฐิ คือความเห็นกายนี้ผิด แล้วเราทำลายสิ่งนี้ พอทำลายสิ่งที่มันตอบสนองเข้าไป นี่เรื่องของจิตนะ ตัวมันเอง มันก็ตอบสนองกับความคิดของมันเอง แล้วเราทำลายความคิดคือขันธ์อย่างหยาบออกไป เพราะมันเข้าใจผิดในสักกายทิฏฐิ ในขันธ์ ๕ “ขันธ์ ๕ เป็นเรา เราเป็นขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ทุกข์เป็นขันธ์ ๕” เราทำลายสิ่งที่ตอบสนองเข้าไปมันก็หดตัวเข้าไป สิ่งที่หดตัวเข้าไป พอเราทำจิตสงบเข้าไป มันก็จะเห็นสิ่งที่ตอบสนองคือสิ่งที่มันแสดงตัวไง ถ้าถึงสิ่งที่แสดงตัว นี่ระงับกิเลส ถ้าเราระงับกิเลส เราจะจับตัวมันได้ ถ้าเราระงับกิเลส แล้วเราจับตัวมันได้ แล้วเราใคร่ครวญตัวมันเอง

เหมือนกับขโมย สิ่งที่ขโมยมันขโมยแล้วมันต้องซ่อนเร้น เพราะมันขโมย มันทำความผิด มันขโมยของๆ เรา แล้วมันก็ซ่อนตัวมัน นี่ก็เหมือนกัน ในเมื่อกิเลสตัณหาความทะยานอยากมันอยู่ที่จิต แล้วมันก็เกิดขึ้นมาจากจิต แล้วมันก็พาจิตนี้ออกไปขโมย เพราะมันมีกิเลสตัณหาความทะยานอยาก ในเมื่อออกไปขโมย ขโมยอารมณ์ในความรู้สึกของตัวนั่นน่ะ อารมณ์ความรู้สึกของตัวมันก็เอาไปใช้เป็นประโยชน์ของมันไง มันถึงมีความผูกพันไปข้างนอก พอความผูกพันไปข้างนอก ถ้าเราจับสิ่งนี้ได้ ถ้าจิตมันสงบเข้ามา เราระงับกิเลส ทำสัมมาสมาธิ ทำความสงบเข้าไป แล้วยกจิตขึ้นมา ย้อนกลับเข้าไปจากภายใน มันจะจับสิ่งที่ตอบสนองกับความรู้สึกอันนี้ ถ้าจับตอบสนองกับความรู้สึกอันนี้นั่นคือตัวกิเลส

ถ้าเราตัวกิเลส แล้วเราใคร่ครวญกิเลส ใคร่ครวญไป ใคร่ครวญไปในมรรคญาณ มรรคญาณ คือสิ่งที่ว่ามันเป็นมรรคะ มันเป็นมรรค มรรค ถ้าเป็นมรรค เพราะมีสติ มีปัญญา มันจะเป็นมรรค ถ้ามันขาดสติ ขาดสติขาดปัญญา มันสักแต่ว่า เราเคยวิปัสสนาแล้วมันปล่อย นี่มันเป็นความคล่องตัว แล้วเราก็ใช้ปัญญาไปเรื่อย มันก็ปล่อยไปเรื่อย ถึงที่สุดแล้วมันไปไม่ได้

มันไปไม่ได้ เราก็ทำของเราไป เราคิดว่าอันนี้เป็นมรรคไง “เราคิดว่าเป็นมรรค” นี่กิเลสพาทำ ถ้ามันคิดว่าเป็นมรรค กิเลสอย่างละเอียดมันก็หลอกไปอย่างนี้ ถ้ามันหลอก ถ้าว่าสิ่งนี้เป็นมรรค สิ่งที่เป็นมรรค ทำไมมันวิปัสสนาแล้วมันไม่ปล่อย ใช้ปัญญาใคร่ครวญไปแล้วทำไมสิ่งนี้มันยังคาอยู่ในใจล่ะ ถ้ามันคาอยู่ในใจอย่างนี้คือความสิ่งที่ตอบสนองแล้วมันผูกพันกันไป สิ่งที่เป็นอุปาทานนี้มันยึดกับใจเข้าไป นี่เราถึงต้องวางตรงนี้ เราวางงานสิ่งนี้

เรา เวลาเราใช้สัมมาสมาธิ เราทำความสงบของใจขึ้นมา เราบอก “สิ่งนี้ สมาธิแก้กิเลสไม่ได้” เราทำล้มลุกคลุกคลาน เราพยายามตั้งใจของเราให้ได้ เป็นงานที่แสนยาก สิ่งนี้ทำแล้วเสียเวลา แต่เวลาเราออกปัญญา ปัญญามันใคร่ครวญไปในกาย ในเวทนา ในจิต ในธรรม ในสิ่งที่ตอบสนองกับใจนี้ พอวิปัสสนาไปแล้วมันปล่อยวาง สิ่งนี้มันเป็นทางเพราะกิเลสมันเบาตัวลง เพราะความตัณหาความทะยานอยาก สิ่งที่มันอยู่ในหัวใจมันเริ่มเบาตัวลง สิ่งนี้เป็นงานของเรา

เราก็อยากได้ผล เราก็รีบ เราพยายามจะรีบขวนขวายด้วยการใช้ปัญญา ถ้าเราใช้ปัญญา เห็นไหม นี่กิเลสมันแทรก แทรก ต้องใช้ปัญญา ถ้าปัญญาอย่างนี้เกิดขึ้นมาแล้วมันจะชำระกิเลส เราต้องมุมานะ เราต้องใช้ปัญญาให้มาก การใช้ปัญญา การใช้พลังงานอย่างมาก นี่กิเลสมันพาอาศัยไป จนล้มลุกคลุกคลานนะ จนขนาดใช้ปัญญาไปแล้วมันอั้นตู้ มันไปไม่รอด พอมันไปไม่รอด ทำไมเป็นอย่างนี้ ทำไมความรู้สึกวิปัสสนาแล้วมันต้องมีความสุข ทำไมเรามันมีความตึงตัวขนาดนี้ มันถึงย้อนกลับไง ปล่อยอารมณ์สิ่งนี้ แล้วย้อนกลับเข้ามาทำความสงบของใจ

ถ้าทำความสงบของใจ มันเริ่มปลดเปลื้องความเป็นกังวล มันเริ่มปลดเปลื้องสิ่งที่เป็นภาระรุงรังของใจ มันจะโล่ง มันจะมีความเบา มันจะมีสัมมาสมาธิ มันจะตั้งมั่นของมัน มันก็มีกำลังขึ้นมา “เออ นี้คือถูกทาง” แล้วถ้าถูกทาง จับทรงสิ่งนี้ไว้ สัมมาสมาธิ สมาธินี้เป็นอนิจจัง สิ่งนี้ก็เสื่อมไป มันถึงต้องย้อนกลับ พอมีความโล่ง มีความเบา ก็กลับไปที่ทำงานไง วิปัสสนาซ้ำเข้าไป ปล่อยวางเข้าไป นี่มัชฌิมาปฏิปทาจะเกิดตรงนี้ เกิดตรงความสมดุลของมรรคญาณ มรรคญาณ “สัมมาสติ สัมมาสมาธิ” การวิปัสสนา คืองานชอบ ถ้างานชอบคืองานที่วิปัสสนาในกาย เวทนา จิต ธรรม ในการที่ว่างานชอบ ความเพียรชอบ ความเพียรในการสมดุลของมัน

ถ้าความเพียรแก่กล้า “อัตตกิลมถานุโยค กามสุขัลลิกานุโยค” เรากลัวนักว่าการประพฤติของเราจะเป็นอัตตกิลมถานุโยค ถ้าเราอยู่กับสัมมาสมาธิ มันจะเป็นกามสุขัลลิกานุโยค สิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่ว่าความต่างของจิตที่มันแยกออกไป แต่ถ้าเราวิปัสสนาบ่อยครั้งเข้า ความสมดุล ความสมดุลคือว่าผิดแล้วมันก็ย้อนกลับ พิจารณาไปปล่อยวางขนาดไหน ถึงที่สุดแล้วมันตึงตัวขนาดไหนก็ย้อนกลับ นี่ฝึกฝนอย่างนี้มากเข้าๆ

ถึงที่สุดมันจะปล่อยวาง พอปล่อยวางก็เบาลงๆ นี่ถอนลูกศร จนถึงที่สุดกายกับจิตแยกโดยธรรมชาติ สิ่งนี้แยกออกจากกัน กายเป็นกาย จิตเป็นจิต ทุกข์เป็นทุกข์ส่วนหนึ่ง กายกับจิตแยกออกจากกันอีกส่วนหนึ่งเพราะอะไร เพราะธาตุ ธาตุกลับคืนไปโดยธรรมชาติของมัน จิตถอนตัวออกมา นี่ปล่อยวางหมด สิ่งนี้มันจะปล่อยวาง ว่างหมด สิ่งที่ว่างอย่างนี้มันเป็นปัจจัตตังนะ สิ่งที่ว่างอย่างนี้มันเกิดขึ้นมาจากหัวใจ มันเป็นอฐานะที่มันจะเข้ามาประสานกันไม่ได้อีกเลย

สิ่งที่มันเป็นอฐานะนะ มันเป็นไปไม่ได้ เพราะมันเป็นเรื่องของความเป็นไปจากภายในหัวใจ เพราะมันเป็นเรื่องของนามธรรม สิ่งที่เป็นนามธรรม แล้วมันเป็นความจริงในหัวใจ สิ่งนี้มันคงที่ตลอดไป แล้วมันจะว่างอยู่อย่างนั้น ติดสมาธิ ติดความว่าง ความสุข มันจะมีความสุขตลอดไป

แต่ถ้าเรามีอำนาจวาสนา มันจะย้อนกลับไง ว่างๆ นี่แหละ ค้นคว้าเข้าไปนะ จิตมันสงบเข้ามา มันมีความรู้สึกไง สิ่งที่ความรู้สึกเพราะในวัฏฏะนี้ “กามภพ” เราเกิดในเทวดา มนุษย์ สัตว์เดรัจฉานในกามภพ สิ่งที่กามภพในวัฏฏะ จิตนี้ต้องเกิดเพราะมันมีพลังขับไส มันมีเหตุ มันมีเชื้อ สิ่งที่มีเชื้อนี้มันต้องแสดงตัวของมันโดยธรรมชาติของมัน ถ้าเรามีวาสนา เราจะสามารถทำลายเชื้อนี้ได้ ถ้าเราไม่มีวาสนา เราตายไป เชื้อนี้มันมีนะ เชื้อนี้คือเศษส่วนที่สืบต่อกัน มันก็เกิดในกามภพล่ะ

สิ่งที่เกิดในกามภพ เราถึงย้อนกลับ ถ้าเรามีอำนาจวาสนาย้อนกลับเข้าไป มันจะเกิดกาม “จับกามราคะ” สิ่งที่เป็นกามราคะ เพราะกามภพคู่กับกามราคะ แม้แต่เทวดาก็เสพกาม สิ่งที่เสพกามเพราะสิ่งที่ว่ากามารมณ์ อารมณ์ความรู้สึก กามฉันทะ เทวดาเสพกาม กามโดยหัวใจ หัวใจคือสิ่งที่ว่าเป็นทิพย์ สิ่งที่เป็นทิพย์นี้เป็นกามทั้งหมดเลย แต่ที่มันเป็นในหัวใจ มันเป็นทิพย์ขณะที่เป็นเทวดา แต่มันเป็นกาม กามารมณ์ในหัวใจของเรา แล้วในหัวใจของเรามันมีเศษอันนี้

แต่เพราะมันมี เรามาปฏิบัติธรรม สิ่งนี้มันสงบตัวลง นี่กิเลสระงับ มันจะกลัวธรรม มันจะกลัวการประพฤติปฏิบัติของเรา มันจะกลัวมรรคญาณของเรา มันกลัวความเป็นไปของเรา มันจะสงบอยู่ในหัวใจของเรา นี่เชื้ออย่างนี้ เวลาทางโลกเขา เวลาเป็นเจ็บไข้ได้ป่วย เวลาที่เป็นโรคที่ว่าที่โลกเขาไม่ค่อยเป็นกัน มันจะตรวจเชื้อได้ยาก มันต้องเพาะเชื้อ มันต้องพิสูจน์ว่าจะเป็นหรือไม่เป็น

ในการวิปัสสนาของเรา เราจะเข้าไปหาสิ่งที่เป็นกามราคะ ถ้าเราไม่มีเครื่องมือไปจับ มันก็จะหลบอยู่จนว่า “จิตนี้ว่าง จิตนี้มีความสุขมาก” แต่ถ้าดับเดี๋ยวนั้น สุขขนาดไหน สิ่งที่ละเอียดขนาดไหน มันก็เกิดในกามภพ สิ่งที่กามภพ เพราะสิ่งนี้มันเป็นเชื้อไขที่มันสืบต่อกัน แต่ถ้าเรา จิตวิปัสสนาเข้าไป จิตมันปล่อยวางเข้าไป จนถึงไปจับสิ่งนี้ได้ พอจับสิ่งนี้ได้ นี่สิ่งที่เป็นกามราคะ

สิ่งที่เป็นกามราคะ ความโลภ ความโกรธ ความหลง นางตัณหา นางอรดี เพราะสิ่งที่ว่าเป็นปฏิฆะ สิ่งที่มีข้อมูลของใจ ถ้าใจมีข้อมูล คือสิ่งที่ว่าข้อมูลสิ่งใดตรงกับข้อมูลของตัว สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ปรารถนา สิ่งที่ตรงข้ามกับข้อมูลของตัว สิ่งนั้นจะขับไส ความโกรธ โกรธจากตรงนี้ไง โกรธจากมันมีข้อมูล มันมีสิ่งที่เป็นปฏิฆะคอยเทียบเคียงกับอารมณ์ความรู้สึกที่เข้าไปกระทบกับมัน ถ้าสิ่งใดไปกระทบกับมัน มันมีความพอใจ มันก็เป็นกามฉันทะ ถ้ามันไม่มีความพอใจ มันก็เป็นตัณหา-วิภวตัณหา คือความผลักไส สิ่งที่ผลักไส สิ่งนี้มันอยู่ในหัวใจ มันเป็นความละเอียดมาก นี่ขันธ์อันละเอียดไง

สิ่งที่ว่าเวลาพิจารณามาเป็นพระโสดาบัน “ไม่มีตัวตน ขันธ์ไม่ใช่เรา ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ขาดออกไปแล้ว” นี้เป็นภาคปริยัติไง แต่ในภาคปฏิบัติ ความรู้สึกอันละเอียด สัญญาอันละเอียด สังขารอันละเอียด ความคิดอันละเอียด เห็นไหม แม้แต่ใจตัวมันเอง มันยังเสพตัวมันเองในความรู้สึกของมันเอง สิ่งที่เป็นข้อมูล สิ่งที่เป็นอารมณ์ที่เปรียบเทียบ นี้คือความเห็นจากภายใน สิ่งที่เห็นจากภายในมันต้องใช้ปัญญาอันละเอียด

“กิเลสระงับ” มันยังอยู่ข้างนอกนะ พอระงับแล้วก็ว่า “ตัวเองเป็นผู้ดี ตัวเองมี” เพราะกิเลสระงับ มันมีความสงบเสงี่ยม มันก็ว่า “สิ่งนี้เป็นผู้ดี สิ่งนี้เป็นความว่างนะ” แต่ถ้าระงับกิเลสนะ แล้ววิปัสสนาเข้าไปเป็นชั้นเข้าไปเป็นตอนนะ จะเห็นความเป็นไปของกิเลสมันลึกลับมหัศจรรย์มาก กิเลสตัณหาความทะยานอยาก อวิชชาในหัวใจ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเข้าไปชำระล้างกัน ถ้าเข้าไปชำระล้างได้ตามความเป็นจริง มันถึงมหัศจรรย์ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทำไมท่านมีปัญญาขนาดนี้ เวลาประพฤติปฏิบัติเข้าไป ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติเข้าไปเห็นสภาวะแบบนี้ แล้วเกิดปัญญาอันละเอียดเข้าไปทำลายกัน กิเลสเป็นอย่างนี้ มันเห็นแล้วมันจะซึ้งในความเป็นไป ซึ้งในครูบาอาจารย์ที่พาชี้นำมาไง แล้วถ้ามันมีสติ เป็นมหาสติ-มหาปัญญา เพราะมันละเอียดอ่อนมาก

สิ่งที่ละเอียดอ่อน งานอันละเอียดต้องมีมหาสติ-มหาปัญญาเข้าไปใคร่ครวญมัน ถ้าใคร่ครวญมัน ตัณหาความทะยานอยากมันก็สร้างภาพ มันก็ความเป็นไปของมัน มันก็ปล่อยวาง สิ่งที่ปล่อยวางก็กิเลสมันพาทำ กิเลสมันพาทำ มันสงวนรักษาตัวมันเองไว้ มันต้องการถิ่นที่อยู่ มันต้องการหัวใจของมัน ต้องการจิตนี้เป็นอำนาจของมัน แล้วเราเข้าไปทำลายข้อมูลไง สิ่งที่เป็นปฏิฆะ ข้อมูลฝ่ายบวกและฝ่ายลบที่ในหัวใจ แล้วเราใช้ปัญญาเข้าไปใคร่ครวญ เอาเป้าหมาย เอาสิ่งที่มันสะเทือนของมัน ข้อมูลของมันเข้าไปเปรียบเทียบ เปรียบเทียบกับความรู้สึก

สิ่งนี้พอใจไหม สิ่งนี้ความเป็นไปไหม?

ถ้ามันว่าง ว่างเพราะเหตุใด?

ถ้ามันปล่อยวาง ปล่อยวางเหตุผล ปล่อยวางเพราะทำสิ่งใด?

สิ่งที่ปล่อยวางมันปล่อยวางตลอด มันปล่อยวางมันเข้าใจ เพราะกิเลส ถ้ากิเลสพาปล่อยวาง ปล่อยวางเพื่อเราจะให้เราไม่มีการกระทำ ให้เราเชื่อมั่นว่าสิ่งนี้เป็นธรรม แต่ถ้าเรามีสติสัมปชัญญะ เราจะเปรียบเทียบสิ่งนี้ขึ้นมา ถ้าเราปล่อยวาง ทำไมไม่มีเหตุมีผล ถ้ามันปล่อยวาง สิ่งที่มันคายออกมา มันมีอะไรสิ่งใดออกมาสิ่งที่บอกว่าเป็นนางตัณหา นางอรดี สิ่งใดที่ว่ามันเป็นความโกรธ โกรธ เราถอนพิษของโกรธด้วยเหตุใด เราถอนพิษของกามราคะได้อย่างไร

การถอนพิษของมัน มันต้องถอนพิษของมัน มันต้องมีปฏิกิริยาของมรรคญาณเข้าไปทำลายตัวเชื้อโรคอันนี้ ถ้ามันเข้าไปทำลายกัน ระหว่างสัมปยุตเข้าไป วิปยุตคายออกมา สิ่งที่สัมปยุตเข้าไป-คายออกมา มันสะเทือนเรือนลั่นกลางหัวใจนะ มันสะเทือนเรือนลั่นมาก เพราะมันเกิดจากใจ สิ่งที่ทำปฏิกิริยากันนี้มันทำปฏิกิริยาจากภายนอก

เวลาฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ฟ้าร้องจากภายนอก เวลาฝนตกมาจากพื้นดิน ถึงพื้นดินชุ่มชื่นในพื้นดิน สิ่งที่มันกำลังทำจากภายนอกคืออาการของมันที่มันเป็นไป แต่ถึงเวลามันทำลายกัน มันทำลายกันกลางหัวใจนะ มันทำลายกันกลางหัวใจ มันปล่อยวางถึงที่สุด มันสะเทือนเรือนลั่นจากใจ นี่กามราคะมันออกไปจากใจ

การทำชำระกิเลสเป็นชั้นเป็นตอนเข้าไปเพราะมันเป็นข้อมูลไง ความคิดหยาบๆ จากข้างนอกมันเป็นปัญญาหยาบๆ เป็นปัญญาอบรมสมาธิหยาบๆ เป็นการทำลายขันธ์อย่างหยาบ มันก็เป็นปัญญาเข้าไป เป็นมรรคญาณเข้าไปอย่างหยาบ มรรคญาณอย่างกลาง มรรคญาณอย่างละเอียดอย่างนี้ แล้วเวลามันปล่อยวางเข้าไปแล้ว มันปล่อยวางหมด ขาดหมด มันสะเทือนเรือนลั่นจากใจ ใจนี้ปล่อยวางออกไป นี่มันระงับจากกิเลสเข้ามาทั้งหมด แล้วตัวกิเลสอยู่ไหน ตัวอวิชชาอยู่ไหน ตัวความเป็นไปของใจอยู่ไหน

ถ้าความเป็นไปของใจ เพราะตัวสิ่งที่ใจวิปัสสนาเขาเข้ามาทั้งหมด แล้วปล่อยวางเขาเข้ามาทั้งหมด มันปล่อยวางทั้งหมด นี่โลกนี้ว่างหมดเลย สิ่งนี้เป็นความว่าง แล้วมันมีพลังงานของมันมหาศาล เพราะสิ่งนี้มันมีพลังงานมาก เพราะมันปล่อยวางเข้ามา แล้วพลังงานของใจ

สิ่งที่เคลื่อนที่ที่เร็วที่สุด “สัมมาสมาธิ” เวลาที่เราคิดที่เราฟุ้งซ่านออกไป เราควบคุมของมัน เป็นสมาธิขึ้นมา มันปล่อยวางเข้ามาเป็นตัวของมันเอง มันจะมีความสุขมาก มันจะมีความมหัศจรรย์ของใจดวงนั้น แล้วจิตที่มันปล่อยสิ่งที่มันเป็นพลังงาน พลังงานของขันธ์ พลังงานของ อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา พลังงานที่มันส่งออก แล้วมันปล่อยวางเข้ามาถึงตัวมัน มันปล่อยวางเข้ามาถึงตัวมัน สิ่งที่เป็นตัวมัน แล้วเราจะหาตัวมันได้อย่างไร

เอาตัวของมันเอง พิจารณาตัวมันเอง ถ้าเข้าถึงตัวมัน ตัวพลังงานที่ว่างที่สุดมันต้องย้อนกลับเข้ามาถึงจับความว่างอันนี้ แล้วมันปล่อย มันจับความว่างนี้ ใช้ปัญญาญาณอย่างละเอียดพิจารณาความว่างอันนี้

“ความว่าง” เพราะมันเป็น อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สิ่งที่มันเป็นความว่าง มันเป็นธรรมชาติของมัน แล้วเราทำลายสิ่งนี้ ทำธรรมชาติของมัน มันเข้าไปชำระกิเลส สิ่งที่เป็นอวิชชา ถอนศรออกจากใจทั้งหมด ถ้ามันถอนศรออกจากใจทั้งหมด

ถ้าเรา “ระงับกิเลส” ตามกระแสของธรรม

ถ้า “กิเลสระงับ” เป็นกระแสโลก เพราะเราศึกษาธรรม กระแสโลกเพราะกิเลสระงับ

แต่ถ้าเรา “ระงับกิเลส” นี้คือธรรม คือธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ขณะที่มันสมุจเฉทปหานนั้นคือธรรมของเรา ถ้ามันสมุจเฉทปหานเข้ามาเป็นอกุปปธรรมขึ้นมา เป็นชั้นเป็นตอนขึ้นมา เป็นอฐานะที่มันจะกลับไปเป็นเรื่องของโลกอีกแล้ว เป็นผู้ที่ว่าเป็นสิ่งที่เป็นผลจากใจดวงนั้น ถึงที่สุดแล้วต้องทำลายตัวมัน ต้องทำลายตัวอวิชชา ต้องทำลายตัวเหตุ ต้องทำลายตัวเป้าหมายใหญ่ ถ้าคว่ำเป้าหมายใหญ่ทั้งหมดนี้คือธรรม ธรรมในหัวใจของผู้ที่ประพฤติปฏิบัติ ถึงที่สุดนะ อันนี้จะเป็นความสมบูรณ์

ระงับกิเลสส่วนหนึ่ง กิเลสระงับส่วนหนึ่ง แล้วถ้าชำระกิเลส นี้เป็นอีกส่วนหนึ่ง นี้คือผลของการประพฤติปฏิบัติ เอวัง