เทศน์เช้า

เทศน์เช้า

๑๗ ม.ค. ๒๕๕๘

 

เทศน์เช้า วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๕๘
พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

เวลามันจำเป็น มันจำเป็นต้องพูดเราจำเป็นต้องพูดเพราะว่าน้ำใจ เวลาน้ำใจเห็นไหม หลวงตาเวลาท่านไปโปรดญาติโยมท่านบอกว่า ที่มานี่มาเอาหัวใจคนมาเอาหัวใจคนนี่ก็คือน้ำใจเพราะโยมตั้งใจมีเจตนามา นัดกันมา มีเจตนาเจตนานี่น้ำใจพอน้ำใจไปทำบุญกุศล ไปถวายทาน พอถวายทานเสร็จแล้ว พระที่ว่า ให้ธรรมเป็นทานประเสริฐที่สุดให้ธรรมเป็นทานประเสริฐที่สุด คือให้ปัญญา

การให้เห็นไหม การให้ถึงว่าน้ำใจเพราะเขามีน้ำใจเจตนามาก็มีน้ำใจตอบรับถ้ามีน้ำใจตอบรับเรามีน้ำใจต่อกันคนมีน้ำใจต่อกันเห็นไหม อเสวนาจ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนาไม่คบคนพาล เราจะคบบัณฑิต คนที่เป็นบัณฑิตบัณฑิตเวลาเขาไปวัดไปวา เขาตั้งใจไปทำบุญมันไว้ใจได้ว่าเป็นบัณฑิต พอคบบัณฑิต คบบัณฑิตนะ เวลาเขาจะดูนิสัยคนเขาให้ดูเพื่อนเขา ถ้าเขาคบเพื่อนเกเร คนนี้เป็นคนเกเร ถ้าเขาคบเพื่อนดีเพื่อนเขาชักชวนไปดี นี่คบบัณฑิต

ฉะนั้น ที่ว่าต้องพูดๆ บางคนคิดนะ เวลาแบบว่า “ไปทำบุญก็พอแล้วหลวงพ่อพูดอะไรก็ไม่รู้ ไม่เข้าใจเลย หลวงพ่อพูดไม่เข้าใจเสียเวลา” เพราะอะไร เพราะว่าเขาคิดว่าเทศน์จะต้อง นโมตสฺส ภควโตเขาต้องเป็นพิธีกรรมไง เขาไม่คิดหรอกว่าสิ่งที่พอเป็นพิธีกรรม เห็นไหม เขาฉีดวัคซีน พอฉีดวัคซีนป้องกันโรค

ไอ้นี่เหมือนกัน เวลาจะฉีดยามันป้องกันตัวมันนะเวลาจะฟังเทศน์ไม่ยอม “เวลาอยู่บ้านเบื่อฉิบหายเลย เมียเทศน์ทั้งวัน ไปวัดพระยังด่าอีก” มันปิดไว้เลยล่ะ มันกั้นไว้เลย “โอ๋ย! อยู่บ้านเมียเทศน์ทั้งวันอยู่แล้ว ไปวัดพระยังมาเทศน์ต่ออีก” เห็นไหมถ้าบอก นโมตสฺส มันจะเทศน์มันรู้แล้ว

แต่ถ้าบอกว่า เราพูดธรรมะกัน เราพูดธรรมะกัน เราพูดกันด้วยหัวใจเราพูดกันด้วยเจตนาที่ดี เวลาเราบอกว่าเราทำคุณงามความดีๆ อยากจะให้ทำคุณงามความดี ถ้าเราพอใจถ้าสิ่งใดพอใจแล้วเป็นบุญ แต่เราขัดใจ ขัดใจมันเป็นอกุศลเพราะขัดใจมันขัดเคืองใจ แล้วความพอใจมันพอใจ มันเอาอะไรมาวัดล่ะ

คนที่เขาทำ เขาฉ้อฉลของเขา เขาแสวงหาผลประโยชน์ของเขา เขาพอใจของเขา เขาก็มีความสุขของเขาอันนั้นเป็นบุญไหม คำว่า “บุญกุศลๆ” บุญกุศลมันเป็นอย่างไรอะไรมันเป็นบุญนี่เป็นบุญ เห็นไหม ดูสิ เวลาเราถือศีลๆ กัน เวลาถือศีล บอกว่าพอเราถือศีลเกร็งเลย

เวลาถือศีลนะ เวลาเรามีความผิดพลาดไปเพราะเราขาดสติ เขาเรียกว่า “ศีลด่างพร้อย” ศีลด่างพร้อย ถ้ามันเศร้าหมองแล้วมันถึงศีลขาดมันเศร้าหมองนะเราตั้งใจทำคุณงามความดีกันเราเจตนาอาราธนาศีลแล้วเราไปทำอะไรผิดพลาดมันเศร้าหมองไหม? เศร้าหมองแต่ศีลมันขาดไหม? ไม่ขาด ไม่ขาดเพราะอะไรเพราะเราไม่ได้ตั้งใจทำ มันไม่ครบองค์ประกอบไง มันขาดเจตนาไง พอมันขาดเจตนา ไอ้ความผิดพลาดของเรามันมี เพราะอะไรเพราะเราเป็นปุถุชน

เราเป็นปุถุชน เรามีความผิดกันอยู่แล้วความผิดพลาดเราตั้งใจไหม? เราไม่ตั้งใจหรอกเราไม่ได้ตั้งใจทำให้มันผิดพลาด แต่มันผิดพลาดไปเอง ถ้าผิดพลาดไปเองนี่มันเศร้าหมองเพราะอะไรเพราะเราก็เสียใจ เราเสียใจไหม? เราเสียใจ แต่ทีนี้พอเราไปคิดกัน พอไม่ได้ถือศีลก็สบาย โอ้โฮ! โล่ง สบายใจเลย พอถือศีลโอ้โฮ! เกร็งเลยนะ ทำอะไรไม่ได้เลย แล้วพอทำอะไรก็ศีลขาดๆ

มันไม่ขาดหรอก มันไม่ถึงกับขาดใช่ไหม แต่มันเศร้าหมอง เพราะจิตใจเราไม่เบิกบานไง ถ้าจิตใจเราเบิกบานจิตใจเราสว่างไสว มันก็มีความอบอุ่น มันก็ไม่เศร้าหมองฉะนั้น เวลาเราจะถือศีล เวลาจะทำคุณงามความดี เราก็เอาศีลเห็นไหม “ศีลสมาธิ ปัญญา” ศีล คนเราทำความดีกันทุกคนก็ทำความดี แล้วดีของใครล่ะ ดีของใคร

ก็เอาศีล ๕ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล๒๒๗ นี้เป็นตัวมาตรฐาน เป็นตัววัด แล้วเวลาผู้ที่ประพฤติปฏิบัติไป เวลาครูบาอาจารย์เรานะเวลาครูบาอาจารย์ท่านประพฤติปฏิบัติไปชำระล้างกิเลส ทำลายอวิชชา อวิชชาคือความไม่รู้ในใจ แล้วท่านเห็นพวกเราทำ เวลาหลวงตา ครูบาอาจารย์ท่านเห็นพวกเราทำนะ ท่านสังเวชนะท่านสงสาร แต่เวลาท่านสังเวชท่านสงสารนะพูดออกไปเราก็“โอ้โฮ! จับผิดทั้งนั้นเลย อะไรๆ ก็ผิด อะไรๆ ก็ผิด” ท่านจะพูดอะไรไป ท่านสังเวชเห็นไหม พอสังเวช นี่ความนิ่งอยู่ของพระอริยเจ้า พระอริยเจ้าที่นิ่งอยู่ เราคิดว่าท่านไม่รู้นะแต่ท่านรู้ว่าพูดออกไปแล้วมันกระเทือนกันไหม

แต่ถ้าคนเรามันเปิดหัวใจองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการนะ เวลาพวกเดียรถีย์เวลาไปเทศน์แล้ว เวลาเปิดหัวใจแล้วมาชมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการนี้เปรียบเหมือนหงายภาชนะที่คว่ำอยู่หงายขึ้นมา หัวใจที่ปิดกั้น ทิฏฐิมานะความเห็นแก่ตัว ความเข้าข้างตัวเอง มันปิดกั้น เหมือนภาชนะที่คว่ำไว้ใครพูดอะไรมามันไม่เข้าหรอกมันเข้ามาไม่ได้เพราะเรากีดกันไว้เลย อยู่ไกลๆไม่เอา

แต่ถ้าพอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการจนจิตใจมันยอมรับนะเหมือนหงายภาชนะขึ้นมาภาชนะที่คว่ำนี้มันหงายขึ้นมาพอหงายขึ้นมามันได้ผลประโยชน์ทั้งนั้นเลย มันได้ผลประโยชน์ทั้งนั้นเลย

เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศนาว่าการ ผู้ที่ได้ผลประโยชน์ไปชมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บอกว่าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหงายภาชนะที่มันคว่ำอยู่ให้มันหงายขึ้นมาภาชนะที่คว่ำอยู่ให้มันหงายขึ้นมา พอหงายขึ้นมามันมีเหตุมีผลมันได้ฟัง มันได้ประโยชน์ของมัน นี่หัวใจที่เป็นธรรมๆ มันเป็นแบบนี้ไง ถ้ามันเป็นแบบนี้

ที่ว่า“มาตรฐานๆทำไมต้องมีมาตรฐาน ก็มาตรฐานของฉัน สิทธิเสรีภาพถ้าไม่พอใจจะไปฟ้องยูเอ็นนู่นน่ะ”

ยูเอ็นมันรู้อะไร ยูเอ็นมันจะยึดประเทศมึงน่ะ อะไรก็จะฟ้องยูเอ็น สิทธิเสรีภาพ ดูสิ มันคว่ำของมันไว้แล้วมันไม่รู้ว่ามันคว่ำนะ คว่ำไว้แล้วมันยังทิฏฐิอีกนะ ไม่พอใจไปฟ้องยูเอ็น สิทธิเสรีภาพ ห้ามมาก้าวก่ายกัน ไปวัดพระก็จับผิด...นี่เขาสังเวช เขาไม่ได้จับผิด

ว่า “สมความปรารถนาทำคุณงามความดีสมความปรารถนา” มันปรารถนา มันเอาอะไรปรารถนานั่นน่ะ นี่มันจะย้อนมาภาวนาไง ถ้าภาวนาขึ้นมา ถ้าพอใจตัว...ใช่ ถ้ามันขัดใจตัว...ไม่ใช่

ถ้ามันขัดใจตัว หลวงตาท่านบอกเลยขัดใจตัวนั่นคือขัดใจกิเลสเพราะกิเลสอวิชชามันอยู่ในหัวใจเรานี่แหละแล้วไม่มีใครเคยไปขัดใจมันเลยโอ๋กันไปก็โอ๋กันมา เวลาไปวัด โอ๋ไปเลยนะ “โอ้โฮ! พระวัดนี้ดี๊ดี”

“ทำไมล่ะ”

“เขาเอาใจ”

เออ! ถ้าพระวัดไหนขัดใจ “โอ๋ย! พระองค์นี้ไม่ดีขัดใจ”

ไม่รู้นั่นน่ะขัดใจคือขัดกิเลส ไปโรงพยาบาลเขาผ่าตัด เขาฉีดยาเจ็บทั้งนั้นแหละแล้วไปทำไมน่ะไปโรงพยาบาลมีหมอที่ไหนเขาโอ๋บ้างล่ะ เขาเอาเข็มทิ่มทั้งนั้นแหละ ทิ่มเอาๆเลย แล้วผ่าตัดด้วย แล้วทำไมว่า เออ! หมอนี้ดีโรคมันหาย

นี่เราไม่เข้าใจกัน เราไม่เข้าใจกัน แล้วกระแสสังคมไงอเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนาบัณฑิต เราคบบัณฑิต บัณฑิตเพื่อนแท้นะ เพื่อนนี้หายากมากเพื่อนแท้ เพื่อนผิดพลาดไปจะปกป้อง เพื่อนแท้โดนหลอกลวงเพื่อนจะดูแลใครเขาติฉินนินทา เพื่อนจะแก้ให้ เพื่อนแท้มิตรแท้-มิตรเทียม

คนเทียมมิตรปอกลอกเอาแต่ผลประโยชน์ นั่นมิตรเทียม

มิตรแท้นะ มิตรแท้พูดอะไรเจ็บใจทั้งนั้นแหละ พอคิดอย่างไรเพื่อนขัดแล้ว นู่นก็ขัดอย่างนี้ “โอ๋ย! เพื่อนไม่ดีเลย” เพื่อนแท้ เพื่อนแท้เขาปกป้องเราขาดสติ เขาจะคอยเตือนเราเพื่อนนี้หายากนั้นเพื่อนจากข้างนอก

เวลาเพื่อนจากข้างในนะ เวลาเราคิดขึ้นมา ความคิดมันมาจากไหนเวลาเราไม่ได้คิดเราสบายใจ เราไม่ได้คิด ความคิดมันอยู่ไหนเห็นไหม คบ

เวลามรรค สัมมาอาชีวะ สัมมาอาชีวะที่เราว่าเราเลี้ยงชีพชอบ เราทำคุณงามความดี เราเลี้ยงชีพชอบ นั่นเป็นมรรคของฆราวาส ฆราวาสธรรม เราต้องมีสัมมาอาชีวะ เราต้องมีอาชีพ เราต้องมีการกระทำการกระทำนั้นเราทำในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม นี่สัมมาอาชีวะ ถ้าเราทำของเราด้วยความผิดพลาด ด้วยความไม่ดี นั่นมิจฉาอาชีวะ นี่อาชีวะเราเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง นี่ก็เลี้ยงธาตุ๔

เวลาเรามีสติปัญญาปัญญาอบรมสมาธิ ความคิดที่ไม่ดี ความคิดที่แผดเผา ความคิดอะไร นี่เลี้ยงชีพผิดแล้วเพราะมันเสวยอารมณ์ จิตมันกินอารมณ์เป็นอาหาร มันได้เสวยเต็มปากเต็มคำแล้ว พอมันกินเต็มปากเต็มคำนะ แล้วเราก็ดิ้นพราดๆอยู่นี่ แล้วแก้ไม่ได้ แก้ไม่เป็น

สัมมาอาชีวะ คบมิตรเทียมมันจะปอกลอก มันจะทำให้เราเจ็บช้ำน้ำใจ แล้วมิตรแท้ล่ะมิตรแท้ ปัญญาอบรมสมาธิ คิดแล้วคิดเล่าความคิดอย่างนี้ไม่เคยคิดหรือ ก็คิดมาทุกครั้งทุกคราว คิดมาแล้วมันก็มีแต่คายพิษไว้ให้

หลวงตาท่านบอกว่ากิเลสมันขี้รดหัวใจเรา แล้วมันก็ไปแล้ว มันไปแล้วนะ มันทิ้งไว้แต่ความเจ็บช้ำน้ำใจ มันทิ้งไว้แต่ความเจ็บปวด แล้วความเจ็บปวดนั้นเราว่า “ทำบุญก็ไม่ได้บุญ”

บุญมันส่วนบุญ บุญมันส่วนบุญ บุญมันทำให้เรามีอำนาจวาสนาบารมี แต่เราเกิดสติปัญญา มันเกิดมรรค นี่สัมมาอาชีวะเลี้ยงหัวใจชอบถ้าเลี้ยงหัวใจชอบ ถ้าเราเลี้ยงไม่เป็น เราเลี้ยงไม่ได้ เราไม่รู้อาหารอะไรเป็นพิษหรือไม่เป็นพิษ ก็กำหนดพุทโธๆ พุทธานุสติเราระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นึกถึงศาสดาของเราพุทธะคือชื่อของท่าน

ถ้าเราทำอะไรไม่ได้หรือทำอะไรไม่เป็นอยู่ ให้ระลึกคำว่า “พุทโธ” คำบริกรรมพุทโธๆ ถ้ามันจะคิด เราก็เหนี่ยวรั้งมันไว้เสีย เรามาอยู่กับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าดีกว่า เกาะชายจีวรท่านไว้พุทโธๆๆ เกาะชายจีวรท่านไว้ถ้ามันจะคิดให้คิดเรื่องแบบนี้ไม่ให้คิดแต่เรื่องที่เอามาแผดเผาหัวใจเห็นไหม นี่คำบริกรรม สอนอย่างนี้ นี่สัมมาอาชีวะ

แล้วพอมันมาพุทโธๆจนมันละเอียดเข้าไป พอมันทรงตัวมันได้เห็นไหม เรากินอาหารที่เป็นพิษเข้าไป มันจะให้ผลกับร่างกายเราเต็มที่ ถ้าเรากินอาหารที่เป็นประโยชน์กับร่างกายเราไปมันจะให้คุณค่าทางอาหารกับเรา พุทโธๆๆ ไปมันต้องรู้มันต้องเห็น มันเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก เวลาทำขึ้นไปเป็นความจริงมันเกิดขึ้นอย่างนี้ ถ้าเกิดขึ้นอย่างนี้มันพัฒนาขึ้นมาแล้ว นี่คบธรรมะ“ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต”

เวลาจิตมันสงบเข้ามาสติธรรม สมาธิธรรม ปัญญาธรรม “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต” แล้วเวลาจิตสงบแล้วฝึกหัดใช้ปัญญาขึ้นมามันเกิดภาวนามยปัญญามันเกิดปัญญาขึ้นมา จะไม่มีใครพูดเลยว่า“เรามีปัญญาๆ”...ไอ้ปัญญาอย่างนี้ปัญญาอย่างนี้มันเป็นสัญชาตญาณ มันเกิดจากสมองมันเกิดจากภวาสวะ เกิดจากภพเวลาจิตมันสงบแล้ว พอมันเกิดปัญญาขึ้นมาปัญญาที่มันสำรอก ปัญญาที่มันคาย ปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ปัญญาอบรมสมาธิคือปัญญารอบรู้ในกองสังขารสังขารคือความคิด ความปรุงความแต่ง ถ้ามันรอบรู้ในความคิดของตัว เราจะให้ความคิดหลอกเราไหมเราจะให้ความคิดพาเราไปทุกข์ไหม เราจะให้สิ่งนี้มันลากเราไปไหม ถ้าเรารู้เท่าทัน ปัญญารอบรู้ในกองสังขารรอบรู้ในความคิดของเราหมดความคิดมันจะแผดเผาเราได้ไหม ถ้ามันแผดเผาไม่ได้ แล้วมันเกิดมาจากไหนล่ะ? มันเกิดมาจากการฝึกฝน

เวลาศึกษาธรรมะมาศึกษามามันรู้หมด จบ ๙ประโยคมาพูดธรรมะกัน เถียงสู้มันไม่ได้หรอกแต่มันก็ยังทำความผิดพลาดอยู่ มันเป็นเพราะอะไรล่ะ? นี่มันคือสัญญาเพราะสิ่งนั้นมันจำมา แต่ถ้าเรามีสติปัญญาขึ้นมาเกิดภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการภาวนา ปัญญาที่เกิดจากเราปัญญาที่เกิดจากการรู้เท่า เห็นไหม

อย่าดูถูกความนิ่งอยู่ของพระอริยเจ้า ท่านรู้ถึงว่าถ้าความคิดมันกระทบแล้ว นั่นน่ะ เสวยอารมณ์มันกระทบแล้วแล้วกระทบแล้วมีความรู้สึกกับใจแล้ว นี่สติเป็นอัตโนมัติ ทุกอย่างเป็นอัตโนมัติ เพราะอะไร เพราะมันมีคุณธรรม ไอ้พวกเราไม่ใช่อัตโนมัติหรอกไอ้พวกเราไดโนเสาร์นอนจมอยู่นั่น เป็นฟอสซิล มันกองอยู่นั่นน่ะ มันไม่รู้สึกตัวมันเลย มันจะคิดอะไรมันก็เหยียบย่ำอยู่นั่นน่ะ

แต่ถ้ามันมีสติปัญญา พอมันคิด มันรู้แล้วถูกหรือผิด ถ้าถูกหรือผิด ถ้าพูดออกไปแล้วสะเทือนหรือไม่สะเทือน ถ้ามันเป็นคนที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ดูสิ ดูเวลาหลวงปู่มั่นท่านแก้ไขลูกศิษย์ ท่านแก้หลวงตา หลวงตาพยายามขึ้นไปให้ท่านโขกให้ท่านสับ มันยิ่งโขกยิ่งสับนะ มันยิ่งเหมือนทองคำไฟมันยิ่งหลอมมันยิ่งสะอาด มันยิ่งดี แล้วเราเป็นแร่ธาตุ เราก็อยากเข้าไปหาไฟใช่ไหม ให้ไฟมันหลอม ดูความสะอาดบริสุทธิ์ นี่ครูบาอาจารย์ที่ท่านมีคุณธรรมท่านทำกันแบบนั้น เวลาเข้าไปท่านโขกท่านสับๆ ท่านโขกท่านสับนั่นล่ะตบะธรรม

แต่ไอ้เราว่า “จับผิดอีกแล้วอะไรๆ ก็จับผิด คนอื่นไม่ว่าเลย ว่าแต่เรา”

อ้าว! คนอื่นเขาไม่เข้ามาในเตาหลอม มันไม่มีประโยชน์ไอ้สิ่งที่มีประโยชน์ เราได้ประโยชน์ไหม ถ้าเราได้ประโยชน์เห็นไหม การชี้ขุมทรัพย์ๆ แต่เราไม่เข้าใจ เราไม่เข้าใจ ถ้าเราเข้าใจนะ เราจะแสวงหาครูบาอาจารย์แบบนั้นแล้วครูบาอาจารย์แบบนั้นก็หายาก

ผู้มีบุญมาเกิดนะ ถ้าผู้มีบุญมาเกิดสภาวะสังคมจะร่มเย็นเป็นสุขนะผู้มีบาปมาเกิดมันทำให้แตกแยก ทำลายทั้งนั้น เห็นไหม ผู้มีบุญมาเกิด ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล ชาวไร่ชาวนาทำมาหากินด้วยความอบอุ่น ด้วยความชื่นใจ เพราะอะไรเพราะมันไม่มีคนมาบีบบี้สีไฟ มีแต่คนมาส่งเสริมแต่เวลาคนบาปมาเกิด ทุกข์ยากไปทั้งนั้นเลย

ฉะนั้น เราจะหาครูบาอาจารย์แบบนี้จะไปหาที่ไหนฉะนั้น เราเกิดมากึ่งพุทธกาลศาสนาจะเจริญอีกหนหนึ่ง เจริญแล้วล่ะ เจริญทางวิชาการก็เจริญมาแล้ว เจริญในทางปฏิบัติ เราก็จะปฏิบัติ

“ปฏิบัติเพื่ออะไร ทำไมต้องปฏิบัติด้วยล่ะ”

ปฏิบัติก็เพื่อหัวใจเรานี่แหละ ปฏิบัติก็เพื่อความสุข เพื่อความเท่าทันความคิดของตัวไฟในเรือนของเรา เราไม่เอาออก เรือนเราจะไม่สงบร่มเย็น ไฟในเรือนของเราเราได้เอาไฟของเราออก เรามีแต่ความร่มเย็นในใจของเรา ปฏิบัติเพื่อไอ้นี่ไง

“ทำไมต้องปฏิบัติทำไมต้องปฏิบัติ”

เพราะปฏิบัติมันเป็นปัจจัตตัง มันเป็นสันทิฏฐิโก มันเป็นสมบัติของใจดวงนั้น เราทำบุญกุศลกันอยู่นี่บุญกุศลมันจะส่งนะ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วทำบุญกุศลมันก็เกิดไปตามแรงขับของบุญ หมดแล้วมันก็จบ แต่ถ้าเป็นปัจจัตตังมันเป็นอยู่กับหัวใจ อันนั้นล่ะอันนั้นเป็นสมบัติของเรา แล้วไปกับเราตลอด ไม่อนิจจังไง คือไม่เจริญแล้วเสื่อมไง มันคงที่ของมันไง

แต่ไอ้ที่เจริญแล้วเสื่อมๆอารมณ์ดีก็ แหม! ไปทำบุญก็เฮเลยนะ อารมณ์ไม่ดีไม่ไป ไม่ไป...ไปเถอะ...ไม่ไป วันนี้ไม่พร้อม เห็นไหม มันอนิจจัง

แต่ถ้าเป็นของเรานะจะทำบุญหรือไม่ทำบุญ มันจะพุทโธของมันอยู่ในหัวใจ มันสะอาดผ่องใสของมันอยู่อย่างนั้น สิ่งนี้ แล้วมันอยู่ไหนล่ะ? มันอยู่กลางหัวอกนี่แต่เราไปมองกันข้างนอกไง ของหายไปแล้วพยายามค้นหาแล้วไม่เจอเหมือนเอาผ้าขาวม้าโพกหัวไว้แล้ววิ่งหาผ้าขาวม้าไม่เจอ

นี่ก็เหมือนกัน ของอยู่กลางหัวใจแต่ถ้าเราตั้งใจของเรา ตั้งสติแล้วใช้ปัญญาปัญญาที่พูดให้ฟัง เอามาไตร่ตรองใคร่ครวญ สุดยอดนะ เวลาหลวงปู่มั่นท่านเทศน์ พอหลวงตาท่านฟังเทศน์หลวงปู่มั่นแล้วท่านเก็บคำพูดนั้นมาวิเคราะห์แล้วท่านก็กลับไปถามหลวงปู่มั่นว่าท่านว่าอย่างนี้ถูกไหม

หลวงปู่มั่นว่า “เอ๊อะ! ยังมีคนเก็บไปคิดอีกหรือ”

แต่ความจริงท่านก็หวังตรงนี้แหละ หวังให้คนเก็บเอาไปคิด เอาไปต่อยอด สิ่งที่ครูบาอาจารย์ท่านเทศน์ เราเอาไปต่อยอดการต่อยอดคือสมบัติของเราเอาคำพูดที่ท่านพูด เอาคำที่เราสะกิดใจ แล้วกลับไปใคร่ครวญคำนั้น เอาคำนั้นตั้งเป็นโจทย์แล้วใคร่ครวญด้วยปัญญาของเรา ปัญญาที่มันแตกแขนงออกมานั่นล่ะคือสมบัติของเราแล้วสมบัติของเรา เราฝึกหัดอย่างนี้บ่อยๆเข้า คนคนนั้นจะตั้งตัวขึ้นมาได้ คนคนนั้นจะเป็นคนที่มีปัญญา คนคนนั้นจะเอาตัวรอด

คนใดรอแต่ว่ายื่นมาๆๆรอแต่จะให้ครูบาอาจารย์มาสอนน่ะตายเปล่า แต่จริงๆ แล้วเราต้องฝึกฝนขึ้นมาแต่ก็อาศัยการฟัง อาศัยการฟังอาศัยครูบาอาจารย์ จิตใจที่สูงกว่าดึงจิตใจที่ต่ำกว่าขึ้นมาทอดเชือกให้ทอดสายพานให้ดึงจิตใจที่ต่ำกว่าขึ้นมา ดึงจิตใจที่ต่ำกว่าขึ้นมา มันจะเห็นคุณค่าตรงนั้นไงนี่ค่าของน้ำใจไง

หลวงตาสอนว่า ไม่มีสิ่งใดสัมผัสธรรมะได้ ไม่มีสิ่งใดบรรจุธรรมะได้เว้นไว้แต่หัวใจกระดาษเขาพิมพ์หนังสือ เขาจะพิมพ์หนังสือประโลมโลกก็ได้ เขาพิมพ์หนังสือธรรมะก็ได้ ทำได้ทุกๆ อย่าง นั่นมันเป็นแค่กิริยาเป็นแค่คำสอน

แต่ถ้าความจริงๆ สิ่งที่จะสัมผัสธรรมะได้คือความรู้สึกคือหัวใจของเราแล้วหัวใจก็อยู่ในร่างกายนี้หัวใจมันเรียกร้องธรรมะ หัวใจต้องการความสุข หัวใจต้องการคุณงามความดี เราต้องการอยู่แล้วแล้วใครต้องทำให้มันล่ะ

เห็นไหมเลี้ยงชีพชอบสัมมาอาชีวะเลี้ยงชีพชอบ นี่มรรค ทางอันเอก มัคโค ทางอันเอกที่เราจะแสวงหาเพื่อเลี้ยงหัวใจของเรา เอวัง