ถาม-ตอบปัญหาธรรมะ

จิตรักษายาก

๗ มี.ค. ๒๕๕๘

จิตรักษายาก

พระอาจารย์สงบ มนสฺสนฺโต

 

ถาม-ตอบ ปัญหาธรรม วันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๘

ณ วัดป่าสันติพุทธาราม (วัดป่าเขาแดงใหญ่) .หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

 

 

ถาม : เรื่องการห่างครูบาอาจารย์ มีผลต่อการปฏิบัติจริงๆ

กราบเท้าครูอาจารย์ที่เคารพอย่างยิ่ง ช่วงหลังหนูปฏิบัติไม่สม่ำเสมอ ละเลยไปบ้าง และก็ผลที่ออกมาคือทำความสงบได้ยาก ทำให้ถอยหลังลงคลอง มาสำนึกได้ว่าเสื่อมลงมากก็ตอนเกิดปัญหาที่ทำงานที่เป็นปัญหาระดับกลาง แต่ทำไมทุกข์เกินเหตุ

พอมาทำความสงบจึงชัดเจนว่า ธรรมเราอ่อนแอ กิเลสนำหน้านั่นเอง จะคลายทุกข์ได้ต้องมาทำความสงบทุกครั้ง แล้วก็ดีขึ้นเพราะมีธรรมมาสอน แต่พอห่างจากการทำความสงบ เรื่องที่ทุกข์ก็ผุดขึ้นอีก จึงสำนึกผิดที่ห่างการปฏิบัติ ไม่อย่างนั้นคงไม่แพ้ขนาดนี้ ตอนนี้มาทำ มันดีขึ้น แต่ก็ป่วยเสียแล้ว ลูกก็คงต้องเยียวยาตัวเองต่อไป และขอกำลังใจครูบาอาจารย์ด้วยนะคะ ที่พึ่งที่ดีของลูกที่สุด

ตอบ : นี่พูดถึงว่าเขาปฏิบัติ แล้วพอตอนนี้จิตมันเริ่มถอย พอจิตเริ่มถอย เห็นทุกข์ เพราะก่อนหน้านั้นมา เขาจะมาหาบ่อย มาหาบ่อยแล้วมาถามเรื่องภาวนา เพราะมันเจริญก้าวหน้า เจริญก้าวหน้าจนแบบว่าเขาก็กระหยิ่มยิ้มย่องนะ เหมือนมรรคผลจะหยิบเอาได้ เขากระหยิ่มยิ้มย่องมากว่าเขาทำได้ เขาจะหยิบเอามรรคผลได้

แล้วเราก็พยายามจะบอกเขา บอกเขาว่าต้องทำความสงบ เขาจะไปมากน้อยขนาดไหนต้องกลับมาที่ทำความสงบเพื่อจะเดินไปข้างหน้า

เขากระหยิ่มยิ้มย่องมาก แล้วเขาคิดว่าเขามั่นคงไง แต่วันนี้สารภาพมาเองเลย วันนี้สารภาพมาเลย สารภาพมาเพราะอะไร เพราะมันทุกข์ ถ้าคนไม่ทุกข์ แบบว่าความทุกข์ สวรรค์ในอก นรกในใจ

เวลามันมีความสุขนะ มันมีสวรรค์ในอก มันเหมือนขึ้นสวรรค์ทั้งเป็นเลย แล้วเวลามันตกนรก เวลาตกนรก ถ้าตกนรกมันทุกข์ยากมาก แล้วมันตกนรกแล้ว นรกในใจ ใครจะรู้อะไรกับเราล่ะ นรกในใจ เรานี่รู้เอง เห็นไหม ปัจจัตตัง ของมันรู้เอง สวรรค์ในอก นรกในใจ

ทีนี้สวรรค์ในอก นรกในใจ เพราะเรายังมีชีวิตนะ เพราะเรายังมีชีวิตอยู่ เราแก้ไขได้ ถ้าเรามีความสุขเหมือนเราขึ้นสวรรค์ ถ้าเรามีความทุกข์ เราเหมือนตกนรก ไอ้นี่สวรรค์ในอก นรกในใจ

แต่เวลาคนตาย เวลาหมดอายุขัยเป็นอะไรตายไป นั่นน่ะนรกสวรรค์ในวัฏฏะ นรกสวรรค์ในวัฏฏะคือว่ามันเสวยภพในโอปปาติกะ ไปเกิดบนสวรรค์ เกิดในโอปปาติกะ เกิดในนรกอเวจี เห็นไหม กำเนิด กำเนิดในครรภ์ ในไข่ ในน้ำครำ ในโอปปาติกะ

เรากำเนิดในไข่ เกิดในไข่ เกิดในไข่ด้วย เกิดในครรภ์ด้วย แล้วเวลาสัตว์มันเกิดในน้ำครำ พวกสัตว์ แล้วเกิดโอปปาติกะ พวกโอปปาติกะ นั่นน่ะสวรรค์แท้ๆ นรกแท้ๆ แต่เวลาเรายังมีชีวิตอยู่ นี่มนุษย์สมบัติ มนุษย์สมบัติมันมีประโยชน์ ประโยชน์ตรงนี้

ถ้ามีครูบาอาจารย์คอยชี้แนะคอยบอก สวรรค์ในอก นรกในใจ มันเทียบเคียงได้เลย แล้วมันเทียบเคียงได้เลยเพราะมันเป็นข้อมูล ความลับไม่มีในโลก เราเป็นคนทำ ถ้านรกในใจ เวลาตายตอนนั้นมันก็ลงนรกแน่ๆ แล้วถ้ามันสวรรค์ในใจ เวลามันไป มันไปสวรรค์แน่ๆ

แล้วเวลาไปสวรรค์ คนเราทำมันก็มีบาปมีบุญทำมาร่วมกัน เวลาเราเสวยอารมณ์ใด เสวยภพใด ภพในปัจจุบัน เวลาตายไปมันก็ได้ภพในวัฏฏะอย่างนั้น แต่เวลาภพในวัฏฏะอย่างนั้น สิ่งที่มันทำบาปไว้มันก็อยู่ในนั้นน่ะ มันอยู่ในนั้น เวลาหมดโอกาสนั้นมันก็เวียนลงมา นี่ผลของวัฏฏะ เวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะ

แต่ในการปฏิบัติ เราทุกข์ยากขนาดนี้ การทุกข์ยากขนาดนี้ นี่พูดถึงว่าถ้าเห็นทุกข์ยากขนาดนี้ เราจะย้อนกลับไปน้ำใจของหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น น้ำใจหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น น้ำใจของครูบาอาจารย์เราท่านวางข้อวัตรไว้

เราไปมองไง วัดนั้นเคร่ง วัดนั้นมีกฎกติกา วัดนั้นทำให้จู้จี้จุกจิก วัดนั้นไม่มีประโยชน์ นี่ไง สิ่งนั้นเขาป้องกันตรงนี้ไง สิ่งที่ว่าเขาเคร่งครัด เขาดูแล เขาก็ป้องกันเวลาจิตมันจะเสื่อมนี่ไง ดูน้ำใจของหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นสิ เพราะหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านเคยล้มลุกคลุกคลานมาก่อน

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้นางพิมพามาเป็นมเหสี เจ้าชายสิทธัตถะมีสามเณรราหุลเป็นบุตร นี่คืออะไรล่ะ นี่มันก็มาจากปุถุชนทั้งนั้นน่ะ

แล้วหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นท่านมาจากไหนล่ะ ท่านก็มาจากชาวอุบลฯ ท่านก็มาจากปุถุชน ท่านมาแบบเรานี่แหละ ท่านไม่ใช่เป็นพระอรหันต์มาจากที่ไหน ท่านไม่ได้เป็นพระอรหันต์มาตั้งแต่เกิด ไม่มีคนไหนเป็นพระอรหันต์มาตั้งแต่เกิดเลย ทุกคนเกิดมาก็เป็นปุถุชนเหมือนเรานี่แหละ ถ้าเป็นปุถุชนเหมือนเรา มันก็ต้องอาบเหงื่อต่างน้ำ ต้องปฏิบัติเหมือนเรานี่แหละ

ทีนี้เวลาปฏิบัติเหมือนเรา ท่านมีบารมี คำว่าท่านมีบารมีหมายความว่า เวลาทุกข์เวลายากขึ้นมา ท่านก็พยายามจะขวนขวายหาทางออก มีครูบาอาจารย์ที่ไหน มีคนชี้แนะที่ไหน ท่านก็พยายามขวนขวายไปหาอาจารย์ของท่านเพื่อจะหาทางออก แต่อาจารย์ของท่านก็ไม่มีวุฒิภาวะจะสอนได้ นี่สำคัญมาก

ถ้าสอนมา ดูสิ เวลาหลวงตาท่านบอก จิตของท่านดื้อนัก คำว่าดื้อนักคือท่านมีเหตุผล ท่านเรียนมา ท่านมีอำนาจวาสนามา ถ้าใครที่มาพูดไม่มีเหตุมีผล แล้วมันจะเป็นอาจารย์เรา มันจะยอมลงได้อย่างไร อย่างพวกเรานี่นะ มีคนที่ไม่รู้แล้วมาบอกกล่าวเรา ชี้แนะเราไปถูลู่ถูกัง เรายอมฟังเขาไหม เราไม่ฟังเขาหรอก

นี่ก็เหมือนกัน เวลาหลวงปู่มั่นท่านเสีย ท่านไปนั่งอยู่ปลายเท้านะ ร้องไห้นะ เวลาหลวงตาท่านเป็นคนที่องอาจมาก ท่านเป็นสุภาพบุรุษ ท่านเป็นคนที่องอาจกล้าหาญมาก เวลาต่อหน้าใครก็ไม่กล้าทำไง

เวลาหลวงปู่มั่นท่านเสีย นั่งล้อมวงกันเต็มเลย ก็อยู่นั่นน่ะ เวลาเขาทำธุระเสร็จแล้วเขาหลบไป ท่านองค์เดียวไปนั่งอยู่ปลายเท้าหลวงปู่มั่น แล้วไปนั่งร้องไห้ที่นั่นน่ะ ร้องไห้เพราะอะไรล่ะ ร้องไห้เพราะอะไร เหมือนเรา เรานะ ถ้าเราทำอะไรผิดพลาดแล้วมีใครมาชักนำให้เราไปทางที่ถูก เราเห็นบุญคุณเขาไหม

แล้วหลวงปู่มั่นท่านเป็นอาจารย์ใช่ไหม แล้วดูสิ ท่านบอกว่าท่านจิตเสื่อม มาอยู่กับหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นก็สอนนะ จิตนี้เหมือนเด็กน้อย เด็กน้อยต้องมีพ่อแม่เลี้ยงดูมัน เด็กน้อยมันต้องการอาหาร เด็กน้อยมันก็เที่ยวเล่นไปประสาเด็กน้อยไป เราไม่ต้องไปห่วงมัน เราเตรียมอาหารไว้ เดี๋ยวเด็กน้อยมันหิวกระหาย มันต้องกลับมา แล้วให้กำหนดระลึกพุทโธๆ ไว้ พุทโธคืออาหารของใจ ท่านกำหนดพุทโธๆ ไว้ แล้วมันก็กลับมาจริงๆ

จากจิตเสื่อมนะ จากจิตที่มันจิตเสื่อม พอจิตเสื่อม พอมันดีขึ้นมา ท่านก็ภาวนาขึ้นมา มีปัญหาก็ขึ้นไปหาหลวงปู่มั่นตลอด สุดท้ายแล้วเวลาท่านว่าท่านอยากได้อีก เวลาพิจารณาไปแล้วกายกับใจมันแยกออกจากกันโดยสัจจะโดยข้อเท็จจริงเลย มันมีความสุขมาก มีความสุขมากก็ไปรายงานท่าน แล้วพอปฏิบัติแล้วมันไม่ได้ความสุขอย่างนั้นก็ขึ้นไปหาท่านอีก บอกอยากได้อย่างนั้นอีก

มันจะบ้าหรือ มันก็หนเดียวเท่านั้นน่ะ เวลามันขาดก็ขาดหนเดียว มันจะมาขาดซ้ำสองซ้ำสาม คนมันตาย ตายครั้งเดียว ตายสองหนสามหนไม่มีหรอก

ติดอยู่ ปี คำว่าติดอยู่ ปีคำว่าติดแล้วคิดดูสิ คำพูดของท่านเอง เพราะความเคารพบูชา เคารพบูชาหลวงปู่มั่นมาก ทีนี้เคารพบูชามาก ท่านพูดสิ่งใดมันก็ต้องเป็นจริงหมดไง

พอท่านพูดแล้ว ความเป็นจริงของหลวงปู่มั่นก็อย่างหนึ่ง ความจริงในใจท่านก็อย่างหนึ่ง ความจริงมันคนละระดับกัน มันก็ไปยึดมั่นว่าเป็นความจริงไง ติดอยู่ ปี

เราทำอย่างไรมันจะเอาออกมา โอ้โฮ! ต้องสับต้องโขกกัน โอ้โฮ! ทำกันเต็มที่ สัมปยุตกันตลอดเวลาเพื่อแก้ไขให้ได้ เพื่อดึงออกมาให้ได้ เพื่อแก้ทิฏฐิ เพื่อความเห็นให้เห็นถูกต้อง แล้วเวลาท่านออกมาได้ โอ้โฮ! มันไปใหญ่เลย

สมาธิแก้กิเลสไม่ได้ เวลาปัญญา ปัญญาก็เตลิดเปิดเปิง พอปัญญาเตลิดเปิดเปิง ขึ้นไปหาท่าน บอกว่าให้ออกใช้ปัญญาๆ ตอนนี้ก็ออกใช้แล้วนะ ออกใช้จนไม่ได้หลับไม่ได้นอนเลย โอ้โฮ! นอนไม่ได้เลย

นั่นแหละไอ้บ้าสังขาร

ก็ยังจะเถียงนะ แต่เถียงแล้วมาระลึกได้ไง อ๋อ! เดี๋ยวก็เหมือน ปีอีกแหละ มันแหยงไง มันไม่กล้า พอจะเถียงไปมันก็แหยงแล้ว เพราะอะไร เพราะมันผิดพลาดมาเยอะ มันผิดพลาดมาเยอะ แต่คำว่าผิดพลาดผิดพลาดมันมีธรรมะที่ปฏิบัติมา กายกับใจแยกออกจากกัน มันมีคุณธรรมหนุนอยู่ไง พอมีคุณธรรมอุ้มอยู่ มันก็คิดว่านี่คือนิพพาน มันไม่ใช่ผิดพลาดลงมาจนเป็นปุถุชนอย่างเราจนทุกข์ยากขนาดนี้ มันผิดพลาดมาขนาดไหน มันมีธรรมะขั้นสองรับไว้ มันก็ว่านี่นิพพานๆ แล้วใครมันจะสามารถแก้ไขได้ สามารถที่จะเอาออกมาได้

ทีนี้พอเอาออกมาได้ มันระลึกถึงบุญคุณไง แล้วพอออกมาการใช้ปัญญาๆ หลวงปู่มั่นท่านก็ป่วยหนัก แล้วท่านก็เสียไป แล้วใครจะแก้เราล่ะ ไปร้องไห้ ไปนั่งร้องไห้อยู่ปลายเท้านะ ท่านเล่าเอง ไปนั่งร้องไห้ เราฟังท่านพูดทีไรเราก็น้ำตาจะไหลทุกที

น้ำตาจะไหลเพราะมันคิดถึงหัวใจ คิดถึงของคนที่มันไม่มีที่พึ่ง คิดถึงหัวใจที่มันบ้านแตกสาแหรกขาด ครูบาอาจารย์เราเพิ่งนิพพานไป แล้วมันไม่มีทางไป หลวงปู่มั่นท่านก็นิพพานของท่านไป ท่านก็เหนี่ยวรั้งธาตุขันธ์ของท่านไว้เพื่ออายุ ๘๐ นะ ไม่เกิน ๘๐ นะ ไม่เกิน ๘๐ นะ ท่านก็เหนี่ยวรั้งชีวิตของท่านไว้เพื่อจะสร้างศาสนทายาท ท่านพูดกับพระนะหมู่คณะให้ปฏิบัติมานะ แก้จิตมันแก้ยากนะ ผู้เฒ่าจะแก้ว่ะ ผู้เฒ่าจะแก้ว่ะ

ท่านรักษาชีวิตมาเพื่อจะแก้หัวใจ แก้ลูกศิษย์ที่ปฏิบัติติดข้อง ท่านอยากจะแก้ ท่านเหนี่ยวรั้งชีวิตไว้ก็เพื่อแก้ไข เพื่อเป็นผู้ชี้นำ แล้วถึงเวลาที่สุดแล้วมันเหนี่ยวรั้งไว้ไม่ได้ หมดอายุขัย ท่านก็ต้องนิพพานไป

คนที่นิพพานไป คนที่รู้อยู่ว่าลูกศิษย์เรายังติดอยู่ แล้วลูกศิษย์เรามันจะสร้างประโยชน์กับโลกมาก เพราะท่านเป็นคนพยากรณ์เองต่อไปนะ หมู่คณะให้พึ่งมหานะ มหาดีทั้งนอกทั้งในนะ จะได้ประโยชน์นอก คือว่าสังคมจะได้ประโยชน์จากมหานี้มาก ใน ในคือธรรมะ ผู้ที่จะอาศัยจะได้พึ่งจากมหานี้มาก มหาดีทั้งนอกทั้งใน หมู่คณะจำไว้นะ ถ้าผมตายไปแล้วให้พึ่งมหานะ มหาดีทั้งนอกทั้งใน

แล้วคนที่จะให้คนอื่นพึ่งมันต้องมีวุฒิภาวะ มีคุณสมบัติพร้อม แล้วพยายาม ผู้ที่จะปลุกปั้น ฟังสิ หัวใจของคนที่จะปลุกปั้นคนมาเป็นผู้นำของคน แล้วท่านต้องนิพพานไปก่อน คิดดูซิว่าในใจคิดอย่างไร นี่พูดถึงในใจคิดแบบเรานะ

แต่เขาก็เถียงนะ เวลาพูดไปอย่างนี้หลวงพ่ออย่าอวดดี หลวงปู่มั่นท่านเป็นพระอรหันต์ พระอรหันต์ท่านไม่ติดอะไรหรอก ท่านนิพพานไปด้วยความสุขสงบ หลวงพ่อเจ้ากี้เจ้าการไปเองคนเดียว หลวงพ่อนี่ยุ่งมากเลย พระอรหันต์นิพพานไป ท่านก็มีความสุขของท่านไปแล้ว แล้วมันเกี่ยวอะไรกับผู้นำๆ

ก็คิดแบบโลกไง ถ้าคิดแบบธรรม เห็นไหม เราคิดแบบธรรม เพราะเราฟังเวลาท่านพูดว่าท่านไปนั่งร้องไห้ที่ปลายเท้าหลวงปู่มั่น แล้วคิดดูสิ เวลาเราฟังประวัติครูบาอาจารย์มา ท่านทุกข์ท่านยากมาขนาดไหน เวลาท่านทุกข์ท่านยากมาขนาดไหน แล้วหลวงตาท่านพูดนะ ตอนที่ท่านจะไปอยู่กับหลวงปู่มั่น เวลาไป ท่านเนตรๆ ท่านบอกว่า ที่ว่าไปถามว่ามาจากไหน

มาจากหลวงปู่มั่น

อู๋ย! หลวงปู่มั่นท่านดุนะ ท่านไล่ออกเลยนะ ท่านไม่ให้ใครอยู่นะ

ท่านคิดขึ้นมาในใจเลย ท่านอยากไปดูกับตา ไอ้เสียงร่ำลือก็เป็นเสียงร่ำลือ เห็นไหม โลกธรรม เสียงร่ำลือ จะไปเห็นกับตา พระอรหันต์ที่จะทำร้ายคน พระอรหันต์ที่จะลำเอียง พระอรหันต์ที่จะไปจับผิดคนอื่น มันเป็นไปไม่ได้ อยากจะไปดูว่าพระอรหันต์ท่านวินิจฉัยอย่างไร ก็เข้าไปหาท่าน พอเข้าไปก็ปึ๊ง! หงายท้องเลย ผมหงายท้องเลย

แต่หงายท้อง มันก็กลับไปแง่บวก หงายท้องด้วยเหตุด้วยผล หงายท้องโดยที่ไม่มีสิ่งใดโต้แย้งได้ว่าสิ่งที่พูดออกมานี้เป็นมารยาสาไถย ท่านพูดออกมาเป็นข้อเท็จจริงทุกคำ หลวงปู่มั่นพูดออกมาเป็นข้อเท็จจริงทุกคำ

แต่เพราะความบกพร่องของเรา เราอยู่กับสังคมที่พูดโดยสามัญสำนึก พูดโดยมารยา พูดโดยการเอาอกเอาใจกัน แต่พอเราไปเจอพระอรหันต์พูด ท่านพูดตรงๆ เวลาไปเจอหลวงปู่มั่น ท่านคิดบวกเลย มันเป็นข้อเท็จจริง มันไม่มีสิ่งใดโต้แย้ง เห็นไหม กลับเคารพกลับบูชา

นี่ไง เวลาเราไปเจอครูบาอาจารย์ที่ท่านโขกท่านสับ ถ้ามันเป็นคุณประโยชน์ เขามีแต่เคารพ เขามีแต่บูชา เขาจะเห็นเป็นคุณงามความดี

ไอ้พวกเราไม่ใช่นะ โอ๋ย! ดุมาก ดุมาก ไปให้ไกลๆ เลย ไม่เข้าไปใกล้เลย นู่น ไปอีกซีกหนึ่งเลย แล้วก็นู่น พระอรหันต์อยู่นู่น เวลาตายไปแล้วอาจารย์ผมๆ ผมเคยศึกษากับท่านมาพูดไปอีกอย่างหนึ่งเลย

เวลาท่านพูด เราจะพยายามจินตนาการถึงความรู้สึก ความรู้สึกของคนที่มันโหยหา แล้วมันต้องพลัดพราก แล้วตัวเองก็ยังไม่มีจิตใจที่สมบูรณ์พอ ไปนั่งคร่ำครวญอยู่ปลายเท้า สุดท้ายแล้วพยายามทบทวนคำสอนของท่าน ท่านสั่งไว้ว่า เวลาผมตายแล้วนะ ถ้าไม่มีที่พึ่ง ให้พุทโธ อย่าทิ้งผู้รู้ อย่าทิ้งพุทโธ จะไม่เสีย

คำว่าจะไม่เสียถ้าเราไม่ยึดผู้รู้ ไม่ยึดพุทโธไว้ เวลากิเลสมันครอบงำแล้วมันจะจินตนาการไป นิพพานร้อยแปดพันเก้า นิพพานซ้ำนิพพานซากอยู่อย่างนั้นน่ะ มันไม่มีข้อเท็จจริงไง ท่านถึงบอกว่า อย่าทิ้งผู้รู้ อย่าทิ้งพุทโธ อย่าทิ้งสามัญสำนึกของเรา อย่าทิ้งสิ่งที่เราจะสร้างสติขึ้นมา รักษาตรงนี้ไว้จะไม่เสีย

คำว่าจะไม่เสียๆแต่มันก็ไม่เจริญ ถ้ามันไม่เสีย มันก็ไม่เสียหายไป แต่ถ้ามันจะเจริญ มันต้องมีปัญญา มันต้องมีศีล มีสมาธิ ปัญญาขึ้นไป แต่ในเมื่อจะไม่ได้อยู่คอยดูแลแล้ว ก็สั่งเสียไว้ อย่าทิ้งผู้รู้ อย่าทิ้งพุทโธ แล้วไอ้ผู้ที่รับฟังมันก็เศร้าใจ

นี้เรารำพันมาซะไกลเลย เพราะเขาถามปัญหา เขาไม่ได้ถามเรื่องหลวงปู่มั่น แต่ปัญหานี้มันจะเกี่ยวเนื่องกันแบบนี้ เกี่ยวเนื่องกันที่วิธีการรักษาใจไง เราจะรักษาจิต จิตนี้รักษายาก หลวงปู่มั่นพูดประจำ แล้วมันก็กินใจเรามาก จิตมันแก้ยากนะ จิตมันแก้ยากนะ ผู้เฒ่าจะแก้ว่ะ การแก้จิต จิตมันเป็นได้หลายหลาก จิตเป็นความมหัศจรรย์มากนะ จิตนี้เป็นได้ทุกๆ อย่างนะ จิตเป็นได้ทุกอย่าง เป็นมนุสสเปโต มนุสสเทโว เป็นเทวดา เป็นพรหม เป็นได้หมดเลย เป็นเดรัจฉาน เป็นเปรต เป็นผี เป็นได้หมดเลย จิตนี้เป็นได้หลากหลายนัก จิตนี้เป็นได้ทุกอย่าง แล้วเราจะแก้ว่ะ เราจะแก้ว่ะ

แล้วคนแก้จิตที่ไหนล่ะ

ทีนี้พอจะแก้จิต เราแก้กันไม่ได้ เราแก้กันไม่ได้ เราภาวนาไป เราไม่มีครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์ที่ดี เราก็กลัวท่าน เราก็ไม่กล้าเข้าใกล้ท่าน เวลาเราปฏิบัติขึ้นมามันก็จะล้มลุกคลุกคลาน

เราจะบอกเลยว่า การแก้จิต การรักษาจิตนี่รักษายาก ถ้ารักษายาก ครูบาอาจารย์ท่านรักษา ท่านถึงต้องมีวิธีการของท่าน ท่านมีข้อวัตรของท่าน ท่านไม่ให้คลุกคลีกัน ท่านให้รักษากัน ถ้าไม่คลุกคลีกันแล้วพยายามปฏิบัติขึ้นมา

ถ้ามันปฏิบัติได้ จากทารกมันก็เป็นคนขึ้นมา เป็นวัยรุ่นขึ้นมา จากวัยรุ่นเป็นคนที่อารมณ์รุนแรง ถ้ามีประสบการณ์ขึ้นไปมันก็จะเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ไป ผู้เฒ่าผู้แก่ผ่านประสบการณ์ชีวิตมามากเขาจะอ่านเกมออก เขาก็จะไม่เป็นเหยื่อของใคร จิตใจมันก็ต้องพัฒนามาอย่างนี้

ถ้าจิตใจมันพัฒนามาอย่างนี้ ถ้ามีครูบาอาจารย์ท่านก็คอยรักษา ถ้าเรา กรรมฐานเราเรียกพ่อแม่ครูจารย์ เป็นทั้งพ่อทั้งแม่ เพราะเลี้ยงดูเรามา เป็นทั้งครูเป็นทั้งอาจารย์

พ่อแม่เราก็เลี้ยงเรามาเท่านั้นน่ะ แล้วก็ส่งไปเรียนโรงเรียน พ่อแม่ก็เลี้ยงแต่ตัวมา หัวใจเราต้องพัฒนาขึ้นมา

นี่เลี้ยงทั้งตัวนะ เลี้ยงทั้งอาหาร เลี้ยงทั้งวิชา จิตภาวนาผิดภาวนาถูก ดักหน้าดักหลัง ไปไม่รอดหรอก ต้องฟังท่านหมดแหละ ถ้าฟังท่านหมด มันก็จะเข้ามาตรงนี้ เข้ามาคำถาม

คำถามว่าหนูปฏิบัติไม่สม่ำเสมอ ปล่อยปละละเลย พอปล่อยปละละเลย ผลของมันเวลามันถอยหลังก็ยังไม่รู้ว่าถอยหลัง ต่อเมื่อมันเกิดปัญหา มันเกิดปัญหากระทบที่ทำงานถึงได้มาคิดได้ว่ามันทุกข์มากๆ

แต่ถ้ามันมีสติมีปัญญา มันแยกได้ บอกว่าคนตั้งสติไว้ ถ้าทำสมาธิได้ ถ้าไปเห็นกาย เห็นกายเพราะจิตมันจริง เห็นกายมันก็เป็นวิปัสสนา

แต่คนเราไม่มีสติ สติเราก็ระลึกเอา สติเราก็เคลมเอาว่าเป็นสติ แล้วพอมันว่างๆ ก็ว่าเป็นสมาธิ พอไปนึกสติปัฏฐาน บอกว่าปฏิบัติแนวทางสติปัฏฐาน ด้วยเกลียดตัวอยากกินไข่ ถ้าทำพุทโธไปแล้วมันจะเป็นสมาธิ จะเป็นสมถะ มันจะเกิดนิมิต มันจะไม่ได้ประโยชน์ เขาจะใช้ปัญญาไปเลย พอใช้ปัญญาไปเลย ปัญญามันเป็นโลกียปัญญา ปัญญาจากสมอง ปัญญาจากประสบการณ์ ปัญญาจากปฏิภาณไหวพริบ

ปัญญาจากปฏิภาณ จากความรู้ของตัว มันก็ดี จิตมันเป็นได้หลากหลายนัก จิตนี้มหัศจรรย์นัก ถ้าคิดได้อย่างนั้นก็เป็นคนดี คนดีคิดดีๆ ทางโลกคนที่คิดดีทำดีก็เป็นคนดี

นี่ก็เหมือนกัน พอเราศึกษาธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามา เราก็ตรึกในปัญญา มันก็เป็นโลกียปัญญา แต่มันมีจิต มีความรู้สึกไง จิตคือความรู้สึกมันหนุนขึ้นมา หนุนความคิดโอ้โฮ! พระอรหันต์เป็นอย่างนี้เองเวลามันคิดขึ้นมานะโอ้โฮ! พระอรหันต์มีอารมณ์เป็นอย่างนี้เอง”...ก็อารมณ์ มันไปคิดในธรรมะของพระพุทธเจ้า นี่อารมณ์ ปฏิภาณไง

มันคิดไป มันตรึกในธรรมของพระพุทธเจ้า แล้วธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะเป็นธรรมชาติ ธรรมะมีอยู่แล้ว แต่ไม่ใช่ของเรา ถ้าเป็นของเรานะ มันจะเป็นประโยชน์กับเรา นี่มันเป็นของสาธารณะ เพราะเราเกิดมาในวัฏฏะก็เป็นสาธารณะเหมือนกัน

เราเกิดจากเวรจากกรรมมา เกิดเป็นมนุษย์ มนุษย์ก็เกิดเป็นมนุษย์ได้ มนุษย์ก็เกิดตายเหมือนกันหมด มนุษย์เป็นญาติกันโดยธรรม เกิดมามีกายกับใจ ต้องหาอยู่หากินเหมือนกัน นี่มันเท่ากันหมด แล้วธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เพื่อมนุษย์ทั้งหมด แล้วเราก็ไปศึกษามา แล้วเราจินตนาการมา มันก็เป็นโอ้โฮ! พระอรหันต์เป็นอย่างนี้เองพอมันเสื่อม พอมันกระทบ อ๋อ! เราทุกข์ พอมันเสื่อม

พอมันเสื่อม ความเสื่อม จิตมันไม่มีหลัก พอจิตไม่มีหลัก ไปกระทบ มันไม่มีหลัก มันจะกระทบอะไรล่ะ ก็กระทบกิเลสไง มันก็กระทบกับตัณหา ตัณหาคือการคาดหวัง อยากได้ อยากให้มันเป็นอย่างที่เราตั้งใจ ทำงานแล้วก็ประสบความสำเร็จทั้งหมด ทำสิ่งใดแล้วก็ต้องหวังผลประโยชน์ทั้งสิ้น มันคิดของมันตลอด นี่คือกิเลส

ฉะนั้น พอจิตมันเสื่อม พอกิเลสมันไปกระทบ กระทบกับความหวัง ความจินตนาการ ความต้องการ ความอยากได้ของตัว แล้วไม่สมความปรารถนา ทุกข์ ทุกข์มากๆ

แต่ถ้าเราพยายามรักษาใจของเรา พุทโธๆ จิตมันสงบขึ้นมา ตัณหาความทะยานอยากมันโดนครอบคลุมครอบงำไว้ด้วยสติ กำหนดพุทโธๆ จิตมันสงบ พอจิตสงบนะ จิตมันเป็นธรรม สัมมาสมาธิมันเป็นธรรม สิ่งใดถ้ากระทบ ถ้ากระทบ สรรพสิ่งในโลกนี้เป็นอนิจจัง คำว่าเป็นอนิจจังจะไม่มีสิ่งใดสมความปรารถนา เพราะมันเป็นอนิจจัง ถ้าทำได้ถูกต้อง มันก็เป็นผลตามความปรารถนา ถ้าทำแล้วมีความผิดพลาด มีสิ่งใดคลาดเคลื่อนไป อันนั้นมันก็เป็นเหตุเป็นผลของเขา มันมีสติ มันมีสมาธินะ มันกลั่นกรอง มันคัดแยก อารมณ์อย่างนี้มันไม่กระทบไง อารมณ์อย่างนี้มันไม่กระทบจิตรุนแรง ความทุกข์นั้นมันก็ไม่เกิดขึ้น

มันก็เกิดขึ้น คำว่าเกิดขึ้นคือเหตุการณ์มันเกิดขึ้น แต่มันไม่กระทบใจจนรุนแรงเกินไป เพราะเรามีสติ มีสมาธิเป็นเครื่องรองรับ แต่ถ้าพอสมาธิมันเสื่อมลง มันกระทบกับตัณหา กระทบกับสมุทัย กระทบกับความคิดเราไง มันไม่ได้กระทบกับธรรม ธรรมไม่สามารถเข้ามากันแรงกระแทกได้ ถ้าธรรมะไม่กันแรงกระแทก พอมันมากระแทกแล้วมันถึงได้ทุกข์ไง

ถ้ามันทุกข์ นี่ขนาดว่าตบะธรรมนะ บำเพ็ญเพียรตบะธรรม มันก็เป็นเครื่องอยู่เครื่องอาศัย เพราะธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบอกว่า ถ้าใครทำสมาธิได้ เหมือนมีบ้านมีเรือนได้อาศัย ถ้าใครไม่มีสมาธิ ใครทำสมาธิไม่ได้ เหมือนคนไร้บ้าน

คนไร้บ้านต้องนอนกลางดิน กินกลางทราย ต้องนอนกลางถนน ต้องนอนตากแดด อะไรกระทบก็รุนแรง จิตมันไม่มีสมาธิ มันก็ไม่มีบ้าน ไม่มีที่พัก อะไรกระทบมันก็กระทบรุนแรง มันก็ทุกข์อย่างนี้ไง

พอจะรู้ตัวขึ้นมาก็ต่อเมื่อมันเสื่อมไปแล้ว แล้วพอจะกลับมาปฏิบัติ มันก็เจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นมาอีก แล้วเวลามันไม่ปฏิบัติ อยู่ห่างธรรมะคำสอน ทุกข์มันจะผุดขึ้นมาเรื่อยๆ เลย ทุกข์มันจะผุดขึ้นมาเรื่อยๆ

ทุกข์เป็นอริยสัจ ทุกข์เป็นความจริง ทุกข์คือความทนอยู่ไม่ได้ ถ้าทนได้ ทุกข์ก็ไม่มี ทุกข์เป็นความจริง ทุกข์มันมีอยู่แล้วนะ ความไม่พอใจ ความขัดใจนี่คือทุกข์ แต่ถ้ามันมีสมาธิ มันมีสมาธิ มันทนได้ ทุกข์มันก็ไม่มี

ทุกข์คือความทนอยู่ไม่ได้ พอทนอยู่ไม่ได้ มันก็กด มันก็กดทับ เพราะเราทนไม่ไหว ยิ่งทนไม่ไหวมันยิ่งกดทับ พอยิ่งกดทับ มันก็ยิ่งใหญ่ขึ้นโตขึ้น ยิ่งกดทับใหญ่เลย

แต่ถ้าเรามีสติปัญญานะ ทุกข์เป็นอริยสัจ ทุกข์เป็นความจริง แต่เราไปละที่สมุทัยไง พอละที่สมุทัย ทุกข์มันเป็นอย่างนั้นเอง ทุกข์มันเกิดขึ้น ทุกข์เป็นอริยสัจ

คำว่าทุกข์เป็นอริยสัจหนึ่ง เกิดมาต้องหายใจไหม อยู่ในท้องพ่อท้องแม่ก็หายใจทางสายสะดือ พอคลอดออกมา หมอตบตูดเลย ผัวะ! แว้ๆ ร้องไห้ เออ! รอดแล้ว มันต้องหายใจด้วยตัวเองไง การที่หายใจด้วยตัวเอง

นี่ก็เหมือนกัน หายใจเป็นทุกข์ไหม เป็นหวัดเป็นไอเป็นทุกข์ไหม ทุกข์มันเป็นอริยสัจ ทุกข์เป็นความจริง ในเมื่อมันมีผลกระทบ มันมีภพ ภวาสวะ มีภพ มีการรับรู้ มีทุกข์ทั้งนั้นน่ะ เพียงแต่คนมีปัญญาวางทุกข์ได้

คนมีปัญญา ทุกข์มันเป็นสัจจะ ทุกข์เป็นความจริง แต่ไม่มีสมุทัยไง ตัณหาไง ไม่มีตัณหาที่คาดการณ์คาดหมายไง หวังต้องการไง ถ้ามีหวังต้องการ นี่สมุทัย ถ้าติดสมุทัย ทุกข์ตัวเบ้อเริ่มเทิ่มเลย

แต่ถ้าเรา ทุกข์ควรกำหนด ทุกข์เป็นความจริง สมุทัยควรละ สมุทัยควรละก็ละตัณหาความทะยานอยาก ตัณหาคือกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เป็นสมุทัย ละที่สมุทัย ละที่ความคิดเราอยากได้อยากดี อยากให้เป็น ละ ละตรงนี้ ถ้าละตรงนี้ ทุกข์ควรกำหนด สมุทัยควรละ นิโรธ เบาหมดเลย วางหมดถ้าเกิดนิโรธ

นี้เป็นปัญญาอบรมสมาธินะ ยังไม่ได้วิปัสสนาอะไรหรอก วิปัสสนาไปมันจะรู้จะแจ้ง พอวิปัสสนาไป มันเป็นอริยทรัพย์ อริยภูมิ ภูมิที่สูงส่งกว่านี้

อันนี้เราพูดกันสามัญสำนึกของมนุษย์ พูดกันถึงภพภูมิของมนุษย์ ไม่ได้คุยกันด้วยภพภูมิของพระอริยเจ้า พระอริยเจ้าจะไปมากกว่านี้ไง ถ้าไปมากกว่านี้ นี่มันเป็นความจริงขึ้นมาไง ถ้าความจริงขึ้นมานะ เรากลับมาปฏิบัติ

สิ่งที่ผู้ถาม เวลาถามมา คนถามมาส่วนใหญ่แล้วจะเสียดายเวลา เสียดายเวลา เสียดายสิ่งที่ล่วงมาแล้ว แต่ถ้ามาคิดได้นะ ชาติที่แล้วเราไม่รู้เราทำอะไรมา แล้วเกิดมากี่ภพกี่ชาติ

ถ้าบอกว่า เวลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บุพเพนิวาสานุสติญาณ ไม่มีต้นไม่มีปลาย การเกิดการตายที่ผ่านมามันมากมายมหาศาล ฉะนั้น เวลาที่เราพลั้งเผลอไป เวลาที่เราผิดพลาดไปในชีวิตนี้มันแค่เล็กน้อย

แต่ถ้าเราคิดอย่างนี้ปั๊บ เราคิดว่า โอ้โฮ! ปฏิบัติมาจนป่านนี้ แล้วก็สิ้นไร้ไม้ตอก ไม่ได้อะไรเลย มีแต่ความทุกข์ความยาก เราเสียดายไง เราเสียดายความที่เราลงทุนลงแรง เราพยายามทำมาไง เพราะเราไปเสียดายตรงนี้ เห็นไหม เพราะคำว่าเสียดายตรงนี้มันก็ทำให้เราเข่าอ่อน ทำให้จิตใจเราอ่อนแอ ทำให้เรามีแต่ความทุกข์ความยาก อมทุกข์ต่อไปไง

แต่ถ้าเราคิด เราจะพูดให้เห็นว่า บุพเพนิวาสานุสติญาณ อดีตชาติ ชาติที่ทำอะไรมามันมากไปกว่านี้ไง ถ้าเราคิดได้อย่างนี้นะ มันก็เป็นสดๆ ร้อนๆ คือเป็นปัจจุบันขณะนี้ ถ้าเป็นปัจจุบันขณะนี้ เราจะเริ่มกลับมาฟื้นฟู กลับมาปฏิบัติมันก็ไม่น้อยใจไง มันทำได้ มันทำได้ ถ้ามันทำได้มันก็เป็นประโยชน์ได้

อย่าไปคิดน้อยใจว่าที่ทำมาแล้ว ลงทุนลงแรงมาเยอะ ปฏิบัติมานี่ ถ้าเอาเหงื่อใส่ปี๊บไว้มันคงหลายปี๊บแล้วล่ะ อู๋ย! เสียดายๆ...ไม่ต้องไปเสียดายมัน พระโพธิสัตว์ทำมามากกว่านี้ สิ่งที่ทำมาก็คือประสบการณ์นั่นแหละ อย่าไปเสียดายไง

ถ้าไปเสียดาย โอ้โฮ! ทำมาขนาดนี้แล้ว จะเอาตรงนั้นเป็นต้นทุนเลย แล้วก็ต้องเอามาทบดอกทบเบี้ย ดอกเบี้ยจะเอาให้ได้เดี๋ยวนั้นเลย...ทำอย่างนี้มันยิ่งทำให้เกิดตัณหาซ้อนตัณหา คือกิเลสซ้อนกิเลส ความอยากซ้อนความอยาก แล้วซ้อนไปซ้อนมา เราจะทำดี กลายเป็นว่าไปหลงกลกิเลสหมดเลย ไปหลงกลครอบครัวมารเลย

วางไว้ แล้วเราเริ่มต้นของเราใหม่ ทำของเราใหม่ไง ทำของเราใหม่ก็อยู่ที่วาสนาของเรา ถ้าทำได้นะ

เขาบอกว่าเวลาจะกลับมาปฏิบัติใหม่ เขาบอกว่าเมื่อนึกได้ก็ห่างจากการปฏิบัติไปอย่างมาก ถ้าปฏิบัติอยู่ คงไม่แพ้ขนาดนี้ ตอนนี้มันจะดีขึ้น แต่ก็ป่วยเสียแล้ว ลูกก็ต้องเยียวยาตัวเองไปก่อน

ไอ้คำว่าเจ็บไข้ได้ป่วยเวลาคนปฏิบัติจะมาถามว่าควรทำอย่างไร เวลาปฏิบัติไปแล้วมันมีสิ่งใดมันตกทุกข์ได้ยาก

เราบอกว่า ถ้าเอาความจริงกัน เวลาเราแนะนำ เราแนะนำด้วยข้อเท็จจริง คือแนะนำให้รู้เท่าทันกิเลสนะ บอกว่า ถ้าเราไม่แน่ใจว่าร่างกายเราสมบูรณ์ไม่สมบูรณ์ ไปหาหมอเลย ให้หมอเช็กหมดเลย บอกว่าสมบูรณ์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ คราวนี้กิเลสอย่าหลอกกูนะ เพราะหมอบอกแล้วว่าไม่เป็นไร

ไม่อย่างนั้นมันงงไง พอจะนั่งทีไร โอ๋ย! จะปวดขาปวดแข้ง โอ๋ย! เดี๋ยวจะเป็นไอ้นั่นเดี๋ยวจะเป็นไอ้นี่ ถ้าไม่แน่ใจ ไปหาหมอเช็กร่างกายเลย พอเช็กร่างกายเสร็จแล้วจบแล้ว ร่างกายสมบูรณ์ กิเลส มึงอย่าหลอกกูนะ กิเลสอย่าหลอกกูนะ พอไปนั่ง ถ้ามันเจ็บ เจ็บก็ต้องสู้กัน เป็นอะไรก็สู้กัน เพราะเราไม่ได้เป็นอะไรเลย ร่างกายสมบูรณ์ๆ กิเลสอย่ามาหลอก

ถ้าไม่ไปให้หมอตรวจก่อนนะโอ้โฮ! น่าจะไม่สบายนะ พรุ่งนี้เช้าจะลุกไม่ไหว โอ๋ย! ถ้านั่งอย่างนี้ไป ขานี้พิการแน่ๆ เลยมันยุอยู่วันยังค่ำเลย แล้วคนก็มาหานะหลวงพ่อ เวลาปฏิบัติอย่างนี้เป็นอย่างนี้ๆ ทำอย่างไร

ไปหาหมอๆ ไปหาหมอเลย

ถ้าเราพูดไป เราจะพูดเรื่องกิเลส กิเลสเป็นนามธรรม พอกิเลสเป็นนามธรรม พอเราคิดถึงกิเลสเป็นนามธรรม แต่เราจะคิดเป็นรูปธรรม คิดเป็นวิทยาศาสตร์ ถ้าวิทยาศาสตร์ มันก็โดยธรรมชาติของมัน คนถ้าลองนั่งแล้วเลือดลมมันเดินไม่สะดวก มันก็มีการมึนชาแน่นอน เรานั่งสมาธิหลายๆ ชั่วโมง มันเป็นไปได้อย่างไรที่มันจะไม่เจ็บไม่ปวด มันเป็นไปแน่นอนอยู่แล้ว ถ้าเป็นแน่นอนอยู่แล้ว มันเป็นโดยการนั่งสมาธิ มันไม่ได้เป็นไปด้วยการเจ็บไข้ได้ป่วย

แต่เราก็ไปคิดถึงการเจ็บไข้ได้ป่วยเอามาเทียบเคียงไง เราคิดทางวิทยาศาสตร์ด้วย คิดไปถึงธรรมะด้วย แล้วเวลาจะบอกให้เท่าทันกิเลสนะหลวงพ่อนี่พูดอะไรไม่มีเหตุผลเลย ไปหาหมอ หมอก็บอกแล้ว

ในเมื่อเราทำตัวอย่างนี้มันก็ต้องเจ็บไข้ได้ป่วยอยู่แล้ว แล้วเขาให้ทำอย่างไรล่ะ เขาให้เข้าฟิตเนสไง เขาให้ทำให้ร่างกายแข็งแรง ร่างกายแข็งแรง จิตใจอ่อนแอหรือเปล่าล่ะ

นี่พูดถึงเวลาใครมาจะบอกว่าทำอย่างไร มันเจ็บไข้ได้ป่วย

เวลามันจะเจ็บจะปวดอะไรเพราะมันอ่อนแอ พอมันอ่อนแอ เราจะพูดเป็นนามธรรมก็จะว่า อู้ฮู! ตอนนี้นะ เวลาพูดถึงธรรมะ เขาจะพูดเป็นสองประเด็น ประเด็นหนึ่ง ถ้าคนเห็นว่าเป็นประโยชน์ เขาจะเห็นเป็นประโยชน์

แต่คนที่พอเห็นไม่เป็นประโยชน์เขาจะบอกว่าอู้ฮู! กรรมฐานต้องปฏิบัติเข้มข้นขนาดนั้นเชียวหรือ อู๋ย! ถ้าอย่างนั้นเราไม่ปฏิบัติดีกว่า อู๋ย! ทุกข์ขนาดนี้ไม่กล้าสู้ กรรมฐานต้องปฏิบัติเข้มข้นอย่างนั้นหรือ เราปฏิบัติทางอื่นดีกว่า ไปนั่งอยู่ในห้องแอร์เลย เขาติดห้องแอร์ให้คิดไป นี่กิเลสมันเข้ายุแหย่อย่างนี้เรื่อยเลย แต่คนโดยทั่วไปไม่รู้ว่านี่กิเลสมันยุแหย่นะ

แต่ว่าถ้าเป็นนักปฏิบัติธรรมเขาจะรู้เลยว่านี่กิเลสมันยุแหย่ แล้วสิ่งใดที่พูดแล้วกิเลสมันฟังแล้วปลื้มใจ กิเลสมันฟังแล้วมันชื่นชม นั่นน่ะเขาคุยกันเรื่องธรรมะอย่างนั้นน่ะ ธรรมะที่กิเลสมันตบมือให้ ธรรมะที่กิเลสมันโยนบ่วงให้ โยนบ่วงให้เลยว่าเอ็งคิดได้แค่นี้ เอ็งทำได้อย่างนี้ แล้วเอ็งว่าเอ็งเป็นการปฏิบัติธรรม แล้วเขาก็ชื่นชมกันนะ

แล้วพอเวลาบอกว่าอู้ฮู! กรรมฐานจะปฏิบัติขนาดนั้นเชียวหรือ”...ไปหมดเลย ไปเกลี้ยงเลย แล้วไอ้ที่จะปฏิบัติจริงๆ เหลือสองคน เหลือสองคน ไอ้พวกนั้นไปเกลี้ยงเลย

ฉะนั้น เวลาจะพูดอะไรรุนแรงไป มันก็จะเข้าทางเขาต้องอย่างนั้นๆ นะทุกคนร่ำลือเลยนะ อู้ฮู! หลวงพ่อเคร่งครัดมาก เขามาหาเรานะอู้ฮู! เขาบอกหลวงพ่อนี่เคร่งครัดมาก

หา? กูนี่นะเคร่งครัด ตอนนี้กูกำลังสำมะเลเทเมากับพวกมึง อย่างนี้เคร่งครัดหรือ เขาบอกอู้ฮู! หลวงพ่อนี่เคร่งครัดมากเลย

เพราะว่ามันพูดอะไรก็แล้วแต่นะ ถ้ากิเลสมันชอบ กิเลสมันชื่นชม มันจะไปทางนั้นหมดแหละ แล้วเราจะเอาจริงเอาจังขึ้นมามันก็บอกว่าอู้ฮูๆๆ เพราะกิเลสมันกลัว กิเลสมันกลัวโดนจำกัดวง กิเลสมันกลัวโดนตรวจสอบ กิเลสมันกลัวโดนคนเข้าไปเทียบเคียงมัน มันไม่ยอมให้ใครเข้าไปใกล้ตัวมันไง มันก็บอกอู้ฮู! ต้องขนาดนั้นเชียวหรือ แต่ถ้าปฏิบัติแบบเรานี่ โอ๋ย! สบาย อย่างนี้ดี โอ้โฮ! นี่วิทยาศาสตร์ ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย มีน้ำเย็นคอยดื่มตลอด มีห้องแอร์ด้วย เดินกันก็มีเพื่อนฝูงทักทายกัน ปฏิบัติก็ โอ้โฮ! มีรถหวอนำหน้าเลย อู๋ย! สบายๆ ปฏิบัติอย่างนี้สุดยอดเลย โอ้โฮ! กรรมฐานมันลำบาก กรรมฐานปฏิบัติยุ่งมากเลยนี่มันเข้าทางกิเลสหมดไง

มันเข้าทางกิเลส แล้วเวลามันจิตเสื่อม เวลาเราดีขึ้นมา เราก็รู้ใช่ไหม เวลาจิตเราดีขึ้นมา เราก็พอใจ เราก็มีความสุข สวรรค์ในอก นรกในใจ ปัจจัตตัง สันทิฏฐิโก รู้จำเพาะในหัวใจนั้น

คนทุกข์คนยากมาก็รู้ว่าทุกข์ยากมาขนาดไหน คนที่ปฏิบัติมาเขาก็มีธรรมโอสถเข้าไปเจือจานในใจนั้น เรารู้ของเรา แล้วทำไมไปเชื่อสังคมให้สังคมเขาเป่าหูล่ะ อู้ฮู! เข่าอ่อนเลย พอร้อง อู้ฮู! ได้เพื่อนแล้ว กูมีเพื่อนแล้ว เพราะใจไม่สู้เหมือนกูนี่ เพราะใจกูก็ไม่เอาอยู่แล้ว พอมา อู้ฮู! ไปด้วยกัน ไปจิบน้ำเย็นกันดีกว่า ให้หลวงพ่อตากแดดไป ไม่เกี่ยว

เอ็งจะเอาธรรมะ เอาสัจจะความจริง หรือจะเอาสิ่งที่กิเลสเชิดชู ถ้ากิเลสเชิดชูอย่างนั้น

นี่คำถามเวลาถามมา เพราะอะไร เพราะเป็นปัจจัตตัง เป็นสันทิฏฐิโก เพราะเวลาเขาปฏิบัติเขาเคยมาคุยกับเรานะ บอกว่า อู้ฮู! เขาเห็นกาย เขาพิจารณาแยกแยะ จนเขาพยายามจะให้เราโอเคไปกับเขา

เราบอกไม่ได้ ต้องตรวจสอบๆ ต่อไปเรื่อยๆ แล้วพอเวลามันเสื่อมขึ้นมา ผลของมันเป็นอย่างนี้ ครูบาอาจารย์ที่ท่านห่วงก็ห่วงตรงนี้ จิตเสื่อมนี้สำคัญมาก เพราะจิตเสื่อมแล้วจะแก้จิตเสื่อมนี่แก้ยาก ธรรมดาจิตแก้ยากอยู่แล้ว แล้วพอจิตเสื่อมขึ้นไปแล้ว ดูสิ ขนาดปฏิบัติธรรมดายังร้อง อู้ฮูๆ อยู่แล้วนะ ถ้าจิตเสื่อมไปแล้วไม่ต้องอู้ฮู! หรอก มันลุกไม่ขึ้น มันนอนแผ่สองสลึง ลุกไม่ได้เลย กล้ามเนื้ออ่อนแรง ต้องป้อนๆ พอจิตเสื่อม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ยกแขนยกขาไม่ขึ้น แต่ถ้ามันมีสติปัญญานะ ฮึกเหิมขึ้นมานะ กล้ามเนื้อเป็นมัดๆ ขึ้นมาได้เลย

เวลาครูบาอาจารย์ของเรา อาจารย์สิงห์ทอง หลวงปู่เจี๊ยะ หลวงตาชมมากๆ เดินจนทางจงกรมเป็นร่อง หลวงปู่ขาว ครูบาอาจารย์ท่านชื่นชมว่ามีทางจงกรม เส้น ทั้งๆ ที่ท่านเป็นพระอรหันต์นะ เช้าขึ้นมาเดินถวายพระพุทธเจ้า ตอนเย็นเดินถวายพระธรรม กลางคืน ใครไม่เห็น ไปเดินถวายพระสงฆ์ ท่านจะเดินจงกรมถึง เส้น ไอ้เราเส้นเดียว ขุดใหญ่เลย จะให้เป็นร่องไว้อวดเขา

หลวงปู่ขาวท่านมี เส้น อาจารย์สิงห์ทองเดินจงกรม หลวงตาท่านปฏิบัติเข้มข้น คนที่ไม่เข้มข้นกว่าท่าน ท่านจะไม่ชมหรอก หลวงปู่เจี๊ยะท่านปฏิบัติมาขนาดไหน ขนาดว่าเห็นชาวบ้านเขาปฏิบัติ ท่านบอกว่าเรากินข้าวเขาเสียข้าวสุก คนเฒ่าคนแก่เขาอยู่วัดเขายังปฏิบัติดีกว่าเรา เราเป็นพระหนุ่มๆ ทำไมเราทำไม่ได้ ทำไมเราทำไม่ได้ เห็นไหม ท่านพลิกแพลงด้วยปัญญาของท่านจนท่านกลับมาฮึกเหิม จนมาปฏิบัติจริง ถ้าปฏิบัติจริง ดูสิ เดินจงกรมจนทางเป็นร่องเลยล่ะ นี่เขามุมานะ

แล้วผลของมัน เห็นไหม อาจารย์สิงห์ทองท่านเสียไปแล้ว เผาแล้วเป็นพระธาตุ หลวงปู่เจี๊ยะท่านเผาไปแล้วเป็นพระธาตุ หลวงตาท่านเผาไปแล้ว ท่านไม่เผาก็เป็นพระธาตุอยู่แล้ว ตอนหลวงตาท่านเผาแล้วนะ พอออกมา หนังสือพิมพ์ลงว่าไม่เป็นพระธาตุๆ

ท่านมีชีวิตอยู่ยังเป็นเลย ท่านมีชีวิตอยู่นี่ เกสาของท่าน เล็บของท่าน ลูกศิษย์เอาไปเก็บไว้เป็นพระธาตุหมดล่ะ แล้วไปเผาทำไมมันจะไม่เป็น มันเป็นล้านเปอร์เซ็นต์ แต่ตอนนี้มันยังไม่เป็น มันไม่เป็นเพราะอะไร มันเป็นเฉพาะส่วน

ร่างกายของคน ดูสิ ไฟฟ้าเวลามันไป ไฟมันสม่ำเสมอตรงไหน เวลาไฟ ส่วนที่จะเป็น กลางหัวอกจะเป็นก่อน ส่วนบนนี่จะเป็น แล้วส่วนล่าง มันเป็นระดับของมัน เพราะว่าธรรมะ ใจที่เป็นธรรมมันฟอก มันฟอกความเคลื่อนไหวของมัน มันฟอกไม่เท่ากัน มันจะไม่เป็นพรึบเหมือนกันหมดหรอก ไอ้เป็นพรึบเหมือนกันหมดนั่นมันพลาสติก

นี่มันเป็นด้วยคุณธรรม มันเป็นล้านเปอร์เซ็นต์ แต่มันจะเป็นตอนไหน แล้วพระธาตุนี้ อัฐิธาตุของท่านไปอยู่กับใคร คนที่มีบุญมันก็เป็นเร็วใช่ไหม ไอ้คนที่ตอนท่านมีชีวิตอยู่ โอ้โฮ! จาบจ้วงท่าน ทำร้ายท่าน แล้วจะให้เป็นพระธาตุ ไม่เป็นหรอก มันก็เป็นอัฐิอยู่อย่างนั้นน่ะ แต่ถ้าคนมีคุณธรรม คนมีความดี มันเป็นอยู่แล้ว

นี่พูดถึงว่าครูบาอาจารย์เราท่านชื่นชมคนที่ปฏิบัติจริงจัง แล้วมันจะได้ผลจริงไง แต่เพราะพวกเรา เราเป็นกระแสโลก กระแสโลกอ่อนแอ กระแสโลกเอาแต่ความสะดวกสบายกัน แต่ก็อยากปฏิบัตินะ อยากได้ๆ แต่อยากได้ ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

ถ้าผู้ใดปฏิบัติธรรมไม่สมควร คือไม่สมควรมันอ่อนกว่า คุณสมบัติคุณค่ามันเข้ากันไม่ได้ มันไม่มีหรอก

ผู้ใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ธรรมะจะสถิตในใจของใจดวงนั้น ผู้ใดปฏิบัติด้วยความคาดหมาย ด้วยความด้นเดา ด้วยความจินตนาการ ด้วยความอยากได้ กิเลสทั้งนั้น แต่คนเราปฏิบัติมันก็มีกิเลสมาด้วยทุกคนน่ะ ไอ้กิเลสนี้มันคอยทำให้เราผิดพลาด ให้เราได้รับรู้ แล้วเราก็จะแก้ไขของเราไป

ฉะนั้น เขาบอกว่า ถ้าเขาเจ็บไข้ได้ป่วย เพราะตัวเองก็เป็นหมออยู่แล้ว คนถามเป็นหมอเหมือนกัน เขาบอกว่าตอนนี้ลูกก็ต้องเยียวยาตัวเองไปก่อน

อ้าว! ก็เป็นหมอ ก็ต้องรักษาตัว รักษาตัวเสร็จแล้วเราก็ปฏิบัติของเรา เราปฏิบัติของเราเพราะอะไรรู้ไหม เพราะคำถามนี้ คำถามนี้มันดีตรงไหน ดีเพราะว่าเขาเคยมาคุยกับเราบ่อยๆ เพราะว่าเวลาที่เขาภาวนาดี เขาฮึกเหิมมาก ฮึกเหิมจนดูคนอื่นปฏิบัติอ่อนแอหมดเลย เขาฮึกเหิมมากนะ แล้วเขาว่าเขาปฏิบัติได้ด้วย แล้วเขาพยายามจะให้เรารับรอง เราบอกว่าต้องทำให้มากกว่านี้

เขาพยายามจะให้เรารับรอง แล้วตอนนี้เราไม่ต้องรับรองเลย เขียนมาฟ้องเลย ตอนนี้ไม่ต้องรับรอง มันจริงๆ เลย ฉะนั้น ฟื้นฟูตัวขึ้นมา

ไอ้ที่พูดก็เพราะเขาว่าขอกำลังใจครูบาอาจารย์ด้วยนะคะ เพราะไม่มีที่พึ่ง

เพราะคำถามแค่ถามมาว่าเคยทำได้ แล้วคิดว่ามันมั่นคง แล้วเวลามันเสื่อมไปแล้ว เสื่อมยังไม่รู้ตัวนะ แต่เวลาที่ทำงานมันมีผลแล้ว ที่ทำงานมันมีปัญหา พอทุกข์จากงานนั้นถึงได้รู้ว่าตัวเองจิตเสื่อม

เพราะมีผลกระทบให้จิตใจมันทุกข์ ถึงเข้าใจว่าจิตเสื่อมแล้วหลวงพ่อ แล้วหลวงพ่อทำอย่างไรล่ะ ขอกำลังใจหน่อย หลวงพ่อ ทำอย่างไร

ผลกระทบ พอมันกระทบแล้วมันถึงได้รู้ว่าเสื่อม แต่ตอนก่อนหน้านั้นยังคิดว่าไม่มีอะไรกระทบ คิดว่าเราทำได้ๆ ไง แต่เวลากระทบขึ้นมาแล้วรู้ตัว พอรู้ตัวขึ้นมา เสียใจ ถ้าเสียใจ อันนี้ขอคุยครั้งหนึ่ง เสียใจก็บอกว่า เมื่อก่อนจะให้หลวงพ่อรับรองไง แล้วถ้าเสียใจตอนนี้ ถ้ามันเป็นอย่างนี้ปั๊บโอ้โฮ! หลวงพ่อโกหก ไม่ไว้ใจหลวงพ่อแล้ว ก็หลวงพ่อรับรองว่าของฉันแน่นอนแล้วไง แล้วทำไมมันเสื่อมล่ะ ตอนนั้นจะมา หลวงพ่อต้องรับรองๆ

ถ้ารับรองไป ตอนนี้เอ๊! หลวงพ่อก็ไม่รู้เหมือนกันเนาะ รับรองเราได้อย่างไร มันเสื่อมหมดแล้ว

มันย้อนกลับมาไง ย้อนกลับมาที่เราวินิจฉัยมาแต่ต้น แต่เขาก็คิดไปอย่างหนึ่ง เราก็วินิจฉัยเป็นอย่างหนึ่ง วันนี้เขียนมาบอกเลย แล้วเราก็ให้กำลังใจอย่างนี้ ให้กำลังใจนะ เพราะว่าเวลาคิดถึงเรื่องนี้ต้องคิดถึงหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นเวลาท่านพูดกับหลวงตาให้พระใหม่ๆ มันขึ้นมา ให้มันมีข้อวัตรติดหัวมันไปหลวงตาใช้คำนี้

แต่ถ้าเราวิเคราะห์แล้วติดหัวใจไปติดหัวใจคือติดความจำ ติดในหัวใจ ติดในจิตใต้สำนึก เราจะได้เอาสิ่งนี้มาหล่อเลี้ยงใจเราได้ เราจะได้เอาอย่างนี้มาเป็นแนวทางปฏิบัติได้ เห็นไหม

ให้พระใหม่ๆ มันขึ้นมา จะได้มีข้อวัตรติดหัวมันไป พระเก่าๆ ไม่ต้องขึ้นมา

คำนี้มันเป็นการที่ท่านห่วงอนาคตของคณะสงฆ์ ท่านห่วงถึงอนาคต ท่านพูดอะไรไว้ ท่านวางข้อวัตรไว้ ท่านวางแนวทางไว้ อยากให้พระใหม่ๆ มันได้รับรู้ จะได้ติดหัวใจมันไป อนาคตมันจะได้มีแนวทางปฏิบัติของมันไป ท่านห่วงอนาคตของคณะสงฆ์ แล้วหลวงตาท่านมาย้ำๆ

หลวงตาท่านพูดอะไร เราก็ฟังนะ แล้วเราก็จินตนาการของเราไปไง เราถึงบอกว่าครูบาอาจารย์ท่านวางหลักเกณฑ์ไว้ก็เพราะตรงนี้ เพราะตอนที่ทำไปแล้วมันจะเสื่อม ทำไปแล้วมันจะมีปัญหา ท่านก็ห่วงอนาคต ห่วงนักปฏิบัติเราให้เราเข้มแข็ง

ฉะนั้น เวลาเสื่อมแล้ว ระลึกถึงครูบาอาจารย์แล้วมันจะซาบซึ้ง มันเป็นอย่างนี้เอง ท่านถึงได้เคร่งครัด มันเป็นอย่างนี้เอง ท่านถึงได้ด่าเรา ท่านด่าเราก็เพราะเหตุนี้แหละ เหตุกลัวเราเสื่อมนี่ ที่ท่านด่า ท่านดูท่านแล ก็เพราะมันเป็นอย่างนี้เอง มันเป็นอย่างนี้เอง เสื่อมแล้วจะได้รู้ถึงคุณของท่าน เอวัง